โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update: 21 May 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๒๕๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (May, 21, 05,.2007)
R

เรื่องเล่า: ประวัติชีวิตสามัญชน และวัตถุมงคลของคนไทย
ฉลอง สุนทราวาณิชย์: เรื่องสั้นของนิธิ แต่พระเครื่องไม่รู้ของใคร
ฉลอง สุนทราวาณิชย์ : เขียน
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความทางวิชาการ ๒ ชิ้นต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนขอรับมาจากผู้เขียน ประกอบด้วย
๑. "แด่มนุษยชาติ" และนิธิ เอียวศรีวงศ์
๒. นวัตกรรมพระเครื่องไทย: ก่อนจะเป็นอุตสาหกรรมพระเครื่อง
เรื่องแรกเป็นความประทับใจที่มีผู้เขียนมีต่อผลงานเรื่องสั้นของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์
ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นมนุษย์ที่แสดงออกมาภายใต้ภาวะความกดดันที่รุนแรง อย่างสงคราม
ส่วนเรื่องที่สองได้อภิปรายถึงเรื่องของประวัติความเป็นมาของพระเครื่อง
ซึ่งเริ่มต้นนิยมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นอย่างมาก และวงการพระเครื่องก็เติบโตมาโดยตลอด
ในที่นี้ได้ให้เหตุผลถึงสาเหตุอันเป็นที่มาของความนิยมดังกล่าว
เพราะคนไทยคบกับฝรั่ง และรับเอาความคิดของเขามาปรับเปลี่ยนเป็นสมัยใหม่
(midnightuniv(at)gmail.com)

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๒๕๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๐.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เรื่องเล่าประวัติสามัญชน และวัตถุมงคลของคนไทย
ฉลอง สุนทราวาณิชย์: เรื่องสั้นของนิธิ แต่พระเครื่องไม่รู้ของใคร
ฉลอง สุนทราวาณิชย์ : เขียน
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1. "แด่มนุษยชาติ" และนิธิ เอียวศรีวงศ์

แม้ว่าอาจารย์นิธิจะเป็นครู/นักประวัติศาสตร์ และผมเป็นนักเรียนประวัติศาสตร์ แต่เมื่อผมรู้จักอาจารย์นิธิครั้งแรก (แต่เพียงฝ่ายเดียว) เมื่อเกือบ 40 ปีมาแล้ว ผมกลับรู้จักอาจารย์โดยผ่านงานเขียนเรื่องสั้นชื่อ "แด่มนุษยชาติ" ซึ่งเป็นงานเขียนเรื่องสั้นเรื่องเดียวของอาจารย์นิธิที่ผมเคยอ่าน แต่ผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นงานเขียนประเภทเรื่องสั้นเรื่องเดียวที่อาจารย์นิธิเคยเขียนไว้หรือไม่ หากจะให้เดาในตอนนี้ คิดว่าคงไม่ใช่ เพราะเข้าใจว่าปัญญาชนคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ ในรั้วมหาวิทยาลัยในช่วงทศวรรษ 2500 นอกจากเสนอความคิดเชิงวิพากษ์ที่มีต่อปัญหาทางสังคมการเมืองและหรือทัศนะเชิงปรัชญาชีวิต ผ่านงานเขียนประเภทความเรียงร้อยแก้วแล้ว ยังมักจะถ่ายทอดทัศนะความเห็นอิสระของตนผ่านงานเขียนประเภทเรื่องสั้นและบทกวีอีกด้วย

งานเขียนเรื่องสั้นเรื่อง "แด่มนุษยชาติ" นี้ เคยตีพิมพ์มาก่อนในหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับ23 ตุลาคม 2507 ของจุฬาฯ สมัยที่อาจารย์นิธิ ยังเป็นนิสิตปริญญาโทสาขาประวัติศาสตร์ ที่คณะอักษรศาสตร์ แต่ที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสนั้น พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้นของนักเขียนชาวจุฬาฯ ที่มีชื่อเพราะจับใจและแสนจะโรแมนติคว่า "พเยีย" จัดพิมพ์โดยสโมสรนิสิตจุฬาฯ ใน พ.ศ.2508 ผมมารู้เอาในเวลาต่อมาจากพจนานุกรมว่า คําว่า 'พเยีย' เป็นคําเขมร แปลว่า พวงดอกไม้ นอกจากเรื่องสั้นของอาจารย์นิธิเรื่องนี้แล้ว ใน "พเยีย" ยังมีเรื่องสั้นของ สุธิรา ชูโต, จินตนา ปิ่นเฉลียว, ตุลยเทพ สุวรรณจินดา, มนุชญ์ วัฒนโกเมร, ปราโมทย์ นาครทรรพ, บัณฑิต ชุ่มนิกาย, อนุช อาภาภิรม, โกวิท สีตลายั น ฯลฯ รวมอยู่ด้วย ทั้งหมดเป็นนักเขียนเรื่องสั้นและนักกลอนระดับแนวหน้าของจุฬาฯ ในช่วงทศวรรษ 2500 มอาจารย์ ดร. กมล สมวิเชียร เป็นผู้เขียนคํานําและออกแบบปก

วรรคสั้นใน "พเยีย" เชิงแนะนําผู้เขียนก่อนเข้าสู่ "แด่มนุษยชาติ" กล่าวถึงอาจารย์ นิธิ ว่า "เป็นคนสายตาสั้น แต่สายตายาว และมองอะไรอย่างลึกซึ้ง" ซึ่งน่าจะเป็น "ความจริง" ที่คนที่รู้จักอาจารย์นิธิมาบ้าง ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่น่าสนใจที่ว่า ในทศวรรษ 2500 อันเป็นยุคของ "สฤษดิ์" และ"เคนเนดี" นั้น ดูเหมือนว่ามีแต่คนที่เรียนรัฐศาสตร์ (จุฬาฯ) เท่านั้นที่สามารถมองอะไรที่ลึกซึ้งได้ เพราะประโยคต่อมาในวรรคแนะนําตัวบอกไว้ว่า "นิธิ เอียวศรีวงศ์ น่าจะเรียนรัฐศาสตร์มากกว่าเรียนอักษรฯ" !!

