ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๓ : Release date 10 January 2010 : Copyleft MNU.

โดยรวมแล้ว บรรดานักปราชญ์อิสลามมิได้มองว่าการสร้างสรรค์ทางศิลปะและวรรณคดีคือเป้าหมายต่างๆ ในตัวของมันเอง ความสนใจของพวกเขาค่อนข้างเป็นไปในเชิงการอธิบายถึง ความสัมพันธ์ของกิจกรรมเหล่านี้ เพื่อเป้าหมายทางด้านสติปัญญาอันบริสุทธิ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเกี่ยวกับกวีนิพนธ์และวาทศาสตร์ การเน้นย้ำในปรัชญาอิสลามเป็นเรื่องของการปฏิบัต ิและเรื่องการเมือง กล่าวคือ กวีนิพนธ์และวาทศาสตร์ได้รับการมองในฐานะเป็นเครื่องมือ หรืออุปกรณ์สำหรับการสื่อสารและการเสนอความจริงทางปรัชญา ที่ได้รับการแสดงหรือสาธิตสู่ประชาชน ความสามารถทั้งหลายทางด้านสติปัญญาของพวกเขาถูกเชื่อว่ามีข้อจำกัด สื่อกลางของการสื่อสารนั้นเป็นเรื่องปกติ ออกจะไม่จำเป็นด้วยเกี่ยวกับการบรรยายถึงเรื่องศาสนา

H



10-01-2553 (1794)

Aesthetics in Islamic philosophy: สุนทรียศาสตร์ในปรัชญาอิสลาม
อิทธิพลกรีกที่มีต่อสุนทรียศาสตร์ในปรัชญาอิสลาม ?
รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม: แปลและเรียบเรียง
ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ มีวัตถุประสงค์เป็นงานอ่านเสริมสำหรับนักศึกษาปริญญาโท
หลักสูตรการจัดการงานศิลปะวัฒนธรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยนำมาจากต้นฉบับเรื่อง
Aesthetics in Islamic philosophy (สุนทรียศาสตร์ในปรัชญาอิสลาม) เขียนโดย:
DEBORAH L. BLACK ข้อมูลจาก Islamic Philosophy
From the Routledge Encyclopedia of Philosophy
General Editor: Edward Craig,
Churchill College, University of Cambridge, UK
Islamic Philosophy
Subject Editor: Oliver Leaman,
Liverpool John Moores University, UK.

สำหรับสาระสำคัญของเรื่องนี้ ประกอบด้วยหัวข้อที่น่าสนใจดังต่อไปนี้...
- ไม่มีสุนทรียศาสตร์ในโลกอิสลาม
- กวีนิพนธ์และวาทศาสตร์ในปรัชญาอิสลาม - เรื่องของการปฏิบัติและเรื่องการเมือง
- สุนทรียศาสตร์อิสลาม 3 ประเด็น
1. ความงาม (Beauty)
2. วาทศาสตร์ และกวีนิพนธ์ (Rhetoric and poetics)
3. การเลียนแบบ และจินตนาการ (Imitation and imagination)

- เมืองคุณธรรม ของ al-Farabi / แนวคิดเกี่ยวกับความงามในเชิงสติปัญญาและความรู้สึก
- ความพึงพอใจคือสาวใช้ของการสัมผัสรับรู้ความงาม
- ตำราแห่งความรักของ Ibn Sina
- ความงามภายใน-ความงามภายนอก กระจกสะท้อนกันและกัน
- การเข้าหาศิลปะไม่ใช่เรื่องของสุนทรียภาพ แต่เป็นเรื่องของภาษา
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ปรัชญาความงาม-สุนทรียศาสตร์ตะวันออก)

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๙๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๓
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Aesthetics in Islamic philosophy: สุนทรียศาสตร์ในปรัชญาอิสลาม
อิทธิพลกรีกที่มีต่อสุนทรียศาสตร์ในปรัชญาอิสลาม ?
รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม: แปลและเรียบเรียง
ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ความนำ:
ไม่มีสุนทรียศาสตร์ในโลกอิสลาม
กล่าวได้ว่า บรรดาปรัชญาเมธีที่สำคัญของอิสลามไม่ได้ผลิตผลงานต่างๆ ที่อุทิศให้กับสุนทรียศาสตร์โดยตรง แม้ว่างานเขียนของบรรดาผู้รู้เหล่านี้จักกล่าวถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งนักปรัชญาร่วมสมัยทั้งหลายศึกษาภายใต้หัวข้อ"สุนทรียศาสตร์"ก็ตาม

ในเรื่องธรรมชาติของความงาม ได้รับการพูดถึงโดยปรัชญาเมธีอิสลามในช่วงของการสนทนาเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า และคุณลักษณะเฉพาะของพระองค์ในความสัมพันธ์กับการสร้างสรรค์ของพระองค์ ภายใต้แรงบันดาลใจของแหล่งข้อมูลนีโอเพลโตนิก และโดยเฉพาะเทววิทยาอริโตเตเลียนเทียมของอิริสโตเติล (pseudo-Aristotelian Theology of Aristotle) ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ งานดังกล่าวเป็นการรวบรวมอันหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนฐานงาน the Enneads of Plotinus. ข้อพิจารณาต่างๆ เกี่ยวกับความงามทางศิลปะยังได้รับการกล่าวถึงในงานทั้งหลาย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่อง Rhetoric และ Poetics ของอริสโตเติลด้วย และบรรดานักปรัชญาอิสลามยังได้ปรับปรุงทัศน์บางประการของเพลโตในเรื่องวรรณคดีและการเลียนแบบมาใช้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่แสดงออกในเรื่อง the Republic หรือที่รู้จักกันในภาษาไทยว่า"อุตมรัฐ"

กวีนิพนธ์และวาทศาสตร์ในปรัชญาอิสลาม - เรื่องของการปฏิบัติและเรื่องการเมือง
โดยรวมแล้ว บรรดานักปราชญ์อิสลามมิได้มองว่าการสร้างสรรค์ทางศิลปะและวรรณคดีคือเป้าหมายต่างๆ ในตัวของมันเอง ความสนใจของพวกเขาค่อนข้างเป็นไปในเชิงการอธิบายถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมเหล่านี้ เพื่อเป้าหมายทางด้านสติปัญญาอันบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเกี่ยวกับกวีนิพนธ์และวาทศาสตร์ การเน้นย้ำในปรัชญาอิสลามเป็นเรื่องของการปฏิบัติและเรื่องการเมือง กล่าวคือ กวีนิพนธ์และวาทศาสตร์ได้รับการมองในฐานะเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับการสื่อสารและการเสนอความจริงทางปรัชญา ที่ได้รับการแสดงหรือสาธิตสู่ประชาชน ความสามารถทั้งหลายทางด้านสติปัญญาของพวกเขาถูกเชื่อว่ามีข้อจำกัด สื่อกลางของการสื่อสารนั้นถูกถือว่าเป็นเรื่องปกติ ออกจะไม่จำเป็นด้วยซ้ำเกี่ยวกับการบรรยายถึงเรื่องศาสนา

