บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
เรียนรู้อย่างใช้วิจารณญาน
สนับสนุนพลังของการตรวจสอบ
รายงานสรุปการโฆษณาของนักวิชาการให้รัฐบาลและ คปค (ตอนที่ ๓)
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ขอขอบคุณสื่อมวลชน ซึ่งส่งรายงานฉบับนี้มาให้
รายงานสรุปฉบับนี้
เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งได้เดินทางไปต่างประเทศ ราวปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ความจำเป็นในการทำรัฐประหาร และการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว หลังโค่นอำนาจรัฐบาลทักษิณ
ชินวัตร
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เปิดพื้นที่สาธารณะนี้ขึ้นเพื่อการตรวจสอบ
บนพื้นฐานของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy)
หากผู้อ่านมีความคิดเห็นเป็นอื่นใดในเชิงโต้แย้งรายงานสรุปฉบับนี้
และต้องการพื้นที่ในการนำเสนอความเห็นของตน สามารถส่งมาเผยแพร่ได้ที่
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับ
เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงทุกประการ ในการนำไปใช้อ้างอิงได้ทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๒๖๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๓ มิถุนายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++
เรียนรู้อย่างใช้วิจารณญาน
สนับสนุนพลังของการตรวจสอบ
รายงานสรุปการโฆษณาของนักวิชาการให้รัฐบาลและ คปค (ตอนที่
๓)
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
(๖)
สรุปผลการอภิปรายของคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ณ มหาวิทยาลัย Warwick
เมืองโคเวนทรี และมหาวิทยาลัย SOAS กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ผศ. สุรัตน์ฯ - จุดประสงค์ในการเยือนของคณะผู้ทรงคุณวุฒิคือ
1) ทำความเข้าใจในประเด็นที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประเทศไทย อาทิ การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร การแก้ไข พรบ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันดำเนินมา และ
2) อธิบายถึงความจำเป็นในการก่อรัฐประหาร
การประณามประเทศไทยในการปกป้องธุรกิจของประเทศตนเอง และการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนของตนแสดงให้เห็นว่า มาตรฐานจริยธรรมของประชาคมระหว่างประเทศตกต่ำ และการเปรียบรัฐบาลไทยกับรัฐบาลทหารพม่านั้น เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่มีมูลความจริง เเละสะท้อนให้เห็นว่าผู้กล่าวหามีวาระซ่อนเร้น
รัฐบาลทักษิณกระทำการยึดอำนาจทางการเมือง โดยรวบรวมพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กเข้ากับพรรคไทยรักไทย โดยการใช้เงินซื้อ และในบางครั้งมีการข่มขู่ให้ ส.ส. เข้าร่วมพรรคไทยรักไทย (ซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำลายระบบพรรคการเมือง) ทำให้กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากอย่างท่วมท้น องค์กรอิสระถูกแทรกแซง โดยการควบคุมเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภาในการคัดสรรบุคคลไปดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ นอกจากนี้อิสรภาพของสื่อยังถูกแทรกแซงด้วย
มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นำไปสู่ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด และการหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร, มีการประกาศยุบสภาเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และให้ตนและพวกทำหน้าที่รัฐบาลรักษาการเกินกว่า 90 วันตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และมีการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคการเมืองอื่นๆ ไม่ให้ความร่วมมือด้วย (boycott) ซึ่งศาลสถิตยุติธรรม และศาลต่างๆ มีความเห็นว่าผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ และมีคำสั่งให้จำคุก กกต. ชุดที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งดังกล่าว เนื่องจากมีหลักฐานว่ามีการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินเป็นจำนวนกว่า 6 ล้านใบ. กรณีเกี่ยวกับการขับไล่รัฐบาลระบอบทักษิณ ที่สุดรัฐบาลทักษิณมีการจัดตั้งกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลเพื่อให้ปะทะกับกลุ่มผู้ประท้วงขับไล่รัฐบาล
สิ่งที่นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังดำเนินการ ซึ่งไม่ได้มีการปฏิบัติในยุคทักษิณ คือ
1) การที่นายกรัฐมนตรีออกมาขอโทษประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในนามของรัฐบาล และ
2) การต่อสู้กับบริษัทข้ามชาติ โดยการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร
ตนเห็นว่า บางครั้งการกระทำรัฐประหารไม่ได้เป็นการต่อต้านประชาธิปไตยแต่อย่างใด ตราบใดที่การกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำลายเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เเละสื่อมวลชน เเละยังคงรักษาไว้ซึ่งหลักนิติรัฐเเละหลักนิติธรรม
นายสุรสีห์ โกศลนาวิน
(กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)
