ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒ : Release date 15 May 2009 : Copyleft MNU.

สถานทูตอิหร่านในอัฟกานิสถานเปิด"มุมอิหร่าน"ในหอสมุดของมหา วิทยาลัยคาบูล โดยจัดสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ หนังสือ นิตยสารจากอิหร่าน พยายามเผยแพร่วัฒนธรรมโบราณของอิหร่าน และความสำเร็จในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ของอิหร่านอ้างว่า มุม-อิหร่านได้รับความนิยมมากกว่า "มุมอเมริกัน" เหตุผลหลักเนื่องมา-จากประสิทธิภาพของการใช้อินเตอร์เน็ท เพราะมุมอเมริกัน ทางการสหรัฐฯ ปิดกั้นเว็บไซด์หลายพันเว็บไซด์ แต่อิหร่านให้บริการอินเตอร์เน็ทอย่างเสรี อิหร่านพยายามสร้างภาพของตน ในฐานะเจ้าของภูมิ- ภาค โดยใช้วิธีการเดียวกับสหรัฐฯ ในสมัยสงครามเย็นในการสร้างและขยาย Soft Power คือ ไม่มีกิจกรรมทางทหาร มีแต่กิจกรรมทางการเมือง สังคม-วัฒนธรรม การศึกษา การพยาบาล เป็นต้น...

H



15-05-2552 (1729)
การเมืองระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกากับภูมิภาคตะวันออกกลาง
ภูมิรัฐศาสตร์: มุมมองยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่มีต่ออิหร่าน
ภูวิน บุณยะเวชชีวิน : เรียบเรียง

นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ ภาควิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความนี้ได้รับมาจากผู้เรียบเรียง
เดิมชื่อ"ความความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกา - อิหร่าน: มุมมองจากยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ"
โดยมีการนำเสนอเหตุการณ์โดยลำดับ ดังหัวข้อสำคัญต่อไปนี้
- ภูมิหลังความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน
- ความสำคัญของอิหร่านต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ
- อิทธิพลของอิหร่านต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง
- บทบาทของอิหร่านในฐานะผู้เล่นที่มีอิทธิพลในอิรักและอัฟกานิสถาน
- อิหร่านมีเป้าหมายที่สำคัญ ๔ ประการในอิรัก
- อิหร่านกับอาวุธนิวเคลียร์
- ความเชื่อมโยงและการสนับสนุนขบวนการก่อการร้ายของอิหร่าน
- ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน
- สกัดกั้นอิทธิพลของอิหร่านต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง
- กดดันให้อิหร่านเลิกสนับสนุนขบวนการก่อการร้าย
- แนวโน้มในอนาคต
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ภูมิรัฐศาสตร์ศึกษา")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๒๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๘.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การเมืองระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกากับภูมิภาคตะวันออกกลาง
ภูมิรัฐศาสตร์: มุมมองยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ที่มีต่ออิหร่าน
ภูวิน บุณยะเวชชีวิน : เรียบเรียง

นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ ภาควิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


ความนำ
หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดี George W. Bush ประกาศยุทธศาสตร์การทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยบุกอัฟกานิสถานโค่นล้มระบอบตาลีบาน ซึ่งสหรัฐฯเชื่อว่าให้การสนับสนุนขบวนการก่อการร้าย Al-Qaeda ที่อยู่เบื้องหลังการวินาศกรรมสหรัฐฯ นอกจากนั้นยังผลักดันประเด็น การต่อต้านการก่อการร้ายสากล ในเวทีระดับโลกและในองค์การระหว่างประเทศ

ช่วงปี 2002 รัฐบาลสหรัฐฯกังวลต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะการโจมตีด้วยอาวุธร้ายแรงที่อาจเป็นอาวุธนิวเคลียร์ อาวุธเชื้อโรค หรืออาวุธเคมี. ในสุนทรพจน์ประจำปีของประธานาธิบดีสหรัฐฯ (State of the Union Address) ปีเดียวกันได้ประกาศว่า ประเทศอิรัก อิหร่าน และเกาหลีเหนือ คือ อักษะแห่งความชั่วร้าย (Axis of Evil) (*) โดยเชื่อว่าประเทศเหล่านี้กำลังพัฒนาอาวุธร้ายแรง และสามารถที่จะส่งต่ออาวุธเหล่านั้นให้กับขบวนการก่อการร้ายได้

(*)"Axis of evil" is a term coined by United States President George W. Bush in his State of the Union Address on January 30, 2002 in order to describe governments that he accused of helping terrorism and seeking weapons of mass destruction. President Bush named Iran, Iraq and North Korea in his speech. President Bush's presidency was marked by this notion as a justification for the War on Terror.

President Bush's exact statement was as follows: [Our second goal] is to prevent regimes (terrorist) that sponsor terror from threatening America or our friends and allies with weapons of mass destruction. Some of these regimes have been pretty quiet since September the 11th. But we know their true nature. North Korea is a regime arming with missiles and weapons of mass destruction, while starving its citizens. Iran aggressively pursues these weapons and exports terror, while an unelected few repress the Iranian people's hope for freedom. Iraq continues to flaunt its hostility toward America and to support terror. The Iraqi regime has plotted to develop anthrax, and nerve gas, and nuclear weapons for over a decade. This is a regime that has already used poison gas to murder thousands of its own citizens-leaving the bodies of mothers huddled over their dead children. This is a regime that agreed to international inspections-then kicked out the inspectors. This is a regime that has something to hide from the civilized world. States like these, and their terrorist allies, constitute an axis of evil, arming to threaten the peace of the world. By seeking weapons of mass destruction, these regimes pose a grave and growing danger. They could provide these arms to terrorists, giving them the means to match their hatred. They could attack our allies or attempt to blackmail the United States. In any of these cases, the price of indifference would be catastrophic.

รัฐบาลสหรัฐฯ ตัดสินใจบุกอิรักในช่วงต้นปี 2003 เป็นการดำเนินนโยบายฝ่ายเดียว (Unilateral) โดยใช้ยุทธศาสตร์โจมตีก่อน (Preemptive Strike) ไม่ให้ความสำคัญกับกฎหมายระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ กล่าวคือ การบุกอิรักครั้งนี้ไม่ผ่านการรับรองจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สหรัฐฯจึงขาดความชอบธรรมในการทำสงคราม นอกจากนั้น จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบอาวุธทำลายล้างสูงในอิรัก ซึ่งเป็นเหตุผลที่อเมริกาใช้เป็นข้ออ้างในการทำสงคราม ทำให้ความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก ภาพของสหรัฐฯ กลายเป็นรัฐอันธพาลในสายตาชาวโลก

สหรัฐฯ สามารถบุกยึดอิรักได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย โดยสหรัฐฯ หวังว่าการโค่นล้มระบอบ Saddam Hussein พร้อมการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในอิรัก และจะเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ส่งผลกระทบให้ประเทศในตะวันออกกลางค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงระบอบเป็นประชาธิปไตยตามทฤษฎีโดมิโน่ใหม่ (New Domino Theory) โดยหวังว่า รัฐบาลใหม่จะเป็นรัฐบาลที่สนับสนุนสหรัฐฯ และเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี ทั้งนี้เพื่อคลายความเป็นปฏิปักษ์และลดภัยคุกคามต่อสหรัฐฯ นอกจากนั้นยังเป็นการส่งสัญญาณต่อประเทศที่กระด้างกระเดื่องต่ออภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่สหรัฐฯ กล่าวหาว่าเป็นรัฐอันธพาล (Rogue States) (*) และขบวนการการก่อการร้ายว่าสหรัฐฯ จะไม่นิ่งเฉยอีกต่อไป แต่จะใช้มาตรการเชิงรุกจัดการอย่างเด็ดขาดดังเช่นในกรณีอิรัก

(*) Rogue state is a term applied by some international theorists to states considered threatening to the world's peace. This means meeting certain criteria, such as being ruled by authoritarian regimes that severely restrict human rights, sponsor terrorism, and seek to proliferate weapons of mass destruction. The term is used most by the United States, though it has been applied by other countries. In virtually all international foreign policy circles, rogue states are considered to be those nations utterly ruled by individuals (rather than subject to a popular electoral process) and whose legitimacy, intentions, and notions of the process of legitimate succession (if any) is highly suspect.

อย่างไรก็ตาม ผลจากการบุกยึดอิรักกลับไม่เป็นไปตามที่สหรัฐฯ คาดหวังไว้ กล่าวคือ อิรักยังคงไร้เสถียรภาพ ความขัดแย้งระหว่างมุสลิม Shia และ Sunni รวมทั้ง Kurd ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ปัญหาการก่อการร้ายและสงครามกองโจรก็ยังยืดเยื้อ และมีแนวโน้มว่าความรุนแรงจะขยายวงออกไปเป็นสงครามกลางเมือง. รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Nouri al-Maliki ซึ่งครอบงำโดยสหรัฐฯ ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ อิรักกลายเป็นศูนย์กลางของสงครามศาสนาและอุดมการณ์ Islamic Fundamentalism สหรัฐฯกลายเป็นศัตรูอันดับหนึ่งของอิสลาม ส่วนพันธมิตรของสหรัฐฯเองก็เริ่มลดลงทุกที นอกจากนั้นปัญหาการเมืองภายในของสหรัฐฯ ทำให้รัฐบาลของประธานาธิบดี George W. Bush ถูกกดดันอย่างหนักจากประชาชนชาวอเมริกันที่มองว่าการบุกยึดอิรักเป็นสงครามที่ไม่คุ้มค่า และกดดันให้ประธานาธิบดี George W. Bush ปรับเปลี่ยนโยบายที่มีต่ออิรัก

แนวโน้มของการก่อการร้ายสากลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และระบาดไปทั่วโลก ขบวนการมุสลิมหัวรุนแรงขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีแรงผลักดันจากความกลัวการครอบงำจากตะวันตก สถานการณ์สงครามในอิรัก และกระแสการต่อต้านสหรัฐฯ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอุดมการณ์ (Anti-Americanism) (*)ในหมู่ชาวมุสลิม จนอาจกล่าวได้ว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ นั้นล้มเหลว ยิ่งปราบมากขึ้นเท่าใดกลับยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

(*) หมายเหตุ: Dictionaries tend to define Anti-Americanism, often anti-American sentiment, as a widespread opposition or hostility to the people, government or policies of the United States. In practice, a broad range of attitudes and actions critical of or opposed to the United States have been labeled anti-Americanism. Thus, the nature and applicability of the term is often disputed. Contemporary examples typically focus on opposition to United States policy, although historically the term has been applied to a variety of concepts.

