ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 30 March 2009 : Copyleft MNU.

มโนภาพ มีอยู่สองชนิดคือ มโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea) เป็นมโนภาพที่เกิดจากรอยประทับ(impression) ซึ่งได้รับมาจากประ สบการณ์ทางประสาทสัมผัส(sensation) โดยตรง และมนุษย์ได้ผสมผสานมโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea) ต่างๆเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดมโนภาพเชิงซ้อน(complex idea) ซึ่งเป็นภาพของสิ่งที่ไม่อยู่จริงในโลกภายนอก ดังนั้นอสูรกายในเรื่องราวสยองขวัญซึ่งไม่มีปรากฏอยู่จริงในโลกภายนอก จึงสามารถถูกรู้จักได้ในฐานะมโนภาพเชิงซ้อน(complex idea) ซึ่งเป็นสิ่งที่รวบรวมเอาคุณลักษณะหรือมโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea) ของสิ่งอื่นๆ มาประกอบกันขึ้นเป็นตัวเป็นตนไว้ด้วยกัน มโนภาพเชิงเดี่ยวหรือคุณลักษณะเหล่านั้น ย่อมประกอบไปด้วยมโนภาพสิ่งที่สามารถสร้างความน่าหวาดกลัว

H



30-03-2552 (1709)
ปัญหาทางปรัชญาและจิตวิทยาในภาพยนตร์สยองขวัญ
คำตอบจิตวิทยา: ทำไมเราจึงรู้สึกกลัวเมื่อชมภาพยนตร์สยองขวัญ
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานค้นคว้าอิสระ เรื่อง
"การวิเคราะห์แนวทางการนำเสนอภาพยนตร์แนวสยองขวัญ"
ชื่อผู้วิจัย: วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ (นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ)
คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ: รองศาสตราจารย์ สมเกียรติ ตั้งนโม
อาจารย์ ทัศนัย เศรษฐเสรี, อาจารย์ วีระพันธ์ จันทร์หอม
บนหน้าเว็บเพจนี้ นำมาจากบางส่วนของบทที่ ๔ หัวเรื่อง
ปัญหาทางปรัชญาและจิตวิทยาในภาพยนตร์สยองขวัญ

งานวิจัยภาพยนตร์แนวสยองขวัญนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- บทนำ: ทฤษฎีของ Noel Carroll
- 1. ทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องแต่ง (The Illusion Theory of Fiction)
- 2. ทฤษฏีแสร้งทำของการตอบสนองต่อเรื่องราวที่แต่งขึ้น (The Pretend Theory of Fiction Response)
- 3. ทฤษฏีความคิดในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องแต่ง (The Thought Theory of Emotional Responses of fictions)
- 4. ทฤษฏีความคิดในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องแต่ง (The Thought Theory of Emotional Responses of fictions)
- 5. ข้อสรุปทางทฤษฏีเกี่ยวกับความหวาดกลัวสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
- Kendall Walton: Quasi fear & pretend emotion
- มโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea) มโนภาพเชิงซ้อน(complex idea)
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๐๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ปัญหาทางปรัชญาและจิตวิทยาในภาพยนตร์สยองขวัญ
คำตอบจิตวิทยา: ทำไมเราจึงรู้สึกกลัวเมื่อชมภาพยนตร์สยองขวัญ
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทนำ: ทฤษฎีของ Noel Carroll
Noel Carroll นักปรัชญาด้านวัฒนธรรมและภาพยนตร์ ได้ตั้งคำถามถึงข้อขัดแย้งประการหนึ่งเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกด้านลบที่เกิดขึ้นต่อผู้ชมในการรับชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญ เช่น ความหวาดกลัวและความขยะแขยงที่เกิดขึ้นในผู้ชม เมื่อได้เผชิญหน้ากับอสูรกายหรืออมนุษย์ในภาพยนตร์เขย่าขวัญ โดยตลอดการชมภาพยนตร์นั้น ผู้ชมตระหนักอยู่เสมอว่าสิ่งที่ปรากฏต่อหน้าบนจอภาพยนตร์นั้นไม่ได้มีอยู่จริง และตัวผู้ชมเองกำลังรับชมสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริงนั้น ซึ่งได้นำมาสู่คำถามว่า ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญมีอารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัวและขยะแขยงต่อสิ่งที่พวกเขารู้ว่ามันไม่มีอยู่จริงได้อย่างไร?

Carroll เสนอว่า โดยปกติแล้ว มนุษย์มักถูกทำให้มีอารมณ์คล้อยตามไปกับบุคลิกและสถานการณ์ของบุคคลอื่นๆ เราเสียใจกับคนซึ่งมีเคราะห์ร้าย เรารู้สึกขุ่นเคืองกับความอยุติธรรม ปฏิกิริยาของเราที่มีต่อตัวละครในนิยายหรือภาพยนตร์ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันนี้ด้วย ซึ่ง Carroll ได้เสนอทฤษฏีเพื่อใช้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของผู้ชมที่คล้อยไปตามบุคคลหรือสถานการณ์ในเรื่องแต่งเหล่านั้นไว้ดังนี้

1. ทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องแต่ง (The Illusion Theory of Fiction)
ทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องแต่ง มีสมมติฐานเบื้องต้นว่า อารมณ์ของมนุษย์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่ถูกรับรู้ก็ต่อเมื่อ มนุษย์เกิดความเชื่อในเหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้นๆ (1) ซึ่งในกรณีของนวนิยายหรือภาพยนตร์ การที่ผู้ชมหรือผู้อ่านเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับเหตุการณ์ที่ถูกเล่านั้น มีสาเหตุมาจากผู้ชมหรือผู้อ่านเรื่องราวดังกล่าว เกิดความเชื่อถึงสิ่งที่ถูกเล่าอยู่เบื้องหน้า

(1) Noel Carroll, "Metaphysics and Horror, or Relating to Fictions" , Philosophy of Horror or Paradoxes of the Heart, (Chapman and Hall, Inc.1990), หน้า 63

ในการชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญ ผู้ชมจะถูกกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัวและขยะแขยง โดยภาพของอมนุษย์ที่ปรากฏขึ้นบนจอภาพยนตร์เบื้องหน้า ด้วยเทคนิคการใช้ภาพและเสียงของภาพยนตร์ที่กระตุ้นเร้าอารมณ์ของผู้ชม กล่าวคือ ผู้ชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญจะเกิดอารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัวและขยะแขยงขึ้นมา เนื่องจากผู้ชมเกิดความเชื่อว่า ณ ชั่วขณะที่ชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญนั้น มีอสูรกายหรืออมนุษย์(อันเป็นสาเหตุแห่งความกลัว)ปรากฏขึ้นต่อหน้าพวกเขาในลักษณะที่เป็นการคุกคามเป็นอันตรายและน่าขยะแขยง ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกิดจากการรับรู้ภาพและเสียงที่ถูกสร้างโดยเทคนิคทางภาพยนตร์

