โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 02 October 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๖๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (October, 02, 10, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

นักการทูตสวีเดนที่ได้ไปเยือนพม่าช่วงระหว่างมีการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย กล่าวเมื่อคืนนี้ว่า ในความเห็นของเธอ "การปฏิวัติครั้งนี้ล้มเหลว". Liselotte Agerlid ซึ่งตอนนี้พำนักอยู่ในประเทศไทยกล่าวว่า ผู้คนชาวพม่าขณะนี้ เป็นไปได้ที่กำลังเผชิญหน้ากับการปราบปรามในรอบหลายทศวรรษ. "การปฏิวัติพม่าสิ้นสุดลงแล้ว มันผ่านไปแล้ว" เธอกล่าวเพิ่มเติมว่า "ระบอบการปกครองโดยทหารเป็นผู้ชนะ คนรุ่นใหม่ได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง และถูกปฏิเสธประชาธิปไตยอย่างสาหัส ผู้คนบนท้องถนนล้วนเป็นคนหนุ่มสาว พระสงฆ์และประชาชน
02-10-2550

Revolution is over
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

รายงานเหตุการณ์ประท้วงในพม่าและบทวิเคราะห์
พม่า ๒๐๐๗: การปิดประตูตีแมวต่อหน้าประชาคมโลก
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
แปลจากข้อมูลรายงานข่าวและบทวิเคราะห์ภาษาอังกฤษ
1. http://www.dailymail.co.uk/pages/live/articles/news/worldnews.html?in_article_id=484903
2. http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7021567.stm

บทความแปลต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้แปล
เป็นเรื่องเกี่ยวกับรายงานข่าวการปราบปรามผู้ประท้วงในพม่าอย่างรุนแรง
มีพระสงฆ์
และประชาชนถูกนำขึ้นรถบรรทุกไปทุบตีและฆ่า ตามเขตชานเมือง
ย่างกุ้งและในป่าลึกไปนับพัน นักการทูตสวีเดนที่อยู่ในเหตุการณ์เปิดเผยว่า
การปฏิวัติได้สิ้นสุดลงแล้ว ระบอบเผด็จการเป็นฝ่ายชนะและคงสนุกไปกับ
ความหวาดกลัวของประชาชนชาวพม่าไปอีก ๒๐ ปี น่าเศร้าที่ประชาคมโลก
ไม่อาจสร้างแรงกดดันต่อความโหดเหี้ยมครั้งนี้ได้มากพอ

สำหรับบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้นำเสนองานแปลและภาคผนวกประกอบกัน คือ
๑. พระสงฆ์นับพันมรณภาพ - การฆาตกรรมหมู่ในป่าลึก
๒. บทเรียนจากการประท้วงในพม่า (Lessons from the Burmese uprising)
๓. ภาคผนวก: มองเหตุการณ์มิคสัญญีในพม่า ผ่านราชธานีแห่งใหม่ของรัฐบาลทหาร
นอกจากนี้ยังได้นำเอาต้นฉบับภาษาอังกฤษมานำเสนอด้วย ประกอบกับเว็บไซต์ต่างๆ
จำนวนมากที่มีข่าวสารข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับประเทศพม่า
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๖๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ต้นฉบับภาษาอังกฤษ - English Version

รายงานเหตุการณ์ประท้วงในพม่าและบทวิเคราะห์
พม่า ๒๐๐๗: การปิดประตูตีแมวต่อหน้าประชาคมโลก
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
แปลจากข้อมูลรายงานข่าวและบทวิเคราะห์ภาษาอังกฤษ
1. http://www.dailymail.co.uk/pages/live/articles/news/worldnews.html?in_article_id=484903
2. http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7021567.stm


1. พระสงฆ์นับพันมรณภาพ - การฆาตกรรมหมู่ในป่าลึก
Burma: Thousands dead in massacre of the monks dumped in the jungle
By MARCUS OSCARSSON
Last updated at 15:04pm on 1st October 2007

ผู้ประท้วงนับพันเสียชีวิต และซากศพเป็นร้อยๆ ของพระสงฆ์ที่ถูกประหารถูกทิ้งไว้ในป่าลึก, อดีตสายลับของรัฐบาลทหารพม่าเปิดเผย . เจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่ง Hla Win ซึ่งเอาใจออกห่างจากรัฐบบาลทหารกล่าว: "ผู้คนจำนวนมากถูกฆ่าในไม่กี่วันที่ผ่านมาในเหตุการณ์ประท้วงที่พม่า มากกว่าที่ประชาคมโลกได้รับรู้ ซากศพสามารถนับได้เป็นพันๆ ศพ" Hla Win ได้พูดออกมาคล้ายๆ กับนักการทูตสวีเดนที่คาดการณ์ว่าการปฏิวัติประชาชนในพม่าประสบกับความล้มเหลว. Hla Winกล่าวว่า ตนได้หลบหนีช่วงที่ได้รับคำสั่งให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการฆาตกรรมหมู่บรรดาพระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวบ้าน ขณะนี้เขาได้หลบหนีมาถึงชายแดนประเทศไทยแล้ว

