1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
กองทัพบังคับให้ผู้อพยพกลับบ้านของพวกเขา พวกเขาจัดให้มีการจับสลากว่าจะต้องไปอยู่ที่ไหน ถ้าพวกเขาจับได้ "ถูก"สลาก ก็จะได้ที่พักอาศัยที่ดี ดังนั้นชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านจึงถูกบังคับจากกองทัพให้ไปอยู่ที่ใหม่ พวกเขาไม่ได้อยากจะไป แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่น ก็เลยต้องไป พวกเขาถูกบังคับให้ไป จากนั้น หมู่บ้านที่พวกเขาถูกบังคับให้ออกมาจะถูกขายโดยกองทัพ คนที่มีเงินจะซื้อที่ดินเหล่านี้จากกองทัพ มีคนอยู่ไม่มากนักที่ถูกทิ้งให้อยู่ที่นั่นประมาณ 3-4 ครอบครัว พวกเขาสามารถขายที่ดินให้กับคนรวยๆ แต่ที่ดินที่เหลือจากครอบครัวที่เสียชีวิต คนที่รวยจะซื้อต่อจากกองทัพ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในหลาย หมู่บ้านที่จังหวัด Labutta แล้วก็ยังในเขตเมือง Labutta และใน Bogale ด้วย กองทัพไม่พยายามค้นหาเลยว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน
20-06-2552
(1736)
สารานุกรมศิลปะ:
ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่ (ยุคตื่นเครื่องจักร)
100
ปีลัทธิฟิวเจอร์ริสม์: ลัทธิศิลปะแห่งการทำลาย (Futurism100)
รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
โครงการก่อตั้งสาขาวิชาทฤษฎีศิลปะและการวิจารณ์
คณะวิจิตรศิลป์ มช.
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
งานแปลและเรียบเรียงชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้แปล
ซึ่งเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ศิลปะในยุโรปสมัยใหม่
เมื่อร้อยปีที่แล้ว ได้มีกลุ่มศิลปินฟิวเจอร์ริสท์ที่นิยมในพัฒนาการทางด้านเครื่องจักร
อันเป็นที่มาของความเร็ว
ความเป็นหนุ่ม เมืองอุตสาหกรรม และพัฒนาการที่ก้าวกระโดดทางด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปินกลุ่มนี้มีแนวคิดชาตินิยม
และให้การสนับสนุนลัทธิฟาสซิสม์ของมุสโสลินี พวกเขาต้องการให้ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์เป็นเสมือนศิลปกรรมประจำชาติ
อิตาลี แต่ไม่ได้รับการตอบสนองของผู้นำรัฐสมัยนั้น ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ในเวลาต่อมาได้ส่งอิทธิพลมาสู่ศิลปวัฒนธรรม
หลายหลาก และศิลปินรุ่นหนุ่มต่างขานรับแนวคิดนี้มาพัฒนาในวงการศิลปะของตน ไม่เว้นแม้กระทั่งวรรณกรรม
ดนตรี สถาปัตยกรรม และยังให้อิทธิพลในด้านต่างๆ ต่อพัฒนาการศิลปะกลุ่มต่างๆ ในคริสตศตวรรษที่
๒๐
ประเด็นสำคัญของงานแปลและเรียบเรียงนี้
ประกอบด้วยหัวข้อ...
- ผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมฟิวเจอร์ริสท์ในอิตาลี ค.ศ.1910-1914
- ความแตกแยกของศิลปินฟิวเจอร์ริสท์: กลุ่มมิลานกับกลุ่มฟลอเรนส์
- ฟิวเจอร์ริสท์กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบชาตินิยม
- ฟิวเจอร์ริสท์ ในด้านสถาปัตยกรรม (Futurist architecture)
- ลัทธิฟิวเจอร์ริสท์ ของรัสเซียน (Russian Futurism)
- ดนตรีในแบบฟิวเจอร์ริสท์ (Futurism in music)
- วรรกรรมฟิวเจอร์ริสท์ (Futurism in literature)
- ภาพยนตร์แนวฟิวเจอร์ริสท์ (Futurism in film)
- ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ในช่วงทศวรรษที่ 1920s และ 1930s
- ฟิวเจอร์ริสท์กับภาพจิตรกรรมอากาศ (Aeropainting)
- มรดกตกทอดของลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ (The legacy of Futurism)
- Prominent Futurist artists
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด
"ประวัติศาสตร์ศิลป์ยุโรปสมัยใหม่")
สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๓๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน
๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
(ภาพประกอบ 1) ภาพเหมือนตัวบุคคลของ Filippo Tommaso Marinetti
สารานุกรมศิลปะ:
ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่ (ยุคตื่นเครื่องจักร)
100
ปีลัทธิฟิวเจอร์ริสม์: ลัทธิศิลปะแห่งการทำลาย (Futurism100)
รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
โครงการก่อตั้งสาขาวิชาทฤษฎีศิลปะและการวิจารณ์
คณะวิจิตรศิลป์ มช.
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
ความนำ
Futurism เป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านศิลปะลัทธิหนึ่ง
ปกติแล้วในวงการศิลปะจะไม่แปลคำนี้เป็นภาษาไทย คงใช้ในรูปทับศัพท์ว่าฟิวเจอร์ริสม์"
โดยขบวนการเคลื่อนไหวนี้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในอิตาลี ราวช่วงต้นคริสตศตวรรษที่
20 ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มศิลปินอิตาเลียน แม้ว่าจะมีขบวนการทางศิลปะในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นในรัสเซีย
อังกฤษ และประเทศอื่นๆ ก็ตาม
นักเขียนอิตาเลียนนาม Filippo Tommaso Marinetti ถือเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้มีอิทธิพลต่อลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ โดยเริ่มต้นขบวนการด้วยแถลงการณ์ Futurist Manifesto ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1909 (นับถึง พ.ศ.นี้ 2009 ก็ครบ 100 ปีพอดี) ใน La gazzetta dell' Emilia, เป็นบทความชิ้นหนึ่งที่ต่อมาได้รับการเผยแพร่ซ้ำในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส Le Figaro วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1909. ในแถลงการณ์ฉบับนี้ Marinetti ได้แสดงถึงความไม่เต็มใจอย่างรุนแรงเกี่ยวกับความเก่า ความโบราณคร่ำคร่าทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนบจารีตทางด้านศิลปะและการเมืองในรูปแบบเก่า ในแถลงการณ์เขาได้เขียนเอาไว้ว่า "เราไม่ต้องการมันอีกแล้ว อดีตกาลทั้งหลาย เราคือคนหนุ่มสาวและความเข้มแข็ง, ฟิวเจอร์ริสท์". บรรดาฟิวเจอร์ริสท์ชื่นชมกับความเร็ว เทคโนโลยี ความเป็นหนุ่มและความรุนแรง รถยนต์ เครื่องบิน และเมืองอุตสาหกรรม ทั้งหมดคือตัวแทนแห่งชัยชนะด้านเทคโนโลยีของมวลมนุษยชาติเหนือธรรมชาติ และพวกเขาเหล่านี้เป็นนักชาตินิยมที่ร้อนแรง
บรรดาศิลปินฟิวเจอร์ริสท์ปฏิบัติงานกับสื่อศิลปะทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม เซอรามิก งานออกแบบกราฟฟิก งานออกแบบอุตสาหกรรม งานออกแบบตกแต่งภายใน การละคร ภาพยนตร์ แฟชั่น สิ่งทอ วรรณกรรม ดนตรี สถาปัตยกรรม และกระทั่งศาสตร์ของการทำอาหาร
(ภาพประกอบ 2) ซ้าย: ผลงานจิตรกรรมฟิวเจอร์ริสท์ของ
Umberto Boccioni. (ภาพประกอบ 3) ขวา: ผลงานประติมากรรมฟิวเจอร์ริสท์ของศิลปินคน
เดียวกัน ชื่อภาพคือ Unique Forms of Continuity in Space (1913)
ผลงานจิตรกรรมและประติมากรรมฟิวเจอร์ริสท์ในอิตาลี
ค.ศ.1910-1914
การโต้เถียงอันเผ็ดร้อนของ Marinetti ได้ดึงความสนใจบรรดาจิตรกรหนุ่มจากมิลานให้หันมาสนับสนุน
อย่างเช่น Umberto Boccioni, Carlo Carra, และ Luigi Russolo คนพวกนี้ต้องการที่จะขยายแนวคิดต่างๆ
ของ Marinetti ไปสู่งานทางด้านทัศนศิลป์ (สำหรับ Russolo เป็นนักดนตรี ด้วยเหตุนี้จึงได้ขยายความคิดฟิวเจอร์ริสท์ไปสู่การประพันธ์ทางด้านดนตรีด้วย).
