ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ : Release date 10 June 2009 : Copyleft MNU.

กองทัพบังคับให้ผู้อพยพกลับบ้านของพวกเขา พวกเขาจัดให้มีการจับสลากว่าจะต้องไปอยู่ที่ไหน ถ้าพวกเขาจับได้ "ถูก"สลาก ก็จะได้ที่พักอาศัยที่ดี ดังนั้นชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านจึงถูกบังคับจากกองทัพให้ไปอยู่ที่ใหม่ พวกเขาไม่ได้อยากจะไป แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่น ก็เลยต้องไป พวกเขาถูกบังคับให้ไป จากนั้น หมู่บ้านที่พวกเขาถูกบังคับให้ออกมาจะถูกขายโดยกองทัพ คนที่มีเงินจะซื้อที่ดินเหล่านี้จากกองทัพ มีคนอยู่ไม่มากนักที่ถูกทิ้งให้อยู่ที่นั่นประมาณ 3-4 ครอบครัว พวกเขาสามารถขายที่ดินให้กับคนรวยๆ แต่ที่ดินที่เหลือจากครอบครัวที่เสียชีวิต คนที่รวยจะซื้อต่อจากกองทัพ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในหลาย หมู่บ้านที่จังหวัด Labutta แล้วก็ยังในเขตเมือง Labutta และใน Bogale ด้วย กองทัพไม่พยายามค้นหาเลยว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน

H



10-06-2552 (1735)
ชะตากรรมชาวพม่าหลังภัยธรรมชาติ ซ้ำเติมโดยรัฐบาลทหารพม่า SPDC
รายงานหลังพายุนาร์กิส: เหตุการณ์ผีซ้ำด้ำพลอยจากปากแม่น้ำอิระวดี
อัจฉรียา สายศิลป์ : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ ผู้สนใจในประเด็นสื่อและการศึกษาในประเทศพม่า

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานแปลและเรียบเรียงชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้แปล ซึ่งเป็นรายงานโดย ทีมช่วยเหลือฉุกเฉิน-ประเทศพม่า
(Emergency Assistance Team- Burma) และศูนย์สาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน จอห์นส์ ฮอพกินส์
(Johns Hopkins Center for Public Health and Human Rights) สำหรับผู้สนใจรายงานฉบับเต็ม
สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ต่อไปนี้
http://www.jhsph.edu/humanrights/locations/asia/BurmaCyclone.html
http://www.maetaoclinic.org/cyclone.html

ประเด็นสำคัญของรายงานแปลและเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยหัวข้อ...
- ประเทศพม่าก่อนเกิดพายุ
- ประชามติและรัฐธรรมนูญใหม่
- ทีมช่วยเหลือฉุกเฉิน-ประเทศพม่า
- การประเมินผลการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุนาร์กิสขององค์กรอิสระ
- ความพยายามในการบรรเทาทุกข์ และ กรอบการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน
- หน้าที่ในการปกป้องประชาชนของรัฐบาล (Responsibility to Protect)
- อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes Against Humanity)
- สิ่งที่ได้พบ: เสียงจากที่ราบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี
- บทสรุปและอภิปรายผล
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "วัฒนธรรมหลังสมัยใหม่")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๓๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชะตากรรมชาวพม่าหลังภัยธรรมชาติ ซ้ำเติมโดยรัฐบาลทหารพม่า SPDC
รายงานหลังพายุนาร์กิส: เหตุการณ์ผีซ้ำด้ำพลอยจากปากแม่น้ำอิระวดี
อัจฉรียา สายศิลป์ : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ ผู้สนใจในประเด็นสื่อและการศึกษาในประเทศพม่า

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หลังพายุ: เสียงจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี
เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีพายุไซโคลนนาร์กิส
รายงานโดย ทีมช่วยเหลือฉุกเฉิน-ประเทศพม่า (Emergency Assistance Team- Burma)
และศูนย์สาธารณสุขและสิทธิมนุษยชน จอห์นส์ ฮอพกินส์ (Johns Hopkins Center for Public Health and Human Rights)

บทสรุปผู้บริหาร
ไซโคลนนาร์กิสได้พัดกระหน่ำพม่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ถล่มที่ราบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 220 กิโลเมตร มีผู้สูญหายจากเหตุการณ์นี้กว่า 140,000 คน และอีกอย่างน้อย 3.4 ล้านคนได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติครั้งนี้ พายุนาร์กิสได้โจมตีพม่าซึ่งเป็นประเทศที่ปกครองโดยทหารมายาวนาน และในช่วงเวลาที่สำคัญ คือเพียงไม่กี่วันก่อนวันกำหนดการลงคะแนนประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญที่กองทัพหนุนหลัง

ปฏิกิริยาของฝ่ายรัฐบาลทหารพม่าหรือสภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC - The State Peace and Development Council) ที่มีต่อพายุไซโคลนนาร์กิสนั้น ดำเนินการโดยยึดนโยบายของรัฐบาลทหารที่เป็นแนวปฏิบัติต่อประชาชนของตนโดยทั่วไปดังที่เคยเป็นมา ณ ขณะนั้นรัฐบาลพม่าให้ความสำคัญกับการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ มากกว่าการรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว ปฏิกิริยาของรัฐบาลทหารถือเป็นความล้มเหลวทั้งในเรื่องการเตือนภัย การดำเนินการจัดการ การจำกัดการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากประชาชนและกลุ่ม NGO ภายในประเทศของพม่า และการจำกัดการทำงานด้านมนุษยธรรมจากองค์กรระหว่างประเทศที่ต้องการเข้าไปช่วยเหลือ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความท้าทายในการประเมินผลการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างอิสระครั้งนี้ ส่วนการประเมินผลโดยรัฐบาลทหารนั้น พบว่ามีการระบุถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนของผู้รอดชีวิตและกลุ่มผู้ทำงานบรรเทาทุกข์น้อยมาก

ประเทศพม่าก่อนเกิดพายุ
เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่า การปกครองโดยของทหารในประเทศพม่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ดังจะเห็นได้จากการปราบปรามกลุ่มพระสงฆ์ที่เดินขบวนในปี ค.ศ. 2007 และการไม่เคยเห็นความสำคัญในเรื่องงบประมาณด้านสวัสดิการสังคมเลย ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในด้านสาธารณสุขคิดเป็นเงินเพียง 0.70 เหรียญสหรัฐต่อประชากรหนึ่งคนต่อปีหรือร้อยละ 0.3 ของ GDP ของประเทศ ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในระดับนี้ถือว่าอยู่ระดับต่ำที่สุดในโลก และยังพบว่าการบริการด้านสังคมและสุขภาพที่ย่ำแย่อยู่แล้วนี้ เลวร้ายยิ่งขึ้นในพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย

