โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 21 Jun 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๒๘๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ (June, 21, 06,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

คุณแม่ของผม ผู้ซึ่งแสนจะภูมิใจเมื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้รับผมเข้าเรียน - ไม่เคยเลิกกดดันผมให้ช่วยผู้อื่นให้มากขึ้น ไม่กี่วันก่อนวันแต่งงานของผม ท่านจัดงานเป็นเกียรติแก่เจ้าสาว ซึ่งในงานนั้นเองที่ท่านอ่านจดหมายเกี่ยวกับชีวิตแต่งงานที่ท่านเขียนถึงเมลินดาออกมาดังๆ คุณแม่ของผมกำลังป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งในตอนนั้น แต่ท่านเห็นโอกาสอีกครั้งที่จะส่งสารด้านแก่นคิดของท่าน และในตอนจบจดหมายท่านพูดว่า "จากผู้ที่ได้รับมากทั้งหลาย มีความคาดหวังว่าพวกเขาจะให้มากด้วย" - (สำหรับ นศ.ฮาร์วาร์ด โลกมีสิทธิ์คาดหวังจากเราอย่างแทบไม่จำกัด)
21-06-2550

Remarks of Bill Gates
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

คำปราศรัยในในพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
บิลล์ เกตส์: จงเป็นนักเคลื่อนไหวและประจัญกับความไม่เสมอภาคที่รุนแรง
ดร.ไสว บุญมา : ถอดความ
คำปราศรัยฉบับถอดความนี้ นำมาจากเว็บไซต์ประชาไท

เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ประสาทปริญญากิตติมศักดิ์ให้ บิลล์ เกตส์
และได้เชิญให้เขากล่าวคำปราศรัยในพิธีประสาทปริญญาของผู้จบการศึกษาในปีนี้ด้วย
บางส่วนของคำปราศรัยของเขา ได้กล่าวกับนักศึกษาว่า...
"ความก้าวหน้าของมนุษยชาติไม่ได้ขึ้นอยู่กับการค้นพบ
แต่อยู่ที่การค้นพบเหล่านั้นถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อลดความไม่เสมอภาคกันได้อย่างไรต่างหาก
ไม่ว่าจะผ่านทางระบอบประชาธิปไตย การศึกษาที่แข็งแกร่ง ระบบดูแลสุขภาพที่ดี
หรือโอกาสทางเศรษฐกิจที่กว้างขวาง การลดความไม่เสมอภาคกัน
ถือเป็นผลสัมฤทธิ์อันสูงที่สุดของมนุษย์เรา"

สนใจอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ คลิกได้จากที่นี่
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงเว้นวรรค และย่อหน้าใหม่
เพื่อให้เหมาะสมกับการนำเสนอบนเว็บเพจ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเท่านั้น
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๒๘๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++



คำปราศรัยในในพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
บิลล์ เกตส์: จงเป็นนักเคลื่อนไหวและประจัญกับความไม่เสมอภาคที่รุนแรง
ดร.ไสว บุญมา : ถอดความ
คำปราศรัยฉบับถอดความนี้ นำมาจากเว็บไซต์ประชาไท


ความนำ
คงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า 'บิลล์ เกตส์' ผู้ครองตำแหน่งอภิมหาเศรษฐีหมายเลขหนึ่งของโลกในช่วงเวลา 13 ปีที่ผ่านมา. เขาออกจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก่อนเรียบจบหลักสูตรปริญญาตรี ปัจจัยที่ทำให้เขาออกกลางคันได้แก่ ความต้องการที่จะทุ่มเทเวลาให้กับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผลของความทุ่มนั้นเป็นที่รู้กันอย่างทั่วถึงแล้ว ตอนนี้ บิลล์ เกตส์ อายุยังไม่ครบ 52 ปี แต่ได้ประกาศว่า เขาจะเกษียณจากบริษัทไมโครซอฟท์ในราวอีก 1 ปี. หลังจากนั้นเขาจะทุ่มเทเวลาให้กับการแก้ปัญหาของโลก ผ่านมูลนิธิ ซึ่งขณะนี้มีเงินทุนที่ได้รับจากเขาราว 30,000 ล้านดอลลาร์และกำลังจะได้รับจาก วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหาเศรษฐีหมายเลขสองของโลกอีก 37,000 ล้านดอลลาร์

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ประสาทปริญญากิตติมศักดิ์ให้ บิลล์ เกตส์ และได้เชิญให้เขากล่าวคำปราศรัยในพิธีประสาทปริญญาของผู้จบการศึกษาในปีนี้ด้วย ผมเห็นว่าคำปราศรัยของเขามีแง่คิดที่น่าใส่ใจยิ่ง จึงนำมาถอดความสำหรับผู้ที่อาจไม่มีโอกาสฟังหรืออ่านคำปราศรัยนั้น. เนื่องจากคำปราศรัยอ้างถึงภูมิหลังบางอย่าง ซึ่งผู้อ่านอาจไม่คุ้นเคย เพื่อความกระจ่างและเพื่อให้เห็นมุขขบขันของเขา ผมได้เพิ่มคำอธิบายสั้นๆ ไว้ในวงเล็บ […] คำปราศรัยนั้นอาจถอดได้ดังนี้ :

คำปราศรัยของบิลล์ เกตส์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ท่านอธิการบดีบอค, ท่านอดีตอธิการบดีรูเดนสไตน์, ท่านอธิการบดีที่จะเข้ามารับตำแหน่งต่อไปเฟาสต์, สมาชิกของบรรษัทฮาร์วาร์ด และคณะกรรมการดูแลมหาวิทยาลัย, คณาจารย์, พ่อแม่, และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บัณฑิต:

ผมคอยมา 30 ปีที่จะพูดว่า "คุณพ่อครับ ผมบอกคุณพ่อเสมอมาใช่ไหมว่า วันหนึ่งผมจะกลับมาเอาปริญญาให้ได้" [ผู้ฟังหัวเราะกันอย่างทั่วถึง] ผมขอขอบคุณมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ประสาทปริญญาให้ผมทันเวลาพอดิบพอดี ผมจะเปลี่ยนงานปีหน้า และมันน่าจะดีเมื่อในที่สุดผมจะมีปริญญาพ่วงท้ายในใบประกาศคุณสมบัติของผมเสียที [เสียงหัวเราะจากผู้ฟัง]