Interpretations of anti-Americanism have often been polarized. Anti-Americanism has been described by the American scholar Paul Hollander as a belief Author James W. Ceaser, a professor of politics at the University of Virginia, opposes this union that configures the United States and the American way of life as threatening at their core-what Paul Hollander has called "a relentless critical impulse toward American social, economic, and political institutions, traditions, and values.

สำหรับภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ทั้งการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายโดยล้มล้างระบอบตาลีบานในอัฟกานิสถาน และการโค่นล้ม Saddam Hussein ในอิรัก ได้สร้างผลกระทบต่อโครงสร้างอำนาจในภูมิภาคตะวันออกกลางอย่างใหญ่หลวง กล่าวคือ นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้อิหร่านกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจในภูมิภาค เพราะการล้มล้างระบอบตาลีบานโดยความร่วมมือกับพันธมิตรฝ่ายเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านนั้น เท่ากับว่าสหรัฐฯ ร่วมมือกับอิหร่านโดยทางอ้อมในการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน หลังจากนั้นอิหร่านก็พัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐบาลที่สนับสนุนสหรัฐฯ ของ Hamid Karzai และมีส่วนร่วมอย่างมากในการฟื้นฟูอัฟกานิสถานโดยเฉพาะในเขตเมือง Heart ทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน. แต่ที่สำคัญมากกว่าการล้มล้างระบอบตาลีบานก็คือ การโค่นล้ม Saddam Hussein ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของอิหร่าน ดังนั้นการที่สหรัฐฯ ขจัดศัตรูทั้งสองของอิหร่านลงได้ จึงทำให้อิหร่านกลับมามีอำนาจเหนือประเทศอื่นในภูมิภาคอีกครั้ง

ภูมิหลังความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน
ในทศวรรษ 1880 Justin Perkins และ Asahel Grant หมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน เดินทางไปยังอิหร่านเป็นครั้งแรก ในนามของ American Board of Commissioners for Foreign Missions (*)

(*) The American Board of Commissioners for Foreign Missions (ABCFM) was the first American Christian foreign mission agency. It was proposed in 1810 by recent graduates of Williams College and officially chartered in 1812. In 1961 it merged with other societies to form the United Church Board for World Ministries. Other organizations that draw inspiration from the ABCFM include InterVarsity Christian Fellowship and the Conservative Congregational Christian Conference.

The founding of the ABCFM is associated with the Second Great Awakening. Congregationalist in origin, the American Board supported missions by Presbyterian (1812-1870), Dutch-Reformed (1826-1857) and other denominational members. The first five missionaries were sent overseas in 1812. Between 1812 and 1840, representatives of the ABCFM went to the following people and places: India (the Bombay area), northern Ceylon (modern day Sri Lanka), the Sandwich Islands (Hawaii); east Asia: China, Singapore and Siam (Thailand); the Middle East: (Greece, Cyprus, Turkey, Syria, the Holy Land and Persia (Iran)); and Africa: Western Africa-Cape Palmas-and Southern Africa-among the Zulus). It became the leading missionary society in the United States.

อธิบายภาพซ้าย: กษัตริย์เปอร์เชีย Nasereddin Shah. ภาพขวา: กษีตริย์เปอร์เชีย Reza Shah Pahlavi

กษัตริย์เปอร์เซีย (Vizier) Nasereddin Shah และ Amir Kabir เริ่มมีความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ เมื่อลงนามในข้อตกลงให้สหรัฐฯ สร้างฐานทัพเรือที่ Bushehr เพื่อช่วยสร้างกองทัพเรือให้แก่เปอร์เซีย. ปลายคริสตศตรวรรษที่ 19 บริษัทอเมริกันมีการต่อรองการรับสัมปทานสร้างระบบทางรถไฟจากอ่าวเปอร์เซียไปยังกรุงเตหะราน

ช่วงการปฏิวัติรัฐธรรมนูญของเปอร์เซีย (Persian Constitutional Revolution) (*) สหรัฐฯและอิหร่านมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ดังเห็นได้จากนักปฏิวัติรัฐธรรมนูญชาวอิหร่านพยายามดึงสหรัฐฯ เข้ามาถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและรัสเซีย ซึ่งพยายามเข้าครอบงำและปกครองเปอร์เซีย โดยมีการลงนามในสนธิสัญญาหลายฉบับระหว่างกลุ่มปฏิวัติรัฐธรรมนูญกับรัฐบาลสหรัฐฯ

(*) The Iranian Constitutional Revolution (also known as the Constitutional Revolution of Iran) took place between 1905 and 1911. The revolution led to the establishment of a parliament in Persia (Iran). The Iranian Constitutional Revolution was the first event of its kind in Asia. The Revolution opened the way for cataclysmic change in Persia, heralding the modern era. It saw a period of unprecedented debate in a burgeoning press. The revolution created new opportunities and opened up seemingly boundless possibilities for Persia's future.

ปี 1921 Reza Khan (รู้จักกันในนาม Reza Shah Pahlavi หลังขึ้นสู่อำนาจ) เป็นผู้นำในการปฏิวัติราชวงศ์ Qajar ของ Ahmad Shah Qajar ที่กำลังอ่อนแอ ในสมัยของ Reza Shah Pahlavi เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ระบบรถไฟ และระบบการศึกษาแห่งชาติ มีความพยายามที่จะถ่วงดุลอำนาจอังกฤษและรัสเซีย โดยพยายามแสวงหาความช่วยเหลือจากยุโรปซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในกิจการระหว่างประเทศของอิหร่าน แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อิหร่านภายใต้การนำของ Reza Shah Pahlavi มีความสนิทสนมกับเยอรมันจึงนำไปสู่การรุกรานอิหร่านของอังกฤษและรัสเซียในปี 1941 (Anglo-Soviet invasion of Iran) Reza Shah Pahlavi ถูกบังคับให้สละราชสมบัติ

ในปี 1951 Mohammad Mossadegh (*) นักการเมืองที่มีแนวคิดชาตินิยมได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลภายใต้การนำของ Mossadegh มีการใช้นโยบายแบบชาตินิยมโดยการยึดสัมปทานน้ำมันของบริษัทอังกฤษ คือ Anglo-Iranian Oil Company ให้เป็นกิจการของรัฐ ส่งผลให้อังกฤษยุติการซื้อขายน้ำมันกับอิหร่าน และวางแผนที่จะโค่นล้มรัฐบาลของ Mohammad Mossadegh โดยขอความร่วมมือจากสหรัฐฯ

(*) Mohammad Mosaddeq (19 May 1882 - 5 March 1967) was the Prime Minister of Iran from 1951 to 1953 when he was removed from power by a coup d'?tat. From an aristocratic background, Mosaddeq was an author, administrator, lawyer, prominent parliamentarian, and statesman, famous for his passionate opposition to foreign intervention in Iran. He is most famous as the architect of the nationalization of the Iranian oil industry, which had been under British control through the Anglo-Iranian Oil Company (AIOC), (later British Petroleum or BP), and which is thought by many to be the reason for his deposition.

ในปี 1953 ประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower ของสหรัฐฯ อนุมัติปฏิบัติการ Ajax (Operation Ajax) ซึ่งร่วมมือกับอังกฤษ ในการโค่นล้มรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Mohammad Mossadegh ที่สนับสนุนนโยบายชาตินิยม และเชื่อว่าอยู่ใต้อิทธิพลของพรรค Tudeh (Communist) โดยให้ CIA มีบทบาทหลักในการโค่นล้มรัฐบาลของ Mossadegh และสนับสนุนอดีตมกุฎราชกุมารซึ่งสนับสนุนหรัฐฯ คือ Mohammad Reza Shah Pahlavi (*) ให้ขึ้นสู่อำนาจ แล้วเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

(*) Mohammad Reza Shah Pahlavi, Shah of Iran, (26 October 1919, Tehran - 27 July 1980, Cairo), styled His Imperial Majesty, and holding the imperial titles of Shahanshah (King of Kings), Aryamehr (Light of the Aryans) and Bozorg Arteshtaran (Head of the Warrior), was the monarch of Iran from 16 September 1941, until his overthrow by the Iranian Revolution on 11 February 1979. He was the second and last monarch of the House of Pahlavi of the Iranian monarchy.

