โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Update: 14 March 2007
Copyleft2007
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๑๘๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (March, 14,03.2007)
R

การปฏิวัติเขียวของคิวบา-แนวทางเกษตรกรรมอินทรีย์
เกษตรกรรมคิวบา: หลังโซเวียตล่มสลายและการปิดล้อมของสหรัฐฯ
สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ : แปล
นักวิชาการและนักแปลอิสระ - นักข่าว Local Talk (ท้องถิ่นสนทนา)

บทความแปลชิ้นนี้เดิมชื่อ "เกษตรยั่งยืน ความดีที่ถูกลืมของคิวบา"
ซึ่งแปลจาก
Cuba's green revolution: threat of a good example
เขียนโดย Zoe Kenny, 21 February 2007
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเป็นมาของพัฒนาการทางด้านเกษตรอินทรีย์ของคิวบา
หลังจากสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นแหล่งพึ่งพิงหลักของประเทศได้ล่มสลายลง
ประกอบกับได้ถูกปิดล้อมจากนโยบายของสหรัฐฯ ทำให้คิวบาจำเป็นต้องพึ่งพาตนเอง
เพื่อความอยู่รอด และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง

(บทความแปลนี้ นำมาจาก www.localtalk2004.com)

ผู้ที่สนใจอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ คลิกไปอ่านได้จากที่นี่
(midnightuniv(at)gmail.com)

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๘๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

เกษตรยั่งยืน ความดีที่ถูกลืมของคิวบา
เกษตรกรรมคิวบา: หลังโซเวียดล่มสลายและการปิดล้อมของสหรัฐฯ

สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ : แปล

Cuba's green revolution: threat of a good example"
Zoe Kenny, 21 February 2007. International News, Green Left Weekly issue.

ความย่อ : คิวบาขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ยากจน และยังถูกสหรัฐอเมริกาปิดล้อมทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลากว่า 5 ทศวรรษ แต่ปัจจุบันกลับพึ่งพาตัวเองได้ พลิกผันจากเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรทางเลือกหรือเกษตรอินทรีย์ และพัฒนาพลังงานทางเลือก แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อสื่อมวลชนตะวันตกและผู้นำทางการเมืองโลกอย่างสหรัฐฯ กลับไม่เหลียวแลประเด็นการพึ่งตัวเองของคิวบา ทั้งที่เป็นการประสบความสำเร็จในการสร้างอธิปไตยทางอาหาร

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กองทุน World Wild Fund for Nature (WWF) ร่วมกับเครือข่าย Global Footprint ออกมาเปิดเผยถึงรายงาน "Living Planet ปี 2549" โดยข้อมูลดังกล่าวให้ภาพที่น่ากลัวอย่างมาก ถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกที่ตกอยู่ภาวะหายนะแล้ว และได้เตือนภัยมนุษย์โลกด้วยว่ากิจกรรมของคุณๆ และเราๆ ทั้งหลายนั้น (การอุปโภค-บริโภคทรัพยากรธรรมชาติ) กำลังเป็นไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ศักยภาพหรือความสามารถของธรรมชาติจะฟื้นฟูขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ทัน

ในขณะเดียวกัน รายงานฉบับนี้ยังระบุว่า ฆาตรกรตัวฉกาจที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมกลับเป็นประเทศร่ำรวยอีกด้วย อาทิ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, และนิวซีแลนด์ ซึ่งรวมกันแล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แผ่กระจายในชั้นบรรยากาศโลก มากถึงร้อยละ 50
ทว่าประเทศคิวบา ดูเหมือนจะเพียงประเทศเดียวที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

คิวบา ยุคหลังอาณานิคม : ฟื้นฟูทรัพยากร
การจัดลำดับให้คิวบาครั้งนี้ อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ว่า คิวบาเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีระดับการพัฒนาทางสังคมสูงมาก ครอบคลุมไปถึงระบบสุขภาพที่ดีและระบบการศึกษาด้วย ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่ามีการดึงทรัพยากรไปใช้มากมายแต่อย่างใด สำหรับความสำเร็จของคิวบาคงต้องยกนิ้วให้ว่ามันยิ่งกว่าแปลกเสียอีก เพราะว่าคิวบาถูกขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ยากจน และยังถูกสหรัฐอเมริกาปิดล้อมทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลากว่า 5 ทศวรรษแล้วนั่นเอง