ในระหว่างเวลานั้น ตัวแทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติยังอยู่ในเมืองหลวงใหม่ของพม่า เพื่อพยายามจะพบกับบรรดาผู้นำรัฐบาลทหาร. นาย Ibrahim Gambari ได้พบกับผู้นำฝ่ายตรงข้ามที่ถูกกักตัว นางออง ซาน ซู จี ในกรุงย่างกุ้งเมื่อวานนี้ แต่เขายังรอที่จะพบปะกับบรรดานายพลอาวุโสของพม่าอยู่ ดังที่เขาพยายามที่จะระงับการใช้มาตรการที่รุนแรงต่อพระสงฆ์และบรรดานักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย. ได้มีการคาดกันว่า การพบปะกันจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้

กองทหารพร้อมอาวุธหนักและตำรวจได้กระจายกำลังอยู่บนท้องถนนต่างๆ ในกรุงย่างกุ้ง ช่วงระหว่างที่นาย Ibrahim Gambari ได้เข้าไปยังพม่าเพื่อปกป้องบรรดานักประท้วง. นาย Ibrahim Gambari ได้พบกับผู้นำกองทัพบางคนของประเทศที่เมืองหลวงใหม่ เนย์ปยีดอว์ (Naypyidow) (1) เมื่อวานนี้ และจะกลับไปอีกครั้งเพื่อเจรจากันต่อ แต่เขาไม่ได้พบกับพลเอกอาวุโสตานฉ่วย หรือผู้มีอำนาจรอง พลเอกอาวุโสหม่องเอ - และบรรดานายพลเหล่านี้ไม่มีข้อคิดเห็นหรือคำอธิบายใดๆ ออกมา

รายงานต่างๆ จากผู้ลี้ภัยตามชายแดนยืนยันว่า พระสงฆ์หลายร้อยรูปได้หายสาบสูญไปในช่วงเวลาดังกล่าว ขณะที่ทหารราว 20,000 นาย ได้กระจายกำลังกันอยู่ทั่วกรุงย่างกุ้งเมื่อวานนี้ เพื่อขัดขวางการเดินขบวนที่จะมีขึ้น โดยกลุ่มศาสนาและพลเมืองทั้งหลาย. ผู้ไม่เห็นด้วยซึ่งได้หลบหนีมายังชายแดนบอกว่า เหมือนกับการถูกประหาร พระสงฆ์ราว 2,000 รูปได้ถูกส่งตัวไปยังคุกอินเส่งอันลือชื่อ และในห้องเรียนต่างๆ ในมหาวิทยาลัยซึ่งได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นห้องขัง. ยังมีรายงานอื่นๆ ระบุว่า ผู้คนจำนวนมากถูกทุบตีอย่างป่าเถื่อนที่สนามกีฬาชานกรุงย่างกุ้ง ซึ่งพวกเขาได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือ. ส่วนพระสงฆ์รูปอื่นๆ ที่ไม่สามารถหนีรอดไปได้ พยายามปลอมตัวเป็นพลเรือน ก็ถูกล็อคเอาไว้ในวัดที่เปื้อนเลือด

กองทหารได้ละทิ้งความเชื่อทางศาสนา พวกเขาวางปืนไรเฟิลบนหน้าตักพระพุทธรูปและมีการปรุงอาหารกันบนเตาที่ทำกันยังแท่นบูชาภายในวัด. ภาพเป็นไปในทางตรงข้ามทีเดียว กล่าวคือ ตามท้องถนนในกรุงย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ศูนย์กลางของความพยายามที่จะปฏิวัติผ้าเหลือง(saffron revolution)ในไม่กี่วันก่อนหน้า มาถึงวันนี้กลับรกร้างว่างเปล่าเกือบหมด

นักการทูตสวีเดนที่ได้ไปเยือนพม่าช่วงระหว่างที่มีการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย กล่าวเมื่อคืนนี้ว่า ในความเห็นของเธอ "การปฏิวัติครั้งนี้ล้มเหลว". Liselotte Agerlid ซึ่งตอนนี้พำนักอยู่ในประเทศไทยกล่าว ผู้คนชาวพม่าขณะนี้ เป็นไปได้ที่กำลังเผชิญหน้ากับการปราบปรามในรอบหลายทศวรรษ. "การปฏิวัติพม่าสิ้นสุดลงแล้ว มันผ่านไปแล้ว" เธอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "ระบอบการปกครองโดยทหารเป็นผู้ชนะ คนรุ่นใหม่ได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง และถูกปฏิเสธประชาธิปไตยอย่างสาหัส ผู้คนบนท้องถนนล้วนเป็นคนหนุ่มสาว พระสงฆ์และประชาชน พลเมือง ต่างเป็นคนที่ไม่เคยมีส่วนร่วมในช่วงการปฏิวัติ 1988. ถึงตอนนี้ กองทัพได้ลงโทษการปฏิวัติอย่างโหดเหี้ยม และผลลัพธ์เป็นไปได้ที่ว่าระบอบการปกครองเดิม คงจะสนุกสนานไปอีก 20 ปีด้วยความเงียบ โดยการปกครองที่ใช้ความกลัวเป็นหลัก"