กระนั้นก็ตามคำอธิบายของทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องแต่งนี้ก็ได้ทำให้เกิดปัญหาตามมาประการหนึ่งคือ ในเมื่อผู้ชมภาพยนตร์เชื่อว่า มีอมนุษย์ที่เป็นอันตรายปรากฏขึ้นต่อหน้าจริง เหตุใดผู้ชมจึงไม่ลุกหนีไปจากจอภาพ หรือพยายามหาทางป้องกันตัวหรือแม้แต่หาทางช่วยเหลือผู้ชมคนอื่นๆ จากการคุกคามของอมนุษย์นั้น ซึ่งนั่นจะเป็นการทำให้ผู้ชมไม่สามารถรับชมภาพยนตร์ต่อไปได้อย่างราบรื่นและสนุกสนานไปกับตัวภาพยนตร์สยองขวัญดังกล่าว

Carroll ได้อธิบายว่าในขณะที่รับชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญนั้น แม้ว่าด้วยเทคนิคภาพยนตร์จะสร้างความเชื่อในความมีตัวตนของอมนุษย์ให้แก่ผู้ชมซึ่งกำลังกระตุ้นเร้าอารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัวและขยะแขยง แต่ในขณะเดียวกันผู้ชมก็ตระหนักรู้ว่า อมนุษย์เหล่านั้นไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง และความตระหนักรู้นี้ได้สร้างความกังขาขึ้น แม้ว่าด้วยเทคนิคภาพยนตร์จะทำให้ผู้ชมลืมความไม่เชื่อนี้ไปได้ แต่ด้วยกลไกทางจิตวิทยา ผู้ชมในขณะที่รับชมภาพยนตร์สยองขวัญ จะได้นำความไม่เชื่อนี้มาโต้แย้งกับความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นจากเทคนิคทางภาพยนตร์ ซึ่งด้วยกลไกนี้จะช่วยให้ผู้ชมสามารถมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมไปกับภาพยนตร์อย่างมีสถานะเป็นกลาง. Carroll เรียกว่ากลไกนี้ว่า"เจตจำนงในการระงับของความไม่เชื่อ"(2) (the willing suspension of disbelief)

(2) Noel Carroll, "The Nature of Horror, The Definition of Horror" , Philosophy of Horror or Paradoxes of the Heart, (Chapman and Hall, Inc.1990), หน้า 64

ในขณะที่ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญกำลังตกอยู่ในภาพลวงที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคนิควิธีการทางศิลปะในการนำเสนอเรื่องราวสยองขวัญ ผู้ชมภาพยนตร์จะถูกโน้มน้าวความสนใจให้จดจ่ออยู่กับบุคคลและสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในภาพยนตร์ และหลงลืมความเป็นจริงรอบตัวไปหลงเชื่อในภาพลวงที่ปรากฏขึ้นเบื้องหน้า หากแต่ในขณะเดียวกันเจตจำนงในการระงับของความไม่เชื่อ (the willing suspension of disbelief) ที่ยังดำรงอยู่ในกระบวนการทางจิตของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญ ก็จะทำหน้าที่ยับยั้งความเชื่อในสิ่งที่ปรากฏอยู่บนจอภาพยนตร์ตรงหน้า ไม่ให้มีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมของผู้ชมภาพยนตร์

กระนั้นก็ตาม Carroll ได้ชี้ให้เห็นข้อขัดแย้งในทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องแต่ง (The Illusion Theory of Fiction) ที่สำคัญไว้ประการหนึ่งคือ ทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องแต่งได้เสนอว่า ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญถูกกระตุ้นให้หวาดกลัวสิ่งที่ปรากฏอยู่บนจอภาพยนตร์ได้ด้วยความเชื่อว่า สิ่งที่ปรากฏต่อหน้าตนนั้นเป็นจริง หากแต่ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญสามารถที่จะนั่งชมภาพยนตร์ต่อไปได้อย่างสงบ และไม่แสดงพฤติกรรมตอบโต้สิ่งที่ปรากฏนั้นเนื่องจาก ในใจของผู้ชมภาพยนตร์มีความไม่เชื่อในสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นพื้นฐาน ซึ่ง Carroll เสนอว่า ความไม่เชื่อนั้นในอีกด้านหนึ่งมันก็คือความเชื่อเช่นกัน ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า ทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องแต่งได้เสนอว่า ในขณะที่ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญกำลังถูกโน้มน้าวให้ตกอยู่ในภาพลวงของสิ่งที่เกิดขึ้นบนจอภาพยนตร์ ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญได้เกิดมีความเชื่อสองประการขึ้นในใจ โดยทั้งสองความเชื่อนี้ต่างก็เป็นความเชื่อที่ตรงกันข้ามกันและขัดแย้งกันเอง

Descartes (*) เชื่อว่ามนุษย์ไม่สามารถควบคุมและเลือกความเชื่อได้เอง ตัวอย่างเช่นในสมการทางคณิตศาสตร์อย่างง่ายๆ ซึ่งมีผลลัพธ์ในการคำนวณที่ผิดอย่างชัดเจน เช่น 5+7=1492 ก็เป็นข้อเท็จจริงที่เราไม่สามารถเชื่อได้โดยง่าย ดังนั้นแล้ว หากกล่าวตามทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องแต่ง ผู้ชมภาพยนตร์เองก็เกิดความเชื่อได้ด้วยเทคนิคและวิธีการทางศิลปะในการโน้มน้าวให้เกิดความเชื่อขึ้นมา หากแต่ผู้ชมภาพยนตร์ย่อมไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งที่ปรากฏขึ้นตรงหน้า ดังนั้นความขัดแย้งของความเชื่อต่อภาพลวงตาที่เกิดขึ้นจากเทคนิคทางศิลปะกับความไม่เชื่อที่กลายมาเป็นเจตนาจำนงในการระงับของความไม่เชื่อนั้น ก็ย่อมเป็นความขัดแย้งที่ผู้ชมภาพยนตร์ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ด้วยการเลือกเชื่อในด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่ง Carroll ได้ชี้ให้เห็นว่า ข้อขัดแย้งนี้ไม่สมเหตุสมผลและมีความผิดพลาดในการใช้อธิบายความกลัวของผู้ชมอันเกิดจากการรับชมภาพยนตร์สยองขวัญ ดังนั้น Carroll จึงได้เสนอทฤษฏีอื่นๆ ในการตอบคำถามเกี่ยวกับความกลัวต่อสิ่งที่ไม่มีจริงที่ปรากฏในภาพยนตร์สยองขวัญต่อไป

(*) Rene Descartes (31 March 1596 - 11 February 1650), also known as Renatus Cartesius (latinized form),[2] was a French philosopher, mathematician, scientist, and writer who spent most of his adult life in the Dutch Republic. He has been dubbed the "Father of Modern Philosophy," and much of subsequent Western philosophy is a response to his writings, which continue to be studied closely to this day.