ประมาณ 20 ปี ภายหลังต่อมาเห็นจะได้ เมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี ครั้งที่เป็นบรรณาธิการนิตยสาร "บานไม่รู้โรย" ถึงงานเขียนที่ผ่านมาของอาจารย์นิธิ ผมได้เอ่ยถึงเรื่องสั้นเรื่องนี้ ทําให้คุณสุชาติเกิดสนใจขึ้นมา จึงได้ขออนุญาตอาจารย์นิธิ เพื่อนํามาตีพิมพ์ใหม่อีกครั้ง หากพิมพ์ครั้งแรกใน วารสารกองทุนศรีบูรพา, 5 (พฤษภาคม 2545), หน้า 104-108.

จําไม่ผิด ดูเหมือนว่า อาจารย์นิธิจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องสั้นที่ "ไม่เข้าท่า" หรือไม่ก็ตกยุคสมัยไปแล้ว แต่ก็ตกลงยินยอม และเรื่องสั้นเรื่องนี้ ก็ได้ตีพิมพ์อีกครั้งใน "บานไม่รู้โรย" ฉบับใดฉบับหนึ่ง "แด่มนุษยชาติ" เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดกระแสห้วงคิดคํานึงของ "สิบเอก ปอล พอคเค็น" ทหารหนุ่มอเมริกันที่บาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดที่เครื่องบินรบฝ่ายตนเองทิ้งลงมา และนอนรอความตายอยู่อย่างอ้างว้างเดียวดายในสมรภูมิรบใกล้เมืองแซงต์โลในฝรั่งเศส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความคิดคํานึงของ "มนุษย์ตัวเล็กๆ คนหนึ่ง" ที่ใกล้ตายและพยายามแสวงหาความหมายของชีวิต ความกลัว ความตาย ความรัก สงคราม รวมทั้งการเข่นฆ่าอย่างเหี้ยมโหดเคียดแค้นชิงชังระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพียงด้วยสาเหตุขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ที่ถูกหล่อหลอมครอบงําจากคําว่า "ชาติ"

เมื่อครั้งที่ผมได้อ่านเรื่องสั้นเรื่องนี้ เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2508 ผมเป็นเพียงเด็กหนุ่มวัยรุ่น เรียนอยู่ชั้นมัธยมปลายใกล้ๆ จุ ฬาฯ อ่านหนังสือทั้งนวนิยาย เรื่องแปล และเรื่องสั้นมาพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พิมพ์อยู่ในชาวกรุง แต่จําได้ว่าในตอนนั้น ผมไม่เคยรู้สึกประทับใจกับเรื่องสั้นไทยเรื่องใดมากเท่ากับเรื่องนี้มาก่อน และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมก็ได้ติดตามงานเขียนของอาจารย์นิธิเ กือบทุกชิ้นอย่างกระหายหิว ทั้งที่เป็นความเรียงเชิงวิพากษ์ บทความวิชาการ ตําราแบบเรียนหนังสือแปล และงานค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าอาจารย์นิธิเขียนเรื่องสั้นออกมาอีกเลย

มาถึงวินาทีนี้ "แด่มนุษยชาติ" อาจเป็นเรื่องสั้นที่ "ไม่เข้าท่า" ในสายตาของอาจารย์นิธิที่เป็นผู้เขียน และเมื่อพิจารณาคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ นักวรรณกรรมวิจารณ์ นักวิชาการด้านวรรณกรรมสมัยใหม่ และนักอ่านงานวรรณกรรมไทยร่วมสมัย ก็อาจจะเห็นว่าไม่มีอะไรโดดเด่นน่าสนใจ และเมินเฉยต้องานชิ้นนี้. "แด่มนุษยชาติ" จึงยังคงความเป็นงานเขียนชิ้นหนึ่งของอาจารย์นิธิที่น้อยคนเคยได้อ่านหรือแม้แต่เคยได้ยินชื่อ แต่สําหรั บผมแล้ว "แด่มนุษยชาติ" ดูจะเป็นงานเขียนสั้นๆ ที่เผยตัวตน ความผูกพัน ความคิด ชีวทัศน์จริยธรรม ความใฝ่ฝันและ สรุปรวมความเป็น "นิธิ เอียวศรีวงศ์" ในหลายๆ ด้านได้เกือบครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น "นิธิ เอียวศรีวงศ์" ในตอนนั้น เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว หรือในตอนนี้ ในวัยเลยเกษียณที่ยังคงความแหลมคมทางความคิดและความมุ่งมั่นเพื่อสังคมที่ดีงาม

