โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 27 August 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๔๖ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (August, 27, 08,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

มาถึงวันนี้ประเทศเกาหลีใต้เป็นแบบอย่างของประเทศเอเชียอีกหลายประเทศ ที่ต้องการเอาอย่างการพัฒนาประเทศให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะเคยถูกกล่าว่าเป็นประเทศที่ยากจนมากที่สุดประเทศหนึ่ง แต่ปัจจุบัน เกาหลีเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของโลก ประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบฉบับของการก้าวไปสู่ความสำเร็จแก่ประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย และประเทศที่ได้รับการขนานนามว่ามีประชากรที่มีคุณภาพทางจิตวิญญาน"เราทำได้" (Can-do Spirit). (คัดมาบางส่วนจากบทความ)
27-08-2550

K-pop & K-wave
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

เกาหลีใต้ในคริสตศตวรรษที่ ๒๑
แดจังกึม ลัทธิขงจื้อ และสถานภาพของผู้หญิงเกาหลี
สุกัญญา อินต๊ะโดด : เรียบเรียง
นักศึกษาปริญญาโท สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


บทความวิชาการต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานค้นคว้าอิสระ(independent studies) เรื่อง

การวิเคราะห์บทบาทของสตรีในละครโทรทัศน์เรื่องแดจังกึม(จอมนางแห่งวังหลวง) ตามแนวคิดสตรีนิยม
(เรียบเรียงจากบทที่ ๑) โดยได้แบ่งออกเป็น ๓ ตอนเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจดังนี้
ตอนที่ ๑: ปรากฏการณ์แดจังกึม
- แดจังกึม เรื่องแต่งที่อิงประวัติศาสตร์ ซอจังกึม
- แดจังกึม : บทละครย้อนอดีตความเป็นอยู่ในราชสำนัก
- คำประกาศถึงความเท่าเทียม และสิทธิสตรี
ตอนที่ ๒ : ลัทธิขงจื้อกับค่านิยมที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
- ลัทธิขงจื้อมีเรื่องสั่งให้ทำ กับห้ามไม่ให้ทำอยู่มาก
- การปกครองรัฐที่ดี เริ่มจากฐานระเบียบครอบครัว
ตอนที่ ๓ : สถานภาพของผู้หญิงเกาหลี ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
- การแก้ไขกฎหมายในการปรับปรุงสถานภาพสตรี
- สตรีกับโอกาสทางการศึกษาและการทำงาน
ปกิณกะ ๓ เรื่อง : เกาหลีใติในคริสตศตวรรษที่ ๒๑
- วัฒนธรรมในฐานะสินค้าพัฒนาเศรษฐกิจ
- นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้
- เกาหลีใต้ในคริสตศตวรรษที่ ๒๑
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๔๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เกาหลีใต้ในคริสตศตวรรษที่ ๒๑
แดจังกึม ลัทธิขงจื้อ และสถานภาพของผู้หญิงเกาหลี
สุกัญญา อินต๊ะโดด : เรียบเรียง
นักศึกษาปริญญาโท สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตอนที่ 1
ปรากฏการณ์แดจังกึม
ละครโทรทัศน์ของเกาหลีใต้เรื่อง แดจังกึม (จอมนางแห่งวังหลวง) สุดยอดละครโทรทัศน์ของทางสถานีโทรทัศน์ MBC ที่กวาดเรตติ้งอันดับหนึ่ง ตลอดช่วงเวลาที่ละครออกอากาศในเกาหลี ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2003 ไปจนถึงวันที่ 23 มีนาคม 2004 สร้างปรากฏการณ์ความเป็นสุดยอดนิยมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับละครเรื่องไหนมาก่อน ด้วยการมีปริมาณผู้ชมเฉลี่ยของทุกตอนที่ออกฉายมากที่สุด ละครโทรทัศน์เรื่องนี้ไม่เพียงสร้างความนิยมเฉพาะที่เกาหลีและไต้หวันเท่านั้น แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่น ในขณะที่ถูกนำออกฉายโดยสถานีโทรทัศน์ NHK ละครเรื่องนี้ก็ประสบความสำเร็จที่ญี่ปุ่นเช่นกัน และในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2004 Dae Jang Guem ก็ได้รับความนิยมจากชาวตะวันตกทางช่อง WOCH-Ch ใน Chicago สหรัฐอเมริกา(ในชื่อ The Jewel in the palace - "Dae Jang-geum") และประสบความสำเร็จอย่างมากในเมืองไทยทางโทรทัศน์ช่อง 3 อ.ส.ม.ท

ละครเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงของหญิงสาวผู้เป็นตำนาน นามว่า Dae Jang Guem สตรีคนแรกในประวัติศาสตร์เกาหลีที่เป็นแพทย์หลวงในพระราชสำนักรักษาพระราชา (ไพบูลย์, 2003: ปกหลัง). ที่ฮ่องกง แดจังกึมทำสถิติมีคนชมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่วนในจีนแผ่นดินใหญ่ บุคคลระดับนายกรัฐมนตรีออกมายอมรับว่า เป็นแฟนละครโทรทัศน์เรื่องนี้ เช่นกัน

ปรากฏการณ์แดจังกึม(จอมนางแห่งวังหลวง) เป็นละครประวัติศาสตร์เกาหลีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ผู้ชมไม่ว่าจะเป็นเกาหลี, ไต้หวัน, ฮ่องกง, จีน, เวียดนาม, มาเลเซีย, แคนาดา, และสหรัฐอเมริกา (ชิคาโก้, และซานฟรานซิสโก). เมื่อมาถึงเมืองไทยกระแสความนิยมสูงลิ่วไม่ต่างไปจากในประเทศอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งที่ช่อง 3 ผูกขาดละครโทรทัศน์จากฮ่องกง จีน และใต้หวันมานาน แต่ก็ต้องเปิดทางให้ละครเรื่องนี้เนื่องจากเป็นกระแสที่โด่งดังมาก เมื่อละครโทรทัศน์เรื่องนี้ออกอากาศก็ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากคนไทยทุกเพศทุกวัน มีกระทู้ถามตอบในเว็บไซต์มากมายที่ต่างพูดถึงละครเรื่องดังกล่าว จนทำให้ช่อง 3 ต้องนำละครเรื่องนี้ออกอากาศซ้ำอีกครั้งเป็นระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ทั้งที่ละครเรื่องนี้มีความยาวถึง 74 ตอน ซึ่งถือว่าเป็นละครโทรทัศน์ที่ยาวมาก

