ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ : Release date 15 September 2009 : Copyleft MNU.

ในขณะที่ความรุนแรงของสงคราม นำมาซึ่งความสูญเสีย ของทั้งทหารสหรัฐฯและพลเมืองอิรักและอัฟกานิสถาน แต่ภาพความสูญเสียของพลเมืองอิรักและอัฟกานิสถานกลับไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก ไม่มีการประกาศข่าวการเสียชีวิต (obituary) ของคนเหล่านั้น การประ กาศข่าวการเสียชีวิต จึงเป็นการแบ่งสรรว่า... ชีวิตใดที่สามารถได้รับความโศกเศร้าได้ในอาณาบริเวณสาธารณะ เช่น ชีวิตที่สูญเสียไปบนแผ่นดินอัฟกานิสถานและอิรัก กลับไม่ถูกถ่ายทอดว่าเป็นส่วนหนึ่งของความหายนะจากสงคราม หากแต่ถูกลดทอนเหลือเพียงการวิพากษ์ -วิจารณ์ประสิทธิภาพทางทหารในการระบุเป้าหมายที่ถูกต้อง ในแง่นี้ชีวิตที่ไม่สามารถได้รับความโศกเศร้าได้ จึงไม่ถูกนับว่าเป็นชีวิต ไม่ถูกมองเห็น และไม่ถูกนับว่าเป็นมนุษย์ (คัดมาบางส่วนจากบทความ)

H



15-09-2552 (1783)

ความคิดทางการเมืองบางประการของ Judith Butler:
อำนาจของความโศกเศร้า และประชาธิปไตยแบบเข้มข้น
ภูวิน บุณยะเวชชีวิน: เขียน
นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ สาขาการระหว่างประเทศ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความต่อไปได้รับมาจากผู้เขียน ซึ่งเป็นความคิดทางการเมืองจุลมิติ ของ
นักสิทธิสตรีนิยม
จูดิธ บัทเลอร์ ที่ได้สะท้อนถึงความโศกเศร้าที่เราสามารถ
รู้สึกกับคนบางคน ส่วนอีกบางคนหรือกลุ่มชน เรากับไม่รู้สึกเช่นนั้นกับเขาหรือพวกเขา
ประเด็นสำคัญคือ ความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาจาก
ความรุนแรงในระดับบรรทัดฐาน(norm) อันเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ก่อนความรุนแรงอย่างอื่นๆ ความรุนแรงเชิงบรรทัดฐานนี้เป็นที่มาหรือ
ต้นเหตุของปัญหาความไม่เท่าเทียม ซึ่งไปกีดกันบรรทัดฐานอย่างอื่นๆ
ให้ถูกเบียดขับออกไป

บนหน้าเว็บเพจนี้ได้รวบรวมงานเขียนไว้ ๒ ชิ้นที่เกี่ยวข้องกันดังต่อไปนี้
๑. อำนาจของความโศกเศร้า
๒. ประชาธิปไตยแบบเข้มข้น

(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "การเมือง สังคม และสิทธิมนุษยชน")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๘๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความคิดทางการเมืองบางประการของ Judith Butler:
อำนาจของความโศกเศร้า และประชาธิปไตยแบบเข้มข้น
ภูวิน บุณยะเวชชีวิน: เขียน
นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ สาขาการระหว่างประเทศ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


บทนำ
บทความนี้มาจากการรวบรวมความคิดทางการเมืองของ Judith Butler จากสองบทความได้แก่ บทความ"อำนาจของความโศกเศร้า" ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารวิภาษา ลำดับที่ 20 และบทความ"จูดิท บัตเลอร์ และ ประชาธิปไตยแบบเข้มข้น" ซึ่งยังไม่ได้รับการตีพิมพ์ นำมาสังเคราะห์กัน ทั้งสองเรื่องมีแนวคิดหลายประการที่เชื่อมโยงกันอยู่ ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านจะได้แง่คิดบางประการจากรายละเอียดของบทความนี้ และนำมาตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองระดับมหภาค ไปจนถึงการเมืองในระดับจุลมิติ

1) อำนาจของความโศกเศร้า
เมื่อกล่าวถึงความโศกเศร้า (Mourning) โดยทั่วไปแล้วน่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวของปัจเจกแต่ละคน ไม่น่าที่จะมีความเชื่อมโยงกับเรื่องของอำนาจ การเมือง หรือ อาณาบริเวณสาธารณะ (public sphere) แต่ในความเป็นจริงเรื่องดังกล่าวกลับมีความเชื่อมโยงกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกชีวิตที่สามารถได้รับความโศกเศร้า ไม่ใช่ทุกชีวิตที่ถูกนับรวมว่าเป็นชีวิต ในแง่นี้ความโศกเศร้าจึงเป็นสิ่งที่ถูกแบ่งสรรว่าใครมีสิทธิ์ได้รับและใครไม่มี

นักวิชาการคนสำคัญที่กล่าวถึงอำนาจของความโศกเศร้ากับสังคมการเมืองก็คือ Judith Butler ซึ่งงานเขียนของเธอเป็นการตอบสนองต่อบริบทของสังคมการเมืองอเมริกันภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 และการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย อาจมีใครหลายคนตั้งคำถามว่า ทำไมจึงต้องเป็น Butler เพราะ แม้เหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 จะนำไปสู่กระแสชาตินิยมสุดขั้วที่ต่อต้านแนวคิดใดก็ตาม ที่เป็นการวิพากษ์การกระทำของสหรัฐฯ และกระแสต่อต้านการใช้ความคิดและเหตุผล (anti-intellectualism) ก็ยังมีนักคิดอย่าง Arundhati Roy หรือ Noam Chomsky ที่ออกมาวิพากษ์การกระทำของสหรัฐฯแม้ว่าจะไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลักก็ตาม

