โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 27 September 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๖๒ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ (September, 27, 09,.2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

มีการแจกใบปลิวเรียกร้องให้ประชาชนในพม่าร่วมกันประท้วงรัฐบาลพม่า โดยการเคาะหม้อและกระทะเพื่อให้เกิดเสียงดังขับไล่สิ่งชั่วร้ายและภูตผีปีศาจ ใบปลิวดังกล่าวเรียกร้องให้ประชาชนในพม่าทำเสียงอึกทึกในวันที่ 11 ถึง 13 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยควรกระทำพร้อมกันในเวลา 19.02 น. 20.01 น.และ 21.00 น.เป็นต้นไป โดยในใบปลิวยังระบุอีกว่า การเคาะหม้อเคาะกระทะเสียงดัง จะสามารถทำให้ประเทศพ้นภัยจากสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เศรษฐกิจย่ำแย่ การจับกุมผู้บริสุทธิ์ตามอำเภอใจ
27-09-2550

Saffron Revolution
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

เหตุการณ์พระสงฆ์ ประชาชนพม่า เดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ
อำนาจโลกที่เดินถอยหลัง: กรณีเหตุการณ์ประท้วงในพม่า
(ความเป็นมา ตอนที่ ๓)

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียงและปรับปรุง
ขอขอบคุณข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ขอขอบคุณ Newsline ที่ส่งข่าวมายังมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

รายงานข่าวต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจาก Newsline
ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลที่เผยแพร่ตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นับจากวันที่ 25-26 กันยายน 2550
โดยมีข้อมูล และหัวข้อข่าวที่สำคัญอย่างรอบด้านดังต่อไปนี้
1. สถานการณ์ในประเทศพม่า - ประวัติศาสตร์ กำลังจะซ้ำรอยที่พม่า
2. การค้าชายแดน - ปัญหาการเมืองในพม่ากระทบการค้าชายแดน จ.ระนอง
3. แรงงานข้ามชาติ - กอ.รมน.สั่งติดบัตรโชว์เจ้าหน้าที่
4. ต่างประเทศ - อาเซียนนัดหารือระหว่างประชุมยูเอ็นวิกฤติการเมืองพม่า และ
- การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เน้นปัญหาพม่าและอิหร่าน

- เหตุประท้วงใหญ่พม่า บทพิสูจน์"ความน่าเชื่อถือ"ของอาเซียน
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๖๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เหตุการณ์พระสงฆ์ ประชาชนพม่า เดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ
อำนาจโลกที่เดินถอยหลัง: กรณีเหตุการณ์ประท้วงในพม่า
(ความเป็นมา ตอนที่ ๓)

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียงและปรับปรุง
ขอขอบคุณข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ขอขอบคุณ Newsline ที่ส่งข่าวมายังมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สรุปข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเทศพม่า
ประจำวันอังคารที่ 25 - วันพุธที่ 26 กันยายน 2550


1. สถานการณ์ในประเทศพม่า

1.1 หนังสือพิมพ์นิวไลต์ออฟเมียนมาร์ กล่าวหากลุ่มผู้สนับสนุนพรรค เอ็นแอลดี ใช้วิธีการรุนแรง
1.2 รัฐบาลทหารพม่าจับตลกดัง ฐานภวายภัตตาหารแก่พระพม่าที่นำการชุมนุมประท้วงรัฐบาล
1.3 นักการเมืองเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าถูกจับกุมแล้ว
1.4 พม่าประกาศเคอร์ฟิว 2 เมืองใหญ่ท่ามกลางการประท้วงขยายตัว
1.5 พระสงฆ์พม่านำกลุ่มผู้สนับสนุน ร่วมสวดมนต์ที่เจดีย์ชเวดากอง กรุงย่างกุ้ง ประกาศชุมนุมต้านรัฐบาลทหารพม่าต่อไป แม้จะถูกขู่ใช้กำลังก็ตาม โดยล่าสุดมีการเคลื่อนหน่วยปราบจลาจลเข้าปิดล้อมแล้ว สถานการณ์เริ่มตึงเครียด
1.6 เรื่องราคาเชื้อเพลิงในพม่า
1.7 ฤๅประวัติศาสตร์ กำลังจะซ้ำรอยที่พม่า

2. การค้าชายแดน

2.1 ปัญหาการเมืองในพม่ากระทบการค้าชายแดน จ.ระนอง
2.2 การบินไทยสั่งการจับตาการชุมนุม เตรียมแผนฉุกเฉินขนพนักงานคนไทยกลับ กลุ่มธุรกิจไทยเกาะติดรายวัน นักท่องเที่ยวยุโรปเริ่มยกเลิกทัวร์
2.3 การค้าบริเวณชายแดนไทยติดประเทศพม่า ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการประท้วง

3. แรงงานข้ามชาติ

3.1 หอการค้า จ.สงขลา โอดแรงงานข้ามชาติขาด วอนรัฐบาลปรับกฎหมายย้ายข้ามเขต
3.2 แรงงานข้ามชาติจากพม่าเดินทางไปขอบัตร กอ.รมน.สั่งติดบัตรโชว์เจ้าหน้าที่

4. ต่างประเทศ

4.1 กลุ่มสิทธิมนุษยชนเรียกร้องสหประชาชาติและพันธมิตรพม่าให้พยายามหาทางสกัดกั้นไม่ให้รัฐบาลทหารพม่า
ใช้ความรุนแรง เพื่อยุติการชุมนุมประท้วงอย่างสงบ
4.2 ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี(ฝรั่งเศส) นัดหารือฝ่ายค้านพม่า เผยจีนสะกิดเตือนรัฐบาลทหารแล้ว
4.3 อาเซียนนัดหารือระหว่างประชุมยูเอ็นวิกฤติการเมืองพม่า
4.4 ประชาคมโลกเรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม
4.5 การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเริ่มขึ้นแล้ว เน้นปัญหาพม่าและอิหร่าน
4.6 เหตุประท้วงใหญ่พม่า บทพิสูจน์"ความน่าเชื่อถือ"ของอาเซียน
4.7 เลขาฯอาเซียน ชี้พระประท้วง นำสู่การเปลี่ยนแปลงในพม่า
4.8 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ยืนยันความพร้อมดูแลและช่วยเหลือคนไทยในสหภาพพม่า
เดินทางกลับประเทศ หากสถานการณ์ภายในสหภาพพม่าอันตราย

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า
1.1 หนังสือพิมพ์นิวไลต์ออฟเมียนมาร์กล่าวหากลุ่มผู้สนับสนุนพรรคเอ็นแอลดีใช้วิธีการรุนแรง

หนังสือพิมพ์นิวไลต์ออฟเมียนมาร์ กระบอกเสียงของรัฐบาลทหารพม่า เผยแพร่บทความในหน้า 1 ฉบับวันนี้ กล่าวหากลุ่มผู้สนับสนุนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ใช้วิธีการรุนแรง วาจาหยาบคายกับพระสงฆ์ที่ไม่เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านรัฐบาล. รายงานระบุว่า กลุ่มผู้ประท้วงชุมนุมที่หน้าวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเจ้าอาวาสไม่เข้าร่วมการประท้วงของกลุ่มพระสงฆ์ พร้อมด่าทออย่างรุนแรง รวมถึงขู่จะขว้างผ้าถุงและยกทรงเข้าไปในบริเวณวัด เพื่อเหยียดหยามพระสงฆ์ในวัดดังกล่าว ซึ่งรายงานไม่ได้ระบุว่าเป็นวัดใด นอกจากนี้ยังไม่ระบุวันเวลาเกิดเหตุ ตลอดจนไม่มีรายงานว่า พระสงฆ์ในวัดมีปฏิกิริยาตอบโต้กลุ่มผู้ประท้วงอย่างไร (สำนักข่าวไทย วันที่ 26/09/2550)

1.2 รัฐบาลทหารพม่าจับตลกดัง ฐานภวายภัตตาหารแก่พระพม่าที่นำการชุมนุมประท้วงรัฐบาล

เพื่อนคนหนึ่งของนาย"ซานาการ์" ดาวตลกผู้มีชื่อเสียงที่สุดของพม่า เปิดเผยว่านายซานาการ์ ผู้แสดงตนว่าสนับสนุนพระสงฆ์พม่า ซึ่งกำลังเป็นผู้นำในการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า และได้นำน้ำกับภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์เมื่อวันจันทร์กับวันอังคารที่ผ่านมา ได้ถูกจับกุมตัวที่บ้านพักของเขา เมื่อเวลา 01.30 น. เช้ามืดวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 02.00 น.ตามเวลาในไทย