อิหร่านในสมัยของ Mohammad Reza Shah Pahlavi มีความสัมพันธ์อย่างดียิ่งกับสหรัฐ มีการเยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการหลายครั้ง โดย Mohammad Reza Shah Pahlavi มีเป้าหมายสำคัญ คือ เปลี่ยนแปลงอิหร่านให้เป็นตะวันตกอย่างรวดเร็ว (Westernization) ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มมุสลิมหัวอนุรักษ์

ในสมัยประธานาธิบดี Jimmy Carter ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านเริ่มตึงเครียดขึ้น กล่าวคือประธานาธิบดี Carter ซึ่งมีแนวคิดแบบเสรีนิยมตำหนิรัฐบาลของพระเจ้า Shah ในเรื่องสิทธิมนุษยชน และกดดันให้รัฐบาลของพระเจ้า Shah ให้เสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์กับกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วย นอกจากนั้นรัฐบาล Carter ยังห้ามส่งออกก๊าซน้ำตาและกระสุนยางไปยังอิหร่านอีกด้วย

การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolution) ในปี 1979 พระเจ้า Shah ถูกโค่นล้ม และ Ayatollah Khomeni ซึ่งมีแนวคิดต่อต้านสหรัฐฯ อย่างชัดเจน กลายเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่าน รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำของประธานาธิบดี Jimmy Carter ปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนพระเจ้า Shah รวมทั้งความพยายามที่จะให้กลับคืนสู่อำนาจ แต่ก็เกิดปัญหาขึ้นเมื่อพระเจ้า Shah ซึ่งร้องขอที่จะเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งในสหรัฐฯ สถานทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงเตหะรานไม่เห็นด้วยกับการอนุญาตตามคำร้องดังกล่าว เพราะคำนึงถึงเสถียรภาพในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัฐบาลชั่วคราวที่มาจากการปฏิวัติ แต่หลังจากถูกกดดันอย่างหนักจาก Henry Kissinger, Nelson Rockefeller และนักการเมืองที่สนับสนุนพระเจ้า Shah ประธานาธิบดี Carter จึงยินยอม(อย่างไม่เต็มใจ) ซึ่งทำให้กลุ่มปฏิวัติในเตหะรานใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีสหรัฐฯ ว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังพระเจ้า Shah จนนำไปสู่การบุกสถานทูตสหรัฐฯแ ละการจับชาวอเมริกัน 52 คนไว้เป็นตัวประกัน ซึ่งกินระยะเวลานานถึง 444 วัน

ในวันที่ 7 เมษายน 1980 สหรัฐฯ ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่าน ในปีถัดมาเดือนเดียวกัน รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์เข้ามาทำหน้าเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในอิหร่านผ่าน interests section และ Iranian Interests Section ของสถานทูตปากีสถานประจำสหรัฐฯ ก็เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของอิหร่านในสหรัฐฯ. ภายหลังความตกลงแอลจีเรีย (Algeria Accords) มีการจัดตั้ง Iran-United States Claims Tribunal (*) เพื่อจัดการเจรจาระหว่างทั้งสองประเทศจนกระทั่งได้ข้อสรุป และในที่สุดตัวประกันทั้งหมดก็ได้รับการปล่อยตัวหลังถูกคุมขังอยู่นาน 444 วัน

(*) The Iran-United States Claims Tribunal is an international arbitral tribunal established out of an agreement between Iran and the United States, under an understanding known as the Algiers Accords of January 19, 1981. The Algiers Accords were the outcome of negotiations between Iran and the United States, mediated by Algeria, to resolve a hostage crisis. In exchange for the release of the hostages by Iran, the United States agreed to unfreeze Iranian assets. The tribunal was established to resolve claims by United States nationals for compensation for assets nationalized by the Iranian government, and claims by the governments against each other; any national court proceedings were nullified by the declarations. This was necessary in part because a large part of the frozen Iranian funds had already been transferred by United States courts to United States nationals as compensation; the declarations resulted in the reversal of all these United States court decisions.

หลังจากการปฏิวัติอิหร่านและวิกฤตการณ์ตัวประกัน สหรัฐฯตอบโต้อิหร่านด้วยการสนับสนุน Saddam Hussein แห่งอิรักในการทำสงครามรุกรานอิหร่าน จนกลายเป็นสงครามยืดเยื้อนาน 8 ปี (ระหว่างอิรักและอิหร่าน) ตั้งแต่ปี 1980-1988. นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯต่ออิหร่านในช่วงหลังการปฏิวัติอิสลามจึงมีเป้าหมายเพื่อปิดล้อมอิหร่านมาโดยตลอด ทั้งในด้านเศรษฐกิจที่มีมาตรการคว่ำบาตรต่าง ๆ และทางด้านความมั่นคง และให้การสนับสนุนการกระทำของประเทศหรือกลุ่มที่ต่อต้านรัฐบาลอิหร่านด้วย



ความสำคัญของอิหร่านต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ


1. อิทธิพลของอิหร่านต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง

ในทศวรรษ 1980 ภายหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์ของ Mohammad Reza Shah Pahlavi เป็นสาธารณรัฐอิสลาม อิหร่านพยายามส่งออกแนวคิดปฏิวัติอิสลามออกไปในภูมิภาค แต่หลังการสิ้นสุดของสงครามอิหร่าน-อิรัก ในปี 1988 อิหร่านค่อย ๆ เปลี่ยนจากการแพร่ขยายแนวคิดปฏิวัติเป็นการสร้างฐานอำนาจในภูมิภาค โดยพยายามสร้างและขยายวงอิทธิพลของตนออกไป

การรุกรานคูเวตของอิรักในปี 1990 เป็นสิ่งเร้าที่เร่งการเปลี่ยนแปลงของอิหร่านไปสู่ฐานอำนาจในภูมิภาค ในขณะช่วงวิกฤตการณ์อิหร่านยึดถือความเป็นกลางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะที่เรียกว่า Active Neutrality กล่าวคือ เป็นผู้คอยเฝ้าดูอยู่ข้างสนาม หลีกเลี่ยงการส่งกำลังทหารเข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งใดๆ ที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือสหรัฐฯทางอ้อมในการขับไล่กองกำลังอิรักออกจากคูเวต อิหร่านยังรักษาความเป็นกลางอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่เกิดสงครามกลางเมืองขนาดย่อมขึ้นในอิรักหลังจากถูกขับไล่จากคูเวต และการสังหารหมู่ชาว Kurd และมุสลิม Shia อิหร่านก็วางเฉยเช่นเดียวกับสหรัฐฯ และกองกำลังพันธมิตร สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการสิ้นสุดลงของการแพร่ขยายแนวคิดปฏิวัติอิสลามในนโยบายต่างประเทศของอิหร่าน

หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย(*) เป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับอิหร่านในการครอบงำประเทศเกิดใหม่ที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะประเทศที่มีลักษณะร่วมที่คล้ายกันกับอิหร่านทั้งในเรื่องศาสนาและชาติพันธุ์. อิหร่านหันมาให้ความสนใจกับการมีอิทธิพลในด้านความมั่นคงของภูมิภาค และกิจกรรมทางการค้า โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคือ การเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และเป็นศูนย์กลางของการขนส่งสินค้าและบริการระหว่างอ่าวเปอร์เซียและอัฟกานิสถานรวมถึงจีน

(*) The Soviet Union's collapse into independent nations began early in 1985. After years of Soviet military buildup at the expense of domestic development, economic growth was at a standstill. Failed attempts at reform, a stagnant economy, and war in Afghanistan led to a general feeling of discontent, especially in the Baltic republics and Eastern Europe. Greater political and social freedoms, instituted by the last Soviet leader, Mikhail Gorbachev, created an atmosphere of open criticism of the Moscow regime. The dramatic drop of the price of oil in 1985 and 1986, and consequent lack of foreign exchange reserves in following years to purchase grain profoundly influenced actions of the Soviet leadership.

Several Soviet Socialist Republics began resisting central control, and increasing democratization led to a weakening of the central government. The USSR's trade gap progressively emptied the coffers of the union, leading to eventual bankruptcy. The Soviet Union finally collapsed in 1991 when Boris Yeltsin seized power in the aftermath of a failed coup that had attempted to topple reform-minded Gorbachev.

หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ทั้งการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายโดยล้มล้างระบอบตาลีบานในอัฟกานิสถาน และการโค่นล้ม Saddam Hussein ในอิรัก ทำให้อิหร่านกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจและอิทธิพลในภูมิภาค เพราะการล้มล้างระบอบตาลีบานโดยความร่วมมือกับพันธมิตรฝ่ายเหนือ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านนั้น เท่ากับว่าสหรัฐฯ ร่วมมือกับอิหร่านโดยอ้อมในการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน หลังจากนั้นอิหร่านก็พัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐบาลที่สนับสนุนสหรัฐฯ ของ Hamid Karzai และมีส่วนร่วมอย่างมากในการฟื้นฟูอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะในเขตเมือง Heart ทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน แต่ที่สำคัญมากกว่าการล้มล้างระบอบตาลีบานก็คือ การโค่นล้ม Saddam Hussein ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของอิหร่านตั้งแต่ในอดีต นอกจากนั้นรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ชัยชนะของกลุ่ม HAMAS (*) ในการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ และความสำเร็จของ Hezballah (**) ในการต่อสู้เพื่อต่อต้านอิสราเอล ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เงาของอิหร่านขยายออกไปครอบงำภูมิภาคมากขึ้นเรื่อย ๆ

(*) Hamas (meaning "Islamic Resistance Movement") is a Palestinian Islamic socio-political organization which includes a paramilitary force, the Izz ad-Din al-Qassam Brigades. Employing tactics such as suicide bombings of civilian targets, Hamas is considered wholly, or in part, a terrorist organization by certain countries and supranational organizations. Since June 2007, Hamas has governed the Gaza portion of the Palestinian Territories. Hamas was created in 1987 by Sheikh Ahmed Yassin, Abdel Aziz al-Rantissi and Mohammad Taha of the Palestinian wing of Egypt's Muslim Brotherhood at the beginning of the First Intifada, an uprising against Israeli rule in the Palestinian Territories. Hamas launched numerous suicide bombings against Israel, the first of them in April, 1993.