ผมขอปรบมือให้ผู้จบการศึกษาวันนี้ที่เดินไปสู่จุดมุ่งหมายด้วยทางสายตรง สำหรับผม ผมมีความสุขที่หนังสือพิมพ์คลิมสัน [หนังสือพิมพ์รายวันของนักศึกษาฮาร์วาร์ด] ให้สมญาผมว่า "ผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในหมู่ผู้เรียนไม่จบของฮาร์วาร์ด" ผมเดาเอาว่า นั่นหมายถึงผมคือผู้ทำคะแนนได้สูงสุดในรุ่นพิเศษของผม ผมทำได้ดีที่สุดในหมู่ผู้สอบตกด้วยกัน [เสียงหัวเราะจากผู้ฟัง] แต่ผมต้องการได้รับการยอมรับว่าผมเป็นผู้ที่ทำให้สตีฟ บอลล์เมอร์ [เพื่อนสนิทของ บิลล์ เกตส์ ซึ่งขณะนี้เป็นประธานผู้บริหารของบริษัทไมโครซอฟท์] เลิกเรียนวิชาบริหารธุรกิจ ผมมักชักนำคนไปในทางเสีย นั่นคือเหตุผลที่ผมได้รับเชิญมาพูดในวันรับปริญญาของคุณ ถ้าผมมาพูดในวันปฐมนิเทศของคุณ คุณบางคนอาจยังเรียนไม่จบในวันนี้ก็ได้ [เสียงหัวเราะจากผู้ฟัง]

ฮาร์วาร์ด เป็นประสบการณ์อันแสนพิเศษสำหรับผม ชีวิตการเรียนประทับใจยิ่ง ผมได้เข้าไปนั่งฟังวิชาต่างๆ มากมาย ซึ่งผมไม่ได้แม้กระทั่งลงทะเบียนเรียน และชีวิตในหอพักก็สุดยอด ผมพักที่แรดคลิฟฟ์ [วิทยาลัยหญิงซึ่งต่อมายุบรวมกับฮาร์วาร์ด] ในหอพักชื่อเคอร์รี่เออร์ มีคนจำนวนมากเข้ามาอยู่ในห้องของผมตอนดึกๆ เพื่อคุยกันถึงเรื่องต่างๆ เสมอ เนื่องจากทุกคนรู้ว่าผมไม่ค่อยวิตกเรื่องการจะต้องลุกจากที่นอนหรือไม่ในวันรุ่งขึ้น นั่นคือที่มาของการเป็นผู้นำของกลุ่มต่อต้านสังคมของผม เราเกาะกลุ่มกันเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าเราไม่เอาด้วยกับพวกสังคมจัดทั้งหลาย

แรดคลิฟฟ์เป็นที่อยู่อันยอดเยี่ยม มีสาวๆ ยั้วเยี้ยไปหมด และหนุ่มๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นพวกวิทย์-คณิต ปัจจัยทั้งสองรวมกันเอื้อให้ผมมีโอกาสสูงยิ่ง คุณคงพอจะรู้ว่าผมหมายถึงอะไรใช่ไหม [เสียงหัวเราะ] ณ จุดนี้เองที่ผมเรียนรู้เรื่องชวนหดหู่ใจว่า การเพิ่มโอกาสไม่นำไปสู่ความสำเร็จเสมอไป [เสียงหัวเราะ]

ความทรงจำอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งเกี่ยวกับฮาร์วาร์ดของผมเกิดขึ้นในเดือนมกราคม1975 เมื่อผมโทรศัพท์จากหอพักเคอร์รี่เออร์ไปหาบริษัทหนึ่งที่เมืองอัลบูเคอร์คี [ในรัฐนิวเม็กซิโก] ซึ่งได้เริ่มทำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกในโลก ผมเสนอขายซอฟท์แวร์ให้เขา ผมกังวลว่า เขาจะรู้ว่าผมเป็นเพียงนักศึกษาในหอพักและจะไม่พูดด้วย แต่เขากลับพูดว่า "เรายังไม่เสร็จเรียบร้อยนัก เดือนหน้าค่อยมาหาเราก็แล้วกัน" ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะเรายังไม่ได้เขียนซอฟท์แวร์ชิ้นนั้นเลย นับแต่เสี้ยววินาทีนั้นเอง ผมทำโครงการเพื่อเอาคะแนนพิเศษเล็กๆ ชิ้นนั้นแบบหามรุ่งหามค่ำ ซึ่งเป็นจุดพลิกผันที่นำไปสู่การยุติการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของผม ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางอันพิเศษสุดกับบริษัทไมโครซอฟท์

สิ่งที่ผมจำได้เหนืออื่นใดเกี่ยวกับฮาร์วาร์ด ได้แก่ การอยู่ท่ามกลางพลังงานและปัญญา มันอาจทำให้รู้สึกมีชีวิตชีวา น่าขวัญเสีย บางทีถึงกับน่าท้อถอย แต่ก็มีความท้าทายเสมอ มันเป็นอภิสิทธิ์อันน่าทึ่ง - และแม้ว่าผมจะออกไปก่อนเรียนจบ ผมได้ถูกปฏิรูปขนานใหญ่จากเวลาที่ผมอยู่ในฮาร์วาร์ด จากมิตรภาพที่ผมได้สร้างขึ้น และจากแนวคิดที่ผมได้พัฒนา

แต่เมื่อมองย้อนกลับไปจริงๆ ผมมีความสลดใจอยู่อย่างหนึ่ง ผมออกจากฮาร์วาร์ดไปโดยไม่มีความตระหนักอย่างแท้จริงเลยถึงความไม่เสมอภาคอันแสนโหดร้ายในโลก - ความเหลื่อมล้ำอันน่าขนหัวลุกในด้านสุขภาพ และด้านทรัพย์สิน และด้านโอกาสซึ่งสาปแช่งคนเรือนล้านให้มีชีวิตอันสิ้นหวัง ผมได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆ ด้านเศรษฐศาสตร์และด้านการเมืองอย่างมากมายที่ฮาร์วาร์ด ผมได้สัมผัสใกล้ชิดถึงความก้าวหน้าซึ่งกำลังเกิดขึ้นในด้านวิทยาศาสตร์

ทว่าความก้าวหน้าของมนุษยชาติไม่ได้ขึ้นอยู่กับการค้นพบ - แต่อยู่ที่การค้นพบเหล่านั้นถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อลดความไม่เสมอภาคกันได้อย่างไรต่างหาก ไม่ว่าจะผ่านทางระบอบประชาธิปไตย การศึกษาที่แข็งแกร่ง ระบบดูแลสุขภาพที่ดี หรือโอกาสทางเศรษฐกิจที่กว้างขวาง - การลดความไม่เสมอภาคกันถือเป็นผลสัมฤทธิ์อันสูงที่สุดของมนุษย์เรา