2. ทฤษฏีแสร้งทำของการตอบสนองต่อเรื่องราวที่แต่งขึ้น (The Pretend Theory of Fiction Response)
Noel Carroll ได้เสนอคำอธิบายอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัวของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญก็คือ การปฏิเสธว่าผู้ชมเกิดอารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัวขึ้นมาอย่างแท้จริง เพราะถ้าหากว่าอารมณ์หวาดกลัวของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญไม่ได้เป็นอารมณ์ที่แท้จริงแล้ว ก็ย่อมไม่มีเหตุผลใดที่จะสันนิษฐานได้ว่าผู้ชมภาพยนตร์นั้นเชื่อในเรื่องราวของบุคคลหรือสถานการณ์ที่ผู้ชมได้รับรู้ผ่านทางภาพยนตร์

แนวคิดการแสร้งทำของการตอบสนองต่อเรื่องราวที่แต่งขึ้น (The Pretend Theory of Fiction Response) อธิบายว่า การตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องราวที่แต่งขึ้นนั้น มีลักษณะที่ถูกสร้างแต่งขึ้นด้วยเช่นกัน ทฤษฏีการแสร้งทำนี้ได้รับการเสนอโดย Kendall Walton นักปรัชญาชาวอเมริกัน. ทฤษฏีแสร้งทำของการตอบสนองต่อเรื่องราวที่แต่งขึ้นเสนอว่า ผู้ชมภาพยนตร์อาจจะไม่ได้เชื่อในสิ่งที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าอย่างแท้จริง หากแต่พวกเขาเพียงตกอยู่ในภาวะภาพหลอนที่เป็นมายา (illusory illusion) โดยที่ผู้ชมภาพยนตร์นั้นไม่ได้บังเกิดอารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัวขึ้นมาอย่างแท้จริง เป็นแต่เพียงภาพลวงของสภาวะทางอารมณ์เท่านั้น ซึ่งเทคนิคของการบรรยายและการนำเสนอของภาพยนตร์ได้หลอกลวงให้ผู้ชมเข้าไปสู่ความเชื่อว่า ตนเองอยู่ในสภาพอารมณ์ที่มีความหวาดกลัวเกิดขึ้น

Kendall Walton: Quasi fear & pretend emotion
ในกรณีของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญ Walton เสนอว่า ผู้ชมอาจจะเชื่อว่าพวกเขากำลังอยู่ในอันตรายจากการคุกคามของอสูรกายหรืออมนุษย์ ซึ่งการอธิบายเช่นนี้ดูเหมือนจะบอกว่าผู้ชมภาพยนตร์จะต้องเชื่อว่าอมนุษย์นั้นมีอยู่จริง แต่ในขณะเดียวกัน Walton ก็เชื่อว่าการที่ผู้ชมภาพยนตร์จะเกิดอารมณ์ร่วมไปกับเรื่องราวในภาพยนตร์นั้น พวกเขาจำเป็นจะต้องเชื่อว่าเรื่องราวในภาพยนตร์เหล่านั้นเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นและไม่เป็นความจริง. สำหรับข้อขัดแย้งนี้ Walton เสนอว่า ความเชื่อในสิ่งที่ปรากฏอยู่บนจอของผู้ชมภาพยนตร์ ไม่สามารถจะถูกลบล้างได้ด้วยความคิดที่ว่า เรื่องราวในภาพยนตร์นั้นเป็นเพียงเรื่องแต่ง ซึ่ง Walton ไม่คิดว่าผู้ชมจะสามารถละทิ้งสามัญสำนึกของความกลัวได้ และในการเกิดความกลัว ผู้ชมจำเป็นต้องมีความเชื่อว่ามีสิ่งที่เป็นอันตรายปรากฏอยู่ตรงหน้าจริง แต่กระนั้นก็ตาม Walton คาดว่าความกลัวของผู้ชมไม่ใช่ความกลัวจริงๆ หากแต่เป็นความกลัวที่ถูกแสร้งรู้สึกขึ้นในบริบทของเรื่องราวที่แต่งขึ้น(3) ผู้ชมยอมรับความเชื่อซึ่งเป็นการแสร้งเชื่อนั้น ซึ่งกิจกรรมนี้ก่อให้เกิดอารมณ์ที่แสร้งรู้สึกให้กลัว เพื่อความสนุกผู้ชมจึงแสร้งเชื่อว่าพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับอมนุษย์จริงๆ

(3) Noel Carroll, "The Nature of Horror, The Definition of Horror" , Philosophy of Horror or Paradoxes of the Heart, (Chapman and Hall, Inc.1990), หน้า 70

ตัวอย่างง่ายๆ ที่พบเห็นได้อยู่บ่อยครั้งสำหรับคำอธิบายนี้คือ การเล่นแบบสมมติบทบาทของเด็กๆ ที่เล่นกันโดยสมมติให้คนใดคนหนึ่งในกลุ่มรับบทบาทเป็นอสุรกายที่น่ากลัวเพื่อที่จะให้เด็กคนอื่นที่เหลือวิ่งหนีด้วยความกลัว พฤติกรรมของเด็กๆ อธิบายตามข้อเท็จจริงได้ว่า เด็กไม่ได้กำลังเผชิญหน้ากับความกลัวที่แท้จริง ในกรณีผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญ การที่ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญไม่ได้ลุกวิ่งหนีออกจากโรงภาพยนตร์ในทันทีทันใด ย่อมหมายความว่า เขาไม่ได้กลัวอสูรกายหรืออมนุษย์ที่เป็นอันตรายคุกคามอย่างจริงจัง เพราะฉะนั้น Walton จึงสรุปได้ว่า อารมณ์ของผู้ชมก็เป็นอารมณ์ที่แสร้งทำขึ้นมา

Walton เรียกอารมณ์ความรู้สึกที่ถูกสร้างขึ้นจากการชมภาพยนตร์สยองขวัญว่าเป็นความรู้สึกประหนึ่งกลัว(Quasi-fear)(4) ในทางกายภาพร่างกายของผู้ชม จะมีปฏิกิริยาต่อความรู้สึกหวาดกลัวที่เกิดขึ้น ไม่ต่างจากที่ร่างกายจะเป็นในยามที่เกิดความรู้สึกหวาดกลัวขึ้นมาจริง กล่าวคือ หัวใจของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญจะเต้นเร็วขึ้น และจะมีปริมาณของอดรีนาลินในกระแสเลือดเพิ่มมากขึ้น และสภาพทางจิตใจผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญจะมีความรู้สึกรับรู้ถึงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกาย หากเพียงแต่ความกลัวที่ถูกทำให้เกิดขึ้นระหว่างการชมภาพยนตร์สยองขวัญนั้น เป็นเพียงความกลัวที่ถูกแสร้งทำขึ้นมา เพราะเป็นความกลัวที่มาจากการแสร้งเชื่อในเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น และผู้ชมภาพยนตร์สามารถตระหนักรู้ว่า ความรู้สึกกลัวที่ถูกสร้างขึ้นนั้น เป็นความรู้สึกประหนึ่งกลัว(Quasi-fear) ซึ่งจะนำไปสู่เกมของความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นของผู้ชมภาพยนตร์เอง

(4) Noel Carroll, "The Nature of Horror, The Definition of Horror" , Philosophy of Horror or Paradoxes of the Heart, (Chapman and Hall, Inc.1990), หน้า 71