(**) Hezbollah (literally "party of God") is a Shi'a Islamist political and paramilitary organisation based in Lebanon. Hezbollah is now also a major provider of social services, which operate schools, hospitals, and agricultural services for thousands of Lebanese Shiites, and plays a significant force in Lebanese politics. It is regarded as a resistance movement throughout much of the Arab and Muslim world. Many governments, including Arab ones, have condemned actions by Hezbollah while others have praised the party. Six Western countries, including Israel and the United States,[8] list it in whole or in part as terrorist.

นอกจากนั้นพันธมิตรของสหรัฐฯก็หวาดกลัวต่ออิทธิพลของอิหร่านที่เพิ่มมากขึ้น และต้องประสบกับปัญหาแรงกดดันจากภายใน ในการวิพากษ์วิจารณ์การเป็นหุ้นส่วนกับสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในระยะยาวได้

2. บทบาทของอิหร่านในฐานะผู้เล่นที่มีอิทธิพลในอิรักและอัฟกานิสถาน

บทบาทของอิหร่านในอิรัก
อิหร่านเป็นผู้เล่นที่มีอิทธิพลในอิรักอย่างมาก อิหร่านและอิรักมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกัน อิหร่านและอิรักเป็นเพียงสองประเทศในโลกที่มุสลิม Shia เป็นประชาชนส่วนใหญ่ คือ 95% ในอิหร่าน และอย่างน้อย 60% ในอิรัก อิหร่านมีรากฐานความสัมพันธ์ทางศาสนาอย่างแน่นแฟ้นกับครูสอนศาสนานิกาย Shia ในอิรัก นอกจากนั้นชาวมุสลิม Shia ในอิรักจำนวนมากโดยเฉพาะทางตอนใต้ของอิรัก ก็สืบเชื้อสายมาจากมุสลิม Shia ในอิหร่าน หลังจากการโค่นล้ม Saddam Hussein ชาวอิหร่านจำนวนมากรวมทั้งพวกที่ถูกเนรเทศโดย Saddam Hussein ก็พากันกลับเข้ามาในอิรัก

อิหร่านมีความสัมพันธ์ทางการเมืองที่แข็งแกร่งในอิรัก กล่าวคือมีความสัมพันธ์กับพรรค Al-Dawa และสภาสูงสุดเพื่อการปฏิวัติอิสลามในอิรัก (Supreme Council of Iraq's Islamic Revolution) ยังมีการฝึกสมาชิกกองกำลังบาเดอร์ (Badr Brigade) (*) ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของสภาสูงสุดเพื่อการปฏิวัติอิสลามในอิรัก อิหร่านมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มของ Muqtada al-Sadr ซึ่งมีอิทธิพลในเขตเมือง Kufah อิหร่านยังมีความสัมพันธ์กับสองพรรคการเมืองใหญ่ของชาว Kurd คือ พรรค Patriotic Union of Kurdistan และพรรค Democracy Party of Kurdistan นอกจากนั้น สื่อของอิหร่านทั้งวิทยุและโทรทัศน์ซึ่งถ่ายทอดเป็นภาษาอาหรับ ได้รับความนิยมอย่างมากทางตอนใต้ของอิรัก

(*) Badr Organization (previously known as Badr Brigade or Bader Corps -- not to be confused with the Badr Brigade in the Jordanian Army) was an armed wing for the Supreme Islamic Iraqi Council (SIIC). Headed by Hadi Al-Amiri it participated in the 2005 Iraqi election as part of the United Iraqi Alliance coalition. Its members have entered the new Iraqi army and police force.

The Organization was based in Iran for two decades during the rule of Saddam Hussein. It consisted of several thousand Iraqi exiles, refugees, and defectors who fought alongside Iran in the Iran-Iraq War. Returning to Iraq following the 2003 coalition invasion the group changed its name from brigade to organization in response to the attempted voluntary disarming of Iraqi militias by the Coalition Provisional Authority. It has pledged to give up its arms when the security situation is resolved.

นโยบายของรัฐบาลอิหร่านต้องการที่จะค่อยๆ เปลี่ยนอิรักจากฐานราก ความไม่แน่นอนในอนาคตของอิรักเปิดโอกาสให้ทางเลือกของอิหร่านสามารถดำเนินต่อไปได้ โดยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับกองกำลังฝ่ายต่างๆ ในอิรัก และดำเนินการอะไรก็ตามที่สามารถทำให้ความรู้สึกของชาวอิรักเปลี่ยนแปลงไป

อิหร่านมีเป้าหมายที่สำคัญ 4 ประการในอิรัก

1. การป้องกันการก่อตั้งของกลุ่มต่อต้านอิหร่าน และระบอบที่ครอบงำโดยมุสลิม Sunni ในแบกแดด อิหร่านกังวลต่อการฟื้นคืนของพรรค Baath (*) และการตัดสินใจของสหรัฐฯ ที่ยังคงการทำงานของหน่วยอิหร่านในหน่วยงานข่าวกรองของ Saddam Hussein (Saddam's Mokhaberat) ซึ่งสามารถสร้างความเป็นปรปักษ์กับอิหร่านขึ้นได้ อิหร่านพึงพอใจกับรัฐบาลในยุคหลัง Saddam และไม่ได้เกรงกลัวการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในอิรัก เพราะแม้ตุรกีซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของอิหร่านจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และเป็นสมาชิกของ NATO แต่ก็ไม่ได้มีอิทธิพลต่ออิหร่าน และไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศของอิหร่านแต่อย่างใด

(*) The Arab Socialist Ba'ath Party (also spelled Ba'th or Baath) was founded in Damascus in the 1940s by Michel Aflaq, a Syrian intellectual, as the original secular Arab nationalist movement, to unify all Arab countries in one State and to combat Western colonial rule that dominated the Arab region at that time. In Arabic, Baath means renaissance or resurrection. It functioned as a pan-Arab party with branches in different Arab countries, but was strongest in Syria and Iraq, coming to power in both countries in 1963.

2. การสนับสนุนการกระตุ้นมุสลิม Shia ตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่านในปี ค.ศ.1979 มุสลิม Shia ที่ถูกข่มและควบคุมไว้ในเลบานอน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอิรัก ได้ฟื้นคืนชีพ การโค่นล้ม Saddam Hussein มุสลิม Shia ได้ถูกปลดปล่อยและเข้มแข็งขึ้น อิหร่านสนับสนุนและช่วยเหลือการปลดปล่อยนี้ และนับเป็นเหตุผลซึ่งสอดคล้องกับสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งขึ้นในอิรัก เพราะอิหร่านมั่นใจว่ามุสลิม Shia จะชนะการเลือกตั้งและครองเสียงส่วนใหญ่

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าอิหร่านต้องการให้อิรักปกครองโดยใช้หลักศาสนาอย่างในอิหร่าน เพราะมีความกังวลว่าจะเกิดการต่อต้านอย่างรุนแรงจากฝ่าย Sunni และ Kurd นอกจากนั้นยังมีความกังวลกับโอกาสที่กลุ่ม Jihadist (*) และ Wahhabi fundamentalist (**) จะปลุกระดมมุสลิม Sunni ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างมุสลิม Sunni และ Shia ซึ่งอาจนำอิหร่านเข้าไปสู่ความขัดแย้ง

(*) Jihad, an Islamic term, is a religious duty of Muslims. In Arabic, the word jih?d is a noun meaning "struggle." Jihad appears frequently in the Qur'an and common usage as the idiomatic expression "striving in the way of Allah (al-jihad fi sabil Allah)". A person engaged in jihad is called a mujahid, the plural is mujahideen. A minority among the Sunni scholars sometimes refer to this duty as the sixth pillar of Islam, though it occupies no such official status. In Twelver Shi'a Islam, however, Jihad is one of the 10 Practices of the Religion.

According to scholar John Esposito, Jihad requires Muslims to "struggle in the way of God" or "to struggle to improve one's self and/or society." Jihad is directed against Satan's inducements, aspects of one's own self, or against a visible enemy. The four major categories of jihad that are recognized are Jihad against one's self (Jihad al-Nafs), Jihad of the tongue (Jihad al-lisan), Jihad of the hand (Jihad al-yad), and Jihad of the sword (Jihad as-sayf). Islamic military jurisprudence focuses on regulating the conditions and practice of Jihad as-sayf, the only form of warfare permissible under Islamic law, and thus the term Jihad is usually used in fiqh manuals in reference to military combat.

(*) Wahhabi or Wahhabism was a reformist movement of Sunni Islam attributed to Muhammad ibn Abd-al-Wahhab, an 18th century scholar from what is today known as Saudi Arabia, who advocated a return to the practices of the first three generations of Islamic history. It was initiated to purge Islam of innovations and practices considered to be shirk by the leaders of Wahhabiyya movement.

