โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 28 September 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๖๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ (September, 28, 09,.2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

แม็กซ์ เวเบอร์ซึ่งมีทัศนะไปในเชิงบวกและลบอย่างสุดขั้วเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ และเชื่อว่า สังคมมักจะย้อนกลับเป็นวงกลมเสมอ. เวเบอร์ไม่ได้มองประชาธิปไตยว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความชอบธรรม ในฐานะรัฐบาลชุดหนึ่งอาจได้รับความชอบธรรมโดยผ่านกฎหมายต่างๆ และหลักการบางอย่างที่ไม่ได้รับการสถาปนาขึ้นมาผ่านการออกเสียงในระบอบประชาธิปไตย. เวเบอร์ยังอ้างด้วยว่า มันมีความเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์สำหรับสังคมสมัยใหม่ที่จะย้อนกลับไปสู่สภาพเดิม และกลายเป็นผู้ดำเนินรอยตามรูปแบบอันเหี้ยมโหดของความเป็นผู้นำที่มีบารมี

28-09-2550

Legitimacy & Legality
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

No legitimacy: ไม่มีความชอบธรรมสำหรับเผด็จการทหารพม่า
Legitimacy: ว่าด้วยความชอบธรรมตกยุค vs ความชอบธรรมร่วมสมัย
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
บรรณาธิการบริหาร มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความชอบธรรม (legitimacy)
ซึ่งเป็นความพยายามที่จะค้นหาคำตอบ ลักษณะของความชอบธรรมทางการเมือง
ซึ่งบรรดารัฐต่างๆ ในโลกต่างอ้างว่าตนมีสิทธิ์ที่จะปกครองพลเมือง และบังคับใช้กฎหมาย
กับผู้อยู่ใต้ปกครอง ประกอบกับความพยายามที่จะสะท้อนให้เห็นเหตุการณ์บางอย่าง
ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในประเทศพม่า กล่าวคือ การออกมาประท้วงของพระสงฆ์และประชาชนเรือนแสน
ที่ร้องหาประชาธิปไตย พวกเขาเหล่านี้กลับถูกปราบปรามอย่างรุนแรงและป่าเถื่อนจากกองทัพ
โดยไม่ฟังเสียงเรียกร้องจากประชาคมโลก คำถามคือ เผด็จการทหารพม่าอ้างความชอบธรรมชนิดใด?

สำหรับสาระสำคัญของบทความนี้ ได้มีการลำดับเรื่องราวแบ่งออกเป็น ๒ ตอน ดังนี้
๑. ไม่มีความชอบธรรมสำหรับเผด็จการทหารฆ่าคน และ
๒. ว่าด้วยความชอบธรรมตกยุค และความชอบธรรมร่วมสมัย
โดยเรื่องแรก เป็นการสะท้อนถึงการไม่มีความชอบธรรมของเผด็จการทหารพม่า
ซึ่งสะท้อนผ่านข้อเขียนของแพทย์หญิงชาวพม่าที่ลี้ภัยไปอยู่ที่แคนาดาเมื่อหลายปีก่อน
ส่วนเรื่องที่สองเป็นความรู้เชิงสารานุกรมเกี่ยวกับเรื่อง ความชอบธรรม
และในที่นี้ได้นำเสนอต้นฉบับภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ legitimacy ด้วย
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๖๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

No legitimacy: ไม่มีความชอบธรรมสำหรับเผด็จการทหารพม่า
Legitimacy: ว่าด้วยความชอบธรรมตกยุค vs ความชอบธรรมร่วมสมัย
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
บรรณาธิการบริหาร มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

1. No legitimacy to the butcher military junta
Dr. Khin Saw Win

ไม่มีความชอบธรรมสำหรับเผด็จการทหารฆ่าคน
ก่อนเหตุการณ์ 8-8-88 ที่เกิดการลุกฮือขึ้นมาทั่วประเทศ พม่าจัดเป็นดินแดนที่ไม่มีใครรู้จักมากนักในชุมชนนานาชาติ โชคไม่ดีหรือโชคดีก็แล้วแต่ หลังจากการฆาตกรรมหมู่ที่เต็มไปด้วยการนองเลือดในเหตุการณ์การลุกฮือ 8-8-88 พม่าได้สูญเสียผู้คนที่มีพรสวรรค์จำนวนมาก ในจำนวนนี้มีทั้งนักศึกษาและครูบาอาจารย์ ซึ่งได้หลบหนีออกจากประเทศ. ในทุกวันนี้บรรดานักกิจกรรมชาวพม่าได้กระจัดกระจายไปทั่วโลก และโดยผ่านความมานะพยายามของคนเหล่านี้ พม่าจึงเป็นที่รับรู้และได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดโดยชุมชนโลก

ปฏิบัติการอันโหดเหี้ยมของรัฐบาลเผด็จการทหารได้ถูกประณามจากชุมชนนานาชาติ ผ่านการลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ และคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การดังกล่าว. ประเทศแคนาดาเองได้แสดงถึงความห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์ที่แย่ลงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่ามาโดยลำดับ ปฏิกริยาที่ตามมา คือบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับปฏิบัติการอันหลายหลากจากแคนาดา ที่ได้ช่วยเหลือผู้คนชาวพม่าในการต่อสู้ของพวกเขา เพื่อฟื้นฟูสันติภาพและประชาธิปไตยในประเทศนี้ อาทิเช่น

- แคนาดาได้กำหนดมาตรการทางเศรษฐกิจบางอย่างที่พิถีพิถันต่อพม่าในเดือนสิงหาคม 1997
- แคนาดาได้จัดหางบประมาณ 14.4 ล้านเหรียญ ในการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพชาวพม่าในบังคลาเทศและในประเทศไทย เป็นต้น

