ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒ : Release date 26 April 2009 : Copyleft MNU.

จะเห็นได้ว่า ภาพยนตร์แนว Surrealists และ Abstract ที่เกิดขึ้นเมื่อทศวรรษที่ 1920s จะมีลักษณะเดียวกันกับศิลปะการสร้างภาพ ยนตร์และวิดีโอในยุคปัจจุบันที่อ้างว่า ได้รับการพัฒนาแนวการสร้างภาพยนตร์จากศิลปะเกี่ยวกับเวลา(time art). ในภาพยนตร์ Avant-Garde มีวิถีของความเป็นศิลปะมากกว่าวิถีของความเป็นภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเชิงภาษา สำนวนโวหาร และ การสร้างสาระสำคัญของตัวภาพยนตร์เอง วิธีการสร้างภาพยนตร์ Avant-Garde นี้มักจะทำให้รู้สึกถึงหุ่นนิ่ง(Still life) ในขณะเดียวกันภาพยนตร์ Avant-Garde ก็ได้เข้าไปมีส่วนในการขยายตัวของศิลปะในรูปแบบสมัยใหม่ จากศิลปะ Auto-destructive art สู่สิ่งที่เรียกกันว่า Multi-screen projection ...(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเนื้อความ)...

H



26-04-2552 (1725)
การวิจัยเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวทดลอง-ภาพยนตร์นอกกระแส
ภาพยนตร์ศิลปะแนวทดลอง-ภาพยนตร์อาว็องการ์ดในโลกตะวันตก
มณีกาญจน์ ไชยนนท์ : นักวิจัย

สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ซึ่งคัดมาจากบทที่ ๒ โดยเฉพาะในหัวเรื่องเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวทดลอง โดยมีโครงเรื่องดังต่อไปนี้
- ยุคเริ่มต้น 1880-1915 ภาพยนตร์ในฐานะศิลปะในยุคเงียบ (Silent Era)
- ประวัติศาสตร์และพัฒนาการของภาพยนตร์ทดลอง
- ประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ทดลองในโลกตะวันตก
- กลุ่มอาว็องการ์ดอเมริกันหลังสงคราม (The Postwar American Avant-Garde)
- ภาพยนตร์อเมริกันแนวใหม่ - ภาพยนตร์แนวโครงสร้างนิยม
- ทศวรรษที่ 1970 ศิลปะเกี่ยวเนื่องกับเวลาในทิวทัศน์ศิลปะแนวความคิด
- ภาพยนตร์อาว็องการ์ดแนวสตรีนิยม และกิ่งก้านการเมืองต่างๆ
- ภาพยนตร์ทดลองและสถาบันทางวิชาการ / อิทธิพลของภาพยนตร์เชิงพาณิชย์
- ประเภทและลักษณะของภาพยนตร์ทดลอง
- การแบ่งประเภทของภาพยนตร์ทดลองจากสกุลแนวคิดทางศิลปะ
- ภาพยนตร์ศิลปะและวงจรของภาพยนตร์ศิลปะ
- ภาพยนตร์กวี และภาพยนตร์ร้อยแก้ว / ต้นกำเนิดภาพยนตร์นามธรรม
- ภาพยนตร์คิวบิสม์และภาพยนตร์แนวป๊อป / ภาพยนตร์ดาดาและภาพยนตร์เหนือจริง
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ความรู้เกี่ยวกับศิลปะและภาพยนตร์")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๒๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๘ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การวิจัยเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวทดลอง-ภาพยนตร์นอกกระแส
ภาพยนตร์ศิลปะแนวทดลอง-ภาพยนตร์อาว็องการ์ดในโลกตะวันตก
มณีกาญจน์ ไชยนนท์ : นักวิจัย

สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

แนวคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์
ยุคเริ่มต้น 1880-1915 ภาพยนตร์ในฐานะศิลปะในยุคเงียบ (Silent Era)
บริบทแรก ของการมองภาพยนตร์ในฐานะภาพรวม อย่างที่ Melies, Ricciotoo Canudo และ Abel Gance มองว่าภาพยนตร์เป็นเหมือน "ศิลปะแขนงที่หก" (1911/12) ในขณะที่ Vachel Linday ปี 1922 กวีชาวอเมริกันบอกว่า ภาพยนตร์ก็เหมือนงานสถาปัตยกรรม และนักประวัติศาสตร์ศิลป์ Elie Faure ก็เลือกใช้คำว่า "cineplastics" ที่ซึ่งเป็นตัวเลือกในการอธิบายถึงภาพยนตร์

บริบทต่อมา สิ่งที่ทำให้ศิลปะและภาพยนตร์ยุคแรกมาเชื่อมรวมกันคือ การสอดแทรกวัฒนธรรมน้อยลงและมีความเป็นธุรกิจการค้ามากขึ้น อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่เติบโตขึ้น ใช้ตัวเชื่อมเชิงวัฒนธรรมระหว่างศิลปะและความสามารถเฉพาะตัว แต่ว่าการสร้างภาพยนตร์มีความเกี่ยวพันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กับผู้มีอำนาจ ในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งต่อมานำมาซึ่งการเรียกร้องความเป็นเจ้าของหรือลิขสิทธิ์

ช่วงสำคัญของการกำเนิดภาพยนตร์ เกิดขึ้นในช่วงก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เห็นได้ชัดคือ ภาพยนตร์อเมริกันเข้าสู่ยุคเริ่มแรก (Primitives-ปฐมบรรพ์) โดยการใช้วิธีการ Single-Shot Diversions ที่ตัวตลกและนักแสดงมักใช้วิธีนี้ในการแสดงที่ลานการแสดงและโรงอุปรากร(music hall) ในช่วงปี 1903-1905 ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งโดยการลงทุนและการคิดประดิษฐ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการละครมากขึ้น ภาพยนตร์จึงมีความยาวและละเอียดซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม และถูกผลิตด้วยเป้าหมายของการผลิตภาพยนตร์อย่างจริงจัง ภายในช่วงเวลา 10 ปี ภาพยนตร์แนว Fiction ก็ได้มีสัดส่วนในการลงทุนในการสร้างภาพยนตร์สูงมากขึ้น เช่นเรื่อง Intolerance (1916) ของ Griffith และ Cabriria (1914) ของ Pastroni ด้วยแรงผลักดันของผู้กำกับ Fiction ช่วงเริ่มแรก ก็ได้มีการพัฒนาความลื่นไหลทางภาษาภาพยนตร์ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกซึมซาบ หลงใหล เคลิบเคลิ้มไปกับอารมณ์ของภาพยนตร์

ขณะเดียวกัน ก็มีบางคนที่พัฒนาภาพยนตร์เพื่อให้ใช้เป็นการนำเสนอนัยยะเชิงวัฒนธรรมผ่านทางสื่อแขนงใหม่. Bergson (และต่อมา Moore และ Witgenstein) กล่าวว่า ภาพยนตร์ได้มอบวิถีทางใหม่ๆ ของการทำความเข้าใจในโครงสร้างและความขัดแย้งเชิงประติทรรศน์ (Paradox)ของเวลาและช่วงเวลา ในกลุ่มนี้ส่วนมากจะประกอบด้วยศิลปินฝรั่งเศส ได้แก่ Apollinaire และ Picasso และกลุ่มศิลปะ Futurists ในอิตาลี และจิตรกรภาพ Abstract เช่น Ruttmann และ Eggeling ในเยอรมันจะอธิบายว่า ภาพยนตร์เป็นการเจตนาที่จะทำให้เกิดการพัฒนาของ Avant-garde abstraction ในเชิงภาพและประติมากรรมความขัดแย้งแบบใหม่ที่มีศูนย์กลางที่แนวคิดแบบ Cubism. ต่อมาช่วง 1912 Kahnweiler ภายใต้แนวคิด Picasso เกี่ยวกับภาพยนตร์ได้กล่าวออกมาว่า มันเป็นวัตถุที่เหมือนมีชีวิตของการเคลื่อนไหว (Animated Objects) 50 ปีหลังจากนี้ก็ได้ย้อนกลับไปหาเทคนิค "Flipbook" (*) เพื่อสร้างภาพยนตร์เรื่อง After Manet

(*) Flipbook เป็นหนังสือที่เย็บรวมเล่มภาพวาดซึ่งได้วาดขึ้นให้เรียงลำดับกันไปในแต่ละภาพคล้ายกับกำลังเคลื่อนไหว เมื่อผู้ดูกรีดหนังสือนี้ด้วยความเร็ว ภาพต่างๆ จะถูกทำให้เสมือนเคลื่อนไหวได้: A flip book (sometimes, especially in British English, flick book) is a book with a series of pictures that vary gradually from one page to the next, so that when the pages are turned rapidly, the pictures appear to animate by simulating motion or some other change. Flip books are often illustrated books for children, but may also be geared towards adults and employ a series of photographs rather than drawings.

ประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของภาพยนตร์ทดลอง
ภาพยนตร์เรื่องแรกๆ ที่อุบัติขึ้นบนโลกนี้ถือเป็นภาพยนตร์ทดลอง(1) หากมองในเชิงเทคนิค การบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ แต่หากพิจารณาในแง่ความหมายของคำว่า "Experimental Film" จะพบว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับคำว่า "Avant-garde"(*) และคำว่า "Underground" ที่มักถูกเรียกใช้และถูกจัดกลุ่มว่าเป็นแนวภาพยนตร์ทดลองเช่นกัน สาเหตุประการหนึ่งเพราะ มีลักษณะที่ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้อย่างชัดเจน แม้ว่าจะมีความพยายามในการให้คำนิยาม และสร้าง ขอบเขตที่ชัดเจนให้แก่คำว่าภาพยนตร์ทดลอง แต่ก็ไม่สามารถอธิบายหรือครอบคลุมความหมายที่เป็นที่ยอมรับกับทุกฝ่ายได้ ทั้งนี้เพราะภาพยนตร์ที่ถูกเรียกเหล่านี้ เกิดจากแนวคิดในการสร้างงานที่หลากหลาย และ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนความไม่พอใจ ความโกรธเกรี้ยว เก็บกด ความปรารถนาที่จะแสดงออกแต่ไม่มีพื้นที่ ทั้งยังเบื่อหน่ายกับระเบียบแบบแผน โครงสร้างของภาพยนตร์ กระแสหลัก ซึ่งทำให้การเรียกชื่อนั้นต่างกันไป ตามแหล่งที่มาและกาลเวลาที่ภาพยนตร์เหล่านั้นปรากฎขึ้น ซึ่งบางส่วนมีความเชื่อมโยง กับสถานการณ์ทางสังคม การเมือง ศิลปวัฒนธรรม และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

(1) ภาพยนตร์เรื่องแรกๆ ของโลกที่ถูกยอมรับโดยทั่วกันในการปรากฎขึ้นถึงการรับรู้ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นการทดลองบันทึกภาพแบบ 12 เฟรมต่อวินาที เรื่อง "Roundhay Garden Scene" สร้างโดย Louis Le Prince เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม คศ. 1888 ณ. Roundhay, Leeds, West Yorkshire, England (http://en.wikipedia.org/wiki/History_of_cinema / คัดมาเมื่อ 23/07/2008)

(*) Avant-garde means "advance guard" or "vanguard". The adjective form is used in English, to refer to people or works that are experimental or innovative, particularly with respect to art, culture, and politics. Avant-garde represents a pushing of the boundaries of what is accepted as the norm or the status quo, primarily in the cultural realm. The notion of the existence of the avant-garde is considered by some to be a hallmark of modernism, as distinct from postmodernism.

