ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒ : Release date 28 April 2009 : Copyleft MNU.

มีคนมองปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น backlash หรือ ปฏิกิริยาการโต้กลับอย่างรุนแรง ต่อระบบปิตาธิปไตย เนื่องจากช่วงดังกล่าว ขบวนการ สตรีนิยมเฟื่องฟูมากและพยายามทำลายระบบปิตาธิปไตย ดังนั้นมันจึงเป็นการสวนกลับ โดยทำให้คนเชื่อว่า ณ ปัจจุบันนี้สตรีนิยมไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะผู้หญิงและผู้ชายมีความเท่าเทียมกันแล้วนั่นเอง ทั้งนี้ความคิดที่ว่าผู้หญิงมีได้ทุกอย่าง เป็นได้ทุกอย่าง เป็นเรื่องที่เข้าข่ายอันตราย เนื่องจากเป็นความฟุ่มเฟือยที่มีได้ เฉพาะกับผู้หญิงในโลกตะวันตกเท่านั้น. เสรีภาพของผู้หญิงตะวันตกเหล่านี้เชื่อมโยงกับการเอารัดเอาเปรียบผู้หญิงกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในตะวันตกและชายขอบออกไปจากตะวันตก โลกยุค Post-feminism ทำให้เรามองไม่เห็นคนอื่น. นอกจากนี้ ยังมีการท้าทายแนวคิดสตรีนิยม...

H



28-04-2552 (1726)
การวิจัยเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวทดลอง-ภาพยนตร์นอกกระแส
Post-Feminism: แนวคิดสตรีนิยมคลื่นลูกที่สาม: แนวคิดหลังสตรีนิยม
มณีกาญจน์ ไชยนนท์ : นักวิจัย

สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมเกียรติ ตั้งนโม: บรรณาธิการ
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ
ซึ่งคัดมาจากบทที่ ๒ โดยเฉพาะในหัวเรื่องเกี่ยวแนวคิดหลังสตรีนิยม โดยมีโครงเรื่องดังต่อไปนี้
- ประวัติพัฒนาการและขบวนการความเคลื่อนไหวของแนวคิดสตรีนิยม
- สตรีนิยมคลื่นลูกที่หนึ่ง (ช่วงคริสตศตวรรษที่ 17-19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20)
- สตรีนิยมคลื่นลูกที่สอง (เริ่มทศวรรษ 1960-1980)
- สตรีนิยมคลื่นลูกที่สาม (ช่วงปลายทศวรรษ 1980-ปัจจุบัน)
- ประวัติพัฒนาการแนวความคิด"หลังสตรีนิยม"
- ขอบเขตและนิยามความหมายของ"หลังสตรีนิยม"
- แนวคิดหลังสตรีนิยม ถูกใช้ใน ๓ ความหมาย
- ต้นกำเนิด "หลังสตรีนิยม"
- Abjection and Sexism (สภาวะที่น่าอนาถ และการกีดกันทางเพศ)
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ความรู้เกี่ยวกับหลังสตรีนิยม")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๒๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๒ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การวิจัยเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวทดลอง-ภาพยนตร์นอกกระแส
Post-Feminism: แนวคิดสตรีนิยมคลื่นลูกที่สาม: แนวคิดหลังสตรีนิยม
มณีกาญจน์ ไชยนนท์ : นักวิจัย

สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สมเกียรติ ตั้งนโม: บรรณาธิการ
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ประวัติพัฒนาการและขบวนการความเคลื่อนไหวของแนวคิดสตรีนิยม
วารุณี ภูริสินสิทธิ์ (2545) ได้ให้คำอธิบายถึงพัฒนาการของขบวนการความเคลื่อนไหวของแนวคิดสตรีนิยมในสังคมตะวันตกตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ช่วงหลักๆ คือ คลื่นลูกที่หนึ่ง คลื่นลูกที่สอง และคลื่นลูกที่สาม โดยมีรายละเอียดดังนี้

สตรีนิยมคลื่นลูกที่หนึ่ง (ช่วงคริสตศตวรรษที่ 17-19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20) ให้ความสำคัญกับประเด็นคุณธรรมของความเป็นหญิงความเป็นชาย ความเป็นเหตุผลที่ผู้ชายมีแต่ผู้หญิงไม่มี การเรียกร้องสิทธิความไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย รวมทั้งความเป็นอิสระของหญิง โดยเฉพาะผู้หญิงชนชั้นกลางและชนชั้นสูง ยอมรับในการแบ่งโลกสาธารณะและโลกส่วนตัว เสนอและเรียกร้องให้ผู้หญิงออกไปสู่โลกสาธารณะทำงานนอกบ้าน เพื่อให้เท่าเทียมกับผู้ชาย ซึ่งการเคลื่อนไหวที่สำคัญ คือ การเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งของผู้หญิงอังกฤษและอเมริกันในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20

Mary Wollstonecraft's Vindication of the Rights of Women (1792) เป็นเอกสารฉบับแรกๆ ที่พยายามที่จะสร้างทฤษฎีในการอธิบายเกี่ยวกับสถานะของผู้หญิงในสังคมชายเป็นใหญ่ (UK) 1792-1920 เป็นช่วงที่กระบวนการเคลื่อนไหวของสตรีในสหรัฐฯเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การต่อสู้ที่ยาวนานของผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิทางการเมือง (สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง) ผู้หญิงอังกฤษ (บางส่วน) ได้รับสิทธิในการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1918 และอีกสิบปีต่อมา (1928) ผู้หญิงเกือบทุกคนก็ได้รับสิทธินี้ ยกเว้นผู้หญิงที่เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งบางกลุ่มเพิ่งได้รับสิทธิในปี 1960 (1)

(1) ดร.วรรณภา ลีระศิริ. State and the Politics of Gender. คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาคการศึกษาที่ 2/2551. หน้า 29

สตรีนิยมคลื่นลูกที่สอง (เริ่มทศวรรษ 1960-1980) เกิดจากการมองว่าบทบาทของผู้หญิงในสังคมเป็น "คนนอก" จึงเกิดการเรียกร้องในเรื่องความเท่าเทียมที่เหมือนกันระหว่างหญิงและชาย และเชื่อมั่นในความเป็นสากลของปัญหาและทางออกของผู้หญิง พร้อมกันกับการเกิดแนวคิดสตรีนิยมสายเสรีนิยม สตรีนิยมสายมาร์กซิสต์ สตรีนิยมสายสังคมนิยม สตรีนิยมสายถอนรากถอนโคน สตรีนิยมสายจิตวิเคราะห์ เพื่ออธิบายสาเหตุของความเป็นรองของผู้หญิงรวมทั้งแนวทางกำจัดความเป็นรองที่เกิดขึ้นในสังคม นอกจากนี้สำนักคิดดังกล่าวยังให้ความสำคัญหรือยอมรับในการทำความเข้าใจต่อปัญหาผู้หญิงตามแนววิทยาศาสตร์ด้วย นักสตรีนิยมที่สำคัญคือ แมรี่ โวลสโตนคราฟต์ (2) และจอห์น สจ๊วต มิลล์ (3)

