ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒ : Release date 20 April 2009 : Copyleft MNU.

บรรดาผู้ปกครองผู้บริหารประเทศผู้นำรัฐต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นชนกลุ่มน้อย ต้องตระหนักถึงสิทธิของชนกลุ่มน้อยอันพึงต้องรับรองรักษาตามเจตนารมณ์การปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย "คือการปกครองของคนส่วนใหญ ่แต่ต้องคำ นึงหรือรักษาสิทธิของคนส่วนน้อย (Majority Rule Minaority right) การตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา การมีสิทธิเสรีภาพในการจะปฏิบัติตามความเชื่อ ลัทธิ ศาสนา แห่งตน ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศที่ผู้นำ หรือผู้ปกครองรัฐพึงจะพิจารณาว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องผ่อนปรนหรือให้การสงเคราะห์ หรือเอื้อเฟื้อ เปิดโอ กาสให้มุสลิมสามารถปฏิบัติตามความเชื่อแห่งตนได้อย่างเสรี ...

H



20-04-2552 (1722)
Philippine Islam (Shari'ah) Courts
มองศาลชารีอะฮฺประเทศฟิลิปปินส์ มองย้อนกลับระบบศาลไทย
บุรฮานุดดิน อุเซ็ง : เขียน

บทความเกี่ยวกับการเสนอกฎหมายเพื่อจัดตั้งศาลชารีอะฮฺขึ้นในประเทศไทย

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความวิชาการนี้ได้รับมาจากผู้เขียน สำหรับเผยแพร่บนเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืน
เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ดังมีโครงร่างสำคัญดังต่อไปนี้...
- สถานภาพ การวิวัฒนาการ ศาลชารีอะฮฺประเทศไทย
- "ศาลโต๊ะกาลี" - "ดาโต๊ะยุติธรรม"
- ป.พิบูลสงคราม ประกาศนโยบายรัฐนิยมและชาตินิยม ยกเลิกกฎหมายอิสลาม
- การจัดให้มี"สำนักกอฎี"ขึ้นเพื่อบริหารกิจการศาสนาอิสลาม (อย่างไม่เป็นทางการ)
- ศาลชารีอะฮฺ: เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
- การรวมตัวของมุสลิมเพื่อแก้ปัญหานโยบายรัฐในปี พ.ศ.2529
- ศาลชารีอะฮฺ ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippine Islam (Shari'ah) Courts)
-วิวัฒนาการความเป็นมาศาลชารีอะฮฺ ประเทศฟิลิปปินส์
- การจัดตั้งและเขตอำนาจศาลชารีอะฮฺ
- อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งที่เท่าเทียมกับอำนาจศาลแพ่ง
- ระเบียบพิเศษเกี่ยวกับการพิพากษาอรรถคดี
- คณะกรรมการวินิจฉัยศาสนา (Agama Arbitartion Council)
- ที่ปรึกษากฎหมายอิสลาม(Jurisconsul in Islamic Law)

(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม)

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๒๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๐ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Philippine Islam (Shari'ah) Courts
มองศาลชารีอะฮฺประเทศฟิลิปปินส์ มองย้อนกลับระบบศาลไทย
บุรฮานุดดิน อุเซ็ง : เขียน

บทความเกี่ยวกับการเสนอกฎหมายเพื่อจัดตั้งศาลชารีอะฮฺขึ้นในประเทศไทย
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


"ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติการอย่างใดเป็นทางให้พลเมืองรู้สึก เห็นเป็นไปว่าเป็นการเบียดเบียน กดขี่ศาสนาอิสลาม ต้องยกเลิกหรือแก้ไขเสียทันที การใดจะจัดขึ้นใหม่ต้องอย่าให้ขัดกับลัทธินิยมของอิสลาม หรือยิ่งทำให้เป็นการอุดหนุนศาสดามะหะหมัดได้ยิ่งดี"
(พระราชหัตถเลขาที่ 3/78 ลงวันที่ 6 กรกฏาคม พุทธศักราช 2466)

ศาลชารีอะฮฺ คือศาสนาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาในอรรถคดี ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายอิสลามซึ่งมีรากฐานที่มาจากคัมภีร์อัลกรุอ่าน อัส-ซุนนะฮฺ(Sunnah) ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติและวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด ศอลฯ, อัลอิจมะอฺ (Al-ijmah) คือความเห็นของนักปราชญ์ฝ่ายศาสนา อัลกียาส (Al-kiyas) การเทียบเคียง ซึ่งเป็นนิติวิธีของทางฝ่ายอิสลาม

เนื่องจากศาสนาอิสลาม มีบทบัญญัติเป็นวิถีชีวิตสำหรับประชาชาติใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อิสลามมีคำสอนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไว้อย่างชัดเจน หลักการปฏิบัติในสถาบันครอบครัว นับตั้งแต่ การแต่งงาน การหย่าร้าง การจัดการมรดก การจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน การรับรองบุตรกำพร้า ฯลฯ ซึ่งมุสลิมต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และถือเป็นความรับผิดชอบของส่วนบุคคลที่มีต่ออัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้า และที่มีต่อมนุษย์ด้วยกัน (Hakkul Minaallah&Hakkul Mimunnas)

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจงทำให้บรรดาผู้ปกครองผู้บริหารประเทศผู้นำรัฐต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นชนกลุ่มน้อย ต้องตระหนักถึงสิทธิของชนกลุ่มน้อยอันพึงต้องรับรองรักษาตามเจตนารมณ์การปกครองระบอบประชาธิปไตย "คือการปกครองของคนส่วนใหญ่แต่ต้องคำนึงหรือรักษาสิทธิของคนส่วนน้อย (Majority Rule Minaority right) การตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา การมีสิทธิเสรีภาพในการจะปฏิบัติตามความเชื่อ ลัทธิ ศาสนา แห่งตน ซึ่งได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศที่ผู้นำ หรือผู้ปกครองรัฐพึงจะพิจารณาว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องผ่อนปรนหรือให้การสงเคราะห์ หรือเอื้อเฟื้อ เปิดโอกาสให้มุสลิมสามารถปฏิบัติตามความเชื่อแห่งตนได้อย่างเสรีและเต็มที่ ตราบใดพวกเขาเหล่านั้นมิได้ ก้าวก่าย หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือทำลายความสงบเรียบร้อยของสังคม และเป็นการลดเงื่อนไขที่จะนำสู่ความแตกแยกและทำลายความสงบเรียบร้อยในที่สุด

สถานภาพ การวิวัฒนาการ ศาลชารีอะฮฺประเทศไทย
เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้น ในการผลักดันให้ศาลชารีอะฮฺเกิดขึ้นประเทศไทยอย่างจริงจังและสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง จึงควรทราบสถานภาพการวิวัฒนาการของศาลไทยและเปรียบเทียบกับศาลชารีอะฮฺในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และประเทศอื่นๆ ในโอกาสต่อไป

ประเทศไทย หากได้ศึกษาประวัติศาสตร์แล้ว พบว่านับตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เคยมีการใช้กฎหมายอิสลามมาบังคับใช้ต่างหากแก่กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาในรูปของการมอบหมายอำนาจให้กรมท่าขวา หมายถึง ชาวแขกต่างประเทศ ที่อยู่ด้านขวาของประเทศ หรือทางตะวันตกที่เข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา เช่นชาวอาหรับ ชาวอินเดีย ชาวเปอร์เซีย ชาวชะวา ชาวมลายู เหล่านี้นับถือศาสนาอิสลาม ดังประวัติศาสตร์บันทึกว่า "พระมหากษัตริย์มอบหมายอำนาจกรมท่าขวาให้จุฬาราชมนตรีฯ ดูแลชนชาติแขกถือศาสนาอิสลาม ที่มีกฎหมายและประเพณีแน่นอนในเรื่องผัวเมีย มรดก ศาลกรมท่าขวาจึงใช้กำหมายอิสลามบังคับ..." (อำนาจหน้าที่และบทบาทจุฬาราชมนตรีฯ ในอดีตมีมากกว่าและเป็นที่ยอมรับ ไว้วางพระราชหฤทัยมอบหมายหน้าที่อย่างกว้างขวางกว่าปัจจุบัน). พระเจ้าทรงธรรม พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ทรงแต่งตั้ง ยกฐานะจุฬาราชมนตรีเป็น พระยาเฉกอะห์หมัดรัตนเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวา ว่าที่ สมุหนายกอัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ (เทียบเท่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) มีศักดิ์มีศรี ถือศักดินา 10,000 วา

ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี มีการสืบทอดมาตลอด ศาลอิสลามได้รับการพัฒนา และมีความเสื่อมถอยขึ้นอยู่กับสภาพทางการเมืองการปกครอง การมีส่วนร่วมของชาวมุสลิมในการบริหารบ้านเมือง การมีโอกาสนำเสนอข้อมูลความเป็นจริง ความคิดเห็นต่อผู้มีอำนาจ ดังจะเห็นว่า ชาวมุสลิมที่อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดำเนินชีวิตตามแนวชารีอะฮฺได้อย่างเสรี

"ศาลโต๊ะกาลี" - "ดาโต๊ะยุติธรรม"
จวบจนถึงรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการนำระบบศาลอิสลามไปว่าการในศาลอิสลามไปว่าการในศาลไทย ในรูป "ศาลโต๊ะกาลี" "อาจารย์ต่างฝ่ายศาสนาอิสลาม เป็นผู้ชำระตัดสินความตามกฎหมายอิสลาม ต่อมามีการพัฒนาเป็น "ดาโต๊ะยุติธรรม" ตามดำริ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ..." ศาลศาสนายังไม่ควรยกเลิกศาลโต๊ะกาลีเพราะราษฎรนับถือศาสนาอิสลามมีอยู่มาก แต่จะแก้ไขด้วยการตั้งบรรดาพวกอาจารย์ศาสนาอิสลามที่มีคนนับถือเป็นจำนวนมาก เป็นดะโต๊ะยุติธรรมขึ้นไว้คณะหนึ่ง ราว 20คน ถ้าคนนับถือศาสนาอิสลามเป็นความกัน หรือเป็นจำเลยในคดีที่ต้องตัดสินด้วยกฎหมายทางศาสนาคือ ความผัวเมียอย่างหนึ่ง ความมรดกอย่างหนึ่ง ให้คู่ความเลือกดะโต๊ะยุติธรรมที่ตั้งไว้เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายละคน หรือหลายคนตามตกลง มานั่งชำระคดีในศาลไทย...

ต่อมามีการประกาศพระบรมราชโองการให้ตรากฎหมายอิสลามว่าด้วย ครอบครัว มรดก เป็นลายลักษณะอักษรเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเรียกว่า "กฎข้อบังคับสำหรับการปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง ร.ศ. 120" เมื่อวันที่ 10ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก 120 มีเนื้อหาอย่างย่อและที่สำคัญๆ ข้อ 31 ความว่า "ให้มีศาล เป็น 3 ชั้น คือ ศาลบริเวณ ศาลเมือง ศาลแขวง, ข้อ 32 ให้ใช้พระราชกำหนดกฎหมายทั้งปวงในความอาญาและความแพ่ง ซึ่งเกี่ยวด้วยศาสนาอิสลาม เรื่องผัวเมียก็ดี เรื่องความมรดกก็ดี ซึ่งคนนับถือศาสนาอิสลามเป็นทั้งโจทก์ จำเลย หรือเป็นจำเลย ให้ใช้กฎหมายอิสลามในการพิจารณาพิพากษาตามกฎหมายอิสลามนั้น"

ส่วนเมืองสตูล ขณะนั้นขึ้นกับมณฑลไทรบุรี รัฐไทย ให้อิสระในการบริหารกิจการศาสนาอิสลาม มีศาลศาสนาอิสลาม (Mahkamah Shari'ah) และสำนักงานบริหารกิจการศาสนาอิสลาม (Majlis Agama Islam) และถูกยุบหลังมณฑลไทรบุรีถูกโอนขึ้นใต้การปกครองของอังกฤษเมื่อ พ.ศ.2452 และอีก 8 ปีต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ เป็นตราสารกระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2460 ให้จังหวัดสตูลใช้กฎหมายอิสลามที่เกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดก เหมือนกฎข้อบังคับสำหรับการปกครอง บริเวณ 7 หัวเมือง โดยการผลักดันของพระยาสมันตรัฐบุรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลผู้นับถือศาสนาอิสลามชาวสตูล

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ได้มีหลักรัฐประศาสโนบายของรัชกาลที่ 6 ที่มุ่งเอื้ออำนวยความสงบสุข ความยุติธรรมและความสะดวกในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมและ "กำหนดว่าหากระเบียบการ หรือวิธี การอย่างใดเป็นทางให้พลเมืองรู้สึก เห็นเป็นการเบียดเบียนกดขี่ศาสนา ต้องยกเลิกให้แก้ไขเสียทันที การใดจะจัดขึ้นใหม่ต้องอย่าให้ขัดกับลัทธินิยมของศาสนาหรือยิ่งทำให้เป็นการอุดหนุนศาสนามะหะหมัดยิ่งดี"

ป.พิบูลสงคราม ประกาศนโยบายรัฐนิยมและชาตินิยม ยกเลิกกฎหมายอิสลาม
ปี พ.ศ. 2486 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศใช้นโยบายรัฐนิยมและชาตินิยม ยกเลิกกฎหมายอิสลาม โดยได้ประกาศพระราชกำหนดแก้ไข พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 และ พ.ศ.2486 บรรพ 5 และ6 ว่าด้วยครอบครัวและมรดกแทนการให้กฎหมายอิสลาม ซึ่งเคยใช้ในศาลจังหวัดของ 4 จังหวัดภาคใต้ ทำให้ความพยายามของกระทรวงยุติธรรมที่จัดให้มีการแปลกฎหมายอิสลามจากกิตาบต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ.2472 ถึง พ.ศ. 2484 รวมเวลา 12 ปีนั้น หมายถึงการกำหนดให้ทุกคนรวมทั้งมุสลิมทั้งหมดต้องตกอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย ครอบครัวและมรดกเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ นับเป็นการสร้างปัญหาความเดือดร้อนแก่ชาวมุสลิมเป็นอย่างมาก เพราะต้องปฏิบัติให้อยู่ในหลักการศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก เช่น การนิกะฮฺ (สมรส) การหย่าร้าง การตอละ รอเญาะ คืนดี และแบ่งมรดก ลูกกำพร้า สิ่งเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับกฎหมายแพ่งพานิช แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของศาสนาบัญญัติในอิสลาม หรือเรียกว่าหลักการซารีอะฮฺ มีฉะนั้นต้องรับผลคือ บาปตามในทัศนะอิสลาม

ในการแก้ปัญหาเรื่อที่เกี่ยวกับวิถีศาสนาอิสลาม ชาวไทยมุสลิมจึงหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ จากศาลไทย หรือการใช้กฎหมายไทยจึงกลับไปใช้หรือให้อิหม่ามมัสยิดที่ตนเป็นสัปบุรุษตัดสิน หรือไกล่เกลี่ย แต่หากยังรู้สึกยังไม่เป็นที่ยอมรับคู่กรณีตกลงกันไปขอให้ กอฏีในศาลซารีอะฮฺในบางรัฐของมาเลเซีย คือในรัฐเคดะห์ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู เปรัค เช่น ชาวจังหวัดสตูล เดินทางไปขึ้นศาลปะลิส หรือ เคดะห์ ชาวมุสลิมจังหวัดนราธิวาสเดินทางไปขึ้นศาลชารีอะฮฺที่กลันตัน หรือตรังกานู ชาวมุสลิมในจังหวัดยะลาเดินทางไปขึ้นศาลชารีอะฮฺที่เปรัค เป็นต้น

ในภาวะที่ไม่มีกฎหมายอิสลามใช้บังคับอย่างเป็นทางการ กลุ่มชนชาวมุสลิมได้มีการเคลื่อนไหวเสนอความเห็นเรียกร้องผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี ขุนเจริญวรเวชช์ (นายเจริญ สืบแสง) ร้องเรียนต่อนายควง อภัยวงค์ นายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2489 โดยถามในญัตติว่า รัฐบาลมีนโยบายคลายความบีบคั้น และกลับคืนมาซึ่งสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญต่อไปหรือไม่? ประการใด?

