โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 15 August 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๓๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (August, 15, 08,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ทั้งหมดมันจึงเป็นสิ่งซึ่งน่าสังเกตมากที่ว่า BBC ซึ่งเริ่มถ่ายทอดในแบบไร้สายในปี ค.ศ.1922 ตัวมันเองเป็นพันธมิตรอย่างค่อนข้างรวดเร็ว กับทัศนะแบบอนุรักษ์นิยมอันมีพลังของวัฒนธรรมอังกฤษ ภายในทศวรรษของการถือกำเนิดขึ้นมาของมัน the British Broadcasting Corporation (BBC) ดูเหมือนว่าจะเป็นที่เคารพนับถือเท่าๆ กับ Bank of England ซึ่งเป็นสถาบันทางการเงินของสหราชอาณาจักรเลยทีเดียว, มันคือป้อมปราการที่ทวนกระแสอิทธิพลของอเมริกันเกี่ยวกับวัฒนธรรมวลชน ค่อนข้างมากกว่าที่จะเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด
15-08-2550

The Development of the mass media
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

The Development of the mass media
เส้นทางอันขรุขระของสื่อตะวันตก และการวิพากษ์วิทยุ BBC
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
หลักสูตรสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Soviet propaganda poster portraying the 1905 revolution.
The caption reads "Glory to the People's Heroes of the Potemkin!"

บทความวิชาการชิ้นนี้ เรียบเรียงโดยตัดทอนมาจากบทที่ 5 ในส่วนหัวข้อ
The Development of the mass media จากหนังสือ High Culture, Popular Culture
เขียนโดย Peter Goodall ซึ่งมีสาระสำคัญตามที่ยกมานี้เกี่ยวกับ การให้ภาพของพัฒนาการด้านสื่อสารมวลชน
โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ นับจากพัฒนาการทางด้านหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ และวิทยุ ดังหัวข้อต่อไปนี้
- สภาพการณ์โดยทั่วไปในประเทศอังกฤษ
- การเริ่มต้นของหนังสือพิมพ์รายวัน
- The Diary Mirror หนังสือพิมพ์สำหรับผู้หญิง
- การเริ่มต้นและพัฒนาการเกี่ยวกับภาพยนตร์
- เปรียบเทียบภาพยนตร์อเมริกันกับภาพยนตร์ยุโรป
- อิทธิพลครอบงำงานภาพยนตร์ของฮอล์ลีวูด
- แรกเริ่มของ BBC เป็นที่เคารพเท่าๆ กับ Bank of England
- วิพากษ์รายการไต่บันไดฟัง และการผูกขาดของ BBC
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสม
สำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้า
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๓๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

The Development of the mass media
เส้นทางอันขรุขระของสื่อตะวันตก และการวิพากษ์วิทยุ BBC
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
หลักสูตรสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พัฒนาการด้านสื่อในประเทศอังกฤษ
ความกังวลใจที่มีต่อความสลับซับซ้อนของลัทธิสมัยใหม่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมวลชนได้เจริญเติบโตขึ้นและขยายตัวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในทางเทคนิคของการเผยแพร่. โลกของทุนนิยมนานาชาติ ซึ่งในอำนาจการปกครองของสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย อันมีอังกฤษเป็นหัวใจสำคัญ ได้ให้ความวางใจในแรงงานต่างๆ ของกลุ่มคนขนาดใหญ่, จำนวนมากของผู้คนเหล่านี้คือคนที่ทำงานในสำนักงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่เรียกว่าพวกปกคอเสื้อขาว(white-collar) ซึ่งได้เพิ่มจำนวนขึ้นจาก 262,000 คนในปี ค.ศ. 1871 ไปเป็น 918,000 คนในปี ค.ศ. 1911

สภาพการณ์โดยทั่วไปในประเทศอังกฤษ
ในปี 1911 นั้น อาชีพคนทำงานในสำนักงาน รวมทั้งผู้หญิงด้วยถึง 124,000 คน จัดเป็นกลุ่มคนที่เข้ามาครอบครองการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและรวดเร็วมากที่สุดในสหราชอาณาจักร. เซ็คเตอร์ในส่วนนี้ทางด้านเศรษฐกิจได้ร่ำรวยขึ้นมาก พวกเขามีเงินมากขึ้นในการใช้จ่าย และมีเวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยการทำงานต่อสัปดาห์ได้ลดลงมาหลังจากปี ค.ศ. 1918 จาก 55 ชั่วโมง เหลือเพียง 48 ชั่วโมง อันนี้ทำให้มีเวลาที่ใช้ไปในกิจกรรมสันทนาการมากขึ้น

แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวทางสังคมอยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ตาม พลังการทำงานของผู้ที่รู้หนังสือซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในสำนักงาน กลับไม่ได้มีคุณภาพทางการศึกษามากนัก. ในปี ค.ศ.1900, 40% ของเด็กๆ ชาวอังกฤษยังคงออกจากโรงเรียนก่อนวัยที่กำหนดตามพระราชบัญญัติการศึกษา นั่นคือ 14 ปี. ในปี 1926, น้อยกว่า 10% ของพวกเด็กๆ ได้มีโอกาสการเรียนต่อจากโรงเรียนประถมเข้าสู่โรงเรียนมัธยม. น้อยมากสำหรับบรรดาเด็กๆ ทั้งหลายที่มาจากครอบครัวยากจน จะได้มีโอกาสไปเรียนต่อยังมหาวิทยาลัย. ทั้งนี้เนื่องมาจากการช่วยเหลือทางด้านการเงินยังคงเป็นไปอย่างจำกัดนั่นเอง กล่าวคือ ในปี 1912 มีผู้เหมาะสมที่จะได้รับทุนการศึกษามีถึง 2,000 คน แต่ทุนการศึกษาที่มีอยู่เพียงรองรับนักศึกษาได้แค่ 200 คนเท่านั้น. ในอีกด้านหนึ่งนั้น มากกว่า 75% ของคนเหล่านี้ที่สนใจเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ไปเรียนโดยปราศจากทุนการศึกษาไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น