อย่างไรก็ตาม การที่ผู้เขียนเลือกกล่าวถึงงานของ Butler ก็เพราะ เธอไม่ได้เพียงมองเห็นวงจรของความรุนแรงจากภาพที่ชัดแจ้งของสงคราม หากแต่เธอยังมองเห็นสิ่งที่ความโศกเศร้าที่สร้างขึ้นมานอกเหนือจากเสียงร้องไห้เพื่อสงคราม นอกจากนั้นเธอยังออกมาวิพากษ์การกระทำของสหรัฐฯตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยา อย่างไรก็ดีในหลายครั้งงานของ Butler มักถูกกล่าวหาว่าเป็นงานวิชาการประเภทอยู่บนหอคอยงาช้าง จับต้องไม่ได้ ทั้งนี้เพราะงานของเธอไม่ได้ให้คำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จ หากแต่เป็นงานเขียนแบบวิภาษวิธี (dialectic) ที่เป็นกระบวนการปลายเปิด (open-ended process) โดยเธอมองว่าคำตอบที่เป็นสูตรสำเร็จมีแนวโน้มที่จะต่อต้านประชาธิปไตย (*) ด้วยเหตุผลข้างต้น ผู้เขียนจึงเลือกงานของ Butler มากล่าวถึงในที่นี้

(*) Sara Salih, Judith Butler (London and New York: Routledge, 2002), p. 3-4.

บทความนี้จะกล่าวถึงแนวคิดเรื่องอำนาจของความโศกเศร้าจากหนังสือ Precarious Life: The Power of Mourning and Violence (2004) (*) ของ Butler และนำแนวคิดดังกล่าวมาตั้งคำถามกับการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองในบริบทของสังคมการเมืองไทย

(*) Judith Butler, Precarious Life: The Power of Mourning and Violence (London and New York: Verso,

ความโศกเศร้า กับ สังคมการเมืองอเมริกาหลังเหตุการณ์ ๑๑ กันยา
เมื่อไหร่คนถึงโศกเศร้า? Butler อธิบายว่าความโศกเศร้าเกิดขึ้นเมื่อคนคนหนึ่งประสบกับความสูญเสีย (loss) ที่จะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง ในแง่นี้เมื่อประสบกับความสูญเสียคนจึงต้องเผชิญกับบางสิ่งบางอย่างที่ยากจะอธิบาย (enigmatic) มิติของความยากจะอธิบายจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ความโศกเศร้าดำรงอยู่ โดยเฉพาะเมื่อความสูญเสียเกิดขึ้นกับคนที่มีความสัมพันธ์กัน หรือ อีกนัยหนึ่งคนที่สูญเสียไปมีส่วนในการประกอบสร้างตัวตนขึ้นมา เมื่อ "ฉัน" (I) สูญเสีย "คุณ" (you) ฉันจึงไม่ได้เพียงโศกเศร้ากับความสูญเสียเพียงอย่างเดียว หากแต่ตัวฉันกลายเป็นสิ่งที่ยากจะอธิบายกับตัวฉันเอง ฉันเป็นใครถ้าปราศจากคุณ (Who "am" I without you?) เพราะตัวตนของฉันเองก็หายไปเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อเราสูญเสียอะไรบางอย่างที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่ประกอบสร้างเราขึ้นมา เราจะไม่รู้ว่าเราคือใคร หรือเราจะทำอย่างไร? จึงอาจกล่าวได้ว่าความโศกเศร้าประกอบด้วยความเป็นไปได้ของความเข้าใจรูปแบบการที่บางสิ่งบางอย่างที่เป็นรากฐานของตัวตนถูกนำออกไป (dispossession) (*)
(*) Ibid., p. 20-22.

ในแง่นี้ความโศกเศร้าจึงเป็นความน่าสะพรึงกลัว ความกลัวของเราสามารถนำไปสู่แรงผลักดันที่จะแก้ไขความกลัวดังกล่าวอย่างอย่างรวดเร็ว อาจด้วยวิธีการที่ใช้กำลังในการฟื้นฟู (restoration) ความสูญเสีย หรือ ทำให้โลกกลับไปสู่ระเบียบที่มีมาแต่เดิม (*)
(*) Ibid., p. 29-30.

ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ประสบกับความสูญเสียความเป็นโลกที่หนึ่งนิยม (First Worldism) อาจกล่าวได้ว่า ความสูญเสียดังกล่าวเป็นความสูญเสียอภิสิทธิ์ (prerogative) ในการเป็นอภิมหาอำนาจหนึ่งเดียวที่สามารถรุกล้ำพรมแดนอธิปไตยของรัฐอื่น และการไม่อยู่ในฐานะที่พรมแดนของตนจะถูกรุกล้ำได้ สหรัฐอเมริกาน่าจะเป็นที่ซึ่งไม่สามารถถูกโจมตีได้และชีวิตน่าจะปลอดภัยจากความรุนแรงภายนอก ในแง่นี้การตอบสนองต่อเหตุการณ์ 11 กันยาจึงเป็นความกังวล ความปารถนาความมั่นคงอย่างสุดขั้ว และส่งเสริมการป้องกันต่อต้านสิ่งใดก็ตามที่ถูกรับภาพว่าเป็นคนนอก (alien) เช่น การเพิ่มการตรวจตราอย่างเข้มงวดต่อชาวอาหรับและคนที่มีลักษณะคล้ายอาหรับ เป็นต้น (*)
(*) Ibid., p. 39.

การประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งตามมาด้วยการบุกยึดอัฟกานิสถานและอิรัก นำมาสู่คำถามสำคัญของ Butler คือ ใครถูกนับว่าเป็นมนุษย์ (human) ชีวิต (live) ของใครถูกนับว่าเป็นชีวิต และอะไรสร้างชีวิตที่สามารถได้รับความโศกเศร้าเห็นใจจากสาธารณะได้ (grievable life) (*) กล่าวคือ สงครามแบ่งประชากรเป็นสองกลุ่ม ระหว่าง"ผู้ที่สามารถได้รับความโศกเศร้าได้" กับ "อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถได้รับ" (**) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เราโศกเศร้ากับการสูญเสียชีวิตบางชีวิต ในขณะเดียวกันกลับไม่แยแสการสูญเสียของชีวิตอีกหลายชีวิต

(*) Ibid., p. 20.
(**) Judith Butler, Full Text of Judith Butler's 2008 Commencement Address (May 2008). [online] Available: http://www.grinnell.edu/car/confops/commencement/archive/2008/butler/.

ในขณะที่ความรุนแรงของสงครามนำมาซึ่งความสูญเสียของทั้งทหารสหรัฐฯและพลเมืองอิรักและอัฟกานิสถาน แต่ภาพความสูญเสียของพลเมืองอิรักและอัฟกานิสถานกลับไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก ไม่มีการประกาศข่าวการเสียชีวิต (obituary) ของคนเหล่านั้น การประกาศข่าวการเสียชีวิตจึงเป็นเครื่องมือในการแบ่งสรรว่า ชีวิตใดสามารถได้รับความโศกเศร้าได้ในอาณาบริเวณสาธารณะ (*) เช่น ชีวิตที่สูญเสียไปบนแผ่นดินอัฟกานิสถาน กลับไม่ถูกถ่ายทอดว่าเป็นส่วนหนึ่งของความหายนะจากสงคราม หากแต่ถูกลดทอนเหลือเพียงการวิพากษ์วิจารณ์ประสิทธิภาพทางทหารในการระบุเป้าหมายที่ถูกต้อง (**) ในแง่นี้ชีวิตที่ไม่สามารถได้รับความโศกเศร้าได้ จึงไม่ถูกนับว่าเป็นชีวิต ไม่ถูกมองเห็น และไม่ถูกนับว่าเป็นมนุษย์

(*) Butler, Precarious Life: The Power of Mourning and Violence, p. 34.
(**) Ibid., p. 6.


Butler อธิบายกระบวนการดังกล่าวว่า เป็นผลของการทำงานของบรรทัดฐาน (norm) ที่กำหนดว่าใครถูกนับว่าเป็นมนุษย์ ชีวิตใดถูกนับเป็นชีวิต และชีวิตของใครที่สามารถได้รับความโศกเศร้าได้ (*) Ibid., p. 37.

การทำงานของบรรทัดฐาน
การจะทำความเข้าใจคำถามที่ Butler ตั้งไว้ จำเป็นต้องทำความเข้าใจการทำงานของบรรทัดฐานเสียก่อน. Butler อธิบายว่า แบบแผนบรรทัดฐานของการสามารถถูกเข้าใจได้ (normative scheme of intelligibility) เป็นสิ่งกำหนดว่าอะไรคือมนุษย์ อะไรไม่ใช่ อะไรคือชีวิตที่ดำรงอยู่ได้ และอะไรคือความตายที่โศกเศร้าเสียใจได้ แต่ในบางครั้งแบบแผนบรรทัดฐานทำให้ชีวิตไม่เคยเป็นชีวิต และความตายไม่เคยเป็นความตาย (*) ในแง่นี้ความรุนแรงที่กระทำต่อคนที่ไม่จริง (unreal) จึงไม่ถูกมองเห็นว่าเป็นความรุนแรง เพราะชีวิตเหล่านั้นถูกปฏิเสธ (negate) ไปตั้งแต่แรกเริ่ม และคนที่ไม่จริงเหล่านี้ไม่สามารถได้รับความโศกเศร้าได้ เพราะชีวิตเหล่านี้ไม่เคยดำรงอยู่ (**)
(*) Ibid., p. 146
(**) Ibid., p. 33

Butler แบ่งรูปแบบอำนาจของบรรทัดฐานเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

- ลักษณะแรกทำงานในอาณาบริเวณที่ปรากฏ (realm of appearance) ซึ่งขัดขวางการยอมรับในการเป็นมนุษย์
- ส่วนลักษณะที่สองทำหน้าที่ขจัดภาพออกจากอาณาบริเวณที่ปรากฏ กล่าวคือ ทำหน้าที่ลบความเป็นมนุษย์ ลบชีวิต ไม่ให้ปรากฏขึ้นมา (*)
(*) Ibid., p. 147

อาจกล่าวได้ว่า นี่คือความรุนแรงของวาทกรรม (violence of discourse) (*) หากใช้คำของ Samuel A. Chambers และ Terrell Carver นี่คือ ความรุนแรงของบรรทัดฐาน (violence of norm) หรือ ความรุนแรงเชิงบรรทัดฐาน (normative violence) (*) โดย Chambers และ Carver ได้สรุปสาระสำคัญของความรุนแรงเชิงบรรทัดฐานว่า (**) "เป็นความรุนแรงที่เกิดก่อนความรุนแรง"