การจัดให้มี"สำนักกอฎี"ขึ้นเพื่อบริหารกิจการศาสนาอิสลาม (อย่างไม่เป็นทางการ)
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2486 มีการเคลื่อนไหวในกลุ่มผู้นำศาสนาอิสลามด้วยเหตุผล ในฐานะมุสลิม ทุกคนต้องมีผู้ที่ต้องรับผิดชอบทางศาสนาของมุสลิม จึงมีการรวมตัวกันที่จังหวัดปัตตานีมีบรรดาอูลามะฮฺ (นักปราชญ์) อิสลามโต๊ะครู อิหม่าน รวมตัวตัวประชุมปรึกษาหารือถึงความรับผิดชอบที่มีต่ออัลลอฮฺ ความรับผิดชอบ ความเสียหายของสังคมชุมชนที่ไม่มีผู้รับผิดชอบในเรื่องของศาสนา ที่ประชุมจึงมีมติเลือกโต๊ะครู 3 คนขึ้นเป็น "กอฎี" ในภาวะผู้นำรัฐไม่จัดการบริหารตามหน้าที่ โดยจัดให้มีสำนักกอฎีขึ้นเพื่อบริหารกิจการศาสนาอิสลาม (อย่างไม่เป็นทางราชการ) ในรูปสำนักงานคณะกรรมการอิสลาม (Majlis Agema Islam) โดยไม่พึงอำนาจรัฐแต่ประการใด

ประกอบกับประเทศอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 จักรวรรดินิยมอังกฤษเริ่มเข้ามาแทรกแซงมีการให้คำมั่นสัญญาหลายประการ จนประชาชนตกอยู่ในความระส่ำระสาย จักรวรรดินิยมอังกฤษได้ชักจูงต่วนกูมะฮฺมูด มุฮัยยิดดีน บุตรต่วนกูอับดุลกอเดร์ กอมารุดดีน สุลต่านองค์ที่ 5 เจ้าเมืองปัตตานีองค์สุดท้าย เข้าร่วมสงครามต่อสู้ญี่ปุ่น โดยมีสัญญาจะสถาปนาเป็นเจ้าเมืองปัตตานีขึ้นกับจักรวรรดินิยมอังกฤษ เช่น ปะลิส กลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี

ระยะเวลา 2 ปีที่มีการยกเลิกกฎหมายอิสลาม รัฐบาลไทยได้มีการทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการบริหารกิจการของมุสลิม โดยได้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม 3 ฉบับเพื่อกอบกู้สถานการณ์การเมืองในยุคการล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนี้

- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ.2488
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 และ
- พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490

แม้ว่ารัฐบาลได้ตรากฎหมายให้โอกาสมุสลิมได้มีโอกาสปฏิบัติตามความเชื่อ แต่เป็นการกอบกู้สถานการณ์ จึงเป็นการตรากฎหมายที่ขาดความรอบคอบ และขาดความสมบูรณ์ในการใช้ประโยชน์ได้ และยังไม่เป็นที่พึงพอใจในกลุ่มชนมุสลิมมากนัก และตราบจนปัจจุบันยังไม่ได้มีการแก้ไขให้สมบูรณ์

ศาลชารีอะฮฺ: เปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
ในขณะที่ในประเทศที่มีมุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อย ในแถบเอเชีย เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ไม่นับรวมถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย อินโดเชีย บรูไน มีการใช้กฎหมายชารีอะฮฺ มีศาลชารีอะฮฺ ตัดสินพิพากษาอรรถคดีเกี่ยวกับอิสลาม มีการพัฒนา ความก้าวหน้า ทันสมัย ในขณะที่ประเทศไทยยังคงใช้กฎหมายอิสลามที่มีรูปแบบพิกลพิการไม่สมบูรณ์แบบ ล้าสมัย ไม่มีการปรับปรุงกว่า 60 ปี ซึ่งประชาชนชาวมุสลิม โดยอิหม่ามมัสยิด โต๊ะครูตามปอเนาะ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติตามชารีอะฮฺอิสลามได้ แต่ก็ยังมีชนมุสลิมบางกลุ่มยังคงมีความเคลื่อนไหว และดำเนินการทางการเมือง เพื่อนำข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริง นำความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงสู่กระบวนการนิติบัญญัติ นำเสนอผู้นำฝ่ายบริหาร ทั้งนี้เพื่อนเป็นการแก้ไขปัญหา ลดเงื่อนไขอันที่จะสู่ความแตกแยก ความสงบเรียบร้อยของประเทศชาต

การรวมตัวของมุสลิมเพื่อแก้ปัญหานโยบายรัฐในปี พ.ศ.2529
วันที่ 3 พฤษภาคม 2529 ผู้นำศาสนาอิสลาม ผู้นำท้องถิ่น นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ร่วมกับนักการเมืองทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น รวมตัวกันประชุมที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี เพื่อร่วมกันพิจารณา แก้ไขปัญหา ผลกระทบจากการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลต่อชุมชนมุสลิมหลายประการ เช่น นโยบายการนำพระพุทธรูปประดิษฐานในโรงเรียนในจังหวัดชายแดนใต้, นโยบายเปลี่ยนชื่อ-สกุล นักเรียน นักศึกษามุสลิม,นโยบายการเปลี่ยนชื่อตำบล ชื่อหมู่บ้าน ชื่อโรงเรียนและสถานที่สำคัญ นโยบายการคุมกำเนิดโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ปอเนาะ, ปัญหาการกีดกั้นสิทธิเสรีภาพในการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา เช่น ปัญหาการห้ามนักเรียนนักศึกษาสตรีมุสลิมสวมฮิญาบ ห้ามสวมฮิญาบ-สวมหมวกกะปิเยาะถ่ายรูปติดบัตรประจำจังหวัด, ปัญหาหน่วยงานรัฐไม่นำข้อวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรีเกี่ยวกับความขัดแย้งจากการปฏิบัติต่อมุสลิม ฯลฯ และร่วมกันหาทางแก้ไขปัญหา เพื่อลดเงื่อนไขที่สร้างความแตกแยก ที่นำสู่เงื่อนไขสงคราม ด้วยการใช้วิธีทางการเมืองร่วมตัวกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างความเป็นเอกภาพ (วะฮดะฮฺ) ในบรรดานักการเมืองระดับชาติในจังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส และบางส่วนจังหวัดสงขลาและเข้าสนับสนุนพรรคการเมืองมุสลิม เข้าร่วมผลักดัน เป็นนโยบายของพรรคอย่างถาวร มิใช่เฉพาะกิจระหว่างการรณรงค์การเลือกตั้ง และผลักดันเป็นนโยบายของรัฐบาล

ผลจากการรวมตัวเป็น เอกภาพดังกล่าว จึงมีกลุ่มนักการเมืองชื่อวะฮฺดะฮฺ เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองโดยได้รับการสนับสนุนและโอบอุ้มจากผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชน และมีโอกาสได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานรัฐสภา รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสำคัญๆ หลายกระทรวง มีโอกาสผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือ มีโอกาสแก้ไขปัญหาต่างๆ จนประสบความสำเร็จหลายประการ เช่น การแก้ไขระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา อนุญาตให้นักเรียนนักศึกษาแต่งฮิญาบได้ ตลอดจนข้าราชการ ลูกจ้าง สตรีสวมฮิญาบในสถานที่ราชการได้ การผลักดันจัดตั้งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ การผลักดันพระราชบัญญัติบริหารกิจการศาสนา พ.ศ.2540 การผลักดันพระราชบัญญัติธนาคารอิสลาม เงินค่าตอบแทนอิหม่าม คอเต็บ บิลาล, งบอุดหนุนค่าตอบแทน อุสตัรโรงเรียนตาดีกา การปลดล๊อคนโยบายการคุมกำเนิดโรงเรียนปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม การผลัดอันโครงการนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลที่จังหวัดปัตตานี ฯลฯ และยังมีสิ่งที่เป็นความมุ่งมั่นที่จะต้องผลักดัน จะต้องดำเนินการในสิ่งที่จำเป็นในสังคมมุสลิมอีกมาย. ส่วนหนึ่งในความพยายามปรับปรุงกฎหมายอิสลาม ความพยายามในการผลักดันศาลชารีอะฮฺ จึงมีการเดินทางไปศึกษาดูงานกิจการศาสนาอิสลามในประเทศมุสลิม และมิใช่เป็นประเทศมุสลิม

