ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๒ : Release date 30 August 2009 : Copyleft MNU.

Bare Life หมายถึง"คนที่ไร้สังกัด คนไม่มีสัญชาติ คนที่ปราศจากกฎหมายคุ้มครอง" เขามีแค่ชีวิต(Zoe) แต่ไม่มีสังกัด(bios) เมื่อไม่มีสังกัดก็ไม่มีกฎหมายชาติไหนคุ้มครอง เช่น หลังสงครามเวียดนาม boat people จำนวนมาก ที่หนีออกมาจากเวียดนามใต้ ร่อนเร่อยู่กลางทะเล ผู้คนบนเรือได้นำเอาทองและของมีค่าติดตัวมาด้วยเพราะว่าเงินด่อง ไร้ความหมายในช่วงสงครามและใช้จ่ายไม่ได้กับประเทศปลายทาง ผู้คนเหล่านี้จะมีชีวิตอยู่รอดด้วยมูลค่าทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น ทองคำ แล้วคนเหล่านี้ทั้งหญิงชาย เด็กและคนแก่ได้พากันล่องเรือไป เป็นพวก boat people ถ้าคนเหล่านี้ถูกโจรสลัดปล้น ประเทศไหนจะรับผิดชอบ คำตอบคือไม่มี เพราะว่าประเทศคุณแตกแล้ว ยังไม่ได้ฟอร์มเป็นประเทศใหม่ ยังไม่มีการรับรองจากนานาชาติ ...

H



29-08-2552 (1780)

ท้องถิ่นพัฒนาและโลกาภิวัตน์ - กับดักองค์กรทางเลือกในประเทศไทย
ชีวิตในท้องนากับโลกาภิวัฒน์: หลุมพรางองค์กรทางเลือก
สมเกียรติ ตั้งนโม : บรรยายและตอบคำถาม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (บรรยายที่โรงละคร หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

มูลนิธิที่นา (The Land Foundation) จังหวัดเชียงใหม่ ได้เชิญนักวิชาการจำนวนมาก
ไปบรรยายในประเด็นเกี่ยวกับ"ชีวิตท้องนากับโลกาภิวัตน์" สำหรับในหัวข้อ "หลุมพรางทางเลือก"
รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม หนึ่งในคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้รับการทาบทามให้พูดในหัวข้อดังกล่าว
โดยมีประเด็นนำที่น่าสนใจ ซึ่งสะท้อนความคิดส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังหัวข้อต่อไปนี้...
- แผนภาพกระแสหลัก - กระแสรอง
- วิเคราะห์เรื่องตัวแสดง
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "จักรวรรดิ"
- ปรัชญาของ The Empire - Neoliberalism
- การต่อต้านจักรวรรดิ
- Localization (ท้องถิ่นนิยม) - Bare Life (คนไร้สังกัด)
- กระบวนการสร้างอุดมการณ์กระแสหลัก
- การเมืองแบบประชาธิปไตยตัวแทน ตัวแทนใคร?
- อุดมการณ์ทางเลือก ๕ ประเภท
- จุดอ่อนหรือหลุมพรางทางเลือก ๗ หลุม
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ท้องถิ่นพัฒนากับโลกาภิวัตน์")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๘๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๗ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ท้องถิ่นพัฒนาและโลกาภิวัตน์ - กับดักองค์กรทางเลือกในประเทศไทย
ชีวิตในท้องนากับโลกาภิวัฒน์: หลุมพรางองค์กรทางเลือก
สมเกียรติ ตั้งนโม : บรรยายและตอบคำถาม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (บรรยายที่โรงละคร หอศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บรรยายเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑

อ.สมเกียรติ ผมอาจจะพูดเรื่อง "หลุมพรางทางเลือก" ในแง่ที่เป็น "จุดอ่อนของทางเลือกในสังคมไทยเป็นอย่างไร?" และก็เพื่อให้ล้อกับเรื่องทางเลือกอื่นๆ ก่อนหน้านี้ คิดว่าบางส่วนอาจมีความสอดคล้องกับสิ่งที่พูดไปแล้วโดยวิทยากรท่านอื่น วิธีการที่ผมใช้ในการวิเคราะห์เพื่อนำเสนอครั้งนี้ ได้ใช้วิธีการวัตถุนิยมวิภาษวิธี ที่เรียกว่า dialectic materialism ตามแผนภาพ Thesis / Anti-thesis / Synthesis ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือในการมองเรื่องเกี่ยวกับหลุมพรางทางเลือกต่างๆ

แผนภาพกระแสหลัก - กระแสรอง
ก. กระแสหลัก

- อันดับแรก เป็นเรื่องของการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ จะเห็นว่าด้านอุดมการณ์ที่เป็นกระแสหลักนี้ เรากำลังจะกำหนดให้รู้ว่า position ของตัวเราอยู่ ณ ตรงไหนของโลกาภิวัฒน์ เพื่อให้เห็นภาพชัดว่า จริงๆ แล้ว ทำไมต้องมีทางเลือกเกิดขึ้น ในฝ่ายที่ว่าด้วยอุดมการณ์ของกระแสหลักจะประกอบด้วย"โลกภิวัฒน์จากข้างบน"และ"จักรวรรดิ" ซึ่งจะให้รายละเอียดว่า"จักรวรรดิ" หมายความว่าอย่างไรภายหลัง

- อันดับต่อมาต่อมา ในระบอบการเมืองของสังคม ณ ปัจจุบันเป็นแบบไหน? คำตอบคือ เป็นการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยแบบตัวแทน กล่าวคือ มีนักการเมืองที่เป็นตัวแทนของภาคประชาชน ???

- ต่อมาเเรื่องศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน เศรษฐกิจที่ครอบงำโลกของเราทั่วไปเรียกว่า เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ หรือ Neo-Liberalism เกิดมาเมื่อประมาณยุค 80 สมัยที่เรแกน (Ronald Reagan) กับแท็ตเชอร์ (Margaret Thatcher) เป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกาและก็อังกฤษ มีการเสนอแนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ บางคนอาจเรียกว่า Washington Consensus (ฉันทามติวองชิงตัน)

- สุดท้าย เรื่องของสังคม สภาพสังคมปัจจุบันเป็น"สังคมทุนนิยมที่ขับเคลื่อนด้วยแนวคิดเสรีนิยมใหม่"

จะเห็นว่าทั้งสี่บรรทัดนี้ตั้งแต่ โลกาภิวัฒน์หมายถึงสถานการณ์โลกปัจจุบันที่มีลักษณะเป็นจักรวรรดิ, อันที่สองในแง่การเมืองของสังคมปัจจุบันเป็นเสรีประชาธิปไตยแบบตัวแทน, ในแง่เศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่, และในแง่สังคม เป็นสังคมบริโภคแบบทุนนิยม
มาดูอีกด้านหนึ่งเป็นอุดมการณ์ของกระแสรอง จะมีสี่บรรทัดเช่นเดียวกัน อุดมการณ์ทางเลือกอยู่อีกฟากหนึ่ง ก็คือ

ข. กระแสรอง

- "โลกาภิวัฒน์จากข้างล่าง"(Globalization from below), "จักรวรรดิ"คู่กับ"มหาชน"(multitude) หมายถึงว่า singularity (แต่ละหน่วย)
มารวมกัน เรียกว่า "มหาชน" (multitude)

- ในระบอบการเมืองแบบทางเลือก จะเป็น"ประชาธิปไตยแบบทางตรง, ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม"

- ในส่วนเศรษฐกิจก็เป็น"เศรษฐกิจทางเลือก" ในภาษาอังกฤษเราเรียกว่า Heterodox Economics (ไม่ใช่ Neo-Liberalism) ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจแบบทางเลือกทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจหรือเศรษฐศาสตร์แบบสตรีนิยม เศรษฐศาสตร์ของฝ่ายซ้าย เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจแบบทวิภาค (รวมความคือ เศรษฐกิจแบบที่ไม่ใช่กระแสหลักทั้งหลาย) ซึ่งได้รับการจัดกลุ่มเรียกว่า Heterodox Economics ไม่ใช่ Alternative Economics

- ส่วนสังคมก็จะเป็นแบบสังคมท้องถิ่นนิยม (Localizationism)

วิเคราะห์เรื่องตัวแสดง
ต่อมาวิเคราะห์เรื่องตัวแสดง ในการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ตัวแสดงของทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างไร? ถ้ามาดูของฝั่งอุดมการณ์กระแสหลักเรา ก็จะเห็นว่า ตัวแสดง หรือ actor ของกระแสหลักก็คือ

- "ทุนนิยมแบบครอบงำ" แล้วก็เป็น "จักรพรรดินิยม" เมื่อสักครู่เราเห็นคำว่าโลกภิวัฒน์จากข้างบนตัวแสดงของมันเป็นทุนนิยมแบบครอบงำและจักรพรรดินิยม. (คำว่า"จักรพรรดินิยม"กับ"จักรวรรดินิยม"ในที่นี้มีความหมายต่างกัน "จักรวรรดินิยม"หมายถึง"อาณาเขตที่มันพ้นขอบเขตของรัฐชาติ" ที่เรียกว่าจักรวรรดิก็คือ อาณาเขตข้ามชาติ. ถ้าเป็น"จักรพรรดินิยม"ก็คือว่าเป็นแบบ "Nation State" ยังเป็นรัฐชาติอยู่ เช่น อเมริกันเป็นจักรพรรดินิยม ประเทศอังกฤษก็เป็นจักรพรรดินิยม คำนี้ตามความหมายของของกรัมชี่ (Antonio Gramsci , 1891-1937) เรียกว่า "อำนาจนำ" (Hegemony)

- ต่อมาคือ "การเมืองผูกขาดโดยชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครอง" คือการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่คนอย่างเรา ณ ที่นี้เป็นนักการเมืองไม่ได้หรอก เพราะนักการเมืองนี้มีราคา มีต้นทุนสูง ถ้าเราไปรวมกับพรรคประชาธิปปัตย์เราอาจจะเป็นนักการเมืองได้ เพราะว่าต้องมีฐานทุนในการเป็นนักการเมือง คนอย่างเราที่มีเงินไม่กี่หมื่นบาทเป็นนักการเมืองไม่ได้ แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะสนับสนุนเงินค่าสมัครรวมไปถึงสิ่งต่างๆ แต่เราจะไม่มีโอกาสได้รับเลือกตั้งถ้าเราไม่ไปรวมกับพรรคที่มีเงินพอสมควร จะให้ภาพที่เห็นชัดก็คือ พรรคที่มีเงินมากสามารถทำประชาสัมพันธ์ได้มาก คุณทำให้คนรู้จักคุณได้มาก พวกนี้ใช้ต้นทุน มีราคา ฉะนั้นพรรคที่รวยก็จะมีตัวแทนเข้าไปเยอะ

- อันต่อมาก็คือ "วัฒนธรรมแบบศูนย์กลาง" อย่างพวกเราที่อยู่เชียงใหม่เป็นพวกชายขอบ เราต้องลงไปยังกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ เองก็ชายขอบ คุณต้องไปที่โตเกียว, โตเกียวเองก็ชายขอบ คุณต้องไปที่นิวยอร์คหรือไปที่ปารีส. จริงๆ ก็คือว่าวัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรมแบบที่ศูนย์กลางมีอำนาจนำ

- ต่อมาคือ ในฝ่ายของกระแสหลัก วิธีการเป็นเรื่องเชิงเทคนิคและเทคโนโลยี ส่วนด้านของกระแสรอง จะเห็นว่าเป็นอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ มีลักษณะเป็น"กระแสที่ต่อต้าน" เป็นแบบ"หลังอาณานิคม". แนวคิดทางเลือก จะเป็นแนวคิดแบบหลังอาณานิคมไม่เดินตามกระแสหลัก ในขณะเดียวกันถ้ารุนแรง ก็ถึงกับต่อต้าน-การต่อสู้. มีอีกทางเลือกหนึ่ง ขอเรียกว่า"ทางเลือกที่สาม" กล่าวคือ ไม่ใช่"ขาว"หรือ"ดำ"แต่เป็นทางเลือก"เทาๆ" ที่จริงทางเลือกนี้ไม่ได้หมายถึงกระแสหลัก แต่เป็นขั้วตรงข้ามก็ได้หรือเป็นทางเลือกที่สาม

- อันต่อเรื่องการเมือง เป็น"การเมืองแบบมหาชน" คำนี้ใช้คำว่า Multitude ใช้ตามที่อันโตนิโอ เนกรี (Antonio Negri) ซึ่งเขียนเรื่อง Empire เป็นคนบัญญัติขึ้น

- ถัดมา ถ้าดูเรื่องวัฒนธรรมคือ"วัฒนธรรมแบบชายขอบ"หรือ"วัฒนธรรมที่ถูกกดทับ" ส่วนการใช้เทคโนโลยีเป็นเทคโนโลยีระดับกลาง(intermediate) เราไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสูง หรือระดับอวกาศได้ แนวคิดทางเลือกเข้าไม่ถึงและอาจไม่มีความจำเป็น เราเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีระดับที่ซับซ้อนและมีราคาแพงได้ ในขณะเดียวกันเราปฎิเสธเพราะว่าลักษณะเทคโนโลยีชั้นสูงจะมีลักษณะเป็น single-tasking system ส่วนเทคโนโลยีระดับกลางจะเป็น multi-tasking system มันต่างจากเทคโนโลยีสูงมากๆ เช่น นิคมอุตสาหกรรมที่ลำพูน ถ้าไปดู จะมีลักษณะเป็น single-tasking system เป็นเครื่องจักรที่ผลิตบางสิ่งบางอย่างที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น ผลิตกระจกที่ใช้ในเครื่องบันทึกความจำของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสังคมเกษตรกรรมไทยแถวรอบๆ ลำพูนไม่ได้ใช้ประโยชน์. สำหรับเทคโนโลยีระดับกลาง หรือ intermediate technology (*) หมายถึง เทคโนโลยีอย่างเช่น จักรเย็บผ้า ซึ่งคุณจะเย็บอะไรก็ได้ หรือว่าอะไรที่มันไม่ใช่ไฮเท็คที่เป็น multi-tasking ทำได้หลายอย่าง. เหล่านี้คือภาพที่พยายามทำให้เห็นว่า position ของโลกปัจจุบัน ด้านหนึ่งเป็นโลกาภิวัฒน์ อีกด้านหนึ่งเป็นท้องถิ่น แล้วมันต่อสู้กันอย่างไร อันนี้ก็คือภาพเชิงโครงสร้าง

(*) Intermediate technology is a term pioneered by E.F. Schumacher, describing something much more effective than "primitive" technology, but much less expensive and smaller-scale than the technology used in mass production: In recent years, the term appropriate technology has become much more common - the terms have almost the same meaning, but refer to different aspects of the technology.

Schumacher's view on this subject is expressed in this quote:
The system of production by the masses mobilises the priceless resources which are possessed by all human beings, their clever brains and skilful hands, and supports them with first-class tools. The technology of mass production is inherently violent, ecologically damaging, self-defeating in terms of non-renewable resources, and stultifying for the human person. The technology of production by the masses, making use of the best of modern knowledge and experience, is conducive to decentralisation, compatible with the laws of ecology, gentle in its use of scarce resources, and designed to serve the human person instead of making him the servant of machines. I have named it intermediate technology to signify that it is vastly superior to the primitive technology of bygone ages but at the same time much simpler, cheaper, and freer than the supertechnology of the rich. One can also call it self-help technology, or democratic or people's technology -- a technology to which everybody can gain admittance and which is not reserved to those already rich and power.


