บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
เรียนรู้อย่างใช้วิจารณญาน
สนับสนุนพลังของการตรวจสอบ
รายงานสรุปการโฆษณาของนักวิชาการให้รัฐบาลและ คปค (ตอนที่ ๒)
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
ขอขอบคุณสื่อมวลชน ซึ่งส่งรายงานฉบับนี้มาให้
รายงานสรุปฉบับนี้
เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งได้เดินทางไปต่างประเทศ ราวปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ความจำเป็นในการทำรัฐประหาร และการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว หลังโค่นอำนาจรัฐบาลทักษิณ
ชินวัตร
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้เปิดพื้นที่สาธารณะนี้ขึ้นเพื่อการตรวจสอบ
บนพื้นฐานของประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy)
หากผู้อ่านมีความคิดเห็นเป็นอื่นใดในเชิงโต้แย้งรายงานสรุปฉบับนี้
และต้องการพื้นที่ในการนำเสนอความเห็นของตน สามารถส่งมาเผยแพร่ได้ที่
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับ
เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงทุกประการ ในการนำไปใช้อ้างอิงได้ทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๒๖๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒ มิถุนายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++
เรียนรู้อย่างใช้วิจารณญาน
สนับสนุนพลังของการตรวจสอบ
รายงานสรุปการโฆษณาของนักวิชาการให้รัฐบาลและ คปค (ตอนที่
๒)
กองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
(๓) สรุปผลการอภิปรายที่มูลนิธิ
Friedrich Ebert Stiftung
ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐยอรมนี
วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ระหว่างเวลา ๑๑.๐๐ -
๑๕.๐๐ น.
ดร. Beate Bartodus (หัวหน้ากรมเอเชียและแปซิฟิก
มูลนิธิ FES) กล่าวนำถึงการได้รับรายงานและการประเมินสถานการณ์ในประเทศไทยจาก
FES กรุงเทพฯ ว่า กว่าร้อยละ 70 ของประชาชนทั่วไปเห็นด้วยกับการรัฐประหารเพื่อหยุดความขัดแย้งทางการเมือง
กอปรกับพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องดังกล่าว ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า
บางครั้งการใช้กำลังทางทหารเป็นที่ยอมรับได้ หากเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ศ. ดร. Derichs Claudia (มหาวิทยาลัย Hildesheim)
- การอภิปรายจะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนผ่านทางการเมือง และสถานการณ์การเมืองไทยหลังการรัฐประหาร
1. อนาคตทางการเมือง
ดร. ไกรศักดิ์ฯ - อนาคตเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองไทยยังคงมีไม่แน่นอน
ตนเชื่อว่าหากรัฐบาลอ่อนแอ ประชาชนจะเข็มแข็งขึ้น
ศ. ดร. Alfred Mols (มหาวิทยาลัย Mainz) - ประเทศไทยยังขาดสถาบันทางประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง
พรรคการเมืองและภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง อาจช่วยก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง
ผศ. สุรัตน์ฯ - พรรคไทยรักไทยไม่สามารถเป็นสถาบันทางการเมืองได้
เพราะเป็นพรรคที่อยู่ภายใต้อดีตหัวหน้าพรรคโดยสิ้นเชิง ในขณะที่พรรคอื่นๆ เช่นประชาธิปัตย์มีศักยภาพในการเป็นสถาบันทางการเมือง
2. การทำรัฐประหาร
ผศ. สุรัตน์ฯ - จุดประสงค์ในการเยือนของคณะผู้ทรงคุณวุฒิคือ
1) ทำความเข้าใจในประเด็นที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประเทศไทย อาทิ การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร, การแก้ไข พรบ. ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว, และมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันดำเนินมา และ
2) อธิบายถึงความจำเป็นในการก่อรัฐประหาร
- การประณามประเทศไทยในการปกป้องธุรกิจของประเทศตนเอง และการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนของตน แสดงให้เห็นว่า มาตรฐานจริยธรรมของประชาคมระหว่างประเทศตกต่ำ และการเปรียบรัฐบาลไทยกับรัฐบาลทหารพม่านั้น เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่มีมูลความจริง เเละสะท้อนให้เห็นว่าผู้กล่าวหามีวาระซ่อนเร้น
- รัฐบาลทักษิณกระทำการยึดอำนาจทางการเมือง โดยรวบรวมพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กเข้ากับพรรคไทยรักไทยโดยการใช้เงินซื้อ และในบางครั้งมีการข่มขู่ให้ ส.ส. เข้าร่วมพรรคไทยรักไทย ทำให้กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากอย่างท่วมท้น องค์กรอิสระถูกแทรกแซงโดยการควบคุมเสียงส่วนใหญ่ในวุฒิสภา อิสรภาพของสื่อถูกแทรกแซง
- มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นำไปสู่ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด และการหายตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร
- มีการประกาศยุบสภาเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และให้ตนและพวกทำหน้าที่รัฐบาลรักษาการเกินกว่า 90 วันตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ และมีการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคการเมืองอื่นๆ ไม่ให้ความร่วมมือด้วย (boycott) การที่ศาลสถิตยุติธรรม และศาลต่างๆ มีความเห็นว่าผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ และมีคำสั่งให้จำคุก กกต. ชุดที่ดำเนินการจัดการเลือกตั้งดังกล่าว เนื่องจากมีหลักฐานว่า มีการพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินเป็นจำนวนกว่าหกล้านใบ
- (ในช่วงที่เกิดวิกฤตกับระบอบทักษิณ มีการเปิดเวทีที่สนามหลวงโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อขับไล่รัฐบาล) ในที่สุดรัฐบาลทักษิณมีการจัดตั้งกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลเพื่อให้ปะทะกับกลุ่มผู้ประท้วงขับไล่รัฐบาล
- สิ่งที่นโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังดำเนินการ ซึ่งไม่ได้มีการปฏิบัติในยุคทักษิณ คือ
1) การที่นายกรัฐมนตรีออกมาขอโทษประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในนามของรัฐบาล และ
2) การต่อสู้กับบริษัทข้ามชาติ โดยการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร
ตนเห็นว่า บางครั้งการกระทำรัฐประหารไม่ได้เป็นการต่อต้านประชาธิปไตยแต่อย่างใด ตราบใดที่การกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำลายเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนเเละสื่อมวลชน เเละยังคงรักษาไว้ซึ่งหลักนิติรัฐเเละหลักนิติธรรม
นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ - รัฐบาลทักษิณเป็นรัฐบาลที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย รัฐบาลทักษิณให้สัญญาว่าจะช่วยผู้ยากไร้ แต่กลับหักหลัง โดยการใช้ลูกไม้ในการเอื้อประโยชน์ให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนบ้างบางประการ แต่กลับเอื้อประโยชน์ให้ตนและพวกพ้องมากกว่า และยังใช้เงินซื้อผู้ยากไร้ในชนบทให้ชุมนุมสนับสนุนตน. โดยส่วนตัวแล้วตนไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร แต่ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ก็มีการเตรียมการทำรัฐประหารเช่นกัน ตนเห็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้ไม่มีการใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด โดยมีการใช้หลักกฎหมายและหลักนิติธรรมในการดำเนินอรรถคดีต่างๆ จึงทำให้เกิดความล่าช้าไปบ้าง
การก่อรัฐประหารเป็นเพียงฟางเส้นสุดท้ายของกระบวนการขับไล่ทักษิณ ซึ่งมีที่มาจากความต้องการความเป็นธรรมทางสังคมของคนในชาติ การรวมตัวระหว่างผู้ยากไร้กับชนชั้นกลางในสังคมจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหม่ สิ่งที่สำคัญที่สุดในยุคเปลี่ยนผ่านคือ การให้ความรู้แก่ประชาชน และต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในระบอบประชาธิปไตย
ศ. ดร. Aurel Croissant (มหาวิทยาลัย Hildesheim) - การทำรัฐประหารในประเทศไทยเป็นการที่ทหารจะอยู่ในอำนาจชั่วคราว และให้รัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศต่อไป จะทำอย่างไรไม่ให้มีการสืบทอดอำนาจ และไม่ให้มีทหารที่เข้ามาควบคุมรัฐบาลทางใดทางหนึ่ง โดยต้องควบคุมไม่ให้ทหารหลงในอำนาจ รัฐบาลต้องสามารถอออกคำสั่งแก่ทหารได้เช่นกัน
- บทเรียนจากการเปลี่ยนผ่านจากการยึดอำนาจของทหารไปสู่รัฐบาลพลเรือน คือการการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างช้าๆ และค่อยๆ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานอำนาจระหว่างทหารและรัฐบาลพลเรือน การที่ประชาชนไทยบางคนสนับสนุนให้มีการทำรัฐประหาร เพื่อกำจัดทักษิณเป็นสิ่งที่อันตราย เนื่องจากเป็นการอนุญาตให้มีการทำรัฐประหารเกิดขึ้นซ้ำอีก
- ตนไม่เชื่อว่าทักษิณจะเป็นผู้เดียวที่กระทำผิดอย่างร้ายแรงในรอบหกเดือนที่ผ่านมา และเชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะนำพาประเทศไทยก้าวถอยหลังไปสู่ยุคก่อนปี 2535 ซึ่งประชาชนไม่มีสิทธิในการเลือก
ผศ. สุรัตน์ -
รัฐบาลชุดปัจจุบันไม่ได้เป็นรัฐบาลทหาร เป็นเพียงแต่รัฐบาลที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาหลังการทำรัฐประหาร
และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ใช่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เช่น รัฐบาลไทยรักไทยที่มาจากการเลือกตั้ง
เเต่มีความเป็นเผด็จการสูง เหตุผลในการยึดอำนาจคือ ไม่เคยปรากฏความแตกแยกในสังคมไทยเท่ายุครัฐบาลทักษิณมาก่อน
3. การร่างรัฐธรรมนูญ
ผศ. สุรัตน์ฯ - จุดประสงค์ของการร่างรัฐธรรมนูญคือ
1) ปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
2) ส่งเสริมให้มีศีลธรรมในการเมือง
3) ให้อำนาจองค์กรอิสระมากขึ้น และเป็นอิสระมากขึ้น
ดร. Gerhard Will (Stiftung
Wissenschaft und Politik) - ตนขอตั้งข้อสังเกตต่อการเมืองในประเทศไทยในฐานะคนนอก
ตนมีโอกาสเยือนไทยในระหว่างเดือน มี.ค. 2549 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวความแตกแยกในสังคมไทยและความตึงเครียดรู้สึกได้อย่างชัดเจน
มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายระหว่างผู้ที่สนับสนุนทักษิณ และผู้ที่ต่อต้านทักษิณอย่างชัดเจน
และมีความกลัวว่าจะเกิดการเผชิญหน้า เมื่อตนรับทราบข่าวการรัฐประหารในระหว่างที่อยู่
ณ กรุงย่างกุ้ง รู้สึกคลายความกังวลลง เนื่องจากเป็นการป้องกันการปะทะกันและการนองเลือด
และปัจจุบันชาวไทยมีโอกาสได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ดี คตส. ยังไม่มีผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และการร่างรัฐธรรมนูญดูเหมือนเป็นไปอย่างลับๆ
โดยเป็นการร่างเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทหารและข้าราชการระดับสูง การประนีประนอมระหว่างผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีความเป็นได้ยาก
ศ. ดร. Aurel Croissant
(มหาวิทยาลัย Hildesheim)
- รัฐบาลทักษิณมิได้มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ แต่ปัญหาของประเทศไทยคือ
ไม่มีการหาทางออกแก่ปัญหาทางการเมืองด้วยวิถีทางตามระบอบประชาธิปไตย โดยมีการใช้สถาบันทหารที่ไม่เป็นสถาบันประชาธิปไตย
ขอทราบว่าในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะมีการระบุให้มีมาตรา 4 และมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี
2540 หรือไม่อย่างไร (มาตรา 4 ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล
ย่อมได้รับความคุ้มครอง. มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด
ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)
และขอทราบว่าจะมีการกำหนดให้ผู้ที่ลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือไม่
ศ.ดร. จรัส สสร.-
แก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ให้เกิดเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในรัฐบาลทักษิณ สสร. ต้องการให้มีระบบการถ่วงดุลระหว่างรัฐ
และองค์กรอิสระ นอกจากนี้ยังมีระบบการใช้ตุลาการณ์วิวัฒน์ ในการตัดสินใจแก้ปัญหาทางการเมือง
สนับสนุนสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำหรับเรื่องมาตรา 7 ยังคงไว้อย่างเดิมในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และมิได้กำหนดให้ส.ส.
ต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของประชาชนจากการทำประชาพิจารณ์.
ส่วนประเด็นการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ในช่วงแรกของการร่างรัฐธรรมนูญอาจดูเสมือนว่าเป็นการร่างโดยไม่เปิดเผย
(closed door) แต่หลังจากเสร็จสิ้นการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรก สสร. ได้เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและภาคประชาสังคมมาอย่างต่อเนื่อง
และรับฟังในรายละเอียดเกี่ยวกับทุกมาตรา
- ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังมุ่งให้อำนาจประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยบัญญัติแนวทางการมีส่วนร่วมโดยตรงของประชาชน และให้อำนาจประชาชนถอดถอนนายกรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และข้าราชการตุลาการ
- จากประสบการณ์การเมืองในยุคทักษิณ ซึ่งเป็นการเมืองแบบรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคเดียว เป็นสิ่งอันตราย และทำให้ สสร. ตระหนักว่าการมีรัฐบาลผสมควบคู่กับระบบการตรวจสอบที่ดีเป็นสิ่งจำเป็น
ศ. ดร. Heinz- Rudiger
Korff (มหาวิทยาลัย
Passau) - รัฐธรรมนูญจะอยู่รอดได้หากประชาชนให้โอกาสวิถีทางประชาธิปไตยภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญดำเนินไป
อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยไม่มีผู้ใดยืนหยัดปกป้องรัฐธรรมนูญ - ต้องยอมรับว่าอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ
เป็นที่ชื่นชอบในหมู่ประชาชน เพราะเป็นผู้ที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่ประชาชนได้มาก
และเอื้อประโยชน์ให้แก่เกือบทุกภาคส่วน
4. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
ดร. Gerhard Will - ควรมีการเปลี่ยนโครงสร้างการกระจายอำนาจในประเทศไทย
เนื่องจากกว่าร้อยละ 60 ของประชาชนชาวไทยประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม แต่คนเหล่านี้มีสัดส่วนใน
GDP เพียงแค่ร้อยละ10 เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
และไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดที่จะแก้ไขได้
ดร. ไกรศักดิ์ฯ - รัฐบาลทักษิณฯ เปิดตลาดเกษตรกรรมของไทยซึ่งยังไม่มีความเข้มแข็ง
สู่ตลาดต่างประเทศ ในการทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ (FTA) ซึ่งทำให้สินค้าเกษตรมีราคาตกต่ำ
และการผลิตสินค้าเกษตรลดลงกว่าร้อยละ 70 ในภาคเหนือ หากรัฐบาลชุดปัจจุบันไม่มีมาตรการแก้ไขเรื่องดังกล่าว
ประเทศไทยจะได้รับความเดือดร้อนในอนาคตอันใกล้
5. เสรีภาพสื่อ
อ. พิรงรอง - มาตรา 40 ซึ่งบัญญัติไว้เป็นมาตรา
47 ระบุว่า ให้มีการดำเนินการปฏิรูปสื่อ โดยการตั้งคลื่นความถี่ใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้สำเร็จในยุครัฐบาลทักษิณ
เนื่องจากสมาชิกคณะกรรมการปฏิรูปสื่อให้การสนับสนุนบริษัท Shin Corp และ พ.ต.ท.