บรรดาจิตรกร เช่น Giacomo Balla และ Gino Severini ได้มีโอกาสพบปะกับ Marinetti
ในปี ค.ศ. 1910 และร่วมมือกับ Boccioni, Carra และ Russolo โดยออกแถลงการณ์เกี่ยวกับจิตรกรฟิวเจอร์ริสท์
(the Manifesto of the Futurist Painters). ในแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวได้แสดงออกด้วยภาษาที่รุนแรงและฉะฉานเกี่ยวกับการก่อตั้งของ
Marinetti โดยเปิดตัวด้วยคำพูดดังนี้
"เราเรียกร้องต่อการก่อกบฎ ซึ่งเราต่างเชื่อมโยงอุดมคติของพวกเรากับบรรดานักกวีฟิวเจอร์ริสท์ทั้งหลาย ความคิดทั้งมวลนี้ มิได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยกลุ่มนักสุนทรียภาพบางคน แต่มันคือการแสดงออกอย่างหนึ่งของความปรารถนาที่รุนแรง ซึ่งเผารนอยู่ในเส้นเลือดของศิลปินนักสร้างสรรค์ทุกวันนี้ เราจะต่อสู้ด้วยพลังความสามารถของเรากับพวกที่คลั่งไคล้ ไร้ความความรู้สึก และศาสนาอันวางท่าสูงส่งของอดีต ศาสนาที่ได้รับการค้ำชูโดยการดำรงอยู่ของพิพิธภัณฑ์อันเสื่อมทราม. เราจะกบฎต่อการสักการะบูชาภาพเขียนบนผืนผ้าใบเก่าๆ ที่ปราศจากกระดูกสันหลัง รูปปั้นเก่าๆ ของสะสมโบราณ และจะไม่ยอมประนีประนอมกับทุกสิ่งที่หยาบคาย ความเน่าหนอนสกปรกและถูกกัดกร่อนด้วยกาลเวลา. เราพิจารณาการดูหมิ่นทุกสิ่งอย่างที่เยาว์วัย เป็นของใหม่ ของบรรดาคนรุ่นเก่าว่าเป็นเรื่องไม่ยุติธรรม และกระทั่งเป็นความรู้สึกที่มีต่อเราในเชิงอาชญากรรม"
พวกเขาปฏิเสธลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับอดีตและการเลียนแบบของเก่าทั้งหมด แต่ให้การยกย่องความคิดริเริ่ม เช่น "มีความกล้าแกร่งเพียงใด รุนแรงมากแค่ไหน" เบื่อหน่ายความภาคภูมิซึ่งเปรียบเสมือน"รอยคาบของความบ้า" เมินเฉยต่อการส่อเสียดของนักวิจารณ์ศิลปะในฐานะเป็นคนที่ไร้ประโยชน์. พวกเขากบฎต่อความกลมกลืนและรสนิยมที่ดี พร้อมทั้งกวาดเอาหัวข้อและเรื่องราวของงานศิลปะก่อนหน้านั้นลงถังขยะไปพร้อมกัน แต่จะให้การยกย่องความรุ่งโรจน์ของวิทยาศาสตร์
แถลงการณ์ของศิลปินกลุ่มนี้มิได้บรรจุเรื่องราวศิลปะในเชิงบวกไว้เลย พวกเขาพยายามที่จะสรรค์สร้างสิ่งที่ตามมาจากแถลงการณ์ในเชิงเทคนิคทางด้านจิตรกรรมฟิวเจอร์ริสท์. แถลงการณ์ในเชิงเทคนิคผูกมัดพวกเขาเข้ากับ"ลัทธิพลวัตอันเป็นสากล" ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาในงานจิตรกรรม. วัตถุต่างๆ ในความเป็นจริงไม่ถูกแยกออกจากอีกวัตถุหนึ่งหรือจากสภาพแวดล้อมของมัน ยกตัวอย่างเช่น "คน 16 คนรายล้อมคุณอยู่ในรถบัสที่กำลังกลิ้งเกลือก และในเวลาเดียวกันมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มันอาจดูเหมือนไม่เคลื่อนไหวและในขณะเดียวกันมันกำลังเปลี่ยนที่ของมันไป รถบัสพุ่งเข้าไปในบ้านต่างๆ ขณะที่บ้านที่แตกทำลายก็กระจัดกระจายเข้าไปในตัวรถและมันผสมกลมกลืน คลุกเคล้ากัน"
บรรดาจิตรกรฟิวเจอร์ริสท์ต่างพัฒนาการไปอย่างเชื่องช้า ด้วยสไตล์ที่แตกต่างและเนื้อหาเรื่องราวที่ไม่เหมือนใคร. ในปี ค.ศ.1910 - 1911 พวกเขาได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Divisionism (*) (หรือการแต้มสีเป็นจุดๆ มาวางเคียงกัน), ทำให้แสงและสีลดทอนเหลือเพียงสนามของจุดสี ซึ่งเดิมทีได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาโดย Giovanni Segantini และคนอื่นๆ. สำหรับ Gino Severini ภายหลังได้ไปพำนักอยู่ในปารีส ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของศิลปะแนวหน้า(avant garde art) และเป็นคนแรกที่ติดต่อกับลัทธิคิวบิสม์ ต่อมาบรรดาจิตรกรฟิวเจอร์ริสม์ได้รับเอาวิธีการต่างๆ ของศิลปินกลุ่มคิวบิสม์มาใช้ ลัทธิคิวบิสม์ถือเป็นวิธีปฏิบัติการอย่างหนึ่งของพลังงานในเชิงวิเคราะห์งานจิตรกรรม และแสดงออกถึงลักษณะที่เป็นพลวัต (ดูภาพประกอบข้างล่าง)
(ภาพประกอบ) ผลงานจิตรกรรมฟิวเจอร์ริสท์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิคิวบิสม์ ทั้งสองภาพหากสังเกตจะเห็นเป็นภาพม้าที่ถูกควบด้วยความเร็ว
Divisionism was the characteristic style in Neo-Impressionist painting defined by the separation of colors into individual dots or patches which interacted optically. By requiring the viewer to combine the colors optically instead of physically mixing pigments, divisionists believed they were achieving the maximum luminosity scientifically possible. Georges Seurat founded the style around 1884 as chromoluminarism, drawing from his understanding of the scientific theories of Michel Eug?ne Chevreul, Ogden Rood and Charles Blanc, among others. Divisionism developed along with another style, pointillism, which is defined specifically by the use of dots of paint and does not necessarily focus on the separation of colors.
บ่อยทีเดียวพวกเขาเขียนรูปฉากในตัวเมืองสมัยใหม่. ผลงาน Funeral of the Anarchist Galli (1910-11) ของCarra ภาพตัวแทนเหตุการณ์ต่างๆ บนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ ซึ่งศิลปินคนนี้ได้ถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้องในปี 1904. เหตุการณ์เกี่ยวกับการทุบตีตำรวจคนหนึ่งและการจลาจลที่ถูกเขียนขึ้นเป็นภาพอย่างมีพลังด้วยการทำให้ระนาบของภาพแตกเป็นชิ้นๆ และมีลักษณะเฉียงๆ. ส่วนผลงาน Leaving the Theatre (1910-11) (ภาพประกอบข้างล่าง) ได้ใช้เทคนิคการแต้มสีเป็นจุดๆ(Divisionist technique) เพื่อสร้างภาพคนที่ไร้ใบหน้าและโดดเดี่ยว ซึ่งกำลังเดินกลับบ้านอย่างอิดโรยในยามค่ำคืนภายใต้แสงไฟ
ภาพ The City Rises (1910) ของ Boccioni (ดูภาพประกอบข้างล่าง)ได้แสดงออกถึงฉากต่างๆ เกี่ยวกับการก่อสร้าง และการใช้แรงงาน ด้านหลังเป็นภาพตัวตึกขนาดใหญ่สีแดงซึ่งคนงานกำลังต่อสู้กับการควบคุม. ส่วนผลงานภาพ States of Mind, บนแผ่นไม้ขนาดใหญ่ 3 ชิ้น, The Farewell, Those who Go, และ Those Who Stay, "ถือเป็นถ้อยแถลงอันยิ่งใหญ่ครั้งแรกของงานจิตรกรรมฟิวเจอร์ริสท์ อันนำไปสู่ความสนใจต่างๆ ในปรัชญาของ Bergson, (นักปรัชญาฝรั่งเศส ซึ่งมีอิทธิพลทางความคิดในช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 20)
(ภาพประกอบ) ผลงานจิตรกรรมฟิวเจอร์ริสท์ของ Boccioni ชื่อภาพ The City Rise
ลัทธิฟิวเจอร์ริสท์และประสบการณ์อันซับซ้อนของปัจเจกในโลกสมัยใหม่ พร้อมด้วยสิ่งที่ได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นหนึ่งในผลงานขั้นปรมาจารย์รุ่นเยาว์(minor masterpieces) ของจิตรกรรมช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ยี่สิบ ผลงานดังกล่าวพยายามที่จะถ่ายทอดความรู้สึกทั้งหลายและผัสสะที่มีประสบการณ์ในช่วงเวลานั้น โดยการใช้เครื่องมือใหม่ๆ ของการแสดงออก รวมไปถึงเส้นสายต่างๆ อันทรงพลัง ซึ่งได้รับการตั้งใจให้ถ่ายทอดอย่างมีทิศทางเกี่ยวกับวัตถุสิ่งของทั้งหลายผ่านพื้นที่ว่าง, "การเกิดขึ้นพร้อมกัน"(simultaneity), ซึ่งรวมเอาความทรงจำ การนำเสนอความประทับใจต่างๆ และการคาดการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งหลายในอนาคต และ"สภาพแวดล้อมทางอารมณ์"(emotional ambience) มาผสมผสานกัน ซึ่งศิลปินแสวงหามาโดยสหัชญาน(intuition) เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ความพ้องกันระหว่างฉากภายนอกกับอารมณ์ความรู้สึกภายใน
เจตจำนงของ Boccioni ในเรื่องศิลปะได้รับอิทธิพลอย่างแข็งขันจากความคิดของ Bergson, รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับสหัชญาน (กระบวนความรู้ความเข้าใจ โดยไม่ผ่านขั้นตอนของเหตุผล). บรรดาศิลปินฟิวเจอร์ริสท์มีเป้าประสงค์เกี่ยวกับศิลปะของพวกเขา โดยทำให้ผู้ดูสามารถเข้าใจภาวะภายในของสิ่งซึ่งพวกเขาเขียนออกมา. Boccioni ได้พัฒนาความคิดดังกล่าวในหนังสือขนาดยาวของเขาเรื่อง, Pittura scultura Futuriste: Dinamismo plastico (Futurist Painting Sculpture: Plastic Dynamism) (1914).