ความผูกพันอันแนบแน่นอบอุ่นลึกซึ้งระหว่างแม่กับลูก แม่ผู้คอยปกป้องลูกด้วยความอาทร ห่วงใย และพร้อมที่ จะให้อภัยแก่ลูกเสมอ ดูจะเป็น "สาร" สําคัญประการหนึ่งที่ "แด่มนุษยชาติ" พยายามสื่อให้เห็น โดยฉายผ่านความรู้สึกที่ปอล มีต่อแม่ เมื่อเขาหวลคิดถึงชีวิตซุกซนในวัยเด็ก ที่หนีแม่ออกจากบ้านหวังไปเผชิญโชคในโลกกว้าง "เราร้องไห้คิดถึงแม่ อยากให้แม่กอดเราไว้ให้แน่น แล้วตบหลังเราเบาๆ แต่ก็ไม่มีมือแม่ให้เราจูบ ไม่มีอกแม่ให้ซบ"

และอีกครั้งในสมรภูมิรบก่อนความตายมาเยือนไม่นานนัก เมื่อปอลต้องเผชิญกับระเบิดที่ถล่มมาจากเครื่องบินรบฝ่ายเดียวกัน "ถ้าเป็นไปได้ เขาอยากให้ตัวเขาแทรกลงไปกับพื้นดิน ให้มันโอบกอดตัวเขาให้มิด จนปลอดภัยจากอั นตรายใดๆ เหมือนกับที่แม่เคยกอดเขาในความมืดที่น่ากลัวเมื่อเป็นเด็ก"
และ"พื้นดินในความรู้สึกของปอลหรือทหารในสภาพเช่นเขา เป็นทั้งแม่ที่ให้ความพิทักษ์รักษาและเป็นทั้งคนรักที่ให้ความอบอุ่นจากทรวงอก"

ดูเหมือนว่า ความรู้สึกทั้งรักและเคารพที่ปอลมีต่อแม่ เป็นความรู้สึกเดียวกันกับที่อาจารย์นิธิมีต่อแม่ คนที่เคยอ่าน "พุทธศาสนา: สาระและพัฒนาการ" ที่อาจารย์นิธิพากเพียรแปลจากผลงานของ เอดเวิร์ด กอนเซ เรื่อง Buddhism: Its Essence and Development และตีพิมพ์เป็นธรรมบรรณาการในคราวฌาปนกิจศพมารดาใน พ.ศ. 2514 คงตระหนักดีถึงความผูกพันอันแนบแน่น อบอุ่น ลึกซึ้ง ระหว่างอาจารย์นิธิและแม่ ได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ดี อย่างที่ชื่อเรื่องบ่งบอกเป็นนัย "แด่มนุษยชาติ" สื่อ"สาร"ที่มากกว่าความผูกพันระดับบุคคลระหว่างแม่กับลูก. "สาร" ที่สําคัญกว่าใน "แด่มนุษยชาติ" คือ "ธรรมชาติ" ที่แท้ของมนุษย์ในทัศนะของอาจารย์นิธิ ในด้านหนึ่งมนุษย์เป็นเพียง "สัตว์ตัวเล็กที่ รักชีวิตและใฝ่สงบโดยธรรมชาติ" แต่ภายใต้ กรอบแนวคิดของ "ชาติ " ที่มีพลังอันน่าสะพึงกลัว มนุษย์ ก็กลับกลายเป็นเพียง"เครื่องจักรกลที่ทํางานได้ด้วยระเบียบและวินัย" อันนําไปสู่การเข่นฆ่าประหัตประหารกันอย่างโหดเหี้ยมไร้สาระ

ในท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเช่นนี้ สงครามไม่เพียงทําลายชีวิตมนุษย์และทรัพย์สิน หากทว่าสงครามยังได้ "บั่นทอนความเป็นมนุษย์…ไปเสียสิ้น" มนุษย์ต้องถูกพรากซึ่งสิทธิทั้งหลายทั้งปวง แม้แต่ "สิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์…สิทธิแห่งความกลัว"ยิ่งไปกว่านั้น "สัญชาตญาณรักที่จะเกื้อกูลกัน" ของมนุษย์ก็พลอยถูกพรากไปด้วย

"ถ้าไม่ได้อยู่ในระหว่างสงคราม เขาจะกรากไปช่วยจอนนี ถ้าเขาอยากร้องไห้ เขาก็ร้องเสียให้สะใจ อนิจจา สงครามได้พรากเขามิ ให้ช่วยเหลือเพื่อนรัก แม้ในฐานแห่งมนุษย์ผู้มีสัญชาตญาณรักที่จะเกื้อกูลกัน สงครามได้กีดกันมิให้เขาได้ร้องไห้ ซึ่งเป็นอาการธรรมดาของมนุษย์ และเป็นเครื่องมืออันวิเศษสุดในการถ่ายทอดอารมณ์ แม้เป็นการร้องไห้ให้แก่ความทุกข์ยากของบุคคลผู้มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งและยาวนานต่อกัน"

สําหรับอาจารย์นิธิ ดูเหมือนว่ามีอุดมคติหรือจริยธรรมบางอย่างที่สูงส่ง และมีพลังยิ่งใหญ่กว่าอุปาทานในเรื่องของ "ชาติ" และ "กิเลสตัณหา" ของมนุษย์ในฐานะที่เป็นปัจเจก"ท่ามกลางท้องฟ้าพื้นสีน้ำเงินเข้มนี้ มดวงดาวอยู่มากมาย ถัดจากดวงนี้ก็ถึงดวงนั้น และต่อๆ กันไปเรื่อยไม่มีที่สิ้นสุด ดารดาษอยู่ทั่วอาณาเขตของจักรวาล ไม่มีดาวดวงไหนใหญ่โตเมื่อเทียบกับจักรวาล มันเป็นแตฝุ่นละอองที่ล่องลอยอยู่อย่างไร้จุดหมาย และ…อย่างน่าเวทนา ความนึกคิดเช่นนี้ทําให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปอลเคยประสบ กลับกลายเป็นของเล็กกระจ้อยร่อยอย่างน่าสงสารไปเสียทั้งนั้น …แม้แต่การสงครามที่กําลังดําเนินอยู่นี้"

