โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 04 August 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๒๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (August, 04, 08,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

advocacy journalism ส่วนใหญ่จะเป็นนิตยสารที่เสนอเรื่องราวข้อเท็จจริง และให้การสนับสนุนความคิดเห็นอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ และมักสนใจในเรื่องปัญหาสังคม นโยบายรัฐบาล การคอรัปชั่นทางการเมือง หรือเรื่องของบรรษัทธุรกิจต่างๆ เป็นต้น. ในช่วงแรกๆ มักตั้งชื่อแบบแข็งกระด้าง ทื่อๆ และชนตรงๆ กับองค์กรสื่อส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะที่ชื่อที่ต่อต้านทางวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก จะไปเชื่อมโยงกับการต่อสู้เรื่องสีผิว. มันเป็นการฟื้นคืนของสื่อทางเลือกและสิ่งพิมพ์เล็กๆ หลังจากยุคสมัยการเสื่อมโทรม (คัดมาบางส่วนจากบทความ)
04-08-2550

Alternative Media
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

บทความแนะนำหนังสือ เกี่ยวกับเรื่อง"สื่อทางเลือก"
อารัมภบทเกี่ยวกับหนังสือเรื่อง สื่อทางเลือก ของ Chris Atton
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการแปลและเรียบเรียงชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ในการแนะนำ
หนังสือเกี่ยวกับสื่อทางเลือก (alternative media) ซึ่งปัจจุบัน
บางส่วนได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อว่าสื่ออิสระ (independent media)
เนื่องจากชื่อแรกค่อนข้างโยงไปเกี่ยวข้องกับความเป็นชายขอบ
บทความชิ้นนี้ แม้ว่าจะเป็นการอารัมภบทเกี่ยวกับหนังสือเรื่อง
Alternative Media ซึ่งเขียนโดย Chris Atton แล้ว
ยังได้ให้ภาพความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อทางเลือก กระบวนการผลิต
การแพร่กระจาย และความเป็นประชาธิปไตยเกี่ยวกับการสื่อสาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นมาของสื่ออิเล็กทรอนิกและคอมพิวเตอร์
ได้ทำให้สิ่งเหล่านี้มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น

ในส่วนเสริมของบทความชิ้นนี้ ผู้แปลและเรียบเรียงได้เพิ่มเติม
ภาคผนวกเข้ามาเพื่อสร้างความเข้าใจ และได้ทำเชิงอรรถอธิบายศัพท์เทคนิค
ทางด้านสื่อเพื่อให้ความกระจ่างสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษางานวิชาการทางด้านนี้
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงเว้นวรรค และย่อหน้าใหม่
และเพิ่มเติมหัวข้อเพื่อให้เหมาะสมกับการนำเสนอบนเว็บเพจ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเท่านั้น

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๒๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความแนะนำหนังสือ เกี่ยวกับเรื่อง"สื่อทางเลือก"
อารัมภบทเกี่ยวกับหนังสือเรื่อง สื่อทางเลือก ของ Chris Atton
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ALTERNATIVE MEDIA
Chris Atton 2002
SAGE Publications

ในหนังสือที่ได้รับการเขียนขึ้นมาอย่างประณีตเรื่อง Why Study the Media? ของ Roger Siverstone (1999 : 103) (1) ยืนยันว่า สื่อทางเลือกได้สร้างพื้นที่ใหม่ให้กับเสียงทางเลือก alternative voice ที่นำเสนอหรือมีพื้นที่ให้กับความเอาใจใส่ของชุมชนโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับที่มันมีความคิดในเชิงตรงข้าม มีความขัดแย้งและมีลักษณะในการล้มล้างต่างๆ - นั่นคือหัวข้อที่ให้ความสนใจของหนังสือเล่มนี้

Silverstone ได้พูดถึงเกี่ยวกับงานทางเทคนิคของสื่อสารมวลชน ในการติดตามวิพากษ์วิจารณ์หรือนำเสนอวาระทางเลือก(alternative agenda) จากชายขอบต่างๆ ดังที่มันทำอยู่ หรือจากมุมมืดรวมไปถึงจุดอ่อนของชีวิตทางสังคมว่า มันถูกกระทำอย่างไร และมีความหมายอะไรต่อผู้คนซึ่งสร้างมันขึ้นมา? เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นปัญหาที่หนังสือเล่มนี้ให้ความสนใจ

เพื่อจะตัดสินว่า สื่อทางเลือกคืออะไร และพวกมันที่อาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นสื่อทางเลือกได้นั้นด้วยเหตุผลใดบ้าง? คือภารกิจที่ไม่ง่ายนักที่จะประสบความสำเร็จ (อันที่จริง ส่วนใหญ่ของหนังสือเล่มนี้ได้พยายามปลุกปล้ำกับพื้นฐานต่างๆ ดังที่กล่าวโดยตลอด). สำหรับส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว ในการสนทนาถึงงานของผู้เขียนกับบรรดาเพื่อนร่วมงาน ข้าพเจ้ามักจะถามคำถามบางอย่างเสมอ คือ

ข้อแรก, คือ สื่อทางเลือกยังคงมีอยู่หรือไม่ ? สำหรับคำถามนี้ สื่อทางเลือกหมายถึงสื่อสิ่งพิมพ์ใต้ดินที่มีขึ้นในช่วงทศวรรษ 1960s (อย่างเช่น Village Voice และ The Rat ในสหรัฐอเมริกา, Oz และ IT ในประเทศอังกฤษ เป็นต้น) คำถามดังกล่าวเป็นไปในเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งกำหนดให้สื่อเหล่านี้ในฐานะที่เป็นสื่อกลางหรือการส่งผ่านถ่ายทอดเรื่องของการต่อต้าน หรือสวนกลับต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรม - และยังได้พิจารณาพวกมันในฐานะธุรกิจที่กล้าได้กล้าเสียของอดีต. ถ้าหากว่าเป้าประสงค์ของพวกเขาไม่บรรลุผล อย่างน้อยที่สุด พวกมันก็จะถูกทอดทิ้ง เมื่อบรรดาบรรณาธิการทั้งหลาย นักเขียน และผู้อ่านหนีหายไปสู่กิจกรรมต่างๆ ที่สุกงอมกว่า