บรรดานักปรัชญาอิสลามยังอุทิศความสนใจและข้อพิจารณาไปกับ การอรรถาธิบายเรื่องราวรากฐานทางจิตวิทยาและกระบวนการรับรู้เกี่ยวกับการตัดสินทางสุนทรียภาพ และผลผลิตทางศิลปะภายในมิติต่างๆ เกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์ พวกเขาให้เหตุผลว่า วาทศาสตร์และกวีนิพนธ์ ในบางแง่มุมที่สำคัญ เป็นงานศิลปะที่ไม่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา (non-intellectual arts) และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กวีนิพนธ์"นั้น มีลักษณะเด่น ตราบเท่าที่ได้มีการกล่าวถึงความสามารถทางด้านสติปัญญาของบรรดาผู้ฟังมากกว่าสติปัญญาของพวกเขา

สุนทรียศาสตร์อิสลาม 3 ประเด็น
สำหรับสุนทรียศาสตร์อิสลามในบทความนี้ จะกล่าวถึงประเด็นที่สำคัญ 3 เรื่องดังต่อไปนี้

1. ความงาม (Beauty)
2. วาทศาสตร์ และกวีนิพนธ์ (Rhetoric and poetics)
3. การเลียนแบบ และจินตนาการ (Imitation and imagination)

1. ความงาม (Beauty)
ในเรื่อง Ennead V.8 หัวเรื่อง 'On Intelligible Beauty' (ในความงามเชิงสติปัญญา) ของ Plotinus (*) ถือเป็นรากฐานสำหรับ 4 บทของงานรวบรวมภาษาอาราบิค ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Theology of Aristotle (เทววิทยาของอริสโตเติล) สวนทางกันกับเบื้องหลังการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องความงามในตัวบทชิ้นนี้ บรรดาปรัชญาเมธีอิสลามได้พัฒนาแนวทางความแตกต่างระหว่าง "ความงามในเชิงความรู้สึก" กับ "ความงามในเชิงสติปัญญา" (the differences between sensible and intelligible beauty); รวมถึงความรักและความพึงพอใจที่สัมพันธ์กับแต่ละชนิด

(*) Plotinus (ca. CE 204-270) was a major philosopher of the ancient world who is widely considered the founder of Neoplatonism (along with his teacher Ammonius Saccas). Neoplatonism was an influential philosophy in Late Antiquity. Much of our biographical information about Plotinus comes from Porphyry's preface to his edition of Plotinus' Enneads. His metaphysical writings have inspired centuries of Pagan, Christian, Jewish, Islamic and Gnostic metaphysicians and mystics.

เมืองคุณธรรม ของ al-Farabi
แนวคิดเกี่ยวกับความงามในเชิงสติปัญญาและความรู้สึก

แนวคิดเกี่ยวกับความงามในเชิงสติปัญญา ถูกรวมอยู่ในการสนทนาเกี่ยวกับพระนามต่างๆ และคุณสมบัติของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งถูกบรรจุอยู่ใน al-Madina al-fadila (The Virtuous City - เมืองคุณธรรม) ของ al-Farabi.(*) ท่ามกลางรายพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของ al-Farabi เช่น ความงาม ['beauty' (al-jamal)], ความหลักแหลม-ความชาญฉลาด ['brilliance' (al-baha')], และความรุ่งโรจน์-แจ่มจรัส [splendour (al-zina)]

(*) Alpharabius was a Muslim polymath and one of the greatest scientists and philosophers of the Islamic world in his time. He was also a cosmologist, logician, musician, psychologist and sociologist.

al- Farabi (born c. 878, Turkistan - died c. 950, Damascus?) A logician and one of the great philosophers of medieval Islam. He was probably the son of one of the caliph's Turkish bodyguards, and he grew up in Baghdad. From 942 he resided at the court of Prince Sayf al-Dawlah. Greatly influenced by Baghdad's Greek heritage in philosophy, especially the writings of Aristotle, he was known as the Second Teacher or the Second Aristotle. He used Artistotle's ideas in his proof of the existence of God and was influenced also by Neoplatonic ideas and Sufi mysticism. Like Plato, he believed it was the philosopher's task to provide guidance to the state. He wrote more than 100 works, notably The Ideas of the Citizens of the Virtuous City.

แม้ว่าความหมายแฝงต่างๆ เกี่ยวกับศัพท์เหล่านี้ โดยสาระสำคัญแล้วเป็นเรื่องที่มองเห็นได้ และด้วยเหตุนี้ จึงรู้สึกได้ (visual and hence sensible), al-Farabi ได้ให้เหตุผลว่า ความงามของสรรพสิ่งเป็นเรื่องของภววิทยา(การศึกษาทางด้านอภิปรัชญา[เมตาฟิสิกส์]เกี่ยวกับภาวะและการดำรงอยู่)เป็นปฐม: เกินกว่าภาวะการบรรลุถึงความสมบูรณ์ขั้นสุดท้ายของมัน) เกินกว่าความงดงามที่มันเป็น. จากตรงนี้เขาได้ให้เหตุผลว่า การดำรงอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าคือความเป็นเลิศสูงสุด เป็นความงดงามที่สุดของการดำรงอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ความงามของพระผู้เป็นเจ้ายังเกินกว่าความงามอื่นใดทั้งปวง เพราะนั่นคือสารัตถะ มิใช่อุบัติเหตุหรือความบังเอิญ กล่าวคือ ต้นตอความงามของพระผู้เป็นเจ้า คือธาตุแท้ในพระองค์เองที่ได้รับการกำหนดนิยามโดยการพิจารณาใคร่ครวญตัวตนของพระองค์