ผมออกจากมหาวิทยาลัยไปโดยแทบไม่รู้เลยว่าเยาวชนนับล้านคนถูกโกงโอกาสทางการศึกษาในประเทศของเรานี่เอง และผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคนเป็นล้านๆ ที่ต้องมีชีวิตอยู่กับความยากจนแสนสาหัสและโรคร้ายในประเทศกำลังพัฒนา เป็นเวลาหลายทศวรรษกว่าผมจะค้นพบ

คุณๆ บัณฑิตทั้งหลายมาเรียนที่ฮาร์วาร์ดในช่วงเวลาที่ต่างไปจากเดิม คุณรู้เกี่ยวกับความไม่เสมอภาคกันในโลกมากกว่ารุ่นที่มาก่อนคุณ ในช่วงเวลาที่คุณอยู่ที่นี่ ผมหวังว่าคุณจะมีโอกาสได้คิดว่า - ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าในอัตราเร่งนี้ - ในที่สุดเราจะสามารถประจัญกับความไม่เสมอภาคกันเหล่านั้นได้ และเราก็จะเอาชนะมันได้ด้วย

ลองจินตนาการดูซิ นี่เพียงเพื่อคิดเล่นๆ เท่านั้นนะ ว่าคุณมีเวลาสองสามชั่วโมงต่อสัปดาห์และมีเงินสองสามดอลลาร์ต่อเดือนสำหรับอุทิศให้เพื่ออะไรสักอย่าง - และคุณต้องการใช้เวลาและเงินนั้นในที่ซึ่งมีผลสูงสุดในด้านการช่วยชีวิตและการปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้น คุณคิดว่าคุณจะใช้เวลาและเงินนั้นที่ไหน ? สำหรับเมลินดา [ภรรยาของบิลล์ เกตส์] กับผม ความท้าทายก็เหมือนกัน นั่นคือ เราจะทำอย่างไรให้เกิดผลดีที่สุดต่อคนจำนวนมากที่สุดจากทรัพยากรที่เรามีอยู่

ในระหว่างที่เราปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับคำถามนี้ เมลินดาและผมได้อ่านบทความเกี่ยวกับเด็กในประเทศยากจนนับล้านคน ซึ่งตายไปทุกปีจากโรคที่เราทำให้หมดอันตรายไปนานแล้วในประเทศนี้ เช่น หัด มาลาเรีย ปอดชื้น ไวรัสบีในตับ ไข้เลือดออก โรคหนึ่งซึ่งผมไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย นั่นคือโรตาไวรัส ซึ่งได้คร่าชีวิตเด็กปีละครึ่งล้านคน - ไม่มีเด็กในสหรัฐอยู่ในกลุ่มนั้นแม้แต่คนเดียว

เรารู้สึกตกใจ เราคิดว่าถ้าเด็กเป็นล้านคนกำลังจะตาย แต่จริงๆ แล้วพวกเขาอาจรอดหากได้รับความช่วยเหลือ ชาวโลกคงจะเร่งค้นหาและส่งยาไปช่วยชีวิตแก่พวกเขา แต่ชาวโลกก็ไม่ทำ ด้วยเงินเพียงไม่ถึงดอลลาร์เท่านั้น มีความช่วยเหลือซึ่งจะช่วยชีวิตพวกเขาได้ที่ไม่ถูกส่งไป

หากคุณเชื่อว่าทุกชีวิตมีค่าเท่ากัน มันช่างน่าอับอายยิ่งเมื่อเรียนรู้ว่าบางชีวิตถูกมองว่ามีค่าพอน่าช่วยไว้และบางชีวิตไม่มีค่าพอ เราบอกกับตัวเราเองว่า"นี่มันไม่จริง แต่ถ้ามันจริง มันเป็นสิ่งที่ควรจะได้รับความช่วยเหลือในลำดับต้นๆ ของเรา" ดังนั้นเราจึงเริ่มงานของเราในแนวเดียวกันกับทุกคนที่นี่คงจะเริ่ม เราถามว่า"ชาวโลกปล่อยเด็กเหล่านั้นตายได้อย่างไร ?"

คำตอบนั้นง่าย แต่บาดหู ระบบตลาดไม่ให้รางวัลต่อการช่วยชีวิตเด็กเหล่านั้น และรัฐบาลไม่ให้เงินสนับสนุน ดังนั้นเด็กจึงตายเพราะแม่และพ่อของพวกเขาไม่มีอำนาจในตลาด และไม่มีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นในระบบ แต่คุณกับผมมีทั้งสองอย่าง

เราจะทำให้อานุภาพของตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นสำหรับคนจน หากเราสามารถพัฒนาระบบทุนนิยมให้มีความสร้างสรรค์ยิ่งขึ้นได้ - ถ้าเราสามารถขยายอานุภาพของตลาดออกไปจนทำให้คนจำนวนมากขึ้นแสวงหากำไรได้ หรืออย่างน้อยก็พอทำมาหาเลี้ยงชีพได้ จะเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ต้องรับเคราะห์จากความไม่เสมอภาคที่โหดร้ายที่สุด เราสามารถกดดันรัฐบาลทั่วโลกให้ใช้เงินของผู้เสียภาษีไปในทางที่สะท้อนคุณธรรมของผู้เสียภาษีได้ดีขึ้น

หากเราสามารถค้นหากลวิธีที่จะสนองความต้องการของคนจนได้ ด้วยหนทางที่ทำกำไรให้ภาคธุรกิจและสร้างคะแนนเสียงให้นักการเมืองได้พร้อมๆ กัน เราก็จะพบหนทางที่ยั่งยืนสำหรับลดความไม่เสมอภาคกันในโลก กิจอันนี้ไม่มีขอบเขต มันไม่มีวันสิ้นสุด แต่ความพยายามอันเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะเผชิญกับความท้าทายนี้จะเปลี่ยนโลกอย่างแน่นอน

ผมมองว่าเราทำได้ แต่ผมคุยกับผู้ที่มีความกังขาซึ่งอ้างว่าไม่มีหวัง พวกเขากล่าวว่า "ความไม่เสมอภาคกันอยู่กับเรามาตั้งวันแรก และก็จะอยู่กับเราไปจนวันสุดท้าย - ทั้งนี้เพราะมนุษย์เราไม่มีน้ำใจ " ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ผมเชื่อว่าเรามีน้ำใจมากจนไม่รู้ว่าจะใช้ทำอะไรหมด เราทุกคนในที่นี้ ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ได้เคยเห็นโศกนาฏกรรมของเพื่อนมนุษย์ที่ทำให้หัวใจของเราแตกสลาย แต่เราก็มิได้ทำอะไรลงไป - ไม่ใช่เพราะเราไม่มีน้ำใจ หากเพราะเราไม่รู้ว่าจะทำอะไร หากเรารู้ว่าจะช่วยเขาอย่างไร เราคงได้ทำไปแล้ว

