โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 26 September 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๖๑ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ (September, 26, 09,.2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

มีการแจกใบปลิวเรียกร้องให้ประชาชนในพม่าร่วมกันประท้วงรัฐบาลพม่า โดยการเคาะหม้อและกระทะเพื่อให้เกิดเสียงดังขับไล่สิ่งชั่วร้ายและภูตผีปีศาจ ใบปลิวดังกล่าวเรียกร้องให้ประชาชนในพม่าทำเสียงอึกทึกในวันที่ 11 ถึง 13 กันยายนที่จะถึงนี้ โดยควรกระทำพร้อมกันในเวลา 19.02 น. 20.01 น.และ 21.00 น.เป็นต้นไป โดยในใบปลิวยังระบุอีกว่า การเคาะหม้อเคาะกระทะเสียงดัง จะสามารถทำให้ประเทศพ้นภัยจากสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เศรษฐกิจย่ำแย่ การจับกุมผู้บริสุทธิ์ตามอำเภอใจ
26-09-2550

Saffron Revolution
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

เหตุการณ์พระสงฆ์ ประชาชนพม่า เดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ
อำนาจโลกที่เดินถอยหลัง: กรณีเหตุการณ์ประท้วงในพม่า
(ความเป็นมา ตอนที่ ๒)

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียงและปรับปรุง
ขอขอบคุณข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

บทความวิชาการต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รวบรวม เรียบเรียง
และทำการปรับปรุงจากแหล่งข่าวหลายสำนัก เพื่อร่วมบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
และเป็นพยานการใช้ความรุนแรงกับพระสงฆ์และประชาชนชาวพม่า
โดยในภาคแรกนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน นับจาก ๑๓๖๐ และ ๑๓๖๑
เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการรายงานเหตุการณ์รายวัน ที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น
ซึ่งเริ่มตั้งแต่เมื่อกลางเดือนสิงหาคม จนถึงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๐
โดยสาเหตุเนื่องมาจาก การประกาศขึ้นราคาเชื้อเพลิงหลายเท่าตัว
อันเป็นชนวนให้เกิดการประท้วงขึ้นทั่วประเทศ. กาลนี้ พระสงฆ์จำนวนมาก
และประชาชนนับแสนได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วยสันติวิธีทั่วประเทศ
เพื่อแสดงความไม่พอใจในปัญหาที่สั่งสมและถูกกดทับมานับทศวรรษ
ภายใต้การบริหารของเผด็จการทหารพม่า โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
- พระสงฆ์จับตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูงในพม่าไว้ในวัด
- จับพระสงฆ์มัดกับเสาไฟฟ้า ตีด้วยด้ามปืน
- พระสงฆ์บุกทำลายร้านค้าที่สนับสนุนรัฐบาลพม่า
- นักศึกษาพม่าและนักศึกษาไทยร่วมกันประท้วงหน้าสถานทูตพม่า
- ยิงแก๊สน้ำตาใส่พระสงฆ์, รัฐบาลพม่าตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่
- เสียงสะท้อนจากนานาชาติ กรณีเหตุการณ์ประท้วงในพม่า
- รัฐบาลทหารพม่ายังได้สั่งซื้อจีวรพระสงฆ์จำนวน ๓,๐๐๐ ผืน
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๖๑
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เหตุการณ์พระสงฆ์ ประชาชนพม่า เดินขบวนประท้วงทั่วประเทศ
อำนาจโลกที่เดินถอยหลัง: กรณีเหตุการณ์ประท้วงในพม่า
(ความเป็นมา ตอนที่ ๒)

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียงและปรับปรุง
ขอขอบคุณข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ



สรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเทศพม่า
ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2550 - 25 กันยายน 2550
โดย Thai Research Project Peaceway Foundation (Burma Issues)

6 กันยายน 2550 : พระสงฆ์จับตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูงในพม่าไว้ในวัด
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของพม่ามากกว่า 10 คน(บางข่าวระบุว่า 13 คน) ถูกพระสงฆ์ในเขตภาคเหนือจับตัวไว้ในวัดแห่งหนึ่งนานกว่า 6 ชั่วโมง เพื่อเรียกร้องให้ทางการปล่อยตัวพระจำนวน 10 รูป ที่ถูกทางเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายและจับตัวไปหลังทำการประท้วงอย่างสันติเมื่อวันพุธที่ 5 ที่ผ่านมา. พระสงฆ์ในวัดมหาวิสุทธาราม (Maha Visutarama) ได้จับตัวเจ้าหน้าที่และเผาทำลายรถยนต์ของเจ้าหน้าที่จำนวน 4 คัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ถูกจับนั้น รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง เช่น เจ้าหน้าที่สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐในอำเภอปโค้ะกู่ อยู่ห่างกรุงย่างกุ้งไป 500 กิโลเมตร โดยตัวประกันทั้งหมดถูกปล่อยตัวเมื่อเวลา 16.00 น.แต่ยังไม่ทราบรายละเอียดว่า ท้ายที่สุดทั้งสองฝ่ายตกลงเจรจากันอย่างไร

การจับตัวประกันครั้งนี้เกิดขึ้นในวัดมหาวิสุธาราม (Visutarama Monastery)หรือที่รู้จักกันในชื่อ Ah Le Tiak ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า วัดดังกล่าวเป็นหนึ่งในสิบสองวัดที่ถูกจัดตั้งเป็นสถาบันศึกษาให้ความรู้แก่พระสงฆ์และสามเณรในอำเภอปโค้ะกู่ วัดแห่งนี้มีพระสงฆ์และสามเณรจำนวน 700 รูป โดยพระจำนวน 100 รูปได้เข้าร่วมการประท้วงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เพื่อแสดงการคัดค้านที่รัฐบาลพม่าขึ้นราคาน้ำมันและเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวที่ถูกจับในระหว่างที่การประท้วงยังคงดำเนินอยู่

จับพระสงฆ์มัดกับเสาไฟฟ้า ตีด้วยด้ามปืน
พระสงฆ์ที่ทำการประท้วงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่จากทางการทำร้ายร่างกาย โดยผู้ดูแลเจดีย์ Phaungdawoo ซึ่งเห็นเหตุการณ์เล่าว่า พระจำนวนสามรูปถูกทางเจ้าหน้าที่มัดตัวติดไว้กับเสาไฟฟ้าและตีด้วยด้ามปืน โดยพระรูปหนึ่งชื่อพระอู ส่านดิมะ (U Sandima) ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างหนัก ขณะที่มีข่าวลือว่า พระรูปหนึ่งได้รับบาดเจ็บจนเสียชีวิต โดยพบว่าเกิดจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารส่วนใหญ่ ซึ่งได้รวมตัวกันเป็นสมาคมเอกภาพและกลุ่ม paramilitary group Swan Arr Shin เพื่อเข้าขัดขวางกลุ่มผู้ประท้วง

นอกจากนี้มีการรายงานว่า สมภารเท ซอ บาทา(Tay Zaw Batha) เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลพม่าให้ดำรงตำแหน่งควบคุมดูแลตัวแทนทางศาสนา Pakokku Sangha Maha Nayak ได้ถือโอกาสที่มีการประท้วงทำการหลบหนีไป ขณะที่พระผู้ใหญ่ในอำเภอปโค้ะกู่ กล่าวว่า ความตึงเครียดจะรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเร็วๆ นี้ อย่างไรก็ตามพบว่าในประวัติศาสตร์ของพม่าที่ผ่านมา พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการร่วมประท้วงทางการเมือง เหมือนเช่นในปี พ.ศ. 2531 ที่มีการประท้วงใหญ่ต่อต้านรัฐบาลพม่า ซึ่งมีผู้เสียชีวิตราว 3,000 คนจากเหตุการณ์ประท้วงดังกล่าว ซึ่งคาดว่ามีพระสงฆ์และสามเณรรวมอยู่ในจำนวนผู้เสียชีวิตครั้งนั้นด้วย ทำให้พระสงฆ์ในตอนนั้นไม่ยอมรับการบิณฑบาตจากผู้นำรัฐบาลพม่า รัฐบาลพม่าเองจึงได้ทำการปราบปรามตามวัดต่างๆ อย่างหนัก ต่อมาพระสงฆ์จำนวน 100 รูปที่เข้าร่วมการประท้วง ได้ถูกจำคุกเป็นเวลาหลายสิบปี

อย่างไรก็ตาม การประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันและสิ่งของอุปโภคบริโภคของรัฐบาลพม่าครั้งนี้ เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งนำโดยแกนนำจากกลุ่มนักศึกษาปี 1988 และสมาชิกจากพรรค NLD ของนางอองซาน ซูจี จากการรายงานพบมีผู้ถูกจับกุมแล้วทั้งหมด 120 คน