ความพึงพอใจคือสาวใช้ของการสัมผัสรับรู้ความงาม
ในทางตรงข้าม การสร้างสรรค์ความงามสืบทอดมาจากคุณสมบัติของอุบัติการณ์และเรื่องของตัวตนวัตถุ ซึ่งมิได้เป็นหนึ่งเดียวกับธาตุแท้ต่างๆ ในตัวเองของพวกมัน ในท้ายที่สุด al-Farabi ได้อภิปรายว่า ความพึงพอใจและความงามได้ถูกทำให้สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และผลที่ตามมา ความพึงพอใจในพระผู้เป็นเจ้า คล้ายกับความงามของพระองค์ จึงไปพ้นจากความเข้าใจของพวกเรา ความพึงพอใจเป็นสาวใช้ของการสัมผัสรู้หรือความเข้าใจ (idrak) เกี่ยวกับความงาม และจะเพิ่มเติมขึ้นในสัดส่วนของความงามเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกรับรู้

เมื่อพระผู้เป็นเจ้าคือความงามสูงสุดของสรรพสิ่ง และเมื่อภารกิจอันเหมาะสมของพระองค์ประกอบขึ้นจากการกระทำอันหนึ่งของการพิจารณาใคร่ครวญในพระองค์เอง ซึ่งผู้รู้และการเป็นที่รับรู้คือหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์ ความเข้มข้นและความมั่นใจเกี่ยวกับการรับรู้ของพระผู้เป็นเจ้าในความงามของพระองค์เอง, al-Farabi ให้เหตุผลว่า จักต้องยินยอมต่อความพึงพอใจที่มีความเข้มข้นเดียวกัน มากไปกว่านั้น เมื่อการรับรู้ของพระผู้เป็นเจ้าเกี่ยวกับความงามของพระองค์เอง คือหน้าที่ของการกระทำอันเป็นนิรันดร์และไม่ถูกขัดจังหวะเกี่ยวกับการพิจารณาใคร่ครวญ ความพึงพอใจของพระองค์ ซึ่งไม่เหมือนกันกับของพวกเรา จึงเป็นไปอย่างต่อเนื่องมากกว่าที่จะสะดุดหยุดลงเป็นช่วงๆ

ขณะที่การปฏิบัติต่อเรื่องของความงามของ al-Farabi ในบริบทนี้ โดยสาระสำคัญแล้วคือส่วนต่อขยายของเรื่องราวทั่วไปเกี่ยวกับการอยู่เหนือขึ้นไปของพระผู้เป็นเจ้าและความสัมบูรณ์ซึ่งขนานไปตามมาตรฐานแนวทางนีโอเพลโตนิก พัฒนาการเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างความงาม การรับรู้ และความพึงพอใจ ได้นำเสนอองค์ประกอบทางสุนทรียภาพอย่างเพรียบพร้อมมากมายในคำอธิบายของเขา ความงามในพระผู้เป็นเจ้า คล้ายคลึงกับความงามบนโลก (the sublunar world), ส่วนใหญ่ได้ถูกพบในสิ่งต่างๆ ตราบที่พวกมันได้บรรลุถึงความสมบูรณ์ของพวกมันอย่างเหมาะสม เมื่อความงาม ทั้งในทางสติปัญญาและความรู้สึก กลายเป็นวัตถุของพิจารณาใคร่ครวญ ด้วยเหตุนั้นมันจึงกลายเป็นแหล่งต้นตอของความพึงพอใจสำหรับคนที่มองเห็นมัน

ตำราแห่งความรักของ Ibn Sina
ความตรงข้ามระหว่าง"ความงามทางด้านสติปัญญา"กับ"ความงามทางด้านความรู้สึก" และความพึงพอใจทางด้านอารมณ์ซึ่งเหมาะสมกับแต่ละอย่าง ได้รับการพัฒนาลงไปในรายละเอียดมากมายในเรื่อง"Risala fi al-'ishq (Treatise on Love - ตำราแห่งความรัก) โดย Ibn Sina. ในบทที่ 5 ของงานนี้ Ibn Sina (*)ได้สนทนาถึงความรักอันเยาว์วัยเกี่ยวกับสิ่งภายนอก และร่างกาย เขาเปิดการพูดคุยเกี่ยวกับความรักในความงามด้วยการพิจารณาเกี่ยวกับหลักการ 4 ประการ, ซึ่ง 3 ประการแรกเป็นเรื่องของจิตวิทยาเกี่ยวกับมนุษย์ ส่วนประการสุดท้ายเป็นเรื่องของหลักการทางด้านความงาม

(*) Islam's most renowned philosopher-scientist (980-1037), Ibn-Sina was a court physician in Persia, and wrote two of history's greatest works, The Book of Healing, a compendium of science and philosophy, and The Canon of Medicine, an encyclopedia based on the teachings of Greek physicians. The latter was widely used in the West, where Ibn-Sina, known as Avicenna, was called the "prince of physicians."
(ดูเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Avicenna)

ความงามประการแรก ตั้งอยู่บนทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวิญญาน ในฐานะที่เป็นแก่นเอกภาพหนึ่งเดียว รวมถึงลำดับชั้นของพลังอำนาจที่แตกต่าง พลังอำนาจทั้งหลายเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้ในความประสานกลมกลืน ซึ่งพลังอำนาจที่ต่ำกว่าจะได้รับการทำให้สูงส่งขึ้นโดยการปฏิบัติการร่วมกันกับสมรรถนะสูงสุด นั่นคือ เหตุผล หรือพลังอำนาจที่ต่ำกว่าสามารถที่จะกบฎ-ขัดขืนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นไปได้ทั้งสองนี้มีหลักฐานอยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลและจินตนาการ (al-takhayyul) และความปรารถนาต่างๆ อันเป็นบริวารของพวกมัน

ความงามประการที่สอง เป็นเรื่องของการอธิบายเพิ่มเติมประการแรก นั่นคือ การกระทำของมนุษย์บางคนที่เป็นเรื่องร่างกาย สมรรถภาพระดับสัตว์ จัดอยู่ลำดับชั้นนี้ ประกอบด้วยความรู้สึกสัมผัส จินตนาการ การมีเพศสัมพันธ์ ความปราถนาและการล่วงละเมิด การกระทำเหล่านี้แต่ละอย่างสามารถติดตามได้ในรูปแบบวิธีการของสัตว์อย่างบริสุทธิ์ หรือพวกมันสามารถที่จะได้รับการแปรเปลี่ยนไปสู่บางสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกับมนุษย์ภายใต้การนำทางของเหตุผล

ความงามประการที่สาม ก็คือสรรพสิ่งล้วนได้รับการกำหนดหรือลิขิตจากพระผู้เป็นเจ้าให้มีความดีอย่างเหมาะสมในตัวของมันเอง และด้วยเหตุดังนั้น มันจึงเป็นวัตถุของความปรารถนาโดยชอบ อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาที่ต่ำกว่าสามารถถูกแทรกแซงโดยความปรารถนาที่สูงกว่าได้ และดังนั้น การวิ่งไล่ตามอย่างไม่มีขีดจำกัดจึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