นายซากานาร์ รวมทั้งดาราภาพยนต์ผู้มีชื่อเสียงและศิลปินเป็นจำนวนมากของพม่า พากันออกมาเรียกร้องต่อสาธารณชนให้การสนับสนุนพระสงฆ์ ผู้กำลังเป็นแกนนำการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหาร ครั้งใหญ่สุดในรอบ 20 ปี และช่วงสุดสัปดาห์ เขาได้ให้สัมภาษณ์วิทยุคลื่นสั้น "เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า" หรือ DVB ที่ส่งกระจายเสียงจากประเทศนอรเวย์ เข้าไปในพม่า เรียกร้องให้สาธารณชนลุกขึ้นสนับสนุนพระสงฆ์. เขากล่าวว่า พระสงฆ์ออกไปประท้วงพร้อมสวดมนต์เพื่อประชาชน ขณะที่ประชาชนนั่งดูโทรทัศน์อยู่ที่บ้าน ทำให้เขารู้สึกละอายใจมาก และว่าพวกเขาอยู่ในวงการบันเทิง หาเลี้ยงตัวเองด้วยเงินจากประชาชน ปัญหาของประชาชนก็คือปัญหาของศิลปินด้วย เพราะหากประชาชนจนลง ศิลปินก็จนลงเช่นกัน (คมชัดลึก วันที่ 26/09/2550)

1.3 นักการเมืองเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าถูกจับกุมแล้ว

นายวิน เนง นักการเมืองเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า ถูกจับกุมเมื่อเช้ามืดที่ผ่านมา ที่บ้านในกรุงย่างกุ้ง ขณะที่รัฐบาลทหารพม่าคุมเข้มมาตรการรักษาความมั่นคงทั่วประเทศ. เพื่อนและนักการทูตตะวันตกเปิดเผยว่า นายวิน เนง ถูกจับกุมเมื่อเวลาประมาณ 02.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากเขานำอาหารและน้ำไปถวายพระสงฆ์ ซึ่งเป็นแกนนำในการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี. ก่อนหน้านี้ นายวิน เนง เคยถูกจับกุมเมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ฐานจัดการแถลงข่าวให้นักเคลื่อนไหวที่ชุมนุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ต่อมานายวิน เนง ก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระหลังถูกควบคุมตัวไว้ 1 คืน (สำนักข่าวไทย วันที่ 26/09/2550)

1.4 พม่าออกคำสั่งเคอร์ฟิว 2 เมืองใหญ่ท่ามกลางการประท้วงขยายตัว

รัฐบาลทหารพม่าตัดสินใจประกาศเคอร์ฟิว ห้ามประชาชนในนครย่างกุ้งและเมืองมัณฑะเลย์ สองเมืองใหญ่ของพม่าออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืน เมื่อวันอังคารที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา หลังจากการชุมนุมประท้วงที่นำโดยพระสงฆ์ ขยายจำนวนผู้เข้าร่วมมากขึ้นเป็นเรือนแสนสองวันติดต่อกันในย่างกุ้ง นับเป็นปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาลรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 20 ปีที่ผ่านมา

รัฐบาลพม่าประกาศเคอร์ฟิวผ่านเครื่องขยายเสียงในกรุงย่างกุ้ง ประกาศช่วงเวลาเคอร์ฟิว ระหว่าง 21.00 น. - 05.00 น. นอกจากนี้ ยังสั่งให้ทั้งสองเมืองใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของผู้บัญชาการกองกำลังในพื้นที่เป็นเวลา 60 วัน ขณะเดียวกันมีรายงานว่า ทหารและตำรวจพม่ายกกำลังเข้าปิดล้อมเจดีย์ซูเลในนครย่างกุ้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่พระสงฆ์ใช้ในการชุมนุม และเป็นพื้นที่นองเลือดที่สุดในการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อปี 2531 ที่มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน

ทางด้านปฏิกิริยาจากประชาคมโลก ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เรียกร้องประชาคมโลกช่วยเหลือชาวพม่าเรียกร้องประชาธิปไตย พร้อมประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลทหารพม่าเพิ่มเติม ขณะที่สหภาพยุโรปหรือ EU ขู่พร้อมเพิ่มมาตรการคว่ำบาตร หากพม่าใช้กำลังสลายกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง (สำนักข่าวไทย วันที่ 26/09/2550)

1.5 พระสงฆ์พม่านำกลุ่มผู้สนับสนุน ร่วมสวดมนต์ที่เจดีย์ชเวดากอง กรุงย่างกุ้ง ประกาศชุมนุมต้านรัฐบาลทหารพม่าต่อไป
แม้จะถูกขู่ใช้กำลังก็ตาม โดยล่าสุดมีการเคลื่อนหน่วยปราบจลาจลเข้าปิดล้อมแล้ว สถานการณ์เริ่มตึงเครียด

รัฐบาลทหารพม่าลุยแล้ว ส่งกองกำลังตำรวจปราบจลาจล และทหารร่วม 200 นาย เข้ารายล้อมรักษาความสงบศาลากลางเมืองย่างกุ้ง ออกแถลงการณ์เตือนม็อบพระสงฆ์ให้ยุติชุมนุมประท้วงขับไล่ ขู่ส่งหน่วยปราบจลาจลควบคุมสถานการณ์ เผยแกนนำพม่าเปิดประชุมฉุกเฉินที่เมืองหลวงใหม่ วางมาตรการรับเหตุชุนนุมใหญ่ในรอบ 20 ปี. ผบ.ทอ."ชลิต พุกผาสุข" สั่งกองทัพอากาศเตรียมพร้อมอพยพคนไทยกลับประเทศ

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. รัฐบาลทหารพม่าส่งรถบรรทุก 20 คัน ขนกำลังตำรวจปราบจลาจลและทหาร 200 กว่านาย เข้าไปล้อมรักษาความสงบบริเวณศาลากลางเมืองย่างกุ้งแล้ว หลังจากม็อบพระภิกษุสงฆ์มีท่าทีไม่หวั่นเกรงคำขู่จากรัฐบาล นำประชาชน นักศึกษา สมาชิกพรรคฝ่ายค้าน NLD นับแสนคน ก่อม็อบประท้วงขับไล่รัฐบาลพม่าต่อเนื่องในกรุงย่างกุ้งเป็นวันที่ 9 และการชุมนุมวันนี้ยังขยายวงกว้างออกไปในอีก 7 จังหวัด อาทิ มัณฑะเลย์ และมะละแหม่ง

รัฐบาลพม่าออกแถลงการณ์เตือนม็อบพระและผู้สนับสนุนให้ยุติการชุมนุม พร้อมเตรียมส่งตำรวจปราบจลาจลติดอาวุธครบมือเข้าควบคุมสถานการณ์ทันทีที่ได้รับคำสั่ง นอกจากนั้น แกนนำรัฐบาลพม่ายังเปิดประชุมฉุกเฉินที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่ เพื่อวางมาตรการรับมือเหตุชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี

พ.อ.เนอดา เมียะ แห่งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ซึ่งจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลพม่าบริเวณแนวชายแดน เปิดเผยว่า กองทัพพม่าเพิ่งสั่งถอนกำลังทหารจากกองพลที่ 22 ออกจากรัฐกะเหรี่ยง จึงมีความเป็นไปได้ว่าทหารกองพลนี้ อาจถูกนำไปใช้ปราบปรามม็อบพระและผู้ชุมนุม ซ้ำรอยกับเหตุนองเลือดเมื่อปี พ.ศ.2531 (ค.ศ.1988) ซึ่งรัฐบาลพม่าเคยใช้กำลังหน่วยเดียวกันนี้ ล้อมปราบม็อบนักศึกษาผู้เรียกร้องประชาธิปไตยจนมีผู้เสียชีวิตถึง 3,000 ราย

อย่างไรก็ตาม แม้สื่อของรัฐบาลพม่าจะออกข่าวข่มขู่ฝ่ายผู้ชุมนุมเป็นระยะๆ แต่ม็อบพระสงฆ์ยังคงไม่หวั่นเกรง โดยที่กรุงย่างกุ้ง ม็อบพระสงฆ์กว่า 30,000 รูป และผู้สนับสนุนอีกราว 70,000 คน เดินขบวนก่อม็อบบริเวณศาลากลาง และศาสนสถานสำคัญ 2 แห่ง ได้แก่ เจดีย์ชเวดากองและเจดีย์ซูเล มีการโบกธงพรรค NLD และธงรูปนกยูงที่กลุ่มนักศึกษายุค 1988 เคยใช้เป็นสัญลักษณ์เคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลพม่า พร้อมร้องตะโกนคำขวัญเรียกร้องประชาธิปไตย เสรีภาพ ความสมานฉันท์ และความกินดีอยู่ดี

การชุมนุมประท้วงครั้งใหม่ภายใต้การนำของพระสงฆ์นี้นับเป็นวันที่ 8 ติดต่อกันแล้ว สำหรับการประท้วงเมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่มีผู้ชุมนุมถึงกว่า 1 แสนคน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลทหารพม่าต้องประกาศเตือนผู้ชุมนุมว่า อาจเกิดการเผชิญหน้าจนเกิดการสูญเสียอย่างเช่นเมื่อ 19 ปีก่อนได้ หากยังไม่หยุดการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล ด้านสื่อของทางการพม่า รายงานด้วยว่า ตลอดช่วง 7 วันที่ผ่านมาได้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลใน 7 จังหวัดจากทั้งหมด 14 จังหวัดของพม่า พร้อมกับกล่าวหาสื่อต่างชาติว่ามีส่วนกระตุ้นให้เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลพม่าด้วย

