ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒ : Release date 22 April 2009 : Copyleft MNU.

ในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เช่น เวเนซุเอลา โบลิเวีย หรือกัวเตมาลา ที่พรรคแนวสังคมนิยมได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง การต่อสู้ชุดอุดม-การณ์สังคมนิยมในสถานการณ์สากล มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตาม รูปแบบของแต่ละขบวนการในแต่ละประเทศ ตามทฤษฎีที่ยึดถือและบริบทเงื่อนไขของประเทศนั้น ซึ่งในลักษณะภาพกว้างปัจจุบัน ก็คือ คอมมิวนิสต์แบบเหมาอิสต์ จะเน้นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ เช่นในประ เทศเนปาล, ฟิลิปปินส์ หรือกรณีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอดีต และความคิดแบบ Socialist, Social-Democracy จะเน้นการเคลื่อนไหวนโยบายสังคม การเข้าไปปฏิรูปโครงสร้างในด้าน เศรษฐกิจ-สังคม-การเมืองในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมืองแนวสังคมของตนเองเข้าไปต่อสู้ทางการเมือง...

H



22-04-2552 (1723)
แนวทางประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม หรือ"สังคม-ประชาธิปไตย"
สังคมนิยมในประเทศโลกที่สาม บทสรุปกรณีศึกษาในประเทศไทย
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD) : รายงาน

บทความเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองการปกครอง และทางเลือก

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความวิชาการนี้เดิมชื่อ: "แนวทางประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม หรือ "สังคม-ประชาธิปไตย"
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองการปกครอง และทางเลือก
ในส่วนที่เผยแพร่บนหน้าเว็บเพจนี้ ประกอบด้วยโครงเรื่องดังต่อไปนี้...
- Social-Democracy หรือสังคม-ประชาธิปไตย
- สังคมนิยมในประเทศโลกที่สาม จีน อาร์เจนตินา และไทย
- ประเทศไทย: แนวคิดสังคมนิยม ๒ สาย
- สายที่หนึ่ง มาจากยุโรป - สายที่สอง มาจากจีน
- หลากหลายความหมายของ "สังคม-ประชาธิปไตย"
- การสร้างสังคม-ประชาธิปไตย ในประเทศไทย
- อุปสรรคสำคัญ ๔ ด้านต่อการสร้างสังคม-ประชาธิปไตย ในประเทศไทย
- ยุทธศาสตร์ ๔ ด้านของธรรมิกสังคมนิยมใหม่
- Social-Democracy (ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม)
- Social Economy (เศรษฐศาสตร์สังคม)
- Social Welfare (รัฐสวัสดิการ)
- Social Ecology (นิเวศน์สังคม)

(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด การเมืองการปกครอง)

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๒๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๑ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แนวทางประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม หรือ"สังคม-ประชาธิปไตย"
สังคมนิยมในประเทศโลกที่สาม บทสรุปกรณีศึกษาในประเทศไทย
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD) : รายงาน

บทความเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองการปกครอง และทางเลือก
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทสรุป

Social-Democracy หรือสังคม-ประชาธิปไตย
(หรือ สังคมนิยมประชาธิปไตย ในความหมายเดียวกัน)

แรกเริ่มทีเดียว ในยุโรปตั้งแต่กลางคริสตศตวรรษที่ 19 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ขบวนการ "สังคม-ประชาธิปไตย"(Social-Democracy) เดิมทีเดียว เป็นชื่อเรียกกลุ่มพวกรีพัปบลิกัน(Republican) ที่มี "สีสัน" ทาง "สังคมนิยม" ต่อมาเมื่อเกิดพรรค SPD (*) เยอรมันในปี 1869 โดยลาสซาลล์ และสาวกของของมาร์กซเอง ก็ได้ใช้คำนี้ในความหมายที่เป็นการต่อสู้เพื่อสังคมนิยมและประชาธิปไตย เพราะในยุโรปจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐใหญ่ๆ (เยอรมันนี, ออสเตรีย-ฮังการี, รัสเซีย) ยังมีกษัตริย์อยู่ ดังนั้น การที่พวกสังคมนิยมเรียกตัวเองแบบนี้ จึงมีความหมายทั้งในแง่ต่อสู้เพื่อสังคมนิยมและประชาธิปไตย(สาธารณรัฐ) แม้แต่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ของไทย ยังมีความหมายในวงเล็บว่า ประชาธิปไตย (Republic)

(*) The Social Democratic Party of Germany (Sozialdemokratische Partei Deutschlands - SPD) is Germany's oldest political party. After World War II, under the leadership of Kurt Schumacher, the SPD reestablished itself as an ideological party, representing the interests of the working class and the trade unions. The party gradually evolved from a socialist working class party to a social democratic party. This shift reflected the differences between the Heidelberg Program of 1925, which "called for the transformation of the capitalist system of private ownership of the means of production to social ownership", and the Godesberg Program of 1959, which aimed to broaden its voter base and move its political position toward the center.

