ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ : Release date 17 May 2009 : Copyleft MNU.

อำนาจอธิปไตยในบริบทสังคมระหว่างประเทศ ปัจจุบัน ได้ถูกจำกัด ควบคุมโดยปัจจัยและตัวแสดงสำคัญจำนวนมากตั้งแต่ระดับรัฐและองค์กรเหนือรัฐ อำนาจรัฐที่เคยมีอยู่อย่างสมบูรณ์ในอดีต จึงถูกบั่น-ทอนลงหลังจากการที่รัฐเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบรัฐ ซึ่งมีทั้งประเทศมหาอำนาจทั้งในระดับโลกและภูมิภาค รวมทั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐ ซึ่งก็ย่อมจะมีประเทศที่เข้มแข็งและอ่อนแอ เหล่านี้สามารถอธิบายได้ว่า ธรรมชาติและข้อจำกัดของอำนาจอธิปไตยกำ-ลังถูกแปลงสภาพซึ่งเป็นผลจากปัจจัยภายนอก คือ จากความสัมพันธ์ขององค์กรระหว่างรัฐ (Intergovernmental organization) สู่ความสัมพันธ์ขององค์กรเหนือรัฐ หรือที่เรียกว่า Supranational organization) และจากภายใน คือ จากขบวนการทางสังคม...

H



17-05-2552 (1730)
การเมืองระหว่างประเทศ ว่าด้วยความสัมพันธ์ในภูมิภาคอาเซียน
จากปัญหาชาติพันธุ์-ลัทธิชาตินิยม ถึงความพร่ามัวของประชาคมอาเซียน
ดร.ธนวัฒน์ พิมลจินดา : เขียน

สถาบันการศึกษานานาชาติ (IIS) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความนี้ได้รับมาจากผู้เขียน เดิมชื่อ "จากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ สู่ความพร่ามัวของประชาคมอาเซียน"
โดยมีโครงสร้างการนำเสนอบทความดังต่อไปนี้
- ความท้าทายที่ถูกละเลยจากประชาคมอาเซียน
- ความแตกต่างทางชาติพันธุ์
- ชุมชนอาเซียนในมุมมองลัทธิชาตินิยม
- ลัทธิชาตินิยมจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือใน ๒ รูปแบบ
- บทบาทของลัทธิชาตินิยมในเอเชียอาคเนย์
- บูรณภาพ เอกภาพ และอำนาจอธิปไตยที่เหลืออยู่
- ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ภูมิรัฐศาสตร์ศึกษา")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๓๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การเมืองระหว่างประเทศ ว่าด้วยความสัมพันธ์ในภูมิภาคอาเซียน
จากปัญหาชาติพันธุ์-ลัทธิชาตินิยม ถึงความพร่ามัวของประชาคมอาเซียน
ดร.ธนวัฒน์ พิมลจินดา : เขียน

สถาบันการศึกษานานาชาติ (IIS) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

1. เกริ่นนำ

การจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือหรือองค์กรระหว่างประเทศ ไม่ใช่ประเด็นที่แปลกใหม่ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International relations) แท้ที่จริง มันเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจหลายร้อยปีล่วงมาแล้ว ในช่วงทศวรรษที่ 1850 - 1890 การจัดตั้งความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกทางฝั่งประเทศยุโรป จากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม (Industrialization) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์กรความมั่นคงแห่งแอตแลนติกเหนือ (NATO) ก็ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 1949 และตามมาด้วยประชาคมเหล็กกล้าและถ่านหินแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community: ECSC) ในปี 1951

จากทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา แนวคิดเกี่ยวกับภูมิภาคนิยม (Regionalism) ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการเน้นระดับการบูรณาการความร่วมมือภายใต้กรอบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ผลผลิตที่โดดเด่นจากแนวคิดภูมิภาคนิยมนี้ คือ การบรรลุผลของการจัดตั้งสหภาพยุโรป (European Union: EU) ในปี 1992

ในส่วนซีกโลกตะวันออกก็มีการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเช่นกัน จากองค์กรสนธิสัญญาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization: SEATO) (*) ในปี 1954 สู่ประชาคมความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia: ASA) ในปี 1961 และแผนการจัดตั้ง MAPHILINDO (**) ซึ่งเป็นตัวย่อตามชื่อของประเทศสมาชิก คือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม องค์กรเหล่านี้ต้องยุติบทบาทของตัวเองลงเนื่องจากปัญหาต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนความขัดแย้งที่เกิดจากการช่วงชิงอำนาจเหนือดินแดน และที่สำคัญคืออิทธิพลของลัทธิชาตินิยม

(*) The Southeast Asia Treaty Organization (SEATO), was an international organization for collective defense created by the Southeast Asia Collective Defense Treaty or the Manila Pact, which was signed on September 8, 1954. The formal institution of SEATO was established at a meeting of treaty partners in Bangkok in February 1955.[1] It was primarily created to block further communist gains in Southeast Asia. The organization's headquarters were located in Bangkok, Thailand. SEATO was dissolved on June 30, 1977.

(**)Maphilindo (for Malaya, the Philippines, and Indonesia) was a proposed nonpolitical confederation of those countries. The original plan for a united malay nation was attempted by Wenesclao Vinzons during the Commonwealth government in the Philippines. There he espoused a United Malay race - his Malaya Irredenta ideal (Malaya Irredenta was another name for Maphilindo). It was a concept that was inconceivable during his time but it showed the farreaching vision.