ดังนั้น แม้ว่ามนุษย์จะเป็นเพียง "สัตว์ที่บอบบาง ไม่ทนทาน และไม่ เหมาะที่จะมีชีวิตในโลกที่ดุร้ายรุนแรงนี้…" แต่ใช่ว่าจะไร้สิ้นหนทางออกไปสู่สิ่งที่ดีกว่าสูงส่งกว่า คําตอบของอาจารย์นิธิเมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว ใน "แด่มนุษยชาติ" ที่ว่า "…ตราบจนกว่ามนุษย์จะบังคับวิถีทางของโลกได้อย่างแท้จริงเท่านั้น" อาจจะฟังดูเลื่อนลอย ไม่หนักแน่น ปราศจากรายละเอียด แต่ก็เปี่ยมด้วยความหวัง

และเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่อาจารย์นิธิทําอยู่อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงตอนนี้ ไม่ว่าจะโดยผ่านงานเขียนทางวิชาการประวัติศาสตร์ งานเขียนเชิงวิพากษ์สังคม การเข้ามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันจริงจังในความเคลื่อนไหวทางสังคมต่างๆ รวมทั้งการร่วมก่อตั้งและดําเนินกิจกรรม"มหาวิทยาลัยเที่ยงคื น" ก็คือ ความพยายามที่จะผลักดันเกื้อหนุนให้มนุษย์ ตัวเล็ๆ ที่บอบบางอ่อนแอ ด้อยสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน ชาวนา ชาวป่า ชาวน้ำ และชาวดอย สามารถ "บังคับวิถีทางของโลกได้อย่างแท้จริง"

หากจะมีบางอย่างที่อาจารย์นิธิในตอนนี้ อาจจะเปลี่ยนความคิดไปจากตอนที่เขียนเรื่อง"แด่มนุษยชาติ" ก็คงจะเป็นข้อความประโยคหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในเรื่องสั้นเรื่องนี้ถึง 2 ครั้ง 2 ครา ที่ว่า"แม้แต่พระเจ้าก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงอดีตได้"

ผมเองไม่ค่อยแน่ใจนักว่าประโยคนี้ใน "แด่มนุษยชาติ" จริงๆ แล้ว อาจารย์นิธิต้องการให้สื่อความหมายใด หรือคําว่า "อดีต" ในที่นี้ คืออะไร อย่างไรก็ดี คงไม่เป็นการเกินเลยที่จะกล่าวว่าผลงานทางประวัติศาสตร์ของอาจารย์นิธิ (และรวมทั้งของนักประวัติศาสตร์คนอื่นๆ อีกมาก) ได้เปลี่ยนแปลงและหรือกําลังเปลี่ยนแปลง "อดีต" ของสังคมไทย อย่างที่เราเคยเข้าใจหรือถูกทําให้เข้าใจมานานแสนนาน

เมษายน 2545


2. นวัตกรรมพระเครื่องไทย: ก่อนจะเป็นอุตสาหกรรมพระเครื่อง
บทความสั้นฉบับลําลองประกอบคําอภิปราย ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "พระอัจฉริยคุณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
จัดโดย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันพุธที่ 21 กันยายน 2548 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

พระเครื่อง (หรือในรูปศัพท์ใหม่ที่ดูหรูหราน่าฟังและยอมรับได้ในทางราชการมากกว่า คือ วัตถุมงคลเนื่องในคติพุทธศาสนา) ในที่นี้ หมายถึงเครื่องรางที่ทําขึ้นตามคติพุทธศาสนา เป็นพระพุทธรูป หรือพระรูปของพุทธสาวกผู้เป็นพระอรหันต์ และรูปของพระภิกษุทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่หรือล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว ที่เป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นเกจิอาจารย์ที่ทรงคุณวิเศษ

พระเครื่องโดยทั่วไปมีขนาดเล็กที่พกติดตัวได้ อาจสร้างเป็นพระพิมพ์ พระพิมพ์ดินเผา หรือทําด้วยโลหะและโลหะผสม เช่น ตะกั่ว ชิน และสําริด โดยหล่อด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ นอกจากนี้ยังรวมถึงเหรียญพระเครื่องโลหะทําขึ้นตามกรรมวิธีสมัยใหม่ ที่เรียกกันว่า 'เหรียญปั๊ม' เป็นที่เชื่อกันว่าพระเครื่องเหล่านี้มีฤทธิ์อํานาจศักดิ์สิทธิ์ที่อาจช่วยคุ้มครองป้องกันเจ้าของหรือผู้ที่บูชาอัญเชิญติดตัวพ้นจากอันตราย ทั้งที่เป็นภัยจากอํานาจลึกลับเหนือธรรมชาติ ภัยธรรมชาติ ภัยจากสัตว์และจากมนุษย์ด้วยกันเอง ทําให้ผู้ที่บูชาติดตัวเป็นที่รักของคนทั่วไป และเสริมส่งบารมีให้เจริญก้าวหน้ามั่นคงในหน้าที่การงานอาชีพ พลานุภาพของพระเครื่องในด้านต่างๆ เหล่านี้อาจรวมเรียกได้ว่า "เมตตามหานิยม"(แต่ "เซียนพระ" โดยทั่วไปแบ่ง 'ความขลัง' ของพระเครื่องเป็น 4 ประเภท คือ เมตตามหานิยม มหาอุด แคล้วคลาด และคงกะพัน)