Nowadays the SPD advocates social justice. It endorses the modernization of the economy to meet the demands of globalization through a social market economy. The party sees such an economic system as necessary in order to ensure the affluence of the entire population. The SPD also tries to meet the needs of the society's disadvantaged with a welfare state. In addition, it advocates a sustainable fiscal policy that doesn't place a burden on future generations while minimizing budget deficits. However, the SPD also emphasises that each individual is self-responsible. In social policies, the SPD favors extensive civil rights and an open society. In foreign policy it sets on the course of compromise with efforts toward world peace. In European politics, it supports European unity in terms of the economy. It hopes that "globalization" is also "democratization."

เมื่อเกิดการแตกตัวในขบวนการฝ่ายซ้ายยุโรป เป็น "คอมมิวนิสต์" กับ "สังคม-ประชาธิปไตย" คำหลังนี้จึงหมายถึงสังคมนิยมที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ (1) นั่นก็คือ "สังคมนิยม-ประชาธิปไตย" หมายถึง ระบบเศรษฐกิจเพื่อคนส่วนใหญ่ตามแนวทาง "เศรษฐศาสตร์สังคม"(Social-Economy) และมีการปกครองที่ต่างจากคอมมิวนิสต์ตรงที่ต้องการ "ประชาธิปไตยทางการเมือง" ด้วยนั่นเอง, ซึ่งในยุคปัจจุบัน คงปฏิเสธการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ได้อีกต่อไป ไม่ว่าโครงสร้างแบบใด ดังนั้น สังคม-ประชาธิปไตย จึงมีรากฐานมาจากอุดมการณ์สังคมนิยม แล้วแตกตัวออกมาเป็น

1. สังคมนิยมปฏิรูป หรือ Social-Democracy
2. สังคมนิยมปฏิวัติ หรือ คอมมิวนิสต์

(1) อ้างอิงจาก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สังคมนิยมในประเทศโลกที่สาม จีน อาร์เจนตินา และไทย
ในประเทศโลกที่สาม แนวคิดในเชิงสังคมนิยมแบบมาร์กซ์ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิวัติ ส่วนใหญ่เป็นการปฏิวัติที่ต่อต้านระบบจักรวรรดินิยม เนื่องจากประเทศโลกที่สามส่วนใหญ่ในช่วงนั้นเป็นเมืองขึ้น มีการนำแนวคิดมาร์กซ์มาใช้โดยปรับเงื่อนไขใหม่ เช่น จีน ก็เป็นเงื่อนไขใหม่ของการเปลี่ยนผ่านแนวคิดสังคมนิยม แต่ว่าไม่ใช่การปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ แต่ใช้การประสานแนวร่วมทางชนชั้น โดยใช้เกือบทุกชนชั้นในสังคมที่ต่อต้านจักรวรรดินิยม โดยให้มีชนชั้นนำหลักคือชาวนาเป็นทัพหลวง จีนมุ่งไปสู่การปฏิวัติในชนบท ใช้ชนบทล้อมเมืองแทนการปฏิวัติในเมือง ซึ่งเป็นสังคมนิยมแนวหนึ่งที่ต่างจากสังคมนิยมแนวโซเวียตที่ใช้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นฐานหลักในการลุกขึ้นปฏิวัติ

อีกแบบหนึ่งของสังคมนิยมในประเทศโลกที่สาม คือสังคมนิยมที่ใช้ทหารออกมาปฏิวัติ เพื่อล้มล้างอำนาจของจักรวรรดินิยม คนนำการปฏิวัติคือทหาร เช่น อาร์เจนติน่าสมัยเปรอง (Juan Peron) (*) ยุคเปรอง คือยุคที่ทหารร่วมกับชนชั้นกรรมาชีพ ตัวแทนของชนชั้นกรรมาชีพในเมืองคือ อีวา เปรอง (Eva Peron) แล้วก็ประกาศลัทธิเปรอง ซึ่งไม่ต่างจากสังคมนิยมในยุโรปเท่าใดนัก มีการเก็บภาษีคนรวยมาช่วยสร้างรัฐสวัสดิการให้กับคนจน คนงานมีสวัสดิการค่อนข้างดี มีงานทำ มีประกันการว่างงาน ลูกหลานคนงานได้รับการเล่าเรียนและรักษาพยาบาลฟรี

(*) Juan Domingo Peron (October 8, 1895 - July 1, 1974) was an Argentine general and politician, elected three times as President of Argentina, after serving in several government positions, including the Secretary of Labor and the Vice Presidency. He was overthrown in a military coup in 1955. He returned to power in 1973 and served for nine months, until his death in 1974 when he was succeeded by his third wife, Isabel Mart?nez.