นวนิยายแปลเรื่องแดจังกึม เล่มแรกที่วางขายในประเทศไทยนั้นขายหมดภายในไม่กี่วัน และหนังสือเล่าเรื่องย่อจากบทโทรทัศน์ทำสถิติยอดขายเป็นประวัติการณ์ หนังสือพิมพ์นำบทละครเรื่องนี้ลงแทบทุกฉบับ รวมถึงวารสารมติชนสุดสัปดาห์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวารสารการเมืองระดับประเทศ ก็ยังนำรูปตัวละครเอกในเรื่อง "แดจังกึม" มาขึ้นปก ทั้งหมดนี้เป็นปรากฏการณ์ของละครโทรทัศน์ต่างประเทศในเมืองไทยที่แทบไม่เคยมีมาก่อน

สื่อมวลชนปัจจุบัน ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถาบันหลักของการผลิต"อุตสาหกรรมวัฒนธรรม"(cultural industry) และละครโทรทัศน์ นับว่ามีส่วนในการสร้างความบันเทิงทางสังคมขึ้นมาอย่างสูง แม้วัฒนธรรมเกาหลีใต้ไม่ว่าจะเป็นทางตรง เช่น แฟชั่น เพลง ละครโทรทัศน์ อาหาร ฯลฯ จะแพร่เข้าไปในประเทศจีนนานแล้ว แต่ก็ไม่มีครั้งใดที่กระแสคลื่นเกาหลีจะรุนแรงเท่ากับละครโทรทัศน์เรื่อง "แดจังกึม" จนถึงกับมีนักวิชาการชาวฮ่องกงผู้หนึ่งกล่าวเปรียบเทียบไว้ว่า ละครโทรทัศน์เรื่องนี้เสมือนกับเป็นหนังสือแถลงการณ์ทางการเมือง ถึงการผงาดขึ้นมาของเกาหลีใต้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ถือเป็นประกาศนียบัตรถึงการลุกขึ้นมาเผชิญกับโลกภายนอกของเกาหลีใต้ โดยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแย่งชิงสิทธิ์ในการเป็นศูนย์กลางการอรรถาธิบายจิตวิญญาณของวัฒนธรรมขงจื้อกับประเทศจีน

แดจังกึม เรื่องแต่งที่อิงประวัติศาสตร์ ซอจังกึม
แดจังกึม (Dae Jang Guem) เป็นบุคคลที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์เกาหลี หลายคนเชื่อว่า เธอเป็นเพียงตัวละครในนิยายที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้น จากการอ้างอิงถึงแพทย์หญิงหลายคนในราชสำนักที่ปรากฏในจดหมายเหตุ ย้อนกลับไปในสมัยราชวงศ์โชซอน ราชวงศ์สุดท้ายของคาบสมุทรเกาหลีเมื่อ 500 กว่าปีก่อน ในรัชสมัยจักรพรรดิยอนซันกึม, ปี พ.ศ. 2037 - 2049 และจักรพรรดิจุงจง ปี พ.ศ. 2049 - 2087 สมัยนั้นมีผู้หญิงถวายงานอยู่ในพระราชวังหลายตำแหน่งด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งนางข้าหลวงและต้นเครื่อง(แม่ครัวหลวง) ตำแหน่งเหล่านี้จะได้รับการมอบหมายงานเป็นพิเศษ ภายใต้โครงสร้างที่เต็มไปด้วยระเบียบแบบแผนและการปกครองที่เข้มงวด บนเส้นทางที่ต้องฟันฝ่าของหญิงสามัญชนในสมัยกษัตริย์จุงจง แห่งราชวงศ์โชซอนของเกาหลี

"ซอจังกึม"หรือ"แดจังกึม"(ในละครโทรทัศน์) มีความสามารถพิเศษในการรับรู้รสชาติของอาหาร และเรียนรู้วิชาการทำอาหารด้วยความทุ่มแท จนได้ก้าวขึ้นมาเป็นต้นเครื่องยอดฝีมือ และด้วยการฟันฝ่าไปกับชีวิตที่มีอุปสรรคและความผกผัน ในท้ายที่สุด เธอได้พัฒนาขึ้นเป็นแพทย์หลวงแห่งราชวงศ์โชซอนจนเป็นผลสำเร็จ. ในสังคมเกาหลีโบราณที่การแบ่งแยกชนชั้นหญิงชายยังมีอยู่อย่างเข้มข้น แต่เหตุที่ตัวเอกสตรีในเรื่องใช้ความสามารถ ผนวกกับความอุตสาหะพยายามที่มีอยู่ ทำให้สตรีผู้นี้ได้รับพระราชทานตำแหน่งนางข้าหลวงใหญ่"จังกึม"ในที่สุด สำหรับความความโดดเด่นของละครย้อนยุคเรื่องนี้ ได้เสนอนัยยะที่มีเนื้อหาการต่อสู้ของผู้หญิง จนกระทั่งแดจังกึมตัวเอกของเรื่องได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นแพทย์หลวงสตรีคนแรกในราชสำนักของเกาหลี ท่ามกลางโครงสร้างสังคมที่ถูกครอบงำโดยชายเป็นใหญ่ และเป็นยุคที่มีการกดขี่สตรีเพศอย่างรุนแรง

แดจังกึม : บทละครย้อนอดีตความเป็นอยู่ในราชสำนัก
ไพบูลย์ ปีตะเสน อดีตนักเรียนทุนเกาหลี ที่คลุกคลีกับภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีมานาน ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญเกาหลีคดีชื่อดังของเมืองไทย นอกจากเป็นอาจารย์สอนภาษาเกาหลีแล้ว ยังเป็นผู้แปลนวนิยายเกาหลีหลายเล่มในของเมืองไทย รวมถึงแดจังกึมทั้งสี่เล่ม ได้แสดงทัศนะต่อละครโทรทัศน์เรื่องนี้ว่า เสน่ห์ของเรื่อง "แดจังกึม" อยู่ที่เรื่องราวในประวัติศาสตร์เกาหลี(โดยเฉพาะเกี่ยวกับราชสำนัก) สตรีเป็นชนชั้นที่ยากจะได้รับการยอมรับทางสังคมให้เทียบเท่าผู้ชาย แต่ด้วยความเพียรพยายาม ความอุตสาหะ เริ่มจากสิ่งที่ตนมีและทำในสิ่งที่ตนรู้ให้ดีที่สุด ประกอบกับจิตใจที่มุ่งมั่น มิได้หวาดหวั่นต่ออำนาจหรืออิทธิพลใด จนทำให้เธอประสบความสำเร็จในที่สุด

ละครโทรทัศน์นี้ได้หยิบเอาสาระเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นไพร่หรือกษัตริย์ คือ เรื่องการกิน และความเจ็บป่วยมานำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าได้กับจิตใจของทุกคน นอกจากนั้นวัฒนธรรมอาหารของเกาหลีถือเป็นเอกลักษณ์ และเป็นวัฒนธรรมหลักของประเทศ ละครโทรทัศน์แดจังกึมได้ทำให้เห็นว่า ภูมิปัญญาที่ช่วยสร้างความเป็นเกาหลีเหล่านี้มาจากผู้หญิงเป็นผู้คิดค้น และเปี่ยมไปด้วยความรู้ลึกซึ้งอย่างที่สุด