(2) แมรี่ โวลสโตนคราฟต์ เป็นชาวอังกฤษ (ค.ศ.1759-1797) เธอเขียนคำประกาศในหนังสือ A Vindication of the Rights of woman (1792) ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่ท้าทายต่อความเหนือกว่าของผู้ชายทั้งระบบ ท้าทายต่อความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นชายและความเป็นหญิงที่มีมาแต่เดิม และปฎิเสธความเชื่อในเรื่องความด้อยกว่าของผู้หญิง เธอเป็นคนแรกที่เสนอว่า ความแตกต่างระหว่างผู้หญิงและผู้ชายที่ปรากฎอยู่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางสังคม มิใช่เป็นความแตกต่างกันตามธรรมชาติ ดังที่นักปรัชญาผู้ชายทั้งหลายเสนอมา (อ้างอิงจากวารุณี, หน้า 32-33)

(3) จอห์น สจ๊วต มิลล์ นักปรัชญาชาวอังกฤษ ตีพิมพ์หนังสือ The Subjection of Woman (1869) เสนอว่า ไม่มีความแตกต่างทางเพศตามธรรมชาติระหว่างหญิงและชาย ความเป็นรองของผู้หญิงไม่เคยเป็นไปด้วยเหตุผลแต่ถูกยัดเยียดให้โดยสังคม ซึ่งสาเหตุหลักคือความไม่เป็นธรรมของกฎหมาย ฉะนั้นจึงต้องให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อสร้างโอกาสให้มีความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ เช่น กฎหมายการแต่งงาน ซึ่งการแต่งงานทำให้ผู้หญิงแย่ลง เนื่องจากสามีมีสิทธิทางกฎหมายในการควบคุมร่างกายและทรัพย์สินของภรรยา และเสนอว่าต้องให้ผู้หญิงมีโอกาสทางด้านการศึกษาและประกอบอาชีพเช่นเดียวกับผู้ชาย (อ้างอิงจากวารุณี, หน้า 38-41)

ช่วงนี้กลุ่มเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสตรีหันมาเน้นประเด็นเรื่องความเท่าเทียมกันทางพฤตินัย มากกว่าทางนิตินัย. ขบวนการเคลื่อนไหวในระลอกที่สองนี้เน้นให้ผู้หญิงหันมาทำความเข้าใจกับสถานะของตนอย่างถ่องแท้ ผ่านการมองโครงสร้างทางอำนาจในสังคม ทั้งในส่วนที่เป็นทางการและส่วนที่ไม่เป็นทางการ (พื้นที่ส่วนตัว) ในขณะที่ขบวนการเคลื่อนไหวลูกแรกเน้นการได้มาซึ่งสิทธิทางกฎหมาย. คลื่นลูกที่สองเน้นเรื่องการต่อสู้เพื่อให้สิ้นสุดการกีดกันทางเพศ การกดขี่ทางเพศ (ในทางปฏิบัติ) มากกว่า (4)

(4) ดร.วรรณภา ลีระศิริ. State and the Politics of Gender. คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคการศึกษาที่ 2/2551. หน้า 31

สตรีนิยมคลื่นลูกที่สาม (ช่วงปลายทศวรรษ 1980-ปัจจุบัน) เกิดจากการผลัดรุ่นของสตรีนิยมในตะวันตก เนื่องจากผู้หญิงรุ่นใหม่ เริ่มเห็นด้วยน้อยลงกับแนวคิดสตรีนิยมรุ่นเก่าๆ เพราะสภาพการณ์ไม่เหมือนกัน คนรุ่นหลังยอมรับความแตกต่างหลากหลายได้มากกว่า และอยู่กับความขัดแย้งได้ดีกว่า และปฏิเสธอภิคำบรรยาย(Grand Narrative) โดยมีข้อเรียกร้องที่สำคัญคือ...

(1) จะทำอย่างไรให้สตรีนิยม สะท้อนชีวิตของผู้หญิงที่ไม่ใช่แค่ผู้หญิงกลุ่มเดียว
(2) ทำอย่างไรให้ผู้หญิงที่อยู่นอกแวดวงวิชาการ สามารถเข้าใจหรือเชื่อมทฤษฎีเข้ากับการปฏิบัติที่ไปด้วยกันได้ (5)

(5) SOCRATES บอกว่าการทำกิจกรรมคือการลงไปมีส่วนร่วมแต่ไม่ได้หยุดคิดและตั้งคำถามว่าทำไปทำไม เพื่ออะไร คือแค่มองเห็นโลกที่เป็นอยู่ว่านี่คือความเป็นจริง(Reality)

นอกจากนี้ยังเกิดการตั้งคำถามต่อข้อเสนอของแนวคิดที่สตรีนิยมสายต่างๆ อันเป็นผลผลิตของยุคที่ผ่านมา ซึ่งยังติดอยู่กับความเป็นสากล ระบบความคิดแบบคู่ตรงข้าม ความเชื่อในความรู้ที่จะได้มาด้วยวิธีการวิทยาศาสตร์ แนวคิดช่วงนี้ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวมตัวกัน มองว่าผู้หญิงผู้ชายมีร่างกายแตกต่างกันย่อมมีประสบการณ์แตกต่างกัน ปฏิเสธการแบ่งแยกระหว่างเพศทางชีววิทยา(Sex) และเพศทางสังคม(Gender) ให้ความสนใจในความเฉพาะเจาะจง(Particularity) ความหลากหลาย(Multiplicity) และความแตกต่างของผู้หญิง ความขัดแย้ง รวมทั้งอัตลักษณ์ของผู้หญิง และให้ความสำคัญกับสถานะ"ความเป็นอื่น" ฉะนั้นคลื่นลูกที่สามจึงรวมงานของนักสตรีนิยมผิวดำและสตรีนิยมรักร่วมเพศอยู่ด้วยกัน ทั้งหมดนี้ได้รับอิทธิพลจากกระแส "หลังสมัยนิยม" (6) อีกทั้งสตรีนิยมคลื่นลูกที่สามได้ถูกใช้ในการอธิบายความหมายของ "หลังสตรีนิยม" เช่นกัน เพราะหลังสตรีนิยมเกิดจากแนวความคิดที่ต่อต้านสตรีนิยมคลื่นลูกที่สอง จึงทำให้แนวความคิดหลังสมัยใหม่และหลังสตรีนิยม มีความคาบเกี่ยวกัน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมากจากอิทธิพลของกระแสองค์ความรู้ที่ปรากฏในช่วงเวลาร่วมสมัยกัน

(6) ย่อมาจาก วารุณี ภูริสินสิทธ์, 2545 "สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20" พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, หน้า 29-32.