คำตอบง่ายๆ ต่อคำถามข้อแรกคือ แน่นอน พวกเขาทำดังที่เห็นกันอยู่ดาษดื่น ไกลไปจากการหดหายไปในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970s สื่อทางเลือกได้แตกหน่อผลิใบ การเกิดขึ้นมาของ fanzine (2) หรือนิตยสารที่ทำขึ้นโดยบรรดามือสมัครเล่น ที่อุทิศเนื้อหาให้กับวัฒนธรรมย่อย หรือเรื่องที่สนใจโดยเฉพาะ ในฐานะส่วนหนึ่งที่สำคัญของวัฒนธรรมย่อยของพวกพั๊งคในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970s ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการให้กำเนิดคลื่นลูกที่สองของสิ่งตีพิมพ์ของพวกใต้ดิน ที่มีความเกี่ยวโยงกันอย่างมากกับเรื่องการเมืองและเรื่องของเสรีภาพ ปฏิบัติการโดยตรงและลัทธิอนาธิปไตยอย่างที่พวกเขาทำกับเพลงป๊อป

ขณะที่สิ่งพิมพ์ใต้ดินในช่วงทศวรรษที่ 1960s, fanzine พั๊งคในช่วงทศวรรษที่ 1970s และสิ่งพิมพ์ที่เป็นปฏิบัติการโดยตรงของทศวรรษที่ 1990s ได้ให้ตัวอย่างที่ อย่างน้อยที่สุด มีความสอดคล้องกันทางการเมืองและวัฒนธรรม (แม้ว่ารูปลักษณ์ที่ปรากฏจะมีความแตกต่าง - ในช่วงเวลาดังกล่าว สิ่งที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งเราสามารถพูดได้เกี่ยวกับบรรดา fanzine พั๊งคก็คือว่า มันนำเอาอิทธิพลมาจากสิ่งพิมพ์ของพวกฮิปปี้) - ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ที่ว่า สิ่งเหล่านี้จะทำให้รายชื่อที่จะรวมเข้าอยู่ในความเป็นสื่อทางเลือกต้องสูญเสียพลังของมันลงไป

คำถามต่อมาคือ เราใช้คำว่า"ทางเลือก"(alternative) ในฐานะที่เป็นลิ้นชักสำหรับใส่ของจิปาถะที่ไม่อาจจัดเข้าพวกกับอะไรได้ ของบรรดาตัวแทนจำหน่ายหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารท้องถิ่น ใช่ไหม? หรือมันเป็นคำพ้องหนึ่งกับคำว่า"ใต้ดิน"(underground), "พวกสุดขั้วหัวรุนแรง", "พวกที่คิดตรงข้าม" กระทั่งพวก"งานพิมพ์ที่ลักลอบซึ่งถูกแบนในโลกคอมมิวนิสท์หรือยุโรปตะวันออก ที่เรียกกันว่าsamizdat (3) ใช่หรือไม่?

เราอาจมองไปไกลเกินกว่ารูปแบบงานพิมพ์ไปสู่วิดีโอ (ตัวอย่างเช่น ผลงานของ Videofreex ของช่วงทศวรรษที่ 1970s หรือนักทำวิดีโอในช่วงทศวรรษที่ 1990s); โทรทัศน์(เครือข่ายสัญญานดาวเทียมของพวก Deep Dish หัวรุนแรงในสหรัฐอเมริกา หรือสถานีโทรทัศน์ของชุมชนท้องถิ่นในประเทศอังกฤษ); วิทยุ (สถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีคลื่นรัศมีทำการไม่มากนักของท้องถิ่น); และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ รูปแบบผสมผสานของการสื่อสารและสื่อบนระบบอินเตอร์เน็ต และ World Wide Web ที่สามารถทำได้

โดยไม่ต้องย้อนกลับไปอ้างอิงประวัติศาสตร์. ช่วงทศวรรษ 1960s พวกสุดขั้วใต้ดินอังกฤษในช่วงเวลาดังกล่าว ที่ได้หยิบเอาช่องทางของพวกเขามาจากหนังสือพิมพ์หัวรุนแรงภาษาอังกฤษของคริสตศตวรรษที่ 18 และช่วงต้น 19 อย่างเช่น Black Dwarf, โดยหยิบฉวยเรื่องราวทางการเมืองในเชิงปฏิวัติ และชื่อของพวกมันมาจากบรรพบุรุษเหล่านั้น

เราอาจไม่พิจารณาว่า แผ่นพับที่กระตุ้นปลุกเร้าอารมณ์ให้ดาลเดือดของ Abiezer Coppe ที่เขียนขึ้นในช่วงระหว่างการปฏิวัติอังกฤษ ในฐานะที่เป็นสื่อทางเลือกด้วย? บนสองฝากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก องค์กรต่างๆ ของชนชั้นผู้ใช้แรงงานและชุมชุนทั้งหลาย ได้มีการผลิตสื่อของพวกเขาเองขึ้นมา อย่างน้อยที่สุด เมื่อสองศตวรรษมาแล้ว. ปัจจุบันได้แยกออกจากกันอย่างถาวร สำหรับขนบจารีตของสังคมนิยมและลัทธิอนาธิปไตย ซึ่งครั้งหนึ่งค่อนข้างใกล้ชิดกันมาก ในการให้ความใส่ใจเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อที่มีค่านิยมทางการเมือง: โครงการเหล่านี้รุ่งเรืองเฟื่องฟูในช่วงระหว่างปลายคริสตศตวรรษที่ 18 และต้น 19

นอกจากนี้ เราสามารถที่จะผนวกการพิมพ์ต่างๆ ของขบวนการเคลื่อนไหวสังคมใหม่(new social movement), เรื่องการเมืองและเรื่องเพศ, เรื่องของสิ่งแวดล้อม, ความเคลื่อนไหวของชาวเกย์, เลสเบียน และบรรดานักสตรีนิยมทั้งหลายเข้าไปด้วยกับสื่อทางเลือกได้. อันที่จริงไม่ใช่จะยุติเพียงเท่านี้ แต่การตรวจตราอย่างกว้างขวางและครอบคลุมเกี่ยวกับสื่อทางเลือก เกือบเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เอาเลย (โดยไม่ได้หมายความว่า ความพยายามต่างๆ นั้น ปราศจากคุณค่า: Atton, 1996 และ Noyce, 1979 ได้เสนอแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเรื่องราววรรณคดี ซึ่งทั้งคู่มีผลงานจำนวนไม่น้อยในยุคของพวกเขา)