นับตั้งแต่การปฏิวัติในปี พ.ศ. 2502 รัฐบาลคิวบาและประชาชนต่างก็ต้องทำงานหนัก เพื่อปกป้องและฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติของพวกเขาที่ถูกรุกรานจนเสียหายอย่างหนัก จากการเข้ามาของลัทธิล่าอาณานิคมและจักรวรรดินิยมเป็นเวลาหลายศตวรรษที่ผ่านมา. ในปี พ.ศ. 2502 นี่เองที่รัฐเริ่มรณรงค์ปลูกป่าเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าจะค่อยๆ เป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่รัฐก็ยังคงทุ่มเทต่อไป ทำให้มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14 มาอยู่ที่ร้อยละ 24.3

บทความหนึ่งในนิตยสาร National Geographic ฉบับวันที่ 4 สิงหาคม 2549 ยังทำให้เรารับรู้เพิ่มขึ้นว่า สิ่งแวดล้อมของคิวบาถูกจัดว่าเป็นเขตที่ดั้งเดิมเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องมาจากพื้นที่จำนวนมากที่ถูกกำหนดให้อนุรักษ์รักษาไว้ ประกอบกับสนธิสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศหลายฉบับที่คิวบาเคยลงนามไว้ นอกจากนี้บริเวณชายฝั่งและป่าชายเลนของคิวบา ยังถูกขนานนามว่าเป็น "มงกุฎเพชรแห่งความหลากหลายชีวภาพทางทะเล - แคริบเบียน" เพราะบริเวณดังกล่าวถือได้ว่าเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ เป็นที่หลบภัยแก่สัตว์น้ำและปลาหลายร้อยชนิด

ยุคหลังพัฒนาอุตสาหกรรม : ระบบเกษตรอินทรีย์
ความสำเร็จที่โด่งดังที่สุดอย่างหนึ่งในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของคิวบาคือ การแพร่หลายของระบบเกษตรอินทรีย์ และการไม่ใช้ยาปราบศัตรูพืชหรือปุ๋ยเคมีในภาคเกษตรกรรม ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ย้อนไปไม่นานนัก ระบบเกษตรกรรมของคิวบาก็คล้ายคลึงกับประเทศโลกที่สามทั้งหลาย ที่ใช้แรงงานจากเครื่องจักรกลเป็นหลัก มีการนำเข้าสารเคมี ยาปราบศัตรูพืช และปุ๋ยเคมีจำนวนมากเพื่อมาใช้ในการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ (และพืชเชิงเดี่ยว) โดยมีน้ำตาลและยาสูบเป็นพืชส่งออก แต่ในขณะที่ประเทศที่ด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาทั้งหลายพึ่งพาปัจจัยในการผลิตและตลาดจากประเทศตะวันตก แต่คิวบาพึ่งพากลุ่มประเทศในสหภาพโซเวียตเป็นหลัก

ด้วยเหตุนี้เอง ในช่วงราวปี พ.ศ. 2523 คิวบาประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศอย่างมาก มีระดับการก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมอยู่ในอันดับที่ดีที่สุดในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาด้วยกัน เนื่องจากความเหนือกว่าในหลายด้าน เช่น มีสัดส่วนจำนวนแพทย์ต่อหัวประชากรสูงกว่า อัตราการตายของทารกแรกเกิดต่ำกว่า และมีเด็กได้รับการศึกษาในระดับมัธยมสูงกว่า