ทุกวันนี้ ในสังคมไทย พระเครื่องหรือวัตถุมงคลแบบพุทธ นอกจากมีสถานะเป็นวัฒนธรรม คือ"วัฒนธรรมพระเครื่อง" แล้ว ยังอาจนับได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมแขนงหนึ่งที่มีบทบาทไม่น้อยอยู่ในระบบเศรษฐกิจของไทย อุตสาหกรรมพระเครื่องไทยมี 'ตลาด' สําหรับการซื้อขายแลกเปลี่ยน ทั้งที่เป็นตลาดแบบดั้งเดิมวางขายบนแผงเคียงข้างตลาดสด ตลาดพระในวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องพระเครื่อง และตลาดพระติดแอร์บนศูนย์การค้าหรูหราตกแต่งร้านแบบบูติค ทั้งยังมีสื่อสิ่งพิมพ์ของอุตสาหกรรมที่ประกอบไปด้วยนิตยสารไม่ต่ำกว่า 40 รายชื่อ หนังสือคู่มือ ตํารา สารานุกรม อีกนับไม่ถ้วน

มีสื่ออิเลคโทรนิคส์และเว็บไซต์ของพระเครื่องที่ให้ความรู้ และเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความรู้จํานวนหนึ่ง มีคอลัมน.ประจําในสื่อสิ่งพิมพ์รายวันหัวสีและขาวดําและรายสัปดาห์ มีการจัดนิทรรศการและประกวดพระเครื่องเป็นประจํา ซึ่งไม่ต่างไปจากอุตสาหกรรมแขนงอื่นๆ มีร้านรับถ่ายรูปพระเครื่องเป็นการเฉพาะ เหมือนธุรกิจการจัดงานสมรส อุตสาหกรรมพระเครื่องยังเกี่ยวข้องกับคนจํานวนมากในสังคมไทยสมัยใหม่ ตั้งแต่ระดับรากหญ้า ชาวนา ผู้ใช้แรงงาน เสมียนพนักงานห้างร้าน ข้าราชการทหารและพลเรือน ผู้พิพากษา นายธนาคาร อาจารย์มหาวิทยาลัย แพทย์ สถาปนิก วิศวกร นักการเมือง สส. รัฐมนตรี จนถึงสมาชิกแวดวงชั้นสูงของสังคมไทย

ตัวเลขเงินหมุนเวียนในอุตสาหกรรมดังกล่าวที่ตรวจสอบได้ทางระบบบัญชีไม่ปรากฏ แต่เป็นที่คาดการณ์กันได้ว่าเงินหมุนเวียนทั้งระบบอยู่ระหว่าง 1-2 หมื่นล้านบาทต่อปี มาจากการซื้อขาย (ภาษาในวงการว่า 'เช่า') พระเครื่อง ทั้งพระเครื่องเก่า-ราคาสูง (ตั้งแต่องค์ละ 1 หมื่น ถึง 30 ล้านบาท) และพระ
เครื่องใหม่-ราคาถูก (ตั้งแต่องค์ละ 10 บาท ถึง 1 พันบาท) [ดูตัวอย่าง วัดโสธร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ศูนย์การประชุมนานาชาติ วิทยาเขตอยุธยา) วัดบ้านไร่วัดไผ่ล้อม (หลวงพ่อพูล) พระพุทธชินราชอินโดจีน (วัดสุทัศน์ 2005)] อุตสาหกรรมการผลิตพระพิมพ์หรือเหรียญพระเครื่อง การผลิตสื่อประเภทต่างๆ ค่าโฆษณาพระเครื่องในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเลคโทรนิคส์ ฯลฯ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าเครื่องรางจะเป็นที่รู้จักและใช้กันมานานในสังคมไทย ในขณะเดียวกันสังคมไทยก็ได้สร้างพระพุทธรูปและพระพิมพ์มานานนับพันปี แต่ความผูกพันที่สังคมไทยมีต่อพระเครื่องอย่างลึกซึ้งแน่นแฟ้น (อย่างที่ไม่ปรากฏในสังคมอื่นใดในโลก) ก็มีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก ดังที่มีนักวิชาการบางท่านชี้ให้เห็นมาแล้ว เครื่องรางแต่ดั้งเดิมอาจจะสร้างขึ้นโดยพระภิกษุผู้ทรงภูมิและผ่านพิธีกรรมตามคติพุทธศาสนาในรูปของยันตระและเวทมนตร์คาถา (เช่น สายสิญจน์ มีดหมอ ปลัดขิก ตะกรุด เสือแกะ (จากงาช้าง) หนุมานแกะ ผ้ายันตระ หรือแม้แต่รอยสักยันตระ เป็นต้น)