Mrs Agerlid กล่าวว่า ย่างกุ้งได้ถูกตรวจตราอย่างหนักโดยทหาร "มีทหารเป็นจำนวนมากตามท้องถนนในกรุงย่างกุ้ง ทุกคนสามารถคาดการณ์ได้ ว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับขบวนประท้วงใดๆ ที่จะรวมตัวกันขึ้นหรือจะมีใครทำอะไรต่อ ผู้คนต่างตกอยู่ในความหวาดกลัว และจากการประเมินทั่วๆ ไปคือว่า การต่อสู้ได้สิ้นสุดลงแล้ว. เราได้รับข้อมูลจากหนึ่งในสถานทูตที่ใหญ่ที่สุดของพม่าว่า พระสงฆ์จำนวน 40 รูปในคุกอินเส่งได้ถูกทุบตีจนตายวันนี้ และหลังจากนั้นได้ถูกเผาทิ้ง" นักการทูตยังกล่าวต่อไปว่า วัดจำนวน 3 แห่งได้ถูกจู่โจมเข้าตรวจค้นเมื่อวานนี้ช่วงบ่าย และตอนนี้ได้กลายเป็นวัดร้างไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

ณ สถานที่หลบภัยชายแดนเมื่อคืน ชายในวัยกลางคนอายุ 42 ปี นามว่า Hla Win กล่าว, "เขาหวังที่จะข้ามไปยังประเทศไทย และแสวงหาสถานที่ลี้ภัย ณ สถานทูตนอรเวย์", ชายอายุ 42 หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับในเขตตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง กล่าวเพิ่มว่า "ผมตัดสินใจหลบหนีเมื่อผมได้รับคำสั่งให้เข้าจู่โจมและตรวจค้นวัด 2 แห่ง และบังคับให้พระสงฆ์หลายร้อย รูปปีนขึ้นไปบนรถบรรทุก พวกเขาต่างถูกฆ่าและซากศพของพระเหล่านี้ได้ถูกทิ้งไว้ในป่าทึบ ผมปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในงานบาปดังกล่าว"

พร้อมกับบุตรชายที่ยังเป็นวัยรุ่น เขาได้วางแผนหนีออกจากกรุงย่างกุ้ง แต่ได้ทิ้งภรรยาและบุตรอีก 2 คนของเขาเอาไว้เบื้องหลัง เขาไม่รู้สึกกลัวสำหรับความปลอดภัยของคนในครอบครัวที่เหลือ เพราะพี่ชายของเขาเป็นนายพลที่มีอิทธิพลคนหนึ่ง ซึ่งเขาเชื่อว่าจะคอยปกป้องครอบครัวให้

การหลบหนีของ Hla Win หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับจะยกระดับความหวังอันเรือนรางท่ามกลางชาวพม่านับหมื่นๆ ขึ้น ซึ่งได้หลบหนีสู่หมู่บ้านต่างๆ ตามแนวตะเข็บชายแดนประเทศไทย พวกเขายังรู้สึกว่าคนในกองทัพคนอื่นๆ จะค่อยๆ ทะยอยตามมา และหันหน้ากลับไปเผชิญกับผู้นำสูงอายุ พลเอกอาวุโสตานฉ่วย และผู้มีอำนาจรอง พลเอกอาวุโสหม่องเอ

2. บทเรียนจากการประท้วงในพม่า
Lessons from the Burmese uprising

By Paul Reynolds

World Affairs correspondent BBC News website

กองทัพพม่าได้เข้าปราบปรามอย่างรุนแรงในเหตุการณ์ประท้วง เป็นเครื่องเตือนความจำหนึ่งที่ว่า การประท้วงบนท้องถนนไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ความสำเร็จ สำหรับการลุกขึ้นสู้ของประชาชนเสมอไป (The military crackdown in Burma is a reminder that street demonstrations do not necessarily lead to success for popular uprisings.)

ปัจจัยสำคัญคือ ความมีเสถียรภาพที่น้อยลงของระบอบการปกครองที่ดำรงอยู่ และแม้ถ้าเผื่อการประท้วงต่างๆ จะไม่สามารถนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้ก็ตาม อย่างน้อย มันก็กลายเป็นจุดอ่อนของการปราบปรามที่ฝ่ายผู้มีอำนาจพม่าได้กระทำลงไป. จนกระทั่งปัจจุบัน กองทัพพม่ายังคงมีความกลมเกลียวกัน การรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่ายังมีความหวังว่าจะประสบผลโดยเร็ว แต่เกรงว่าแผนการดังกล่าวอาจจะล่าช้าเกินไป

ในวันเวลาของพวกเรา บางทีเราจะได้พบเห็นจนเคยชินกับเหตุการณ์ที่ผู้ประท้วงซึ่งให้การสนับสนุนประชาธิปไตยได้ทำการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งความยุ่งยากต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจได้รับการประเมินต่ำจนเกินไป. คู่มือการล้มล้างอำนาจรัฐบาลเช่นว่านั้น จะต้องรวมเอาปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้เข้าไปด้วย นั่นคือ