(*) Samuel A. Chambers and Terrell Carver, Judith Butler and Political Theory:
Troubling Politics (New York: Routledge, 2008), p. 75-91.
(**) Ibid., p. 80

ตามความเข้าใจทั่วไป มิติหนึ่งความรุนแรงเชิงบรรทัดฐาน คือ ความรุนแรงปฐมภูมิ (primary violence) ในแง่ที่ว่าทำให้ความรุนแรงในลำดับถัดๆ มา (derivative violence) สามารถเป็นไปได้ (enable) อีกมิติหนึ่งที่อาจสำคัญกว่า ความรุนแรงเชิงบรรทัดฐานสามารถลบความรุนแรงที่มีอยู่ทั่วไปให้ไม่ถูกมองเห็นได้

ในแง่นี้ความรุนแรงเชิงบรรทัดฐานลบความรุนแรงที่มีต่อชาวอัฟกานิสถานและอิรักไม่ให้ถูกมองเห็น ลบภาพความเป็นมนุษย์ ชีวิต และความตายที่โศกเศร้าออกไป

อำนาจของความโศกเศร้าจึงถูกขับเคลื่อนด้วยการทำงานของบรรทัดฐาน หรือ ความรุนแรงเชิงบรรทัดฐานที่แบ่งประชากรออกเป็นสองกลุ่มดังที่กล่าวไปแล้ว การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองของสังคมการเมืองอเมริกา และการบุกยึดอัฟกานิสถานและอิรัก จึงสมควรทำความเข้าใจผ่านกรอบอำนาจของความโศกเศร้าเพื่อที่จะสามารถเห็น"ความรุนแรงล่องหน"ที่กระทำต่อชีวิตจำนวนมากที่ไม่ถูกนับรวมว่าเป็นชีวิต และความโศกเศร้าที่ไม่ได้แบ่งสรรไว้ให้สำหรับมนุษย์ทุกคน

อำนาจของความโศกเศร้า กับ สังคมการเมืองไทย
ผู้เขียนไตร่ตรองอยู่นานพอควรว่าจะเชื่อมโยงอำนาจของความโศกเศร้าเข้ากับสังคมการเมืองไทยดีหรือไม่ สุดท้ายผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องสมควรจะกล่าวถึงในที่นี้โดยเฉพาะในบริบทของสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน

กรณีแรกที่ผู้เขียนอยากจะกล่าวถึง คือ เรื่องเล่า (narrative) ของสถานการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้เขียนคิดว่าชาวไทยส่วนใหญ่ที่ต้องฟังการประกาศข่าวการเสียชีวิตของตำรวจ ทหาร ข้าราชการ ชาวพุทธ ที่ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมทุกวันจนแทบจะเป็นเรื่องที่ชาชิน หลายชีวิตที่สูญเสียได้รับความโศกเศร้าเห็นใจอย่างยิ่งจากสาธารณชน หลายชีวิตกลายเป็นวีรบุรุษ วีรสตรี

ผู้เขียนมิได้ต้องการจะบอกว่าเราไม่ควรจะโศกเศร้ากับความสูญเสียของชีวิตเหล่านี้ แต่เราควรหันกลับไปใคร่ครวญถึงความสูญเสียของชีวิตอีกจำนวนมากที่ไม่ถูกนับรวมว่าเป็นชีวิต มีความตายที่ไม่สามารถได้รับความโศกเศร้าได้ คำถามสำคัญที่เราต้องตอบคือทำอย่างไรเราจึงจะสามารถแบ่งสรรความโศกเศร้าให้กับชีวิตอื่นๆ เหล่านั้นได้อย่างเท่าเทียม

หรือในกรณีความรุนแรงตั้งแต่เหตุการณ์ฆ่ากันบนท้องถนนในวันที่ 1 กันยายน 2551 ถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 7 ตุลาคม 2552 รวมทั้งการฆ่าตัวตายของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ที่กลายเป็นเรื่องเย้ยหยันของชนชั้นกลางและชนชั้นนำไทยบางกลุ่ม ทำไมชีวิตหลายชีวิตจึงไม่ถูกนับรวมว่าเป็นชีวิต ความบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับหลายชีวิตไม่มีใครสนใจ ไม่ได้รับความเห็นใจหรือโศกเศร้า หรือ ชีวิตเหล่านั้นไม่ถูกนับรวมว่าเป็นชีวิต? ทำไมบางชีวิตถูกลดทอนเหลือเพียงความเป็นกลไกของรัฐ ในขณะที่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับการเคลื่อนไหวที่เรียกตัวเองว่าการเมืองภาคประชาชนกลับได้รับความโศกเศร้าเห็นใจจากสาธารณชน เช่นเดียวกับกรณีแรก ผู้เขียนเพียงต้องการให้ทบทวนการแบ่งสรรความโศกเศร้าให้กับชีวิตอื่นๆ และนับรวมพวกเขาในฐานะชีวิตและในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วย

สรุป
จากสังคมการเมืองอเมริกาสู่สังคมการเมืองไทยจะพบว่า ความโศกเศร้าไม่ได้ถูกแบ่งสรรไว้อย่างเท่าเทียม และความโศกเศร้าสามารถนำไปสู่การใช้กำลัง หรือความรุนแรงได้ ดังที่จะอธิบายในรายละเอียดต่อไปสำหรับบริบทของสังคมการเมืองไทย

สถานการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Duncan McCargo (*) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับการแบ่งสรรความโศกเศร้าอย่างไม่เท่าเทียม กล่าวคือ ความรุนแรงทางกายภาพที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อสัญลักษณ์ของความเป็นรัฐไทย โดยเฉพาะแนวคิด 'ชาติ ศาสน์ กษัตริย์' นำไปสู่กระแสความกลัวที่ต่อต้านมุสลิม (anti-Muslim fears) และการปรากฏขึ้นของแนวคิดชาวพุทธหลงชาติ (Buddhist chauvinism) ของชาวพุทธบางกลุ่ม (**) ที่ทำให้ชีวิตที่สูญเสียไปจำนวนมากไม่ว่าจากเหตุการณ์อย่าง กรือเซะ หรือ ตากใบ ไม่สามารถได้รับความโศกเศร้าได้ และไม่ถูกมองเห็นว่า การกระทำต่อคนต่างศาสนานับเป็นความรุนแรง

(*) ศาสตราจารย์ด้านการเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ University of Leeds
(**) Duncan McCargo, "The Politics of Buddhist identity in Thailand's deep south: The Demise of civil religion?,"
Journal of Southeast Asian Studies, 40 no. 1 (February 2009), p. 11-32.


สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรงตั้งแต่ 1 กันยายน 2551 จนถึง 7 ตุลาคม 2552 รวมทั้งกรณีของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ ผู้เขียนคิดว่าเราต้องกลับไปทบทวนถึงสิ่งที่ ธงชัย วินิจจะกูล เรียกว่าอุดมการณ์ราชาชาตินิยม (Royal Nationalism) ในฐานะบรรทัดฐานที่ทำให้ความเป็นมนุษย์ของคนจำนวนหนึ่งให้หายไป ความเป็นมนุษย์ของบางคนถูกลดทอนเหลือเพียงความเป็นกลไกรัฐ โดยเฉพาะเมื่อภาพของรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออุดมการณ์กระแสหลักดังกล่าว อันเนื่องมาจากภาพความเป็นตัวแทนของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในฐานะศัตรูของชนชั้นกลางและชนชั้นนำไทยบางกลุ่ม ในแง่นี้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับคนเหล่านี้ จึงไม่ใช่ความรุนแรง และไม่พึงสมควรที่จะได้รับความโศกเศร้าจากสาธารณชน

กล่าวโดยสรุป อำนาจของความโศกเศร้าทำให้คนโศกเศร้ากับชีวิตบางชีวิต ในขณะที่ไม่แยแสกับความสูญเสียของชีวิตอีกหลายชีวิต ผู้เขียนคิดว่าแนวคิดเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่สังคมการเมืองไทยควรใคร่ครวญในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านจะได้หันมาไตร่ตรองถึงอำนาจของความโศกเศร้าและสิ่งที่กำลังดำเนินไปในสังคมการเมืองนี้อีกครั้งหนึ่ง

2) ประชาธิปไตยแบบเข้มข้น
เมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตยแบบเข้มข้น (radical democracy) คนส่วนใหญ่คงนึกถึงชื่อของ Ernesto Laclau และ Chantal Mouffe จากหนังสือ Hegemony and Socialist Strategy: Towards a Radical Democratic Politics (1985) คงไม่มีใครคิดถึงชื่อของ Judith Butler เพราะคนส่วนใหญ่มักนึกถึงเธอในฐานะนักสตรีนิยม (feminist) หรือ นักทฤษฎีเควียร์ (queer theorist) หรือ นักคิดหลังโครงสร้างนิยม (post-structuralist) มากกว่าจะนับรวมเธอเป็นหนึ่งในนักทฤษฎีการเมืองคนสำคัญ แม้ว่าภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 Butler จะหันมาให้ความสนใจในประเด็นทางการเมืองมากขึ้นดังเห็นได้จากผลงานทางวิชาการของเธอ คือ Precarious life: The Powers of Mourning and Violence (2004) และ Frames of War: When Is Life Grievable? (2009)

อย่างไรก็ตาม ผลงานของ Butler ก็ไม่ได้เน้นเรื่องประชาธิปไตยแบบเข้มข้นเป็นหลัก เพียงการพูดถึงและมีอยู่อย่างกระจัดกระจาย (*) บทความนี้ผู้เขียนจะอธิบายถึงแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบเข้มข้นในทัศนะของ Butler ซึ่งมีความแตกต่างจากประชาธิปไตยในแบบเดียวกันของนักคิดทฤษฎีคนอื่นๆ โดยผู้เขียนจะสังเคราะห์หนังสือและบทความวิชาการของผู้ศึกษาแนวคิดของ Butler โดยเฉพาะจากผลงานของ Moya Lloyd (**) รวมทั้งหนังสือของ Butler เองด้วย

(*) Birgit Schippers, "Judith Butler, Radical Democracy and Micro-politics," in Adrian Little and Moya Lloyd (eds.) The Politics of Radical Democracy (Edinburgh: Edinburgh University Press, 2009), p. 75.