ทักษิณฯ
- ปัจจัยที่ทำให้ทักษิณฯ เป็นที่ชื่นชอบคือ บุคลิกที่สามารถเป็นนักธุรกิจที่สามารถนำประเทศรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี
ค.ศ. 1997 ได้ กอปรกับการที่มีการใช้การเบี่ยงเบนประเด็นเพื่อเป็นที่สนใจ เช่นการซื้อสโมสรฟุตบอลต่างๆ
ทำให้สื่อลักษณะ tabloid เช่น ไทยรัฐ และเดลินิวส์ตีพิมพ์ และเป็นที่สนใจของประชาชน
- ภายใต้รัฐบาลทักษิณ สิทธิในการแสดงออกถูกละเมิดอย่างเป็นระบบ โดยรัฐบาลเลือกซื้อโฆษณาแก่หนังสือพิมพ์ที่เสนอข่าวเป็นประโยชน์กับตนเองเท่านั้น. - สิ่งที่ประหลาดใจคือ ประเทศไทยกำลังจะมีการเปิดทีวีที่เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง ภายใต้รัฐบาลและ คมช. ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมิได้มาจากการเลือกตั้งเเต่กลับมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลทักษิณ เเละตระหนักถึงความสำคัญของสื่อในระบอบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลทักษิณ. สิ่งที่ตนอยากเห็นในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ได้แก่
1) การผลักดันการปฎิรูปสื่อ ให้มีการแบ่งสรรคลื่นการออกอากาศใหม่ โดยแบ่งเป็น
รัฐร้อยละ 40 ภาคเอกชนร้อยละ 40 และภาคประชาสังคมอีกร้อยละ 20
2) การให้สื่อควบคุมกันเองโดยเป็นทางการ
3) ออกกฎหมายคุ้มครองข่าวสารข้อมูล และ
4) ปกป้องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และระวังรักษาไม่ให้มีการมีผูกขาดทางสื่อ
6. การละเมิดสิทธิมนุษยชน
นายสุรสีห์ฯ (กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) - ในช่วงสมัยรัฐบาลที่แล้ว
องค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้ไทยอธิบายข้อกล่าวหาในการละเมิดสิทธิมนุษยชน (รวม
26 คดี) ในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร โดยนายสุรสีห์ฯ ได้เน้นหนักว่า
ปัญหาร้ายแรงที่สุดในประเด็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคของทักษิณฯ คือ
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย หรือปัญหาด้านหลักนิติธรรม (rule of law) อาทิ การฆ่าตัดตอน
โดยการขึ้นบัญชีดำผู้ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติด โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมและใช้เป็นเครื่องมือสนองนโยบายของรัฐบาล
และการกำจัดหัวคะแนนของนักการเมือง
ฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อำนาจของตำรวจ การใช้ พรก.บริหารราชการแผ่นดินในยามฉุกเฉินซึ่งทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม
เนื่องจากเป็นนโยบายที่สนับสนุนความรุนแรง เหตุการณ์กรือเซะ และตากใบ การเปิดสวนสัตว์ไนท์ซาฟารีซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นการบุกรุกป่าสงวน
ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ออกแถลงการณ์ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุครัฐบาลทักษิณ
ซึ่งเทียบเท่ากับการปกครองในรัฐบาลทหารในอดีต
อ. ไกรศักดิ์ฯ -
ตนได้เคยเปิดบ้านเพื่อรับเรื่องร้องเรียนของประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิ์ แต่ผู้คนที่มาร้องทุกข์กับตนได้รับการข่มขู่และถูกจดชื่อโดยตำรวจซึ่งมีอาวุธปืนอยู่ในมือ
ตนได้ร้องขอให้นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเริ่มกระบวนการปฏิรูปวงการตำรวจ ซึ่งได้มีการดำเนินการไปแล้วเมื่อเร็วๆ