นอกจากนี้ ประเทศแคนาดายังได้ดำเนินมาตรการอีกหลายอย่าง กล่าวคือ
- การระงับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ แก่พม่าภายใต้การนำของกองทัพ นับจากปี ค.ศ.1988
- การยุติการค้ายุทธปัจจัยต่างๆ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับด้านการทหาร
- การระงับการค้าและการทูตในประเทศพม่า และ
- การระงับการให้การส่งเสริมบริษัทแคนาดาที่ทำธุรกิจในพม่า รวมถึงการส่งออกและการสนับสนุนในเรื่องการพาณิชย์ทุกชนิด

แคนาดายังคงมีการติดต่อพูดคุยกับนางออง ซาน ซู จี โดยผ่านนักการทูตของแคนาดาประจำพม่าซึ่งพำนักอยู่ในประเทศไทย. มีรายงานที่เชื่อถือได้ว่าธุรกิจและการลงทุนของแคนาดาในพม่า ได้ยุติลงแล้วกับบรรดาเครือญาติและพรรคพวกของอันธพาลแห่งกองทัพ. Donors, ซึ่งเป็นตัวแทนที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และองค์กรเอกชนต่างๆ ซึ่งประสงค์จะทำงานในพม่า จะต้องมีการเซ็น MOU (memorandum of understanding)กับรัฐบาลทหารที่บริหารประเทศ. แม้ว่าเนื้อหาจะไม่เป็นไปอย่างเปิดเผย แต่ก็เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า ขบวนการของพวกเขาเหล่านี้ จะถูกจับตาดูและควบคุมอย่างใกล้ชิดภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ที่เข้มงวด. ถ้าหากว่ามันควรจะมีแคมปัสของมหาวิทยาลัยแคนาดาต่างๆ ลงหลักปักฐานในอนาคตอันใกล้ในประเทศพม่า ดังที่ได้รับการเสนอแนะโดย Myint Shwe, ก็ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า มันจะถูกล้มล้างและทำให้เสื่อทรามลงโดยผลประโยชน์เพียงลำพังของคนระดับสูงต่างๆ ในกองทัพพม่า

พรรค NLD ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า, "…การขาดเสียซึ่งธรรมาภิบาลในระดับรากเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ของพม่า และหากปราศจากก้าวย่างอันเด็ดเดี่ยวที่กระทำเพื่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างแท้จริงและได้ผล, มาตรการต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและมนุษยธรรมทั้งหลาย ก็จะเป็นเพียงสิ่งที่มาทดแทนเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น" ความจริงของเรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์โดยสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสังเกตได้ในพม่า

ขณะที่การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมและมาตรฐานทางจริยธรรมอันเข้มงวดสำหรับความเกี่ยวพันในระดับนานาชาติ จะต้องยังคงเป็นเรื่องที่มาก่อนสิ่งอื่น เราควรจะหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่จะไปให้ความชอบธรรมกับคณะผู้บริหารที่มาจากฝ่ายเผด็จการทหาร. โดยจะต้องไม่มีสถานทูตในพม่า, รัฐบาลแคนาดาได้ยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า "ระบอบที่ฆ่าคนอย่างทารุณ"(butcher regime)ไม่ใช่รัฐบาลที่มีความชอบธรรม. ปฏิบัติการเช่นนี้ ชุมชนนานาชาติมีพันธกิจเพียงทำลายระบอบดังกล่าว มากกว่าที่จะให้ระบอบอันชั่วร้ายนั้นทำร้ายประชาชน

+++++++++++++++++++++++++++++++

เกี่ยวกับ Dr Khin Saw Win (Alice)
อดีตแพทย์ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลย่างกุ้งและเป็นแพทย์ประจำตัวของนางออง ซาน ซู จี ซึ่งได้รับประกาศณียบัตร M.B.,B.S. และ M.Med(Int Med). ปัจจุบันเธอดำรงตำแหน่งอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์และการพยาบาลที่มหาวิทยาลัยอัลเบอร์ต้า. นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้อำนวยการองค์กร Burma Watch International ด้วย (ข้อมูลจาก http://www.burmawatch.org/com-khin-junta-not-legit.html)

+++++++++++++++++++++++++++++++

2. Legitimacy: ว่าด้วยความชอบธรรมตกยุค และความชอบธรรมร่วมสมัย
(สารานุกรมเที่ยงคืน เรื่อง "ความชอบธรรมในเชิงรัฐศาสตร์") [English Version]

ความชอบธรรมในเชิงรัฐศาสตร์
คำว่า"ความชอบธรรม"(Legitimacy) บ่อยครั้งมักถูกตีความในลักษณะที่เป็นบรรทัดฐานหรือมาตรฐานที่เป็นไปในเชิงบวก และความหมายในเชิงนี้ ได้เป็นที่สนใจมากในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาศีลธรรม(moral philosophy). ความชอบธรรมในทางรัฐศาสตร์ ถือว่าเป็นรากฐานเกี่ยวกับอำนาจทางการเมือง ซึ่งได้รับการปฏิบัติโดยความสำนึกในส่วนของรัฐบาลที่ทำให้รัฐมีสิทธิที่จะปกครอง และด้วยการยอมรับบางอย่างจากผู้ถูกปกครองในสิทธิธรรมอันนั้น