(ภาพประกอบ) ผลงานจิตรกรรมฟิวเจอร์ริสท์ของ
Giacomo Balla ภาพซ้ายชื่อ Dynamism of a Dog on a Leash ส่วนภาพขวาเป็นผลงานจิตรกรรม
ฟิวเจอร์ริสท์คนเดียวกัน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลัทธิคิวบิสม์
ในภาพ Dynamism of a Dog on a Leash (1912) ของ Balla (ดูภาพประกอบ) ได้เป็นตัวอย่างการยืนยันของศิลปินฟิวเจอร์ริสท์ว่า โลกแห่งการรับรู้ดำรงอยู่ในความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา. ผลงานจิตรกรรมนี้ได้วาดภาพสุนัขตัวหนึ่งซึ่งที่ขาของมัน, หางและสายจูง - และเท้าคนจูงที่กำลังเดินอยู่ - ถูกเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นทวีคูณในลักษณะเคลื่อนไหวแบบเบลอๆ. ภาพดังกล่าวแสดงการรับรู้ต่างๆ ในเชิงเทคนิคของจิตรกรรมฟิวเจอร์ริสท์เกี่ยวเนื่องกับการคงอยู่ของภาพในเรตินา วัตถุที่เคลื่อนไหวจะเพิ่มพูนตัวของมันเองอย่างสม่ำเสมอ รูปทรงของพวกมันเปลี่ยนแปลงไปคล้ายดั่งการสั่นไหวอย่างรวดเร็วในความเคลื่อนไหวของพวกมัน ด้วยเหตุนี้ ม้าที่กำลังวิ่งจึงมิได้มีสี่ขา แต่กลายเป็นยี่สิบขา และความเคลื่อนไหวของมันเป็นไปในลักษณะสามเหลี่ยม. ส่วนในงาน Rhythm of the Bow (1912) ได้วาดถึงความเคลื่อนไหวของมือที่กำลังสีไวโอลินในลักษณะเดียวกัน ซึ่งถูกทำขึ้นด้วยการตวัดป้ายฝีแปรงอย่างรวดเร็วในทำนองเดียวกันในภาพสามเหลี่ยม
การรับเอาลัทธิคิวบิสม์ ได้มีอิทธิพลต่อสไตล์ของผลงานจิตรกรรมฟิวเจอร์ริสท์ต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Boccioni และ Severini ยังคงใช้วิธีการกระจายและปัดป้ายสีด้วยฝีแปรงสั้นๆ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า divisionism. แต่ผลงานจิตรกรรมฟิวเจอร์ริสท์ก็ผิดแผกแตกต่างกันไป ทั้งในส่วนเนื้อหาเรื่องราวและวิธีปฏิบัติจากบรรดาผลงานคิวบิสม์ของ Picasso, Braque และ Gris อย่างเห็นได้ชัด. แม้ว่าจะมีผลงานภาพเหมือนตัวบุคคลในแบบฟิวเจอร์ริสท์ (ยกตัวอย่างเช่นภาพ Woman with Absinthe (1911) ของ Carra, หรือภาพ Self-Portrait (1912) ของ Severini, และภาพ Matter (1912) ของ Boccioni, ซึ่งเป็นภาพฉากในเมืองและยวดยานพาหนะที่กำลังเคลื่อนไหวที่ถือเป็นตัวอย่างงานจิตรกรรมแบบฟิวเจอร์ริสท์ ยกตัวอย่างเช่น ผลงานชื่อ Dynamic Hieroglyph of the Bal Tabarin (1912) ของ Severini, และ Automobile at Speed (1913) ของ Russolo เป็นต้น
ในปี ค.ศ.1912 และ 1913, Boccioni ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้างงานประติมากรรม เพื่อแปลความคิดของตนไปสู่ความเป็นงานปั้นสามมิติในแบบฟิวเจอร์ริสท์. ในงาน Unique Forms of Continuity in Space (1913) (ดูภาพประกอบ 3) เขาพยายามที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุและสภาพแวดล้อมเป็นจริงขึ้นมา ซึ่งเป็นแก่นกลางทฤษฎีพลวัตของเขา. ผลงานประติมากรรมที่แสดงออกในรูปคนกำลังก้าวเดิน ถูกหล่อขึ้นด้วยบรอนส์ภายหลังที่เขาถึงแก่กรรมแล้ว และได้รับการจัดนิทรรศการแสดงใน the Tate Gallery. (ปัจจุบันภาพนี้ปรากฏอยู่บนด้านหนึ่งของเหรียญกษาปณ์ 20 ยูโรเซนต์อิตาเลียน). เขาได้สำรวจถึงเรื่องราวนี้ต่อไปในงาน Synthesis of Human Dynamism (1912), Speeding Muscles (1913) และ Spiral Expansion of Speeding Muscles (1913). แนวความคิดทั้งหลายของเขาในงานประติมากรรมได้รับการตีพิมพ์อยู่ใน the Technical Manifesto of Futurist Sculpture.
ในปี 1915 Balla ก็ได้ผันไปสู่การสร้างงานประติมากรรมด้วยซึ่งเป็นผลงานการผลิตซ้ำในเชิงนามธรรม ที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยวัสดุที่หลากหลาย ผลงานของเขามีลักษณะเคลื่อนไหวได้อย่างเห็นได้ชัด และกระทั่งส่งเสียงรบกวนออกมา. เขากล่าวว่า หลังจากสร้างงานมากว่า 20 ชิ้นซึ่งเขาได้ทำการศึกษาถึงเรื่องความเร็วของรถยนต์ต่างๆ เขาได้มาถึงความรู้ความเข้าใจที่ว่า ระนาบผืนผ้าใบแต่เพียงลำพังไม่ยินยอมให้นำเสนอเรื่องราวความเคลื่อนไหวที่รวดเร็วมีพลวัตในเชิงลึกได้ เขากล่าวว่า "ผมรู้สึกถึงความต้องการที่จะสร้างรูปทรงสามมิติที่มีพลวัตขึ้นมา ซึ่งประกอบเข้าด้วยลวดเหล็ก แผ่นกระดาษแข็ง ผ้า และกระดาษทิชชู ฯลฯ"
ความแตกแยกของศิลปินฟิวเจอร์ริสท์:
กลุ่มมิลานกับกลุ่มฟลอเรนส์
ในปี 1914 ได้เกิดการโต้เถียงส่วนตัวและความแตกแยกกันในเชิงศิลปะขึ้นระหว่าง
"กลุ่มมิลานซึ่งประกอบด้วย Marinetti, Boccioni, และ Balla" กับ "กลุ่มศิลปินฟลอเรนส์
ประกอบด้วย Carra, Ardengo Soffici (1879-1964) และ Giovanni Papini (1881-1956)"
ซึ่งได้สร้างความร้าวฉานขึ้นมาในลัทธิฟิวเจอร์ริสท์อิตาเลียน. กลุ่มฟลอเรนส์โกรธเคืองการครอบงำของ
Marinetti และ Boccioni, ผู้ซึ่งพวกเขากล่าวหาว่า "พยายามที่จะสถาปนาความเป็นศาสนจักรที่สถิตย์ตายตัวขึ้นมา
ด้วยบทบัญญัติอันไม่มีวันเปลี่ยนแปลง" และแต่ละกลุ่มได้ปลดฝ่ายตรงข้ามออกไปในฐานะที่เป็นพวกล้าหลัง(passeiste)
จากจุดเริ่มต้น ลัทธิฟิวเจอร์ริสท์ชื่นชมในความรุนแรงและเต็มไปด้วยความรักชาติอย่างเข้มข้น ใน Futurist Manifesto ประกาศว่า "เราจะยกย่องสรรเสริญสงคราม - โลกนี้จะต้องสะอาด มีสุขอนามัย - ลัทธิทหาร, ลัทธิรักชาติรักแผ่นดิน, ท่าทีในเชิงทำลายล้างนำมาซึ่งอิสรภาพ, คุณค่าความคิดอันงดงามกำลังตายลง และการดูหมิ่นเหยียดหยามผู้หญิง". แม้ว่ามันจะเป็นหนี้บุญคุณอย่างมากต่อคุณลักษณ์และแนวคิกหลายหลากของตัวมันเองในความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างถึงราก อย่างไรก็ตาม มันมิได้มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด จนกระทั่งฤดูใบไม้ร่วงในปี 1913 ในช่วงเวลาดังกล่าว ความกลัวการเลือกตั้งใหม่อีกครั้งของ Giolitti, Marinetti ได้ตีพิมพ์แถลงการณ์ทางการเมืองขึ้นมาฉบับหนึ่ง
ฟิวเจอร์ริสท์กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบชาตินิยม
ในปี 1914 บรรดาฟิวเจอร์ริสท์ เริ่มทำการรณรงค์ต่อสู้กับจักรวรรดิ์ออสโตฮังกาเรียน
(the Austro-Hungarian empire) อย่างกระตือรือร้น ซึ่งจักรวรรดิ์ดังกล่าวยังคงควบคุมพื้นที่บางส่วนของอิตาลีเอาไว้และความเป็นกลางของอิตาเลียนระหว่างกลุ่มกำลังหลักที่สำคัญ.
ในเดือนกันยายน, Boccioni, ซึ่งอยู่บมุขระเบียงของ the Teatro dal Verme ในมิลาน
ได้ทำการฉีกธงชาติออสเตรียและขว้างมันลงมาสู่บรรดาฝูงชน, ขณะที่ Marinetti ได้ทำการโบกธงอิตาเลียนปลิวไสว.