การเริ่มต้นของหนังสือพิมพ์รายวัน
หนังสือพิมพ์รายวันซึ่งเป็นที่นิยมในยุคสมัยใหม่ เริ่มต้นอย่างมีประสิทธิภาพในสหราชอาณาจักร โดยได้มีการตีพิมพ์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1896 ชื่อ Daily Mail (1) ของ Lord Northcliffe. มันได้รับการออกแบบขึ้นมา เพื่อจัดหาสิ่งซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับบรรดาผู้อ่านที่มีการตื่นตัวและพอจะรู้หนังสือ กล่าวคือส่วนใหญ่เป็นคนที่มีการศึกษาไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก. Northcliffe ควบคุมและชี้นำบรรดานักเขียนวารสารของเขาให้เขียนเรื่องสำหรับผู้อ่านที่มีความกระหายอย่างสอดคล้องกับสิ่งที่เป็นไปทางสังคม. ส่วนใหญ่ของบรรดานักเขียนในหน้าวารสารเหล่านี้ ก็คล้ายๆกันผู้อ่านงานของพวกเขา คือไม่ค่อยมีการศึกษาเท่าใดนัก: ส่วนมากถูกรับเข้ามาใหม่จากต่างจังหวัด และมีไม่กี่คนได้รับการศึกษาพ้นจากเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษา หรือสูงกว่าอายุ 14 ปี

ผลที่ตามมา สิ่งพิมพ์ต่างๆ จึงรับเอาทัศนะที่ให้การสนับสนุนการต่อต้านปัญญาชน(anti-intellectualism), ในอีกด้านหนึ่ง ก็มีลักษณะของประชานิยมเด่นชัดมาก. สไตล์และการทำงานของพวกเขาเป็นจำนวนมาก สืบทอดมาจากขนบประเพณีต่างๆ ของวัฒนธรรมประชานิยม(ป๊อปปูล่าร์)ในคริสตศตวรรษที่ 19. ข่าวต่างๆ มีลักษณะที่จงใจสร้าง"ความตื่นเต้น" ซึ่งได้รับการเขียนขึ้นมาตามขนบจารีตแบบเมโลดราม่าของคริสตศตวรรษที่ 19 (melodrama หมายถึง การเขียนที่มีลักษณะเร้าอารมณ์อย่างละครและเหนือจริง) สิ่งพิมพ์ต่างๆ เหล่านี้ได้สร้างบุคคลิกภาพอันหลากหลายขึ้นมาด้วย, บรรดานักเขียนซึ่งเขียนคอลัมภ์ต่างๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นปฏิบัติการอันหนึ่งซึ่งสำเนาหรือลอกเลียนมาจากดารานักแสดงในภาพยนตร์

แต่อย่างไรก็ตาม มันจะเป็นการพลาดพลั้งไปอย่างน่าเสียดาย หากเราไม่ยอมรับความก้าวหน้าทางสังคมที่มีอยู่มาแต่กำเนิด (และแม้กระทั่งในบางโอกาส ลักษณะทางด้านสติปัญญาและสุนทรียภาพ) เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ประชานิยมเหล่านี้. Northcliffe ได้ถูกครอบงำด้วยความเป็นสมัยใหม่(modernity); เขาถูกทำให้รู้สึกหลงใหลโดยความเร็วและเทคโนโลยี. สำหรับสโลแกนหรือคำขวัญของ the Diary Mail ก็คือ the "Busy man's Newspaper" เขายังถูกทำให้เชื่อมั่นด้วย เกี่ยวกับพลังทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกผู้หญิงที่กำลังก้าวมาถึง

The Diary Mirror หนังสือพิมพ์สำหรับผู้หญิง
the Diary Mirror เดิมทีเดียว ได้รับการทำขึ้นมา ไม่เพียงสนองตอบต่อนักอ่านที่เป็นผู้หญิงเท่านั้น ในฐานะที่เป็น"สิ่งพิมพ์ของสุภาพสตรี"ฉบับแรก แต่สิ่งซึ่งน่าประหลาดใจในเวลานั้นอย่างมากก็คือ มันได้ถูกพิมพ์ขึ้นมาครั้งแรก โดยที่บรรดานักเขียนทั้งหมดเป็นทีมงานซึ่งเป็นผู้หญิงล้วนด้วย. วารสารสำหรับผู้หญิงและทำขึ้นโดยผู้หญิงเริ่มต้นในสิ่งพิมพ์ป๊อปปูล่าร์. สไตล์แบบฉบับของสิ่งพิมพ์ป๊อปปูล่าร์หรือยอดนิยม สรุปลงที่คำว่า "tabloid" (แทบลอยด์ หรือเป็นหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก เท่ากับขนาดครึ่งหนึ่งของหนังสือพิมพ์ปกติ) ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยตัวของ Northcliffe เองในปี ค.ศ.1900 มันนำเสนอบทความที่เป็นร้อยแก้วสั้นๆ การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับคำพาดหัวตัวหนาๆ บนหน้าหนังสือพิมพ์, การเคลื่อนคล้อยไปสู่สไตล์กราฟฟิคที่เด่นสะดุดตา ได้ทำให้หนังสือพิมพ์ไม่ต้องอ่านในลักษณะจ้องมองมากเกินไป - ซึ่งอันนี้ค่อยๆ แปรเปลี่ยนคุณภาพของหนังสือพิมพ์ไปด้วย