อุปสรรคของความเปลี่ยนแปลงไม่ได้อยู่ที่การมีน้ำใจน้อยเกินไป ; หากอยู่ที่ความสลับซับซ้อนมากเกินไปเพื่อจะแปลงความมีน้ำใจไปสู่การปฏิบัติ เราต้องเข้าใจปัญหา มองเห็นทางแก้ไข และมองเห็นผลลัพธ์ แต่ความสลับซับซ้อนปิดกั้นขั้นตอนทั้งสามจนหมดมิด แม้จะมีระบบอินเตอร์เนตและข่าวตลอด 24 ชั่วโมงแล้วก็ตาม มันยังเป็นภารกิจที่สลับซับซ้อนยิ่งที่จะทำให้คนเราเข้าใจปัญหาอย่างทะลุปรุโปร่ง เมื่อเครื่องบินตก เจ้าหน้าที่จะออกแถลงการณ์ทันที เขาสัญญาว่าจะสืบสวน พิจารณาสาเหตุ และป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกในอนาคต

แต่ถ้าเจ้าหน้าที่มีความตรงไปตรงมาจริงๆ เขาคงจะพูดว่า: "ในบรรดาผู้เสียชีวิตทั้งหมดในโลกที่ตายลงในวันนี้จากสาเหตุที่ป้องกันได้ ราวครึ่งเปอร์เซ็นต์ของพวกเขาอยู่ในเครื่องบินลำนั้น เราตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าเราจะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อแก้ปัญหาที่คร่าชีวิตของคนครึ่งเปอร์เซ็นต์นั้น" ปัญหาที่ใหญ่กว่าไม่ใช่การตกของเครื่องบิน หากเป็นความตายของคนเป็นหลักล้านที่ป้องกันได้

เราไม่ค่อยได้อ่านข่าวเกี่ยวกับความตายพวกนี้ สื่อรายงานเฉพาะสิ่งใหม่ๆ - และเรื่องคนตายเป็นหลักล้านไม่มีอะไรใหม่ ดังนั้นมันจึงเป็นเพียงเรื่องประกอบ ซึ่งง่ายต่อการมองข้าม แต่เมื่อเราเห็นหรืออ่านพบ ก็ยังยากที่จะเฝ้าดูปัญหานั้น มันยากยิ่งที่จะมองดูความทุกข์ร้อนในเมื่อสถานการณ์แสนจะสลับซับซ้อนจนเราไม่รู้ที่จะช่วยอย่างไร และดังนั้นเราจึงเมินหน้าหนี

หากเราเข้าใจปัญหาจริงๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก เราจะมาถึงขั้นตอนที่สอง นั่นคือ การทะลุทะลวงความสลับซับซ้อนเพื่อให้ได้มาซึ่งทางแก้ไข การค้นหาทางแก้ไขให้พบนั้นสำคัญยิ่ง หากเราจะใช้ความมีน้ำใจของเราให้ได้ผลสูงสุด หากเรามีคำตอบที่ชัดเจนและได้พิสูจน์มาแล้วเมื่อองค์กรหรือบุคคลใดถามว่า "ผมจะช่วยได้อย่างไร ?" เราจะดำเนินการได้ทันที - และเราจะสามารถทำให้เกิดความมั่นใจได้เลยว่า ไม่มีน้ำใจในโลกนี้ที่จะสูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์แม้แต่หยดเดียว แต่ความสลับซับซ้อนทำให้ยากแก่การที่จะวางแนวทางดำเนินการสำหรับทุกๆ คนที่มีน้ำใจ - และนั่นแหละที่มันยากที่จะทำให้การมีน้ำใจของพวกเขาบรรลุผล

การทะลุทะลวงความสลับซับซ้อนเพื่อค้นหาทางแก้ไขมีขั้นตอนที่พอจะคาดได้อยู่สี่ขั้นด้วยกัน คือ

- พิจารณาจุดหมาย
- ค้นหากลวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
- แสวงหาเทคโนโลยีทีเหมาะสมที่สุดสำหรับกลวิธีนั้น และ
- ในระหว่างที่แสวงหาอยู่ ก็ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วอย่างชาญฉลาด - ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ต้องใช้ความรอบรู้ค่อนข้างสูง
เช่น ยา หรือชนิดที่ง่ายกว่า เช่น มุ้ง

ขอยกการแพร่ระบาดของโรคเอดส์มาเป็นตัวอย่าง จุดหมายกว้างๆ แน่ละ ย่อมได้แก่การกำจัดโรคนั้น กลวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้แก่การป้องกัน เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุดน่าจะเป็นวัคซีนที่ฉีดเพียงครั้งเดียวแล้วคุ้มครองได้ตลอดชีวิต ดังนั้นรัฐบาล บริษัทยา และมูลนิธิทั้งหลายจะต้องสนับสนุนเงินแก่การวิจัยวัคซีน แต่งานวิจัยคงใช้เวลาเกินทศวรรษ ดังนั้นในระหว่างที่งานวิจัยกำลังดำเนินไป เราต้องใช้สิ่งที่เรามีอยู่ในมือแล้ว - และกลวิธีป้องกันที่ดีที่สุดที่เรามีในปัจจุบันได้แก่การชักจูงผู้คนให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง

การจะไปให้ถึงจุดหมายนั้นต้องเริ่มจากวงจรที่มีสี่ขั้นตอนด้วยกันอีก นี่คือรูปแบบ สิ่งสำคัญคือต้องไม่หยุดคิดและหยุดทำ - และจะหัวเด็ดตีนขาดอย่างไรจะต้องไม่ทำสิ่งที่เราทำกับมาลาเรียและวัณโรคในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 - ซึ่งได้แก่การยอมแพ้แก่ความสลับซับซ้อนและวางมือไปเลย

ขั้นตอนสุดท้าย - หลังจากเข้าใจปัญหาและค้นพบกลวิธีแล้ว - ได้แก่การวัดผลงานของคุณและเผยแพร่ความสำเร็จและความล้มเหลวของคุณเพื่อคนอื่นจะได้เรียนรู้จากความพยายามของคุณ คุณต้องมีข้อมูล แน่ละ คุณต้องแสดงให้เห็นได้ว่าโครงการหนึ่งฉีดวัคซีนให้เด็กจำนวนล้าน คุณต้องแสดงให้เห็นได้ว่าจำนวนเด็กที่ตายด้วยโรคร้ายเหล่านั้นลดลง นี่มีความสำคัญยิ่งไม่เฉพาะต่อการปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้น แต่เพื่อช่วยดึงการลงทุนเพิ่มขึ้นจากภาคธุรกิจและรัฐบาลด้วย