บางสิ่งที่มี"ความชอบธรรม" ก็ต่อเมื่อบุคคลต่างเห็นชอบร่วมกันกับมัน. ในความหมายเชิงบวก ความชอบธรรมได้รับความสนใจอย่างมากในทางรัฐศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น สถาบันหนึ่งซึ่งถูกรับรู้ในฐานะที่มีความชอบธรรม ถ้าหากว่าผู้คนโดยทั่วไปที่อยู่ใต้อำนาจนั้นได้ให้ความเห็นชอบหรือยอมรับต่อสถาบันดังกล่าว. ตามทัศนะของ John Locke, นักสัญญาประชาคมชาวอังกฤษ, คิดว่าประเด็นเกี่ยวกับ"ความชอบธรรม"ได้ถูกเชื่อมโยงกับเรื่องของ"ความยินยอมพร้อมใจ"(consent), ทั้งอย่างชัดแจ้งและโดยนัย (explicit and tacit)

ความชอบธรรมในทางรัฐศาสตร์ เป็นการยอมรับของประชาชนในระบอบการปกครองหรือกฎหมายในฐานะอำนาจอย่างหนึ่ง. ที่ซึ่งอำนาจ(authority)ได้อ้างถึงฐานะตำแหน่งของมันในรัฐบาลที่ได้รับการสถาปนาขึ้น ศัพท์คำว่า"ความชอบธรรม"จะถูกใช้เมื่ออธิบายถึงระบบของรัฐบาลในตัวมันเอง - ที่ซึ่ง"รัฐบาลอาจได้รับการทำให้มีความหมายกว้างๆ โดยทั่วไปว่า "ขอบเขตของอิทธิพล"(sphere of influence). ในทัศนะของ Robert Dahl, ความชอบธรรมได้รับการพิจารณาว่าเป็นเงื่อนไขพื้นฐานอันหนึ่งสำหรับการปกครอง กล่าวคือ อย่างน้อยที่สุด หากปราศจากความชอบธรรมใดๆ ก็จะนำรัฐบาลไปสู่ความชะงักงันหรือความล่มสลายในที่สุด

Robert A. Dahl ได้อรรถาธิบายแนวคิดเกี่ยวกับ"ความชอบธรรม" โดยใช้วิธีการอุปมาอุปมัยเกี่ยวกับอ่างเก็บน้ำ ยกตัวอย่างเช่น ตราบใดที่อ่างเก็บน้ำยังคงมีน้ำอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ มันก็ยังคงธำรงรักษาการทำประโยชน์อยู่ได้ แต่ถ้าหากว่าปริมาณของมันลดน้อยถอยลงต่ำกว่าระดับที่ต้องการ มันก็ปราศจากความจำเป็นและประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น. ระบอบต่างๆ ในรัฐทั้งปวงเรียกร้องต้องการความยินยอมพร้อมใจของประชากรส่วนใหญ่ เพื่อที่จะธำรงรักษาอำนาจเอาไว้. ในหลายๆ ประเทศ เรื่องของความชอบธรรมไม่ได้เป็นปัญหาเท่าใด นั่นคือระบอบการปกครองที่ไม่น่าพอใจเป็นจำนวนมากที่สามารถอยู่รอดมาได้ เพราะมันได้รับการสนับสนุน และถูกพิจารณาว่าชอบธรรมโดยคนกลุ่มน้อย ซึ่งคนเหล่านี้ล้วนเป็นกลุ่มชนชั้นสูงที่มีอำนาจและอิทธิพล ยกตัวอย่างเช่น ประเทศพม่า เป็นต้น

ความชอบธรรมในทางนิติศาสตร์
ในกรณีของกฎหมาย "ความชอบธรรม"(legitimacy) ควรถูกทำให้แตกต่างไปจาก "ความถูกต้องตามกฎหมาย"(legality) กล่าวคือ การกระทำบางอย่างอาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ปราศจากความชอบธรรมก็ได้ (ดังเช่นกรณีของกฏหมายที่ผิดทำนองคลองธรรม). ในทางกลับกัน การกระทำบางอย่างอาจเป็นสิ่งที่ชอบธรรม แต่อาจไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ได้.

ในบางสถานการณ์ โครงสร้างอำนาจทางการเมืองในระบอบรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย ที่แบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ส่วน คือ อำนาจบริหาร, อำนาจนิติบัญญัติ, และอำนาจตุลาการ (executive, legislature, and/or judiciary)) เกิดปะทะกันในประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรม ความขัดแย้งกันอันนี้อาจเป็นที่มาของวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญ (1) ได้

(1) A constitutional crisis is a severe breakdown in the smooth operation of government. Generally speaking, a constitutional crisis is a situation in which separate factions within a government disagree about the extent to which each of these factions hold sovereignty. Most commonly, constitutional crises involve some degree of conflict between different branches of government (e.g., executive, legislature, and/or judiciary), or between different levels of government in a federal system (e.g., state and federal governments).

"ความชอบธรรม" เป็นแนวความคิดอันหนึ่งซึ่งบ่อยครั้งนำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ ด้วย อย่างเช่น เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง, ประเภทต่างๆ ของอำนาจ(authority), และยังนำไปใช้กับประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความชอบธรรมในเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง ยกตัวอย่างเช่น ลัทธิทุนนิยม ดังที่มีการสนทนากันในขนบจารีตของพวกมาร์กซิสท์

แบบฉบับต่างๆ ของความชอบธรรม (Types of legitimacy)