Peron and his second wife, Eva, were immensely popular amongst many of the Argentine people, and to this day they are still considered icons by the Peronist Party. The Per?ns' followers praised their efforts to eliminate poverty and to dignify labor, while their detractors considered them demagogues and dictators. The Per?ns gave their name to the political movement known as peronismo, which in present-day Argentina is represented by the Justicialist Party.

ประเทศไทย: แนวคิดสังคมนิยม ๒ สาย

สายที่หนึ่ง มาจากยุโรป
โดยเฉพาะฝรั่งเศส ปรีดี พนมยงค์ ถือเป็นสังคมนิยมปฏิรูปสายนี้ กลุ่มนี้ เช่น คนในขบวนการเสรีไทย, ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นับเป็นสังคมนิยมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเชื่อในแง่ของการเคลื่อนไหวสังคมนิยมโดยไม่ใช้ความรุนแรง แนวคิดสายนี้เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยได้มีกระบวนการในการปรับวิธีคิดสังคมนิยมให้สอดคล้องเข้ากับประเพณีและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิดที่เรียกว่า "พุทธสังคมนิยม" ความคิดปรีดี

มีงานสำคัญ ๒ ชิ้นซึ่งถือว่าเป็นฐานสำคัญของพุทธสังคมนิยม คือเรื่อง

- "ความเป็นอนิจจังของสังคม" เป็นงานปรัชญา, ปรัชญาของสังคมนิยมกับปรัชญาพุทธเป็นปรัชญาที่สอดคล้องกันโดยพื้นฐาน โดยกฎของความเป็นอนิจจัง เพราะสังคมนิยมพูดถึงการเปลี่ยนแปลงที่ระบบไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป

- "โลกพระศรีอารย์" เป็นงานอีกชิ้นหนึ่งซึ่งนำเอาพุทธศาสนาเข้ามาใช้ค่อนข้างมาก สำหรับ"โลกพระศรีอารย์" (พระศรีอารียเมตไตร) นั้น ปรีดีไม่ได้เสนอเอง แต่เป็นลูกศิษย์ของเขาเป็นคนเขียนโดยอ้างถึงปรีดี โลกพระศรีอารย์ดูเหมือนจะคล้ายคลึงกับความฝันของโลกคอมมิวนิสต์ โลกที่สมบูรณ์พูนสุข ดังที่มาร์กซ์บรรยายถึงโลกคอมมิวนิสต์ มาร์กซ์เป็นนักอุดมการณ์ เขาฝันว่าวันหนึ่งอารยธรรมของมนุษย์จะรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ และงดงาม แนวคิดพระศรีอารย์คล้ายกับโลกคอมมิวนิสต์ว่า วันหนึ่งสังคมจะรุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ และงดงามได้ เป็นสังคมอุดมคติในโลกแห่งความฝันในอนาคต

สายพุทธสังคมนิยมได้มีการพัฒนาการต่อมา แม้แต่หลายคนในขบวนการปฏิวัติแบบเหมาอิสต์ (Maoist) เอง ก็มีแนวคิดเชิงพุทธสังคมนิยม เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นพุทธสังคมนิยมคนหนึ่งซึ่งปฏิเสธการใช้ความรุนแรง. พุทธสังคมนิยมอีกท่านที่สำคัญมาก คือ พุทธทาส ภิกขุ ซึ่งเสนอแนวคิดหลักทางการเมืองที่เรียกว่า "ธรรมิกสังคมนิยม" ที่เชื่อในแนวทางสังคมนิยมว่า ถึงที่สุดแล้วมนุษย์ต้องเสมอภาคกันแต่เวลาเดียวกันก็ถือว่าต้องเอาธรรมะนำ งานของพุทธทาสพูดถึงวิกฤติสิ่งแวดล้อมด้วย ปัญหาไม่ใช่แค่การขาดดุลยภาพทางสังคม, การที่คนรวยรวยขึ้น คนจนจนลงเท่านั้น หากรากเหง้าของปัญหาคือวิกฤติที่เสียดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติด้วย เพราะมนุษย์รุกรานธรรมชาติ ดุลยภาพที่เสียไปทั้งสองอาจจะนำไปสูวิกฤติ มนุษย์จึงต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่มาสู่ธรรมิกสังคมนิยม