ภาพยนตร์ทดลองเริ่มแรกผลิตขึ้นในประเทศยุโรป ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของเหล่าปัญญาชนที่เริ่มตั้งคำถามและปฎิเสธแนวความคิดกระแสหลัก โดยเฉพาะอิทธิพลของศิลปะและพัฒนาการด้านวิทยาศาตร์ ดังจะเห็นได้ในรายละเอียดต่อไป

ประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ทดลองในโลกตะวันตก
มีอยู่สองเงื่อนไขที่ทำให้ยุโรปในช่วง 1920s มีความพร้อมสำหรับการหลอมรวมของภาพยนตร์ทดลอง คือ

1) ภาพยนตร์มีความเติบโตเต็มที่ในแง่ของสื่อ และการต่อต้านของเหล่าปัญญาชน ในการทำให้ความบันเทิงของมวลชนเริ่มที่จะลดลง (กล่าวคือ บรรดาปัญญาชนต้องการต่อต้านความบันเทิงกระแสหลัก)

2) ความเคลื่อนไหวของกลุ่มอาว็องการ์ด(Avant-garde) ในการเจริญเติบโตของทัศนศิลป์ และการเข้ามาของแนวคิด Dadaists and Surrealists ในสร้างสรรค์ออกมาในสื่อภาพยนตร์ เช่น Rene Clair's Entr'acte นำไปสู่ภาพยนตร์แนวตลกเสียดสี ผ่านคำพูดที่ไม่มีเหตุผล นำโดยศิลปิน อย่างเช่น Hans Richter, Jean Cocteau, Marcel Duchamp, Germaine Dulac and Viking Eggeling ซึ่งนำไปสู่สกุลศิลปะดาดาอิสและ เซอร์เรียลรีส ในระยะเวลาสั้นๆ ภาพยนตร์ทดลองแนวนี้ที่โด่งดังเป็นผลงานของ Luis Bunuel และ Salvador Dali เรื่อง Un Chien Andalou นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ Animation ของ Hans Richter และภาพยนตร์เรื่อง G.P.O ของ Len Lye นับเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของภาพยนตร์อาว็องการ์ดในยุโรปที่มีความเป็นนามธรรมสูง

ในฝรั่งเศส มีกลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์ที่ทำเพื่อการค้าผ่านการอุปถัมภ์และจัดจำหน่ายโดยชมรมผู้สร้างภาพยนตร์ ซึ่งมักเป็นภาพยนตร์เล่าเรื่องแต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มอาว็องการ์ด นำโดยนักเรียนภาพยนตร์ David Bordwell ได้ขนานนามกลุ่มนี้ว่า French Impressionists (*) และรวมถึง Abel Gance, Jean Epstein, Marcel L'Herbier and Dimitri Kirsanoff ภาพยนตร์กลุ่มนี้ได้รวมการทดลองเล่าเรื่อง, จังหวะการตัดต่อและการถ่ายภาพ และเน้นย้ำในลักษณะของความเป็นปัจเจก

(*) French Impressionist Cinema, also referred to as The First Avant-Garde or Narrative Avant-Garde, is a term applied to a loose and debatable group of films and filmmakers in France from 1919-1929 (though these years are also debatable).

พร้อมกันนี้ ผู้สร้างภาพยนตร์โซเวียต ได้พบสิ่งที่คล้ายกันในผลงานแนว modern และภาพถ่าย ในทฤษฎีมอนทาจ(*) ภาพยนตร์ของ Dziga Vertov, Sergei Eisenstein, Lev Kuleshov, Alexander Dovzhenko and Vsevolod Pudovkin นำมาเป็นเครื่องมือในการกรุยทางรูปแบบทางเลือกใหม่ จากสิ่งที่ภาพยนตร์แนวฮอลลิวูด ได้วางไว้

(*) Soviet montage theory is an approach to understanding and creating cinema that relies heavily upon editing (montage is French for "putting together"). Although Soviet filmmakers in the 1920s disagreed about how exactly to view montage, Sergei Eisenstein marked a note of accord in "A Dialectic Approach to Film Form" when he noted that montage is "the nerve of cinema," and that "to determine the nature of montage is to solve the specific problem of cinema."

While several Soviet filmmakers, such as Lev Kuleshov, Dziga Vertov, and Vsevolod Pudovkin put forth explanations of what constitutes the montage effect, Eisenstein's view that "montage is an idea that arises from the collision of independent shots" wherein "each sequential element is perceived not next to the other, but on top of the other" has become most widely accepted.

กลุ่มอาว็องการ์ดอเมริกันหลังสงคราม (The Postwar American Avant-Garde)
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ในอเมริกามีผู้สร้างภาพยนตร์แนวอาว็องการ์ดอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ภาพยนตร์ทดลองส่วนใหญ่มักจะสร้างก่อนสงครามโลก ซึ่งมักจะเป็นศิลปินที่แยกตัวออกมาทำคนเดียว ในปี ค.ศ.1946 ภาพยนตร์ชุด "Art in Cinema" กำกับโดย Frank Stauffacher ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมือง San Francisco (ปัจจุบันเป็น "The San Francisco Museum of Modern Art") เป็นแหล่งซึ่งคัดเลือกภาพยนตร์ ทดลองที่สำคัญจำนวนมาก เช่น Meshes of the Afternoon (1943) สร้างโดย Maya Deren และ Alexander Hammid เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ทดลองอเมริกันเรื่องแรกๆ ที่มีบทบาทสำคัญ โดยมันได้ให้แบบจำลองสำหรับการผลิตภาพยนตร์ 16 mm และการจัดจำหน่ายโดยใช้ทุนส่วนตัว หนึ่งในนั้นที่ซื้อไปคือ Cinema 16 และชมรมภาพยนตร์ต่างๆ ทำให้มันมีความสำคัญในเรื่องของการสถาปนารูปแบบของภาพยนตร์ทดลองว่า มันสามารถทำอะไรได้บ้าง

การจัดตั้ง "Alternative Film Programs" ที่ Black Mountain College (ปัจจุบันได้ปิดกิจการแล้ว) และที่ The San Francisco Art Institute, Arthur Penn ซึ่งสอนหนังสืออยู่ที่ Black Mountain College ได้พยายามชี้แจงความเข้าใจผิดทั่วๆ ไปว่า ในโลกของศิลปะและโลกของฮอลลีวู้ด เป็นที่ซึ่งกลุ่มอาว็องการ์ดและกลุ่มทำภาพยนตร์เพื่อการค้าจะไม่สามารถมาพบกันได้ อันทีจริงแล้วสิ่งที่ขัดแย้งกันในความเข้าใจคลาดเคลื่อนเหล่านั้น ก็คือ ท้ายสุดแล้วบั้นปลายชีวิตหลังจากที่อาชีพในฮอลลิวู้ดของแต่ละคนได้จบลง Nicholas Ray และ King Vidor ก็ยังได้กลับมาทำภาพยนตร์อาว็องการ์ดอีกครั้ง

ภาพยนตร์อเมริกันแนวใหม่ - ภาพยนตร์แนวโครงสร้างนิยม
(The New American Cinema and Structural-Materialism Main article: Structural film)

ในสังคมภาพยนตร์และรูปแบบของทุนส่วนตัวได้ดำเนินต่อมาอีกกว่า 20 ปี แต่อย่างไรก็ตามในต้นปีทศวรรษที่ 1960s ความแตกต่างจากอนาคตที่คาดหวังไว้ ได้กลายเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้ ในงานของผู้สร้างภาพยนตร์อาว็องการ์ดของอเมริกา เช่น P. Adams Sitney ได้ชี้ว่างานของ Stan Brakhage และงานของนักทดลองภาพยนตร์ ชาวอเมริกันคนอื่นในช่วงแรกๆ ภาพยนตร์เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมารับใช้การแสดงออกของจิตสำนึกส่วนตัวของผู้สร้าง

Brakhage's Dog Star Man เป็นตัวอย่างของจุดเปลี่ยน จากการสารภาพในระดับบุคคลไปสู่งานแบบนามธรรม และยังเป็นหลักฐาน ในการปฎิเสธของวัฒนธรรมกระแสหลักอเมริกันของช่วงเวลานั้นด้วย อย่างไรก็ตาม Kenneth Anger ได้ผสมแนวเพลงร็อคในงานของเขา ที่ชื่อScorpio Rising ในบางครั้งก็บอกว่าเป็นการรอคอยอย่างมีความหวังเกี่ยวกับมิวสิควีดีโอ และรวมไปถึงงานแคมเปญเพื่อการค้าที่อยู่บนทฤษฎีของฮอลลิวู๊ด Jack Smith และ Andy Warhol ได้สร้างสรรค์องค์ประกอบ รสนิยม ในงานของเขา และ Sitney ได้เชื่อมต่องานของ Andy Warhol ไว้ในภาพยนตร์แนวโครงสร้าง

ทศวรรษที่ 1970 ศิลปะเกี่ยวเนื่องกับเวลาในทิวทัศน์ศิลปะแนวความคิด
(The 1970s and Time Arts in the Conceptual Art Landscape)