นี้. เราต้องการความช่วยเหลือจากประชาคมระหว่างประเทศ ในการเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในช่วงรัฐบาลทักษิณ
โดยตนต้องการแค่ให้รัฐบาลต่างชาติรับรู้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว และกำหนดนโยบายต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน
7. สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ดร. Gerhard Will - ให้ความเห็นว่า มีโอกาสเป็นไปได้น้อยในการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้โดยสันติวิธี
ดร. ไกรศักดิ์ฯ - นโยบายในการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทำให้ผู้ที่มีความคิดแบ่งแยกดินแดนอยู่บ้าง หันไปร่วมกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหัวรุนแรง
อย่างไรก็ดี มีความพยายามในการเจรจากับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งไม่เคยมีการปฎิบัติในช่วงรัฐบาลทักษิณ
แม้ว่ากลุ่มที่เรียกร้องการแบ่งแยกดินแดนแต่ละกลุ่มจะมีความต้องการที่ต่างกันออกไป
แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกกลุ่มมีเหมือนกัน คือการต้องการให้เกิดความเป็นธรรม
8 ความสัมพันธ์ไทย - ยุโรป และความสัมพันธ์ไทย
- เยอรมนี
ศ. ดร. Manfred Mols (มหาวิทยาลัย Mainz) - ในความเห็นของตนประเทศไทยก่อนรัฐบาลทักษิณก็มิได้มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์
คำถามคือทำอย่างไรให้การรัฐประหารครั้งล่าสุดเป็นครั้งสุดท้าย
- ไทยเป็นมิตรประเทศที่สำคัญของเยอรมนี ทั้งในเวทีพหุภาคี อาทิ East Asian Community
และอาเซียน
ผศ. สุรัตน์ฯ -
ตนอยากให้สหภาพยุโรป และประเทศที่ประณามการก่อรัฐประหารในประเทศไทย หันมาให้ความสนใจกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุครัฐบาลทักษิณด้วย
โดยตนเคยมีจดหมายถึงเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมดในประเทศไทย ขอให้มีแถลงการณ์ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลทักษิณ
อาทิ นโยบายการประกาศสงครามกับยาเสพย์ติด ซึ่งทำให้ผู้บริสุทธิ์จำนวนประมาณ 1,800
รายเสียชีวิต และขอให้ประเทศเหล่านี้มีมาตรฐานที่ชัดเจนในการเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เเต่กลับไม่ได้รับความสนใจหรือการตอบสนองเเต่อย่างใด
ดังเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตลอดกว่า 5 ปี ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในยุคของรัฐบาลทักษิณ
ที่มีผู้เสียชีวิตไปกว่า 5,000 คน ทางสหภาพยุโรปไม่เคยมีการออกเเถลงการณ์เเสดงความกังวลห่วงใยในเรื่องนี้
ไม่มีการประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างร้ายเเรงในยุครัฐบาลทักษิณเเต่อย่างใด
นาย Hans-Gunter Loffler
(เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสหพันธ์รัฐเยอรมนี) - สหภาพยุโรปและเยอรมนีให้ความสนใจกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธ์รัฐเยอรมนี กับ ประเทศไทย
ขอยืนยันว่าตนได้บรรจุประเด็นดังกล่าวเพื่อให้มีการหยิบยกโดยฝ่ายสหพันธ์ฯ ในการเตรียมการการเยือนสหพันธ์ฯ
โดยข้าราชการและข้าราชการการเมืองระดับสูงของไทย แต่ไม่เคยมีการเยือนเกิดขึ้น
(๔) สรุปสาระสำคัญผลการหารือระหว่างคณะผู้ทรงคุณวุฒิ
กับ ดร. Jurgen Eckel
Head of International Section of the Confederation of German Trade Unions
ณ สหพันธ์เเรงงานกรุงเบอร์ลิน ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ระหว่างเวลา ๑๐.๔๕
- ๑๒.๓๐ น.
