ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ : Release date 21 June 2009 : Copyleft MNU.

เราเกือบไม่สนใจการเมืองเลย ทั้งๆ ที่ยุคนั้นเป็น"สงครามเย็น" มีการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในจีนและอินโดจีน (เหมาเจ๋อตุงและโฮจิมินห์คือ ปีศาจร้าย) มีรัฐประหารกองแลในลาว มีรัฐประหารสังหารโงดินห์เดียมในเวียดนามใต้ มีการลอบสังหารเคนเนดี้ในเท็กซัส และที่สำคัญมีการใช้ ม. 17 ที่ทั้งจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอม สั่งประหารชีวิตผู้คนจำนวนมากด้วยการ"ยิงเป้า" โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมใดๆ ยุคสมัยวัยรุ่นของผม เราถูกสอนให้เชื่อว่าเมืองไทยมี หรือกำลังจะมีการปกครองเป็น"ประชาธิไตยแบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"ผมแทบไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของท่านปรีดี พนมยงค์ในฐานะ มันสมองของคณะราษฎรในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ แทบไม่รู้ว่าท่านเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทย...

H



21-06-2552 (1737)
สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย: รวมสุนทรกถา
รวมสุนทรกถา ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: (ปรีดี พนมยงค์ - รางวัลศรีบูรพา)
กอง บก.มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: รวบรวม

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานรวบรวมชิ้นนี้ได้รับการเก็บรักษาในรูปของสารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา งานวิจัย และการค้นคว้าทางวิชาการสำหรับนักศึกษา
นักวิจัย นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจความรู้ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย

รวมสุนทรกถาบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ประกอบด้วย:
ส่วนที่ ๑. สุนทรกถา ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: ว่าด้วย'ปรีดี พนมยงค์'และความทรงจำที่ขาดตอน
ส่วนที่ ๒. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี ๒๕๕๒
ส่วนที่ ๓. ประกาศเกียรติคุณ "รางวัลศรีบูรพา" ประจำ ๒๕๕๒ แด่ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ภาคผนวก: มองผ่านเลนส์คม - ศรีบูรพา ๒๕๕๒ (นิธินันท์ ยอแสงรัตน์)

เฉพาะในส่วนที่ ๑ กอง บก.ได้ทำหัวข้อย่อยเพิ่มเติม เพื่อสะดวกในการค้นคว้า อ้างอิง
- ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: ชีวประวัติ
- เราเป็นครอบครัวที่อ่านหนังสือ
- เข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เมื่อปี ๒๕๐๓
- เกือบไม่เคยได้ยินชื่อของผู้ประศาสน์การ, แทบไม่สนใจการเมืองเลย
- รู้จักท่านปรีดี พนมยงค์ ก็ต่อเมื่อไป"ชุบตัว"ต่อที่สหรัฐเมริกา
- ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พบท่านปรีดีและครอบครัว
- ขุดแต่ง ฟื้นฟูบูรณะ ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประวัติท่านปรีดี พนมยงค์
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๓๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗.๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย: รวมสุนทรกถา
รวมสุนทรกถา ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: (ปรีดี พนมยงค์ - รางวัลศรีบูรพา)
กอง บก.มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: รวบรวม
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ส่วนที่ ๑. สุนทรกถา ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: ว่าด้วย'ปรีดี พนมยงค์'และความทรงจำที่ขาดตอน

หมายเหตุ: สุนทรกถาโดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ประธานคณะทำงาน Pridi-Phoonsuk E-Library กรรมการอำนวยการจัดงาน 110 ปี รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ 2443- 2543 ในวันเปิดตัวโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (Pridi-Phoonsuk Banomyong E-Library) และเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org) ณ ห้องประชุม 101 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: ชีวประวัติ
ผมเป็นคนบ้านโป่ง ราชบุรี เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2484 พ่อชื่อเชิญ เกษตรศิริ (ชื่อและสกุลเดิม คือเชิง แก่นแก้ว แต่ต้องเปลี่ยนให้ "ทันสมัย" เป็นไปตามนโยบายและรัฐนิยมของรัฐบาลพิบูลสงคราม ประมาณปี 2482-83 พร้อมๆ กับเมื่อ "สยาม" ถูกเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ.2482)

พ่อเป็นคนคลองด่าน (ชื่อเดิมบางเหี้ย สมุทรปราการ) พ่อเข้ากรุง"ชุบตัว"เรียนจบการศึกษาชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนหลวงแรก ๆ ของสยามประเทศ ตอนผมเกิดพ่อเป็นเทศมนตรีที่อำเภอบ้านโป่ง มีร้านค้า"ปืนบ้านโป่ง"และปีนั้นญี่ปุ่นบุก เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือที่เรียกตามญี่ปุ่นและรัฐบาลไทยสมัยนั้นว่า"สงครามมหาเอเชียบูรพา"ทั้งนี้เพื่อขจัดอำนาจของจักรวรรดินิยม/อาณานิคมของฝรั่ง ให้แทนที่ด้วยจักรวรรดิญี่ปุ่นและ"มหาอานาจักรไทย"

แม่ผมชื่อฉวีรัตน์ สกุลเดิมเอี่ยมโอภาส เป็นคนปากน้ำ แม่เป็นหญิงสมัยใหม่หน้าตาดี รักพ่อ รักลูกๆ แม่เรียนหนังสือที่โรงเรียนสมุทรสตรี แล้วเข้ากรุง"ชุบตัว" เรียนโรงเรียนเบญจมราชาลัย ไปต่อจนจบจากโรงเรียนพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แม่เป็นพยาบาลและทำผดุงครรภ์ ครอบครัวผมมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม

เราเป็นครอบครัวที่อ่านหนังสือ
เราเป็นครอบครัวที่อ่านหนังสือ แต่ก็เป็นหนังสือที่เลือกค่ายคือ พ่ออ่าน"สยามรัฐ"และ"ชาวกรุง" แม่อ่าน"ศรีสัปดาห์" และ"สตรีสาร" ขณะที่การอ่านของผมนอกจากการศึกษาในระบบที่โรงเรียนนารีวุฒิและสารสิทธิพิทยาลัยแล้ว ผมยัง"ติด"นิยายของ ป.อินทรปาลิต อย่างงอมแงมไม่ว่าจะเป็น เสือใบ เสือดำ หน้ากากดำ ทาซานน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พล นิกร กิมหงวน ซื้อเก็บไว้หลายร้อยเล่ม

ต่อมาผมก็เข้ามา"ชุบตัว"ในกรุงเทพฯ สมัยนั้นเรียกว่าจังหวัดพระนคร และยังมีจังหวัดธนบุรีคู่กัน สะพานพุทธฯ ยังเปิดและปิดได้ ปีนั้น 2498 ผมอายุ 14 เข้ามาเรียนชั้นมัธยม 4 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ การอ่านของผมก็ขยับมาสู่"คึกฤทธิ์ ปราโมช", "วิลาศ มณีวัต" และที่สำคัญ/ประทับใจอย่างยิ่ง คือ"รงค์ วงษ์สวรรค์" จำได้ว่าแปลกประหลาดดีที่ให้"น้ำค้าง"นางเอกจากโพธาราม "เสียตัว" ตั้งแต่ต้นเรื่อง

หลายท่านคงไม่เชื่อว่าในชีวิตการอ่านครั้งโน้น ผมไม่รู้จัก"เสนีย์ เสาวพงศ์" หรือ"ศรีบูรพา" ทั้งๆ ที่ก็รู้จัก"ก. สุรางคนางค์" รู้ว่าพจมานนั้น แม้จะเป็น "พินิตนันท์" ก่อนจะเป็น "สว่างวงศ์ฯ" เธอก็มีสิทธิเป็นเจ้าของ"บ้านทรายทอง"หาใช่"หม่อมแม่" หรือ"หญิงเล็ก"พวกสว่างวงศ์ไม่ แม้จะเข้าไปครอบครองอยู่นานแสนนาน แต่มรดกตกทอดที่ทำไว้แต่สมัย "เจ้าคุณตา เจ้าคุณปู่", "บ้านทรายทอง" นั้น ก็ต้องตกเป็นของพจมานอยู่วันยังค่ำ (ยังกับเรื่อง"ปราสาทเขาพระวิหาร"หรือ"พื้นที่ทับซ้อน" ยังไงอย่างงั้นแหละ เศร้า )