นอกจากนี้ สำหรับ Julia Kristeva (*) ซึ่งเป็นนักสตรีนิยม (ผู้วิจัยนำทฤษฎีของเธอมาประยุกต์ใช้เป็นหลักในแนวคิดเกี่ยวกับ"หลังสตรีนิยม") เธอมองขบวนความเคลื่อนไหวของสตรีนิยม (อ้างใน Kelly Oliver, 1998) ในงาน "Women's Time in New Maladies of the Soul " พิมพ์ครั้งแรกในปี 1979 โดยเธอได้ปฎิเสธสตรีนิยมคลื่นลูกที่ 1 เพราะว่ามันค้นหาความเป็นความเสมอภาคที่เป็นสากล และมองข้ามความแตกต่างระหว่างเพศ. คริสติวาแนะนำว่า นวัตกรรมของผู้หญิง (ไม่ว่าจะแนวไหนก็ตาม) แท้จริงแล้วจะเกิดขึ้นเพียงแค่ช่วงที่เป็นแม่เท่านั้น ผู้หญิงจะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพวกเธอด้วยกันได้อย่างดี

(*) Julia Kristeva (born 24 June 1941) (ดูประวัติในภาษาไทยที่ footnote [16]) is a Bulgarian-French philosopher, literary critic, psychoanalyst, feminist, and, most recently, novelist, who has lived in France since the mid-1960s. Kristeva became influential in international critical analysis, cultural theory and feminism after publishing her first book Semeiotik? in 1969. Her immense body of work includes books and essays which address intertextuality, the semiotic, and abjection, in the fields of linguistics, literary theory and criticism, psychoanalysis, biography and autobiography, political and cultural analysis, art and art history. Together with Roland Barthes, Todorov, Goldmann, G?rard Genette, L?vi-Strauss, Lacan, Greimas, and Althusser, she stands as one of the foremost structuralists, in that time when structuralism took major place in humanities. Her works also have an important place in post-structuralist thought.

คริสติวาไม่ยอมรับว่า เธอเห็นด้วยกับสตรีนิยมคลื่นลูกที่ 2 เนื่องจากมันยังคงค้นหาภาษาที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้หญิง ซึ่งเธอคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะมันยังมีพื้นฐานของภาษาและวัฒนธรรมที่อยู่บนหลักการของเหตุผลซึ่งอยู่ภายใต้ระบบผู้ชายเป็นใหญ่ ที่มีบางสิ่งที่ยังคงถูกละเลย. ในทางตรงกันข้าม คริสติวายืนยันว่าวัฒนธรรมและภาษาเป็นอาณาเขตของความรู้เกี่ยวกับการพูด(verbal) แต่ผู้หญิงเป็นการมาก่อนการพูด

สำหรับสตรีนิยมคลื่นลูกที่ 3 เธอมองว่า เป็นช่วงแห่งการแสวงหาในการที่จะทบทวนในเรื่องของอัตลักษณ์และความแตกต่าง รวมถึงระบบความสัมพันธ์ระหว่างบริบทแวดล้อม โดยปฎิเสธที่จะเลือกอัตลักษณ์ที่อยู่เหนือตราประทับที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง และควรสำรวจอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย รวมทั้งอัตลัษณ์ทางเพศที่หลากหลายด้วย และในการให้สัมภาษณ์กับ Rosalind Coward คริสติวาเสนอว่า มีความหลากหลายของเพศสภาพมากพอๆ กับที่เรามีอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนที่ต่างกันเลยทีเดียว

ประวัติพัฒนาการแนวความคิด"หลังสตรีนิยม" (*)
Post-feminism หรือ แนวคิดหลังสตรีนิยม เกิดขึ้นมาจากหลากหลายปัจจัยที่สนันสนุนและประกอบสร้างให้เกิดปรากฎการณ์และปฏิกิริยาของ Post-feminism อันเกิดขึ้นภายใต้บริบทแวดล้อมทางสังคม การเมือง และระบบเศรษฐกิจของสังคมโลกตะวันตก แนวคิดหลังสตรีนิยมปรากฏขึ้นในสื่อตะวันตกในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เพราะผู้หญิงได้มีโอกาสออกมาสู่โลกภายนอกมากขึ้นตามลำดับ เช่น เรียนหนังสือ ทำงาน เป็นต้น อีกทั้งยังมีกฎกติกาที่เป็นสากลด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติเกิดขึ้น แสดงว่า แนวคิดสตรีนิยมได้บรรลุวัตถุประสงค์เรียบร้อยแล้วตามสมควร ถ้ามองจากปรัชญาของ Liberal Feminism (สตรีนิยมสายเสรีนิยม) ดังนั้นสื่อมวลชน จึงมองว่าได้มาถึงยุคหลังสตรีนิยม(Post-feminism)

(*) Post-feminism describes a range of viewpoints reacting to feminism. The term was first used in the 1980s to describe a backlash against second-wave feminism. It is now a label for a wide range of theories that take critical approaches to previous feminist discourses and includes challenges to the second wave's ideas.

Other post-feminists say that feminism is no longer relevant to today's society. Amelia Jones has written that the post-feminist texts which emerged in the 1980s and 1990s portrayed second-wave feminism as a monolithic entity and criticized it using generalizations. One of the earliest uses of the term was in Susan Bolotin's 1982 article "Voices of the Post-Feminist Generation," published in New York Times Magazine. This article was based on a number of interviews with women who largely agreed with the goals of feminism, but did not identify as feminists

อีกทั้งยังมีคนมองปรากฏการณ์นี้ว่าเป็น backlash หรือ ปฏิกิริยาการโต้กลับอย่างรุนแรงต่อระบบปิตาธิปไตย เนื่องจากช่วงดังกล่าว ขบวนการสตรีนิยมเฟื่องฟูมาก และพยายามทำลายระบบปิตาธิปไตย ดังนั้นมันจึงเป็นการสวนกลับ โดยทำให้คนเชื่อว่า ณ ปัจจุบันนี้สตรีนิยมไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เพราะผู้หญิงและผู้ชายมีความเท่าเทียมกันแล้วนั่นเอง ทั้งนี้ความคิดที่ว่าผู้หญิงมีได้ทุกอย่าง เป็นได้ทุกอย่าง เป็นเรื่องที่เข้าข่ายอันตราย เนื่องจากเป็นความฟุ่มเฟือยที่มีได้ เฉพาะกับผู้หญิงในโลกตะวันตกเท่านั้น เสรีภาพของผู้หญิงตะวันตกเหล่านี้เชื่อมโยงกับการเอารัดเอาเปรียบผู้หญิงกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในตะวันตกและชายขอบออกไปจากตะวันตก โลกยุค Post-feminism ทำให้เรามองไม่เห็นคนอื่น. นอกจากนี้ยังมีการท้าทายแนวคิดสตรีนิยมจากสำนักคิดหลังสมัยใหม่, หลังโครงสร้างนิยม, และหลังอาณานิคม ที่สั่นคลอนการจัดหมวดหมู่ที่เรียกว่า "ผู้หญิง" ทำให้อภิคำบรรยาย(Grand Narrative) ที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม อ่อนตัวลง

