โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 12 September 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๕๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ (September, 12, 09,.2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

พระพุทธศาสนาเพื่อสังคมปัจจุบันเป็นขบวนการสากลที่อยู่เหนือการสังกัดนิกาย โดยมุ่งตอบสนองปัญหาของโลกทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เป็นรูปแบบของขบวนการปลดปล่อยทางสังคมและการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโลกแวดล้อมและการปลดเปลื้องทุกข์ของมนุษย์ โดยประยุกต์ใช้หลักคำสอนเรื่องความเมตตากรุณา ปัญญา ปฏิจจสมุปบาท และศูนยตา เพื่อแก้ปัญหาสังคม รวมทั้งการใช้วิธีการปฏิบัติกรรมฐาน ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา เมตตากรุณาเชิงสังคม และการสร้างเครือข่ายระดับรากหญ้า เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมกับสังคม…
12-09-2550

Neo-Buddhism
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

แนวคิดและขบวนการพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม
การปฎิวัติพุทธศาสนามาแก้ปัญหาสังคมหลังสมัยใหม่ (ตอนที่ ๔)
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร : เขียน
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทความวิชาการพุทธศาสนาเพื่อสังคมชิ้นนี้ กองบรรณาธิการได้รับมาจากผู้เขียน
เดิมชื่อ: แนวคิดและขบวนการพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม
ซึ่งมีความยาวกว่า ๗๐ หน้ากระดาษ A4 ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการนำเสนอเป็นตอนๆ
เพื่อเหมาะสมกับรูปแบบการนำเสนอบนเว็บเพจแห่งนี้
สำหรับสาระสำคัญของบทความขนาดยาวนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสำรวจถึงความเป็นมา
ในเชิงพัฒนาการของพระพุทธศาสนาในแนวรับใช้สังคมในสถานการณ์ปัจจุบัน
โดยพยายามที่จะตอบคำถามที่ว่า (๑) กลุ่มนักคิดและนักวิชาการได้ถกเถียงประเด็น
ปัญหาเกี่ยวกับแนวคิดเชิงสังคมในพระพุทธศาสนาอย่างไร และ (๒) การอธิบายศีล ๕
ตามแนวจารีตประเพณีแบบเดิมมีปัญหาในการตอบปัญหาสังคมยุคใหม่อย่างไร
และเครือข่ายนี้ได้เสนอทางออกด้วยการตีความศีล ๕ แบบใหม่อย่างไร?
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๕๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แนวคิดและขบวนการพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม
การปฎิวัติพระพุทธศาสนามาแก้ปัญหาสังคมหลังสมัยใหม่ (ตอนที่ ๔)
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร : เขียน
อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


๔. วิเคราะห์การตีความศีล ๕ ของเครือข่ายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมนานาชาติ
ศีล ๕ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสมัยพุทธกาล เป็นการแสดงขึ้นมาท่ามกลางสภาพปัญหาสังคมแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างจากปัญหาสังคมสมัยปัจจุบันมาก ดังนั้น ศีล ๕ ที่พระองค์แสดงจึงมีลักษณะกว้างๆ โดยเน้นไปที่การมีจิตสำนึกแบบเอาใจเขามาใส่ใจเราว่า คนอื่นเขารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด เราก็รักสุขเกลียดทุกข์ฉันนั้น คนอื่นย่อมไม่ชอบใจเมื่อของของเขาถูกขโมย ภรรยาสามีถูกล่วงละเมิด และถูกหลอกลวงด้วยวาจา ฉันใด เราก็ไม่ชอบใจเมื่อของถูกขโมย ภรรยาสามีถูกละเมิด และถูกหลอกลวง ฉันนั้น จิตสำนึกนี้เองเป็นรากฐานสำคัญในการรักษาศีล ๕ ดังพุทธพจน์ที่ว่า

อริยสาวก พิจารณาเห็นดังนี้ 'เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ ข้อที่บุคคลพึงปลงชีวิตเราผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา อนึ่ง ข้อที่เราพึงปลงชีวิตผู้อื่น ผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์นั้น ก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของเรา สิ่งนั้นก็ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแม้ของผู้อื่น สิ่งใดไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของเรา เราจะนำสิ่งนั้นไปผูกมัดกับผู้อื่นได้อย่างไร' อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย (1)