วันเดียวกัน สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวระดับสูง โดยระบุว่า รัฐบาลพม่าเปลี่ยนสถานที่ควบคุมตัวนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรค NLD จากแต่เดิมที่เคยกักบริเวณนางซูจี เอาไว้ในบ้านพักกรุงย่างกุ้ง ย้ายตัวไปยังเรือนจำอินเส่ง ทัณฑสถานที่มีระบบรักษาความปลอดภัยสูงสุด ขณะเดียวกัน เมื่อผู้ชุมนุมสลายตัวไปในช่วงเย็น ทหารกับตำรวจปราบจลาจลติดปืนไรเฟิลหลายร้อยคนเข้าไปปิดล้อมประจำการตามจุดสำคัญๆ ที่ฝ่ายผู้ชุมนุมมักใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการรวมตัว อาทิ เจดีย์ซูเล

รอยเตอร์แจ้งว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวคล้ายกับรัฐบาลพม่าต้องการส่งสัญญาณพร้อมประจันหน้ากับฝ่ายผู้ชุมนุม และรีบตัดนางซูจีออกจากวงจรการประท้วง เพราะก่อนหน้านี้ เคยมีผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามเดินขบวนไปหน้าบ้านของนาง อย่างไรก็ตาม นายมาร์ก แคนนิ่ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงย่างกุ้ง กล่าวว่า จากการพูดคุยกับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงกลาโหมพม่า ได้รับคำยืนยันว่า รัฐบาลพม่าจะใช้ "แนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม" เท่านั้นในการจัดการกับม็อบ (สำนักข่าวไทย, ข่าวสด วันที่ 25-26/09/2550)

1.6 เรื่องราคาเชื้อเพลิงในพม่า

หนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงของพระสงฆ์ในหลายเมืองของประเทศพม่า ที่ล่วงมากว่าสัปดาห์นั้น คือเรื่องของราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาของก๊าซหุงต้มที่พุ่งขึ้นถึง 500 เปอร์เซ็นต์ โดยเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าซึ่งเป็นผู้ผูกขาดการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติแต่เพียงผู้เดียว ได้ประกาศขึ้นราคาเชื้อเพลิงในประเทศทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ โดยราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นถึง 66 เปอร์เซ็นต์ จาก 1,500 จ๊าด เป็น 2,500 จ๊าดต่อแกลลอน (ประมาณ 4.55 ลิตร) ส่วนดีเซลเพิ่มขึ้นจาก 1,500 จ๊าด เป็น 3,000 จ๊าด, ขณะที่ก๊าซหุงต้มขนาดถัง 50 ลิตร ได้เพิ่มขึ้นถึง 500 เปอร์เซ็นต์ จาก 500 จ๊าด เป็น 3,000 จ๊าด

หรือถ้าคิดเป็นแบบไทยๆ ก็คือ น้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นจากลิตรละ 8.93 บาท เป็น 14.93 บาท ส่วนดีเซลเพิ่มขึ้นจากลิตรละ 8.93 บาท เป็น 17.94 บาท และก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.4 บาท เป็น 7.35 บาท ขณะที่บ้านเรากิโลกรัมละประมาณ 16.8 บาท. แม้จะดูเหมือนว่า ราคาที่เพิ่มขึ้นมานั้น ก็ยังไม่ได้สูงเท่ากับบ้านเรา (หากแต่ค่าครองชีพและรายได้ของประชากรค่อนข้างต่ำ ด้วยเหตุดังนั้น) การขึ้นราคาครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง เพราะกระทบถึงเรื่องค่าโดยสารและราคาข้าวของจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ที่พุ่งพรวดขึ้นอย่างรวดเร็วตามราคาน้ำมัน ในขณะที่ไม่มีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ โดยรายได้โดยเฉลี่ยของผู้ใช้แรงงานในพม่าอยู่ที่ 28 บาทต่อวัน ส่วนครูมีรายได้เพียงเดือนละ 40,000 จ๊าด หรือประมาณ 1,100 บาทเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องน้ำมันไม่ใช่เฉพาะเรื่องราคา แต่ยังมีเหตุผลอื่นประกอบ เรื่องแรกเป็นปัญหาเกี่ยวกับการปันส่วนน้ำมันที่มีมานาน โดยเป็นการกำหนดโควต้าให้แต่ละคนซื้อได้ในปริมาณจำกัด เช่น เจ้าของรถแต่ละคัน จะอนุญาตให้ซื้อน้ำมันได้เพียง 227 ลิตรต่อเดือน แต่ความเป็นจริงคือเจ้าของรถจะใช้น้ำมันไม่เต็มโควต้า และนำโควต้าน้ำมันที่ได้ไปขายในตลาดมืดแทน โดยบรรดาผู้ที่มีเงินก็จะสามารถหาซื้อน้ำมันได้ไม่จำกัดในตลาดมืดนี่เอง ทำให้คนทั่วไปรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบบการค้าน้ำมันของรัฐบาล ทั้งนี้ พม่าเป็นประเทศผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ประเทศหนึ่ง และสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ก๊าซ CNG ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา (มติชน วันที่ 26/09/2550)

1.7 ฤๅประวัติศาสตร์ กำลังจะซ้ำรอยที่พม่า

เดือนสิงหาคม ปี 1988 (พ.ศ.2531) หรือกว่า 19 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเผด็จการพม่าภายใต้การนำของอู เน วิน ประกาศลดค่าเงินจ๊าด ต่อด้วยการขึ้นราคาข้าวทั่วประเทศ เพื่อหารายได้เข้ารัฐสำหรับการพยุงค่าเงิน ที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ที่ติดตามมาคือ การลุกฮือขึ้นมาประท้วงทั่วประเทศของประชาชน นำโดยขบวนการนักศึกษาที่เรียกตัวเองว่า "แนวร่วมนักศึกษาทั่วพม่า ABSDF". ปฏิกิริยาของทหารพม่าในเวลานั้นก็คือ การปราบปรามอย่างหนัก รุนแรงและอำมหิต ภาพที่เผยแพร่ออกมาโดยนิตยสารอิรวดี ที่ลงประกอบบทความชิ้นนี้ บ่งบอกได้เป็นอย่างดีถึงความหฤโหดในเหตุการณ์ครั้งนั้น ตัวเลขจากการสำรวจอย่างไม่เป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ล่าสังหารไม่เลือกในครั้งดังกล่าวอย่างน้อย 3,000 คน และอาจมากถึง 10,000 คน

เมื่อ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าภายใต้การนำของ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย ประธานสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (SPDC) ที่สืบทอดอำนาจมาจาก "สภาเพื่อฟื้นฟูกฎหมายและความเป็นระเบียบแห่งรัฐ-สลอร์ก" ของกองทัพ ประกาศขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซระหว่าง 100-500 เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาและได้เห็นประจักษ์กันอยู่ในเวลานี้คือ คลื่นมหาชนที่แห่กันออกมาชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในนครย่างกุ้ง และอีก 24 หัวเมืองทั่วประเทศ หรือประวัติศาสตร์กำลังจะซ้ำรอยในพม่า ในช่วงระยะเวลาเพียงไม่ถึง 20 ปี ?

กระนั้นนักวิเคราะห์และนักสังเกตการณ์จำนวนหนึ่ง ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างความเคลื่อนไหวเมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา กับความเคลื่อนไหวครั้งใหม่นี้หลายประการ ตั้งแต่ธรรมชาติของการชุมนุมประท้วงเรื่อยไป จนถึงภาวการณ์ที่เป็นปัจจัยต่อความเคลื่อนไหวของรัฐบาลทหารพม่า. อ่อง ซอ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการนิตยสารอิรวดี เคยสรุปเอาไว้เมื่อครั้งมีการชุมนุมประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันประปราย ของกลุ่มผู้ประท้วงว่า "ราคาน้ำมัน" ไม่ใช่ปมหลักของการประท้วง แต่ชาวพม่าพร้อมที่จะหยิบยกทุกเรื่องขึ้นมา เพื่อหาเหตุประท้วงในทางการเมือง เนื่องเพราะทนอยู่ในสภาพถูกกดขี่ ถูกจำกัดทุกสิ่งทุกอย่างต่อเนื่องยาวนานไม่ได้แล้วนั่นเอง

การประท้วงครั้งนี้แตกต่างจากครั้งที่ผ่านมาอย่างชัดเจนตรงที่ หัวขบวนในการประท้วงดังกล่าวไม่ใช่นักศึกษา หากแต่เป็นพระภิกษุสงฆ์ รูปแบบและธรรมชาติของการประท้วงจึงแตกต่างกันออกไป