ความงามประการสุดท้าย Ibn Sina ได้นำเสนอนิยามความหมายเกี่ยวกับความงามของเขา ในส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุของความรักทั้งในระดับวิญญานแห่งเหตุผล และวิญญานสัตว์ (the rational and animal souls) นั่นคือ ความงาม [beauty (al-husn)] ประกอบด้วย ระบบ-ระเบียบ [order (al-nazm)], องค์ประกอบ [composition, (al-ta'lif)] และความสมมาตร [symmetry (al-i'tidal)]. ในระดับวิญญานสัตว์ ความรักเกี่ยวกับความงามเป็นเรื่องธรรมชาติบริสุทธิ์ เกิดขึ้นจากสัญชาตญาน หรือจากความพึงพอใจธรรมดาของการรับรู้ทางความรู้สึก แต่อย่างไรก็ตาม วิญญานในระดับเหตุผล ความรักในความงามเป็นเรื่องการไตร่ตรอง สุดท้ายวางอยู่บนการยอมรับเกี่ยวกับความใกล้ชิดของวัตถุอันเป็นที่รักที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ความรักในองค์พระปฐม

ในการประยุกต์ใช้หลักการเหล่านี้ Ibn Sina ให้เหตุผลว่า สิ่งที่เราอาจเรียกว่าผัสสะทางสุนทรียภาพภายใน ได้ฝังอยู่ในการดำรงอยู่ของสติปัญญา(al-'aqil) ซึ่งให้กำเนิดความปรารถนาอันลึกซึ้งสำหรับสิ่งที่งดงามที่มองเห็นได้ (al-manzar al-husn). แม้ว่าแนวโน้มทิศทางทั้งหมดเกี่ยวกับการสนทนาของเขาที่มีต่อความปรารถนาก็เพื่อความรู้สึกที่อยู่เหนือขึ้นไป และเป็นเรื่องของความงามทางสติปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าอันบริสุทธิ์ ในที่นี้เป็นที่ชัดเจนว่า ข้อคิดเห็นของ Ibn Sina เป็นเรื่องเกี่ยวกับขอบเขตของการตัดสินต่างๆ ทางด้านเหตุผลและการใช้วิจารณญานในข้อเท็จจริง

Ibn Sina ยังให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า ความปรารถนาดังกล่าว สำหรับความงามด้านความรู้สึกในส่วนของการมีอยู่ของสติปัญญาสามารถเป็นสิ่งที่สูงส่งได้ ตราบใดที่แง่มุมต่างๆ ในระดับสัตว์อันบริสุทธิ์ของความปรารถนาได้ถูกทำให้เป็นรอง และในเชิงสติปัญญาได้ยินยอมแก่อิทธิพลของความรู้สึก นั่นคือ ความปรารถนาในเชิงสุนทรีย์อันบริสุทธิ์นั้น ตามความคิดของ Ibn Sina, ให้ผลในเชิงความเป็นหุ้นส่วน (al-shirka) ระหว่างวิญญานระดับสัตว์และระดับเหตุผล

ความงามภายใน-ความงามภายนอก กระจกสะท้อนกันและกัน
ดังหลักฐานนี้ที่อ้างกันโดยทั่วไปมาก Ibn Sina บันทึกว่า มนุษย์ที่ชาญฉลาดส่วนใหญ่สามารถได้รับการครอบครองอยู่ก่อน(preoccupied)โดยรูปทรงของมนุษย์ที่งดงาม ซึ่งเขาได้บ่งนัยถึงว่า การครอบครองอยู่ก่อนนั้น มิได้อธิบายเพียงโดยหลักการสุนทรียภาพในระดับสัญชาตญานเท่านั้น แต่เขาได้ให้เค้าโครงข้อสมมุติฐานด้วยว่า รวมถึงความงามภายในและความงามภายนอกและความกลมกลืนที่เป็นกระจกสะท้อนกันและกัน เว้นแต่ความงามภายนอก โดยอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอันตราย หรือความงามภายในถูกเปลี่ยน (ไม่ว่าดีหรือเลว) โดยนิสัยความเคยชิน

ในท้ายที่สุด Ibn Sina ยังได้ปกป้องความปรารถนาสำหรับการรวมตัวกันทางกายภาพบางอย่างกับสิ่งอันเป็นที่รัก ผ่านการจุมพิตและการโอบกอด แต่การแสดงออกทางสุนทรียภาพนั้นที่กระตุ้นโดยผ่านความสัมพันธ์รวมตัวกันทางเพศจะได้รับการพิจารณาว่าไม่เหมาะสม เว้นแต่เพื่อวัตถุประสงค์ของการให้กำเนิด ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยกฎเกณฑ์ทางศาสนา

2. วาทศาสตร์และกวีนิพนธ์ (Rhetoric and poetics)
บทสนทนาส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องสุนทรียภาพโดยปรัชญาเมธิอิสลาม ปรากฏขึ้นในบริบทของข้อพิจารณาต่างๆ เกี่ยวกับศิลปะ หรือวาทศิลป์ และกวีนิพนธ์ รวมถึงตำรับตำราอริสโตเตเลียนที่อุทิศให้กับหัวข้อเหล่านี้ ด้วยการดำเนินรอยตามการปฏิบัติซึ่งได้รับการสถาปนาขึ้นโดยบรรดานักอธิบายกรีกศตวรรษที่หกเกี่ยวกับอริสโตเติล ตำราเหล่านี้ได้รับการจัดหมวดหมู่โดยบรรดานักปราชญ์อิสลามในฐานะเป็นส่วนต่างๆ ของคลังข้อมูลในเชิงตรรกะของอริสโตเติล the Organon (*) (ผู้สนใจสามารถค้นคว้าเรื่องนี้ต่อได้ใน Aristotelianism in Islamic philosophy)

(*) The Organon is the name given by Aristotle's followers, the Peripatetics, to the standard collection of his six works on logic. The works are Categories, On Interpretation, Prior Analytics, Posterior Analytics, Topics and Sophistical Refutations.