In July 1963, President Diosdado Macapagal of the Philippines convened a summit meeting in Manila. Maphilindo was proposed as a realization of Jose Rizal's dream of bringing together the Malay peoples, seen as artificially divided by colonial frontiers.
(อ่านเพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/Maphilindo)

หลังจากนั้น การจัดตั้งสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ก็ถือกำเนิดขึ้นในปี 1967 และสามารถอยู่รอดได้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการขยายขอบเขตความร่วมมือสู่ประเทศเอเชียตะวันออก อย่างเช่น อาเซียนบวกสาม (ASEAN plus Three) (บวกสาม หมายถึง ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้) (1) และองค์กรหพุภาคีข้ามทวีป อย่างเช่น องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperation: APEC) ซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี 1989 โดยมีชาติตะวันตกและตะวันออกเข้าเป็นรัฐสมาชิกด้วย

(1) Breslin, S., Higgott, R., & Rosamond, B. (2002, November). Regions in comparative perspective (CSGR Working Paper No. 107/02). Coventry: University of Warwick, the Center for the Study of Globalization and Regionalization.

อย่างไรก็ตาม มีตัวแปรจำนวนมากที่เป็นอุปสรรคต่อการบูรณาการความร่วมมือระหว่างประเทศ หนึ่งในนั้น คือ ประเด็นด้านความมั่นคงและความเปราะบางของอธิปไตยแห่งรัฐ ซึ่งเป็นผลจากการสร้างขอบเขตปริมณฑลการปกครองใหม่ของรัฐ หลังได้รับเอกราชช่วงยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงยุคสงครามเย็น โดยที่ขอบเขตของอำนาจรัฐได้ครอบคลุมความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และครอบงำเชื้อชาติชนเผ่าที่หวังจะได้รับเอกราชและอำนาจในการปกครองตนเอง

2. ความท้าทายที่ถูกละเลยจากประชาคมอาเซียน

หากจะกล่าวว่า การสร้าง "ประชาคมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Community)" เป็นการลอกเลียนแบบการจัดตั้งสหภาพยุโรปที่มีผลเป็นรูปธรรมในช่วงปี 1992 คงจะไม่ผิดนัก จุดเริ่มต้นที่สำคัญเกิดขึ้นในช่วงการประชุมนอกรอบ สุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 2 (2nd Informal ASEAN Summit) ในเดือนธันวาคม 1997 ประเทศมาเลเซีย โดยผู้นำรัฐสมาชิกเห็นพ้องที่จะสร้างสัมพันธภาพและบูรณาการความร่วมมือระหว่างกันให้มีความเหนียวแน่นมากขึ้น จนกระทั่งการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 9 ในเดือนตุลาคม 2003 ประเทศอินโดนีเซีย ปฏิญญาว่าด้วยมิตรภาพฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II) (2) จึงได้ถูกจัดทำขึ้น พร้อมกับประกาศ "วิสัยทัศน์แห่งอาเซียน" (ASEAN Vision) ซึ่งหวังที่จะบูรณาการความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในปี 2020 (3) โดยมีกรอบความร่วมมือใน 3 มิติ คือ

- ประชาคมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง (Political and Security Community)
- ประชาคมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ (Economic Community) และ
- ประชาคมความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Community)

(2) เดิมที ปฏิญญาว่าด้วยมิตรภาพฉบับที่ 1 (Declaration of ASEAN Concord I) ถูกจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1976 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งแรก ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเน้นการสร้างสันติภาพ ความก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจท่ามกลางประเทศสมาชิกอาเซียน

(3) ในการประชุมสุดยอดครั้งที่ 12 เมื่อเดือนมกราคม 2007 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการสร้างประชาคมความร่วมมือแห่งอาเซียนให้แล้วเสร็จเป็นผลในปี 2015

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงการแสดงเจตจำนงของผู้นำรัฐสมาชิกอาเซียนซึ่งเกิดขึ้นตามวาระต่างๆ แล้วประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจจะถูกใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก เพื่อผลักดันให้การสร้างประชาคมอาเซียนสัมฤทธิ์ผล ซึ่งนั้นหมายถึงการหวังผลให้เป็นตัวประสานความสัมพันธ์ทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค โดยผ่านกระบวนการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่วยเหลือทางเศรษฐกิจระหว่างกันนั้นเอง บทสรุปนี้เกิดขึ้นจากผลของการประชุมสุดยอดผู้นำครั้งที่ 10 ในเดือนพฤศจิกายน 2004 ที่ประเทศลาว ซึ่งผู้นำรัฐสมาชิกลงความเห็นที่จะใช้ประเด็นทางเศรษฐกิจเป็นจุดเริ่มต้นและหนทางสู่การบรรลุการจัดตั้งประชาคมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ท้าทายความพยายามของผู้นำอาเซียน ซึ่งดูเหมือนจะถูกละเลยหรือกีดกันออกจากวาระการประชุมสุดยอดผู้นำ คือ"อิทธิพลของลัทธิชาตินิยม"ซึ่งสามารถสำแดงผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก และการสร้างความเป็นภูมิภาคอาเซียน (ASEANization) เมื่อเราพิจารณาถึงลักษณะโครงสร้างทางสังคมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคู่กับมรดกตกทอดจากยุคล่าอาณานิคมที่ส่งผลสืบเนื่องถึงยุคปัจจุบัน การสร้างประชาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาค เน้นการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวทางสังคม จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อรัฐสมาชิกเป็นอย่างมาก

3. ความแตกต่างทางชาติพันธุ์

เราอาจจะกล่าวได้ว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนแห่งพหุสังคม (Plural society) ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา (Social diversity) โดยที่เราสามารถแบ่งกลุ่มประเทศตามศาสนาที่ประชากรส่วนใหญของประเทศนับถือได้ ดังนี้

- ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คือ บูรไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
- ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คือ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม สิงคโปร์ และประเทศไทย
- ส่วนในฟิลิปปินส์ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์