เมื่อ 19 ปีก่อน กลุ่มนักศึกษาประท้วงยืดเยื้อ ปักหลักยึดอาคารสถานที่ และตอบโต้การปราบปรามเป็นครั้งคราวของเจ้าหน้าที่ ด้วยการบุกทำลายสถานที่ของทางการ มีการจัดตั้งกลุ่มอย่างชัดเจน และมีการจัดเวทีอภิปรายโจมตีรัฐบาลในหลายๆ จุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง แต่การเดินขบวนประท้วงครั้งนี้นำโดยพระสงฆ์จากวัดวาอารามต่างๆ ทุกสารทิศ การชุมนุม การเดินขบวนครั้งใหญ่ทุกครั้งเกิดขึ้นหลังเวลาเพล และเสร็จสิ้นสลายตัวอย่างสงบก่อนทำวัตรเย็นประมาณ 18.00-19.00 น. ไม่มีการยึดที่ตั้งเพื่อชุมนุมยืดเยื้อ ไม่มีการแสดงอาการตอบโต้อย่างกราดเกรี้ยว แต่เป็นการแสดงออกถึงการต่อต้านด้วยวิธีการอสิงหา (non-violence) การขัดขืนเยี่ยงอารยะต่อรัฐบาลทหารพม่า

ระหว่างการเดินขบวน ภิกษุสงฆ์ และแม่ชีเหล่านี้ สวดพระปริต สวดแผ่เมตตา ไม่มีการกล่าวโจมตี มีเพียงกลุ่มประชาชนที่เดินขบวนเข้าร่วมตะโกนผ่านโทรโข่งตามเส้นทางร้องหาประชาธิปไตย และการแก้ไขความเดือดร้อนในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การเดินขบวนประท้วงที่มีขึ้นทุกวัน ไม่ปรากฏแกนนำในการชุมนุมแต่ละจุดชัดเจนนัก ไม่มีการจัดเวทีอภิปราย แต่เรียกร้องให้มีการเข้าร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังได้ผล กล่าวกันว่า องค์กรคณะสงฆ์ที่เรียกตัวเองว่า "สมาคมยุวพุทธทั่วพม่า ABYBA" ทำหน้าที่เป็น "ผู้ประสานงาน" การจัดการชุมนุมครั้งนี้. ธูรา มินต์ หม่อง รัฐมนตรีกระทรวงกิจการศาสนาของพม่า ระบุว่า อู เขมสรา ภิกษุ เป็นผู้นำขององค์กรสงฆ์ดังกล่าวนี้

อย่างไรก็ตามไม่มีการประกาศข้อเรียกร้องของการชุมนุมออกมาอย่างเป็นงานเป็นการ แม้จะมีรายงานข่าวที่ไม่มีการยืนยันระบุว่า เมื่อวันที่ 23 กันยายน มีการอ่านแถลงการณ์เรียกร้อง 3 ประการ คือ

- ปล่อยตัวออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญของพม่า,
- ลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคลง และ
- ดำเนินการฟื้นฟูประชาธิปไตยอย่างจริงจัง

กระนั้นก็ตาม รายงานข่าวที่อ้างผู้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับคำประกาศของ ABYBA ที่กล่าวว่า รัฐบาลและ SPDC คือ "ศัตรูร่วม" ของประชาชน และประกาศจะเดินหน้าต่อไปจนกว่ารัฐบาลทหารพม่าจะ "พ้นไปจากแผ่นดินนี้"

เมื่อมองจากประวัติศาสตร์การรับมือกับการประท้วงเรียกร้องทางการเมืองในพม่าที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่า ไม่น่าจะเลือกหนทางเจรจาเพื่อยุติการประท้วงในครั้งนี้. นักสังเกตการณ์บางคนเชื่อว่า การที่การชุมนุมประท้วงในครั้งนี้เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกับที่ มีการประชุมสมัชชาสหประชาชาติในนครนิวยอร์กอยู่พอดี ทำให้รัฐบาลพม่าระงับการปราบปรามไว้ก่อน อีกบางคนเชื่อว่า ท่าทีเรียกร้องที่ชัดเจนของรัฐบาลจีนให้ระงับการใช้วิธีรุนแรงทำให้พม่ายังไม่นองเลือดอยู่ในเวลานี้

เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพม่า เชื่อว่าการที่พม่าเป็นเมืองพุทธ ประชาชนเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์นับถือพุทธศาสนา ทำให้ทหารพม่าลังเลอยู่ไม่น้อยที่จะปราบปรามเหมือนเช่นที่เคยปราบปรามนักศึกษาประชาชนเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน. มีนักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า การที่รัฐบาลพม่าย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงเนปยีดอ ทำให้ความรู้สึกถึงการคุกคามลดน้อยลง กระนั้น การเสริมกำลังในย่างกุ้ง มะละแหม่ง มัณฑะเลย์ และพะโค ในวันเดียวกันนี้ ก็สะท้อนให้เห็นความจริงอย่างหนึ่งว่าทหารพม่าเตรียมทำการปราบปราม ไม่ได้เตรียมเจรจา ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดขึ้นวันไหน เวลาใดเท่านั้นเอง (มติชน วันที่ 26/09/2550)


2. การค้าชายแดน
2.1 ปัญหาการเมืองในพม่ากระทบการค้าชายแดน จ.ระนอง

นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ นายด่านศุลกากร จ.ระนอง กล่าวว่า ปัญหาการประท้วงในประเทศพม่าส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดนไทย-พม่า ด้านจ.ระนอง กับ จ.เกาะสอง จากเดิมที่มีการค้ามูลค่าประมาณเดือนละ 800-900 ล้านบาท ขณะนี้ลดลงเหลือประมาณ 500-600 ล้านบาท พม่าเริ่มเข้มงวดในเรื่องการนำเข้าและส่งออกสินค้ามากขึ้น จากเดิมที่คาดว่าการค้าชายแดนด้านนี้ตลอดทั้งปี จะมีมูลค่ารวม 1 หมื่นล้านบาท น่าจะลดลง เหลือ 9 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบปีที่ผ่านมาถือว่ายังมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ทางศุลกากรได้ประสานงานกับทางการพม่าอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อความสัมพันธ์อันดีต่อไป เพราะหากการประท้วงในพม่าขยายวง ทางการพม่าอาจจะปิดด่านชายแดน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดนโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการค้าลดลงมาจากในช่วงนี้ ฝั่งทะเลอันดามันอยู่ในช่วงมรสุม ทำให้สัตว์น้ำทะเลที่นำเข้าจากพม่าลดลงตามไปด้วย (โพสต์ทูเดย์ วันที่ 26/09/2550)

2.2 การบินไทยสั่งการจับตาการชุมนุม เตรียมแผนฉุกเฉินขนพนักงานคนไทยกลับ กลุ่มธุรกิจไทยเกาะติดรายวัน นักท่องเที่ยวยุโรปเริ่มยกเลิกทัวร์

นายวัลลภ พุกกะณะสุต รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่ประจำในสำนักงานย่างกุ้ง เตรียมการให้พร้อมสำหรับเหตุการณ์ความวุ่นวายที่กำลังเกิดขึ้นในย่างกุ้งขณะนี้ โดยได้ให้พนักงานทำการประเมินสถานการณ์ตลอดทั้งวันเมื่อวานนี้ ซึ่งมาตรการแรกคือการดูแลความปลอดภัยของพนักงาน หากเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น การบินไทยก็พร้อมที่จะสั่งระงับเที่ยวบิน หรือส่งเครื่องบินไปรับพนักงานที่ประจำที่พม่ากลับมา เนื่องจากว่าหากเกิดเหตุรุนแรงแล้ว จำนวนเที่ยวบินที่จะบินเข้าจะน้อยลง เพราะคนที่เดินทางเข้าประเทศพม่าจะลดลง อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวยังไม่กระทบการจองตั๋วเครื่องบินผ่านการบินไทย ปัจจุบันยังเป็นปกติ

ขณะที่สายการบินแอร์บากัน ซึ่งเป็นสายการบินเอกชนจากพม่าที่เพิ่งเปิดเส้นทางบินกรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง ได้รายงานว่า ขณะนี้อัตราการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ยังคงไม่มีการยกเลิกหรือชะลอการเดินทางจากผู้โดยสาร. ด้านนายอภิชาติ สังฆอารี นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว หรือ แอตต้า กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มส่งผลกระทบต่อธุรกิจการนำเที่ยวไปยังประเทศพม่าบางส่วนแล้ว สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ที่มีแผนการเดินทางต่อไปยังพม่าเริ่มยกเลิกการเดินทาง โดยบางส่วนได้เลือกที่จะเดินทางไปประเทศอื่นแทน เป็นต้น

นายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ บริษัทยังไม่มีแผนรองรับเหตุการณ์ในพม่า ได้แต่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดทุกชั่วโมง เพราะสถานการณ์ดังกล่าวน่าเป็นห่วง เห็นได้จากยอดผู้ชุมนุมที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา จาก 100 คน เป็น 1 แสนคน ไม่แน่ใจว่ารัฐบาลพม่าจะมีความอดทนได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งบริษัทได้มีการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง ซึ่งแน่นอนว่าหากมีปัญหารุนแรง ย่อมส่งกระทบต่อยอดขายแน่นอน

ดร.สารสิน วีระผล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP กล่าวถึงการชุมนุมประท้วงในพม่าว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่ส่งผลกระทบกับการลงทุนในภาพรวมของ CP ซึ่งได้เข้าไปสนับสนุนให้ปลูกข้าวโพดในเขตย่างกุ้ง และตองยี สิ่งที่เกิดขึ้นทาง CP ก็ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยสั่งเจ้าหน้าที่ในท้องที่ติดตามเรื่องนี้อยู่

ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ในเบื้องต้นคิดว่าการประท้วงจะไม่ลุกลาม ถึงด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประกอบกับการลงทุนของ CP ในพม่าเป็นลักษณะการสนับสนุนให้ปลูกข้าวโพด จัดตั้งโรงงานอาหารสัตว์ และโรงงานแปรรูป ซึ่งทุกอย่างเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและรัฐบาลพม่า รวมทั้งเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ดังนั้นแม้ว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ทุกฝ่ายจะเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ และไม่ให้เกิดผลกระทบกับนักลงทุนข้ามชาติแน่นอน

นายมารุต มฤคทัต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กำลังจับตาดูสถานการณ์ประท้วงในพม่าอย่างใกล้ชิด ทุกฝ่ายไม่ต้องการเห็นความรุนแรงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเหตุการณ์รุนแรง ปตท.สผ.ก็มีแผนพร้อมในการอพยพเจ้าหน้าที่ ที่มีกว่า 10 คนในพม่า ทั้งนี้การประท้วงที่เกิดขึ้น ขณะนี้ ปตท.สผ. ไม่ได้รับผลกระทบอะไร ยังมีการส่งก๊าซฯ จากพม่าทั้งแหล่งยาดานาและเยตากุล เข้ามาในไทยเป็นปกติ กว่า 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดย ปตท.สผ.ได้ลงทุนในพม่ารวมหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

แหล่งข่าวจาก บมจ.ชิน แซทเทลไลท์ ซึ่งเข้าไปให้บริการดาวเทียม IP Star ในประเทศพม่า กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่พบความเสียหาย หรืออุปสรรคอะไรจากเหตุการณ์ประท้วงในพม่า ตราบใดที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่บริษัทกำลังจับตาดูว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงหรือไม่ เพราะถือเป็นการแสดงพลังของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลทหารพม่า โดยขณะนี้ยังไม่กระทบต่อลูกค้า ปัจจุบัน ชิน แซท เข้าไปร่วมทุนกับ MPT ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคมของพม่า ให้บริการอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม IP Star (กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26/09/2550)

2.3 การค้าบริเวณชายแดนไทยติดประเทศพม่ายังไม่ได้รับผลกระทบจากการประท้วง

ด้านบรรยากาศบริเวณชายแดนไทยติดประเทศพม่า เหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น แม้จะยังไม่กระทบกับบรรยากาศการค้า แต่ทหารได้ตรึงกำลังเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ. บรรยากาศบริเวณด่านชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตลอดทั้งวันที่ผ่านมายังเป็นไปตามปกติ แต่นักท่องเที่ยงค่อนข้างบางตา ขณะที่ผู้ประกอบการอำเภอแม่สายต่างเร่งนำสินค้าที่เก็บไว้ในโกดังฝั่งจังหวัดท่าขี้เหล็ก กลับเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น เพราะเกรงว่าหากมีการชุมนุมในวันพรุ่งนี้จริง อาจมีการปิดด่านพรมแดน ซึ่งจะทำให้สินค้าตกค้าง อยู่ในประเทศพม่า อย่างไรก็ตาม พบว่าเจ้าหน้าที่ประจำด่านทั้ง 2 ประเทศ ต่างเพิ่มกำลังและความเข้มงวด ในการตรวจนักท่องเที่ยวและยานพาหนะที่เข้าออกพรมแดนมากขึ้น

ขณะที่ชายแดนด้านอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากพม่าสั่งตรวจเข้มบุคคลที่ผ่านเข้าออกพื้นที่ โดยเฉพาะพระสงฆ์มีคำสั่งไม่ให้ผ่านเข้าออกประเทศโดยเด็ดขาด ประกอบกับจังหวัดตากได้ยกเลิกการออกบัตรผ่านแดน และบัตรผ่านแดนชั่วคราวแก่ชาวพม่าบริเวณท่าขนถ่ายสินค้าตามแนวชายแดน ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ซึ่งประกอบอาชีพรถรับจ้าง ไม่กล้ารับผู้โดยสารชาวพม่าเพราะหวั่นถูกตำรวจจับ จึงรวมตัวกันยื่นหนังสือขอผ่อนผันต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา

ด้านจังหวัดกาญจนบุรี พลตรีอดุล อุบล ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ กำชับกองกำลังเฉพาะกิจ ร.9 ให้เพิ่มความเข้มงวดตามแนวชายแดนช่องทางติดต่อกับประเทศพม่าให้มากกว่าปกติ แต่เชื่อว่าสถานการณ์ในพื้นที่ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง. ขณะที่ทั้งกรมศุลกากรและกรมการค้าต่างประเทศ ระบุเท่าที่ตรวจสอบตามด่านชายแดนไทย-พม่า จนถึงขณะนี้ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ประท้วงที่ขยายวงมากขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน. ด้าน ททท. เผยถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถือเป็นเหตุการณ์ภายในของพม่าซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของประเทศ ส่วนคนไทยที่ไปเที่ยวพม่าพบว่ายังมีไม่มากนัก (สำนักข่าวไทย วันที่ 25/09/2550)


3. แรงงานข้ามชาติ
3.1 หอการค้า จ.สงขลา โอดแรงงานข้ามชาติขาด วอนรัฐบาลปรับกฎหมายย้ายข้ามเขต

ร้อยเอกชวลิต กะลัมพะเหติ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่าขณะนี้อุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดสงขลากำลังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากลูกหลานของคนในพื้นที่ไม่ชอบงานประเภทนี้ เมื่อเรียนจบแล้วก็โยกย้ายไปทำงานในจังหวัดอื่นหรือไม่ก็ไปทำอาชีพอื่น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวทั้งชาวพม่า เขมร เวียดนาม เข้ามาทำแทน. อย่างไรก็ตามเมื่อแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ เข้ามาทำงานแล้วก็แต่งงานมีลูกมีหลานซึ่งต้องเรียนหนังสือ แต่กฎหมายกำหนดว่าห้ามย้ายข้ามเขต เช่น ถ้าขึ้นทะเบียนในเขตใดก็ต้องประจำอยู่ในเขตนั้น จะย้ายออกนอกพื้นที่ไม่ได้ ซึ่งจังหวัดสงขลามีอำเภอติดเขตชายแดน ทั้งหมด 4 อำเภอ

ต้องเข้าใจว่างานในอุตสาหกรรมนี้บางครั้งเป็นโครงการ มีกำหนดเวลาการว่าจ้าง เมื่อหมดโครงการแล้วไม่มีงานทำก็อยากจะย้ายเขตไปทำงานในเขตอื่น พร้อมกับหาที่เรียนใหม่ให้ลูกหลาน แต่เมื่อกฎหมายบังคับห้ามข้ามเขต แรงงานเหล่านี้ก็ไม่สามารถไปไหนได้ เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ประกอบการในเขตอื่น ถ้ามีโครงการเข้ามาอยากจ้างแรงงานจากเขตอื่นเข้าไปทำก็ไม่ได้ ได้เสนอเรื่องไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดถึงปัญหาความเดือดร้อนของแรงงานต่างด้าวดังกล่าวแล้ว เพื่อให้มีการยืดหยุ่นแต่ยังไม่มีอะไรคืบหน้า

สิ่งที่ผมขอคือ อยากให้มีการแก้ไขกฎหมายให้แรงงานเคลื่อนย้ายข้ามเขตได้ ถ้าย้ายข้ามไปจังหวัดอื่นไม่ได้ก็ขอให้ย้ายข้ามภายในจังหวัดสงขลาได้ คือกำหนดเขตให้กว้างหน่อย ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อแรงงานแล้ว ยังเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่จะได้มีแรงงานใช้กันทั่วถึง ถ้าโรงงานไม่มีแรงงานก็ไม่สามารถสร้างสินค้าได้ เมื่อสินค้าไม่เกิดก็กระทบต่อเกษตรกรผู้สร้างวัตถุดิบที่จะนำไปผลิตสินค้า เรียกว่ากระทบกันเป็นลูกโซ่ เพราะฉะนั้นจึงไม่อยากให้ยึดติดกับกรอบของกฎหมายมากเกินไป ถ้าปรับได้ก็น่าจะปรับ ต้องยอมรับว่าคนร่างกฎหมายนั่งอยู่บนหอคอย ไม่ใช่คนในพื้นที่ จึงไม่รู้รายละเอียดปลีกย่อยที่พวกเราต้องประสบพบเจอ. สำหรับอุตสาหกรรมอาหารในจังหวัดสงขลานั้น ประกอบด้วยอุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมอาหารฮาลาล และอุตสาหกรรมโรงงานแช่แข็ง เป็นต้น (สยามธุรกิจ ฉบับที่ 831 ประจำวันที่ 26-9-2007 ถึง 28-9-2007)