รัฐบาลพม่าประกาศภาวะฉุกเฉิน
ด้านรัฐบาลในกรุงเนปีดอว์ได้ประกาศให้ประเทศอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายนเป็นต้นมา และเจ้าหน้าที่ได้รับคำสั่งให้เฝ้าจับตากลุ่มผู้ประท้วงอย่างใกล้ชิด และรายงานความเคลื่อนไหวเมื่อมีการประท้วงทันที

7 กันยายน 2550 สถานีโทรทัศน์ MRTV ของทางการพม่า กล่าวหาฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าในต่างประเทศว่า อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุประท้วงในพม่าเมื่อช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงม็อบประท้วงของพระสงฆ์ในช่วง 2 วันก่อน โดยรัฐบาลทหารพม่ามีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ชาวพม่าที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งพำนักอยู่ในต่างประเทศได้ให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลภายในประเทศ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อทำลายเสถียรภาพของรัฐบาลทหารพม่าและยังย้ำด้วยว่า ไม่มีทางที่รัฐบาลจะปล่อยให้เกิดภาวะไร้เสถียรภาพภายในประเทศ แม้ว่าจะถูกนานาชาติวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรปก็ตาม

รัฐบาลทหารพม่ายอมปล่อยตัวผู้ประท้วงชื่อนายเย เธียนเนียง ซึ่งขาหักจากการที่ทหารใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมในกรุงย่างกุ้งเมื่อ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยก่อนปล่อยตัว นายเยถูกพาตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลมาแล้ว ก่อนหน้านี้ กลุ่มผู้ประท้วงที่ถูกกักตัวพร้อมนายเย ได้อดอาหารประท้วงเจ้าหน้าที่เพื่อเรียกร้องให้พานายเยไปรักษาขา ทั้งนี้ถือเป็นท่าทีโอนอ่อนที่สุดของรัฐบาลทหารพม่าที่มีต่อสถานการณ์ประท้วงต่อต้านการขึ้นราคาน้ำมัน หลังจากที่เพิ่งเกิดเหตุพระสงฆ์จับตัวเจ้าหน้าที่ความมั่นคงไว้เป็นตัวประกันนานหลายชั่วโมง

8 กันยายน 2550 รัฐบาลทหารพม่ากล่าวหาผู้เดินขบวนประท้วงรัฐบาล 13 คน ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเวลานี้ว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ซึ่งจะต้องถูกจำคุกเป็นเวลานานในความผิดข้อหาอยู่เบื้องหลังการประท้วงรัฐบาลขึ้นราคาน้ำมันในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 13 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้นำของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "กลุ่มนักศึกษายุค 88" ซึ่งเคยเป็นหัวหอกการลุกฮือทั่วประเทศต่อต้านการปกครองของทหารในปี ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) แต่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้เชื่อว่ามีผู้เสียชีวิตถึง 3,000 คน ในบรรดาผู้ที่ถูกควบคุมตัวในครั้งนี้ มีนายมิน โก เนียง แกนนำคนสำคัญรวมอยู่ด้วย ขณะเดียวกันมีรายงานที่ยังไม่ยืนยันว่านายโก จิมมี แกนนำอีกคนหนึ่งเสียชีวิตในขณะถูกตำรวจควบคุมตัว แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่าเป็นการปล่อยข่าวของรัฐบาลทหารพม่า เพื่อให้ภรรยาของนายโก จิมมี ออกจากที่ซ่อนตัว

คำแถลงของรัฐบาลทหารพม่าที่ตั้งข้อหารุนแรงต่อแกนนำผู้ประท้วงในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในความพยายามที่จะปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรง เพราะก่อนหน้านี้เพียงวันเดียวรัฐบาลทหารพม่าสั่งจำคุกแกนนำ 6 คน ที่จัดงานสัมมนาสิทธิของผู้ใช้แรงงานที่ศูนย์อเมริกันศึกษาในกรุงย่างกุ้ง อย่างน้อย 20 ปี ด้วยความผิดฐานปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านรัฐบาล นับเป็นระวางโทษสูงสุด

พระสงฆ์บุกทำลายร้านค้าที่สนับสนุนรัฐบาลพม่า
ส่วนพระสงฆ์ที่ยังโกรธแค้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบทำร้ายร่างกาย ระหว่างเดินขบวนประท้วงต่อต้านรัฐบาลกรณีการขึ้นราคาน้ำมันสูงถึง 500 เปอร์เซ็นต์ ได้บุกเข้าไปทำลายร้านค้าของชาวบ้านที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าที่เมืองพะโค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของย่างกุ้ง เมืองเศรษฐกิจของพม่า ทั้งนี้ร้านที่ถูกทำร้ายเป็นร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าของสมาชิกสหภาพความเป็นเอกภาพและสมาคมเพื่อการพัฒนา (USDA) ซึ่งเป็นองค์การที่ให้การสนับสนุนเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบในการขัดขวางการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ข่าวระบุด้วยว่าพระสงฆ์ยังได้ทำลายที่พักอาศัยของกลุ่มคนที่ให้การสนับสนุนรัฐบาล และให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปทำร้ายร่างกายพระสงฆ์

สถานีโทรทัศน์และวิทยุของทางการพม่าได้ออกแถลงการณ์กล่าวหาพระสงฆ์ว่า ก่อความรุนแรงภายในประเทศ อนึ่งพระสงฆ์ถือเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสูงในสังคมพม่า ดังนั้นการออกมาประท้วงของพระสงฆ์จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ และในอดีตพระสงฆ์เคยออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการปกครองของอังกฤษ และต่อต้านเผด็จการของทหารพม่าอยู่เป็นระยะ โดยเหตุการณ์ครั้งล่าสุดที่พระสงฆ์ออกมาเคลื่อนไหวคือ การสนับสนุนกลุ่มผู้เรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อปี 2531

9 กันยายน 2550 รัฐบาลทหารพม่าประกาศจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด กับผู้ประท้วงไม่พอใจการขึ้นราคาน้ำมันของรัฐ โดยสถานีโทรทัศน์แห่งชาติพม่าขั้นเวลาของรายการปกติด้วยการออกแถลงการณ์รัฐบาลพม่า กล่าวโทษผู้สนับสนุนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือพรรค NLD ที่พยายามยุยงประชาชน ให้ก่อเหตุความไม่สงบในประเทศด้วยการเดินขบวนประท้วงราคาน้ำมันแพง ทั้งในนครย่างกุ้งและอีกหลายเมือง แถลงการณ์ระบุว่ารัฐบาลจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดจัดการกลุ่มผู้ประท้วง แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม และก่อนหน้านี้หนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลทหารพม่า กล่าวโทษบรรดากลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่อยู่นอกประเทศทั้งสหรัฐฯ และอังกฤษ ที่ให้การหนุนหลังกลุ่มผู้ประท้วงราคาน้ำมันแพงเป็นเวลา 3 สัปดาห์มาแล้ว หวังโค่นล้มรัฐบาลทหารพม่า โดยสหรัฐฯ พยายามใช้ช่องทางทางการทูตทำลายการรวมชาติและจะสร้างรัฐบาลหุ่นขึ้นมาแทน

นอกจากนี้ทางการทหารพม่าเชื่อว่า นายเตย์ เขว่ แกนนำการประท้วงได้รับการช่วยเหลือให้ซ่อนตัวในสถานเอกอัครราชทูตประเทศมหาอำนาจ และมีแผนที่จะก่อการร้ายหลังจากได้รับเงินสนับสนุนจากสหรัฐฯ ซึ่งทางการทหารพม่าขู่ว่า จะปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงด้วยวิธีที่เรียกว่า "มาตรการที่มีประสิทธิภาพ" หากมีคนกลุ่มใดก่อการจลาจลหรือความไม่สงบขึ้น

นักศึกษาพม่าและนักศึกษาไทยร่วมกันประท้วงหน้าสถานทูตพม่า
ต่อมาเมื่อเวลา 10.00 น. นักศึกษาชาวพม่า และนักศึกษาไทยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และประชาชนชาวพม่าที่ทำงานในประเทศไทย รวม 60 คน เดินทางมาชุมนุมประท้วงที่บริเวณสถานทูตพม่า เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยประชาชนและนักศึกษาที่ถูกจับในประเทศพม่า กรณีลุกฮือประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันเชื้องเพลิง โดยถือรูปนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านที่ถูกกักบริเวณมานับสิบกว่าปีแล้ว เพื่อเชิดชูเกียรติ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ยานนาวา และตำรวจสันติบาล มาคอยดูแลอำนวยความสะดวกให้รถยนต์วิ่งสัญจรไปมา และดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่ ทั้งหมด 12 นาย