- ในช่วงสมัยรัฐบาลที่แล้ว องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ไทยอธิบายข้อกล่าวหาในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
(รวม 26 คดี) ในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยนายสุรสีห์ฯ ได้เน้นหนักว่า
ปัญหาร้ายแรงที่สุดในประเด็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคของทักษิณฯ คือ
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย หรือปัญหาด้านหลักนิติธรรม (rule of law) อาทิ การฆ่าตัดตอนโดยการขึ้นบัญชีดำผู้ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด
โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม และใช้เป็นเครื่องมือสนองนโยบายของรัฐบาล และการกำจัดหัวคะแนนของนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้อำนาจของตำรวจ การใช้ พรก.บริหารราชการแผ่นดินในยามฉุกเฉินซึ่งทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม
เนื่องจากเป็นนโยบายที่สนับสนุนความรุนแรง เหตุการณ์กรือเซะ และตากใบ การเปิดสวนสัตว์ไนท์ซาฟารี
ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการบุกรุกป่าสงวน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ออกแถลงการณ์ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุครัฐบาลทักษิณ
แต่รัฐบาลทักษิณก็มิได้รู้สึกอะไร กลับปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
ศ.ดร. จรัส สุวรรณมาลา
(คณบดีคณะรัฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) - รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ การให้อำนาจวุฒิสภาในการแต่งตั้งผู้แทนองค์กรอิสระ
ทำให้สมาชิกวุฒิสภาฝ่ายรัฐบาลแต่งตั้งผู้แทนที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐบาล จึงทำให้รัฐบาลแข็งแกร่งเพราะมีเสียงข้างมากในสภา
และมีองค์กรอิสระที่เอื้อประโยชน์ต่อตน ทำให้เกิดรัฐบาลทรราชย์ที่มาจากการเลือกตั้ง
และมีการตั้งงบประมาณกลางที่สูงผิดปกติถึง 2 เท่า และนำไปใช้เป็นเครื่องมือหาเสียง
การสร้างภาระหนี้โดยไม่ให้ปรากฏในบัญชีของรัฐ ทางออกที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
คือ การให้อิสระแก่ สส., การนำกลไกของสถาบันตุลาการมาแก้ไขปัญหาทางการเมือง เพื่อให้การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็งขึ้น
การทำให้รัฐธรรมนูญปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และให้ประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริงได้โดยไม่ต้องบัญญัติกฎหมายลูก
ผศ.ดร. พิรงรอง รามสูต (คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
- ข้อเปรียบเทียบระหว่างการแทรกแซงและใช้สื่อของรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลชุดปัจจุบัน
คือ รัฐบาลทักษิณ ใช้กลไกที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการควบคุมสื่อ อาทิ การสร้างความกลัวโดยการใช้กระบวนการยุติธรรม
(เช่น ฟ้องสื่อและบุคคลที่วิจารณ์รัฐบาลทักษิณฯ) และองค์กรอิสระต่างๆ โจมตีสื่อ
รวมถึงการลงโฆษณาแก่สื่อที่เอื้อประโยชน์ให้ตน การกระทำโดยแนบเนียน คือ ใช้อำนาจทุนที่มีซื้อและควบคุมสื่อ
และการเล่นงานสื่อมวลชนที่วิจารณ์รัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มีรายการวิทยุโทรทัศน์เป็นของตนเอง และมีการเบี่ยงเบนความสนใจของข่าวจากเรื่องร้ายเป็นเรื่องดี
เช่น การสร้างกระแสข่าวว่าประเทศไทยจะซื้อทีมฟุตบอลลิเวอร์พูล การคุกคามสื่อโดยใช้พันธมิตรทางการเมือง
เช่น แท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง โดยยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นครั้งแรกที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ทางการเมือง
หลังจากการรัฐประหาร คมช. และรัฐบาล เป็นผู้ใช้อำนาจในการปิดกั้นสื่อ แต่ต่างจากยุครัฐบาลทักษิณคือ
การควบคุมสื่อเป็นไปอย่างเปิดเผย โดยเป็นการขอร้องไม่ใช่การปิดกั้น และสื่อส่วนใหญ่มักเซ็นเซอร์ตัวเอง
(self-censored) จากการเสนอข่าวที่มีความอ่อนไหวสูง
ดร. ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
(อดีตสมาชิกวุฒิสภา) - ตนรู้จัก พ.ต.ท. ทักษิณฯ ตั้งแต่บิดาของตนดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย
และ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ได้ขอเข้ามาร่วมเล่นการเมือง สิ่งที่ทำให้ตนและ พ.ต.ท. ทักษิณฯ
ขัดแย้งกันคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะการประกาศสงครามกับยาเสพติดในปี
2544 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของนโยบายที่รัฐบาลทักษิณสนับสนุนให้มีการฆ่าตัดตอน
โดย พ.ต.ท. ทักษิณฯ ประกาศอยู่เสมอว่า มีสถานที่สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2 แห่ง คือ คุก และโลงศพ
มีการนับจำนวนผู้ตายจากสงครามยาเสพติด โดย 15 วันแรก พ.ต.ท. ทักษิณฯ ประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตจากนโยบายดังกล่าว
518 ศพ และเพิ่มเป็นราว 2,800 ภายใน 3 เดือน โดยมีการทำบัญชีดำของชื่อผู้ที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมค้ายาเสพติด
โดยให้ชาวบ้านและผู้คนทั่วไปหย่อนบัตรเขียนชื่อคนที่อยู่ในข่ายต้องสงสัย จึงเป็นช่องว่างให้เกิดการกลั่นแกล้ง