ศิลปะแนว Conceptual ในปี 1970 ได้เป็นส่วนผลักดัน Robert Smithson, ศิลปินชาวแคลิฟลอเนีย สร้างภาพยนตร์หลายเรื่องเกี่ยวกับ earthworks ของเขา และเชื่อมติดกับงานของเขา Yoko Ono ได้สร้าง ภาพยนตร์ Conceptual ที่โด่งดังคือ "Rape" ซึ่งเป็นการค้นหาผู้หญิง และเข้าไปเหยียบย่ำชีวิตของหล่อน ด้วยกล้อง ถ่ายตามหลังของหล่อนไปยังอพาร์ทเม้นท์ เหมือนกับหล่อนหนีจากการเหยียบย่ำเหล่านั้น ประมาณช่วงเวลาของคนรุ่นใหม่เข้าสู่แนวนี้, หลายคนเป็นนักเรียนของยุคแรก ๆ ของอาว็องการ์ด Leslie Thornton, Peggy Ahwesh, and Su Friedrich ได้แผ่ขยายรูปแบบงานในแนวโครงสร้างนิยม รวมเข้าด้วยกัน กับระยะของขอบเขตในเนื้อหาในขณะที่ยังคงเป็นรูปแบบของการสะท้อนจากตัวเอง

ภาพยนตร์อาว็องการ์ดแนวสตรีนิยม และกิ่งก้านการเมืองต่างๆ
(Feminist avant-garde and other political offshoots)

งานเขียนของ Laura Mulvey และการสร้างภาพยนตร์ ได้ก่อให้เกิดความรุ่งเรืองของผู้สร้างภาพยนตร์แนวสตรีนิยม ที่อยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่าภาพยนตร์เล่าเรื่องตามแนวภาพยนตร์ฮอลลิวู๊ด ได้เข้าไป สนับสนุนบรรทัดฐานของเพศสภาพและเป็นการจ้องมองของเพศชาย. การตอบรับนี้เป็นการต่อต้านการเล่าเรื่อง ในแนวทางที่แสดงถึงรอยแยกและสิ่งที่ไม่สอดคล้องกัน. Chantal Akerman และ Sally Potter เป็นเพียง 2 คน ที่เป็นผู้นำในการสร้างภาพยนตร์แนวเฟมินิส งานของทั้งสองอยู่ในช่วง 1970 ที่ วีดีโออาร์ท ได้หลอมรวมเป็นสื่อแขนงหนึ่งในช่วงเวลานั้น และนักสตรีนิยมเช่น Martha Rosler และ Cecelia Condit ก็ได้รับประโยชน์จากมันอย่างเต็มที่

นักสตรีนิยมปี 1980 เกย์ และงานทดลองทางการเมืองอื่น ๆ ยังคงดำเนินต่อไป ด้วยการสร้างภาพยนตร์ เช่น ผลงานของ Barbara Hammer, Su Friedrich, Tracey Moffatt, Sadie Benning, Moira Sullivan และ Isaac Julien ในจำนวนนั้นยังคงใฝ่หารูปแบบการทดลองอื่นๆ ที่นำไปสู่คำถามของพวกเขา เกี่ยวกับการเมืองในเรื่องอัตลักษณ์

ภาพยนตร์ทดลองและสถาบันทางวิชาการ (Experimental Film and the Academy)
ด้วยความคาดหวังเพียงเล็กน้อย Curtis Harrington เป็นหนึ่งในจำนวนศิลปินที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวในช่วงแรกๆ ที่ยังคงอยู่นอกกระแสหลักของธุรกิจภาพยนตร์และอุตสาหกรรมความบันเทิง และจากนั้นในปี 1966 หลายคนเริ่มที่จะประกอบอาชีพสอนหนังสือตามมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น, Bard College, California Institute of the Arts, the Massachusetts College of Art, University of Colorado at Boulder, และ the San Francisco Art Institute. นักทำภาพยนตร์ทดลองมือสมัครเล่น ที่ในความเป็นจริงไม่ได้มีความสามารถเท่ากับดีกรีของพวกเขาเอง แม้ว่าพวกเขาได้แสดงออกว่าเป็นที่นับถือเพียงใดก็ตาม บางคนตั้งคำถามถึงสถานะของภาพยนตร์ที่ผลิตจากระบบการศึกษา แต่อาจารย์ทางภาพยนตร์ที่สอนมานาน เช่น Ken Jacobs, Ernie Gehr และอีกหลายคนยังคงกล่อมเกลาและยังคงพัฒนางานให้ดีขึ้น ทั้งยังได้ขยายการฝึกฝนของพวกเขาในขณะที่สอนหนังสือด้วย

ในทางตรงข้าม งานบางส่วนของอาจารย์ผู้สอนวิชาภาพยนตร์ในยุคที่ไม่นานมานี้ เทียบเท่ากับงานของนักศึกษาบางคน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังมีการวิพากวิจารณ์โต้แย้งกันอยู่ มากกว่าการพัฒนาสิ่งอื่นๆ มีการผนวกภาพยนตร์ทดลองเข้าในหลักสูตรภาพยนตร์ และประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ทั่วไป อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้ได้ทำให้ภาพยนตร์ทดลองเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นและเข้าถึงได้มากขึ้น

นิทรรศการภาพยนตร์ (Exhibition)
จากปี 1947 ถึงปี 1963, the New York-based Cinema 16 ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำเสนอช่วงแรกและผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ทดลองในสหรัฐอเมริกา ภายใต้การนำของ Amos Vogel และ Marcia Vogel, Cinema 16 ได้พัฒนาขึ้นในฐานะของสมาคมที่ไม่หวังผลกำไร ในการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับภาพยนตร์สารคดี, อาว็องการ์ด, ไซไฟ, เพื่อการศึกษาและภาพยนตร์ Performance สิ่งเหล่านี้ได้เพิ่มจำนวนผู้ชมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

อิทธิพลของภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ (Influences on commercial media)
ภาพยนตร์ทดลองแม้ว่าจะเป็นที่รู้จักกันไม่มากนัก และมีนัยยะของการเป็นมือสมัครเล่น ทั้งจากทางปฎิบัติและความเชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับอิทธิพลและยังคงมีผลกระทบในแง่มุมของ Cinematography, Visual effects และ editing มิวสิควีดีโอสามารถพบเห็นได้ในฐานะการทำเป็นธุรกิจจากหลายๆ เทคนิคของภาพยนตร์ทดลอง การออกแบบไตเติล และงานโฆษณาทางโทรทัศน์ก็ได้รับอิทธิพลซึ่งได้มาจากภาพยนตร์ทดลอง

ผู้สร้างภาพยนตร์ทดลองจำนวนมากยังคงสร้างภาพยนตร์เล่าเรื่อง ตัวอย่างที่เห็น ได้ชัด คือ Kathryn Bigelow, Curtis Harrington, Peter Greenaway, Derek Jarman, Jean Cocteau, Isaac Julien, Sally Potter, David Lynch, Gus Van Sant and Luis Bunuel, ถึงแม้ว่าระดับของภาพยนตร์เล่าเรื่องเหล่านั้นจะได้อยู่ในธุรกิจกระแสหลัก แต่ในด้านความงามก็ยังคงลักษณะที่แตกต่างกันอยู่มาก

ประเภทและลักษณะของภาพยนตร์ทดลอง (2)
งานวิจัยชิ้นนี้ มีความสนใจในการสร้างภาพยนตร์ทดลองที่แสดงออกถึงทางเลือก ในแง่มุมของศิลปะภายใต้บริบทของการเป็น "ศิลปะแขนงหนึ่ง" ที่เกิดขึ้นในช่วง Modernism และ Post-modernism มากกว่าการเป็นละครดราม่าธรรมดา ซึ่งในหัวข้อนี้จะเป็นการลงลึกไปที่ประวัติศาสตร์ และการจัดแบ่งประเภทของภาพยนตร์อาว็องการ์ด โดยเน้นย้ำในฐานะที่เป็น "ศิลปะแห่งภาพยนตร์" ที่มักกล่าวถึงใน 2 บริบท ดังนี้

(2) A.L. Rees. "A History of Experimental Film and Video From the Canonical Avant-Garde to Contemporary British Practice".

1. ในฐานะวัฒนธรรมภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว
2. ในฐานะภาพยนตร์สมัยใหม่ที่แฝงด้วยรหัสตามแนวความคิดลัทธิหลังสมัยใหม่

งานภาพยนตร์ Avant-Garde ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แม้ในกลุ่มความสนใจเดียวกัน แต่กลับเป็นการบ่งชี้ถึงกลุ่มของปัจเจกชนที่มีความหลากหลาย เช่น ผลงานแนว Surrealist ของ Bunuel แนว Abstract ของ Fritz Lang แนว Underground ของ the Movie Brats และแนว Situationist ของ Godard รวมถึงกลุ่มคนชายขอบของสังคมกระแสหลัก แต่แม้กระนั้นเนื้อหาของงานโดยมากยังมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งซึ่งคนส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญอยู่บ้างไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

ยุคสำคัญของภาพยนตร์ Avant-Garde แบ่งออกเป็น 3 ยุค ตามลักษณะรูปแบบและแนวคิดทางศิลปะ คือ

- ยุคแรก ยุคภาพยนตร์แนว Abstract และ Surrealists ที่ปรากฏในช่วงปีทศวรรษ 1920s
- ยุคที่สอง ยุคภาพยนตร์แนว Underground ที่แปลกแหวกแนว ปรากฏในช่วงปี ทศวรรษ 1960s
- ยุคที่สาม ยุคภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นในประเทศอังกฤษ ที่ School of Derek Jarman ช่วงปีทศวรรษ 1980s

สำหรับภาพยนตร์ Avant-Garde การให้คำนิยามว่ามันเป็นแขนงหนึ่งของภาพยนตร์ ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องนัก หากแต่ต้องครอบคลุมถึงบริบทของการเคลื่อนไหวต่างๆ การถอดรหัสเกี่ยวกับภาพ (Iconography) อันเป็นขั้วตรงข้ามของภาพยนตร์ในกระแสหลัก

จะเห็นได้ว่า ภาพยนตร์แนว Surrealists และ Abstract ที่เกิดขึ้นเมื่อทศวรรษที่ 1920s จะมีลักษณะเดียวกันกับศิลปะการทำภาพยนตร์และวิดีโอในยุคปัจจุบันที่อ้างว่า ได้รับการพัฒนาแนวการสร้างภาพยนตร์จากศิลปะเกี่ยวกับเวลา(time art). ภาพยนตร์ Avant-Garde จึงมีวิถีของความเป็นศิลปะมากกว่าวิถีของความเป็นภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเชิงภาษา สำนวนโวหาร และการสร้างสาระสำคัญของตัวภาพยนตร์เอง วิธีการสร้างภาพยนตร์ Avant-Garde นี้มักจะทำให้รู้สึกถึงหุ่นนิ่ง(Still life) ในขณะเดียวกันภาพยนตร์ Avant-Garde ก็ได้เข้าไปมีส่วนในการขยายตัวของศิลปะในรูปแบบ Modernism จากศิลปะ Auto-destructive art สู่ Multi-screen projection จึงกล่าวได้ว่า แนวคิดของภาพยนตร์ทดลอง หรือภาพยนตร์ Avant-Garde ได้รับการพัฒนามาจาก บริบทของศิลปะสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ มากกว่าที่จะพัฒนาตามทิศทางของประวัติศาสตร์โรงภาพยนตร์ ราวกับเป็นมรดกตกทอดมาถึงผู้ผลิตภาพยนตร์และวิดีโอเชิงศิลปะ เช่น