สายที่สอง มาจากจีน กระแสปฏิวัตที่เรียกว่า "พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย" ซึ่งนำเอาแนวความคิดของเหมาเจ๋อตุงเข้ามาใช้เป็นที่มาของพรรคปฏิวัติในประเทศไทย งานเรื่อง "ว่าด้วยเรื่องความขัดแย้ง" เหมาเจ๋อตุงได้นำหลักวิภาษวิธีของมาร์กซ์มาปรับกับวัฒนธรรมของจีน เกิดทฤษฎีว่าด้วยความขัดแย้งและว่าด้วยการปฏิบัติ ถือเป็นนักยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่มากคนหนึ่งของโลก แต่ความยิ่งใหญ่ของเหมาเจ๋อตุง ในเวลาเดียวกันได้ก่อให้เกิดปัญหากับการปฏิวัติสังคมนิยมในประเทศไทย. ในบ้านเราเหมายิ่งใหญ่มาก ทุกคำพูดของเหมากลายเป็นสัจธรรมซึ่งเถียงไม่ได้ในยุคก่อน พูดให้ถึงที่สุดแล้ว, เราเอาคัมภีร์ปฏิวัติจากจีนมาใช้ นี่เป็นความยุ่งยากสำหรับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย, ซึ่งถือเป็นแนวคิดสังคมนิยมสายหนึ่งในประเทศไทย (2)

(2) อ้างอิงจาก เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ : สังคมนิยม-ประชาธิปไตยในประเทศไทย ; 2549

ประเทศไทยมีสังคมนิยม 2 สายหลัก คือ พุทธสังคมนิยม และเหมาอิสต์ (Maoism) (*) แต่ปัจจุบันมีสายอื่นๆ ที่เข้ามาในวงวิชาการ บ้าง เช่น สายทรอสกี้ (Trotskyism) (**) กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน, ซึ่งเป็นสายที่โจมตีสายเหมากับสายสตาลิน (Stalin) และช่วงหนึ่งก็มีสายกรัมซี่ (Antonio Gramsci) (***) เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย

(*) Maoism, variably and officially known as Mao Zedong Thought , is a variant of Marxism derived from the teachings of the late Chinese leader Mao Zedong (Wade-Giles Romanization: "Mao Tse-tung"), widely applied as the political and military guiding ideology in the Communist Party of China (CPC) from Mao's ascendancy to its leadership until the inception of Deng Xiaoping Theory and Chinese economic reforms in 1978. It is also applied internationally in contemporary times. Maoist parties and groups exist throughout the world, with notable groups in Peru, India, and Nepal, where they won the country's first free elections in 2008.

The basic tenets of Maoism include revolutionary struggle of the vast majority of people against what they term the exploiting classes and their state structures, termed a People's War. Usually involving peasants, its military strategies have involved guerrilla war tactics focused on surrounding the cities from the countryside, with a heavy emphasis on political transformation through the mass involvement of the basic people of the society. Maoism departs from conventional European-inspired Marxism in that its focus is on the agrarian countryside, rather than the industrial urban forces. Notably, successful Maoist parties in Peru, Nepal and Philippines have adopted equal stresses on urban and rural areas, depending on the country's level of development.

(**) Trotskyism is the theory of Marxism as advocated by Leon Trotsky. Trotsky considered himself an orthodox Marxist and Bolshevik-Leninist, arguing for the establishment of a vanguard party. His politics differed sharply from Stalinism, most importantly in declaring the need for an international proletarian revolution, rather than socialism in one country, and unwavering support for a true dictatorship of the proletariat based on democratic principles.

Trotsky's followers maintain that, together with Lenin, Trotsky was the most important leader of the Russian Revolution and the international Communist movement in 1917 and the following years. Nowadays, numerous groups around the world continue to describe themselves as Trotskyist, although they have developed Trotsky's ideas in different ways. A follower of Trotskyist ideas is usually called a "Trotskyist" or (in an informal or pejorative way) a "Trotskyite" or "Trot".

(***) Antonio Gramsci (22 January 1891-27 April 1937) is the Italian political leader and theoretician who co-founded the Partito Comunista d'Italia (PCI - Communist Party of Italy) in 1921, and was its leader in the Italian Parliament, in 1924. When the Fascist r?gime outlawed the PCI in 1926, they arrested and imprisoned him from 1926 until 1937. In the Marxist philosophic tradition, his writings - analyses of culture and political leadership - are intellectually most original; he is best known for the concept of cultural hegemony - whereby, the ruling class of a capitalist society coerce the working class to adopt its values in maintaining the State.