รวมถึงการสังหารคู่แข่งทางการเมือง โดยกระทรวงยุติธรรมได้ระบุว่ากว่าร้อยละ 40
ของคดีฆ่าตัดตอน ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตนเคยดำรงตำแหน่งเป็น ส.ว. นั้น มีคนที่ตนรู้จัก และสนิทคุ้นเคย รวมถึงคนในพื้นที่เสียชีวิตไปกว่า 200 ศพ ภายในช่วงแรกของการประกาศสงครามยาเสพติด โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตเป็นบุตรชายของครูใหญ่ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งถูกสังหารหลังจากการไปรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ภายใต้ระบอบทักษิณยังเกิดปรากฏการณ์รัฐตำรวจ คือการที่ตำรวจใช้อำนาจข่มขู่ประชาชน และดำเนินคดีกับประชาชนที่บริสุทธิ์ โดยในปัจจุบันอธิบดีกรมราชทัณท์เปิดเผยว่า จากผู้ที่ถูกจำคุกอยู่กว่า 200,000 คน มี 7,000 คนที่รับสารภาพว่า กระทำผิดเพราะถูกทรมานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ. แม้ว่าจะมีการประกาศสงครามกับยาเสพติด แต่ปัจจุบันกลับมีจำนวนยาเสพติดเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 40 ในประเทศไทย
ในหลักการ ตนไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจรัฐประหาร แต่เห็นว่าครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็น และเมื่อเปรียบเทียบกับครั้งที่บิดาตนถูกยึดทรัพย์ จะเห็นว่ามีทรัพย์สินมูลค่าเพียง 100 ล้านบาท ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ มีทรัพย์สินมูลค่าเกือบสองแสนล้านบาทที่อาจถูกยึด
ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณฯ รัฐบาลตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ อาทิ การจัดทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) โดยไม่ปรึกษาองค์กรอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวุฒิสภา ตนซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศของวุฒิสภา ไม่สามารถเปิดอภิปรายในเรื่องสำคัญ อาทิ FTA เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่รวมถึงประธานวุฒิสภาในขณะนั้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาล
นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์
(นักวิชาการอิสระ)
- รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย รัฐบาลทักษิณให้สัญญาว่าจะช่วยผู้ยากไร้
แต่กลับหักหลัง โดยการใช้ลูกไม้ในการเอื้อประโยชน์ให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนบ้างบางประการ
แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้ตนและพวกพ้องมากกว่า และยังใช้เงินซื้อผู้ยากไร้ในชนบทให้ชุมนุมสนับสนุนตน
ตนไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารแต่ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ก็มีการเตรียมการทำรัฐประหารเช่นกัน
ตนเห็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้ไม่มีการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด โดยมีการใช้หลักกฎหมายและหลักนิติธรรมในการดำเนินอรรถคดีต่างๆ
จึงทำให้เกิดความล่าช้าไปบ้าง ทั้งนี้ การก่อรัฐประหารเป็นเพียงฟางเส้นสุดท้ายที่นำไปสู่กระบวนการขับไล่ทักษิณ
ซึ่งมีที่มาจากความต้องการความเป็นธรรมทางสังคมของคนในชาติ
การรวมตัวระหว่างผู้ยากไร้กับชนชั้นกลางในสังคม จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดในยุคเปลี่ยนผ่านคือ การให้ความรู้แก่ประชาชน และต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในระบอบประชาธิปไตย หากต้องการสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนไทยต้องเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมไทยซึ่งหยั่งรากอยู่ในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย
ช่วงถาม-ตอบ
1. คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะเป็นรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้ายหรือไม่
และจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งหรือไม่ จะมีการป้องกันไม่ให้ข้อผิดพลาดที่เกิดจากรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วเกิดขึ้นอีกอย่างไร
ศ.ดร. จรัสฯ - ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันพยายามแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ
ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและวุฒิสภา
และการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตย มีการบัญญัติให้ประชาชนสามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรี
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการตุลาการได้ โดยเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญฉบับปี
2540 กว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ ตนตระหนักดีว่าจะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดสมบูรณ์แบบ
และต้องมีวิวัฒนาการต่อไป
เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง เนื่องจากรัฐบาลใหม่ที่มีจากการเลือกตั้ง
ย่อมมีอาณัติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ตรงกับความต้องการของประชาชน
ผศ. สุรัตน์ฯ
- การแก้ไขโครงสร้างของอำนาจ ต้องเป็นไปโดยมีเป้าหมายมิให้ฝ่ายบริหารลุแก่อำนาจ