ขอบเขตและนิยามความหมายของ"หลังสตรีนิยม"
ธเนศ วงศ์ยานนาวา (2548) ได้พิจารณาและให้นิยามศัพท์คำว่า "หลังสตรีนิยม" เป็นตำแหน่งของเวลาและเป็นการแบ่งอาณาเขตทางความคิด วิถีชีวิตที่บ่งบอกถึงยุคสมัย คำว่า "หลัง" ยังแสดงให้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่ยังไม่สามารถที่จะจัดหรือทำให้มีความชัดเจนได้ มีลักษณะของการปฎิเสธ และแสดงว่าอะไรที่อยู่ก่อนหน้าไม่ได้เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป สถานะของ "Post" จึงเป็นเหมือนการส่งไปรษณีย์ไปที่อื่น สิ่งนั้นไม่ได้อยู่ในปัจจุบันอีกต่อไป หรือ หลังสตรีนิยมจึงมีความหมายของการตายของสตรีนิยม เมื่อแสดงความหมายของการสิ้นสุด แต่ "ไม่ได้หมายถึงการสิ้นสุด" เพราะเมื่อพิจารณาภายใต้กรอบคิดของเวลาการทำให้เป็น "หลัง" จึงดำเนินไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดตราบใดก็ตามที่อนาคตยังไม่จบสิ้น (7)

(7) คำนิยมแนวความคิด "หน้าสตรีนิยม", โซเฟีย โพคา และ รีเบคก้า ไรท์ เขียน: ไชยันต์ ไชยพร แปล, 2548. Introduction หลังสตรีนิยม.
พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: โครงการสรรพสาส์น มูลนิธิเด็ก, หน้า 4-5.

ฉลาดชาย รมิตานนท์ (2545) กล่าวว่า คำนิยามหรือความหมายของคำนี้มีหลายสำนวน และแต่ละสำนวนก็มีความแตกต่างกันมาก โดยกล่าวถึงเนื้อหาสาระแบบย่อของ"หลังสตรีนิยม"ว่า มีนักสตรีนิยมบางคนเสนอว่า หลังสตรีนิยมเข้าไปมีส่วนร่วมในวาทกรรมของสำนักหลังสมัยใหม่ ในลักษณะที่ทั้ง 2 สำนัก ล้วนต้องการท้าทายหรือพยายามสั่นคลอนหรือล้มคำนิยามต่างๆ ที่ตายตัวของเพศสภาพ ในขณะเดียวกันก็พยายามสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ที่มีพลังอำนาจในการอธิบายที่ยืดหยุ่นสามารถรองรับความหลากหลายและซับซ้อนได้มากกว่าเดิม รวมทั้งสร้างปฎิบัติการใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย (8) (Gamble.ed, 1999, 298)

(8) ฉลาดชาย รมิตานนท์, 2545, "พลวัตทางสังคม ผ่านสายตานักวิชาการไทย: 60 ปี ฉลาดชาย รมิตานนท์", ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมูลนิธิผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาชนบท, หน้า 64-67.

โซเฟีย โพคา (2548) กล่าวว่า "หลังสตรีนิยม" ไม่ได้หมายถึงการสิ้นสุดของแนวคิดสตรีนิยม แต่คือสัญญาณถึงการเปลี่ยนแปลงในทฤษฎีสตรีนิยม ซึ่งถูกมองว่า คือความปรารถนาที่จะสร้างความเสมอภาคให้แก่เพศที่เกิดขึ้น โดยการกระทำทางการเมือง. หลังสตรีนิยมต้องสอบทวนแนวคิดต่างๆ โดยรื้อสร้างวาทกรรมชายเป็นใหญ่ เช่น เรื่องการรื้อสร้างแนวคิดเกี่ยวกับ "อัตบุคคล" ซึ่งสลายขั้วต่างๆ ที่ตายตัวของเพศสถานะ (9)

(9) ดังที่คริสติวากล่าวไว้ "ผู้หญิงแท้ๆ ไม่มีอยู่จริง มีแต่ผู้ที่อยู่ในกระบวนการกลายเป็นผู้หญิง" (อ้างอิงจาก Ziauddin Sardar and Patrick Curry เขียน: วรนุช จรุงรัตนาพงศ์ แปล, 2548, Introducting Postmodernism สู่โลกหลังสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: โครงการสรรพสาส์น มูลนิธิเด็ก, หน้า 101)

Susan J. Douglas (2002) กล่าวว่า หลังสตรีนิยมเป็นประดิษฐกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องสิทธิมนุษยธรรมอย่างมีพลัง และมีผู้ช่วยเหลือและผู้ยุยงส่งเสริมในตลอดทุกทิศทางโดยการร่วมมือจากสื่อ (10)

(10) Susan J. Douglas, (2002). "Manufacturing Postfeminism" in These Times. Post May 13, 2002 แหล่งที่มา
http://www.alternet.org/story/13118/ คัดมาเมื่อ 24/04/2009

แนวคิดหลังสตรีนิยม ถูกใช้ใน ๓ ความหมาย

(1) เป็นความหมายที่ใช้โดยสื่อตะวันตก ทศวรรษที่1980 ประเทศตะวันตกได้เข้าสู่ยุคหลังสตรีนิยม ในความหมายที่ว่า ถ้าสตรีนิยมคือการต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ชาย ผู้หญิง เพราะฉะนั้นผู้หญิงก็ได้ถูกปลดปล่อยแล้ว ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องนำมาพูดถึงอีก สตรีนิยมจึงออกมาโต้ตอบอย่างมาก เพราะความหมายของคำว่า "หลังสตรีนิยม" แบบนี้ สามารถเข้าใจง่ายและเป็นที่รับรู้ทั่วไปในวงกว้าง ซึ่งถ้าคนยอมรับความหมายที่ว่าถึงคราวสิ้นสุดของสตรีนิยม การต่อสู้ของสตรีนิยมก็จะจบสิ้นลง แต่อย่างไรก็ตามยังมีคนมองว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการโต้กลับต่อระบบชายเป็นใหญ่ เพราะ Post-Feminism โจมตี Feminism เหมือนเป็นการปกป้องความสัมพันธ์เชิงอำนาจของระบบนี้ให้คงมีอยู่

กระนั้นก็ตาม ยังคงมีการแปลความหมายของคำว่า Post-Feminism ใน The Concise Oxford Dictionary ที่ให้นิยามว่า "เป็นเรื่องของ หรือเป็นความเชื่อมโยงเกี่ยวกับความคิดทัศนคติ ฯลฯ ที่เพิกเฉย หรือปฎิเสธแนวความคิดของสตรีนิยมในยุค 1960s และทศวรรษที่ตามมา" ส่วนในความหมายของสื่อ ได้มีการพูดกว้างๆ ว่าเป็นการ anti-feminist movement ความสับสนในเรื่องความหมายที่เติมคำว่า"Post" ตามความหมายของ The Concise Oxford Dictionary ก็จะแปลว่าหลังหรือตามลำดับ แต่ไม่ได้มีนัยยะของคำว่าปฎิเสธ คือ ซึ่งทั้งสื่อและ The Concise Oxford Dictionary มีการให้ความหมายแตกต่างกันไป. อย่างไรก็ตาม นักสตรีนิยมหลายคนได้ออกมาโต้แย้งอย่างรุนแรงว่า Post-feminism ได้ทรยศต่อประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้หญิงในยุคแรก และปฎิเสธทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเธอได้สร้างขึ้นมา