แต่พระพิมพ์หรือพระพุทธรูปไม่ได้ถูกนับเป็นเครื่องรางด้วย คติการสร้างพระพุทธรูปพระพิมพ์หรือพระพุทธรูปโลหะหล่อลอยองค์ขนาดเล็กนั้น เป็นไปเพื่อสักการะบูชา เป็นเครื่องเตือนสติให้รําลึกถึงพระธรรมและเป็นเครื่องสืบทอดพระศาสนาในยามที่ศีลธรรมของผู้คนเสื่อมถอย ไม่ต่างไปจากการคัดลอกคัมภีร์ทางศาสนา พระพุทธรูปและพระพิมพ์เมื่อสร้างเสร็จจึงประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ วิหาร หรือหากเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กก็ประดับเรียงรายอยู่ตามผนัง หรือฝังในกรุใต้ฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่และในเจดีย์สําหรับคนร่.นหลังได้พบเห็นบูชา

แม้คนโบราณจะเชื่อมั่นศรัทธาในพลานุภาพของพระพุทธรูปเหล่านี้ แต่ก็ไม่มีใครเอากลับมาบ้านหรือพกพาติดตัว เพราะถือว่าบ้านอยู่อาศัยและเรือนร่างกายของมนุษย์นั้น ปราศจากความบริสุทธิ์ เต็มไปด้วยมลทินโสโครก หรือที่อาจเรียกได้ว่าเป็น "อาณาแห่งความสามานย์" ไม่เหมาะสมกับวัตถุที่มีทั้งความศักดิ์สิทธิ์และเป็นตัวแทนของพระบรมศาสดาด้วยประการทั้งปวง

พระพุทธรูปขนาดเล็กถูกยกระดับขึ้นเป็นเครื่องราง ที่เรียกกันว่า "พระเครื่อง" ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ อันเป็นผลเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนทางเศรษฐกิจสังคม และภูมิปัญญาในสังคมไทย พุทธศาสนาไม่เพียงดํารงสถานะของอุดมการณ์สูงสุดทางศาสนาของชนชั้นนําไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เท่านั้น แต่อุดมคติของพุทธศาสนายังถูกปรับเปลี่ยนจากการมุ่งสู่พระนิพพานหรือการหลุดพ้น ไปสู่การตอบสนองความต่องการทางวัตถุ และความสําเร็จทางโลกอีกด้วย (เน้นศีลธรรมพื้นๆ ฆราวาสธรรม แม้แต่การบวชก็ไม่ได้มุ่งปรารถนาพระนิพพาน) โอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง และปัจเจกภาวะที่ยิ่งมีบทบาทสําคัญมากขึ้นในวิถีชีวิตของผู้คนในเมือง แต่โดยที่โครงสร้างอํานาจรัฐกลับยังคงอ่อนแอ ไม่สามารถคุ้มครองหรือประกันความสําเร็จทางวัตถุของผู้คนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ทําให้ผู้คนที่มีปัจเจกภาวะสูงต้องหันหาพึ่งพาอํานาจศักดิ์สิทธิ์เพื่อคุ้มครองปกป้องประกันความสําเร็จในหน้าที่การงานอาชีพ และความมั่นคงทางวัตถุของชีวิตในโลกนี้มากขึ้น

เป็นไปได้มากว่า "พระเครื่อง" เพิ่งมาถือกําเนิดอย่างแท้จริงในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือก่อนหน้านั้นไม่นานนัก เพื่อเป็นวัตถุของขลังที่มีฤทธิ์อํานาจในการคุ้มครองและเสริมบารมีให้ผู้บูชาประสบความสําเร็จในทางโลก เพราะพระพิมพ์ส่วนใหญ่ที่สร้างขึ้นในรัชกาลก่อนหน้านั้น (ที่ต่อมากลายมาเป็นพระเครื่องดังราคาแพง) ถูกบรรจุอยู่ใน 'กรุ' ตามจารีตของการสร้างพระพิมพ์ มากกว่านํามาแจกจ่ายแก่ผู้คนเก็บไว้บูชาในฐานะที่เป็นพระเครื่อง

เมื่อพิจารณาข้อมูลที่ปรากฏเป็น "ตํานานเล่าขาน" ที่สืบทอดกันมาในวงการพระเครื่องไทย บุคคลสําคัญที่มีบทบาทในสร้าง "พระเครื่อง" ก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม พระอารามหลวง หรือ ที่เป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไปว่า "สมเด็จโต" ผู้สร้าง "พระสมเด็จ" อันเลื่องชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "พระสมเด็จวัดระฆังฯ" ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดของพระเครื่องไทย และเป็นสุดยอดของพระเครื่อง 'เบญจภาคี' (พระสมเด็จวัดระฆังฯ มีราคาซื้อขายกันใน 'ตลาดพระเครื่อง' ตั้งแต่ 1 ล้าน ถึง 70 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับ "ความสมบูรณ์" ขององค์พระ)

เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกําเนิดของ "พระเครื่อง" ในสมัยรัชกาลที่ 4 ก็คือ ในตอนต้นรัชกาลนั้น สมเด็จโต ได้เดินทางไปเยี่ยมญาติและจาริกแสวงบุญที่กําแพงเพชร และพบพระกรุที่แตกออกมาจากเจดีย์ในเขตเมืองเก่า จึงนํามาแจกจ่ายชาวบ้านและลูกศิษย์ ซึ่งก็คือการเปลี่ยนสถานะของ "พระพิมพ์ในกรุ" ไปเป็น "พระเครื่อง" ที่ผู้บูชานําพาพกติดตัวเพื่อปกป้องคุ้มครองจากภยันตรายและเป็นสิริมงคลส่วนตัวนั่นเอง