E.F. Schumacher -- Small is Beautiful, quoted at Technology with a Human Face

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า "จักรวรรดิ"
ขอย้อนกลับไปอธิบายเรื่อง"จักรวรรดิ" เพื่อเป็นการทำความเข้าใจคำนี้ ซึ่งจริงๆ แล้วที่พูดมาทั้งหมดเมื่อสักครู่ที่เป็นภาษาไทย เป็นขอบเขตการวิเคราะห์จากสังคมไทยที่มีผลจากโลกาภิวัฒน์กระทบเข้ามา สำหรับโลกาภิวัฒน์ ณ ปัจจุบัน เป็นยุคที่เราเรียกว่า Empire หรือว่า"ยุคจักรวรรดิ"ซึ่งไม่ต้องการแผ่อำนาจบนเนื้อที่ทางภูมิศาสตร์ ไม่มีมีรัฐชาติที่ในลักษณะเส้น contour ล้อมรอบขอบเขตประเทศ. ไม่ใช่! เพราะ"จักรวรรดิ"เป็นเรื่องของสถาบันข้ามชาติระดับ"จักรวรรดิ" เช่น WTO, G8 คือประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 8 ประเทศที่รวมตัวกัน สถาบันข้ามชาติอันต่อมาคือ World Bank, IMF หรือจะเติม ADB เข้าไปก็ได้ ฯลฯ

(*) มีข้อน่าสังเกตคือว่า บรรดา G8 นอกจากพวกเขาจะเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการเมือง เพราะใน G8 นั้น 7 ประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้มีระเบิดนิวเคลียร์ทั้งสิ้นยกเว้นญี่ปุ่น เขาจึงมีอำนาจทางด้านการเมืองพร้อมทั้งแสวงหาอำนาจทางเศรษฐกิจไปด้วย

สถาบันเหล่านี้เวลาที่คุณจะต่อสู้กับมัน มันอยู่ที่ไหน? คุณต้องไปที่ headquarters ของมันแล้วคุณก็ไปประท้วงใช่ไหม? ไม่ใช่ แต่คุณจะทำได้ในกรณีที่มันจัดประชุม WTO ไม่ว่าที่ใดเราก็ตามไปประท้วง เช่น ในวันประชุม G8 มันอยู่ที่ไหนละ คุณจะไปหา headquarters มันอยู่ที่ไหน ไม่มี หรือมีก็ไม่ใช่ประเด็น เป็นการตกลงกันระหว่างผู้นำ 8 ประเทศว่าปีนี้พวกเขาจะประชุมที่ไหน? ฉะนั้นวิธีการต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ก็คือ การจัดประชุมคู่ขนาน ทำการประท้วง ยกตัวอย่างเช่นที่ Seattle สหรัฐอเมริกา คนที่เรียกว่าเป็น multitude (มหาชน) รวมตัวกันไปประท้วง

"มหาชน"(Multitude) คือคนที่มาจากหลายๆ ปัญหา ไม่ใช่เป็นปัญหาแค่เรื่องของเศรษฐกิจ แต่มีปัญหาอื่นๆ ด้วย เช่น ปัญหาการครอบงำ-การถูกกดทับ ปัญหาเขื่อน ปัญหาความยากจน ปัญหาความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาเรื่องเกษตรกรรม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียมเกี่ยวกับเพศสภาพ ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาการเมืองข้ามชาติ รวมไปถึงการประท้วงเรื่อง GMO ฯลฯ ทุกประเด็นอยู่ที่ Seattle

ปรัชญาของ The Empire - Neoliberalism
ปรัชญาของ The Empire เป็นปรัชญาเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบ Neo-Liberalism ซึ่ง Neo-Liberalism หมายความว่าอย่างไร? สิ่งที่กำลังพูดถึงเป็นเรื่องของกระแสหลัก เวลาที่เราจะต่อสู้กับกระแสหลัก เรารู้หรือยังว่าคู่ต่อสู้เป็นใคร หรือพวกเขามีปรัชญาอะไร มันเป็นอะไร? ในเชิงกายภาพมันชื่อว่า Empire ในแง่ spirit หรือจิตวิญญานของมันคือ Neo-Liberalism. "กาย"ของมันเป็น"จักรวรรดิ" "จิต"ของมันเป็น"เสรียมใหม่" ความพยายามในการทำความรู้จัก Neo-Liberalism จริงๆ ก็คือว่า (ฉบับย่อ)

หนึ่ง: Deregulation กล่าวคือ มาตรการหรือนโยบายในการแก้ไขกฎหมายหรือกฏระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าการลงทุน อันนี้เรียกว่า deregulation. กฎหมายอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า เช่น กำแพงภาษี การสนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศแล้วตั้งกำแพงภาษีไม่ให้อุตสาหกรรมชนิดเดียวกันจากต่างประเทศเข้ามาขายหรือแย่งชิงตลาดถือว่าเป็นอุปสรรคกีดขวาง จะถูกทำลาย ทำลายผ่านอะไร มันจะทำลายผ่านข้อตกลงใน WTO หรือ FTA แล้วเราต้องมาแก้กฎหมายในรัฐสภา เห็นไหมครับการเมืองแบบตัวแทนตอนนี้เป็นตัวแทนของ WTO ของข้อตกลง FTA, G8 ของ World Bank เพราะเมื่อไทยไปเซ็นสัญญาแล้ว ก็ต้องมาแก้กฎหมายในประเทศ ผ่านผู้แทนราษฎรทั้งหลาย ต้องแก้ที่รัฐสภา

สอง: Capital Flow เมื่อมีการแก้กฎระเบียบอันเป็นอุปสรรค รวมไปถึงเงื่อนไขการกีดกันเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าออก ก็จะเปิดทางสะดวกให้เงินทุนจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่ หรือบรรษัทข้ามชาติขนาดยักษ์ที่มีทุนมหาศาลเข้าไปลงทุนที่ใดในโลกก็ได้ ซึ่งมีทรัพยากร และตลาดที่ทำกำไรได้ อันนี้เรียกว่า capital flow เงินทุนไหลเข้าออกเพื่อดำเนินการทางธุรกิจต่างๆ ในประเทศโลกที่สาม เงินไหลเข้ามาลงทุนกับวิสาหกิจที่มีกำไรอย่างนี้เป็นต้น

สาม: Privatization: หมายถึง"การแปรรูป" เมื่อห้าหรือสิบปีที่แล้วเราจะได้ยินคำนี้บ่อยๆ ว่ามีการแปรรูปองค์กร และรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในประเทศไทย เช่น แปรรูปการสื่อสาร แปรรูปพลังงาน แปรรูปโทรศัพท์ แล้วกำลังจะแปรรูปองค์กรอื่นๆ ต่อไปอีกเรื่อยๆ เช่น ตอนนี้มีการกดดันให้มหาวิทยาลัยต่างๆ แปรรูปด้วยเพื่อที่มหาวิทยาลัยในต่างประเทศหรือธุรกิจทางการศึกษาข้ามชาติ จะสามารถเข้ามาลงทุนและแข่งขันในสังคมไทยได้ เขาจะแปรรูปเพื่อให้ capital หรือ money flow เข้ามาลงทุนในรัฐวิสาหกิจหรือธุรกิจที่สามารถมีกำไร ในประเทศไทยเราได้เห็นการแปรรูป ปตท. แปรรูปโทรศัพท์ แปรรูปการสื่อสาร ทั้งหมดนี้เพื่อให้กลไกตลาดเปิดเสรี เพื่อการลงทุนและทำกำไร นอกจากนี้ยังมีการจำกัดหรือการตัดสวัสดิการคนงานทิ้งไป จะเห็นว่าหลายๆ ประเทศในยุโรปปัจจุบัน รัฐสวัสดิการหรือแนวคิดแบบนี้ได้ถูกทำลายลงไปมาก เพราะการมีสวัสดิการหมายถึง มีการเก็บภาษีชนชั้นกลางและคนรวยมาช่วยคนจน กฎหมายแรงงานในหลายประเทศบังคับให้เจ้าของโรงงานต้องจัดสวัสดิการให้คนงาน แต่ก็มีการหลีกเลี่ยงอยู่เสมอด้วยวิธีการต่างๆ ฉะนั้นค่าแรงของคนงานในแต่ละวันจึงเป็นค่าแรงสุทธิ ไม่มีค่ารักษาพยาบาล หรือสวัสดิการใดๆ ไม่มีอะไรเลย เพราะสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเป็นต้นทุนที่ไปทำให้การกำหนดราคาสินค้าสูงขึ้น (*)

(*) สำหรับในประเทศไทย มีการขูดรีดแรงงานอย่างเข้มข้นกับบรรดาแรงงานต่างชาติ ด้วยการอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย กล่าวคือมีการย้ายฐานการผลิตไปยังชายแดน เช่น เขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีการจ้างแรงงานพม่าราคาถูกที่ข้ามมาทำงาน ไปเช้าเย็นกลับ เป็นแรงงานรายวัน ไม่สามารถจัดตั้งสหภาพได้ ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานไทยให้ความคุ้มครอง จึงไม่จำเป็นต้องจัดสวัสดิการหรือการดูแลรักษาพยาบาลให้
(ข้อมูลจาก รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ, คณะเศรษฐศาสตร์ มช.)

การต่อต้านจักรวรรดิ
ต่อมาคือ ลักษณะของการบริหารและการจัดการเพื่อให้เงื่อนไขเหล่านี้เป็นจริงได้ มีการบังคับให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ไปลงนามหรือทำข้อตกลงไว้ เรียกว่าต้องมีตำรวจโลกในการสอดส่องดูแล ว่าได้มีการทำตามระเบียบขั้นตอนหรือไม่ ดังนั้นเราจึงพบเห็นตำรวจไทยวิ่งไล่จับซีดีเถื่อนให้กับบริษัทในสหรัฐฯ มีการจับอะไรหลายอย่างที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การละเมิดเหล่านี้อาจละเมิดตั้งแต่ระดับเทปผีซีดีเถื่อน โจรสลัด ไปถึงการต่อต้านและการเป็นปรปักษ์ (ในกรณีของการต่อต้านหรือการต่อสู้ที่รุนแรงกับจักรวรรดิ อย่างเช่น กลุ่มอัลกออิดะห์ (Al-Qaeda) คือสงครามกองโจร คนจนสู้กับคนรวย เริ่มตั้งแต่การเป็นโจรขโมย ไปจนกระทั่งไปถึง car bomb หรือไม่ก็ระเบิดพลีชีพอะไรต่างๆ นี่คือลักษณะการต่อต้าน-การเป็นปรปักษ์)

อันต่อมาในระดับชาติ เมื่อแนวคิดจักรวรรดิได้เข้ามาแทนที่หรือเป็นรูปกายของรัฐสมัยใหม่แล้ว ได้ทำให้ nation state ฝ่อลงหรือกำลังตายลงอย่างช้าๆ เพราะว่าสถาบันและบรรษัทข้ามชาติได้เข้ามา deregulate ทางกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ให้เปลี่ยนแปลงองค์กรสถาบัน ทำให้หลายๆ คนไปรับใช้มัน แนวคิดแบบ nation state และกฎหมายของรัฐเริ่มถูกสั่นคลอน และรุนแรงขึ้นตามลำดับ ต้องไปเซ็นสัญญากับคนอื่น แล้วมาแก้กฎหมายภายในประเทศ คือทำให้รัฐชาติ(nation state)ไร้ความหมายลงไปเรื่อยๆ และในลำดับถัดมาคือรูปแบบใหม่ในการต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาไปรวมกับกลุ่มละตินอเมริกาแล้วนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจ Neo-Liberalism ใส่เข้าไป เกิดกลุ่มที่พยายามจะรวมตัวกันเป็นลัทธิภูมิภาค เรียกว่า Regionalism. ในยุโรปซึ่งเรารู้จักกันดี เช่น กลุ่มประเทศ EU - Euro ประกอบไปด้วย nation states หลายๆ รัฐชาติ หรือกลุ่ม Asian ก็ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ประเทศไทย เป็นต้น

ในกลุ่มละตินอเมริกา อย่างเช่น Bolivarian หรือกลุ่มประเทศปฏิวัติโบลิวาร์ มี เวเนซุเอลา โบลิเวีย และคิวบา อย่างนี้เป็นต้น ที่ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อต่อรองกับจักรวรรดิ สร้างกำแพงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม. ฮูโก ชาเวซ (Hugo Chavez) เป็นตัวอย่างของการต่อสู้แบบ Bolivarian Revolution การต่อสู้แบบโบลิวาร์ก็คือ การพึ่งพาอาศัยในประเทศกลุ่มลาตินของตน เพื่อต่อรองกับทุนขนาดใหญ่และบรรษัทข้ามชาติ

Localization (ท้องถิ่นนิยม) - Bare Life (คนไร้สังกัด)
มาถึงรูปแบบข้างล่างที่เรียกว่า Localization (ท้องถิ่นนิยม) จะเห็นว่าในสถานะของพวกแนวคิดแบบท้องถิ่นนิยมนี้มีลักษณะเป็นองค์กรนอกภาครัฐหรือเรียกว่า NGOs. กลุ่มประชาชนถ้ามองในแง่องค์กรก็เป็นองค์กรแบบนี้ องค์กรทางเลือกผ่านกลุ่มที่เรียกว่า NGOs ถ้าเป็นฝูงชนประชาชนก็จัดเป็น Class และจะมีคนซึ่งอยู่ในมิติที่ต่ำกว่า Class กลุ่มหนึ่งซึ่งเราไม่ค่อยมองหรือคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ให้ความสนใจก็คือ กลุ่ม Under Class กับพวก Bare Life คุณจะเห็นว่าจริงๆ แล้ว ชั้นทางสังคมหรือชั้นของผู้คนมันแบ่งเป็นสี่ชั้นไม่ใช่แค่ High, Middle, Low แต่มันมี Under Class กับ Bare Life ด้วย หมายถึงอะไร?

