โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Update: 15 May 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๒๔๙ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (May, 15. 05. 2007)
R

สารานุกรม ๒ ภาษาเรื่อง: พระพุทธศาสนา คืนสู่ถิ่นอินเดีย
ดร.อัมเบดการ์ มหาบุรุษผู้นำพุทธศาสนากลับคืนสู่มาตุภูมิ
ชำนาญ จันทร์เรือง

นักวิชาการทางรัฐศาสตร์และกฎหมาย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการชิ้นนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เขียน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติของ Dr. Babasaheb Ambedkar หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม
ดร.อัมเบดการ์ ผู้หันจากความเป็นฮินดูมาสู่พระพุทธศาสนา และได้สนับสนุน
ชนอินเดียเป็นจำนวนมากหันมารับนับถือศาสนาพุทธ แต่น่าเสียดายที่เวลาของท่านสั้นไป
ในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทำให้ผลงานของท่านยังคงไม่ส่องสว่างทั่วทั้งชมพูทวีป
สำหรับบทความชิ้นนี้ มีชีวประวัติภาษาอังกฤษอยู่ท้าย เพื่อประกอบการค้นคว้าเพิ่มเติม
(midnightuniv(at)gmail.com)

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๒๔๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Bhimrao "Babasaheb" Ambedkar
April 14, 1891 – December 6, 1956

สารานุกรม ๒ ภาษาเรื่อง: พระพุทธศาสนา คืนสู่ถิ่นอินเดีย
ดร.อัมเบดการ์ มหาบุรุษผู้นำพุทธศาสนากลับคืนสู่มาตุภูมิ

ชำนาญ จันทร์เรือง

ความนำ
พุทธศาสนาถือกำเนิดและเคยยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป แต่กลับสูญสลายไปจากดินแดนมาตุภูมิไปเกือบสิ้นในภายหลัง จนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๙๙ ของไทย) [ในอินเดียเป็นปี ๒๕๐๐ อินเดียนับพุทธศักราชเร็วกว่าไทย ๑ ปี เช่นเดียวกับพม่า และลังกา} ได้มีชาวอินเดียวรรณะต่ำประมาณ ๕ แสนคน ประกาศตนมานับถือพระพุทธศาสนา ด้วยการนำของ ดร. อัมเบดการ์ (Dr. Babasaheb Bhimrao Ramji Ambedkar) จึงได้มีชาวพุทธเกิดขึ้นในอินเดียอีกครั้ง เรียกว่า กลุ่มชาวพุทธใหม่ (New Buddhist) มีมากที่สุดในเมืองนาคปูร์ ตอนกลางของอินเดีย จากนั้นก็ได้มีชาวอินเดียวรรณะต่ำได้หันมานับถือพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการประกาศตนเป็นชาวพุทธอยู่หลายเมือง เช่น เมืองนาคปูร์, เมืองคยา, เมืองเดลี ฯลฯ

ปัจจุบันมีชาวอินเดียที่หันมานับถือพระพุทธศาสนาประมาณ ๒๐ ล้านคน ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมชาวพุทธที่อพยพมาจากทิเบตในสมัยที่ถูกจีนรุกราน ซึ่งได้กระจายอยู่ในเมืองต่างๆ ของอินเดีย ผมจึงขอนำข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของ ดร.อัมเบดการ์ บางส่วนที่ปรากฏในหน้าเว็บของวัดดอนสาทรโดยปรับเปลี่ยนบ้างเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม มานำเสนอให้ผู้อ่านได้ทราบถึงการต่อสู้ของท่าน

ประวัติของ ดร. อัมเบดการ์
ดร. อัมเบดการ์ เกิดในวรรณะจัณฑาลที่ยากจนที่สุดตระกูลหนึ่งของอินเดีย ในเมืองนาคปูร์ รัฐมหาราษฏร์ ทางตอนกลางของอินเดีย เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๓๔ ท่านเกิดในหมู่บ้านคนอธิศูทร (คนวรรณะจัณฑาลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น หริจันทร์, จัณฑาล, อธิศูทร, ในที่นี้จะใช้คำว่า อธิศูทร) ชื่อว่า อัมพาวดี เป็นบุตรชายคนสุดท้อง คนที่ ๑๔ ของ รามจิ สักปาล และนางพิมมาไบ สักปาล

ก่อนที่ดร.อัมเบดการ์จะเกิดนั้น มีเรื่องเล่าว่า ลุงของพ่อของท่าน ซึ่งไปบวชเป็นสันยาสี(ผู้ถือสันโดษ ตามแนวคิดเรื่องอาศรม ๔ ของฮินดู พรหมจรรย์ คฤหัสถ์ วนปรัส สันยาสี) อาศัยอยู่ตามป่าเขา ได้มาพำนักในแถบละแวกบ้าน. รามจิได้ทราบจากญาติคนหนึ่งว่าหลวงลุงของตนมาพำนักอยู่ใกล้ๆ จึงไปนิมนต์ให้มารับอาหารที่บ้าน นักบวชสันยาสีนั้นปฏิเสธ แต่ได้ให้พรแก่รามจิว่า "ขอให้มีบุตรชาย และบุตรชายของเธอจงมีชื่อเสียง เกียรติ ในอนาคต ได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ชาติอินเดีย" ซึ่งพรนั้นก็มาสำเร็จสมปรารถนาในเวลาต่อมา เมื่อวันที่ ดร.อัมเบดการ์เกิดนั้นเอง บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้ว่า "พิม"

แม้จะเกิดมาในครอบครัวอธิศูทรที่ยากจน แต่บิดาก็พยายามส่งเสียจนเด็กชายพิม สามารถเรียนจนจบประถม ๖ ได้ เมื่อจบแล้ว บิดาก็ไม่ได้หยุดที่จะให้บุตรได้รับความรู้ พยายามอดมื้อกินมื้อ เงินที่ได้รับจากการรับจ้างแบกหามก็เอามาส่งเสียเป็นค่าเล่าเรียนให้กับเด็กชายพิม จนกระทั่งสามารถส่งให้เรียนจนจบมัธยมได้สำเร็จ แต่ในระหว่างการเรียนนั้น พิมจะต้องเผชิญหน้ากับความดูหมิ่นเหยียดหยามของทั้งครู-อาจารย์ และนักเรียนซึ่งเป็นคนในวรรณะสูงกว่า