แต่ถ้าคุณต้องการดลใจให้คนอื่นเข้าร่วม คุณจะต้องแสดงให้เห็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือตัวเลข; คุณต้องแสดงให้เห็นถึงผลดีที่งานนั้นมีต่อบุคคลในแบบที่ให้ภาพชนิดติดตา - เพื่อให้คนอื่นเกิดความรู้สึกว่าการช่วยชีวิตหนึ่งนั้นสำคัญแค่ไหนต่อครอบครัวที่ได้รับผล

ผมจำได้ครั้งผมไปดาวอส [การพบปะกันประจำปีของผู้นำทางธุรกิจและการเมือง ณ เมืองสำหรับพักผ่อนซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาของสวิตเซอร์แลนด์] เมื่อหลายปีมาแล้วและเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการซึ่งกำลังปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับหนทางที่จะช่วยชีวิตคนเป็นหลักล้าน หลักล้านนะครับ ! ลองนึกถึงความตื่นเต้นของการช่วยชีวิตคนเพียงคนเดียว - แล้วคูณด้วยหลักล้าน ทว่านั่นเป็นคณะกรรมการที่น่าเบื่อที่สุดที่ผมเคยมีส่วนร่วม - น่าเบื่อที่สุดในประวัติศาสตร์ น่าเบื่อเสียจนผมเองก็ทนไม่ไหว

สิ่งที่ทำให้ประสบการณ์ครั้งนั้นโดดเด่นเป็นพิเศษได้แก่ ผมเพิ่งมาจากรายการที่เราเปิดตัวซอฟท์แวร์รุ่นที่ 13 ชิ้นหนึ่ง และเราทำให้คนกระโดดขึ้นลงและส่งเสียงดังลั่นด้วยความตื่นเต้น ผมชอบทำให้คนตื่นเต้นเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ - แต่ทำไมเราสร้างความตื่นเต้นเกินนั้นไม่ได้ในการช่วยชีวิตคน ? คุณจะทำให้ผู้คนตื่นเต้นไม่ได้ หากคุณไม่สามารถทำให้เขามองเห็นและเกิดความรู้สึกต่อผลลัพธ์ที่จะออกมา และคุณจะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร - เป็นคำถามที่สลับซับซ้อน

อย่างไรก็ดี ผมยังมีความเชื่อมั่นว่าทำได้ ใช่ ความไม่เสมอภาคกันมีอยู่คู่กับเรามาชั่วกัปชั่วกัลป์แล้ว แต่เครื่องมือใหม่ที่เรามีสำหรับทะลุทะลวงความสลับซับซ้อนมิได้มีอยู่คู่กับเรามาชั่วกัปชั่วกัลป์ด้วย มันเป็นของใหม่ - มันจะช่วยทำให้ความมีน้ำใจของเราเกิดผลสูงสุด - และนั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมอนาคตจึงอาจต่างจากอดีตได้

นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่และที่กำลังเกิดขึ้นในยุคนี้ - เทคโนโลยีชีวภาพ คอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เนต - ให้โอกาสซึ่งเราไม่เคยมีมาก่อนแก่เรา ที่จะกำจัดความยากจนข้นแค้นระดับแสนสาหัสสุดๆ และกำจัดความตายจากโรคร้ายที่ป้องกันได้

เมื่อหกสิบปีที่แล้ว จอร์จ มาร์แชล [นายพลเมริกัน ซึ่งต่อมาดำรงทั้งตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีต่างประเทศ] มาในพิธีประสาทปริญญานี้ และได้แถลงเกี่ยวกับโครงการเพื่อช่วยเหลือประเทศในยุโรปหลังสงคราม [โลกครั้งที่ 2] เขาพูดว่า "ผมคิดว่าความยากลำบากอย่างหนึ่งได้แก่ปัญหานั้นแสนสลับซับซ้อน จนทำให้ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่สื่อและวิทยุนำมาเสนอต่อสาธารณชน ยากเกินสำหรับคนทั่วไปที่จะประเมินสถานการณ์ได้อย่างแจ้งชัดจากระยะทางอันแสนไกลนี้ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะรู้ซึ้งถึงความหมายที่แท้จริงทั้งหมดของสถานการณ์ "

สามสิบปีหลังจากวันที่มาร์แชลกล่าวคำปราศรัย เมื่อเพื่อนร่วมรุ่นของผมจบการศึกษาโดยปราศจากผม เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาขึ้นมาใหม่จะทำให้โลกใบนี้เล็กลง เปิดกว้างขึ้น เห็นได้ง่ายขึ้น ลดระยะทางลง การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาต่ำทำให้เกิดโครงข่ายอันทรงพลังอย่างหนึ่งซึ่งได้ปรับเปลี่ยนโอกาสเพื่อการเรียนรู้และเพื่อการติดต่อสื่อสาร. สิ่งมหัศจรรย์เกี่ยวกับโครงข่ายนี้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะที่มันทำให้ระยะทางหดหายไปและทำให้ทุกคนเป็นเพื่อนบ้านของคุณเท่านั้น มันยังช่วยเพิ่มจำนวนของผู้ที่มีปัญญาเฉียบแหลมทั้งหลายที่เราจะให้ทำงานเพื่อแก้ปัญหาเดียวกันอีกด้วย - และนั่นได้ยกระดับอัตราของนวัตกรรมให้สูงขึ้นอย่างไร้เทียมทานทีเดียว

ในขณะเดียวกัน ต่อทุกคนในโลกที่เข้าถึงเทคโนโลยีนี้ จะมีอีกห้าคนที่เข้าไม่ถึง นั่นหมายความว่าผู้มีปัญญาและความคิดสร้างสรรค์จำนวนมากถูกปล่อยทิ้งไว้นอกวงของการปรึกษาหารือนี้ - นั่นหมายถึงคนฉลาดที่มีความรอบรู้อันเกิดจากการปฏิบัติงาน และจากประสบการณ์อันตรงกับปัญหา ซึ่งไม่มีเทคโนโลยีสำหรับฝึกฝนตนเอง หรือมีส่วนร่วมในการให้แนวคิดแก่ชาวโลก