พวก Bare Life หมายถึง"คนที่ไร้สังกัด คนไม่มีสัญชาติ คนที่ปราศจากกฎหมายคุ้มครอง" เขามีแค่ชีวิต(Zoe) แต่ไม่มีสังกัด(bios) (*) เมื่อไม่มีสังกัดก็ไม่มีกฎหมายชาติไหนคุ้มครอง เช่น หลังสงครามเวียดนาม boat people จำนวนมากที่หนีออกมาจากเวียดนามใต้ ร่อนเร่อยู่กลางทะเล ผู้คนบนเรือได้นำเอาทองและของมีค่าติดตัวมาด้วย เพราะว่าเงินด่อง (dong) ไร้ความหมายในช่วงสงครามและใช้ไม่ได้กับประเทศปลายทาง ผู้คนเหล่านี้จะมีชีวิตอยู่รอดด้วยมูลค่าทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ทองคำ แล้วคนเหล่านี้ทั้งหญิงชาย เด็กและคนแก่ได้พากันล่องเรือไป เป็นพวก boat people ถ้าคนเหล่านี้ถูกโจรสลัดปล้น ประเทศไหนจะรับผิดชอบ คำตอบคือไม่มี เพราะว่าประเทศคุณแตกแล้ว ยังไม่ได้ฟอร์มเป็นประเทศใหม่ ยังไม่มีการรับรองจากนานาชาติ หนังสือเดินทาง(ถ้ามี) ก็ไม่ได้รับการยอมรับ boat people จึงเป็นพวก Bare Life

(*) Agamben กล่าวว่า เป้าหมายของโครงการทางปรัชญาของเขาคือ การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ชีวิต และ อำนาจอธิปัตย์ ในสภาวะสมัยใหม่ ดังนั้นการศึกษาว่า ชีวิต คืออะไร และถูกนิยามได้อย่างไรบ้างจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดย Agamben เริ่มต้นงานของเขาด้วยการนิยามคำว่า "ชีวิต" อันหยิบยืมมาจากความคิดทางปรัชญาตะวันตกคลาสลิคของ อริสโตเติล ว่า ชีวิต (life) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

- zoe หรือชีวิตที่อยู่ในสภาวธรรมชาติ เป็นชีวิตทั่วๆไป เช่น สัตว์ คน พระเจ้า ไม่ได้สัมพันธ์กับการเมืองหรือรูปแบบทางการเมือง
- bios ซึ่งหมายถึงชีวิตที่มีรูปแบบ เป็นชีวิตทางการเมือง เช่น ปัจเจก กลุ่ม ซึ่งหลุดพ้นจากสภาวธรรมชาติแบบ zoe อริสโตเติลมองว่า ชีวิตแบบนี้จะนำไปสู่การสร้างสังคมการเมืองในอุดมคติ รัฐที่ดีจึงต้องประกอบด้วยชีวิตที่มีคุณภาพ อันหมายถึง bios ซึ่งมีรูปแบบที่สัมพันธ์กับสังคมและรัฐที่เขาอาศัยอยู่

Bare Life ยังหมายถึงบรรดาชาวเขาที่อยู่ตามเส้นพรมแดนด้วย พวกเขาอาจเป็นชนกลุ่มน้อย เป็นชาวพม่าอพยพหรือเป็นไทยสายพันธุ์อื่น พวกเขาถูกทำร้ายหรือถูกฆ่า ถามว่ารัฐไทยหรือพม่าต้องรับผิดชอบไหม? บอกไม่ได้ คนเหล่านี้ไร้สังกัด อาจมีสัญชาติมาก่อนหรืออาจไร้สัญชาติ แต่ที่แน่ๆ คือพวกเขาเหล่านี้ถูกทอดทิ้ง ไม่มีใครเหลียวแล ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อชีวิตพวกเขาทางกฎหมาย โลกยังเต็มไปด้วยคนแบบนี้ ซึ่งมักจะมองไม่เห็นหรือถูกจับตา แต่นักสิทธิมนุษยชนมิได้ละเลย มีการจัดตั้งกลุ่มทำงานกับบรรดา Bare Lifes อันนี้ได้พยายามเขียนภาพให้พวกเราเห็นทั้งหมดในสังคมที่เรียกว่า"โลกาภิวัตน์"-"จักรวรรดิ"

กระบวนการสร้างอุดมการณ์กระแสหลัก
ขยับมาที่แผ่นภาพอีกอันหนึ่ง เพื่อที่จะบอกว่าอุดมการณ์แบบกระแสหลัก ทำไมจึงครองสังคมเกือบทุกสังคมในทุกวันนี้ ก็เพราะว่ามันมีขบวนการผลิตซ้ำอุดมการณ์อยู่เสมอในสถาบันต่างๆ ของสังคม เป็นเรื่องของกระบวนการ socialization (สังคมประกิต) ประกอบด้วยสถาบันครอบครัวที่สอนเรื่องที่รับรู้มาจากสื่อ จริงๆ พวกนี้พัวพันกันไปหมด สถาบันครอบครัวก็ได้มาจากการศึกษา ได้มาจากแนวคิดทางการเมืองที่ถูกตอกย้ำ ได้มาจากสื่อสารมวลชน มันพัวพันกัน แต่อธิบายแยกให้เห็นเป็นข้อๆ เพื่อความชัดเจน ในระดับสังคมที่เล็กที่สุดตั้งแต่คนสองคนมาเจอกันแล้วสร้างครอบครัว มีอุดมการณ์บางอย่างที่ถูกผลิตซ้ำ ทำนองทุนนิยมหรือเสรีนิยมใหม่เป็นสิ่งที่ดี ถูกต้องแล้ว ผ่านสถาบันการศึกษา เราเคยเรียนเรื่องเศรษฐกิจทางเลือกในสถาบันการศึกษาไหม? ยกเว้นในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก แต่ถ้าเป็นการศึกษาภาคบังคับเขาสอนแต่กระแสหลักหมด

การเมืองแบบประชาธิปไตยตัวแทน ตัวแทนใคร?
สถาบันทางการเมือง ดังที่ได้ยกตัวอย่างแล้วว่าเรามีการเมืองแบบประชาธิปไตยตัวแทน แล้วตัวแทนของเรา ณ วันนี้ ไม่มีตัวแทนภาคประชาชนที่แท้จริง เราไม่สามารถยกตัวอย่างได้ว่ามีนักการเมืองคนใดที่เป็นตัวแทนเรื่องยางพารา บอกชื่อได้ไหมใคร? คำตอบคือไม่มี ตัวแทนที่สนใจเรื่องผู้หญิง เรื่องสิทธิสตรีมาเป็นสิบปีมีไหม? ตัวแทนที่สนใจประเด็นแรงงานนับเป็นสิบปี? ไม่มีใครบอกได้ ไม่เฉพาะในห้องนี้ที่บอกไม่ได้เท่านั้น ที่ไหนก็บอกไม่ได้ เพราะสังคมไทยไม่มีผู้แทนราษฎรซึ่งทำหน้าที่หรือสนใจในประเด็นปัญหาของภาคประชาชนแบบนั้น ตัวแทนที่สังคมเรามี ล้วนเป็นตัวแทนของบริษัทการเมืองที่เรียกว่าพรรคการเมือง จึงไม่มีตัวแทน. ที่เราเลือกตั้งกันนั้น เราไม่เคยเลือกตัวแทนของเราเลย เพราะเขาจะไปทำงานให้บริษัททางการเมืองเขา แล้วบริษัททางการเมืองของเขาก็ถูกกดดันจาก 3 กลุ่มที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจคือ สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคารไทย ผู้แทนที่เลือกตั้งกันไป พวกเขาไปทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคน 3 กลุ่มนี้ ซึ่งไม่ได้เป็นตัวแทนของเรา

อุดมการณ์ทางเลือก 5 ประเภท
หากประมวลดูในอุดมการณ์ทางเลือกว่า มีอะไรบ้าง? เท่าที่พยายามจัด แบ่งออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน

ประเภทแรก ในระดับเล็ก ก็คือการต่อสู้ในระดับเพศวิถี (Gender revolutions) จะเห็นว่ามีกลุ่มองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเป็นทางเลือกเพื่ออธิบายหรือบัญญัติศัพท์ใหม่ๆ หรือเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคทางเพศ รวมไปถึงเพศที่สามหรือเพศทางเลือก ถือเป็นระดับบุคคลจนกระทั่งเป็นกลุ่มซึ่งพัฒนาใหญ่โตขึ้นมา

ประเภทที่สอง เป็นกลุ่มที่เรียกว่าการศึกษาทางเลือก (Alternative Education) จะเห็นว่ามีลักษณะแบบโฮมสคูล (Home School) เป็นเรื่องของแนวคิดการศึกษาทางเลือกเต็มไปหมด จะเป็น Summer Hill ที่เคยโด่งดังเมื่อ 30 ปีที่แล้วก็ได้ จะเป็นแบบ Waldorf education อะไรก็ได้ รวมไปถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนอะไรอย่างนี้ ล้วนเป็นการศึกษาทางเลือก

(*) Waldorf education is a pedagogy based upon the educational philosophy of the Austrian philosopher Rudolf Steiner, the founder of anthroposophy. Learning is interdisciplinary, integrating practical, artistic, and conceptual elements. The Waldorf approach emphasizes the role of the imagination, developing thinking that includes a creative as well as an analytic component. The overarching goals of this educational approach are to provide young people the basis on which to develop into free, moral and integrated individuals, and to help every child fulfill his or her unique destiny, the existence of which anthroposophy posits. Schools and teachers are given considerable freedom to define curricula within collegial structures.

The first Waldorf school was founded in 1919 to serve the children of employees at the Waldorf-Astoria cigarette factory in Stuttgart. As of 2009 there were 994 independent Waldorf schools located in sixty countries throughout the world.

ประเภทที่สาม คือการเมืองทางเลือก หรือ Alternative Politics ซึ่งก็จะมีอยู่หลายสกุล เช่น ซ้ายเก่า ซ้ายใหม่ เป็นแนวคิดแบบ Post-Marxist (หลังมาร์ก) บ้าง จะเป็นแนวคิดแบบ Anarchism (อนาธิปไตย) ซึ่งก็จะมีตั้งแต่รุนแรงน้อยที่สุดจนไปถึงอะไรที่มัน separate ไม่ยอมรับอะไรก็มีมาก รวมไปถึงประชาธิปไตยทางตรง หรือ Street Democracy อยู่บนท้องถนนก็ได้ นี่คือการเมืองทางเลือก

ประเภทที่สี่ คือ สื่อทางเลือก (Alternative Media) สื่อทางเลือกก็คือสื่อที่ไม่ใช่กระแสหลักและไม่ได้สมาทานความคิดอุดมการณ์แบบจักรวรรดิ หรือแนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่ สื่อทางเลือกรายงานเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตยภาคประชาชน แนวคิดเศรษฐกิจทางเลือก เรื่องสิทธิมนุษยชน หรืออะไรก็แล้วแต่ ฯลฯ จริงๆ กลุ่มนี้อาจจะเรียกว่าเป็น Media Advocacy ก็ได้ คือเป็นมีเดียที่สนับสนุนประเด็นใดประเด็นหนึ่งเช่น Alternative Media ที่เสนอเฉพาะเรื่อง Gender ก็มีเว็ปไซด์ มีบล็อกมีอะไรขึ้นมา หรือกลุ่มเพศที่สามก็มีบล็อกเสนอเฉพาะประเด็นดังกล่าว อัลเทอร์เนทีฟไม่เสนออะไรที่มันกว้างมากนัก

ประเภทสุดท้าย เป็นกลุ่มทางเลือกกว้างๆ คือเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม พวกนี้มีลักษณะการต่อสู้เชิงนโยบาย เช่น นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ต่อสู้กับนโยบายกับภาครัฐ โดยนำเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมทางเลือกอื่นๆ เช่นการจัดการป่าชุมชน การจัดการที่ดิน การปฏิรูปที่ดิน เป็นต้น อันนี้โดยภาพรวมมีอะไรหลายอย่างแตกต่างกันในกลุ่มทางเลือกเหล่านี้

จุดอ่อนหรือหลุมพรางทางเลือก 7 หลุม
หัวข้อสุดท้าย ก็คือ"จุดอ่อนหรือหลุมพรางของทางเลือก" เหล่านี้คืออะไร?

อันดับแรก คิดว่า กลุ่มทางเลือกต่างๆ จำนวนมากยังขาดความเข้าใจในระดับโครงสร้างดังที่กล่าวมา นั่นคือความรู้ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับ"จักรวรรดิ" ถ้าเกิดคุณไม่เข้าใจ position ของคุณว่าคุณกำลังต่อสู้กับอะไร? เพียงแต่คุณอยากจะต่อต้าน คุณอยากจะ anti-thesis โดยไม่รู้จัก thesis อย่างรอบด้านหรือบริบทของมัน ในระยะยาวคาดการณ์ได้เลยว่าคุณแพ้แน่ ถ้าคุณเข้าใจถูกต้องว่าโครงสร้างของระดับที่ครอบงำโลกเราอยู่และครอบงำแต่ละประเทศคืออะไร มีความซับซ้อนอย่างไร ผมคิดว่าเราจะต่อสู้กับมันได้อย่างถูกต้องและตรงเป้ามากขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นไปอย่างผิวเผิน

อันดับที่สอง การต่อสู้ของกลุ่มทางเลือกต่างๆ ในสังคมไทยยังขาดการประสานกันในการต่อสู้อย่างเป็นระบบ เช่น กลุ่มแรงงานไม่เข้าใจเรื่องเกษตรกร เกษตรกรเองก็จะไม่เข้าใจปัญหาของพวกแรงงานว่าทำไมต้องเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขึ้นทุกปี คนจำนวนมากไม่เข้าใจเลยว่าเกษตรกรที่ลำพูนเดือดร้อนกันเรื่องอะไร ทำไมพวกเขาจึงบุกรุกที่รกร้าง และที่ดินซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ของนายทุน เป็นต้น

หรือกลุ่มที่เรียกว่า cognitive worker หรือคนทำงานบริการต่างๆ คนงานคอปกขาวไม่เข้าใจว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เดือดร้อนเรื่องอะไร ทำไมเกษตรกรที่ไปกู้เงิน ธกส.จึงเอาอุจจาระราดตัว ก็เพราะต้องการเป็นข่าว คนดูกลับรู้สึกบันเทิง แต่คิดไหมว่าทำไมเกษตรกรคนหนึ่งต้องเอาอุจจาระราดตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่ธนาคาร ธกส. เราดูแล้วเราอาจเกิดความรู้สึกสนุกปนสมเพส ช่องข่าวตอนหนึ่งทุ่มหรือเริ่มตั้งแต่ 6 โมงเย็นเป็นบันเทิงการเมือง สนุกทุกวัน เขาพระวิหารอะไรก็แล้วแต่ มีมาทุกวัน มันสนุก แล้วก็เราไม่เดือดร้อนเพราะว่าระยะห่างระหว่างเรากับศูนย์กลางอำนาจ หรือเหตุการณ์เหล่านั้นไกลกันมาก เราไม่รู้สึกซึมซับกับปัญหาที่แท้จริง เราจึงสนุก เรากินข้าวเย็นไปแล้วเราก็ดูทีวี รตอ.เฉลิม อยู่บำรุงพูดอะไรวันนี้ นายกฯสมัครพูดอะไร สนธิพูดอะไร พรุ่งนี้เราก็ไปทำงานแล้วก็คุยกับเพื่อนๆ เราพูดคุยเรื่องเขาพระวิหารแบบไม่รู้เรื่อง แบบซี้ซั้ว โทรทัศน์มันทำอะไรไม่ได้หรอกครับ มันเป็น Spectacle Media ทำให้เราตื่นเต้น มันเป็นการตัดต่อ และมีเวลาน้อยไปที่จะทำให้เราเข้าใจอะไรได้ ฉะนั้นสื่อทีวีทำไมจึงมีคนต่อต้านมาก ลองปิดทีวีทั้งวันสักวันหนึ่ง ลองดูแล้วกัน ไม่ต้องดูโทรทัศน์สักหนึ่งอาทิตย์ เพราะว่ามันเป็นสื่อฉาบฉวย มันเป็น spectacle หรือ cool media เป็นพวก low definition ไม่ค่อยมีประโยชน์ ดูไปก็เหมือนดูหนังบันเทิง กินข้าวอร่อยขึ้น พรุ่งนี้มีเรื่องอะไรไปพูด แล้วพูดได้กะปริดกะปรอยด้วย ต่อไม่ติดอย่างนี้เป็นต้น