ชื่อหนังสือจำนวนมากได้แพร่กระจายไปในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ หรือกลุ่มพวกหัวกระทิจำนวนไม่มากนัก ส่วนใหญ่ชื่อหนังสือเหล่านี้ไม่เคยปรากฎในร้านหนังสือ หรือบรรดาตัวแทนจำหน่ายสิ่งพิมพ์ต่างๆ และบรรดาหนังสือเหล่านี้ส่วนมาก ได้ยุติการพิมพ์หลังจากได้เผยแพร่ออกมาได้เพียงเล็กน้อยและชั่วระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น. ใน Edinburgh, Scotland สถานที่ซึ่งข้าพเจ้าทำงานอยู่ เป็นที่น่าสงสัยว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับ Auld Reekie's New Tattoo? The Stockbridge และ Newtown Rocket? Scottish Anarchist? บางทีสิ่งพิมพ์ที่เอ่ยถึงพวกนี้ได้ปิดตัวลงไปแล้ว ผลงานตีพิมพ์เหล่านี้ถือว่าใช้ได้ กล่าวคือ ความปรารถนาของพวกมันได้บรรลุผลสำเร็จพอสมควร, หรือบางทีการที่มันหายไปเนื่องมาจากเงินทุนที่ร่อยหรอลงไปจนหมด, ไม่มีใครอยากเผยแพร่มันต่อ หรืออาจบางทีเป็นไปได้ที่ว่าไม่มีใครใส่ใจมันมากพอในปัจจุบัน

หนังสือเล่มนี้(Alternative Media) มิได้พยายามที่จะทำหน้าที่สำรวจตรวจตราอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสื่อทางเลือก และไม่ใช่หนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรม, การเมือง, และไม่ใช่เรื่องของประวัติศาสตร์ด้วย แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเมินเฉยต่อประวัติความเป็นมาเสียทีเดียว อันที่จริง ส่วนใหญ่แล้วหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องของข้อถกเถียงเชิงเหตุผลของผู้เขียน แม้จะไม่มีความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ แต่อย่างน้อยที่สุดก็สอดคล้องกับเรื่องราวอดีตในระดับหนึ่ง หรือในอีกระดับหนึ่งในที่นี้ หวังว่าการศึกษาถึงเรื่องราวดังกล่าวจะวางอยู่ในบริบทประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสื่อทางเลือกในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา มากยิ่งกว่าที่จะพยายามให้เป็นไปในทำนองประวัติศาสตร์ ซึ่งมุ่งไปอย่างอาจหาญบนความเกี่ยวกันกับเรื่องการเมืองและวัฒนธรรม และราบเรียบไปกับความแตกต่างทางสังคมและเศรษฐกิจในความเร่งด่วนของมันที่ก่อรูปการอภิปรายเกี่ยวกับสื่อทางเลือก

ผู้เขียนได้วางการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ลง ณ จุดเชื่อมต่อที่เหมาะสม ซึ่งการศึกษาร่วมสมัยและบันทึกประวัติศาสตร์สามารถที่จะส่องแสงให้ความสว่างแก่กันและกัน ข้าพเจ้าไม่ปรารถนาที่จะเขียนเรื่องราว (อย่างน้อยที่สุด) 200 ปีที่แล้วขึ้นมาใหม่ เกี่ยวกับการต่อสู้ของประชาชนและโครงการประชาธิปไตยแบบสุดขั้วต่างๆ แม้ว่าทั้งหมดนั้น พวกมันจะบอกกับเราว่า มันคือเรื่องราวเกี่ยวกับ"สื่อทางเลือก"ก็ตาม. โดยเหตุข้างต้น การศึกษาในที่นี้จึงเริ่มต้นขึ้นมาจากสื่อทางเลือกของทศวรรษที่ 1990s ด้วยเหตุผลหลัก 2 ประการ คือ

1. นี่คือยุคของสื่อทางเลือก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี; จากงานวิจัยของตัวผู้เขียนเองได้ระบุถึงวันเวลาที่ได้ให้ความใส่ใจถึงทศวรรษนั้น
2. แม้ว่าการศึกษาเกี่ยวกับสื่อทางเลือกจำนวนมากจะมีรายละเอียดไม่น้อยในแต่ละยุค แต่ในช่วงทศวรรษ 1990s โดยเฉพาะ กลับถูกนำเสนอหรือให้ภาพที่ยังไม่ดีพอ

โชคไม่ดี การปรากฎตัวขึ้นมานั้นในบรรดาสิ่งพิมพ์อิสระและด้วยสัดส่วนจำนวนไม่มากของทศวรรษดังกล่าวดังที่เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปะทุของ fanzine และนิตยสารต่างๆ นับจากทศวรรษที่ 1980s ขบวนการสังคมใหม่ ได้ให้ความสนใจลงไปที่เรื่องราวของสิ่งแวดล้อมและเรื่องของอนาธิปไตย รวมไปถึงการโผล่ออกมาของบริวารที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้โดยตรง และบรรดารากหญ้าทั้งหลายที่รวมตัวกัน และการประท้วงต่างๆ ซึ่งได้พิสูจน์ถึงรากเหง้าที่มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับผลผลิตเกี่ยวกับสื่อทางเลือก ขณะที่มันไม่มีความขาดแคลนเกี่ยวกับงานเขียนในขบวนการดังกล่าว แต่สื่อต่างๆ ของพวกเขาส่วนใหญ่กลับไม่ถูกจับต้องหรือเข้าถึง

สุดท้าย จะมีการพูดถึงการฉวยใช้ประโยชน์ของสื่ออิเล็กทรอนิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทิวแถวของการสื่อสารผ่านตัวกลางคอมพิวเตอร์อันเป็นวิธีการที่ใช้ข้ามผ่านระบบอินเตอร์เน็ต. แม้ว่ามันจะมีลำดับการอันกว้างขวางของปฏิบัติการสื่อต่างๆ เหล่านี้ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ โดยประการแรก ข้าพเจ้าจะดึงเอาตัวอย่างต่างๆ จากสื่อกลางประเภทสื่อสิ่งพิมพ์และคอมพิวเตอร์ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกามานำเสนอ (แม้ว่าสิ่งซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญหรือคนมีความรู้จำนวนมากจะมีความเชื่อเหมือนเรา หน้าตาสิ่งพิมพ์พวกนี้มันดูไกลห่างจากภาวะที่ร่อแร่ใกล้ตาย และไม่มีที่ไหนที่มันจะปรากฏตัวขึ้นมาอย่างมีพลังมากเกินไปกว่าการแสดงต่างๆ ในลักษณะทางเลือกของมัน)

ในที่นี้จะไม่มีการขอภัยสำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างพวกนี้จำนวนมาก กล่าวคือ ในเรื่องที่ยังคงพัฒนากันอยู่ และที่ซึ่งในบางวงการ กรณีที่มันยังคงต้องได้รับการสร้างขึ้นมา ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะนำเสนอกรณีศึกษาบางอย่าง ซึ่งบางครั้งมุ่งไปยังเรื่องชาติพันธุ์วรรณา และบางคราวเป็นการนำเสนอการอ่านในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับองค์กรสื่อและข้อเขียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเหล่านี้จะไปสัมพันธ์กับการศึกษาสื่อต่างๆ ของขบวนการสังคมใหม่ ที่ซึ่งข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลของข้าพเจ้าได้ดำเนินการมาจากการวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับองค์กรปฏิบัติการข้างต้น รวมไปถึงงานเขียนและผลผลิตทางความรู้. ข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลเหล่านี้ จะได้รับการประยุกต์สู่ลำดับการอันกว้างขวางเกี่ยวกับผลผลิตของสื่อทางเลือกต่างๆ อย่างเช่น สื่อทั้งหลายของชุมชนด้วย