ในปีพ.ศ.2543 นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ในฐานะประธานรัฐสภา ได้นำคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มวะฮฺดะฮฺ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งเดินทางไปเยือนประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงค์โปร ฟิลิปปินส์ ประเทศมุสลิมในตะวันออกกลาง อัฟริกา และได้ถือโอกาสดูงานกิจการศาสนาอิสลาม

ในปีพ.ศ. 2545 คณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มวะฮฺดะฮฺ และวุฒิสมาชิกประกอบด้วย นายเด่น โต๊ะมีนา,นายอารีเพ็ญ อุตรสินธ์, นายมุข สุไลมาน,นายไพศาล ยิ่งสมาน, นายนัจมุดดีน อูมา ,นายบูราฮานูดิน อุเซ็ง ผู้นำศาสนา นักวิชาการ นักกฎหมาย ชมรมนักกฎหมายมุสลิมเดินทางไปศึกษาดูงานกิจการศาสนาอิสลามในประเทศ มาเลเซีย สิงค์โปร ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา

ปี พ.ศ.2546-2548 นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงคมนาคม, รองนายกรัฐมนตรี นำคณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กลุ่มวะฮฺดะฮฺ ผู้เกี่ยวข้องเดินทางไปเยือนประเทศมุสลิม เช่น ลิเบีย มอร๊อคโค ปากีสถาน จอแดน ซีเรีย ฯลฯ เพื่อประสานงานธุรกิจอาหารฮาลาล และถือโอกาสศึกษาดูงานกิจการศาสนาอิสลามด้วย

ศาลชารีอะฮฺ ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippine Islam (Shari'ah) Courts)
บทความเรื่องศาลชารีอะฮฺ ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นผลจากการเดินศึกษาดูงานของคณะดังกล่าว ข้อมูลรายละเอียดที่จะนำเสนอต่อไป เป็นข้อมูลที่ได้รับทราบจาการเดินทางไปศึกษาดูงานและรับฟังการบรรยายสรุปจาก Atty.Metalicop A.Domando ผู้อำนวยการสำนักกิจการวัฒนาธรรมศาสนาอิสลาม Director: Beau of Muslim Cultural Affair: Office on Muslim Affair, Office of the President: Republic of the Philippines เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545

ประเทศฟิลิปปินส์โดยสรุป
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีที่ตั้งประเทศเป็นเกาะ ซึ่งมีประมาณ 7,107 เกาะ. มีพื้นที่ ประมาณ 289,170 ตร.กม หรือประมาณ 3 ใน 5 ส่วนของประเทศไทย ห่างจากประเทศไทยประมาณ 18,000 กม. การเดินทางด้วยเครื่องบินใช้เวลา 3 ชั่วโมง

ประชากร: ประมาณ 84,054,000 คน (กรกฎาคม 2548)

ศาสนา: ชาวฟิลิปปินส์ นับถือศาสนาคริสเตียน นิกายโรมันแคธอลิคประมาณ 83% (มากเป็นอันดับที่4 ของโลก) นิกายโปรแตสแตน ประมาณ 9% (มากเป็นอันดับที่ 13 ของโลก) ศาสนาอิสลาม ประมาณ 5% ศาสนาพุทธและอื่น ประมาณ 3%

ภาษา: รัฐธรรมนูญระบุให้ภาษาฟิลิปิโน(Filipino) และภาษาอังกฤษ เป็นทางภาษาทางราชการ ภาษาตากาล๊อก เป็นภาษาประจำชาติ มีการใช้ภาษาต่างๆ มากกว่า 170 ภาษา

การเมืองการปกครอง: ฟิลิปปินส์เคยตกเป็นเมืองขึ้นของสเปน และสหรัฐอเมริกา กว่า 400 ปี ได้รับเอกราชสเปนเมื่อ 12 มิถุนายน 2441-2898 ฟิลิปปินส์จัดระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามแบบ สหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ

รัฐบาล: ฟิลิปปินส์มีระบอบประธานาธิบดีเป็นรัฐเดี่ยว มีวาระสมัยละ 6 ปี มีนางกลอเรีย มาคาปากัลป์ อาร์โรโย เป็นประธานาธิบดี(H.E.Mrs.Gloria Macapagal Arroyo) (ปัจจุบัน 2552)

วัฒนธรรม: ฟิลิปปินส์เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลตะวันตก ก่อนจะมีการพัฒนาวัฒนธรรมของตนเอง วัฒนธรรมฟิลิปปินส์จะมีส่วนคล้ายคลึงประเทศแถบละตินอเมริกา ดัง อาร์โนลด์ โจเซฟ ทอยน์บี(Arnold Joseph Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษเคยกล่าวเอาไว้ว่า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศในละตินอเมริกาที่ถูกพัดพาไปยังตะวันออก โดยคลื่นทะเลยักษ์

ประเทศฟิลิปปินส์มีปัญหาชนกลุ่มน้อยมุสลิมในเกาะมินดาเนา ซึ่งมีขบวนการแบ่งแยกดินแดนเรียกว่า แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร (Moro Islam Liberation Front - MILF) (*)

(*)The Moro Islamic Liberation Front (MILF) is a Muslim revolutionary group located in Southern Philippines.[1] It is one of two Moro armed groups that claim legitimate belligerency against the Government of the Republic of the Philippines (GRP) for the oppression and suppression it had allegedly done to the Bangsamoro people since the Philippines gained independence from the United States of America in 1946. The area where the group is active is called Bangsamoro Homeland by the MILF and it covers the southern portion of Mindanao, the Sulu Archipelago, Palawan, Basilan and the neighboring islands. There are approximately 4.5 million Muslims in the Philippines[2] and the majority live within this area.

การแบ่งแยกเขตการปกครอง: (โปรดให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพื่อทำความเข้าใจ ศาลระดับต่างๆ ในภูมิภาค) ฟิลิปปินส์ แบ่งหน่วยการปกครองรัฐบาลท้องถิ่น(Local Government units) ออกเป็น

- เขต (Region) เป็น 17 เขต ซึ่งทุกจังหวัดถูกจัดอยู่ใน 16 เขต ยกเว้นเขตนครหลวงที่แบ่งเป็นเขตพิเศษ 4 แห่ง
- จังหวัด (Province) 76 จังหวัด
- เมือง (City) 60 เมือง
- เทศบาล (Municipal) 1,532 เทศบาล
- บารังไก (Baranggay) 40,904 บารังไก หน่วยท้องถิ่นเล็กที่สุดเทียบเท่าหมู่บ้าน

ศาลชารีอะฮฺ ประเทศฟิลิปปินส์
ศาลชารีอะฮฺ ประเทศฟิลิปปินส์ จัดตั้งโดยกฤษฎีกาประกาศโดยประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ ฉบับที่ 1083 ภายใต้ประมวลกฎหมายสถานภาพส่วนบุคคลมุสลิมแห่งฟิลิปปินส์(Under President Decee No 1086 & code of muslim Laws of the Philippine) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตุลาการสังกัด และอยู่ภายใต้การควบคุม กำกับและการบริหารจัดการของศาลสูง (Supreme Courts)

วิวัฒนาการความเป็นมาศาลชารีอะฮฺ ประเทศฟิลิปปินส์
ปี ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516) รัฐธรรมนูญฟิลิปปินส์, มีบทบัญญัติ และเป็นมาตรการที่บ่งชี้ถึง การรับรองสิทธิเสรีภาพของชาวฟิลิปินโน-มุสลิม (Filipino Muslim) ที่สามารถอยู่ร่วมภายใต้โครงการสร้างประเทศทั้งทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ของประเทศฟิลิปปินส์

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1977 (พ.ศ. 2520) อาศัยอำนาจกฤษฎีกาประกาศโดยประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ ฉบับที่1083 จึงได้มีประกาศ "ประมวลกฎหมายสถานะภาพส่วนบุคคลแห่งฟิลิปปินส์"