นอกเหนือจากความแตกต่างทางศาสนาแล้ว ปัญหาชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าย่อมจะมีความแตกต่างทางความเชื่อ วิถีชีวิต ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ก็เป็นอุปสรรคต่อการหลอมรวมสร้างความเป็นหนึ่งเดียว ทั้งในระดับปัจเจกรัฐและในระดับภูมิภาค หากพิจารณาถึงจำนวนของชนกลุ่มน้อยในแต่ละประเทศแล้ว สามารถสรุปได้ดังนี้

- บูรไนมีชนกลุ่มน้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและ Iban, Dayak และ Kelabit ประมาณ 14.6 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ
ประมาณ 357,800 คน

- มาเลเซียมีชนกลุ่มน้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและอินเดีย ประมาณ 34 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ ประมาณ 27 ล้านคน

- อินโดนีเซียมีชนกลุ่มน้อยมากกว่า 10 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด คือ Sundanese และ Malay มีประมาณ 39 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากร
รวมทั้งประเทศ ประมาณ 240 ล้านคน

- ฟิลิปปินส์มีชนกลุ่มน้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลมุสลิม (Malay Muslim) และชาวจีนประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ
ประมาณ 89 ล้านคน

- ไทยมีชนกลุ่มน้อยที่สำคัญคือชาวจีนและชาวมาเลมุสลิม ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ (ยังไม่รวมชาวเขาและที่ราบสูง) จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ
ประมาณ 65 ล้านคน

- สิงคโปร์มีชนกลุ่มน้อยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลมุสลิมและอินเดีย ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ ประมาณ 4.5 ล้านคน

- เวียดนามมีชนกลุ่มน้อยมากกว่า 10 กลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด คือ ไต (Tay), ไท (Thai), ม้ง (Muong) และเขมร (Khmer) ซึ่งมีประมาณ 7-8 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ ประมาณ 84 ล้านคน

- ลาวมีชนกลุ่มน้อยประมาณ 3-4 กลุ่ม คิดเป็นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ ประมาณ 6 ล้านคน

- กัมพูชามีชนกลุ่มน้อยมากกว่า 5 กลุ่ม รวมทั้งชนเผ่าต่างๆ คิดเป็นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ ประมาณ 14 ล้านคน

- พม่ามีชนกลุ่มน้อยมากกว่า 10 กลุ่ม รวมทั้งชนเผ่าต่างๆ คิดเป็นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ ประมาณ 48 ล้านคน

ในมิติด้านการสร้างรัฐมาตุภูมินั้น ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนเคยตกเป็นเมืองขึ้นของมหาอำนาจตะวันตกอย่างสมบูรณ์ โดยที่ประเทศไทยอาจเป็นกรณียกเว้น เป็นเพียงแค่กึ่งอาณานิคม ในช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นอาศัยเป็นศูนย์บัญชาการภูมิภาคและเส้นทางเดินทัพสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

- ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณัติของอังกฤษ คือ พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ และบูรไน
- ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศษ คือ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม
- ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณัติของอเมริกา คือ ฟิลิปปินส์
- ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณัติของโปรตุเกสและฮอลันดา คือ อินโดนีเซีย

ดร.อมิตาฟ อชาเรีย (Amitav Acharya) ศาสตราจารย์ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความมั่นคงในเอเชียอาคเนย์ ได้กล่าวไว้ว่า ผลพวงจากประวัติศาสตร์อันทรงพลังที่เป็นตัวกำหนดชะตากรรมของรัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ขบวนการลัทธิชาตินิยมและการปลดแอกจากอาณัติของมหาอำนาจชาติตะวันตก สู่การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งเสถียรภาพและความมั่นคงในระบอบการปกครองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงจากการต่อต้านเจ้าอาณานิคมสู่ขบวนการกอบกู้เอกราช จึงเป็นผลผลิตของลัทธิชาตินิยม (4)

(4) Acharya, A. (2000). The quest for identity: International relations of Southeast Asia. Singapore: Oxford University Press. โปรดดูเพิ่มเติมที่ Bayly, C., & Harper, T. (2005). Forgotten armies: The fall of British Asia, 1941-1945. Cambridge, MA: Bellknap Press.

หลังจากที่การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้เอกราชบรรลุผล การต่อสู้เพื่อครอบครองอำนาจแห่งรัฐ ทั้งในรูปแบบของการผนวกดินแดนซึ่งเป็นของชนกลุ่มน้อยที่อ่อนแอกว่าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง หรือขบวนการแยกตัวเป็นอิสระเพื่อการปกครองตนเองก็เกิดขึ้นตามมา เช่น การต่อสู้ระหว่างชาวมาเลมุสลิมและชาวจีนในมาเลเซีย เดือนพฤษภาคม 1969 (*) ขบวนการแบ่งแยกดินแดนชาวมุสลิมในฟิลิปปินส์ตั้งแต่ช่วงปี 1971 การต่อสู้เพื่อเอกราชของติมอร์ตะวันออกในช่วงปี 1999 หรือแม้แต่ภาคใต้ของไทยซึ่งเป็นผลมาจากการผนวกรัฐอิสระในคาบสมุทรมลายูในช่วงปี 1902 เป็นต้น

(*) การจลาจลทางด้านเชื้อชาติ: 1969 race riots can be traced to the May 13 Incident in Kuala Lumpur and Petaling Jaya in Malaysia. It was triggered by the results of the General Election, that were marked by Sino-Malay riots unprecedented in Malaysian history - 196 people were killed and over 350 injured between May 13 and July 31. The real figures could be much higher than officially revealed. The Malaysian government declared a state of emergency and suspended Parliament until 1971