อย่างแรก งานชิ้นนี้จะเริ่มด้วยเรื่องของปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับนิยามความหมายที่แวดล้อมการศึกษาเกี่ยวกับสื่อทางเลือก และดำเนินต่อไปถึงเรื่องราวการตรวจตราตัวอย่างต่างๆ เกี่ยวกับปฏิบัติการสื่อชุดหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างยากที่จะอธิบาย ขณะเดียวกันก็ต้องการชื่อเรียกสักชื่อ โดยเรียกมันว่า"สื่อทางเลือก". โดยการให้นิยามความหมาย จะเริ่มต้นตั้งแต่บทแรก นอกจากการพยายามนิยามความหมายเกี่ยวกับสื่อทางเลือกในทางเนื้อหาแล้ว ยังจะมีการนำเสนอกรอบโครงสร้างทฤษฎีและวิธีการที่ได้รวบรวมเนื้อหาเข้ามาในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในวัฒนธรรมสื่อทางเลือก ซึ่งได้รับการให้ความสนใจเท่าๆ กันกับกระบวนการและความสัมพันธ์ที่ได้ก่อรูปรายรอบผลผลิตสื่อทางเลือก นั่นคือ ส่วนใหญ่ ข้าพเจ้าจะให้นิยามสื่อทางเลือกโดยสมรรถภาพของพวกมัน ที่ได้ให้กำเนิดสิ่งที่ไม่ใช่มาตรฐาน, บ่อยครั้งเป็นการละเมิดหรือฝ่าฝืน, เป็นเรื่องของการสร้างสรรค์, อันเป็นผลผลิตและการแพร่กระจายเนื้อหาของพวกมัน. แน่นอน ทั้งคู่แทบจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ในบางครั้ง

ปฏิบัติการสุดขั้วของการ collage (4) หรือการปะปิดภาพในนิตยสารประเภทพั๊งค เป็นวิธีการอันหนึ่งของกระบวนการผลิตดังกล่าว ในทำนองเดียวกัน ปฏิบัติการต่อต้านลิขสิทธิ์ก็ได้กระตุ้นสนับสนุนผู้อ่านจัดทำสำเนาหรือคัดลอกงานพิมพ์ของอีกคนมาเป็นของตนเอง เช่นเดียวกับการจัดหาวัตถุดิบสำหรับชื่อเรื่องต่างๆ ใหม่ๆ. นอกจากนี้ยังให้ความเอาใจใส่กับความคิดของ Benjamin (1934/1982) เกี่ยวกับตำแหน่งและท่าทีในการโฆษณาชวนเชื่อ มากยิ่งกว่าเพียงการผลิตซ้ำข้อถกเถียงในฐานะที่เป็นเนื้อหาในการโฆษณา ที่ Benjamin ถือว่า, สำหรับการโฆษณาชวนเชื่อที่มีประสิทธิผล สื่อในตัวของมันเองต้องการการแปรสภาพ นั่นคือ ตำแหน่งของผลงานในความสัมพันธ์กับวิธีการผลิตจะต้องได้รับการปรับใหม่ในเชิงวิพากษ์ มิใช่เพียงข้อถกเถียงบนหน้ากระดาษเท่านั้น. อันนี้เรียกร้องต้องการไม่เพียงความสุดขั้วเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ของการผลิต แต่หมายถึงการคิดใหม่เกี่ยวกับเรื่องของผู้ผลิตสื่อด้วย

สื่อทางเลือก เป็นเรื่องของการนำเสนอวิธีการสำหรับการสื่อสารที่เป็นประชาธิปไตยอย่างสำคัญยิ่ง สู่ผู้คนซึ่งตามปกติแล้วได้ถูกกีดกันออกไปจากการผลิตสื่อ. พวกเขาเกี่ยวข้องกับสื่อไปตามแนวทางที่สามารถมีส่วนร่วมและสะท้อนกลับ. Raymond Williams (1980s) ได้เน้นแง่มุม 3 ประการของการสื่อสารที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งเราอาจจะนำมาพิจารณาในฐานะที่เป็นการโฟกัสต่างๆ สำหรับการปรับใหม่อันนี้ นั่นคือ

- decapitalization (การไม่มีลักษณะที่ทำให้เป็นทุน)
- deprofessionalization (การไม่มีลักษณะที่ทำให้เป็นอาชีพ)
- deinstitutionalization (การไม่มีลักษณะที่ทำให้เป็นสถาบัน)

(โดยสรุปในเบื้องต้นที่นี้ก็คือ ลักษณะของสื่อทางเลือก อย่างน้อยที่สุดจะประกอบด้วยลักษณะที่ non-standard, creative, Collage, Anti-copyright, Critical propaganda, democratic communication)

บทต่อๆ มาของหนังสือจะรวบรวมตัวอย่างต่างๆ ในรายละเอียดเกี่ยวกับว่า โครงร่างที่นำเสนอในบทที่ 1 สามารถที่จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสื่อทางเลือกร่วมสมัยได้อย่างไร? กล่าวคือ ในบทที่ 2 จะตรวจสอบเรื่องของ"การไม่มีลักษณะที่ทำให้เป็นทุน"(decapitalization) ซึ่งเป็นหน้าที่หนึ่งของเรื่องเศรษฐศาสตร์การผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ให้ความสนใจในการกระจายตัวและการเผยแพร่ของสิ่งพิมพ์ทางเลือก ทั้งในส่วนของพื้นที่สาธารณะทางเลือก(alternative public sphere)ของมัน และในความพยายามที่จะทะลุทะลวงความแออัดของตัวมันไปสู่ผู้อ่านที่กว้างขวางมากขึ้น