ดร. Eckel สหพันธ์เเรงงาน (DGB) - ได้จัดทำบทวิเคราะห์เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลทักษิณ
ที่ส่งผลให้มีการละเมิดสิทธิของผู้ใช้เเรงงาน และนำเสนอต่อที่ประชุมแรงงานระดับนานาชาติ
- นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ผู้นำเเรงงานรัฐวิสาหกิจของไทย ได้รับรางวัลจาก DGB ในด้านการส่งเสริมสิทธิของผู้ใช้เเรงงาน
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า สหภาพเเรงงานไทยไม่มีการรวมตัวกัน
- เเม้ว่าประเทศไทยจะลงนามในสัญญาว่าด้วยสิทธิของผู้ใช้เเรงงานขององค์การเเรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization- ILO) เเต่ไม่มีการให้สัตยาบันเเก่กฎหมายระหว่างประเทศใดที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสิทธิของผู้ใช้เเรงงาน
ดร. ไกรศักดิ์ฯ -
รายงานดังกล่าวเเสดงให้เห็นว่า DGB ใส่ใจกับการปกป้องสิทธิของผู้ใช้เเรงงานอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ในประเทศไทย สถานภาพของสหภาพเเรงงานในประเทศไทยไม่ถูกกฎหมาย เเม้สหภาพเเรงงานที่ใหญ่ที่สุดยังเป็นการจัดตั้งโดยผิดกฎหมาย
เเละการว่าจ้างเเรงงานนั้น เป็นการว่าจ้างเเบบชั่วคราว ทำให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิอันพึงมีของตนได้
เเละเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกจ้างไม่กล้าจัดตั้งสหภาพเเรงงานเนื่องจากกลัวการบอกเลิกสัญญาจ้าง
สถานภาพของสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างกว่า 800,000 รายที่มีการจดทะเบียนในประเทศไทยย่ำเเย่มาก
(grave)
- นักสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยมีความกังวลเกี่ยวกับการบังคับใช้เเรงงาน (forced
labour) ในพม่า เนื่องจากการกระทำดังกล่าวส่งผลให้ชาวพม่าหลบหนีเข้าเมืองทางชายเเดนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก
เเละกลายเป็นเเรงงานเถื่อนซึ่งมีอัตราจ้างถูกกว่าลูกจ้างชาวไทย ทำให้ลูกจ้างชาวไทยไม่สามารถเเข่งขันได้ตามกลไกของตลาด.
ตนเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีในการปฏิรูปการคุ้มครองสิทธิเเรงงานในประเทศไทยช่วงเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย
นายสุลักษณ์ฯ
- เสนอให้ ดร. Eckel หยิบยกประเด็นด้านการปฏิรูปการคุ้มครองสิทธิเเรงงาน และการที่ประเทศไทย
ควรให้สัตยาบันต่อกฎหมายระหว่างประเทศคุ้มครองสิทธิเเรงงาน ขึ้นหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ในระหว่างการประชุม ASEM ที่จะมีขึ้นในปลายสัปดาห์นี้ รวมทั้งขอให้ประเทศเยอรมนีในฐานะประธานสหภาพยุโรป
พิจารณาเเสดงท่าทีออกมาอย่างเป็นทางการที่จะเป็นการสะท้อนให้ประชาคมระหว่างประเทศเห็นได้ว่า
ประเทศเยอรมนีเข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทย ภายหลังการเปลี่ยนเเปลงเมื่อวันที่
19 กนยายน 2549 รวมทั้งสนับสนุนเเละมั่นใจในกระบวนการประชาธิปไตยที่ดำเนินอยู่ในไทยในปัจจุบัน
- ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 นายปรีดี พนมยงค์ มีเเผนการปฏิรูปเศรษฐกิจเเละสังคม
โดยกำหนดให้นโยบายการปกป้องสิทธิของผู้ใช้เเรงงานเป็นหนึ่งในนโยบายหลัก เเต่เนื่องจากการเปลี่ยนเเปลงทางการเมือง
นโยบายดังกล่าวจึงไม่ได้รับการปฏิบัติ
ดร. Eckel -
เห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดี ตนเห็นว่าประเทศไทยควรเป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนเเปลงด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้เเรงงาน
รวมถึงการให้สถานะทางกฎหมายเเก่สหภาพเเรงงานด้วยตนเอง เนื่องจากหลักการของสหภาพเเรงงานเป็นหลักการสากล
และตนพร้อมที่จะหยิบยกเรื่องดังกล่าวขึ้นหารือในการประชุม ASEM เเละการประชุมอื่นๆ
- ในช่วงรัฐบาลทักษิณ DGB เคยมีจดหมายถึง พ.ต.ท. ทักษิณฯ เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนเเปลง
ในด้านสิทธิของผู้ใช้เเรงงาน เเต่ไม่ได้รับการพิจารณาตอบสนองเเต่อย่างใด
ผศ. สุรัตน์ฯ -
สหภาพเเรงงานไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้เเรงงานเท่านั้น
เเต่เป็นการเรียกร้องเเละปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานอื่นๆ ด้วย. รัฐบาลทักษิณดำเนินนโยบายประชาธิปไตยเเบบประชานิยม
เเต่ไม่ได้ช่วยเหลือคนยากจนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นเพียงความพยายามในการสร้างภาพเท่านั้น
และตนเป็นผู้เรียกร้องให้บริษัท Tesco จ่ายค่าเเรงในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์
- รัฐบาลทักษิณใช้ธนาคารเพื่อการส่งออก (Exim Bank) ในการส่งเสริมธุรกิจของตน
โดยให้พม่า กู้เงินจาก Exim Bank เพื่อลงทุนในธุรกิจสื่อสารกับบริษัท Shin Corp
- เราต้องการให้ DGB ตีพิมพ์หรือมีเเถลงการณ์เรียกร้องให้ประเทศไทยปฏิรูปการปกป้องสิทธิเเรงงานในทัศนะของ DGB
รอง ลธน. สุรพงษ์ฯ
- ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่าประชาธิปไตยไม่ใช่เกี่ยวกับการมีการเลือกตั้งอย่างเดียว
ประเทศเยอรมนีควรให้ความสนใจกับมิติอื่นๆ ของประชาธิปไตยด้วย นอกเหนือจากการเรียกร้องเเละเร่งรัดให้มีการจัดการเลือกตั้งอย่างเดียว
ทั้งนี้ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ชัดเเจ้งทั่วไปอยู่เเล้วว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งหาใช่ว่าจะเป็นสิ่งค้ำประกันว่า
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นจะมีความเป็นประชาธิปไตยโดยปริยาย ดังกรณีรัฐบาลยุคอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ
เป็นเหตุการยืนยันให้เห็นความจริงข้อนี้ เเละประเทศไทยยังต้องการการสนับสนุนเเละความเข้าใจจากมิตรประเทศทั้งหลาย
ศ.ดร. จรัสฯ - ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกันสิทธิของผู้ใช้เเรงงานในการรวมตัวเพื่อจัดตั้งสหภาพเเรงงาน
เเละจะกำหนดให้ทีการให้สัตยาบันกับกฎหมายระหว่างประเทศที่คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคโดยอัตโนมัติ
(๕) สาระสำคัญผลการหารือระหว่างคณะผู้ทรงคุณวุฒิ
กับนาย Hubertus Heil เลขาธิการพรรค SPD
ณ ที่ทำการพรรค SPD กรุงเบอร์ลิน ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ระหว่างเวลา ๑๒.๔๕ - ๑๓.๓๐
น.