วารสารภาพถ่าย(photo journalism) ซึ่งได้รับการบุกเบิกขึ้นมาในสิ่งพิมพ์ป๊อปปูล่าร์ของสหราชอาณาจักรในช่วงต้นของศตวรรษ ในท้ายที่สุดได้ถูกรับเอาไปสานต่อโดยนิตยสาร Times ในปี ค.ศ.1922 เมื่อได้ตีพิมพ์(หน้า)ภาพขึ้นมาเป็นครั้งแรก. ข้อสรุปของ LeMahieu ก็คือว่า นิตยสาร Times ของปี 1930 ดูแล้วมันคล้ายกันมากกับ the Dairy Mail ของปี 1900 ยิ่งกว่า the Times ของปี 1900 เสียอีก

การเริ่มต้นและพัฒนาการเกี่ยวกับภาพยนตร์
การเริ่มต้นของภาพยนตร์ ก็เหมือนๆ กับสิ่งพิมพ์ประชานิยม กล่าวคือนอนเนื่องอยู่ลึกลงไปในวัฒนธรรมป๊อปปูลาร์ของคริสตศตวรรษที่ 19 ตามห้องแสดงดนตรีและความบันเทิงอันหลากหลาย เช่นเดียวกับในการละครแบบเมโลดราม่า. ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เคยได้รับการนำมาฉายในออสเตรเลีย ได้ถูกนำเสนอโดย Carl Hertz ชาวอเมริกันผู้เสนอความบันเทิงอันหลากหลาย(vaudeville - ละครเรื่องสั้นๆ สลับกับเพลงระบำ หรือการแสดงสลับฉาก) ในเมือง Melbourne ในเดือนพฤษภาคม 1896. ความคิดเห็นและคำวิจารณ์ของ Ruth Megrew เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในช่วงต้นๆ ของภาพยนตร์ในออสเตรเลียก็คือว่า "เป็นเวลาหลายปี ที่ภาพยนตร์ยังคงได้รับการพิจารณาว่าเป็นรูปแบบของความบันเทิงยอดนิยมที่มีราคาถูก คล้ายๆ กันกับละครสัตว์, และปราศจากศักยภาพทางด้านศิลปะเกี่ยวกับการละครใดๆ ทั้งสิ้น"

แต่อย่างไรก็ตาม กลิ่นไอของความบันเทิงราคาถูก ได้รับการทำให้บรรเทาเบาบางลงอย่างรวดเร็ว โดยสถานที่จัดฉายภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาอย่างใหญ่โตหรูหรา ซึ่งได้ก่อกำเนิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1910 ในเมืองหลักๆ ที่สำคัญหลายแห่ง อาทิเช่น the Melba ใน Melbourne และ the Crystal Palace ใน Sydney. นอกจากนั้น ภาพยนตร์ยังได้พัฒนาไปในเชิงศิลปะต่างๆ ด้วย

ในประเทศสหรัฐอเมริกา บรรดาผู้กำกับภาพยนตร์หลายคน อย่างเช่น D.W.Griffith ได้รับงานซึ่งเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจ. LeMahieu ให้ความไว้วางใจต่อความสำเร็จของ Griffith ในฐานะที่เป็นผู้กำกับที่ยอดเยี่ยมคนหนึ่ง ด้วยความสามารถของเขาที่จะประสานเทคนิคทางด้านภาพยนตร์เข้ากับขนบจารีตการละคร ของโรงละครแบบป๊อปปูล่าร์. พัฒนาการของเขาเกี่ยวกับความรวดเร็ว ว่องไว และการตัดต่อ และลำดับภาพในลักษณะเดียวกับละคร ได้สร้างความตื่นเต้นระหว่างฉากต่างๆ ที่ใช้ในวิธีการแบบเมโลดราม่า และเร้าอารมณ์เกินจริง สิ่งเหล่านี้ได้ช่วยเพิ่มความรู้สึกและยกระดับผลกระทบทางด้านอารมณ์เกี่ยวกับการเล่าเรื่องของเขา และถือเป็นพัฒนาการที่มีขึ้นมาภายหลัง ด้วยวิธีการที่มีเล่ห์เหลี่ยมชั้นเชิงเช่นเดียวกับภาพ montage (การประกอบภาพที่นำไปวางต่อเนื่องกันหลายๆ ภาพ) โดยผู้กำกับที่ยิ่งใหญ่ชาวรัสเซีย, Sergi Eisenstein.

ภาพยนตร์ต่างๆ ของชาลี แชปลิน
ภาพยนตร์ต่างๆ ของชาลี แชปลิน(Charlie Chaplin) ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในซูปเปอร์สตาร์ทั้งหลายในช่วงต้นๆ ของวงการภาพยนตร์ และยังเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกๆ ที่ได้รับความนิยมชมชอบอย่างกว้างขวางโดยปัญญาชนทั้งหลายด้วย. อย่างค่อยเป็นค่อยไป ภาพยนตร์ได้มาถึงจุดที่เป็นที่ยอมรับและเคารพนับถือทางด้านสติปัญญามากขึ้น และหลักการเกี่ยวกับศิลปการภาพยนตร์ก็ไปด้วยกันกับมัน. สมาคมต่างๆ ทางด้านภาพยนตร์ได้ให้การส่งเสริมสนับสนุนการแสดงออกของภาพยนตร์ศิลปะ เพื่อเติมเต็ม(และในหลายๆ กรณี เพื่อต่อต้าน)ภาพยนตร์ในเชิงพาณิชย์