ภาพประกอบด้านซ้าย: Julia Kristeva / ภาพประกอบด้านขวา: Naomi Wolf

Tania Modleski พยายามโต้แย้งถึงการมีขึ้นของคำว่า Post-feminsm ว่าจริงๆแล้ว Post-feminsm เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์และทำให้จุดมุ่งหมายของสตรีนิยมถูกกัดเซาะลงไป ซึ่งทำให้เรากลับไปอยู่ในโลกก่อนการมีสิทธิสตรี ซึ่งเป็นตัวอย่างของการโต้กลับอย่างรุนแรง แต่เธอก็พยายามโต้แย้งโดยใช้วาทกรรมของเธอเกี่ยวกับคำว่า post ว่า ไม่จำเป็นต้องตรงดิ่งกลับไปยังที่ที่เรามา แต่มันน่าจะเป็นวิถีโคจรที่ทำให้เกิดความสับสนงุนงงและไม่แน่นอน นับแต่ที่มันสามารถได้รับการตีความการกลับไปถึงชุดของอุดมการณ์ความเชื่อที่ลึกและซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นการตีความในเชิงบวก แต่อย่างไรก็ตามความซับซ้อนของหลังสตรีนิยมในกรณีนี้ ยังขาดแนวคิดที่ชัดเจนและตัวแทนที่เห็นเป็นรูปธรรม แม้แต่การเป็นตัวแทนเหล่านั้นก็ยังดูแปลกตา เช่น ในเรื่องของบุคลิกลักษณะส่วนตัวของ Naomi Wolf ที่เป็นคนมีเสน่ห์น่ามอง กับลักษณะการคุยโวโอ้อวดโดยชอบประชาสัมพันธ์ตัวเองของ Camille Paglia และ Rene Denfeld ที่เป็นนักมวยสมัครเล่น สิ่งเหล่านี้บอกได้ว่า(แม้ว่าจะไม่ทั้งหมด) ผู้หญิงเหล่านี้เป็นลักษณะแบบหลังสตรีนิยมอย่างกว้างๆ และสามารถเป็นภาพแทนของกลุ่มต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในสังคม

(2) ในความหมายของแนวคิดในทางสังคมศาสตร์, ปรัชญา ในความหมายนี้เป็นการตั้งคำถามในลักษณะเดียวกับที่ Post Modernism, Post Structuralism, Post Colonialism. ด้วยเหตุดังนั้น สตรีนิยมที่ผูกติดอยู่กับฐานคิด ภูมิธรรมแบบ the Enlightenment (ยุคสว่าง-ยุคแห่งพุทธิปัญญา)จึงมีปัญหา. สตรีนิยมมีคำถามเกี่ยวกับ the Enlightenment เพราะความรู้แจ้งต่างๆ เป็นของกลุ่มผู้ชายกลุ่มเล็กๆ แต่นำมากล่าวอ้างว่าเป็นความรู้แจ้งของมนุษยชาติ กล่าวคือ สตรีนิยมกับกระบวนการ "Post" ต่างๆ มีจุดยืนร่วมกันคือ การตั้งคำถามต่อยุค the Enlightenment ซึ่งหลังสตรีนิยมถูกมองว่า เป็นการรื้อรากฐานของสตรีนิยมด้วยกันเอง เช่น เดียวกับลักษณะของแนวคิด "Post" อื่นๆ

(3) ในความหมายของการเป็นยุคสมัยที่ผู้หญิง, ผู้ชาย เท่าเทียมกัน สำหรับในหัวข้อนี้ มีการโต้เถียงใน 3 ประเด็นหลัก คือ

(1). การวิพากษ์วิจารณ์ที่บอกว่าผู้หญิงตกเป็นเหยื่อ หรือผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งทำให้ดูเหมือนว่า ผู้หญิงไม่สามารถควบคุมเนื้อตัวร่างกายของตัวเองได้ และผู้หญิงไม่ต้องรับผิดชอบตัวเอง

(2)). ความต้องการให้มีแนวคิดที่ยืดหยุ่น เพื่อปรับให้เข้ากับลักษณะส่วนตัวของแต่ละคนได้ เช่น มีงานของ Post-Feminist บางคนที่พูดถึงเรื่องความสวย ซึ่งสตรีนิยมสายอื่นๆ มองว่า เรื่องความงามเป็นเครื่องมือของระบบปิตาธิปไตย ทำให้ผู้หญิงต้องไม่สนใจเรื่องความงาม จึงจะปลดปล่อยตัวเองได้ แต่ปัญหาก็คือสังคมก็ยังคงชื่นชมความงามอยู่ ดังนั้นผู้หญิงจึงต้องสวยและเก่งด้วย. Post-Feminism กล่าวว่า สตรีนิยมไม่ควรกีดกันผู้หญิงออกจากเรื่องของความงาม แต่ควรจะดูแลไม่ให้ผู้หญิงสวยอย่างเป็นอันตรายมากกว่า. Post-Feminism จึงเรียกร้องให้มีการมอง "ความเป็นผู้หญิง" ในลักษณะยืดหยุ่น ไม่ให้มีแค่ภาพๆ เดียวที่ทุกคนจะต้องเป็นเหมือนกัน อันที่จริงควรจะสอดคล้องกับความต้องการของผู้หญิงแต่ละคน

(3). ประเด็น Heterosexuality ที่ Post-Feminism เสนอว่า ควรจะมีที่ทางให้ผู้ชายอยู่ร่วมกับผู้หญิงด้วย

Post-Feminism เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ Radical Feminism และประณามว่าเป็นแนวคิดสตรีนิยมที่ล้าสมัยและทำให้เกิดปัญหา เพราะผู้หญิงต้องทุกข์ทรมาน เกิดความเครียดในชีวิตที่ต้องพยายามพิสูจน์ตัวเองให้เท่าผู้ชาย สรุปคือ ความทุกข์ผู้หญิงมาจากกลุ่มสตรีนิยมด้วยกันเองที่ทำให้ผู้หญิงไม่มีความสุข ซึ่งลักษณะงานเขียนของ Post-Feminism เป็นการเขียนในลักษณะที่อ่านง่ายเข้าใจง่าย จึงเกิดเป็นกระแสรังเกียจสตรีนิยมขึ้นมา เพราะสตรีนิยมทำลายความสนุกสนานของผู้หญิง เช่น การที่ผู้หญิงจีบผู้ชาย หรือการทำตัวให้น่ารัก เป็นสิ่งที่สตรีนิยมแบบเก่าไม่ยอมรับ