นอกจากนี้ ละครโทรทัศน์เรื่องแดจังกึมเกือบทั้งเรื่อง ยังได้แฝงเอาแนวคิดการเรียกร้องความเท่าเทียมของสตรีในสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่และมีอำนาจครอบงำอยู่ตลอดเวลา แดจังกึมได้สร้างกำลังใจให้ผู้หญิงหลายคนที่อยากจะเรียนรู้ และเป็นผู้หญิงเก่งให้มีความมุมานะจนประสบความสำเร็จ ในบทบาทเดิมที่เคยเป็นของผู้ชายซึ่งคิดว่าผู้หญิงไม่อาจที่กระทำได้ เช่น บทบาทของผู้นำ, ข้าราชการระดับสูง, นักวิทยาศาสตร์, แพทย์, เป็นต้น โดยเริ่มจากความพยายามของตัวเอง และการวางตัวและปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม เหล่านี้สามารถสร้างความโดดเด่นและสร้างคุณค่าในสายตาสังคมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งละครเรื่องนี้มีส่วนในการปลุกพลังในการยกระดับสถานภาพของสตรี และระดับที่เป็นรองของสตรีให้เกิดความเท่าเทียมกับบุรุษในสังคมได้อย่างแยบยล และปราศจากความรุนแรง นอกจากนี้ยังคงคุณลักษณะของผู้หญิงในอุดมคติที่ดีได้อย่างสมบูรณ์งดงามเอาไว้ด้วย

บทสนทนาที่สะท้อนความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิง-ชาย
ละครโทรทัศน์เรื่องแดจังกึม เป็นเรื่องราวของตัวละครเอกที่เป็นสตรี "ซอจังกึม" ตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ จนกระทั้งตัวเอกกลายเป็นแม่เสียเอง ซึ่งได้ฟันฝ่าอุปสรรคในชีวิตมาโดยตลอด จนกระทั่ง สามารถเอาชนะกรอบทางสังคมที่ปิดกั้นโอกาสของผู้หญิงได้ ต่อการประสบความสำเร็จในบทบาทที่เป็นของผู้ชายมาแต่เดิมได้ นั้นคือ "แพทย์หญิงรักษาพระราชา" ทั้งนี้ความแตกต่างทางเพศ การขัดเกลาทางสังคม อำนาจหน้าที่ของผู้หญิงในละคร ได้ถูกกำหนดแบ่งแยกเอาไว้อย่างชัดเจน ดังบทสนทนาของจังกึม กับพระมเหสี และมินจุงโฮ และในตอนท้ายที่มินจุงโฮ กล่าวถึงความสามารถของสตรี ดังต่อไปนี้…

"เสียดายที่เจ้าเกิดเป็นผู้หญิง"

"แต่ก่อนข้าเคยสงสัยว่าทำไมผู้ชายถึงเรียนหนังสือได้ จับกระต่ายได้ หมอชายเมื่อทำการตรวจรักษา เขาจะเป็นผู้มีพระคุณ, แต่หมอหญิงตรวจรักษา ให้ที่พักค้างแรมเพียงหนึ่งคืนก็ถือว่ามากพอแล้ว. การรับพระบัญชาทำให้รู้ว่าผู้หญิงก็มีความสามารถ คนเป็นหมอแค่มีเมตตาก็พอแล้ว แต่พอเป็นหมอหญิงคนหนึ่งทำไมทำให้คนอื่นวุ่นวายนัก หม่อมฉันอยากหนีไปจากที่นี่"

"ถ้าเจ้ารับพระบัญชา เจ้าจะเป็นแพทย์หญิงคนแรกที่ได้บันทึกในประวัติศาสตร์ที่ได้เป็นแพทย์หญิงส่วนพระองค์ ซึ่งมีคนเดียวที่ทำได้ ตำแหน่งนี้คู่ควรกับเจ้ามากที่สุด มากกว่าอำนาจ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่คู่ควรที่สุด"
........................................

หมอหญิงจังด๊อก สนทนากับจังกึม กล่าวว่า…
"เพราะเป็นหมอผู้หญิงทุกอย่าง จึงถูกดูถูกและไม่ยอมรับ ต่อให้รักษาดีแค่ไหน ค่ารักษาที่ให้แค่ที่พักก็มากพอแล้ว เป็นผู้หญิงถึงพยายามแค่ไหนก็เท่านั้น ก็แค่ผู้หญิงหนึ่งคน แม้ไม่ได้ต้องการเงินทอง แต่ก็ต้องการให้เหมือนผู้ชาย ที่ได้รับเกียรติ ศักดิ์ศรี และเป็นที่ยอมรับ"

จังกึม ช่วยแม่ที่ท้องแก่ที่อยู่ในถ้ำได้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก มินจุงโฮกล่าวว่า
"ความคิดของผู้หญิงคนนี้มักล้ำหน้ากว่ายุคสมัยเสมอ แต่นางมักมีคำถามในการช่วยคนว่า ทำไมผู้หญิงถึงไม่มีสิทธิ์"

คำประกาศถึงความเท่าเทียม และสิทธิสตรี
ในความยิ่งใหญ่ของละครโทรทัศน์เรื่อง"แดจังกึม" ไม่เพียงมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาวัฒนธรรมของเกาหลีใต้โดยการเป็นผู้นำกระแส K-pop หรือ K-wave แผ่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังได้สร้างรายได้และทัศนคติที่ดีให้กับประเทศเกาหลีอย่างมากด้วย นอกจากนี้ ละครเรื่องดังกล่าวยังช่วยชาติประกาศถึงความต้องการพัฒนาประชากร และให้มีการปฏิบัติต่อการเคารพในสิทธิทางเพศของกันและกัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียที่ถือเป็นหลักการของประชาชน ที่ประกาศขึ้น ณ เมืองกวางจู เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 1998 ความว่า…

"สังคมส่วนใหญ่ของชาวเอเชีย ผู้หญิงมักจะได้รับทุกข์จากการถูกกดขี่แบ่งแยก การกดขี่ข่มเหงเหล่านี้มีภูมิหลังอยู่ทั้งในประวัติศาสตร์ และในระบบสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่ รากเหง้าของทัศนะผู้ชายเป็นใหญ่ได้แผ่ซอกซอนครอบงำอยู่ในสถาบันทางสังคม ในทัศนคติ ในปทัสถานทางสังคม ในจารีตประเพณี ในศาสนาและในค่านิยมของสังคมเอาเชีย ข้ามผ่านพรมแดนทั้งมวลไม่ว่าจะเป็นชนชั้น วัฒนธรรม วรรณะ หรือเผ่าพันธุ์ การกดขี่เหล่านี้เกิดขึ้นหลายลักษณะ ทว่าเท่าที่ปรากฏคือการกดขี่ทางเพศ ลัทธิททหารซึ่งได้งอกงามขึ้นในหลายๆ สังคมของประเทศแถบเอเชีย ได้นำไปสู่ความรุนแรงอย่างใหญ่หลวงที่กระทำต่อสตรีเพศ...