และใช้อำนาจโดยไม่มีการตรวจสอบ ทั้งนี้ต้องมีการดำเนินการควบคู่ไปกับการเสริมสร้างค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี
2. รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาได้จริงหรือไม่
อ. สุลักษณ์ฯ - ประชาชนไทยต้องเข้าใจรากฐานของวัฒนธรรมของตนซึ่งมีพุทธศาสนาเป็นที่ตั้ง
และข้อเรียกร้องของภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเรียกร้องของคนยากจน ต้องได้รับการพิจารณา
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจึงจะสัมฤทธิ์ผล
3. หากจะนำสถานการณ์ในการแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ เปรียบกับการเรียกร้องให้มีการปกครองตนเอง
/ การแบ่งแยกดินแดนในไอร์แลนด์เหนือ เห็นว่าการให้อำนาจการปกครองท้องถิ่น (decentralization)
เป็นการแก้ปัญหาที่ได้ผล
ศ.ดร. จรัสฯ - ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น
อย่างไรก็ดี เห็นว่าควรมีการให้การคุ้มครองและประกันความปลอดภัยแก่ประชาชนได้ก่อนที่จะมีการให้สิทธิในการปกครองตนเอง
4. การรัฐประหารครั้งนี้ต่างจากการรัฐประหารครั้งที่แล้วมาอย่างไร
นโยบายต่อสถานการณ์ในภาคใต้ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้วอย่างไร
ผศ. สุรัตน์ฯ - การรัฐประหารครั้งนี้ไม่มีการใช้อำนาจเด็ดขาดและเบ็ดเสร็จเหมือนครั้งที่ผ่านมา
โดย คมช. และรัฐบาลปล่อยให้กลไกต่างๆ ในการตรวจสอบดำเนินการไปโดยไม่มีการแทรกแซง
อาทิ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแห่งรัฐ (คตส.)
- เห็นว่ารัฐบาลไม่สามารถลบล้างระบอบเผด็จการนิยม (totalitarianism) ของรัฐบาลชุดที่แล้วได้
หากรัฐบาลชุดนี้มีการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเหมือนรัฐบาลชุดที่แล้ว
นายไกรศักดิ์ฯ -
ในหลักการ ตนไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจรัฐประหาร แต่เห็นว่าครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็น
- ก่อนช่วงปี 2545 ยอดคดีฆาตกรรมในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เฉลี่ยอยู่ที่
5-6 คดี แต่หลังจากที่ พ.ต.ท. ทักษิณ มีมาตรการขจัดปัญหาในภาคใต้ ยอดผู้เสียชีวิตจากคดีฆาตกรรมเพิ่มขึ้นเป็นกว่า
2,000 คดีต่อปี และช่วงเหตุการณ์ตากใบมีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ศพ ซึ่งตนได้รับโทรศัพท์จากญาติพี่น้องของชาวมุสลิมที่เสียชีวิตหลายราย
ร้องขอความเป็นธรรม จำนวนเด็กกำพร้าในภาคใต้เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 เท่าในช่วงรัฐบาลชุดที่แล้ว
- ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณฯ ประเทศไทยมีการจับกุมและคุมขังนักโทษการเมืองมากกว่า 1,300 ราย มากกว่าประเทศพม่าที่มีการคุมขังนักโทษการเมือง 1,100 ราย
- รัฐบาลชุดที่แล้วยังใช้จำนวนผู้เสียชีวิตจากการประกาศสงครามกับยาเสพย์ติด และนโยบายการแก้ความรุนแรงในภาคใต้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จ ซึ่งนำไปสู่สถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน. ตนเห็นว่าสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ควรได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ และศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court - ICC) ควรดำเนินคดีกับ พ.ต.ท. ทักษิณฯ
นายสุรสีห์ฯ -
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนผลักดันให้มีการถอนฟ้องคดีที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ อาทิ การดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
รวมถึงผู้ที่ถูกดำเนินคดีในภาคใต้ เห็นว่าหากมีการนำหลักสิทธิมนุษยชนมาใช้ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ในภาคใต้
สถานการณ์จะดีขึ้นเป็นลำดับ
5. ขอทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับคำกล่าวว่า ที่ผ่านมาในประเทศไทยมีความพยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการในเรื่องต่างๆ
ผ่านวิถีที่ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย
อ. สุลักษณ์ฯ - รัฐบาลปัจจุบันเข้าใจข้อเรียกร้องและอดทนต่อการเคลื่อนไหวของประชาชน
เห็นว่าค่านิยมที่เป็นประชาธิปไตยของไทยถูกทำลายไปในอดีตจากการรัฐประหาร หากมีการรับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน
ประชาธิปไตยจะก้าวหน้า
ผศ. สุรัตน์ฯ - รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเสมอไป
6. เห็นว่าอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ มีการควบคุมสื่อผ่านวิธีต่างๆ
คล้ายกับนายกรัฐมนตรี Berlusconi ของอิตาลี ขอทราบว่าจะทำอย่างไรไม่ให้มีการผูกขาดสิทธิเสรีภาพสื่อในประเทศไทย
อ. พิรงรองฯ - พ.ต.ท. ทักษิณฯ ควบคุมสื่อและเป็นเจ้าของธุรกิจคมนาคมต่างๆ
โดยใช้เครื่องมือทางกฎหมายในการฟ้องร้องสื่อที่วิจารณ์ตน เห็นว่าการใช้กระบวนการทางยุติธรรม
เช่น กรณีของนางสุภิญญาฯ ซึ่งโดนฟ้องในคดีหมิ่นประมาทนั้น ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากประชาคมระหว่างประเทศ
และเป็นแนวทางในการเปิดโปงการควบคุมและข่มขู่สื่อของรัฐบาลทักษิณฯ
(๗) สรุปผลการอภิปรายของคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ที่
Chatham House กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๗.๓๐ น.