การก่อตั้งสมาคมภาพยนตร์
ในปี ค.ศ.1930, John Grierson ได้ทำการจัดตั้งสมาคมภาพยนตร์ลอนดอนขึ้นมา(the London Film Society) มีการฉายภาพยนตร์ขึ้นครั้งแรกในอังกฤษ ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่อง Battleship Potemkin (2) ของ Eisenstein (1926) (3), พร้อมด้วยภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Drifter (เรือหาปลาที่ใช้แหลอย)อันเป็นผลงานในขั้นบุกเบิกของตัวเขาเอง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากผลงานและทฤษฎีของ Eisenstein ในฐานะที่เป็นสารคดีพิเศษที่มาสนับสนุน

นิตยสาร Close Up ได้ก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ.1927 ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการวิจารณ์ภาพยนตร์แนวก้าวหน้า หรือที่เรียกว่า avant-garde film criticism และดำเนินการมาจนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1933. Sight and Sound ของสถาบันภาพยนตร์แห่งสหราชอาณาจักร กำลังเดินหน้าไปอย่างแข็งขันนับแต่ปี 1932. การวิจารณ์ภาพยนตร์เริ่มต้นปรากฏขึ้นในสิ่งพิมพ์คุณภาพในช่วงทศวรรษ 1920s และพอมาถึงปี 1930, Paul Rotha สามารถที่จะพูดถึงขนบประเพณีทั้งหมดของประสบการณ์ทางสุนทรีย์ในภาพยนตร์ได้

โชคไม่ดี มันมีแง่มุมในลักษณะตรงข้ามหรือตกต่ำอันหนึ่งในเรื่องความคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์ ซึ่งหนังสือของ Rotha แสดงให้เห็น ในฐานะที่เป็นความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างประณีต มันได้รับการสร้างขึ้นมาเป็นกระบวนทัศน์อันหนึ่งเกี่ยวกับศิลปะและอุตสาหกรรมดังกล่าว นั่นคือ

- ในด้านหนึ่ง Hollewood, อย่างที่ยอมรับกัน ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตทางด้านภาพยนตร์อันที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก
แต่ด้วยรากเหง้าของมันก็มีลักษณะที่สิ้นหวังในวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์

- ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้นก็คือยุโรป ด้วยขนบประเพณีที่มีลักษณะเป็นไปในทางตรงข้ามเกี่ยวกับศิลปการภาพยนตร์

เปรียบเทียบภาพยนตร์อเมริกันกับภาพยนตร์ยุโรป
สำหรับ Rotha, ยุโรป, อย่างไม่มีปัญหา, เป็นแหล่งต้นตอของภาพยนตร์ต่างๆ ที่ดีเยี่ยม. ในการสืบค้นของเขาสำหรับสุนทรียภาพของภาพยนตร์ เขาจัดตัวของเขาเองอย่างซื่อๆ ในลักษณะที่สวนทางกับอิทธิพลของอเมริกัน. ภาพยนตร์ทั้งหลายของอเมริกัน, ระบบดารานักแสดง, กระทั่งพัฒนาการเกี่ยวกับเรื่องเสียง ซึ่งเขามองว่าเป็นการหันเหเบี่ยงเบนไปจากธรรมชาติที่เป็นสาระของภาพและสื่อดังกล่าว

ในรูปแบบวิธีการทำนองเดียวกัน Grierson แม้ว่าแรกสุดนั้น เขาจะให้ความสนใจอย่างแข็งขันในศักยภาพด้านสังคมของภาพยนตร์ ขณะที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนอเมริกา โดยได้รับทุนการศึกษาจาก Rockefeller ในทศวรรษที่ 1920s แต่เขารู้สึกสงสัยและแคลงใจกับ Hollewood เอามากๆ และในหลายๆ ด้านเกี่ยวกับงานอาชีพของเขาทั้งหมดก็คือ ความพยายามอันหนึ่งที่จะปรับปรุงการสร้างภาพยนตร์ในทิศทางที่ตรงข้าม

การแบ่งแยกออกเป็นสองค่ายระหว่าง"ยุโรป"และ"อเมริกัน(ฮอล์ลีวูด)" แน่นอน, สำหรับกรณีนี้เป็นเพียงระดับหนึ่งของแก่นแกนทางด้านภูมิศาสตร์เท่านั้น - และได้มีการตระเตรียมรากฐานเกี่ยวกับการวิจารณ์ทางด้านภาพยนตร์ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก. บ่อยครั้ง มันได้รับการสร้างขึ้นมาในฐานะที่เป็นการต่อสู้กันระหว่างภาพยนตร์ในฐานะผลงานทางด้านศิลปะ(ของยุโรป) และในฐานะที่เป็นเครื่องปั่นเงิน(ของฮอล์ลีวูด) หรือ อย่างที่ Susan Dermody และ Elizabeth Jacka ได้วางมันเข้าไปในบริบท… ระหว่างภาพยนตร์ในฐานะที่เป็น"วัฒนธรรม" และภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องของ"อุตสาหกรรม"