- การประท้วงสาธารณะที่แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เกิดขึ้นในกลุ่มสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างหลากหลาย
- ผู้นำฝ่ายตรงข้ามจะต้องมีความคิดชัดเจนพอสมควร ที่ประชาชนสามารถเข้ามาร่วมชุมนุมได้
- ความสามารถในการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะทำให้ข่าวสารเป็นที่เผยแพร่โดยทั่วไป

- กลไกอันหนึ่งในการขุดเซาะทำลายระบอบการปกครองที่ดำรงอยู่ - ไม่ว่าโดยการรัฐประหารภายในในกรณีของรัฐบาลทหารชั่วคราว, การปรากฏตัวขึ้นมาของบรรดานักปฏิรูปทั้งหลาย หรือความอ่อนแรงของรัฐบาลที่ดำรงอยู่ มันน้อมนำไปสู่การล่มสลายของระบอบฯ
- แรงกดดันภายนอกจากประเทศต่างๆ ที่สำคัญ สามารถสร้างแรงกกดันที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลได้

จากประสบการณ์ได้แสดงให้เห็นว่า การรวมเอาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน เป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จของการประท้วงหรือการปฏิวัติ

ตัวอย่าง (Examples)
ในยุโรปตะวันออกในช่วงปีทศวรรษที่ 1990s มีปัจจัยอันหลากหลายได้เข้ามามีบทบาท มีการประท้วงต่างๆ เกิดขึ้นกับรัฐบาลคอมมิวนิสท์ที่ถูกทำให้อ่อนกำลังลง บรรดานักปฏิรูปทั้งหลายได้ก้าวมาอยู่แถวหน้า สหภาพโซเวียตภายใต้การนำของ Mikhail Gorbachev ได้ถอนตัวจากการสนับสนุน และกองกำลังรักษาความมั่นคงท้องถิ่นได้ย้ายข้าง แต่อย่างไรก็ตาม

- ใน Uzbekistan ปี ค.ศ.2005 การก่อประท้วงในเมือง Andijan ได้ถูกปราบปรามโดยทันที เพราะมันไม่ได้นำไปสู่อำนาจชักจูงอย่างกว้างขวาง ในการบีบบังคับหรือสร้างแรงกดดันใดๆ

- ในประเทศจีนในปี ค.ศ.1989 ผู้เดินขบวนประชาธิปไตยในจตุรัสเทียนอันเหมิน(Tiananmen Square) ในท้ายที่สุดได้ถูกทำให้กระจัดกระจาย/แตกพ่ายด้วยกองกำลัง เพราะรัฐบาลจีนได้ทำการลงโทษและปราบปรามอย่างรุนแรง แทนที่รัฐบาลจะเรือแตก

- ในพม่า บรรดาผู้ประท้วงต้องเผชิญหน้ากับรัฐบาลทหารที่ไม่มีความโอนอ่อน บางทีหน่วยต่างๆ ของกองทัพจะก่อการกบฎขึ้นและทำการโค่นล้มทหารเก่า แต่เหตุการณ์เช่นนี้ยังไม่เกิดขึ้น. ในช่วงเวลาดังกล่าว ฝ่ายปกครองได้ทำการปิดกั้นสื่อต่างๆ รวมไปถึงสื่อใหม่อย่างระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้พิสูจน์ว่าเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือให้เกิดการระดมสรรพกำลังและความคิดเห็นจากต่างประเทศ แรงกดดันจากภายนอก ในรูปของการประณามจากประชาคมโลก และการแซงคชั่นด้วยการขู่ลงโทษต่างๆ ครั้งนี้ มันไม่มีกำลังมากพอที่จะเป็นตัวตัดสินชี้ขาด

ความเชื่อมโยงกับจีน (The China connection)
ในฐานะผู้สื่อข่าว ผมได้จ้องมองเหตุการณ์ต่างๆ ในพม่าซึ่งกำลังดำเนินไปขณะที่เดินทางไปยังประเทศจีน และมันน่าสนใจที่จะบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับประเทศพม่าที่นั่น. บนจอโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เราอาจเห็นความเอาใจใส่ที่เพิ่มขึ้นของยุโรปและสหรัฐอเมริกา. อันนี้เน้นถึงวิธีการที่นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลตะวันตกทั้งหลายได้รับอิทธิพลจากองค์กรนอกภาครัฐต่างๆ อย่างเช่น กลุ่มสิทธิมนุษยชน และบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย

- บนจอโทรทัศน์ฝรั่งเศส นักแสดงหญิง Jane Birkin ได้ให้สัมภาษณ์ยาวเหยียดเกี่ยวกับพม่า และในวันต่อมา ได้เห็นการปรากฏตัวของประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy.