ประชามติและรัฐธรรมนูญใหม่
รัฐบาลพม่าประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ว่า จะจัดการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับทหารในวันที่ 10 พฤษภาคมปีเดียวกัน ก่อนหน้านี้ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวซึ่งไม่เป็นที่เปิดเผยแก่สาธารณชน กล่าวคือ มีเพียงผู้แทนที่ได้รับการแต่งตั้งจากกองทัพ แต่ปราศจากการเข้าร่วมของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy หรือ NLD) และพรรคสันนิบาตแห่งรัฐฉานเพื่อประชาธิปไตย (Shan Nationalities League for Democracy หรือ SNLD) ซึ่งเป็นพรรคที่ชนะการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1990 แต่ก็ไม่เคยได้รับการรับรองจากกลุ่มผู้ครองอำนาจเลย

ทีมช่วยเหลือฉุกเฉิน-ประเทศพม่า
ในช่วงเวลาที่เกิดพายุไซโคลน กลุ่มเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขจากเขตชายแดนไทย-พม่าได้ร่วมมือกันก่อตั้ง The Emergency Assistance Team (EAT-Burma) หรือทีมช่วยเหลือฉุกเฉิน-ประเทศพม่า หลังจากนั้นได้รวมกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 44 ทีม โดยส่วนใหญ่เป็นผู้รอดชีวิตจากพายุไซโคลน พวกเขาได้รับการฝึกในการบรรเทาทุกข์ในสถานการณ์เร่งด่วน การแจกจ่ายน้ำและอาหาร รวมทั้งอุปกรณ์ยังชีพเบื้องต้น

ทีม EAT ซึ่งอยู่ทำงานร่วมกับองค์กรชุมชนท้องถิ่น (CBO) อย่างไม่เป็นทางการ และยังไม่ได้เกี่ยวพันกับกลุ่มองค์กรรัฐและ NGO ที่เป็นทางการ สมาชิก EAT ได้ลงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ผู้รอดชีวิตจากพายุไซโคลนนาร์กิส ความพยายามของพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่มีอยู่จำนวนมากของกลุ่มองค์กรทางสังคมตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งดำเนินการช่วยเหลือในเหตุการณ์พายุนาร์กิสอย่างรวดเร็ว โดยเคลื่อนไหวผ่านเครือข่ายขององค์กรชุมชนท้องถิ่น. ภายในระยะเวลาเพียงสามเดือนแรก ทีมช่วยเหลือโดยตรง 44 หน่วยได้ให้ความช่วยเหลือผู้รอดชีวิตเป็นจำนวนประมาณ 180,000 คน ใน 87 หมู่บ้านจากพื้นที่ 17 เมือง

การประเมินผลการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุนาร์กิสขององค์กรอิสระ
การรายงานเรื่องการละเลยด้านสิทธิมนุษยชน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนนาร์กิสนั้น เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของ EAT และศูนย์สาธารณสุขและสิทธิมนุษยชนจอห์นส์ ฮอพกินส์เพื่อทำการประเมินผลอย่างอิสระ เนื่องจากมีรายงานเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในช่วงที่ EAT ดำเนินงานในระยะแรก ด้วยความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากองค์กรท้องถิ่น เช่น กลุ่มสิทธิมนุษยชนกะเหรี่ยง (Karen Human Rights Group) และ Global Heath Access Program คณะทำงานได้ดำเนินการเก็บข้อมูล 2 รอบ ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน และตุลาคมถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 โดยดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 90 คน เป็นกลุ่มผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ 33 คน และเป็นผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติ 57 คน โดยสัมภาษณ์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ (รวมทั้งในเขตอิระวดี) และในประเทศไทย

ความพยายามในการบรรเทาทุกข์ และ กรอบการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน
ส่วนใหญ่แล้วรัฐบาลพม่าไม่ได้เข้าร่วมการลงนามในสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แต่ได้ลงนามในข้อตกลงทางด้านสิทธิของเด็ก (Convention on the Rights of the Child หรือ CRC) ในปี ค.ศ. 1991 และข้อตกลงด้านการกำจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (Convention on Elimination of all Forms of Discrimination against Women หรือ CEDAW) ในปี ค.ศ. 1997 แต่ก็เป็นการลงนามอย่างไม่สมัครใจนัก. ในกรณีของ CRC นั้น รัฐบาลทหารได้ทำการตกลงตามกฎหมายว่า จะตระหนักในสิทธิของเด็กเพื่อจะบรรลุมาตรฐานสูงสุดด้านสาธารณสุขและเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และในกรณีของ CEDAW ได้ลงนามไว้ว่าจะตระหนักถึงสิทธิสตรีในด้านการรักษาสุขภาพ รวมทั้งด้านสาธารณสุขที่จำเป็นของสตรีในชนบท

หน้าที่ในการปกป้องประชาชนของรัฐบาล (Responsibility to Protect)
ในปี ค.ศ. 2001 องค์กร International Commission on Intervention and State Sovereignty (ICISS) ได้เผยแพร่เอกสารเรื่อง "หน้าที่ในการปกป้อง" (Responsibility to Protect หรือ R2P) ซึ่งเป็นกรอบการทำงานขั้นก้าวหน้าเพื่อการปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกาศว่า เป็นหน้าที่ของแต่ละชาติที่มีอธิปไตยในการปกป้องประชาชนของตนเองจากอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ การฆ่าล้างเผ่าพันธ์และความรุนแรงต่อมวลชนอื่นๆ รายงานนี้ได้รับการรับรองอีกครั้งโดยผลการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติปี ค.ศ. 2005 และผลการประชุมสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ปี ค.ศ. 2006. สำหรับผลการประชุมปี 2005 สรุปว่า เป็นหน้าที่ของชุมชนประชาชาติ

...ในการใช้นโยบายที่เหมาะสมตามหลักมนุษยธรรมและสันติวิธีอื่นๆ ตามข้อตกลงที่ 6 และ 8 ของกฎบัตร เพื่อช่วยปกป้องประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ อาชญากรรมสงคราม การกวาดล้างชนชาติ และอาชญากรรมที่เป็นภัยกับมนุษยชาติ และต้องเป็น"การปฏิบัติการร่วม"เท่านั้น "โดยพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปด้วยความร่วมมือกับองค์กรในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม เมื่อแนวทางสันติวิธีนั้นไม่พอเพียง และอำนาจรัฐนั้นล้มเหลวอย่างเห็นได้ชัดในการปกป้องประชาชนของพวกเขา"...