อย่างไรก็ตามมีการตอบโต้จากสตรีนิยมในรุ่นแรกๆ เช่น Germaine Greer, The Femaue Eunuch และ The Whole Woman เธอบอกว่า ระบบคิดของ Post-Feminism ทำให้ผู้หญิงคิดว่าตัวเองมีได้ทุกอย่าง ชีวิตเต็มแล้วในทุกด้าน แต่แท้ที่จริงแล้วความคิดแบบนี้เป็นของผู้หญิงกลุ่มเล็กๆ ที่ร่ำรวยในตะวันตก ซึ่งสามารถใช้เสรีภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามความคิดนี้อาจไปกดขี่เอารัดเอาเปรียบผู้หญิงต่างๆ ทั้งในสังคมตัวเองและสังคมอื่น (เช่น การมีแม่บ้าน) แนวคิดของ Post-Feminism เป็นแค่ภาพลวงตา

ต้นกำเนิด "หลังสตรีนิยม"
รอยเคลื่อนแรกคือ การเดินขบวนของกลุ่ม"ไซคานาลิเซ เอ โปลิติค" หรือ "โป เอ ไซค์" (จิตวิเคราะห์กับการเมือง) โดยถือป้ายประกาศว่า สตรีนิยมไปลงเหวซะ ในวันที่ 8 มีนาคม 1968 ซึ่งต่อมาถูกประกาศให้เป็นวันสตรีโลก โดยกล่าวว่า "เราปฎิเสธคำว่าสตรีนิยม แต่สนับสนุนกระบวนการปลดปล่อยสตรี"

ขบวนการเรียกร้องของสตรีสายฝรั่งเศส กลุ่มโป เอ ไซค์ เป็นศูนย์กลางด้านปัญญา และวัฒนธรรมของขบวนการ MLF (ขบวนการเพื่อปลดปล่อยสตรี) โดยขบวนการนี้แยกเป็น 2 สาขา คือ "เฟมินิสต์ เรโวลูชั่นแนร์" และ "โป เอ ไซค์" ซึ่งสะท้อนแนวคิดเป็น 2 แนวคือ สายฝรั่งเศสและสายอเมริกัน

โป เอ ไซค์ (Politique et psychanalyse หรือ po et psyche) (หรือ Psychoanalysis and Politics) กลุ่มนี้ไม่เห็นด้วยกับจุดยืนแบบต่อต้านสำนักจิตวิทยาแบบฟรอยด์ ของฝ่าย feminist revolutionaries กลุ่มนี้ใช้จิตวิเคราะห์เพื่อเป็นหนทางไปสู่การตรวจสอบเครื่องมือหรือปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมต่างๆ เช่น การอบรมบ่มนิสัย ขนบธรรมเนียมประเพณีความแตกต่างทางเพศสภาพ (12) ซึ่งมีความคิดร่วมกันโดยคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ หมายถึง มี 2 แนวโน้มคือ แนวโน้มสู่ความเสมอภาค และการมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว ที่ไม่ใช่เหมือนกันกับผู้อื่น

(12) ฉลาดชาย รมิตานนท์. 2545. "พลวัตทางสังคม ผ่านสายตานักวิชาการไทย: 60 ปีฉลาดชาย รมิตานนท์". ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมูลนิธิผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาชนบท. หน้า 65.

เฟมินิสต์ เรโวลูชั่นแนร์ (Feminists Revolutionaires) กลุ่มนี้มีนโยบายทางการเมืองที่ถึงรากถึงโคนและพร้อมที่จะเผชิญหน้าคือ เชื่อว่าเพื่อที่จะล้มล้างระบบที่เป็นปิตาธิปไตย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้มาตรการหรือยุทธวิธีของนักเคลื่อนไหว มิเช่นนั้นความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้น และมองว่าผู้หญิงคนหนึ่งก็คือผู้ชายเหมือนกับคนอื่นๆ เท่ากับโต้แย้งเรื่อง ต้นกำเนิดทางชีวภาพของความแตกต่างทางเพศสภาพ หญิงที่รักหญิงไม่ใช่ผู้หญิง เนื่องจากไม่ตรงกับคำนิยามที่เพศชายให้แก่ผู้อื่น กลุ่มนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1970 เป็นตัวแบบกลุ่มกระตุ้นจิตสำนึกแบบอเมริกันเป็นแนวทาง ต่อต้านจิตวิเคราะห์แบบฟรอยด์ กลุ่มเอฟอาร์เรียกร้องความเสมอภาคและมีแนวโน้มแบบแบ่งแยก เชื่อว่าแนวคิดแบบหญิงรักหญิงเท่านั้น ที่พอจะต่อสู้กับการกดขี่ของวัฒนธรรมแบบชายได้

ภายใต้ความสับสนและขัดแย้งระหว่าง 2 กลุ่มนี้ ตรา "MLF" (Mouvement de liberation des femmes) (*) ถูกยึดไปเป็นของกลุ่มโปเอไซค์ อย่างถูกกฎหมายในปี ค.ศ. 1975 (Gamble,ed., 1999,275-298) ณ จุดแตกแยกของทั้ง 2 กลุ่ม ที่สมาชิกของกลุ่มโปเอไซค์ คัดค้านอย่างเปิดเผยต่อการสู้ของนักสตรีนิยมที่ผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างหญิง-ชายนี้เอง ที่โซเฟีย โพคา ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของหลังสตรีนิยม (13)

(*) Mouvement de liberation des femmes (Liberation movement of women). In France, the Movement for the liberation of women is born of several currents, a radical reformist. At the time heir to the movement in May 1968 and the Women's Lib nascent American, struggles for the right to contraception and abortion initiated by Planned Parenthood, claims to equality of all rights, moral, sexual, legal, economic, symbolic, and the fight against all forms of oppression and misogyny.

(13) แหล่งที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Feminist

Susan Bolotin เป็นหนึ่งในผู้ใช้ คำว่า Post-Feminist เป็นคนแรกๆ ในบทความเรื่อง "Voices of the Post-Feminist Generation" (1982) ตีพิมพ์ใน New York Times Magazine ซึ่งบทความนี้พูดบนพื้นฐานของการสัมภาษณ์ผู้หญิงที่หลากหลาย ซึ่งเห็นด้วยอย่างมากกับจุดประสงค์ของแนวคิดสตรีนิยม แต่ไม่ต้องการที่จะระบุว่าตัวเองเป็นนักสตรีนิยม และในหนังสือของ Christina Hoff Sommers (1994) "Who Stole Feminism?" พูดถึงผู้หญิงจะทรยศผู้หญิงได้อย่างไร ได้วิพากษ์สตรีนิยมตามแนวคิดสมัยใหม่และความเคลื่อนไหวของนักสตรีนิยมในการที่จะทำให้ผู้หญิงเป็นศูนย์กลางและเกลียดผู้ชาย เธอติดฉลากนี้ว่า "Gender feminism" (สตรีนิยมเพศสภาพ) (*) และเสนอว่า "Equity feminism" (สตรีนิยมที่เป็นธรรม)" (**) เป็นแนวคิดซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มความเป็นพลเมืองและกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ เธอโต้แย้งว่าในขณะที่นักสตรีนิยมซึ่งเธอระบุว่าเป็นเหมือนนักสตรีนิยมเพศสภาพ สนับสนุนให้ปฎิบัติอย่างพิเศษ และแสดงผู้หญิงเป็นเสมือนเหยื่อ, นักสตรีนิยมที่เป็นธรรม ควรมีรูปแบบทางเลือกใหม่ที่ปฎิบัติได้ตามแนวคิดสตรีนิยม สิ่งนี้เป็นตัวอธิบายและงานอื่นๆ ของเธอ ทำให้ Hoff Sommers ถูกมองว่าเป็นการต่อต้าน Feminist โดย feminist ด้วยกันเอง (14)

(*)(**) The idea of gender feminism and equity feminism was coined by author Christina Hoff Summers in her book Who Stole Feminism?. In the book, she claimed that feminists break down into two main categories: gender feminists and equity feminists. Equity feminists are those concerned primarily with equal rights and treatment, while gender feminists question traditional gender roles and the role which society plays in these roles.