เข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2503
เมื่อไต่บันไดขึ้นไปศึกษาต่อในคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2503 ผมเลือกเรียนแผนกการทูต สมัยนั้นธรรมศาสตร์ นอกจากจะถูกบังคับเปลี่ยนชื่อจาก มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง หรือ University of Moral and Political Science (UMPS) ให้เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ Thammasat University (TU) เฉยๆ แล้ว ยังถูกบังคับให้เลิกสถานะความเป็น "ตลาดวิชา" อันเป็นแหล่งผลิตกำลังคนเข้าสู่ระบบราชการและธุรกิจแบบเดิม. ธรรมศาสตร์ยุคนั้น ซึ่งมีจอมพลถนอม กิตติขจรเป็นอธิการบดี และมี ดร. อดุล วิเชียรเจริญเป็นเลขาธิการ (ผู้มีอำนาจเกือบสมบูรณ์ในการบริหาร) จึงถูก"พัฒนา"ให้มีความเหมือนกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กล่าวสำหรับคณะรัฐศาสตร์ "สิงห์แดง" ของผมยุคนั้น คือแหล่งผลิตกำลังคนเข้าสู่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศ สมัยนั้นดาวดังคือ วิทย์ รายนานนท์ เพื่อนจอมเชียร์สิงห์แดง มีปรางทิพย์ ทองเจือ เป็นดรัมเมเยอร์ (น่องและขาอ่อนของเธองามเหลือเกิน) สมัยนั้นสมัคร สุนทรเวช คณะนิติฯ ไม้เบื่อไม้เมากับคณะของเรา ก็กำลังดังด้วยคารมโต้วาที และนามปากกา"นายหมอดี" ไม้เบื่อไม้เมากับ ดร. อดุล วิเชียรเจริญ ในขณะที่ชวน หลีกภัย อยู่กับ"งิ้วธรรมศาสตร์"อย่างเงียบๆ

เกือบไม่เคยได้ยินชื่อของผู้ประศาสน์การ, แทบไม่สนใจการเมืองเลย
ความทรงจำของธรรมศาสตร์ในยุค "สายลม แสงแดด และยูงทอง" ของผมนั้น ถูกตัดขาดไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง ทั้งๆ ที่ก่อตั้งมาเพียง 27 ปี ผมเกือบไม่เคยได้ยินชื่อของผู้ประศาสน์การ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง-ปรีดี พนมยงค์ พวกเราเคยคิดเพ้อเจ้อกันว่าผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้คือ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสียด้วยซ้ำไป

ชีวิต 4 ปี ในธรรมศาสตร์ของผม แม้จะสำเร็จการศึกษาโดยสอบได้ที่ 1 เกียรตินิยมดี และรับรางวัลภูมิพลในปี 2506 (สมัยนั้นรางวัลนี้ให้ปีละหนึ่งคนเท่านั้น ให้เฉพาะคณะรัฐศาสตร์) และเริ่มทำงานครั้งแรกที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (6 เดือน) กระทรวงการต่างประเทศ (3 เดือน) ก่อนลาออกไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาในปี 2508 นั้น เต็มไปด้วยความสนุก สุข เล่น เชียร์ และเที่ยวพร้อมๆ กับการหัดสูบบุหรี่ กินเหล้า

เราเกือบไม่สนใจการเมืองเลย ทั้งๆ ที่ยุคนั้นเป็น"สงครามเย็น" มีการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในจีนและอินโดจีน (เหมาเจ๋อตุงและโฮจิมินห์คือ ปีศาจร้าย) มีรัฐประหารกองแลในลาว มีรัฐประหารสังหารโงดินห์เดียมในเวียดนามใต้ มีการลอบสังหารเคนเนดี้ในเท็กซัส และที่สำคัญมีการใช้ ม. 17 ที่ทั้งจอมพลสฤษดิ์-จอมพลถนอม สั่งประหารชีวิตผู้คนจำนวนมากด้วยการ"ยิงเป้า" โดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมใดๆ ยุคสมัยวัยรุ่นของผม เราถูกสอนให้เชื่อว่าเมืองไทยมี หรือกำลังจะมีการปกครองเป็น"ประชาธิไตยแบบไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

ผมแทบไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของท่านปรีดี พนมยงค์ในฐานะมันสมองของคณะราษฎรในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 แทบไม่รู้ว่าท่านเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ที่นำพาประเทศให้รอดพ้นจากการเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงครามเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 และเคยเห็นคำว่า "ผู้ประศาสน์การ" ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองในหนังสือบางเล่มในห้องสมุด (ที่แสนจะเงียบเหงา) ของคณะและมหาวิทยาลัย ที่ผมสำเร็จการศึกษาและมีความผูกพันมาจนถึงทุกวันนี้

ด้านหนึ่งต้องยกให้เป็นความสามารถของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย (ตอนนั้น F. Riggs ได้ทำให้คำว่า Thailand: A Bureaucratic Polity เป็นที่เริ่มรู้จักกันแล้ว และถ้าจำไม่ผิดดูเหมือน อ. พงศ์เพ็ญ ศกุณตราภัย (พ่อตาของ นรม. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) อาจารย์รัฐศาตร์ของผมคนหนึ่ง (ที่แสนหินกระดูกคะแนน) นั่นแหละ ที่นำคำนี้มาแปลเป็นไทยๆ ว่า"อำมาตยาธิปไตย" ทำให้คำแปลว่า"รัฐข้าราชการ"ไม่ติดตลาด)

แม้หลายคนจะเชื่อว่า"อธิปไตย"ของอำมาตย์และระบบราชการนี้ น่าจะเริ่มจากสมัยการปฏิรูปของรัชกาลที่ 5 มาเห็นผลในการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 แต่ผมก็เชื่อว่าที่เริ่มต้นจริงจัง ก็จากการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ของจอมพลผิน ชุณหะวัณ ที่ทำให้จอมพล ป. พิบูลสงครามฟื้นคืนชีพทางการเมืองอีกครั้งหนึ่งเสียมากกว่า และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สืบทอดและ"พัฒนา"ต่อมา ที่สามารถลบเลือนความทรงจำเกี่ยวกับนายปรีดี พนมยงค์ออกไปจนหมดสิ้น

รู้จักท่านปรีดี พนมยงค์ ก็ต่อเมื่อไป"ชุบตัว"ต่อที่สหรัฐเมริกา
ที่น่าประหลาดใจคือ ผมไปรู้จักท่านปรีดี พนมยงค์ ก็ต่อเมื่อไป"ชุบตัว"ต่อที่สหรัฐเมริกา เมื่อผมไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยคอแนลล์นั่นแหละ โดยเริ่มจากการเข้าห้องสมุดไปเจอหนังสือ งานศพนายเสียง พนมยงค์ บิดาของท่านปรีดี ข้างในเล่มมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำนา และหลังจากนั้นก็เริ่มตามงานอื่น ๆ ของท่านปรีดีเรื่อยมา (โดยเฉพาะจากงานของคุณสุพจน์ ด่านตระกูล นักวิชาการเชลยศักดิ์)