อาจดูแปลกที่จะกล่าวว่า ผู้ชมกำลังเล่นเกมของความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นอย่างที่พวกเขาแสร้งทำเป็นกลัว นั่นเพราะว่าเกมนี้แม้จะถูกสันนิษฐานว่ามันมีกติกาหรือหลักการบางประการอยู่ แต่ก็เป็นการยากที่ผู้ชมเองจะสามารถเข้าใจหรืออธิบายกติกาของมันออกมาได้. Walton เห็นว่ากติกาของเกมนี้มีลักษณะที่เป็นนัยยะแฝงเร้น หรือมีลักษณะที่ผันผวนไม่ตายตัว โดยเขาได้แจกแจงแนวคิดดังกล่าวต่อไปว่า หลักการของเกมความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น ไม่จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน หากแต่มันถูกเข้าใจกันอย่างมีนัยยะ. Walton คิดว่า ถึงแม้ผู้ชมจะไม่สามารถอธิบายกติกาของเกมที่พวกเขากำลังเล่นอยู่ได้ก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นข้อขัดแย้งกับการที่จะบอกว่าผู้ชมภาพยนตร์กำลังเล่นเกมอยู่

ตามทฤษฏีของ Walton การที่ผู้ชมภาพยนตร์เกิดความรู้สึกสยองขวัญในการชมภาพยนตร์เขย่าขวัญ เป็นเพราะผู้ชมแสร้งทำเป็นมีอารมณ์หวาดกลัวและขยะแขยง เพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่มเกมของการสร้างความเชื่อ แม้ว่าผู้ชมจะไม่ได้ตระหนักหรือเข้าใจถึงกติกาของเกมเลยก็ตาม. Walton ก็ได้ยืนยันข้อขัดแย้งนี้โดยชี้แจงว่า เกมการสร้างความเชื่อดังกล่าว ไม่ได้เขียนตามกฎหรือตามหลักการที่เรายอมรับกัน หรืออาจจะมีกฎแต่ผู้ชมภาพยนตร์มิได้ตระหนักรู้ถึงมัน ดังนั้นการขาดความตระหนักรู้นี้จึงทำให้ผู้ชมภาพยนตร์อธิบายกติกาของเกมนั้นไม่ได้

แต่ทว่า Noel Carroll ไม่เห็นด้วยกับ Walton ในทฤษฏีการแสร้งทำ(pretend theory)นี้. Carroll แย้งว่า หากอารมณ์สยองขวัญในการชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญเป็นอารมณ์ที่ผู้ชมแสร้งทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเล่นเกมตอบโต้กับตัวภาพยนตร์ ในกรณีเช่นนี้ผู้ชมย่อมสามารถเลือกที่จะยอมรับหรือปฏิเสธอารมณ์สยองขวัญที่เกิดขึ้นได้ตามเจตนา ซึ่งหมายความว่า ผู้ชมภาพยนตร์สามารถที่จะควบคุมเกมได้ตามต้องการ แต่นั่นก็จะดูขัดกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเมื่อเรากำลังชมภาพยนตร์สยองขวัญ เราไม่สามารถที่จะปฏิเสธอารมณ์ที่เกิดขึ้นและการตอบสนองกับสิ่งที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์เบื้องหน้าได้ รวมทั้งในเรื่องกติกาของเกมที่ผู้เล่นไม่ได้ตระหนักถึงมัน. Carroll ชี้ว่า มันเป็นการไม่ถูกนักหากจะกล่าวว่า เรากำลังเล่นเกม แต่ก็ไม่รู้ว่าเรากำลังเล่นเกมอะไร

Carroll ยกตัวอย่างการทดลองทางด้านจิตวิทยา ซึ่งเป็นการทดลองการตอบโต้ทางอารมณ์ของเราต่อการบรรยายเกี่ยวกับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เราจะได้รับการบอกเล่าและจะถูกถามว่า เรารู้สึกอย่างไรต่อเรื่องราวนั้น แต่เราไม่ได้รับการบอกเล่าว่าเรื่องนั้นจริงหรือไม่ ซึ่งในเบื้องต้นเราจะไม่มีความเชื่อว่าเรื่องราวที่ถูกเล่าในการทดลองเหล่านั้นเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น แต่หากเรื่องราวหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นเรื่องเศร้าที่ทำให้เรารู้สึกเศร้าโศก จนมันอาจจะทำให้เราต้องถามนักจิตวิทยาว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น

จากตัวอย่างดังกล่าวนี้ ประเด็นที่ Noel Carroll ต้องการจะชี้คือ อารมณ์ของเราที่เกิดขึ้นอย่างตอบสนองกับสิ่งที่เรารับรู้นั้น ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการอาศัยความเชื่อถือความเป็นจริงของเนื้อหาเรื่องราวเป็นปัจจัยหลัก หากแต่อารมณ์ของผู้ชมที่เกิดขึ้นตอบโต้กับภาพยนตร์นั้น ถูกสร้างโดยระบวนการการโน้มน้าวทางอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยวิธีการทางศิลปะ ซึ่งวิธีการบรรยายและการโน้มน้าวสภาพอารมณ์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในความเป็นจริงของเนื้อหาเรื่องราวเหล่านั้น

Carroll ได้ยกตัวอย่างของการเล่าเรื่องที่น่าขยะแขยงระหว่างการทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ซึ่งมันสามารถสร้างความรู้สึกรังเกียจและขยะแขยงให้กับผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นได้โดยที่ไม่จำเป็นที่ผู้คนเหล่านั้นจะต้องมีความเชื่อว่าเรื่องที่เล่านั้นเป็นจริง ดังนั้นถ้าศิลปะสยองขวัญประกอบไปด้วยสิ่งน่ารังเกียจ และสิ่งที่น่ารังเกียจนี้ทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ ดังนั้นเราจึงอาจจะตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกสยองขวัญที่เกิดขึ้นในการรับชมภาพยนตร์สยองขวัญได้ว่า ผู้ชมภาพยนตร์สามารถที่จะรู้สึกหวาดกลัวและขยะแขยงได้อย่างแท้จริง แม้ว่าผู้ชมภาพยนตร์จะไม่เชื่อว่ามีอมนุษย์หรืออสูรกายปรากฏขึ้นจริงต่อหน้าก็ตาม

ถ้าหากความน่ารังเกียจและน่าขยะแขยงไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยความเชื่อในการปรากฏขึ้นของสิ่งที่เรารังเกียจ สำหรับในกรณีของความหวาดกลัวก็เช่นกัน เห็นได้อย่างชัดเจนว่า คนเราจะกลัวได้กับบางสิ่งบางอย่างที่คาดการณ์เอาไว้ เช่น สงครามนิวเคลียร์ล้างโลก ซึ่งเรารู้ว่าอาจจะไม่มี หากแต่ว่าเราอาจหวาดกลัวได้เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่เราคาดคิดนั้น มีความเป็นไปได้ แต่สำหรับความคิดที่ว่ากำลังมีอมนุษย์หรืออสูรกายที่มีรูปร่างแปลกประหลาดน่าหวาดกลัวและน่าขยะแขยงมุ่งตรงเข้ามาคุกคามเรา ความคิดแบบนี้มีแง่มุมที่มีเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้เราเชื่อได้หรือไม่?

ยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถจินตนาการถึงเครื่องจักรเครื่องยนต์ชนิดที่คนไม่เคยเผชิญหน้ากับมันมาก่อน หรือแม้แต่ในกรณีของอมนุษย์หรืออสูรกายที่อัปลักษณ์แปลกประหลาดอย่างที่เราไม่เคยพบเห็นมาก่อนก็ตาม Carroll ได้ตั้งข้อสังเกตว่า สำหรับสิ่งแปลกประหลาดเหล่านั้น ที่เราไม่เคยมีประสบการณ์กับมันมาก่อน มันสามารถจะกระตุ้นให้เกิดความกลัวขึ้นได้อย่างไร? ตามที่ Walton กล่าวถึงความรู้สึกประหนึ่งกลัว(Quasi fear) ที่ถูกสร้างโดยความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้น โดยพื้นฐานของความคิดเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกซึ่งถูกสร้างขึ้น มีปัญหาในส่วนนี้คือ Walton ไม่เคยอธิบายว่า ทำไมความเชื่อที่ถูกสร้างขึ้นนั้นจึงถูกยอมรับ และทำให้ผู้ชมภาพยนตร์เกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตามไปได้

ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญเกิดความรู้สึกประหนึ่งกลัว(Quasi fear) และอารมณ์ที่แสร้งทำ(pretend emotion) หรือว่าเป็นความหวาดกลัวและอารมณ์ที่แท้จริงนั้น ประเด็นนี้ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดพอที่จะสรุปได้. Noel Carroll กล่าวว่า วิธีนี้ไม่ใช่วิธีเดียวที่จะอธิบายกระบวนการการทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นได้อย่างแท้จริง และเนื่องจากข้อบกพร่องของทฤษฏีนี้ในเรื่องของการแสร้งทำอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความรู้สึกหวาดกลัว ที่คำอธิบายตามทฤษฏีแสร้งทำนี้ ฟังดูขัดแย้งกับการรับรู้โดยสามัญสำนึกของเรา

Noel Carroll เชื่อว่าอารมณ์หวาดกลัวที่ผู้ชมมีอย่างตอบสนองต่อภาพยนตร์สยองขวัญนั้นเป็นอารมณ์หวาดกลัวอย่างแท้จริง ดังนั้นเขาจึงได้นำเสนอทฤษฏีหนึ่งที่จะใช้อธิบายอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญได้ โดยการคงรักษาความคิดที่ว่าผู้ชมภาพยนตร์ถูกทำให้เกิดความรู้สึกสยดสยองขึ้นมาจริงๆ ในการรับชมภาพยนตร์สยองขวัญ

3. ทฤษฏีความคิดในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องแต่ง (The Thought Theory of Emotional Responses of fictions)
ในการชมภาพยนตร์สยองขวัญ ผู้ชมรู้ว่าอสูรกายและมนุษย์เหล่านั้นไม่เคยมีอยู่จริง ดังนั้นความหวาดกลัวของผู้ชมภาพยนตร์ในเรื่องนี้ก็จะขัดแย้งกับความรู้ของตัวเอง ความขัดแย้งดังกล่าว โดยรากฐานแล้ว เป็นประติทรรศน์หรือข้อขัดแย้งของการรับรู้เรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น (Paradox of Fiction) ทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น (The Illusion Theory of Fiction) เสนอว่า ขณะที่ผู้ชมรับรู้เรื่องแต่ง ผู้ชมจะไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องแต่ง ในขณะเดียวกันนั้นผู้ชมก็จะอยู่ภายใต้ภาพลวง ที่มีอสูรกายกำลังก้าวเข้ามาหา

ทฤษฏีภาพลวงตาของเรื่องแต่ง (The Illusion Theory of Fiction) เสนอว่า เวลาที่ผู้ชมภาพยนตร์เกิดความกลัวนั้น ผู้ชมภาพยนตร์เชื่อว่าอสูรกายหรืออมนุษย์ในภาพยนตร์นั้นมีตัวตนอยู่จริง โดยลืมไปว่ากำลังรับรู้เรื่องแต่งที่ไม่เป็นความจริง. ขณะที่ทฤษฏีแสร้งทำของการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น (The Pretend Theory of Fiction Response) เชื่อว่า การที่จะรู้สึกซาบซึ้งกับเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นมาได้นั้น ผู้ชมภาพยนตร์ต้องรู้ว่า การมีอยู่ของอสูรกายหรืออมนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นและไม่เป็นความจริง ซึ่งความตระหนักรู้นี้จะทำให้ผู้ชมภาพยนตร์ไม่ลุกหนีออกจากที่นั่งในโรงภาพยนตร์ไป ขณะเดียวกันทฤษฏีแสร้งทำปฏิเสธเงื่อนไขหลักที่ว่า ผู้ชมภาพยนตร์เกิดความกลัวอสูรกายขึ้นมาจริงๆ โดยเสนอว่าผู้ชมภาพยนตร์เพียงแต่สร้างความเชื่อว่าพวกเขาเกิดความกลัวขึ้นมา ซึ่งเป็นเพียงแค่ความคิดว่าพวกเขากำลังรู้สึกกลัว

ซึ่งนั่นหมายถึงว่า ความกลัวของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญที่มีต่ออสูรกายหรืออมนุษย์ในภาพยนตร์นั้นไม่ใช่ความกลัวที่แท้จริง และในขณะที่ผู้ชมกำลังรับชมภาพยนตร์สยองขวัญอยู่นั้น พวกเขาก็ตระหนักอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังรับรู้เรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น แต่ผู้ชมภาพยนตร์ก็จะแสร้งเชื่อในเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม ทั้งทฤษฏีภาพลวงตา(The Illusion Theory of Fiction) และทฤษฏีแสร้งทำ (The Pretend Theory of Fiction Response) ต่างก็ยอมรับเงื่อนไขใหญ่ว่า ความกลัวต่ออสูรกายที่ปรากฏในเรื่องแต่งนั้น จำเป็นต้องอาศัยความเชื่อเป็นปัจจัยสำคัญประการแรกในการกระตุ้นเร้าความหวาดกลัวให้เกิดขึ้น

- "ทฤษฏีภาพลวงตา" อ้างว่า ผู้ชมภาพยนตร์จำเป็นต้องมีความเชื่อในการปรากฏตัวของอสูรกายหรืออมนุษย์ เพื่อทำให้เกิดความหวาดกลัว แม้ว่าจะเป็นเพียงในช่วงระยะเวลาของภาพยนตร์นั้นก็ตาม

- ขณะที่ "ทฤษฏีแสร้งทำ" อ้างว่า ผู้ชมภาพยนตร์สร้างความเชื่อว่าตนเองกำลังตกอยู่ในความหวาดกลัวขึ้นมา โดยที่พวกเขาไม่ได้มีความรู้สึกหวาดกลัวอย่างแท้จริงต่อเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นนั้น