กระนั้นก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อมจากระบบการเกษตรกรรมเช่นนี้ก็ฉายแววออกมา ไม่ใช่แค่เพียงคิวบาเท่านั้น แต่มันเกิดขึ้นกับทุกๆ ประเทศ อย่างไรก็ดี เงื่อนไขทางการค้าระหว่างประเทศของคิวบา กลับไม่ได้รับความเมตตาทางการตลาด เฉกเช่นกับประเทศยากจนอื่นๆ เลยแม้แต่น้อย ทำให้คิวบาต้องปรับราคาน้ำตาลที่ผลิตในคิวบาเองขึ้นไปอยู่ที่ราคาเฉลี่ยสูงกว่าตลาดโลกทั่วไปถึง 5.4 เท่า และก็อนุญาตให้จ่ายค่าน้ำตาลเป็นน้ำมันปิโตรเลียมได้ เนื่องจากน้ำมันเป็นทรัพยากรเพียงชนิดเดียวที่ได้รับการยอมรับในการแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ ไม่เพียงแค่นั้นคิวบายังพึ่งพาตลาด (นำเข้า-ส่งออก) จากสหภาพโซเวียต (ในอดีต) กว่าร้อยละ 80 ในสัดส่วนนี้เป็นการอาหารกว่าร้อยละ 57 ทีเดียว

ในปี พ.ศ. 2534 เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายลงเพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น เศรษฐกิจของคิวบาก็ล้มพับตามไปด้วย ยอดการนำเข้าน้ำมันวูบลงร้อยละ 53 และข้าวสาลี, ข้าว รวมถึงผลิตผลทางด้านอาหารต่างๆ ตกลงมามากกว่าร้อยละ 50 ส่วนการนำเข้าปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืชที่ลดลงเช่นกัน ส่งผลให้ภาวะการผลิตภายในประเทศลดลงถึงร้อยละ 80. ความหิวโหย และความอดยากแพร่วงกว้างออกไป และนั่นคือภัยคุกคามที่แท้จริงสำหรับคิวบา

ในช่วงวิกฤตปีแรกๆ หลังจากปี พ.ศ. 2534 ชาวคิวบามีอัตราเฉลี่ยได้รับสารอาหารต่อวันลดน้อยลงกว่าช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ ประมาณร้อยละ 30 ประชากรมีน้ำหนักตัวลดลงเฉลี่ยกว่า 9 กิโลกรัม ส่วนการเข้าคิวยาวเหยียด เพื่อรอการปันส่วนอาหารก็กลายเป็นกิจกรรมประจำวันของชาวคิวบา

นอกจากนี้กระแสไฟฟ้ายังดับอยู่บ่อยๆ ระบบขนส่งมวลชนก็ต้องชะงักไปเนื่องจากไม่มีน้ำมันเติมให้เครื่องยนต์สามารถวิ่งบริการได้ ในช่วงเดียวกันนี่เองก็เกิดเหตุซ้ำเติมชะตากรรมของชาวคิวบามากยิ่งขึ้น เมื่อสหรัฐอเมริกาประกาศใช้นโยบายปิดล้อมทางเศรษฐกิจต่อคิวบา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดแรงต่อต้าน และกบฏต่อรัฐบาลในยุคนั้น

ยุคหลังกระแสหลัก - สู่กระแสรอง (ทางเลือก)
ในปี พ.ศ.2534 รัฐบาลคิวบาพลิกผันตัวเองโดยประกาศให้ประเทศเข้าสู่ "ระบบเศรษฐกิจในภาวะสงคราม" แม้ว่าคิวบาจะอยู่ในช่วงเวลาพิเศษที่ประเทศมีสันติภาพก็ตาม ทำให้ต้องมีการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดังกล่าวอย่างเป็นจริงเป็นจังขึ้น ชาวคิวบาหลายล้านคนต่างก็มึนงง และถกเถียงกันถึงเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง สุดท้ายก็ตัดสินใจปรับเปลี่ยนระบบเกษตรกรรมขนานใหญ่ โดยการลดต้นทุนการผลิต(ที่ต้องนำเข้า) และหันมาสู่ภาคปฏิบัติ - เกษตรกรรมแบบพึ่งพาตนเองมากขึ้น