3.2 แรงงานข้ามชาติจากพม่าเดินทางไปขอบัตร กอ.รมน.สั่งให้ติดบัตรโชว์เจ้าหน้าที่

แรงงานต่างด้าวพม่าหลบหนีเข้าเมืองทั้งชายหญิง เดินทางไปยังว่าการอำเภอเมืองระนอง ไปทำบัตรควบคุมคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ตามมาตรการของกรมการปกครอง และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (กอ.รมน.) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการควบคุม กำกับดูแลคนต่างด้าวที่มีอยู่ในพื้นที่

บัตรดังกล่าวมีลักษณะด้านหน้ามีรูปเจ้าของบัตรพร้อมชื่อ หมายเลขประจำตัว ชื่อและที่อยู่ของนายจ้าง พร้อมประทับตราของนายทะเบียนท้องที่ ส่วนด้านหลังบัตรมีเลขที่พร้อมระบุวันออกบัตรอย่างชัดเจน ทุกคนต้องแขวนบัตรติดตัวโดยเปิดเผย ให้เจ้าหน้าที่สังเกตและตรวจสอบได้ตลอดเวลา ห้ามย้ายที่อยู่ ห้ามออกนอกพื้นที่ ห้ามเปลี่ยนนายจ้าง. จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่พบว่า ในจังหวัดระนองมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าทั้งผิดกฎหมายและถูกกฎหมายประมาณ 60,000 คน แต่ละอำเภอต้องจัดทำบัตรควบคุมให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 กันยายนศกนี้ (มติชน วันที่ 25/09/2550)


4. ต่างประเทศ
4.1 กลุ่มสิทธิมนุษยชนเรียกร้องสหประชาชาติและพันธมิตรพม่า ให้พยายามหาทางสกัดกั้นไม่ให้รัฐบาลทหารพม่า
ใช้ความรุนแรง ยุติการชุมนุมประท้วงที่เป็นไปอย่างสงบ

องค์การนิรโทษกรรมสากล ซึ่งมีสำนักงานในกรุงลอนดอน ของอังกฤษ เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ส่งคณะผู้แทนเดินทางไปยังพม่า เพื่อป้องกันไม่ให้มีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและรัฐบาลทหารพม่า นอกจากนี้ ยังเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ พิจารณาประกาศมาตรการคว่ำบาตรด้านอาวุธ เพื่อไม่ให้จีนและอินเดียจัดส่งอาวุธให้แก่รัฐบาลทหารพม่า ซึ่งอาจนำไปใช้ในการปราบปรามผู้เดินขบวนประท้วง

ขณะเดียวกันกลุ่มฮิวแมนไรท์วอทช์ ซึ่งมีสำนักงานในนครนิวยอร์กเรียกร้องพันธมิตรพม่า รวมทั้ง จีน ไทย รัสเซีย และอินเดีย เรียกร้องไม่ให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการประท้วงของพระสงฆ์โดยการใช้ความรุนแรง รัฐบาลทหารพม่าประกาศเคอร์ฟิวในกรุงย่างกุ้ง โดยมีผลในทางปฏิบัติวันพุธนี้ และประกาศให้กรุงย่างกุ้งเป็นเขตควบคุมของทหาร หลังจากเกิดการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ยืดเยื้อหลายวัน (สำนักข่าวไทย วันที่ 26/09/2550)

4.2 ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี(ฝรั่งเศส) นัดหารือฝ่ายค้านพม่า เผยจีนสะกิดเตือนรัฐบาลทหารแล้ว

ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ผู้นำฝรั่งเศสให้สัมภาษณ์ระหว่างร่วมประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันอังคารที่ 25 กันยายน เรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าให้ความเคารพต่อการประท้วงโดยสงบของชาวพม่า. นายซาร์โกซีระบุว่า ได้ติดตามสถานการณ์การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า ที่มีพระสงฆ์เป็นแกนนำมาโดยตลอด และมีกำหนดหารือกับกลุ่มผู้นำฝ่ายค้านพม่าในกรุงปารีส โดยไม่ระบุกรอบเวลาตลอดจนผู้แทนฝ่ายค้านรายใด อย่างไรก็ตาม นายเซน วิน หนึ่งในแกนนำฝ่ายค้านพม่าพลัดถิ่น ระบุว่า เป็นหนึ่งในชาวพม่าที่จะหารือกับผู้นำฝรั่งเศส

ทางด้านรายงานจากกรุงปักกิ่ง โดยแหล่งข่าวทางการทูตตะวันตกเปิดเผยว่า จีนดำเนินการทูตแบบเบื้องหลังในการเตือนรัฐบาลทหารพม่าให้เร่งคลี่คลายสถานการณ์การประท้วงโดยเร็ว นอกจากนี้ ทางการจีนยังนัดผู้แทนพม่าหารือร่วมกับผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่ง หารือแนวทางและความเป็นไปได้ในการปล่อยตัวแกนนำฝ่ายค้านพม่าบางคน ขณะที่ในเบื้องหน้าจีนซึ่งเป็นชาติที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่อพม่า ยังยืนกรานนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติเพื่อนบ้านมาโดยตลอด (สำนักข่าวไทย วันที่ 26/09/2550)

4.3 อาเซียนนัดหารือระหว่างประชุม UN วิกฤติการเมืองพม่า

รัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน 10 ชาติ มีกำหนดหารือระหว่างเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก ในวันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายนนี้ ประเด็นสำคัญที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะนำเข้าหารือ จะรวมถึงสถานการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า ที่มีกลุ่มพระสงฆ์เป็นแกนนำซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น จนอาจลุกลามเป็นวิกฤติการเมืองครั้งใหญ่ของรัฐบาลทหารพม่า นอกจากนี้ อาเซียนยังมีกำหนดหารือกับ ดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเพิ่มความกดดันอาเซียนให้เพิ่มระดับการกดดันพม่า ซึ่งเป็นสมาชิกในการยุติปราบปรามฝ่ายค้านในพม่าให้มากขึ้น

ส่วนทางด้านนายอัลเบอร์โต โรมูโล รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ ให้ความเห็นว่า สถานการณ์พม่าปัจจุบัน น่าจะถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลทหารพม่าจะเริ่มนำแผนปฏิรูปประชาธิปไตย หรือโร้ดแมพ ที่ให้คำมั่นกับประชาคมโลกมาเป็นเวลากว่า 10 ปี มาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองโดยเร็วที่สุดต่อไป (สำนักข่าวไทย วันที่ 26/09/2550)

4.4 ประชาคมโลกเรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงสลายการชุมนุม

ประชาคมโลกต่างพากันออกมาวิงวอนให้รัฐบาลทหารพม่า อดกลั้น และหลีกเลี่ยงการสลายการชุมนุมประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปีด้วยวิธีการรุนแรง. นายกอร์ดอน บราวน์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่า การชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในพม่าเป็นการแสดงให้โลกเห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่านั้นเป็นไปได้ยาก พร้อมกับแนะรัฐบาลทหารพม่าควรอดกลั้นและฉวยโอกาสดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองจะดีที่สุด และเตือนว่า การใช้กำลังเข้าแก้ปัญหา จะทำให้รัฐบาลพม่าพลาดโอกาสในการแก้ไขภาพลักษณ์ของประเทศอย่างน่าเสียดาย

นายเดวิด มิลิแบนด์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ ได้ออกมาเตือนรัฐบาลทหารพม่า ว่าถึงเวลาแล้วที่นางออง ซาน ซู จี ผู้นำฝ่ายค้าน จะได้มีโอกาสทำหน้าที่ผู้นำประเทศพม่าที่เต็มไปด้วยเสรีภาพและประชาธิปไตย. นายมิลิแบนด์ กล่าวเตือนว่า หากรัฐบาลทหารพม่าใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม ก็จะถูกประชาคมโลก ผนึกกำลังกันลงโทษพม่าอย่างรุนแรงและพร้อมเพรียงกัน

ด้านนายอเล็กซานเดอร์ ดาวเนอร์ รฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า ขอชื่นชมผู้ชุมนุมต้านรัฐบาลพม่าว่าเป็นกลุ่มคนที่เต็มไปด้วยความกล้าหาญ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นออสเตรเลียเห็นว่า ชาติที่มีอิทธิพลต่อรัฐบาลพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน อินเดีย รวมถึงสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งพม่าร่วมเป็นสมาชิกอยู่ ควรออกมากดดันไม่ให้รัฐบาลพม่าใช้ความรุนแรงและหันมาเปิดเจรจากับฝ่ายผู้ชุมนุม

ทางด้านรัฐมนตรีความช่วยเหลือของสวีเดน กูนิลลา คาร์ลสัน ได้ออกมาสำทับว่า โลกกำลังจับตาดูว่า รัฐบาลทหารพม่าจะจัดการอย่างไรกับประชาชนที่ชุมนุมเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการเมือง. นางแองเจลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้เรียกร้องต่อคณะมนตรีความมั่นคงให้พิจารณาสถานการณ์พม่าอีกครั้งว่าสมควรที่จะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรพม่าขึ้นอีกหรือยัง