ในยุคต่อมาเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาการถกเถียงกันเกี่ยวกับว่าพฤติกรรมอย่างไรผิดหรือไม่ผิดศีล ๕ หรือถ้าบอกว่าผิดหรือไม่ผิด มีหลักอะไรเป็นเกณฑ์ตัดสิน ปัญหาในลักษณะนี้คงจะหาเหตุผลมาอธิบายให้เป็นที่ยุติได้ยากพอสมควร พระอรรถกถาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์อธิบายข้อความในพระไตรปิฎก คงจะมองเห็นว่าปัญหายุ่งยากนี้ จึงได้แสดงองค์หรือเกณฑ์ตัดสินศีล ๕ แต่ละข้อไว้ดังนี้ (2)

๑) ปาณาติบาต มีองค์ ๕ คือ (ก) สัตว์มีชีวิต (ข) รู้อยู่สัตว์มีชีวิต (ค) มีจิตคิดจะฆ่า (ง) มีความพยายามในการฆ่า (จ) สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

๒) อทินนาทาน มีองค์ ๕ คือ (ก) ของผู้อื่นหวงแหน (ข) รู้อยู่ว่าเขาหวงแหน (ค) มีจิตคิดจะลัก (ง) มีความพยายามลัก (จ) ลักของได้ด้วยความพยายามนั้น

๓) กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ ๔ คือ (ก) สตรีหรือบุรุษที่ไม่ควรละเมิด (ข) จิตคิดจะเสพ (ค) มีความพยายามในการเสพ (ง) ยังมรรค คือ อวัยวะสืบพันธุ์ให้ถึงกัน

๔) มุสาวาท มีองค์ ๔ คือ (ก) เรื่องไม่จริง (ข) จิตคิดจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน
(ค) มีความพยายามที่จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน (ง) ผู้อื่นเข้าใจความที่พูดนั้น

๕) สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีองค์ ๕ คือ (ก) สิ่งนั้นเป็นของเมา (ข) จิตใคร่จะดื่ม (ค) มีความพยายามในการดื่ม (ง) กลืนให้ล่วงลำคอลงไป

นอกจากแสดงเกณฑ์สำหรับตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิดศีลแล้ว พระอรรถกถาจารย์ยังได้แสดงเกณฑ์ตัดสินในแง่ของการผิดศีลที่มีโทษมากและโทษน้อยด้วย โดยวางเกณฑ์การตัดสินไว้ดังนี้

(๑) คุณ : ฆ่าสัตว์มีคุณมาก ก็มีโทษมาก ฆ่าสัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ ก็มีโทษน้อย เช่น ฆ่าพระอรหันต์มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย

(๒) ขนาดกาย : สำหรับสัตว์จำพวกดิรัจฉานทั่วไปที่ไม่มีคุณเหมือนกัน ฆ่าสัตว์ใหญ่ก็มีโทษมาก ฆ่าสัตว์เล็กมีโทษน้อย

(๓) ความพยายาม : ถ้ามีความพยายามในการฆ่ามากก็มีโทษมาก ถ้ามีความพยายามในการฆ่าน้อยก็มีโทษน้อย

(๔) กิเลสหรือเจตนา : ถ้ากิเลสหรือเจตนาแรงก็มีโทษมาก ถ้ากิเลสหรือเจตนาอ่อนก็มีโทษน้อย เช่น ฆ่าสัตว์ด้วยโทสะ มีโทษมากกว่าฆ่าด้วยป้องกันตัว (3)