- ในประเทศจีน ไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้, สื่อต่างๆ เกือบเมินเฉยต่อวิกฤตการณ์ในพม่าเลยทีเดียว ในช่วง 10 นาทีแรกของข่าวภาคค่ำได้ให้ความใส่ใจ (อย่างที่มันมักจะเป็นเช่นนี้เสมอ) เกี่ยวกับการไปๆ มาๆ ของผู้นำระดับอาวุโสของจีน ซึ่งส่วนใหญ่ดูเหมือนจะประกอบด้วยการแสดงปาฐกถาเสมอ

รัฐบาลปักกิ่งมิได้อ่อนไหวต่ออิทธิพลของกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ มันมีนโยบายเกี่ยวกับการไล่ติดตามผลประโยชน์ของตนบนโลก (ซึ่งเรียกร้องต้องการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมหาศาล) ขณะเดียวกันก็ปิดกั้นหรือทำตัวออกห่างจากวิกฤตการณ์ต่างๆ ของโลก ไกลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

มีเพียงประเด็นเดียวเกี่ยวกับการกดดันจีน - โอลิมปิคเกมส์ ที่กำลังจะจัดให้มีขึ้นในกรุงปักกิ่งปีหน้า รัฐบาลจีนจะเข้าตาจนหากว่าจีนจะถูกบอยค็อทท์หรือคว่ำบาตร ทั้งนี้เพราะโอลิมปิคได้ถูกนำเสนอในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของ"การก่อเกิดสันติภาพ"(peaceful rise)ของจีน อย่างที่มันถูกขนานนามว่าเช่นนั้น ดังนั้น จีนต้องให้ความสนใจต่อความคิดเห็นต่างๆ ของโลก ซึ่งจะน้อมนำให้เขาต้องเรียกร้องการยับยั้งชั่งใจในพม่า และจะต้องไม่ทำอะไรมากเกินไปกว่านี้

โอกาสหรือความหวังในพม่าเกี่ยวกับการรณรงค์ในระยะยาวอีกครั้งเพื่อประชาธิปไตย จะต้องได้รับการจ่ายค่าตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อ นับจากการปราบปรามอย่างรุนแรงในช่วงปี 1988. ท่ามกลางนักต่อสู้ทั้งหลายมักจะยังคงมีความหวังเก็บกักไว้เสมอ และนั่นคือหนึ่งในปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวชี้ขาด ซึ่งสามารถผลิกผันสิ่งต่างๆ ได้อย่างฉับพลัน

+++++++++++++++++++++ ต้นฉบับภาษาอังกฤษ

Foreign Minister of Burma Nyan Win tells the UN in New York that foreigners are
the cause of his ruling junta's brutal crackdown on protestors

1. Burma: Thousands dead in massacre of the monks dumped in the jungle
By MARCUS OSCARSSON
Last updated at 15:04pm on 1st October 2007

Thousands of protesters are dead and the bodies of hundreds of executed monks have been dumped in the jungle, a former intelligence officer for Burma's ruling junta has revealed. The most senior official to defect so far, Hla Win, said: "Many more people have been killed in recent days than you've heard about. The bodies can be counted in several thousand."

Mr Win, who spoke out as a Swedish diplomat predicted that the revolt has failed, said he fled when he was ordered to take part in a massacre of holy men. He has now reached the border with Thailand.

Meanwhile, the United Nations special envoy was in Burma's new capital today seeking meetings with the ruling military junta. Ibrahim Gambari met detained opposition leader Aung San Suu Kyi in Rangoon yesterday. But he has yet to meet the country's senior generals as he attempts to halt violence against monks and pro-democracy activists.
It is anticipated the meeting will happen tomorrow.

Heavily-armed troops and police flooded the streets of Rangoon during Mr Ibrahim's visit to prevent new protests. Mr Gambari met some of the country's military leaders in Naypyidaw yesterday and has returned there for further talks. But he did not meet senior general Than Shwe or his deputy Maung Aye - and they have issued no comment.

Reports from exiles along the frontier confirmed that hundreds of monks had simply "disappeared" as 20,000 troops swarmed around Rangoon yesterday to prevent further demonstrations by religious groups and civilians. Word reaching dissidents hiding out on the border suggested that as well as executions, some 2,000 monks are being held in the notorious Insein Prison or in university rooms which have been turned into cells.

There were reports that many were savagely beaten at a sports ground on the outskirts of Rangoon, where they were heard crying for help.

Others who had failed to escape disguised as civilians were locked in their bloodstained temples. There, troops abandoned religious beliefs, propped their rifles against statues of Buddha and began cooking meals on stoves set up in shrines. In stark contrast, the streets of Rangoon and Mandalay - centres of the attempted saffron revolution last week - were virtually deserted.

A Swedish diplomat who visited Burma during the protests said last night that in her opinion the revolution has failed. Liselotte Agerlid, who is now in Thailand, said that the Burmese people now face possibly decades of repression. "The Burma revolt is over," she added.

"The military regime won and a new generation has been violently repressed and violently denied democracy. The people in the street were young people, monks and civilians who were not participating during the 1988 revolt. "Now the military has cracked down the revolt, and the result may very well be that the regime will enjoy another 20 years of silence, ruling by fear."