ส่วนที่กรุงปารีส นายเฟรเดอริก เดซาชโนซ์ โฆษกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส ก็ได้ออกมาเตือนรัฐบาลพม่าเช่นกันว่า จะต้องรับผิดชอบในความปลอดภัยของผู้ชุมนุมประท้วงโดยสันติ. สาธุคุณ อาร์ชบิชอป เดสมอนด์ ตูตู้ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ได้ออกมายกย่องจิตวิญญาณในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของชาวพม่าซึ่งนำโดยพระสงฆ์ ว่ายิ่งใหญ่เสมือนการเคลื่อนไหวอันนำไปสู่การยุติการแบ่งแยกและเหยียดผิวในอดีตของแอฟริกาใต้

ขณะที่นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ว่าที่เลขาธิการสมาคมประชาชาติอาเซียน กล่าวว่า การชุมนุมครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี ของชาวพม่าในขณะนี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในพม่าอย่างแน่นอน. นายอามาเดอ ทาร์ดิโอ โฆษกสหภาพยุโรปก็เตือนเช่นกันว่า 27 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรปกำลังจับตาดูสถานการณ์ในพม่าอย่างใกล้ชิดว่าจะลงเอยอย่างไร และคิดว่าถึงเวลาแล้วที่สหภาพยุโรปจะเพิ่มการคว่ำบาตรรัฐบาลพม่าให้หนักยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ส่วนจีนนั้น นาง เจียง จู โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน ระบุว่า รัฐบาลจีนยังคงยึดมั่นในนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของชาติเพื่อนบ้านต่อไปอย่างเหนียวแน่น และในฐานะเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดกับพม่า รัฐบาลจีนก็หวังว่าประชาชนพม่าและรัฐบาลจะหาทางคลี่คลายวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ลงเอยด้วยสันติวิธี พร้อมกับย้ำว่าจีนไม่ขอแทรกแซงกิจการภายในของประเทศเพื่อนบ้าน

ปัญหาการเมืองในพม่ายังทำให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เตรียมประกาศคว่ำบาตรพม่าครั้งใหม่ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ กรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมุ่งเน้นไปที่สมาชิกคนสำคัญของรัฐบาลพม่า และผู้สนับสนุนทางการเงิน โดยจะห้ามประทับตราหนังสือเดินทางหรือวีซ่าแก่บุคคลและครอบครัวที่พัวพันกับรัฐบาลพม่า. ขณะเดียวกัน ดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เผยว่า รัฐบาลจะเพิ่มแรงกดดันต่อคณะมนตรีความมั่นคงให้ดำเนินการกับพม่า เพราะสิ่งที่รัฐบาลพม่ากำลังทำอยู่ในขณะนี้ ตอกย้ำให้เห็นถึงความโหดร้ายของรัฐบาลชุดดังกล่าว. ดร.ไรซ์ หวังว่านายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษ UN เรื่องพม่าจะได้ไปเยือนพม่าในเดือนหน้าตามที่นายกัมบารีคาดหวัง และเขาจะต้องได้หารือกับแกนนำฝ่ายค้านเช่นนางออง ซาน ซู จี ด้วย

ส่วนญี่ปุ่น ประเทศผู้บริจาครายใหญ่ของพม่า เรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าแสดงความอดทนต่อการประท้วง อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รายงานว่าจะยังไม่ทำให้ญี่ปุ่นต้องกลับมาทบทวนการให้ความช่วยเหลือต่อพม่า ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้ญี่ปุ่นไม่ลงรอยกับสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ต้องการให้คว่ำบาตรพม่า. ส่วนรัฐบาลไทยออกแถลงการณ์ ระบุว่ารัฐบาลไทยกำลังติดตามสถานการณ์ในสหภาพพม่าอย่างใกล้ชิด ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนและเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดของพม่า รัฐบาลไทยหวังที่จะเห็นพม่ามีสันติภาพและความปรองดองในชาติ (สำนักข่าวไทย วันที่ 26/09/2550)

ข่าววันที่ 27 กันยายนรายงานว่า นักข่าวชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งในประเทศพม่าได้เสียชีวิตไปแล้ว
ปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในประเทศพม่า 635 คน


Japanese killed in Burma unrest: official
Posted Thu Sep 27, 2007 9:15pm AEST
Burma has told Japan that a Japanese national was killed in the crackdown on protests against the military regime, a foreign ministry official said here.

If confirmed, the victim would be the first foreign national killed in the junta's clampdown on pro-democracy demonstrations.

"The Myanmar Government has informed the Japanese embassy in Yangon that a Japanese has been killed," the official said.

He said that the Japanese embassy had sent a person to the hospital to confirm the person's identity.

There were no further details on the person's identity. Public broadcaster NHK said that the victim was carrying a Japanese passport.

At least four protesters were killed on Wednesday as security forces launched a crackdown on growing anti-government protests.

But undeterred of threats of "extreme" action, security forces swept through the city centre of Burma's chief city Yangon, arresting hundreds of people.

Japan has cordial relations with Burma, with the Government shunning the approach of its Western allies to impose sanctions on the military regime.

According to Japan's foreign ministry, a total of 635 Japanese were living in Burma.
Japanese media have also been active in reporting on the country, which has shut itself to foreign journalists amid the major protests.

Japan, which is a top donor to Burma, summoned the regime's ambassador to protest the crackdown.
- AFP

4.5 การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเริ่มขึ้นแล้ว เน้นประเด็นพม่าและอิหร่าน

การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเริ่มขึ้นแล้ว โดยเลขาธิการสหประชาชาติและผู้นำสหรัฐฯ หันไปเน้นเรื่องพม่าและอิหร่านในการกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุม ขณะที่ผู้นำฝรั่งเศสเตือนว่า อิหร่านอาจเป็นภัยต่อความสงบสุขของนานาประเทศ ถ้าปล่อยให้อิหร่านแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์

นายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติเตือนบรรดาผู้นำโลกว่า ปัญหาท้าทายที่น่าหวาดกลัวจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ซึ่งองค์การสหประชาชาติต้องให้ความสำคัญกับผลการปฏิบัติมากกว่าขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อเอาชนะปัญหาเหล่านี้ และได้หันไปกล่าวถึงปัญหาการประท้วงในพม่า โดยระบุว่ากำลังจับตามองสถานการณ์ในพม่าอย่างใกล้ชิด โดยจะส่งนายอิบราฮิม กัมบารี รองเลขาธิการสหประชาชาติไปยังพม่าโดยเร็วที่สุด

สถานการณ์ในพม่ายังเป็นประเด็นสำคัญในการกล่าวสุนทรพจน์ ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ผู้นำสหรัฐฯ โดยบุชประกาศมาตรการคว่ำบาตร ครั้งใหม่ต่อบรรดาผู้นำทหารพม่าและผู้ที่ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่บุคคลเหล่านี้ นอกจากนี้ผู้นำสหรัฐฯ ยังกล่าวถึงการขยายสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นโอกาสดีที่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐฯ จะได้เข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และกล่าวถึงสันติภาพในตะวันออกกลางด้วย ด้านประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ผู้นำฝรั่งเศส ได้เน้นย้ำถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นถ้าปล่อยให้อิหร่านแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์ (สำนักข่าวเนชั่น วันที่ 26/09/2550)

4.6 เหตุประท้วงใหญ่พม่า บทพิสูจน์"ความน่าเชื่อถือ"อาเซียน

สมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ยังลังเลหรือพยายามหลีกเลี่ยงที่จะดำเนินมาตรการแบบเผชิญหน้ากับพม่า ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านร่วมภูมิภาค แต่ผู้สังเกตการณ์มองว่าเหตุประท้วงครั้งใหญ่สุดในรอบ 20 ปี ที่เกิดขึ้นในนครย่างกุ้งขณะนี้ อาจส่งผลให้อาเซียนสูญเสียความน่าเชื่อถือ หากไม่สามารถยื่นมือเข้าแก้ไขปัญหาให้คลี่คลายโดยสันติ

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า นับตั้งแต่พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ก็ได้สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่ชาติเพื่อนบ้าน จากความล่าช้าในการผลักดันกระบวนการสร้างประชาธิปไตย ซึ่งเรื่องนี้ชาติตะวันตกมองว่า อาเซียนไม่ได้ดำเนินการอย่างเพียงพอในการกดดันให้พม่าเร่งปฏิรูปสู่ระบอบประชาธิปไตย รวมถึงปรับปรุงด้านสิทธิมนุษยชน. เมื่อพิจารณาตามมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วไป อาเซียนยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ กับพม่ามากนัก ผมสงสัยว่าผู้กำหนดนโยบายในมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย หรือมะนิลา(ฟิลิปปินส์)จะยอมรับเรื่องนี้หรือไม่, นายฮิโระ คัตสุมาตะ นักวิชาการแห่งสถาบันศึกษากิจการระหว่างประเทศ เอส.ราชารัฐนัม ในสิงคโปร์กล่าว และว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ เพราะอาเซียนต้องการพม่ามากกว่าที่พม่าต้องการอาเซียน อีกทั้งอาเซียนวิตกว่า พม่าซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติจะหันไปกระชับสัมพันธ์ไมตรีกับจีนแทน