ก. ความชอบธรรมโดยพระผู้เป็นเจ้า (Numinous legitimacy)
การปกครองโดยสมมุติเทพ (godking) ของอียิปต์โบราณ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุด นั่นคือคำสอนทางเทววิทยาที่ฟาโรห์ทุกพระองค์คือตัวแทนแห่งพระสุริยเทพ(Horus) ซึ่งมีพระเศียรเป็นเหยี่ยว โอรสแห่งเทพโอซิลิส (Osiris - เทพแห่งอิยิปต์ ซึ่งจะสวรรคตทุกปีและฟื้นคืนชีพในร่างใหม่อย่างมีชีวิตชีวา และพระองค์คือความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ, บางตำรากล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นเทพแห่งใต้พสุธา คอยทำหน้าที่พิพากษาความตาย). คำสอนดังกล่าว ดูเหมือนจะย้อนกลับไปยังรากเดิมของจักรวรรดิ

นักบวชคริสเตียนได้สืบทอดความชอบธรรมของตน และยังคงประพฤติปฏิบัติมาจากต้นตอทำนองเดียวกันแห่งความเป็นกษัตริย์ ซึ่งตามคำสอนที่เป็นทางการ ตำแหน่งขององค์สันตะปาปาวางอยู่บนพื้นฐานการแต่งตั้งขององค์พระคริสต์แห่งเซนต์ปีเตอร์ ซึ่งยังคงศักดิ์สิทธิ์ ยุติธรรม และมีความชอบธรรมต่อเนื่องที่จะปกครองโดยสันตะปาปาที่สืบทอดกันมาทุกพระองค์

ข. ความชอบธรรมที่มาจากพลเมือง (Civil legitimacy)
ความชอบธรรมที่มาจากพลเมืองดำรงอยู่ในบางระบอบการปกครองของรัฐบาล ที่มีพื้นฐานอยู่บนความตกลงร่วมกันระหว่างองค์ประกอบที่เป็นอิสระและมีความเท่าเทียม ซึ่งได้รวมตัวเพื่อปฏิบัติการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความดีที่ได้รับความเห็นพ้องต้องกันอันหนึ่ง. ระบบรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ทุกๆ ระบบ หรือรัฐบาลแบบมีผู้แทนทุกชนิดได้สถาปนาขึ้นมาบนความตกลงพื้นฐานอันนี้ ที่จะดำเนินรอยตามการมีอยู่ของกฎระเบียบบางอย่าง. รัฐบาลที่มีการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญสมัยใหม่ ได้สร้างอัตลักษณ์อันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับความชอบธรรมของพลเมืองที่มีความชัดเจน และบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐบาลทั้งหลาย ล้วนปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบอันนั้นซึ่งน่าไว้วางใจมากกว่าปฏิบัติการด้วยการบีบบังคับ หรือใช้อำนาจควบคุม. อันนี้ได้รับการแสดงออกในสถาบันของการเลือกตั้งต่างๆ อย่างเป็นสาธารณะ

ต้นตอความชอบธรรม 3 แหล่งในทัศนะของเวเบอร์ (Weber's three sources)
นักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber : 1864-1920) ได้ให้เหตุผลว่า มีรูปแบบ 3 อย่างของความชอบธรรม และสังคมมนุษย์ทั้งมวลตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ได้วางความชอบธรรมอยู่บนรากฐานดังกล่าวนี้คือ

1. ความชอบธรรมมาจากบารมีของผู้นำทางการเมือง (Charismatic authority) ความชอบธรรมในลักษณะนี้มีพื้นฐานมาจากความมีเสน่ห์ หรือลักษณะพิเศษของผู้นำทางการเมืองนั่นเอง นอกจากนี้แล้วความชอบธรรมในลักษณะดังกล่าว ยังรวมถึงการที่ผู้นำทางจิตวิญญาณ มีความสามารถเหนือธรรมชาติที่ไม่อาจอธิบายได้ แหล่งที่มาของความชอบธรรมลักษณะนี้จะปรากฏอยู่ในสังคมการเมืองที่ยังคงปกครองด้วยรูปแบบของชนเผ่า (tribal chieftain) หรือนำศาสนาเป็นหลักในการปกครอง (religious leader)

2. ความชอบธรรมมาจากอำนาจตามขนบจารีต (Traditional authority) ความชอบธรรมนี้มีพื้นฐานจากประเพณีการปกครองที่มีความสืบเนื่องเรื่อยมาในสังคมการเมือง ประชาชนหรือผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองจะยินยอมและยอมรับที่จะอยู่ภายใต้อำนาจนั้น และเชื่อว่าผู้ปกครองมีความชอบธรรมที่จะทำการปกครองต่อไปดังที่เคยเป็นมาในอดีต ระบอบกษัตริย์คือแหล่งที่มาของความชอบธรรมลักษณะนี้

3. ความชอบธรรมมาจากอำนาจหน้าที่ตามหลักเหตุผลและกฎหมาย(Rational/legal authority) ความชอบธรรมในการใช้อำนาจของรัฐลักษณะนี้ มีที่มาจากการกำหนดขั้นตอน กระบวนการทางการเมือง หลักการ และบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ขั้นตอนหรือหลักการเหล่านี้จะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ รูปแบบการปกครองที่อ้างความชอบธรรมดังกล่าว ได้แก่ ระบบราชการ หรือระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน

แม็กซ์ เวเบอร์: ประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับความชอบธรรม
เวเบอร์ก็คล้ายๆ กับนักปรัชญาชาวอังกฤษ โธมัส ฮอบบส์(Thomas Hobbes) ซึ่งมีทัศนะไปในเชิงบวกและลบอย่างสุดขั้วเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ และเชื่อว่า สังคมมักจะย้อนกลับเป็นวงกลมเสมอ. เวเบอร์ไม่ได้มองประชาธิปไตยว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความชอบธรรม ในฐานะรัฐบาลชุดหนึ่งอาจได้รับความชอบธรรมโดยผ่านกฎหมายต่างๆ และหลักการบางอย่างที่ไม่ได้รับการสถาปนาขึ้นมาผ่านการออกเสียงในระบอบประชาธิปไตย. เวเบอร์ยังอ้างด้วยว่า มันมีความเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์สำหรับสังคมสมัยใหม่ที่จะย้อนกลับไปสู่สภาพเดิม และกลายเป็นผู้ดำเนินรอยตามรูปแบบอันเหี้ยมโหดของความเป็นผู้นำที่มีบารมี หรือเสน่ห์ดึงดูดใจ(charismatic leadership) ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นมาในประเทศบ้านเกิดของเขา เยอรมนี, ภายใต้การนำของ Adolf Hitler ถือเป็นตัวอย่าง และยังมีพยานหลักฐานในส่วนอื่นๆ ของโลกด้วย อย่างเช่น เผด็จการฟาสซิสท์ Musslini แห่งอิตาลี เป็นต้น

นักรัฐศาสตร์และนักคิดทางสังคมชาวฝรั่งเศส Mattei Dogan ได้เสนอแนวคิดร่วมสมัยมากอันหนึ่ง เกี่ยวกับการจัดจำแนกความชอบธรรม, ขณะที่การจำแนกความชอบธรรมของเวเบอร์ (ที่แบ่งออกเป็น ตามขนบธรรมเนียม / บารมี-เสน่ห์ดึงดูดใจ / เหตุผล-กฎหมาย) (traditional/charismatic/legal-rational) ได้ส่งอิทธิพลอย่างมากตลอดศตวรรษที่ผ่านมา, Dogan ได้เหตุผลว่า มันยังไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่าง "ความชอบธรรม" กับ "ระบบการเมือง"

ในข้อเท็จจริง ตามทัศนะของ Dogan, ความชอบธรรมใน 2 แบบแรก (แบบขนบจารีต และบารมี-เสน่ห์ดึงดูดใจ) ในทุกวันนี้ถือว่าได้ล้าสมัยไปแล้ว. ตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี้นี่เองเกี่ยวกับความชอบธรรมแบบเสน่ห์ดึงดูดใจ ได้ย้อนกลับไปถึงโคไมนี(Khomeini)แห่งอิหร่าน. Dogan เชื่อว่าอำนาจความชอบธรรมตามจารีตประเพณีได้สาบสูญไปอย่างสิ้นเชิง เว้นแต่ 2-3 ระบอบการปกครองในตะวันออกกลาง (อย่างเช่น ซาอุดิ อาราเบีย). ส่วนแบบที่สามเรียกว่า ความชอบธรรมตามหลักเหตุผลและกฎหมาย((Rational/legal authority) ในทัศนะของ Dogan คือการรวมกันอย่างหลากหลายสู่ระดับหนึ่งซึ่งลงตัวสอดคล้องกับยุคสมัย และจะไม่มีแบบฉบับความชอบธรรมอื่นใดอีกแล้ว

รูปแบบแตกต่างของรัฐบาลและความชอบธรรม
ในรัฐคอมมิวนิสท์ทั้งหลาย ความชอบธรรมเป็นเรื่องที่ได้รับมาโดยผ่านหลักการของพวกเขาเกี่ยวกับการสถาปนาความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจภายในสังคมนั้น แต่อย่างไรก็ตาม รัฐคอมมิวนิสท์เป็นจำนวนมาก ในท้ายที่สุด ได้ถอยหลังไปสู่ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จหรือการรวบอำนาจ และล้มเหลวที่จะบรรลุถึงเป้าหมายต่างๆ ของความเท่าเทียมทางสังคมและเศรษฐกิจตามปรัชญาการเมือง

ลัทธิรัฐธรรมนูญ หรือรัฐธรรมนูญนิยม(constitutionalism)เป็นแนวคิดใหม่อันหนึ่ง ที่ปรารถนาจะสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ทางการเมืองที่อยู่ภายใต้ระบอบปกครองโดยกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ. มันยึดมั่นในอำนาจสูงสุดของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และไม่เกี่ยวกับปัจเจกชนใดๆ มันดูดซับหลักการต่างๆ ของลัทธิชาตินิยม, ประชาธิปไตย และรัฐบาลที่มีขีดจำกัด. ความชอบธรรมทางการเมือง ซึ่งเกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญนิยม หรือความเชื่อที่ว่า การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด มันจะมีความชอบธรรมก็ต่อเมื่อมันดำเนินรอยตามขั้นตอนปกติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตัวบทกฎหมายของประเทศ

รูปแบบนี้ของความชอบธรรมถูกทำให้สัมพันธ์กับประชาธิปไตย ในฐานะความมีเหตุผลตามขั้นตอนรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยความเห็นชอบจากประชาชน. ตามทัศนะของ Friedrich (2), ลัทธิรัฐธรรมนูญโดยการแบ่งแยกอำนาจ(ระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ) ได้ตระเตรียมระบบเกี่ยวกับการถ่วงดุลย์ที่มีประสิทธิภาพอันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับการกระทำของรัฐบาล. มันเป็นโครงร่างของระบอบการปกครอง ที่ทำให้มั่นใจว่าจะมีความเที่ยงธรรมในการบริหาร และทำให้รัฐบาลมีความรับผิดชอบ

(2) Carl Joachim Friedrich (1901-1984) was a German-American professor and political theorist. His writings on Law and Constitutionalism made him one the world's leading political scientists in the post-World War II period. He is one of the most influential scholars of Totalitarianism.
http://en.wikipedia.org/wiki/Carl_Friedrich