ประมวลกฎหมายสถานะภาพส่วนบุคคลแห่งฟิลิปปินส์ระบุ กำหนดให้มีการจัดตั้ง "ศาลชารีอะฮฺ" ในจังหวัด ในเมือง ในเขตการปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม (Autonomous Region in Muslim Mindanao: ARMM) และได้มีการจัดตั้งศาลชารีอะฮฺ 2 ระดับดังนี้

1. ศาลชารีอะฮฺ มณฑล (Shari'ah District Courts)
2. ศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล (Shari'ah Circuit Courts)

ปี ค.ศ.1985 (พ.ศ.2538) ศาลชารีอะฮฺมีการสถาปนและเปิดดำเนินการพิพากษา พิจารณาอรรถคดีอย่างจริงจังเป็นทางการ ภายหลังใช้เวลา 8 ปี หลังจากกฤษฏีกาประกาศโดยประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ ฉบับที่ 1083 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1977 (พ.ศ. 2520) เนื่องจากมีความไม่พร้อมเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากความขาดแคลนด้านบุคลากรที่จะบรรจุหรือแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษา และตำแหน่งอื่นในศาลดังกล่าว

วันที่ 1 สิงหาคม 1989 (พ.ศ.2532) เมื่อรัฐบาลประกาศสถาปนาเขต ปกครองตนเองมุสลิมมินดาเนาได้มีการจัดจัดตั้งศาลชารีอะฮฺ 3 ระดับดังนี้

1. ศาลชารีอะฮฺ มณฑล (Shari'ah District Courts)
2. ศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล (Shari'ah Circuit Courts)
3. ศาลชารีอะฮฺ อุทรธรณ์ (Shari'ah Apellate Courts)

ศาลชารีอะฮฺ อุทธรณ์ มีฐานะ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเทียบเท่าศาลยุติธรรม ศาลอุทรธรณ์โดยข้อเท็จจริงแล้วไม่เคยปรากฏว่าศาลอาชีอะฮฺอุทธรณ์เปิดศาลเพื่อพิจารณาไต่สวนคดีใดๆ นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมา โดยข้อเท็จจริงแล้วการจัดตั้งศาลชารีอะฮฺอุทรธรณ์ เป็นผลจากการลงประชามติโดยประชาชน เมื่อ 19 พฤศจิกายน 1989 (พ.ศ.2532)

ปี 1997 (พ.ศ.2540) ศาลชารีอะฮฺ มณฑล 5 แห่ง, ศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล 51 แห่ง เปิดพิจารณาพิพากษาคดี และปัจจุบันยังคงเหลือผู้พิพากษา ศาลชารีอะฮฺ มณฑล 1 ท่านและผู้พิพากษาศาลปริมณฑลจำนวน 18 ท่านยังคงอยู่ปฏิบัติงาน ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺมณฑล 2 ท่านและผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺปริมณฑล 5 ท่านลาออกและเสียชีวิต. สรุปแล้ว ในปัจจุบันตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺมณฑลมีอัตราว่าง 4 อัตรา ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺปริมณฑลมีอัตราว่าง 23 อัตรา

การจัดตั้งและเขตอำนาจศาลชารีอะฮฺ
ศาลชารีอะฮฺแบ่งออกเป็น 2 ชั้น มีอำนาจหน้าที่ในการพิพากษาอรรถคดีการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อขัดแย้งที่เกี่ยวกับคดีที่ปรากฏในประมวลกฎหมายสถานภาพส่วนบุคคลมุสลิมแห่งประเทศฟิลิปปินส์

1. ศาลชารีอะฮฺ มณฑล (Shari'ah District Courts) มีขอบเขตอำนาจหน้าที่เทียบเท่าศาลยุติธรรมเขต (Regional Trial Courts)
2. ศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล (Shari'ah Circuit Courts) มีขอบเขตอำนาจหน้าที่เทียบเท่าศาลยุติธรรมเทศบาล หรือมหานคร
(Municipal Trial Courts)

ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺ มณฑล

ORGANIZATION STRUCTURE OF SHARI'AH COURTS
Under Presidential Decree No.1083
(Code of Muslim Personal Laws of the Philippines)


ศาลชารีอะฮฺ มณฑล (Shari'ah Circuit Courts)

ศาลชารีอะฮฺ มณฑล ได้จัดตั้งขึ้นในเขต (Region) พื้นที่ที่มีผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนมากเช่นเดียวกับประเทศที่มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ทั้งนี้ได้คำนึงถึงปริมาณคดีและการบริหารบุคลากรของศาล และได้มีการตั้งแล้วจำนวน 5 ศาล ศาลชารีอะฮฺ มณฑลในแต่ละศาลประกอบด้วยผู้พิพากษาเป็นหัวหน้า 1 คนดังนี้ (ดูแผนภูมิประกอบ)

1. ศาลชารีอะฮฺ มณฑล ที่ 1 มีที่ตั้งอยู่ที่เมือง Jolo มีอำนาจศาลตลอดเขตท้องที่จังหวัด Province of Sulu
ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺ มณฑล กำกับดูแล ศาลชารีอะฮฺ มณฑล 6 ศาล

2. ศาลชารีอะฮฺ มณฑล ที่ 2 มีที่ตั้งอยู่ที่เมือง Bangao มีอำนาจศาลตลอดเขตท้องที่จังหวัด Province of Tawi-Tawi
ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺ มณฑล กำกับดูแล ศาลชารีอะฮฺ มณฑล 8 ศาล

3. ศาลชารีอะฮฺ มณฑล ที่ 3 มีที่ตั้งอยู่ที่เมือง Zamboanga City มีอำนาจศาลตลอดเขตท้องที่จังหวัด Province of basilan, Zamboanga Del Norte& Del Sur และเมือง The City of Dipolog Pagadian& Zamboanga ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺกำกับดูแลศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล 10 ศาล

4. ศาลชารีอะฮฺ มณฑล ที่ 4 มีที่ตั้งอยู่ที่เมือง Marawi City มีอำนาจศาลตลอดเขตท้องที่จังหวัด Province of Lanao Del Sur Lanao Del Norte และเมือง Cities of illgan & Marawi ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺ กำกับดูแล ศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล 12 ศาล

5. ศาลชารีอะฮฺ มณฑล ที่ 5 มีที่ตั้งอยู่ที่เมือง Cotabato City มีอำนาจศาลตลอดเขตท้องที่จังหวัด Province of Maguindanao,North Cotabato,Sultan Kudarat ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺ กำกับดูแล ศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล 15 ศาล

สรุป

1. ศาลชารีอะฮฺ มณฑล (Shari'ah District Courts) จำนวน 5 ศาล
2. ศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล (Shari'ah Circuit Courts) จำนวน 51 ศาล

การแต่งตั้งผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺ มณฑล และผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล มีผู้พิพากษาทีมีอำนาจในท้องที่ครอบคลุมในพื้นที่รับผิดชอบและอยู่ภายใต้การกำกับแยกเฉพาะภายใต้ผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺ มณฑล. ผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ โดยคำแนะนำของเนติบัณฑิตสภา (The Judicicial bar Council)

คุณสมบัติผู้พิพากษา
ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺมณฑลต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. เป็นผู้มีสัญชาติฟิลิปปินส์โดยกำเนิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีสมบูรณ์
3. เคยเป็น หรือเคยปฏิบัติงานด้านกฎหมายในประเทศฟิลิปปินส์ไม่น้อยกว่า10 ปี
4. สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายอิสลาม และนิติศาสตร์อิสลาม

ผู้ที่จะได้การรับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑลต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. เป็นผู้มีสัญชาติฟิลิปปินส์โดยกำเนิด
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีสมบูรณ์
3. ผ่านการทดลองวิชา ชารีอะฮฺ วิชานิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกคฺ) โดยศาลสูงเปิดสอบขึ้นเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตส และฝึกงานในศาลชารีอะฮฺ