ระหว่างที่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงยืนชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือหน้าสถานฑูต บรรดาผู้ร่วมชุมนุมได้ส่งเสียงตะโกน เนื้อหาปลุกใจเป็นภาษาพม่าเป็นระยะ ๆ และได้กล่าวยกย่องนางอองซาน ซูจี ให้เป็นสตรีหมายเลข 1 ของพม่าเป็นบุคคลที่ต่อสู้ให้เกิดประชาธิปไตยในประเทศพม่า โดยใช้เวลาในการชุมนุมประมาณ 30 นาที จากนั้นได้เดินทางทยอยกลับ

10 กันยายน 2550 : พระสงฆ์พม่าขู่ไม่รับบาตรจากฝ่ายทหาร
พระสงฆ์ในพม่าขู่ที่จะไม่รับบาตรจากทหาร จนกว่ารัฐบาลทหารจะยอมขอโทษที่ ทำร้ายร่างกายพระสงฆ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยการคว่ำบาตรไม่รับบาตรจากทหารจะเป็นการประท้วงที่รุนแรงมากต่อกองทัพ นับตั้งแต่การให้ทานแด่พระสงฆ์เป็นหน้าที่ทางจิตวิญญาณที่สำคัญสำหรับพุทธศาสนชิกที่เลื่อมใสศรัทธา ทั้งนี้นิตยสารอิรวดี ซึ่งมีฐานอยู่ในประเทศไทย รายงานว่า กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "พันธมิตรพระภิกษุสงฆ์พม่าทั้งหมด" แจกใบปลิวเรียกร้องให้ร่วมกันคว่ำบาตร จนกว่ารัฐบาลทหารจะขอโทษภายในวันที่ 17 ก.ย.นี้

กลุ่มฝ่ายค้านพม่าที่ลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศ กล่าวว่ายังมีพระสงฆ์กลุ่มใหม่ๆ อีกหลายกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อยื่นข้อเรียกร้องในลักษณะเดียวกันนี้ต่อรัฐบาลทหาร แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะยืนยันว่ากลุ่มต่างๆ เหล่านี้อยู่ในประเทศหรือไม่ มีพระสงฆ์บางกลุ่มที่ต้องการพูดอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการเมือง และกองทัพได้ตัดสายโทรศัพท์ของแกนนำผู้สนับสนุนในการเรียกร้องประชาธิปไตยคนสำคัญจำนวนมาก

พระสงฆ์ที่ทรงอิทธิพลของพม่ารู้สึกเดือดดาลเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เมื่อทหารและกลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลทำร้ายร่างกายพระสงฆ์บางรูปในจำนวนที่เข้าร่วมประท้วงประมาณ 300 รูป ซึ่งจัดการประท้วงในใจกลางเมืองปะโคะกู ศูนย์กลางสำคัญของการเรียนรู้ของศาสนาพุทธ ด้านรัฐบาลทหารเรียกร้องให้ประชาชนว่ายุติการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ยืดเยื้อหลายสัปดาห์แล้ว และให้แสดงความคิดเห็นผ่านการแสดงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทน

11 กันยายน 2550 : ยิงแก๊สน้ำตาใส่พระสงฆ์
รัฐบาลทหารได้ใช้แก๊สน้ำตาและยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อยุติการประท้วงของพระสงฆ์ประมาณ 1,000 รูป ที่เดินขบวนประท้วงในเมืองที่มีการขุดเจาะน้ำมันอย่างเมือง 'ซิททเว' (Sittwe). สื่อพม่ารายงานการเดินทางไปนมัสการพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่วัดในกรุงย่างกุ้งของพลโทยิ่น ฉ่วย เจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงกลาโหม

ชาวบ้านในอำเภอปโค้ะกู่ จากสี่หมู่บ้านถูกทางเจ้าหน้าที่จับกุมตัว โดยเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาให้ข้อมูลกับนักข่าวต่างประเทศเรื่องพระสงฆ์ทำการประท้วง ชาวบ้านอำเภอปโค้ะกู่จำนวน 4 คน ประกอบไปด้วย นายอูต่านชิน นายอูเนลา นายอูเส่นลิน และนายอูทาอ่อง ถูกทางการควบคุมตัวไปยังสถานีตำรวจเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา ภายหลังถูกส่งตัวเข้าคุกในสถานีตำรวจ โดยการจับกุมตัวชาวบ้านครั้งนี้ คาดว่าชาวบ้านทั้งหมดได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประท้วงผ่านทางโทรศัพท์กับสำนักข่าวต่างประเทศ

พระรูปหนึ่งกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในตอนแรกผู้ถูกจับกุมทั้งหมดถูกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจ ซึ่งเจ้าหน้าที่ยังอนุญาตให้ญาติเข้าเยี่ยมและนำอาหารไปให้ผู้ถูกจับ แต่ต่อมาผู้ถูกจับทั้งหมดถูกย้ายไปขังในคุกของสถานีตำรวจเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่าน จนถึงขณะนี้ยังไม่รู้ชะตากรรมของผู้ถูกจับทั้งหมด. โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า สหรัฐฯ มีความวิตกกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ที่ถูกจับกุม หลังจากที่มีรายงานว่าผู้ประท้วงส่วนใหญ่ถูกทุบตีและสอบปากคำอย่างโหดร้ายทารุณ ซึ่งสหรัฐฯ ต้องการให้รัฐบาลพม่าอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เช่น กาชาดสากล เข้าพบนักโทษเหล่านี้ นอกจากนี้ โฆษกสหรัฐฯ ยังได้ย้ำถึงข้อเรียกร้องที่ให้พม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดโดยเร็วด้วย

12 กันยายน 2550 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลทหารพม่าได้ถวายน้ำมันพืชและปัจจัยให้กับวัดจำนวน 102 แห่งในเมืองมัณฑะเลย์ โดยมีภาพของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลคุกเข่าถวายปัจจัยให้กับพระผู้ใหญ่ปรากฏอยู่บนหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการลงข่าวนี้ติดต่อกันเป็นวันที่ 2 แล้ว. ก่อนหน้านี้รัฐบาลทหารพม่าถูกประณามอย่างหนักในเรื่องการปราบปรามม็อบพระสงฆ์ ที่มาชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลโดยใช้วิธีการรุนแรง และยังมีการคุมเข้มบริเวณพื้นที่วัด เพื่อป้องกันไม่ให้บรรดาพระหนุ่มเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ซึ่งไม่พอใจต่อการขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่าง 100-500 เปอร์เซ็นต์

ทางการพม่ายังจำกัดให้พระสงฆ์บิณฑบาตได้เพียงแค่วันละหนึ่งชั่วโมง พร้อมประกาศเคอร์ฟิววัดบางแห่ง หลังเกิดการปะทะกันระหว่างพระสงฆ์กับเจ้าหน้าที่เมื่อหลายวันก่อน. ชาวบ้านในพื้นที่กล่าวว่า ทางการพม่าได้เพิ่มกำลังรักษาความปลอดภัยตามวัดต่างๆ หลายแห่ง รวมถึงบางพื้นที่ในเขตพะโค ซึ่งห่างจากกรุงย่างกุ้งไป 80 กิโลเมตร โดยพระสงฆ์จากวัดก่านดาโยน และวัดอะโลดอพี ในเมืองซิดต่วย ทางทิศตะวันตกของรัฐอาระกัน ได้รับหนังสือจากคณะกรรมการสงฆ์ในกรุงย่างกุ้งเมื่ออาทิตย์ก่อน แจ้งคำสั่งห้ามพระสงฆ์ออกจากวัดตั้งแต่เวลา 21.00น.- 04.00น. หลังจากเกิดเหตุการณ์พระสงฆ์กว่า 200 รูป ทำการประท้วงรัฐบาลเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา

ขณะเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรพระสงฆ์พม่า(the alliance of all Burmese Buddhist monks) เรียกร้องให้พระสงฆ์ไม่รับบิณฑบาตจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่า จนกว่ารัฐบาลจะออกมาขอขมากรณีที่ทางเจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงต่อพระสงฆ์เมื่อหลายวันก่อน และหากรัฐบาลยังไม่ออกมาขอขมาภายในวันที่ 17 กันยายนนี้ พระสงฆ์จะประท้วงด้วยการไม่รับบริจาคใดๆ