เพื่อยุติการแบ่งแยกกีดกันสตรีเพศในสิทธิทางการงาน และสาขาวิชาชีพหนึ่งใด ผู้หญิงพึงมีสิทธิ์ที่จะได้รับโอกาสการจ้างงานอย่างทัดเทียม ทั้งที่มีสิทธิ์ที่จะเลือกการงานและวิชาชีพของตนเองอย่างเสรี จะต้องมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน จะต้องได้รับค่าจ้างแรงงานอย่างเท่าเทียม ผู้หญิงมีสิทธิ์ที่จะได้รับความเคารพและเห็นคุณค่า แม้ในงานบ้าน จะต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพและสิทธิทางเพศ และต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษมิให้ทำงานที่อาจจะเป็นอันตรายในขณะที่ตั้งครรภ์

ผู้หญิงจะต้องมีสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ในสิทธิทางร่างกายและทางเพศของตน โดยเป็นอิสระจากการแบ่งแยกหรือการบังคับขู่เข็ญใดๆ และต้องได้รับข้อมูลทางด้านเพศศึกษา รวมถึงการคุมกำเนิดอย่างปลอดภัยด้วย สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของผู้หญิงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งในการที่จะต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิ์อันชอบธรรมของตน"

ปัจจุบันรัฐบาลเกาหลีใต้มีความพยายามที่จะปรับปรุงสิทธิสตรีในแง่ต่างๆ มากขึ้น และให้ มีการตระหนักถึงความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ โดยรัฐบาลได้ตั้งหน่วยงานรับร้องทุกข์เกี่ยวกับการกีดกันในด้านการว่าจ้างแรงงาน อีกทั้งเพิ่มจำนวนสตรีเข้าศึกษาในโรงเรียนนายทหารบกและมหาวิทยาลัยการตำรวจแห่งชาติ จากการเปลี่ยนแปลงบทบาทสตรีเกาหลีใต้ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ดังกล่าวทาง"องค์การสหประชาชาติได้คัดเลือกให้เกาหลีใต้ เป็นชาติที่มีการปรับปรุงสถานภาพสตรีให้สูงขึ้นมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย" (ไทยโพสต์, 25 สิงหาคม 2544)

(หมายเหตุ: ท่ามกลางปัญหาที่รุมเร้าทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ จนในที่สุด เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 5 ของเอเชียในปี 2001 ทั้งนี้เนื่องจากการนำของประธานาธิบดี คิม แด จุง ตั้งแต่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจในครั้งนั้น เกาหลีใต้มุ่งพัฒนาประเทศชาติอย่างต่อเนื่องรวมถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมของคนในชาติ จะเห็นได้จากมีการเคลื่อนไหวการเรียกร้องสิทธิสตรีที่ก่อให้เกิดการเขียนกฎหมายใหม่ และแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ ผู้หญิงมีสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและกำหนดนโยบายเช่นเดียวกับผู้ชาย และสำคัญที่สุดคือมีการรณรงค์ให้มีการ "เปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน" เพื่อให้บทบาทสตรีมีความเสมอภาคเท่าเทียมกับผู้ชาย สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองมากยิ่งขึ้น)

เปรียบเทียบวรรณกรรมคำสอนสตรีในอดีตของไทยและเกาหลี
จากงานวิจัยของ คึน เฮ ซิน (2543) ที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมคำสอนสตรีในอดีตของไทยและเกาหลีในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน… พบว่า ภาพลักษณ์ของสตรีในอุดมคติทั้งสองประเทศมีส่วนคล้ายกัน คือ ต้องรู้จักประมาณตัวเอง เป็นผู้ที่งดงามทั้งกิริยา วาจา ใจ รู้จักการครองตน เป็นลูกที่ดีของบิดามารดา เป็นภรรยาที่ดีของสามี และเป็นแม่บ้านที่ดีของครอบครัว. ภาพลักษณ์ของสตรีในอุดมคติของเกาหลีในสมัยราชวงศ์โชซอน เน้นให้ต้องเป็นผู้ที่มีความสุภาพเรียบร้อยทั้งกาย และจิตใจ เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นลูกสะใภ้ที่ดีต่อบิดามารดาของสามี เป็นภรรยาที่ดี เชื่อฟังและเคารพสามี เป็นผู้ที่สร้างไมตรีกับญาติพี่น้องของฝ่ายสามี เป็นมารดาที่ดี และเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านการเรือน

จากการเปรียบเทียบคุณสมบัติและหน้าที่ของสตรีในอุดมคติของทั้งสองประเทศ พบว่า
ลักษณะร่วมของค่านิยมเกี่ยวกับสตรีในอุดมคติของไทย และเกาหลี 4 ประการ คือ

- ความเป็นช้างเท้าหลัง
- ความเป็นกุลสตรี
- ความรักเดียวใจเดียว และ
- ความเป็นแม่ศรีเรือน

แม้การเน้นบทบาทของสตรีแต่ละบทบาทจะต่างกันเล็กน้อย หรือมีการแสดงออกทางการกระทำที่ไม่เหมือนกันบ้าง เนื่องจากความแตกต่างด้านภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม แต่ความคาดหมายของทั้งสองสังคมที่มีต่อสตรีมีส่วนใกล้เคียงกัน กล่าวคือ สตรีต้องรักนวลสงวนตัว รักษาพรหมจรรย์จนถึงวันแต่งงาน หลังจากแต่งงานแล้วต้องจงรักภักดีต่อสามีผู้เดียว และปรนนิบัติสามี รับผิดชอบงานบ้าน เลี้ยงและอบรมสั่งสอนบุตร-ธิดา กตัญญูกตเวทีต่อบิดา มารดา และระมัดระวังกิริยามารยาท

ตอนที่ ๒
ลัทธิขงจื้อกับค่านิยมที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ลัทธิขงจื้อในเกาหลี (Korean confucianism) เป็นรูปแบบหนึ่งของลัทธิขงจื้อซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงในประวัติศาสตร์ปัญญาชนเกาหลี หลักการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการรับวัฒนธรรมมาจากจีน ทุกวันนี้มรดกตกทอดของลัทธิขงจื้อยังคงเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของสังคมชาวเกาหลี ซึ่งได้ช่วยก่อรูปทางศีลธรรม ขนบจารีต วิถีชีวิต ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก รวมไปถึงวัฒนธรรมชั้นสูง และเป็นพื้นฐานของระบบกฎหมาย. ลัทธิของจื้อในประเทศเกาหลีบางครั้งได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิถีปฏิบัติของการยึดโยงความเป็นชาติเข้าด้วยกันโดยไม่ต้องมีสงครามกลางเมืองหรือการทะเลาะเบาะแว้งกันภายใน ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ได้รับการสืบทอดมาจากราชวงศ์โครยอ(ราชวงศ์โครยอ สถาปนาขึ้นในช่วง ค.ศ.918)