ในระบอบกษัตริย์ต่างๆ นักปกครองได้รับความชอบธรรมโดยผ่านการรับรู้ของประชาชนว่า พระองค์คือนักปกครองที่ถูกต้องชอบธรรมแห่งปริมณฑลนั้น. การรับรู้นี้มักถูกยกระดับขึ้นเสมอโดยการเผยแพร่ถ่ายทอดความเชื่อที่ว่า พระองค์ทรงได้รับบัญชามาจากสวรรค์เพื่อครอบครองพระอิสริยายศและสถานภาพดังกล่าว และอันนี้ได้รับการสนับสนุนโดยผ่านทฤษฎีกำเนิดแห่งเทพ(หรือโอรสสวรรค์) รูปแบบของความชอบธรรมข้างต้นยังคงมีอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ในรูปของราชาธิปไตยสมบูรณาญาสิทธิราช(absolute monarchy) ที่ซึ่งระบอบกษัตริย์ยังคงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่นใน ซาอุดิ อาราเบีย. นอกจากนี้ ยังมีระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งแหล่งต้นตอตามจารีตของความชอบธรรม ได้ถูกรวมเข้ากันกับระบอบประชาธิปไตยและแหล่งของความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ ที่พบได้อยู่บ่อยๆ ในหลายประเทศของยุโรป

บ่อยครั้ง ประชาธิปไตยได้ถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นรูปแบบซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากของรัฐบาล แหล่งต้นตอร่วมกันมากสุดของความชอบธรรมทุกวันนี้คือ การรับรู้ว่า รัฐบาลกำลังประพฤติปฏิบัติภายใต้หลักการต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตย และอยู่ภายใต้การเคารพต่อเจตจำนงของประชาชน ที่เป็นเช่นนี้เพราะประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานอันหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนเจตจำนงของผู้คนทั้งหลายนั่นเอง. รัฐบาลส่วนใหญ่มักจะอ้างอาณัติการปกครองประชาชนในการมีอำนาจเชิงปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตาม อาณัติดังกล่าวที่สืบทอดมาอย่างไร สามารถแปรผันได้อย่างแหลมคมจากระบอบสู่ระบอบ ในรัฐเสรีประชาธิปไตยอ้างความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยบนรากฐานที่ว่า พวกเขามีอิสระและความเท่าเทียมในการแข่งขันเลือกตั้ง ซึ่งบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ได้มีส่วนร่วมโดยปราศจากแรงกดดันและความกลัวใดๆ นอกจากนี้มักมีการอ้างว่า รัฐเสรีประชาธิปไตยมีเสถียรภาพมั่นคงอย่างน่าสังเกตเพราะว่า ความชอบธรรมของรัฐนั้นมิได้ผูกมัดกับนักปกครองที่เป็นปัจเจกหรือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเท่านั้น

ตามข้ออ้างหรือเหตุผลนี้ ในรัฐที่มีการปกครองแบบเผด็จการ การปลดหรือการขับไล่นักปกครองสามารถนำไปสู่การล่มสลายโดยสมบูรณ์ในระบบของรัฐบาลได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในระบอบเสรีประชาธิปไตยที่มีการบริหารจัดการเป็นอย่างดีที่สุด พรรคการเมืองที่ปกครองอยู่ ปกติจะได้รับการเข้าแทนที่อย่างสงบโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ หรือความรุนแรงใดๆ. รัฐเสรีประชาธิปไตยยังได้รับความชอบธรรมบนรากฐานที่ตามกันมาจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการเขียนเป็นรายลักษณ์อักษร หรือขนบจารีตรัฐธรรมนูญที่ได้รับการเคารพ และได้รับการค้ำจุนโดยกระบวนการยุติธรรมหรือกฎหมายในรัฐที่มีสิ่งเหล่านี้

การมีส่วนร่วมของประชาชนส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตย. สื่อที่มีความเป็นอิสระและเข้มแข็ง ซึ่งไม่ถูกทำให้เฉไฉโดยอคติและมีอิสระจากการควบคุมบังคับของรัฐบาล จะดำรงอยู่ในระบอบประชาธิปไตย. มันมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลย์และควบคุมองคาพยพของรัฐโดยอีกองคาพยพหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่แพร่หลายทั่วไปในระบอบประชาธิปไตย(ด้วยการคานกันระหว่างอำนาจฝ่ายต่างๆ). มันคือเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วยความต่อเนื่องในเชิงนโยบาย ขณะที่รัฐบาลต่างๆ ได้รับเลือกขึ้นมาบริหารประเทศตามช่วงเวลาที่กำหนดหนึ่งๆ เท่านั้น แต่นโยบายยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

รัฐคอมมิวนิสท์ทั้งหลาย มักอ้างความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยบนพื้นฐานต่างๆ ที่ว่า พวกเขาได้ชัยชนะโดยการปฏิวัติของประชาชน และกำลังดำเนินการในฐานะตัวแทนของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับการปกครองที่เป็นวิทยาศาสตร์ของลัทธิมาร์กซ์. ในช่วงทศวรรษที่ 1930s เยอรมนีและอิตาลี, ระบอบนาซีและฟาสซิสม์ ต่างอ้างว่าเป็นตัวแทนเจตจำนงของประชาชนหรือมาจากมติมหาชน มากกว่าอ้างถึงเสรีประชาธิปไตยโดยตรงและแท้จริง. Carl Schmitt ได้สนทนาถึงปัญหาความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยในช่วงปีท้ายๆ ของสาธารณรัฐไวมาร์ (3) งานเขียนของ Schmitt ที่เป็นความเรียงเชิงโต้แย้งเรื่อง Legalitat und legitimitat (1932) กล่าวว่า 51% การออกเสียงในรัฐสภาที่ตรากฎหมายและความถูกต้องทางกฎหมาย(legality)ขึ้นมา, Schmitt กล่าวอย่างเสียดสีว่า อันนี้มันปราศจากการตั้งคำถามใดๆ ว่า ทำไมในส่วนที่เหลืออีก 49% ต้องยอมรับการตัดสินใจของเสียงส่วนใหญ่ 51% นั้นด้วย