เราต้องการให้คนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้เข้าถึงเทคโนโลยีนี้ เพราะความก้าวหน้าเหล่านี้กำลังจุดชนวนให้เกิดการปฏิวัติในด้านที่มนุษยชาติสามารถทำอะไรให้กันและกัน มันไม่ได้ช่วยเฉพาะรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังช่วยมหาวิทยาลัย บริษัท องค์กรเล็กๆ และบุคคล ให้เข้าใจปัญหา มองเห็นกลวิธี และวัดผลของความพยายามของพวกเขาในด้านการแก้ปัญหาความหิวโหย ความยากจน และภาวะสิ้นหวังที่จอร์จ มาร์แชลล์ พูดถึงเมื่อ 60 ปีที่แล้ว

ท่านสมาชิกของครอบครัวฮาร์วาร์ดครับ ณ ที่นี้มีการรวมตัวกันอันยิ่งใหญ่ของผู้ที่มีพรสวรรค์ทางปัญญาของโลก รวมตัวกันเพื่ออะไรครับ ? แน่นอนละที่คณาจารย์ ศิษย์เก่า นักศึกษา และผู้บริจาคทรัพย์ให้แก่ฮาร์วาร์ดได้ใช้พลังอำนาจของตนช่วยปรับปรุงชีวิตของคนที่นี่และทั่วโลก แต่ว่าเราจะทำมากกว่านี้อีกได้ไหม ? ฮาร์วาร์ดสามารถจะอุทิศพลังทางปัญญาของตน เพื่อช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้คนที่ไม่เคยแม้แต่จะได้ยินชื่อของตนได้ไหม ?

ผมใคร่จะขอสิ่งหนึ่งจากท่านคณบดีและท่านศาสตราจารย์ - ผู้นำทางปัญญาของฮาร์วาร์ด นั่นคือ เมื่อท่านจ้างคณาจารย์ มอบตำแหน่งถาวรให้อาจารย์ ทบทวนหลักสูตร และพิจารณาคุณสมบัติสำหรับประสาทปริญญา กรุณาถามตัวของท่านเองดังนี้: สติปัญญาชั้นยอดเยี่ยมของเรานั้น ควรจะอุทิศให้แก่การแก้ปัญหาที่หนักหนาสาหัสที่สุดของเราหรือไม่ ?

ฮาร์วาร์ดควรจะกระตุ้นคณาจารย์ให้ประจัญกับความไม่เสมอภาคที่หนักหนาสาหัสที่สุดของโลกหรือไม่? นักศึกษาของฮาร์วาร์ดควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความลึกล้ำของความยากจนบนผืนโลกหรือไม่ ความแพร่หลายของความหิวโหยของชาวโลก ความขาดแคลนน้ำสะอาด เด็กผู้หญิงไร้โอกาสเรียนหนังสือ เด็กซึ่งตายจากโรคร้ายที่เราสามารถเยียวยาได้ ? ผู้ที่มีอภิสิทธิ์มากที่สุดในโลกควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของผู้ที่มีอภิสิทธิ์ต่ำที่สุดในโลกหรือไม่ ?

นี่มิใช่คำถามเชิงเล่นคำ - ท่านจะตอบด้วยนโยบายของท่าน

คุณแม่ของผม ผู้ซึ่งแสนจะภูมิใจเมื่อมหาวิทยาลัยแห่งนี้รับผมเข้าเรียน - ไม่เคยเลิกกดดันผมให้ช่วยผู้อื่นให้มากขึ้น ไม่กี่วันก่อนวันแต่งงานของผม ท่านจัดงานเป็นเกียรติแก่เจ้าสาว ซึ่งในงานนั้นเองที่ท่านอ่านจดหมายเกี่ยวกับชีวิตแต่งงานที่ท่านเขียนถึงเมลินดาออกมาดังๆ คุณแม่ของผมกำลังป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งในตอนนั้น แต่ท่านเห็นโอกาสอีกครั้งที่จะส่งสารด้านแก่นคิดของท่าน และในตอนจบจดหมายท่านพูดว่า "จากผู้ที่ได้รับมากทั้งหลาย มีความคาดหวังว่าพวกเขาจะให้มากด้วย"

เมื่อท่านพิจารณาสิ่งที่เราทั้งหลายในที่นี้ได้รับ - ในด้านพรสวรรค์ ด้านอภิสิทธ์ และด้านโอกาส - โลกมีสิทธิ์คาดหวังจากเราอย่างแทบไม่จำกัด

ในกรอบของความเป็นไปได้ในยุคนี้ ผมขอแนะนำบัณฑิตแต่ละคนในที่นี้ให้หยิบประเด็นขึ้นมาสักประเด็น -ปัญหาที่สลับซับซ้อน ความไม่เสมอภาคที่ลึกล้ำ และสร้างความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเด็นนั้นขึ้นมา หากคุณทำให้มันเป็นจุดมุ่งเน้นในชีวิตการงานของคุณ นั่นจะวิเศษยิ่ง แต่คุณไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้นเพื่อให้เกิดผลดี. ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คุณอาจใช้อานุภาพที่กำลังเพิ่มขึ้นของระบบอินเตอร์เนตเพื่อเรียนรู้ สืบหาผู้ที่มีความสนใจคล้ายกัน ทำความเข้าใจถึงอุปสรรค และหาทางทะลุทะลวงมัน

อย่าให้ความสลับซับซ้อนยับยั้งคุณ จงเป็นนักเคลื่อนไหว เลือกประจัญกับความไม่เสมอภาคที่ร้ายแรง มันจะเป็นประสบการณ์อันยิ่งใหญ่ในชีวิตของคุณ คุณๆ บัณฑิตทั้งหลายเติบใหญ่ขึ้นมาในช่วงเวลาอันน่าทึ่งยิ่ง เมื่อคุณออกจากฮาร์วาร์ดไป คุณมีเทคโนโลยีที่สมาชิกในรุ่นผมไม่เคยมี คุณมีความตระหนักในความไม่เสมอภาคกันในโลก ซึ่งเราไม่มี และกับความตระหนักนั้น คุณคงจะมีจิตวิญญาณที่รอบรู้ซึ่งจะตามหลอนคุณ หากคุณทอดทิ้งคนที่ชีวิตของเขา คุณอาจเปลี่ยนได้ด้วยความพยายามเพียงน้อยนิด

คุณมีมากกว่าเรามี คุณต้องเริ่มให้เร็วกว่า และสู้ต่อไปให้ยาวนานกว่า ในเมื่อคุณรู้สิ่งที่คุณรู้ คุณจะงอมืองอเท้าอยู่ได้อย่างไร ?