ณ แก่นแกนที่เป็นหัวใจของบทที่ 2 นี้คือ การสำรวจเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ทางเลือก ในฐานะที่เป็นอุตสาหกิจทางเศรษฐกิจที่สุ่มเสี่ยงอันหนึ่ง แม้ว่าจะมีใครบางคนพยายามแสวงหาช่องทางจากสื่อทางเลือกไปสู่สื่อกระแสหลักในการทำธุรกิจ แต่ในเวลาเดียวกันมันก็พยายามค้นหาเพื่อที่จะพบวิธีการต่างๆ ในลักษณะที่เป็นองค์กรทางเลือกด้วย. บทนี้ยังมีการตรวจตราไปถึงเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตซ้ำเอกสารต่างๆ (reprographic technologies) ที่ถูกใช้โดยสิ่งพิมพ์ทางเลือกทั้งหลายนับจากทศวรรษที่ 1960s เป็นต้นมา และการเผยแพร่ของมันและรวมถึงการกระจายตัว เพื่อที่จะวัดหรือประเมินว่ามันได้รับอิทธิพลโดยต้นทุนต่ำอย่างไร? สุดท้ายจะเป็นกาตรวจสอบรูปแบบต่างๆ ของการเผยแพร่อันเป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งพิมพ์ทางเลือก อย่างเช่น การต่อต้านลิขสิทธิ์ และการเผยแพร่แบบเปิด ซึ่งไม่เพียงมีผลกระทบต่อเรื่องเศรษฐกิจ แต่ยังได้นำเสนอแบบจำลองที่สร้างสรรค์และก่อให้เกิดวิธีการที่ทำให้บรรดาผู้อ่านทั้งหลาย กลายไปเป็นผู้ผลิตสื่อต่างๆ

บทที่ 3 จะพัฒนาความสนใจนี้ในเรื่องเศรษฐศาสตร์ สู่การสำรวจตรวจสอบว่า นิตยสารเหล่านี้(และ นิตยสาร fanzine) ได้ใช้วิธีการถูกๆ ต้นทุนต่ำ เกี่ยวกับการส่งเสริมและธำรงรักษาอัตลักษณ์และชุมชนของพวกเขากันอย่างไร?. ในที่นี้เราจะเริ่มต้นทำการสำรวจเกี่ยวกับการไม่มีลักษณะที่เป็นมืออาชีพ (deprofessionalization). นิตยสารพวกนี้ อย่างที่ถกเถียงกันได้ ถือเป็นตัวอย่างที่มีชีวิตชีวามากที่สุดเกี่ยวกับหลักจรรยาที่ว่าด้วย "จงทำมันด้วยตัวคุณเอง"(do-it-yourself) เกี่ยวกับการผลิตสื่อทางเลือก

นิตยสารบางฉบับอาจเป็นนิตยสารที่เขียนขึ้นด้วยลายมือง่ายๆ, ใช้การถ่ายสำเนาถูกๆ, และเย็บเล่มโดยบรรณาธิการนิตยสาร, วิธีดำเนินการเหล่านี้ไม่ต้องการทักษะของการเป็นมืออาชีพแต่อย่างใด. ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่ในวงการอุตสาหกิจสื่อมวลชนต่างมีบทบาทแยกกันโดยสิ้นเชิงตามหน้าที่ แต่ในวัฒนธรรมนิตยสารทางเลือกกลับกลายเป็นความทับซ้อนกัน อธิบายง่ายๆ คือ บ่อยครั้ง บรรณาธิการคือนักเขียนคนเดียว, เป็นคนออกแบบ, เป็นศิลปินปะปิด-ทากาว, เป็นคนปิดเล่มและนำออกเผยแพร่. แม้ว่า วัฒนธรรมนิตยสารจำพวกนี้มีแนวโน้มไปสู่ลัทธิของชนชั้นสูง. ในบทนี้จะทำการสำรวจว่า มีการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกและอินเตอร์เน็ตอย่างไร ในการผลิตนิตยสารดังกล่าว โดยการสื่อสารถ่ายทอดแบบฉบับนี้ของการผลิตสื่อทางเลือก และเปิดทางให้มันเผยแพร่ไปสู่ผู้คนได้กว้างขวางและไกลขึ้น

เมื่อสื่อถูกใช้โดยขบวนการเคลื่อนไหวสังคมใหม่ ความเรียบง่ายของการพิมพ์โดยคนๆ เดียวก็ได้ถูกทอดทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง และปัญหาเกี่ยวกับลักษณะเป็นองค์กรสื่อกลางเพื่อกระตุ้นกลุ่มคนขนาดใหญ่ของบรรดานักกิจกรรมที่ไม่สังกัดสถาบัน(deinstitutionalized)ได้ปรากฏขึ้น. บทที่ 4 จะให้ความเอาใจใส่ไปที่ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ในความเป็นองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งเหล่านั้นเกี่ยวกับหมู่คณะหรือส่วนรวม

ภายในปฏิบัติการสื่อทางเลือก ส่วนใหญ่แล้ว ความคิดนี้จะถูกนำไปเกี่ยวพันกับวิธีการของหมู่คณะเพื่อการทำนโยบาย และการตัดสินใจในเชิงฉันทามติ(consensual decision-making). บทนี้จะตรวจตราว่าแบบจำลองต่างๆ เกี่ยวกับหมู่คณะที่เหมาะสมสำหรับองค์กรปฏิบัติการเหล่านั้นเป็นอย่างไร และโอกาสต่างๆ และการคุกคามที่มีอยู่มีอะไรบ้าง? หมู่คณะเป็นเพียงหุ่นจำลองยูโธเปียเดียว ในทางตรงข้ามกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ได้รับการปฏิบัติโดยชนชั้นสูงกลุ่มเล็กๆ ใช่ไหม? สื่อจำนวนมากได้ให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มคนเพียงหยิบมือ ที่มีความสนใจชอบพอกันที่ทำงานด้วยกันโดยเกือบไม่มีรูปแบบของลำดับชั้นสูงต่ำ และไม่มีระบบเจ้าขุนมูลนาย. คนเหล่านั้นที่เกี่ยวพันกับการผลิตสื่ออาจสนใจในบทบาททางการเมืองมาก่อน เท่าๆ กันกับสิ่งที่พวกเขากำลังเขียน - อีกครั้ง มันเป็นความสนใจในเรื่องของตำแหน่งหน้าที่ ไม่ใช่ในเรื่องของท่าที.

สื่อได้เปิดทางให้พวกเขากันเองมีความเป็นประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ดั่งที่ผู้คนส่วนใหญ่เห็นถึงศักยภาพในการทำงานจากฐานะตำแหน่งต่างๆ เหล่านั้น. วิธีการมีส่วนร่วมอย่างถึงรากเกี่ยวกับองค์กร อาจเป็นรูปแบบที่ดีของแหล่งกำเนิด สำหรับการเปลี่ยนแปลงบรรดาผู้อ่านไปสู่การเป็นผู้เขียน นี่คือหัวข้อที่เป็นแกนหลักของบทที่ 5. กว้างไปกว่านั้น บทที่ 5 ยังตั้งคำถามด้วยว่า ใครเป็นผู้ให้การสนับสนุนส่งเสริมสื่อทางเลือก ? และยังจะมีการจำแนกแยกแยะขอบเขตที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญ และพวกนักเขียนมืออาชีพ ได้ให้การสนับสนุนต่อสื่อของขบวนการเคลื่อนไหวสังคมใหม่