แม้ในศีลข้ออื่นๆ พระอรรถกถาจารย์ก็กล่าวถึงการละเมิดที่มีโทษมากหรือโทษน้อยไว้แนวเดียวกัน เช่น อทินนาทานมีโทษมากหรือน้อยตามคุณค่าของสิ่งของ คุณความดีของเจ้าของ และความพยายามในการลัก. กาเมสุมิจฉาจาร มีโทษมากหรือน้อยตามคุณความดีของคนที่ถูกละเมิด ความแรงของกิเลสและความเพียรพยายาม. มุสาวาทมีโทษมากหรือน้อย แล้วแต่ประโยชน์ที่จะถูกตัดรอนเป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็กน้อย และแล้วแต่ผู้พูด เช่น คฤหัสถ์จะไม่ให้ของของตน พูดไปว่าไม่มี ก็ยังมีโทษน้อย ถ้าเป็นพยานเท็จมีโทษมาก สำหรับบรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย จงใจบอกของที่ไม่เคยเห็นว่าเห็น มีโทษมาก. สำหรับการดื่มของเมา มีโทษมากน้อยตามอกุศลจิตหรือกิเลสในการที่จะดื่ม ตามปริมาณที่ดื่ม และตามผลที่จะก่อให้เกิดการกระทำผิดพลาดชั่วร้าย (4)

ผู้เขียนมองว่าหลักศีล ๕ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ค่อนข้างจะมีความยืนหยุ่นและมีความหมายกว้างกว่าการตีความของพระอรรถกถาจารย์ โดยเฉพาะถ้ามองในแง่ของการสร้างจิตสำนึกหรือความรู้แบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา ถือว่าเป็นจิตสำนึกที่ตระหนักรู้และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ดังข้อความตอนท้ายของพุทธพจน์ที่ยกมาข้างต้นว่า "อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย กล่าวสรรเสริญการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วย" (ในศีลข้ออื่นๆ ก็มีข้อความอย่างเดียวกันนี้) ผู้เขียนมองว่า พุทธพจน์นี้ค่อนข้างจะสอดคล้องกับการตีความศีล ๕ แนวใหม่ของพระติช นัท ฮันห์ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบสากล (universal responsibility) และจิตสำนึกที่หวังประโยชน์เพื่อผู้อื่น (altruistic mind) ขององค์ทะไล ลามะ ด้วย

อย่างไรก็ตาม การตีความของพระอรรถกถาจารย์ในยุคหลังพุทธกาลที่เน้นการสร้าง กฎเกณฑ์ที่รอบคอบรัดกุม แม้จะมีประโยชน์ในแง่ที่ให้ความสะดวกในการวินิจฉัยหรือชี้ชัดลงไปว่าพฤติกรรมนั้นๆ เข้าข่ายผิดศีลหรือไม่ผิด แต่ในขณะเดียวกันกฎเกณฑ์เหล่านี้ก็มีส่วนทำให้ศีลแต่ละข้อมีลักษณะหยุดนิ่งตายตัว และมีขอบเขตคับแคบลงจนกลายเป็นเรื่องของพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคล และเกณฑ์สำหรับวินิจฉัยการละเมิดศีลแต่ละข้อก็มุ่งการตัดสินพฤติกรรมทางศีลธรรมที่บุคคลหนึ่งๆ กระทำขึ้นเท่านั้น บางครั้งการรักษาศีลก็กลายเป็นเพียงการเฝ้าระวังพฤติกรรมของใครของมัน ไม่ให้เข้าข่ายการผิดศีลตามเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้เหมือนกับการระวังตนไม่ให้ผิดกฏหมายบ้านเมือง ซึ่งการรักษาศีลแบบนี้อาจจะไม่ได้มาจากจิตสำนึกที่มองกว้างออกไปถึงประโยชน์ที่สังคมจะได้รับก็ได้ ในที่สุดจิตสำนึกหรือเจตนารมณ์อันกว้างขวางที่อยู่เบื้องหลังการรักษาศีล ๕ ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ก็หมดความสำคัญลง

การขยายขอบเขตของศีลหรือวินัยเพื่อให้ครอบคลุมประเด็นปัญหาใหม่ๆ ในสังคมไม่ใช่ว่าจะไม่เคยเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล แม้พระพุทธเจ้าเองก็ทรงปรับปรุงแก้ไขพระวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้เองบ่อยๆ ในกรณีที่พฤติกรรมการละเมิดพระวินัยของพระภิกษุมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ปาราชิกข้อที่ ๑ ที่ว่าด้วยการห้ามเสพเมถุน ครั้งแรกบัญญัติขึ้นมาห้ามไม่ให้ภิกษุเสพเมถุนกับสตรีเพศ โดยปรารภเหตุที่พระสุทินไปเสพเมถุนกับภรรยาเก่าของตน ต่อมาปัญหาการเสพเมถุนของภิกษุมีความซับซ้อนมากขึ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงขยายขอบเขตของวินัยข้อนี้ให้ครอบคลุมทั้งการเสพเมถุนกับมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ซึ่งเรียกว่า"อนุบัญญัติ" (5)