อันดับที่สาม ต่อมา การแตกแยกขององค์กรภาคประชาชนซึ่งตอนนี้เห็นได้ชัด หลัง 19 กันยา คิดว่าองค์กรภาคเอกชนแตก, NGOs แตก, มีเอ็นจีโอที่ให้การสนับสนุนการรัฐประหาร ซึ่งเป็นเรื่องที่ประหลาดมาก เช่น บนเวทีพันธมิตรฯ กับองค์กรภาคประชาชนที่อยู่ในจังหวัดต่างๆ ไม่ได้มีความเป็นเอกภาพ

อันดับที่สี่ คือ จุดอ่อนเกี่ยวกับงานวิชาการที่มาสนับสนุนกลุ่มทางเลือก มีน้อยไป ขาดข้อมูลเชิงลึก หรือที่มีอยู่ก็กระจายไม่มากพอ ทำให้องค์กรทางเลือกต่างๆ เป็นองค์กรทางเลือกที่ไม่เข้มแข็ง ไม่ดีพอที่จะไปต่อสู้

อันดับที่ห้า เป็นเรื่องของสื่อทางเลือกที่ยังขาดประสิทธิภาพ แล้วก็ข้อมูลไม่ค่อยน่าเชื่อถือ ทุกวันนี้เวลาที่เราอ้างอิงข้อมูลจากสื่อทางเลือก เราไม่มั่นใจว่าคนผลิตทำเป็นใคร ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่จบจากปริญญาตรีมา อยากทำงานกับเอ็นจีโอ มีการทำสื่อ ก็ทำได้เท่าที่สติปัญญาของนักศึกษาจบใหม่ทำได้ กระท่อนกระแท่นไม่สมบูรณ์นัก อย่างนี้แหละข้อมูล เป็นอย่างที่กล่าวนี้จำนวนมากซึ่งไม่ค่อยมีคุณภาพเชิงวิชาการ นอกจากนี้พวกสื่อทางเลือกทั้งหลายมักจะละเลยวิธีการทำการตลาดที่ทำให้เกิดความน่าสนใจ อันนี้ถือว่าเป็นเรื่องของความไม่เข้าใจกลไกของการทำให้มันเกิดผลกระทบ ถ้าเกิดเราขาดวิธีการด้านการตลาด สิ่งที่เราพูดไปมักไร้ความหมาย สิ่งที่เราทำไปมักเหนื่อยฟรี พอทำการตลาดไม่เป็น ยุทธวิธีของเราก็เป็นรอง เราไม่สามารถที่จะเบียดแทรกเข้าไปในสื่อกระแสหลักที่จะกระจายข่าวให้ทุกคนรับรู้ในประเด็นปัญหาต่างๆ ได้

อันดับที่หก องค์กรทางเลือกถูกแทรกซึม รัฐเริ่มมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนา รัฐเริ่มดูดคนจากองค์กรต่างๆ เหล่านี้เข้าไปในระบบ มีการถูกแทรกซึม มีการเปลี่ยนความคิด เราลองสังเกตก็แล้วกันว่า ทุกวันนี้มีเอ็นจีโอหลายคนที่ถูกดูดเข้าไปเป็น สว. เป็นอะไรบ้าง แล้วพยายามที่จะไปต่อสู้ ซึ่งผมเห็นว่าแพ้และแย่ส่วนใหญ่

อันดับที่เจ็ด คือ Politics without Principle (เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ) บางคนอาจเคยเป็นพวกหัวก้าวหน้าเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่ตอนนี้ตามอะไรไม่ทัน แล้วไปให้การสนับสนุนพวกอมาตยาธิปไตยอะไรต่างๆ

เหล่านี้คือจุดอ่อนทั้งหมดที่รวบรวมมาเสนอ เพื่อที่จะทำให้เข้าใจว่า รัฐไทยภายใต้เงื่อนไขการครอบงำ หรืออำนาจนำที่มาจากสังคมโลกาภิวัตน์เป็นอย่างไร? มีลักษณะที่เป็นจักรวรรดิอย่างไร? และมีลักษณะครอบงำสังคมที่เป็นสังคมไทยอย่างไร? และเราจะต่อสู้กับกระบวนการเหล่านี้อย่างไร? เราถูกผลิตซ้ำเชิงอุดมการณ์แบบไหน? รวมไปถึงจุดอ่อนของกลุ่มทางเลือกที่ ณ วันนี้ เรียกว่ายังอ่อนอยู่ ผมคงจะใช้เวลานำเสนอเพียงเท่านี้ และหลังจากนี้ก็อาจจะคุยกันต่อ หากสนใจ

ช่วงถาม-ตอบ
เดือนทะเล เมื่อสักครู่จากการที่ฟังอาจารย์พูดถึงเรื่องการผลิตซ้ำอุดมการณ์ต่างๆ อย่างสถาบันครอบครัว ก็อยากให้อาจารย์ช่วยขยายความนิดหนึ่งว่า ครอบครัวนี้มันผลิตซ้ำมันอย่างไร?

อ.สมเกียรติ ผมยกตัวอย่างเช่นอุดมการณ์ชาติซึ่งถูกปลูกฝังมาจากครอบครัว จากโรงเรียนว่า"ชาติ"คือแบบนี้ เช่นให้นึกในใจว่า"ชาติ"ของคุณคืออะไร? คุณนึกเลย สิ่งที่คุณนึกมาจากการผลิตซ้ำเพราะคุณไม่ได้คิดเอง ชาติของคุณอาจเป็นธงชาติ แผนที่ประเทศไทย เหนือสุดคือแม่สาย ใต้สุดคือสุไหงโกลกหรืออะไรก็แล้วแต่ นี้แหละคือชาติ ซึ่งไม่มีคน นี้คือชาติและเราจะไปตายเพื่อชาติคือธงชาติของเรา และดินแดนเหนือสุดที่ตลอดปีนี้เรายังไม่ได้ไปเหยียบเลย สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดคือการพยายามที่จะสร้างอุดมการณ์ต่างๆ ขึ้นมา ผ่านสื่อ ผ่านหน้าหนังสือเรียน ผ่านอะไรต่างๆ

ครอบครัวคือสถาบันของการปลูกฝังความคิดพื้นฐาน เช่น ความดี ความชั่ว ความเป็นชาติ ความเป็นสถาบันหลักของสังคมไทยมีกี่สถาบัน ครอบครัวบอกเราหมดก่อนคุณอายุ 5 ขวบ แล้วคุณก็มาถูกตอกย้ำในโรงเรียนอีก ว่าชาติเป็นแบบนี้ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแบบนี้ สถาบันทหารเป็นแบบโน้น กรมชลประทานทำอย่างนั้น กรมวิชาการการเกษตรทำแบบนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมทำเรื่องนั้น กระทรวงท่องเที่ยวทำเรื่องโน้น พูดอย่างนี้ทุกวัน กระบวนการทั้งหมดเรียกว่า"การผลิตซ้ำเชิงอุดมการณ์ณ์" เป็นกระบวนการที่เขาเรียกว่า ขบวนการสังคมประกิต หรือ Socialization การทำให้เป็นสังคมและเป็นคนเชื่อง คุณไม่ต้องอ่านหนังสือเลย คุณรู้สิ่งที่ผมพูดมาเมื่อสักครู่นี้ทั้งหมด เพราะคุณได้ถูกกรอบผ่านพ่อแม่พี่น้อง ถูกกรอบจากครูในโรงเรียน ถูกบอกโดยอาจารย์ในมหาวิทยาลัย คุณถูกบอกโดยผ่านทางทีวี ไม่มีใครไม่รู้จักสิ่งที่ผมพูด แม้คุณจะอ่านหนังสือไม่ออก นี้คือการผลิตซ้ำผ่านการปฏิบัติการทางวาทกรรม (discursive practice)

เดือนทะเล ตอนแรกที่ฟังเข้าใจว่าเป็นการผลิตซ้ำอุดมการณ์แล้วโยงไปที่เสรีนิยมใหม่ ก็คิดว่า สมมุติในยุคที่พ่อแม่เราเมื่อ 50-60 ปีที่แล้วได้รับอุดมการณ์ที่เรียกว่า baby boom (00:25:08) หรือเปล่า ที่ว่าเขาจะต้องทำงานเพื่อเงิน เงินเพื่องาน เข้าใจว่าอุดมการณ์เหล่านี้ก็ถูกถ่ายทอดมายังลูกหลานรุ่นนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความคิดแบบเสรีนิยม เช่น เราต้องทำงาน ต้องเป็นหมอ เป็นวิศวกร พอสมัยนี้การเป็นหมอ เป็นวิศวกรมันตกไปแล้ว ต้องมาเป็นสื่อ เป็นอะไรตามที่เด็กเลือกกัน(ตอนเอนทรานส์) เป็นนักคอมพิวเตอร์เพราะมีเงินเดือนเยอะ ส่วนอุดมการณ์ทางด้านการเมืองก็เช่นเลือกฉันซิ ฉันเป็นตัวแทน หรืออีกด้านหนึ่งก็เป็นประชาธิปไตยเชิงเดี่ยว เชิงลึก หรือที่เขาเรียกว่า Dialogue Democracy(00:25:52) ใช่ไหมค่ะ คำนี้เอามาจาก อ.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร อันนี้เข้าใจถูกไหมคะในเรื่องการผลิตซ้ำ

อ.สมเกียรติ การผลิตซ้ำในเชิงอุดมการณ์เปลี่ยนไปตามกาลเวลา อย่างในช่วง"งานคือเงิน เงินคืองาน" อยู่ในช่วงสมัยจอมพลสฤษดิ์ (ธนะรัตน์) ใครที่โตพอหรืออายุเท่าผม ถ้าคุณไปที่กรุงเทพฯ มีผ้าบังแดดหน้าร้านค้า เขียนว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" อันนี้ก็เป็นอุดมการณ์หรือการผลิตซ้ำอุดมการณ์ที่ผ่านการปฎิบัติ เป็นตัวหนังสืออยู่บนผ้าใบบังแดดบ้าง ป้ายรณรงค์ต่างๆ บ้าง พอยุคสมัยเปลี่ยนไป ปัจจุบันมันก็แปรลักษณะใหม่ขึ้นมาอีก ก็คือ แต่ละสังคมจะมีการผลิตซ้ำอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน อย่างในสังคมอเมริกันเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์แต่วัยรุ่นเป็นเรื่องปรกติ อันนี้ก็เป็นการผลิตซ้ำอุดมการณ์ของเสรีนิยมอีกชนิด ซึ่งคนไทยก็มีอีกชุดหนึ่ง การทำแบบที่เรียกว่า Socialization หรือสังคมประกิต เป็นลักษณะของวัฒนธรรมไหนวัฒนธรรมนั้น อุดมการณ์ไหนอุดมการณ์นั้นมันเปลี่ยนอยู่ตลอด ซึ่งในแต่ละวัฒนธรรมก็มีอัตลักษณ์ของตนเอง เช่น เรื่องนี้เป็นเรื่องปรกติ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่วัยรุ่น แต่ของเราไม่ใช่ หรือพระธิเบตแต่งงานได้ พระไทยแต่งงานไม่ได้ เราเห็นภาพ Yab-Yum คือภาพพระโพธิสัตว์กับศักติของพระองค์สวมกอดและสังวาสกัน เราอาจรู้สึกว่าดูลามก อย่างนี้เป็นเรื่องคนละชุดความคิดกับศาสนาพุทธของเรา เป็นต้น

เดือนทะเล จากที่อาจารย์นำเสนอถึงจุดอ่อนซึ่งบอกว่า มันขาดความรู้ในเชิงลึก ขาดข้อมูลวิชาการบางอย่าง หรือข้อมูลทางวิชาการยังไม่แน่น ก็เลยคิดว่าเพราะปัญหาบางอย่างมันเป็นปัญหาใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น ใหม่เกินกว่าที่เราจะเอาข้อมูลเดิมมาใช้ เช่น เพิ่งมีทักษิณในยุคของเรา มีคนกล้าไม่จ่ายภาษี 7 ล้าน แล้วมีคนไปเห็น อย่างนี้ มันจึงเป็นไปได้ไหมว่าความรู้มันต้องขึ้นมาประสบนะจุดนั้น หรือมันต้องสั่งสมอะไรมากว่าจะมารู้ตรงนี้

อ.สมเกียรติ แล้วเราจะทำอย่างไร? คือหมายความว่าพอมันใหม่ เราก็เลยยอมจำนนกับความใหม่นั้นแล้วก็ยอมให้เขาตักตวงผลประโยชน์จากเราหรือ คำถามง่ายๆ ก็คือว่าเมื่อมันใหม่เราต้องตามให้ทัน ผมคิดว่านักวิชาการที่เคยเตือนเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำก่อนปี 40 ที่ผ่านมา มีคนเขียนแต่ไม่มีคนดึงเอามาใช้. ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เคยวิจารณ์เอาไว้ก่อนปี 40 ว่า จะเกิดเหตุการณ์วิกฤตฟองสบู่แตกของประเทศไทย โดยสังเกตจากแม่ค้าหาบเร่ที่สนามหลวงที่อยู่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์สังเกตแม่ค้าขายกล้วยแขกก่อนไปลงเรือที่ท่าช้าง อาจารย์เขียนเตือนไว้ใน นสพ.ผู้จัดการตอนนั้นไม่มีใครสนใจ เหตุผลของเราก็คือว่า เราไม่ติดตามข้อมูลที่น่าสนใจหรือข้อมูลที่มีนัยะสำคัญ ณ วันนั้นสิ่งที่ อ.รังสรรค์พูดเป็นการ predict หลายๆ อย่างไว้แล้วว่า จะเกิดเหตุการณ์ฟองสบู่แตก แต่เราไม่สนใจข้อมูลที่มีนัยยะสำคัญ เราไปจับประเด็นอื่น

ปัจจุบันในประเทศไทย เท่าที่สังเกตส่วนใหญ่เราบริโภคงานวิชาการไม่มากพอ ไม่ลึกพอ ไม่กว้างพอ แล้วไม่รู้ว่าใครเป็นคนสำคัญ ปัจจุบันนักศึกษาที่เรียนคณะเศรษฐศาสตร์ มีใครรู้จัก ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ บ้าง ผมว่ารู้จักน้อย แต่เป็นคนสำคัญจำเป็นต้องอ่าน ไม่อ่านไม่ได้ เราควรจะรู้ว่า ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เสนอเรื่อง Washington Consensus มาเป็น 10 ปีแล้ว สิ่งที่ ศ.รังสรรค์ เสนอต่อมาสำหรับประเทศไทยคือ "ฉันทามติรัตนโกสินทร์" (Ratanakosin Consensus) คิดว่าจริงๆ ส่วนใหญ่ของกลุ่มทางเลือกต่างๆ นี้ "ปฏิบัติมาก แต่รู้น้อย" เลยตกหลุมพรางทางเลือก

ถ้าปราศจากหลักคิด หลักปฏิบัติคุณจะห่วย ถ้าคุณมีหลักคิด หลักปฏิบัติคุณจะดี แต่ผมคิดว่าที่เราพูดเรื่องหลุมพรางทางเลือกได้ก็เพราะว่า เราปฏิบัติมาก เราทำกิจกรรมมาก เราไม่ประสานกับใคร และเรารู้น้อย เราก็จัดการแบบความรู้น้อยๆ ของเรานี้แหละ แล้วก็ตกหลุมพร้อมๆ กัน แย่จริงๆ มีข้อเสนอไหมสำหรับทางออกเหล่านี้ อาจมีคนคิดแย้งไปทั้งหมดจากที่ผมพูดวันนี้ ก็คือ การทำความเข้าใจให้มันถึงระดับโครงสร้าง อันนี้บอกว่าขาดการประสานงาน คุณเริ่มคิดถึงปัญหาคนอื่นมากกว่าตัวคุณหรือยัง เช่น แรงงานพร้อมจะเรียนรู้และเข้าใจเกษตรกรที่ถูกเอาเปรียบเหมือนคุณอย่างไรหรือยัง คนงานปกคอขาว นอกจากจะทำบัญชี ยุ่งกับเรื่องตัวเลข ยุ่งกับเรื่องงานบริการในสำนักงานแล้ว คุณอ่านหนังสืออะไรอีก หรือคุณอาจจะอ่านเรื่องของ Dale Carnegie (*) "วิธีชนะมิตรและจูงใจคน" เพื่อที่จะเอาชนะในสำนักงานของคุณ ลูกค้าของคุณแค่นั้น หรือวิธีบริหารงานแบบผู้จัดการแค่นั้นหรือก็คือว่าคุณประสานงานกันมากน้อยแค่ไหม รู้จักคนอื่นมากขึ้นไหม ลดระยะห่างระหว่างคุณกับปัญหาสังคมมากน้อยแค่ไหน?