มาถึงจุดนี้ เป็นที่น่าแปลกใจว่า ความพยายามในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากลัทธิชาตินิยมของผู้นำรัฐสมาชิกอาเซียน กลับกลายเป็นการกำหนดให้ประชาคมอาเซียนดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายและส่งเสริมอัตลักษณ์แห่งภูมิภาคโดยไม่มีการกำหนดมาตรการคู่ขนาน เพื่อจัดการกับความแตกต่างเหล่านี้อย่างชัดเจน เหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อเจตจำนงของการสร้างประชาคมอาเซียนตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญาว่าด้วยมิตรภาพฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord II) ว่าด้วยขอบเขตความร่วมมือทางสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Community) ซึ่งเน้นการหลอมรวมประชาคมให้เป็นหนึ่งเดียวและสร้างความเป็นหุ้นส่วน และสังคมแห่งความมั่นคงและเอื้ออาทรระหว่างกัน (*)

(*) The objective of the Socio-Cultural Community is to forge a single community which is outward looking and bounded by a sense of partnership and a caring society living in peace and stability)

เพื่อเพิ่มความชัดเจนในการทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ผู้เขียนจึงได้ดำเนินเรื่องต่อ โดยการชักนำเข้าสู่การวิเคราะห์ในเชิงทฤษฎีและมโนทัศน์ ซึ่งผู้เขียนได้หยิบยกแนวคิดตามแบบลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ซึ่งจะได้กล่าวดังต่อไปนี้

4. ASEAN Community ในมุมมองของ Nationalism
(ชุมชนอาเซียนในมุมมองลัทธิชาตินิยม)

จุดเริ่มต้นของลัทธิชาตินิยม
โดยทั่วไป ชาตินิยมเป็นรูปแบบหนึ่งของอุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งประชาชนทั่วไปแสดงออกถึงความผูกพันเป็นหนึ่งเดียว บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมจากประวัติศาสตร์สู่การกำหนดชะตากรรมในอนาคต การเป็นสมาชิกของชาติ (Nationals) จึงหมายถึง การที่บุคคลหนึ่งได้แบ่งปันความรู้สึกและลักษณะเฉพาะร่วมกับบุคคลอื่นในฐานะของพลเมือง (Citizenship) ซึ่งลักษณะเหล่านี้ โดยพื้นฐานแล้วประกอบด้วย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม จารีตประเพณี หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์ และด้วยเหตุนี้เอง ความเป็นชาตินิยมจึงถูกจำแนกได้ใน 2 ลักษณะคือ ทัศนคติ (Attitude) และการแสดงออก (Action)

- ทัศนคติในความเป็นชาตินิยม คือ การที่สมาชิกของชนชาติหนึ่งมีความห่วงใยและใส่ใจต่ออัตลักษณ์ของตน
- ขณะที่การแสดงออก คือ สิ่งที่สมาชิกของชนชาติหนึ่งกระทำเพื่อให้ได้มาหรือดำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตย

ในหลักการทั่วไป รัฐ(State)จะมั่นคงได้ ก็ต่อเมื่อมีความเป็นชาติอยู่ในตัวเอง ในทางตรงกันข้าม ชาติ (Nation) จะคงอยู่ได้จำเป็นต้องมีรัฐเป็นเกราะป้องกัน ดังนั้น การคงอยู่ของรัฐจึงเป็นผลมาจากการอ้างสิทธิและอำนาจอธิปไตยในการปกครอง โดยการปลูกฝังความเป็นชาติ (Nationhood) ให้กับพลเมือง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ "ชาตินิยม"เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรัฐ ในทางกลับกัน สังคมชุมชนที่มีความเป็นชาติ แต่ไร้ซึ่งความเป็นรัฐ ก็จะใช้ข้ออ้างเกี่ยวกับสิทธิและอธิปไตยเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานะแห่งความเป็นรัฐ (Statehood)

ลัทธิชาตินิยมจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือใน 2 รูปแบบ
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พลังของลัทธิชาตินิยมจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือใน 2 รูปแบบ

1. "ลัทธิชาตินิยม" ที่ว่าด้วยการต่อต้านการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ (State nationalism)…ลัทธิชาตินิยมตามรูปแบบนี้ เน้นการสร้างความมั่นคงและความเป็นปึกแผ่นระหว่างอำนาจรัฐและประชาชนภายในรัฐ เพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากภายนอกในรูปแบบต่างๆ

2. "ลัทธิชาตินิยม" ที่ว่าด้วยการแสดงเจตจำนงและปฏิบัติการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองตัวเอง (Ethnic nationalism).. .ลัทธิชาตินิยมตามรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะถูกฝังตรึงอยู่กับความแตกต่างทางชาติพันธุ์และศาสนา และความรู้สึกแปลกแยกจากสังคมส่วนใหญ่

จากที่กล่าวมา ชาตินิยมสามารถสำแดงผลออกมาได้ทั้งในเชิงสร้างสรรค์และทำลายล้าง หากเรามองในเชิงสร้างสรรค์ ชาตินิยมจะเป็นพลังขับเคลื่อนหรือส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ หากมันถูกใช้ในการหล่อหลอมเอกลักษณ์สามัญภายใต้ขอบเขตรัฐ และถูกใช้ในการเอาชนะความขัดแย้งใดๆ ที่เป็นผลมาจากความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติเผ่าพันธุ์

ในขณะเดียวกัน ชาตินิยมสามารถใช้ในการผนวกรวมชุมชนที่อยู่กระจัดกระจายไร้ระเบียบ ให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้บริบทของความเป็นรัฐชาติ (Nation-state) ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในเยอรมันและอิตาลีช่วงปี 1870 และ 1880 รวมทั้งอิสราเอลในปี 1948 และในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ลัทธิชาตินิยมในละตินอเมริกาก่อตัวขึ้นในรูปแบบของขบวนการกอบกู้เอกราช ซึ่งเป็นการยุติบทบาทของจักวรรดินิยมสเปนและโปรตุเกส นอกจากนี้ ในเอเชียและแอฟริกา ขบวนการทางการเมืองตามแบบชาตินิยมในช่วงทศวรรษที่ 1940 ถึง 1960 ก็เป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่ง ที่แสดงถึงพลังของลัทธิชาตินิยมในการขับไล่มหาอำนาจชาติตะวันตก