(**) ศาสตราจารย์ด้านทฤษฎีการเมือง ที่มหาวิทยาลัย Loughborough นอกจากนั้นเธอยังเป็นผู้เขียนหนังสือ Judith Butler: From Norms to Politics (2007)

การท้าทายความเป็นสากล (universality)
เมื่อกล่าวถึงความเป็นสากล คนส่วนใหญ่คงนึกถึงลักษณะทั่วไปมีความเป็นธรรมชาติและมักยอมรับกันโดยไม่ตั้งคำถาม เช่น ในเรื่องของการแต่งงาน รัฐส่วนใหญ่รวมทั้งรัฐไทยกำหนดให้เฉพาะผู้มีเพศ (sex) ชายและหญิงเท่านั้นที่สามารถได้รับสิทธิ์นี้ ในประเด็นดังกล่าวความเป็นสากลจึงเป็นสิ่งที่มาก่อนและกำหนดลักษณะของความเป็นมนุษย์ (*) ดังนั้นแล้ว ความเป็นสากลจึงขึ้นอยู่กับบรรทัดฐาน (norm) ชุดใดชุดหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าย่อมไม่นับรวมคนบางกลุ่มว่าเป็นมนุษย์ เป็นชีวิตที่ดำรงอยู่ (livable life) เพราะ เขาและเธอเหล่านั้นไม่ได้รับการตระหนัก (recognize) ว่าเป็นตัวตน (subject) ที่เป็นไปได้ตั้งแต่แรก

(*) Moya Lloyd, "Performing Radical Democracy," in Adrian Little and Moya Lloyd (eds.) The Politics of Radical Democracy (Edinburgh: Edinburgh University Press, 2009), p. 35.

ในทัศนะของ Butler การเมืองประชาธิปไตยแบบเข้มข้นจึงให้ความสำคัญกับเรื่อง ความเป็นสากลที่มีมา (universality-to-come) (*) กล่าวคือ เป็นโครงการที่ยังไม่เสร็จสิ้น (unfinished project) หรืออีกนัยหนึ่งคือ การต่อสู้กับบรรทัดฐาน เพราะบรรทัดฐานเป็นตัวกำหนดว่าชีวิตใครไม่ถูกนับรวม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นความรุนแรงเชิงบรรทัดฐาน (normative violence) นั่นคือ เป็นความรุนแรงที่เกิดก่อนความรุนแรงตามความเข้าใจทั่วไป มิติหนึ่งความรุนแรงเชิงบรรทัดฐานคือ ความรุนแรงปฐมภูมิ(primary violence) ในแง่ที่ว่าทำให้ความรุนแรงในลำดับถัดๆ มา (derivative violence) สามารถเป็นไปได้ (enable) อีกมิติหนึ่งที่อาจสำคัญกว่า ความรุนแรงเชิงบรรทัดฐานสามารถลบความรุนแรงที่มีอยู่ทั่วไปให้ไม่ถูกมองเห็นได้ และลบภาพความเป็นมนุษย์และชีวิตของคนจำนวนหนึ่งให้หายไป (**)

(*)Ibid.
(**) Samuel A. Chambers and Terrell Carver, Judith Butler and Political Theory:
Troubling Politics (New York: Routledge, 2008), p. 80.

Performative Contradiction
การท้าทายความเป็นสากล จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงความเป็นสากลและมีการตั้งคำถามว่า ถูกคิดอย่างไร? กล่าวคือ เมื่อกลุ่มที่ไม่ถูกนับรวมเรียกร้องความเป็นสากลโดยกระทำสิ่งที่ขัดแย้งอย่างซ้ำๆ (performative contradiction) ซึ่งเขาและเธอเรียกร้องสิทธิหรือการถูกนับรวม ย่อมสร้างผลกระทบ คือการท้าทายความชอบธรรม (legitimacy) ที่มีมาก่อน และเป็นการเปิดพื้นที่รูปแบบความเป็นสากลชุดใหม่ที่กว้างขวางขึ้น

ในแง่นี้จึงไม่ต่างจากความคิดของ Jacques Ranciere กล่าวคือ เมื่อส่วนที่ไม่ถูกนับว่าเป็นส่วนต้องการเข้ามามีส่วน หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นการปรากฏขึ้นของ"ส่วนที่ผิดพลาด" (the wrong) ซึ่งได้ปลดปล่อยตนเองจากระเบียบสังคมที่เก็บกด ปิดกั้น และสร้างการรับรู้ (subjectivization) กลายเป็นตัวตนทางการเมือง (political subject) ที่ท้าทาย วิพากษ์ระบบแบ่งแยกการรับรู้ (distribution of the sensible) ที่ดำรงอยู่ และต้องการสร้างระบบแบ่งแยกการรับรู้ชุดใหม่ที่เสมอภาคเท่าเทียม (*)

(*) Jacques Rancire, The Politics of Aesthetics: The Distribution of the Sensible, trans. Gabriel Rockhill (London, New York: Continuum, 2004), p. 85-93.

ชีวิตที่ดำรงอยู่ได้ (livable life)
"…มันเกิดจากความปารถนาที่จะมีชีวิตอยู่ ที่จะทำให้ชีวิตเป็นไปได้" (*) เป็นข้อเขียนของ Butler ในบทนำเพิ่มเติมของหนังสือ Gender Trouble (1999) อาจกล่าวได้ว่าชีวิตที่เป็นไปได้ หรือ ชีวิตที่ดำรงอยู่ได้เป็นหมุดหลักในแนวคิดของ Butler. แม้จะบรรลุถึง"ชีวิตที่ดำรงอยู่ได้"ไปแล้วบ้าง ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในแนวคิดของ Butler ที่เราควรศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าอะไร คือ "ชีวิตที่ดำรงอยู่ได้"

(*) อ้างจาก Chambers and Carver, op. cit., p. 82.