เรื่องบางเรื่องที่กลายเป็นความช้ำใจในความทรงจำของพิม เช่นว่า เมื่อท่านเข้าไปในห้องเรียน ทั้งครู และเพื่อนร่วมชั้นต่างก็แสดงอาการขยะแขยง รังเกียจ ในความเป็นคนวรรณะต่ำของท่าน ท่านไม่ได้รับอนุญาตแม้แต่การที่จะไปนั่งบนเก้าอี้ในห้องเรียน ท่านต้องเลือกเอาที่มุมห้อง แล้วปูกระสอบ นั่งเรียนอยู่อย่างนั้น แม้แต่เวลาจะส่งงานต่ออาจารย์ อาจารย์ก็มีทีท่ารังเกียจ ไม่อยากจะรับสมุดของท่าน

เวลาที่เขาถูกสั่งให้มาทำแบบทดสอบหน้าชั้นเรียน นักเรียนในห้องที่เอาปิ่นโต ห่ออาหารที่นำมากินที่โรงเรียน วางไว้บนกระดานดำ จะเร่งกรูกันไปเอามาไว้ก่อน เพราะกลัวว่าความเป็นเสนียดของพิมจะไปติดห่ออาหารของพวกเขาที่วางอยู่บนกระดานดำ แม้แต่เวลาที่ท่านจะไปดื่มน้ำที่ทางโรงเรียนจัดไว้ ท่านก็ถูกห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะไปจับต้องแท็งก์น้ำ หรือแก้วที่วางอยู่ เพราะทุกคนรังเกียจว่าเสนียดของท่านจะไปติดที่แก้วน้ำ ท่านต้องขอร้องเพื่อนๆ ที่พอมีความเมตตาอยู่บ้าง ให้ตักน้ำแล้วให้พิมคอยแหงนหน้า อ้าปาก ให้เพื่อนเทน้ำลงในปากของพิม เพื่อป้องกันเสนียดในความเป็นคนต่างวรรณะของท่าน ซึ่งเป็นความน่าเจ็บช้ำใจยิ่งนัก

อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่ยักษ์มาร ครูคนหนึ่งซึ่งเป็นวรรณะพราหมณ์ แต่เป็นผู้มีเมตตาผิดกับคนในวรรณะเดียวกัน บางครั้งครูท่านนี้ก็จะแบ่งอาหาร ของตนให้กับพิม แต่เขาก็แสดงออกมากไม่ได้ เพราะอาจจะถูกคนในวรรณะเดียวกันเกลียดชังไปด้วย ครูท่านนี้คิดว่า เหตุที่พิมถูกรังเกียจ เพราะความที่นามสกุลของท่านบ่งชัดความเป็นอธิศูทร คือนามสกุล "สักปาล" ครูท่านนั้นได้เอานามสกุลของตน เปลี่ยนให้กับพิม โดยแก้ที่ทะเบียนโรงเรียน ให้เขาใช้นามสกุลว่า "อัมเบดการ์" พิมจึงได้ใช้นามสกุลใหม่นั้นเป็นต้นมา

หลังจากอดทนต่อความยากลำบาก การถูกรังเกียจจากคนรอบข้าง ที่รู้ว่าท่านเป็นคนอธิศูทรแล้ว ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจบมัธยม ๖ ซึ่งนับว่าสูงมาก สำหรับคนวรรณะอย่างพิม แต่มาถึงขั้นนี้ พ่อของท่านก็ไม่สามารถที่จะส่งเสียให้เรียนต่อไปได้อีกจนจบปริญญาตรี เคราะห์ดีที่ในขณะนั้น มหาราชาแห่งเมืองบาโรดา ซึ่งเป็นมหาราชาผู้มีเมตตา พระองค์ไม่มีความรังเกียจในคนต่างวรรณะ ปรารถนาจะยกระดับการศึกษาแม้คนระดับอธิศูทร พระองค์ได้ทรงพระราชทานเงินทุนในการศึกษาต่อของพิม โดยให้เป็นเงินทุนเดือนละ ๒๔ รูปี ทำให้พิมสามารถเรียนจบปริญญาตรีได้

เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กลับมาสอนในวิทยาลัยซิดนาห์ม
ต่อมา มหาราชาแห่งบาโรดาได้ทรงคัดเลือกนักศึกษาอินเดีย เพื่อจะทรงส่งให้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพิมได้รับการคัดเลือกด้วย ท่านได้พบกับสิ่งที่เรียกว่า อิสรภาพ และความเสมอภาค เพราะที่อเมริกานั้นไม่มีคนแสดงอาการรังเกียจท่านในความเป็นคนอธิศูทร เหมือนอย่างในประเทศอินเดีย หลังจากจบการศึกษาถึงขั้นปริญญาเอกแล้ว ท่านจึงมีชื่อเรียกว่า ดร. พิม อัมเบดการ์ และได้เดินทางกลับมายังอินเดีย

ดร. อัมเบดการ์ ได้ทำงานในหลายๆ เรื่อง หลังจากจบการศึกษาที่อเมริกาแล้ว ท่านได้เป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยซิดนาห์ม เมืองบอมเบย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ต่อมาได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าชายแห่งเมืองโครักขปูร์ ซึ่งเป็นผู้มีพระทัยเมตตาเช่นเดียวกับมหาราชาแห่งบาโรด้า ซึ่งปรารถนาที่จะถอนรากถอนโคนความอยุติธรรม ที่สังคมฮินดู กีดกันคนในวรรณะอื่นๆ ได้ทรงอุปถัมภ์ให้คนอธิศูทร มารับราชการในเมืองโครักขปุร์ แม้นายควาญช้าง พระองค์ก็เลือกจากคนอธิศูทร. เจ้าชายแห่งโครักขปุร์ ได้ทรงอุปถัมภ์ในการจัดทำหนังสือพิมพ์ "ผู้นำคนใบ้" ของ ดร.อัมเบดการ์ เช่นอุปถัมภ์ค่ากระดาษพิมพ์ และอื่นๆ ซึ่ง ดร.อัมเบดการ์ไม่ได้เป็นบรรณาธิการเอง แต่อยู่เบื้องหลัง และเขียนบทความลงตีพิมพ์