Mrs Agerlid said Rangoon is heavily guarded by soldiers. "There are extremely high numbers of soldiers in Rangoon's streets," she added. "Anyone can see it is absolutely impossible for any demonstration to gather, or for anyone to do anything. People are scared and the general assessment is that the fight is over. We were informed from one of the largest embassies in Burma that 40 monks in the Insein prison were beaten to death today and subsequently burned."

The diplomat also said that three monasteries were raided yesterday afternoon and are now totally abandoned. At his border hideout last night, 42-year-old Mr Win said he hopes to cross into Thailand and seek asylum at the Norwegian Embassy.

The 42-year-old chief of military intelligence in Rangoon's northern region, added: "I decided to desert when I was ordered to raid two monasteries and force several hundred monks onto trucks. "They were to be killed and their bodies dumped deep inside the jungle. I refused to participate in this."

With his teenage son, he made his escape from Rangoon, leaving behind his wife and two other sons. He had no fears for their safety because his brother is a powerful general who, he believes, will defend the family.

Mr Win's defection will raise a faint hope among tens of thousands of Burmese who have fled to villages along the Thai border. They will feel others in the army may follow him and turn on their ageing leaders, Senior General Than Shwe and his deputy, Vice Senior General Maung Aye.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

2. Lessons from the Burmese uprising
By Paul Reynolds
World Affairs correspondent BBC News website

The military crackdown in Burma is a reminder that street demonstrations do not necessarily lead to success for popular uprisings. The key factor is the destabilisation of the existing regime and if protests cannot bring that about, they become vulnerable to the kind of repression the Burmese authorities have imposed.

So far, the Burmese military has held together. The campaign for democracy in Burma still hopes for rapid success but fears that the project will be more long-term.

In our day, we have perhaps become so used to seeing pro-democracy protestors toppling authoritarian governments that the difficulties involved can be underestimated.

A handbook for overthrowing such governments would have to include the following factors:

- Widespread public protests, bringing in many different social and economic groups
- An opposition leadership with clear ideas around which people can rally
- The ability to use the media in some form to get a message across
- A mechanism for undermining the existing regime - whether by internal coup in the case of a military junta, the emergence of reformers, or the simple exhaustion of an existing government leading to its collapse
External pressure from key countries able to exert influence.

Experience has shown that a combination of the above is usually necessary for success.

Examples
In Eastern Europe in the 1990s, for example, several factors came into play. There were the protests, the communist governments were exhausted, reformers came to the fore, the Soviet Union under Mikhail Gorbachev withdrew its support and the local security forces switched sides.

However, in Uzbekistan in 2005, protests in the city of Andijan were swiftly repressed because they did not lead to wider influences being brought to bear.

And in China in 1989, the democracy demonstrators in Tiananmen Square were eventually dispersed by force because the Chinese government cracked down instead of cracking up.

In Burma, the protesters have been faced with an implacable military government. Maybe elements of the armed forces will rebel and overthrow the old guard. But this has not happened yet.

In the meantime, the regime has blocked off the media, including the new phenomenon of the internet, which proved instrumental in helping to mobilise opinion abroad.

External pressure, in the form of international condemnation and talk of sanctions, has not been strong enough to be decisive.

The China connection
I watched the unfolding events while on a visit to China, and it was interesting to note the approach to events in Burma there.

On satellite television, one could see the concern growing in Europe and the United States. This emphasised the way in which the foreign policies of Western governments are influenced by non-governmental organisations, human rights groups and also celebrities.

- On French television, the actress Jane Birkin was interviewed at length about Burma and the next day led a delegation to see President Nicolas Sarkozy.

- In China there was none of that. The media almost ignored the crisis in Burma. The first 10 minutes of the nightly news concentrated, as it always does, on the comings and goings of the senior Chinese leadership, which seemed to consist mostly of making speeches.

The government in Beijing is not susceptible to influence on human rights grounds. It has a policy of pursuing its own interests world wide (which require the acquisition of large amounts of natural resources) while keeping out of world crises as far as possible.

There is only one point of pressure on China - the Olympic Games being held in Beijing next year. The Chinese government is desperate that there should be no boycott. The Olympics are presented as the symbol of China's "peaceful rise", as it is called.

So China has to pay some attention to world opinion. That has led to it calling for restraint in Burma, but not much more.

The prospect in Burma now is for another lengthy campaign for democracy of the kind that has had to be waged since the last major crackdown in 1988.

There will always remain the hope among activists, though, that one of the other decisive factors can suddenly turn things around.