(*) Dale Breckenridge Carnegie (November 24, 1888 - November 1, 1955) was an American writer and lecturer and the developer of famous courses in self-improvement, salesmanship, corporate training, public speaking and interpersonal skills. Born in poverty on a farm in Missouri, he was the author of How to Win Friends and Influence People, first published in 1936, a massive bestseller that remains popular today. He also wrote a biography of Abraham Lincoln, titled Lincoln the Unknown, as well as several other books.

เดือนทะเล มีคำถามจากข้างล่างว่า ศิลปะกระแสหลักและศิลปะทางเลือกมีอยู่หรือไม่ อย่างไร?

อ.สมเกียรติ มีเต็มไปหมด ผมกำลังบอกว่าหอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่นี้ ไม่ควรเป็นโบสถ์คริสต์เตียนอย่างเดียว แต่ควรเป็นวิหารพุทธด้วย ผมพูดในเชิงอุปมาอุปไมยหมายความว่า ทุน 50 ล้าน ณ วันที่หอศิลป์หรือโรงละครแห่งนี้สร้างเสร็จ จะไม่ไปเป็นตัวแทนของโบสถ์คริสต์เตียนหรือทำให้คน Caucasian ผิวขาวเอางานมาแสดงในประเทศไทยอย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรที่จะให้ศิลปะชาติพันธุ์ ศิลปะที่เคยถูกกดทับ ศิลปะของคนด้อยโอกาส ศิลปะของกลุ่มผู้หญิง ศิลปะของกลุ่มเพศที่สาม ศิลปะของสล่าล้านนาได้มีโอกาสใช้พื้นที่เหล่านี้ด้วยอย่างเท่าเทียมและมีศักดิ์ศรี ถามว่ากระแสหลักกระแสรองมีอยู่ตลอดเวลา แต่มีอีกระแสหนึ่งถูกกลบ ถูกกดทับอยู่ตลอด ถูกปราบ และไม่ถูกพูดถึงอย่างนี้เป็นต้น

ตามความเห็น คุณต้องแทรกเข้าไปในระบบ Thesis ปัจจุบัน คืออุดมการณ์กระแสหลัก อุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ที่กำลังเข้ามาครอบงำสังคมไทยด้วยการ Anti-Thesis คือพวกกระแสรองหรือทางเลือกต่างๆ Synthesis คือการเอาทางเลือกแทรกเข้าไปในกระแสหลักในแบบสังเคราะห์ เราจะต้องเอาแนวคิดแบบทางเลือกใส่เข้าไปในระบบ

คำถามจากข้างล่าง ผมสังเกตว่าวิธีการของสื่อ หรือแม้แต่ตัวกระแสทางเลือกเองที่จะให้ข้อมูลในลักษณะที่ทำให้เรากลัวในปัญหาหรือปรากฏการณ์ต่างๆ อาจารย์คิดว่าวิธีการแบบนี้เป็นยุทธศาสตร์หรือเป็นทางที่จะต้องเป็นไป เพราะว่าเรื่องดีๆ คนไม่ค่อยจะตื่นตัว แต่พอเรื่องน่ากลัวคนก็จะตระหนก และมีข้อมูลว่าคนอเมริกันบริโภคสื่อแบบมีความกลัวกันมาก เหล่านี้เป็นยุทธวิธีที่ควรทำหรือเป็นทางเดียวที่จะต้องเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูล เพราะว่าเรื่องดีๆ คนไม่ค่อยจะตื่นตัวแล้ว

อ.สมเกียรติ ยุทธวิธีหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเชื่องก็คือ การทำให้เขากลัว วิธีการเหล่านี้ถูกปลูกฝังตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน คุณมาสายหลังแปดโมงเคารพธงชาติ ก็จะมีอาจารย์ฝ่ายปกครองมารอหน้าประตูโรงเรียน ถ้าคุณเข้าแถวไม่ทันก็ต้องยืนอยู่ตรงนั้น 5 นาที หรือถ้าคุณมาไม่ทันครึ่งชั่วโมงจะมีคนสังเกตเห็นคุณอีกและถูกตี พอเด็กนักเรียนชายไว้ผมยาวเกิน 3 เซนติเมตรก็จัดการตัดผมคุณโดยไม่ต้องขออนุญาต คุณเติบโตมากับอำนาจแบบนี้ พอมาถึงมหาวิทยาลัยซึ่งไม่มีการลงโทษด้วยไม่เรียว แต่ถ้าคุณไม่ปฏิบัติตามกฎก็ไม่ให้คุณเข้าชั้นเรียน คุณไม่ทำตามที่เขาบอกคุณก็ไม่จบ คือทุกอย่างมันมีวินัยบังคับเราเป็นลำดับ จากระดับตักเตือนไปจนไปถึงขั้นรุนแรง แล้วเราก็โตมากับความรุนแรงแบบนี้ โตมากับหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่มีกำนันคนหนึ่งถือหัวคนแล้วได้แหวนทอง แหวนเพชร จากกระทรวงมหาดไทย นี่คือสังคมที่บ้าและรุนแรง แล้วไม่มีการเซนเซอร์ภาพเหล่านี้ นี่คือความรุนแรงที่ถูกสั่งสมเพื่อความมีวินัย ผ่านการสร้างความกลัวต่างๆ ซึ่งเราต้องหลุดพ้นจากคำสาปเหล่านี้ เราต้องไปให้พ้น แล้วคุณต้องอยู่ในที่สว่าง ถ้าคุณจะต่อสู้ ต่อสู้ในที่สว่างเสมอ ผมคิดว่านี่เป็นวิธีหรือเป็นอะไรที่เราต้องค่อยๆ ทำ แล้วจะสำเร็จหรือไม่ ซึ่งการต่อสู้แบบนี้กว่าที่จะถูกปลูกฝังลัทธิอำนาจนิยมก็ใช้เวลาเป็นร้อยปี เวลาใช้ในการต่อสู้ก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยไปกว่ากัน

คุณเดือนทะเล ถามว่า อำนาจที่มากดทับเราซึ่งเป็นอำนาจจากการเมือง ถ้ามองกลับไปในชนเผ่าที่มีประเพณีบางอย่างที่ถือว่าเป็นอำนาจที่กดทับเขาอยู่ แต่ถ้ามองในแง่ดีก็อาจมองได้ว่าเป็นการควบคุมทางสังคม สำหรับอำนาจสองตัวนี้มาลดทอนอำนาจการเป็นมนุษย์ของเรา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร หรือจริงๆ แล้วเป็นสิ่งเดียวกันแต่เรามองกันคนละด้านจากความรู้สึก สมมติว่าในเรื่องของ gender ของชนเผ่าว่า ผู้ชายของเผ่าลีซอมีภรรยาได้หลายคน กล่าวคือเป็นการกดทับเพศหญิงที่ไม่สามารถมีสิทธิตรงนี้ได้ แต่ในคำอธิบายกล่าวไว้ว่า เกิดจากการเกรงกลัวว่าจะไม่มีการสืบทอดเชื้อสายเผ่าพันธุ์ จึงต้องมีกฎเกณฑ์นี้เพื่อให้ผู้ชายมีภรรยาได้หลายๆ คน

อ.สมเกียรติ กรณีของภรรยา 4 คนกับสามีคนเดียวนั้นมีคำอธิบายอยู่หลายชุด เช่น ผู้ชายเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตมานาน วิธีการที่ผู้หญิงถูกผลักไปสู่งานที่เรียกว่าเป็น reproduction เป็นงานที่ผลิตซ้ำในครัวเรือนซึ่งมีมานานเป็นร้อยปี แล้วเครื่องมือการผลิตในทางการเกษตรต่าง ๆ อยู่ในมือผู้ชายเช่นกัน ด้วยการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ วิธีการก็คือมีขนบจารีตเข้ามาแก้ไข ให้ผู้หญิงสามารถที่จะมีชีวิตอยู่รอดในครอบครัวได้ ก็คือ ขนบที่ผู้หญิง 4 คนให้ผู้ชายเป็นฝ่ายหาเลี้ยง นี่ก็เป็นคำอธิบายชุดหนึ่ง ถ้าเกิดเป็นกรณีในปัจจุบันก็ไม่จำเป็น เช่นผู้หญิงเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรมหรือเป็นแรงงานในโรงงาน ผู้หญิงเริ่มมีอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นผู้หญิงที่สามารถต่อรองกับสามีได้ เมื่อก่อนถ้าคุณไม่มีอำนาจทางเศรษฐกิจ สามีพูดอะไรคุณต้องถอยอย่างเดียว เพราะการพรากจากกันของชีวิตครอบครัว ผู้หญิงจะได้รับความลำบากมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้ชายเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต แต่ในปัจจุบันถ้าเกิดชาวเขาสามารถมีอำนาจทางเศรษฐกิจ เข้าทำงานในระบบอุตสาหกรรม พวกเธอก็จะต่อรองได้มากขึ้น ในด้านหนึ่งพวกเธอเป็นอิสระมากขึ้น สามารถมีชีวิตเป็นของตัวเองได้ พวกเธอสามารถเลือกแต่งงานกับคนที่พวกเธอรักได้

ต่อไปเงื่อนไขที่คุณพูดมาอยู่อันหนึ่งเป็นของทิเบต เช่น ผู้ชายในทิเบตที่บวชเป็นพระ หมายถึงหนึ่งครอบครัวต้องส่งไปบวชในวัดของชาวทิเบต ฉะนั้นถ้าเกิดมีผู้ชาย 2 คน คนหนึ่งต้องไปเป็นพระแล้ว อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้สืบตระกูลจำเป็นต้องมีภรรยาหลายคน เพื่อความมั่นใจว่าผู้หญิงคนใดคนหนึ่งจะไม่เป็นหมันและจะสืบตระกูลได้ ซึ่งมีเงื่อนไขในตัวมันเอง ไม่ใช่เป็นความมักมากในกามารมณ์เฉย ๆ แต่มีคำอธิบาย behind the scene หรือมีเบื้องหลังเกี่ยวกับความเชื่อ ซึ่งในที่นี้สะท้อนแนวคิดปิตาธิปไตยไว้ เพราะการสืบสายตระกูลเป็นเรื่องของผู้ชาย มีการสร้าง story ขึ้นมา ต้องค่อยๆ ไปคุ้ยไปแคะสิ่งเหล่านี้ออกมา ปัจจัยและบริบทที่เปลี่ยนไป ณ วันนี้ ขนบจารีตแบบนั้นก็เปลี่ยนได้ ไม่ใช่หมายถึงต้องศักดิ์สิทธิ์ต้องอยู่ตลอดเวลา ถ้าเปลี่ยนได้ก็เพราะบริบทหรือความจำเป็นมันหมดไปก็เปลี่ยนได้. ปัจจุบันเราเรียนรู้เรื่องสิทธิสตรี หลายคนเห็นว่าไม่ชอบธรรมก็ต้องต่อสู้ ไม่มีอะไรที่เราต้องทำเหมือนบรรพบุรุษไปทุกอย่าง ทำไมคนที่อยู่ในถ้ำเราต้องทำแบบเขา เพลโต้พูดถึงเรื่องมนุษย์ถ้ำ มีคนเคยเดินออกไปนอกถ้ำ แล้วบอกว่ามันกว้างใหญ่ สว่างกว่า คุณก็มีโอกาสเลือก คนที่อยู่นอกถ้ำเล่าให้คุณฟังกับคนที่อยู่ในถ้ำเล่าให้คุณฟัง คุณก็ตัดสินใจว่าจะอยู่ในถ้ำหรืออยู่นอกถ้ำ

คำถามจากผู้ฟัง เมื่อฟังอาจารย์แล้วทำให้นึกถึงว่า จริงๆ แล้วคนเราเป็นอิสระเสรี เมื่อเกิดขึ้นมาไม่ต้องคิดว่าคนนี้คือพ่อคนนี้คือแม่ เกิดมาแล้ว เดินเป็นแล้วก็จากไปที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ ในขณะเดียวกันความเป็นคนของเรา และความเป็นสังคมจริงๆ เราไม่สามารถเป็นเช่นนั้นได้ เพราะเราไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ตั้งแต่เกิด จึงเกิดบุญคุณอย่างหนึ่งที่ติดอยู่ เรามีบุพการีต่างๆ ความเชื่อว่าชีวิตจริง เราก็ดูคนใกล้ตัวเป็นแบบอย่าง ขณะเดียวกันเชื่อมโยงไปถึงอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของความเป็นกระแสหลักกระแสรองที่อาจารย์ได้พูดไว้ว่า กระแสรองที่จะไปคัดค้านอำนาจของกระแสหลักได้ก็คือ เข้าใจในคุณสมบัติหรือโครงสร้าง ก็คือให้รู้ถึงโครงสร้างหรือว่าความเป็นมา และมีการประสานกันและเข้าใจในบริบทที่คนอื่นเป็น

กับอีกอันหนึ่งคือ ถ้ากระแสรองเกิดเข้าใจโครงสร้างเหล่านี้ขึ้นมาและเข้มแข็ง จะสามารถปรับเปลี่ยนเป็นกระแสหลักได้ พอมีความเป็นกระแสหลัก จะเกิดกระแสที่มาคัดค้านขึ้นมาอีก เพราะผมคิดว่าความแตกต่างของคนมีมาก กับอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องของอำนาจของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่เรามองไปถึงกลุ่มพันธมิตรที่เขาเป็นกลุ่มคนแบบนั้น แล้วเราก็วิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่เขากำลังคัดค้าน แต่ขณะเดียวกันเมื่อเกิดกลุ่มหรือเกิดการแทรกแซงของลัทธิทางเลือกรอง ก็จะทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น แล้วเราจะใช้การอธิบายแบบเดิม ผมคิดว่าคงเป็นไปไม่ได้ แล้วเราจะอธิบายอย่างไรให้สังคมทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจุบันว่าจะใช้ทฤษฎีอะไรในการพูดคุยกัน จะมีทฤษฎีที่เกิดขึ้นมาฉับพลันเพื่อพูดคุยกันในสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือไม่อย่างไร ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ทฤษฎีที่จะมารองรับสิ่งหนึ่งสิ่งใด มีความเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่ แล้วเราจะอธิบายกลุ่มอำนาจที่ถูกคัดค้านอำนาจใหม่ได้อย่างจริงแท้แน่นอนหรือเปล่า

อ.สมเกียรติ คิดว่าคำอธิบายของแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน ผมคงไม่ได้อธิบายเหมือนกับคนอื่น ผมอธิบายเท่าที่มีทรัพยากรที่เป็นต้นทุนทางความคิดในหัว อยู่ที่พวกเราเองว่าคุณเข้าใจในคำอธิบายชุดนี้หรือไม่ คุณเห็นภาพได้มากกว่าคนอื่นไหม คุณมีบริบทที่นำมาร่วมคิดได้รอบด้านมากหรือน้อย คำถามที่ว่า Thesis, Anti- Thesis และ Synthesis หลังจากนั้นมันจะจบหรือไม่ ตอบว่าไม่จบ เพราะมันจะเกิดวงจรแบบนี้ซ้ำอีก เราไม่มี utopia เราไม่เชื่อ Thomas More ครับ สังคมที่สมบูรณ์แบบเหมือน Utopia ไม่มี เพราะในขณะที่อ้างถึงความสมบูรณ์ มันกลับกลายเป็น dystopia (*) ของคนอื่น

(*) dystopia (cacotopia, kakotopia, cackotopia, or anti-utopia) is the vision of a society in which conditions of life are miserable and characterized by poverty, oppression, war, violence, disease, pollution, nuclear fallout and/or the abridgement of human rights, resulting in widespread unhappiness, suffering, and other kinds of pain.