การเข้าหาศิลปะไม่ใช่เรื่องของสุนทรียภาพ แต่เป็นเรื่องของภาษา
ด้วยเหตุดังนั้น ในการเข้าหาศิลปะเหล่านี้ แรกทีเดียวจึงไม่ใช่เรื่องของสุนทรียภาพ แต่กลับได้รับความสนใจลงไปยังประเด็นเรื่องของภาษา และหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการรับรู้ของภาษากวีนิพนธ์และวาทศาสตร์. วาทศาสตร์และกวีนิพนธ์ได้รับการจัดหมวดหมู่ให้เป็นวิธีการยอดนิยมเกี่ยวกับเรื่องการสอน ซึ่งได้ผลิตสภาวการณ์ความเชื่อบางอย่าง แต่ได้รับการทึกทักว่าไม่สามารถที่จะจับฉวยประเด็นต่างๆ อันประณีตกว่าของการแสดงออกทางปรัชญาที่แท้จริงได้

ปรัชญาเมธิอิสลามทั้งหลายมิได้มีข้อจำกัดอย่างชัดแจ้งในการใช้ประโยชน์จากวาทศิลป์และกวีนิพนธ์ในขอบเขตต่างๆ ของวาทกรรมทางศาสนาและการสื่อสารทางการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม ในคำวิจารณ์ของพวกเขาที่มีต่อเรื่อง Poetics ของอริสโตเติล นักวิจารณ์บางคนได้ใช้เวลาในการอรรถาธิบายกลไกทางด้านภาษาโดยถ้อยคำ(speech)กลายเป็นเรื่องรูปธรรมและเรื่องการอุปมาอุปมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Ibn Rushd (*) พยายามที่จะประยุกต์ใช้ความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับทัศนะของอริสโตเติลในเรื่องกวีนิพนธ์ เพื่อการตีความและวิจารณ์กวีนิพนธ์อาราบิค และในเรื่อง Talkhis kitab al-shi'r (Middle Commentary on the Poetics - ข้อคิดเห็น-การวิจารณ์ยุคกลางเกี่ยวกับหนังสือ Poetics) ของเขา เต็มไปด้วยการอ้างอิงผลงานอันเป็นที่รู้จักกันดีของบรรดานักกวีอาหรับ

(*) Ibn Rushd and in European literature as Averroes (1126 - December 10, 1198), was an Andalusian Muslim polymath; a master of Islamic philosophy, Islamic theology, Maliki law and jurisprudence, logic, psychology, politics, Arabic music theory, and the sciences of medicine, astronomy, geography, mathematics, physics and celestial mechanics. He was born in C?rdoba, Al Andalus, modern day Spain, and died in Marrakesh, modern day Morocco. His school of philosophy is known as Averroism. He has been described by some as the founding father of secular thought in Western Europe and "one of the spiritual fathers of Europe," although other scholars oppose such claims.

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของความสนใจที่หยิบยกขึ้นมาโดยบรรดาปรัชญาเมธิอิสลามในศิลปะกี่ยวกับวาทศิลป์และกวีนิพนธ์ เกิดขึ้นมาจากรากฐานต่างๆ ที่ได้รับการจัดหามาโดยศิลปะเหล่านี้ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์กันระหว่างปรัชญาและศาสนา ใจกลางเกี่ยวกับหนังสือ Kitab al-huruf (The Book of Letters) ของ
al-Farabi เคียงข้างกับเรื่อง Fasl al-maqal (Decisive Treatise - ตำราเกี่ยวกับความมั่นใจ ความไม่คลอนแคลน) ของ Ibn Rushd ต่างอุทิศให้กับเรื่องราวเหล่านี้ ซึ่งได้รับการสรุปอย่างรวบรัดเป็นอย่างดีในการดำเนินรอยตามข้อความจาก al-Farabi ดังต่อไปนี้:

และเมื่อศาสนาเพียงสอนสั่งเฉพาะเรื่องเทววิทยา โดยการกระตุ้นจินตนาการและการเชิญชวน บรรดาสาวกทั้งหลายทางศาสนา ต่างได้รับการทำให้คุ้นเคยกับวิถีทางการสั่งสอนทั้งสองเรื่องนี้เพียงเท่านั้น เป็นที่ชัดเจนว่า ศิลปะเกี่ยวกับเทววิทยาซึ่งดำเนินรอยตามศาสนา จึงมิได้รับรู้เรื่องราวสิ่งใดๆ ที่ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการเชิญชวน โน้มน้าวใจ และมิได้ยืนยันในสิ่งใดเลย เว้นแต่โดยวิธีการโน้มน้าว เชิญชวน และนำเสนอถ้อยแถลงต่างๆ เท่านั้น
(Kitab al-huruf: 132)

การใช้ประโยชน์ด้านภาษาเกี่ยวกับ"จินตนาการ"และ"การเชิญชวน" ชี้ไปยังการอ้างอิงถึงเป้าหมายกระบวนการรับรู้ ซึ่งบรรดาปรัชญาเมธีอิสลามตามจารีตได้ให้เหตุผลเกี่ยวกับศิลปะทางด้านวาทศาสตร์และกวีนิพนธ์ว่า ศาสนาคือการสะท้อนถึงปรัชญา และเป็นเครื่องมือทางปรัชญา พึ่งพาอาศัยปรัชญาในฐานะที่เป็นต้นแบบสำเนาหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับต้นตอกำเนิดของมัน ในการทำความเข้าใจศาสนาในฐานะการเลียนแบบปรัชญา บรรดานักปรัชญาอิสลามได้ปลุกเร้าอย่างมีสำนึกถึงภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่อง Poetics ของอิริสโตเติล และเรื่อง Republic ของเพลโต รวมทั้งทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ที่ได้พัฒนาขึ้นมา โดยผ่านการผสมผสานอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับทัศนะของนักปรัชญากรีกโบราณทั้งสอง โดยเฉพาะในเรื่องธรรมชาติของการเลียนแบบ

3. การเลียนแบบและจินตนาการ (Imitation and imagination)
ในเรื่อง Risala fi al-'ishq ของ Ibn Sina ได้สนทนาถึงปัจจัยหรือองค์ประอบต่างๆ ที่บรรจุอยู่ในทฤษฎีการตัดสินทางสุนทรีย์ ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาจากมมุมองบางส่วนที่แตกต่างออกไป ในการพูดคุยของเขาเกี่ยวกับรากฐานทางจิตวิทยาของศิลปะเกี่ยวกับกวีนิพนธ์ ในการสนทนาเหล่านี้ การตัดสินเชิงสุนทรีย์ได้รับการให้เหตุผลถึงความสามารถทางด้านจินตนาการ (faculty of imagination) (al-mutakhayyila) และสัมพันธ์กับสมรถนะทางด้านความรู้สึกภายในต่างๆ ที่ก่อรูปก่อร่างขึ้นมา ส่วนหนึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการของอริสโตเตเลียนอิสลามในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับจินตนาการ (the Islamic Aristotelians' development of the concept of imagination) (phantasia) ซึ่งพบในเรื่อง On the Soul และ Parva naturalia ของอริสโตเติล. ลำดับต่อมาในเรื่องความคิดเกี่ยวกับการเลียนแบบ ดังที่พบได้ใน Republic ของเพลโต เช่นเดียวกับใน Poetics ของอริสโตเติล ได้รับการตีความในขอบเขตต่างๆ เกี่ยวกับหน้าที่ทั้งหลายของความสามารถทางด้านสติปัญญา