เมื่อเราพิจารณาถึงด้านลบ ทันทีที่บรรลุเป้าหมายในการได้รับเอกราช การต่อสู่เพื่ออำนาจก็เกิดขึ้น ความแตกแยกของชุมชนในบางรัฐเป็นผลมาจากการที่ประชาชนยังคงจงรักภักดีต่ออัตลักษณ์และวัฒนธรรมที่เป็นต้นกำเนิดของตน มากกว่ารัฐที่ปกครองพวกตน ความตรึงเครียดที่เกิดขึ้นภายในรัฐ ยังสามารถอธิบายได้ในมิติที่ประชาชนจำต้องอยู่ภายใต้การปกครองครอบงำของกลุ่มคนหรือผู้นำที่ตนไม่ได้เลือก แม้แต่ปัจจุบัน บางเชื้อชาติไม่มีดินแดนหรืออาณาบริเวณที่ชัดเจนเพื่อการสร้างรัฐ และไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมชุมชนระหว่างประเทศให้มีสถานะเป็นรัฐ อย่างเช่นใน ดินแดนแคชเมียร์และปาเลสไตน์ ในทางกลับกัน บางรัฐยังคงเผชิญหน้ากับปัญหาความแตกแยกแตกต่างทางเชื้อชาติศาสนาของคนในชาติ เช่น พม่า อินโดนีเซีย หรือแม้แต่ภาคใต้ของไทย จนนำไปสู่การต่อสู่เพื่อแยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งเป็นผลสำเร็จมาแล้วในติมอร์ตะวันออก

นอกเหนือจากที่กล่าวมา ลัทธิชาตินิยมยังคงสำแดงอิทธิพลต่อกิจกรรมทางสังคมในหลายรูปแบบ แม้แต่นโยบายทางการเมืองและเศรษฐกิจในหลายประเทศ ความหวาดกลัวต่อการสูญเสียเอกภาพและอำนาจอธิปไตย ตลอดจนความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม กำลังบีบคั้นผู้นำประเทศให้คำนึงถึงการสร้างชาตินิยม นั้นเป็นเพราะว่าประเทศในภูมิภาคนี้ยังอยู่ในสภาพที่เปราะบาง และขาดภูมิต้านทานต่อกระแสการพัฒนาทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระหว่างประเทศ กล่าวคือ ยิ่งต้องการให้เศรษฐกิจพัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมทำให้การพึ่งพาประเทศมหาอำนาจเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ประเทศเพื่อนบ้านด้วยกันเองคงไม่มีปัญญาจะช่วยเหลืออะไรได้มากนัก เพราะต่างก็อยู่ในช่วงของการพัฒนาตัวเองเช่นกัน

บทบาทของลัทธิชาตินิยมในเอเชียอาคเนย์
จากที่เกริ่นนำในตอนต้น ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับประสบการณ์ที่ท้าทายจากการเป็นเมืองขึ้น การช่วงชิงอำนาจทางการเมืองช่วงสูญญากาศ และการปะทะกันระหว่างกลุ่มคนต่างเชื้อชาติหลังได้รับเอกราช รวมถึงแรงกดดันจากเศรษฐกิจแนวเสรีนิยม ความท้าทายเหล่านี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการชาตินิยม ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ ชาตินิยมในเอเชียไม่เพียงแค่เป็นผลจากการต่อต้านการครอบงำของอำนาจแปลกปลอมจากต่างชาติ แต่ยังนำไปสู่ความกังวลต่อการถูกกดขี่จากกลุ่มคนจำนวนน้อยหรือผู้ปกครองเจ้าอาณานิคม ซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ที่จะมีต่อประชาชนคนกลุ่มใหญ่ในดินแดนอาณานิคมซึ่งเสียผลประโยชน์

การรวมชาติและการสร้างรัฐก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่ง ที่จุดกระแสของลัทธิชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่ามกลางสงครามเย็นที่เต็มไปด้วยการเผชิญหน้าระหว่างสองขั้วอุดมการณ์ ขบวนการชาตินิยมถูกปลุกเร้าจากการแบ่งแยกเชื้อชาติ ซึ่งนำไปสู่การแบ่งแยกคนเป็นกลุ่มก้อนน้อยใหญ่ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกันโดยเฉพาะ แม้ว่าการรวมชาติและการสร้างรัฐที่มั่นคงเป็นเป้าประสงค์สำคัญอย่างยิ่งของรัฐบาล ชุมชนแต่ละกลุ่มต่างดิ้นรนที่จะปลดเปลื้องพันธนาการจากรัฐบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองตัวเอง และจากประวัติศาสตร์การปกครองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความพยายามในการปกครองตัวเองเป็นผลมาจากความจริงที่ว่า ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคการเมืองเดียวตามแบบอำนาจนิยม หรือแม้แต่รัฐบาลทหาร ซึ่งการใช้อำนาจเป็นไปในลักษณะของการกดขี่ โดยผู้ปกครองเหล่านั้นเชื่อว่า "อำนาจ" จะสร้างระเบียบทางสังคมและควบคุมกลุ่มชนที่กระด้างกระเดืองต่ออำนาจรัฐ