หลากหลายความหมายของ "สังคม-ประชาธิปไตย"
คำว่า "สังคม-ประชาธิปไตย" แม้มีหลายความหมายในประวัติศาสตร์ แต่ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่เข้าใจร่วมกันว่าเป็นแนวทางการเมืองที่พยายามปฏิรูปทุนนิยมภายในโครงสร้างรัฐและเศรษฐกิจ มีการสร้างรัฐสวัสดิการโดยรัฐเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม หลายคนเรียกระบบเศรษฐกิจแบบนี้ว่า "เศรษฐกิจผสม" (Mixed Economy) เพราะมีการผสมภาคเอกชนกับภาครัฐภายในกรอบทุนนิยม นั่นคือโดยทั่วไปที่เห็นในเยอรมัน และประเทศในแถบยุโรป แต่ปัจจุบัน หลายประเทศที่พลังประชาชนเข้มแข็ง ได้เริ่มมีการพัฒนาสู่การปฏิรูปนโยบายสังคมใหม่ตามแนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตยมากขึ้น เช่น

ในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เช่น เวเนซุเอลา โบลิเวีย หรือกัวเตมาลา ที่พรรคแนวสังคมนิยมได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง การต่อสู้ชุดอุดมการณ์สังคมนิยมในสถานการณ์สากลนั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของแต่ละขบวนการในแต่ละประเทศ ตามทฤษฎีที่ยึดถือและบริบทเงื่อนไขของประเทศนั้น ซึ่งในลักษณะภาพกว้างปัจจุบันคือ คอมมิวนิสต์แบบเหมาอิสต์, จะเน้นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ เช่น ในประเทศเนปาล, ฟิลิปปินส์ หรือกรณีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอดีต และความคิดแบบ Socialist, Social-Democracy, จะเน้นการเคลื่อนไหวนโยบายสังคม การเข้าไปปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ-สังคม-การเมืองในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการจัดตั้งพรรคการเมืองแนวสังคมของตนเองเข้าไปต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภา ซึ่งในปัจจุบัน สังคมนิยมปฏิรูปได้ลงหลักปักฐานพอสมควร ส่วนในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ในรูปของประเทศรัฐสวัสดิการ มีระบบประกันสังคมถ้วนหน้าที่มีประสิทธิผล โดยการเก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า

สถานการณ์โลกสากลในขณะนี้ ระบอบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัตน์โดยการกอบโกยของกลุ่มทุนชนชั้นนำ กำลังขัดแย้งกันมากขึ้นเรื่อยๆ กับการดำรงอยู่และความเป็นธรรมทางสังคม ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ถ่างกว้างมากขึ้น ทำให้กระแสสังคมนิยมใหม่โดยการลุกขึ้นต่อต้านทุนนิยมโลกาภิวัตน์ของภาคประชาชนทั่วโลก กำลังเปล่งเสียงและแสดงพลังรอบใหม่ ทำให้หลายประเทศทั่วโลกมองแนวความคิดสังคม-ประชาธิปไตในฐานะของการเป็นทางเลือกใหม่ ที่ภาคประชาชนเรียกร้องต่อรัฐ และต่อพรรคการเมืองของประชาชนในการปฏิรูปสังคมใหม่ เพื่อสร้างความมั่นคงของพลเมืองในรูปแบบรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า มีระบบประกันสังคม, การประกันการว่างงาน, และประกันสุขภาพที่ดี จนกระทั่งในหลายประเทศเริ่มมีแนวคิดผสมผสานกันระหว่าง"นโยบายทุนนิยมเสรี"กับ"สังคม-ประชาธิปไตย" ยกตัวอย่างเช่น

การปะทะกันของแนวทางทุนนิยมเสรีกับสังคม-ประชาธิปไตย เริ่มมีปัญหามากขึ้นในประเทศเยอรมัน ซึ่งมีรัฐบาลผสมจากพรรคสังคม-ประชาธิปไตย - SPD ที่พยายามประนีประนอม และพรรคแนวอนุรักษ์นิยม - CDU / CSU (*) ซึ่งขณะนี้เยอรมันไม่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำ นั่นเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐไม่สามารถบันทึกรายได้ที่แท้จริงของประชาชนได้ เพื่อจัดทำแผนนโยบายทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปภาษี และประกันสังคมที่มีประสิทธิภาพ

(*) CDU/CSU, informally also referred to as the Union parties or the Union, is the common name of the Christian Democratic Union of Germany and the Christian Social Union of Bavaria, considered to be sister parties. It refers specifically to their common faction in the Parliament of Germany, the Bundestag. The two parties have a common youth organisation, called the Junge Union.

Both the CDU and the CSU were established after World War II and had the Christian perspective of mankind in common. The reason the Christian Social Union of Bavaria is a separate party goes back to 1919, when its predecessor, the Bavarian People's Party, broke away from the Catholic Centre Party (considered the de facto predecessor of the CDU) in order to pursue a more conservative, more Catholic and more Bavarian particularist course.