ในบทความชิ้นหนึ่งมีถ้อยคำที่น่าสนใจ ว่า "อินเดียเป็นดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูง สังคมฮินดูนั้นช่างสูงส่งประดุจหอคอยอันสูงตระหง่าน มีหลายชั้นหลายตอน แต่ไม่มีบันไดหรือช่องทาง ที่จะเข้าไปสู่หอคอยอันนั้นได้ คนที่อยู่ในหอคอยนั้นไม่มีโอกาสที่จะลงมาได้ และจะติดต่อกับคนในหอคอยเดียวกันในอีกชั้นหนึ่งก็ทำไม่ได้ ใครเกิดในชั้นใดก็ตายในชั้นนั้น"

ท่านได้กล่าวถึงว่า สังคมฮินดูมีส่วนประกอบอยู่สามประการ คือ พราหมณ์, มิใช่พราหมณ์, และอธิศูทร. พราหมณ์ผู้สอนศาสนามักกล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่ในทุกหนแห่ง ถ้าเช่นนั้น พระเจ้าก็ต้องมีอยู่ในอธิศูทร แต่พราหมณ์กลับรังเกียจคนอธิศูทร เห็นเป็นตัวราคี นั่นแสดงว่าท่านกำลังเห็น พระเจ้าเป็นตัวราคีใช่หรือไม่

ดร. อัมเบดการ์ มีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวหลายๆ อย่างในอินเดียขณะนั้น ท่านเป็นอธิศูทรคนแรก ที่ได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของอินเดีย หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช เป็นผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญของอินเดีย ท่านเป็นผู้ที่ชี้แจงต่อที่ประชุมในโลกสภา โดยการอนุมัติของ ดร.ราเชนทรประสาท ให้ชี้แจงอธิบายต่อผู้ซักถาม ถึงบางข้อบางประเด็นในรัฐธรรมนูญ หนังสือพิมพ์บางฉบับลงเหตุการ์ตอนนี้ว่า "ด.ร.อัมเบดการ์ ทำหน้าที่ชี้แจงอธิบาย เรื่องร่างรัฐธรรมนูญต่อผู้ร่วมประชุม ประดุจพระอุบาลีเถรเจ้า วิสัชชนาข้อวินัยบัญญัติ ในที่ประชุมปฐมสังคายนา ต่อพระสงฆ์ ๕๐๐ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ฉะนั้น" และท่านเป็นผู้ต่อสู้เพื่อทำลาย ความอยุติธรรมที่คนในชาติเดียวกันหยิบยื่นให้กับคนในชาติเดียวกัน แต่ต่างวรรณะกันเท่านั้น

ดร.อัมเบดการ์ กับการพบรัก และการประกาศตนเป็นชาวพุทธ
ดร.อัมเบดการ์ ได้พบรักกับแพทย์หญิงในวรรณะพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า ชาดา คาไบ ในโรงพยาบาลที่เขาไปรับการรักษาอาการป่วย และเป็นครั้งแรกที่คนในวรรณะต่ำเช่นท่านได้แต่งงานกับคนในวรรณะสูง คือวรรณะพราหมณ์ และมีคนใหญ่คนโต นักการเมือง พ่อค้า คนในวรรณะต่างๆ มาร่วมงานแต่งงานของท่านมากมาย.
หลังจากนั้น ดร.อัมเบดการ์ ได้ลงจากเก้าอี้ทางการเมือง ท่านถือว่าท่านไม่ได้ชื่นชอบกับตำแหน่งทางการเมืองอะไรนัก ที่ท่านเป็นรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ก็เพราะท่านต้องการทำงานเพื่อเรียกร้องความถูกต้องให้แก่คนที่อยู่ในวรรณะต่ำที่ได้รับการข่มเหงรังแกเท่านั้น

เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่ง ที่ ดร.อัมเบดการ์ได้กระทำ และเป็นสิ่งซึ่งมีคุณูปการมากต่อพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียคือ การเป็นผู้นำชาวพุทธศูทรกว่า ๕ แสนคน ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ซึ่ง ดร.อัมเบดการ์สนใจพระพุทธศาสนามานานแล้ว โดยเฉพาะจากการได้อ่านหนังสือพระประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งเขียนโดยพระธัมมานันทะ โกสัมพี ชื่อว่า "ภควาน บุดดา"(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ท่านได้ศึกษาแล้วว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่มีข้อรังเกียจในเรื่องวรรณะ ไม่ปิดกั้นการศึกษาพระธรรม ให้ความเสมอภาค และภราดรภาพ แก่คนทุกชั้น ในจิตใจของ ดร.อัมเบดการ์ เป็นชาวพุทธอยู่ก่อนแล้ว แต่ท่านตั้งใจจะทำให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้นก็คือ การปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธพร้อมกับพี่น้องชาวอธิศูทร ในงานฉลองพุทธชยันติ (Buddhajayanti)

ดร.อัมเบดการ์ ได้กล่าวสดุดีพระพุทธศาสนา โดยเขียนหนังสือเผยแผ่พระพุทธธรรมหลายเล่ม เช่น "พุทธธรรม "(Buddha and His Dhamma) "ลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา" (The Essential of Buddhism) และคำปาฐกถาอื่นๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ภายหลัง เช่น "การที่พระพุทธศาสนาหมดไปจากอินเดีย" (The down fall of Buddhism in india) เป็นต้น