กอปรกับสหภาพโซเวียตถอนกำลังความช่วยเหลือ และการสนับสนุนไปอย่างกะทันหันนี่เอง ส่งผลให้การปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ของคิวบาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไปสู่เงื่อนไขในการพัฒนาแบบใหม่ นั่นคือ การลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ

ด้วยจำนวนประชากรคิวบาเพียงร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมดของแถบละตินอเมริกา แต่คิวบากลับมีนักวิทยาศาสตร์คิดเป็นร้อยละ 11 ของทั้งหมดในภาคเกษตรกรรม ในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเติบโตของกระแสทางนิเวศวิทยาจากประเทศแถบตะวันตก และช่วงการปรับเปลี่ยนกระแส พร้อมกับการหวนกลับไปสู่การทำเกษตรตามแบบฉบับดั้งเดิมที่ถูกสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ในช่วงเวลานี้เองที่ทำให้คนรุ่นใหม่ เหล่านักวิทยาศาสตร์ ร่วมกันส่งเสริมระบบเกษตรทางเลือกและการใช้ประโยชน์จากที่ดินกันอย่างหลากหลายและกว้างขวางมากขึ้น

การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้หนอนช่วยย่อยสลาย หรือปุ๋ยชีวภาพ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เกษตรกรชาวคิวบาหันมาใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้วัวไถแทนเครื่องแทรกเตอร์ หันมาผลิตยาปราบศัตรูพืชชีวภาพ เกษตรกรรมที่ใช้ที่ดินมหาศาล ซึ่งเคยให้ผลผลิตถึงร้อยละ 80 กลับต้องชะงักไป มาสู่การกระจายที่ดินผืนเล็กๆ สู่เกษตรกรรายย่อย ซึ่งพวกเขาสามารถประยุกต์ ปรับเปลี่ยน รวมไปถึงการทำเกษตรแบบผสมผสาน และใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ผลผลิตก็เพิ่มขึ้น

ระบบเกษตรแบบรัฐที่ใช้ที่ดินจำนวนมากนั้น พิสูจน์ตัวของมันเองแล้วว่าไร้ความยืดหยุ่น ไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ง่ายๆ เลย ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากแรงงานที่มาทำงานในภาคเกษตรเหล่านั้นขาดความรู้เกี่ยวกับระบบเกษตรอินทรีย์อีกด้วย ฉะนั้นในปี พ.ศ.2536 รัฐบาลจึงเริ่มดำเนินการโครงการเชื่อมคนกับที่ดินเข้าหากัน ทำให้ที่ดินผืนใหญ่ถูกแบ่งออกเป็นผืนเล็กๆ ให้แก่เกษตรกร เกิดการรวมกลุ่มตั้งสหกรณ์การเกษตรขึ้นมา เพื่อเกษตรกรรายย่อยจะสามารถขายผลิตผลของพวกเข้าได้ ทำให้คลังสินค้าทางการเกษตรของประเทศถูกเติมเต็มอีกครั้งหนึ่ง

ภาวะขาดแคลนอาหาร และแรงสนับสนุนจากรัฐนี่เองที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของฟาร์มเล็กๆ จำนวนมาก โดยภายในปี พ.ศ. 2541 ทั้งในและโดยรอบเมืองฮาวานา (เมืองหลวงของคิวบา) มีฟาร์ม/สวนในเมืองกว่า 8,000 แห่ง ดูแลโดยชาวไร่ชาวสวนกว่า 30,000 คน. ในปี พ.ศ. 2545 สวนในเขตเมืองดังกล่าวผลิตอาหารได้ถึง 3.2 ล้านตัน เป็นพืชผักอย่างน้อยร้อยละ 50 ของการผลิตพืชผักทั้งหมดในฮาวานา และคิดเป็นร้อยละ 80 - 100 ของปริมาณพืชผักในเมืองเล็กต่าง ๆ