มาถึงรัฐสมัยราชวงศ์โชซอน ลัทธิขงจื้อในราชวงศ์ดังกล่าวค่อนข้างเฟื้องฟูขึ้นอย่างน่าสังเกตในราวคริสตศตวรรษที่ 16 ภายใต้การน้อมนำของปัญญาชนที่โดดเด่น. ความก้าวหน้าของลัทธิขงจื้อเกาหลีในช่วง 500 ปีหลังของรัฐสมัยราชวงศ์โชซอน สามารถจำแนกอย่างหยาบๆ ได้ใน 5 ระยะด้วยกันดังนี้

ศตวรรษแรก - มีการบริหารงานราชการปกครอง ที่พยายามทำให้เป็นแบบขงจื้อ
ศตวรรษที่สอง - ถือเป็นยุคทองของปรัชญาขงจื้อในเกาหลี
ศตวรรษที่สาม - มีการพัฒนาระบบการสืบสายโลหิตของฝ่ายชาย โดยอิงอยู่กับบุตรชายคนโตเป็นผู้สืบสกุล
ศตวรรษที่สี่ - ก้าวไปสู่รหัสยลัทธิหรือสิ่งลี้ลับแบบขงจื้อ และมีการแสวงหาคุณสมบัติที่ปราดเปรื่องในหมู่ชนชั้นปกครอง
ศตวรรษที่ห้า - ระบบความเชื่อแบบขงจื้อประสบกับความล้มเหลวเมื่อเผชิญหน้าและปะทะกับโลกตะวันตก, การล่มสลายของราชวงศ์ชิง, และการรุกรานของญี่ปุ่น. ลัทธิของจื้อต้องหลบอยู่ใต้ดินเพื่อรอคอยการฟื้นฟูขึ้นในศตวรรษที่หกในยุคสาธารณรัฐ

ในราวช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 17 คนที่นับถือลัทธิขงจื้อเริ่มมีปฏิกริยาต่อหลักการเชิงอภิปรัชญาของลัทธิขงจื้อใหม่(neo-confucianism) บรรดาปัญญาชนเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุนการปฏิรูปสังคมอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในความเคลื่อนไหวที่เรียกกันว่า Silhak (คำนี้มีความหมายว่า acyual learning - practical studies)

ลัทธิขงจื้อมีเรื่องสั่งให้ทำ กับห้ามไม่ให้ทำอยู่มาก
ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า "ลัทธิขงจื้อ" เป็นอุดมการณ์ของเกาหลีมาเป็นเวลานาน และโดยเฉพาะในยุคสมัยของราชวงศ์โชซอน ซึ่งบรรดาข้าราชบัณฑิตต่างพยายามสร้างความชอบธรรมตามอย่างลัทธินี้ ข้าราชการฝ่ายทหารได้ทำการยึดอำนาจคล้ายกับการรัฐประหาร โดยนายพล ยี ซง เจ ได้ล้างราชบรรลังก์โครยอ อย่างไรก็ตาม ในด้านความเชื่อและขนบจารีตยังคงยึดถือและสืบทอดหลักการของขงจื้ออยู่

ลัทธิขงจื้อมีเรื่องสั่งให้ทำกับห้ามไม่ให้ทำอยู่มาก มีการสั่งให้ปฏิบัติในเรื่อง ภาระผูกพัน 3 ประการ และปฏิบัติในเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์ นั่นคือ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครอง, ระหว่างพ่อกับลูก, สามีกับภรรยา, พี่คนโตกับน้องคนเล็ก และเพื่อนกับเพื่อน. ที่สำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์สามอันดับแรก เป็นความสัมพันธ์ที่เข้มงวดเรื่องในเรื่องความจงรักภักดี เป็นหน้าที่แห่งความกตัญญู ถือเป็นความสัมพันธ์ที่ต้องยอมศิโรราบให้กัน

ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเท่านั้น ที่มีสถานะที่เท่ากัน เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันของคนเกาหลี ไม่ว่าจะอยู่ในปราสาทราชวังของกษัตริย์ หรือในบ้านของสามัญชนทั่วไป "ความกตัญญูกตเวที" และ "ความซื่อสัตย์" จึงถือเป็นคุณธรรมเบื้องต้น เป็นกุญแจแห่งความกลมเกลียวสมานฉันท์ของครอบครัว ซึ่งในนัยยะของสิ่งเหล่านี้ก็คือ ครอบครัวเป็นหน่วยพื้นฐานในเบื้องต้นของสังคมอันสงบสุข สังคมอันสงบสุขนี้เอง ที่เป็นสิ่งซึ่งประเทศชาติจะมีได้ก็แต่การรู้จักควบคุมตัวเอง และความขยันขันแข็ง และแสดงบทบาทอันเหมาะสมของแต่ละคน

การปกครองรัฐที่ดี เริ่มจากฐานระเบียบครอบครัว
เพื่อที่จะปกครองรัฐเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างดี จึงมีความจำเป็นในประการแรกคือ การจัดการให้เกิดความมีระเบียบของครอบครัว ที่เป็นอย่างนี้เพราะ มันเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะสอนใครได้ หากไม่สามารถอบรมกันเองในครอบครัวก่อน เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ปกครองแล้ว หากไม่คำนึงถึงครอบครัว ไม่สามารถจัดการให้เกิดความสงบของครอบครัวขึ้นได้ ก็ยังไม่ชื่อว่าเจนจบในบทเรียนเรื่องการปกครองรัฐ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญซึ่งยังคงหลงเหลือมาจากลัทธิขงจื้อในประวัติศาสตร์เกาหลี จึงเป็นเรื่องของอำนาจ เน้นหลักในการดูแลเอาใจใส่ของพ่อแม่ เน้นหลักในเรื่องของครอบครัว เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งตกค้างทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงเห็นได้ชัดในสังคมเกาหลีทุกวันนี้

คนเกาหลีส่วนใหญ่ก็ยังคงรอคอยการตัดสินใจสำคัญจากผู้นำของตน จากประธานาธิบดี และจากผู้บริหารระดับหัวหน้า ชาวเกาหลีซึ่งแสดงบทบาทในการกำหนดนิยามการเมือง และการปกครองของเกาหลี สายใยทางครอบครัวในเกาหลียังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในชีวิตของผู้คน และในองค์กรของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเศรษฐกิจของเกาหลีเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่า บริษัทขนาดใหญ่ ต่างถูกครอบงำ เป็นเจ้าของ และดำเนินการในลักษณะของครอบครัวทั้งสิ้น สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะต้องขยันขันแข็งในบทบาทของตัวเอง