เมื่ออิตาลีก้าวเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1915 บรรดาฟิวเจอร์ริสท์ได้สมัครเข้าเป็นทหารในคราวนั้นด้วย
การระเบิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้อำพรางข้อเท็จจริงที่ว่า ลัทธิฟิวเจอร์ริสท์อิตาเลียนได้ก้าวมาสู่กาลอวสาร. กลุ่มฟลอเรนส์ ได้ยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการถอนตัวของพวกเขาจากขบวนการนี้ในราวปลายปี 1914. Boccioni ได้สร้างงานเกี่ยวกับเรื่องราวของสงครามเพียงชิ้นเดียวเท่านั้น และได้ถูกฆ่าตายในปี 1916. ส่วน Severini ได้สร้างงานจิตรกรรมที่สำคัญบางชิ้นเกี่ยวกับสงครามในปี 1915 (ยกตัวอย่างเช่นภาพ War, Armored Train, และ Red Cross Train), แต่ฟิวเจอร์ริสท์ ในปารีสได้หันไปสู่ลัทธิคิวบิสม์ และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ถูกนำไปสัมพันธ์กับ"การหวนกลับสู่ระเบียบ" (the Return to Order) (*) ซึ่งปฏิเสธงานศิลปะแนวก้าวหน้า. อย่างไรก็ตาม หลังสิ้นสุดสงครามฯ Marinetti ได้ฟื้นฟูขบวนการลัทธิฟิวเจอร์ริสท์ครั้งที่สองขึ้น (il secondo Futurismo)
(*) The return to order was a European art movement that followed the First World War, rejecting the extreme avant-garde art of the years up to 1918 and taking its inspiration from traditional art instead. The movement was a reaction to the War. Cubism was abandoned even by its creators, Braque and Picasso, and Futurism, which had praised machinery, violence and war, was rejected by most of its followers. The return to order was associated with a revival of classicism and realistic painting.
ฟิวเจอร์ริสท์ ในด้านสถาปัตยกรรม
(Futurist architecture)
สถาปนิกฟิวเจอร์ริสท์ Antonio Sant'Elia ได้แสดงออกทางความคิดของเขาเกี่ยวกับความเป็นสมัยใหม่ในงานวาดเส้นสำหรับ
La Citta Nuova (The New City) (1912-1914) (ดูภาพประกอบสถาปัตยกรรม). โครงการดังกล่าวไม่เคยถูกสร้างขึ้น
และ Sant'Elia ได้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างไรก็ตาม แนวคิดของเขาได้ส่งอิทธิพลถึงคนรุ่นต่อมา
ทั้งในหมู่สถาปนิกและบรรดาศิลปินทั้งหลาย
ในช่วงระหว่างเวลาสงคราม สถาปัตยกรรมฟิวเจอร์ริสท์ในอิตาลีได้รับการก่อรูปอัตลักษณ์ขึ้นมาโดยแรงผลักดันที่โดดเด่น ซึ่งมีต่อลัทธิเหตุผลและลัทธิสมัยใหม่ (rationalism and modernism) โดยผ่านการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างที่ก้าวหน้า. บางครั้ง สถาปนิกฟิวเจอร์ริสท์ทั้งหลายก็มีความรู้สึกไม่ลงรอยกับแนวโน้มของรัฐแบบฟาสซิสท์ ในเรื่องเกี่ยวกับสุนทรียภาพตามแบบแผนจักรวรรดิโรมันและแบบแผนคลาสสิก แต่อย่างไรก็ตาม อาคารสิ่งก่อสร้างฟิวเจอร์ริสท์ที่น่าสนใจหลายแห่ง ซึ่งได้รับการสร้างขึ้นในทศวรรษที่ 1920-40 ประกอบด้วย อาคารสาธารณะ อย่างเช่น สถานีรถไฟ สถานที่พักตากอากาศชายทะเล และที่ทำการไปรษณีย์
ตัวอย่างที่ดีของอาคารแบบฟิวเจอร์ริสท์ยังคงถูกใช้ประโยชน์มาจนกระทั่งทุกวันนี้คือ สถานีรถไฟของเมือง Trento ที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดย Angiolo Mazzoni, และสถานี Santa Maria Novella station ในเมืองฟลอเรนส์. สถานีเมืองฟลอเรนส์ได้รับการออกแบบขึ้นมาในปี ค.ศ. 1932 โดยสถาปนิกสังกัดกลุ่ม Gruppo Toscano (Tuscan Group) ซึ่งประกอบด้วย Giovanni Michelucci และ Italo Gamberini, โดยการสนับสนุนของ Mazzoni.
ลัทธิฟิวเจอร์ริสท์ ของรัสเซียน
(Russian Futurism)
ลัทธิฟิวเจอร์ริสท์รัสเซียนคือขบวนการหนึ่งทางด้านวรรณกรรมและทัศนศิลป์. นักกวีอย่าง
Vladimir Mayakovsky ถือเป็นสมาชิกที่โดดเด่นในความเคลื่อนไหวนี้ ส่วนศิลปินทางด้านทัศนศิลป์
ยกตัวอย่างเช่น David Burlyuk, Mikhail Larionov, Natalia Goncharova และ Kazimir
Malevich ได้ค้นพบแรงบันดาลใจในภาพลักษณ์งานเขียนฟิวเจอร์ริสท์ และต่างเป็นนักกวีด้วย
จิตรกรหลายคนได้รับเอาลัทธิฟิวเจอร์ริสม์มา ซึ่งประกอบด้วย Velimir Khlebnikov
และ Aleksey Kruchenykh. บรรดานักกวีและจิตรกรได้ทำงานร่วมกันในการผลิตงานละคร
อย่างเช่น โอเปร่าฟิวเจอร์ริสท์ Victory Over the Sun, ซึ่งประพันธ์บทละครขึ้นมาโดย
Kruchenykh และ จัดฉากโดย Malevich
สไตล์หลักของงานจิตรกรรมคือ Cubo-Futurism (*) (รูปแบบของลัทธิคิวบิสม์ผสมรวมกันกับสไตล์ Italian Futurist), ซึ่งได้รับมาในปี ค.ศ.1913 เมื่อ Aristarkh Lentulov หวนกลับมาจากปารีสและแสดงนิทรรศการจิตรกรรมของตนในกรุงมอสโคว์. Cubo-Futurism เป็นการผสมผสานการเขียนภาพแบบเรขาคณิตกับการเป็นตัวแทนแสดงออกของความเคลื่อนไหวตามแนวทางฟิวเจอร์ริสท์. คล้ายคลึงกับศิลปินอิตาเลียนก่อนหน้านั้น บรรดาศิลปินฟิวเจอร์ริสท์รัสเซียนหลงใหลในพลวัตของความเคลื่อนไหว พวกเขาชื่นชอบในเรื่องของความเร็ว และความร้อนรนของชีวิตสมัยใหม่ในเมืองที่ไม่เคยพักผ่อน
(*) Cubo-Futurism was the main school of painting practiced by the Russian Futurists. When Aristarkh Lentulov returned from Paris in 1913 and exhibited his works in Moscow, the Russian Futurist painters adopted the forms of Cubism and combined them with the Italian Futurists' representation of movement.
ฟิวเจอร์ริสท์รัสเซียนทั้งหลายต่างวิวาทะกับศิลปะในอดีตโดยพวกเขาไม่ให้การยอมรับของเก่า กล่าวกันว่า "Pushkin และ Dostoevsky ควรถูกบรรทุกลงในเรือกลไฟของยุคสมัยใหม่เพื่อนำไปทิ้งทะเล". พวกเขาไม่ให้การยอมรับอำนาจและไม่เคยรับรองว่าเป็นหนี้บุญคุณกับสิ่งใด แม้กระทั่ง Marinetti, ซึ่งถือเป็นต้นตอหรือแนวคิดหลักช่วงแรกๆ ที่พวกเขารับเอามาด้วย มันขวางทางเขาเมื่อมาสู่รัสเซียเพื่อเปลี่ยนแปลงลัทธิเหล่านี้เป็นของรัสเซียในปี 1914. อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวทางด้านศิลปะของศิลปินกลุ่มนี้ค่อยๆ เสื่อมลงหลังจากการปฏิวัติในปี 1917 (revolution of 1917) (*). ศิลปินฟิวเจอร์ริสท์บางคนถึงแก่กรรม และบางคนก็อพยพไปอยู่ที่อื่น. Mayakovsky และ Malevich กลายเป็นส่วนหนึ่งของการสถาปนาโซเวียต และการเคลื่อนไหว Agitprop (**) (หน่วยงานที่ทำหน้าที่ปลุกปั่นและโฆษณาชวนเชื่อ) ของทศวรรษที่ 1920s. Khlebnikov และคนอื่นๆ ได้ถูกตามรังควานและถูกกลั่นแกล้ง
(*) The Russian Revolution is the series of revolutions in Russia in 1917, which destroyed the Tsarist autocracy and led to the creation of the Soviet Union. In the first revolution in February 1917 (March in the Gregorian calendar) the Czar was deposed and replaced with the Provisional government, and in the second revolution in October the Provisional Government was removed and replaced with a Bolshevik (Communist) government.
(**) Agitprop is a portmanteau of agitation and propaganda. The term originated in Bolshevist Russia (the future Soviet Union), where the term was a shortened form of otdel agitatsii i propagandy, i.e., Department for Agitation and Propaganda, which was part of the Central and regional committees of the Communist Party of the Soviet Union. The department was later renamed Ideological Department.