การต่อสู้ที่ได้ชัยชนะ ณ วันนี้ วันหนึ่งอาจกลายเป็นความชั่วร้ายก็ได้ ซึ่งคุณก็ต้อง Anti-Thesis ไปเรื่อย ๆ เป็นวงจร. สังคมที่มีความมั่นคงแบบคริสต์เตียนสมัยกลาง ทำไมหลัง ค.ศ.1400 ถึงเปลี่ยนเป็นยุคเรอเนสซองค์ มันอยู่คงมาถึง 1400 ปี จากศตวรรษที่ 1 ถึง 14 แต่ก็ต้องเปลี่ยนแปลง จริงๆ แล้วก็คือสังคมจะมีมิติของการเริ่มต้น ขยับขยาย เติบใหญ่ และเสื่อมสภาพ ฉะนั้นวงจรนี้ก็เป็นวงจรที่ต้องวิเคราะห์เรื่อยๆ และจัดสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมในส่วนที่คุณคิดว่าจะเอื้อประโยชน์ หรือได้คุณค่ามากที่สุด อย่างการจัดงานแบบนี้ผมคิดว่าก็เป็นคุณค่าหนึ่งในการแลกเปลี่ยน และแต่ละคนก็มีการเสนอเฟรมที่ตนเองมีอยู่มาคุยกัน ถ้าสิ่งที่ผมคุยสามารถทำให้คุณเข้าใจสังคมเชิงโครงสร้างมากขึ้น คิดถึงวิถีทัศน์ใหม่ๆ หรือทางออกก็จะเป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อชีวิต

ประเด็น gender เป็นประเด็นที่ชัดเจนในความเสมอภาคระหว่างหญิง-ชาย หรือการเปิดให้มีเสรีภาพของเพศที่สาม เราไม่ถูกครอบงำโดยแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเรามีเสรีภาพน้อยมาก ในความเป็นเราเรียกว่า"ไทย" มีความคาดหวังเราด้วยว่าเราต้องเป็นแบบนั้น ณ วันนี้ถ้าผมใส่กางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ สวมเสื้อกล้ามแล้วมานั่งพูดตรงนี้ ผมจะหลงเหลือความน่าเชื่อถืออยู่หรือไม่ หรือพลเอกคนหนึ่งบัญชาการรบบนรถถัง พร้อมโบกธงชาติไทย แต่ใส่เสื้อกล้ามและกางเกงในตัวเดียว เป็นไปได้หรือไม่ จริงๆ มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องมาก. คำว่า Subject หรือตัวเรา อันที่จริงแล้วตัวเราเป็นการประกอบสร้างของ subjects จำนวนมาก ถ้าอธิบายแบบ Foucault ตัวเราที่เป็นเสรีจริงเท็จแค่ไหน? แต่เราพยายามจะหลุดจากคำสาปได้อย่างไรเท่านั้นเอง

เทพฤทธิ์ อย่างหลุมพรางทางเลือกจะเป็นไปได้ทั้งทางเลือกหลักและรอง ถ้าผมมองเหมือนกับการกินยาพิษทีละนิด ในตอนที่กินอาจจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม เราจะถอนยาพิษนี้ออกมาทันหรือไม่ สมมติกับคนที่ไม่รู้ เพราะสิ่งที่อาจารย์นำเสนอมาเป็นข้อเสนอสำหรับคนรู้ แต่อย่างชาวบ้านทั่วไปเราจะมีวิธีการบอกเขาอย่างไร

อ.สมเกียรติ คิดว่าต้องมีการแทรกซึม ต้องดูว่าจริงๆ แล้วทุกวันนี้เราดำเนินชีวิตแบบไหน ดำเนินชีวิตตามที่คนไม่กี่คนบัญญัติให้เราเดินตามอย่างนั้นใช่หรือไม่ เรามีเศรษฐกิจแบบนี้ อาจมีจุดเริ่มต้นมาจากอาดัมส์ สมิธ ถ้าคุณเชื่อแบบที่ผมพูด คุณอยู่ในองค์กร คุณก็เอาความคิดหรือโครงสร้างนี้ไปถ่ายทอดต่อ ผมอาจจะพูดภาษาแบบที่ชาวบ้านหรือชาวเขาฟังไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าคุณสามารถสื่อกับชาวเขาได้ พยายามทำให้สิ่งเหล่านี้ง่ายลง simplify โดยการพยายามอุปมาอุปไมยในแบบที่เขารู้เรื่องแล้วถ่ายทอดไป จริงๆ ก็คือว่า เราไม่ควรที่เป็นสังคมแบบอำนาจนำ มีคำว่า hegemony หมายถึงว่า "อำนาจนำ" ทุกสังคมมักจะมีอำนาจนำอย่างใดอย่างหนึ่งในการนำสังคมไปข้างหน้า ผมไม่ไว้วางใจเรื่อง hegemony เพราะว่า การที่คนมีอำนาจนำบอกว่าอันนี้ถูก ผมไม่เชื่อ ผมขอพิสูจน์ ผมขอมีทางเลือกอื่นได้หรือไม่ ก็คือว่าเราไม่ควรเชื่อการครอบงำใดๆ ทุกชนิด แม้แต่สิ่งที่ผมเพิ่งพูดไป ขอให้คุณพิจารณา และตั้งขอสงสัยไว้ก่อน

คุณเดือนทะเล ถ้ามองว่าอำนาจนำเป็นราชาธิปไตย แต่ปัจจุบันเรามองว่าเราหลีกจากราชาธิปไตยมาเป็นเสรีประชาธิปไตย ก็ยังไม่ได้ตอบคำถาม หมายถึงว่าการมีอำนาจนำแล้วกลับกลายเป็นว่าเราพยายามจะหลีกจากราชาธิปไตยมาเป็นเสรีประชาธิปไตย ซึ่งมองเหมือนกับว่า เราแต่ละคนได้ช่วยกัน แต่ท้ายที่สุดก็กลับกลายเปลี่ยนหน้าออกมาเป็นอำนาจนำตัวใหม่

อ.สมเกียรติ อย่างที่ อ.ไชยรัตน์ เจริญศิลป์โอฬาร บอกว่ามี Dialog democracy ผมเห็นด้วยส่วนหนึ่ง แต่ผมกำลังจะบอกว่ามันมี Deliberative democracy (*) แล้วมี participatory democracy มี street democracy มี direct democracy คุณเห็นหรือไม่ว่าประชาธิปไตย ณ วันนี้ที่ครอบงำเราอยู่ ตั้งแต่โรงเรียนจนถึงมหาวิทยาลัยคือ representative democracy เท่านั้น จะแก้ปัญหาอะไรต้องไปแก้ในรัฐสภา พูดแบบนี้ตลอดใช่หรือไม่? ที่เวทีพันธมิตร เขาทำเพราะเขาเชื่อ ซึ่งอย่าเพิ่งไปวิจารณ์อุดมการณ์ ผมคิดว่าพวกเขามีเสรีภาพที่จะทำเช่นนั้น ผมเชื่อใน Deliberative democracy ผมไม่เชื่อในระบอบตัวแทนแบบที่ผมอธิบายไปแล้ว ผมจึงไม่ศรัทธาว่าทำเนียบขาวจะพังวันไหน สิ่งที่ผมเสนอ Deliberative democracy ที่มีโครงสร้างอยู่ 3 อย่างคือ

1. Public space ต้องมีพื้นที่สาธารณะจริงๆ ที่คุณจะถกกันได้อย่างเสรี พื้นที่สาธารณะแบบนี้ไม่ใช่เป็นพื้นที่สาธารณะอยู่ในห้างสรรพสินค้าโลตัส ซึ่งนั่นเป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อประโยชน์ในเชิงธุรกิจ ถ้าคุณไปชูธงแล้วประกาศว่า โลตัสออกไปๆ รปภ.ไล่คุณออกแน่. Public sphere ต้องเป็นพื้นที่ซึ่งคุณจะพูดและถกเถียงในเรื่องที่คุณคิดว่าสำคัญได้ทุกชนิด เช่นอย่าง สนามหลวง

2. Deliberation เป็นเรื่องของการปรึกษาหารือกัน ถกเถียงกัน ต้องเป็นไปในแบบสร้างสรรค์ เคารพในความเห็นต่าง และ

3. Consensus การปรึกษาหารือหรือถกเถียงกันแล้ว ต้องมีข้อสรุปหรือฉันทามติออกมาฉันทามตินั้นไปปฏิบัติ

ผมเชื่อ frame นี้ ฉะนั้นสิ่งที่ผมทำคือเปิดพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้นหรือยุยงให้คนอื่นมีพื้นที่สาธารณะที่เราจะมาเถียงกันแบบสร้างสรรค์ แล้วมีข้อสรุปด้วย อย่าเถียงกันโดยไม่มีข้อสรุป เพราะการเถียงกันโดยไม่มีข้อสรุปนั้นเหมือนการนั่งเก้าอี้โยก ซึ่งให้แต่ความเพลิดเพลินแต่ไม่พาคุณไปถึงไหน คุณต้องมีข้อสรุปที่จะนำไปปฏิบัติตามฉันทามติ อย่าถกเถียงกันเฉย ๆ พอเถียงเสร็จต้องมีการ vote เพื่อได้มาซึ่งความเห็นร่วมกัน ทำไประยะหนึ่งไม่ได้ผล หรือไม่ประสบความสำเร็จก็เปิดพื้นที่สาธารณะใหม่ ปรึกษาหารือกันใหม่ เกิด consensus ใหม่ ทำการแก้ไขและนำไปปฏิบัติ ไม่มีการจบสิ้น ไม่มี utopia เพราะว่า การนึกถึง utopia เป็นการนึกถึงบริบทรอบข้างของเราอย่างหยุดนิ่ง เราไม่ใช่เป็น actor คนเดียวในสังคมนี้ เวทีพันธมิตรไม่ใช่มีแค่ 5 คนแล้วจะมาเปลี่ยนแปลงสังคมนี้ได้ ณ วันนี้ตัวละครที่เปลี่ยนแปลงสังคมไทยมีเป็นจำนวนมาก หนึ่งสถาบันสูงสุด สองทหาร สามนักธุรกิจ สี่นักการเมือง ห้านักวิชาการ หก NGOs เจ็ดชาวบ้าน แปดกลุ่มแรงงานที่กำลังเดือดร้อน เก้าผลกระทบจากภายนอกต่างๆ จากโลกาภิวัตน์ จักรวรรดิ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นตัวแสดงที่มีผลต่อกันและกันและแย่งชิงการนำกันอยู่ตลอดเวลา คุณจะคิดถึง utopia ไม่ได้ เพราะ utopia ของเรา อาจเป็น dystopia ของคนอื่น อีกคนอาจจะไม่พอใจจึงต้องต่อสู้กันบนเวทีสาธารณะ สู้กันจนได้ consensus แล้วทำไป

คำถามจากผู้ฟัง มีสองประเด็นคือ ประเด็นแรกเวลาที่เราพูดถึงกระแสหลัก-กระแสรอง ถึงแม้เราจะใช้คำพวกนี้ เราต้องเข้าใจด้วยว่าเป็นคำที่เต็มไปด้วยอำนาจ เช่นยกตัวอย่าง กรณีของสื่อ สื่อกระแสหลักความจริงคือสื่อกระแสรอง เพราะตามหลักความจริงก็เป็นเพียงแค่สื่อของคนชั้นกลางในเมืองไม่กี่คน เรื่องราวของชาวบ้านแทบไม่มี แต่เขาอ้างว่าฉันเป็นสื่อกระแสหลัก สามารถพูดแทนชาวบ้านทุกคน พูดแทนคนทั้งประเทศ แต่ความจริงแล้วเป็นเพียงสื่อกระแสรอง คนที่ทำสื่อทางเลือกดันเป็นสื่อกระแสหลักเพราะเป็นสื่อของคนส่วนใหญ่ ถึงแม้เราจะใช้คำแบบนั้น แต่ผมก็อยากจะให้คนที่ทำเกี่ยวกับทางเลือกเข้าใจด้วยว่า ถึงแม้ว่าเราจะเป็นคนเล็กคนน้อย เพราะที่ทางในสังคมมีน้อยมาก ความจริงแล้วถ้าเราเชื่อมโยงกับคนอื่นก็จะทำให้เราเห็นภาพว่ายังมีคนแบบนี้อยู่ทั่วโลก ไม่ใช่มีแค่เรา ปัญหาจริงๆ อยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้พลังเหล่านี้ประสานกันได้ ก็ต้องใช้เวลาที่จะสร้างบทเรียนทางสังคมต่อไป

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือคำถามที่คุณแม่ฝากถามมาว่า มีเพื่อนจากอเมริกาโทรมาหาบ่อย ๆ เพื่อชักชวนให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอย่างอื่น แม่ก็รู้สึกดีที่มีคนพูดด้วย แม่อยากจะถามอาจารย์ว่าแม่มีสิทธิเลือกไหมที่จะเชื่อ หรือไม่เชื่อ หรือเลือกที่จะนับถือศาสนาอะไร