ตอนที่ ๓
สถานภาพของผู้หญิงเกาหลี ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ดำรงค์ ฐานดี (2002) ได้ยกประเด็นจากข้อเขียนของนักต่อสู้สิทธิสตรีเกาหลี โดยเฉพาะจากบทความของของศาสตราจารย์ ชิม ยัง ฮี ภาควิชาสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮานยาง ซึ่งตีพิมพ์เมื่อต้นปี ค.ศ. 2000 อาจารย์ชิมเป็นหนึ่งของนักวิชาการที่ศึกษาค้นคว้าเรื่องผู้หญิงเกาหลีมาเป็นเวลานาน และมีผลงานมากมาย ท่านกล่าวว่า, แม้ว่าปรากฏการณ์ใหม่ๆ จะเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญก็ตาม เช่น มาตรการทางกฎหมาย(1) การเปิดโอกาสในทางการศึกษาและอาชีพการงาน(2) แต่ผู้หญิงเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ยังคิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน(แม้จะมีการพัฒนาก้าวหน้าเกี่ยวกับสตรีขึ้นบ้างแล้ว) แต่ก็ยังไม่แตกต่างจากอดีตมากนัก ทั้งนี้เพราะอุดมการณ์ของ "ลัทธิขงจื้อ" ที่สังคมยึดถือมานานนับพันปียังคงมีอยู่อย่างมากมายและเหนียวแน่น ทำให้ยังมีการยกย่องผู้ชายเป็นใหญ่ เน้นการแบ่งงานกันทำระหว่างหญิงชาย ด้วยเหตุนี้ความไม่เท่าเทียมกันภายในครอบครัวและสังคมจึงคงมีอยู่ต่อไป

++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ
(1) การแก้ไขกฎหมายในการปรับปรุงสถานภาพสตรี
รัฐบาลเกาหลีใต้ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลายฉบับเพื่อปรับปรุงสถานภาพสตรี เช่น กฎหมายห้ามการกีดกันทางเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มจำนวนการแต่งตั้งสตรีให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับสูง อาทิ การแต่งตั้งสตรีในคณะรัฐมนตรี การแต่งตั้งสตรีเป็นเลขาธิการประจำทำเนียบประธานาธิบดี การแต่งตั้งสตรีเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจ เป็นต้น. ในขณะเดียวกันรัฐสภาได้ผ่านกฎหมายกำหนดให้สัดส่วนจำนวน ส.ส. ที่เป็นผู้หญิงร้อยละ 30 และให้มีสัดส่วนของสตรีในคณะกรรมการของรัฐบาลร้อยละ 30 อีกทั้งยังมีโครงการที่จะยกระดับคณะกรรมาธิการประธานาธิบดีเกี่ยวกับสตรี ที่เป็นกระทรวงกิจการสตรีอีกด้วย (ไทยโพสต์, 25 สิงหาคม 2544)

เกาหลีใต้มีองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสตรีให้ดีขึ้นมากมาย และเมื่อพิจารณาจากเป้าหมายองค์การเหล่านั้นโดยรวม สรุปได้ว่า กาหลีใต้เน้นการวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิสตรีและประชาธิปไตย ส่งเสริมการทำงานนอกบ้าน และแก้ปัญหาการถูกกดขี่ทางเพศ คุ้มครองสิทธิแรงงาน เพื่อรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากรากเหง้าตั้งแต่แม่บ้านและแรงงานสตรี จุดมุ่งหมายสำคัญก็คือ ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสถานการศึกษาและบทบาทของผู้หญิงให้เป็นไปในทางที่ดี โดยสรุปแล้วก็คือ สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และให้ผู้หญิงรวมตัวกันเพื่อมีบทบาทต่อการสร้างชาติร่วมกับชายอย่างเท่าเทียมกันนั่นเอง

(2) สตรีกับโอกาสทางการศึกษาและการทำงาน
สิ่งที่เกิดขึ้นในหลายสถาบันการศึกษา ในปี ค.ศ. 2000 มีดังนี้ ใน "คณะแพทยศาสตร์" มหาวิทยาลัยโซลแห่งชาติ รับนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งที่เป็นหญิงร้อยละ 49.7 หรือ 86 คน จากจำนวนที่รับทั้งสิ้น 173 คน หากจะเทียบกับจำนวนนักศึกษาหญิงที่รับเพียงร้อยละ 28.6 ในปี 1999 ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของคณะนี้ ที่เคยรับนักศึกษาส่วนใหญ่ที่เป็นชายนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งคณะขึ้นมา นอกจากนี้ กรณีการเพิ่มจำนวนนักศึกษาหญิงเข้าคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็เป็นเช่นเดียวกัน ที่เปิดรับนักศึกษาหญิงมากกว่าร้อยละ 40 ของนักศึกษาทั้งหมด ที่รับเข้าในปีการศึกษา 2000

โรงเรียนนายทหารบก (Korea Military Academy) และโรงเรียนนายเรือ (Korea Naval Academy) ซึ่งเคยรับแต่นักเรียนชายเข้าเรียน ได้เปิดรับนักเรียนหญิงครั้งแรกในปี 1998 และ 1999 โดยในปี 2000 มียอดนักเรียนหญิงสมัครเข้าโรงเรียนทั้งสองแห่งนี้เป็นจำนวนมากกว่าผู้สมัครที่เป็นชาย นอกจากนั้น อัตราส่วนของผู้หญิงในสถาบันฝึกอาชีพทางด้านกฎหมาย ก็มีสถิติน่าสนใจดังนี้ คือ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่เป็นบัณฑิตสตรีทางกฎหมาย มีร้อยละ 8.3 ในปี 1998 ซึ่งได้เพิ่มจำนวนเป็นร้อยละ 13.3 ในปี 1999 และเป็น 16.6 ในปี 2000 อีกทั้งผู้ที่สอบเนติบัณฑิตได้คะแนนสูงที่สุดในปี ค.ศ. 2000 ได้แก่ผู้หญิงชื่อ นางสาว ยูน แจ นัม ทำให้เป็นการเพิ่มความกระตือรือร้นของผู้หญิงคนอื่นๆ ที่ต้องการจะเพิ่มพูนสถานภาพของตนเองมากขึ้น

ผู้หญิงเกาหลีได้เพิ่มจำนวนในที่ทำงานในแต่ละแห่งมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น งานในศูนย์ควบคุมทางอากาศ งานในศูนย์เทคโนโลยีเกาหลี หรือที่เรียกว่า Teharan Valley และมีนักธุรกิจสตรีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการคุ้มภัย (bodyguards) และเป็นคนขับรถแท็กซี่อีกด้วย

(Teheranno (alternatively Teheranro, translation "Tehran Street") is a street in the Gangnam district of Seoul, South Korea. It is colloquially known as "Teheran Valley" (after Silicon Valley) due the number of internet-related companies operating there, including Yahoo!, and Korean rivals Daum and Naver. Various Korean and international financial and business institutions including POSCO, Standard Chartered and Citibank also maintain offices here. Some of Korea's tallest skyscrapers and most expensive real estate are on Teheranno, while Seoul Metropolitan Government estimates that more than half of Korea's venture capital, some 200,000,000,000 won (approximately $200,000,000), is invested in Teheran Valley.) [http://en.wikipedia.org/wiki/Teheranno]