ถึงแม้ว่าจะมีความซื่อสัตย์ทางสติปัญญาของคนส่วนมากในการถกเถียงกันสำหรับเรื่องเหล่านี้ แต่มันยังมีปัจจัยในทางตรงข้ามที่สำคัญมากอันหนึ่ง ซึ่งได้รับการแสดงออกมาโดยผลงานของบรรดานักเขียน อย่างเช่น David Bordwell (Bordwell, Staiger and Thompson 1985) ซึ่งได้ค้นพบช่องทางที่มีลักษณะเหมือนกันมากของงานเขียน เกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับการเรียกขานว่า "คลาสสิค"ในแบบของฮอล์ลีวูดสไตล์

ความสนใจอย่างใกล้ชิดของออสเตรเลียเกี่ยวกับระบบที่แตกต่างกันนี้ ในทางคุณค่าได้รับการก่อตัวขึ้นมาในหนังสือเมื่อไม่นานมานี้ โดย Brain McFarlane และ Geoff Mayer ในเรื่อง New Australian Cinema Source and Parallels in American and British Film (ต้นตอภาพยนตร์ออสเตรเลียใหม่ และลักษณะคู่ขนานในภาพยนตร์อเมริกันและสหราชอาณาจักร) (1992) สำหรับอันนี้ กุญแจที่ไขสู่ความสำเร็จของภาพยนตร์ฮอล์ลีวูดประเภทคลาสสิค, ป๊อปปูล่าร์, เชิงพาณิชย์, และในด้านสุนทรียภาพก็คือ ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันอันหนึ่งเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมของเมโลดราม่า ผสมกับการจัดการเกี่ยวกับการแสดงและการจัดฉากในลักษณะละคร หรือที่เรียกว่า mise-en-scene (putting into the scene) ที่เป็นธรรมชาติอย่างมีพลัง

อิทธิพลครอบงำงานภาพยนตร์ของฮอล์ลีวูด
หนึ่งในสิ่งต่างๆ ที่น่าประทับใจเกี่ยวกับสไตล์นี้มันได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้น - โดยแท้จริงแล้ว ราวปี ค.ศ.1917 - และมันยังคงมีอิทธิพลครอบงำผลิตผลของฮอล์ลีวูดมาอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ มันปรากฏตัวในข้อความอันหนึ่งที่นำสู่บทต่างๆ ของหนังสือ ซึ่งได้อ้างถึงคำอธิบายเกี่ยวกับการพบกันระหว่าง William และ Cecil B. de Mille ในปี ค.ศ.1915 ที่ปัจจัยหรือตัวกำหนดแท้จริงทั้งหลายเกี่ยวกับสไตล์แบบเล่าเรื่อง(narrative style) ได้รับการทำออกมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป…

สไตล์ของฮอล์ลีวูดในแบบคลาสสิคได้พัฒนามาจากวรรณกรรมและการละครป๊อปปูล่าร์ในคริสตศตวรรษที่ 19 ตัวของมันเองได้สืบทอดมาตามลำดับจากเมโลดราม่าของฝรั่งเศสและอังกฤษ ในคริสตศตวรรษที่ 18-19 กล่าวคือ มันได้มาช่วยเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกและปลดปล่อยระบายพลังดังกล่าว อันนี้คือกุญแจสู่ความสำเร็จของมัน ซึ่งเกี่ยวพันกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนส่วนใหญ่ และด้วยเหตุนี้ มันจึงมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์และเป็นที่นิยมชมชอบ

ความสมบูรณ์แบบทางศีลธรรม
ตามความเห็นของ Peter Brooks, โลกของเมโลดราม่าคือโลกของความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จทางศีลธรรมอันหนึ่ง มันเป็นการเข้ายึดครองเอาไว้ก่อนแล้วด้วยการจะที่จะต้องมีการชดใช้ทางศีลธรรม, มันเป็นที่ทางของบรรดาผู้ชักนำทางศีลธรรม ซึ่งจะต้องสร้างเรื่องให้มีการเผชิญหน้า และในท้ายที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม. เบื้องหน้าสไตล์แบบเล่าเรื่อง, ความต่อเนื่องและแรงกระตุ้น, มูลเหตุอันขมึงเกลียวและผลที่ตามมา, และความเชื่อมโยงสอดคล้องกันภายใน ทั้งหมดมันมีลักษณะที่เป็นธรรมชาติอย่างเข้มแข็ง ถึงแม้ว่ารายละเอียดในลักษณะธรรมชาติดังกล่าวจะต้องถูกควบคุมอยู่เสมอ

จุดสุดยอดหรือไคลแมคซ์ มีลักษณะที่สำคัญทั้งในด้านการปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกของผู้ดูและสำหรับพล็อทเรื่อง มันจะต้องน้อมนำไปสู่การแก้ปัญหาที่สอดคล้องและเป็นที่พึงพอใจ. สำหรับ Brooks, การกระทำหรือการแสดงหลังสุด ได้สร้างโลกอันนั้นซึ่งอ่านได้ง่ายในเชิงศีลธรรม(morally legible)

แรกเริ่มของ BBC เป็นที่เคารพเท่าๆ กับ Bank of England
ขณะที่ปัญญาชนบางคนเริ่มที่จะมีความรู้สึกคับข้องใจขึ้นมาในการปรับตัวให้เข้ากับภาพยนตร์, การกระจายเสียงก็เป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งซึ่งนักวิจารณ์วรรณคดีอังกฤษบางคนมีความเห็นว่า วิทยุไร้สายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามมากที่สุดต่อวัฒนธรรม และในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930s นักเขียนคนหนึ่งกับความสนใจอย่างมากในวัฒนธรรมประชานิยม อย่าง George Orwell มองว่ามันว่าเป็นความหายนะเลยทีเดียว