ในตอนแรกมีการเรียกร้องให้มีการนำ R2P ที่ว่านี้มาใช้ แต่ก็ไม่เคยถูกนำมาดำเนินการจริงในสถานการณ์พายุไซโคลนครั้งนี้ แต่ประชาชนพม่ารวมทั้ง EAT ได้กระทำการตามหน้าที่ในการปกป้องนั้นเอง ทั้งๆ ที่มีการกระทำทารุณ จับกุม และในบางกรณี คุมขังผู้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยรัฐบาลทหารพม่า

อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes Against Humanity)
หลักฐานต่างๆ ที่นำมาแสดงในรายงานนี้ เป็นเอกสารที่แสดงให้เห็นถึง

1) การจงใจเพิกเฉยต่อเหยื่อพายุไซโคลน ซึ่งรวมทั้งผู้หญิงและเด็ก ที่อาจนำไปสู่การสูญเสียชีวิตอย่างมากมาย
2) ความล้มเหลวของรัฐพม่าในการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้หญิงในชนบท และเด็กโดยทั่วไปในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน
3) การเข้าแทรกแซง/ขัดขวางการปฏิบัติการบรรเทาทุกข์เบื้องต้นโดยเลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติและศาสนา
4) การบังคับใช้แรงงาน
5) การบังคับย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบกับผู้หญิงและเด็ก
6) การบังคับใช้แรงงานเด็ก

หลักฐานแต่ละชิ้นแสดงถึงการละเมิดสนธิสัญญา CRC และ CEDAW ของรัฐบาลทหารพม่า

นอกจากนั้นการจงใจละเลยเหล่านี้ อาจจะเข้าข่ายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเป็นจำนวนมากอีกด้วย ดังที่ระบุไว้ในมาตราที่ 7(1)k ของข้อบังคับโรมแห่งศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ ที่ว่า หากในสถานการณ์ที่สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานของพลเรือนมีไม่พอเพียง "อันเป็นการก่อให้เกิดความทรมานอย่างตั้งใจ หรือเกิดบาดเจ็บขั้นร้ายแรงต่อร่างกายหรือจิตใจหรือสุขภาพกาย"

การสอบสวนเรื่องการละเมิดที่เกิดขึ้น และการชดเชยให้กับเหยื่อของการกระทำเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการ หากมีการดำเนินการต่อสถานการณ์นาร์กิสในขั้นต่อไปตามมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และหน้าที่ตามหลักการที่รัฐบาลพม่าควรจะปกป้องดูแลประชาชนภายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการบูรณะซ่อมแซมในขั้นต่อไปด้วย

สิ่งที่ได้พบ: เสียงจากที่ราบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี
โดยสรุปแล้ว ทีม EAT ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง 90 คน. 33 คนเป็นกลุ่มผู้ทำงานบรรเทาทุกข์และเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่อีก 57 คนเป็นกลุ่มผู้รอดชีวิตจากพายุไซโคลน. ชื่อ หมู่บ้าน และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ถูกทำการลบออกเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของผู้ให้สัมภาษณ์

ภาพซ้าย: ที่พักชั่วคราวซึ่งยังคงใช้อยู่ในเดือนธันวาคม 2008 (EAT). ภาพขวา: การบันทุกเรือเล็กเพื่อการจัดส่งน้ำดื่มไปในพื้นที่ประสบภัย (EAT)

ความต้องการเร่งด่วนด้านอาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัยหลังพายุไซโคลน
"พายุถล่มในตอนกลางคืนและหยุดประมาณ 9.30 น. ผมออกไปดูความเสียหายทันที ไม่มีความช่วยเหลือเลย ไม่มีทหาร ไม่มีตำรวจ ไม่มี USDA [Union Solidarity and Development Association: องค์กรทางการเมืองที่จัดตั้งโดยรัฐบาลพม่า] ผมรู้สึกว่าเราต้องทำอะไรบางอย่าง จึงไปที่ UNDP [โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ] แต่พวกเขาพูดแต่เรื่องการประเมินสถานการณ์และจำนวนคน ซึ่งไม่มีประสิทธิภาพเลย เราต้องทำอะไรสักอย่างในตอนนี้ ดังนั้น เราจึงจัดการบรรเทาทุกข์อย่างฉุกเฉินขึ้นมาเอง
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ อาชีพข้าราชการ ทำงานในเมือง Hlaingtharya, Dala, Bogale, และ Dedaye ให้สัมภาษณ์ในย่างกุ้ง 21 มิถุนายน 2551)

กลุ่มผู้ทำงานบรรเทาทุกข์กล่าวว่า ความช่วยเหลือที่เข้าถึงชาวบ้านมักจะไม่เพียงพอกับความต้องการของชุมชน บ่อยครั้งปริมาณของไม่เพียงพอ หรือได้รับไม่กี่ครั้ง:

ด้านอาหาร
"ชาวบ้านเล่าว่ารัฐบาลได้นำอาหารเข้ามาให้พวกเขาเพียงครั้งเดียวตั้งแต่เกิดพายุไซโคลน"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศหญิง ทำงานในหลายหมู่บ้านใน Laputta ทำการสัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอดวันที่ 14 มิถุนายน 2551)

น้ำ
"น้ำดื่มที่สะอาดปลอดภัยยังเป็นปัญหา สองเดือนหลังพายุไซโคลน ชาวบ้านยังใช้น้ำจากบ่อตื้นๆซึ่งเต็มไปด้วยโคลนอยู่ และไม่มีถังน้ำเอาไว้รองน้ำฝน"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ ทำงานใน Dedaye และ Pyapon ให้สัมภาษณ์วันที่ 25 มิถุนายน 2551)