พระสงฆ์รูปหนึ่งจากวัด Bawdi Mandine ในอำเภอปโคะกู่ เขตมะกวย กล่าวว่า พลจัตวาทุระมิ้นหม่อง รัฐมนตรีกระทรวงศาสนาของพม่า ได้เข้าเยี่ยมพระสงฆ์ในอำเภอปโคะกู่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยได้พูดถึงสถานการณ์ที่ตึงเครียดที่เกิดขึ้น และถวายผ้าจีวรโดยไม่ได้ขอขมาที่เจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายพระสงฆ์ แต่อย่างใด. นอกจากนี้ พลจัตวาทุระมิ้นหม่องยังได้เข้าพบปะพูดคุยกับพระผู้ใหญ่จำนวน 20 รูป ทั้งจากวัด Bawdi Mandine, วัดสิสุธาราม, วัดมหาวิจาญาราม, และวัดมัณฑะเลย์. ชาวบ้านคนอื่นๆ ยังกล่าวอีกว่า หลายวันก่อน วัดหลายแห่งได้รับจดหมายที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้ส่งซึ่งมีใจความว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงกับพระสงฆ์ และกล่าวหาว่าพระสงฆ์เริ่มใช้ความรุนแรงกับทางเจ้าหน้าที่ก่อน

ทั้งนี้ เหตุการณ์ประท้วงของพระสงฆ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา โดยพระสงฆ์จำนวน 500 รูปในอำเภอปโคะกู่ ได้ทำการประท้วงอย่างสันติเนื่องจากราคาน้ำมันและเครื่องอุปโภคบริโภคขึ้นราคาอย่างพรวดพราด หลังจากนั้นทางการพม่าได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารเข้าสลายการประท้วง จึงเกิดการปะทะกันขึ้น ทำให้พระจำนวน 3 รูปถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายได้รับบาดเจ็บ หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงจำนวน 13 คนได้เข้าเยี่ยมพระสงฆ์ในวัดวิสุธารามแต่ถูกพระสงฆ์ในวัดดังกล่าวกักตัวไว้เป็นเวลากว่า 6 ชั่วโมง เนื่องจากไม่พอใจที่เจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายพระสงฆ์ นอกจากนี้พระสงฆ์ยังได้เผาทำลายรถยนต์จำนวน 4 คันของเจ้าหน้าที่ที่เข้าเยี่ยมวัดในวันดังกล่าวอีกด้วย

13 กันยายน 2550 : รัฐบาลพม่าตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่
รัฐบาลพม่าได้ทำการตัดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้สนับสนุนเรียกร้องประชาธิปไตย และผู้สื่อข่าวของสื่อต่างประเทศบางคน โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่าออกแถลงการณ์เตือนว่าจะดำเนินการอย่างจริงจัง กับผู้สนับสนุนประชาธิปไตยที่ชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ขณะที่เจ้าหน้าที่กระทรวงโทรคมนาคม ระบุว่าการตัดสัญญาณโทรศัพท์เป็นคำสั่งของเจ้าหน้าที่ระดับสูง

รัฐบาลทหารพม่าได้ตัดสายโทรศัพท์ของพวกนักเคลื่อนไหวและกลุ่มองค์กรต่างๆ ราว 50 ราย รวมทั้งของพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย เพื่อขัดขวางการประท้วงที่ดำเนินมาหลายสัปดาห์ โฆษกพรรค NLD เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า ทางการได้ตัดโทรศัพท์ที่บ้านของตนและของที่ทำการพรรค ส่วนแหล่งข่าวฝ่ายต่อต้านคนอื่นๆ บอกว่า รวมกันแล้วโทรศัพท์มือถือและโทรศัพท์พื้นฐานถูกตัดราว 50 สาย เข้าใจว่าเพื่อป้องกันไม่ให้ติดต่อกับนักข่าวต่างชาติ หรือองค์กรข่าวนอกประเทศ ซึ่งผลิตรายงานข่าวส่งไปถึงผู้ฟังวิทยุคลื่นสั้นในพม่า

14 กันยายน 2550 มีพระสงฆ์ประมาณ 200 รูปสวดมนต์อยู่ทางทิศเหนือของกรุงย่างกุ้ง ทั้งนี้ พระสงฆ์ได้จัดการประท้วงรัฐบาลพม่าตลอดสัปดาห์นี้ ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นประท้วงรัฐบาลทหารครั้งใหม่ที่ดำเนินมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว โดยเริ่มจากการที่ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลที่ขึ้นราคาเชื้อเพลิง ทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่มีเงินพอใช้จ่ายสำหรับค่ารถบัสเพื่อเดินทางไปทำงาน. "พระสงฆ์ออกมาเดินตามท้องถนน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลฟังและทำความเข้าใจกับประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน" ออง นาย อู (Aung Naing Oo) นักวิเคราห์ชาวพม่า ซึ่งพำนักอยู่ในประเทศไทยกล่าว

พระสงฆ์ส่วนหนึ่งปฏิเสธที่จะรับการบริจาคจากฝ่ายทหาร ซึ่งสำหรับชาวพุทธถือว่า การทำทานทุกวันเป็นหน้าที่ กิริยาที่พระสงฆ์ปฏิเสธทหารเช่นนี้ถือเป็นวิธีการประณามระดับเดียวกับการคว่ำบาตร เลิกคบค้าสมาคมเลยทีเดียว. ส่วนของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในพม่าออกแถลงการณ์เสนอที่จะเจรจากับรัฐบาล หลังจากเกิดการชุมนุมประท้วงการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ส่งผลให้รัฐบาลใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงและจับกุมสมาชิกของพรรคไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งรัฐบาลขู่จะดำเนินคดีกับนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยและกล่าวหาพรรค NLD ว่าได้ปลุกปั่นให้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในประเทศ. ในแถลงการณ์ของ NLD ระบุว่า "ความคาดหวังของประชาชนที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงจะบังเกิดขึ้นได้ หากเราร่วมมือกันสร้างความสมานฉันท์ภายในชาติอย่างรวดเร็ว ด้วยการเปิดเจรจา" นอกจากนี้ทางพรรคยังปฏิเสธว่าอยู่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วง แต่การประท้วงที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเจ้าหน้าที่หาทางแก้ไขปัญหาไม่ได้

ด้านองค์การนิรโทษกรรมสากลประเมินว่า รัฐบาลพม่าได้ควบคุมตัวผู้ประท้วงมากถึง 150 คน ตั้งแต่มีการรวมตัวประท้วง ซึ่งเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในพม่าในช่วงเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา และนานาชาติได้ออกแถลงการณ์วิพากษ์วิจารณ์การปราบปรามของรัฐบาลพม่า รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวผู้ที่ชุมนุมประท้วงอย่างสันติทั้งหมดด้วย

15 กันยายน 2550 สื่อมวลชนของทางการพม่า กล่าวประณามผู้นำกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ว่าเป็นอันธพาล และยังกล่าวหาต่อไปว่า คนเหล่านี้กำลังพยายามทำให้พระสงฆ์เสื่อมเสีย โดยพระบางรูปได้เข้าร่วมในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล พระระดับสูงผู้หนึ่งที่ใช้นามปากกาว่า ยาดานาสี ซายาดอว์ กล่าวในหนังสือพิมพ์เดอะนิวส์ไลท์ออฟเมียร์ม่าของทางการพม่าว่า พระไม่ควรจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมหลังจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น โดยถือว่าเป็นเรื่องน่ารังเกียจที่กลุ่มผู้ประท้วงพยายามจะนำพระสงฆ์เข้าร่วมการประท้วงครั้งนี้

ทางการพม่าในเมืองมิตจีนา เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่นได้สั่งห้ามพระสงฆ์ออกจากวัด เนื่องจากหลายวันก่อนพระสงฆ์ในเมืองมิตจีนา ได้ออกมาเดินขบวนประท้วงให้รัฐบาลออกมาขอขมาที่ใช้ความรุนแรงสลายการประท้วงของพระสงฆ์ ในอำเภอปะโคะกู่ เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา

17 กันยายน 2550 พระสงฆ์มากกว่า 600 รูปทางภาคกลางและทางตอนบนเขตพม่าได้ทำการประท้วงอย่างสันติ พร้อมทั้งเตรียมไม่รับการบิณฑบาตจากคณะรัฐบาลพม่าและครอบครัว ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายนเป็นต้นไป หลังไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องของพระสงฆ์. พระผู้ใหญ่จากวัดลเลดิ จากเมืองเช่าก์ ในภาคมะกวย กล่าวว่า พระสงฆ์กว่า 300 รูป ได้ทำการประท้วงอย่างสันติตั้งแต่เวลา 05.30น.- 07.00 น. โดยได้เดินขบวนสวดมนต์ไปรอบเมือง ทั้งในย่านตลาดและหอประชุมประจำเมือง อย่างไรก็ตาม พระสงฆ์ในเมืองเช่าก์ยังคงรับบิณฑบาตจากคณะรัฐบาลพม่า เนื่องจากวัดในเมืองเช่าก์ยังไม่ได้รับจดหมายจากกลุ่มพันธมิตรพระสงฆ์ที่เรียกร้องให้พระสงฆ์ทั่วประเทศ ไม่รับบิณฑบาตการถวายของจากรัฐบาลพม่า