การพ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษา

1. ตาย
2. ลาออก
3. เมื่อมีอายุ 65 ปีบริบูรณ์
4. เป็นผู้ที่ไร้ความสามารถ
5. ศาลสูงมีคำสั่งให้ออกเนื่องจากมีความประพฤติผิดวินัยแห่งการเป็นผู้พิพากษา เช่นเดียวกับกฎวินัยผู้พิพากษาศาลยุติธรรมภาค และศาลยุติธรรมเทศบาล ศาลยุติมหานคร

สวัสดิการอื่นๆ
อัตราเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการอื่นๆ ของผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺมณฑล และผู้พิพากษาศาลชารีอะฮฺปริมณฑล มีสิทธิเสมอภาคกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรม และผู้พิพากษาศาลยุติธรรมภาคเทศบาล

เขตอำนาจศาล
ศาลชารีอะฮฺมณฑล มีเขตอำนาจศาลดังนี้ อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตามอำนาจเฉพาะของศาลชารีอะฮฺ

1. คดีเกี่ยวกับการพิทักษ์คุ้มครอง สิทธิบุคคล คดีเกี่ยวกับกับฐานะของบิดา คดีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุตรกับบิดา มารดา ฯลฯ ตามที่ระบุในประมวลกฎหมายสถานภาพส่วนบุคคลมุสลิมแห่งฟิลิปปินส์

2. คดีที่เกี่ยวกับการแบ่งสรรมรดก คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เสียชีวิต การพิสูจน์พินัยกรรม การออกคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ฯลฯ

3. กรณีอื่นๆ ที่เกิดจากการทำนิติกรรม สัญญา ซึ่งคู่กรณีเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม และคู่กรณีไม่ประสงค์ใช้กฎหมายทั่วไปในศาลยุติธรรม และแสดงความจำนงจะใช้ธรรมเนียมกฎหมายชารีอะฮฺตัดสิน การร้องทุกข์ทั้งปวงที่เกี่ยวกับคำสั่งศาล คำสั่งให้ละเว้นหรือห้าม หรือคำสั่งคุ้มครอง คำสั่งตักเตือน หมายเรียกคำสั่งเรียกให้บุคคลมาปรากฏตัวตลอดจนคำสั่งอื่น เพื่อเป็นการสนับสนุนการพิจารณาคดีอุทธรณ์

อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งที่เท่าเทียมกับอำนาจศาลแพ่ง

1. คำร้องของมุสลิมที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว การเปลี่ยนชื่อ -สกุล การออกคำสั่งส่งบุคคลที่มีจิตวิปลาสหรือวิกลจริต
ให้อยู่ภายใต้การดูแลของสถานพยาบาลโรคจิต

2. คำร้องที่เกี่ยวข้องนอกจากข้อ 1. ซึ่งคู่กรณีที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เกี่ยวกับการใช้กำลังครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจอยู่ในเขตของอำนาจศาลเทศบาล เป็นต้น

3. กรณีฟ้องร้อง การกล่าวหา การกล่าวโทษ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นหรือเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งเป็นมุสลิม

อำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีอุทธรณ์

1. ศาลชารีอะฮฺมณฑลมีอำนาจในการพิพากษาคดีอุทธรณ์ ที่ศาลชารีอะฮฺปริมณฑลที่พิพากษาทุกคดีและคดีที่พิพากษาแล้วในศาลชารีอะฮฺในเขตที่กำกับ
2. ศาลชารีอะฮฺมณฑล มีอำนาจในการพิพากษาคดีทุกคดีที่มีการร้องทุกข์บนพื้นฐานของหลักฐาน พยาน และบันทึกบรรยายสรุป การให้ปากคำ

ศาลชารีอะฮฺปริมณฑลมีเขตอำนาจศาลดังนี้

1. ทุกคดีที่เกี่ยวกับการละเมิดการกำหนด การลงโทษตามที่ระบุในประมวลกฎหมายสถานะภาพส่วนบุคคลมุสลิมแห่งฟิลิปปินส์

2. คดีที่เกี่ยวกับความแพ่งวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งคู่กรณีเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามตามกฤษฎีกาประกาศโดยประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ฉบับที่ 1083 (Under President Decee No 1086) ซึ่งเกิดความพิพาทเกี่ยวกับกรณีดังต่อไปนี้

ก. การแต่งงาน
ข. การหย่าร้าง
ค. การหมั้นหรือสัญญาจะแต่งงาน
ง. สินสมรส(มะหัร)
จ. การแบ่ง การจัดสรรทรัพย์สิน หลังจากการนิกะฮฺสิ้นสุด
ฉ. การชดเชยค่าตอบแทน ค่าอุปการะเลี้ยงดู
ช. การชดเชยใช้ตามสิทธิของการแต่งงาน

3. ทุกคดีที่เกี่ยวกับกับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินชุมชน ฯลฯ

เสมียนศาลและพนักงานลูกจ้าง
ศาลชารีอะฮฺ มณฑล และศาลชารีอะฮฺ ปริมณฑล จะมีเสมียนศาลและพนักงานลูกจ้าง เหมือนอัตรากำลังเจ้าหน้าที่การบริหารบุคคลที่กำหนดในศาลยุติธรรม. ระเบียบการบริหารบุคคลการจัดสำนักงานให้คำนึงถึงปริมาณงานจำนวนบุคลากร คุณวุฒิ คุณสมบัติ การแต่งงาน โยกย้าย อัตราเงินเดือนค่าตอบแทน หน้าที่ความรับผิดชอบโดยการเทียบเคียงกับศาลภาคหรือศาลเทศบาล หรือศาลมหานคร

ระเบียบพิเศษเกี่ยวกับการพิพากษาอรรถคดี
ศาลชารีอะฮฺ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยระเบียบพิเศษ ที่เกี่ยวกับกระบวนการซึ่งศาลสูงฟิลิปปินส์ และมติ EN BANCE ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 1983 (พ.ศ.2526) ดังนี้

1. มติ EN BANCE ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 1983 กำหนดระเบียบวิธีการปฏิบัติกระบวนการของศาลยุติธรรมเทศบาล ตาม Section 36, Batas Pambansa Blb.129 Dated August 11,983 กำหนดระเบียบ ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม ศาลในคดีต่างๆเป็นการเฉพาะ

2. กระบวนการวิธีการพิจารณาการสอบสวน และธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการอิสลาม (Agama Council) ในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ในประเทศมาเลเซีย สิงค์โปร บรูไน ภาคใต้ของประเทศไทยหรือประเทศมุสลิมทั่วไปใช้แนวทาง

3. ตำรา กีตาบ ของนักปราชญ์นักกฎหมายอิสลามที่มีชื่อเสียงเช่น Abdel Rahim , Sobre Mahmasani Abdel Fadel Azzate และอื่นๆ รวมทั้ง Lajallah รวมทั้งประมวลกฎหมายตรุกี ซึ่งอ้างอิงนักกฎหมายมุสลิม อ้างอิงหลักฐานที่มาจากบทบัญญัติในอัลกุรอ่าน อัลฮะดิษ นักปราชญ์ นักกฎหมายมุสลิมอื่นๆ

4. ระเบียบวิธีปฏิบัติของศาลกฤษฎีกาประกาศโดยประธานาธิบดีแห่ง ฟิลิปปินส์ ฉบับที่ 1083 กฎหมาย ฟิลิปปินส์

ORGANIZATIONAL STRUCTURE OF PHILIPPINE COURT


กระบวนการวิธีปฏิบัติทั่วๆไป

1. การฟ้องศาลชารีอะฮฺ กระทำได้เมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนการฟ้อง โดยผู้ร้องทุกข์หรือโจทก์ยื่นคำฟ้อง 3 ฉบับ ผู้ร้องทุกข์ (Mudda'i) โดยทนายความ (Wakil) หรือโดยเสมียนศาล

2. คำฟ้องประกอบด้วย

- หัวข้อเรื่องคดี เรื่องคดี เลขที่คดี วัน เดือน ปี
- ชื่อ-สกุล ที่อยู่ของโจทก์หรือทนาย
- ชื่อ-สกุล ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย (Mudda'aalai)
- ระบุสาเหตุในข้อกล่าวหา และคำขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง

3. หมายเรียกของศาล ศาลอาจออกหมายเรียกพร้อมแนบคำร้องทุกข์กล่าวโทษของโจทก์ ส่งถึงผู้ถูกกล่าวหา
4. การตอบรับ ผู้ถูกกล่าวหาจะตอบรับภายในระยะเวลา 10 วัน หลังจากได้รับหมายเรียก การตอบรับกระทำด้วยตนเอง หรือทนายความเสมียนศาลก็ได้

5. การปฏิเสธหรือไม่รับหมายศาล กรณีผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธข้อกล่าวหาภายในกำหนด 10 วัน ศาลอาจพิจารณาไต่สวนพยานฝ่ายเดียวก็ได้

6. การไต่สวนเบื้องต้น หลังจากไม่มีการตอบรับไม่น้อยกว่า 30 วัน ศาลก็จะกำหนดปฏิทินการดำเนินการ การไต่สวน ตามวันเวลาที่คู่กรณีสะดวกมาตามนัด ซึ่งศาลจะมีการนัดหมายและเริ่มดำเนินการไต่สวนตามกำหนด

- ภายในระยะเวลา 10 วันหลังจากได้รับหนังสือ คู่กรณีหรือทนายความเริ่มเสนอคำแถลง พยาน และหลักฐานอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน พร้อมบันทึก

ศาลจะพิจารณาจากข้อแก้ต่างพยาน หลักฐาน บันทึกคำให้การ ผู้พิพากษาอาจกระทำโดยไม่ต้องฟังจากการไต่สวนจากปากโดยตรงก็ได้ และศาลอาจพิจารณาพิพากษา ก่อนระยะเวลา 15 วันก็ได้

7. การรับฟังการไต่สวน

- โจทก์มีภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ตามข้อกล่าวหา โจทก์ต้องให้การสาบาน (Yamin) ในกรณีผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลย โดยโจทก์ไม่มีหลักฐานหรือพยานสนับสนุนประกอบข้อกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาก็จะให้การสาบาน และศาลจะพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัย

กรณีผู้ถูกกล่าวหาปฏิเสธการให้การสาบาน ผู้ร้องทุกข์อาจยืนยันข้อกล่าวหา แล้วให้สาบาน และศาลอาจพิจารณาพิพากษาตามความเหมาะสม หากผู้กล่าวหาปฏิเสธที่จะยืนยันข้อกล่าวหาด้วยการสาบานแล้ว ศาลอาจพิจารณายกฟ้องได้

- กรณีผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพตามคำฟ้องของโจทก์ ผู้พิพากษาอาจพิจารณาพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยาน
- กรณีผู้ถูกกล่าวหาสู้คดี ผู้พิพากษาจะให้ผู้ถูกกล่าวหาแก้ต่าง และนำเข้าสู่กระบวนการหากไม่มีพยานหลักฐานนำเสนอ ซึ่งจะทำให้มีภาระในการพิสูจน์ที่ซับซ้อนขึ้น คำให้การในขั้นไต่สวนเบื้องต้น จะถูกนำมาเป็นพื้นฐานใช้ในการซัก ทั้งผู้กล่าวหาและผู้ถูกกล่าวหา

8. การพิพากษาตัดสินคดี

- ศาลจะพิพากษาตัดสินคดีภายใน 15 วัน หลังจากได้มีการไต่สวนสิ้นสุดลง มีแนวโน้มว่าคดีจะไม่มีการสอบสวนหรือรับฟังกล่าวหาอีก
- การพิพากษาจะเป็นไปตามกรอบเวลาและนับตั้งแต่การร้องทุกข์กล่าวโทษ และศาลอาจออกคำสั่งบังคับคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย

9. การอุทธรณ์
การอุทธรณ์ กระทำโดยยื่นคำร้องตามแบบต่อศาล และเสียค่าธรรมเนียมภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ศาลพิพากษาตัดสิน

10. การอุทธรณ์ศาลชารีอะฮฺมณฑล
ภายในระยะเวลา 5 วันที่ได้มีการยื่นอุทธรณ์เสร็จสมบูรณ์ ในขั้นตอนการขออุทธรณ์ เสมียนศาลจะรวบรวมเอกสารต้นฉบับส่งศาลชารีอะฮฺมณฑล
เพื่อดำเนินการต่อไปนี้

11. การอุทธรณ์ศาลสูง
เสมียนศาลจะรวบรวมเอกสาร บันทึก เอกสารต้นฉบับ สำเนา เอกสาร หลักฐานพยานหลักฐาน พยานหลักฐานต่างๆ แล้วแจ้งให้คู่กรณีทราบ

12. การวินิจฉัยชี้ขาด (Fatwa)
ก่อนที่ศาลจะพิพากษาตัดสินคดี ศาลจะทำการศึกษา ค้นคว้าจากคำพิพากษาในคดีก่อน และความเห็นจากคำวินิจฉัยชี้ขาดจาก ภายใต้ประมวลกฎหมาย สถานภาพส่วนบุคคลมุสลิมแห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งการวินิจฉัยชี้ขาดจากที่ประชุมในกรณีปัญหาซับซ้อนและพิจารณาอย่างสงละเอียดรอบคอบจากกฎหมายชารีอะฮฺ นิติศาสตร์อิสลามประกอบ

13. การแก้ต่างและการร้องขอต่อศาลที่ไม่เป็นที่อนุมัติ
ศาลอาจไม่รับร้องแก้ต่างการสู้คดี การร้องทุกข์อุทธรณ์หรือการร้องขอศาลที่ไม่เป็นที่อนุมัติ

1. การร้องต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งยกฟ้อง
2. การร้องต่อศาลให้ศาลพิจารณาตามกฎหมายเฉพาะ
3. การร้องต่อศาลให้ศาลขยายเวลาแก้ต่าง
4. การร้องต่อศาลให้ศาลให้ประกาศจะเลยยอมแพ้คดี
5. การยอมให้บุคคลที่สามร่วมร้องทุกข์กล่าวโทษหรือแทรกแซงคดี
6. การอุทธรณ์คดีจากศาลชั้นต้นหรือศาลสูงสุด การห้ามต่อต้าน การสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งศาล
7. การแทรกแซงเพื่อบรรเทาหรือยกฟ้อง
8. การร้องต่อศาลให้ศาลเพื่อไต่สวนใหม่
9. การเตะถ่วงหรือเลื่อนการพิจารณา

การสาบาน(Yamin)
การสาบานเป็นกระบวนการหนึ่งที่กำหนดในกฎหมายอิสลาม ซึ่งศาลจะมีคำสั่งให้คู่กรณีที่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามกล่าวสาบาน เพื่อต้องการรับข้อเท็จจริงเพื่อให้เป็นการยืนยันในพยานหลักฐาน การสาบานอาจใช้เป็นการยืนยันพิสูจน์หรือใช้เพื่ออ้างพยานหรือหลักฐานที่ไม่อาจจัดมาได้

การสาบานอนุญาตให้ใช้กับผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎหมายนิติศาสตร์อิสลามเท่านั้น และการสาบานพึงกระทำอย่างเคร่งขรึมและจริงจัง มิใช่การใช้การสาบานเพื่อพร่ำเพรื่อเท่านั้น การสาบานถือเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อใช้ในการยืนยันหรือรับรองตามกฎหมายอิสลาม. ศาลอาจจัด วัน เวลา สถานที่ที่เหมาะสมและสถานที่สาบานหรือยืนยันโดยบางคน หากการกำหนดวัน เวลา ซึ่งคู่กรณีที่จะยืนยันบุคคลที่จะสาบานปฏิเสธที่จะให้การสาบาน ศาลอาจแขวนการพิจารณาก็ได้

การสาบานซึ่งทั้งสองต้องสาบานต่อหน้ากันและกัน(Tahlif)
กรณีที่มีการยืนยันอ้างซึ่งกันและกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายสาบานต่อหน้ากันและกัน