จนกระทั่งเมื่อปี 2513 ผมได้ไปเที่ยวปารีส ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ท่านปรีดีได้ย้ายที่พำนักจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งท่านได้ใช้ชีวิตที่นั่นนาน 21 ปีมาพำนักที่กรุงปารีส ประจวบเหมาะกับเป็นเวลาเดียวกับที่มีการฉายภาพยนตร์เรื่อง"พระเจ้าช้างเผือก"ที่ท่านปรีดีเป็นคนเขียนบทและอำนวยการสร้าง นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้พบท่าน และได้นัดสัมภาษณ์ท่านปรีดีหลังจากนั้น

ต้องขอแทรกไว้ด้วยว่า ในเวลานั้นการย้ายที่พำนักของท่านปรีดีจาก "ม่านไม้ไผ่" คือประเทศจีนคอมมิวนิสต์ มาสู่มหานครปารีสนั้น เป็นเรื่องน่าหวาดหวั่นของชนชั้นนำฝ่ายอำมาตยาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง เพราะปารีสเป็นเสมือนสะพานที่จะทำให้การไปมาหาสู่ระหว่างคนไทยกับท่านปรีดีเป็นไปได้ง่ายขึ้น

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พบท่านปรีดีและครอบครัว
บุคคลสำคัญคนแรก ๆ ที่เดินทางไปเยี่ยมคำนับท่านปรีดีและครอบครัว คือ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากนั้น อ.ป๋วย ก็ถูกใส่ร้ายว่าไปรับแผนจากหัวหน้าคอมมิวนิสต์มา เพื่อบ่อนทำลายประเทศไทย และข้อกล่าวหานี้ก็ขึ้นสูงสุดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่รัฐไทยก่อ "อาชญากรรม" กับประชาชน (ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนคนหนุ่มสาวนิสิตและนักศึกษา) ของตนเอง

ในวันที่ผมไปสัมภาษณ์ท่านปรีดีนั้น ผมจำได้แม่นมาก ท่านผู้หญิงพูนศุขเลี้ยงอาหารกลางวันเป็นข้าวคลุกกะปิ ผมจำได้ว่าท่านปรีดีให้สัมภาษณ์แล้วท่านผู้หญิงนั่งอยู่ด้วย เมื่อถามคำถามอะไร ท่านปรีดีก็จะตอบเป็นหลักเป็นฐานในฐานะนักกฎหมาย ท่านผู้หญิงจะเสริมให้ข้อมูลรายละเอียด มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยโดยเฉพาะปี ค.ศ. พ.ศ. และชื่อสกุล (ใครเป็นใคร ลูกเต้าเหล่าใคร แม้แต่คุณป้าสงวน ยืนยง ที่เลี้ยงผมมาที่บ้านซอยสารสินสมัยเรียนสวนกุหลาบฯและธรรมศาสตร์ ท่านก็ทราบว่าเป็นครูโรงเรียนราชินี มาก่อน) ท่านจำได้แม่นยำมาก อัศจรรย์มาก

ในฐานะอาจารย์สอนประวัติศาสตร์ เมื่อคิดกลับไปถึงตอนที่สัมภาษณ์ท่าน ผมไม่เห็นอารมณ์ความเจ็บช้ำ ขุ่น เคืองแค้นของท่านเลย คือท่านจะเล่าเหตุการณ์ตามเนื้อผ้า (แม้แต่เมื่อถูกถามเรื่องกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8) แน่นอนเราก็รู้สึกได้ว่า ท่านทั้งสองเป็นผู้ถูกกระทำ เป็นเหยื่อทางการเมืองที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทยสมัยใหม่ แต่ว่าความรู้สึกโกรธ เกลียด แค้น ไม่ปรากฎ ผมเองก็สัมภาษณ์คนเยอะมาก เห็นอารมณ์ ความโกรธของหลายคนที่สัมภาษณ์ บางคนด่าหรือไม่ก็ด่าฝาก แต่กรณีของสองท่าน เราไม่เห็นสิ่งนั้น เราไม่ได้ยินเลย นี่อาจจะใช่"ผู้ดี"ในความหมายของ"ดอกไม้สด" และใช่"สุภาพบุรุษสุภาพสตรี"ในความหมายของ"ศรีบูรพา"ก็ได้กระมัง

อีก 13 ปี ต่อมา เมื่อมีการเตรียมงานฉลองกึ่งศตวรรษ 50 ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2527 และในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย "ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ผมและคณะได้นัดหมายสัมภาษณ์ท่านเกี่ยวกับการต่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ในเดือนพฤษภาคม 2526 เราได้มีการเตรียมการนัดหมายเป็นอย่างดี แต่กลับกลายเป็นว่าผมต้องไปงานพิธีเผาศพท่านปรีดีซึ่งถึงแก่กรรมในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526

ขุดแต่ง ฟื้นฟูบูรณะ ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประวัติท่านปรีดี พนมยงค์
ผมเคยเขียนไว้ว่าผมนึกอิจฉาท่าน อ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ที่ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ท่านปรีดี ก่อนหน้านั้น ท่านสามารถรับฟังเสียงสนทนาของท่าน อ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา เมื่อปี 2525 ได้. หลังจากนั้นผมก็เป็นส่วนหนึ่งในการ "ขุดแต่ง ฟื้นฟู บูรณะ" ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประวัติท่านปรีดี พนมยงค์ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำหนังสือ จัดงานสัมมนา เสวนาทางวิชาการ การสร้างอนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ การจัดทำนิทรรศการ ฯลฯ

ในกระบวนการ "ขุดแต่ง ฟื้นฟู บูรณะ" ปรีดี พนมยงค์นั้น ถือว่าเป็นงานที่ไม่สิ้นสุด เช่นเดียวกันการต่อสู้ทางความคิดอื่นๆ ที่มีมาตลอดประวัติศาสตร์การเมือง โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของสยามประเทศ ที่มักกีดกันสามัญชนออกจากประวัติศาสตร์ โครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (Pridi-Phoonsuk Banomyong E-Library) และเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org) เป็นอีกหนึ่งความพยามยามในการ "ขุดแต่ง ฟื้นฟู บูรณะ" ปรีดี พนมยงค์ กับประวัติศาสตร์สังคมของบ้านเมืองนี้ขึ้นมา

เว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org)
กล่าวสำหรับท่านรัฐบุรุษอาวุโส ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ท่านเป็นบุคคลตัวอย่างที่มีคุณูปการต่อสังคมและระบอบประชาธิปไตยของไทย มีผลงานที่เป็นงานเขียนของท่าน และงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับท่านอยู่มาก สมควรเผยแพร่ผลงานเหล่านี้ให้แพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน อีกทั้งทางองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ยังได้ประกาศยกย่องท่านให้ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำปี ค.ศ. 2000-2001

เนื่องในวาระครบรอบ 110 ปี ชาตกาลรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ในปี พ.ศ. 2553 คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 110 ปี รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ 2443-2553 มีดำริในการจัดงานเชิดชูเกียรติคุณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานของท่านทั้งสอง โครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (Pridi-Phoonsuk Banomyong E-Library) และเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org) จึงได้เกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งความพยายามในกระบวนการฟื้นฟู บูรณะ ปรีดี พนมยงค์ เพื่อจัดเก็บงานเขียนและโสตทัศนวัสดุของรัฐบุรุษอาวุโส ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี และ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ตลอดจนงานเขียนที่เกี่ยวข้องในรูปอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มผลงาน เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่สนใจ สามารถสืบค้นความรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อีกโสตหนึ่ง

ในส่วนของเว็บไซต์แห่งนี้ เราจะพยายามทำให้เป็นฐานข้อมูลที่สมบูรณ์แบบเท่าที่จะเป็นไปได้ของท่านทั้งสอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานการเขียน ภาพถ่ายและคำบรรยาย ไฟล์เสียง และภาพเคลื่อนไหว บทวิเคราะห์ รวมทั้งเอกสารสำคัญที่เกี่ยวเนื่องของท่านทั้งสอง และจะมีการพัฒนาฐานข้อมูลขึ้นมาเรื่อยๆ. พร้อม ๆ กันไปนั้นเราก็จะมีการจัดทำเว็บไซต์บุคคลสำคัญ "นอก" ประวัติศาสตร์/ความทรงจำของประเทศแห่งนี้อีกจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์, กุหลาบ สายประดิษฐ์, จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นต้น

บัดนี้ได้เวลาของการแนะนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์
ขอเชิญ ทุกท่านรับฟังการเข้าชม และวิธีการสืบค้นข้อมูลได้ ในลำดับต่อไป สวัสดีครับ.