ด้วยเหตุนั้น ทั้งหมดมันจึงเป็นสิ่งซึ่งน่าสังเกตมากที่ว่า BBC ซึ่งเริ่มถ่ายทอดในแบบไร้สายในปี ค.ศ.1922 ตัวมันเองเป็นพันธมิตรอย่างค่อนข้างรวดเร็ว กับทัศนะแบบอนุรักษ์นิยมอันมีพลังของวัฒนธรรมอังกฤษ ภายในทศวรรษของการถือกำเนิดขึ้นมาของมัน the British Broadcasting Corporation (BBC) (4) ดูเหมือนว่าจะเป็นที่เคารพนับถือเท่าๆ กับ Bank of England ซึ่งเป็นสถาบันทางการเงินของสหราชอาณาจักรเลยทีเดียว, มันคือป้อมปราการที่ทวนกระแสอิทธิพลของอเมริกันเกี่ยวกับวัฒนธรรมวลชน ค่อนข้างมากกว่าที่จะเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด

ส่วนหนึ่งของอันนี้ เป็นการสะท้อนถ่ายเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของผู้อำนวยการคนแรกของ BBC, John Reith, และมาตรฐานสูงอย่างแท้จริงต่างๆ ที่เขากำหนดขึ้น และบางส่วนมันเป็นผลลัพธ์ของการเสกสรรค์ขึ้นมาเป็นเรื่องราวอย่างมีพลัง ซึ่งทำตามความต้องการโดยคนหลายๆ คนใน BBC รวมทั้ง Reith ตัวเขาเองด้วย. ท่าทีเกี่ยวกับอำนาจเบ็ดเสร็จของ Reith และรากเหง้า Calvinist (ลัทธินิกายหนึ่งของศาสนาคริสต์) (5) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดีเกี่ยวกับตัวเขา

คนเหล่านี้ได้ถูกเขียนภาพการ์ตูนล้อเลียนง่ายๆ และมันเป็นอันตรายเกี่ยวกับอิทธิพลส่วนตัวของเขาที่โอ้อวดเกินความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษ 1930s แต่อาจมีการตั้งข้อสงสัยกันเล็กน้อยว่า อันนี้ได้ทำให้เขามีความรู้สึกหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงเกี่ยวกับความเป็นธรรมชาติของการคัดสรร(select nature)(ในความรู้ของ Calvinist) ในกลุ่มของบรรดาผู้นำและสถาบันต่างๆ ของสังคม และเกี่ยวกับความเอาจริงเอาจังอย่างมากทางศีลธรรมอย่างสอดคล้องในงานของพวกเขา แต่มันยังเป็นทัศนะหนึ่งเกี่ยวกับชีวิต ในฐานะที่เป็น"การต่อสู้"อันไม่มีวันสิ้นสุด(ceaseless struggle) ระหว่าง "แรงกระตุ้นที่สูงกว่า"กับ"แรงชักนำที่ต่ำกว่า"ด้วย. โดยเหตุนี้ มันจึงเป็นธรรมชาติสำหรับเขาที่จะมองว่า คุณค่าของวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการสอนสั่ง(didactic terms)เป็นเรื่องดีงาม ในฐานะที่เป็นเครื่องมือหรือวิธีการอันหนึ่งในการปรับปรุงตนเอง, ในทางตรงข้ามเขาก็เต็มไปด้วยความระแวงสงสัยเกี่ยวกับความอภิรมย์และความบันเทิงสำหรับวัตถุประสงค์ของตัวมันเอง



วิพากษ์รายการไต่บันไดฟัง และการผูกขาดของ BBC
สิ่งซึ่งครอบงำจิตใจของ Reith กับอำนาจในตำแหน่งหน้าที่และการควบคุม มีบทบาทอย่างสำคัญต่อความเชื่อของเขาที่ว่า ชนชั้นสูงสามารถที่จะรอดได้ ด้วยการกำหนดหรือยัดเยียดเจตจำนงของพวกเขาลงในบุคคลเหล่านั้น ซึ่งไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคุณงามความดี. สำหรับเหตุผลในทำนองเดียวกัน เขาไม่ได้ถูกทำให้รู้สึกมีความประทับใจกับความเป็นไปได้ต่างๆ ทางด้านประชาธิปไตยเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสาร. ประชาธิปไตยในการกระจายเสียง จึงกลายเป็นเพียงการให้บริการโดยการที่สาธารณชนทั้งหลายสามารถเข้าถึงเครื่องมือการสื่อสารได้เท่านั้น, ไม่ใช่ทางเลือก หรือรายการยอดนิยมต่างๆ. ทัศนะของ Reith ในเรื่องศิลปะและวัฒนธรรม ในเชิงคลาสสิค เป็นแบบสมัยใหม่ ความแปลกใหม่ก็คือ เขาได้ประยุกต์มันในทิศทางของสื่ออันหนึ่งผ่านสื่อสารมวลชน

ในเวลาเดียวกัน ดังที่ LeMahieu ได้แสดงให้เห็น มันมีลักษณะที่เป็นเรื่องเล่าโบราณมากมาย และในบางกรณีเป็นการหลอกลวงต้มตุ๋นอย่างสมบูรณ์แบบ อันนี้ไม่ใช่พูดถึงการต้มตุ๋นตัวเองในทัศนะนี้เกี่ยวกับช่วงปีแรกๆ ของ BBC. การให้ความเอาใจใส่กับมาตรฐานต่างๆ ที่สูง ได้ปรากฏตัวของมันเองออกมา บ่อยครั้งในสถานการณ์ต่างๆ ที่น่าขันเกี่ยวกับการครอบงำทางด้านจิตใจโดยความน่าเคารพนับถือทางสังคม. เกร็ดประวัติเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้มีอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการให้บรรดาผู้อ่านข่าวทั้งหลายสวมใส่เสื้อผ้าในชุดราตรี, หรือข้อห้ามไม่ให้ทีมงานที่มีการหย่าร้างอ่านข้อความส่งท้ายประเภท Epilogue (หมายถึงคติสอนใจ ซึ่งอาจเป็นสุภาษิตสั้นๆ ตบท้าย) (6) ซึ่งอันนี้เป็นช่วงสั้นๆ ทางศาสนาก่อนปิดท้ายรายการถ่ายทอดสัญญานในแต่ละวัน

ความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ผูกพันกับการทำนุบำรุงมาตรฐานต่างๆ ในงานอาชีพดังกล่าวในการกระจายเสียง โดยผ่านการแต่งตั้งคนที่ดีที่สุดสำหรับงานนั้นๆ อันที่จริงแล้ว บ่อยครั้ง หมายถึงคนที่ว่าจ้างมาจากคนที่จบจากโรงเรียนที่ดีๆ นั่นเอง. สิ่งซึ่ง LeMahieu เผยให้เห็นความผิดพลาดอย่างรุนแรงก็คือ ปกรณัมเกี่ยวกับวัฒนธรรมชนชั้นกลางซึ่ง BBC ได้ผูกมัดกับการก่อตัวขึ้นมาของมัน. ชั่วโมงอันยาวนานของเพลงคลาสสิค, การพูดคุยอย่างไม่มีวันจบสิ้น(รายการสนทนาทางวิทยุ), ไม่มีพื้นฐานรองรับใดๆ ที่ทำให้เชื่อว่าทุกๆ คนต้องการจะฟังสิ่งเหล่านี้อย่างแท้จริง ไม่แม้กระทั่งชนชั้นกลางที่มีการศึกษาซึ่ง BBC กล่าวถึงอย่างมีสำนึกมากที่สุด

แน่นอน มันไม่มีแรงกดดันทางด้านธุรกิจต่อ BBC ด้วย เพื่อจะให้ความรื่นเริงหรือความพอใจสำหรับสิ่งที่แตกต่างอันหนึ่งหรือผู้ฟังในวงกว้าง ทั้งนี้เพราะ มันผูกขาดการกระจายเสียงวิทยุแต่เพียงผู้เดียวมาตลอดจนกระทั่งปีทศวรรษ 1960s. แม้ว่า Reith จะให้การยอมรับความมีเหตุมีผลของทางเลือกป๊อปปูล่าร์ ในฐานะที่เป็นพื้นฐานอันหนึ่งของนโยบายเกี่ยวกับรายการก็ตาม แต่ก็ไม่มีกลไกอะไรเกี่ยวกับการวิจัยกลุ่มผู้ฟัง เพื่อค้นหาว่า "อะไรคือสิ่งที่ผู้คนทั้งหลายต้องการที่แท้จริง ?"

มันเป็นเรื่องที่น่าสังเกต ยกตัวอย่างเช่น BBC มีความตั้งใจหรือเจตนาอะไรที่จะต้องถ่ายทอดรายการดนตรี ซึ่งตามปกติจะมีผู้คนจำนวนไม่มากนักจะออกไปฟังดนตรีประเภทนี้. LeMahieu อ้างพยานหลักฐานของ Percy Scholes ผู้ซึ่งอ้างว่า ครั้งหนึ่ง มีเขาอยู่ด้วยในคนเพียง 4-5 คนซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฟังคอนเสริทที่กำลังแสดงอยู่ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดรายการของดนตรีร่วมสมัยสำหรับออกอากาศ. แม้ว่า BBC จะอ้างอยู่บ่อยๆ ว่า ได้จัดผังรายการอย่างสมดุลย์แล้วก็ตาม แต่รายละเอียดของรายการจริงๆ ที่นำเสนอออกมา มันเป็นไปในอีกลักษณะหนึ่ง

ดนตรีคลาสสิคเป็นตัวอย่าง จะถูกจัดตารางตามปกติในช่วงที่มีผู้ฟังสูงสุดเสมอคือ ช่วงระหว่างเวลา 20.00 - 22.30 น. ในช่วงวันธรรมดา. ในทางตรงข้าม ดนตรีเต้นรำได้ถูกจัดตารางหรือผังรายการเอาไว้หลัง 22.30 น.ไปแล้ว. ในความเห็นของ LeMaheiu, "[BBC]โดยสำนึกแล้ว ได้สร้างภาพอุดมคติอันหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับความเปราะบาง พวกเขาไม่เคยเลยที่จะเข้าใจอย่างแท้จริงถึงขนบประเพณีวัฒนธรรมของชนชั้นกลาง ซึ่ง BBC มักอ้างหรือป่าวประกาศว่าเป็นวัฒนธรรมที่แท้และเป็นธรรมชาติของชาติ (LeMaheiu, 1988, p.182)

ถึงแม้ว่า BBC จะยังคงถ่ายทอดรายการดนตรีต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ทราบอยู่แล้วว่าจะมีคนฟังเพียงกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น - แต่อย่างไรก็ตาม มีอีกรายการหนึ่งที่เป็นตัวอย่าง เริ่มขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2, ซึ่งกระตุ้นความสนใจของผู้คน - ได้เข้ามาจู่โจมรายการของชนกลุ่มน้อยของ BBC ที่ค่อยๆ เพิ่มพูนขึ้นที่ละเล็กทีละน้อยในทศวรรษ 1930s. สำหรับรายการที่เป็นทางเลือกต่างไปจาก BBC ได้ปรากฏขึ้นมาก็คือ รายการเพลงป๊อป(popular music) รายการดังกล่าวนี้ ถ่ายทอดมาจากสถานีหลายแห่งในต่างประเทศ อย่าง Radio Luxembourg