ก่อนหน้าที่จะมีงานฉลองพุทธชยันตี เป็นที่ทราบกันดีว่า อินเดียในขณะนั้น มีชาวพุทธอยู่แทบจะเรียกได้ว่าเป็น อัพโภหาริก คือน้อยจนเรียกไม่ได้ว่ามี แต่เหตุใดจึงมีงานฉลองนี้ขึ้น คำตอบนี้น่าจะอยุ่ที่ ท่านยวาห์ ราล เนรูห์ ซึ่งได้กล่าวคำปราศรัยไว้ในที่ประชุมโลกสภา (รัฐสภาของอินเดีย) เรื่องการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ว่า "พระพุทธเจ้า เป็นบุตรที่ปราดเปรื่องยิ่งใหญ่และรอบรู้ที่สุดของอินเดีย ในโลกนี้ซึ่งเต็มไปด้วยความวุ่นวาย เคียดแค้น และรุนแรง คำสอนของพระพุทธเจ้าส่องแสงเหมือนดวงอาทิตย์ที่รุ่งโรจน์ ไม่มีคนอินเดียคนใดที่จะนำเกียรติยศ เกียรติภุมิ กลับมาสู่อินเดียได้เท่ากับพระพุทธองค์ หากเราไม่จัดงานฉลองท่านผู้นี้แล้ว เราจะไปฉลองวันสำคัญของใคร"

ในงานฉลองพุทธชยันตินั้น รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรงบประมาณการจัดงาน ฉลองตลอด ๑ ปีเต็ม โดยวนเวียนฉลองกันไปตามรัฐต่างๆ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ อย่างเช่น ทำการตัดถนนเข้าสู่พุทธสังเวชนียสถานต่างๆให้ดีขึ้น สร้างธรรมศาลา อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาร่วมงานพุทธชยันตีจากประเทศต่างๆ จัดพิมพ์หนังสือสดุดีพระพุทธศาสนา จัดทำหนังสือวิชาการพระพุทธศาสนา โดยนักปราชญ์หลายท่านเขียนขึ้น ประธานาธิบดีราธกฤษนัน เขียนคำนำสดุดีพุทธคุณ ให้ชื่อว่า "2500 years of Buddhism" (๒๕๐๐ ปีแห่งพระพุทธศาสนา) ทั่วทั้งอินเดีย ก้องไปด้วยเสียง พุทธัง สรณัง คัจฉามิ

นำการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
ส่วนในการปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะนั้น ดร.อัมเบดการ์ได้นำชาววรรณะศูทร ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะที่เมืองนาคปูร์ สาเหตุที่ท่านเลือกเมืองนี้แทนที่จะเป็นเมืองใหญ่ๆ อย่าง บอมเบย์ หรือเดลี ท่านได้ให้เหตุผลว่า "ผู้ที่ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตอนแรกๆ นอกจากพระสงฆ์คือพวกชนเผ่านาค ซึ่งถูกพวกอารยันกดขี่ข่มเหง ต่อมาพวกนาคได้พบกับพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมจนพวกนาคเหล่านั้นเลื่อมใส ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธและเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่ว เมืองนาคปูร์นี้ เป็นเมืองที่พวกนาคตั้งหลักแหล่งอยู่" (คำกล่าวของท่านอัมเบดการ์มีมูลอยุ่ไม่น้อย และจะว่าไปแล้ว หลังจากพระพุทธศาสนาเริ่มถูกทำลายจากอินเดีย เมืองนาคปูร์เป็นเมืองที่มีชาวพุทธอาศัยอยู่มาก และเป็นเมืองที่มีชนชั้นศูทร หรือคนวรรณะต่ำอยู่มากอีกด้วย ดังนั้นศูนย์กลางพุทธศาสนิกชนในอินเดียปัจจุบันที่เป็นคนวรรณะศูทร จึงอยู่ที่นาคปูร์)

ในการปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ ๕ แสนคน เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ (๒๔๙๙ของไทย)นั้น มีพระภิกษุอยู่ในพิธี ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย ๓ รูป คือ พระสังฆรัตนเถระ (Ven. M. Sangharatana Thera) พระสัทธราติสสะเถระ (Ven. S. Saddratissa Thera) และพระปัญญานันทะเถระ (Ven. Pannanand Thera) ในพิธีมีการประดับธงธรรมจักรและสายรุ้งอย่างงดงาม ในพิธีนั้น ผู้ปฏิญาณตนได้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ และ คำปฏิญญาน ๒๒ ข้อ ของ ดร.อัมเบดการ์ ดังนี้

๑. ข้าพเจ้าจะไม่บูชาพระพรหม พระศิวะ พระวิษณุต่อไป
๒. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่าพระราม พระกฤษณะ เป็นพระเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่เคารพต่อไป
๓. ข้าพเจ้าจะไม่เคารพบูชาเทวดาทั้งหลายของศาสนาฮินดูต่อไป
๔. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อลัทธิอวตารต่อไป
๕. ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ การเชื่อเช่นนั้น คือคนบ้า

๖. ข้าพเจ้าจะไม่ทำพิธีสารท และบิณฑบาตแบบฮินดูต่อไป
๗. ข้าพเจ้าจะไม่ทำสิ่งที่ขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า
๘. ข้าพเจ้าจะไม่เชิญพราหมณ์มาทำพิธีทุกอย่างไป
๙. ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้มีศักดิ์ศรีและฐานะเสมอกัน

๑๐. ข้าพเจ้าจะต่อสู้เพื่อความมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน
๑๑. ข้าพเจ้าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ โดยครบถ้วน
๑๒. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ โดยครบถ้วน
๑๓. ข้าพเจ้าจะแผ่เมตตาแก่มนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก
๑๔. ข้าพเจ้าจะไม่ลักขโมยคนอื่น
๑๕. ข้าพเจ้าจะไม่ประพฤติผิดในกาม
๑๖. ข้าพเจ้าจะไม่พูดปด
๑๗. ข้าพเจ้าจะไม่ดื่มสุรา

๑๘. ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญตนในทาน ศีล ภาวนา
๑๙. ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือศาสนาฮินดู ที่ทำให้สังคมเลวทราม แบ่งชั้นวรรณะ
๒๐.ข้าพเจ้าเชื่อว่าพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นศาสนาที่แท้จริง
๒๑. ข้าพเจ้าเชื่อว่าการที่ข้าพเจ้าหันมานับถือพระพุทธศาสนานั้นเป็นการเกิดใหม่ที่แท้จริง
๒๒. ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด

หลังจากปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะแล้ว ท่านกล่าวว่า "ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน"

คำปราศรัยในที่ประชุมปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ของ ดร.อัมเบดการ์ นั้น เป็นการแสดงถึงความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ต่อมาได้มีผู้พิมพ์คำปราศรัยนี้ลงเป็นหนังสือ เป็นคำปราศรัยที่ยาวถึง ๑๒๖ หน้า ขนาด ๘ หน้ายก มีตอนหนึ่งที่ควรกล่าวถึง เช่น "พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาจากตระกูลต่างๆ กัน ย่อมมีความเสมอกันเมื่อมาสู่ธรรมวินัยนี้แล้ว เหมือนมหาสมุทร ย่อมเป็นที่รวมของน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำและทะเลต่างๆ เมื่อมาสู่มหาสมุทรแล้ว ก็ไม่สามารถจะแยกได้ว่าน้ำส่วนไหนมาจากที่ใด"

"พระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ปฏิเสธระบบวรรณะ และคนบางคนไม่มีเหตุผลจะโจมตีพระพุทธศาสนา หรือไม่มีเหตุผลมาหักล้างคำสอนได้ ก็อ้างเอาอย่างหน้าด้านๆ ว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของพวกนอกวรรณะ" "ถ้าหากจะมีพระนามใด ที่โจษขานกันนอกประเทศอินเดียที่โด่งดัง และกล่าวกันด้วยความเคารพสักการะแล้ว จะมิใช่พระนามของพระราม หรือพระกฤษณะ แต่จะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า เท่านั้น "

เมื่อนักหนังสือพิมพ์ถามถึงเหตุผลในการนับถือพระพุทธศาสนา ท่านกล่าวว่า "เพราะการกระทำอันป่าเถื่อนของชาวฮินดูที่มีต่อคนวรรณอธิศูทรเช่นเรามานานกว่า ๒๐๐๐ ปี" พร้อมกันนั้นท่านกล่าวต่อว่า "พอเราเกิดมาก็ถูกตราหน้าว่าเป็นวรรณะอธิศูทร ซึ่งมีค่าต่ำกว่าสุนัข อะไรจะดีเท่ากับการผละออกจากลัทธิป่าเถื่อน ปลีกตัวออกจากมุมมืดมาหามุมสว่าง พุทธศาสนาได้อำนวยสุขให้ทุกคนโดยไม่เลือกหน้า โดยไม่เลือกว่าเป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ความจริงข้าพเจ้าต้องการ เปลี่ยนศาสนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ แต่เหตุการณ์ยังไม่อำนวย ข้าพเจ้าขอกล่าวว่าระบบวรรณะควรจะสูญไปจากอินเดียเสียที แต่ตราบใดที่ยังมีผู้นับถือพระเวทอยู่ ระบบนี้ก็ยังคงอยู่ กับอินเดียตลอดไป อินเดียก็จะได้รับความระทมทุกข์ ความเสื่อมโทรมตลอดไปเช่นกัน พวกพราหมณ์พากันจงเกลียดจงชังพระพุทธศาสนา แต่หารู้ไม่ว่าพระสงฆ์ในพุทธกาล ๙๐ % เป็นคนมาจากวรรณะพราหมณ์ทั้งสิ้น ข้าพเจ้าอยากจะถามพวกพราหมณ์ในปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้น กับพวกเขาหรือ"

เป็นที่น่าเสียดายว่า หลังจากพิธีปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธได้ ๓ เดือน ดร.อัมเบดการ์ ก็ได้ถึงแก่กรรมลง ด้วยโรคร้าย ในวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ (ในอินเดียเป็นปี ๒๕๐๐ อินเดียนับพุทธศักราชเร็วกว่าไทย ๑ ปี เช่นเดียวกับพม่า และลังกา) สร้างความยุ่งเหยิงให้กับชาวศูทรมากมาย เพราะยังไม่ทันพาพวกเขาไปถึงจุดหมาย ท่านก็มาด่วนถึงแก่กรรมไปเสียก่อน เหมือนเรือที่ขาดหางเสือ

ดร.อัมเบดการ์ ถึงแก่กรรม
เมื่อ ดร.อัมเบดการ์ ถึงแก่กรรมนั้น มีหลายท่านแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง เมื่อข่าวการมรณะกรรมของท่านแพร่สะพัดออกไป มีทั้งรัฐมนตรี นักการเมือง เดินทางมาเคารพศพและแสดงความเสียใจแก่ภรรยาของ ดร.อัมเบดการ์ นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวอย่างเศร้าสลดว่า "เพชรของรัฐบาลหมดไปเสียแล้ว"

ในวันต่อมา นายกรัฐมนตรีเนรูห์ได้กล่าวไว้อาลัย ดร.อัมเบดการ์ และสดุดีความดีของท่านอย่างมากมาย ตอนหนึ่งท่านได้กล่าวว่า "ชื่อของอัมเบ็ดการ์ จะต้องถูกจดจำต่อไปอีกชั่วกาลนาน โดยเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อลบล้างความอยุติธรรมในสังคมฮินดู อัมเบดการ์ต่อสู้กับสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องต่อสู้ อัมเบดการ์ได้เป็นคนปลุกให้สังคมของฮินดูได้ตื่นจากความหลับ". นอกจากนี้ยังได้ให้มีการหยุดประชุมโลกสภา เพื่อไว้อาลัยแด่ ดร. อัมเบดการ์ ด้วย

หลังจากนั้น ได้มีคนสำคัญต่างๆ และผู้ทราบข่าวการมรณกรรมของ ดร.อัมเบดการ์มากมาย ได้ส่งโทรเลขไปแสดงความเสียใจต่อภรรยาของ ดร.อัมเบดการ์ มุขมนตรีของบอมเบย์ คือนาย ชะวาน ถึงกับประกาศให้วันเกิดของ ดร.อัมเบดการ์ เป็นวันหยุดราชการของรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่ดวงวิญญาณของ ดร.อัมเบดการ์