(3) Weimar republic - สาธารณรัฐหนึ่งของเยอรมนี(1919-1933) สถาปนาขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จัดเป็นรัฐประชาธิปไตยของเยอรมัน ที่ปกครองในระบอบรัฐสภาและรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก ภายหลังจากการปกครองระบอบกษัตริย์ที่ล่มลง อันเนื่องมาจากเยอรมนีเป็นประเทศแพ้สงคราม อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐไวมาร์นี้ได้ถูกโค่นล้มลงในปี ค.ศ.1933 และถูกแทนที่โดยอาณาจักรไรน์ที่สาม[Third Reich].

ตามประวัติศาสตร์ อาณาจักรไรน์ที่สาม เป็นชื่อที่เป็นทางการของระบอบฮิตเลอร์ ซึ่งปกครองในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1933-1945 ภายใต้การโฆษณาชวนเชื่อของนาซีว่า อาณาจักรนี้จะคงอยู่ไปอีกพันปีและครอบครองโลก - สำหรับชื่ออาณาจักรไรน์ที่สาม เป็นการต่อเนื่องมาจากอาณาจักรหรือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ และอาณาจักรไรน์ที่สองที่สถาปนาขึ้นโดย Otto von Bismarck [1871-1918])
www.adl.org/children_holocaust/more_resources.asp

ลัทธิความรักชาติและลัทธิชาตินิยมมุ่งที่ความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อรัฐๆ หนึ่ง. ประชาธิปไตยในช่วงเวลาดังกล่าวได้รับการอรรถาธิบายในฐานะที่เป็นลัทธิชาตินิยมของพลเมือง. ลัทธิชาตินิยมสุดขั้วสามารถทำร้ายรัฐได้ แต่ในบางรูปแบบของลัทธิชาตินิยมได้ถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นประโยชน์หรือผลดีด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง ลัทธิชาตินิยมเผ่าพันธุ์ ที่ซึ่งรัฐได้รับความชอบธรรมมาจากกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเดียวกัน และลัทธิชาตินิยมทางศาสนาที่ซึ่งรัฐได้รับความชอบธรรมมาจากศาสนาหนึ่งที่ยอมรับนับถือร่วมกัน

+++++++++++++++++++++++
บรรณานุกรม

http://www.burmawatch.org/com-khin-junta-not-legit.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Constitutional_crisis
http://en.wikipedia.org/wiki/Carl_Friedrich
www.adl.org/children_holocaust/more_resources.asp
http://en.wikipedia.org/wiki/Legitimacy_%28political_science%29

+++++++++++++++++++++++

3. ความชอบธรรม (ฉบับภาษาอังกฤษจากสารานุกรมวิกกีพีเดีย)
http://en.wikipedia.org/wiki/Legitimacy_%28political_science%29

Legitimacy (political science)
The word legitimacy is often interpreted in a normative or a positive way. In a normative sense, legitimacy gets greater attention as a part of moral philosophy. Legitimacy is the foundation of such governmental power as is exercised both with a consciousness on the government's part that it has a right to govern and with some recognition by the governed of that right.

Something becomes "legitimate" when one approves of it. In a positive sense,legitimacy gets greater attention in political science. For example, an institution is perceived as legitimate, if approval for that institution is general among those people subject to its authority. According to John Locke, the British social contractualist, issues of legitimacy are linked to those of consent, both explicit and tacit.

Legitimacy in political science, is the popular acceptance of a governing regime or law as an authority. Where as authority refers to a specific position in an established government, the term legitimacy is used when describing a system of government itself-where "government may be generalized to mean the wider "sphere of influence." According to Robert Dahl, legitimacy is considered a basic condition for rule: without at least a minimal amount of legitimacy, a government will lead to frequent deadlocks or collapse in the long run.

Robert A. Dahl has explained the concept of legitimacy by using the metaphor of a reservoir. For example, as long as the reservoir stays at a certain level stability can be maintained, if it falls below the required level it is endangered. Regimes in all the states require the assent of a large proportion of the population in order to retain power. In several countries this is not the case: many unpopular regimes have survived because they are supported and considered as legitimate by a small but influential elite.

In the case of laws, legitimacy should be distinguished from legality. Action can be legal without being legitimate (as in the case of an immoral law). Action can also be legitimate without being legal. When sources of legitimacy clash with one another, constitutional crisis erupts.

Legitimacy as a concept is often applied to other, non-political, kinds of authority, and also to issues concerning the legitimacy of entire political-economic systems (such as capitalism) as discussed in the Marxist tradition.

Types of legitimacy
Numinous legitimacy

The dominion of a godking of which ancient Egypt offers the best example, is the theological doctrine according to which every Pharaoh is himself (among other things) the god Horus, son of Osiris. The doctrine seems to go back to the very origin of the empire. The Christian priesthood derived its legitimacy and still does from a source very similar to that of the kingship; according to official doctrine the Papal office is based on Christ's designation of St. Peter, which continues to sanctify and legitimize the rule of every successive pope.