In an anti-feminist context, equity feminism is often painted as the "good" feminism, in the belief that everyone supports equal rights, making equity feminism a difficult thing to argue with. Gender feminists, on the other hand, are "bad" feminists, because they question the fundamental rules of society. You may hear gender feminism described as extreme or fringe feminism with the goal of discrediting the ideas behind this type of feminism. (http://www.wisegeek.com/what-is-the-difference-between-gender-feminism-and-equity-feminism.htm)

(14) http://en.wikipedia.org/wiki/Feminist

แนวคิดหลังสตรีนิยม
[สำหรับงานวิจัยเล่มนี้ จะกล่าวถึงนักสตรีนิยมผู้ที่ถูกจัดว่าเป็นสตรีนิยมหลังสมัยใหม่เพียง 2 คน คือ จูเลีย คริสทีวา (Julia Kristeva) และเฮเลน ซีซู (Helene Cixous)]

เฮเลน ซีซู (*) ได้เรียกร้องให้ผู้หญิงเขียนอย่างผู้หญิง เขียนแบบไม่ต้องคิด การเขียนแบบผู้หญิงที่เธอเสนอคือ ลักษณะการจดบันทึก ลักษณะการเขียนร่างง่ายๆ ไม่ปะติดปะต่อ ไม่ติออยู่ในรูปแบบกฎเกณฑ์ ซึ่งการเขียนรูปแบบนี้เป็นพื้นที่ว่างที่สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นความคิดในการโค่นล้มความคิดที่ดำรงอยู่ เป็นการเคลื่อนไหวขั้นต้นของการแปรเปลี่ยนมาตรฐานของสังคมและวัฒนธรรม (15)

(*) Helene Cixous ( born June 5, 1937) is a professor, French feminist writer, poet, playwright, philosopher, literary critic and rhetorician. สำหรับผู้สนใจ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน http://www.egs.edu/resources/cixous.html

(15) วารุณี ภูริสินสิทธ์. 2545. "สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่20"พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. หน้า 162

จากแนวคิดนี้เป็นแรงบันดาลใจและเป็นจุดเริ่มต้นให้กับผู้วิจัย(*)ถึงการกำหนดรูปแบบ(Style) ของภาพยนตร์ทดลองชุดนี้ อันเป็นความพยายามในการเขียนอย่างผู้หญิงในลักษณะที่ถ่ายทอดผ่านภาพและเสียง เพื่อเปิดพื้นที่ในการสร้างความหมายและกระจายการครอบครองความหมายของคำว่าผู้หญิง ตามมุมมองและประสบการณ์ของผู้สร้างในการสร้างสัญลักษณ์โดยใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความหมาย

(*) งานวิจัยชิ้นนี้เป็นเรื่องของ "การสร้างภาพยนตร์ทดลองตามแนวคิดหลังสตรีนิยม" เฉพาะบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในบทที่ 2 ของงานวิจัยชิ้นดังกล่าว ซึ่งกล่าวถึงต้นตอความเป็นมาของแนวคิดสตรีนิยมและหลังสตรีนิยม พร้อมจุดมุ่งหมายและลักษณะเฉพาะของภาพยนตร์ตามแนวคิดหลังสตรีนิยมตามการตีความของผู้วิจัย (บรรณาธิการ)

จูเลีย คริสทีวา (16) มองว่า สัญวิทยาที่นิยามด้วยมารดา คือสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นพลังสร้างสรรค์และทำลายต่อสัญลักษณ์ผู้ชายเป็นใหญ่ และหากใช้ ถ้อยคำแบบสัญวิทยา (กวีนิพนธ์) ที่ยอมรับความขัดแย้งในตัวเองที่ว่า สิ่งหนึ่งและสิ่งตรงกันข้าม อาจดำรงอยู่พร้อมๆ กัน เรียกว่า "ความแปลกพิลึก" the chora (17) เธอมองว่า "คลอร่า" เป็นพื้นที่ทางร่างกายร่วมกันของทารกและมารดา(เช่น ในมดลูก) ซึ่งไม่อาจถูกเป็นตัวแทนได้ แต่สามารถถูกมีประสบการณ์ได้ ในรูปของความปรารถนา

(16) จูเลีย คริสทีวา เกิดปี ค.ศ.1941 และย้ายจากบัลกาเรียเพื่อเข้ามาเรียนต่อในกรุงปารีสในปี ค.ศ.1965 และช่วงเวลาที่ศึกษาในกรุงปารีส ทำให้เธอเข้าร่วมงานสัมมนาของ Roland Barthes และเริ่มเข้าสู่วงการนักเขียนและผู้เชี่ยวชาญในวงการวารสารวรรณกรรมแนวหน้า avant-garde ผลงานเขียนของเธอได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เช่น เรื่อง Tel Quel ซึ่งมี Philippe Sollers เป็นบรรณาธิการปรับแก้ภาษา และได้รับการตีพิมพ์ช่วงปลายทศวรรษ 1960s ผลงานนี้ได้กลายเป็นแรงขับให้เกิดการวิจารณ์ในการนำเสนอเรื่องราวของคนๆ หนึ่ง ผ่านงานเขียนมากพอๆ กับที่มีคำวิจารณ์ทางการเมือง และอิทธิพลนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ติดตัว Kristeva มาจวบจนทุกวันนี้ (อ้างจาก John Lechte. "Fifty key contemporary thinkers: From structuralism to postmodernity". P.141 )

(17) คลอร่า หมายถึง สิ่งที่ตั้งชื่อไม่ได้ ประดุจพื้นที่ว่าง ลักษณะ"เหมือนมดลูก"ที่เต็มไปด้วยความปั่นป่วนและดำรงอยู่ก่อนหน้า แบบที่ตั้งชื่อได้ ซึ่งใช้โดยเพลโต (427-347 ปีก่อนคริสตกาล) ในงานชื่อ ทิเมอุส (Timaeus). อ้างจาก โซเฟีย โพคา และ รีเบคก้า ไรท์ เขียน: ไชยันต์ ไชยพร แปล. 2548. Introduction หลังสตรีนิยม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โครงการสรรพสาส์นมูลนิธิเด็ก, หน้า 61.