Al-Farabi, Ibn Sina และ Ibn Rushd นักปราชญ์อิสลามทั้งสามท่าน ต่างระบุว่า "จินตนาการ" คือเรื่องของความสามารถซึ่งบรรดานักกวีได้ผลิตวาทกรรมที่เป็นรูปธรรมขึ้นมาอย่างเหมาะสมกับศิลปะของพวกเขา และงานของเขาก็เป็นที่ดึงดูดใจสำหรับผู้ฟัง บรรดานักกวีเหล่านี้ล้วนแตกต่างในการใช้ประโยชน์จากจินตนาการ และความเย้ายวนของมัน ด้วยเป้าหมายทางสติปัญญาและเหตุผลอย่างเข้มงวด ซึ่งเหมาะกับวิธีการต่างๆ เกี่ยวกับการบรรยายและรูปแบบการใช้เหตุผล

ใน Ihsa' al-'ulum (The Book of the Enumeration of the Sciences - ตำราการจาระไนเกี่ยวกับศาสตร์ต่างๆ) ของ al-Farabi ได้ตระเตรียมคำอรรถาธิบายอันหนึ่งซึ่งกว้างขวางที่สุดเกี่ยวกับคุณลักษณ์พิเศษของจินตนาการกวีนิพนธ์ แง่มุมสองประการเกี่ยวกับถ้อยแถลงทางด้านกวีนิพนธ์ที่ได้รับการเน้นโดย al-Farabi นั่นคือ

การเป็นตัวแทนของมันเกี่ยวกับเรื่องราวเนื้อหาต่างๆ ในกรณีของ "ความสูงส่งกว่า"และ"ความด้อยค่ากว่า" ที่เป็นจริง และความสามารถของพวกมันในการก่อให้เกิดความอยาก ความปรารถนา เช่นเดียวกับการรับรู้ ความเคลื่อนไหวในผู้ฟัง นั่นคือ โดยการพรรณาถึงเรื่องราวและการให้ภาพลักษณ์ที่ปลุกเร้าวัตถุอันน่ารังเกียจ กวีสามารถที่จะทำให้ผู้ฟังทั้งหลายรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์ต่อสิ่งที่ถูกบรรยายได้ แม้เราจะแน่ใจว่ามันไม่ใช่ข้อเท็จจริงดังที่เราจินตนาการถึงมันก็ตาม (Ihsa' al-'ulum: 84). เหตุผลสำหรับความรังเกียจนี้ได้ถูกเชื่อมโยงโดยตรงกับความดึงดูดใจในความสามารถทางด้านจินตนาการของนักกวี: "สำหรับการกระทำต่างๆ ของมนุษย์มักจะดำเนินรอยตามจินตนาการของเขา มากกว่าที่พวกเขาจะคล้อยตามความคิดเห็นและความรู้ของเขา ทั้งนี้เพราะบ่อยครั้ง ความคิดเห็นหรือความรู้ของเขาเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับจินตนาการของเขา ด้วยเหตุที่การกระทำของเขาในบางสิ่ง เป็นเรื่องที่ได้สัดส่วนหรือกลมกลืนกับจินตนาการ ซึ่งไม่ใช่ความรู้หรือความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับมัน" (Ihsa' al-'ulum: 85).

ประเด็นในทำนองเดียวกันที่สร้างขึ้นโดย Ibn Sina ในตัวบทต่างๆ จำนวนหนึ่ง. Ibn Sina มักจะเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของกวีนิพนธ์กับวิธีการบรรยายแบบอื่นๆ อยู่บ่อยๆ โดยการจำแนกความต่างในความพยายามที่จะสร้างจินตนาการของนักกวี (takhyil) ในหมู่ผู้ฟังด้วยเป้าหมายในทางสติปัญญาเกี่ยวกับการแสวงหาที่จะสร้างการยอมรับ (tasdiq) ที่มีต่อความจริงหรือความลวงเกี่ยวกับข้ออ้างบางอย่าง

Ibn Sina, คล้ายกับ al-Farabi, เน้นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การสร้างจินตนาการนั้น มักจะเป็นเรื่องตรงข้ามกับที่พวกเรารับรู้หรือเชื่อถือกัน และเขามีตัวอย่างโปรดปรานอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงประเด็นนี้ นั่นคือ ถ้าหากว่ามีใครบางคนมาบอกกับเราว่า "น้ำผึ้งคือน้ำดีที่ถูกสำรอกออกมา" เป็นไปได้ที่พวกเราจะรู้สึกไม่อยากดื่มน้ำผึ้งที่อยู่ตรงหน้า แม้ว่าเราจะมั่นใจว่าการอุปมาอุปมัยนั้น โดยความเป็นจริงแล้วเป็นเรื่องโกหก. Ibn Sina ยังสะท้อนถึงข้ออ้างของ al-Farabi ที่ว่า ความสามารถอันนี้ของจินตนาการมีผลต่อการกระทำของเรา ถือว่าเราเป็นหนี้บุญคุณต่อความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างความสามารถทางด้านจินตนาการ กับการขับเคลื่อนความปรารถนาของวิญญาน

การเน้นความสามารถทางด้านจินตนาการที่สอดแทรกเข้าไปในการยอมรับทางด้านสติปัญญาของวิญญาน ปรากฏว่า ได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกันโดยตรงกับเรื่องของการเลียนแบบ(imitation) โดยบรรดาปรัชญาเมธีอิสลาม. ยกตัวอย่างเช่น Al-Farabi ได้สร้างความสัมพันธ์กันนี้ในงาน Ihsa' al-'ulum ของเขา ด้วยการสรุปความคิดเห็นของตนในเรื่องความสามารถเกี่ยวกับถ้อยคำกวีนิพนธ์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้วยการสังเกตว่า นั่นคือ "สิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเราเห็นการเลียนแบบสิ่งต่างๆ ที่เหมือน หรือสิ่งที่คล้ายคลึงบางสิ่ง" ด้วยลักษณาการเดียวกัน ตลอดผลงานเรื่อง Talkhis kitab al-shi'r ของเขา Ibn Rushd ตีความศัพท์อาราบิคอย่างสอดคล้องสำหรับคำว่า mimesis (การสำเนา) (muhaka) ในฐานะเท่าเทียมกับ takhyil, การปลุกเร้าภาพอันหนึ่งขึ้นมา

