วิเคราะห์รัฐธรรมนูญไทยที่อ่านประเทศไทยไม่ออก
วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญปี๕๐:
ฉบับขุนนางรัฐประหาร
นิธิ เอียวศรีวงศ์ และ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ : วิเคราะห์
รวบรวมมาจากบทความที่เผยแพร่แล้วบนเว็บประชาไทออนไลน์
บทวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญไทยปี
๕๐ นี้ นำมาจากบทถอดเทปของประชาไทออนไลน์
ซึ่งเป็นกิจกรรมทางวิชาการที่ร่วมกันจัดขึ้นโดย ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ศูนย์ข่าวอิศรา และ มูลนิธิ
Friedrich Ebert Stifting
จัดการอภิปรายสาธารณะทางวิชาการ โครงการวิพากษ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ครั้งที่ ๑ เรื่อง ปัญหาหลักการพื้นฐานในร่างรัฐธรรมนูญฯ
ซึ่งมีวิทยากรร่วมอภิปราย ๓ ท่านคือ นิธิ เอียวศรีวงศ์,
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ และ วรเจตน์ ภาคีรัตน์
เฉพาะบนหน้าเว็บเพจนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนนำเสนอเฉพาะ
๒ ท่านแรก
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ นำเสนอโครงร่างดังนี้: การปฏิรูปการเมือง, นิยามการเมือง,
Depoliticization: การทำให้ไม่เป็นการเมือง,
ร่างรัฐธรรมนูญปี ๕๐ ให้ตุลาการออกหน้า, รัฐธรรมนูญที่ขาดความเชื่อมั่นในประชาชน,
เสรีภาพที่เป็นหมัน, รัฐธรรมนูญประเทศไทยที่ไม่รู้จักประเทศไทย.
ส่วน รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ นำเสนอ ลักษณะสำคัญ ๕ ประการของรัฐธรรมนูญ ๕๐ ประกอบด้วย
ประเด็นแรก เรื่องการขาดเป้าหมายในการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจน
ประเด็นที่สอง การยึดข้อสมมติในการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องต้องกัน
ประเด็นที่สาม การเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ก้าวก่ายอำนาจซึ่งกันและกัน
ประเด็นที่สี่ การเขียนรัฐธรรมนูญด้วยความหวาดกลัวพรรคการเมืองขนาดใหญ่และการผูกขาดทางการเมือง
ประเด็นที่ห้า การฟื้นคืนระบอบอำมาตยาธิปไตย
(midnightuniv(at)gmail.com)
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๒๔๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วิเคราะห์รัฐธรรมนูญไทยที่อ่านประเทศไทยไม่ออก
วิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญปี๕๐:
ฉบับขุนนางรัฐประหาร
นิธิ เอียวศรีวงศ์ และ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ : วิเคราะห์