ด้านที่อยู่อาศัย
"ชาวบ้านหลายคนยังคงอยู่อาศัยในที่พักชั่วคราวที่สร้างจากซากปรักหักพังกับ ผ้าใบกันน้ำ หรือยังอยู่ที่พักเดิม รัฐบาลได้ตัดต้นไม้เพื่อนำมาสร้างบ้านให้พวกเขา แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการก่อสร้าง"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย ทำงานในหลายหมู่บ้านใน เขตเมือง Labutta สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 23 กันยายน 2551)

"เราได้ขึงเตนท์ที่ทำจากผ้าใบ ปูด้วยไม้ไผ่และเสื่อ เมื่อสองอาทิตย์ก่อนที่เตนท์จริงๆ จากทางการจะเข้ามาในพื้นที่"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ ทำงานในเมือง Labutta, Dedaye, Pyapon, Mawlamyinegsyun, Bogale และ Kyaunggon
ให้สัมภาษณ์ที่เมืองย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2551)

ด้านสาธารณสุข
"ผมไปคนเดียวไม่ได้ไปกับองค์กรใดๆ และอยู่ที่นั่นหนึ่งเดือน ผมได้ให้ความช่วยเหลือด้านการรักษา และเพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข และให้ความรู้ด้านการแพทย์ (เช่น สอนวิธีทำให้น้ำสะอาด) และแจกจ่ายยารักษาโรคกับอาหาร"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย อาชีพแพทย์ทำงานใน Pyapon ให้สัมภาษณ์ที่อำเภอแม่สอด วันที่ 20 สิงหาคม 2551)

รัฐบาลแทรกแซงความพยายามช่วยเหลือบรรเทาทุกข์
"เมื่อเราออกไปลงพื้นที่ครั้งที่แล้ว เจ้าหน้าที่ทหารหยาบคายกับเรามาก เราสวมเสื้อของสหประชาชาติ พวกเขาหยุดรถของเราแล้วพูดกับเราว่า "สหประชาชาติเหมือนหมา" ในภาษาพม่า การพูดอย่างนั้นหยาบคายมาก พวกเขาบอกว่า กองทัพเป็นผู้ดูแลเหยื่อไซโคลน ไม่ใช่สหประชาชาติ พวกเขาบังคับให้เราฟังที่เขาพูดซึ่งหยาบคายมาก สมาชิกคนหนึ่งในทีมเราไม่ได้ก้มหัวคำนับหลังจากเขาพูดจบ ก็เลยถูกตั้งคำถามจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นพันตรีคนหนึ่ง ว่าทำไมไม่ก้มหัวเหมือนชาวบ้านคนอื่นๆ ล่ะ? ซึ่งมันทำให้ผมรู้สึกแย่มาก"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ ทำงานในเมือง Dedaye และ Pyapon ให้สัมภาษณ์ในเมืองย่างกุ้ง วันที่ 25 มิถุนายน 2551)

มีอุปสรรคมากมายซึ่งเกิดจากการแทรกแซง/ขัดขวางของรัฐบาล ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยการแทรกแซงเหล่านี้รวมไปถึงการจำกัดการเดินทางเข้าออกในพื้นที่ และมีการตั้งด่านตรวจตลอดเส้นทางจะเข้าไปยังสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระอย่างเข้มงวด และยังมีการเก็บค่าผ่านทาง(สินบน) เพื่อเข้าไปยังสถานที่ดังกล่าวด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมาทำให้การเข้าไปบรรเทาทุกข์ล่าช้าและเป็นไปด้วยความยากลำบาก. กลุ่มที่เข้าไปช่วยเหลือหลายกลุ่มก็ถูกบังคับให้ต้องหาเส้นทางและวิธีการอื่น (ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางลับ) เพื่อที่จะส่งความช่วยเหลือให้กับผู้รอดชีวิต

"ตอนที่เดินทางไปเมือง Dedaye ครั้งแรกเราต้องลักลอบนำยาใส่ในกระเป๋าของเรา เพื่อจะนำไปบรรเทาทุกข์ในพื้นที่ หลังจากนั้นสองอาทิตย์ เหตุการณ์เริ่มดีขึ้น ตอนนี้พวกเจ้าหน้าที่ไม่ได้พยายามหยุดเราแล้ว แต่อาทิตย์แรกเป็นเรื่องลำบากมาก พวกเขาจับผู้คนและหยุดไม่ให้รถโดยสารผ่านด้วย เราต้องลักลอบเอาสิ่งของที่จำเป็นเข้าไป บางกลุ่มต้องจ่ายค่าผ่านทางแกเจ้าหน้าที่ถึง 30, 000 จั๊ต (ประมาณ 900 บาท) แต่เราไม่ยอมทำเช่นนั้น เรายอมที่จะเจรจาหรือหรือลักลอบเข้าไป แต่เราจะไม่ให้เงินกับทหาร"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ที่ทำงานในเมือง Dedaye และ Pyapon ให้สัมภาษณ์ในเมืองย่างกุ้ง วันที่ 25 มิถุนายน 2551)

"พวกเขาถามชื่อเรา และถามว่าเรามาจากที่ไหน ผมบอกชื่อปลอมไป และบอกว่ามาจากเมือง Sittwe ผมบอกเขาไม่ได้ว่ามาจากชายแดน เพราะถ้าบอกอย่างนั้นและบอกว่าทำงานให้กับ XXX [องค์กรหนึ่ง] จะโดนพวกเขาจับกุมแน่นอน ผมไม่กล้าบอกความจริงกับพวกเขา เพราะพวกเขาจะจับผม ผมจึงบอกเจ้าหน้าที่ไปว่าผมมาจาก องค์กรท้องถิ่นจากรัฐ Rakhine ซึ่งต้องการบริจาคอาหารให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านนี้"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย ทำงานในเมือง Hi Kyi ให้สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 13 มิถุนายน 2551)

การยึดทรัพย์สินที่จะนำไปบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย
ผู้คนที่ได้ทำการสัมภาษณ์ ได้แจ้งกับเราถึงเหตุการณ์ลักขโมย และยึดเครื่องบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัย รวมทั้งสิ่งของช่วยเหลือจากนานาชาติโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงปัญหาสำคัญภายใต้การดำเนินงานโดยรัฐบาลพม่า คือการกำหนดนโยบายให้สิ่งของบรรเทาทุกข์ที่ได้รับการบริจาค ต้องส่งผ่านรัฐบาลพม่าเพื่อแจกจ่ายและไม่ไห้ส่งถึงมือผู้รอดชีวิตโดยตรง ดังที่มีหลักฐานจากคำให้สัมภาษณ์โดยอดีตทหารพม่าและผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ดังนี้:

"ผมไปที่ตลาดบางแห่งที่ดำเนินกิจการโดยเจ้าหน้าที่และกองทัพ แล้วก็พบกับสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่ได้รับบริจาคถูกนำมาวางขายที่นั่น ของพวกนั้นควรจะถูกส่งไปให้เหยื่อพายุไซโคลน ผมรู้ว่าสิ่งของที่ได้รับบริจาคมามีอะไรบ้าง ผมก็เลยจำได้เมื่อเห็นมันวางขายในตลาด… ตลาดที่ว่านั้นเป็นตลาดกองทัพอากาศ Bassein [Pathein] และอีกตลาดหนึ่งคือตลาดกลางในเขตตะวันตกเฉียงใต้ ผมเห็นบะหมื่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า กาแฟผง สบู่และข้าวของอื่นๆ ของพวกนี้ไม่ได้ผลิตในพม่า แต่มาจากประเทศอื่น เงินที่ได้จากการขายข้าวของพวกนี้ก็จะตกไปสู่ในมือของเจ้าของร้านค้า แต่ว่าร้านค้าพวกนี้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ เจ้าของร้านเองก็เป็นคนในครอบครัวของทางกองทัพ อย่างเช่น เป็นภรรยาของทหารหรือนายพล"
(อดีตทหารพม่าเพศชาย ให้สัมภาษณ์ที่อำเภอแม่สอด วันที่ 13 กันยายน 2551)

"การส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ผ่านรัฐบาล(พม่า)ไม่มีประสิทธิภาพ ที่สนามบิน(เมืองย่างกุ้ง) คุณจะเห็นว่าสิ่งของลงที่นั่น แต่จริงๆ ของจะถูกนำไปเก็บที่โกดังของรัฐ คุณจะเห็นรถบรรทุกของกองทัพมาขนมันเข้าออกในบางพื้นที่ แล้วก็จะเห็นว่ามันถูกส่งไปที่ค่ายทหาร ค่ายทหารจะได้ของพวกนั้นไม่ใช่ชาวบ้าน ของบริจาคบางอันมีป้ายติดว่า USAID ในบางพื้นที่ถ้ามี 7 หมู่บ้าน จะมีเพียงหมู่บ้านเดียวที่ได้ของที่มีตรา USAID ติดอยู่ ส่วนหมู่บ้านที่เหลือไม่ได้รับ ผู้บังคับบัญชาในท้องถิ่นไม่กล้าแจกของ และต้องรอจนกว่าจะได้รับคำสั่งอนุญาตจากเบื้องบน"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ ที่ทำงานในเมือง Dala, Bogale, Dedaye ให้สัมภาษณ์ที่เมืองย่างกุ้ง วันที่ 21 มิถุนายน 2551)

การจับกุมผู้ทำงานบรรเทาทุกข์
กองทัพยังเป็นอุปสรรคต่อการส่งความช่วยเหลือให้กับผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์พายุไซโคลนนาร์กิส โดยการข่มขู่และจับกุมผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ รวมทั้งอาสาสมัครอิสระ ซึ่งเป็นที่พึ่งพิงของผู้รอดชีวิตส่วนใหญ่ในช่วงสัปดาห์หลังเหตุการณ์ภัยพิบัติ ดังคำให้สัมภาษณ์ต่อไปนี้…

"หลังจากเหตุการณ์หนึ่งเดือน พวกเขาก็เข้ามาในหมู่บ้าน เมื่อเห็นสิ่งของบริจาคของผมแล้วก็เริ่มสอบสวนผม และพวกเขาส่งข้อมูลของผมไปที่เมืองย่างกุ้งเพื่อสืบสวนเพิ่มเติม พวกเขาถามว่าทำไมถึงมีข้าวของมากมาย พวกเขาคิดว่าเป็นของพวกต่อต้านรัฐบาล ผมก็เลยออกมา เพราะผมไม่อยากติดคุก"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย อาชีพศัลยแพทย์ ทำงานในเมือง Pyapon ให้สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 20 สิงหาคม 2551)

ด้านข้อมูล
การไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับกลุ่มผู้ทำงานบรรเทาทุกข์นอกจากนั้น ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่จากสื่อที่รัฐควบคุมอยู่มักจะบิดเบือนเรื่องราวภัยพิบัติ จนดูเหมือนสถานการณ์ไม่รุนแรงดังที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงทำให้เห็นว่าความต้องการของผู้ประสบภัยมีน้อยกว่าความเป็นจริง

"รัฐบาลจะบอกประชาชนว่าจะต้องตอบอย่างไรเวลาให้สัมภาษณ์ และไม่สามารถพูดเป็นอย่างอื่นได้ พวกเขาต้องบอกว่า รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือและพวกเขาสามารถทำนาต่อไปได้ และทุกอย่างก็เรียบร้อยดี พวกเขาต้องบอกว่าได้รับสิ่งของทุกอย่างมาจากรัฐบาล"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศหญิง ทำงานในหลายหมู่บ้านในเขต Labutta ให้สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 20 มิถุนายน 2551)

"เมื่อมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ สภาพทุกอย่างกลับดูว่ายอมรับได้ จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย แม้แต่กลุ่มผู้อพยพ ฉันเห็นรูปของเด็กคนเดียวกัน แม่คนเดียวกันในรูปของหลายๆ แคมป์ และในเวลาที่แตกต่างกัน(ในข่าวที่ออกมาอย่างเป็นทางการ) มันเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ ทำงานในเมือง Dedaye และ Pyapon ให้สัมภาษณ์ในเมืองย่างกุ้งวันที่ 25 มิถุนายน 2551)

การแจกจ่ายให้ความช่วยเหลือ
รายงานต่างๆ ดังเช่นตัวอย่างด้านล่าง ได้ชี้ให้เห็นถึงการสกัดกั้นการให้ความช่วยเหลือและการที่ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์พายุไซโคลนต้องเผชิญกับอุปสรรคในการรับความช่วยเหลือต่างๆ