ขณะที่ชาวบ้านในเมืองต่าหย่าวดี ในมณฑลพะโค กล่าวว่า พระจากวัดไจ้ก์โต ในเมืองต่าหย่าวดี ได้งดรับบิณฑบาตจากคณะรัฐบาลนับตั้งแต่ได้รับจดหมายจากกลุ่มพันธมิตร ส่วนประชาชนในกรุงย่างกุ้งกล่าวว่า สถานการณ์ในกรุงย่างกกุ้งดูเหมือนจะเงียบผิดปกติ ขณะที่ชาวบ้านในมณฑลพะโค ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือและห่างกรุงย่างกุ้งไป 80 กิโลเมตรยืนยันว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยในเมืองพะโคนั้นเข้มงวดทุกขณะ เหตุเนื่องจากมีการคาดการว่าจะมีการประท้วงขึ้นในวันที่ 18 กันยายน เช่นเดียวกับในมณฑลสกาย ที่มีการส่งกำลังทหารจำนวนกว่า 300 นาย ประจำในพื้นที่เพื่อป้องกันเหตุประท้วง ขณะที่คนขับรถโดยสารในพื้นที่กล่าวว่า ตนรู้สึกกังวลหากเกิดการประท้วงขึ้น เนื่องจากเกรงว่าทั้งทหารและพระจะทำการยึดรถของตนในช่วงที่เกิดการปะทะระหว่างทั้งสองกลุ่ม

อย่างไรก็ตาม กลุ่มพระสงฆ์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทำการขอขมาต่อพระสงฆ์ จากเหตุประท้วงเมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของทางการได้ทำร้ายร่างกายพระสงฆ์จำนวนสามรูป จากวัดปะโคะกู่ ที่ทำการประท้วงอย่างสันติ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยกลุ่มพันธมิตรพระสงฆ์ได้ส่งจดหมายถึงวัดต่างๆ ฉบับแรกเรียกร้องพระสงฆ์ทั่วประเทศ ไม่รับบิณฑบาตและการถวายจากคณะรัฐบาลและครอบครัว หากทางการไม่ยอมขอขมาพระสงฆ์ในอำเภอปะโคะกู่ก่อนวันที่ 17 กันยายน และส่วนฉบับที่สอง ซึ่งถูกเผยแพร่เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เรียกร้องให้พระสงฆ์ทั่วประเทศงดรับบิณฑบาตและของถวายจากคณะรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 17 กันยายนเป็นต้นไป พร้อมทั้งเรียกร้องให้พระสงฆ์ทำการประท้วงในวันอังคารที่ 18 กันยายนนี้

ด้านพระผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่งจากวัด Bawdi Mandineให้สัมภาษณ์ว่า จนถึงขณะนี้ รัฐบาลยังไม่ออกมาขอโทษพระสงฆ์ในอำเภอปะโคะกู่ ตามคำเรียกร้อง ขณะที่สามเณรจากวัดมหาวิสุธารามบางส่วนได้กลับไปยังบ้านของตน เนื่องจากพ่อแม่วิตกกังวลว่าลูกของตนอาจจะถูกจับ ซึ่งวัดดังกล่าวมีพระสงฆ์และสามเณรจำวัดกว่า 700 รูป อย่างไรก็ตามมีการรายงานเพิ่มเติมว่าวัด Kay Mar Thi Wun ในเมือง Kyaukpadaung ในจังหวัดมัณฑะเลย์ ได้มีพระจำนวนกว่า 300 รูปทำการเดินประท้วงเมื่อเวลา 06.00 น. ของเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมาเช่นกัน

18 กันยายน 2550 พระสงฆ์ในพม่าแสดงเจตนารมณ์ไม่สนใจว่าทางการอาจใช้มาตรการรุนแรงสลายการชุมนุมประท้วง ได้รวมตัวพระสงฆ์นับพันเดินขบวนโดยสงบใน 2 พื้นที่ของพม่า. พระสงฆ์จำนวนมากกว่า 1,000 รูป จากวัดหลายแห่งของเมือง รวมตัวเดินขบวนมุ่งหน้าไปยังเจดีย์มหามยัตมุนี ที่มีชื่อเสียงของมัณฑะเลย์ ขณะที่ในเขตอาห์โลน ทางตะวันตกของกรุงย่างกุ้ง มีรายงานพระสงฆ์ประมาณ 100 รูป รวมตัวเดินขบวนโดยสงบในเวลาใกล้เคียงกัน โดยการเดินขบวนของพระสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง ยังไม่มีรายงานทางการพม่าเข้าแทรกแซง. การชุมนุมประท้วงของพระสงฆ์ต่อรัฐบาลทหารพม่าครั้งนี้ มีขึ้นเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากที่เพิ่งเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทางการพม่ายิงแก๊สน้ำตาและยิงปืนขู่ เพื่อสลายการชุมนุมของพระสงฆ์ในเมืองชิตตเวย์

ประชาชนประมาณ 100 คนเดินขบวนในกรุงย่างกุ้ง (Yangon) และที่เมืองซิททเว (Sittwe) ตำรวจเตือนผู้ประท้วงให้สลายการชุมนุมด้วยแก๊สน้ำตา และยิงปืนขึ้นฟ้า นอกจากนี้มีประชาชนหลายพันคนเดินขบวนในเมืองพะโค (Pegu), อองลัน (Aunglan), ปากอกกู (Pakokku), และมัณฑะเลย์ (Mandalay). สื่อทางการพม่าอ้างว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐได้รับบาดเจ็บหลายนายโดยไม่มีผู้ถูกจับกุม ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลจากผู้เห็นเหตุการณ์ที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่ทุบตีพระสงฆ์หลายรูปก่อนจะควบคุมตัวไปขณะสลายการชุมนุม

19 กันยายน 2550 พระสงฆ์กว่า 2,000 รูปเดินขบวนในหลายเมืองทั่วพม่า ทั้งที่ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ แปร และซิททเว

20 กันยายน 2550 พระสงฆ์กว่า 1,000 รูปเดินขบวนประท้วงในกรุงย่างกุ้งเป็นวันที่ 4 มุ่งหน้าสู่เจดีย์ชเวดากอง และผ่านหน้าสถานทูตต่างๆ ในพม่า โดยได้เรียกร้องให้ UN เข้ามาช่วยแก้ไขสถานการณ์ในพม่า พร้อมทั้งเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงในประเทศ อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าระหว่างที่พระสงฆ์เดินขบวนอยู่ นักเรียนและนักศึกษากว่าร้อยคนได้เดินจับมือกันห้อมล้อมขบวนพระสงฆ์ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้ามาทำร้าย อีกทั้งยังมีประชาชนนับหมื่นร่วมเดินขบวนดังกล่าวด้วย

21 กันยายน 2550 พระสงฆ์ในพม่าเดินนำมวลชนกว่า 3,000 คน ไปตามถนนที่เจิ่งนองด้วยน้ำฝนในกรุงย่างกุ้ง เพื่อสร้างแรงกดดันที่ท้าทายที่สุดต่อรัฐบาลทหารพม่าในรอบ 20 ปี หลังเหตุการณ์ 8888 โดยขณะพระสงฆ์ประมาณ 1,500 รูป เดินเท้าเปล่าเข้าไปในเมืองนั้น ได้เชื้อเชิญให้ประชาชนสองข้างทางจำนวนพอๆ กัน เข้าร่วมขบวนด้วย พวกเขาได้เดินฝ่าฝนและลุยน้ำ ซึ่งบางช่วงสูงถึงระดับเข่า เพื่อสวดมนต์เรียกร้องสันติภาพ ประชาชนหลายร้อยคนทั้งจากสองข้างทางและริมหน้าต่างของบ้านเรือน ได้ปรบมือให้ระหว่างที่ขบวนของพระสงฆ์และประชาชนเหล่านี้เคลื่อนผ่าน

ผู้เห็นเหตุการณ์กล่าวว่า ในการประท้วงครั้งล่าสุดที่ผ่านมา เริ่มต้นด้วยพระสงฆ์ประมาณ 500 รูป เดินเข้าสู่มหาเจดีย์ชเวดากอง (the Shwedagon Pagoda) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของพม่า แล้วพอพวกเขาเคลื่อนเข้าสู่ใจกลางเมือง จำนวนพระสงฆ์ก็เพิ่มขึ้นเป็น 1,500 รูป และประชาชนอีกประมาณ 1,500 คน ก็เข้าร่วมกับพวกเขา โดยมีกลุ่มสตรีประมาณ 100 คน ได้รวมกันเป็นโล่มนุษย์ ปกป้องพระสงฆ์ที่ถือธงฉัพพรรณรังสี ซึ่งเป็นธง 6 สี ประจำพุทธศาสนา