ส่วนที่ ๒. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2552

วันที่ 5 พฤษภาคม 2552 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ หลักสี่ กรุงเทพฯ คณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา มอบ "รางวัลศรีบูรพา" แก่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือเป็นนักเขียน"รางวัลศรีบูรพา" คนที่ 21

รางวัลศรีบูรพา เป็นรางวัลประจำปีที่คณะกรรมการ "กองทุนศรีบูรพา" ได้พิจารณาหารือและลงมติด้วยเสียงข้างมาก เพื่อมอบให้กับบุคคลที่เป็นนักคิดนักเขียน นักแปล กวี หรือนักหนังสือพิมพ์ ที่มีแบบฉบับการใช้ชีวิตที่งดงาม และแบบฉบับการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคมและมนุษยชาติมาอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนอย่างเช่น"ศรีบูรพา", มีผลงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนานไม่น้อยกว่า 30 ปี และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และยังมีชีวิตอยู่

ทั้งนี้ รางวัลศรีบูรพาเป็นรางวัลที่ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 มีการมอบรางวัลในวันที่ 5 พ.ค.ของทุกปีซึ่งเป็นวันนักเขียน โดยครั้งนี้ในช่วงช่วงเช้าและบ่าย สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยได้จัดกิจกรรมเสวนาและอภิปราย รวมถึงการรำลึกถึง รงษ์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้ล่วงลับ จากนั้นจึงมีการมอบรางวัลศรีบูรพาในเวลา 17.00 น. โดยนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ ผู้รับรางวัลประจำปีนี้ เป็นผู้กล่าวสุนทรกถา

สุนทรกถา"ศรีบูรพา-ข้างหลังภาพ-มิตาเกะ-กับข้าพเจ้า"
ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ / ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒

๑. เกริ่นนำ
ท่านนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ท่านประธานกองทุนศรีบูรพา ท่านสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี และสุภาพชน วันนี้ขอใช้สรรพนามแทนตัวว่า"ข้าพเจ้า"เพราะคำนี้"ศรีบูรพา"ใช้ในความหมายของความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะด้วย "คุณวุฒิ-วัยวุฒิ-ชาติวุฒิ" และก็น่าจะขยายรวมถึง"เพศวุฒิ"

ขอขอบคุณคณะกรรมการฯ ที่ให้เกียรติในการประสาทรางวัล "ศรีบูรพา" ให้แก่ข้าพเจ้า ในปีนี้ซึ่งเป็นปีสำคัญมากๆ เพราะเป็นปีที่"ประเทศไทย"มีอายุครบรอบ ๗๐ ปีในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ (เปลี่ยนเมื่อ ๒๔๘๒) ปีนี้ "ศรีบูรพา" ก็ครบรอบ ๑๐๔ ปี (เกิด ๒๔๔๘/๑๙๐๕ สิ้น ๒๕๑๗/๑๙๗๔)

ข้าพเจ้าเคยบ่นกับ "สุจิตต์ วงษ์เทศ"และ"เสถียร จันทิมาธร"ว่าเมื่อไรจะได้รางวัล"ศรีบูรพา"เหมือนนักคิดนักเขียนใหญ่ๆ ทั้งหลายกับเขาสักที คำตอบก็คือว่า "ใจเย็นๆ แล้วก็จะได้เอง" ครับ จริงสิ ก็ไม่นานเกินรอ และก็ต้องขอบอกว่า "ภูมิใจจริงๆ ขอบใจจริงๆ" นี่ก็เหมือนอย่างที่เคยได้เป็นอธิการบดีธรรมศาสตร์นั่นแหละ คิดว่า "เท่ดี" เอาไว้ต่อท้ายชื่อ ซึ่งแต่นี้ต่อไปเบื้องหน้า ข้าพเจ้าก็คงจะลงชื่อและตำแหน่งว่า "ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิบการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา"ครับ

ข้าพเจ้าเป็นคนต่างจังหวัด (บ้านโป่ง ราชบุรี) มาจากครอบครัวอนุรักษ์นิยม เราเป็นครอบครัวที่อ่านหนังสือไม่น้อย แต่ก็เป็นหนังสือที่เลือกค่าย คือ พ่ออ่าน "สยามรัฐ" และ "ชาวกรุง" แม่อ่าน "ศรีสัปดาห์" และ "สตรีสาร" เมื่อข้าพเจ้ายังเยาว์วัยยังไม่ได้เข้ามา "ชุบตัว" ในพระนคร ก็รู้จักแต่เพียง "ป. อินทรปาลิต" พอเข้ากรุงก็ขยับมาสู่ "คึกฤทธิ์ ปราโมช", "วิลาศ มณีวัต" และที่สำคัญ/ประทับใจอย่างยิ่ง คือ "รงค์ วงษ์สวรรค์" จำได้ว่าแปลกประหลาดดีที่ให้"น้ำค้าง"นางเอกจากโพธาราม "เสียตัว" ตั้งแต่ต้นเรื่อง

ท่านสุภาพชน คงไม่ค่อยเชื่อว่าในชีวิตการอ่านครั้งโน้น ข้าพเจ้าไม่รู้จัก"เสนีย์ เสาวพงศ์" หรือ"ศรีบูรพา" ทั้งๆที่ก็รู้จัก "ก. สุรางคนางค์" รู้ว่าพจมานนั้น แม้จะเป็น "พินิตนันท์" ก่อนจะเป็น "สว่างวงศ์ฯ" เธอก็มีสิทธิเป็นเจ้าของ "บ้านทรายทอง"หาใช่ "หม่อมแม่" หรือ "หญิงเล็ก" พวกสว่างวงศ์ไม่ แม้จะเข้าไปครอบครองอยู่นานแสนนาน แต่มรดกตกทอดที่ทำไว้แต่สมัย "เจ้าคุณตา เจ้าคุณปู่" ก็ต้องตกเป็นของพจมานอยู่วันยังค่ำ (ยังกับเรื่อง "ปราสาทเขาพระวิหาร" หรือ "พื้นที่ทับซ้อน" ยังไงอย่างงั้นแหละ เศร้า !)

๒. "ศรีบูรพา-อากาศดำเกิง-ดอกไม้สด"
ข้าพเจ้าเริ่มรู้จัก"ศรีบูรพา"ก็เมื่อกำลังเรียนปริญญาเอกเข้าไปแล้ว ตอนนั้นก็ใกล้ "วันมหาปิติ" ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เข้าไปทุกทีจำได้ว่าเยาวชนคนหนุ่มสาว "รุ่นเดือนตุลา" ทำให้ข้าพเจ้าต้องทำความรู้จักกับ"สาย สีมา" หรือ"นพพรกับคุณหญิงกีรติ" ข้าพเจ้าจำได้ว่านักวรรณกรรมวิจารณ์ นำ "๓ นักเขียนใหญ่" มาวิเคราะห์เปรียบเทียบคือ "ศรีบูรพา", "ดอกไม้สด", และ "อากาศดำเกิง"

ข้าพเจ้าจำได้เลาๆ ว่า รุ่นพ่อรุ่นแม่ (คือ ๙๐ กว่าปีมาแล้ว) จะพูดถึงนวนิยายเช่น "ผู้ดี" หรือ "ชัยชนะของหลวงนฤบาล" ส่วนคนรุ่นข้าพเจ้า (คือ ๖๐/๗๐ ปี หรือ "รุ่นขิงแก่" รุ่นท่านอดีต นรม. สุรยุทธ จุลานนท์ นั่นแหละ) ก็เป็นรุ่นที่คุ้นเคยกับ"อากาศดำเกิง" เพราะต้องอ่านหนังสือนอกเวลาอย่าง"ละครแห่งชีวิต" หรือไม่ก็"ผิวขาวผิวเหลือง"