"รัฐบาลประกาศว่า พวกเขาจะส่งความช่วยเหลือให้ หมู่บ้าน XXX โดยเป็น ข้าวสารห้าถุง กับถั่วอีกหนึ่งถุง ให้ประชาชนมารับ รัฐบาลต้องการสร้างความประทับใจว่า สิ่งของที่ให้ความช่วยเหลือนั้นเป็นการให้เปล่า แต่พวกเขาไม่ได้ส่งมันไปที่หมู่บ้าน ชาวบ้านต้องเข้าเมืองไปเอามา พวกเขาต้องเดินทางไปรับข้าวของด้วยตนเอง และผู้ใหญ่บ้านต้องจ่ายเงินค่าเดินทางให้ด้วย แต่ผู้ใหญ่บ้านไม่มีเงินพอ เพราะต้องใช้เงินถึง 10,000 - 13,000 จั๊ต (ประมาณ 300 - 400 บาทต่อเที่ยว) ก็เลยต้องเก็บเงินชาวบ้านสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ดังนั้นมันก็ไม่ใช่ของฟรีอีกต่อไป เพราะพวกเขาต้องจ่ายเงิน รัฐบอกผู้ใหญ่บ้านว่าไม่ให้เขาเก็บเงินชาวบ้าน ถ้าอย่างนั้นใครจะแบกรับค่าใช้จ่ายเรื่องพาหนะล่ะ? ดังนั้น ผู้ใหญ่บ้านต้องขาย (ข้าวของที่รับบริจาค) บางส่วน เพื่อใช้จ่ายส่วนนี้ รัฐบาลก็ห้ามไม่ให้เขาขาย ท้ายที่สุด ผู้ใหญ่บ้านคนนั้นก็เลยไม่ไปรับของ ต่อมาเมื่อเขาเจอเจ้าหน้าที่อีกก็ถูกตบหน้า เพราะ 'ดูถูกความเมตตาของรัฐบาล'"
(-- ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ ทำงานในเมืองย่างกุ้ง ให้สัมภาษณ์ในเมืองย่างกุ้ง วันที่ 26 มิถุนายน 2551)

การเลือกปฏิบัติด้านเชื้อชาติและศาสนาในการส่งความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
ในการสัมภาษณ์ผู้ให้ความช่วยเหลือหลายคนเปิดเผยว่า มีการเลือกปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือเหยื่อพายุไซโคลน โดยเฉพาะในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี ซึ่งมีประชาชนที่ไม่ใช่กลุ่มเชื้อสายพม่า และไม่ได้นับถือศาสนาพุทธอยู่มาก

ด้านเชื้อชาติ
"เพื่อนของผมบอกว่า ในตอนแรก รัฐบาลให้การช่วยเหลือชาวพม่าเท่านั้น ไม่รวมชาวกะเหรี่ยง เพื่อนของผม (ซึ่งเป็นผู้นำศาสนา) บอกว่า ตอนที่รัฐบาลมาช่วยชาวบ้าน พวกเขามาโดยเรือ แล้วก็นำชาวพม่าลงเรือไปด้วย แต่กับชาวกะเหรี่ยงพวกเขากลับเตะเอา และไม่อนุญาตให้ลงเรือไปด้วย... ถ้ารัฐบาลจ่ายเงินให้ผู้ประสบภัย คนละ 200 จั๊ต (8 บาท) สำหรับชาวพม่าต่อวัน พวกเขาจะให้กะเหรี่ยงเพียง 50 จั๊ต (2 บาท) ต่อวันเท่านั้น และเรื่องนี้เกิดขึ้นจริงๆ พวกเขายังให้ข้าวดีๆ กับชาวพม่า แต่ให้ข้าวไม่ดีกับกะเหรี่ยงด้วย ข้าวที่ให้ชาวกะเหรี่ยงก็เละเสียจนถ้าคุณล้างมัน มันจะแตกละเอียดเป็นผงทีเดียว"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย ทำงานใน อำเภอ Pathein ให้สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 20 มิถุนายน 2551)

การแบ่งแยกทางศาสนา
"เมื่อรัฐบาลเข้ามาช่วยชาวบ้านในพื้นที่ประสบภัย พวกเขากลับทอดทิ้งกลุ่มที่เป็นชาวคริสต์ เพราะว่าพวกเขารู้ว่ากลุ่มนี้อาจได้รับการช่วยเหลือจากองค์กรศาสนาคริสต์"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย ทำงานในพื้นที่ Bogale, Labutta, และ Myaungmya สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 4 ตุลาคม 2551)

การบังคับให้ย้ายถิ่นและยึดที่ดิน
เจ้าหน้าที่รัฐมาที่นี่และพาเราไปอยู่ที่ค่าย เนื่องจากตอนนั้นไม่มีใครไปอยู่ในค่ายของพวกเขา ถ้าเราไม่ไปที่นั่น เรากลัวว่าจะก่อให้เกิดการขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับอาสาสมัครที่มาช่วยเราในวัด... เราถูกส่งไปที่ค่าย XX…หลังจากอยู่ที่นั่นอาทิตย์หนึ่ง เราก็ถูกย้ายไปอีก ที่ Laputta แล้วจากนั้นเราก็ถูกสั่งให้กลับไปที่หมู่บ้านของเรา"
(ผู้รอดชีวิต เพศหญิง จาก Labutta ให้สัมภาษณ์ที่ Labutta วันที่ 6 พฤศจิกายน 2551)

"ชาวบ้านบางคนถูกบังคับให้ไปที่ศูนย์ของรัฐบาล รัฐบาลสั่งหัวหน้าโบสถ์ให้ส่งคนไปที่ค่ายของรัฐบาล พวกเขาไปอยู่ในตึกใหญ่หลายตึกที่ใช้เก็บข้าวเปลือก ค่ายนั้นเรียกว่า Dan Daye Ya… รัฐบาลต้องการโชว์ว่ามีคนอยู่ในศูนย์ของพวกเขา เพื่อจะได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากข้างนอก ในเดือนกรกฎาคม พวกเขาก็ส่งคนเหล่านั้นกลับไปที่หมู่บ้าน แม้ว่าหมู่บ้านจะยังสร้างใหม่ไม่เสร็จก็ตาม"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย ทำงานในหลายหมู่บ้านใน Labutta ให้สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 23 กันยายน 2551)