การเปลี่ยนแปลงของ BBC
อิทธิพลส่วนตัวของ John Reith ได้เริ่มเสื่อมลงตามลำดับอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เหมือนกับขนาดขององค์กรที่เขาใช้ความคิดสร้างขึ้นมา โดยในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930s ความเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งได้เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ในทิศทางเกี่ยวกับรายการสนทนาซึ่งมีจำนวนผู้ฟังนิยมกันมาก: ชั่วโมงของการออกอากาศได้ถูกขยายเพิ่มขึ้น มีความหลากหลายมากขึ้น ความบันเทิงเบาๆ ก็มีการออกอากาศด้วย และมันเป็นการเปลี่ยนแปลงไปจากการจัดสรรเงินทุนให้แก่ดนตรีคลาส
สิคไปสู่ดนตรีป๊อป

ดนตรีคอนเสริทที่แสดงในห้องเพื่อสาธารณชนไม่ได้ถูกทำให้สะดุดหยุดลง แต่รายการสนทนาเป็นจำนวนมากก่อนหน้านี้ได้ถูกทำให้น้อยลง และรายการต่างๆ ในรูปแบบของนิตยสาร(ทางอากาศ) หรืออย่างที่เรียกว่า magazine format ได้รับการเสนอขึ้น. BBC ได้ละทิ้งท่าทีหรือทัศนคติ Sabbatarian (คนที่มีความเชื่อในลัทธิบูชาศาสนาดังกล่าว)ไปสู่การถ่ายทอดวันอาทิตย์ และเปลี่ยนไปสู่สาระเบาๆ สไตล์ของนิตยสารและการแนะนำรายการที่ชื่อว่า, the Radio Time.

นัยสำคัญที่สุดเหนืออื่นใดก็คือ ความน่าประหลาดใจในช่วงแรกเกี่ยวกับเบื้องหลังในการโฆษณา ซึ่งได้มีการพัฒนาเทคนิคบางอย่างขึ้นเกี่ยวกับการวิจัยกลุ่มผู้ฟัง เพื่อผลของการโฆษณา. โดยในช่วงเริ่มต้น ของสงครามโลกครั้งที่ 2. ตามความเห็นของของ LeMahieu, คู่มือ BBC ได้ก้าวไปไกลจนยอมรับความมีเหตุมีผลเกี่ยวกับหลักการต่างๆ ของผู้บริโภค ในนโยบายเกี่ยวกับการถ่ายทอดและการจัดทำผังรายการ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เชิงอรรถ

(1) The Daily Mail is a British newspaper and the oldest tabloid, first published in 1896. It is Britain's second biggest-selling daily newspaper after The Sun and arguably the most right wing in viewpoint. Its sister paper, the Mail on Sunday was launched in 1982, and an Irish version of the paper was launched on 6 February 2006. The Daily Mail was Britain's first daily newspaper aimed at what is now considered the middle-market and the first to sell 1 million copies a day.

(2) The Potemkin was a pre-dreadnought battleship (Bronenosets) of the Russian Black Sea Fleet. It was built at the Nikolayev shipyard from 1898 and commissioned in 1904. The name is in honour of Grigori Aleksandrovich Potemkin, a military figure of the 18th century.

The ship was made famous by the Battleship Potemkin uprising, a rebellion of the crew against their oppressive officers in June of 1905 (during the Russian Revolution of 1905). It later came to be viewed as an initial step towards the Russian Revolution of 1917, and was the basis of Sergei Eisenstein's silent film The Battleship Potemkin.

(3) Sergei Mikhailovich Eisenstein (January 23, 1898 - February 11, 1948) was a revolutionary Soviet film director and film theorist noted in particular for his silent films Strike, Battleship Potemkin and Oktober. His work vastly influenced early film makers owing to his innovative use of and writings about montage.

(4) BBC : The original British Broadcasting Company was founded in 1922 by a group of telecommunications companies (including subsidiaries of General Electric and AT&T) to broadcast experimental radio services. The first transmission was on 14 November of that year, from station 2LO, located at Marconi House, London.

The Company, with John Reith as general manager, became the British Broadcasting Corporation in 1927 when it was granted a Royal Charter of incorporation and ceased to be privately owned. It started experimental television broadcasting in 1932 using an entirely mechanical 30 line system developed by John Logie Baird. (รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/BBC)

(5) Calvinism is a theological system and an approach to the Christian life that emphasizes the rule of God over all things.[1] Named after John Calvin, it falls within the realm of Protestant Christianity and is sometimes called the Reformed tradition, the Reformed faith, or Reformed theology.

The Reformed tradition was advanced by theologians such as Martin Bucer, Heinrich Bullinger, Peter Martyr Vermigli, and Huldrych Zwingli and also influenced English reformers such as Thomas Cranmer and John Jewel. Yet due to John Calvin's great influence and role in the confessional and ecclesiastical debates throughout the 17th century, the tradition generally became known as Calvinism. Today, this term also refers to the doctrines and practices of the Reformed churches, of which Calvin was an early leader, and the system is best known for its doctrines of predestination and total depravity.
(รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดูที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Calvinist)

(6) epilogue, or epilog, is a piece of writing at the end of a work of literature or drama, usually used to bring closure to the work. The writer or the person may deliver a speech, speaking directly to the reader, when bringing the piece to a close, or the narration may continue normally to a closing scene.

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65