นอกจากนี้จะมีการนำเสนอความคิดเห็นของ"ผู้รายงานข่าวท้องถิ่น" - นักกิจกรรม - นักเขียน ซึ่งเขียนขึ้นจากฐานะตำแหน่งของความเป็นชายขอบ เพื่อที่จะดูดดึงอำนาจสู่ขบวนการทางสังคมซึ่งพวกเขาสังกัด. ท้ายสุด บทนี้จะมีการกล่าวถึงผลผลิตและการรับความรู้จากสื่อทางเลือก. แบบฉบับของความรู้อะไรที่ถูกนำเสนออยู่ ณ ที่นั้น และความรู้นั้นเพื่อใคร? ใครเป็นคนอ่านสื่อพวกนี้? และเพื่อจุดประสงค์อะไร? เราต้องหมายเหตุลงไปด้วยว่า โอกาสของบรรดาผู้อ่านทั้งหมดที่จะกลายเป็นนักเขียน จะไม่มีการรับประกันต่างๆ และแทบจะไม่มีการรับประกันความเชื่อมโยงกันด้วย

ในบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ จะตรวจตราช่องทางบางอย่างซึ่งการสื่อสารผ่านสื่อกลางคอมพิวเตอร์ได้ถูกนำมาใช้โดยขบวนการเคลื่อนไหวสังคมใหม่ เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบสื่อใหม่ๆ. การเลือกแบบฉบับของสื่อต่างๆ ที่นำมาใช้ บ่อยครั้งมักจะถูกผูกอยู่กับการตัดสินใจทางเศรษฐกิจและอุดมคติ ดังที่พวกเขาต่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ"การแทรกซึม"และประสิทธิผล (ยกตัวอย่างเช่น มันมีแนวโน้มอันหนึ่งซึ่งมีนัยสำคัญที่เรียกว่า Luddite (5) หรือพวกที่ต่อต้านการทำให้เป็นอุตสาหกรรมและต่อต้านเทคโนโลยีใหม่ๆ - ตามรูปศัพท์คำนี้ เดิมทีเป็นกลุ่มของคนงานอังกฤษในช่วงระหว่าง ค.ศ.1811 - 1816 ที่ก่อจลาจลขึ้นและทำลายเครื่องทอผ้าที่ช่วยผ่อนแรง ด้วยความเชื่อที่ว่าเครื่องจักรเหล่านั้นได้มาลดจำนวนการจ้างงาน) ท่ามกลางสื่อของพวกอนาธิปไตย

ย้อนกลับไปกล่าวถึงในส่วนบทที่ 3 ได้แสดงให้เห็นถึงสื่อที่มีฐานของระบบอินเตอร์เน็ตได้เปิดโอกาสให้กับรูปแบบสื่อทางเลือกต่างๆ สู่ผู้คนให้มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง แต่สำหรับในบทสุดท้ายนี้ จะถกถึงเรื่องของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความสามารถหรือสมรรถภาพที่จะกัดเซาะหรือทำลายความเป็นทวินิยมของสื่อทางเลือกและสื่อกระแสหลัก และความเป็นขั้วของความมีอำนาจกับความไร้อำนาจลง รวมไปถึงการครอบงำและการต่อต้าน. ขณะที่ข้าพเจ้าไม่ได้คิดเช่นนั้น ข้อถกเถียงอันนี้ได้พลิกกลับข้ออ้างในเชิงทฤษฎีและนิยามความหมายแบบเปิดของข้าพเจ้า สำหรับความแตกต่างของสื่อทางเลือก มันเป็นพยานที่ยืนยันถึงความยุ่งยากเกี่ยวกับการนิยามสื่อทางเลือก และเป็นอันตรายเกี่ยวกับการจำแนกหมวดหมู่ที่เร่งด่วนจนเกินไป

หนังสือเล่มนี้จะมีการศึกษาเกี่ยวกับสื่อทางเลือกในฐานะที่เป็นกระบวนการอันหนึ่ง. บางทีมันจะมากเกินไปกว่าเรื่องของสื่อมวลชนเท่านั้น ซึ่งเป็นความใส่ใจของ Roger Silverstone (1999; 78) พวกมันวางอยู่ที่ใจกลางของประสบการณ์ เพราะพวกมันคือสื่อต่างๆ ที่ให้ข้อมูล, สะท้อนกลับ, แสดงออกประสบการณ์, เป็นประสบการณ์ของเราบนพื้นฐานของชีวิตประจำวันอันหนึ่ง - ถ้าไม่มากไปกว่าสื่อสารมวลชน อย่างน้อยที่สุดมันก็ในลักษณะท่าทีที่แตกต่างอย่างสำคัญในสิ่งเหล่านั้น ซึ่งเกี่ยวพันกับผลผลิตของพวกเขา การสร้างสรรค์เอามากๆ ของสื่อเหล่านี้ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเกี่ยวกับประสบการณ์รายวันของเราทั้งหลายไปแล้ว

Silverstone ให้เหตุผลว่า ความเข้มแข็งทางการเมืองของสื่อเหล่านั้น มาจากการต่อสู้ดิ้นรนกับพลังอำนาจที่บีบคั้นทางวัฒนธรรม อย่างเช่น การเข้าถึงและการมีส่วนร่วม, การเป็นเจ้าของ, และการเป็นตัวแทน. ข้าพเจ้าเชื่อว่าการศึกษาเกี่ยวกับสื่อทางเลือก - และเกี่ยวกับองค์กรปฏิบัติการเหล่านั้น, ผลผลิตและการแพร่กระจาย - ได้เปิดทางให้กับอิสรภาพทางการเมือง ด้วยสื่อจากชายขอบเหล่านี้

++++++++++++++++++++++++++++++++

หมายเหตุ: ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงวิทยุทางเลือกและโทรทัศน์ทางเลือกในรายละเอียด แม้ว่าบทที่ 5 และ 6 จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิดีโอทางเลือก และโครงการโทรทัศน์ต่างๆ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการสนทนากันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสื่อชุมชน และข่าวสารข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร

สำหรับการสำรวจเกี่ยวกับการริเริ่มโทรทัศน์ชุมชน ในที่นี้ขอแนะนำเรื่อง Channels of Resistance ของ Tony Dowmunt (1993). Deirdre Boyle (1997) ที่ได้ให้การศึกษาอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับการบุกเบิกเรื่องของวิดีโอ และโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาอย่างน่าสนใจ. สำหรับวิทยุ ผู้เขียนรู้สึกชื่นชมกับ Jankowski โดยเฉพาะ, รวมถึง Prehn และ Stapper ในเรื่อง The People's Voice (1992), และ Amanda Hopkinson และ Jo Tacchi บรรณาธิการของ International Journal of Cultural Studies.