ประเด็นสำคัญที่ถูกใช้ร่วมกันระหว่าง"ทฤษฏีภาพลวงตา"กับ"ทฤษฏีแสร้งทำ" คือ ทั้งสองทฤษฏีนี้ ต่างให้ความสำคัญกับความเชื่อในฐานะสาเหตุที่เป็นแหล่งกำเนิดของความหวาดกลัวของผู้ชมภาพยนตร์ในการชมภาพยนตร์เขย่าขวัญ ซึ่งจากจุดนี้ การปฏิเสธความคิดที่ว่าความเชื่อ เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัว จะทำให้เกิดทางเลือกที่สามในเชิงทฤษฏีขึ้นมา นั่นคือ "ทฤษฏีความคิดในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องแต่ง" (The Thought Theory of Emotional Responses of fictions)

4. ทฤษฏีความคิดในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องแต่ง (The Thought Theory of Emotional Responses of fictions)
ทฤษฎีนี้เสนอว่า ความเชื่อไม่ใช่สาเหตุหลักที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความหวาดกลัวในการรับชมภาพยนตร์สยองขวัญ หากแต่สิ่งที่เป็นสาเหตุของความหวาดกลัวในการชมภาพยนตร์เขย่าขวัญนั้น แท้จริงคือความคิดคำนึงถึงอสูรกายหรืออมนุษย์ (5) นอกจากนั้น ทฤษฏีความคิดในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องแต่งยังเสนอว่า อารมณ์สยองขวัญที่เกิดขึ้น เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริง ไม่ใช่ความรู้สึกที่ผู้ชมภาพยนตร์แสร้งเชื่อว่าตนรู้สึก ซึ่งหมายถึงว่า "ศิลปะสยองขวัญ" (Art Horror) สามารถที่จะสร้างอารมณ์ความรู้สึกสยดสยองที่แท้จริงให้แก่ผู้ชมได้ โดยการทำให้ผู้ชมคิดถึงสิ่งที่น่าหวาดกลัว

(5) Noel Carroll, "Metaphysics and Horror, or Relating to Fictions" , Philosophy of Horror or Paradoxes of the Heart, (Chapman and Hall, Inc.1990), หน้า 80

เนื้อหาทางความคิดจะสามารถสร้างความบันเทิงได้ โดยปราศจากการกระทำหรือความรับผิดชอบที่ต้องกระทำต่อความคิดที่เกิดขึ้น ซึ่งผิดกับการมีความเชื่อที่ผู้เชื่อต้องถูกกระทำหรือรับผิดชอบต่อข้อเท็จจริงที่ถูกเชื่อนั้น ยกตัวอย่างเช่น การยืนอยู่บนหน้าผาสูงชันแม้ว่าจะมีความปลอดภัย แต่บางคนก็อาจจะสร้างความบันเทิงให้กับตนเองโดยการคิดไปว่าจะ ตนจะเป็นอย่างไรเมื่อต้องตกลงไปจากขอบหน้าผา และเป็นธรรมดาที่ผู้คิดจะต้องรู้สึกระทึกใจหรือหวาดผวาต่อความคิดดังกล่าว ซึ่งนั่นเป็นความรู้สึกกลัวโดยการคิดถึงสถานการณ์ของการตกลงไปจากหน้าผา ไม่ใช่ความกลัวที่มาจากเหตุการณ์จริงของการตกจากหน้าผา และไม่ใช่มาจากความเชื่อว่าผู้คิดจะกำลังตกจากหน้าผา

ความกลัวนี้เกิดขึ้นได้โดยการจินตนาการว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไรต่อไป ทั้งๆ ที่ผู้คิดรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นผู้คิดก็ไม่ได้กลัวการคิดถึงเรื่องการตกลงไปจากหน้าผา หากแต่เป็นความกลัวโดยเนื้อหาเรื่องราว(content) ที่มาจากการคิดถึงการตกลงไป มันอาจจะเป็นความกลัวที่มาจากการจินตนาการถึงภาพของการดิ่งลงไปในอากาศขณะที่กำลังร่วงหล่นลงไปในหุบเหว

ตัวอย่างต่อมาที่ทำให้ยืนยันได้ว่าผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญจะหวาดกลัวได้ด้วยเนื้อหาทางความคิด นั่นคือการที่ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญอาจจะพยายามเบี่ยงเบนหันเหความสนใจของตนเองออกไปจากภาพยนตร์ในขณะที่พวกเขากำลังจะตกใจกลัว ผู้ชมภาพยนตร์อาจจะหลีกเลี่ยงสายตาไปจากฉากหรือเบี่ยงเบนความสนใจไปจากเหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำให้ผู้ชมภาพยนตร์ตกใจกลัว พวกเขาอาจจะเลี่ยงการเผชิญหน้ากับอสูรกายหรืออมนุษย์โดยการหันเหความคิดไปนึกถึงเหตุการณ์อื่นๆ แทนการเฝ้าคิดถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเรื่องราวของภาพยนตร์ ในกรณีนี้ความสนใจของผู้ชมภาพยนตร์ไม่ได้ถูกเบี่ยงเบนไปจากฉากเหตุการณ์ทั้งหมด ผู้ชมภาพยนตร์ยังติดตามเรื่องราวในภาพยนตร์อยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะได้รู้ว่า พวกเขาปลอดภัยพอหรือยังที่จะหันกลับไปติดตามชมภาพยนตร์ต่อไปอย่างเดิม ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญโดยทั่วไปมักจะใช้วิธีหันเหเบี่ยงเบนความคิดแบบนี้ เมื่อพวกเขาพบว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายอย่างที่พวกเขาไม่สามารถจะทนรับรู้ได้ ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญไม่ได้เชื่อถึงการมีตัวตนอยู่ของอสูรกาย หากแต่ผู้ชมเพียงแต่คิดถึงสิ่งที่ภาพยนตร์สยองขวัญกำลังนำเสนอ ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้ชมไม่ได้มีความบันเทิงในเนื้อหาของการนำเสนอเท่ากับเนื้อหาในสิ่งที่พวกเขาคิด

ข้อได้เปรียบในทางทฤษฏีที่ได้จากทฤษฏีความคิดฯ ที่สันนิษฐานว่าเนื้อหาความคิดสามารถสร้างอารมณ์ที่แท้จริงได้ คือข้อเสนอที่ว่า ตัวละครที่น่ากลัวและน่ารังเกียจเช่นแดรกคูลา สามารถสร้างความบันเทิงได้โดยปราศจากความเชื่อว่าแดรกคูลามีจริง ซึ่งหมายความว่า ความคิดกับความเชื่อนั้นสามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้นถ้าเราสรุปว่าเนื้อหาในความคิดสามารถทำให้เรากลัวได้ เราก็จะไม่มีปัญหาในการกล่าวว่า โดยทั่วไปแล้วผู้ชมภาพยนตร์ไม่ได้เชื่อว่าแดรกคูลามีตัวตนอยู่จริง นอกจากนั้นความกลัวของผู้ชมภาพยนตร์ก็อาจจะเป็นความกลัวที่แท้จริง เพราะว่าเนื้อหาในความคิดของพวกเขาสามารถสร้างความบันเทิงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อในตัวเนื้อหาทางความคิดนั้น และเนื้อหานั้นยังสามารถที่จะนำพวกเขาไปสู่อารมณ์ความรู้สึกสยดสยองหวาดกลัวนั้นได้