และในหลายๆ ย่อหน้า Ibn Sina เปรียบเทียบความต่างเรื่องจินตนาการ โดย "การเลียนแบบสิ่งหนึ่งโดยอีกสิ่งหนึ่ง" ซึ่งที่จริงแล้ว จินตนาการปรากฏว่าเป็นจริงด้วย. โดยทั่วไป สำหรับบรรดาปรัชญาเมธีอิสลาม "การเลียนแบบ" ปรากฏว่าเป็นการอ้างถึงการแสดงลักษณะเฉพาะเหล่านั้นเกี่ยวกับภาพแทนจินตนาการ('imitation' appears to refer to those specific acts of imaginative representation) ซึ่งวัตถุของการเลียนแบบดังกล่าวได้ถูกพรรณาในขอบเขตต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นธรรมชาติกับมัน (the object is depicted in terms not proper to it), หรือเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่าคือ มันถูกแสดงออกในลักษณะที่ดีกว่าหรือเลวกว่าภาวะที่เป็นจริงของมัน. ในหนทางนี้ การเลียนแบบไม่เพียงถูกนำไปเชื่อมโยงกับเรื่อง mimesis (การสำเนา) แบบอริสโตเตเลียนเท่านั้น แต่ยังไปสัมพันธ์กับความคิดของเพลโตเกี่ยวกับการเลียนแบบด้วย ดังที่มันเกี่ยวโยงกับทฤษฎีแบบ (the theory of the Forms) ที่พบในเรื่อง the Republic.

ชัดเจนว่า การปรากฏตัวนี้เกิดจากถ้อยคำสนทนาในตำราเล่มเล็กๆ เขียนโดย al-Farabi ซึ่งรู้จักกันทั่วไปในฐานะ Kitab al-shi'r (Book on Poetics - หนังสือเกี่ยวกับกวีนิพนธ์). ในตำรานี้ al-Farabi ระบุถึงเรื่องของการเลียนแบบ พร้อมด้วยองค์ประกอบเกี่ยวกับจังหวะในบทกวี (metric composition), ดังที่มันได้ประกอบสร้างแก่นแท้ของกวีนิพนธ์ขึ้นด้วยการเลียนแบบสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อที่จะอธิบายธรรมชาติของการเลียนแบบกวีนิพนธ์ ที่เกิดขึ้นโดยผ่านภาษา, al-Farabi อาศัยความคล้ายคลึงของมันอย่างมากกับการเลียนแบบผ่านการกระทำ ยกตัวอย่างเช่น ในการสร้างงานประติมากรรมหรือการเลียนแบบผ่านการแสดง ในที่นี้การเลียนแบบได้รับการกล่าวว่ามีเป้าหมายของมัน "ในการก่อเกิดภาพขึ้นมา" ของวัตถุที่ถูกเลียนแบบ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ความแตกต่างระหว่างการเลียนแบบโดยตรงหรือโดยอ้อม อ้างถึงเรื่องของระยะห่าง ที่แยกแยะภาพแทนของวัตถุจากความจริงในตัวมันเอง ดังแสดงให้เห็นในตัวอย่างของงานประติมากรรม เช่น ถ้าศิลปินปรารถนาที่จะเลียนแบบคนๆ หนึ่ง นามว่า Zayd:

... เขาจะต้องสร้างงานประติมากรรมที่คล้ายคลึงกับคนๆ นี้ พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างภาพสะท้อนหรือภาพแทนซึ่งมองเห็นเป็นรูปร่างของ Zayd. และเป็นไปได้ที่ว่าเราไม่ได้มองเห็นรูปปั้นในตัวมันเอง แต่กลายเป็นรูปร่างตัวเขาที่เป็นภาพแทน ถัดจากนั้นเราจะรู้จักเขาโดยผ่านสิ่งที่เลียนแบบการเลียนอันหนึ่งเกี่ยวกับตัวเขา และด้วยเหตุนี้มันจึงเคลื่อนไกลจากเขาในความเป็นจริง 2 ระดับ
(Kitab al-shi'r: 94-95)

ความเป็นไปได้เกี่ยวกับระดับของการเคลื่อนคล้อยจากต้นตอกำเนิด(original) เป็นเรื่องที่ทำให้หวนระลึกถึงคำอธิบายของเพลโตเกี่ยวกับสภาวะที่เป็นไปได้ของการเคลื่อนตัวห่างจาก"แบบ"(Form)ในเรื่องเล่าโบราณเกี่ยวกับ"ถ้ำ" (อุตมรัฐ - Republic). Al-Farabi เชื่อว่า ความเป็นไปได้นี้ มิเพียงเป็นเรื่องการเลียนแบบทางด้านศิลปะเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเลียนแบบทางด้านภาษาของกวีนิพนธ์ด้วย ขณะที่บางครั้งความสัมพันธ์กันเหล่านี้ถูกมองอย่างเหยียดหยามโดยบรรดานักปรัชญาอิสลาม ดังที่ใครคนหนึ่งมองว่า อันที่จริงแล้วเป็นเสียงสะท้อนของเพลโตนิค ทัศนะอันนี้มิได้เป็นสากล. Al-Farabi ตัวเขาเองเสนออย่างไม่เข้าข้างว่า ผู้คนจำนวนมากพิจารณาว่า "ยิ่งห่างไกลการเลียนแบบก็ยิ่งสมบูรณ์มากและเป็นศิลปะ" และในที่นี้ดังปรากฏในงานชิ้นอื่นๆ เขายอมรับพลังอำนาจของการเลียนแบบสำหรับการกระตุ้นมนุษย์ให้กระทำสิ่งต่างๆ ซึ่งความคิดเห็นเชิงสติปัญญา หรือความรู้ล้มเหลวที่จะขับเคลื่อนพวกมัน