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ปกิณกะ ๓ เรื่อง : เกาหลีใติในคริสตศตวรรษที่ ๒๑

เรื่องที่ ๑ : วัฒนธรรมในฐานะสินค้าพัฒนาเศรษฐกิจ
ประเทศเกาหลีใต้ใช้กลยุทธ์ละครโทรทัศน์เป็นสินค้าพัฒนาเศรษฐกิจ อยู่ภายใต้การควบคุมโดยกระทรวงวัฒนธรรม. เทป สุ่นสวัสดิ์ คนไทยที่ถือเป็นชาวต่างชาติที่ได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในเกาหลี ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยของไทย …กล่าวถึงอุตสาหกรรมหนังและละครเกาหลีใต้ว่า หนังโรงส่วนใหญ่และละครนั้น คนเกาหลีจะเป็นผู้สร้างเองทั้งหมด มีหนังจาก Hollywood บ้างแต่ไม่มากเหมือนในประเทศไทย ซึ่งเป็นนโยบายของประเทศเขาเอง ขณะเดียวกันรัฐก็ได้สนับสนุนเอกชนในการส่งหนังออกไปต่างประเทศอย่างมาก

เกาหลีใต้เร่งสร้างภาพลักษณ์ของประเทศให้น่าสนใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนของชาวต่างชาติ คือหนึ่งกลวิธีการผันเปลี่ยน "กระแส" ให้เป็น "พัฒนาการทางเศรษฐกิจ" อันเป็นวิสัยทัศน์ใหม่สู่เป้าหมายเดิมของรัฐบาลเกาหลี ดั้งนั้นจึงกล่าวได้ว่า ละครโทรทัศน์เรื่องแดจังกึมจึงเป็น "สินค้าทางวัฒนธรรมของเกาหลีใต้" ที่สร้างกระแสความมั่งคั่งของเกาหลี หรือที่เรียกว่า Korean Wave ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในปลายยุค 90 โดยจีนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "Hallyu" หมายถึง ปรากฏการณ์ความนิยมวัฒนธรรมเกาหลีที่มาจากอิทธิพลของสินค้าวัฒนธรรม

(Hallyu-The Korean Wave : Hallyu is a new term which some Korean marketing genius probably came up with in a boardroom somewhere. Hallyu was invented to increase tourism and raise the profile of Korea in the world.The term 'Hallyu' means the love for Korean pop culture, or the appreciation of all things Korean. Hallyu began roughly 5 years ago when the rest of Asia discovered Korean soap operas. One of the breakthrough dramas was a series called Winter Sonata starring Choi Ji Woo and Bae Young-Joon. After that, more Korean dramas saw their way to foreign shores and Korean films and music started to follow suit. Korean marketing people started to see a Korea-centric trend flowing throughout Asia Hawaii and even in parts of Russia. They dubbed this flow "The Korean Wave" or Hallyu.)

ดังจะเห็นได้ว่า นอกจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เครื่องสำอาง ธุรกิจศัลยกรรม ที่สืบเนื่องจากละครเกาหลีแล้ว หลังจากการออกอากาศของแดจังกึมในจีน ฮ่องกง ไต้หวัน อาหารเกาหลีรวมไปถึงยาและสมุนไพรจากแดนโสมก็มียอดจำหน่ายดีขึ้นราว ร้อยละ 10-20 ส่วนชาวจีนที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังเกาหลีต่างก็ถามหาโสมเกาหลีกันอย่างไม่ขาดสาย เป็นต้น

เรื่องที่ ๒ : นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้
จนปัจจุบัน เกาหลีใต้ซึ่งเคยยึดถือในลัทธิขงจื้ออย่างเคร่งครัด โดยผู้หญิงได้ถูกแบ่งแยกหน้าที่การงานอย่างเข้มงวดจากผู้ชาย และเคยอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์มากมายจากสังคม บัดนี้เกาหลีใต้ได้มีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในปี พ.ศ. 2545 คือ นางจาง ซาง วัย 62 ปี ซึ่งเคยเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยสตรีเอห์วา สถาบันการศึกษาหญิงล้วนที่ใหญ่ที่สุดของโลก ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ แทนนายลี ฮัน ดง ที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งไป หลังเกิดกรณีพิพาทรุนแรงระหว่างเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือในทะเลเหลือง ทำให้นางจาง ซาง ได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองเกาหลีใต้ เป็นการเปิดทางให้แม่พิมพ์ของชาติขึ้นมานั่งเก้าอี้หัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศที่มีอำนาจสูงสุดรองจากประธานาธิบดี คิม แด จุง. อันนี้ถือว่าเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางธรรมเนียมปฏิบัติทางการเมือง ที่บุรุษเพศเคยมีบทบาทอำนาจมากกว่าสตรีเพศ และเสมือนเป็นสัญลักษณ์แห่งการยอมรับบทบาทของสตรีในสังคมเกาหลีมากขึ้น

นางจาง ซาง ยังเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหลายแห่ง อีกทั้งยังมีผลงานเขียนอีกหลายเล่ม ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งเน้นกรณีศึกษาด้านศาสนา และบทบาทสตรีเกาหลี นายกรัฐมนตรีหญิงคนนี้จะต้องนำพาคณะรัฐมนตรีบริหารประเทศ ที่นอกจากจะมีความรู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการระบบการศึกษาแล้ว ยังต้องมีความสามารถทางการเมืองที่แฝงในทุกรูปแบบของระบอบการปกครอง เพื่อเอาชนะกลุ่มการเมืองในประเทศซึ่งมีผลประโยชน์ส่วนตนแอบแฝงอยู่ทุกระบอบการปกครอง. นางซาง จาง เป็นสตรีเกาหลีใต้ที่ทำให้ฝันของสตรีเกาหลีใต้เป็นจริง มีนายกรัฐมนตรีหญิงที่เป็นผู้นำการบริหารงานประเทศ และเป็นภาพสะท้อน "การล้มล้างบทบาททางเพศ" ลงได้ (มติชน, 15 มกราคม 2545)