นาย Heil - ตระหนักดีว่าประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน
เข้าใจดีว่าไม่มีเรื่องใดที่เป็นขาวเเละดำทั้งหมด เเละเข้าใจว่าทำไมจึงเกิดการรัฐประหาร
พร้อมทั้งมีความมั่นใจว่าประเทศไทยจะกลับคืนสู่ประชาธิปไตย
นายสุลักษณ์ฯ - พรรค SPD ช่วยเหลือประเทศไทยในการพัฒนาสิทธิของผู้ใช้เเรงงาน
ควรช่วยเหลือรัฐบาลปัจจุบันในการเปลี่ยนผ่านทางประชาธิปไตย เนื่องจากไม่ใช่เป็นสิ่งที่ง่าย
เพราะ พ.ต.ท. ทักษิณฯ เคลื่อนไหวพยายามล้มล้างรัฐบาล
ผศ. สุรัตน์ - ในระหว่างที่ตนดำรงตำเเหน่งเป็นรองคณบดี
ภาคยุโรปศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตนมีหนังสือถึงสถานเอกอัครราชทูตของสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย
เพื่อให้มีปฎิกิริยาตอบโต้นโยบายการประกาศสงครามยาเสพติดของรัฐบาลทักษิณ ซึ่งก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายเเรง
เเต่กลับไม่ได้รับการตอบสนองเเต่อย่างใด
ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของที่ทำการสำนักงานองค์กรส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เเต่สิทธิมนุษยชนเเละองค์กรดังกล่าวกลับถูกกดขี่ในช่วงรัฐบาลทักษิณ.
ทักษิณอ้างว่าได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยคะเนนเสียง 16 ล้านเสียง เเต่มีการพิมพ์บัตรเลือกตั้งปลอม
6 ล้านใบ เเละคน 10 ล้านเสียงลงคะเเนนไม่เลือกผู้ใด (no vote) ในการเลือกตั้งที่พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคเดียวที่ลงรับเลือกตั้ง
ตนตระหนักดีว่าจุดยืนในการเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งในประเทศไทย มิได้เป็นจุดยืนของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทุกประเทศ ควรมองว่าช่วงเวลาที่นำไปสู่การเลือกตั้งหลังการเกิดรัฐประหารเป็นช่วงเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เเละวางรากฐานที่ถูกต้องให้เเก่ประเทศ
นาย Heil -
ตอบว่า ตนเข้าใจดีถึงรัฐบาลไทยที่รู้สึกว่า ต่างประเทศตัดสินเเละประเมินสถานการณ์ในประเทศไทยผิดไป
และขอทราบความเห็นเกี่ยวกับคำกล่าวที่ว่า ประชาชนที่ร่ำรวยในเขตเมืองจะไม่ลงคะเเนนให้
พ.ต.ท. ทักษิณฯ เเต่ผู้ที่มีฐานะยากจนในต่างจังหวัดเเละท้องถิ่นห่างไกลมักลงคะเเนนให้
พ.ต.ท. ทักษิณฯ
ผศ. สุรัตน์ - สมมุติฐานดังกล่าวมาจากหนังสือ "สองนคราประชาธิปไตย"
ซึ่งเเต่งโดยนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เเละตีพิมพ์ในปี 2537 ซึ่งตนเห็นว่าสมมุติฐานในหนังสือฉบับดังกล่าวไม่จริงอีกต่อไป
เนื่องจากประชาชนในปัจจุบันมีความรู้เท่าทันการเมืองมากขึ้น อาทิ ชาวจังหวัดภาคใต้ที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ
เเละมีฐานะยากจน เเต่ลงคะเเนนเสียงให้พรรคประชาธิปัตย์
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ความนิยมที่ประชาชนมีต่อ พ.ต.ท. ทักษิณฯ หากเเต่เป็นการทำลายระบบการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ
การเเทรกเเซงสื่อ การเเทรกเเซงองค์กรอิสระ เเละการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายเเรง
ที่นำไปสู่การเดินขบวนประท้วงต่อต้าน พ.ต.ท. ทักษิณฯ
อ. สุลักษณ์ฯ -
ต้องการให้เยอรมนีเเละสหภาพยุโรปส่งเสริมประชาธิปไตยเเละสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ด้วยการมองเหตุการณ์เเละปัญหาที่ไทยเผชิญอยู่จากมุมมองที่เป็นจริง ไม่ใช่จากการสมมุติขึ้นมาเอง