ในบทนำของ Frames of War: When Is Life Grievable? (2009) ได้สรุปสาระของชีวิตที่ดำรงอยู่ได้ไว้ดังนี้ (*) ในความสามารถทางญาณวิทยา Butler เชื่อว่าการเข้าใจชีวิตที่ดำรงอยู่ (life being) ขึ้นอยู่กับการสร้างของบรรทัดฐานที่กำหนดว่าอะไรคือชีวิต (**) เราไม่สามารถมองเห็นตัวตนที่ดำรงอยู่ หากปราศจากบรรทัดฐานที่กำหนดส่งเสริมการตระหนักรู้ ดังนั้นบรรทัดฐานของการตระหนักรู้ได้ (norm of recognizability) จึงเป็นสิ่งสำคัญ

(*) Judith Butler, Frames of War: When Is Life Grievable? (London and New York: Verso, 2009), p. 1-15.
(**) Ibid., p. 3.

สำหรับชีวิตที่ไม่ถูกนับรวม หรือ ไม่สามารถรับการตระหนักรู้ได้ จึงเป็นคนที่ไม่จริง (unreal) หากมีความรุนแรงกระทำต่อคนที่ไม่จริงเหล่านี้ ย่อมไม่ใช่ความรุนแรงเพราะชีวิตเหล่านี้ถูกปฏิเสธ (negate) ไปตั้งแต่เริ่มแรก ความรุนแรงเชิงกายภาพจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ (*) ในแง่นี้ชีวิตของคนที่ไม่จริง จึงไม่สามารถได้รับความโศกเศร้าได้ เมื่อเป็นเช่นนี้(ชีวิตเหล่านั้น)จึงไม่ใช่ชีวิต (**)

(*) Moya Lloyd, Judith Butler: From Norms to Politics (Cambridge: Polity Press, 2007) p. 144.
(**) Butler, op. cit., p. 15.

อย่างไรก็ตาม ก็มีปัญหาสำคัญบางประการคือ ไม่ใช่เพียงว่าจะสามารถนับรวมคนให้มากขึ้นในบรรทัดฐานที่ดำรงอยู่ได้อย่างไร หากแต่อยู่ที่การพิจารณาว่าทำไมบรรทัดฐานแบ่งสรรการตระหนักรู้แตกต่างกันออกไป นอกจากนั้นการจะสร้างบรรทัดฐานชุดใหม่เป็นไปได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำอย่างไร รวมทั้งจะทำอย่างไรถึงจะสร้างชุดของเงื่อนไขที่สร้างความเท่าเทียม (egalitarian) มากขึ้นสำหรับบรรทัดฐานของการตระหนักรู้ได้

สำหรับคำถามที่ว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตที่ดำรงอยู่ได้ตามที่เขาและเธอปารถนาเป็นไปได้มากที่สุด Butler ให้คำตอบว่า ในทางการเมืองเธอให้ความสำคัญกับประชาธิปไตยแบบเข้มข้น (*)

(*) Lloyd, op. cit., p. 137.

การเรียกร้องสิทธิในความรัก (love rights):
ตัวอย่างของประชาธิปไตยแบบเข้มข้นในการเมืองจุลมิติ (micro-politics)
ประชาธิปไตยแบบเข้มข้นของ Butler ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวัน (*) และความสัมพันธ์ของชีวิตทางสังคม เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงยกตัวอย่างเรื่องการเรียกร้องสิทธิในความรัก เป็นตัวอย่างของประชาธิปไตยแบบเข้มข้นในการเมืองจุลมิติ

(*) Lloyd, "Performing Radical Democracy," op. cit., p. 38.

โดยปกติเมื่อกล่าวถึงความรัก หรือ การจดทะเบียนสมรสเพื่อเข้าสู่สถาบันการแต่งงาน คนทั่วไปมักนึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิง ในแง่นี้จึงเป็นการไม่นับรวมสิทธิ์ของคนเพศเดียวกันที่จะเข้าสู่สถาบันการแต่งงาน. Butler อธิบายว่าเป็นผลมาจากบรรทัดฐานของการแต่งงาน (norm of marriage) ซึ่งเกิดมาจากความเป็นบรรทัดฐานระหว่างเพศ (heteronormativity) กล่าวคือ เป็นการปฏิบัติที่ควบคุมบังคับ ทำงานผ่านสถาบัน ลักษณะการทำความเข้าใจ บรรทัดฐาน และวาทกรรมที่ทำให้เพศวิถีระหว่างเพศ (heterosexuality) ดูเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับความเป็นมนุษย์ โดยสถาบันที่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นบรรทัดฐานระหว่างเพศก็คือ สถาบันการแต่งงาน

ในแง่นี้ความรักของคนเพศเดียวกันจึงควรได้รับสิทธิ์ในการแต่งงาน เพราะจะเป็นการขยายสิทธิที่เป็นสากล (universal rights) รวมถึงสิทธิมนุษยชน เป็นการให้ความหมายใหม่ของความเป็นสากลในการนับรวมชีวิตมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องมือในการโต้แย้ง (contest) ความเป็นธรรมชาติ และคิดใหม่ในเรื่องความเป็นพลเมืองทางเพศ (sexual citizen) ให้กับคนที่ไม่ได้อยู่ในความเป็นบรรทัดฐานระหว่างเพศ (non-heteronormativity) หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการจัดการกับปัญหา"ความเป็นอื่น"ภายในบรรทัดฐาน (alterity within the norm) (*)

(*) Ibid., p. 40-41.