ภรรยาของท่านต้องการจะนำศพของดร.อัมเบดการ์ ไปทำพิธียังบอมเบย์ รัฐบาลก็ได้จัดเที่ยวบินพิเศษให้ เมื่อเครื่องบินนำศพมาถึงบอมเบย์ ประชาชนหลายหมื่นคนได้มารอรับศพของ ดร.อัมเบดการ์ หลายคนที่ไม่สามารถอดกลั้นความเศร้าไว้ได้ต่างก็ร้องไห้ไปตามๆ กัน

ท้ายเรื่อง
ดร.อัมเบดการ์ ผู้เกิดมาจากสังคมอันต่ำต้อย ต่อสู้เพื่อตัวเอง เพื่อสังคม และเพื่อประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม ตั้งแต่เกิดจนวินาทีสุดท้ายของชีวิต บัดนี้ท่านได้จากไปแล้ว ทิ้งแต่ความดีเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้จดจำและสรรเสริญ. ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่า วิญญาณของ ดร.อัมเบดการ์คงยังไม่ไปไหน จะคงอยู่กับพวกเขา คอยช่วยพวกเขา เพราะ ดร.อัมเบดการ์ไม่เคยทิ้งคนจน ไม่เคยลืมคนยาก ช่วยเหลือพวกเขาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ต่อท้ายจากบทสวดสังฆรัตนะ พวกเขาจึงอ้างเอา ดร.อัมเบดการ์ เป็นสรณะด้วย โดยสวดว่า

พิมพัง(ขื่อเดิมของ ดร.อัมเบดการ์) สรณัง คัจฉามิ อยู่จนทุกวันนี้.
(หมายเหตุ: "พิมพัง" เป็นขื่อเดิมของ ดร.อัมเบดการ์)

B. R. Ambedkar, barrister

ภาษาอังกฤษ

B. R. Ambedkar
From Wikipedia, the free encyclopedia

Bhimrao Ramji Ambedkar (Marathi: ) (April 14, 1891 - December 6, 1956) was a Buddhist revivalist, Indian jurist, scholar and Bahujan political leader who is the chief architect of the Indian Constitution. Born into a poor Untouchable community; he spent his life fighting against the system of Hindu untouchability and the Indian caste system. He is also credited for having sparked the Dalit Buddhist movement. Ambedkar has been honoured with the Bharat Ratna, India's highest civilian award, given for the highest degree of national service.

Overcoming numerous social and financial obstacles, Ambedkar became one of the first "untouchables" to obtain a college education in India. He went on to pursue higher studies in the United States and England, where he earned law degrees and multiple doctorates for his study and research in law, economics and political science. Returning home a famous scholar, Ambedkar practiced law for a few years before he began publishing journals advocating political rights and social freedom for India's untouchables.

A legacy that remade Indian socio-political history

Ambedkar's legacy as a socio-political reformer had a deep effect on modern India. In post-Independence India, his socio-political thought has acquired respect across the political spectrum. His initiatives have influenced various spheres of life and transformed the way India today looks at socio-economic policies, education and affirmative action through socio-economic and legal incentives. His reputation as a scholar led to his appointment as free India's first law minister, and chairman of the committee responsible to draft a constitution. It is arguably because of his profound understanding of India's history, and his meticulous research into India's ancient democratic traditions, that India today is a democratic republic with one of the fairest and most equitable Constitutions in the world.

Ambedkar's work guaranteed political, economic and social freedoms for untouchables and other ethnic, social and religious communities of India. He passionately believed in the freedom of the individual and criticised equally both orthodox casteist Hindu society, as well as exclusivism and narrow doctrinaire positions in Islam. His polemical condemnation of Hinduism and attacks on Islam made him unpopular and controversial, although his conversion to Buddhism sparked a revival in interest in Buddhist philosophy in India.

Ambedkar's political philosophy has given rise to a large number of Dalit political parties, publications and workers' unions that remain active across India, especially in Maharashtra. His promotion of the Dalit Buddhist movement has rejuvenated interest in Buddhist philosophy in many parts of India. Mass conversion ceremonies have been organized by Dalit activists in modern times, emulating Ambedkar's Nagpur ceremony of 1956. He also served in the legislative councils of British India.

Early life

Bhimrao Ramji Ambedkar was born in the British-founded town and military cantonment of Mhow in the Central Provinces (now in Madhya Pradesh). He was the 14th and last child of Ramji Maloji Sakpal and Bhimabai Murbadkar.[1] His family was of Marathi background from the town of Ambavade in the Ratnagiri district of modern-day Maharashtra. They belonged to the Hindu Mahar caste, who were treated as untouchables and subjected to intense socio-economic discrimination. Ambedkar's ancestors had for long been in the employment of the army of the British East India Company, and his father served in the Indian Army at the Mhow cantonment, rising to the rank of Subedar. He had received a degree of formal education in Marathi and English, and encouraged his children to learn and work hard at school.

Belonging to the Kabir Panth, Ramji Sakpal encouraged his children to read the Hindu classics, especially the Mahabharata and the Ramayana.[1] He used his position in the army to lobby for his children to study at the government school, as they faced resistance owing to their caste. Although able to attend school, Ambedkar and other Untouchable children were segregated and given no attention or assistance from the teachers. They were not allowed to sit inside the class. Even if they needed to drink water somebody from a higher caste would have to pour that water from a height as they were not allowed to touch either the water or the vessel that contained it. This task was usually performed for the young Ambedkar by the school peon, and if he could not be found Ambedkar went without water.[1] Ramji Sakpal retired in 1894 and the family moved to Satara two years later. Shortly after their move, Ambedkar's mother died.