ทั่วทั้งประเทศมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เฉพาะในภาคเกษตรกรรมมากกว่า 200,000 คน ศูนย์การผลิตยาปราบศัตรูพืชชีวภาพกว่า 200 แห่งยังจำหน่ายทั้งอุปกรณ์ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยหมักกันอย่างคึกคัก. ในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงเกษตรของคิวบาใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลลดลงกว่าร้อยละ 50, ใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีปราบศัตรูพืชลดลงร้อยละ 10 ของปริมาณที่เคยใช้อยู่ในปี 2532

ยุคฟ้าหลังฝน : ปฏิวัติพลังงานสู่ความยั่งยืน
เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันที่ลดลงไปกว่าครึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีผลทำให้ชาวคิวบาเริ่มตระหนักถึงการอนุรักษ์พลังงานมากขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลริเริ่มหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

คิวบาได้พัฒนาอุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศขึ้น พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่เราเรียกว่า โซลาร์พาวเวอร์(Solar power)นี้ ทำให้พื้นที่ในชนบทที่ไม่มีหม้อแบตเตอร์รี่ติดตั้งก็สามารถมีไฟฟ้าใช้ได้ โรงพยาบาลหลายร้อยแห่ง และที่ทำการศูนย์กลางของหมู่บ้าน รวมไปถึงโรงเรียนกว่า 2,000 แห่งก็ใช้โซลาร์พาวเวอร์ อีกทั้งยังมีโครงการขยายรูปแบบการเข้าถึงไฟฟ้าอย่างนี้อีกกว่า 100,000 แห่งให้แก่ครอบครัวต่างๆ ในชนบท

ไม่เพียงแค่นั้น ในฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อยได้มากที่สุดพบว่า ชานอ้อยยังสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้อีกกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณเชื้อเพลิงทั้งหมดของประเทศ. การคมนาคมขนส่ง รถยนต์ชนิดต่าง ๆ ก็ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาล และการกระตุ้นส่งเสริมให้ชาวคิวบาหันมาปั่นจักรยาน และใช้ระบบขนส่งมวลชนด้วย

ปีที่แล้วของคิวบาได้รับการประกาศให้เป็นปีแห่ง "การปฏิวัติพลังงาน" คนหนุ่มสาวราว 30,000 คนระดมพลกันทั่วประเทศ รณรงค์ติดตั้งหลอดประหยัดไฟฟ้ากว่า 9 ล้านดวง และรณรงค์ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแบบประหยัดไฟแทนที่เครื่องไฟฟ้ารุ่นเก่าทั้งหลาย นอกจากนี้ยังรณรงค์ให้ปั้มน้ำมันต่างๆ ยุติการเอาเปรียบลูกค้าและฉ้อโกง. งานหลักในการรวมพลครั้งนี้รวมไปถึงการพัฒนาสถานีไฟฟ้า/เครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ดีขึ้น เพื่อความมั่นคงปลอดภัยในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ ทำให้กลางปี พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมา สามารถแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับบ่อยๆ ไปได้

การค้นคว้าวิจัยด้านพลังงานยังดำเนินต่อไป ขยายวงไปสู่ทรัพยากรด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น พลังงานจากลม, ความร้อนจากมหาสมุทร (thermo-oceanic) และจากชีวมวล ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ คิวบากำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมนานาชาติสำหรับ"พลังงานหมุนเวียน", การอนุรักษ์พลังงาน, การศึกษาด้านพลังงาน, และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพลังงานจากลมนานาชาติอีกด้วย

ฉากสุดท้าย - หลุดพ้นจากภาวะพึ่งพา
ท่ามกลางเมฆหมอกของภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อนต่ออนาคตของมนุษยชาติในขณะนี้ กรณีตัวอย่างจากประเทศคิวบาได้แสดงให้เห็นแล้วว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้ แม้ในสถานการณ์ทางการเมืองที่กระทำต่อประเทศยากจนเช่นนี้