และผมหวังว่าคุณจะกลับมาที่ฮาร์วาร์ดนี่อีก 30 ปีจากวันนี้ไป และมาไตร่ตรองถึงการใช้พรสวรรค์และพลังงานของคุณ ผมหวังว่าคุณจะวินิจฉัยตัวคุณเองไม่เฉพาะในด้านของความสำเร็จในอาชีพเท่านั้น แต่ในด้านผลงานของคุณที่เกี่ยวกับความไม่เสมอภาคกันอันล้ำลึกที่สุดด้วย ในด้านที่เกี่ยวกับคุณได้ปฏิบัติต่อคนที่อยู่คนละฟากโลกได้ดีแค่ไหน ในเมื่อคนเหล่านั้นไม่มีอะไรร่วมกับคุณเลยเว้นแต่ความเป็นมนุษย์ของพวกเขาเท่านั้น

ขอให้โชคดีครับ

++++++++++++++++++++++++++++++++

Remarks of Bill Gates
Harvard Commencement
(Text as prepared for delivery)

President Bok, former President Rudenstine, incoming President Faust, members of the Harvard Corporation and the Board of Overseers, members of the faculty, parents, and especially, the graduates:

I've been waiting more than 30 years to say this: "Dad, I always told you I'd come back and get my degree."

I want to thank Harvard for this timely honor. I'll be changing my job next year … and it will be nice to finally have a college degree on my resume.

I applaud the graduates today for taking a much more direct route to your degrees. For my part, I'm just happy that the Crimson has called me "Harvard's most successful dropout." I guess that makes me valedictorian of my own special class … I did the best of everyone who failed.

But I also want to be recognized as the guy who got Steve Ballmer to drop out of business school. I'm a bad influence. That's why I was invited to speak at your graduation. If I had spoken at your orientation, fewer of you might be here today.

Harvard was just a phenomenal experience for me. Academic life was fascinating. I used to sit in on lots of classes I hadn't even signed up for. And dorm life was terrific. I lived up at Radcliffe, in Currier House. There were always lots of people in my dorm room late at night discussing things, because everyone knew I didn't worry about getting up in the morning. That's how I came to be the leader of the anti-social group. We clung to each other as a way of validating our rejection of all those social people.

Radcliffe was a great place to live. There were more women up there, and most of the guys were science-math types. That combination offered me the best odds, if you know what I mean. This is where I learned the sad lesson that improving your odds doesn't guarantee success.

One of my biggest memories of Harvard came in January 1975, when I made a call from Currier House to a company in Albuquerque that had begun making the world's first personal computers. I offered to sell them software.

I worried that they would realize I was just a student in a dorm and hang up on me. Instead they said: "We're not quite ready, come see us in a month," which was a good thing, because we hadn't written the software yet. From that moment, I worked day and night on this little extra credit project that marked the end of my college education and the beginning of a remarkable journey with Microsoft.

What I remember above all about Harvard was being in the midst of so much energy and intelligence. It could be exhilarating, intimidating, sometimes even discouraging, but always challenging. It was an amazing privilege - and though I left early, I was transformed by my years at Harvard, the friendships I made, and the ideas I worked on.

But taking a serious look back … I do have one big regret.

I left Harvard with no real awareness of the awful inequities in the world - the appalling disparities of health, and wealth, and opportunity that condemn millions of people to lives of despair.

I learned a lot here at Harvard about new ideas in economics and politics. I got great exposure to the advances being made in the sciences.

But humanity's greatest advances are not in its discoveries - but in how those discoveries are applied to reduce inequity. Whether through democracy, strong public education, quality health care, or broad economic opportunity - reducing inequity is the highest human achievement.

I left campus knowing little about the millions of young people cheated out of educational opportunities here in this country. And I knew nothing about the millions of people living in unspeakable poverty and disease in developing countries.

It took me decades to find out.

You graduates came to Harvard at a different time. You know more about the world's inequities than the classes that came before. In your years here, I hope you've had a chance to think about how - in this age of accelerating technology - we can finally take on these inequities, and we can solve them.

Imagine, just for the sake of discussion, that you had a few hours a week and a few dollars a month to donate to a cause - and you wanted to spend that time and money where it would have the greatest impact in saving and improving lives. Where would you spend it?

For Melinda and for me, the challenge is the same: how can we do the most good for the greatest number with the resources we have.

During our discussions on this question, Melinda and I read an article about the millions of children who were dying every year in poor countries from diseases that we had long ago made harmless in this country. Measles, malaria, pneumonia, hepatitis B, yellow fever. One disease I had never even heard of, rotavirus, was killing half a million kids each year - none of them in the United States.

We were shocked. We had just assumed that if millions of children were dying and they could be saved, the world would make it a priority to discover and deliver the medicines to save them. But it did not. For under a dollar, there were interventions that could save lives that just weren't being delivered.

If you believe that every life has equal value, it's revolting to learn that some lives are seen as worth saving and others are not. We said to ourselves: "This can't be true. But if it is true, it deserves to be the priority of our giving."
So we began our work in the same way anyone here would begin it. We asked: "How could the world let these children die?"

The answer is simple, and harsh. The market did not reward saving the lives of these children, and governments did not subsidize it. So the children died because their mothers and their fathers had no power in the market and no voice in the system.

But you and I have both.

We can make market forces work better for the poor if we can develop a more creative capitalism - if we can stretch the reach of market forces so that more people can make a profit, or at least make a living, serving people who are suffering from the worst inequities. We also can press governments around the world to spend taxpayer money in ways that better reflect the values of the people who pay the taxes.

If we can find approaches that meet the needs of the poor in ways that generate profits for business and votes for politicians, we will have found a sustainable way to reduce inequity in the world. This task is open-ended. It can never be finished. But a conscious effort to answer this challenge will change the world.

I am optimistic that we can do this, but I talk to skeptics who claim there is no hope. They say: "Inequity has been with us since the beginning, and will be with us till the end - because people just … don't … care." I completely disagree.

I believe we have more caring than we know what to do with.

All of us here in this Yard, at one time or another, have seen human tragedies that broke our hearts, and yet we did nothing - not because we didn't care, but because we didn't know what to do. If we had known how to help, we would have acted.
The barrier to change is not too little caring; it is too much complexity.

To turn caring into action, we need to see a problem, see a solution, and see the impact. But complexity blocks all three steps.

Even with the advent of the Internet and 24-hour news, it is still a complex enterprise to get people to truly see the problems. When an airplane crashes, officials immediately call a press conference. They promise to investigate, determine the cause, and prevent similar crashes in the future.

But if the officials were brutally honest, they would say: "Of all the people in the world who died today from preventable causes, one half of one percent of them were on this plane. We're determined to do everything possible to solve the problem that took the lives of the one half of one percent."

The bigger problem is not the plane crash, but the millions of preventable deaths.