อย่างไรก็ตาม เหตุประท้วงต่อต้านรัฐบาลพม่าครั้งล่าสุด ที่มีประชาชนและพระสงฆ์เข้าร่วมมากถึง 100,000 คน ทำให้รัฐบาลชาติอาเซียนเผชิญกระแสเรียกร้องให้ออกมาแสดงบทบาทมากขึ้น. อาเซียนสามารถดำเนินการได้มากกว่านี้อย่างแน่นอน คำถามอยู่ที่ว่าพวกเขาอยากทำหรือไม่ จะเป็นเรื่องน่าอายมากหากอาเซียนยังคงนิ่งเฉยกับเหตุชุมนุมประท้วงที่เกิดจากกระแสต่อต้านของประชาชน, นายซาอิด อิบราฮิม สมาชิกรัฐสภามาเลเซีย และประธานที่ประชุมระหว่างรัฐสภาของอาเซียนกล่าวพร้อมแนะนำว่า อาเซียนควรใช้ช่องทางการทูตและอิทธิพลทั้งหมดที่มีเข้ากดดันพม่า

นายซาอิดแสดงความมั่นใจว่า แม้รัฐบาลทหารของพม่าจะยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อหยุดยั้งการเดินขบวนประท้วงซึ่งนำโดยพระสงฆ์ ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 1 สัปดาห์ แต่ท้ายที่สุดรัฐบาลทหารก็อาจตัดสินใจสลายการชุมนุมด้วยการใช้กำลัง ซึ่งจะทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก. จนถึงปัจจุบันรัฐบาลชาติสมาชิกอาเซียนยังไม่แสดงท่าทีใดๆ ต่อวิกฤติการเมืองในพม่ามากนัก ยกเว้นรัฐบาลฟิลิปปินส์ ซึ่งประกาศแสดงจุดยืนเมื่อวันจันทร์ (24 ก.ย.) ว่าต้องการเห็นประชาธิปไตยเบ่งบานในแผ่นดินพม่า

ด้านนายอ่อง เคง ยอง เลขาธิการอาเซียน กล่าวแต่เพียงว่า เขาหวังให้การประท้วงดำเนินไปอย่างสงบและสันติ ขณะที่นายรูดอล์ฟโฟ ซีเวอริโน เลขาธิการอาเซียนคนก่อนหน้านี้ให้ความเห็นว่า อาเซียนคงไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก โดยอาจมีการออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่อาเซียนไม่อยู่ในฐานะที่จะส่งกำลังทหารเข้าไปในพม่าเพื่อให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากรัฐบาลและประชาชนพม่าต้องคลี่คลายปัญหาด้วยตัวเอง

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ อาเซียนเริ่มแสดงท่าทีแข็งกร้าวกับรัฐบาลพม่าเป็นบางครั้ง หลังถูกสหรัฐฯ และชาติยุโรปโจมตีว่าไม่ยอมกดดันพม่า อย่างไรก็ดีนอกเหนือจากการออกแถลงการณ์แล้ว อาเซียนยังไม่ได้ออกมาตรการใดๆ รองรับประเด็นโต้แย้งดังกล่าว แม้มีการถกเถียงกันเรื่องการออกกลไกที่เปิดทางให้กลุ่มสามารถถอดถอนสมาชิกภาพ หรือขับพม่าออกจากอาเซียน

นายจาวาฮาร์ ฮัสซัน ผู้อำนวยการสถานบันยุทธศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศศึกษาในมาเลเซีย ให้ความเห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น ส่งผลให้ชาติสมาชิกอาเซียนมีแนวโน้มเข้าแทรกแซงน้อยลง หากไม่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในพม่า อาเซียนก็สามารถออกแถลงการณ์แข็งกร้าวได้ เพื่อไม่ให้ถูกมองว่าให้การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหาร. อาเซียนจำเป็นต้องระมัดระวังจากสถานการณ์ในขณะนี้ รัฐบาลแต่ละชาติไม่สามารถถูกมองว่าให้การสนับสนุนความเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล ซึ่งอาจบานปลายเป็นเหตุรุนแรง

หลังจากอาเซียนอ้างมาหลายปีว่าความเปลี่ยนแปลงในพม่าต้องเกิดขึ้นจากคนในประเทศ การที่เหตุประท้วงเกิดจากพลังชาวพม่า ถือเป็นคำเตือนว่าอาเซียนไม่อาจทำตัวเพิกเฉยได้อีกต่อไป. อาเซียนจะถูกมองในแง่ลบอย่างแน่นอน เพราะประเด็นสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยเป็นส่วนสำคัญของบรรทัดฐานโลก ยิ่งอาเซียนดำเนินการเชื่องช้า ภาพลักษณ์ของกลุ่มก็จะยิ่งแย่ลงในสายตาชาวโลก นายคัตสุมาตะกล่าวตบท้าย (กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26/09/2550)

4.7 เลขาฯ อาเซียนชี้ พระสงฆ์ประท้วง นำสู่การเปลี่ยนแปลงในพม่า

สำนักข่าวเอพีรายงานคำให้สัมภาษณ์ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นอกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรายการหนึ่ง ที่นครนิวยอร์คของสหรัฐฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Asia Foundation ซึ่ง ดร.สุรินทร์ ผู้เป็นว่าที่เลขาธิการสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน โดยมีกำหนดจะเข้ารับตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปีหน้า ได้แสดงความคาดหวังเมื่อวันจันทร์ว่า คลื่นมหาชนที่ชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกอาเซียน จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในบางรูปแบบ (some kind of change) ขณะเดียวกัน เขาก็ได้แสดงความวิตกว่าการชุมนุมซึ่งมีผู้เข้าร่วมนับแสนคนแล้ว และยังคงเป็นการชุมนุมอย่างสงบจนถึงปัจจุบัน อาจกลายเป็นความรุนแรงขึ้นได้

อาเซียนตั้งความหวังไว้อย่างแท้จริงว่าสิ่งต่างๆ จะไม่ลุกลามเกินควบคุม จะไม่กลายเป็นความรุนแรงจนเกินไป แต่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงบางประการ และเขาเชื่อว่าการประท้วงที่มีขึ้นอยู่ในปัจจุบันจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูป ซึ่งไม่ได้เห็นกันเลยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และว่าการชุมนุมประท้วงครั้งนี้ มีความแตกต่างจากการชุมนุมครั้งก่อนๆ ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา เพราะนำโดยสถาบันหนึ่งซึ่งได้รับความเคารพนับถืออย่างยิ่งในสังคมพม่า ซึ่งหมายถึงพระสงฆ์ แต่ขนาดของฝูงชนทำให้น่ากลัวจะคุมไม่อยู่ เขาได้ตั้งความหวังว่า สถานการณ์จะไม่ลุกลามเป็นการเผชิญหน้าแบบใช้ความรุนแรง พร้อมคาดหวังเสียงสนับสนุนและให้กำลังใจจากประชาคมโลกด้วย (คมชัดลึก วันที่ 25/09/2550)

4.8 ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ยืนยันความพร้อมดูแลและช่วยเหลือคนไทยในสหภาพพม่า
เดินทางกลับประเทศ หากสถานการณ์ภายในสหภาพพม่าอันตราย

พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช.กล่าวว่า สถานการณ์ภายในสหภาพพม่าขณะนี้ไม่ถึงขั้นต้องอพยพคนไทยออกจากสหภาพพม่า หลังเกิดการประท้วงของพระภิกษุสงฆ์ และนำไปสู่การประกาศเคอร์ฟิวของรัฐบาล แต่ยืนยันว่าทุกฝ่ายได้ประสานเตรียมการช่วยเหลือคนไทยในสหภาพพม่าไว้แล้ว โดยขณะนี้ผู้ช่วยทูตทหารบกและเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง ได้คอยติดตามดูแลและประสานการช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด และหากเกิดปัญหา กองทัพอากาศ ก็พร้อมส่งเครื่องบินรับคนไทยกลับประเทศได้ทันที เมื่อถามถึงกระแสข่าว พล.อ.ตาน ฉ่วย ประธาน SPDC เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อหลบสถานการณ์ภายในประเทศพม่า พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ไม่มี เป็นเพียงข่าวลือ

พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. และรองประธาน คมช.สั่งการให้กองทัพอากาศ โดยกองบิน 6 จัดเตรียมความพร้อมในการที่จะนำเครื่องบินลำเลียงแบบซี -130 เพื่อเดินทางไปรับคนไทยในสหภาพพม่าทันทีที่รัฐบาลสั่งการให้นำคนทั้งหมดกลับประเทศ (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 25/09/2550)

 

คลิกไปทบทวนบทความวิชาการเกี่ยวเนื่อง ตอนที่ ๑


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

The phrase "Saffron Revolution" connects the protests (against that country’s military dictatorship) to the saffron-coloured robes often worn (although not in Myanmar) by Buddhist monks, who are at the forefront of the demonstrations. While the phrase had been used previously to describe the process of gradual or peaceful revolution in other nations, this seems to be the first time it has been associated with a particular protest as it is unfolding, and the international press has seized upon it in reporting on the Burmese protests.
The fact that September 23 is known as Safron (Saffron) Day in the French Republican calendar is coincidental.