- อิทธิพลด้านรูปแบบสไตล์ จากภาพยนตร์เรื่องดังเช่น A Clockwork Orange ของ Stanley Kubrick
- ด้านโครงสร้างการตัดต่อจากเรื่อง Mean Streets ของ Scorsese
- การตัดภาพอย่างรวดเร็วจากเรื่อง JFK ของ Oliver Stone
- ด้าน Layered Texture จากเรื่อง Lost Highway ของ Lynch

น่าสังเกตว่า ภาพยนตร์ Avant-Garde มักนำเสนอวัฒนธรรมในมุมกว้างเกี่ยวกับความเคลือบแคลงสงสัยและความไม่แน่นอน (3) แต่หากมองในเชิงบวก ภาพยนตร์ Avant-Garde คือ การสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นหัวใจของงานภาพยนตร์และวิดีโอ ในขณะเดียวกันก็ได้แสดงออกถึงประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องที่แม้ว่าภาพยนตร์ Avant-Garde จะถือกำเนิดขึ้น ล่มสลายไป และกลับมาใหม่ ในบริบทของประเทศและประวัติศาสตร์เบื้องลึกเบื้องหลังที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น จึงนำมาสู่คำถามที่ว่า ศิลปินของภาพยนตร์ Avant-Garde ถือเป็น ศิลปินเดี่ยวหรือศิลปินกลุ่ม เป็นงานศิลป์ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในสังคมโดยรวม ณ ช่วงศตวรรษหนึ่งๆ หรือเป็นงานศิลป์ที่เกิดขึ้นจากการหยิบยกเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมใดๆ ในเหตุการณ์ใดๆ ซึ่งคล้ายกับการเกิดภาพยนตร์แนว Popular ทั่วไป หากแต่แฝงอัตลักษณ์เฉพาะเข้าไปในสาระ เป็นต้น

(3) ดังที่ Warhol ได้สร้าง Portrait films ในช่วง 1963-1965 ที่ภาพจากการตั้งกล้องที่ค่อยๆ ทำให้ภาพสว่างและปรากฏเป็นหน้าคน
แต่ทำให้เห็นเป็นภาพเบลอๆ และว่างเปล่าในที่สุด

ที่สำคัญ ภาพยนตร์ Avant-Garde ถูกเรียกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น Experimental film, absolute, pure, non-narrative, underground, expanded, หรือ abstract แต่ไม่มีเลยสักชื่อที่เป็นที่พอใจ หรือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป การขาดการเห็นพ้องต้องกันในเรื่องนี้อาจมีนัยยะบ่งบอกถึงสาระอันแตกต่างของภาพยนตร์ Avant-Garde และข้อขัดแย้งภายในของภาพยนตร์ Avant-Garde ด้วยกันเอง P. Adams Sitney กล่าวว่า ชื่อต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ Avant-Garde หรือภาพยนตร์อิสระ (Independent Film) ต่างก็หลอมรวมเอาทั้งความชื่นชม และทัศนคติเชิงลบของภาพยนตร์ประเภทนี้เข้าด้วยกัน

ว่ากันตามประวัติศาสตร์ภาพยนตร์แล้ว ภาพยนตร์ Avant-Garde น่าจะเริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1880s และเริ่ม เข้ามามีบทบาทอีกครั้งในปี 1920s และมีบทบาทมากที่สุดช่วง 1970s ซึ่งเป็นช่วงที่รุกไล่นิยามของ "ภาพยนตร์ใต้ดิน" (Underground Film) ในฐานะที่น่าจะช่วยยกระดับการเคลื่อนไหวของภาพยนตร์แนวโครงสร้าง(Structural film)

จุดสิ้นสุดของภาพยนตร์ Avant-garde ที่สัมพันธ์กับ "การสิ้นสุดของนักเขียน" เป็นสัญญาณถึงความล้มเหลวทางประวัติศาสตร์ ศิลปะที่ซึ่งคัดค้านวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์ (Museum Culture) ก็ได้ถูกนำมาเก็บดองไว้ในพิพิธภัณฑ์ เช่นศิลปะในลัทธิ Dada เป็นต้น และที่ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่ตามมาติดๆ ก็คือ Avant-Garde ได้การกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดกระแสหลัก(Mainstream) ปรากฏการณ์นี้ไม่มีการขัดขืนใดๆ และก็มีการฟื้นฟูสู่สภาพปกติของศิลปะสมัยใหม่สู่พื้นที่ของวัฒนธรรมและสื่อ เพราะในสมัยนั้น ศิลปะใดๆ ที่ออกมาใหม่ ต่างเป็นที่ต้องตาต้องใจ ของเหล่าสปอนเซอร์ ผูอำนวยการพิพิธภัณฑ์ และตัวแทนบริษัทโฆษณาต่างๆ

การแบ่งประเภทของภาพยนตร์ทดลองจากสกุลแนวคิดทางศิลปะ

- Cubists
- Futurists
- Abstract Film
- The Absolute Film
- Cubism and Popular Film
- Dada and Surrealist Film

Cubists (4)
Cubism คือ ศิลปะแห่งความเปราะบาง แรกสุดศิลปะแนวนี้มุ่งบรรยายถึงวัตถุที่เกิดขึ้นจากลำดับ เหตุการณ์ที่เห็นผ่านการยกมุมกล้อง และนำภาพลำดับเหตุการณ์นั้นมารวมกันโดยเทคนิคการปะปิดแบบ Collage, การพิมพ์(Print), และการวาดภาพ(Paint) ฯลฯ และให้ความสำคัญกับเรื่อง "เวลา" ทฤษฎีเรื่องเวลาและการรับรู้ศิลปะ ความนิยมของภาพยนตร์ทำให้ศิลปินกลุ่มนี้พยายามที่จะใส่ "อารมณ์และความรู้สึกลงไปในภาพวาด" ผ่านทางสื่อภาพยนตร์

(4) A.L. Rees. "A History of Experimental Film and Video From the Canonical Avant-Garde to Contemporary
British Practice", P.21-24

ศิลปินที่สำคัญในแนว cubism คือ Braque และ Picasso ทั้งคู่เชื่อมโยงเวลาและพื้นที่เข้าไว้ในงานศิลปะในแนวทางแบบใหม่ แทนที่จะนำเสนอมุมมองในวัตถุนั้นเพียงอย่างเดียว ในช่วงนี้ มีการเปลี่ยนแปลงหลักๆ 2 ประการ คือ

1) Conceptual Leap (การก้าวกระโดดเชิงแนวคิด)
2) การขยายรูปแบบศิลปะและการใช้วัตถุดิบใหม่ๆ

Fauves เป็นศิลปินแนวหนึ่งที่เลือกใช้สีบริสุทธิ์ ตรงไปตรงมา ออกแนว"ดิบเถื่อน" แต่แฝงไว้ด้วย Symbolism ที่เปลี่ยนผลงานเป็นความมหัศจรรย์ และเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าถึงรูปร่างของสิ่งปรากฏที่เต็มไปด้วยรหัส ในการมองภาพแนวนี้ต้องอาศัยความเข้าใจ การหยั่งรู้มากกว่าแค่การมองเห็น ศิลปะแนวดังกล่าวมีการซ่อนช่องว่างระหว่างวัตถุและรูปลักษณ์ภายนอกของมัน สัญลักษณ์ในภาพวาดกลายมาเป็นสิ่งที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ ส่วนมากเป็นไปตามความอำเภอใจ ไร้กฎเกณฑ์(Arbitrary) เหมือนกับคำต่างๆ เป็นการสุ่มเลือกอย่างไม่มีเหตุผลในแต่ละภาษา ความท้าทายของศิลปินกลุ่มนี้คือ การใช้สำนวนโวหารของความใสซื่อบริสุทธิ์ ที่เหมือนกับ มุมมองของเด็กๆ และก่อนที่ศิลปินสาย Radical Cubists จะให้ความสำคัญกับพื้นที่ของภาพวาด พวกเขาไ ด้เพิ่มการกระตุ้นความสนใจ (Sensation) ของลัทธิสมัยใหม่ (Modernism) ใน ภาพที่ปรากฏกับตา ซึ่งนักปรัชญา Henri Bergson ได้ให้คำนิยามแก่ Cubism ว่าคือ "รูปแบบซึ่งเป็นเพียงแค่มุมมองในลักษณะ Snapshot ของการเปลี่ยนผ่าน"

Futurists (5)
Bergson ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในปัจจุบันในฐานะเจ้าของความคิดเกี่ยวกับการรับรู้ (Perception) แต่สำหรับ ณ ช่วงเวลานั้น เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักปรัชญาคนสำคัญ ที่มุ่งเน้นเรื่องบทบาทเกี่ยวกับการกระทำ เขาได้สังเกตว่า ด้วยมุมมองของ Cubism นั้น ดูจะยังไม่กว้างขวางพอจากการที่บอกว่า ศิลปะจะเคลื่อนไหวเหนือจากการเป็นเพียงภาพนิ่งมาสู่ภาพการมีชีวิต. ตามแนวคิดของ Futurists นั้น ภาพยนตร์ Avant-Garde เริ่มต้นขึ้นในฐานะการเป็นอาวุธเชิงวัฒนธรรม ของการปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งได้เปลี่ยนมาสู่การเมืองเชิงวัฒนธรรมและการเคลื่อนไหวตรงๆ

(5) A.L. Rees. "A History of Experimental Film and Video From the Canonical Avant-Garde to Contemporary
British Practice".P 25-27