We don't read much about these deaths. The media covers what's new - and millions of people dying is nothing new. So it stays in the background, where it's easier to ignore. But even when we do see it or read about it, it's difficult to keep our eyes on the problem. It's hard to look at suffering if the situation is so complex that we don't know how to help. And so we look away.

If we can really see a problem, which is the first step, we come to the second step: cutting through the complexity to find a solution.

Finding solutions is essential if we want to make the most of our caring. If we have clear and proven answers anytime an organization or individual asks "How can I help?," then we can get action - and we can make sure that none of the caring in the world is wasted. But complexity makes it hard to mark a path of action for everyone who cares - and that makes it hard for their caring to matter.

Cutting through complexity to find a solution runs through four predictable stages: determine a goal, find the highest-leverage approach, discover the ideal technology for that approach, and in the meantime, make the smartest application of the technology that you already have - whether it's something sophisticated, like a drug, or something simpler, like a bednet.

The AIDS epidemic offers an example. The broad goal, of course, is to end the disease. The highest-leverage approach is prevention. The ideal technology would be a vaccine that gives lifetime immunity with a single dose. So governments, drug companies, and foundations fund vaccine research. But their work is likely to take more than a decade, so in the meantime, we have to work with what we have in hand - and the best prevention approach we have now is getting people to avoid risky behavior.

Pursuing that goal starts the four-step cycle again. This is the pattern. The crucial thing is to never stop thinking and working - and never do what we did with malaria and tuberculosis in the 20th century - which is to surrender to complexity and quit.

The final step - after seeing the problem and finding an approach - is to measure the impact of your work and share your successes and failures so that others learn from your efforts.

You have to have the statistics, of course. You have to be able to show that a program is vaccinating millions more children. You have to be able to show a decline in the number of children dying from these diseases. This is essential not just to improve the program, but also to help draw more investment from business and government.
But if you want to inspire people to participate, you have to show more than numbers; you have to convey the human impact of the work - so people can feel what saving a life means to the families affected.

I remember going to Davos some years back and sitting on a global health panel that was discussing ways to save millions of lives. Millions! Think of the thrill of saving just one person's life - then multiply that by millions. … Yet this was the most boring panel I've ever been on - ever. So boring even I couldn't bear it.

What made that experience especially striking was that I had just come from an event where we were introducing version 13 of some piece of software, and we had people jumping and shouting with excitement. I love getting people excited about software - but why can't we generate even more excitement for saving lives?
You can't get people excited unless you can help them see and feel the impact. And how you do that - is a complex question.

Still, I'm optimistic. Yes, inequity has been with us forever, but the new tools we have to cut through complexity have not been with us forever. They are new - they can help us make the most of our caring - and that's why the future can be different from the past.

The defining and ongoing innovations of this age - biotechnology, the computer, the Internet - give us a chance we've never had before to end extreme poverty and end death from preventable disease.

Sixty years ago, George Marshall came to this commencement and announced a plan to assist the nations of post-war Europe. He said: "I think one difficulty is that the problem is one of such enormous complexity that the very mass of facts presented to the public by press and radio make it exceedingly difficult for the man in the street to reach a clear appraisement of the situation. It is virtually impossible at this distance to grasp at all the real significance of the situation."

Thirty years after Marshall made his address, as my class graduated without me, technology was emerging that would make the world smaller, more open, more visible, less distant.

The emergence of low-cost personal computers gave rise to a powerful network that has transformed opportunities for learning and communicating.

The magical thing about this network is not just that it collapses distance and makes everyone your neighbor. It also dramatically increases the number of brilliant minds we can have working together on the same problem - and that scales up the rate of innovation to a staggering degree.

At the same time, for every person in the world who has access to this technology, five people don't. That means many creative minds are left out of this discussion -- smart people with practical intelligence and relevant experience who don't have the technology to hone their talents or contribute their ideas to the world.

We need as many people as possible to have access to this technology, because these advances are triggering a revolution in what human beings can do for one another. They are making it possible not just for national governments, but for universities, corporations, smaller organizations, and even individuals to see problems, see approaches, and measure the impact of their efforts to address the hunger, poverty, and desperation George Marshall spoke of 60 years ago.

Members of the Harvard Family: Here in the Yard is one of the great collections of intellectual talent in the world.
What for?

There is no question that the faculty, the alumni, the students, and the benefactors of Harvard have used their power to improve the lives of people here and around the world. But can we do more? Can Harvard dedicate its intellect to improving the lives of people who will never even hear its name?

Let me make a request of the deans and the professors - the intellectual leaders here at Harvard: As you hire new faculty, award tenure, review curriculum, and determine degree requirements, please ask yourselves:
Should our best minds be dedicated to solving our biggest problems?

Should Harvard encourage its faculty to take on the world's worst inequities? Should Harvard students learn about the depth of global poverty … the prevalence of world hunger … the scarcity of clean water …the girls kept out of school … the children who die from diseases we can cure?

Should the world's most privileged people learn about the lives of the world's least privileged?
These are not rhetorical questions - you will answer with your policies.

My mother, who was filled with pride the day I was admitted here - never stopped pressing me to do more for others. A few days before my wedding, she hosted a bridal event, at which she read aloud a letter about marriage that she had written to Melinda. My mother was very ill with cancer at the time, but she saw one more opportunity to deliver her message, and at the close of the letter she said: "From those to whom much is given, much is expected."

When you consider what those of us here in this Yard have been given - in talent, privilege, and opportunity - there is almost no limit to what the world has a right to expect from us.

In line with the promise of this age, I want to exhort each of the graduates here to take on an issue - a complex problem, a deep inequity, and become a specialist on it. If you make it the focus of your career, that would be phenomenal. But you don't have to do that to make an impact. For a few hours every week, you can use the growing power of the Internet to get informed, find others with the same interests, see the barriers, and find ways to cut through them.

Don't let complexity stop you. Be activists. Take on the big inequities. It will be one of the great experiences of your lives.

You graduates are coming of age in an amazing time. As you leave Harvard, you have technology that members of my class never had. You have awareness of global inequity, which we did not have. And with that awareness, you likely also have an informed conscience that will torment you if you abandon these people whose lives you could change with very little effort. You have more than we had; you must start sooner, and carry on longer.
Knowing what you know, how could you not?

And I hope you will come back here to Harvard 30 years from now and reflect on what you have done with your talent and your energy. I hope you will judge yourselves not on your professional accomplishments alone, but also on how well you have addressed the world's deepest inequities … on how well you treated people a world away who have nothing in common with you but their humanity.

Good luck.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

http://www.news.harvard.edu/gazette/2007/06.14/99-gates.html

 

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




English Version