ผศ. สุรัตน์ฯ - จุดประสงค์ในการเยือนของคณะผู้ทรงคุณวุฒิคือ
1) ทำความเข้าใจในประเด็นที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประเทศไทย อาทิ การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร การแก้ไข พรบ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันดำเนินมา และ
2) อธิบายถึงความจำเป็นในการก่อรัฐประหาร
การประณามประเทศไทยในการปกป้องธุรกิจของประเทศตนเอง และการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนของตนแสดงให้เห็นว่า มาตรฐานจริยธรรมของประชาคมระหว่างประเทศตกต่ำ และการเปรียบรัฐบาลไทยกับรัฐบาลทหารพม่านั้น เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่มีมูลความจริง เเละสะท้อนให้เห็นว่าผู้กล่าวหามีวาระซ่อนเร้น. ประชาคมระหว่างประเทศต้องเลิกประณามประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือแก่ไทยในฐานะสมาชิกของประชาคมระหว่างประเทศที่ตกทุกข์ได้ยาก
รัฐบาลทักษิณกระทำการยึดอำนาจทางการเมือง โดยรวบรวมพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กเข้ากับพรรคไทยรักไทยด้วยการใช้เงินซื้อ และในบางครั้งมีการข่มขู่ให้ ส.ส. เข้าร่วมพรรคไทยรักไทย (ซึ่งถือได้ว่าเป็นการทำลายระบบพรรคการเมือง) ทำให้กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากอย่างท่วมท้น องค์กรอิสระถูกแทรกแซงโดยการควบคุมเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา อิสรภาพของสื่อถูกแทรกแซง
- มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นำไปสู่ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด และการหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร
- มีการประกาศยุบสภาเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และให้ตนและพวกทำหน้าที่รัฐบาลรักษาการเกินกว่า 90 วันตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และมีการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคการเมืองอื่นๆ ไม่ให้ความร่วมมือด้วย (boycott) ซึ่งศาลสถิตยุติธรรม และศาลต่างๆ มีความเห็นว่าผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ และมีคำสั่งให้จำคุก กกต. ชุดที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งดังกล่าว เนื่องจากมีหลักฐานว่ามีการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินเป็นจำนวนกว่าหกล้านใบ
- ในที่สุดรัฐบาลทักษิณมีการจัดตั้งกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล เพื่อให้ปะทะกับกลุ่มผู้ประท้วงขับไล่รัฐบาล
สิ่งที่นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังดำเนินการซึ่งไม่ได้มีการปฏิบัติในยุคทักษิณ คือ
1) การที่นายกรัฐมนตรีออกมาขอโทษประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในนามของรัฐบาล และ
2) การต่อสู้กับบริษัทข้ามชาติ โดยการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา
- ตนเห็นว่า บางครั้งการกระทำรัฐประหารไม่ได้เป็นการต่อต้านประชาธิปไตยแต่อย่างใด ตราบใดที่การกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำลายเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนเเละสื่อมวลชน เเละยังคงรักษาไว้ซึ่งหลักนิติรัฐเเละหลักนิติธรรม
นายสุรสีห์ โกศลนาวิน
(กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)
- ในช่วงสมัยรัฐบาลที่แล้ว องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ไทยอธิบายข้อกล่าวหาในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
(รวม 26 คดี) ในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยนายสุรสีห์ฯ ได้เน้นหนักว่า
ปัญหาร้ายแรงที่สุดในประเด็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคของทักษิณฯ คือ
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย หรือปัญหาด้านหลักนิติธรรม (rule of law) อาทิ การฆ่าตัดตอนโดยการขึ้นบัญชีดำผู้ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด
โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม และใช้เป็นเครื่องมือสนองนโยบายของรัฐบาล และการกำจัดหัวคะแนนของนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้อำนาจของตำรวจ การใช้ พรก.บริหารราชการแผ่นดินในยามฉุกเฉิน