"ถ้าชาวบ้านไม่อยู่ในค่าย พวกเขาก็มักจะอยู่ในวัดหรือไม่ก็โรงเรียน เจ้าหน้าที่มาบังคับให้พวกเขาออกไป พวกเขาต้องการแสดงให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงกว่าเห็นว่า ไม่มีผู้อพยพหลังไซโคลนนาร์กิส ในบางพื้นที่ที่นายบัน คี มูน และเจ้าหน้าที่สหประชาชาติเข้าเยี่ยม พวกเขาก็ไม่อยากให้เห็น (ประชาชนที่ไร้บ้าน) เจ้าหน้าที่ก็เลยย้ายออกทั้งค่าย พวกเขาส่งชาวบ้านกลับหมู่บ้านของตนทางเรือใหญ่ ชาวบ้านไม่มีทางเลือก บางครั้งพวกเขาก็ได้รับอาหาร แต่บ่อยครั้งที่ไม่ได้ให้อะไรเลย และต้องพึ่งพาผู้บริจาคในท้องถิ่น เพื่อเติมช่องว่างที่รัฐบาลไม่ได้ให้อะไรเลย"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย ทำงานใน Kyanggon, Kawhmu, Dedaye, Kyaiklat, Bogale, Ngapudaw, และ Labutta ให้สัมภาษณ์ในเมืองย่างกุ้ง วันที่ 4 สิงหาคม 2551)

การเข้มงวดเรื่องการเคลื่อนไหวและการรวมกลุ่ม
ภายในค่ายที่พักพิงของทางการ การเคลื่อนไหวเป็นเรื่องที่ถูกจำกัด ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับชาวบ้านในการจะกลับไปหาครอบครัวของตนเองที่กระจัดกระจายกันหลังจากพายุ ศูนย์บรรเทาทุกข์ของรัฐมักจะดำเนินการควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งสร้างความยุ่งยากในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากพายุและความต้องการของผู้รอดชีวิต ตามที่มีคำให้การดังนี้

"ชาวบ้านไม่สามารถออกจากค่ายของรัฐได้ทุกเมื่อที่พวกเขาต้องการ เจ้าหน้าที่จะจดรายชื่อของพวกเขาทุกคน ถ้าคุณต้องการจะไปพบกับใครสักคนที่นั่น คุณต้องบอกว่าคุณต้องการพบใคร และก็ไม่สามารถนำกล้องถ่ายรูปเข้าไปด้วย"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย ทำงานใน Pantanaw ให้สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด ในวันที่ 13 มิถุนายน 2551)

การยึดที่ดิน
การถือครองที่ดินในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีนั้นซับซ้อน ชาวนาส่วนใหญ่ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดิน แต่มีมีเพียงสิทธิในการทำนาและตกปลาเท่านั้น กรณีของการยึดที่ดินโดยรัฐบาลนั้น ได้รับการรายงานจากผู้ให้สัมภาษณ์หลายคน และรวมทั้งรายงานว่า กองทัพบังคับเอาที่ดินจากพวกชาวบ้าน และยึดที่ดินซึ่งเข้าใจว่าผู้อาศัยคนเดิมเสียชีวิตไปแล้ว และยังมีรายงานว่ารัฐบาลได้ยึดที่ดินถ้าผลผลิตทางเกษตรกรรมไม่ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ

"กองทัพบังคับให้ผู้อพยพกลับบ้านของพวกเขา พวกเขาจัดให้มีการจับสลากว่าจะต้องไปอยู่ที่ไหน ถ้าพวกเขาจับได้ "ถูก"สลาก ก็จะได้ที่พักอาศัยที่ดี ดังนั้นชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านจึงถูกบังคับจากกองทัพให้ไปอยู่ที่ใหม่ พวกเขาไม่ได้อยากจะไป แต่ไม่มีทางเลือกอื่น ก็เลยต้องไป พวกเขาถูกบังคับให้ไป จากนั้น หมู่บ้านที่พวกเขาถูกบังคับให้ออกมาจะถูกขายโดยกองทัพ คนที่มีเงินจะซื้อที่ดินเหล่านี้จากกองทัพ มีคนอยู่ไม่มากนักที่ถูกทิ้งให้อยู่ที่นั่นประมาณ 3-4 ครอบครัว พวกเขาสามารถขายที่ดินให้กับคนรวยๆ แต่ที่ดินที่เหลือจากครอบครัวที่เสียชีวิต คนที่รวยๆ ก็จะซื้อต่อจากกองทัพ. โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในหลายหมู่บ้านที่จังหวัด Labutta แล้วก็ยังในเขตเมือง Labutta และใน Bogale ด้วย กองทัพไม่พยายามค้นหาเลยว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน แต่เอาที่ดินไปเลย แล้วก็ขายให้กับคนรวยโดยที่เก็บเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ชาวบ้านที่ยังมีชีวิตอยู่ยังคงได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ก็ต้องถูกบังคับให้ออกจากที่ดินตัวเองไปในเวลาต่อมา"
(ทหารพม่าเพศชาย ให้สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 13 กันยายน 2551)

"แม้กฎหมายจะบัญญัติไว้ว่าประชาชนสามารถอยู่อาศัยในที่ดินได้ ถ้าใช้ทำมาหากิน แต่ว่าเป็นที่ดินของรัฐ หลังจากพายุนาร์กิสพัดถล่ม ชาวบ้านไม่สามารถทำนาบนที่ดินนั้นได้ พวกเขาไม่มีเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม่มีเครื่องมือ ก็จะต้องเสียที่ดินไปให้แก่รัฐ เนื่องจากไม่สามารถทำนาได้"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย อาชีพแพทย์ทำงานใน Pyapon ให้สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 20 สิงหาคม 2551)

การบังคับใช้แรงงาน
ผู้รอดชีวิตบางคนถูกบังคับใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ในการบูรณะซ่อมแซมก่อสร้างสถานที่ซึ่งเสียหายจากพายุ โดยเฉพาะผู้ชาย แต่ในบางกรณีก็รวมถึงผู้หญิงและเด็กด้วย ผู้รอดชีวิตและกลุ่มผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ อธิบายถึงการที่ผู้รอดชีวิตถูกบังคับให้ทำงานโครงการก่อสร้างของกองทัพ ซึ่งรวมไปถึงการซ่อมแซมฐานทัพทหาร และโครงการอื่นๆ เช่นโรงเรียน ถนน และโครงการสาธารณูปโภคอื่นๆ