ในกรณีของ Walton ในเรื่องทฤษฏีแสร้งทำของการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องแต่ง (The Pretend Theory of Fiction Response) ดูเหมือนว่า ประเด็นส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ข้อเสนอที่ว่า ผู้ชมไม่เชื่อว่าอสูรกายในภาพยนตร์จะเป็นอันตรายสำหรับเขาได้จริง จากข้อเสนอนี้ ผู้ชมจะไม่เกิดความกลัวที่แท้จริง ดังนั้นทฤษฏีแสร้งทำจึงตั้งสมมุติฐานว่า อารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมนั้น มีลักษณะเป็นความรู้สึกประหนึ่งกลัว (Quasi-fears) และเป็นความกลัวที่แสร้งทำ กระนั้นก็ตามข้อโต้แย้งของ Walton ต่อแนวคิดที่ว่าผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญเชื่อในการปรากฏตัวของอสูรกาย และคำอธิบายของทฤษฏีอารมณ์ที่แสร้งทำฯ ก็ไม่ได้ขัดแย้งกับทฤษฏีความคิดในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น

เนื่องจากความคิดไม่จำเป็นต้องเป็นความเชื่อ และผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญสามารถได้รับความบันเทิงจากความคิดในเรื่องของอสูรกายได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อว่าอสูรกายมีตัวตนอยู่จริง ซึ่งหมายความว่า ทฤษฏีความคิดในการตอบสนองทางอารมณ์ เปิดโอกาสให้ยอมรับข้อโต้แย้งของ Walton ได้ทั้งหมด เช่นเดียวกับทฤษฏีภาพลวงฯ ซึ่งสันนิษฐานว่าผู้ชมเชื่อว่ามีอสูรกายอยู่จริง

ทฤษฏีภาพลวงฯ และทฤษฏีแสร้งทำอารมณ์ฯ ปักใจเชื่อว่า ความกลัวที่แท้จริงจำเป็นต้องมาจากความเชื่อในอันตรายที่มาจากอสูรกายในเรื่องแต่ง ดังนั้นจึงทำให้ทั้งสองทฤษฏีมองข้ามความเป็นไปได้ที่ความกลัวจะถูกสร้างขึ้นได้โดยเนื้อหาทางความคิด อันเป็นตัวแทน (representation) ของเนื้อหาในเรื่องแต่ง แต่หากความรู้สึกหวาดกลัวสามารถถูกสร้างขึ้นจากความคิดได้ เช่นเดียวกับความเชื่อ มันก็จะไม่มีเหตุผลที่จะกล่าวถึงทฤษฏีภาพลวงฯ และทฤษฏีแสร้งทำอารมณ์ฯ ที่ยังมีข้อบกพร่องในคำอธิบายที่ใช้ตอบปัญหาเรื่องความกลัวในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงนี้

5. ข้อสรุปทางทฤษฏีเกี่ยวกับความหวาดกลัวสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
Carroll ได้ชี้ถึงปัญหาหนึ่งในแนวคิดของ Walton คือ Walton ล้มเหลวที่จะอธิบายว่า ทำไมเราควรที่จะเห็นด้วยว่าความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่ปรากฏในเรื่องแต่งได้สร้างอารมณ์ประหนึ่งกลัว (Quasi-fear) ขึ้นมาแทนที่จะเป็นความกลัวที่แท้จริง ซึ่งประเด็นนี้อาจจะทำให้เห็นได้ชัดดังนี้…

จากเรื่องแดรกคูลา, Bram Stoker ได้ทำให้ผู้อ่านสยดสยองไปกับการพรรณนาถึงลักษณะต่างๆ ของผีดูดเลือด ที่ผู้อ่านจะหวาดกลัวไปกับการคิดถึงคุณลักษณ์เหล่านั้น ซึ่งทั้งนี้ผู้อ่านไม่ได้เชื่อว่ามีผีดูดเลือดอยู่จริง แต่เชื่อในลักษณะที่ถูกพรรณนาไว้ในเรื่องแต่งดังกล่าว ซึ่งหากจะพิจารณาลงไปถึงลักษณะต่างๆ ของผีดูดเลือดที่ถูกพรรณนาไว้ ก็จะพบว่า แดรกคูลาถูกบรรยายให้มีคุณลักษณะที่ผสมผสานรวมเอาความน่าขยะแขยงและน่าหวาดผวาเข้าไว้ด้วยกัน และนี่ก็คือศิลปะของความสยองขวัญ

ผู้อ่านรู้ว่าเรื่องของแดรกคูลาเป็นเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น อย่างไรก็ตามเนื้อหาคุณลักษณะในนวนิยายของ Bram Stoker ก็แสดงให้เห็นถึงเนื้อหาทางความคิดของผู้อ่านเกี่ยวกับมัน ผู้อ่านรู้สึกสยดสยองไปกับความคิดเกี่ยวกับผีดูดเลือด ถ้าผู้อ่านสามารถรู้สึกสยดสยองได้ด้วยความคิด ผู้อ่านก็สมารถหวาดกลัวได้โดยความคิดถึงอันตราย ซึ่งเป็นผลมาจากการบรรยายเรื่องราวโดยผู้แต่ง

ตามที่ Walton เสนอไว้ว่า การตอบสนองของผู้อ่านเป็นอารมณ์ประหนึ่งกลัวและเป็นอารมณ์ที่ถูกแสร้งทำให้เกิดขึ้น ทว่า Walton ได้มองข้ามความเป็นไปได้ที่ว่า ผู้อ่านรู้ว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องแต่ง และผู้อ่านได้อ่านเพื่อสะท้อนเอาเนื้อหาในคำพรรณนาถึงอสูรกายให้ปรากฏขึ้นในความคิด โดยที่เนื้อหาคำพรรณนานั้นได้กลายมาเป็นพื้นฐานในความคิดของผู้อ่าน และเนื้อหานั้นได้เป็นสาเหตุของความกลัวและความขยะแขยงของผู้อ่าน นั่นคือ มันไม่มีเหตุผลที่จะอ้างเอาได้ว่า อารมณ์ที่เกิดจากความเชื่อในความคิดคำนึงถึงเรื่องแต่งนั้น เป็นเพียงอารมณ์ประหนึ่งกลัว และเป็นอารมณ์ที่ผู้อ่านแสร้งทำให้เกิดขึ้น

เนื่องจากผู้อ่านรู้ว่าแดรกคูลาเป็นเรื่องแต่ง และความคิดของผู้อ่านเกี่ยวกับตัวตนของผีดูดเลือดก็ถูกตอบสนองด้วยความรู้สึกน่าหวาดกลัวและน่าขยะแขยง แต่ผู้อ่านก็ไม่ได้โยนหนังสือนั้นทิ้งไป ดังนั้นทฤษฏีความคิดในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องแต่ง (The Thought Theory of Emotional Responses of fictions) สามารถอธิบายพฤติกรรมที่ดูขัดแย้งนี้ได้ เช่นเดียวกับในทฤษฏีแสร้งทำอารมณ์ฯ หากแต่ทฤษฏีภาพลวงฯไม่สามารถอธิบายถึงพฤติกรรมนี้ได้อย่างสมเหตุสมผล