บรรดาศิลปิน Futurists ชาวอิตาเลียนถูกมองว่าเป็นกลุ่มผู้นำที่สำคัญ ซึ่งเปลี่ยนแปลงศิลปะที่เคยมีขอบเขตเฉพาะตัวมาสู่ระดับสาธารณะ และจุดประกายไฟให้เกิดการพัฒนาขึ้น เช่น Automatic Art (ที่นำมาสู่ Surrealism) ภาพวาดแสงและการเคลื่อนไหว (ที่นำมาสู่ Abstraction) ศิลปะข้างถนน (ที่นำมาสู่ Performance Art) ศิลปะในฐานะการวิเคราะห์วิจารณ์ (ที่นำมาสู่ Dada) เป็นต้น คนเหล่านี้ได้ทำลายตัวบทแบบเดิมๆ และตัวหนังสือที่มีพื้นฐานต้นกำเนิดมาจากลายมือ และนำไปสู่การปฏิวัติโดยใช้การพิมพ์แบบไม่มีเส้นที่ยังคงใช้กันกระทั่งทุกวันนี้

Futurists มองภาพยนตร์ว่าเป็นการอุปมาที่ชัดแจ้ง เป็นที่นิยมชมชอบ และมีความเป็นพลวัตแห่งยุคสมัย นอกจากนี้ยังแสดงถึงความเป็น "ศิลปะอิสระ" อย่างที่พวกเขาเรียกในแถลงการณ์หัวข้อ The Futurist Cinema. ปี 1916 พวกเขาใช้ภาพยนตร์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยการสร้าง "โรงละครปราศจากเสียง" (Theatre Without Words) พวกเขาอ้างว่า "ภาพยนตร์นับว่าเป็นการมองเห็นที่สำคัญ ซึ่งอยู่เหนือความสมประสงค์ของการปฏิวัติใดๆ ของภาพวาดต่างๆ ภาพยนตร์ต้องถอดตัวเองจากความเป็นจริง จากภาพถ่าย จากความดีงามและจากความเคร่งครัด ภาพยนตร์ต้องกลายเป็นสิ่งต่อต้านความดีงาม ทำให้ผิดรูปผิดร่างไป เกิดจากความประทับใจ เกิดขึ้นเอง จากการสังเคราะห์ มีพลวัตรและเป็นอิสระ" และยังย้ำว่า "คนต้องปลดปล่อยให้ภาพยนตร์ทำหน้าที่เป็นสื่อสำหรับการแสดงออก" (ONE MUST FREE THE CINEMA AS AN EXPRESSIVE MEDIUM)

Futurists เป็นศิลปินสมัยใหม่กลุ่มแรกที่ต้องการทำภาพยนตร์ด้วยตัวเองและยังเป็นกลุ่มแรกที่ออกแบบ Avant-garde narrative ในยุคต้นๆ เช่นเรื่อง Thais (1916) โดย Bragaglia แต่พวกเขาทำภาพยนตร์ประสบความสำเร็จแค่ไหน ก็คงต้องสันนิษฐานจากบันทึกสำรองอื่นๆ ที่เป็นภาพนิ่งและสคริปต์ที่เขียนขึ้น พวกเขากำหนดเรื่องราวของภาพยนตร์ไว้ก่อนหน้าว่าภาพยนตร์ Avant-Garde จะถูกนำเสนอออกมาอย่างไร และสำหรับการทดลองทำภาพยนตร์ครั้งแรกจะเห็นว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีสไตล์อิสระ และเป็นการทำงานร่วมกัน นักเขียนเป็นตัวละครในภาพยนตร์และให้บรรดาเพื่อนๆ เล่นเป็นตัวละครอื่นๆ มีการทำ Productions แบบง่ายๆ และไม่ยุ่งยาก เรื่องราวก็มีเนื้อหาแต่เพียงเล็กน้อยจนเดาเรื่องได้ เช่น ในภาพยนตร์ยุคแรกๆ ของ Vito Acconci, William Wegman และ Bruce Nauman ในทศวรรษ 1960s ซึ่งเป็นภาพยนตร์รักระหว่างจิตรกร Balla และเก้าอี้ หรือ"การพูดคุยระหว่างนวมมวย" จากเรื่อง Vita Futurista โดย Ginna ในปี 1916 ภาพยนตร์ Futurist มักจะมีเนื้อหาการดำเนินเรื่องในแนวดังกล่าว หรืออาจล้ำหน้าไปกว่านั้น แต่ก็มีคำแนะนำว่า ศิลปะของภาพยนตร์จะสามารถก้าวไปได้ไกลกว่านั้น ในรูปแบบ Abstraction

Abstract Film
ในช่วงเริ่มแรก Avant-garde ได้ปรากฏตัวขึ้นมา 2 แนว

- Avant-garde ในแบบที่หนึ่ง เป็นแนวที่ก่อให้เกิด Neo-Impressionists ที่อ้างว่า แต่เดิมภาพวาด เป็นการนำสีมาระบายลงบนพื้นผิวที่ราบเรียบ ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับที่ Avant-garde แปลความหมายของภาพยนตร์ว่า เป็นการเกิดขึ้นของภาพที่ถูกแสดงเป็นตอนๆ และปรากฏบนวัสดุโปร่งใสเกิดความเคลื่อนไหวผ่านทางตัวแปรคือเครื่องฉายภาพยนตร์. Daniel-Hernri Kahnweiler ระลึกว่า การทำภาพยนตร์ที่วาดขึ้นด้วยมือในลักษณะภาพนามธรรม( Abstract handpainted Film) เคยถูกโต้เถียงอย่างหนักในหมู่ Cubists ช่วงปี 1912 และต่อมาภายหลังได้นำมาสู่การออกแบบภาพยนตร์ Abstract ของ Survage แต่ท้ายสุดแล้ว การทดลองทำภาพยนตร์ของศิลปินแนว Futurist ชื่อ Ginna และ Corra ซึ่งได้ผลิตภาพยนตร์ที่วาดขึ้นด้วยมือ (Handpainted Raw Film) ในปี 1910 และเขียนรายงานผลการทดลองนั้น

- แนวทางที่สองเป็นภาพยนตร์ Abstract Film - Chromatic Music (1912) จัดเป็นแนวที่ปลุกกระแสและช่วยพัฒนาภาพยนตร์ประเภทนี้ กล่าวกันว่าตัวของภาพยนตร์ไม่ได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง แต่สัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นมาของภาพยนตร์ต่างหากที่ดำรงอยู่ตลอด ดังนั้น การนำภาพยนตร์มาสร้างใหม่ จึงสามารถทำได้โดยใช้ภาพสัญลักษณ์ที่เป็นภาพสเก็ตซ์สี เช่นในตอนเริ่มต้นมีการใช้สีเขียว ต่อมาจึงมีการใช้สีแดง และสีอื่นๆ ตามลำดับ ภาพยนตร์แบบนี้มีความยาวประมาณ 1 นาที และเปลี่ยนสีเปลี่ยนภาพไปเรื่อยๆ

ภาพยนตร์ Handpainted film เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะภาพยนตร์อิสระที่ค้นพบใหม่ และสามารถผลิตได้ภายใต้ต้นทุนต่ำ และยังมีการพิจารณาว่าภาพยนตร์แนวนี้เป็นหน่วยย่อยของภาพยนตร์ Avant-garde อีกด้วย เหตุนี้จึงไม่ผิดพลาดหากจะกล่าวว่า ภาพยนตร์ Handpainted film เป็นรากฐานของการสร้างภาพยนตร์ และจิตรกรกลุ่ม Cubists และ Futurists ต่างก็ให้ความสนใจในการสร้างภาพยนตร์ทำนองดังกล่าว เหตุเพราะภาพยนตร์แนวนี้ถือเป็นการนำเสนอผลงานสื่อแบบดั้งเดิมในรูปแบบใหม่นั่นเอง การผลิตภาพยนตร์แนวนี้มี 2 วิธี วิธีที่หนึ่ง คือ การวาดภาพต่อกันลงมาบนฟิล์มภาพยนต์ (Filmstrip) โปร่งแสงและให้เครื่องโปรเจ็คเตอร์กำหนดกรอบการเคลื่อนไหว และวิธีที่สองคือการแยกฟิล์มเป็นส่วนๆ และสร้างภาพในแต่ละกรอบ แต่ละส่วนและกระบวนการสร้าง อาจสลับใช้ทั้งวิธีหนึ่งหรือสองก็ได้

ภาพยนตร์ Abstract หลายเรื่องที่ถูกออกแบบโดย Gina-Corra และ Survage มีการใช้ Effect ของสีหลายๆ สี การทดลองเหล่านี้ถูกทำให้หยุดชะงักลงด้วยข้อจำกัดในด้านการเข้าถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ใช้กับภาพยนตร์ช่วงแรกของการทดลอง ศิลปินต้องเผชิญกับกับการลองผิดลองถูก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่พบว่าภาพยนตร์ Abstract ยุคแรก มักจะมีความสับสนทางเทคนิค โดยเฉพาะในช่วงต้นของปี 1909-13 ไปจนกระทั่งทศวรรษที่ 1920s จริงๆ แล้ว ภาพยนตร์ Abstract ที่ประสบความสำเร็จอย่างที่สุด ผลิตขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากภาพวาด แต่เกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้กระบวนการของภาพเคลื่อนไหว (Animation) กล่าวคือ มีการถ่ายภาพวาดทีละ Shot ทีละ Shot แบบ Single-Frame บนเวทีหรือม้านั่ง ภาพวาดถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบของภาพยนตร์โดยการใช้กล้องช่วย และด้วยเทคนิค Animation นี้เองที่ทำให้ภาพยนตร์ Abstract ได้เข้าครอบงำ German Avant-Garde ตั้งแต่ปี 1919-1925

ตลกล้อเลียน (The Comic Burlesque)
ภาพยนตร์ Avant-garde มีพื้นฐานมาจาก 2 สิ่ง สิ่งแรก คือ การที่ศิลปินเข้ามีไปส่วนกับสื่อใหม่ ดังที่กล่าวไปแล้วใน Abstract Film. สิ่งที่สอง คือหนทางที่นำศิลปินไปสู่การทำภาพยนตร์ตลก หรือภาพยนตร์ล้อเลียนที่สร้างขึ้นจากมายากลขั้นพื้นฐาน และภาพยนตร์ slapstick (*) และดังที่ Melies (และ Modernists คนอื่นๆ) เชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ถูกทำให้มีมลทินโดยแนวคิด Realism การกลับมาของสไตล์ของภาพยนตร์ดราม่า/ละคร ได้สร้างความพิเศษให้กับภาพยนตร์ Avant-Garde ในขณะเดียวกันภาพยนตร์ดราม่าเหล่านี้ ก็เป็นเอกสารยืนยันสำหรับการเคลื่อนไหวอย่างเป็นศิลปะ ในเวลาต่อมากลุ่ม Modernism หรือลัทธิสมัยใหม่ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาพยนตร์ โดยการเพิ่มลักษณะของอารมณ์ขันแบบเสียดสีเข้าไปในภาพยนตร์ ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง Vita Futurista (1916) (**) ที่นำแสดงโดย Marineeti

(*) ภาพยนตร์ตลกรุนแรง ส่วนมากเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเกินกว่าชีวิตปกติ เช่น การวิ่งชนกำแพง การขว้างกะทะใส่หน้า การนำเอาวัสดุของแข็งทุบที่ศีรษะ เป็นต้น: Slapstick is a type of comedy involving exaggerated extreme physical violence or activities which exceed the boundaries of common sense, such as a character being hit in the face with a heavy frying pan or running into a brick wall. These hyperbolic depictions are often found in children's cartoons (such as Tom and Jerry, Road Runner...), and light film comedies aimed at younger audiences. Though the term is often used pejoratively, the performance of slapstick comedy requires exquisite timing and skillful execution.