The children were cared for by their paternal aunt, and lived in difficult circumstances. Only three sons - Balaram, Anandrao and Bhimrao - and two daughters - Manjula and Tulasa - of the Ambedkars would go on to survive them. Of his brothers and sisters, only Ambedkar succeeded in passing his examinations and graduating to a bigger school. His native village name was "Ambavade" in Ratnagiri District so he changed his name from "Sakpal" to "Ambedkar" with the recommendation and faith of a Brahmin teacher who believed in him.[1]

Ramji Sakpal remarried in 1898, and the family moved to Mumbai (then Bombay), where Ambedkar became the first untouchable student at the Government High School near Elphinstone Road.[2] Although excelling in his studies, Ambedkar was increasingly disturbed by his segregation and discrimination. In 1907, he passed his matriculation examination and entered the University of Bombay, becoming one of the first persons of untouchable origin to enter college in India. This success provoked celebrations in his community, and after a public ceremony he was given a biography of the Buddha by his teacher Krishnaji Arjun Keluskar also known as Dada Keluskar, a Maratha caste scholar. Ambedkar's marriage had been arranged the previous year as per Hindu custom, to Ramabai, a nine-year old girl from Dapoli.[2]

In 1908, he entered Elphinstone College and obtained a scholarship of twenty-five rupees a month from the Gayakwad ruler of Baroda, Sahyaji Rao III for higher studies in the USA. By 1912, he obtained his degree in economics and political science, and prepared to take up employment with the Baroda state government. His wife gave birth to his first son, Yashwant, in the same year. Ambedkar had just moved his young family and started work, when he dashed back to Bombay to see his ailing father, who died on February 2, 1913.

Pursuit of education

A few months later, Ambedkar was selected by the Gayakwad ruler to travel to the United States and enroll at Columbia University, with a scholarship of $11.5 per month. Arriving in New York City, Ambedkar was admitted to the graduate studies programme at the political science department. After a brief stay at the dormitory, he moved to a housing club run by Indian students and took up rooms with a Parsi friend, Naval Bhathena.[3] In 1916, he was awarded a Ph.D. for a thesis which he eventually published in book form as The Evolution of Provincial Finance in British India. His first published work, however, was a paper titled Castes in India: Their Mechanism, Genesis and Development. Winning his degree and doctorate, he travelled to London and enrolled at Gray's Inn and the London School of Economics, studying law and preparing a doctoral thesis in economics. The expiration of his scholarship the following year forced him to temporarily abandon his studies and return to India amidst World War I.[3]

Returning to work as military secretary for Baroda state, Ambedkar was distressed by the sudden reappearance of discrimination in his life, and left his job to work as a private tutor and accountant, even starting his own consultancy business that failed owing to his social status.[4] With the help of an English acquaintance, the former Bombay Governor Lord Syndenham, he won a post as professor of political economy at the Sydenham College of Commerce and Economics in Mumbai. He was able to return to England in 1920 with the support of the Maharaja of Kolhapur, his Parsi friend and his own savings. By 1923 he completed a thesis on The Problem of the Rupee. He was awarded a D.Sc. by the University of London, and finishing his law studies, he was simultaneously admitted to the British Bar as a barrister. On his way back to India, Ambedkar spent three months in Germany, where he conducted further studies in economics at the University of Bonn. He was formally awarded a Ph.D. by Columbia University on June 8, 1927.

Fight against untouchability

As a leading Dalit scholar, Ambedkar had been invited to testify before the Southborough Committee, which was preparing the Government of India Act 1919. At this hearing, Ambedkar argued for creating separate electorates and reservations for Dalits and other religious communities. In 1920, he began the publication of the weekly Mooknayak (Leader of the Silent) in Bombay. Attaining popularity, Ambedkar used this journal to criticize orthodox Hindu politicians and a perceived reluctance of the Indian political community to fight caste discrimination.[4]

His speech at a Depressed Classes Conference in Kolhapur impressed the local state ruler Shahu IV, who shocked orthodox society by dining with Ambekdar and his untouchable colleagues. Ambedkar exhorted his Mahar community to abandon the idea of sub-castes, and held a joint communal dinner in which the principle of segregation was abandoned. Upon his return from Europe, Ambedkar established a successful legal practise, and also organised the Bahishkrit Hitakarini Sabha (Group for the Wellbeing of the Excluded) to promote education and socio-economic upliftment of the depressed classes.[4]

He was highly critical of the practice of untouchability in Indian Muslim Society, lending credence to the view that he was not exclusively against Hindus or Hinduism, but was speaking of reforming social evils. In his acclaimed publication "Pakistan and the Partition of India", he writes that, while Islam speaks of "brotherhood", the practice of slavery and caste discrimination were rampant in Muslim society in South Asia, such as the Ashraf/Ajlaf caste divide and the severe discrimination against the Arzal castes or Dalit Muslim untouchables[5][6].

In 1926, he became a nominated member of the Bombay Legislative Council. By 1927 Dr. Ambedkar decided to launch active movements against untouchability. He began with public movements and marches to open up & share public drinking water resources, to which until then untouchable communities had no access; also he put up a struggle for entry into Hindu temples, forbidden by upper caste communities. He led a satyagraha - non-violent protest and civil disobedience - in Mahad (Marathi:'????') to fight for the right of the untouchable community to draw water from the main water tank of the town.[4] [2],[3],[4],[5]. There he held a conference and drew parallels between his movement and the events that led to the convening of the Estates-General in Versailles on 5 May 1789, during the French Revolution which brought down the French monarchy and forced the Roman Catholic Church to undergo a radical restructuring.

On January 1, 1927 Ambedkar organised a ceremony at the Koregaon Victory Memorial near Pune, which commemorated the Indian soldiers who had died during World War I. Here he inscribed the names of the soldiers from the Mahar community on a marble tablet. In a Depressed Classes Conference on December 24, he condemned the ancient Hindu classical text, the Manusmriti (Laws of Manu), for justifying the system of caste discrimination and untouchability. Ambedkar and his supporters burned copies of the texts. In 1927, he began his second journal, Bahiskrit Bharat (Excluded India), later rechristened Janata (The People).