เมื่อเร็วๆ นี้ข้าพเจ้าตั้งคำถามกับนักศึกษาปี ๑ ที่ท่าพระจันทร์ เยาวชนคนหนุ่มสาววัยเกือบๆ ๒๐ ซึ่งเป็นคนรุ่นที่เกิดมาพร้อมๆ กับการสิ้นสุดของ"สงครามเย็น" และการพังทลายของ"กำแพงเบอร์ลิน" ช่วงปลายทศวรรษ ๑๙๘๐ และต้นทศวรรษ ๑๙๙๐ว่า ประโยคสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิตคุณหญิงกีรติกล่าวว่าอะไร เชื่อไหม นักศึกษา (ส่วนใหญ่หญิง) ไม่เพียงแต่จำได้เท่านั้น ยังท่องได้เกือบทุกคนแถมท่องให้ฟังลั่นห้องเรียนอีกว่า

"ฉันตายโดยปราศจากคนที่รักฉัน
แต่ฉันก็อิ่มใจว่า ฉันมีคนที่ฉันรัก"

แต่พอถามว่ารู้จัก"วิมล"ไหม และรู้ไหมใครพูดประโยคนี้ "แม้การเป็น "ผู้ดี...จะไม่ใช่สิ่งที่ง่ายนัก ...แต่ ... ทุกคน ... ก็มีสิทธิ์ ... ที่จะเป็นไปได้" ปรากฏว่าไม่มีใครตอบได้เลยสรุป สำหรับเยาวชนคนหนุ่มสาว คนรุ่น"รักแห่งสยาม" และ"สะบายดีหลวงพระบาง"นั้น ทั้ง"อากาศดำเกิง" และ"ดอกไม้สด" ทั้ง"วิสูตร" และ"วิมล" หาได้อยู่ในความทรงจำของเขาและเธอไม่

นี่ทำให้ข้าพเจ้าต้องตั้งคำถามว่า"ดอกไม้สด" "อากาศดำเกิง" และ "ศรีบูรพา"ต่างก็เป็นนักคิดนักเขียนใหญ่พอๆ กัน ทั้งสามต่างผลิตงานเขียนที่สะท้อนยุคสมัยนั้นของท่าน ต่างก็เกิดปีเดียวกัน คือ พ.ศ. ๒๔๔๘ หรือ ค.ศ. ๑๙๐๕ คือ ๑๐๔ ปีมาแล้ว แต่ทำไม"ศรีบูรพา"ถูกจำ หรือถูกให้จำ ส่วน"ดอกไม้สด"และ"อากาศดำเกิง"ถูกลืม หรือถูกให้ลืม. แน่นอนส่วนหนึ่งก็คือ ขึ้นอยู่กับว่านวนิยายเล่มไหนถูกกระทรวงศึกษาฯ หยิบขึ้นมาบังคับให้นักเรียนต้องอ่าน ให้ครูต้องนำมาออกข้อสอบ ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าคำอธิบายเพียงแค่ว่าเป็น"หนังสือบังคับ" จะเพียงพอ

ข้าพเจ้าคิดว่า "ความเป็นอมตะ" ของ "ศรีบูรพา" ถึงขนาดต้องมี "รางวัล" ถึงขนาดต้องมีการรำลึกถึงใน "วันนักเขียน"ถึงขนาดว่าต้องตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกเกือบ ๔๐ ครั้ง ถึงขนาด"เปี๊ยก โปสเตอร์" กับ"เชิด ทรงศรี" ต้องนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ (๒๕๒๘ และ ๒๕๔๔) ท้ายสุดเป็น "มิวสิคัล" โดยถกลเกียรติ วีรวรรณ ๒๕๕๒

แต่น่าจะมาจากการที่ "ศรีบูรพา" สะท้อนยุคสมัยของความเปลี่ยนแปลง/ของความขัดแย้งของ "สังคม" ของเราเป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันก็สร้างความบันดาลใจไปสู่ "สังคมใหม่" ที่น่าจะดีกว่านั่นคือการสะท้อนให้เห็น "ความขัดแย้ง" ของ "สังคมเก่า" กับ "สังคมใหม่ สะท้อนอย่างโรแมนติค งดงาม เศร้า อย่างในเรื่อง"ข้างหลังภาพ" แต่ก็อย่างเจ็บปวดและ"มีความหวัง" อย่างใน"แลไปข้างหน้า" กับ"จนกว่าเราจะพบกันอีก"
และตัวของ"ศรีบูรพา"เองก็ต้องตกเป็น "เหยื่อ" ของ "อธรรมแห่งยุคสมัย" ของ "อำมาตยาธิปไตย" ของ "ฟาสซีสต์" ของ "เผด็จการทหาร" ทั้งต้องติดคุก ทั้งต้องไปตายในต่างแดน

ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าตนเอง จะคิดเลยเถิดไปถึงขนาดว่า สังคมไทยที่ "ศรีบูรพา"พยายามสะท้อนออกมาให้เราเห็นและเข้าใจในขณะนั้น อาจจะไม่ต่างกับประโยคทองของ Gramsci นักปรัชญามาร์กซีสต์อิตาลี (1891-1937) ที่ถูกย่ำยีโดยฟาสซิสต์มุสโสลินีที่กล่าวไว้ว่า

The old world is dying away,
and the new world struggles to come forth:
now is the time of monsters.

"โลกเก่า กำลังตายจากไป
แต่โลกใหม่ยังต้องต่อสู้เพื่อให้เกิดขึ้นมาให้ได้
ณ เวลานี้แหละที่ปีศาจอสูรกายก็จะปรากฏ"

ข้าพเจ้าก็เชื่อว่า นี่แหละที่เป็นสาระสำคัญที่ทำให้ "ศรีบูรพา" เป็น "อมตะ" ที่ทำให้ต่างกับนักเขียนรุ่นเดียวกันอีก ๒ ท่านที่กล่าวมา และหากจะศึกษางานของ "ศรีบูรพา" โดยละเอียดเราก็จะเห็นถึงวิวัฒนาการและการพัฒนาของความคิดและการเขียนของท่าน ซึ่งใน "ข้างหลังภาพ" (พ.ศ. ๒๔๘๐) นั้นเป็นยุคสมัยของโรแมนติก แม้จะมีเรื่อง "การปะทะสังสรรค์" กันของ "โลกเก่า" (คุณหญิงกีรติ) กับ "โลกใหม่ (นพพร)แต่ในขณะที่อีก ๒๐ ปีให้หลังทั้ง "จนกว่าเราจะพบกันอีก" (๒๔๙๓) กับ "แลไปข้างหน้า" (๒๔๙๘ และ ๒๕๐๐) ได้พัฒนาไปไกลอีกขั้นหนึ่งแล้ว และ "ศรีบูรพา" ก็กำลังเดินทางทางความคิดของท่านไปสู่ "โลกใหม่" - "สังคมใหม่"

และดังนั้น จึงมีบทกวีนี้:

หยดฝนย้อย หยาดฟ้า มาสู่ดิน
ประมวลสิ้น เป็นมหา สาครใหญ่
แผดเสียงซัด ปฐพี อึงมี่ไป
พลังไหล แรงรุด สุดต้านทาน
อันประชา สามัคคี มีจัดตั้ง
เป็นพลัง แกร่งกล้า มหาศาล
แสนอาวุธ แสนศัตรู หมู่อันธพาล
ไม่อาจต้าน แรงมหา ประชาชน