แต่อย่างไรก็ตาม Ibn Sina ได้ไปไกลกว่านั้น โดยการกำจัดเสียงสอดแทรกในเชิงลบเกี่ยวกับคำอธิบายเหล่านี้ในกวีนิพนธ์ สำหรับเขาแล้ว ในงานเขียนทั้งหมดเป็นงานเขียนใหม่หรืออ่อนเยาว์สุด Ibn Sina เน้นว่า ความเอาใจใส่ของกวีในเรื่องจินตนาการ เรียกร้องต้องการว่า งานของเขาควรได้รับการการตัดสินในเทอมต่างๆ ในตัวของมันเอง ไม่ใช่ในระดับของการติดสินทางสติปัญญา. กล่าวอย่างตรงประเด็น จินตนาการกวีนิพนธ์ไม่ใช่เรื่องจริงและไม่ใช่เรื่องปลอม ตราบเท่าที่ถ้อยคำกวีนิพนธ์ได้ส่อนัยไปในเชิงสอดคล้องข้อเสนอในทางสติปัญญา พวกมันอาจครอบครองคุณค่าความจริงหนึ่งอย่างมิได้ตั้งใจ และเป็นไปในเชิงทุติยภูมิ สำหรับเหตุผลนี้ แม้ว่าจำนวนมากจะยังคงไม่จริงตามตัวอักษร และไม่ได้ต้องการความเป็นสากลแต่อย่างใด:

และในกวีนิพนธ์ทั่วไป [syllogisms - ตรรกบท] ได้ถูกประพันธ์ขึ้นด้วยหลักฐานต่างๆ ในขอบเขตที่พวกมันครอบครองรูปร่างอันหนึ่ง และองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งวิญญานได้รับโดยอาศัยสิ่งที่เป็นการเลียนแบบและกระทั่งความจริง; ไม่มีสิ่งใดมากีดขวางอันนี้ (นั่นคือ, ภาวะเป็นจริงของพวกมัน)
(al-Isharat wa-'l-tanbihat: 80-1)

โดยหลักฐานเดียวกัน Ibn Sina ยังให้การยินยอมสำหรับการใช้ประโยชน์การบรรยายเชิงกวีและจินตนาการด้วย ในเชิงจริยธรรม นั่นเป็นเรื่องของความเป็นกลาง ไม่ได้แสวงหาที่จะส่งเสริม มีเกียรติ หรือสง่างาม และไม่ต้องการที่จะทำให้เกิดความเสื่อทรามในสิ่งที่ถูกเลียนแบบ แต่ค่อนข้างจะมีเป้าหมายเพื่อปลุกเร้าความสงสัย-ประหลาดใจ โดยผ่านความงามเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ และเพื่อที่จะเติมเต็มสิ่งซึ่งได้รับการเรียกขานว่าเป้าประสงค์ทางสุนทรีย์อย่างบริสุทธิ์เท่านั้น


DEBORAH L. BLACK


+++++++++++++++++++++++++++++++++++

References and further reading

Black, D.L. (1990) Logic and Aristotle's 'Rhetoric' and 'Poetics' in Medieval Arabic Philosophy, Leiden: Brill. (Discusses the interpretation of these Aristotelian texts as works of logic; includes considerations of the themes of imagination and imitation.)

* al-Farabi (c.870-950) al-Madina al-fadila (The Virtuous City), ed. and trans. R. Walzer, Al-Farabi on the Perfect State, Oxford: Clarendon Press, 1985. (Text with facing translation of al-Madina al-fadila; includes detailed notes regarding al-Farabi's Greek sources and antecedents.)

* al-Farabi (c.870-950) Kitab al-shi'r (Book on Poetics), ed. and trans. A.J. Arberry, 'Farabi's Canons of Poetry', Rivista degli Studi Orientale 17 (1938): 267-78; ed. M. Mahdi, Shi'r 3 (1959): 91-6. (A curious little text presenting al-Farabi's understanding of Greek poetics.)

* al-Farabi (c.870-950) Ihsa' al-'ulum (The Book of the Enumeration of the Sciences), ed. U. Amin, Cairo: Librairie Anglo-ษgyptienne, 3rd edn, 1968. (Al-Farabi's discussion of different kinds of knowledge.)

* al-Farabi (c.870-950) Kitab al-huruf (The Book of Letters), ed. M. Mahdi, Beirut: Dar el-Mashreq, 1969. (Al-Farabi's account of the nature of logic and languages.)

Heath, P. (1992) Allegory and Philosophy in Avicenna (Ibn Sina), Philadelphia, PA: University of Pennsylvania Press. (Ibn Sina's theories on allegory in the context of his philosophy as a whole; aimed at the non-specialist in philosophy and useful for audiences with primarily literary interests.)

* Ibn Rushd (c.1174) Talkhis kitab al-shi'r (Middle Commentary on the Poetics), trans. C.E. Butterworth, Averroes' Middle Commentary on Aristotle's 'Poetics', Princeton, NJ: Princeton University Press, 1986. (A translation of Ibn Rushd's major work on this topic, with a helpful introduction.)

* Ibn Rushd (c.1179-80) Fasl al-maqal (Decisive Treatise), trans. G.F. Hourani, Averroes on the Harmony of Religion and Philosophy, London: Luzac, 1961. (Translation of Ibn Rushd's analysis of the links between religion and philosophy.)

* Ibn Sina (980-1037) al-Isharat wa-'l-tanbihat (Remarks and Admonitions), ed. J. Forget, Leiden: Brill, 1892; part translated by S.C. Inati, Remarks and Admonitions, Part One: Logic, Toronto, Ont.: Pontifical Institute of Mediaeval Studies, 1984. (The sixth and ninth 'methods' of this text discuss rhetoric and poetics.)

Ibn Sina (980-1037) al-Shifa' (Healing), Kitab al-shi'r, trans. I.M. Dahiyat, Avicenna's Commentary on the 'Poetics' of Aristotle, Leiden: Brill, 1974. (Translation of the Poetics section of Ibn Sina's encyclopedic work, al-Shifa', with excellent introductory essays; aimed at students of literary theory.)

* Ibn Sina (980-1037) Risala fi al-'ishq (Treatise on Love), trans. E. Fackenheim, 'A Treatise on Love by Ibn Sina', Mediaeval Studies 7 (1945): 211-28. (A translation of the Risala fi al-'ishq.)

Kemal, S. (1991) The Poetics of Alfarabi and Avicenna, Leiden: Brill. (Various aspects of these two philosophers' views on poetics.)

Kemal, S. (1996) 'Aesthetics', in S.H. Nasr and O. Leaman (eds), History of Islamic Philosophy, London: Routledge, ch. 56, 969-78. (Account of some of the main concepts of aesthetics, along with the leading controversies of the classical period.)

ข้อมูลจาก
Islamic Philosophy

From the Routledge Encyclopedia of Philosophy
General Editor: Edward Craig,
Churchill College, University of Cambridge, UK
Islamic Philosophy
Subject Editor: Oliver Leaman,
Liverpool John Moores University, UK.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com