นอกจากนี้ การปะทะกันระหว่างสองขั้วแนวคิด คือ "ชาตินิยม"และ"ภูมิภาคนิยม" (Nationalism and Regionalism) เผยให้เห็นถึงความท้าทายที่ครอบงำการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุกวันนี้ จากประเด็นที่กล่าวไปแล้ว อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมอาจส่งผลข้างเคียงต่อสัมพันธภาพของรัฐสมาชิกอาเซียน การเผชิญหน้าระหว่างแนวคิดตามแบบแผนทั้งสองขั้วนี้ อาจเป็นตัวบ่งชี้ได้ดีว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเบนเข็มทิศสู่ความมั่นคงและการพัฒนา หรือจะตกต่ำถดถอยเข้าสู่ความตึงเครียดและขัดแย้ง

หลักฐานชิ้นสำคัญที่ได้รับจากประวัติศาสตร์คือ การพัฒนาทางเศรษฐกิจก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 1997 (พ.ศ.2540) บทบาทของชาตินิยมถูกลดทอนความสำคัญลง โดยที่การพึ่งพาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา หากแต่หลังจากที่วิกฤตผ่านพ้นไป ลัทธิชาตินิยมได้กลับมามีบทบาทต่อนโยบายการพัฒนาประเทศอีกครั้ง (5) การพึ่งพาทางเศรษฐกิจจนเกินขอบเขตที่จะควบคุมได้ ถูกเข้าใจว่าเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศกำลังพัฒนา ในการยับยั้งและตอบโต้วิกฤตดังกล่าว รัฐบาลได้นำยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแบบชาตินิยมมาใช้ในการเยียวยาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ เศรษฐกิจตามรูปแบบนี้ ได้สนับสนุนความพยายามในการผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นผลและเป็นการลดบทบาทและอิทธิพลของต่างชาติ และสิ่งนี้เองที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความร่วมมือทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างรัฐในขอบเขตความร่วมมือของประชาคมอาเซียน

(5) Hewison, K. (2001). Nationalism, populism, dependency: Old ideas for a new Southeast Asia? (Working Paper Series No. 4). Hong Kong: City University of Hong Kong, Southeast Asia Research Center.

บูรณภาพ เอกภาพ และอำนาจอธิปไตยที่เหลืออยู่
นอกเหนือจากลัทธิชาตินิยมที่ฝังตรึงอยู่ในความรู้สึกและส่งผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนชนชาติเดียวกัน ความรู้สึกเหล่านี้ยังถูกถ่ายทอดส่งผ่านสู่การดำรงไว้ซึ่งอธิปไตยแห่งรัฐ อธิปไตยตามความหมายโดยทั่วไปคือ อำนาจสูงสุดในการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งอำนาจทางการเมืองในการปกครองซึ่งปราศจากการครอบงำจากอำนาจหรือองค์กรอื่นใด กล่าวอีกด้านหนึ่งคือ รัฐต้องมีเสรีภาพและเป็นอิสระจากอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจจากรัฐอื่น ในยุคสมัยปัจจุบัน อธิปไตยอาจถูกอธิบายได้ว่า เป็นรากฐานสำคัญของการปกครองเหนือดินแดนหนึ่งๆ ที่มีบูรณภาพและมีความเป็นเอกภาพ (*)

(*) Ronaldo Munck และ Barry K. Gills กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า อำนาจอธิปไตยเป็นสิ่งประดิษฐ์จากตัวแปรที่ไม่ใช่รัฐ ความชอบธรรมในอำนาจสูงสุดที่รัฐมีอยู่เป็นผลมาจากปัจจัยภายนอก ในอดีต รัฐสามารถควบคุมอาณาเขตการปกครองได้ เนื่องจากพลังแห่งศรัทธาและความจงรักภักดีของประชาชน นั้นเป็นเพราะกษัตริย์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ขององค์รัฎฐาธิปัตย์แสดงบทบาทเป็นตัวแทนแห่งพลังเหนือธรรมชาติ ในปัจจุบัน อำนาจรัฐถูกสร้างขึ้นโดยมีระเบียบแบบแผน โดยทั่วไป รัฐแต่ละรัฐจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงที่ว่าด้วยการไม่รุกรานซึ่งกันและกัน และจะเคารพสิทธิเสรีภาพของรัฐอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิเสรีภาพที่ตัวเองต้องการ อย่างไรก็ตาม ความชอบธรรมของรัฐในการใช้อำนาจได้มาจากประชาชน ผู้ซึ่งสละอำนาจเฉพาะตัวตามสิทธิของพลเมืองให้กับผู้ปกครองรัฐ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ Ronaldo Munck และ Barry K. Gills จึงสรุปว่าอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ จึงเป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากสิ่งอื่นที่ไม่ใช่รัฐ (6)

(6) Munck, R., & Gills, B. K. (2002). Globalization, ethnic diversity and nationalism: The challenge for democracies [Special issue]. Annals of the American Academy of Political and Social Science.

อำนาจอธิปไตยในบริบทสังคมระหว่างประเทศ ณ ปัจจุบัน ได้ถูกจำกัดควบคุมโดยปัจจัยและตัวแสดงสำคัญจำนวนมากตั้งแต่ระดับรัฐและองค์กรเหนือรัฐ รูปแบบของอำนาจที่รัฐบาลใช้ในการปกครองเหนือดินแดนและประชาชน การยอมรับจากประเทศอื่นในอำนาจอธิปไตยที่มีอยู่ของรัฐ จนถึงระดับของการเชื่อมต่อกับสังคมชุมชนระหว่างประเทศคือปัจจัยที่เกริ่นนำไว้