สรุปได้ว่า แม้ผู้หญิงเกาหลีใต้ยุคใหม่จะยังได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื้ออยู่ในด้านความสัมพันธ์ชายหญิง ที่ทำให้ผู้หญิงเกาหลีมีฐานะที่ด้อยกว่าชาย แต่ในส่วนลึกนั้น ผู้หญิงเกาหลีมีการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของสตรีมานานมากกว่า 20 ปีอย่างเงียบๆ จนปัจจุบันผู้หญิงได้ประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด ดังจะเห็นได้จากสถิติการเปิดรับนักศึกษาหญิงในคณะแพทย์ศาสตร์ถึง 49.7 หรือ 86 คนจากจำนวนที่รับทั้งสิ้น 173 คน และมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนในเกาหลีใต้ กล่าวได้ว่า สตรีเกาหลีต้องการพัฒนาตัวเองเรื่องการศึกษา และการมีบทบาทที่ยืดหยุ่นระหว่างชายหญิงมากขึ้นกว่าก่อนมาก และการเรียกร้องดังกล่าว ทำให้เกาหลีใต้เกิดความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงกฎหมายคุ้มครองสตรี และเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาดำรงตำแหน่งและบทบาทเดิมที่เป็นของผู้ชายอีกด้วย

ประธานาธิบดี คิม ยัง แซม มีความพยายามที่จะปฏิรูปเกาหลีใหม่ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ เขาพยายามที่จะปฏิรูปภาพลักษณ์ประเทศใหม่ทั้งหมด ได้แก่ การให้ความสำคัญกับชาติ และการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประเทศ สร้างสำนึกแก่ประชาชนให้นึกถึงเป้าหมายของชาติในท้ายที่สุด และทำให้ประเทศก้าวหน้าอยู่ในระดับเดียวกับประชาชาติอื่นๆ ที่ก้าวล้ำนำสมัย โดยได้กล่าวไว้ในสุนทรพจน์เมื่อเข้ารับตำแหน่งใหม่ว่าเกาหลียุคใหม่ว่า …

(เกาหลี)จะต้องเป็นสังคมประชาธิปไตยที่เติบโตเต็มที่อย่างมีเสรีภาพกว่าเดิม เป็นประชาคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงาน และอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างสอดคล้อง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้รับการเชิดชู เป็นรัฐที่มีความยุติธรรมทั่วถึงเสมือนแม่น้ำไหลไปทั่วแผ่นดิน เป็นสังคมที่ยุติธรรม เป็นคนที่ซื่อสัตย์และขยันขันแข็งสามารถมีชีวิตที่ดีได้ เป็นประเทศใหม่ที่ยอมรับนับถือศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และเทิดทูนวัฒนธรรม เป็นดินแดนที่มีเอกภาพที่ประชาชนซึ่งถูกแบ่งแยกจะอยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวอย่างสันติ และจะต้องเป็นศูนย์กลางอันโดดเด่นและน่าภาคภูมิใจของโลกที่เจริญก้าวหน้า มีส่วนร่วมอย่างมหาศาลต่อสันติภาพและความก้าวหน้าของโลก

ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายคือ ต้องการรัฐที่มือสะอาด เศรษฐกิจดี สังคมดี และการรวมชาติอย่างสันติ เป็นการสร้างเกาหลีใหม่ที่เป็นการสร้างประเทศประชาธิปไตยให้เติบโตเต็มที่และเป็นเอกภาพ หน้าที่นี้ต้องอาศัยกระบวนการปฏิรูประดับชาติ เพื่อสร้างสังคมใหม่โดยการรักษาโรคที่ระบาดทั่วสังคม สิ่งจำเป็นเร่งด่วนต่อการสร้างเกาหลีใหม่คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และการปฏิรูปเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทุกคน ที่ได้เสียสละในการต่อสู้เรียกร้อง

เรื่องที่ ๓ : เกาหลีใต้ในคริสตศตวรรษที่ ๒๑
แนวโน้มสังคมเกาหลีใต้ในอนาคต จะต้องโลดแล่นต่อไปท่ามกลางกระแสคลื่นทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงในหมู่ประชาคมโลก ในคริสตศตวรรษที่ 21. ชนชาตินี้จะต้องฟันฝ่ามรสุมที่มีกระแสลมแรงและแรงกดดันจากรอบข้าง เพื่อยึดความเป็นหนึ่งบนพื้นพิภพตามเป้าหมายหลักที่ประธานาธิบดี คิม ยัง แซม ได้คาดไว้ สถานการณ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่น่าจับตามองอย่างใกล้ชิด ซึ่งกรณีตัวอย่างของเกาหลีใต้อาจเป็นบทเรียนที่ดีแก่นักวิชาการและคนไทยได้จำนวนมาก

ประเด็นที่เด่นชัดในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว ที่น่าจะเป็นประโยชน์คือ เจตนารมณ์ทางการเมืองที่สร้างเป้าหมายการพัฒนาให้สูงเด่น เช่น การทำให้ประเทศชาติเป็นสังคมอุตสาหกรรมในยุคประธานาธิบดี ปัก จุง ฮี และเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าของโลกในยุคประธานาธิบดี คิม ยัง แซม นั้นน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่สังคมที่ควรสร้าง "ฝัน" ให้สูงเด่น ก้าวไกลและเป็นขั้นตอน ส่วนระดับปัจเจกบุคคล ทุกคนควรสร้างฝันและสานฝันให้เป็นจริงเพื่อประโยชน์ของตนเองและของประเทศชาติด้วยการทำงานหนัก ทุ่มเท และมองโลกให้กว้างไกลพร้อมทั้งวิเคราะห์ วิจัย นำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้เกิดผลผลิตได้มากทั้งปริมาณและคุณภาพ

เกาหลีนั้นสร้างและสนับสนุนระบบเสริม(reinforcement system) ในด้านความขยันหมั่นเพียร การเอาจริงเอาจัง ความรวดเร็วในการตัดสินใจและการทำงาน และความใฝ่รู้ การศึกษา โดยกระทำกันผ่านสถานบันการศึกษา สื่อมวลชน ครอบครัว และสถาบันทางสังคมทุกประเภท ทั้งนี้เพราะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาอย่างแท้จริง

มาถึงวันนี้ประเทศเกาหลีใต้เป็นแบบอย่างของประเทศเอเชียอีกหลายประเทศ ที่ต้องการเอาอย่างการพัฒนาประเทศให้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะเคยถูกกล่าว่าเป็นประเทศที่ยากจนมากที่สุดประเทศหนึ่ง แต่ปัจจุบัน เกาหลีเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของโลก ประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นแบบฉบับของการก้าวไปสู่ความสำเร็จแก่ประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย และประเทศที่ได้รับการขนานนามว่ามีประชากรที่มีคุณภาพทางจิตวิญญาน"เราทำได้" (Can-do Spirit). หรือดังที่กล่าวขวัญกันว่า ไม่ว่ากิจการใดที่คนเกาหลีทำ ต้องทำได้ และได้รับผลดีเลิศ แม้ว่างานนั้นจะยากยิ่งปานใดก็ตาม จนได้รับการขนานนามว่า "มหัศจรรย์บนฝั่งแม่น้ำฮั่นที่สร้างขึ้นโดยฝืมือมนุษย์" (Man-made miracle on the Han-River) อันเป็นการยกย่องเกียรติคุณของความสำเร็จในการพัฒนา (ดำรงค์, 2542: 2)

 


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73