ถ้ากลุ่มเครือข่ายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมนานาชาติตีความโดยยึดตามเจตนารมณ์ของศีล ๕ ที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ในพุทธพจน์ข้างต้น ผู้เขียนมองว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะสามารถทำได้อย่างนั้น แต่จะมีปัญหาอย่างหนึ่งตามมาคือ เนื่องจากว่ากลุ่มเครือข่ายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมฯ ได้ตีความศีล ๕ ในแง่ของการขยายขอบเขตความหมายของศีลเท่านั้น โดยไม่ได้สร้างกฎเกณฑ์สำหรับวินิจฉัยปัญหาเหมือนอย่างที่พระอรรถกถาจารย์เคยทำมาแล้ว ดังนั้น เมื่อนำเอาไปใช้ในสถานการณ์ของปัญหาจริยธรรมจริง จะสร้างปัญหาในการตัดสินขึ้นมาทันที เช่น กรณีการละเมิดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ้าเราเดินเข้าไปในร้านค้าแล้วจงใจขโมยแผ่นซีดี-รอม (CD-ROM) มาแผ่นหนึ่ง ก็คงจะไม่มีปัญหาในการตัดสิน เพราะสามารถใช้เกณฑ์ของพระอรรถกถาจารย์มาตัดสินได้ แต่ถ้าเป็นกรณีโปรแกรมคอมผิวเตอร์ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ บางครั้งที่มีการละเมิดต่อๆ กันมาเป็นร้อยเป็นพันทอด เป็นเรื่องยากมากที่จะเอาองค์ประกอบของอทินนาทานทั้ง ๕ ข้อมาจับแล้วตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิด

ดังนั้น ผู้เขียนจึงมองว่า ตราบใดที่เครือข่ายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมนานาชาติ อาศัยแต่ตีความศีล ๕ อย่างเดียวโดยไม่สร้างเกณฑ์สำหรับวินิจฉัยปัญหาขึ้นมาด้วย การตีความแบบนี้จะสามารถนำไปตอบปัญหาทางจริยธรรมในสังคมสมัยใหม่ได้ในระดับภาพรวมกว้างๆ เท่านั้น คือ ให้ยึดเกณฑ์คือเจตนารมณ์พื้นฐานของศีล ๕ เป็นตัวตัดสิน ถ้าการกระทำใดก็ตามที่ไม่เป็นไปโดยสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของศีลที่มุ่งประโยชน์สุขของบุคคลและสังคม ให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นการละเมิดศีล

๕. สรุป
จากคำถามที่ผู้เขียนกำหนดไว้ในตอนต้น ๓ ข้อ คือ

๑) มิติทางสังคมของศีล ๕ ตามทัศนะของเครือข่ายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมนานาชาติเป็นอย่างไร ?
ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า นักวิชาการตะวันตกที่สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาในเชิงวิชาการ ส่วนใหญ่จะเชื่อว่าพระพุทธศาสนาไม่มีมิติทางสังคม เพราะเป็นระบบจริยธรรมที่มุ่งเน้นการปฏิเสธโลกและความหลุดพ้นส่วนบุคคล ส่วนพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในสังคมปัจจุบัน ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ทางศาสนาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา หากแต่เกิดจากแรงกดดันของวิกฤตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และปัญหาทางศีลธรรมของสังคมโลกยุคใหม่ ปัญหาเหล่านี้ผลักดันให้ชาวพุทธต้องปรับเปลี่ยนระบบจริยธรรมให้มีมิติทางสังคมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น การผลักดันนโยบายสาธารณะ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคม ทั้งนี้เพื่อทำให้พระพุทธศาสนามีฐานยืนและสามารถตอบปัญหาสังคมยุคใหม่ได้