แต่โชคไม่ดีเอาเสียเลยเมื่อบรรดาสื่อมวลชนและนักการเมืองตะวันตกเพิกเฉยต่อประเด็นเหล่านี้. ปี พ.ศ. 2544 โครงการข่าวไม่เป็นข่าว (Project Censored) ก็จัดให้ข่าวเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนของคิวบาติดอันดับ 1 ใน 25 ด้วย แม้แต่ในรายงานการค้นพบของ WWF (World Wild Fund for Nature) ก็นำเสนอประเด็นนี้น้อยมาก

นั่นก็เพราะการนำเสนอการทำเกษตรอินทรีย์ของคิวบา จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี และเป็นภัยคุกคามผลประโยชน์หลายพันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ ในธุรกิจด้านการเกษตรที่สลับซับซ้อนของบรรษัทยักษ์ใหญ่ อาทิ มอนซาโต และอาจกลายเป็นวันสูญสิ้นของนิยายปรัมปราที่ว่า "ประเทศยากจนไม่สามารถจะหาเลี้ยงประชาชนของตัวเองได้, ผลิตส่งออกไม่ได้, หากปราศจากความช่วยเหลือจากบรรษัททั้งหลาย"

วัฏจักรแห่งการพึ่งพาได้จบสิ้นไปเสียที เมื่อการเดินหน้าระบบเกษตรอินทรีย์ของคิวบาเข้าไปแทนที่วงจรเดิมๆ "การปลูกพืชให้ได้ผลผลิตต่อไร่ปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้น แต่ต้องแลกมาด้วยการใช้ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืชที่ก่อให้ศัตรูพืชและโรคพืชดื้อยามากขึ้น คุณภาพดินเสื่อมอย่างรุนแรง สิ่งเหล่านี้บีบบังคับให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ" มันใกล้จบลงแล้ว

"เมล็ดพันธุ์ที่ไม่สามารถให้เมล็ดพันธุ์ต่อไปได้" (ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูกทุกครั้งไป) ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการตัดต่อปรับแต่งพันธุกรรมของบรรษัทข้ามชาติ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะพึ่งพิงมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันราคาพืชผลในตลาดโลกก็ยิ่งต่ำลง เนื่องมาจากการอุดหนุนผลผลิตทางการเกษตรของประเทศร่ำรวยต่างๆ คิวบาจึงสะท้อนให้เห็นแจ่มชัดว่า ประเทศยากจนก็สามารถประสบความสำเร็จได้ และมีอธิปไตยแหล่งอาหารของประเทศเอง โดยปราศจากการแทรกแซงของบรรษัทข้ามชาติ

ประเทศคิวบาแสดงให้เราเห็นอีกประการหนึ่งที่สำคัญว่า "เมื่อทรัพยากรธรรมชาติของประเทศถูกควบคุมโดยรัฐ(สังคมนิยม)แล้ว แต่เมื่อมันเป็นไปเพื่อสังคมโดยรวม และเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนของประเทศทั้งหมด นั่นย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน ที่จะมอบให้อยู่ในอุ้งมือของบรรษัทเอกชนของชนชั้นสูงที่หิวกระหายผลกำไร บนความเดือดร้อนของมนุษย์

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ



Cuba's green revolution: threat of a good example
Zoe Kenny /16 February 2007

The World Wide Fund for Nature (WWF) and Global Footprint Network's 2006 report, Living Planet, released last October, painted a grim picture of the calamitous state of the world's environment. It warned that human activities are outstripping the natural world's capacity to regenerate.

While, predictably, the report noted that the worst offenders are also the wealthiest - for example the US, Canada, the European Union, Japan, Australia and New Zealand produce 50% of carbon dioxide (CO2) emissions - it also revealed that Cuba was the only country to have achieved sustainable development.

Cuba's rating was based on the fact that it is the only country in the world that has a high level of social development, including good health and education systems, and does not use up more resources than is sustainable. Cuba's achievements are all the more extraordinary because the country, already very poor, has pulled this off in despite the five-decade-long US economic blockade.