"สุชาติ สวัสดิ์ศรี บก. บันทึกไว้ในรวมเล่ม"ร้อยนักเขียน ร้อยกวี ร้อยปี ศรีบูรพา" เนื่องในวาระ ๑๐๐ ปี กุหลาบ สายประดิษฐ์ ว่า บั้นปลายชีวิตขณะลี้ภัยอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน"กุหลาบ สายประดิษฐ์" ได้ทราบข่าวชัยชนะของนักศึกษา-ประชาชนในเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ เขารู้สึกประทับใจและสะเทือนใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้แต่งบทกวีชื่อ "พลังประชาชน" ชิ้นนี้ส่งมา... และนี่อาจจะเป็นบทกวีชิ้นสุดท้ายของเขาก็ได้ เพราะต่อจากนั้น อีกประมาณ ๙ เดือนต่อมา กุหลาบ สายประดิษฐ์ ก็ได้ถึงแก่กรรมที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๗ รวมอายุได้ ๖๙ ปี" "ช่างเป็นความตายที่งดงามเสียนี่กระไร"

๓. ตามรอย "ข้างหลังภาพ" ที่ "มิตาเกะ"
เนื่องจากวันนี้เป็นวันดี และสิ่งที่ทางคณะกรรมการฯ ต้องการให้ข้าพเจ้าพูดก็ตั้งชื่อไว้ว่า "สุนทรกถา" ดังนั้น ข้าพเจ้าก็ขอพูดแต่เรื่องที่งดงามอย่างเรื่องของ "ความรัก" ก็แล้วกัน อย่างที่เราทราบกันดีว่า๕ ปีภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕ มีนวนิยายรักที่ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นเล่มหนึ่ง คือ "ข้างหลังภาพ" ของ "ศรีบูรพา" (กุหลาบ สายประดิษฐ์) นางเอก ม.ร.ว.หญิง กีรติ เป็นสตรีสูงศักดิ์ งดงามประหนึ่งดอกฟ้า แต่วัยและเวลาของเธอได้ล่วงเลยไปจนอายุ ๓๕ ปี ส่วนเจ้าคุณสามีก็อายุปาเข้าไป ๕๐ ทั้งคู่กำลัง "ขาลง"ในขณะที่ชายหนุ่มพระเอกนพพร ก็มีอายุเพียง ๒๒ กำลังรุ่งโรจน์ "ขาขึ้น" ศึกษาวิชาธนาคารอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น อนาคตของเขากำลังสดใส และฉากรักของบุคคลทั้งสอง ที่ต่างทั้งวัย และต่างกัน ทั้งฐานะสภาพทางสังคมก็เกิดขึ้นที่ "มิตาเกะ" (MITAKE)

นพพรหลงรักและบูชาคุณหญิงกีรติอย่างบ้าคลั่ง ตามวิสัย "รักครั้งแรก" ของชายหนุ่ม หลายปีต่อมาเขาก็ลืมและเลือนความรู้สึกนั้นไป ในขณะที่คุณหญิงกีรติยังคงประทับใจและฝังแน่นกับความรักครั้งแรกของเธอที่ข้างหลังภาพ "มิตาเกะ" (MITAKE). อย่างที่เรารู้กัน นวนิยายเรื่องนี้จบลงเมื่อคุณหญิงกีรติตายไปด้วยความโศกเศร้าและด้วยวัณโรค (โรคของนางเอก/พระเอกสมัยทศวรรษ ๒๔๗๐-๘๐) เธอทิ้งประโยคอมตะไว้ให้เราต้องท่องจำ

ข้าพเจ้าประทับใจนวนิยายเรื่องนี้มาก จำได้แม้แต่ว่าเมื่อคุณหญิงกีรติพบนพพรครั้งแรกนั้น เธอแต่งชุดสีน้ำเงินมีดอกขาว เธอสวยงามเหลือเกิน และก็ประทับใจต่อฉากรัก ที่นพพรลืมตัวสารภาพรักที่"มิตาเกะ" และ "มิตาเกะ"ก็คือ"ข้างหลังภาพ" ของนวนิยาย ที่เต็มไปด้วยความรักและความเจ็บปวด นี่ก็เป็นที่มาที่ข้าพเจ้าในฐานะของคนที่ถูกคุณยายบ่นว่า "ชีพจรลงเท้า" ตะเกียกตะกาย ไป "มิตาเกะ" ให้จงได้

ครั้งแรกไปกับเพื่อนญี่ปุ่นเมื่อปี ๒๕๒๖ ครั้งหลังพานักคิดนักเขียนหลายคนไปเมื่อปี ๒๕๕๐ (เมื่อครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตของสยามกับญี่ปุ่น ๑๒๐ ปี ระหว่างรัฐบาลของรัชกาลที่ ๕ กับจักรพรรคิเมจิ)

ครั้งแรกปี ๒๕๒๖ นั้นเป็นเดือนตุลาคม ฤดูใบไม้ร่วง อากาศเริ่มหนาว ใบไม้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแดง ข้าพเจ้าโชคดีได้เพื่อนหญิงชาวญี่ปุ่นชื่อคาซึเอะ อิวาโมโต เป็นมัคคุเทศก์กิตติมศักดิ์ นำทางไป"มิตาเกะ" (Mitake). อิวาโมโต ตอนนั้นทำงานอยู่ที่มูลนิธิโตโยต้า เราติดต่อกันมานานจนรู้จักกันดีพอควร เธอเป็นคนญี่ปุ่นที่แข็งขันและเป็นคนที่มีส่วนสำคัญให้นวนิยายไทยหลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น "ข้างหลังภาพ" ของ "ศรีบูรพา" หรือ "ปีศาจ" ของ "เสนีย์ เสาวพงศ์", "สี่แผ่นดิน" ของ "ศึกฤทธิ์ ปราโมช", "จดหมายจากเมืองไทย" ของ "โบตั๋น" ฯลฯ

เราขึ้นรถไฟกันที่สถานีคิซิโจจิ ที่ชานเมืองโตเกียว(ไม่ได้ขึ้นที่สถานีชิงจูกุ ดังคุณหญิงกีรติและนพพรอย่างในเรื่อง) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ค่ารถไฟคนละ 470 เยน ตกเป็นเงินไทยตอนนั้นประมาณ 50 บาท "มิตาเกะ" เป็นเมืองเล็กๆ สถานีรถไฟก็เล็กน่ารัก แบบสถานีรถไฟที่บ้านโป่งหรือโพธาราม เราลงรถไฟที่นั่น วันนั้น อากาศเย็นแต่แดดจ้าเหมาะกับการไปชมฉากรักของ"ศรีบูรพา"เสียนี่กระไร เราขึ้นรถเมล์ต่อเพื่อขึ้นไปบนภูเขา "มิตาเกะ" ที่นั่น เรานั่งรถสายเคเบิล ซึ่งลากเราขึ้นไปไปครึ่งทางเกือบถึงยอดเขา ถามได้ความว่ารถสายเคเบิลนี้สร้างมาก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ "ศรีบูรพา" มิได้เอ่ยถึงไว้ในฉากรักของคุณหญิงกีรติและนพพร

เราค่อยๆ เดินกันต่อเพื่อไปให้ถึงยอดเขา หนทางเดินคดเคี้ยวไปตามไหล่เขามีนักท่องเที่ยวบางตา ทุกอย่างดูสงบ เห็นต้นซีดาขนาดใหญ่อย่างที่"ศรีบูรพา"พูดถึง บางแห่งเป็นต้นเมเปิล ใบกำลังเหลืองเกือบป็นแดงหนทางที่เราเดินไปสงบเงียบ คดเคี้ยว และยังมีสภาพเป็นธรรมชาติที่สุด