ซึ่งทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม เนื่องจากเป็นนโยบายที่สนับสนุนความรุนแรง เหตุการณ์กรือเซะ
และตากใบ การเปิดสวนสัตว์ไนท์ซาฟารี ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการบุกรุกป่าสงวน
ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้ออกแถลงการณ์ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุครัฐบาลทักษิณ
แต่รัฐบาลทักษิณก็มิได้รู้สึกอะไร กลับปล่อยให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
ดร. ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
(อดีตสมาชิกวุฒิสภา) - ในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณฯ รัฐบาลตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ
อาทิ การจัดทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) โดยไม่ปรึกษาองค์กรอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวุฒิสภา
ตนซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศของวุฒิสภา ไม่สามารถเปิดอภิปรายในเรื่องสำคัญ
อาทิ FTA เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่รวมถึงประธานวุฒิสภาในขณะนั้น อยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐบาล
- การให้ความช่วยเหลือและเงินกู้แก่รัฐบาลพม่าโดยผ่าน Exim Bank ของรัฐบาลชุดที่แล้ว
ถือเป็นการส่งเสริมให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐบาลทหารพม่า โดยไม่สนใจต่อข้อห่วงกังวลของประชาคมระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะรายงานเรื่อง "license to rape" ของหน่วยงานในกำกับขององค์การสหประชาชาติ
ที่รายงานการใช้การละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยการข่มขืนและการบังคับใช้แรงงานของชนกุล่มน้อยโดยรัฐบาลทหารพม่า
- มีการประท้วงจากองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ (NGOs) และประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับนโยบายประกาศสงครามยาเสพย์ติด และการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขสถานการณ์ในภาคใต้ โดย พ.ต.ท. ทักษิณฯ ประกาศว่า มีผู้เสียชีวิตจากนโยบายดังกล่าว 518 ศพ และเพิ่มเป็นราว 2,800 ภายใน 3 เดือน โดยมีการทำบัญชีดำของชื่อผู้ที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมค้ายาเสพติด ด้วยการให้ชาวบ้านและผู้คนทั่วไปหย่อนบัตร เขียนชื่อคนที่อยู่ในข่ายต้องสงสัย จึงเป็นช่องว่างให้เกิดการกลั่นแกล้ง รวมถึงการสังหารคู่แข่งทางการเมือง
- ในหลักการ ตนไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจรัฐประหาร แต่เห็นว่าครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็น และเมื่อเปรียบเทียบกับ ครั้งที่บิดาตนถูกยึดทรัพย์ จะเห็นว่ามีทรัพย์สินมูลค่าเพียง 100 ล้านบาท ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ มีทรัพย์สินมูลค่าเกือบ 200,000 ล้านบาทที่อาจถูกยึด
ศ.ดร. จรัส สุวรรณมาลา
(คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) - รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มีจุดอ่อนที่สำคัญคือ
การให้อำนาจวุฒิสภาในการแต่งตั้งผู้แทนองค์กรอิสระ ทำให้สมาชิกวุฒิสภาฝ่ายรัฐบาลแต่งตั้งผู้แทนที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐบาล
จึงทำให้รัฐบาลแข็งแกร่งเพราะมีเสียงข้างมากในสภา และมีองค์กรอิสระที่เอื้อประโยชน์ต่อตน
ทำให้เกิดรัฐบาลทรราชย์ที่มาจากการเลือกตั้ง และมีการตั้งงบประมาณกลางที่สูงผิดปกติถึง
2 เท่า และนำไปใช้เป็นเครื่องมือหาเสียง การสร้างภาระหนี้โดยไม่ให้ปรากฏในบัญชีของรัฐ
ทางออกที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ การให้อิสระแก่ สส. การนำกลไกของสถาบันตุลาการมาแก้ไขปัญหาทางการเมือง
เพื่อให้การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็งขึ้น การทำให้รัฐธรรมนูญปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
และให้ประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริงได้โดยไม่ต้องบัญญัติกฎหมายลูก
ผศ.ดร. พิรงรอง รามสูต
(คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) - ประเทศไทยก่อนยุครัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณฯ
เคยเป็นประเทศที่มีสิทธิเสรีภาพสื่อที่ดี อย่างไรก็ดี ในระหว่างยุครัฐบาล พ.ต.ท.