ส่วนนักคิดหรือนักศาสนาที่เป็นชาวพุทธมาแต่เดิมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระราหุล, อริยรัตนะ, พระติช นัท ฮันห์, องค์ทะไล ลามะ, และพระเขมธัมโม และชาวพุทธไทย เช่น พุทธทาสภิกขุ, พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), สุลักษณ์ ศิวรักษ์, นพ.ประเวศ วสี มีความเห็นตรงกันว่าพระพุทธศาสนามีมิติทางสังคม และให้ความสำคัญต่อการแก้ปัญหาในระดับโครงสร้างสังคม โดยเฉพาะพระติช นัท ฮันห์ ประกาศชัดเจนว่า "พระพุทธศาสนาทั้งหมดต้องผูกพันกับสังคม" (All Buddhism is engaged) เพียงแต่รูปแบบการทำงานเพื่อสังคมอาจจะแตกต่างกันบ้างตามสภาพปัญหาของแต่ยุคสมัย โดยหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่ถือว่าเกี่ยวข้องกับสังคมโดยตรง ได้แก่ ศีล หรือวินัย เพราะเกี่ยวข้องกับการจัดวางระบบความสัมพันธ์ทางสังคม จัดโครงสร้าง และจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเข้าถึงสัจธรรม

๒) ตามทัศนะของเครือข่ายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมนานาชาติ การตีความศีล ๕ ในแนวจารีต มีข้อจำกัดในการตอบปัญหาสังคมโลกยุคใหม่อย่างไร ?
ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า เครือข่ายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมฯ มองว่า การตีความศีล ๕ ตามแนวจารีตประเพณีเป็นรูปแบบการตีความเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของสังคมแบบเกษตรกรรม ซึ่งเป็นปัญหาทางศีลธรรมแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมา แต่สังคมปัจจุบันเป็นสังคมแบบอุตสาหกรรม เป็นสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร และปัญหาทางศีลธรรมก็มีความสลับซับซ้อนตามความซับซ้อนของสังคม ศีลเป็นเรื่องของบัญญัติหรือการออกแบบเพื่อตอบปัญหาสังคม เราจะออกแบบศีลอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าสภาพปัญหาทางศีลธรรมในบริบททางสังคมขณะนั้นเป็นอย่างไร เป็นสำคัญ

๓) เครือข่ายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมนานาชาติได้เสนอวิธีการตีความศีล ๕ แบบใหม่อย่างไร ?
ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า เครือข่ายพุทธศาสนิกเพื่อสังคมฯ ได้ตีความศีล ๕ โดยเน้น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเจตนารมณ์ของศีล และส่วนที่เป็นคำนิยามของศีล

- ส่วนที่เป็นเจตนารมณ์ของ หมายถึง เจตนารมณ์ที่มุ่งให้มนุษย์ในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกัน ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา นอกจากนั้น เจตนารมณ์ของศีลยังครอบคลุมถึงการจัดระบบโครงสร้างทางสังคม ความสัมพันธ์ทางสังคมและสภาพแวดล้อมความที่เอื้อต่อการเข้าถึงสัจธรรม