พระกรุที่พบในคราวนั้นรู้จักกันต่อมาในนามว่า "พระกําแพงซุ้มกอ ทุ่งเศรษฐี" ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสุดยอดพระเครื่องไทย และหนึ่งในพระเครื่องเบญจภาคีที่ทุกวันนี้ บางองค์มีราคาประมาณ 10-20 ล้านบาท เข้าใจ (เอาเองของผู้เขียน) ว่า หลังจากนั้น สมเด็จโต ก็ได้เริ่มสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง แจกจ่ายให้ลูกศิษย์ลูกหาผู้ใกล้ชิดและชาวบ้านร้านตลาดที่ศรัทธาในศีลาจารวัตรของท่านเอาไปบูชา

(สมเด็จโต เป็นพระเถระที่รัชกาลที่ 4 เคารพนับถือ เป็นไปได้ว่า การ "สร้าง" พระเครื่องขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยสมเด็จโตเกี่ยวข้องกับ

1. ความนิยมในการสวมเครื่องประดับกายของคนเมืองในช่วงนั้น ที่ร่ำรวยขึ้นจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (ดูประกาศห้ามการให้เด็กใส่ทอง ในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4) และ

2. ความกังวลของรัชกาลที่ 4 เกี่ยวกับการที่ผู้คนนิยมเอาเหรียญเงินกษาปณ์ต่างประเทศ (ที่ไหลทะลักเข้ามาใช้แลกเปลี่ยนซื้อขาย) มาห้อยประดับกาย โดยที่เหรียญกษาปณ์เหล่านั้น มีรูปองค์อธิปัตย์ ต่างชาติปรากฏอยู่ (อันอาจมีนัยยะสืบไปถึงการยอมรับในอํานาจขององค์อธิปัตย์นั้นๆ ) หรือไม่ก็เป็นเหรียญที่มีรูปเคารพหรือสัญลักษณ์ของศาสนาอื่นๆ (ดู ประกาศที่เกี่ยวข้องใน ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4) ซึ่งล้วนเป็นเรื่องไม่สมควร การ"สร้าง"พระเครื่องขึ้นมา จึงอาจมีนัยยะของการสร้าง "ทางเลือก" ที่ดีกว่าให้แก่ไพร่ราษฎร และคนเมืองในสังคมไทย ที่เริ่มมีรสนิยมในการตกแต่งประดับเรือนกายเพื่ออวดฐานะด้วยก็เป็นได้ และรวมทั้งยังเป็นการสร้าง "อัตลักษณ์" ผ่านคติความเชื่อทางศาสนา)

พระพิมพ์หรือพระพุทธรูปขนาดเล็ก ที่ครั้งหนึ่งบรรจุในกรุและเป็นสมบัติสาธารณะ จึงได้กลายมาเป็นพระเครื่องที่เป็นสมบัติส่วนตัวของเอกชนไว้บูชาเพื่อการคุ้มครอง และเสริมบารมีส่วนตัวอันเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลอย่างไรก็ดี ในช่วงของการกําเนิดพระเครื่องในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงนําเข้าเทคโนโลยีใหม่ๆ จากโลกตะวันตกอีกอย่างน้อยถึง 2 ประการ ที่มีผลกระทบก่อให้เกิด "นวัตกรรมพระเครื่องไทย" ในเวลาต่อมา จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพระเครื่องไทยทุกวันนี้

ประการแรก คือ เทคโนโลยีการทําเหรียญกษาปณ์ ที่นําเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วหลังการ "เปิดประเทศ" ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เทคโนโลยีนี้ก็ได้ถูกนํามาประยุกต์ใช้ทําเหรียญที่ระลึกทางศาสนา เพื่อแจกจ่ายเนื่องในวาระโอกาสอันสําคัญต่างๆ หลังจากนั้นไม่นาน เทคโนโลยีการทําเหรียญกษาปณ์ก็ถูกนํามาทําเหรียญพระพุทธรูปที่ผ่านพิธีกรรมปลุกเสกเพื่อเสริมพุทธคุณกลายเป็น "เหรียญพระเครื่อง" ที่รู้จักกันดีในเวลาต่อมา

คุณสมบัติที่สําคัญของเหรียญพระเครื่องที่ทําให้ได้รับความนิยมและกลายเป็นรูปแบบหลักอย่างหนึ่งของพระเครื่องไทยในปัจจุบัน ก็คือ สามารถออกแบบรูปทรงได้หลากหลายกว่าพระพิมพ์และพระหล่อลอยองค์แบบโบราณ เป็นต้นว่าออกแบบเป็นใบเสมา ทรงกลม รูปไข่ ตราอาร์ม ฯลฯ นอกจากนั้น ความคงทนถาวรของเหรียญพระเครื่องยังมีมากกว่าพระพิมพ์ หรือพระพิมพ์ดินเผาที่สร้างขึ้นตามแบบโบราณหลายเท่าตัว

ข้อได้เปรียบอีกประการของเหรียญพระเครื่องคือ ความคมชัดของพระพุทธรูปและลวดลายที่แต่งเติมได้มากหลากหลายขึ้น และที่สําคัญคือ เหรียญพระเครื่องยังสามารถใช้พื้นที่ด้านหลังของเหรียญ เพิ่มสัญลักษณ์เนื่องในอํานาจศักดิ์สิทธิ์ของพุทธคุณ ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นพระพุทธรูปหรือคาถาหรือยันตระ ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพิมพ์หรือพระพิมพ์ดินเผาทั่วไปไม่สามารถทําได้ เท่ากับว่าด้วยขนาดที่เท่ากัน เหรียญพระเครื่องมี "พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์"มากกว่าถึงหนึ่งเท่า