การไม่มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำยังทำให้เกิดการซ่อนเร้นรายได้ของแรงงานจำนวนหนึ่ง ซึ่งรัฐไม่สามารถทราบว่าใครมีงานทำเต็มเวลาหรือไม่ หรือบางส่วนมีงานเสริมเพิ่มใหม่แต่มีการซ่อนเร้นรายได้เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี เพราะหากใครมีรายได้ต่ำกว่า 4.00 URO ต่อเดือน ก็จะไม่ต้องสมทบเงินประกันสังคม(Pension found) ทำให้พรรค SPD และ CDU/CSU ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ร่วมมือกับ DGB - สหพันธ์แรงงานแห่งเยอรมัน ผลักดันค่าจ้างขั้นต่ำขึ้น, สำหรับเกณฑ์ของ DGB เกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำคือ 7.5 URO ต่อชั่วโมง แต่ยังไม่เป็นข้อยุติ (โดยทั่วไปแล้ว 3.77 URO ถือเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะรัฐจ่ายให้คนตกงานในอัตรานี้ ดังนั้นเวลามีงานทำต้องมีรายได้มากกว่า, SPD ถือว่าค่าจ้างขั้นต่ำต้องสูงกว่ารายได้ขั้นต่ำของพลเมืองที่มีอยู่) อย่างไรก็ตาม ปัญหาในขณะนี้ SPD และ CDU/CSU ก็ยังขัดแย้งกันอยู่ เนื่องจากรากนโยบายมาจากอุดมการณ์คนละสาย

สำหรับความขัดแย้งระหว่าง"นายทุน" กับ"แรงงาน" ยังเป็นปัญหาทิศทางทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่ แม้ในนโยบายการจัดการกองทุนประกันสังคมเอง พรรค SPD และพรรค CDU/CSU ต่างก็มีข้อเสนอด้านการจัดการกองทุนประกันสังคมคนละรูปแบบ และในอนาคตอาจจะยอมกันไม่ได้เพราะเป็นความขัดแย้งของแนวทาง เนื่องเพราะ SPD และ CDU/CSU ต่างก็แข่งขันกันทางนโยบาย(ไม่ใช่ตัวบุคคล) ซึ่งนั่นหมายถึงความแตกต่างของอนาคต

การสร้างสังคม-ประชาธิปไตย ในประเทศไทย
(การสร้าง"สังคม-ประชาธิปไตย"ในประเทศไทย ยังคงเป็นเรื่องยากลำบากหลายประการ ตามที่ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD)
ได้วิเคราะห์ไว้ 4 ด้าน ดังต่อไปนี้)

อุปสรรคสำคัญ ๔ ด้านต่อการสร้างสังคม-ประชาธิปไตย ในประเทศไทย

1- วัฒนธรรมที่ล้าหลังผสมอนุรักษ์นิยม ปัญหาค่านิยมในสังคมระบบอุปถัมป์และวัฒนธรรมไพร่ฟ้า ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(Constitution Monarchy) ซึ่งสั่งสมปัญหามายาวนาน

2- อุดมการณ์ทางสังคม / แนวความคิดเสรีนิยมใหม่ นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา เป็นยุคที่มีการรื้อฟื้นความนิยมในแนวคิดเสรีนิยมดั้งเดิมขึ้น ซึ่งเรียกว่าแนวเสรีนิยมใหม่ (neo-classical หรือ neo-liberal) การฟื้นตัวของเสรีนิยมในรูปแบบการเน้นกลไกตลาดเสรีดังกล่าว นำโดยนักคิดเช่น Milton Friedman (*) และนำมาปฏิบัติโดยนักการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี Thatcher (อังกฤษ) หรือประธานาธิบดี Reagan ในสหรัฐฯ ซึ่งในที่สุดมีการสอดแทรกเข้าไปในนโยบายเศรษฐกิจขององค์กรระหว่างประเทศ อย่าง ธนาคารโลก และ I.M.F. ซึ่งเข้าไปกำกับรัฐ แนวนี้มองว่า ควรมีการลดบทบาทรัฐ โดยเฉพาะบทบาทรัฐในการเก็บภาษีและบริการประชาชน ควรมีความยืดหยุ่นในตลาดแรงงาน (ลดอำนาจสหภาพแรงงาน เพื่อกดค่าแรงและสวัสดิการคนงาน และสร้างบรรยากาศการลงทุน มีมาตรการเลิกจ้างคนงานได้ง่ายขึ้น) รัฐควรทำหน้าที่เพียงเป็นผู้ดูแลกติกาของตลาดและให้บริการกับคนที่จนที่สุดในสังคมเท่านั้น (3) แนวความคิดนี้ลงรากฝังลึกในทางการเมือง ระบบการศึกษา สถาบันและโครงสร้างทางสังคมระดับต่างๆ จนการต่อสู้ทางความคิดเรื่อง "หน้าที่รัฐ" และ "รัฐสวัสดิการ" ยากลำบากมากขึ้นในสังคมไทย