อิวาโมโตหันมาพูดกับข้าพเจ้าว่า"คุณคงเข้าใจแล้วใช่ไหมว่า ทำไม"ศรีบูรพา"เลือก"มิตาเกะ"เป็นฉากรักของ "ข้างหลังภาพ". ครับ ข้าพเจ้าต้องพยักหน้าเห็นด้วยเพราะ "มิตาเกะ" งดงามอย่างเรียบๆ เป็นธรรมชาติ เหมาะกับรสนิยมของ "ศรีบูรพา" ไม่หวือหวา หรูหรา และโด่งดังอย่าง "นิกโก" ซึ่งใครๆ ก็รู้จัก ใครๆ ก็ไปเที่ยวแต่ "มิตาเกะ" มีคนญี่ปุ่นที่ไม่รู้จักมากมาย คล้ายเป็นที่ลี้ลับ และมีความเฉพาะเป็นส่วนตัวของคนบางคน

เราไต่เขาตามทางเดินที่คดเคี้ยวไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงประตูเข้าศาลเจ้า"มิตาเกะ" ที่ด้านหน้าประตู มีบ่อน้ำและกระบวย เราตักขึ้นมาดื่ม น้ำเย็นจัด เพราะเป็นน้ำภูเขาและก็ทำความสะอาดมือไม้นิดหน่อย ก่อนเข้าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์. "มิตาเกะ" เป็นศาลเจ้าเล็กๆ ตามแบบศิลปะญี่ปุ่นที่เราเห็นทั่วไป งดงามเป็นระเบียบ และที่สำคัญคือสะอาดมาก เพราะนักบวชประจำศาลขยันทำงานปัดกวาด ไม่เอาแต่ "จำวัด/จำศาล"กันเฉยๆ

ในทัศนะของข้าพเจ้า ศิลปะญี่ปุ่นเก่านับว่าพัฒนาไปสู่ความเป็นสุนทรีสุดยอด แม้จะได้อิทธิพลจีนราชวงศ์ถังมา แต่ก็กลายเป็นญี่ปุ่นไปแล้ว ที่น่าทึ่งมากก็คือการที่คนญี่ปุ่นพัฒนาศิลปะของตนให้เข้ากับธรรมชาติ ด้วยการใช้สีสันและขนาดไม่ฉูดฉาด ไม่อหังการ์ ไม่ท้าทายว่าตนซึ่งเป็นมนุษย์ จะอยู่เหนือธรรมชาติ. ศาล "มิตาเกะ" มีส่วนผสมระหว่างชินโตและพุทธศาสนาพูดง่ายๆ คือ ผสมระหว่างศาสนาเดิมของญี่ปุ่นที่มีเทพเจ้าและการบูชาบรรพบุรุษ กับการถือพระรัตนตรัย

วันนั้น ข้าพเจ้าเดินลงจาก"มิตาเกะ"ด้วยหัวใจที่อิ่มเอิบดีใจที่ได้มาเห็นภาพของ "ข้างหลังภาพ" นึกถึงความรักและความตายอันเจ็บปวดของคุณหญิงกีรติ เธอร่วงโรยไปพร้อมกับระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อเกิดการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ในขณะที่นพพรชายหนุ่มซึ่งเป็น "คนใหม่" กำลังมากับ "สังคมใหม่" เป็นนักเรียนนอกและนายธนาคาร กำลังทำท่าจะมีอนาคตรุ่งโรจน์ทั้งด้านการงานและชีวิตครอบครัว

"ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายใดดอก แต่เป็นภาพชีวิตรักที่สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมและกาลเวลา"
ขอบคุณครับ "ศรีบูรพา" ที่สอนให้ข้าพเจ้า "รักธรรมศาสตร์" "รักประชาชน" และยัง "รักวรรณกรรม" อีกด้วย

ส่วนที่ ๓. ประกาศเกียรติคุณ "รางวัลศรีบูรพา" ประจำ 2552 แด่ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
คณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2552

นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นนักประวัติศาสตร์ นักคิด นักเขียน และครู เกิดเมื่อวันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2484 ที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อจบชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดราชบุรีแล้ว จึงสอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ ร.ร. สวนกุหลาบวิทยาลัย และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามลำดับ จบเป็นบัณฑิตสอบได้ที่ 1 เกียรตินิยมดี และได้รับรางวัลภูมิพล 6 เดือน จากนั้นได้รับทุน จากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ไปศึกษาต่อปริญญาโททางการทูตที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา2 ปี จากนั้นต่อระดับปริญญาเอก ด้าน South East Asian History ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล มลรัฐนิวยอร์ก 5 ปี โดยเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง The Rise of Ayudhya เมื่อกลับมาประเทศไทย เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในมหาวิทยาลัยหลายตำแหน่ง อาทิ หัวหน้าสาขาวิชาประวัติศาสตร์ รองผู้อำนวยการและกรรมการสถาบันไทยคดีศึกษา คณบดี รองอธิการบดี และอธิการบดี

ตลอดเวลาที่ผ่านมา นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นนักวิชาการและครูจริงแท้ มีความรู้จริง เป็นตัวอย่างของนักเรียนในระบบ เป็นนักวิชาการ มีความคิดก้าวหน้า มีความกล้าหาญในการแสดงออกทางความคิด และมีความกล้าหาญทางจริยธรรมของความเป็นนักวิชาการที่จะตีแผ่"ความจริง"ในทุกเรื่องที่กำลังเป็นปัญหา เขาใช้ความรู้ที่มีจากระบบการศึกษา และการเรียนรู้ใหม่ๆ เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศและนอกประเทศ รวมทั้งในเวทีสัมมนา สร้างผู้รู้ให้สังคม ทั้งยังผลักดันให้เกิดโครงการต่างๆ ที่ลงสู่เวทีชาวบ้านในรูปแบบ"ตลาดวิชา"เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเหตุการณ์ และพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทย และประเทศเพื่อนบ้าน

เป็นนักคิดผู้ติด"อาวุธทางปัญญา" บุกเบิกความคิดใหม่ๆ ผ่านผลงานทั้งที่เป็นงานเขียนรวมเล่มหนังสือกว่า 75 เล่ม บทความมากกว่า 200 ชิ้น บทเขียน "คำนำ" อีกมากมายนับไม่ถ้วน รวมทั้งบทวิจารณ์หนังสือ ภาพยนตร์ ละครและดนตรี และนวนิยายสำหรับเด็ก รวมทั้งเป็นนักแปลและบรรณาธิการอีกด้วย ไม่ว่าบรรณาธิการต้นฉบับเขียน ต้นฉบับแปล ต้นฉบับรวมบทความ

เป็นนักประวัติศาสตร์ก้าวใหม่ โดยเป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์ที่เปิดยุคสมัยของการศึกษาประวัติศาสตร์ ทั้งไทยและเพื่อนบ้านให้ก้าวพ้นจากการบอกเล่าเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วอย่างแห้งแล้ง ไร้ชีวิตชีวา มาเป็นประวีติศาสตร์ที่มีชีวิตชีวา มีผู้คนหลากหลาย มีการแย่งชิง มีสุขสงบ มีหยาดเหงื่อ น้ำตาและเลือด ในแบบที่จินตนาการได้และเข้าใจได้ โดยนอกจากการบรรยายให้ความรู้แล้ว เขายังสร้างผลงานประวัติศาสตร์ในรูปหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์อีกมากมาย ทั้งที่เขียนคนเดียว และที่เขียนร่วมกับผู้อื่น โดยมีทั้งประเภท"บุกเบิก", "เติมเต็ม", "ชำระสะสาง" และ"รื้อฟื้น" เรื่องราวเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ด้วยมุมมองในแนวของความรัก ความเข้าใจธรรมชาติของมนุษยชาติ การอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และสันติทั้งภายในสังคมนั้นๆ และกับความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน

เป็นนักบุกเบิกความคิดใหม่ๆ เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาสร้างผลงานทั้งด้านวิชาการ และด้านกายภาพให้มหาวิทยาลัย นับเป็นมรดกตกทอดจนถึงทุกวันนี้ เช่น การเขียนประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในชื่อหนังสือ สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง (2535) การสร้างจิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ โครงการ TU Walking Tour หนังสือ ธรรมศาสตร์และการเมืองเรื่องพื้นที่ (2548) ปืนใหญ่ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่ถูกขุดขึ้นมาเมื่อมหาวิทยาลัยมีอายุครบ 50 ปี และวางตั้งเรียงเป็นแถวอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย อนุสาวรีย์ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ "สปอร์ต คอมเพล็กซ์" ที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หอจดหมายเหตุ และหอประวัติศาสตร์เกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นต้น

ด้วยผลงานอันมีประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมา คณะกรรมการกองทุนศรีบูรพาจึงขอประกาศเกียรติให้นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพาประจำปี พ.ศ. 2552 นับเป็นผู้ได้รับรางวัลศรีบูรพาลำดับที่ 21 และขอแสดงความยินดีด้วยกับขอเป็นกำลังใจให้สร้างสรรค์งานอันทรงคุณค่าต่อไปอย่างเต็มกำลัง

ประยอม ซองทอง
ประธานกองทุนศรีบูรพา

หลักการ "รางวัลศรีบูรพา"
"ศรีบูรพา" หรือนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นนักเขียนผู้มีเกียรติประวัติ ทั้งในผลงานและชีวิตที่ดีงาม มีงานเขียนหลากหลายทั้งในรูปแบบนวนิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ กวีนิพนธ์และเรื่องแปล ผลงานของท่านทรงคุณภาพ มีเนื้อหาสร้างสรรค์ เชิดชูศีลธรรมและความเป็นธรรมในสังคม เชิดชูประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันประกอบด้วย ประชาธิปไตยทางการเมือง ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตยทางสังคม งานของท่านมีวรรณศิลป์สูง ได้รับความนิยมจากคนอ่านทั่วไปโดยเฉพาะในหมู่นักศึกษาและปัญญาชน สืบเนื่องจาก พ.ศ. 2475 มาจนถึงปัจจุบัน

"กองทุนศรีบูรพา" ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติและเพื่อสนับสนุนส่งเสริมศิลปินในสาขาต่างๆ นักเขียน กวี และนักหนังสือพิมพ์ ได้เอาเยี่ยงอย่างแบบฉบับการใช้ชีวิตที่ดีงาม และแบบฉบับการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคม

รางวัล "ศรีบูรพา" เป็นรางวัลประจำปีที่คณะกรรมการ "กองทุนศรีบูรพา" ได้พิจารณาหารือและลงมติด้วยเสียงข้างมากเพื่อมอบให้กับบุคคลที่เข้าข่ายตามเงื่อนไขดังนี้

1. เป็นนักคิด นักเขียน นักแปล กวี หรือนักหนังสือพิมพ์ ที่มีแบบฉบับการใช้ชีวิตที่งดงาม และแบบฉบับการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคม และมนุษยชาติมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนอย่างเช่น "ศรีบูรพา"

2. มีผลงานติดต่อกันเป็นเวลายาวนานไม่น้อยกว่า 30 ปี และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

3. ยังมีชีวิตอยู่

เงินรางวัลประจำปี ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยของกองทุนฯ ที่ได้รับ แต่ไม่ต่ำกว่าครั้งละ 50,000 บาท โดยคณะกรรมการกองทุนฯ จะเป็นผู้พิจารณาเป็นรายปี และการแจกรางวัลจะประกาศและแจกกันในวันนักเขียน 5พฤษภาคมของทุกปี

รางวัล "ศรีบูรพา" ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2531มีนักเขียนได้รับรางวัลติดต่อกันมา เป็นลำดับดังนี้
นายศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์, นางสาวอำพัน ไชยวรศิลป์, คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง, นายอาจินต์ ปัญจพรรค์, นายสุจิตต์ วงษ์เทศ, นายสักษณ์ ศิวลักษณ์, นายกรุณา กุศลาศัย, นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี, นายวิทยากร เชียงกูล, นางสุภัทร สวัสดิรักษ์, นายสมชัย กตัญญุตานนท์ (ชัย ราชวัตร), นายเสถียร จันทิมาธร, นายนิธิ เอียวศรีวงศ์, นายธีรยุทธ บุญมี กับ นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล, นายสมบูรณ์ วรพงษ์. นายสุรชัย จันทิมาธร, วัฒน์ วรรลยางกูร และนายสุทธิชัย หยุ่น

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก

มองผ่านเลนส์คม - ศรีบูรพา 2552

คมชัดลึก :รางวัลศรีบูรพา เป็นรางวัลประจำปีที่กองทุนศรีบูรพา มอบให้ศิลปิน นักคิดนักเขียน หรือ นักหนังสือพิมพ์ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนพิจารณาคัดเลือกว่า มีผลงานทรงคุณค่าสมควรแก่การยกย่องปีละ 1 คน เริ่มมอบรางวัลกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ปัจจุบันมีผู้ได้รางวัลแล้ว 23 คน

ปีนี้คณะกรรมการมีมติว่าผู้สมควรได้รับรางวัลคือ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อาจารย์-นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ นักเขียน และนักแปล ผู้เป็นขวัญใจของลูกศิษย์เต็มบ้านเต็มเมือง. พิธีมอบรางวัลศรีบูรพาโดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย จะจัดขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม ถือเป็นการฉลองล่วงหน้า 1 วันพอดี สำหรับวันครบรอบวันเกิดของอาจารย์ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤษภาคม

บรรดาลูกศิษย์ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนไม่ค่อยนับอายุอาจารย์ เพียงรู้ว่าอาจารย์อายุมากกว่าลูกศิษย์ แต่ยังแข็งแรงเหลือเกิน ทั้งร่างกายและความคิด ก็แสนปลาบปลื้ม ผู้คนจำนวนมากในสังคมไทยมอบความเคารพรักให้อาจารย์ชาญวิทย์มานานแล้ว แม้เมื่อเร็วๆ นี้ จะมีเสียงกล่าวหาอาจารย์ด้วยข้อหาอมตะของขวาตกขอบว่า อาจารย์ร่วมขายชาติกับนักการเมืองขี้โกง เพราะอาจารย์ยืนหยัดแสดงความจริงเรื่องปราสาทพระวิหารว่า เวลานี้มิใช่สมบัติของประเทศไทย อย่าริอ่านไปทวงคืนแบบเด็กงอแง

อุดมคติสำคัญประการหนึ่งของศรีบูรพา หรือ คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ผู้ล่วงลับ คือการทำความจริงให้ปรากฏ อันมีนัยสอดคล้องกับ สิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตย ศรีบูรพายืนหยัดต่อสู้เพื่อให้สิ่งที่ศรีบูรพาเชื่อปรากฏในสังคมไทย แม้จะถูกต่อต้าน ถูกจับกุมคุมขังก็เคยไม่ท้อถอย

ศรีบูรพารู้จักและเชื่อมั่นในคุณค่าของการทำความจริงให้ปรากฏ ว่าจะส่งผลต่อปัญญาของผู้คนร่วมสังคม ซึ่งยิ่งมีปัญญา ก็ยิ่งพึ่งตนเองได้ และยิ่งมีความสามารถในการร่วมพัฒนาสังคม เช่นเดียวกัน ศรีบูรพารู้จักและเชื่อมั่นในคุณค่าของสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตยว่าดีสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ใช่สักแต่พูดคำใหญ่คำโตให้ฟังเท่ ทั้งๆ ที่ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแต่จงใจบิดเบือนความหมาย เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

จิตวิญญาณของอาจารย์ชาญวิทย์ทั้งในฐานะครู นักวิชาการ ฯลฯ และประชาชนสอดคล้องกับอุดมคติสำคัญของศรีบูรพา เป็นผู้รับรางวัลศรีบูรพาที่เคารพได้อย่างสนิทใจ

นิธินันท์ ยอแสงรัตน์

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com