ประการที่สอง คือ เทคโนโลยีการถ่ายภาพที่นําเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 4 ด้วยเช่นกัน การถ่ายภาพได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในหมู่ชนชั้นนํา รวมทั้งพระภิกษุ ซึ่งเริ่มถ่ายภาพและมีลูกศิษย์ลูกหาผู้ศรัทธาอัดภาพพระภิกษุไปบูชา ต่อมาเริ่มมีการปลุกเสกภาพพระเกจิ เขียนคาถาและยันตระเพิ่มพุทธคุณลงบนภาพถ่าย กลายเป็นเครื่องรางแบบหนึ่ง (วัฒนธรรมการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกและอวดรสนิยม เริ่มจากชนชั้นสูง ลงมาสู่ชนชั้นกลาง สู่ชนชั้นล่าง ทําให้ การจําลองรูปเคารพเป็นที่ยอมรับ ทั้งรูปคนที่ตายไปแล้วหรือคนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น การสร้างรูปปั้นและอนุสาวรีย์ในหมู่พระหรือบุคคลที่เคารพนับถือเริ่มมีการถ่ายภาพทําเหรียญล็อคเก็ตไว้แขวนติดกาย)

แต่พัฒนาการที่สําคัญที่เทคโนโลยีการถ่ายภาพมีต่อพระเครื่องก็คือ การถ่ายภาพพระภิกษุระดับเกจิอาจารย์เพื่อเป็นแบบในการทําเหรียญเกิดเป็น "เหรียญพระเกจิ" ที่มีรูปเสมือนจริงของพระภิกษุขึ้นเป็นครั้งแรกในตอนปลายรัชกาลที่ 5 นับเป็นการเปลี่ยนผ่านในเชิงพัฒนาการที่สําคัญยิ่งของพระเครื่องไทย เพราะพื้นที่ใน "พระเครื่อง"ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ "ผูกขาด" เฉพาะของพระพุทธรูปอันเป็นจินตนาการภาพตัวแทนของพระบรมศาสดาเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น มาบัดนี้ ด้วยกําเนิดของ "เหรียญพระเกจิ" จากการผสมผสานของเทคโนโลยีเหรียญกษาปณ์และการถ่ายภาพ ทําให้พื้นที่บนพระเครื่องส่วนหนึ่งซึ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามลําดับ ถูกแย่งชิงจับจองไปโดยบรรดาพระเกจิ อันเป็นสาวกของพระบรมศาสดาเอง

กล่าวอีกนัยหนึ่ง การ "ผูกขาด" ภาพจําลองของพระบรมศาสดาได้ถูกทําลายลง พื้นที่ผูกขาดของพระศาสดาถูกยึดครองโดยสาวกของพระองค์เอง หรือกล่าวได้อีกอย่างว่า พระบรมศาสดาถูก"รัฐประหาร" ยึดอํานาจโดยบรรดาเหล่าพระเกจิอาจารย์ทั้งที่บรรลุภูมิวิเศษหรือไม่ก็ตาม น่าสนใจอีกด้วยว่า "การปฏิวัติ" ในลักษณะเช่นนี้ หรือ "การกระจายอํานาจ" ทําลายการผูกขาดเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เพียงยอมรับได้ของคนชั้นกลางเท่านั้น แต่ยังอาจสอดคล้องกับรสนิยม "ทางการเมือง" ของชนชั้นกลางในสังคมไทยที่บริโภค "พระเครื่อง"อีกด้วย

(หมายเหตุ : บทความสั้นฉบับลําลองประกอบการอภิปรายชิ้นนี้ สรุปย่อ และขยายความ จากส่วนหนึ่งของบทความของผู้เขียนชื่อ
"The Regionalization of Local Buddhist Saints: Amulets and Crime and Violence in Post WW II Thai Society" ซึ่งยังเป็นเพียงฉบับร่าง และรอการแก้ไขเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไปในเวลาอันสมควร)

ข้อสังเกตจากที่ประชุม:
เสฐียรพงษ์วรรณปก พูดถึง คัมภีร์สุคตวิทัตถิวิธาน ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ว่าเป็นคัมภีร์ภาษาบาลีสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีความไพเราะเชิงภาษาและการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้ง เป็นงานเขียนทางวิชาการที่อ้างอิงคัมภีร์พระไตรปิฎก (พระวินัยปิฎก) และคัมภีร์อื่นๆ อย่างกว้างขวางลุ่มลึก มีคุณค่าเทียบได้กับ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ของพระสิริมังคลาจารย์

 


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

แม้คนโบราณจะเชื่อมั่นศรัทธาในพลานุภาพของพระพุทธรูปเหล่านี้ แต่ก็ไม่มีใครเอากลับมาบ้านหรือพกพาติดตัว เพราะถือว่าบ้านอยู่อาศัยและเรือนร่างกายของมนุษย์นั้น ปราศจากความบริสุทธิ์ เต็มไปด้วยมลทินโสโครก หรือที่อาจเรียกได้ว่าเป็น "อาณาแห่งความสามานย์" ไม่เหมาะสมกับวัตถุที่มีทั้งความศักดิ์สิทธิ์และเป็นตัวแทนของพระบรมศาสดาด้วยประการทั้งปวง พระพุทธรูปขนาดเล็กถูกยกระดับขึ้นเป็นเครื่องราง ที่เรียกกันว่า "พระเครื่อง" ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ อันเป็นผลเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนทางเศรษฐกิจสังคม
21-05-2550

Thai History
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.