(**) Vita Futurista (1916) : Life is a futuristic film of 1916 directed by Arnaldo Ginna.
This is the first film expressly futurista, filmed shortly after the Manifesto of Futurist Cinematografia of the same year. The work was conceived according to a irreverent and innovative, where a group of Futurists (among whom there were Filippo Marinetti, Bruno Corra, Giacomo Balla, besides Ginna itself) disturbing the public peace importunate clients bourgeois cafe in Florence .

The film was lost and had only a few frames as "Breakfast futurist" at the restaurant La Loggia Piazzale Michelangelo, the "Dance of the geometric splendor, where we see the use of sovrimpressione, and" Cazzottatura futuristic "at the park Cascine (where stated the same Marinetti). The film is also a description in The Futurist Italy, 15 October 1916

ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่า ภาพยนตร์ Avant-garde ในเวลาต่อมาในช่วงดังกล่าว มักจะพบรูปแบบ ภาพยนตร์ตลกล้อเลียนของศิลปินตั้งแต่ปี 1913 จนถึงช่วงปลาย 1920s แบบดั้งเดิมของภาพยนตร์แนวนี้ กล่าวคือ ภาพยนตร์ ดราม่า/ละครล้อเลียนทฤษฎี Freudian ของ Sidney Peterson และ James Broughton ในปี 1950s ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์ใต้ดิน

โดยทั่วไปแล้ว ภาพยนตร์ในช่วงแรกไม่ได้มีเพียงแค่มุมตลกเท่านั้น แต่ก็ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อภาพยนตร์ Avant-garde ซึ่งมีที่มาจากสองเหตุผลหลักที่ตอบคำถามว่า ทำไมผู้สร้างภาพยนตร์จึงสอดแทรกตลกล้อเลียนเข้าไปในภาพยนตร์อยู่เนืองๆ

เหตุผลแรก คือต้องการแสดงให้เห็นว่า การเป็นภาพยนตร์ดราม่าไม่จำเป็นต้องยึดหลัก Realism เสมอไป ภาพยนตร์สามารถที่จะเปิดกว้างสู่สไตล์การล้อเลียนและการตลกแบบไม่ต้องเป็นเหตุเป็นผลได้ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงแก่นของ Surrealist และการวิเคราะห์ของ Freud ในเรื่องของเชาว์ปัญญาและเรื่องตลกที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว และเ

เหตุผลที่สอง คือมายากลและภาพยนตร์ตลกช่วงแรก ได้โลดแล่นผ่านอุปกรณ์และเทคนิคการสร้างภาพยนตร์ต่างๆ เช่น stop-frame motion และความเร็วระดับต่างๆ เหล่านี้คือผลงานของศิลปินที่ "ออกนอกลู่นอกทาง" ของคนหมู่มาก แต่เป็นที่สนใจไม่น้อยในหมู่คนทำภาพยนตร์ด้วยกันเอง

ภาพยนตร์ศิลปะและวงจรของภาพยนตร์ศิลปะ
ภาพยนตร์ในฐานะการเป็นรูปแบบหนึ่งของงานศิลปะเป็นสิ่งคู่ขนานกับศิลปินแนว Avant-Garde มาตั้งแต่ c.1912 - 30 และบางครั้งก็เหมือนกับว่าจะมีความทับซ้อนกัน. Richard Abel แยกศิลปิน Avant-garde ออกจากภาพยนตร์ ตามแหล่งกำเนิดด้วยมุมมองแบบ Cubism และ Futurism (*) ซึ่งค่อนข้างยากที่จะสามารถแยกทั้งสองสิ่งนี้ออกจากกันได้

(*) Futurism was an art movement that originated in Italy in the early 20th century. It was largely an Italian phenomenon, though there were parallel movements in Russia, England and elsewhere.

The Italian writer Filippo Tommaso Marinetti was its founder and most influential personality. He launched the movement in his Futurist Manifesto, which he published for the first time on 5th February 1909 in La gazzetta dell'Emilia, an article then reproduced in the French daily newspaper Le Figaro on 20 February 1909. In it Marinetti expressed a passionate loathing of everything old, especially political and artistic tradition. "We want no part of it, the past", he wrote, "we the young and strong Futurists!" The Futurists admired speed, technology, youth and violence, the car, the airplane and the industrial city, all that represented the technological triumph of humanity over nature, and they were passionate nationalists. The Futurists practiced in every medium of art, including painting, sculpture, ceramics, graphic design, industrial design, interior design, theatre, film, fashion, textiles, literature, music, architecture and even gastronomy.

ภาพยนตร์ศิลปะหรือ Avant-garde แบบเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์มีหลากหลายรูปแบบและเป็นสากล ความที่กลัวว่าภาพยนตร์ฮอลีวูดจะเข้ามีบทบาทสำคัญในตลาดโลก และความพยายามที่จะปกป้องรักษาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุโรป ทำให้ภาพยนตร์ศิลปะกลายเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นแม้ในอเมริกาเอง ขณะเดียวกัน อเมริกายอมรับว่ายากที่จะรักษาและสนับสนุนภาพยนตร์นอกกระแส ให้หลุดจากการแรงบีบคั้นของหน่วยอุตสาหกรรมที่ทรงอำนาจ ดังนั้น ภาพยนตร์ทดลองที่อเมริกันพยายามสร้าง จึงดูคล้ายเป็นภาพยนตร์แปลกประหลาดในสายตาของยุโรป ในฐานะการเป็นศิลปินผู้รังสรรค์งานภาพยนตร์ศิลปะ คนทำภาพยนตร์เหล่านี้ต่อต้านภาพยนตร์ทำเงิน แต่ยกให้ผลงาน ภาพยนตร์ศิลปะของตัวเองเป็นภาพยนตร์เชิงวัฒนธรรม และมีความเป็นศิลปะเทียบเท่างานศิลปะแขนงอื่น

ภาษาอาจเป็นอุปสรรคสำหรับภาพยนตร์ยุคเงียบ แต่ภาพยนตร์ศิลปะกลับทำลายอุปสรรคนั้นโดยเน้นการนำเสนอ การรับรู้เรื่องราวผ่านการมองเห็นแทน ทั้งนี้เพื่อขยายวงผู้ชมสู่ระดับสากล ซึ่งผิดกับฮอลีวูดที่มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของภาพยนตร์ศิลปะ คือเรื่องงบประมาณ และการลงทุน ทำให้ภาพยนตร์ศิลปะไม่สามารถถูกเผยแพร่สู่สาธารณชนและทำเงินได้มากเท่าที่ฮอลีวูดได้ ดังนั้นภาพยนตร์ศิลปะส่วนมากมักถูกจำกัดการนำเสนอ และจำกัดการถูกกล่าวถึงเฉพาะในวารสารเกี่ยวกับศิลปะ หรือการนำเสนอในพิพิธภัณฑ์ หรือในนิทรรศการภาพยนตร์เท่านั้น

การที่ภาพยนตร์ศิลปะจะถูกพูดถึง จำเป็นต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์และการสนับสนุนจากบรรดานักเขียนบทความ นักวิเคราะห์วิจารณ์ ที่จะกล่าวถึงในวารสารต่างๆ ต่อมาจึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ทางการเมืองของกลุ่มศิลปิน เช่น November Group (*) ใน Weimar Germany ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนการสร้างภาพยนตร์ศิลปะ

(*) The November Group (German: Novembergruppe) was a group of German expressionist artists and architects. Formed on 3 December 1918, they took their name from the month of the Weimar Revolution. The group was led by Max Pechstein and C?sar Klein. Linked less by their styles of art than by shared socialist values, the group campaigned for radical artists to have a greater say in such issues as the organisation of art schools, and new laws around the arts. The group merged in December 1918 with Arbeitsrat fur Kunst (Wokers council of the arts - or 'The Art Soviet').

ศิลปินแนว Futurists อาจถือเป็นกลุ่มที่พัฒนาภาพยนตร์ Avant-garde ด้วย เพราะเป็นกลุ่มที่เริ่มมองหาแหล่งเงินทุน เพื่อมาสนับสนุนการพัฒนาการสร้างภาพยนตร์แนว Avant-garde ให้ดีขึ้น คือ

1. ได้มีการจ้างผู้เชี่ยวชาญและนักแสดงมาเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองการสร้างภาพยนตร์ และ
2. ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนภาพจิตรกรรม และตากล้อง เพื่อมาพัฒนาให้เกิดความเจริญในการสร้างภาพยนตร์ การถ่ายภาพ และการพัฒนาห้องทดลอง

ในยุคแรกมีการยอมรับว่าภาพยนตร์ศิลปะคือภาพยนตร์ที่อยู่ในแวดวงการพูดคุยเฉพาะใน Cine-Clubs (*) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่สนใจถกประเด็นเกี่ยวกับการสร้างภาพยนตร์ ซึ่งหมายถึงภาพยนตร์ทดลองทุกประเภท แม้แต่ภาพยนตร์บางประเภทที่ถูกมองข้าม เช่น ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์และการ์ตูนที่มักมองว่าเป็นภาพยนตร์ทำเงิน

(*) Cine-Clubs : a group formed to study the art of the cinema through discussion or the actual making of films. In England and the United States such clubs, or film societies, are chiefly interested in film making, while in other countries they concentrate on viewing censored, foreign, or experimental films. Enthusiasts formed the first cin?-clubs in England in the mid-1920s to discuss the new Soviet realistic movement represented by films such as Potemkin (1925), The End of St. Petersburg (1927), and Earth (1930). Later such clubs were significant in popularizing the documentary film developed in Great Britain in the 1930s and in providing a forum for viewing and discussing other films. In the early 1960s, one of the largest contemporary cin?-clubs was the American Cinema 16, established in 1947.
http://www.britannica.com/EBchecked/topic/118020/cine-club