มาถึงประเด็นนี้ อำนาจรัฐที่เคยมีอยู่อย่างสมบูรณ์ในอดีตจึงถูกบั่นทอนลงหลังจากการที่รัฐเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบรัฐ ซึ่งมีทั้งประเทศมหาอำนาจทั้งในระดับโลกและภูมิภาค รวมทั้งองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐ ซึ่งก็ย่อมจะมีประเทศที่เข้มแข็งและอ่อนแอ เหล่านี้สามารถอธิบายได้ว่า ธรรมชาติและข้อจำกัดของอำนาจอธิปไตยกำลังถูกแปลงสภาพซึ่งเป็นผลจากปัจจัยภายนอก คือ จากความสัมพันธ์ขององค์กรระหว่างรัฐ (Intergovernmental organization) สู่ความสัมพันธ์ขององค์กรเหนือรัฐ (Supranational organization) และจากภายใน คือ จากขบวนการทางสังคมและกลุ่มองค์กรต่างๆ ดังนั้น ถึงแม้ว่ารัฐจะยังคงเป็นตัวแสดงหลักในระบบการเมืองระหว่างประเทศ ทว่าสิทธิเสรีภาพของรัฐและอธิปไตยตามระบบดังกล่าว ได้ถูกลดทอนกัดเซาะโดยสิทธิเสรีภาพและอธิปไตยของรัฐอื่นเช่นกัน

5. ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก

สัมพันธภาพระหว่างสมาชิกอาเซียนโดยทั่วไปมีลักษณะที่ไม่เป็นทางการ (Informal) และปฏิเสธกระบวนการตามกฎระเบียบแบบแผนตายตัว (Non-legalistic procedure) นั่นเป็นเพราะรัฐสมาชิกอาเซียนเห็นว่า นี่คือรูปแบบที่ปราศจากการคุกคามต่ออำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ หากแต่ว่าเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งการแก้ปัญหาอย่างสันติและปรองดอง ซึ่งลักษณะสัมพันธภาพเช่นนี้ ถูกเรียกว่า "วิถีแห่งอาเซียน" (ASEAN Way) (*)

(*) In the 1960s, the push for decolonization promoted the sovereignty of Indonesia and Malaysia among others. Since nation building is often messy and vulnerable to foreign intervention, the governing elite wanted to be free to implement independent policies with the knowledge that neighbors would refrain from interfering in their domestic affairs. Territorially small members such as Singapore and Brunei were consciously fearful of force and coercive measures from much bigger neighbors like Indonesia and Malaysia. As a result, non-interference, consensus, non-use of force and non-confrontation became the key principles of the organization.

On the surface, the process of consultations and consensus is supposed to be a democratic approach to decision making, but the ASEAN process has been managed through close interpersonal contacts among the top leaders only, who often share a reluctance to institutionalize and legalize co-operation which can undermine their regime's control over the conduct of regional co-operation.

All of these features, namely non-interference, informality, minimal institutionalization, consultation and consensus, non-use of force and non-confrontation have constituted what is called the ASEAN Way.

(Since the late 1990s, many scholars have argued that the principle of non-interference has blunted ASEAN efforts in handling the problem of Myanmar, human rights abuses and haze pollution in the region. Meanwhile, with the consensus-based approach, every member in fact has a veto and decisions are usually reduced to the lowest common denominator. There has been a widespread belief that ASEAN members should have a less rigid view on these two cardinal principles when they wish to be seen as a cohesive and relevant community.)

นักวิชาการจำนวนมากได้สรุปไว้ว่า วิถีแห่งอาเซียน คือ ชุดของหลักปฏิบัติ (Code of Conduct) และบรรทัดฐานที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงรูปแบบของกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน ซึ่งเน้นการแสวงหาข้อตกลงร่วมโดยผ่านกระบวนการประชุมปรึกษาหารือ (Consultation) และการสร้างฉันทามติ (Consensus building) เมื่อข้อตกลงร่วมไม่สามารถบรรลุผลได้ การดำเนินนโยบายเฉพาะตัวจะเป็นสิ่งที่ถูกเลือกใช้ มันจึงเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่หลีกเลี่ยงกลไกตามแบบพิธีการ และกระบวนการที่มีกฎเกณฑ์แบบแผน นอกจากนี้ ในการหารือด้านความมั่นคงระดับพหุภาคีจะเน้นความสำคัญของการยินยอมพร้อมใจมากกว่าการบีบบังคับและข่มขู่คุกคาม ซึ่งประเด็นเปราะบางที่เป็นที่ถกเถียงระหว่างกันจะถูกปฏิเสธออกจากวาระการประชุม เพื่อไม่ให้เป็นการยกระดับความตรึงเครียดสู่ระดับภูมิภาค

แม้ว่ารัฐสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องที่จะปรับโครงสร้างและกลไกความร่วมมือให้มีกฎระเบียบแบบแผนมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการจัดทำกฎบัตรแห่งอาเซียน (ASEAN Charter) ซึ่งรัฐสมาชิกได้ให้สัตยาบันรับรองไปแล้ว ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 11 เมื่อเดือนธันวาคม 2005 ประเทศมาเลเซีย (7) แต่ดูเหมือนท่าทีของรัฐสมาชิกและความสัมพันธ์ระหว่างกันยังคงเป็นไปในรูปแบบของวิถีแห่งอาเซียน ซึ่งเน้นการไม่แทรกแซงก้าวก่ายกิจการภายในระหว่างกัน ตัวอย่างที่สำคัญประการหนึ่งคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนและกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในพม่า นอกจากนี้ เราอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการเหล่านี้ได้ถูกบัญญัติไว้ใน "ข้อตกลงว่าด้วยมิตรภาพและความร่วมมือ" (Treaty of Amity and Cooperation: TAC) (8) ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

- การเคารพในเอกราช อำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดน และอัตลักษณ์แห่งชาติของกันและกัน
- การเคารพสิทธิและเสรีภาพของรัฐสมาชิกในการดำรงอยู่ โดยปราศจากการแทรกแซงและการข่มขู่คุกคามจากรัฐสมาชิกอื่น
- การไม่แทรกแซงกิจการภายในระหว่างรัฐสมาชิก
- การยุติความไม่ลงรอยหรือความขัดแย้งใดๆ ด้วยสันติวิธี
- ต่อต้านการคุกคามหรือการใช้กำลังใดๆ ซึ่งรัฐสมาชิกหนึ่งจะปฏิบัติต่อรัฐสมาชิกอื่น