ดนตรีในแบบฟิวเจอร์ริสท์
(Futurism in music)
ดนตรีฟิวเจอร์ริสท์ปฏิเสธดนตรีจารีตประเพณีและนำเสนอเสียงในเชิงทดลองต่างๆ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องจักร
และได้ให้อิทธิพลต่อนักประพันธ์ดนตรีหลายคนในคริสตศตวรรษที่ 20. Francesco Balilla
Pratella ได้เข้าร่วมกับขบวนการเคลื่อนไหวฟิวเจอร์ริสท์ในปี 1910 และได้เขียนแถลงการณ์ของบรรดานักดนตรีฟิวเจอร์ริสท์
(Manifesto of Futurist Musicians) ซึ่งงานของเขาเป็นที่ดึงดูดใจสำหรับคนหนุ่มสาว
เช่นเดียวกับที่ Marinetti เป็น ทั้งนี้เพราะ เพียงพวกเขาเท่านั้นที่สามารถเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาต้องการพูด.
ตามที่ Pratella กล่าว, ดนตรีอิตาเลียนออกจะด้อยกว่าดนตรีชาติอื่นๆ. เขาให้การยกย่องอัจฉริยภาพอันสูงส่งของ
Wagner และมองเห็นคุณค่าในงานของนักประพันธ์เพลงร่วมสมัยคนอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น
Richard Strauss, Elgar, Mussorgsky, และ Sibelius. ในทางตรงข้าม ซิมโฟนีอิตาเลียนได้ถูกครอบงำโดยโอเปร่าในรูปของความไร้สาระและการต่อต้านดนตรี(absurd
and anti-musical form)
บรรดาโรงเรียนดนตรีและนักอนุรักษนิยมทั้งหลายได้ให้การสนับสนุนการย้อนกลับไปสู่อดีต และความเป็นธรรมดาที่มีคุณภาพกลางๆ บรรดาผู้พิมพ์ผลงานประพันธ์ทางด้านดนตรีทำให้คุณภาพแบบกลางๆ นี้เป็นอมตะ และมีอิทธิพลครอบงำทางด้านดนตรี โดยโอเปร่าต่างๆ ของ Puccini และ Umberto Giordano ได้รับการวิจารณ์ว่ามีสภาพง่อนแง่นและปราศจากความประณีต. สำหรับ Pratella ได้ให้การยกย่องว่า Pietro Mascagni เป็นครูของเขาและครูของชาวอิตาลี เพราะเขากบฎต่อผู้จัดพิมพ์บทประพันธ์ทางด้านดนตรี และพยายามพัฒนาโอเปร่าไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม Mascagni ก็ยังมีลักษณะจารีตนิยมสำหรับรสนิยมของ Pratella. ตามความเป็นจริงเกี่ยวกับคุณภาพที่เป็นกลางๆ นี้และพวกอนุรักษ์นิยม, Pratella ได้คลี่"ธงแดงของฟิวเจอร์ริสม์ (the red flag of Futurism), อันเป็นสัญลักษณ์ความร้อนแรงที่บรรดานักประพันธ์เพลงหนุ่มมีในหัวใจและรักที่จะต่อสู้ พร้อมด้วยจินตนาการความคิดฝัน และโบกสะบัดอย่างเสรีพ้นไปจากความขลาดกลัว
Luigi Russolo (1885-1947) ได้เขียนเรื่อง The Art of Noises (1913), ซึ่งถือเป็นตำราอันทรงอิทธิพลเล่มหนึ่งด้านสุนทรียภาพทางดนตรีในคริสตศตวรรษที่ 20. Russolo ได้ใช้เครื่องดนตรีต่างๆ ที่เขาเรียกว่า intonarumori, (*) ซึ่งเป็นเครื่องกำเนิดเสียงรบกวนที่ไม่ผ่านเครื่องขยายเสียง มันยอมให้นักเล่นดนตรีสามารถสร้างสรรค์และควบคุมเสียงรบกวนที่มีพลวัตและกำหนดระดับเสียงรบกวนที่แตกต่างได้อย่างหลากหลาย. Russolo และ Marinetti ได้จัดแสดงคอนเสริตดนตรีฟิวเจอร์ริสท์ขึ้นครั้งแรก พร้อมด้วย intonarumori อย่างสมบูรณ์แบบในปี 1914. (ดูภาพประกอบ)
(*) The Intonarumori (noise intoners) were a family of musical instruments invented in 1913 by Italian Futurist painter and musical composer Luigi Russolo. They were devices for producing a broad spectrum of modulated, rhythmic sounds similar to those made by machines, but without imitating or reproducing them. Unfortunately, none of the original intonarumori survived World War II.
ฟิวเจอร์ริสม์ ถือเป็นขบวนการหนึ่งในความเคลื่อนไหวอันหลากหลายทางด้านศิลปะการดนตรีของคริสตศตวรรษที่ 20 ซึ่งได้ให้การเคารพต่อเครื่องจักรที่ถูกนำมาเป็นแบบ. Feruccio Busoni ถือเป็นหนึ่งในคนที่มองกาลไกลในเรื่องไอเดียต่างๆ ของฟิวเจอร์ริสท์ แม้ว่าเขายังคงแต่งงานกับประเพณีนิยมก็ตาม. เครื่องเสียงที่เรียกว่า intonarumori ของ Russolo ได้ให้อิทธิพลต่อ Stravinsky, Honegger, Antheil, Edgar Varese, Stockhausen และ John Cage. ในผลงานออเคสตร้าที่ชื่อว่า Pacific 231 (*), Honegger ได้เลียนแบบเสียงของหัวรถจักรไอน้ำ นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ของฟิวเจอร์ริสท์ด้วยใน The Steel Step ของ Prokofiev (นักประพันธ์เพลงและนักเปียโนชาวรัสเซีย) (15 April 1891 - 5 March 1953)
(*) Pacific 231 is an orchestral work by Arthur Honegger, written in 1923. It is one of his most frequently performed works today.
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีชื่อเสียงโดดเด่นมากที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ George Antheil. ความลุ่มหลงของเขาเกี่ยวกับเครื่องจักรมีหลักฐานปรากฏอยู่ในผลงานโซนาตาที่ชื่อว่า Airplane Sonata, และ Death of the Machines, รวมไปถึงผลงาน 30 นาทีใน Ballet mecanique. The Ballet mecanique ถือเป็นผลงานชิ้นแรกที่มีเจตจำนงเล่นดนตรีคลอไปกับภาพยนตร์ทดลองโดย Fernand Leger, แต่สกอร์ดนตรีชิ้นนี้มีความยาวเป็น 2 เท่าของความยาวภาพยนตร์ และปัจจุบันผลงานดนตรีชิ้นดังกล่าวมีความเป็นตัวของมันเอง. สกอร์ของดนตรีนี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรีหมวดเครื่องเคาะ(percussion)ครบชุด รวมถึงซีโลโฟน(เครื่องดนตรีคล้ายระนาด 3 ชิ้น, กลองเสียงต่ำ 4 ใบ, ฆ้องฝรั่ง, ใบพัดเครื่องบิน 3 ใบ, ระฆังไฟฟ้า 7 ลูก, เครื่องไซเลน, นักเล่นเปียโนสด 2 คน, และเปียโน 16 ตัวที่มีเสียงประสานกัน. ชิ้นงานของ Antheil ถือเป็นการนำเอาเครื่องจักรมาผสมผสานกับนักเล่นดนตรีเป็นครั้งแรกอย่างกล้าหาญและแตกต่าง มันเป็นงานสร้างลูกผสมระหว่างเครื่องจักรกับสิ่งที่มนุษย์สามารถเล่นกับมันได้ทางด้านดนตรี
วรรกรรมฟิวเจอร์ริสท์
(Futurism in literature)
ในฐานะความเคลื่อนไหวด้านวรรณกรรมฟิวเจอร์ริสท์ ปรากฏตัวขึ้นมาเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการจาก
แถลงการณ์ของลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ ของ F.T. Marinetti (Manifesto of Futurism)
(1909), ในฐานะเค้าโครงกวีนิพนธ์ในเชิงอุดมคติอันหลากหลาย ซึ่งควรจะฝ่าฟันไปจนกระทั่งบรรลุผลสำเร็จ.