ภาพยนตร์กวี และภาพยนตร์ร้อยแก้ว
หลักใหญ่ใจความของ Avant-Garde หรือ "ภาพยนตร์แนวหน้า" ตามแบบยุโรปและอเมริกานั้น จะเชื่อมโยงเอากลุ่มเสียงส่วนน้อยที่ต่อต้านภาพยนตร์ในกระแสหลักเข้าไปด้วย ในขณะเดียวกัน การพัฒนาที่เพิ่มขึ้นของภาพยนตร์ศิลปะ ก็ทำให้ภาพยนตร์ศิลปะเองเริ่มไม่เป็นไปตามแนวคิดแบบดั้งเดิมของศิลปินแนว Avant-Garde ที่คิดว่า ภาพยนตร์กวี เป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับภาพวาดและประติมากรรม มากกว่าที่จะถูกมองว่าเป็น "ภาพยนตร์" และที่สำคัญคือ ภาพยนตร์สั้นทดลองที่สร้างขึ้นโดยศิลปินกลุ่ม Futurists ราวปี 1913 ก็ได้ถูกเปิดตัวในฐานะการเป็น"ภาพยนตร์กวี"

ตามสูตรของ Jakobson กวีและร้อยแก้วต่างกันด้วยหลักการทางภาษาศาสตร์. ร้อยแก้ว มักจะเป็น การใช้คำวลีมาเรียงร้อยเพื่อกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ในขณะที่กวีมักมีการใช้ภาษาอันสละสลวย และมีพื้นฐานจากการอุปมา. ในเรียงความของ Shklovsky ปี 1927 เรื่อง "กวีและร้อยแก้วในภาพยนตร์" ได้กล่าวไว้ว่า ร้อยแก้วและร้อยกลองมีความแตกต่างกันสองด้าน คือ มิใช่ความแตกต่างด้านท่วงทำนองหรือจังหวะ แต่แตกต่างกันตรงที่รูปแบบขององค์ประกอบของบทร้อยกรอง ในภาพยนตร์ มักมีอำนาจเหนือองค์ประกอบด้านความหมาย และมักจะมีความหมายลึกซึ้งเกินกว่าความหมายจริง ตามที่ผู้สร้างกำหนดจัดวางองค์ประกอบไว้แต่แรกเริ่ม. ความแตกต่างด้านร้อยกรองกับร้อยแก้วจะช่วยได้มากในการทำความเข้าใจ Avant-Garde กล่าวคือ ภาพยนตร์ทดลองส่วนมากได้เค้าโครงจากศิลปะเชิงกวี ขณะที่ละครทั่วไปมีเค้าโครงจากนวนิยาย และวรรณกรรม

ต้นกำเนิดภาพยนตร์นามธรรม
ภาพยนตร์นามธรรมเยอรมันเป็นเสมือนสถานีที่ทำหน้าที่สับเปลี่ยนกระแสการเปลี่ยนแปลง จากลัทธิศิลปะ Cubism และ Dada สู่ Constructivism. ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลก ได้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นในแนวทาง Rational Abstraction และศิลปะแนว Constructivist ถือเกิดขึ้นโดยมีต้นตอที่มาที่หลากหลายในยุคแรกของ Modernism เริ่มตั้งแต่การเต้น การเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งเป็นการสื่อสารส่งผ่านรูปแบบที่เป็นนามธรรม

การเคลื่อนไหวช่วงแรก ภาพยนตร์จะถูกมองว่าเป็นพื้นที่อิสระและไม่แปลกแยก แต่เป็นปรปักษ์ต่อ ความเชื่อที่ว่า ความรู้มาจากกระบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุผล และจากพื้นฐานมุมมองนี้เองที่มีส่วนทำให้เกิด Post-war Expressionism เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Golem ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์ยุคแรกๆ ที่นำสัญลักษณ์มาใช้ในภาพยนตร์ และได้รับการสร้างขึ้นในเวลาต่อมา เช่น Olympia โดย Leni Riefenstahl. อีกส่วนหนึ่งของมุมมองดังกล่าว ยังมีส่วนทำให้เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย อันเป็นที่มาของ "The Cinefiction of Theatre" ซึ่งภาพยนตร์ถูกสร้างขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมืองมากกว่าผลประโยชน์ด้านอื่นๆ. การค้า หรือปัจจัยเรื่องการทำเงินของภาพยนตร์ ไม่ได้เป็นตัวแปรสำคัญอีกต่อไป หากแต่เป็นการยินยอมหรือการอนุมัติให้สร้างภาพยนตร์จากรัฐบาล เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด

นักเขียนชาวเยอรมัน Robert Musil กล่าวว่า ภาษาของภาพยนตร์"หลุดโค้ง"แห่งความเป็นจริง แต่ยังคงมีความเป็นจริงแฝงอยู่ในนั้นเสมอ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาพยนตร์เป็น "เขตแดนระหว่างสองโลก"ระหว่างความจริงและความลวง

The Absolute Film
ราวปี ค.ศ.1916-17 ได้มีการรวมตัวของศิลปินกลุ่ม Cubists และศิลปิน Fauvism (*) อย่าง Derain (**) เพื่อทดลองทำภาพยนตร์ที่เชื่อมโยงผสมผสานระหว่าง"ภาพ"และ"เสียง"ให้มีความลงตัว ด้วยความยาวเพียง 10 นาที แต่ก็เป็น 10 นาทีที่ต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์นามธรรม. สำหรับเรื่อง Diagonal Symphony (***) ได้รวมเอา Cine-Poem ที่สร้างขึ้นปีทศวรรษ 1920s and 1930s เข้าไว้ด้วยกัน, Camera-Eye Films ของ Chomette and Dulac และ ภาพยนตร์นามธรรมเต็มรูปแบบของ German Group ฟอร์มและรูปร่างของผลงานเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ทางนามธรรม รู้สึกได้ถึงแบบแผนและสัญลักษณ์ทางด้านดนตรี

(*) Les Fauves (French for The Wild Beasts) were a short-lived and loose grouping of early 20th century Modern artists whose works emphasized painterly qualities and strong colour over the representational or realistic values retained by Impressionism. While Fauvism as a style began around 1900 and continued beyond 1910, the movement as such lasted only three years, 1905-1907, and had three exhibitions. The leaders of the movement were Henri Matisse and Andre Derain.

(**) Andre Derain (10 June 1880 - 8 September 1954) was a French painter and co-founder of Fauvism with Henri Matisse.

(***) Diagonale Symphonie (French title: Symphonie Diagonale ) is a 1924 German film by Viking Eggeling and Hans Richter. This animated avant-garde abstract film has a duration of 7 minutes and premiered privately on November 5, 1924 in Germany. On May 3, 1925 it was presented to the public in Germany; sixteen days later Eggeling died in Berlin. The film is a series of art decoish stop motion cut-outs animated as 'visual music'.

ในภาพยนตร์ Diagonal Symphony เป็นภาพยนตร์ที่ถูกนำมาชำแหละในฐานะภาพยนตร์ศิลปะ เนื้อเรื่องของภาพยนตร์ ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งอื่น ภาพยนตร์โลดแล่นไปตามลำดับเหตุการณ์ของแต่ละ Lines แต่ละ Curves และ Cones ที่ยากต่อการเดาเหตุการณ์ต่อๆ ไป. ด้วยชื่อของตัวภาพยนตร์เอง Diagonal Symphony ก็ป่าวประกาศอยู่ชัดเจนแล้วว่า จะมีแง่มุมของดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับผู้สร้างภาพยนตร์ Purely Astract (หรือ Absolute) ความคล้ายคลึงลงตัวของดนตรี ทำให้มีการสร้างเสียงก้องประสานพิเศษ ด้วยแนวคิดตามแบบฉบับ Avant-Garde ภาพยนตร์ประเภทนี้ เป็นเสมือน ภาพยนตร์อุดมคติ (Idealist) และเปรียบเสมือนเป้าหมายเพ้อฝันหรือยูโธเปียของรูปแบบบริสุทธิ์ของภาษาสากล ที่ได้รับการสนับสนุนโดยแนวคิด Synaesthetic (*) ที่พยายามหาความสอดคล้องกันระหว่างศิลปะ (Arts) และประสาทสัมผัส (Senses) ดังนั้น จึงมีการพยายามที่จะซินโครไนซ์ท่วงทำนองแห่งสีและเสียงดนตรี. Fischinger ใช้วิธี Studio-Production ในการสร้างภาพยนตร์แนว Abstract แบบใหม่ให้ถูกใจผู้ชม โดยการหลอมรวมเพลงป๊อบอมตะ แสงและเสียง ในฐานะที่เป็นเสียงในฟิล์ม อันจะช่วยขยายวงผู้ชมภาพยนตร์ให้กว้างขึ้น ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ดีสนีย์ดึงตัวเขาไปสร้างภาพยนตร์เรื่อง Fantasia

(*) Synesthesia (also, synaesthesia / synesthetics) is a perceptual experience in which a stimulus in one modality gives rise to an experience in different sensory modality. ในอีกความหมายหนึ่ง: synaesthetic - relating to or experiencing synesthesia; involving more than one sense; "synesthetic response to music"; "synesthetic metaphor"

Walter Ruttmann นักสร้างภาพยนตร์แนว Abstract ช่วงแรก เป็นคนที่ทะเยอทะยานและพยายามรักษาการสร้างภาพยนตร์แนว Abstract จนถึงปี 1925 เขาได้ฝึกฝนตัวเองในฐานะสถาปนิก และทักษะการทำภาพเคลื่อนไหวอย่างมืออาชีพ เหมือน Fischinger Ruttlemann และได้ยกระดับภาพยนตร์ Abstract จากแค่เพียงการเป็นภาพยนตร์ Purely Formal Plane สู่การเป็น "Universal Symbolism" ของดนตรี ตำนาน และสาระภาพยนตร์ รหัสเหล่านี้ทำให้รูปแบบต่างๆ เริ่มมีชีวิตในการแสดงในภาพยนตร์

ภาพยนตร์คิวบิสม์และภาพยนตร์แนวป๊อป (Cubism and Popular Film)
ขณะที่ Cubism หาสิ่งต่างๆ มาเทียบเท่ากับภาพ ในการค้นพบใหม่ของการมองเห็น แทนที่จะละเว้นเรื่องการเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์หรือบรรยาย ตรงกันข้ามศิลปิน Cubists กลับ ถอดรหัสมันออกมา. Cubism และภาพยนตร์ ต่างก็เป็นผลิตผลที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันและภายในไม่กี่ปี ทั้งสองอย่างนี้ต่างก็มีอิทธิพลต่อกัน กล่าวคือ Eisenstein (*) ได้แนวความคิดมาจากการตัดต่อส่วนย่อยๆ เหมือนกับที่ Cubists สร้างภาพ จากการนำชิ้นส่วนเล็กๆ มาประกอบกันและสร้างเป็นภาพยนตร์

(*) Sergei Mikhailovich Eisenstein (Russian: January 23, 1898 - February 11, 1948) was a revolutionary Soviet Russian film director and film theorist noted in particular for his silent films Strike, Battleship Potemkin and October, as well as historical epics Alexander Nevsky and Ivan the Terrible. His work vastly influenced early film makers owing to his innovative use of and writings about montage.