พวกเขาหยุดที่ภายนอกศาลาว่าการกรุงย่างกุ้ง สถานที่ซึ่งพวกเขาเปล่งเสียงภาวนาว่า "ขอให้สันติและความมั่นคงปลอดภัยอยู่ยืนนาน ขออย่าให้ประชาชนต้องเป็นทุกข์เลย" ขบวนที่นำโดยพระสงฆ์ยังคงเดินต่อไป แม้จะเป็นเวลาค่ำ โดยพวกเขาได้ยืนสวดมนต์อยู่ที่ตลาดที่จอแจที่สุดของเมือง ก่อนที่จะกลับมาที่มหาเจดีย์ชเวดากอง สถานที่ซึ่งพวกเขาเริ่มต้นเดินขบวน เมื่อ 6 ชั่วโมงก่อนหน้านี้

ทางการพม่าจังหวัดเมียวดี ตรงข้ามอำเภอแม่สอด เข้มงวดกับการนำส่งสินค้าเข้าไปยังเมืองย่างกุ้ง เนื่องจากเกรงว่าจะมีการนำอาวุธยุทโธปกรณ์ และฝ่ายต่อต้านจะฉวยโอกาสเข้าไปก่อความไม่สงบ โดยมีการตั้งจุดตรวจนับ 20 จุด ตามรายทางเส้นทางเมืองเมียวดี - เมืองกอกาเลก ไปจนถึงเมืองผาอ่าง และเมืองย่างกุ้ง ส่งผลให้พ่อค้าพม่าได้รับผลกระทบจากการส่งสินค้าล่าช้า และเสียเวลามาก

พันเอกเจ้ายอดศึกผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่หรือ SSA ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว S.H.A.N ว่า ตนสนับสนุนการประท้วงของพระสงฆ์ในพม่า พร้อมกล่าวเรียกร้อง UN และนานาชาติหันมาสนใจสถานการณ์พม่าอย่างจริงจัง และไม่ควรร่วมลงทุนการค้ากับรัฐบาลพม่า เพราะเหมือนเป็นการร่วมมือกับรัฐบาลพม่าที่กระทำความผิด

23 กันยายน 2550 : พระสงฆ์และแม่ชี ร่วมกันเดินขบวน
พระสงฆ์และแม่ชี ร่วมด้วยผู้สนับสนุนจำนวนเกือบ 2 หมื่นคนในพม่ายังคงร่วมเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลพม่า ซึ่งเป็นการเดินขบวนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ ท่ามกลางสายฝน. ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า เมื่อวานนี้มีพระสงฆ์ประมาณ 10,000 รูปซึ่งมีอยู่หลายรูปที่เดินด้วยเท้าเปล่า และเป็นครั้งแรกที่แม่ชีได้เข้าร่วมการเดินขบวนด้วย โดยมีกลุ่มผู้ประท้วงจำนวน 200 คนที่ชูป้ายข้อความว่า "ความรักและความเมตตามีชัยตลอดกาล" ("loving kindness will win every time") เดินเท้าไปที่บ้านของนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD สัญลักษณ์ของการเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าเหมือนกับเมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน

นางออง ซาน ซู จี ปรากฎตัวในสภาพน้ำตาคลอ
พระสงฆ์ตะโกนว่า พวกเรากำลังเดินขบวน เพื่อประชาชน เราต้องการให้ประชาชนเข้าร่วม และการลุกฮือขึ้นประท้วงของเราต้องประสบความสำเร็จ. ผู้ประท้วงต่างมีกำลังใจเพิ่มมากขึ้นหลังจากเดินขบวนผ่านหน้าบ้านนางอองซาน ซูจี ผู้นำการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า. นางซูจี ปรากฎตัวในสภาพน้ำตาคลอ และโบกมือให้พระสงฆ์ขณะที่สวดมนตร์ให้พร ขณะที่ผู้สนับสนุนร้องตะโกนให้เธออายุยืนและมีสุขภาพดี และหวังว่าเธอจะได้รับอิสรภาพในเร็ววัน. นางซูจี วัย 62 ปี กลายเป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ในฐานะผู้พยายามเคลื่อนไหวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยปราศจากการนองเลือด นับตั้งแต่พรรคของเธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เมื่อปี พ.ศ.2533 แต่รัฐบาลทหารไม่ยอมรับผลของการเลือกตั้ง

อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ปรบมือให้กำลังใจ และมอบดอกไม้ให้กับกลุ่มผู้ประท้วง บางคนได้ถวายยาให้กับพระสงฆ์ที่เดินด้วยเท้าเปล่าด้วย ผู้ประท้วงรายหนึ่งได้กล่าวผ่านเครื่องกระจายเสียงว่า ต้องการที่จะเจรจากับทหาร เพื่อแจ้งข้อเรียกร้องให้ปล่อยนางซูจีเป็นอิสระ เช่นเดียวกับนักโทษการเมืองรายอื่นๆ ขณะเดียวกันยังมีพระสงฆ์อีก 300 รูปที่ร่วมกันสวดมนต์ที่เมืองทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้ง ส่วนพระสงฆ์อีก 500 รูป ร่วมเดินขบวนที่เมืองมัณฑะเลย์ที่อยู่ทางตอนกลาง การเดินขบวนของพระสงฆ์จำนวนมากในครั้งนี้เกิดจากปัญหาความยากจน และมีพระสงฆ์จำนวนนับพันรูปที่ย่างกุ้ง รวมถึงอีกหลายเมืองถูกจับกุมเมื่อวันอังคารที่ 18 กันยายน

การประท้วงในครั้งนี้นับเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในกรุงย่างกุ้ง และในช่วงเช้าของวันเดียวกัน รัฐบาลพม่าได้ส่งกองกำลังสนับสนุนรัฐบาลราว 20 คน และตำรวจปราบปรามการจลาจลอีกจำนวนหนึ่งไปประจำการยังถนนที่นำสู่บ้านพักของนางซูจี โดยกองกำลังดังกล่าวได้เข้าขัดขวางการเดินขบวนของพระสงฆ์และผู้ร่วมประท้วงราว 200 คนด้วย แต่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงแต่อย่างใด

กลุ่มชาวพุทธที่ใช้ชื่อว่าพันธมิตรแห่งพระสงฆ์ทั้งหมดในพม่า เรียกร้องให้ประชาชนชาวพม่าทุกคนร่วมกันสวดมนต์ทั่วประเทศเป็นเวลา 3 วันเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายนนี้ เพื่อแสดงการต่อต้านรัฐบาลพม่า โดยให้ออกมายืนสวดมนต์หน้าบ้านเป็นเวลา 15 นาที ตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกาเป็นต้นไป สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า กลุ่มดังกล่าวน่าจะจัดตั้งขึ้นโดยพระสงฆ์ ทั้งนี้การชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลพม่าเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา หลังการปรับขึ้นราคาน้ำมันหลายเท่าตัว โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีเหล่าพระสงฆ์ออกมาร่วมชุมนุมด้วย

อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลพม่าที่ปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ยังคงไม่มีความชัดเจนว่าจะจัดการกับกลุ่มผู้ประท้วงอย่างไร เพราะหากใช้วิธีการรุนแรงเข้าคลี่คลายผู้ชุมนุมที่เป็นพระสงฆ์ ย่อมทำให้ประชาชนรวมถึงทหารบางคนเกิดความรู้สึกไม่พอใจอย่างรุนแรงเช่นกัน แต่หากไม่เข้าคลี่คลายการชุมนุมก็จะทำให้รัฐบาลไม่มีความเด็ดขาด

เสียงสะท้อนจากนานาชาติ กรณีเหตุการณ์ประท้วงในพม่า

- นางสาวคอนโดลีซซ่า ไรซ์ รัฐมนตรีการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ทางการสหรัฐฯ ยังคงเฝ้าจับตาดูการประท้วง ซึ่งจะเน้นการพูดคุยประเด็นพม่าในการประชุมร่วมกับตัวแทนชาติสมาชิกอาเซียน โดยจะกดดันให้อาเซียนใช้อิทธิพลบีบพม่า ให้ปล่อยนางอองซาน ซูจี เป็นอิสระ ยุติการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม และเร่งปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศ และในการพบปะกับ รมว.ต่างประเทศจีน ในวันที่ 24 กันยายนนี้ นางสาวไรซ์ก็จะหารือเรื่องพม่ากับตัวแทนจีนเช่นกัน ทั้งนี้จีนเป็นพันธมิตรที่แนบแน่นกับพม่า เคยแสดงท่าทีไม่บีบคั้นพม่าเพราะไม่ต้องการแทรกแซงกิจการภายในของพม่า อย่างไรก็ตาม ภายหลังท่าทีของจีนเปลี่ยนไป โดยหันมาชี้แนะให้พม่าทำการปฏิรูปประชาธิปไตยเพื่อสร้างเสถียรภาพในประเทศ