การสาบานยืนยันกันและกัน(Li'an)
กรณีสามี(มุสลิม) ทำการสาบานยืนยันในการกล่าวหาว่าภริยาของตนผิดประเวณี หรือยืนยันในการที่จะปฏิเสธการรับบุตรที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดแก่ภริยาเท่านั้น ในกรณีสามีไม่อาจหาพยานหลักฐานยืนยันการผิดประเวณีตามบทบัญญัติในกฎหมายอิสลาม และภริยาไม่ยอมรับข้อกล่าวหาดังกล่าว หรือปฏิเสธ ศาลอาจมีคำสั่งให้ทั้งสามีและภริยาซึ่งเป็นมุสลิมทำการสาบานยืนยัน เมื่อสามีกล่าวคำสาบานยืนยันเสร็จแล้ว ให้ภริยากล่าวสาบานปฏิเสธข้อกล่าวหาต้อหน้าศาล ความเป็นสามี ภริยาได้สิ้นสุดลง เมื่อสามีกล่าวคำสาบานยืนยันเสร็จ ศาลจะออกหนังสือหย่าตามที่กฎหมายสถานภาพส่วนบุคคลมุสลิมแห่งฟิลิปินส์ต่อไป

คณะกรรมการวินิจฉัยศาสนา (Agama Arbitartion Council)
ศาลชารีอะฮฺมณฑล หรือศาลชารีอะฮฺปริมณฑล อาจแต่งตั้งกรรมการชี้ขาด ด้านศาสนากรณีมีการหย่าร้างโดยการฏอลาก (Talaq: คือการคลายนิติสัมพันธ์ การนิกะฮฺของสามีอันเป็นผลทำให้สิ้นสุดการนิกะฮฺกับภรรยา) เมื่อสามีเปล่งวาจาฏอลากต่อภรรยาเขา หรือด้วยการทำหนังสือแสดงเจตนาและตัฟวีด (Tafwid) อันเนื่องจาการแต่งงานและกระทำผิดกฎหมายประเพณี เสมียนศาลชารีอะฮฺ อาจทำหน้าที่เป็นประธานร่วมกับตัวแทนของคู่กรณีแต่ละฝ่าย

คณะกรรมการวินิจฉัยศาสนาจัดตั้งโดยอาศัยอำนาจประมวลกฎหมายสถานภาพส่วนบุคคลมุสลิม แห่งฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่คอยกำกับดูแลการพิจารณา วิธีการพิพากษาของศาล สนับสนุนแนะนำ ให้คำปรึกษา กรณีคดีที่มีความซับซ้อน นำสู่การพิจารณาร่วมกันวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมของความขัดแย้ง หรือข้อพิพาททำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย ปรองดอง หรือประนีประนอมแก่คู่กรณี ตลอดจนการเร่งรัดในการพิพากษา ฯลฯ

ที่ปรึกษากฎหมายอิสลาม(Jurisconsul in Islamic Law)
ที่ปรึกษากฎหมายอิสลามเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่ในการให้ความเห็นอย่างเป็นทางการในปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายชารีอะฮฺกฎหมายอิสลาม. ตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมายอิสลาม แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 7 ปี เว้นแต่ถูกถอดถอนเมื่อขาดคุณสมบัติ ที่ปรึกษากฎหมายอิสลามขึ้นตรงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของศาลสูง ที่ปรึกษากฎหมายอิสลามมีสำนักงานประจำที่ City of Zamboanga และที่ปรึกษากฎหมายอิสลามจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

- เป็นพลเมืองฟิลิปปินส์โดยกำเนิด
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์
- มีบุคลิกและความประพฤติเรียบร้อย เป็นผู้ยึดมั่นในหลักคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม และเหมาะสมในการปฏิบัติตนเพื่อเป็นหลักประกันในความยุติธรรม
- เป็นนักวิชาการมีความรู้ที่เป็นที่รู้จักด้านกรุอ่าน อัลฮะดิษ และกฎหมายอิสลาม
- เป็นผู้ที่มีความสามารถในการเขียน อ่าน พูด ภาษาอาหรับเป็นอย่างดี

บทส่งท้าย

1) สำนักกิจการศาสนาอิสลามสังกัดสำนักประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เป็นส่วนราชการฝ่ายบริหาร ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการศาสนาอิสลามทั่วไป แต่มิได้มีหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแล

ศาลชารีอะฮฺมณฑล ศาลชารีอะฮฺปริมณฑล ซึ่งเป็นส่วนราชการฝ่ายตุลาการซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารกำกับดูแลโดยศาลสูง

สำนักกิจการศาสนาอิสลามสังกัดสำนักประธานาธิบดีฟิลิปปินส์มีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน การเสริมสร้างความรู้ การพัฒนาบุคลากร การให้ความรู้ การศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม กฎหมายชารีอะฮฺการจัดการฝึกอบรม

การจัดฝึกอบรมสัมมนา หลักสูตรกฎหมายอิสลาม กฎหมายชารีอะฮฺ การเตรียมบุคลากรในศาลชารีอะฮฺหลักสูตรสัมมนา อบรม รวม 45 วัน มีศูนย์การฝึกอบรม Shari'ah Training Center รวม 5 ศูนย์คือ

1. ศูนย์ฝึกอบรม University of the Philippines (UP)
2. ศูนย์ฝึกอบรม เมือง Diliman
3. ศูนย์ฝึกอบรมที่เมือง Quezon City
4. ศูนย์ฝึกอบรมที่เมือง Marawi & Zamboanga
5. ศูนย์ฝึกอบรมที่เมือง Jojo

สำนักกิจการศาสนาอิสลามสังกัดสำนักประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ได้ทำการสำรวจ วิจัย เกี่ยวกับการใช้กฎหมายชารีอะฮฺ กฎหมายอิสลาม การรับรอง รับการขยายตัวของมุสลิมในเขตเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ และพิจารณาเสนอการแก้ไขกฤษฎีกา ประกาศโดยประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ ฉบับที่ 1083 ต่อสภาคองแกรสโดยประสานอย่างใกล้ชิดกับสมาชิกรัฐสภามุสลิมฟิลิปปินส์ ผลักดันข้อพิจารณาการขยายการจัดตั้งศาลชารีอะฮฺ เพิ่มขึ้นในเมืองต่างๆ ที่ชาวมุสลิมเข้ามาอาศัยเพิ่มเป็นจำนวนมาก เช่นใน เมือง Metro-manila เมือง Metro Cebu เมือง City of Cagayan de Oro และเมือง Davao ฯลฯ

2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลุ่มวะฮดะฮฺ ยังคงมีความมุ่งมั่น ในการผลักดัน การเสนอกฎหมายเพื่อจัดตั้งศาลชารีอะฮฺขึ้นในประเทศไทยต่อไป ครั้งสุดท้ายสมาชิกกลุ่มวะฮฺดะฮฺ ได้เข้าพบ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี โดยหยิบยกเรื่อง และขอความเห็นเกี่ยวกับการเสนอ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลชารีอะฮฺในประเทศไทย ได้รับความเห็นว่า "ประเทศไทยมีศาลอะไรต่อมิอะไรมากมาย นับตั้งแต่ศาลปกครอง ศาลลิขสิทธิ์ ศาลจราจร ศาลคุ้มครอง เด็กและเยาวชน ฯลฯ ทำไมไม่เพื่อเป็นการสนองสิทธิของประชาชนทุกหมู่เหล่า อย่างทั่วถ้วนหน้า เราจะมีศาลชารีอะฮฺขึ้นมาไม่ได้เชียวหรือ?"

ในขณะประเทศต่างๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยมุสลิม เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ประเทศเหล่านี้ ต่างมีศาลชารีอะฮฺ ที่มีการบริหารจัดการที่ก้าวหน้า มีการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนกระบวนการอำนวยความยุติธรรมได้อย่างลงตัว ที่สำคัญที่สุดการที่ผู้นำประเทศเหล่านี้ได้ให้โอกาส ให้เกียรติ รักษาสิทธิแก่ชนกลุ่มน้อย ตามครรลองประชาธิปไตยที่ว่า "คือการปกครองของชนส่วนมาก แต่เคารพสิทธิของชนส่วนน้อย" อย่างแท้จริง นับเป็นกุศโลบายที่ชาญฉลาด มองการณ์ไกล ในอันที่จะสร้างความปรองดอง ความสามัคคีในชาติอย่างแท้จริง และนับเป็นหนทางหนึ่งในการลดเงื่อนไข นำสู่ความสงบเรียบร้อยภายในชาติ ยิ่งสืบไป... อินชาอัลลอฮฺ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com