Cubism ยอมรับในแนวคิด Modernism ที่เปิดกว้างสำหรับเทคโนโลยี และยุค Mass และยังเปิดใจ รับแง่มุมที่เคยปิดผนึกไว้ไม่ว่าจะเป็น การรวมบรรทัดฐาน (Painterly Purism with Motif) จากชีวิตธรรมดาทั่วไป และอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ของช่างฝีมือ. ต่อมา Cubism ก็ได้ใช้แนวคิดร่วมกับลัทธิสมัยใหม่ของยุโรปที่รวบรวมคุณค่าเชิงวัฒนธรรมอันหลากหลายให้ได้สอดแทรกอยู่ในภาพ และในภาพยนตร์ ซึ่งต่อมาฮอลลีวูดได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญเหนือกว่า ซึ่งเป็นเหตุให้ Post-Cubist Avant-Garde ที่เกิดขึ้นภายหลังการแทรกแซงของภาพยนตร์ฮอลลีวูด ได้สร้างภาพยนตร์ต่อต้านฮอลลีวู้ดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านที่ปรากฏให้เห็นทางรูปแบบ สไตล์ และการผลิต

Cubism มีอิทธิพลต่อภาพยนตร์ Avant-garde ดังนั้น ภาพยนตร์ศิลปะยุโรปจึงได้ผลิตขึ้นในแนวทางที่ต่อต้านการมีอำนาจเหนือกว่าทางการตลาดของภาพยนตร์อเมริกา ทั้งนี้ ด้วยพยายามที่จะสร้างโมเดลของภาพยนตร์วัฒนธรรม นอกกระแสสื่อบันเทิงและโมเดลโค้ดของสิ่งบันเทิงคดี (Fiction)

ภาพยนตร์ดาดาและภาพยนตร์เหนือจริง (Dada and Surrealist Film)
ผู้สร้างภาพยนตร์บางคนสร้างภาพยนตร์ตามทฤษฎี "การรวมตัวแห่งสัมผัส" (The Union of All the Senses) เพื่อให้ผลงานที่ได้แสดงให้เห็นทั้งการผสมผสานที่ลงตัว ความขัดแย้ง และความไม่กลมกลืนของการ Montage Editing (หรือการเรียบเรียงภาพแบบไม่ต่อเนื่องตามปกติ) ที่สามารถมองเห็นได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีรากฐานมาจาก "Cine-Poem" (ภาพยนตร์กวี) แต่สำหรับ Surrealists ในฝรั่งเศส ราวปีทศวรรษที่ 1920s พวกเขาปฏิเสธความพยายามที่จะ "กำหนด" การลำดับเหตุการณ์ รวมถึงโครงสร้าง ลำดับดนตรี แต่มองให้ทะลุออกไปเพื่อค้นหาความแตกต่างและความไม่ต่อเนื่องแทน

Surrealism คือ กลุ่มที่เข้ามามีอิทธิพลต่อศิลปะสมัยใหม่ เกิดขึ้นช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้ง คนกลุ่มนี้มักมีแนวคิดที่ค่อนไปทาง ความต้องการที่จะล้มล้างอำนาจความคิดอันเป็นเหตุเป็นผล หรือตรรกะและล้มล้างอำนาจใดๆ ที่เป็นตัวคั่นกลางระหว่างศิลปะให้ออกจากชีวิตจริง. การเคลื่อนไหวของลัทธิ Surrealism มีความเด่นชัดในปี 1927 อันเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการ ล่มสลายของ Dadaism น่าสังเกตว่า ทั้งสองกลุ่ม คือ Dadaism และ Surrealism ต่างมีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในช่วงปี 1914 - 18. Dada เน้นผลงานที่แสดงถึงความโกลาหล ความสับสนวุ่นวาย และ ความผิดปกติ ผ่านทางบทกวีที่ถูกคิดขี้นแบบฉับพลัน (เช่น อยู่ดีๆ นักแสดงก็หยิบเอาเนื้อเพลง ที่ แต่ละคนนึกขึ้นได้มาร้อง มาตะโกน ในเวลาเดียวกัน) และ Dada ดูเหมือนจะแสดงการต่อต้าน การเคลื่อนไหวใด ๆ มากกว่าที่ Futurism ทำ. สำหรับ Futurists แล้ว พวกเขาเปรียบเสมือนนักรบผู้กล้า ในสงคราม พวกเขามองสงครามเสมือนเป็น"พระเจ้าแห่งยุคเครื่องจักร" และให้ความสำคัญกับเรื่องของตรรกะ. ส่วน Dada เปรียบเสมือนกระจกเงาทีสะท้อนให้เห็นผลงานศิลปะไร้สติสำหรับยุคไร้สติ (Mad art For a Mad Age)

และด้วยสภาพทางสังคมในช่วงนั้น Eggeline และ Richter เริ่มทำการศึกษาศิลปะแห่งการเคลื่อนไหว ซึ่งท้ายที่สุดถูกพัฒนาเป็นภาพยนตร์ ในตอนแรกภาพยนตร์เป็นสื่อที่ดีที่สุดซึ่งจะนำเสนอตัวแบบที่ม้วนเก็บอยู่ใหคลี่คลายออกมา Richter ได้กลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลและผู้สร้างภาพยนตร์ Abstract และภาพยนตร์ทดลองหลายเรื่องที่นับเป็นการศึกษาภาษาการมองเห็นของภาพยนตร์ และเป็นหนึ่งในบันทึกเหตุการณ์ความทรงจำและประวัติของ Avant-Garde. ในปี 1919 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ยุโรปยังคงทุกข์กับเหตุการณ์ที่ผ่านมา Eggeline และ Richter ได้ตีพิมพ์ใบปลิวเกี่ยวกับภาพยนตร์ในฐานะที่เป็น "ภาษาสากล" เพื่อหาสปอนเซอร์ให้พวกเขาได้ทำภาพยนตร์ทดลอง และเป็นที่น่าประหลาดใจที่มีผู้ผลิตชาวเยอรมันให้กล้องถ่ายภาพยนตร์กับ Eggeline ด้วยประสงค์ให้ใช้ "เพื่องานวิจัย" และทั้งสองก็ได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Diagonal Symphony ได้สำเร็จในอีก 5 ปีต่อมา

Man Ray (*) ก็เป็นผู้สนใจสร้างภาพยนตร์อีกคนหนึ่งซึ่งมีความสำคัญควรกล่าวถึง เขาสร้างภาพยนตร์ตามแนว Dada และกลุ่ม Surrealists ใหม่ที่เข้ามาแทนที่ และลงมือทำภาพยนตร์เฟสต่อไปในแนว Surrealism ก่อนล่วงหน้าภาพยนตร์ของพวก Surrealists สิ่งที่ดูจะแตกต่างออกไปตรงตรงที่วิสัยทัศน์ซึ่งถูกทำให้ซับซ้อนขึ้น มีการเชื่อมต่อระหว่างภาพ ความคลุมเครือ การให้ความรู้สึก และความหมายที่นำเสนอออกมาอย่างไม่ชัดเจน

(*) Man Ray, born Emmanuel Radnitzky (August 27, 1890 - November 18, 1976), was an American artist who spent most of his career in Paris, France. Perhaps best described simply as a modernist, he was a significant contributor to both the Dada and Surrealist movements, although his ties to each were informal. Best known in the art world for his avant-garde photography, Man Ray produced major works in a variety of media and considered himself a painter above all. He was also a renowned fashion and portrait photographer. He is noted for his photograms, which he renamed rayographs after himself.

ภาพยนตร์ของ Man Ray ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของภาพยนตร์ Dada กล่าวคือภาพยนตร์เรื่อง Return to Reason ที่ได้ล้อเลียนการรู้แจ้งที่ไม่มีอยู่อีกแล้วในชื่อของ Cabaret Voltaire ซึ่งมีเทคนิคการสร้างโดยการพิมพ์ภาพทั้งแบบ Positive และภาพ Negative มีการสร้างภาพสัญลักษณ์ และโค้ดภาพสัญลักษณ์

ส่วนภาพยนตร์แนว Surrealist มักถูกมองว่าเป็นการค้นหาภาพที่มากเกินไปและน่าตื่นเต้น (เหมือนภาพฝันที่จำลองความเหนือจริง ดังเช่นผลงานของ Hichcock บางเรื่อง) ที่ดึงเอาความน่าประหลาดใจในความน่าเบื่อ ที่ใช้อธิบายความหลงใหลซึ่งเกิดกับภาพยนตร์ฮอลีวูด และปฏิเสธที่จะเลียนแบบ เทคนิคของการดูภาพยนตร์ของพวกนี้ นั่นคือ เปลี่ยนจากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่องหนึ่ง และบางทีก็ออกไปตอนกลางเรื่องเมื่อรู้สึกว่าไม่น่าสนใจ ซึ่งนับเป็นสิ่งที่สามารถทำได้เฉพาะในช่วงที่ค่าตั๋วเข้าชมมีราคาถูกเท่านั้น. สำหรับภาพยนตร์ของพวก Surrealists เอง โด่งดังในเรื่องของ "Special Effects" และเครื่องหมายคุณภาพที่ทำให้ผลงานของ Surrealists ดูสูงค่าคือ การมีบทเสียดแทง ลูกเล่นเอฟเฟกต์ และการหลีกเลี่ยง Overt Montage Rhythm (ที่ถูกมองว่าล่อลวง หรือดึงดูดมากเกินเหตุ)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com