เเละละเว้นการใช้ทวิมาตรฐาน (double standard) และต้องการให้มีการผลักดันให้ศาลอาญาระหว่างประเทศ
(International Criminal Court - ICC) ไต่สวน พ.ต.ท. ทักษิณฯ
ผศ. สุรัตน์ - กฎหมายระหว่างประเทศเปิดมีช่องทางชัดเจนในการดำเนินการทางกระบวนการยุติธรรมกับ
พ.ต.ท. ทักษิณฯ ในฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายเเรง เช่นเดียวกับที่มีการไต่สวน
นาย Slobodan Milosevic อดีตประธานาธิบดีเเห่งประเทศเซอร์เบีย
นาย Heil - เห็นด้วยกับการที่เยอรมนีเเละสหภาพยุโรปควรส่งเสริมประชาธิปไตยเเละสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ในช่วงเดือนหน้าประธานพรรค SPD จะมีโอกาสพบหารือกับเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกอาเซียน
โดยตนอาจหารือกับพรรคให้มีการใช้โอกาสดังกล่าว หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
และเห็นว่าการจะมีประชาธิปไตยได้ ประเทศต้องมีความมั่นคง ในการนี้ขอทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้
อ. สุลักษณ์ฯ - เห็นว่าควรให้การเคารพความเเตกต่างทางด้านชาติพันธ์เเก่คนไทยภาคใต้
ซึ่งมีเชื้อสายมาเลย์เป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องมีการยอมรับการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ภายใต้ความหลากหลายของชุมชนต่างเชื้อชาติศาสนา นโยบายของรัฐบาลทักษิณคือ การใช้ความรุนเเรง
เเละการสังหารผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ ในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันมีเเนวทางชัดเจนในการสร้างความสมานฉันท์
เอกราชทูต. สุรพงษ์ - ยุทธศาสตร์ทางการทูตเเละการเมืองระหว่างประเทศของ
พ.ต.ท. ทักษิณฯ ที่ใช้โจมตีรัฐบาลปัจจุบันคือ การให้ประชาคมระหว่างประเทศ รวมถึงสหภาพยุโรปโดดเดี่ยวรัฐบาลโดยเเสดงว่ารัฐบาลที่มีจากการรัฐประหาร
ไม่มีความชอบธรรม เเละ พ.ต.ท. ทักษิณฯ เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง
การที่รัฐบาลต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพยุโรป โดดเดี่ยวรัฐบาลไทยโดยลดระดับการติดต่อทางการเมืองระหว่างรัฐบาล
มีผลช่วยยุทธศาสตร์ดังกล่าวของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ
ผศ. สุรัตน์ฯ - ต้องการเห็นมาตรฐานเชิงเปรียบเทียบ
(benchmark) ทางประชาธิปไตยของสหภาพยุโรปที่ชัดเจน หากสหภาพยุโรปสามารถทำการค้ากับพม่าเเละจีนได้
ในความเห็นตน ก็ควรมีปฎิสัมพันธ์ในระดับสูงกับไทยได้
นาย Heil - ตนจะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับสมาชิกพรรค
SPD สหภาพเเรงงาน เเละสหภาพการค้าเเห่งสหภาพยุโรป ตนเพิ่งตระหนักในบัดนี้ว่า
เยอรมนีมีความรับผิดชอบในการผลักดันกระบวนการประชาธิปไตยในไทย โดยตนจะหารือภายในพรรค
SPD เพื่อหาทางผลักดันให้เยอรมนีปรับ/เปลี่ยนท่าทีให้สอดคล้องกับความเป็นจริง
ซึ่งตนเห็นว่าการ รมว.กระทรวงต่างประเทศระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนเเละสหภาพยุโรป
ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคมศกนี้ น่าจะเป็นเวทีที่สามารถใช้เป็นการเเสดงจุดยืนที่ถูกต้องของเยอรมนีได้เป็นอย่างดี
คลิกไปอ่านรายงานสรุปฉบับนี้ ตอนที่ ๓
บทความที่เกี่ยวเนื่อง ๖๓๑ ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
26 คำถาม"ยูเอ็น" ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยนชนในไทย
คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com