Wahhabism has predominantly influenced Saudi Arabia where people mainly follow Hanbali school of jurisprudence. It is often referred to as a "sect" or "branch" of Islam, though both its supporters and its opponents reject such designations. It has developed considerable influence in the Muslim world through the funding of mosques, schools and other means from Persian Gulf oil wealth.

อิหร่านยังมีการใช้สำนวนจูงใจที่สนับสนุนการจลาจลของชาวอิรัก แม้ว่าจะไม่ได้ประกาศออกมาอย่างชัดเจนในนโยบาย อย่างไรก็ตามอิหร่านปฏิเสธการสนับสนุน แม้ว่าเจ้าหน้าที่อิรักบางคนจะกล่าวหาอิหร่านว่าอยู่เบื้องหลังการจัดหาอาวุธให้กองกำลังของ Muqtada al-Sadr (*) อิหร่านหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวโทษหรือวิจารณ์การกระทำทั้งของกลุ่ม Muqtada และการจลาจลของมุสลิม Sunni ส่วนหนึ่งเพราะตระหนักดีว่า Muqtada เป็นที่นิยมในหมู่มุสลิม Shia และเขาถูกมองว่าเป็นผู้ต่อต้านผู้นำสายกลางอย่าง Ayatollah Sistani ส่วนหนึ่งเพราะการจลาจลนั้นเป็นการต่อต้านการยึดครองอิรักของสหรัฐฯ และอีกส่วนหนึ่งเพราะอิหร่านต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับกองกำลังของมุสลิม Sunni

(*) Muqtada al-Sadr (born August 12, 1973) is an Iraqi theologian and political leader. Along with Ali al-Sistani and Abdul Aziz al-Hakim of the Supreme Islamic Iraqi Council, Sadr is one of the most influential religious and political figures in the country not holding any official title in the Iraqi government.

อิหร่านสรรเสริญการจลาจลในอิรักว่าเป็นขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติ และเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติใหม่เพื่อต่อต้านผู้รุกรานต่างชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอิหร่านให้การสนับสนุนการจลาจลของมุสลิม Shia ตราบเท่าที่ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยความรุนแรงจากสหรัฐฯ

3. การประกันว่าอิรักจะไม่ถูกแบ่งแยก ป้องกันการเกิดกระบวนการ Balkanization (*) อิหร่านยอมไม่ได้ที่จะเกิดเขตปกครองตนเองของชาว Kurd ในอิรัก เพราะหากการสร้างรัฐ Kurd สำเร็จจะส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในอิหร่าน ซึ่งต้องการที่จะแยกตัวออกไปเป็นเขตปกครองตนเอง

(*) Balkanization is a geopolitical term originally used to describe the process of fragmentation or division of a region or state into smaller regions or states that are often hostile or non-cooperative with each other. The term has arisen from the conflicts in the 20th century Balkans. While what is now termed Balkanization has occurred throughout history, the term originally describes the creation of smaller, ethnically diverse states following the breakup of the Ottoman Empire before World War I.

4. อิหร่านต้องการเข้าไปมีบทบาทในการฟื้นฟูอิรักเพื่อขยายอิทธิพลเข้าไปในเมืองที่มีประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม Shia ที่เคร่งศาสนา ดังเช่นที่เคยทำสำเร็จมาแล้วในเมือง Herat ในอัฟกานิสถาน

ภายหลังการโค่นล้ม Saddam Hussein ได้สร้างยุทธศาสตร์ใหม่ของอิหร่านขึ้นมา คือ การป้องกันไม่ให้สหรัฐฯ สร้างฐานทัพถาวรในอิรัก โดยการสร้างฐานทัพนั้น สหรัฐฯ ต้องได้รับความยินยอมจากรัฐบาลอิรักอย่างเป็นทางการ อิหร่านจึงต้องสร้างอิทธิพลต่อความเห็นของชาวอิรัก และเรียกร้องให้ชาวอิรักประณามและต่อต้านสนธิสัญญาใดๆ ที่มีลักษณะยอมทำตามความต้องการของสหรัฐฯ

บทบาทของอิหร่านในอัฟกานิสถาน
อิหร่านเริ่มเข้าไปมีอิทธิพลในอัฟกานิสถานตั้งแต่ทศวรรษ 1980 โดยให้ความช่วยเหลือทางการเงินและอาวุธยุทโธปกรณ์แก่กลุ่มต่อต้านสหภาพโซเวียตที่เข้ายึดครองอัฟกานิสถาน หลังจากนั้นได้ให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลตาลีบาน. นับตั้งแต่สหรัฐฯ และพันธมิตรล้มระบอบตาลีบานในปี 2001 อิหร่านก็ใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของรัฐบาลใหม่ ขยายอิทธิพลเข้าไปในอัฟกานิสถานโดยใช้วิธีการคล้ายกับสหรัฐฯ คือ การฟื้นฟู การศึกษา และการโฆษณาชวนเชื่อ

อิหร่านบริจาคเงินมากกว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการฟื้นฟูอัฟกานิสถานโดยเฉพาะในเขตตะวันตก ได้มีการสร้างสถานีตรวจตราบริเวณชายแดนในการต่อต้านการค้าเฮโรอีน มีการตัดถนน ก่อสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นโครงการของอิหร่านยังรวมถึงการสร้างศูนย์การแพทย์ และสถานีปฏิบัติการวิจัยแหล่งน้ำ

สถานทูตอิหร่านในอัฟกานิสถานเปิด"มุมอิหร่าน"ในหอสมุดของมหาวิทยาลัยคาบูล โดยจัดสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งคอมพิวเตอร์ หนังสือ นิตยสารจากอิหร่าน และพยายามเผยแพร่วัฒนธรรมโบราณของอิหร่านและความสำเร็จในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ของอิหร่านอ้างว่า มุมอิหร่านได้รับความนิยมมากกว่า"มุมอเมริกัน" เหตุผลหลักมาจากประสิทธิภาพของการใช้อินเตอร์เน็ท เพราะมุมอเมริกัน ทางการสหรัฐฯ ปิดกั้นเว็บไซด์หลายพันเว็บไซด์ แต่อิหร่านให้บริการอินเตอร์เน็ทอย่างเสรี

สถานีวิทยุของอิหร่านโฆษณาชวนเชื่อกระแสต่อต้านอเมริกัน (Anti-American) ไปยังอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะในบริเวณชายแดนและทางตะวันตก โดยกระจายเสียงจากเมืองใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิหร่าน
อิหร่านให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โรงเรียนสอนศาสนานิกาย Shia สายอนุรักษ์นิยม และผู้นำกลุ่มติดอาวุธเก่าที่มีความสัมพันธ์กับหน่วยข่าวกรองของอิหร่าน อิหร่านสนับสนุนเงินจำนวนมากกับเครือข่ายโรงเรียนสอนศาสนานิกาย Shia และกิจกรรมการกุศลในเขตตะวันตกของอัฟกานิสถาน โรงเรียนสอนศาสนาเหล่านี้โดยเฉพาะในเมือง Herat มีความพยายามที่จะเผยแพร่อุดมการณ์ Shiite (Shia) Fundamentalism โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่โรงเรียนสอนศาสนา Sadaqia

อิหร่านพยายามสร้างภาพของตนในฐานะเจ้าของภูมิภาค โดยใช้วิธีการเดียวกับสหรัฐฯ ในสมัยสงครามเย็นในการสร้างและขยาย Soft Power คือ ไม่มีกิจกรรมทางทหาร มีแต่กิจกรรมทางการเมืองและสังคม อิหร่านต้องการให้อัฟกานิสถานมีเสถียรภาพ แต่ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีและอยู่ภายใต้อิทธิพลของอิหร่าน ท่าทีของอิหร่านอาจกล่าวได้ว่า เป็นการถ่วงดุลอำนาจสหรัฐฯ ซึ่งอิหร่านมองว่าล้มเหลวในการสร้างเสถียรภาพทั้งในอัฟกานิสถานและอิรัก

สรุปได้ว่า ยุทธศาสตร์หลักของอิหร่านต่ออัฟกานิสถานคือ การผลักดันให้สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ป้องกันการกลับสู่อำนาจของกลุ่มตาลีบาน และรักษาอิทธิพลของอิหร่านในเขตตะวันตกของอัฟกานิสถานให้เป็นไปในทางที่ต้องการ

3. อิหร่านกับอาวุธนิวเคลียร์

อิหร่านเป็นภาคีของสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT) และพิธีสารเพิ่มเติม (Additional Protocal) จึงเป็นข้ออ้างว่า อิหร่านมีอำนาจอธิปไตยและสิทธิโดยชอบตามกฎหมายที่จะทำการทดลองและพัฒนานิวเคลียร์เพื่อสันติ แม้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) จะเข้าตรวจสอบโครงการนิวเคลียร์ในอิหร่าน แต่อิหร่านก็ยังคงยืนยันว่า โครงการทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลประโยชน์ทางพลเรือนเท่านั้น ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์แต่อย่างใด นอกจากนั้นรัฐบาลอิหร่านยังย้ำว่า การใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นสิ่งต้องห้ามทางศาสนา ปัจจุบัน ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศยังไม่พบหลักฐานที่ชี้ว่า อิหร่านกำลังพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