กวีนิพนธ์, สื่อกลางที่ทรงอิทธิพลของวรรณกรรม สามารถแสดงถึงคุณลักษณะพิเศษออกมาโดยการรวมตัวที่ไม่คาดฝันของภาพลักษณ์
และสั้นกระชับ (อันนี้ต้องไม่สับสนกับความยาวของบทกวี).บรรดาฟิวเจอร์ริสท์เรียกสไตล์บทกวีพวกเขาว่า
parole in liberta (word autonomy) (ความเป็นอิสระของคำ) ซึ่งไอเดียทั้งหมดของท่วงทำนองถูกปฏิเสธ
และ"คำ"กลายเป็นหน่วยหลักของความสัมพันธ์. ในแนวคิดนี้ บรรดาฟิวเจอร์ริสท์ได้ทำการสร้างสรรค์ภาษาใหม่ๆ
ซึ่งเป็นอิสระจากเครื่องหมายวรรคตอน วากยสัมพันธ์ และจังหวะในบทกวีที่ยินยอมให้กับการแสดงออกอย่างเสรี
การละครก็มีที่ทางสำคัญอันหนึ่งอยู่ในปริมณฑลของฟิวเจอร์ริสท์ด้วยเช่นกัน ผลงานต่างๆ เกี่ยวกับการละครประเภทนี้มีฉากต่างๆ ที่ประกอบด้วยบทพูดเพียงเล็กน้อย สั้นกระชับ มีการเน้นไปที่ความขบขันไร้สาระ และพยายามที่จะสร้างความเสื่อมเสียต่างๆ ให้กับวรรณคดีจารีตนิยมอย่างถึงรากโดยการล้อเลียน และใช้เทคนิคลดทอนคุณค่าต่างๆ. บรรดาศิลปินฟิวเจอร์ริสท์ทั้ง Depero และ Prampolini ต่างก็เป็นนักออกแบบด้านการละคร. ในส่วนของรูปแบบของวรรกรรมที่ยาวขึ้น อย่างเช่น นวนิยาย ดูเหมือนจะไม่มีที่ทางในสุนทรียภาพของความเร็วและการบีบอัดแบบฟิวเจอร์ริสท์
ภาพยนตร์แนวฟิวเจอร์ริสท์
(Futurism in film)
เมื่อมีการสัมภาษณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์อันเป็นที่ชื่นชอบของเธอมาโดยตลอด นักวิจารณ์ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง
Pauline Kael กล่าวว่า ผู้กำกับ Dimitri Kirsanoff ในงานภาพยนตร์เงียบแนวทดลองเรื่อง
Menilmontant ได้พัฒนาเทคนิคที่ได้นำเสนอความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นที่รู้จักกันในงานจิตรกรรม
ในฐานะที่เป็นลัทธิฟิวเจอร์ริสม์. สำหรับภาพยนตร์ฟิวเจอร์ริสท์อิตาเลียน ถือเป็นความเคลื่อนไหวทางด้านประวัติศาสตร์ภาพยนตร์นับจาก
1916 -1919 ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ ต่อมามันได้ส่งอิทธิพลให้กับความเคลื่อนไหวทางด้านภาพยนตร์ฟิวเจอร์ริสท์ของรัสเซีย
(ยกตัวอย่างเช่น Lev Kuleshov, Dziga Vertov, Sergei Eisenstein, Vsevolod Pudovkin,
Aleksandr Dovzhenko) และลัทธิการแสดงออกนิยมเยอรมัน (German Expressionism).
ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ในช่วงทศวรรษที่
1920s และ 1930s
เดิมทีเดียวฟิวเจอร์ริสท์อิตาเลียนจำนวนมาก ได้ให้การสนับสนุนลัทธิฟาสซิสม์ เพราะคาดหวังเกี่ยวกับการทำให้ประเทศเป็นสมัยใหม่
ซึ่งแบ่งแยกระหว่างภูมิภาคทางตอนเหนือที่เป็นอุตสาหกรรมและความเป็นท้องถิ่นและล้าสมัยทางตอนใต้.
คล้ายคลึงกับลัทธิฟาสซิสท์ บรรดาฟิวเจอร์ริสท์ล้วนเป็นพวกชาตินิยมอิตาเลียน ซึ่งต่อต้านประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
คนเหล่านี้เป็นพวกหัวรุนแรงและชื่นชมความรุนแรง. Marinetti ได้ก่อตั้งพรรคการเมืองฟิวเจอร์ริสท์
(Partito Politico Futurista) ในช่วงต้นปี 1918, ซึ่งได้ถูกหลอมรวมเข้าสู่ลัทธิฟาสซิสท์ของเบนิโต
มุสโสลินี (Benito Mussolini) ในปี 1919, ทำให้ Marinetti เป็นหนึ่งในสมาชิกคนแรกๆ
ของพรรคฟาสซิสท์แห่งชาติ(National Fascist Party)
ต่อมา Marinetti ได้ต่อต้านลัทธิฟาสซิสม์ ซึ่งภายหลังมีการยกระดับขึ้นสู่ความเป็นสถาบัน และเรียกมันว่า"ฝ่ายปฏิกริยา" และเขาได้ลาออกจากสภาพรรคฟาสซิสท์ในปี 1920 ด้วยความขยะแขยง และถอนตัวจากการเมืองเป็นเวลา 3 ปี; แต่อย่างไรก็ตาม เขาได้ให้การสนับสนุนลัทธิฟาสซิสท์อิตาเลียนจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตในปี 1944. ความสัมพันธ์ของบรรดาฟิวเจอร์ริสท์กับลัทธิฟาสซิสท์ภายหลังจากชัยชนะในปี 1922 ทำให้พวกเขาให้การยอมลัทธินี้อย่างเป็นทางการ และสามารถทำให้ผลงานชิ้นสำคัญบรรลุผลสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม
Marinetti มุ่งที่จะทำให้ลัทธิฟิวเจอร์ริสท์กลายเป็นศิลปะประจำรัฐฟาสซิสท์อิตาลีอย่างเป็นทางการ แต่ก็ต้องประสบกับความล้มเหลว. โดยส่วนตัวแล้ว มุสโสลินีมิได้ใส่ใจในงานศิลปะ และเลือกที่จะให้ความอุปถัมภ์กับสไตล์และความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางศิลปะจำนวนมาก เพื่อที่จะเก็บเอาศิลปินทั้งหลายจงรักภักดีต่อระบอบของตน. ในการเปิดงานนิทรรศการศิลปะของกลุ่ม Novecento Italiano ในปี 1923 มุสโสลินีกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอประกาศว่ามันไกลห่างจากความคิดของข้าพเจ้าที่จะสนับสนุนศิลปะกลุ่มใดๆ คล้ายดั่งเช่นการเป็นศิลปะประจำรัฐ ทั้งนี้เพราะต้องการเปิดโอกาสและเงื่อนไขต่างๆ ทางด้านมนุษยธรรมให้กับศิลปินทั้งหลาย และเพื่อสนับสนุนคนเหล่านี้ทางด้านศิลปะ รวมทั้งความคิดเห็นแห่งชาติ"
(ภาพประกอบ) ซ้าย: ภาพเหมือนตัวบุคคลมุสโสลินี ส่วนภาพขวาคือภาพเหมือนของอนุภรรยาของเชา ชื่อ Margherita Sarfatti
อนุภรรยาของมุสโสลินี
Margherita Sarfatti, เป็นบุคคลที่สามารถเป็นนักลงทุนทางวัฒนธรรมคนหนึ่งเช่นเดียวกับ
Marinetti, ซึ่งได้ให้การส่งเสริมกลุ่ม Novecento group ที่ถือเป็นคู่แข่งจนประสบผลสำเร็จ
และได้เชื้อเชิญ Marinetti นั่งเป็นคณะกรรมการด้วย. แม้ว่าในช่วงปีแรกๆ ของลัทธิฟาสซิสท์อิตาเลียน
ศิลปสมัยใหม่จะได้รับการยินยอมให้มีอยู่(แม้จะอยู่ในในลักษณะของความอดกลั้นก็ตาม)
และถึงกับได้รับการสวมกอด แต่ในช่วงสิ้นสุดทศวรรษที่ 1930s, บรรดาฟาสซิสท์ปีกขวาได้นำเสนอแนวคิด"ศิลปะเสื่อมทราม"(degenerate
art) จากเยอรมนีสู่อิตาลี และได้กล่นประณามลัทธิฟิวเจอร์ริสม์อย่างรุนแรง
(อ่านเรื่อง degenerate art ในบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนที่
http://midnightuniv.tumrai.com/midnightweb/newpage13.html)
Marinetti ได้เคลื่อนไหวหลายอย่างเพื่อทำให้ตนเป็นที่ชื่นชอบของระบอบ กล่าวคือ พยายามที่จะหัวรุนแรงและเป็นแนวหน้าน้อยลง เขาเดินทางจากมิลานไปยังโรมเพื่อเข้าไปใกล้ศูนย์กลางของอำนาจมากขึ้น. เขาได้กลายเป็นนักวิชาการคนหนึ่ง ทั้งๆ ที่กล่นประณามเกี่ยวกับเรื่องวิชาการทั้งหลาย แต่งงานทั้งๆ ที่ตำหนิเรื่องของการแต่งงาน ให้การส่งเสริมศิลปะทางด้านศาสนาหลังจากการมีข้อตกลงระหว่างรัฐกับศาสนาจักร(the Lateran Treaty) (*) ในปี ค.ศ.1929 และแม้กระทั่งประนีประนอมกับโบสถ์แคธอลิค และประกาศว่าพระเยซูคือฟิวเจอร์ริสท์คนหนึ่ง (Jesus was a Futurist).
(*)The Lateran Treaty
is one of the Lateran Pacts of 1929 or Lateran Accords, three agreements made
in 1929 between the Kingdom of Italy and the Holy See, ratified June 7, 1929,
ending the "Roman Question".
They consisted of three documents:
๐ A political treaty recognizing the full sovereignty of the Holy See in the State of Vatican City, which was thereby established.
๐ A concordat regulating the position of the Catholic Church and the Catholic religion in the Italian state.
๐ A financial convention agreed on as a definitive settlement of the claims of the Holy See following the losses of its territories and property.