คลอร่า คือสิ่งที่ถูกพูดไม่ได้ ทิ้งซึ่งร่องรอยก่อนหน้าการเป็นสัญญะของมันไว้ใน "ความเป็นดนตรี" และสัมผัสแห่งจังหวะของภาษา คลอร่าของมารดา คุกคามต่อเสถียรภาพของระเบียบแห่งสัญญะ เมื่อเข้าสู่โลกแห่งสัญลักษณ์ องค์ประธานจะเก็บกดคลอร่าไว้ ทำให้มันถูกรับรู้ได้เฉพาะในรูปของ "แรงดันที่กระตุ้นให้หัวใจบีบรัดตัว" ภายในโลกแห่งภาษาสัญลักษณ์เท่านั้น. แรงดันเหล่านี้ถูกแทนสัญลักษณ์ด้วยความแตกร้าวในภาษา เช่น การลื่นไหล หรือช่องโหว่หรือ ความขัดแย้งในตัวเองของความหมาย กวีนิพนธ์ยอมให้เกิดรอยแยกเชิงสัญวิทยาในไวยากรณ์ของภาษา รวมทั้งจังหวะแบบดนตรี การเบี่ยงเบนความหมายโดยการใช้อุปมา และการเล่นคำ ซึ่งในงานภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วางอยู่บนพื้นฐานของการกล่าวแบบสัญวิทยาโดยใช้ภาพที่ไม่มีความเชื่อมโยงกัน แต่มีการแสดงออกถึงภาวะบางอย่างที่ผู้สร้างต้องการจะสื่อความหมายในมุมมองเกี่ยวกับผู้หญิงตามประเด็นต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไป

ทั้งนี้ยัง เสนอว่าตัวตนไม่ได้มีอยู่แล้ว แต่ถูกสร้างขึ้นผ่านวาทกรรม ไม่ว่าจะเป็น"ผู้หญิง หรือ "ความเป็นหญิง" ก็เช่นเดียวกับตัวตน คือเป็นการสร้างทางภาษา โดยเชื่อว่าตัวตนที่ถูกสร้างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (การปฎิเสธตัวตนทั้งหมด) เชื่อว่าตัวตนไม่มีความเป็นเอกภาพตลอดเวลา และไม่สอดคล้องกันอยู่เสมอ สิ่งที่ตัวตนแสดงออกไปมีหลายความหมาย และไม่เป็นหนึ่งเดียว และตัวตนก็ไม่เข้าใจการกระทำของตัวเองทั้งหมด (Young 1990) จากแนวคิดนี้ผู้สร้างได้นำมาสร้างภาพยนตร์ใน sequence ที่ชื่อว่า The Identity and The Imagination

The Body (เรือนร่าง) เป็นทฤษฎีที่ได้เชื่อมโยงระหว่าง "ร่างกายและจิตใจ", "วัฒนธรรมและธรรมชาติ", "จิตใต้สำนึกและร่างกาย"(soma), "วัตถุและภาพแทน" โดยการยืนยันของทั้ง 2 สิ่งว่าเป็นตัวผลักดันร่างกาย ให้ปฏิบัติหน้าที่ในการเป็น representation และเป็นหลักสำคัญของการจัดการต่อการทำร่างกายให้กลายเป็นวัตถุและความเจ็บป่วยใหม่ๆ ของจิตใจ. Kristeva ได้อธิบายแรงขับในฐานะที่เป็นจุดหมุนหรือจุดเปลี่ยน ระหว่างร่างกายและจิตวิญญาณ(as pivot between "soma" and "psyche") และระหว่างชีววิทยาและภาพตัวแทน ปัจจุบันนี้เธอมีชื่อเสียงในฐานะของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เธอเรียกว่า "semiotic" (สัญญะ) และ the "symbolic" (เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์)

Kristeva ยังคงรักษาความสำคัญในการเรียบเรียงของทั้ง 2 องค์ประกอบ คือ ส่วนประกอบของภาษาสัญญะ (semiotic element) ที่เป็นตัวขับเคลื่อนร่างกายเหมือนกับเป็นตัวถูกปฏิบัติการในความหมาย และในส่วนสัญญะ (semiotic) เป็นการรวมเข้าด้วยกันของจังหวะ โทน และ ความเคลื่อนไหวของวิธีปฏิบัติของความหมาย เหมือนกับการปฏิบัติการของแรงขับที่ถูกรวมเข้ากับร่างกายของมารดา อันเป็นสิ่งแรกของจังหวะ โทน และความเคลื่อนไหวของทุก ๆ ความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่เราทั้งหมดได้อาศัยอยู่ในร่างกายนั้น ซึ่งในที่สุดแล้วความหมายต้องการทั้งภาษาสัญญะและสัญลักษณ์ (semiotic and symbolic) และมันจะไม่มีความหมายเลย หากไม่มีการรวมเข้าด้วยกันของทั้ง 2 สิ่ง ซึ่งในขณะที่แรงขับของร่างกายได้ถูกปฏิบัติการอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยมีหลักการสำคัญที่เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของร่างกาย โดย Kristeva แนะนำว่า การจัดการของการแสดงตัวและความแตกต่าง (Identification and Differentiation) มีความจำเป็นสำหรับการให้นิยามความหมาย กล่าวคือ เป็นการคาดเดาในเรื่องของการรวมเข้ากันของร่างกายและการขับไล่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอาหาร(18) ในทฤษฎีเรื่อง Body นี้ผู้วิจัยได้นำมาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์การตีความโดยผู้สร้าง ซึ่งจะปรากฏรายละเอียดในบทที่ 3 และ4

(18) Revolution in Poetic Language and Powers of Horror

Abjection and Sexism (สภาวะที่น่าอนาถ และการกีดกันทางเพศ) ใน Powers of Horror, งานของ Mary Douglas's Purity and Danger (Douglas, Mary. Purity and Danger, New York: Routledge, 1969) คริสติวาได้พัฒนาแนวความคิดของ abjection (สภาวะที่น่าอนาถ) ว่ามันมีประโยชน์มากต่อการวินิจฉัยกลไกเรื่องของการกดขี่ เธอได้อธิบายความด้อยกว่าตรงนี้ว่า เป็นระบบจัดการทางจิตวิทยา ผ่านปัจเจกและเป็นกลุ่มของอัตลักษณ์ที่ถูกสร้างโดยการแบ่งแยกอะไรก็ตาม ที่รู้สึกว่าถูกคุกคามจากอาณาเขตที่เป็นอยู่ ซึ่งก็คือร่างกายมารดา. คริสติวาวิเคราะห์ใน Black Sun ว่า เราไม่เพียงแค่ต้องมีวาทกรรมใหม่ของเรื่องความเป็นแม่ แต่ควรมีการโต้แย้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและลูกสาว วาทกรรมนี้ไม่ได้ห้ามเลสเบียนรักผู้หญิง ผ่านความคิดส่วนตัวของผู้หญิงที่มาตั้งแต่เกิด

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com