- เดวิด สไตน์เบิร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่าประจำมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ในกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ระบุว่าการประท้วงครั้งนี้มีนัยสำคัญ ที่รัฐบาลยอมให้มีการเดินขบวนผ่านบ้านพักของซูจี และการไม่แทรกแซงการประท้วงไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอของรัฐบาล เพราะรัฐบาลยังคงเป็นสถาบันที่มีอำนาจมากที่สุดในประเทศ

- นายอ่อง เค็ง ยัง เลขาธิการสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เรียกร้องให้ทางการพม่าหลีกเลี่ยงการใช้มาตรการรุนแรงใดๆ ต่อกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ขยายวงกว้างมากขึ้น โดยเขาหวังว่า เจ้าหน้าที่ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องจะไม่ใช้มาตรการรุนแรงใดๆ และทำให้การประท้วงกลายเป็นการเผชิญหน้าครั้งใหญ่

- ในขณะเดียวกัน เป็นที่คาดการณ์ว่าที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ (UN) ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ จะกดดันรัฐบาลพม่าให้ปฏิรูปประชาธิปไตย ขณะที่กระแสประท้วงภายในพม่าทวีความรุนแรงขึ้น สหรัฐฯ และประเทศในยุโรปจะเป็นแกนนำใช้มาตรการทางการทูตกดดันรัฐบาลพม่า เท่ากับเป็นการสนับสนุนการเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปีในพม่า

- นายเดวิด มิลลิแบนด์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ กล่าวว่าจะยกประเด็นพม่าขึ้นมาเป็นประเด็นหลัก หลังจากมีการสรุปสถานการณ์ต่อคณะมนตรีความมั่นคงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศของยุโรปที่เคยยกเลิกการเจรจาการค้าเสรีกับภาคีสมาชิกอาเซียน อันเนื่องจากปัญหาสิทธิมนุษยชนในพม่าต่างเห็นด้วยที่จะยกประเด็นนี้ขึ้นมาในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเช่นกัน

24 กันยายน 2550 พระสงฆ์พม่า ที่เป็นแกนนำในการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศ ในรอบเกือบ 2 ทศวรรษ ได้ถูกสั่งไม่ให้ข้องเกี่ยวกับการเมือง ขณะที่รัฐบาลทหารได้ยอมรับผ่านสื่อที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลว่า การประท้วงได้ลุกลามไปทั่วประเทศแล้ว และหลังจากพบว่ามีผู้เข้าร่วมขบวนประท้วงภายใต้การนำของพระสงฆ์นับแสนคน คนของรัฐบาลได้ใช้รถยนต์ขับตามขบวนผู้ประท้วงตามถนนสายต่างๆ ในย่างกุ้ง ประกาศห้ามพระสงฆ์ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับกิจของฆราวาส โดยระบุว่าเป็นการยั่วยุให้เกิดความไม่สงบขึ้นในประเทศ

องค์กรศาสนาพุทธอย่างเป็นทางการของประเทศ ได้ออกคำสั่งให้พระสงฆ์กลับไปอยู่ในวินัยสงฆ์ และระบุว่า พระหนุ่มทั้งหลายได้รับแรงขับจากกลุ่มที่บ่อนทำลายภายในและภายนอก หวังจะให้พระเหล่านี้ละเมิดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ที่รวมถึงสมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ของนางอองซาน ซูจี,พรรคคอมมิวนิสต์พม่า, และสถานีวิทยุของต่างชาติบางแห่ง ซึ่งพลจัตวาสูรา อ้างว่าทางการกำลังรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบันด้วยความห่วงใย และเกรงว่าจะเกิดความผิดพลาดขึ้น

นายพลจัตวา สูรา หมิ่น หม่อง เปิดเผยผ่านสถานีวิทยุที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลทหารว่า จะใช้กฎหมายจัดการกับประท้วงภายใต้การนำของขบวนพระสงฆ์ และยังประณามการประท้วงครั้งนี้ด้วยว่า เป็นพวกบ่อนทำลายที่ไม่ต้องการเห็นสันติภาพ เสถียรภาพและความก้าวหน้าของประเทศ

นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง "รัฐบาลไทยต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อรัฐบาลทหารของพม่า" มีเนื้อหาสนับสนุนการเดินขบวนการพระภิกษุสงฆ์ที่เรียกร้องประชาธิปไตย และแสดงความเป็นห่วงว่ารัฐบาลพม่าจะใช้ความรุนแรง ดังนั้นจึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านและสมาชิกอาเซียน มีจุดยืนที่ชัดเจนต่อรัฐบาลทหารพม่า คัดค้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้ชุมนุม และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี และนักโทษการเมืองคนอื่นโดยด่วน และแถลงการณ์ยังเรียกร้องให้รัฐบาลทหารของพม่าฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยด้วย (1)

(1) แถลงการณ์ เรื่อง"รัฐบาลไทยต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อรัฐบาลทหารของพม่า"

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ขอประกาศจุดยืนสนับสนุนการเดินขบวนและการชุมนุมอย่างสันติ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทางสังคมของประชาชนชาวพม่าจำนวนนับแสน ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศพม่า และนำโดยขบวนการพระภิกษุสงฆ์ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการต่อสู้ครั้งนี้จะประสบกับความสำเร็จและปราศจากการเสียเลือดเนื้อ แต่น่าเป็นห่วงยิ่งว่ารัฐบาลทหารของพม่ามีประวัติการใช้ความรุนแรงกับผู้เรียกร้องประชาธิปไตยโดยสันติมาตลอด

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยในฐานะรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านและสมาชิกอาเซี่ยนร่วมกัน จะต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อรัฐบาลทหารของพม่า คัดค้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้ชุมนุม และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และนักโทษการเมืองคนอื่นโดยด่วน พร้อมขอให้รัฐบาลทหารของพม่าประกาศมาตรการเร่งด่วนที่จะสถาปนาระบอบประชิปไตยในประเทศพม่า ทั้งนี้เพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ความตึงเครียด และนำสันติสุขมาสู่ประเทศพม่าและภูมิภาคนี้ในที่สุด

หากรัฐบาลไทยนิ่งเฉยปล่อยให้สถานการณ์เกิดความรุนแรง ผลเสียจะไม่ได้เกิดต่อประชาชนชาวพม่าเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดสถานการณ์ความตึงเครียดมากยิ่งขึ้นทั่วภูมิภาค และประเทศไทยคงจะต้องเตรียมพร้อมต้อนรับผู้ลี้ภัยอีกนับแสนนับล้าน

แถลง ณ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐
จอน อึ๊งภากรณ์
ประธาน (กป.อพช.)


25 กันยายน 2550 พระสงฆ์ราว 2,000 รูปและประชาชนได้เดินออกจากเจดีย์ชะเวดากองในกรุงย่างกุ้ง และเดินขบวนต่อไปยังใจกลางกรุงย่างกุ้ง แม้รัฐบาลประกาศเตือนว่า อาจใช้กำลังทหารเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงก็ตาม พระสงฆ์ได้ทำการโบกธงซึ่งรวมถึงธงที่มีรูปนกยูง ซึ่งกลุ่มนักศึกษาเคยใช้ในเหตุการณ์ลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2531 และถูกรัฐบาลทหารกวาดล้างจนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,000 คน

รัฐบาลทหารพม่ายังได้สั่งซื้อจีวรพระสงฆ์จำนวน 3,000 ผืน
กลุ่ม Burma Campaign UK รายงานว่า มีการสั่งการให้ทหารโกนศีรษะเพื่อเตรียมตัวเข้าแทรกซึมในกลุ่มพระสงค์ที่เดินขบวนประท้วง รัฐบาลทหารพม่ายังได้สั่งซื้อจีวรพระสงฆ์จำนวน 3,000 ผืน โดยอาจมีจุดประสงค์เพื่อให้ทหารปลอมตัวเป็นพระ เพื่อยั่วยุให้เกิดความรุนแรง อันเป็นเหตุให้รัฐบาลสามารถเข้าดำเนินการกวาดล้างกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงด้วยวิธีการรุนแรงได้

เครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และองค์กรประชาชนผู้รักความเป็นธรรม 16 องค์กรในประเทศไทย ออกแถลงการณ์สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (2)

(2) องค์กรสิทธิมนุษยชน - ประชาธิปไตย ในประเทศไทย
สนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า