ถึงแม้ลัทธิฟิวเจอร์ริสท์จะกลายเป็นภาพเสมือนของลัทธิฟาสซิสท์ แต่ก็มีพวกฝ่ายซ้ายที่ต่อต้านพวกที่ให้การสนับสนุนฟาสซิสท์. พวกเขามีแนวโน้มไปในเชิงตรงข้ามกับทิศทางศิลปะและความคิดทางการเมืองของ Marinetti, และในปี ค.ศ.1924 บรรดานักสังคมนิยม คอมมิวนิสท์ และพวกอนาธิปไตยก็ได้เดินออกจากสภาฟิวเจอร์ริสท์ของมิลาน. สุ้มเสียงที่ต่อต้านฟาสซิสท์ในลัทธิฟิวเจอร์ริสท์มิได้ไร้เสียงเสียทีเดียว. ความสัมพันธ์กับพวกฟาสซิสท์, นักสังคมนิยม และพวกอนาธิปไตยในขบวนการเคลื่อนไหวของฟิวเจอร์ริสท์ อาจดูเหมือนว่าแปลกประหลาดในทุกวันนี้ แต่สามารถทำความเข้าใจได้ในกรณีเกี่ยวกับอิทธิพลของ George Sorel, ความคิดของเขาเกี่ยวกับผลของการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงด้วยความรุนแรงทางการเมืองซึ่งตรงข้ามกับสีสันทางการเมือง. ลัทธิฟิวเจอร์ริสท์ได้แผ่ขยายรายรอบอาณาเขตศิลปะ และท้ายสุดได้มีอิทธิพลต่องานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรม เซอรามิก งานออกแบบกราฟิก งานออกแบบอุตสาหกรรม งานตกแต่งภายใน งานละคร การออกแบบฉาก สิ่งทอ วรรณกรรม ดนตรี และสถาปัตยกรรม
ฟิวเจอร์ริสท์กับภาพจิตรกรรมอากาศ
(Aeropainting) (*)
(*) ในที่นี้หมายรวมถึง ภาพเขียนเกี่ยวกับบรรยากาศ เครื่องบิน
ภาพมุมสูง ภาพเวิ้งว้าง ฯลฯ
จิตรกรรมเกี่ยวกับอากาศ (Aeropainting) (aeropittura) นับเป็นการแสดงออกหลักของลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ในช่วงทศวรรษที่สามสิบและสี่สิบช่วงต้น. เทคโนโลยีและความน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับการบิน ซึ่งมีประสบการณ์โดยตรงจากบรรดานักเขียนภาพเแนวนี้ ทำให้เครื่องบินและทิวทัศน์ทางอากาศกลายเป็นเนื้อหาสาระใหม่ๆ แต่การเขียนภาพประเภทนี้ก็แปรปรวนไปในเนื้อหาเรื่องราวและการปฏิบัติ กล่าวคือ มีการเขียนภาพเหล่านี้ออกมาในรูปแบบเหมือนจริง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผลงานประเภทโฆษณาชวนเชื่อ, ภาพนามธรรม, ภาพที่แสดงถึงพลวัตความเคลื่อนไหว, ภาพทิวทัศน์ที่ดูเงียบสงบ, ภาพเหมือนของมุสโสลินี, งานจิตรกรรมที่อุทิศให้ศาสนา และศิลปะตกแต่ง)
งานจิตรกรรมเกี่ยวกับอากาศเริ่มทำขึ้นในปี 1929, อย่างเช่น Perspectives of Flight, เซ็นชื่อโดย Benedetta, Depero, Dottori, Fillia, Marinetti, Prampolini, Somenzi และ Tato. บรรดาศิลปินกล่าวว่า "ทัศนียภาพที่เปลี่ยนไปที่มองมาจากเครื่องบินได้ก่อให้เกิดภาพเหมือนจริงชนิดใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งไม่มีอะไรเหมือนกับความเหมือนจริงในแบบประเพณีที่ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยมุมมองบนพื้นดิน" และ"งานจิตรกรรมที่เขียนขึ้นมาจากความจริงลักษณะใหม่นี้ ไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องรายละเอียดต่างๆ และต้องการการสังเคราะห์และทำให้รูปลักษณ์ภายนอกของทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป". Crispolti ได้ระบุถึงลักษณะ 3 ประการของงานจิตรกรรมเกี่ยวกับอากาศไว้ว่า
- เป็นทัศนวิสัยแบบภาพกว้าง อันมีลักษณะแบบฉบับอุดมคติจักรวาลของ Prampolini เป็นส่วนใหญ่
- เป็นจินตนาการความนึกฝันเกี่ยวกับอากาศที่บางครั้งคล้ายกับเทพนิยาย
- เป็นประเภทหนึ่งของเอกสารเกี่ยวเนื่องกับคนขับขี่บอลลูน ซึ่งได้ให้การยกย่องเกี่ยวกับเครื่องจักร
ท้ายที่สุด มีจิตรกรที่เขียนภาพเกี่ยวกับอากาศมากว่าร้อยคน และบุคคลสำคัญในกลุ่มนี้ อาทิเช่น Balla, Depero, Prampolini, Dottori และ Crali เป็นต้น
Fortunato Depero เป็นนักเขียนร่วมกับ Balla ซึ่งได้เขียนแถลงการณ์ The Futurist Reconstruction of the Universe, (1915) ซึ่งถือเป็นงานเขียนสุดขั้วชิ้นหนึ่งสำหรับการปฏิวัติชีวิตประจำวัน เขาทำงานทางด้านจิตรกรรม งานออกแบบ ประติมากรรม งานศิลปะกราฟิก งานภาพประกอบ งานออกแบบตกแต่งภายใน งานออกแบบเวที และงานด้านเซอรามิก. องค์ประกอบในลักษณะตกแต่งได้มาอยู่ส่วนหน้าๆ ในงานจิตรกรรมชิ้นหลังของ Depero ยกตัวอย่างเช่น Train Born from the Sun (1924). เขายังนำเอาวิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบงานละครและงานพาณิชย์ศิลป์ต่างๆ ด้วย ตัวอย่างเช่น งานออกแบบที่ไม่เป็นจริงสำหรับ Chant du Rossignol (1916) ของ Stravinsky ซึ่งเป็นผ้าม่านขนาดใหญ่ ซึ่งงานออกแบบประเภทนี้รวมถึง The Court of the Big Doll (1920) และภาพโปสเตอร์ทั้งหลายของเขาด้วย
Enrico Prampolini ได้ดำเนินการรอยตามโปรแกรมจิตรกรรมนามธรรมและกึ่งนามธรรม ผสมรวมกับอาชีพทางด้านการออกแบบเวที. Spatial-Landscape Construction (1919) ของเขาเป็นผลงานกึ่งนามธรรม ประกอบด้วยพื้นที่แบนราบขนาดใหญ่ในสีสรรต่างๆ ที่ห้าวหาญ แดงที่จัดจ้า สัม น้ำเงิน และเขียวเข้ม. ส่วน Simultaneous Landscape (1922) ของเขา เป็นภาพนามธรรมทั้งหมด สร้างขึ้นโดยสีแบนๆ และไม่พยายามที่จะสร้างภาพให้มีความตื้นลึกตามหลักทัศนียวิทยาแต่อย่างใด. ในงาน Umbrian Landscape (1929), สร้างขึ้นในปีที่มีการแถลงการณ์จิตรกรรมเกี่ยวกับอากาศ, Prampolini ได้หวนกลับไปสู่ภาพตัวแทน แสดงให้เห็นหุบเขาต่างๆ ของ Umbria. แต่ในปี 1931 เขาได้รับเอา"อุดมคติจักรวาล"(cosmic idealism)มาใช้ และสะท้อนภาพออกมาในลักษณะดูคล้ายสิ่งมีชีวิตในแบบนามธรรม (biomorphic abstractionism) ที่แตกต่างจากผลงานทั้งหลายของทศวรรษก่อนหน้า ยกตัวอย่างเช่น ในภาพ Pilot of the Infinite (1931) และ Biological Apparition (1940).