(3) อ้างอิงจาก ใจ อึ้งภากรณ์, รัฐสวัสดิการในประเทศไทย

(*) Milton Friedman (July 31, 1912 - November 16, 2006) was an American economist, statistician and public intellectual, and a recipient of the Nobel Memorial Prize in Economic Sciences. He is best known among scholars for his theoretical and empirical research, especially consumption analysis, monetary history and theory, and for his demonstration of the complexity of stabilization policy. A global public followed his restatement of a political philosophy that insisted on minimizing the role of government in favor of the private sector. As a leader of the Chicago School of economics, based at the University of Chicago, he had a widespread influence in shaping the research agenda of the entire profession. Friedman's many monographs, books, scholarly articles, papers, magazine columns, television programs, videos and lectures cover a broad range of topics in microeconomics, macroeconomics, economic history, and public policy issues. The Economist hailed him as "the most influential economist of the second half of the 20th century…possibly of all of it".

3- โครงสร้างทางอำนาจถูกผูกขาดโดยชนชั้นนำ ทั้งสถาบันทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้โครงสร้างทางสังคมเสียสมดุล มีปัญหาประชาธิปไตยในความสัมพันธ์เชิงอำนาจของประชาชน ที่กระจุกตัวเฉพาะชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนออกอย่างชัดเจนในพรรคการเมืองไทย ที่ถูกผูกขาด และไม่มีพื้นที่ของชนชั้นล่าง ไม่มีพรรคการเมืองทางชนชั้น หรือแนวคิดอุดมการณ์สังคมนิยม หรือสังคม-ประชาธิปไตย

4- บรรทัดฐานทางสังคมไม่ถูกสร้าง กลไกทางสังคมถูกครอบงำด้วยระบอบอภิสิทธิ์ชน และกฎหมายจำนวนมากยังล้าหลังไม่มีการปฏิรูปการตรากฎหมายและใช้อำนาจตามกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมถูกเลือกปฏิบัติและยังไม่สามารถเป็นที่พึ่งเรื่องความเป็นธรรมได้

หนทางการสร้าง "สังคม-ประชาธิปไตย" ในสังคมไทย
หนทางในอดีต: (จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในสังคมโลก) ชนชั้นล่างทางสังคมที่ถูกกระทำ ถูกเอารัดเอาเปรียบ ลุกขึ้นมาด้วยขบวนการแห่งการเปลี่ยนแปลง รื้อถอนโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมเหล่านั้นทิ้งโดยการปฏิวัติ(Revolution)ทางสังคมใหม่ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในทางสากล (ไม่เหมือนการรัฐประหาร) อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงต้องมีขบวนการประชาชนที่เข้มแข็ง เป็นเอกภาพ ผ่านการต่อสู้มายาวนาน และมุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหลักทางสังคม สำหรับประสบการณ์ในประเทศไทยมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยต่อสู้มา

หนทางในอนาคต: ส่งเสริมการพัฒนา "สถาบันประชาชน" ให้มีความเข้มแข็ง ไม่ว่าจะในรูปแบบองค์กร หรือกลุ่มขบวนการใด ทั้งทางชนชั้น อาชีพ หรือกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มขบวนการของชาวนา ชาวไร่ กรรมกร พนักงานสาขาอาชีพต่างๆ จะต้องมีขบวนการของตนเองที่เข้มแข็ง เพื่อต่อรองผลประโยชน์ทางชนชั้นหรือกลุ่มทางสังคมของตนเองได้อย่างเป็นธรรม เหล่านี้อาจเกิดในรูปของพรรคการเมืองทางชนชั้น สาขาอาชีพ หรือในนามกลุ่มพลังทางการเมืองก็ได้

โดยเฉพาะแนวคิดการใช้พรรคการเมืองเชิงอุดมการณ์เป็นเครื่องมือ มองว่าประชาชนไม่อาจสร้างความเป็นธรรมทางสังคมขึ้นได้ หากชนชั้นล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าสู่อำนาจรัฐ และใช้อำนาจรัฐนั้นจัดวางความเป็นธรรมทางสังคม ผลประโยชน์ทางชนชั้น หรือสร้างสังคมนิยม-ประชาธิปไตยที่จับต้องได้ เนื่องจากว่าระบอบการเมืองเป็นตัวกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. ในประเทศยุโรปนั้นสร้าง "สังคมนิยม-ประชาธิปไตย" ให้เกิดขึ้นได้ เพราะมีพรรคการเมืองที่ต่อสู้ทางอุดมการณ์เข้าสู่อำนาจรัฐ หรือพรรคตัวแทนทางชนชั้นเข้าไปต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง เช่น พรรคสังคมนิยมในประเทศสเปน, ฝรั่งเศส, พรรคสังคม-ประชาธิปไตยในประเทศเยอรมัน, หรือพรรคสังคมนิยมในอิตาลี ที่เคยเปลี่ยนแปลงการเมืองในประเทศหลังได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งในอดีต, กระทั่งประเทศเนปาลเอง พรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งมาจากการเลือกตั้งได้ชัยชนะท่วมท้น และได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศไปในปัจจุบัน

ยุทธศาสตร์ ๔ ด้านของธรรมิกสังคมนิยมใหม่
นอกจากการสนับสนุนในรูปของพรรคการเมืองทางเลือกของประชาชน(ซึ่งยังไม่มี)ในสังคมไทยแล้ว การลงหลักปักฐานความคิดสังคม-ประชาธิปไตย จำเป็นอย่างมากที่จะต้องถูกสร้างเป็นอุดมการณ์ทางสังคมในอนาคต เพื่อเป็นทางเลือกที่ออกห่างจากอุปสรรค 4 ด้านดังที่กล่าวถึง. การสร้างอุดมการณ์ของสังคมนี้ ซึ่งอาจจะเรียกว่า "ธรรมิกสังคม" (Dhammic society หรือ just society) ในประเทศไทย เพื่อเป็นเป้าหมายไปสู่สังคมใหม่ จำเป็นต้องพิจารณาถึงการทำงานยุทธศาสตร์ 4 ด้านดังนี้

1. Social-Democracy (ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม) ต้องตั้งกลุ่มสังคม-ประชาธิปไตยเพื่อศึกษาและทำงาน Think Tank เป็นคลังสมองในการสร้างความคิดและสร้างอุดมการณ์ทางสังคม เพื่อเข้าครองความเป็นใหญ่ทางความคิดของพื้นที่สังคมจากแนวทางเสรีนิยมใหม่ ปฏิรูปโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เป็นธรรม โดยเน้นการศึกษาด้านการปฏิรูปโครงสร้างภาษี ระบบกฎหมาย การกระจายอำนาจ รูปแบบการเลือกตั้ง ระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม ฯลฯ

2. Social Economy (เศรษฐศาสตร์สังคม) เน้นการศึกษาและขับเคลื่อนประเด็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาที่อยู่อาศัย การจำกัดการถือครองที่ดินทำกินที่กระจุกตัวอยู่กับคนรวย โดยครอบคลุมถึงการศึกษา การสาธารณสุข และการกระจายรายได้และโภคทรัพย์อย่างเป็นธรรม

3. Social Welfare (รัฐสวัสดิการ) ที่ไม่ใช่เฉพาะสวัสดิการสังคมเชิงสังคมสงเคราะห์โดยรัฐ ที่ลงหลักปักฐานในความคิดของกลไกรัฐทุนนิยมและระบบการศึกษาไทยเท่านั้น แต่หมายความถึง "หน้าที่รัฐ" ในการจัดรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ทั้งการประกันสุขภาพถ้วนหน้า การศึกษาถ้วนทั่ว ประกันการแรงงานทั้งในและนอกระบบ รวมถึงระบบประกันสังคมที่มีคุณภาพ

4. Social Ecology (นิเวศน์สังคม) เพื่อพิจารณาปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ที่ส่งผลต่อกันและกันในความสัมพันธ์ที่เสียสมดุล ทั้งจากการพัฒนาอุตสาหกรรมและสงครามการแย่งชิงทรัพยากรในระบอบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่ผูกพันถึงสภาวะแวดล้อมซึ่งสร้างผลกระทบของสุขภาพ วิถีชีวิต ความมั่นคงของอนาคต และลมหายใจในพื้นที่สาธารณะ

ยุทธศาสตร์ ๔ ด้านนี้ จะต้องระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อขยายฐานความคิดในสังคมไทย โดยเฉพาะภาคปัญญาชน นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา นักเรียน นิสิต นักศึกษา และร่วมมือกับภาคประชาสังคมอื่นๆ กลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะแรงงาน ชาวนา ชาวไร่ ตลอดจนสื่อสารมวลชนสาขาต่างๆ สถาบันทางสังคมอื่นๆ เพื่อร่วมเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากเสรีประชาธิปไตยครึ่งใบแบบเก่ าและประชาธิปไตยไม่เสรีหรือประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยมในปัจจุบัน รวมถึงเปลี่ยนเส้นทางจากประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม(Libertarian-Democracy) ไปสู่ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมหรือสังคม-ประชาธิปไตย (Social-Democracy) ที่แท้จริง

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com