Since the 1959 revolution the Cuban government and people have been working towards the protection and regeneration of their natural environment ravaged by centuries of colonialism and imperialism. In 1959, the first reforestation campaign began and, while progress has been slow, continuing efforts have increased forest cover from 14% to 24.3%.

An article in the August 4, 2006 National Geographic magazine acknowledged that Cuba's environment is "largely pristine", due to the large amount of land set aside for protection and the numerous international treaties Cuba has signed and abided by. Cuba's coastal areas and mangroves have earned the title of "crown jewel of Caribbean marine biodiversity" because they are an important refuge for hundreds of species of fish and marine animals many of which have been wiped out elsewhere in the Caribbean.

Chemical free agriculture

Arguably Cuba's most famous environmental achievement has been its agricultural sector which is largely organic and free of toxic pesticides and fertilisers.

Not too long ago Cuba's agricultural system resembled that of many other Third World countries where large-scale machinery, petroleum-based pesticides and fertilisers were deployed in the production of cash crops - in Cuba's case sugar and tobacco - mainly for export markets. While most Third World countries are dependent on Western corporations for production "inputs" and for their markets, Cuba was heavily dependent on the Soviet bloc.

The environmental impact on agriculture was as deleterious in Cuba as anywhere else. However, trade conditions were far more favourable than for any poor country at the mercy of the "free market". Cuba received 5.4 times the average world market prices for its sugar and also received petrol as part payment for its sugar, which it sold to gain its only source of foreign exchange. Cuba relied on the Soviet bloc for 80% of all its trade as well as 57% of its food.

As a result, in the 1980s Cuba had achieved a relatively high level of industrialisation and had the best ranking among Latin American countries for the number of doctors per capita, infant mortality and secondary school enrolment.

When the Soviet Union collapsed in 1991, virtually overnight Cuba's economy faced collapse: oil imports dropped by 53%; wheat, rice and other food imports dropped by more than 50% and there was an 80% reduction in the availability of fertilisers and pesticides. Widespread hunger, even starvation, became real threats.

During the early 1990s, Cubans average daily caloric and protein intake was 30% less than the previous decade. Queuing for food rations became a daily reality and the average Cuban lost nine kilos. Blackouts were frequent and transportation was impeded by lack of fuel. Around the same time the US tightened its economic blockade, the aim being to encourage a rebellion against the government.

Sustainable agriculture

In 1991, the Cuban government announced the Special Period in Peacetime which put the country on a "wartime economy" austerity drive. Following a nationwide discussion, involving millions of Cubans, it was decided to convert the high input agriculture to low input, self-reliant farming practices.

While the withdrawal of aid from the Soviet Union was the immediate impetus for this move, Cuba's rapid adaptation to the new conditions was only possible because of its investment in human resources.

With just 2% of the population of Latin America, Cuba has a disproportionate 11% of its scientists. Young scientists in the agricultural ministry and the universities, influenced by the growing ecology movement in the West and the "rectification period" which critically examined the Soviet influence, already had a critique of the inherited agricultural practices. The special period allowed these younger, more radical, scientists to promote alternative farming and land use methods.

Biofertilisers, such as compost, and the use of vermicomposting (worm farms) replaced chemical fertilisers, unique biopesticides and the specialised use of pests to combat crop-attacking pests replaced synthetic pesticides and oxen replaced tractors. The immediate effect of these changes was the shifting away from the huge state farms (which had previously produced 80% of output) where production stagnated, to small-scale farming. Farmers rapidly and efficiently adapted, and boosted their production. They also augmented the new techniques with traditional ones such as inter-cropping <97> growing two crops together that benefit each other by warding off particular pests.

The large state farms had proven inflexible to change, partly because farm workers lacked the knowledge required to master organic farming. In response, the government launched the "linking the people with the land" program in 1993. This program broke up the state farms into cooperatives allowing farmers to sell their remaining produce once the state quotas were fulfilled.

Food shortages and incentives led to a massive increase in small-scale farming. By 1998, in and around Havana alone, there were 8000 urban farms and gardens run by 30,000 people. In 2002, urban gardens produced 3.2 million tonnes of food supplying at least 50% of all vegetables in Havana and between 80-100% of vegetables in smaller cities.