+++++++++++++++++++++++++ คลิกกลับไปอ่านภาษาไทย

(1) ภาคผนวก

มองเหตุการณ์มิคสัญญีในพม่า ผ่านราชธานีแห่งใหม่ของรัฐบาลทหาร
ดุลยภาค ปรีชารัชช : ศูนย์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เป็นที่ทราบกันดีว่า การลุกฮือของกลุ่มพระสงฆ์และประชาชนชาวพม่าเพื่อประท้วงการขึ้นภาษีและราคาน้ำมันของกลุ่มรัฐบาลทหาร ได้กลายเป็นข่าวเด่นประเด็นร้อนที่ประชาคมโลกต้องจับตามองอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนยังเป็นเหตุการณ์ระทึกใจระดับชาติซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า เหตุการณ์มิคสัญญีที่เกิดขึ้นครั้งส่าสุดได้สะท้อนถึงการทำสงครามขับเคี่ยวระหว่าง "พลังธรรมยาตรา"กับ"พลังจากปลายกระบอกปืน" และความขัดแย้งระหว่าง"พลังประชาธิปไตย"กับ"พลังเผด็จการ"

แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์จลาจลครั้งล่าสุดอาจมีความยืดเยื้อ รุนแรง และจบลงด้วยโศกนาฎกรรมครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์พม่า เนื่องจากศูนย์อำนาจของรัฐบาลทหารในปัจจุบันไม่ได้ตั้งอยู่ที่นครย่างกุ้ง แต่กลับอยู่ที่กรุงเนปิดอว์ ราชธานีแห่งใหม่ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการหักเหลี่ยมทางยุทธศาสตร์ระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงกับกลุ่มรัฐบาลทหาร โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

1. รัฐบาลทหารพม่าได้ตระหนักดีว่า นครย่างกุ้งคือศูนย์รวมการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมและพลังประชาธิปไตย ตลอดจนเสี่ยงต่อการถูกแทรงแซงจากมหาอำนาจตะวันตก โดยเหตุการณ์ประท้วงครั้งยิ่งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2531 (8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 หรือ เหตุการณ์ 8888) กองกำลังของรัฐบาลต้องตกอยู่ในภาวะคับขันทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากสถานที่ราชการหลายแห่งได้ถูกปิดล้อมจากคลื่นมหาชน ตลอดจนมีรายงานการปรากฎตัวของเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐอเมริกา จอดลอยลำอยู่เหนืออ่าวเมาะตะมะ

ภัยคุกคามดังกล่าวจัดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พลเอกอาวุสโสตันฉ่วย ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปยังเนปิดอว์เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 เพื่อสถาปนาศูนย์อำนาจที่เข้มแข็งและหลีกหนีจากการถูกจารกรรมข้อมูลโดยสื่อต่างชาติ และกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซึ่งมีเครือข่ายอยู่หนาแน่นทั่วเขตนครย่างกุ้ง โดยสังเกตได้จากการใช้ยุทธศาสตร์ผ่าเมืองหลวงแห่งใหม่ออกเป็นสามส่วนเพื่อแยกประชาชน ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหารออกจากกัน ตลอดจนมีการขุดอุโมงค์ลับและติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานตามหุบเขาต่างๆ รอบเขตเมืองหลวงเพื่อป้องกันการโจมตีจากมหาอำนาจตะวันตก

2. การลุกฮือของพลังพระสงฆ์และประชาชนครั้งล่าสุด ได้เกิดขึ้นที่นครย่างกุ้งและตามหัวเมืองต่างๆ เช่น มัณฑะเลย์ มะละแหม่ง และพะโค แต่ศูนย์อำนาจของรัฐบาลทหารกลับไม่ได้ตั้งอยู่ที่นครย่างกุ้งเหมือนเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2531 โดยหากวิเคราะห์ตามหลักภูมิรัฐศาสตร์จะพบว่า กรุงเนปิดอว์นั้นนอกจากจะตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศแล้ว ยังตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางระหว่างนครย่างกุ้งกับมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นสองเมืองใหญ่ของการลุกฮือเพื่อต่อต้านระบอบเผด็จการทหาร นอกจากนี้ ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันได้ขยายเส้นทางถนนผ่านกรุงเนปิดอว์ทั้งในแนวดิ่งและแนวระนาบ เพื่อเสริมความคล่องตัวในการเคลื่อนกำลังปราบกลุ่มจลาจลและแผ่อำนาจของระบอบทหารให้เข้าถึงทุกภาคส่วนของประเทศ ดังนั้น จึงดูเหมือนว่ารัฐบาลทหารได้อ่านเกมส์การประท้วงครั้งล่าสุดอย่างค่อนข้างทะลุปรุโปร่ง และเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวโดยทำการละทิ้งมหานครย่างกุ้งและสถาปนาศูนย์อำนาจแห่งใหม่ทางตอนกลางของประเทศ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉิน ตลอดจนใช้โครงสร้างภูเขาเป็นปราการในการรับศึก หากเกิดการแทรกแซงจากต่างชาติ ซึ่งในกรณีดังกล่าวการมีศูนย์อำนาจอยู่ที่ย่างกุ้ง จัดว่ามีความเสี่ยงสูงทั้งจากการลุกฮือของประชาชนและการรุกรานทางทะเลจากกองกำลังต่างชาติ

3. อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทหารกลับเป็นฝ่ายพลาดพลั้งเสียเอง เนื่องจากเหตุการณ์จลาจลครั้งล่าสุดล้วนมาจากภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม และการผูกขาดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มคณะทหาร นอกจากนี้การระดมเงินจำนวนมหาศาลเพื่อทำการก่อสร้างราชธานีแห่งใหม่ ก็เป็นต้นตอสำคัญของความผันผวนของนโยบายการคลังพม่า โดยแหล่งข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองเศรษฐกิจ ได้รายงานว่าในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2548-2549 ธนาคารกลางของพม่าได้เพิ่มงบประมาณแผ่นดินเป็นจำนวนถึง 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำไปก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวจากวงเงินงบประมาณในช่วงปีก่อน (960 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2546-2547) นอกจากนี้การสถาปนากรุงเนปิดอว์จำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูงเนื่องจากต้องมีการวางผังเมืองใหม่ สร้างที่ทำการกระทรวงต่างๆ ตลอดจนเกิดการทุจริตคอรัปชั่นในโครงการรับเหมาและประมูลการก่อสร้าง ประกอบกับประชาชนชาวพม่าจำนวนมากยังถูกเกณฑ์ไปเป็นแรงงานในการก่อสร้าง โดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับค่าตอบแทนและถูกใช้แรงงานเยี่ยงทาส

จากการวิเคราะห์ข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า เหตุการณ์มิคสัญญีในพม่าล้วนเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับการก่อตัวของราชธานีเนปิดอว์ ทั้งในเชิงของเหตุปัจจัยและการหักเหลี่ยมทางยุทธศาสตร์ โดยผู้เขียนมีความเชื่อว่าต้นตอของความวุ่นวายทั้งหมด เกิดจากการขูดรีดประชาชนของกลุ่มเจ้าหน้าที่ทหารและการเร่งรีบก่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่จนเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันราชธานีเนปิดอว์ก็จัดเป็นตัวหมากสำคัญ ที่ทำให้สถานการณ์ยืดเยื้อ เนื่องจากรัฐบาลทหารพม่าจัดว่าอยู่ในภาวะได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ทั้งในเชิงของการเคลื่อนกำลังปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และการหลีกหนีจากการถูกปิดล้อมในมหานครย่างกุ้ง แต่อย่างไรก็ตาม หากมีแรงกดดันอย่างต่อเนื่องจากนานาชาติ โดยเฉพาะมหาอำนาจตะวันตก ตลอดจนการเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อยและองค์การระหว่างประเทศ ก็ไม่แน่ที่รัฐบาลทหารพม่าอาจต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบในเหตุการณ์วิปโยคครั้งล่าสุด

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

ผู้สนใจข่าวสารจากสื่อพม่าโดยตรง ทั้งจากสื่อวิทยุ(ที่มีระบบออนไลน์) สื่ออินเตอร์เน็ต
และเว็บไซต์องค์กรพม่าต่างๆ สามารถคลิกไปค้นหาข่าวได้


Burmese Radio
http://www.dvb.no
http://www.rfa.org/burmese
http://www.bbc.co.uk/burmese
http://www.voanews.com/burmese
http://www.moemaka.net

Online Media of Burma
http://www.mizzima.com
http://www.yoma3.org
http://www.khitpyaing.org
http://www.irrawaddy.org
http://www.burmanet.org
http://www.laywaddy.org
http://www.shanland.org
http://www.monnews-imna.com
http://www.kachinnews.com
http://www.kaladanpress.org
http://www.kaowao.org
http://www.khonumthung.com
http://www.narinjara.com
http://www.nmg-news.com
http://www.Hittaing.org
http://www.hittaing.org
http://www.burmatoday.net
http://www.kachinnews.com
http://www.burma.ahrchk.net
http://burmareview.com
http://burmadigest.wordpress.com
http://www.tayzathuria.org.uk
http://www.rebound88.net
http://www.monnews-imna.com
http://www.rakhapura.com

Burmese Organization web
http://www.dpns.net
http://www.ncgub.net
http://www.ncub.org
http://www.womenofburma.org
http://www.encburma.org
http://www.kwekalu.net
http://www.knla.meabs.com
http://www.kachinland.org
http://www.shanland.org
http://www.chinland.org
http://www.sycb.info
http://www.absdf8888.org


ข่าวล่าสุด
Burma: Thousands dead in massacre of the monks dumped in the jungle
By MARCUS OSCARSSON
Last updated at 15:04pm on 1st October 2007


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

The Burma revolt is over...

Some 2,000 monks are being held in the notorious Insein Prison or in university rooms which have been turned into cells. There were reports that many were savagely beaten at a sports ground on the outskirts of Rangoon, where they were heard crying for help.

Others who had failed to escape disguised as civilians were locked in their bloodstained temples. There, troops abandoned religious beliefs, propped their rifles against statues of Buddha and began cooking meals on stoves set up in shrines. In stark contrast, the streets of Rangoon and Mandalay - centres of the attempted saffron revolution last week - were virtually deserted.

A Swedish diplomat who visited Burma during the protests said last night that in her opinion the revolution has failed. Liselotte Agerlid, who is now in Thailand, said that the Burmese people now face possibly decades of repression. "The Burma revolt is over," she added.

"The military regime won and a new generation has been violently repressed and violently denied democracy. The people in the street were young people, monks and civilians who were not participating during the 1988 revolt. "Now the military has cracked down the revolt, and the result may very well be that the regime will enjoy another 20 years of silence, ruling by fear."