ทักษิณฯ มีการใช้กลไกที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในการควบคุมสื่อ อาทิ การสร้างความกลัวโดยการใช้กระบวนการยุติธรรม
(เช่น ฟ้องสื่อและบุคคลที่วิจารณ์รัฐบาลทักษิณฯ) และองค์กรอิสระต่างๆ โจมตีสื่อ
รวมถึงการลงโฆษณาแก่สื่อที่เอื้อประโยชน์ให้ตน การกระทำโดยแนบเนียน คือ ใช้อำนาจทุนที่มีซื้อและควบคุมสื่อ
และการเล่นงานสื่อมวลชนที่วิจารณ์รัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มีรายการวิทยุโทรทัศน์เป็นของตนเอง และมีการเบี่ยงเบนความสนใจของข่าวจากเรื่องร้ายเป็นเรื่องดี
เช่น การสร้างกระแสข่าวว่าประเทศไทยจะซื้อทีมฟุตบอลลิเวอร์พูล การคุกคามสื่อโดยใช้พันธมิตรทางการเมือง
เช่น แท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์รับจ้าง โดยยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เป็นครั้งแรกที่มีการปิดกั้นเว็บไซต์ทางการเมือง
หลังจากการรัฐประหาร คมช. และรัฐบาล เป็นผู้ใช้อำนาจในการปิดกั้นสื่อ แต่ต่างจากยุครัฐบาลทักษิณคือ
การควบคุมสื่อเป็นไปอย่างเปิดเผย โดยเป็นการขอร้องไม่ใช่การปิดกั้น และสื่อส่วนใหญ่มักเซ็นเซอร์ตัวเอง
(self-censored) จากการเสนอข่าวที่มีความอ่อนไหวสูง
นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์
(นักวิชาการอิสระ)
- รัฐบาลทักษิณให้สัญญาว่าจะช่วยผู้ยากไร้ แต่กลับหักหลัง โดยการใช้ลูกไม้ในการเอื้อประโยชน์ให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนบ้างบางประการ
แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้ตนและพวกพ้องมากกว่า และยังใช้เงินซื้อผู้ยากไร้ในชนบทให้ชุมนุมสนับสนุนตน
- ตนไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร แต่ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ก็มีการเตรียมการทำรัฐประหารเช่นกัน
ตนเห็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้ไม่มีการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด โดยมีการใช้หลักกฎหมายและหลักนิติธรรมในการดำเนินอรรถคดีต่างๆ
จึงทำให้เกิดความล่าช้าไปบ้าง ทั้งนี้ การก่อรัฐประหารเป็นเพียงฟางเส้นสุดท้าย
ซึ่งนำไปสู่กระบวนการขับไล่ทักษิณ อันเป็นที่มาจากความต้องการความเป็นธรรมทางสังคมของคนในชาติ
- การรวมตัวระหว่างผู้ยากไร้กับชนชั้นกลางในสังคม จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดในยุคเปลี่ยนผ่านคือ การให้ความรู้แก่ประชาชน และต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในระบอบประชาธิปไตย หากต้องการสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนไทยต้องเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมไทยซึ่งหยั่งรากอยู่ในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย
ช่วงถาม-ตอบ
1. ขอทราบบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในบริบทของประชาธิปไตยไทย
นายไกรศักดิ์ฯ - บทบาทของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยเป็นไปในเชิงสัญลักษณ์
แต่ในช่วงที่มีการเผชิญหน้ากัน อาจถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ทรงใช้พระวิจารณญานในการแนะนำให้ประเทศพ้นผ่านวิกฤต
อาทิ เหตุการณ์เมื่อตุลาคม 2516 และพฤษภาคม 2535 โดยกษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรไทย
และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ
2. ขอทราบบทบาทของเงินลงทุนต่างชาติที่มีต่อเศรษฐกิจไทย หากไทยยังต้องการให้มีการลงทุนจากต่างประเทศ
นโยบายด้านเศรษฐกิจบางอย่างอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในหมู่นักลงทุนต่างประเทศ
ในการนี้ ขอทราบว่าเหตุใดจึงไม่รอให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก่อนการแก้ไข
พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
นายไกรศักดิ์ฯ - เงินลงทุนจากต่างประเทศมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
ที่ผ่านมา ธุรกิจไทยมีความสมดุลในด้านการส่งออกและนำเข้า ภายใต้รัฐบาล พ.ต.ท.