Chris Atton

++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวกโดยผู้เรียบเรียง

Alternative media
(From Wikipedia, the free encyclopedia)


(๑) สื่อทางเลือก
คำว่า"สื่อทางเลือก"ได้ถูกให้นิยามความหมายกว้างมาก กล่าวคือ หมายถึงบรรดาปฏิบัติการด้านสื่อที่อยู่นอกเหนือจากสื่อกระแสหลักทั้งหลาย บ่อยทีเดียวที่ผู้ให้การสนับสนุนสื่อทางเลือก ได้ให้เหตุผลว่า สื่อกระแสหลักค่อนข้างที่จะมีอคติอย่างรุนแรง มีการวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะเป็นภววิสัยแบบหลอกๆ โดยอำพรางอคติทางชนชั้นเอาไว้ มูลเหตุของความไม่เป็นธรรมอันนี้ มาจากผลประโยชน์ทางการเมืองของผู้ดำเนินการเกี่ยวกับสื่อ, อิทธิพลของรัฐบาล, รวมไปถึงแรงกระตุ้นเกี่ยวกับเรื่องของผลประโยชน์ และเรื่องของกำไร-ขาดทุน. คำวิจารณ์นี้เกิดขึ้นมาจากบรรดาผู้สังเกตการณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับความโน้มเอียงและความเชื่อต่างๆ ในทางการเมือง

การเอาใจใส่เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของสื่อ ประกอบกับการให้ความสนใจในอุตสาหกรรมlnjvสิ่งพิมพ์เป็นเหตุให้เกิดการเซ็นเซอร์ในเชิงเศรษฐกิจ ขณะที่ต้นตอต่างๆ ของสื่อทางเลือกก็มักจะมีอคติสูงเช่นกัน แต่เป็นไปในเชิงตรงงข้าม. ช่องทางระบายต่างๆ ของสื่อทางเลือก ส่วนใหญ่ผูกพันอยู่กับนิตยสาร และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ และมักให้การสนับสนุนทัศนะทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะ บ่อยครั้งเป็นทัศนะในเชิงคัดค้าน, ไม่เห็นด้วยกับพวกกระแสหลัก, มีการสนับสนุนต่อ"ประชาธิปไตยใต้ดิน" และ"สาธารณรัฐอิสระ" ซึ่งมักจะอยู่ตรงข้ามกันและเป็นปรปักษ์กันทางการเมือง และทั้งคู่ เป็นไปได้ว่าต่างพิจารณาตัวของพวกเขาเอง ในฐานะที่เป็นพวกซึ่งไม่เห็นด้วยและขัดแย้งกับพวกกระแสหลักที่กดขี่

Edward S. Herman และ Noam Chomsky ได้เสนอแบบจำลองที่เป็นรูปธรรมสำหรับกระบวนการกลั่นกรอง(อคติต่างๆ)เกี่ยวกับสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า "แบบจำลองการโฆษณาชวนเชื่อ" (propaganda model.)(6) พวกเขาได้ทดสอบในเชิงประจักษ์ และนำเสนอหลักฐานต่างๆ ที่กว้างขวางครอบคลุมที่มาสนับสนุนแบบจำลองนี้ บรรดานักเขียน อย่างเช่น Louis Althusser ก็ได้เขียนเรื่องราวในรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาทั้งหลายของสิ่งพิมพ์กระแสหลัก และผลงานของพวกเขาได้ให้แรงบันดาลใจและก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ตามมาเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ทางเลือกเป็นจำนวนมาก. ปัจจุบันแหล่งข้อมูลของสื่งพิมพ์ทางเลือกมากมายได้ปันลิขสิทธิ์แก่กันและกันโดยขบวนการที่เรียกว่า open source

ศัพท์คำว่า"alternative" กำลังถูกโจมตีจากความหมายแฝงทางภาษาของมันเกี่ยวกับ การทำให้เป็นชายขอบ(self-marginalization). ช่องทางสื่อจำนวนมากในปัจจุบัน ชอบใช้ศัพท์คำว่า" "independent" มากกว่า "alternative," ซึ่งหมายความว่า เนื้อหาที่ตระเตรียมขึ้นมาดังกล่าวมีอิสระจากอิทธิพลของบรรษัทธุรกิจ เช่นเดียวกับการมีอิทธิพลเหนือไปกว่าประชากรกลุ่มเล็กๆ หรือผู้อ่าน

สำหรับสื่อกลางที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็น"ทางเลือก"(alternative)", จะต้องครอบครองลักษณะบางอย่างเกี่ยวกับคุณภาพที่ต่อต้านความมีอำนาจนำหรืออิทธิพลครอบงำ. ความตรงข้ามหรือต่อต้านกับอำนาจนำควรถูกแสดงออกมาโดยผ่าน อย่างน้อยที่สุด หนึ่งในมาตรการเหล่านี้:

- เนื้อหา - อะไรที่ถูกพูด
- รูปแบบทางสุนทรียภาพ - วิธีการที่มันถูกพูด
- เจตจำนง - ประเด็นเกี่ยวกับความสำเร็จ
- โครงสร้างองค์กร - สื่อได้มีการดำเนินการอย่างไร
- กระบวนการ - ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตและการบริโภคข้อมูล

(๒) ตัวอย่างสื่อทางเลือกในแอฟริกาใต้
(Alternative media in South Africa)

แอฟริกาใต้มีประวัติศาสตร์มายาวนานเกี่ยวกับเรื่อง"สื่อทางเลือก". ในช่วงระหว่างปี 1980 มีหนังสือพิมพ์ที่เป็นเจ้าของโดยชุมชนและคนรากหญ้าจำนวนมาก ซึ่งได้เผยแพร่เนื้อหาที่ตรงกันข้ามกับท่าทีหรือทัศนคติทั่วๆ ไปผู้คนในช่วงเวลาดังกล่าว. มากยิ่งไปกว่านั้น สิ่งพิมพ์ขนาดเล็กได้เจริญงอกงามขึ้น และวารสารใต้ดินได้นำเอาสุ้มเสียงต่างๆ ที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนจากสื่อกระแสหลักให้ได้ยินกันทั่วไป.