He was appointed to the Bombay Presidency Committee to work with the all-European Simon Commission in 1928. This commission had sparked great protests across India, and while its report was ignored by most Indians, Ambedkar himself wrote a separate set of recommendations for future constitutional reforms. He was injured in an accident that occurred during a visit to Chalisgaon on October 23, 1929, which he had undertaken hoping to help the untouchable community, which was facing a social boycott from orthodox Hindus; he was confined to bed there till the end of the year.[7]

Conversion to Buddhism

In the 1950s, Ambedkar turned his attention to Buddhism and travelled to Sri Lanka (then Ceylon) to attend a convention of Buddhist scholars and monks. While dedicating a new Buddhist vihara near Pune, Ambedkar announced that he was writing a book on Buddhism, and that as soon as it was finished, he planned to make a formal conversion to Buddhism.[9] Ambedkar twice visited Burma in 1954; the second time in order to attend the third conference of the World Fellowship of Buddhists in Rangoon. In 1955, he founded the Bharatiya Bauddha Mahasabha, or the Buddhist Society of India. He would complete his manuscript and final work The Buddha and his Dhamma to completion in 1956, although it would be published posthumously.

Ambedkar organised a formal public ceremony for himself and his supporters in Nagpur on October 14, 1956. Accepting the Three Refuges and Five Precepts from a Buddhist monk in the traditional manner, Ambedkar completed his own conversion. He then proceeded to convert an estimated 380,000 of his supporters who were gathered around him.[9] Taking the 22 Vows, Ambedkar and his supporters explicitly condemned and rejected Hinduism and Hindu philosophy. He then travelled to Kathmandu in Nepal to attend the Fourth World Buddhist Conference. He completed his final manuscript, The Buddha or Karl Marx on December 2, 1956.

Death
Since 1948, Ambedkar had been suffering from diabetes. He was bed-ridden from June to October in 1954 owing to clinical depression and failing eyesight.[9] He had been increasingly embittered by political issues, which took a toll on his health. His health worsened as he furiously worked through 1955. Just three days after completing his final manuscript The Buddha and His Dhamma, it is said that Ambedkar died in his sleep on December 6, 1956 at his home in Delhi.

A Buddhist-style cremation was organised for him at Chowpatty beach on December 7, attended by hundreds of thousands of supporters, activists and admirers.

Ambedkar was survived by his second wife Savita Ambedkar, born as a Caste Brahmin and converted to Buddhism with him. His wife's name before marriage was Sharda Kabir. Savita Ambedkar died as a Buddhist in 2002. Ambedkar's grandson, Prakash Yaswant Ambedkar leads the Bharipa Bahujan Mahasangha and has served in both houses of the Indian Parliament.

A number of unfinished typescripts and handwritten drafts were found among Ambedkar's notes and papers and gradually made available. Among these were Waiting for a Visa, which probably dates from 1935-36 and is an autobiographical work, and the Untouchables, or the Children of India's Ghetto, which refers to the census of 1951.[9]

A memorial for Ambedkar was established in his Delhi house at 26 Alipur Road. His birthdate is celebrated as a public holiday known as Ambedkar Jayanti. He was posthumously awarded India's highest civilian honour, the Bharat Ratna in 1990. Many public institutions are named in his honour, such as the Dr. Babasaheb Ambedkar Open University in Ahmedabad, Gujarat, the other being Dr. Babasaheb Ambedkar International Airport in Nagpur, which was otherwise known as Sonegaon Airport.

A large official portrait of Ambedkar is on display in the Indian Parliament building. Sponsored by India's National Film Development Corporation and the Ministry of Social Justice, the film was released after a long and controversial gestation period.

เชิงอรรถ

(1)^ a b c Pritchett, Frances (2006-08-02). Columbia University (PHP). Retrieved on 2006-08-02.
(2)^ a b Pritchett, Frances (2006-08-02). Columbia University (PHP). Retrieved on 2006-08-02.
(3)^ a b Pritchett, Frances (2006-08-02). Columbia University (PHP). Retrieved on 2006-08-02.

(4)^ a b c d Pritchett, Frances (2006-08-02). Columbia University (PHP). Retrieved on 2006-08-02.
(5)^ a b c d Ambedkar, Bhimrao. Pakistan or the Partition of India. Thackers Publishers.
(6)^ a b c d Web resource for Pakistan or the Partition of India

(7)^ a b c d e f Pritchett, Frances (2006-08-02). Columbia University (PHP). Retrieved on 2006-08-02.
(8)^ a b c d Pritchett, Frances (2006-08-02). Columbia University (PHP). Retrieved on 2006-08-02.
(9)^ a b c d Pritchett, Frances (2006-08-02). Columbia University (PHP). Retrieved on 2006-08-02.


บรรณานุกรม
http://en.wikipedia.org/wiki/B._R._Ambedkar

สำหรับผู้สนใจค้นคว้าชีวประวัติของ Dr. Babasaheb Ambedkar
สามารถดูเพิ่มเติมได้จาก http://www.columbia.edu/itc/mealac/pritchett/00ambedkar/timeline/1890s.html

 


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ในบทความชิ้นหนึ่งมีถ้อยคำที่น่าสนใจ ว่า "อินเดียเป็นดินแดนแห่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูง สังคมฮินดูนั้นช่างสูงส่งประดุจหอคอยอันสูงตระหง่าน มีหลายชั้นหลายตอน แต่ไม่มีบันไดหรือช่องทาง ที่จะเข้าไปสู่หอคอยอันนั้นได้ คนที่อยู่ในหอคอยนั้นไม่มีโอกาสที่จะลงมาได้ และจะติดต่อกับคนในหอคอยเดียวกันในอีกชั้นหนึ่งก็ทำไม่ได้ ใครเกิดในชั้นใดก็ตายในชั้นนั้น" ท่านได้กล่าวว่า สังคมฮินดูมีส่วนประกอบอยู่สามประการ คือ พราหมณ์, มิใช่พราหมณ์, และอธิศูทร. พราหมณ์ผู้สอนศาสนากล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่ในทุกหนแห่ง ถ้าเช่นนั้น พระเจ้าก็ต้องมีอยู่ในอธิศูทร

15-05-2550

B. R. Ambedkar
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.