ทักษิณฯ ร้านขายของชำ และร้านโชว์ห่วยต่างๆ ถูกบังคับให้ปิดกิจการลงเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ
ได้
- จุดประสงค์ของการทำรัฐประหารในคราวนี้คือ การแก้ไขสิ่งผิดที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้กระทำไว้
การแก้ไข พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่รัฐบาล
พ.ต.ท. ทักษิณฯ และ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ใช้ในการฉ้อโกง จึงต้องได้รับการแก้ไข ทั้งนี้การแก้ไข
พรบ. ดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้กฎระเบียบในการประกอบธุรกิจโปร่งใสขึ้น และมาตรการการกันเงินทุนสำรองร้อยละ
30 ของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น มีผลกระทบเฉพาะผู้ที่ลงทุนระยะสั้นมากที่หวังกำไรในตลาดเงินเท่านั้น
(short-term speculators)
- ทั้งนี้ ประเทศฝรั่งเศสลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผศ.
สุรัตน์ - ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังศึกษามาตรการที่ประเทศต่างๆ รวมถึงสหราชอาณาจักรใช้ในการปกป้องธุรกิจค้าปลีกของตนจากการลงทุนของบรรษัทข้ามชาติ.
ขอยืนยันว่า มีการปรึกษากับสภาหอการค้าต่างประเทศต่างๆ ในไทย รวมถึง สภาหอการค้าสหราชอาณาจักรในระหว่างการแก้ไข
พรบ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อย่างต่อเนื่อง
3. จะแน่ใจได้อย่างไรว่า คณะทหารที่ทำการรัฐประหารจะก้าวลงจากอำนาจหลังจากมีการเลือกตั้ง
นายสุลักษณ์ฯ - สิ่งที่ชัดเจนเกี่ยวกับผู้ที่กระทำการรัฐประหารคือ
การฟังเสียงของประชาชน
ศ. ดร. จรัสฯ - การรัฐประหาร 2 ครั้งที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า
คณะทหารไม่สามารถอยู่ในอำนาจได้นาน
นายไกรศักดิ์ - ไม่สามารถประกันได้ว่าทหารที่ก่อการรัฐประหารจะก้าวลงจากอำนาจหรือไม่
แต่ที่แน่นอนคือ ประชาชนไทยจะไม่ยอมรับหากมีการสืบต่ออำนาจ และจะมีการต่อต้าน
(there will be blood)
4. รัฐธรรมนุญฉบับปัจจุบันต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วอย่างไร
ศ. ดร. จรัสฯ - แม้รัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วจะถูกยกย่องว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุด
แต่มีข้อเสียที่ร้ายแรงคือ การให้วุฒิสภาโดนแทรกแซงโดยรัฐบาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ทำให้ระบบตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญไม่สามารถใช้การได้ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กระบวนการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ และให้อำนาจแก่ประชาชนในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหนงทางการเมือง
และข้าราชการตุลาการ อย่างไรก็ดี เนื้อหาของรัฐธรรมนูญกว่าร้อยละ 60 ตั้งอยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ
ฉบับปี 2550
5. ต่อคำกล่าวว่า ประเทศไทยต้องการความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ
ประเทศไทยต้องการความช่วยเหลือในรูปใด
ผศ. สุรัตน์ฯ - ประเทศไทยเป็นรัฐอธิปไตย และสามารแก้ไขปัญหาภายในประเทศได้ด้วยตนเอง
แต่บางครั้งต้องการความเข้าใจจากประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งให้ความช่วยเหลือทางด้านกำลังใจ
(morale support) อาทิ การเลิกประณามการรัฐประหารและการแสดงการยอมรับว่า มีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมในด้านการปฏิรูปการเมือง
การร่างรัฐธรรมนูญ ตลอดจนกระบวนการประชาธิปไตย (democratize process) ที่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นตอนตลอดมาตั้งแต่
19 กันยายน 49
6. รัฐบาลทักษิณใช้มาตรการรุนแรงในการแก้ปัญหาภาคใต้ ขอทราบว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาภาคใต้อย่างไร
นายสุรสีห์ฯ - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ขอให้มีการถอนฟ้องคดีละเมิดต่างๆ
ที่มีการดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรมในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณฯ เชื่อว่าหากมีการบังคับใช้กฎหมายควบคู่ไปกับหลักนิติธรรม
จะก่อให้เกิดความสงบสุขก่ภาคใต้ในเร็ววันนี้
7. ทำไมถึงมีความต้องการให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
ศ. ดร. จรัสฯ - เป็นความต้องการของคนเพียงกลุ่มน้อย
กว่าร้อยละ 80 ของประชาชนที่ตนมีโอกาสได้ทำประชาพิจารณ์ แสดงความไม่เห็นด้วยกับการบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
อ. สุลักษณ์ฯ - หากมีการบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
อาจนำไปสู่ความแตกแยกดังเช่น กรณี ของประเทศศรีลังกา และเห็นว่าคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นข้ามผ่านและหลุดพ้นจากกรอบของความเป็นชาตินิยม
คลิกกลับไปทบทวนรายงานสรุปฉบับนี้ ตอนที่ ๑
บทความที่เกี่ยวเนื่อง ๖๓๑ ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
26 คำถาม"ยูเอ็น" ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยนชนในไทย
คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com