แต่ในการเมืองภายในของอิหร่านเองก็ยังคงมีข้อโต้เถียงว่า อิหร่านควรพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์หรือไม่ บางกลุ่มเชื่อว่า หากอิหร่านครอบครองอาวุธนิวเคลียร์จะเป็นจุดอ่อนและง่ายต่อการถูกโจมตีมากกว่าไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ แต่ก็มีหลายกลุ่มที่เชื่อว่า อาวุธนิวเคลียร์จะเป็นการป้องปรามศัตรูของอิหร่านได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ฉันทมติที่ประจักษ์ชัดก็คือ อิหร่านควรพัฒนาโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติ เพราะรัฐบาลอิหร่านจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในการโต้แย้งนี้ โดยโทษสหรัฐฯว่าตัดสินใจที่จะพยายามยับยั้งการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์สำหรับพลเรือน

สหรัฐฯ ยังคงเชื่อว่า อิหร่านมีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เพราะแม้จะมีมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1737 และ 1747 คว่ำบาตรอิหร่าน อันเนื่องมาจากการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม และแรงกดดันจากนานาชาติ อิหร่านก็ยังคงเดินหน้าเสริมสมรรถนะยูเรเนียมต่อไป แม้ว่าทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศจะไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่า อิหร่านมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ก็ตาม แต่สหรัฐฯ ก็ยังคงกล่าวหาอิหร่านว่าหลอกลวงประชาคมโลก มีการแอบพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างลับๆ และยังวิจารณ์ว่า อิหร่านขาดความโปร่งใสและความจริงใจในการรายงานกิจกรรมและการพัฒนานิวเคลียร์ของตน. นอกจากนั้นสหรัฐฯ ยังเกรงว่าอิหร่านจะส่งต่ออาวุธร้ายแรงให้กับองค์กรก่อการร้าย หรือประเทศที่สหรัฐฯ กล่าวหาว่า เป็นรัฐอันธพาล (Rogue State) ต่างๆ ด้วย

หากอิหร่านตัดสินใจเดินหน้าผลิตอาวุธนิวเคลียร์จริง จะส่งผลกระทบอย่างมากทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก กล่าวคือ ในระดับภูมิภาค นิวเคลียร์อิหร่านจะคุกคามความมั่นคงของภูมิภาคตะวันออกกลาง ประเทศในตะวันออกกลางจะเร่งพัฒนาศักยภาพทางทหารเพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากอิหร่าน มีความเป็นไปได้ว่าประเทศอย่างตุรกี ซาอุดิอาระเบีย และ อียิปต์ จะพยายามสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ให้ใกล้ชิดขึ้น หรือขอการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ในการพัฒนาอาวุธนอกรูปแบบ (Nonconventional Military Arsenals) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองภายในและการเมืองภายนอกของประเทศเหล่านั้นซับซ้อนขึ้น คือ การเมืองภายในเป็นกระแสการต่อต้านอเมริกัน (Anti-American) ซึ่งจะทำให้ขัดแย้งกับผลประโยชน์แห่งชาติที่ต้องการความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น หลายประเทศอาจตัดสินใจตอบโต้โดยพยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มาไว้ในครอบครองเพื่อเป็นการป้องปรามอิหร่าน ซึ่งสหรัฐฯ คงจะยอมรับไม่ได้

ตัวอย่างเช่น ในกรณีของซาอุดิอาระเบียที่ระบอบกษัตริย์กำลังถูกสั่นคลอนมากขึ้นเรื่อยๆ จากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ดังนั้นถ้าวันใดระบอบกษัตริย์ถูกโค่นล้ม อาวุธนิวเคลียร์ก็จะตกไปอยู่กับรัฐบาลมุสลิมหัวรุนแรงซึ่งจะเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อสหรัฐฯ หากเป็นเช่นนั้นก็จะส่งผลกระทบในระดับโลกด้วย กล่าวคือ จะทำให้ระบอบไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Regime) ล่มสลายลงไป พร้อมกับสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT) และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) ซึ่งอาจรวมถึงการหมดอำนาจในการต่อรองของสหรัฐฯ เองด้วย เพราะอาวุธนิวเคลียร์จะเป็นสิ่งที่นำมาใช้ในการป้องปรามประเทศอื่นที่เป็นภัยคุกคาม และเมื่อมีอาวุธนิวเคลียร์มาครอบครองแล้ว สถาบันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งชาติมหาอำนาจ ก็ไม่กล้าที่จะใช้มาตรการรุนแรงตอบโต้ อาจเป็นการสร้างอำนาจต่อรองให้กับประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์อีกด้วย เช่น กรณีของเกาหลีเหนือ เป็นต้น

4. ความเชื่อมโยงและการสนับสนุนขบวนการก่อการร้ายของอิหร่าน

อิหร่านมีศักยภาพที่จะควบคุมขบวนการก่อการร้าย และสามารถปฏิบัติการก่อการร้ายข้ามชาติได้ การสนับสนุนและสามารถควบคุมขบวนการก่อการร้ายเป็นหนึ่งในนโยบายความมั่นคงแห่งชาติของอิหร่าน โดยอิหร่านพยายามที่จะป้องกันระบอบของตนโดยคุกคาม และป้องปรามการโจมตีจากสหรัฐฯและอิสราเอล นอกจากนั้นการที่อิสราเอลอ่อนแอลง ก็เป็นการเพิ่มอิทธิพลของอิหร่านในภูมิภาค และยังเป็นการผลักดันสหรัฐฯ ออกจากภูมิภาคทางอ้อมด้วย

หัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์การก่อการร้ายของอิหร่าน คือ ขบวนการ Hizballah (*) ในเลบานอน ซึ่งได้รับการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณประจำปี ยุทโธปกรณ์ และการฝึก(ทหาร)พิเศษจากอิหร่าน โดยเป้าหมายคือ ยุทธศาสตร์ในเลบานอน และการสนับสนุนกลุ่มต่อต้านอิสราเอลในปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตามจากกรณีศึกษาในอดีตเชื่อได้ว่าการโจมตีของขบวนการก่อการร้ายต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อขบวนการก่อการร้ายรู้สึกว่าความอยู่รอดของตนถูกคุกคาม ไม่ว่าจากอิหร่านหรือสหรัฐฯ นอกจากนั้นอิหร่านยังมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกลุ่ม HAMAS (**) ซึ่งได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งในปาเลสไตน์อีกด้วย

(*) Hezbollah (literally "party of God") is a Shi'a Islamist political and paramilitary organisation based in Lebanon. Hezbollah is now also a major provider of social services, which operate schools, hospitals, and agricultural services for thousands of Lebanese Shiites, and plays a significant force in Lebanese politics. It is regarded as a resistance movement throughout much of the Arab and Muslim world. Many governments, including Arab ones, have condemned actions by Hezbollah while others have praised the party. Six Western countries, including Israel and the United States, list it in whole or in part as terrorist.

(**) Hamas (meaning "Islamic Resistance Movement") is a Palestinian Islamic socio-political organization which includes a paramilitary force, the Izz ad-Din al-Qassam Brigades. Hamas is considered wholly, or in part, a terrorist organization by certain countries and supranational organizations. Since June 2007, Hamas has governed the Gaza portion of the Palestinian Territories.

5. การท้าทายของอิหร่านต่อสหรัฐอเมริกา

อิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเป็นตัวของตัวเอง และท้าทายอำนาจของสหรัฐฯ มากที่สุดในปัจจุบันนี้ สุนทรพจน์ของประธานาธิบดี Mahmoud Ahmadinejad ในช่วงปี 2005-2006 ที่ประกาศว่าอิสราเอลจะต้องถูกลบออกจากแผนที่ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นเพียงตำนานที่ถูกสร้างขึ้นโดยตะวันตก นับเป็นการท้าทายชาติตะวันตกรวมทั้งอภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เพราะอิสราเอลเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สหรัฐฯ สนับสนุนและถือหางอิสราเอลมาโดยตลอดโดยเฉพาะในปัญหาปาเลสไตน์ การคุกคามอิสราเอลจึงเท่ากับเป็นการคุกคามสหรัฐฯ ด้วย ในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ อิหร่านมีท่าทีแข็งกร้าวและยืนยันว่าจะเดินหน้าต่อไป ถึงแม้ว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะมีมติคว่ำบาตรออกมาก็ตาม

นอกจากนั้น แม้สหรัฐฯ จะประกาศว่า อิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศอักษะแห่งความชั่วร้าย มีความเป็นไปได้ว่าอิหร่านจะเป็นเป้าหมายถัดไปต่อจากอิรัก และสุนทรพจน์ของฝ่ายสหรัฐฯ ก็ออกมาในลักษณะของการข่มขู่โดยตลอด อย่างไรก็ตาม อิหร่านไม่มีทีท่าอ่อนลงตามคำขู่ของสหรัฐฯ แม้แต่น้อย แต่กลับมีท่าทีแข็งกร้าวมากยิ่งขึ้น. (สหรัฐฯ)ในฐานะอภิมหาอำนาจของโลก การกระด้างกระเดื่องเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ ทุกประเทศต้องเชื่อฟังและเดินไปตามกรอบของสหรัฐฯ ต่อให้เป็นประเทศเล็กๆ ที่ไม่มีผลประโยชน์ หากท้าทายอำนาจของสหรัฐฯ ก็ต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรงและเด็ดขาด

การะกระทำของอิหร่านอาจเรียกได้ว่าเป็นการท้าทายอำนาจของสหรัฐฯ ได้สำเร็จ ดังนั้นอิหร่านจึงสมควรที่จะต้องได้รับการลงโทษ มิฉะนั้นอาจเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นปฏิบัติตาม หากความคิดแบบนี้ระบาดออกไป ก็จะส่งผลกระทบที่สำคัญต่ออำนาจของสหรัฐฯ ในฐานะอภิมหาอำนาจโลก ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในกรณีนิวเคลียร์เกาหลีเหนือสามารถมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองได้

6. อำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์

ภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นศูนย์กลางของแหล่งพลังงานโลก ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา สหรัฐฯ ต้องการให้ตะวันออกกลางเป็นเขตสงวนสำหรับสหรัฐฯ ซึ่งปรากฏชัดมาโดยตลอดในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ. สหรัฐฯ ต้องการควบคุมแหล่งพลังงานในตะวันออกกลาง ประเด็นสำคัญไม่ใช่การเข้าถึงแหล่งน้ำมัน แม้สหรัฐฯ จะไม่ได้ใช้น้ำมันจากตะวันออกกลางเลยก็ตาม สหรัฐฯ ก็จะยังคงนโยบายแบบเดิม เพราะหากสามารถควบคุมแหล่งพลังงานในตะวันออกกลางได้ สหรัฐฯ ก็จะยังคงมีอิทธิพลและอำนาจในภูมิภาคนี้ต่อไป

เรื่องการสร้างอำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์โดยควบคุมแหล่งพลังงานของสหรัฐฯ ปรากฏมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดังที่ George F. Kennan ผู้เขียนบทความ The Sources of Soviet Conduct ซึ่งเป็นที่มาของนโยบายการปิดล้อมสหภาพโซเวียต ได้ชี้ให้เห็นว่า ถ้าสหรัฐฯ สามารถควบคุมแหล่งพลังงานในตะวันออกกลางได้ สหรัฐฯ ก็จะมีอำนาจวีโต้เหนือประเทศอุตสาหกรรมคู่แข่งอื่นๆ (หมายถึง ญี่ปุ่น ในขณะนั้น) ประเด็นของ Kennan สามารถใช้ได้กับทุกประเทศในปัจจุบันด้วย

ในฐานะที่อิหร่านเป็นส่วนหนึ่งของระบบพลังงานสำคัญของโลก หากสหรัฐฯ ตัดสินใจใช้กำลังโจมตี และสามารถยึดครองอิหร่านได้ สหรัฐฯ จะสามารถควบคุมแหล่งพลังงานสำคัญของโลกส่วนหนึ่งไว้ได้ อำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐฯ ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สหรัฐฯ มีอำนาจต่อรองมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นทางเศรษฐกิจ เพราะสหรัฐฯ จะมีบทบาทในการเพิ่มหรือลดการส่งออกน้ำมันดิบที่มาจากอิหร่านได้ ซึ่งสามารถส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนั้นยังเป็นการถ่วงดุลกลุ่มประเทศอาหรับที่ผูกขาดการส่งออกน้ำมันของโลกมาตลอด และเป็นเรื่องยากที่กลุ่มประเทศอาหรับจะสามารถใช้น้ำมันเป็นเครื่องมือในการต่อรองกับสหรัฐฯ ดังเช่นที่เคยทำมาในอดีต

ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน

1. รักษาสถานะการครองความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกา
ในฐานะที่อเมริกาเป็นอภิมหาอำนาจ การรักษาสถานการณ์ครองความเป็นเจ้าของสหรัฐฯ เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ. ท่าทีของอิหร่านอาจเรียกได้ว่า เป็นการท้าทายอำนาจของสหรัฐฯ ได้สำเร็จ ดังนั้นอิหร่านจึงสมควรที่จะต้องได้รับการลงโทษ มิฉะนั้นอาจเป็นแบบอย่างให้ประเทศอื่นปฏิบัติตาม หากความคิดแบบนี้ระบาดออกไปก็จะส่งผลกระทบที่สำคัญต่ออำนาจของสหรัฐฯ ในฐานะอภิมหาอำนาจที่เป็นเจ้าครองโลก ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในกรณีนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ กล่าวคือ เมื่อเกาหลีเหนือสามารถมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองได้ สหรัฐฯ ก็ไม่สามารถจัดการอะไรได้อย่างที่เคยประกาศไว้

ดังนั้น กรณีของอิหร่านต้องไม่ซ้ำรอยกับกรณีของเกาหลีเหนือ เพื่อไม่ให้สถานะการครองความเป็นเจ้าของสหรัฐฯ ถูกสั่นคลอนไปมากกว่านี้ ทั้งนี้ยังเป็นการรักษาอำนาจและอิทธิพลของสหรัฐฯในภูมิภาคตะวันออกกลาง การรักษาสถานะการครองความเป็นเจ้าจึงเป็นเหตุผลและวัตถุประสงค์หลักในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน

2. สกัดกั้นอิทธิพลของอิหร่านต่อภูมิภาคตะวันออกกลาง
หลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ทั้งการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายโดยล้มล้างระบอบตาลีบานในอัฟกานิสถาน และการโค่นล้ม Saddam Hussein ในอิรัก ทำให้อิหร่านกลายเป็นประเทศที่มีอำนาจและอิทธิพลในภูมิภาค เพราะการล้มล้างระบอบตาลีบานโดยความร่วมมือกับพันธมิตรฝ่ายเหนือ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านนั้น เท่ากับว่าสหรัฐฯ ร่วมมือกับอิหร่านโดยอ้อมในการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน หลังจากนั้นอิหร่านก็พัฒนาความสัมพันธ์กับรัฐบาลที่สนับสนุนสหรัฐฯ ของ Hamid Karzai และมีส่วนร่วมอย่างมากในการฟื้นฟูอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะในเขตเมือง Herat ทางตะวันตกของอัฟกานิสถาน แต่ที่สำคัญมากกว่าการล้มล้างระบอบตาลีบานก็คือ การโค่นล้ม Saddam Hussein ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของอิหร่านตั้งแต่ในอดีต นอกจากนั้นรายได้จากการส่งออกน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ชัยชนะของกลุ่ม HAMAS ในการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ และความสำเร็จของ Hizballah ในการต่อสู้เพื่อต่อต้านอิสราเอล ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เงาของอิหร่านขยายออกไปครอบงำภูมิภาคมากขึ้นเรื่อยๆ

พันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคมีความหวาดกลัวต่ออิทธิพลของอิหร่านที่เพิ่มมากขึ้น และต้องประสบกับปัญหาแรงกดดันจากภายใน ในการวิพากษ์วิจารณ์การเป็นหุ้นส่วนกับสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อความร่วมมือกับสหรัฐฯในระยะยาวได้ ดังนั้นการสกัดกั้นอิทธิพลของอิหร่านต่อภูมิภาคตะวันออกกลางจึงมีความสำคัญ เพราะปัจจุบันกระแสต่อต้านอเมริกันกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐฯ ไม่เป็นที่ยอมรับในสายตาของประชาชนส่วนใหญ่ แต่สำหรับอิหร่านแล้วกลับเป็นไปในทางตรงข้าม

3. ลดบทบาทของอิหร่านในฐานะผู้เล่นที่มีอิทธิพลในอิรักและอัฟกานิสถาน
หลังการล้มล้างระบอบตาลีบาน และการโค่นล้ม Saddam Hussein อิหร่านใช้โอกาสที่ประเทศทั้งสองกำลังไร้เสถียรภาพแพร่ขยายอิทธิพลของตนเข้าไป โดยอาศัยรากฐานความสัมพันธ์ที่มีมาตั้งแต่โบราณโดยเฉพาะความเหมือนกันทางศาสนา อิหร่านพยายามใช้ Soft Power ในการสร้างอิทธิพลครอบงำจากฐานราก สร้างกระแสความนิยมในตัวอิหร่าน เพื่อให้ได้รับการยอมรับในฐานะความเป็นเจ้าในภูมิภาค ทำให้อิหร่านมีอิทธิพลอย่างมากในประเทศทั้งสอง

อิทธิพลของอิหร่านทั้งในอิรักและอัฟกานิสถานถือเป็นภัยคุกคามอย่างยิ่งต่อสหรัฐฯ กล่าวคือ อิหร่านสามารถสร้างความไร้เสถียรภาพให้เกิดขึ้น สามารถเผยแพร่กระแสต่อต้านอเมริกัน และทำให้เกิดแรงต่อต้านต่อความร่วมมือใดๆ ของรัฐบาลที่เป็นการยอมโอนอ่อนต่อความต้องการของสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯ สามารถควบคุมสถานการณ์ได้น้อยลงเรื่อยๆ และในที่สุดมีความเป็นไปได้ว่า สหรัฐฯจะต้องถอนตัวออกจากประเทศทั้งสอง

ดังนั้นหากสหรัฐฯ ต้องการรักษายุทธศาสตร์และเป้าหมายของตนให้คงไว้ในอิรักและอัฟกานิสถาน ก็มีความจำเป็นที่สหรัฐฯ ต้องลดบทบาทของอิหร่านลง โดยเฉพาะด้านกิจกรรมทางสังคมและการเมืองซึ่งเป็น Soft Power ที่อิหร่านใช้อย่างได้ผลในการสร้างอิทธิพลของตน และสหรัฐฯ ต้องพยายามสร้าง Soft Power เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากประชาชนชาวอิรักและอัฟกานิสถาน

4. ป้องกันไม่ให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ และยุติการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์