อ.สมเกียรติ ตอบคำถามแรกก่อนว่า สื่อกระแสหลักมิใช่หมายถึงปริมาณของคนผลิตจำนวนมาก ไม่เกี่ยวเลย สื่อกระแสหลักคือสื่อที่เข้ามาครอบงำหรือมี hegemony ตอนที่ผมเขียนไปว่าการเมืองแบบชนชั้นสูง ชนชั้นสูงกับชนชั้นกลางใครมากกว่ากัน ก็เห็นชัดว่าชนชั้นสูงมีอยู่หยิบมือเดียว แต่มีอำนาจ ฉะนั้นคำว่าสื่อกระแสหลักกับสื่อกระแสรองต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าไม่ใช่หมายถึงปริมาณของผู้ผลิตหรือผู้บริโภค แต่หมายถึงการชี้นำทางสังคม การกระจายวาทกรรมของตนเองให้ครอบงำสังคมได้ เรียกว่า"สื่อกระแสหลัก" แล้วมีความเป็นระบบ ถ้าพูดตามทฤษฎีสื่อกระแสหลักคือ มีระบบการจัดการแบบเป็นขั้นตอน การจัดการที่มีการแบ่งหน้าที่การทำงาน เช่นคนนั้นทำการตลาด คนนี้พิมพ์ คนโน้นจัดจำหน่าย คนนั้นเขียนเรื่อง คนนี้เป็นบรรณาธิการ อีกคนหาบทความ คนนั้นถ่ายรูป นี่คือการจัดการในรูปขององค์กรที่เป็นระบบแบบกระแสหลัก

ส่วนสื่อกระแสรองคือ คนๆ เดียวอาจทำหนังสือทั้งเล่ม ทำการตลาดเอง หาบทความเอง เขียนบทความเอง ส่งหนังสือเอง จัดจำหน่ายเอง คือทำคนเดียวทุกขั้นตอน เรียกว่าทำเสร็จก็ไปแจกตามปั๊มน้ำมัน ตลาดสด ตามโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ตัวอย่างเช่น หนังสือทำมือ ทำคนเดียว เขียนด้วยมือ ไม่มีการพิมพ์ ไม่มีเครื่องถ่ายสำเนา ต้องไปจ้าง ดังนั้นมันจึงสร้างวาทกรรมใหญ่ไม่ได้ หรือเป็นการเน้นแค่เพียงบางประเด็นเพราะว่า มีคนเขียนคนเดียวก็มีความรู้จำกัด คุณอาจจะรู้แต่เรื่องบางเรื่องดีมาก คุณก็เขียนแต่เรื่องนั้น

คำตอบที่สองก็คือ คนที่มาเชียร์ให้เราเปลี่ยนศาสนา คุณคิดว่าศาสนาเป็นยาบำบัดโรคทางใจให้กับเราได้หรือไม่ ถ้าเป็นยาขนานที่คิดว่ากินแล้วโรคที่มีติดตัวทางจิตวิญญาณคุณหาย คุณก็กินไป พอกินมาระยะหนึ่งแล้วรู้สึกว่าโรคคุณเปลี่ยน คุณป่วยอีกอย่างหนึ่งคุณก็กินยาอีกขนานหนึ่ง เหมือนกับคุณจะยึดถือแนวคิดปรัชญาแบบซ้ายเดิม แบบออร์ธอร์ดอกซ์ หรือว่าคุณจะเป็นซ้ายใหม่ หรือจะเป็น Post Marxist ยาตัวไหนเหมาะกับบริบทนั้นก็หามา เสรีภาพที่จะเชื่อและนับถือศาสนาใดมันได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิเสรีภาพของคุณ คุณควรมี free view ในระดับหนึ่ง และถ้าศาสนาใหม่สามารถรักษาโรคจิตวิญญาณคุณหายได้ ก็ไม่เสียหายที่จะเปลี่ยน

ผมรู้จักคนหนึ่งซึ่งเป็นคนที่พูดติดอ่าง วันๆ ไม่ค่อยมีใครอยากคุยด้วยแม้แต่คนในครอบครัว ด้วยเหตุนี้เวลาที่มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้นมาครั้งใด เขาจึงอยากไปรับโทรศัพท์ และด้วยเหตุผลเดียวกันเขาจึงไปโบสถ์คริสต์และมีความสุขในสถานที่แห่งนั้น เพราะทุกคนดูแลเขา อยากพูดคุยกับเขา เขารับคริสต์เตียนโดยทางบ้านไม่มีใครว่า เพราะเขาได้รับความสุขทางใจ เขาได้ตอบสนองทางจิตวิญญาณ เพราะที่นั่นมีความรัก(compassion)

คำถามจากผู้ฟัง (คุณกบ) อยากถามอาจารย์ในฐานะที่อาจารย์เป็นคนเหยียบเรือสองแคม หมายถึงทั้งกระแสหลักและทางเลือกในระดับที่สูงสุดทั้งสองด้าน อยากทราบว่าอาจารย์จะเลือกอะไรในเมื่อวิกฤติมาถึง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อตอนไปยูนนาน ไกด์พาพวกเราไปร้านขายยาและพยายามจะขายยาให้เราในขณะที่อาจารย์นิธิ หรือสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนก็ซื้อกันไปหลายพันบาท แต่อาจารย์ปฏิเสธอาจารย์บอกว่า ถ้าเกิดผมเป็นอะไรผมเป็นคนของสังคม สังคมจะดูแลผมเอง จึงอยากถามอาจารย์ว่า ถ้าในวันใดวันหนึ่งเกิดวิกฤติจริงๆ ของอาจารย์ อาจารย์ยังเชื่อว่าสังคมจะดูแลอาจารย์อีกหรือไม่ หรือว่าอาจารย์จะใช้สิทธิในฐานะที่เป็นข้าราชการในการดูแลรักษา

อ.สมเกียรติ อันที่จริง ผมพูดประโยคนี้ในเชิงติดตลกแบบอุดมคติเท่านั้น ขอเล่าเรื่องให้ฟังสองเรื่องคือ วันหนึ่งผมจัดให้มีการฉายภาพยนตร์เรื่อง The king and I (Anna and the King) ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชาศิลปวิจารณ์ ที่ผมสอนอยู่ที่คณะวิจิตรศิลป์ มีการเชิญนักวิชาการมาอภิปรายในหัวข้อ "เซนเซอร์ Anna and the King ปีศาจเสรีภาพของ ศิลปะ" ประกอบด้วย นิธิเอียวศรีวงศ์, สมชาย ปรีชาศิลปกุล, สมเกียรติ ตั้งนโม, และอีกคนหนึ่งซึ่งผมจำไม่ได้ จัดเมื่อวันที่ 13 มกราคม 43, คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)[ผู้สนใจสามารถคลิกอ่านได้ที่ http://midnightuniv.tumrai.com/midnightuniv/newpage4.htm] เป็นการอภิปรายบนเวทีก่อนการฉายภาพยนตร์ แต่พอจะฉายจริงๆ เกิดติดเงื่อนไขว่าผิดกฎหมายหรือไม่? แต่อย่างไรก็ตาม วันนั้นก็มีการฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ เพื่อให้นักวิชาการ นักศึกษาที่เรียนอยู่ช่วยกันวิเคราะห์ว่าทำไมหนังเรื่องนี้จึงถูกเซ็นเซอร์

เรื่องต่อมาคือ ตอนที่ไปเยี่ยมเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ไกด์คนจีนได้พาไปร้านขายสมุนไพร มีหลายคนซื้อยาสมุนไพร แต่ผมไม่ และกล่าวกับแพทย์จีนว่า คนจีนเก่งที่สามารถนำทุกของกินทุกอย่างมาทำเป็นยาได้ไม่ใช่หรือ แล้วคุณก็เก่งเรื่องอาหารที่ใช้บำรุงสุขภาพด้วย ดังนั้นจึงขอให้คุณแนะนำผมว่า ผมควรกินอาหารอะไรเพื่อสุขภาพหลังจากจับชีพจรแล้ว เขายิ้มและเดินจากไป. วันที่ไปยูนนานเราถูกจัดโปรแกรมนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปช็อปปิ้ง ดูสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่ากิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ แต่ผมไม่อยากทำอย่างนั้น จึงขอให้ไกด์พาพวกเราไปชมพิพิธภัณฑ์ เขางงมากว่าทำไมมี tourist บ้า ๆ แบบพวกคุณอยากไปดู museum เพราะคนไทยที่มาส่วนใหญ่ชอบซื้อ ชอบเที่ยวแต่ไม่ศึกษา ทว่าพวกเราชอบเรื่องคุณค่าและคุณภาพชีวิต ซึ่งรายการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ไม่มีอยู่ในโปรแกรมทัวร์

ย้อนมาที่ประโยคหรูๆ เรื่อง "คนของสังคม สังคมจะดูแลคุณ" ปัจจุบันในแวดวงสังคมที่ผมสัมผัสเป็นปัจเจก คงไม่มีใครแบกภาระใครไว้ได้นานจนกระทั่งทำให้ชีวิตเขาเสียหาย ยกเว้นคนในครอบครัว. ในบ้านๆ หนึ่ง หากมีคนป่วย บ้านนั้นก็ป่วยทั้งบ้าน แต่สังคมไม่ได้ป่วยไปพร้อมๆ กับบ้านหลังนั้น คุณต้องดูแลกันเอง เช่น อาจจะพาไปหาหมอ สังคมอาจดูแลคุณได้ในระยะหนึ่ง เพื่อนอาจจะมาเยี่ยม เราเป็นสังคมที่เป็นชุมชนน้อยลง แต่เป็นปัจเจกมากขึ้น แล้วสังคมแบบนี้เป็นสังคมที่ถูกสอนตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน วัฒนธรรมการบริโภค อะไรต่าง ๆ ที่อยู่แวดล้อมตัวเรา ฉะนั้นจริงๆ ผมก็คงต้องกลับไปสู่ระบบราชการ คือได้รับการดูแลตามสิทธิหรือสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งผมไม่ปฏิเสธ

การต่อสู้กับอุดมการณ์รัฐชาติแบบโลกาภิวัตน์ สิ่งหนึ่งที่ผมทำคือเรียกร้องเรื่องสวัสดิการ เหมือนกับสวัสดิการราชการนั่นแหละ แต่ให้ระบบนี้ฝังอยู่ในทุกสถาบันและองค์กร จะไม่มีใครอดตายข้างถนน คุณจะไม่ไร้การศึกษา คนในประเทศนี้ต้องมี Social minimum คือมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม เราต้องได้รับการดูแลในระดับนี้ทุกคน เช่น ไม่อดตาย มีการศึกษาพอสมควร และมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย ตัวอย่างเช่น ตอนที่ผมอยู่สวีเดนเดือนหนึ่ง สิ่งที่เห็นคือ คนแก่ที่อยู่ในคอนโดมิเนียมฝั่งตรงข้าม ผมมองเห็นว่า ตอนเช้าจะมีบุรุษพยาบาลมาเช็ดตัวเพราะเขาเป็นอัมพาตนอนอยู่บนเตียง ตอนบ่ายมีคนมาป้อนอาหาร ตอนเย็นมีคนมาเช็ดตัวอีกทีแล้วปิดไฟให้เข้านอน พรุ่งนี้ก็ทำแบบนี้อีก เขาไม่ได้ตายเดียวดาย โลกตะวัตกมีความเป็นปัจเจก ลูกหลานจะมีหรือไม่ หรืออาจไปทำงานที่อื่น แต่รัฐดูแล ผมเชื่อในกรอบนี้

การต่อสู้ของเราก็คือการต่อสู้กับโลกาภิวัฒน์และจักรวรรดิ สิ่งหนึ่งที่เราประสงค์คือ"รัฐสวัสดิการ" ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ

- หนึ่ง รัฐสวัสดิการ โดยการจัดการโดยรัฐอย่างสมบูรณ์
- สอง สังคมสวัสดิการ คือสังคมที่ส่งเสริมให้เกิดสวัสดิการโดยผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ทุกคนต้องได้รับหลักประกันพื้นฐานการดำรงชีวิต ปัจจัยสี่เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเข้าถึง ทุกคนจะต้องเข้าถึงบริษัทประกันได้ ซึ่งรัฐต้องจ่ายค่าประกันให้กับคนจน การมีกฎหมายที่ทำให้การประกันต่างๆ ราคาถูกลง เช่น บังคับเป็นกฎหมายว่าทุกคนต้องทำประกันฯ บริษัทก็จะมีลูกค้า 65 ล้านคน ซึ่งไม่ควรคิดเบี้ยประกันเท่าราคาปัจจุบัน แทนที่เราจะเสียค่าประกันปีละ 10,000 บาท เราอาจเสียเพียงปีละ 600 บาท เพราะฐานลูกค้าคุณกว้างขึ้นด้วยกฎหมาย และถ้าคนจนไม่สามารถจ่ายได้ รัฐจะต้องจ่ายแทน ในส่วนของสวัสดิการด้านอื่นๆ หากเอกชนมีความถนัดอยู่แล้ว รัฐควรให้งบประมาณสนับสนุนโดยไม่ต้องทำเอง นี่คือสังคมสวัสดิการที่ไม่ผลักภาษีไปสู่ชนชั้นกลางให้ไปเลี้ยงคนจน ทุกคนหากรับผิดชอบตนเองได้ต้องรับผิดชอบ ที่รับผิดชอบไม่ไหวรัฐต้องเป็นผู้จ่าย

ขอย้อนมาพูดถึงเรื่องรัฐสวัสดิการในสวีเดน ซึ่งดูแลในเรื่องคุณภาพชีวิตด้วยสำหรับคนจน หรือผู้มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ คนไม่มีงานทำ ฯลฯ ในสวีเดนนั้นจะจ่ายค่าแว่นตา ค่าตั๋วชมภาพยนตร์ หรือละครต่อเดือน เพราะคนจนก็ต้องการมีคุณภาพชีวิตเช่นกัน มิใช่ผลักให้เขาไปอยู่ชายขอบโดยไม่มีโอกาสเพิ่มพูนคุณค่าชีวิตหรือ spiritual ของคนเหล่านี้เลย ฉะนั้นค่าแว่นตาอ่านหนังสือ ค่าตั๋วโรงหนัง - ละคร(ที่ครอบคลุมไปถึงลูก) จึงถูกรวมเข้ามาในเงินสวัสดิการ โลกสมัยใหม่ที่ชุมชนถูกค่านิยมใหม่ทำลาย ควรได้รับการทดแทนในเรื่องสวัสดิการอะไรทำนองนี้ ผมเป็นส่วนผสมของทั้งสองส่วนก็คือว่า ส่วนของการเป็นข้าราชการและการเป็นคนนอก ที่กำลังแทรกซึม