Civil legitimacy
Civil legitimacy exists when a system of government is based on agreement between equally autonomous constituents who have combined to cooperate towards some common good. Every modern constitutional system or every system of representational government is founded either on a basic agreement to follow certain rules or at least on a justifiable assumption that a basic agreement to follow certain rules exists. Modern constitutional government makes one characteristic of civil legitimacy particularly clear: Governmental offices are ordered by trust rather than exercised by dominion. This is expressed in the institution of public elections.

Weber's three sources
The German economist and sociologist Max Weber argued that there are three forms of legitimacy, and that all human societies, across history, have been based on them.

- Rational/legal authority. Legitimacy based on the perception that a government's powers are derived from set procedures, principles, and laws which are often complex and are written down as part of the constitution. Example: representative democracy or bureaucrats.

Weber like the British Philosopher Thomas Hobbes, had an extremely negative and pessimistic view of human nature, and believed that societies often went through cycles. Weber did not see democracy as being necessary for legitimacy, as a government could be legitimized through laws and principles not established by a vote. Weber also claimed that it is perfectly possible for a modern society to revert back and become a follower of a brutal form of charismatic leadership, a phenomenon which later occurred in his home country of Germany under Adolf Hitler and which was also witnessed in other parts of the world, such as Mussolini's Italy.

French political scientist and social thinker Mattei Dogan offers a more contemporary conception of this typology of legitimacy. While Weber's typology (traditional/charismatic/legal-rational) was seminal throughout the previous centuries, Dogan argues that it is insufficient to cover the complex relationships between legitimacy and political systems.[1] In fact, in Dogan's view, the first two types (traditional and charismatic) are today obsolete. The most recent example of charismatic legitimacy dates back to Khomeini. Dogan believes that traditional authority has disappeared completely, with the exception of two or three regimes in the Middle East (like Saudi Arabia). The third type called rational-legal is, in Dogan's view, an amalgamation of many varieties, to such a degree that they no longer constitute a "type."

Different forms of government and legitimacy
In communist states legitimacy is acquired through their principle of establishing economic equality and economic growth within the society. However, many communist states eventually fell back on totalitarian methods as they failed to achieve the goals of social and economic equality.

Constitutionalism is a modern concept that desires a political order governed by laws and regulations. It stands for the supremacy of law and not of the individuals;it imbibes the principles of nationalism, democracy and limited government. Political legitimacy involves constitutionalism or the belief that an action is legitimate because it follows regular procedure which are part of the law of the land. This form of legitimacy is related to democracy as the justification of these constitutional procedures are agreed to by popular consent. According to Friedrich, constitutionalism by dividing power provides a system of effective restraints upon governmental action. It is a body of rules ensuring fair play and rendering the government responsible.

In monarchies, the Ruler gained legitimacy through the popular perception that he was the rightful ruler of the province. This perception was often enhanced by propagating the belief that he was divinely ordained to hold his post and this was advocated through the Divine origin theory. This form of legitimacy remains today in the form of absolute monarchy where the monarch still have effective power,for example in Saudia Arabia.Constitutional monarchy where traditional sources of legitimacy have been combined with democratic and constitutional sources of legitimacy is prevalent in many European countries.

Democracy is often perceived as the most popular form of government. The most common source of legitimacy today is the perception that a government is operating under democratic principles and is subject to the will of the people. This is because democracy is a based on the will of the people. Governments often claim a popular mandate to exercise power, however, how this mandate is derived can vary sharply from regime to regime. Liberal democratic states claim democratic legitimacy on the grounds that they have regular free and fair contested elections in which political parties participate without any fear or pressure. It has been claimed that liberal democratic states can be remarkably stable because the legitimacy of the state is not tied to an individual ruler or ruling party.

According to this argument, in a dictatorial state, deposing the ruler can lead to total collapse in the system of government. However, in most well-functioning liberal democracies the ruling party is regularly replaced peacefully without any constitutional change or major upheavels. A liberal democratic state gains legitimacy also on the following grounds that a rigid written constitution, or well-respected constitutional conventions which are upheld by the judiciary within the state is in existence. Popular participation of people in large numbers takes place in democracy. A strong and independent media which is unbiased and free from the control of the government exists in democracy. A system of checks and balances and control of one organ of the state by another is also prevalent in democracy.There is economic stability with continuity in policies for a specific period as governments are elected for a fixed tenure.

Communist states often claim democratic legitimacy on the grounds that they won a popular revolution and are acting on behalf of the people in accordance with the scientific rules of Marxism. In the 1930s Germany and Italy, Nazism and Fascism, respectively, claimed to represent the will of the people more directly and authentically than liberal democracy. Carl Schmitt discussed the problem of democratic legitimacy in the late years of the Weimar republic. Schmitt's contribution was his polemical treatise, Legalitat und legitimitat (1932). 51% of parliamentary votes make for law and legality, Schmitt stated somewhat sarcastically without ever asking why the remaining 49% accept the majority 51% decision.

Patriotism and nationalism means loyalty to a state. Democracy at times is described as civic nationalism. Extreme nationalism can hurt any state but certain forms of nationalism are perceived as beneficial like ethnic nationalism, where the state derives legitimacy from cultural or racial groups, and religious nationalism, where the state derives legitimacy from a shared religion.

References

1. Dogan, "Conceptions of Legitimacy" in Encyclopedia of Government and Politics, 2004.

 


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Before 8-8-88 nation-wide uprising, Burma was not well known to the international community. Unfortunately, or fortunately, after the bloody massacre on 8-8-88, Burma has lost the talents of many people including students and professionals, who have fled the country. Nowadays Burmese activists are dispersed all over the world, and thus through their efforts Burma is under stern scrutiny by the world community.

The brutal actions of the military junta have been condemned by the international community through repeated Consensus Resolutions by the UN General Assembly and the UN Commission on Human Rights.