การที่สหรัฐฯ กล่าวหาบางประเทศเป็นรัฐอันธพาล (Rogue State) มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ. ในกรณีอิหร่าน ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีความพยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ แม้ว่ายังไม่อาจพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าอิหร่านพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์จริงหรือไม่ แต่การรอให้อิหร่านสามารถครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ได้แล้ว เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ เพราะจะทำให้เกิดการซ้ำรอยกับกรณีเกาหลีเหนือ อันส่งผลให้อภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ ต้องสูญเสียความศักดิ์สิทธิ์ไป การที่อิหร่านประกาศว่าจะพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์เพื่อเป้าหมายทางพลเรือนก็เช่นกัน แม้จะฟังดูชอบธรรม แต่ก็เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคอย่างมาก เพราะการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของอิหร่านสามารถนำไปใช้ในการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ได้

ท่าทีของอิหร่านต่อการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ ทำให้ประเทศในภูมิภาคต่างต้องการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์เพื่อป้องปรามภัยคุกคามจากอิหร่าน อาวุธนิวเคลียร์จึงกลายมาเป็นเครื่องมือในการป้องปรามความขัดแย้งระหว่างประเทศ. การป้องกันไม่ให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง รวมทั้งการยุติการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่ง เพื่อไม่ให้ระบอบไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Regime) ล่มสลายลงไปพร้อมกับสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT) และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) รวมถึงป้องกันการหมดอำนาจในการต่อรองของสหรัฐฯเองด้วย นอกจากนั้นยังเป็นการสกัดกั้นความพยายามใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นเครื่องมือในการป้องปรามความขัดแย้งระหว่างประเทศอีกด้วย

5. กดดันให้อิหร่านเลิกสนับสนุนขบวนการก่อการร้าย
การสนับสนุนและสามารถควบคุมขบวนการก่อการร้ายเป็นหนึ่งในนโยบายความมั่นคงแห่งชาติของอิหร่าน ยุทธศาสตร์การก่อการร้ายของอิหร่านคือ ขบวนการ Hizballah ในเลบานอน ซึ่งได้รับการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณประจำปี ยุทโธปกรณ์ และการฝึกพิเศษจากอิหร่าน โดยเป้าหมายคือ ยุทธศาสตร์ในเลบานอน และการสนับสนุนกลุ่มต่อต้านอิสราเอลในปาเลสไตน์ นอกจากนั้นอิหร่านยังมีความใกล้ชิดกับกลุ่ม HAMAS อิหร่านจึงสามารถที่จะสั่งการหรือสนับสนุนให้ขบวนการก่อการร้ายโจมตีเป้าหมายที่เป็นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และอิสราเอล หากตนถูกกดดันหรือถูกคุกคามด้วยกำลังจากสหรัฐฯ การกดดันให้อิหร่านเลิกสนับสนุนขบวนการก่อการร้าย จึงเป็นประเด็นสำคัญในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่มีต่ออิหร่าน

แนวโน้มในอนาคต
จากท่าทีของอิหร่านที่ผ่านมาอาจพยากรณ์แนวโน้มในอนาคตได้ว่า ยิ่งสหรัฐฯ พยายามกดดันอิหร่านมากขึ้นเท่าใด ไม่ว่าจะเป็นการข่มขู่จะดำเนินนโยบายฝ่ายเดียวในการโจมตีอิหร่าน หรือ การผลักดันให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติคว่ำบาตรอิหร่าน กลับทำให้ท่าทีของอิหร่านแข็งกร้าวมากขึ้น ดังเห็นได้จากอิหร่านประกาศเดินหน้าเสริมสมรรถนะยูเรเนียมโดยไม่สนใจการข่มขู่ของสหรัฐฯ และมาตรการคว่ำบาตรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นอกจากนั้นอิหร่านยังมีทีท่าว่าจะก้าวร้าวมากยิ่งขึ้นด้วย เช่น สุนทรพจน์ของประธานาธิบดี Mahmoud Ahmadinejad ในช่วงปี 2005-2006 ที่ประกาศว่า อิสราเอลจะต้องถูกลบออกจากแผนที่ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นเพียงตำนานที่ถูกสร้างขึ้นโดยตะวันตก เป็นต้น

หากอิหร่านถูกกดดันอย่างหนัก หรือ ถูกโจมตีจากสหรัฐฯ อิหร่านน่าจะใช้ไพ่ใบสำคัญ คือ ลดปริมาณการส่งออกน้ำมัน หรือการหยุดส่งออกน้ำมัน ซึ่งในกรณีแรกจะทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวนอย่างหนัก ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมรายใหญ่ กล่าวคือสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินั่นเอง ในกรณีที่สอง ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจพุ่งขึ้นสูงถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกทรุดตัวลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประเทศที่จะได้รับผลกระทบมากอาจไม่ใช่อิหร่าน แต่เป็นสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ทำให้ท่าทีของสหรัฐฯ และชาติตะวันตกที่มีต่ออิหร่านมีแนวโน้มผ่อนปรนและอ่อนลงมากขึ้น นอกจากนั้นอิหร่านน่าจะมีใบสั่งให้ขบวนการก่อการร้ายโจมตีเป้าหมายที่เป็นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ อิหร่านยังน่าจะสร้างความไร้เสถียรภาพให้เกิดขึ้นในอิรักและอัฟกานิสถานด้วย ซึ่งจะเป็นสิ่งเร้าให้สถานการณ์ในประเทศทั้งสองเข้าสู่ภาวะสงครามกลางเมือง ทำให้สหรัฐฯ กับชาติพันธมิตรไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคในท้ายที่สุด

นโยบายอิหร่านต่อประเด็นนิวเคลียร์ น่าจะเป็นไปในทิศทางเดิมคือ เดินหน้าเสริมสมรรถนะยูเรเนียม เพราะหากอิหร่านสามารถครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ หรือมีศักยภาพที่จะผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้ ก็จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องปรามการคุกคามจากอภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านและอิสราเอล อย่างไรก็ตาม นโยบายของอิหร่านอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากมีการเปลี่ยนตัวผู้นำรัฐบาลในการเลือกตั้ง

อาวุธนิวเคลียร์จะกลายเป็นเครื่องมือในการป้องปรามการคุกคามจากชาติมหาอำนาจ หรือ ประเทศเพื่อนบ้าน และมีแนวโน้มว่าหลายๆ ประเทศพยายามแสวงหาไว้ในครอบครอง ดังที่เห็นได้ชัดจากกรณีอิหร่านที่ประเทศในภูมิภาค เช่น ตุรกี ซาอุดิอาระเบีย และอียิปต์ ต่างพยายามหาอาวุธนิวเคลียร์มาไว้ในครอบครองเพื่อจำกัดภัยคุกคามจากอิหร่าน ทำให้ระบอบไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Regime) ล่มสลายลงไปพร้อมกับสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (nuclear Non-Proliferation Treaty : NPT) และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA) อาจรวมถึงการหมดอำนาจในการต่อรองของสหรัฐฯ เองด้วย

สำหรับภูมิภาคตะวันออกกลาง เสถียรภาพในภูมิภาคกำลังถูกสั่นคลอน โครงสร้างอำนาจในภูมิภาคกำลังเปลี่ยนไป โดยอิหร่านกำลังผงาดขึ้นเป็นเจ้าในภูมิภาค โดยสหรัฐฯ เองเป็นผู้ช่วยเสริมสร้างอำนาจแก่อิหร่าน โดยการล้มล้างระบอบตาลีบานในอัฟกานิสถาน และการโค่นล้ม Saddam Hussein ในอิรัก ซึ่งในอดีตเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจของอิหร่านเอาไว้ นอกจากนั้นโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านก็ช่วยสร้างอำนาจของอิหร่านมากยิ่งขึ้น และน่าจะเป็นที่แน่นอนว่าอิหร่านจะกลายเป็นเจ้าในภูมิภาคตะวันออกกลางในไม่ช้า

การต่อต้านสหรัฐฯ จะกลายเป็นอุดมการณ์ต่อต้านอเมริกัน (Anti-Americanism) และจะกระจายไปทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศมุสลิมอื่นๆ อิหร่านจะกลายเป็นตัวแบบในการต่อสู้กับสหรัฐฯ และชาติตะวันตก แนวคิดสายกลางจะได้รับความนิยมน้อยลง และอุดมการณ์ Islamic Fundamentalism จะเพิ่มมากยิ่งขึ้นในภูมิภาค ประเทศอาหรับซึ่งเป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ จะถูกกดดันอย่างหนักจากการให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ เช่น ในซาอุดิอาระเบียที่ระบอบกษัตริย์ซึ่งกำลังถูกสั่นคลอนอย่างหนัก เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีแนวโน้มที่อาจส่งผลต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในภูมิภาคในระยะยาว ผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคจะเสี่ยงต่อภัยคุกคามมากขึ้น อิสราเอลจะเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากรัฐบาลมุสลิมสายอนุรักษ์นิยม และกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงมากกว่าเดิม การปะทะกันระหว่างอารยธรรมส่อเค้าจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจกลายเป็นสงครามระหว่างอารยธรรม

เอกสารอ้างอิง

Charles Kupchan . Perspective: Europe and America in the Middle East. Current History,
Volume 106, Number 698 (March 2007), pp. 137-137.

Mohsen M. Milani. Iran, the Status Quo Power. Current History, Volume 104, Number 678 (January 2005), pp. 30-36.

Ray Takeyh. Time for D?tente With Iran. Foreign Affairs, Volume 86, Number 2 (March/April 2007), pp. 17-32.

Sanam Vakil. The Persian Dilemma: Will Iran Go Nuclear?. Current History,
Volume 104, Number 681 (April 2005), pp. 183-188.

Scott D. Sagan. How to Keep the Bomb From Iran. Foreign Affairs, Volume 85, Number 5 (September/October 2006), pp. 45-59.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com