อย่างไรก็ตาม Butler ก็ไม่ได้เห็นด้วยกับการจดทะเบียนสมรสเพื่อเข้าสู่สถาบันการแต่งงานเสียทีเดียว เพราะเธอมองว่าการขยายสิทธิ์ในการเข้าสู่สถาบันการแต่งงาน เป็นการเพิ่มอำนาจของรัฐในการตรวจตรา (police) ในแง่นี้การตัดสินว่าใครถูกนับรวม ไม่ถูกนับรวม จึงเป็นเรื่องของใครได้อภิสิทธิ์และใครไม่ได้ ดังนั้น สถาบันการแต่งงานจึงเป็นรูปแบบของความชอบธรรมที่ถูกเลือก (selective legitimacy) และสร้างรูปแบบที่มีรัฐเป็นศูนย์กลาง (state-centered form)

Butler เสนอว่า ควรแทนที่สถาบันการแต่งงานและกลับไปสู่รูปแบบต่างๆ ที่ไม่ใช่รัฐเป็นศูนย์กลาง (non-state-centered forms) ซึ่งจะนำมาซึ่งรูปแบบที่หลากหลายในระดับของวัฒนธรรมและภาคประชาสังคม (civil society) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งควรปฏิเสธการเข้าสู่สถาบันการแต่งงานเพื่อที่จะทำให้บรรทัดฐานของการแต่งงานกลายเป็นสิ่งไร้ประโยชน์และตายลง นอกจากนั้นจะเป็นการสนับสนุนความสัมพันธ์ทางเลือกซึ่งดำรงอยู่ในภาคประชาสังคม ในทัศนะของ Butler เธอปฏิเสธการแต่งงาน เพราะ การแต่งงานเป็นเพียงทางเลือกเดียวที่จะเข้าถึงสิทธิเฉพาะ (*)

(*) Ibid., p. 41-46.

สรุป: ประชาธิปไตยแบบเข้มข้นของ Butler
กล่าวโดยสรุป ประชาธิปไตยในทัศนะของ Butler มีสาระสำคัญดังนี้คือ

- ปฏิเสธความเป็นสากล แต่ให้ความสำคัญกับความเป็นสากลที่กำลังจะมา นั่นคือ การขยายผู้ที่ถูกนับรวม หรือสร้างความหมายใหม่ให้กับความเป็นสากล (performative contradiction) เพราะความเป็นสากลอยู่บนฐานของการไม่นับรวมเสมอ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มจำนวนชีวิตที่ดำรงอยู่ได้ให้มากขึ้น หรือคือการต่อสู้กับบรรทัดฐานนั่นเอง

- นอกจากนั้น Butler ยังไม่เห็นด้วยกับประชาธิปไตยที่มีรัฐเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการต่อสู้ทางการเมืองจึงควรแยกออกมาจากรัฐ และให้ไปอยู่ในภาคประชาสังคมแทน เพราะภาคประชาสังคมเป็นพื้นที่หลักที่บรรทัดฐานควมคุมชีวิตทางสังคม และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์บนพื้นฐานของการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นการเปลี่ยนรูปทางสังคม (social transformation) จะเกิดขึ้นได้ ก็เฉพาะพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นกิจวัตร

- ความสำคัญอีกประการหนึ่งของประชาธิปไตยแบบเข้มข้นในทัศนะของ Butler ก็คือ ประชาธิปไตยแบบนี้ ไม่ได้เป็นแค่ทางเลือกนอกจากประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม หากแต่เป็นกระบวนการของการโต้แย้งอย่างต่อเนื่อง และเป็นการทำให้หลักของประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม อันได้แก่ ความเสมอภาค เสรีภาพ ความยุติธรรม และความเป็นมนุษย์ เข้มข้นขึ้น (radicalization) และทำให้มีการนับรวมมากขึ้น มีพลวัตรมากขึ้น และเป็นรูปธรรมมากขึ้น

- Butler ยังให้ความสำคัญกับ"การโต้แย้ง" และ"การไม่เห็นด้วย" (disagreement) และปฏิเสธว่า ประชาธิปไตยคือผลลัพธ์สูงสุด ดังนั้นประชาธิปไตยแบบเข้มข้นจึงต้องเป็นกระบวนการปลายเปิด (open-ended process) ด้วย

+++++++++++++++++++++++++++++++++

บรรณานุกรม

Butler, Judith (2004) Precarious Life: The Power of Mourning and Violence. London and New York: Verso.

Butler, Judith (2008) Full Text of Judith Butler's 2008 Commencement Address (May). [online] Available: http://www.grinnell.edu/car/confops/commencement/archive/2008/butler/.

Butler, Judith (2009) Frames of War: When Is Life Grievable?. London and New York: Verso.

Chambers, Samuel A. and Carver, Terrell (2008) Judith Butler and Political Theory: Troubling Politics. New York: Routledge.

Little, Adrian and Lloyd, Moya (eds.) (2009) The Politics of Radical Democracy. Edinburgh: Edinburgh University Press.

Lloyd, Moya (2007) Judith Butler: From Norms to Politics. Cambridge: Polity Press.

McCargo, Duncan (2009) , "The Politics of Buddhist identity in Thailand's deep south: The Demise of civil religion?", Journal of Southeast Asian Studies, 40 no. 1 (February), p. 11-32.

Ranciere, Jacques (2004) The Politics of Aesthetics: The Distribution of the Sensible, trans. Gabriel Rockhill London, New York: Continuum.

Salih, Sara (2002) Judith Butler. London and New York: Routledge.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com