Gerardo Dottori ได้เขียนภาพจิตรกรรมทิวทัศน์ฟิวเจอร์ริสท์เป็นการเฉพาะ บ่อยครั้งเขาได้แสดงให้เห็นถึงมุมมองเกี่ยวกับอากาศ ผลงานทิวทัศน์ของเขาบางชิ้นสะท้อนออกไปในทางจารีตนิยมมากกว่าฟิวเจอร์ริสท์ ยกตัวอย่างเช่น ภาพ Hillside Landscape (1925). ส่วนผลงานชิ้นอื่นๆ ก็มีลักษณะคล้ายละครและมีความเป็นกวี อย่างเช่น The Miracle of Light (1931-2), มีการใช้มุมมองที่เป็นอัตลักษณ์ส่วนตัวสูง เหนือกว่าทิวทัศน์ที่เป็นแบบแผนด้วยการแต้มสีสว่าง และทัศนียภาพที่ไม่เป็นธรรมชาติอย่างที่ผ่านมาในอดีตของงานจิตรกรรมก่อนยุคเรอเนสซองค์ โดยเหนือขึ้นไปในภาพมีรุ้ง 3 สาย ด้วยสีสรรที่ไม่เคยพบเห็นที่ใดในธรรมชาติ. ส่วนผลงานที่เป็นแบบฉบับฟิวเจอร์ริสท์คือผลงานชิ้นสำคัญของเขา the Velocity Triptych of 1925. Dottori จัดเป็นหนึ่งในตัวแทนคนสำคัญของศิลปะฟิวเจอร์ริสท์แนวศาสนา(sacred art - หมายถึง ภาพที่อุทิศให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์) งานจิตรกรรมของเขา St. Francis Dying ณ Porziuncola คือผลงานภาพทิวทัศน์ที่มีองค์ประกอบเข้มแข็งและมีเจตจำนงลึกลับที่ถูกถ่ายทอดโดยการบิดเบือนรูปทรง มีการใช้แสงสีคล้ายภาพละคร
จิตรกรรมฝาผนังได้รับการโอบกอดเข้ามาโดยบรรดาฟิวเจอร์ริสท์ ใน the Manifesto of Mural Plasticism ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับการฟื้นฟูภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบเฟรสโกในอิตาลี. Dottori ได้รับผิดชอบงานจิตรกรรมฝาผนังหลายชิ้นจนสำเร็จ ประกอบด้วย the Altro Mondo ใน Perugia (1927-8) และ the hydroport at Ostia (1928)
Tullio Crali เป็นจิตรกรที่ฝึกฝนด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินรอยตามลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ช่วงปลายๆ และเพิ่งจะมาเข้าร่วมกับกลุ่มในปี 1929. เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงในด้านภาพเขียนอากาศในแบบเหมือนจริง ซึ่งรวมเอาเรื่องของความเร็ว, เครื่องจักรอากาศ และเครื่องจักรเกี่ยวกับสงครามทางอากาศเข้าไว้ด้วยกัน. ในช่วงแรกๆ ของการเขียนภาพจิตรกรรมอากาศ ได้แสดงภาพเกี่ยวกับเครื่องบินรบ, Aerial Squadron และ Aerial Duel (ทั้งสองชิ้นสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1929), สำหรับภาพที่ปรากฏดูจะต่างไปเล็กน้อยจากผลงานทั้งหลายของ Prampolini หรือจิตรกรฟิวเจอร์ริสท์คนอื่นๆ. ในปี 1930s, งานจิตรกรรมของเขาได้เขยิบเข้ามาใกล้ภาพเหมือนจริง ซึ่งตั้งใจที่จะสื่อสารประสบการณ์เกี่ยวกับการบินให้กับผู้ดู. ผลงานซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของเขาคือภาพ Nose Dive on the City (1939), แสดงถึงการขับเคลื่อนบนอากาศจากมุมมองของนักบินเอง อาคารสิ่งก่อสร้างเบื้องล่างถูกวาดขึ้นในลักษณะทัศนียวิทยาในแบบที่ดูแล้วรู้สึกวิงเวียน
มรดกตกทอดของลัทธิฟิวเจอร์ริสม์
(The legacy of Futurism)
ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์มีอิทธิพลอย่างมากต่อความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางด้านศิลปะของคริสศตวรรษที่
20 รวมทั้ง Art Deco, Vorticism (*), Constructivism, Surrealism และ Dada. ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ในฐานะขบวนการเคลื่อนไหวทางศิลปะ
ปัจจุบันได้สูญสิ้นไปแล้ว กล่าวคือมันไม่มีเหลืออยู่แล้วนับจากปี 1944 เป็นต้นมา
พร้อมกับการล่วงลับของผู้นำของลัทธิฯ Marinetti, และลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ ก็คล้ายๆ
กับนวนิยายวิทยาศาสตร์ กล่าวคือถูกตามได้ไล่ทันในเวลาต่อมาโดยอนาคต
(*) Vorticism was a short lived British art movement of the early 20th century. It is considered to be the only significant British movement of the early 20th century but lasted fewer than three years
แต่อย่างไรก็ตาม อุดมคติของลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ยังคงความสำคัญในฐานะองค์ประกอบของวัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่ นั่นคือ การที่ลัทธินี้เน้นไปที่ความเป็นหนุ่ม ความเร็ว พลังอำนาจและเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังแสดงออกในภาพยนตร์และวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์สมัยใหม่จำนวนมาก. Ridley Scott ได้ปลุกงานออกแบบต่างๆ อย่างมีสำนึกของ Sant'Elia ในภาพยนตร์เรื่อง Blade Runner (ภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์อเมริกัน 1982). ความกังวาลทางความคิดของ Marinetti โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ความฝันเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ที่ทำขึ้นด้วยโลหะ" เป็นสิ่งที่พบเจอได้อยู่เสมอในวัฒนธรรมญี่ปุ่น และการ์ตูน/เอนิเมชั่น รวมถึงผลงานของบรรดาศิลปิน อย่างเช่น Shinya Tsukamoto, งานของผู้กำกับ "Tetsuo" (lit. "Ironman") เป็นต้น
นอกจากนี้มรดกของ Marinetti ยังปรากฏอย่างชัดเจนในส่วนผสมต่างๆ ทางปรัชญาเกี่ยวกับ transhumanism (ในที่นี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพมนุษย์โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงร่างกายต่างๆ), โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุโรป. ลัทธิฟิวเจอร์ริสม์ได้ก่อให้เกิดปฏิกริยาขึ้นมาอย่างหลากหลาย รวมถึงงานวรรณกรรมของพวก cyberpunk - ซึ่งบ่อยครั้งเทคโนโลยีได้รับการปฏิบัติด้วยสายตาเชิงวิพากษ์ - ขณะที่บรรดาศิลปินทั้งหลายที่ก้าวขึ้นสู่ความโดดเด่นช่วงระหว่างความกระฉับกระเฉงขึ้นมาครั้งแรกของอินเตอร์เน็ต อย่างเช่น Stelarc และ Mariko Mori, ได้สร้างผลงานที่ออกไปในทางวิจารณ์เกี่ยวกับอุดมคติต่างๆ ของฟิวเจอร์ริสท์
การฟื้นฟูขบวนการเคลื่อนไหวฟิวเจอร์ริสท์เริ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปี 1988 ด้วยการนำเสนอเกี่ยวกับสไตล์ที่เรียกว่า Neo-Futurist (*) ของโรงละครในชิคาโก ซึ่งได้ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องราวของความเร็วและความแกว่นกล้าของฟิวเจอร์ริสท์มาสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ๆ ของโรงละครโดยตรง. ปัจจุบัน มีนักแสดงที่จัดอยู่ในกลุ่ม Neo-Futurist ที่กระตือรือร้นในชิคาโกและนิวยอร์ค. การฟื้นฟูอีกแห่งในซานฟรานซิสโก บางทีจะอธิบายได้ดีที่สุดในฐานะที่เป็น Post-Futurist, มีศูนย์กลางต่างๆ รายรอบวงดนตรีร็อค Sleepytime Gorilla Museum (**), ซึ่งวงดนตรีดังกล่าวนำชื่อนี้มาจากสำนักพิมพ์ของฟิวเจอร์ ที่ย้อนเวลากลับไปในปี 1916.
(*) The Neo-Futurists are an experimental theater troupe founded by Greg Allen in 1988. Neo-Futurism, inspired by the Italian Futurist movement from the early 20th century, is based on an aesthetics of honesty, speed and brevity.
(**) Sleepytime Gorilla Museum (often abbreviated to SGM) is an American experimental rock band, formed in 1999 in Oakland, California.
Prominent Futurist artists
" Giacomo Balla, painter
" Umberto Boccioni, painter, sculptor
" Anton Giulio Bragaglia
" David Burliuk, painter
" Vladimir Burliuk, painter
" Mario Carli
" Carlo Carr?, painter
" Ambrogio Casati, painter
" Primo Conti, artist
" Tullio Crali
" Luigi de Giudici, painter
" Fortunato Depero, painter
" Gerardo Dottori, painter, poet and art critic
" Filli?, artist
" B?la K?d?r, painter
" Filippo Tommaso Marinetti, poet
" Vladimir Mayakovsky, poet
" Angiolo Mazzoni, architect
" Aldo Palazzeschi, writer
" Giovanni Papini, writer
" Luigi Russolo, painter, musician, instrument builder
" Valentine de Saint-Point, performer, theoretician, writer
" Antonio Sant'Elia, architect
" Hugo Scheiber, painter
" Jules Schmalzigaug, painter
" Gino Severini, painter
" Mario Sironi, painter
" Ardengo Soffici, painter and writer
References
1. ^ Manifesto of the Futurist Painters
2. ^ a b Technical Manifesto of Futurist Painting
3. ^ Severini, G., The Life of a Painter, Princeton, Princeton University Press, 1995. ISBN 0-691-04419-8
4. ^ a b c Humphreys, R. Futurism, Tate Gallery, 1999
5. ^ For detailed discussions of Boccioni's debt to Bergson, see Petrie, Brian, "Boccioni and Bergson", The Burlington Magazine, Vol. 116, No.852, March 1974, pp.140-147, and Antliff, Mark "The Fourth Dimension and Futurism: A Politicized Space", The Art Bulletin, December 2000, pp.720-733.
6. ^ Technical Manifesto of Futurist Sculpture
7. ^ a b Martin, Marianne W. Futurist Art and Theory, Hacker Art Books, New York, 1978
8. ^ The Founding and Manifesto of Futurism
9. ^ Adler, Jerry, "Back to the Future", The New Yorker, September 6, 2004, p.103
10. ^ The Art of Noises on Thereimin Vox
11. ^ The Art of Noises
12. ^ Daniele Lombardi in Futurism and Musical Notes
13. ^ Barra, Allen (2002-11-20). "Afterglow: A Last Conversation With Pauline Kael" by Francis Davis, Salon.com. Retrieved on 2008-10-19
14. ^ Pauline Kael: Reviews A-Z
15. ^ Quoted in Braun, Emily, Mario Sironi and Italian Modernism: Art and Politics under Fascism, Cambridge University Press, 2000
16. ^ Berghaus, G?nther, "New Research on Futurism and its Relations with the Fascist Regime", Journal of Contemporary History, 2007, Vol. 42, p.152
17. ^ a b c Osborn, Bob, Tullio Crali: the Ultimate Futurist Aeropainter
18. ^ " ... dal realismo esasperato e compiatciuto (in particolare delle opere propagandistico) alle forme asatratte (come in Dottori: Trittico della velocit?), dal dinamismo alle quieti lontane dei paesaggi umbri di Dottori ... ." L'aeropittura futurista http://users.libero.it/macbusc/id22.htm
19. ^ Crispolti, E., "Aeropainting", in Hulten, P., Futurism and Futurisms, Thames and Hudson, 1986, p.413
20. ^ Tisdall, C. and Bozzola A., Futurism, Thames and Hudson, 1993, p.198
21. ^ a b Martin, S., Futurism, Taschen, n.d.
22. ^ Hulten, P., Futurism and Futurisms, Thames and Hudson, 1986, p.468
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail
: midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com