โครงการ Pirate radio ซึ่งดำเนินการโดย Caset ถือว่าเป็นผู้ล่วงหน้ามาก่อนหรือเป็นบรรพบุรุษของวิทยุชุมชนของประเทศนี้ และแผ่นพับขนาดเล็ก และรวมถึง samizdat (สิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่กันอย่างลับๆ ในเชิงต่อต้านที่ถูกแบน) ก็ถูกรวมเข้าไว้ในส่วนผสมนี้ด้วย

ชื่อนิตยสารที่อยู่ในกลุ่ม advocacy journalism (7)(ส่วนใหญ่จะเป็นนิตยสารที่เสนอเรื่องราวข้อเท็จจริง และให้การสนับสนุนความคิดเห็นอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ และมักสนใจในเรื่องปัญหาสังคม นโยบายรัฐบาล การคอรัปชั่นทางการเมือง หรือเรื่องของบรรษัทธุรกิจต่างๆ เป็นต้น) ในช่วงแรกๆ มักตั้งชื่อแบบแข็งกระด้าง ทื่อๆ และชนตรงๆ กับองค์กรสื่อส่วนใหญ่ของประเทศ ขณะที่ชื่อที่ต่อต้านทางวัฒนธรรมเป็นจำนวนมาก จะไปเชื่อมโยงกับการต่อสู้เรื่องสีผิว. มันเป็นการฟื้นคืนของสื่อทางเลือกและสิ่งพิมพ์เล็กๆ หลังจากยุคสมัยการเสื่อมโทรม ที่น่าสังเกตคือข้อเท็จจริงที่ว่าบรรษัทขนาดใหญ่ได้ดูดซับนักหนังสือพิมพ์ที่เป็นนักสู้จำนวนมาก และกวาดล้างสำนักพิมพ์ขนาดเล็กไปจนเกลี้ยง. นอกจากนี้ โครงการสื่อต่างๆ ดังกล่าวยังเกี่ยวพันกับสื่อมัลติมีเดีย เช่นเดียวกับนิตยสารอิเล็กทรอนิก

++++++++++++++++++++++++++++++++

เชิงอรรถโดยผู้เรียบเรียง

(1) Roger Silverstone เป็นศาสตราจารย์ในภาควิชา Media and Communications และเป็นผู้รับผิดชอบโปรแกรมปริญญาเอกของภาควิชาดังกล่าว ก่อนหน้านี้ เขาเป็นศาสตราจารย์ทางการศึกษาด้านMedia studies และเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางด้านวัฒนธรรมและการสื่อสารที่มหาวิทยาลัย Sussex และก่อนหน้านั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนวัตกรรมวัฒนธรรมและเทคโนโลยี(the Centre for Research into Innovation Culture and Technology) ที่มหาวิทยาลัย Brunel มาแล้ว

ผลงานซึ่งได้รับการตีพิมพ์ของ Roger Silverstone ประกอบด้วย

- Television and Everyday Life (Routledge, 1994)
(ได้รับการแปลเป็นภาษสเปน, อิตาลี, โรมาเนีย, และกรีก)

- Why Study the Media? (1999) (ได้รับการแปลเป็นภาษสเปน, อิตาลี, โปรตุเกส, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เยอรมัน)

- Media and Morality: On the Rise of the Mediapolis, เป็นหนังสือใหม่ซึ่งเพิ่งจะเขียนเสร็จเมื่อปีที่แล้ว และได้รับการตีพิมพ์โดย Polity Press ในเดือนกันยายน 2006

- The Oxford Handbook on Information and Communication Technologies, เป็นงานที่กำลังทำอยู่ปัจจุบันซึ่งได้ทำร่วมกับเพื่อนๆ คือ Robin Mansell, Chrisanthe Avgerou, และ Danny Quah.

Roger Silverstone เริ่มต้นอาชีพทางด้านภูมิศาสตร์ และต่อจากนั้นใช้เวลา ๖ ปีในโลกของความเป็นจริงในฐานะผู้พิมพ์หนังสือ ถัดจากนั้นเป็นนักวิจัยทางด้านโทรทัศน์. เขาได้ศึกษาต่อทางด้านสังคมวิทยา และเริ่มงานวิจัยระดับปริญญาเอกในภาควิชาสังคมวิทยาที่ London School of Economics. งานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง The Television Message as Social Object ได้รับรางวัลในปี ค.ศ.1980 จาก University of London. และได้รับการตีพิมพ์ในปีถัดมาในชื่อ The Message of Television: Myth and Narrative in Contemporary Culture (Heinemann).
(สำหรับผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถคลิกไปอ่านได้ที่
http://www.lse.ac.uk/collections/media@lse/whosWho/rogerSilverstone.htm

(2) fanzine : An amateur-produced magazine written for a subculture of enthusiasts devoted to a particular interest ยกตัวอย่างเช่น a science fiction fanzine.

(3) Samizdat was the secret copying and distribution of government-suppressed literature or other media in Soviet-bloc countries. Copies were made a few at a time, and those who received a copy would be expected to make more copies. This was often done by handwriting or typing. This grassroots practice to evade officially imposed censorship was fraught with danger as harsh punishments were meted out to people caught possessing or copying censored materials.

(4) Collage : หมายถึง An artistic composition of materials and objects pasted over a surface, often with unifying lines and color. หรือ A work, such as a literary piece, composed of both borrowed and original material. (An assemblage of diverse elements).

(5) Luddite : ความหมายเดิมคือ Any of a group of British workers who between 1811 and 1816 rioted and destroyed laborsaving textile machinery in the belief that such machinery would diminish employment. ส่วนความหมายใหม่คือ One who opposes technical or technological change.

(6) propaganda model is a theory advanced by Edward S. Herman and Noam Chomsky that alleges systemic biases in the mass media and seeks to explain them in terms of structural economic causes.
First presented in their 1988 book Manufacturing Consent: The Political Economy of the Mass Media, the propaganda model views the private media as businesses selling a product - readers and audiences (rather than news) - to other businesses (advertisers). The theory postulates five general classes of "filters" that determine the type of news that is presented in news media. These five are:

1. Ownership of the medium
2. Medium's funding sources
3. Sourcing
4. Flak
5. Anti-communist ideology

The first three are generally regarded by the authors as being the most important.
Although the model was based mainly on the characterization of United States media, Chomsky and Herman believe the theory is equally applicable to any country that shares the basic economic structure and organizing principles which the model postulates as the cause of media biases

(7) Advocacy journalism is a genre of journalism that (unlike simple propaganda) is fact-based, but supports a specific point of view on an issue. Advocacy journalists might be expected to focus on stories dealing with corporate business practices, government policies, political corruption, and social issues.
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Advocacy_journalism)

++++++++++++++++++++++++++++++++



บรรณานุกรม


- Chris Atton, Alternative Media, SAGE Publications, London, 2002
- http://www.lse.ac.uk/collections/media@lse/whosWho/rogerSilverstone.htm
- http://www.answers.com/topic/alternative-media-in-south-africa
- http://en.wikipedia.org/wiki/Alternative_media
- http://en.wikipedia.org/wiki/Propaganda_model

- http://en.wikipedia.org/wiki/Advocacy_journalism

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




Watchdog journalism refers to forms of activist journalism aimed at holding accountable public personalities and institutions whose functions impact social and political life.