- ส่วนการคำนิยามความหมายของศีล เครือข่ายพุทธฯ มองว่า ศีล ๕ ต้องมีพลวัตรและมีความหมายที่ยืดหยุ่น ต้องสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับความซับซ้อนของปัญหาในแต่ละยุดสมัย คือ ศีลข้อห้ามฆ่าสัตว์ ต้องให้ครอบคลุมถึงปัญหาความรุนแรงประเภทต่างๆ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เช่น ปัญหาสงคราม ปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาการใช้สารเคมี ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก การทำแท้ง และการติดต่อพันธุกรรมของพืชและสัตว์. ศีลข้อห้ามลักทรัพย์ ต้องขยายความให้ครอบคลุมถึงการลักทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การพัฒนาประเทศที่กระจายรายได้อย่างไม่เป็นธรรม การครอบครองทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มนายทุนหรือผู้มีอิทธิพล การจ่ายค่าแรงอย่างไม่เป็นธรรม การละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา หรือการปั่นราคาหุ้น เป็นต้น. ศีลข้อห้ามประพฤติผิดในกาม ต้องขยายให้ครอบคลุมถึงปัญหาโสเภณี การเผยแพร่สื่อลามกอนาจารที่ยั่วยุให้เกิดความกำหนัดทางเพศ. ศีลข้อห้ามพูดมุสา ต้องให้ครอบคลุมปัญหาการปิดบังความจริงในรูปแบบต่างๆ เช่น ปัญหาการโฆษณาสินค้าแบบเกินจริง การโฆษณาชวนเชื่อของพวกนักการเมือง และการไม่ทำตามนโยบายของรัฐบาล. และศีลข้อห้ามดื่มสุราและเมรัย ต้องให้ครอบคลุมถึงยาเสพติดทุกชนิดและสิ่งมอมเมาในรูปแบบใหม่ๆ เช่น สื่อที่มอมเมาประชาชน ทำให้หลงผิดหรือหลงใหลมัวเมาในสิ่งเหล่านั้นๆ

โดยสรุป แนวคิดในการตีความศีล ๕ แบบใหม่ของกลุ่มชาวพุทธเพื่อสังคม คือ ต้องการให้ศีล ๕ มีความหมายครอบคลุมปัญหาสังคมยุคใหม่ได้ทั้งหมด แทนที่จะเป็นเพียงการละเมิดกันระหว่างบุคคลกับบุคคลแบบตรงไปตรงมาเท่านั้น

+++++++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกกลับไปอ่านทบทวน ตอนที่ ๑)

เชิงอรรถ

(1) สํ.ม. (ไทย) ๑๙/๑๐๐๓/๕๐๒.
(2) ข.ขุ.อ. (บาลี) ๒๒., ขุ.อิติ.อ. (บาลี) ๒๙๙-๓๐๔., มงฺคล.(บาลี) ๑/๑๙๙-๒๒๔/๒๐๐-๒๑๗.
(3) ข.ขุ.อ. (บาลี) ๒๒., ขุ.อิติ.อ. (บาลี) ๒๙๙-๓๐๔., มงฺคล.(บาลี) ๑/๑๙๙-๒๒๔/๒๐๐-๒๑๗.
(4) ข.ขุ.อ. (บาลี) ๒๒., ขุ.อิติ.อ. (บาลี) ๒๙๙-๓๐๔., มงฺคล.(บาลี) ๑/๑๙๙-๒๒๔/๒๐๐-๒๑๗.
(5) วิ.มหา. (ไทย) ๑/๓๙-๔๔/๒๗-๓๒.

+++++++++++++++++++++++++++++++++

บรรณานุกรม

๑.ภาษาไทย :


ก. ข้อมูลปฐมภูมิ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ, ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.

_________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

_________.อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์-
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

ข. ข้อมูลทุติยภูมิ

(๑) หนังสือ :
ติช นัท ฮันห์. แปลโดย ธีรเดช อุทัยวิทยารัตน์. ศานติในเรือนใจ : เรียนรู้ศิลปะการดำเนินชีวิตอย่างมีสติและผาสุก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๔๓.

_________. ด้วยปัญญาและความรัก. แปลโดยรสนา โตสิตระกูล. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๓๗.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. คนจนกับนโยบายการทำให้จนของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
เรือนแก้วการพิมพ์, ๒๕๔๓.

_________.พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๔๓.

ประเวศ วสี, ศ.น.พ. ธรรมิกสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๔๒.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. ความคิดทางการเมืองของพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘.

พระดุษฎี เมธงฺกุโร. การพัฒนาสังคมตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๓๒.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

_________. นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๓๙.
พระประชา ปสนฺนสมฺปนฺโน. เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง,
๒๕๓๕.

พระไพศาล วิสาโล. พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, ๒๕๔๖.

พุทธทาสภิกขุ. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์. ไชยา : คณะธรรมทาน ไชยา, ๒๕๒๑.

_________. ปณิธานของพุทธทาสภิ กขุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๓๓.

พุทธทาส อินทปัญโญ. ธัมมิกสังคมนิยม .กรุงเทพหมานคร: สำนักพิมพ์สยามประเทศ, ๒๕๓๘.