ผู้ฟังด้านล่าง ขอกล่าวเสริม อ.สมเกียรติ ว่า ดิฉันเป็นอาจารย์ท่องเที่ยว จะเล่าว่าทำไมเราถึงขาดการศึกษาวิจัยที่จะไปทำอะไรสักอย่าง ดิฉันเชื่อว่าสังคมไทยยังเป็นสังคมที่ขาดความรู้มากๆ ยกตัวอย่างด้านการท่องเที่ยวว่า เมื่อหลายอาทิตย์ก่อน นายกสมัคร มาเชียงใหม่เพื่อตอบสนองโครงการเก่าๆ ของรัฐบาลทักษิณ จะมาสร้าง Convention Hall ที่สามารถรองรับผู้ฟังได้ถึง 1,300 คน ซึ่งใหญ่มาก แล้วผู้ไปร่วมประกอบด้วย ททท. กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ แต่ไม่เชิญหน่วยงานราชการเข้าไป จากการศึกษาเอกสารที่ประกอบการตัดสินใจก็เป็นเอกสารที่ส่งเสริมให้มีการสร้างห้องประชุม

แต่สำหรับนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวมองว่า เรื่องนี้ขาดการศึกษาวิจัยอย่างไร ง่ายๆ ก็คือ Convention hall ที่จะสร้างนั้นเป็นเงินงบประมาณของรัฐ เป็นเงินที่มาจากภาษีอากรของประชาชน ซึ่งจะเอาไปสร้าง Hall ใหญ่ๆ ที่รองรับคนตั้ง1,300 คน ซึ่งมีการศึกษาเพียงว่า จำนวนคนที่มาเชียงใหม่เพื่อประชุมสัมมนาที่ผ่านมา 5 ปี มีกลุ่มไหนมาใช้ Hall, มาใช้ facility ที่ใช้ทีเดียว 1,300 คน. หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่อยู่ได้เพราะเป็นของรัฐ แต่ถ้าเป็นของเอกชนจะอยู่ได้หรือไม่? ที่สำคัญคือเงินของรัฐ ควรศึกษาดูว่า 5 ปีที่ผ่านมามีคนกลุ่มไหนมาประชุมแล้วใช้ facility แบบไหน ซึ่งคนแต่ละกลุ่มก็ต่างกัน facility ที่ต้องการก็ต่างกันไปด้วย แล้วจะใช้หอประชุมแบบไหนมาตัดสินใจ ไม่มีเลย

แต่เอกชนต้องการให้สร้างเพราะรัฐเป็นผู้จ่าย ถ้าพูดภาษานักท่องเที่ยว Tourist Attraction มาสร้างสินค้าการท่องเที่ยว เอกชนจะได้ประโยชน์จากคนมาพัก มีรายได้เพิ่ม แต่ดิฉันในฐานะคนเสียภาษีไม่ชอบใจ ไม่มีภาคประชาชนหรือใครเข้าไปคัดค้าน คุณสมัคร สุนทรเวช พูดคำเดียวว่า ผู้รับเหมาก็พร้อมแล้ว แบบนี้เรียกว่าขาดการศึกษา ขาดงานวิจัยหรือข้อมูลที่จะไปสนับสนุนอย่างรอบด้านในการตัดสินใจ ซึ่งเป็นตัวอย่างให้เห็นในเชิงการท่องเที่ยวว่าการใช้เงินจากตะวันตกที่ร่ำรวยและสวัสดิการดีก็เพราะรัฐไม่ได้เข้าไปลงทุนให้เอกชน ดิฉันเห็นว่าการสร้าง Convention hall ที่เชียงใหม่ การสร้างสนามบินที่สุวรรณภูมิ ซึ่งมีการถกเถียงกันจนกระทั่งเปลี่ยนรัฐบาล ในประเทศตะวันตกไม่สร้าง รัฐไม่เอาเงินภาษีอากรของประชาชนไปสร้าง สายการบินเอกชนเป็นคนทำ ถ้าทำไม่ดีก็ต้องขาดทุน แต่ของเราเราไปลงทุนแล้วใครได้รับประโยชน์ ผู้ได้รับประโยชน์คือกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม แต่เงินภาษีอากรของประชาชนทั่วไปถูกนำไปใช้ อย่างนี้ดิฉันคิดว่าในประเทศกำลังพัฒนาเราเอาเงินภาษีอากรของราษฎรไปใช้โดยผู้มีอำนาจ ซึ่งประโยชน์ก็เข้ากับคนกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้

ผู้ฟังด้านล่างกล่าวเสริม ผมว่าประเทศไทยทำได้แต่ไม่ทำ คุณดูวัดวาอารามประเทศไทยมีกี่วัด คนที่ไปบริจาคทำบุญ บุญไม่ค่อยเห็นทันตา วัดที่เชียงใหม่ในอดีตจะมีสนามหญ้า ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นที่จอดรถเพื่อเก็บเงินค่าจอดรถ วัดเปลี่ยนเป็นธุรกิจ ถ้าเอาเงินลงทุนมาสร้างโรงพยาบาล สถานศึกษา มหาวิทยาลัย ทำไมทำไม่ได้ เงินเยอะแยะประเทศไทยชอบทำบุญกันอยู่แล้ว แต่ไม่ทำกัน ก็เพราะว่าพวกคนบางกลุ่มเห็นแก่เงิน อย่างวัดก็เหมือนกันครับ เงินทั้งนั้น เรื่องการศึกษาผมขอยกตัวอย่าง ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งให้เรียนฟรีแต่คนไปเรียนกันน้อย ส่วนมากพอจบ ม.6 หรือ High school เขาก็ไปทำงานกัน ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีบุคลากรที่จบมหาวิทยาลัยน้อยที่สุดในโลก เป็นปัญหามากที่สุด ซึ่งมีการถกเถียงกันในรัฐสภาออสเตรเลียว่า เราจะทำอย่างไรให้คนเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย ให้มี degree เหมือนเยอรมัน สวีเดน อังกฤษ นี่ก็เป็นปัญหาอีกด้าน

ผู้ฟังจากด้านล่าง (คุณกบ) กล่าวแลกเปลี่ยนและหยอดคำถามเล็กๆ ถึงอาจารย์สมเกียรติว่า อาจารย์พูดถึงการแทรกซึมซึ่งอาจจะได้ผลมากกว่าในเรื่องอื่น อยากแลกเปลี่ยนโดยเล่าตัวอย่างของ ดร.สมบัติ ตาปัญญา ซึ่งอยู่ที่คณะแพทย์ศาสตร์ มช. ที่เราพูดถึง การตีเด็กหรือความกลัว หรือที่เรียกว่า Scare Tactic ที่รัฐใช้ ที่ครูหรือที่ผู้ใหญ่ใช้ในโครงสร้างแห่งความรุนแรงนี้ และทำให้คนสยบยอม. มี discourse หรือวาทกรรมอันหนึ่งคือ "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" มันทำให้คนไทยเชื่อว่าการตีลูกเป็นสิ่งที่ดี อาจารย์สมบัติพยายามที่จะเปลี่ยนวิธีคิดเปลี่ยนวาทกรรมนี้ ด้วยการเดินสายสอนเรื่องเกี่ยวกับ positive discipline (ดูภาคผนวก) ที่เป็นเรื่องของวินัยเชิงบวก อาจารย์ทำหลายปี จนถึงที่ว่าขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นงานของอาจารย์ เพราะว่าปัญหาสังคมปัจจุบันมีความรุนแรงมาก เด็กตีกัน รังแกกันภายในโรงเรียน หรือว่าเรื่องครูตีเด็ก หรือทำร้ายเด็ก ซึ่งมีเยอะแยะมากมายจนกระทั่งกระทรวงหาทางออกไม่ได้ จึงต้องค้นหาคนที่จะมาช่วยดูแลเรื่องนี้

ปรากฏว่าตอนนี้เชิญอาจารย์สมบัติเข้าไป และสอนทั่วทั้งประเทศไทย เพื่อให้ครูเลิกตีเด็กและลดการรังแกกันภายในโรงเรียน ซึ่งจะเล่าให้ฟังว่ากลยุทธ์ในการแทรกซึมเหมือนกับที่อาจารย์บอกว่า วาทกรรมเหล่านี้สร้างมาเป็นร้อยปี ซึ่งต้องใช้เวลานานมากกว่าจะแก้ไขมัน แน่นอนว่าไม่มีฮีโร่ ทุกคนต้องช่วยกันในสังคม แต่ว่าใครจะตระหนักได้ก่อน เราอยากให้สังคมเราเป็นไปอย่างไร แบบไหน และเริ่มกระทำจนกระทั่งคนเห็นคุณค่า ทีนี้ขอพูดถึงที่อาจารย์ว่ามี NGOs หลายคนที่ปัจจุบันไปเป็น สว. หรือกระทั่งเป็น สส. ซึ่งก็เหมือนกับว่าเขาพยายามที่จะใช้กลยุทธ์แทรกซึมเหมือนกัน แต่ทำไมถึงไม่ได้ผล

อ.สมเกียรติ ที่ไม่ได้ผลเพราะอาจไม่เข้าใจในระดับโครงสร้าง ไปที่บรรทัดแรกของเรื่องนี้คือ สว.ที่เข้าไป บางคนมาจากการแต่งตั้งด้วย คุณสามารถยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หลัง 19 กันยาได้อย่างไร คำถามผมง่ายนิดเดียว หลัง 19 กันยายนคือการรัฐประหาร รัฐธรรมนูญนี้เขียนขึ้นมาจากคน 30 คน ที่เป็นนักกฎหมายมหาชนและมาจากองค์กรต่าง ๆ เป็นตัวแทน แต่เกิดขึ้นภายใต้บรรยากาศของการรัฐประหาร มีมาตรา 237 ที่จะจัดการหรือประหารพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม ในขณะเดียวกันก็มีมาตรา 307 ที่จะอภัยโทษในสิ่งที่กลุ่มรัฐประหารกระทำความผิดในฐานะประหารรัฐ คุณยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อไปนั่งเป็น สว. ได้อย่างไร? ผมคิดว่าเป็นการแทรกซึมที่แย่มาก

อันดับแรกก็คือ politic without principle กลับมาที่บรรทัดสุดท้ายที่คานธีบอกว่า "เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ" กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเดียวกับอาจารย์ผู้ใหญ่ที่ด่ารัฐประหาร แต่ไปชื่นชมการรัฐประหารที่เยอรมัน ทำได้อย่างไร? กลุ่มนี้เป็นคนที่ผมปฏิเสธ ผมใช้วิธีแบบพุทธคือ "พรหมทัณฑ์" ไม่ลุกยืน ไม่คำนับ ไม่ให้ความเชื่อถือ จนถึงวันนี้กลุ่มนี้ยอมรับขงจื๊ออีกต่างหาก คุณรู้หรือไม่ว่าขงจื๊อกดขี่ทางเพศขนาดไหน ห้ามก็ไม่ได้ เป็น NGOs ขวาตกขอบ แต่เรียกตัวเองว่าภาคประชาชนอย่างภาคภูมิ เวทีพันธมิตรเป็นเวทีที่ประยุกต์วาทกรรมของกลุ่ม NGOs ได้ฉลาดหลักแหลมมาก เปลี่ยนโจทย์ได้ตลอดเวลา สู่เพื่อชนะแต่ไม่ได้สู้เพื่ออนาคต ไม่ได้สู้เพื่อสังคมไทย คนแบบนี้หรือเรียกว่าแทรกซึม ผมคิดว่าถูกดูด เป็นคนที่ถูกเขาทำ

คุณเดือนทะเล สรุป เราคงพบหลุมพรางแน่นอนถ้าเรามองโลกแบบหยุดนิ่ง แต่เราจะลดโอกาสในการตกหลุมได้ ถ้าเกิดว่าเรามองปัญหาแบบมีกระบวนการ อย่างที่อาจารย์บอกเรามาตั้งแต่แรกว่าทุกปัญหาเป็น Thesis ให้เราทุกคนลองคิดแย้งในแบบ Anti-thesis แล้วท้ายที่สุดก็คือ ตัวเราเองเป็นผู้ชั่งน้ำหนักข้อมูลเหล่านั้น เพื่อจะ synthesis ให้ตัวเอง และ move ไปเรื่อยๆ ขณะนี้เป็นการสมควรแก่เวลา จึงขอขอบพระคุณอาจารย์สมเกียรติมาก และขอบคุณทุกคนที่มาฟัง สำหรับวันพรุ่งนี้ก็คือ เราต้องมาฟังต่อว่าทำไมอาจารย์อานันท์ถึงไม่มีคำตอบ อาจเป็นคำตอบเดียวกับที่อาจารย์สมเกียรติบอกหรือไม่ว่าต้องมี Movement, พรุ่งนี้ขอเชิญติดตามต่อตอนเช้า ในหัวข้อ "โลกใหม่ ใบเดิม"

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาคผนวก:

Positive Discipline
EIGHTEEN WAYS TO AVOID POWER STRUGGLES
By Jane Nelsen

I have never seen a power drunk child without a power drunk adult real close by. Adults need to remove themselves from the power struggle without winning or giving in. Create a win/win environment. HOW? The following suggestions teach children important life skills including self-discipline, responsibility, cooperation and problem-solving skills -- instead of "approval junkie" compliance or rebellion.

1. Decide what you will do. I will read a story after teeth are brushed. I will cook only in a clean kitchen. I will drive only when seat belts are buckled. (I will pull over to the side of the road when children are fighting.)

2. Follow Through The key to this one and all of the following is KINDNESS AND FIRMNESS AT THE SAME TIME. (Pull over to the side of the road without saying a word. Children learn more from kind and firm actions than from words.)

3. Positive Time Out. Create a "nurturing" (not punitive) time out area with your child.

4. Distraction for Young Children and lots of supervision. Punishment decreases brain development. Children are often punished for doing what they are developmentally programmed to do -- explore. (Please read "Positive Discipline for Preschoolers.)

5. Get children involved in the creation of routines (morning, chores, bedtime). Then the routine chart becomes the boss.

6. Ask what and how questions: How will we eat if you don't set the table? What is next on our routine chart? What was our agreement about what happens to toys that aren't picked up? What happened? How do you feel about what happened? What ideas do you have to solve the problem? (This does not work at the time of conflict, nor does it work unless you are truly curious about what you child has to say.)

7. Put the problem on the family meeting agenda and let the kids brainstorm for a solution.
(Chore story, safe deposit box.)

8. Use ten words or less. One is best: Toys. Towels (that may have been left on the bathroom floor). Homework. (Sometimes these words need to be repeated several times.)

9. Get children involved in cooperation. Say, "I can't make you, but I really need your help." (10 words) No words:

10. Use pantomime, charades, or notes. Try a hug to create closeness and trust -- then do something else.

11. Non-verbal signals. These should be planned in advance with the child. An empty plate turned over at the dinner table as a reminder of chores that need to be completed before dinner; a sheet over the television as a reminder that homework needs to be done first or that things need to be picked up in the common areas of the house.

12. Use reflective listening. Stop talking and listen. Try to understand not only what your child is saying, but what she means.

13. Limited choices: Do you want to do your homework before dinner or after dinner. Do you want to set the table or clean up after dinner?

14. Make a "Wheel of Choice" together. Draw a big circle and divide into wedges. Brainstorm lots of solutions to problems. Draw illustrations for each solution. During a conflict, invite child to pick something from the wheel.

15. Create a game: Beat the clock or sing songs while getting chores done.

16. Do it WITH them. You may even want to go to the positive time out area with them.

17. Use your sense of humor: Here comes the tickle monster to get little children who don't pick up their toys. This creates closeness and trust and can be followed by one of the above.

18. BONUS: HUGS! HUGS! HUGS! A hug is often enough to ch
ange the behavior -- theirs and yours.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com