"ที่หมู่บ้าน (ไม่ระบุชื่อ) ชาวบ้านต้องขนไม้ที่พวกเขา (กองทัพ) ต้องการ ถ้าคุณเข้าร่วมไม่ได้ ก็ต้องจ้างคนงานมาทำให้ ค่าจ้างคนงานสองพันจั๊ต (ประมาณ 50 บาท) บางครอบครัวมีคนที่ยังว่าง ดังนั้นเราจึงสามารถจ้างได้ พวกเขาไม่ได้ให้อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เรานำของเรามาเอง บางครั้ง ก็มีการกดดันจากทหาร ถ้าคุณออกจากบ้านตอนเจ็ดโมงเช้า คุณต้องเริ่มงานตอนเก้าโมงเช้า มีเวลาหนึ่งชั่วโมงพักรับประทานอาหารเที่ยงจากนั้นก็ทำงานต่อจนถึงเย็น"
(ผู้รอดชีวิต เพศชาย จาก Labutta ให้สัมภาษณ์ใน Labutta วันที่ 24 ตุลาคม 2551)

"รัฐบาลบังคับให้ชาวบ้านทำงานให้พวกเขา พวกเขาบังคับประชาชนไปทำงานก่อสร้าง เช่น พวกเขาสร้างกำแพงนี้ขึ้นมาเพื่อกั้นนำทะลไม่ให้เข้ามา พวกเขาสร้างเขื่อนนี้และขอแรงงานจากชาวบ้าน. USDA เข้ามาแล้วสั่งให้ชาวบ้านสร้างมัน รัฐบาลก็ให้การสนับสนุนคนจาก USDA เท่านั้น แต่สำหรับชาวบ้านคนอื่นๆ ก็ไม่ได้รับอะไรเลย อย่างน้อยสมาชิก USDA ก็ได้รับอาหารและเงินตอบแทนนิดหน่อย"
(ผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ เพศชาย ทำงานใน Labutta และ Bogale ให้สัมภาษณ์ในอำเภอแม่สอด วันที่ 25 มิถุนายน 2551)

แรงงานเด็ก
ในพื้นที่ที่ไม่มีผู้ใหญ่ทำงาน เด็กจะถูกบังคับให้ทำงานเพื่อจะเติมเต็มโควตาในส่วนที่ครอบครัวต้องทำ สถานที่ที่พวกเขาถูกบังคับใช้แรงงานนั้น มักจะไม่ปลอดภัย และหากเกิดอุบัติเหตุ พวกเขาจะไม่ได้รับการดูแลทางการแพทย์

"เราต้องไปสองครั้งต่อวัน ไปตอนเช้าหนึ่งครั้งและอีกครั้งเป็นตอนเย็น เพื่อซ่อมแซมถนนและเก็บซากต้นไม้ที่โค่นล้มจากพายุนาร์กิส หนึ่งคนต่อหนึ่งครัวเรือนและเด็กก็ถูกบังคับให้ไปด้วย โดยเฉพาะถ้าบ้านนั้นไม่มีผู้ใหญ่มาทำงานให้ ถ้าเราไม่ทำตามที่พวกเขาสั่ง เราก็จะถูกตีและทำร้าย เจ้าหน้าที่กลุ่มนี้โหดร้ายมาก"
(ผู้รอดชีวิต เพศชาย จาก Labutta ให้สัมภาษณ์ที่ Labutta วันที่ 30 พฤศจิกายน 2551)

"พวกเขา (กองพันทหารราบที่ 66) ไม่ได้ช่วยเราเลย แต่กลับข่มขู่เรา ทุกคนในหมู่บ้านต้องไปทำงาน 5 วัน ตอนเช้ากับเย็นโดยไม่มีเงินค่าตอบแทน เด็กๆ ก็ต้องทำด้วย มีเด็กผู้ชายคนหนึ่งบาดเจ็บที่ขาแล้วก็เป็นไข้ หลังจากนั้นสองสามวัน ก็ถูกส่งไปเมืองย่างกุ้ง แต่หลังจากนั้นไม่กี่วันเขาก็ตาย"
(ผู้รอดชีวิต เพศชาย จาก Labutta ให้สัมภาษณ์ใน Labutta วันที่ 13 ตุลาคม 2551)

บทสรุปและอภิปรายผล
รายงานนี้เป็นผลการประเมินอย่างอิสระฉบับแรก ที่ติดตามผลการทำงานบรรเทาทุกข์หลังพายุนาร์กิส ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มผู้ทำงานบรรเทาทุกข์ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพม่า การใช้วิธีสำรวจโดยเข้าไปมีส่วนร่วมและดำเนินการ โดยที่รัฐบาลทหารพม่าหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับรู้ จึงทำให้รายงานนี้สามารถเป็นกระบอกเสียงของผู้ที่ "ทำงานในพื้นที่ (ท้องถิ่น)" และกลุ่มผู้รอดชีวิตในพื้นที่ที่พายุไซโคลนนาร์กิสพัดถล่มได้อย่างแท้จริง

ข้อมูลที่ได้รับเปิดเผยว่า ได้มีการขัดขวางการบรรเทาทุกข์ การลักเอาข้าวของที่เตรียมเพื่อแจกจ่ายนำไปขาย การบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน และการใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน เพื่อการก่อสร้างซ่อมแซมต่างๆ รวมทั้งใช้แรงงานเด็ก

การแจกจ่ายความช่วยเหลือที่ดำเนินการอย่างล่าช้า ในขณะที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้มีการลงประชามติ เพียงไม่นานหลังจากภัยพิบัติจากพายุนาร์กิส และการปฏิเสธรับความช่วยเหลือจากต่างชาติในช่วงต้น เป็นหลักฐานว่ารัฐบาลทหารเป็นห่วงสถานภาพการปกครองและอำนาจการ
ควบคุมทางการเมืองของตนมากกว่าความเป็นอยู่ของชาวพม่า สิ่งที่ค้นพบในรายงานนี้เป็นหลักฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายรูปแบบ ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดบรรทัดฐานการบรรเทาทุกข์โดยหลักมนุษยธรรมสากล และกรอบการทำงานตามกฎหมายระหว่างประเทศในการบรรเทาทุกข์จากวินาศภัยต่างๆ นอกจากนั้น การละเมิดดังกล่าวอาจพิจารณาได้ว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามมาตรา 7(1)k ของข้อบังคับโรมแห่งศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ และสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ควรจะพิจารณาดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้โดยศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ

ภาพถ่ายทางอากาศประเทศพม่าและไซโคลนนาร์กิส (ภาพจากดาวเทียมโดยองค์การ NASA)


สำหรับผู้สนใจรายงานฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ต่อไปนี้

http://www.jhsph.edu/humanrights/locations/asia/BurmaCyclone.html
http://www.maetaoclinic.org/cyclone.html

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com