พุทธินันท์ โพธิ์จินดา. พุทธศาสนากับความคิดทางการเมืองของ ส.ศิวรักษ์. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์เทียนวรรณ, ๒๕๒๗.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. มงฺคลตฺถทีปนิยา ปฐโม ภาโค. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๔.

วีระ สมบูรณ์. อริยวินัยสำหรับคริสต์วรรษที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร : โกมล คีมทอง, ๒๕๔๕.

ส. ศิวรักษ์. ศาสนากับสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เทียนวรรณ, ๒๕๒๕.

สมภาร พรมทา. พุทธปรัชญา มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม ธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

สุจิตต์ วงศ์เทศ. บรรณาธิการ. พิเคราะห์ "นิธิ" ปราชญ์เจ๊ก ๆ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๔.

สุนัย เศรษฐบุญสร้าง. การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของพุทธศาสนาในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฟ้าอภัย จำกัด, ๒๕๔๒.

(๒) บทความ :
ส.ศิวรักษ์ "ประชุมพุทธศาสนาเพื่อสังคมที่เกาหลี." เสขิยธรรม ๕๘ (ตุลาคม-ธันวาคม, ๒๕๔๖) : ๑๑.

๒. ภาษาอังกฤษ

(1) Books.
Aitken, Robert. The Mind of Clover: Essays in Zen Buddhist Ethics. San Francisco: North Point Press, 1984.

Aronson, Harvey B. Love and Sympathy in Theravada Buddhism. Delhi : Motilal Banarsidass, 1980.

Bellah, Robert. Beyond Belief : Essays on Religion in a Post-Traditional World .New York: Harper and Row, 1970.

Gombrich, Richard. Theravada Buddhism : A Social History from Ancient Benares to
Modern Colombo. London and New York: Rout ledge & Kegan Paul, 1988.

Heng-ching, Shih. The Sutra on Upasaka Precepts. Berkley, CA: Buddyo Dendo Kyokai, 1991.

Hurvitz, Leon. Scripture of the Lotus Blossom of the Fine Dharma (the Lotus Sutra).
New York: Columbia University Press, 1976.

Jones, Ken. Buddhism and Social Action. Kandy: The Wheel Publication, 1981.

Kaplan Robert D. The Ends of the Earth : A Journey at the Dawn of the Twenty-First
Century .New York : Random House, 1996

. An Empire Wilderness: Travels into America's Future .New York:
Random House, 1998.

Keown, Damien . A Dictionary of Buddhism. New York: Oxford University Press, 2003.
. The Nature of Buddhist Ethics. London: Macmillan, 1992.

Keer, Dhananjay (ed.) Dr.Ambedkar Life and Mission. Bombay: Popular Prakashan, 1971.

Kleinman, Arthur; Das,Veena; and Lock, Margaret (eds.). Social Suffering. Berkley: University of California Press, 1996.

Krishnan, Asha. Ambedkar and Gandhi: Emancipators of Untouchables in Modern India. Mumbai: Himalaya Publishing House, 1997.

Kratf, Kenneth ed. Inner Peace, Inner World : Essay s on Buddhism and Nonviolence.
New York : State University of New York press.

Kung, Hans. Theology for the Third Millennium: An Ecumenical View. New York:
Doubleday, 1988.

Murti, T.R.V. The Central Philosophy of Buddhism. London: George Allen and Unwin Ltd.,1955.

Narain A.K. ed. Studies in the History of Buddhism. Delhi : B.R. Publishing Corp., 1980.
Nhat Hanh, Thich. Call Me By My True Names. Berkeley: Parallax Press, 1993.

. Love in Action: Wrtings on Nonviolent Social Change. Berkeley:
Parallax Press, 1993.

Nhat Hanh, Thich. Peace Is Every Step. New York: Bantam, 1991.

. Vietnam : Lotus in a Sea of Fire. New York: Hill and Wang, 1967.
Queen , Christopher S. (ed.). Engaged Buddhism : Buddhist Liberation Movements in Asia. Albany: State Ubniversity of New York Press, 1996.