Across the country more than 200,000 people are employed in the agriculture sector. Some 200 biopesticide centres also sell tools, seeds and compost. In 2003, the agriculture ministry was using 50% less diesel fuel, and less than 10% of the chemical fertilisers and synthetic pesticides then it did in 1989.

Energy revolution

The halving of its oil imports during the special period also contributed to a growing awareness of energy conservation, and led to government initiatives in renewable energy and energy efficiency.

Cuba has developed its own photovoltaic solar panel manufacturing. Solar power is being used to provide electricity to off-grid rural areas, including several hundred hospitals and community centres and more than 2000 schools. There are plans to electrify 100,000 rural homes.

During peak sugar harvesting season, energy from bagasse (a sugar byproduct) supplies 30% of Cuba's energy. Transportation was also made more energy-efficient with the government subsidising and encouraging people to use bicycles and public transport.

Last year was declared the year of the "energy revolution". Some 30,000 young people were mobilised in a country-wide campaign to install 9 million energy efficient light bulbs and replace millions of obsolete electrical appliances with low energy appliances. Cuban youth were mobilised to work at petrol stations to stop pilferage and corruption. Major works have been undertaken to ensure energy security by upgrading existing electricity stations and building stand-alone generators. By mid- 2006 the blackout problem had been solved.

Research is also being undertaken on other renewable energy sources such as wind, thermo-oceanic and biomass. In May, Cuba will host the International Conference for Renewable Energy, Energy Saving and Energy Education and the International Wind Energy Workshop.

At a time when the threat of global warming clouds humanity's future, Cuba's example shows what is possible given the political will even in a poor country. Unfortunately Cuba's achievements have been largely ignored by the corporate media and Western politicians. In 2001, Project Censored ran the story of Cuba's sustainable agriculture on irs "Top 25 Censored Stories List". Even the WWF report's findings were barely reported.

This is because Cuba's organic agriculture represents a threat by example to the interests of the multi-billion dollar agro-business complex. Giant corporations, such as Monsanto, perpetuate the myth that poor countries would be unable to feed themselves or maintain export crops without the corporations' products. A deadly cycle of dependence is created as the fertilisers and pesticides that produce short-term high yields also severely deplete the soil and increase pesticide resistance in pests, necessitating ever greater amount of inputs and increasing expenditure.

Genetically modified products, such as "terminator seeds" which do not regenerate, increase this dependence. Meanwhile, the price of farm products on the world market is continually decreasing, mainly due to the huge subsidies the rich countries devote to their farm sectors. Cuba's example shows that poor countries can achieve food sovereignty without corporations' interference.

Socialist Cuba shows what is possible when society's resources are controlled by, and in the service of, society as a whole rather than the profit-hungry corporate elites.

From: International News, Green Left Weekly issue #699 21 February 2007.

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ข้อแตกต่างของ Diamond ระหว่างการอยู่รอดทางสังคมและทางชีววิทยา เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งอันหนึ่ง เพราะว่าบ่อยครั้งมากทีเดียว เราได้เบลอทั้งสองสิ่งนี้เข้าหากัน หรือทึกทักเอาเองว่า การอยู่รอดทางชีววิทยาเป็นเรื่องของความบังเอิญหรือไม่ถูกคาดหวัง บนความเข้มแข็งเกี่ยวกับคุณค่าอารยธรรมของพวกเรา… ตามข้อเท็จจริงก็คือ แม้ว่าเรายังคงยึดมั่นอยู่ในกฎหมาย, รักในสันติภาพ, อดทนและลงทุนลงแรงกับการผูกมัดในอิสรภาพและความจริงอันเป็นคุณค่าของเรา แต่เราก็ยังคงประพฤติปฏิบัติในหนทางที่กำลังกระทำอัตวินิบาตกรรมทางชีววิทยาอยู่

14-03-2550

Cuba's green revolution
The Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com