(7) ASEAN. (2005). Chairman's statement of the 11th ASEAN summit: One vision, one identity, one community. Retrieved March 27, 2007, from http://www.aseansec.org/18039.htm

(8) ASEAN. (1976). Treaty of amity and cooperation in Southeast Asia. Retrieved January 27, 2007, from http://www.aseansec.org/5047.htm

6. บทสรุป

การที่ประเทศหนึ่งตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศ โดยยอมสละอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐบางส่วน เพื่อให้บรรลุข้อตกลงร่วมขององค์กรนั้นๆ เป็นผลมาจากความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความมั่นคงทางการเมืองหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ แต่สำหรับอาเซียนแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่เกิดขึ้น และการคงอยู่ของตัวองค์กรอาเซียนเอง อาจอธิบายได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการลดระดับการใช้อำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ ให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ ทั้งจากภายในและภายนอกขอบเขตการควบคุมของอาเซียน (*)

(*) adjusting of the national sovereign power to a controllable degree with specific concerns for specific vulnerabilities both within and beyond the regional organization's realm of jurisdiction)

ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้าหากรัฐสมาชิกอาเซียนยึดมั่นอยู่กับอธิปไตย ตามที่มันเคยถูกให้คำจำกัดความตามนัย เสมือนหนึ่งอำนาจสูงสุดเหนืออำนาจอื่นใดในการกำหนดแนวทางการดำเนินนโยบายของตัวเอง รัฐสมาชิกอาเซียนก็ไม่อาจจะสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันได้ และไม่สามารถที่จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้เช่นกัน

ดังนั้น เพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินงานร่วมระหว่างกันในประเด็นสำคัญของภูมิภาคสามารถดำเนินไปได้ รัฐสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องสละ หรืออย่างน้อยควบคุมระดับการใช้อำนาจอธิปไตยของตนเองให้อยู่ในระดับที่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับรัฐอื่นได้

ยิ่งไปกว่านั้น คือ การที่สภาพเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน กำลังดึงดูดความสนใจของทุกภาคส่วน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่แยแสต่อความแตกต่างทางเชื้อชาติศาสนา ถ้าหากสมาชิกอาเซียนยังคงยึดติดกับลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตยตามแบบแผน ซึ่งก็หมายถึง อำนาจการปกครองสูงสุดเหนือดินแดน นี่ก็อาจจะนำไปสู่ลักษณะการปกครองที่เรียกว่าอำนาจนิยม (Authoritarianism) ซึ่งเมื่อพิจารณาในทางกลับกัน ถึงความต้องการทางเศรษฐกิจของสังคมชุมชนควบคู่กับความปรารถนาที่จะมีสิทธิและเสรีภาพตามแนวทางประชาธิปไตยแล้วนั้น การใช้อำนาจเกินขอบเขตตามรูปแบบนี้อาจกลายเป็นการสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลเองก็เป็นได้

ที่สำคัญคือ ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้จำนวนไม่น้อย เป็นผลมาจากการต่อต้านในระดับสังคมภายในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะของรัฐบาลและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน ดังนั้น สิ่งที่ผู้นำรัฐสมาชิกอาเซียนต้องให้ความสำคัญไม่แพ้การพัฒนาทางเศรษฐกิจ คือ เรื่องลัทธิชาตินิยมที่ผูกมัดยึดเหนี่ยวกันทางชาติพันธุ์ ในความพยายามที่จะแบ่งแยกตัวเองเป็นอิสระจากอำนาจรัฐ หรือพยายามต่อกรกับอำนาจรัฐเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะของกลุ่ม ซึ่งลัทธิชาตินิยมนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายใน แต่มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิก และการสร้างประชาคมอาเซียนตามลำดับ

หากอาเซียนกำลังพยายามที่จะใช้การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขในการสอดประสานความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิก เพื่อการสร้างประชาคมแห่งภูมิภาคที่สมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ที่ประกาศไว้ในปฏิญญาอาเซียนฉบับที่ 2 (ASEAN Concord II) การสร้างความมั่นคงภายในแต่ละประเทศจึงเป็นประเด็นแรกที่ควรได้รับการจัดการ นอกจากนี้ ความสำคัญไม่ควรถูกจำกัดอยู่เฉพาะในขอบเขตของลัทธิชาตินิยม แต่ควรขยายให้ครอบคลุมถึงประเด็นทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างคนและชุมชนอาเซียนในการสร้างภูมิภาคเพื่อประชาชนชาวอาเซียนอย่างแท้จริง

ด้วยเหตุนี้ ในบริบทภายในประเทศ บทบาทของรัฐสมาชิกในการสื่อสารสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากกรอบความร่วมมือของอาเซียนให้แก่ประชาชนคนในชาติได้รับรู้ จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมกระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง สิ่งที่อยากจะให้สังเกตกันในระดับภูมิภาคคือ ความสำเร็จของประชาคมอาเซียนไม่ควรจะหมายถึงการบูรณาการความร่วมมือในทุกส่วนหรือการสละอำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ตามที่สหภาพยุโรปได้ดำเนินการไว้ แต่ควรให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกและมาตรการที่สามารถจัดการกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความร่วมมือ เช่น การสร้างกลไกการจัดการทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน การสร้างกลไกการจัดการกับปัญหาความแตกต่างทางชาติพันธุ์ และที่สำคัญคือ การสร้างกลไกการจัดการกับความขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างรัฐที่เกิดขึ้น มากกว่าการพึ่งพาแนวทางเดิมๆ อย่างที่เคยเป็นมาตามวิถีแห่งอาเซียน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com