สถานการณ์ความตึงเตรียดที่กำลังขยายตัวอย่างกว้างขวางในประเทศพม่า มิอาจปิดกั้นความรู้สึกห่วงใยที่บรรดาผู้รักความเป็นธรรม และนักสิทธิมนุษยชนจะนิ่งเฉยอยู่ได้ ด้วยเหตุที่ความขัดแย้งมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทั้งที่รากเหง้าของปัญหาที่ได้ฝังตัวมายาวนาน นับแต่ระยะแรกเริ่มของการก่อเกิดสหภาพพม่า ราวปี พ.ศ.2490 (ค.ศ.1948) ที่ได้รับอิสรภาพจากลัทธิอาณานิคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปี พ.ศ.2505 - 2507 (ค.ศ.1962 - 1964) เมื่อนายพล เนวิน ยึดอำนาจการปกครองอย่างเบ็ดเสร็จจากนายกรัฐมนตรีอูนุ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ไม่สงบเป็นระยะๆ

เมื่อขบวนการนิสิตนักศึกษา ได้ลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตย ชุมนุมใหญ่เมื่อเดือนสิงหาคม - กันยายน 2531 (1988) ปรากฏว่าได้มีการปราบปรามอย่างรุนแรง จนทำให้นักศึกษา ประชาชน ล้มตาย บาดเจ็บ ถูกจับกุมคุมขังนับพันคน มีผู้ลี้ภัยระเหเร่ร่อนหนีตายไปยังประเทศเพื่อนบ้านนับล้านคนในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะผ่านชายแดนไทย อินเดีย บังกลาเทศ เป็นต้น สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงของระบอบเผด็จการทหารที่ไร้คุณธรรม

การจับกุมคุมขังผู้มีความเห็นต่างจากรัฐบาล ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำนักศึกษา นักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย รวมทั้งนางอองซานซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ ถูกจองจำอย่างต่อเนื่องยาวนาน กว่า 18 ปี ผู้นำเผด็จการทหารพยายามข่มขู่ คุกคามทุกวิถีทางมิให้เธอได้มีโอกาสพบปะกับประชาชนผู้ให้การสนับสนุน หรือแม้แต่ผู้คนรอบข้าง ปัจจุบันยังมีนักโทษทางการเมืองถูกคุมขังนับพันคน ในพม่านับแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา. การปราบปรามเข่นฆ่าประชาชนชาวพม่า และชนกลุ่มน้อยผู้บริสุทธิ์ ได้ปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองทับถมทบทวี ความอดอยากยากจนปรากฏขึ้นทั่วไป ในขณะที่ชนชั้นนำกลับร่ำรวย แตกต่างราวฟ้ากับดิน

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ตามที่พระภิกษุสงฆ์หลายหมื่นรูปได้เดินขบวนไปตามท้องถนนในกรุงย่างกุ้ง และในอีกหลายเมืองใหญ่ในประเทศพม่าเพื่อแสวงหาสันติภาพ และความเป็นธรรมร่วมกับประชาชน นิสิตนักศึกษา และผู้รักประชาธิปไตย นับแสนคน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าลดราคาน้ำมัน ปล่อยนักโทษการเมือง ให้ฝ่ายทหารผู้ปกครองประเทศตั้งคณะสมานฉันท์เพื่อความปรองดองแห่งชาติ และออกมากล่าวคำขอโทษ พระสงฆ์ที่ถูกทหารทำร้ายร่างกายนั้น เป็นสิ่งที่บรรดานักกิจกรรมทางสังคม องค์กรสิทธิมนุษยชน สื่อมวลชน และประชาคมโลกต่างร่วมกันจับตามองด้วยความสนใจ และห่วงใยในท่าทีของรัฐบาลทหารที่นำโดยพลเอก ตัน ฉ่วย ประธานสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ หรือ SPDC (State Peace and Development Council)
ว่าจะดำเนินการตามข้อเรียกร้องหรือใช้มาตรการจัดการกับปัญหาบนหลักการแห่งสิทธิมนุษยชน ล่าสุดมีพระสงฆ์ถูกจับกุม 10 รูปแล้ว

องค์กรสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และองค์กรประชาชน ซึ่งมีรายนามข้างท้ายนี้ ขอส่งกำลังใจ และให้การสนับสนุนการเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย และความเป็นธรรมของนิสิต นักศึกษา พระภิกษุสงฆ์ และประชาชนหลากหลายชาติพันธุ์ในประเทศพม่า ที่ดำเนินการอย่างสันติวิธี และมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลทหารของพม่า ดังนี้

1. ขอส่งกำลังใจ และให้การสนับสนุนการเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตย และความเป็นธรรมของนิสิต นักศึกษา พระภิกษุสงฆ์ ประชาชนชาวพม่า และชนกลุ่มน้อย ชาติพันธุ์ที่หลากหลายในประเทศพม่า ที่ดำเนินการต่อสู้อย่างสันติวิธี

2. เรียกร้องให้รัฐบาลทหารของพม่า หลีกเลี่ยงและยุติการใช้ความรุนแรงในการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเร่งคืนประชาธิปไตยให้กับประชาชน ยึดมั่นในหลักการสิทธิมนุษยชนสากลอันเป็นสารัตถะสำคัญของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติที่พม่าเป็นภาคีสมาชิก

3. เรียกร้องให้รัฐบาลทหารของพม่า ปลดปล่อยนักโทษทางการเมือง นักโทษทางความคิดที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาล โดยทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นางออง ซาน ซู จี, ผู้นำนักศึกษา, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย และความเป็นธรรมในประเทศพม่า

4. เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วน ทุกชาติพันธุ์ มีส่วนร่วมในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง ตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล และประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญ นำพาประเทศสู่ยุคประชาธิปไตยใหม่ที่ประชาชนชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศพม่ามุ่งหวัง

5. เรียกร้องให้ องค์กรระหว่างประเทศ ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคม และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และมนุษยธรรม ส่งผู้สังเกตการณ์ไปติดตามสถานการณ์ในประเทศพม่าอย่างใกล้ชิด แล ดำเนินมาตรการต่างๆ ที่จำเป็น ทั้งนี้เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรม ให้ความช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์คับขันตามความเหมาะสม โดยไม่ให้มีการนองเลือดเกิดขึ้น

6. กระตุ้นสำนึกรับผิดชอบของรัฐบาลไทย และประเทศภาคีสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนว่าพึง ให้คำแนะนำและสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปประชาธิปไตยในประเทศพม่าอย่างแท้จริงโดยเร็ว ไม่ควรนิ่งนอนใจ หรือหวังแต่เพียงผลประโยชน์ทางธุรกิจ การค้าดังเช่นที่ผ่านมาตลอดระยะเวลากว่าสองทศวรรษ ทั้งนี้สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม เป็นวาระสำคัญที่ต้องยึดถือ

ร่วมลงนามโดย:
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.), คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.), คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.), คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน, เครือข่ายเอเซียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (อันเฟรล), ชมรมนักกิจกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม, สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.), สถาบันเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.), ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม (สสธ.), ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD.), แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย, สำนักงานสิทธิมนุษยศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล,


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ข้อมูลสรุปจาก

- Newsline มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี
- สำนักข่าว Irrawaddy
- สำนักข่าวเชื่อม
- สำนักข่าวประชาไท
- สำนักข่าว Christian Solidarity Worldwide
- Kachin News Group
- Narinjara News
- Kachinpost
- Independent Mon News Agency
- Democratic Voice of Burma
- S.H.A.N

ภาพเหตุการณ์ขบวนพระภิกษุสงฆ์พม่าที่ออกมาประท้วงการประกาศขึ้นราคาน้ำมันและมีการทำร้ายพระสงฆ์
ทำให้พระสงฆ์ในหลายเมืองใหญ่ของประเทศตื่นตัว ออกมาร่วมเดินขบวนกับประชาชน และประกาศไม่รับบิณฑบาตรจากฝ่ายทหาร
ซึ่งเท่ากับเป็นการคว่ำบาตรรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าอย่างรุนแรง

คลิกไปทบทวนบทความวิชาการเกี่ยวเนื่อง ตอนที่ ๑
คลิกไปอ่านบทความวิชาการเกี่ยวเนื่อง ตอนที่ ๓


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

The phrase "Saffron Revolution" connects the protests (against that country’s military dictatorship) to the saffron-coloured robes often worn (although not in Myanmar) by Buddhist monks, who are at the forefront of the demonstrations. While the phrase had been used previously to describe the process of gradual or peaceful revolution in other nations, this seems to be the first time it has been associated with a particular protest as it is unfolding, and the international press has seized upon it in reporting on the Burmese protests.
The fact that September 23 is known as Safron (Saffron) Day in the French Republican calendar is coincidental.