________ .Engaged Buddhism in the West . Boston: Wisdom Publications, 2000.

Rahula Walpola. The Heritage of the Bhikkhu: A Short History of the Bhikkhu in
Educational, Cultural, Social and Political Life. New York: Grove Press, 1974.

. Zen and the Taming of the Bull : Towards the Definition of Buddhism
Thought. London: Gordon Fraser, 1978.

Sizemore, Russell F. and Swearer, Donald K. (eds.). Ethics, Wealth, and Salvation : A Study in Buddhist Social Ethics. Columbia, SC: University of South Carolina Press, 1990.

Webber, Max . Religion of India : The Sociology of Hinduism and Buddhism. New York:
The Free Press, 1958.

Williams, Duncan Ryuken and Queen, Christopher S. American Buddhism : Methods and Findings in Recent Scholarship .Surrey, UK: Curzon Press, 1999.

Williams, Paul. Mahayana Buddhism: The Doctricnal Foundations. London and New York: Routledge, 1989

(2) Articles.
Bond, George D. "A.T. Ariyatne and the Sarvodaya Shramadana Movement." Engaged Budddhism: Buddhist Liberation Movements in Asia, ed. By Christopher S. Queen. New York: State University of New York Press, 1996.

Goss, Robert E. "Naropa Institute : The Engaged Academy." Engaged Buddhism in the West. ed. By Queen, Christopher S. Boston: Wisdom Publications, 2000.

Hunt-Perry, Patricia and Fine, Lyn. "All Buddhism Is Engaged : Thich Nhat Hanh And The Order Of Interbieng." Engaged Buddhism in the West. ed. By Queen, Christopher S. Boston: Wisdom Publications, 2000.

King, Winston L. "Judeo-Christian and Buddhist Justice," Journal of Buddhist Ethics 2 (1995).

Kosakarn, Panadda. "Summary Report of INEB Executive Meeting 1999." Seeds of Peace 16 (May-August 2000) : 11.

Kraft, Kenneth . "Engaged Buddhism." Engaged Buddhist Reader. ed. By Kotler, Arnold
Berkeley : Parallax Press, 1996.

Lama, The Dalai. "Cultivating Altruism," Engaged Buddhist Reader, ed. By Kotler, Arnold
Berkeley : Parallax Press, 1996.

Queen , Christopher S. "The Peace Wheel: Nonviolent Activism in the Buddhist Tradition." Subverting Hatred: The Challenge of Nonviolence in Religious Traditions.
Boston: Boston Research Center for the Twenty-First Century, 1998.

SEM. "Report on the Sixth SEM Annual Lecture." Seeds of Peace 17 (January-April 2001): 29. Smith, Bardwell L. "Sinhalese Buddhism and the Dilemmas of Reinterpretation." The Two Wheels of Dhamma : Essays on the Theravada Tradition in India and Ceylon, ed. By Smith. Pennsylvania: American Academy of Reeligion, 1972.

Wijesekera, O.H. DeA. "The Symbolism of the Wheel in the Cakravartin Concept," Buddhist and Verdic Studies. Delhi: Motilal Banarsidass, 1994.

Zelliot, Eleanor. "Gandhi and Ambedkar: A Study in Leadership," From Untouchable to Dait: Essays on the Ambedkar Movement. New Delhi: Manohar, 1992.

 


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Buddhadasa Bhikkhu (May 27, 1906 - May 25, 1993) was one of the most influential Buddhist monks and ascetic-philosophers of the 20th century. Known as an innovative interpreter of Buddhist beliefs, Buddhadasa helped reform Buddhism in his home country of Thailand. While Buddhadasa was an ordained monk in the Theravada branch of Buddhism, having submitted to Thai government regulated ordination rituals, he embraced a worldview which rejected specific religious identification and considered all religions as one Dharma. He also inspired persons such as Pridi Phanomyong, leader of that country's 1932 revolution, and the Thai social activists and artists of the 1960s.

...those who have penetrated to the highest understanding will feel that the thing called "religion" doesn't exist after all. There is no Buddhism; there is no Christianity; there is no Islam. How can they be the same or in conflict when they don't even exist?