ขณะเดียวกันทฤษฏีความคิดฯ ก็มีข้อได้เปรียบกว่าทฤษฏีการแสร้งทำอารมณ์ฯ ในการเสนอว่าความกลัวของผู้อ่านและผู้ชมเป็นความกลัวที่แท้จริง ซึ่งคำอธิบายเพื่อตอบคำถามของทฤษฏีแสร้งทำฯ ได้ตั้งข้อสันนิษฐานอย่างขัดกับความตระหนักรู้ในประสบการณ์ของตัวผู้อ่านนิยายหรือตัวผู้ชมภาพยนตร์เอง เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัวของผู้อ่านนิยายหรือผู้ชมภาพยนตร์ ซึ่งพวกเขารู้สึกได้ว่ามันเป็นอารมณ์ที่แท้จริง มากกว่าจะเป็นการแสร้งรู้สึกหรือแสร้งมีอารมณ์ขึ้นมา หากแต่ทฤษฏีความคิดฯนี้ อาจจะถูกโต้แย้งได้ว่า มันอาจไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะสรุปว่า ผู้ชมภาพยนตร์จะตื่นกลัวกับเพียงแค่เนื้อหาทางความคิด ด้วยเหตุดังนั้น ทฤษฏีการแสร้งทำอารมณ์ต่อการตอบสนองต่อเรื่องแต่ง (The Pretend Theory of Fiction Response) จึงยังเป็นทฤษฏีคู่แข่งในการโต้แย้งที่แข็งแรงอยู่

จากแนวคิดนี้ ความหวาดกลัวที่เป็นผลมาจากเนื้อหาทางความคิดนั้น อาจฟังดูไม่มีเหตุผลมากพอ แต่หากพิจารณาในข้อเท็จจริงของมนุษย์ที่ว่าเราอาจกลัวความคิดเกี่ยวแดรกคูลาได้ ซึ่งอย่างไรก็ตามมันเป็นความไม่สมเหตุสมผลที่เป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ เนื่องจากมันเป็นลักษณะตามธรรมชาติของโครงสร้างทางอารมณ์ อาจมองได้ว่าการโต้ตอบต่อเรื่องแต่งเป็นเรื่องไม่มีเหตุผลในทางปฏิบัติ แต่มันก็ทำให้บุคคลสามารถปล่อยใจไปกับเรื่องราวที่ถูกแต่งนั้นได้อย่างไร้เหตุผล และไม่มีข้อเท็จจริงใดที่จะพิสูจน์ได้ว่า ผู้ชมภาพยนตร์สามารถบังเกิดอารมณ์ได้โดยเนื้อหาของความคิด แต่ในขณะเดียวกันนั้น มันก็ดูไร้เหตุผลเช่นกันที่ผู้ชมภาพยนตร์จะแสร้งทำเป็นหวาดกลัวในเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น เพื่อที่จะได้รับความบันเทิงในความตื่นกลัวต่อเรื่องราวเหล่านั้น

ทฤษฏีความคิดฯ ได้ชี้ลงไปถึงความแตกต่างระหว่างความคิดกับความเชื่อ และความเกี่ยวพันระหว่างความคิดและอารมณ์ ยกตัวอย่างเช่น การที่เราอาจสร้างความตื่นกลัวให้กับตนเองได้โดยการคิดว่าเรากำลังตกจากหน้าผา หรือ การคิดว่าเรากำลังถูกบดด้วยเครื่องยนต์ ซึ่งเรารู้ว่ามันไม่ได้เป็นความจริง ดังนั้นเราจึงควรจะหันมามองดูความแตกต่างระหว่างความคิดและความเชื่อ

สิ่งที่อธิบายได้ลำบากเกี่ยวกับการตอบสนองทางอารมณ์ต่อเรื่องที่ถูกแต่งขึ้นก็คือ การตอบสนองทางอารมณ์ต้องการความเชื่อว่า สิ่งที่ผู้ชมเกิดปฏิกิริยาตอบสนองนั้นมีปรากฏอยู่จริง ซึ่งมันขัดแย้งกับสิ่งที่ผู้ชมมีประสบการณ์ในฐานะของผู้บริโภคภาพยนตร์สยองขวัญ วัตถุที่เป็นเป้าของการตอบสนองทางอารมณ์ของหนังสยองขวัญก็คือ อสูรกายหรืออมนุษย์ในภาพยนตร์ ผู้ชมภาพยนตร์เรื่องแดรกคูล่าจะไม่เชื่อว่า มีผีดูดเลือดปรากฏอยู่จริง อย่างไรก็ตามผู้ชมภาพยนตร์ก็สามารถมีความคิดว่า แดรกคูลาเป็นสิ่งที่น่ากลัวได้ โดยปราศจากความเชื่อว่ามีแดรกคูล่าปรากฏอยู่จริง

Carroll ได้ใช้แนวคิดของ Descartes ในเรื่องของความแตกต่างระหว่างความเป็นจริงทางแบบแผน(Formal Reality) และความเป็นจริงทางภาวะวิสัย(Objective Reality) (6) ในการอธิบายแนวคิดนี้ โดยทั่วไปเราความคิดเกี่ยวกับม้ายูนิคอร์นที่มีเขาโผล่ออกมาจากกลางหน้าผากแบบนาร์วาฬ (Narwhal) โดยปราศจากความเชื่อว่ามียูนิคอร์นอยู่จริง ซึ่งหมายถึงว่า ยูนิคอร์นไม่ได้มีความเป็นจริงทางแบบแผน(Formal Reality) แต่กระนั้นก็ตามเราก็ยังรู้จักและสามารถคิดถึงรูปร่างลักษณะของยูนิคอร์นได้ ซึ่งหมายความว่ายูนิคอร์นมีความเป็นจริงทางภาวะวิสัย (Objective Reality) เราอาจจะคิดได้ว่าแดรกคูล่าเป็นตัวละครที่ประกอบขึ้นด้วยคุณลักษณะหลายประการ เช่นเดียวกับคำบรรยายของ แดรกคูลาในหนังสือของ Bram Stoker ซึ่งเป็นการรวบรวมของคุณลักษณะต่างๆ ไว้ภายในชื่อ แดรกคูล่าที่ปรากฏในนิยาย ซึ่งอาจจะสามารถจูงใจผู้อ่านและสร้างความหวาดกลัวให้ผู้อ่านได้เนื่องจากคุณสมบัติของความเป็นจริงทางภาวะวิสัย (Objective Reality)

(6) Noel Carroll, "Metaphysics and Horror, or Relating to Fictions" , Philosophy of Horror or Paradoxes of the Heart, (Chapman and Hall, Inc.1990), หน้า 84

ความสยองขวัญเป็นอารมณ์ที่มุ่งไปสู่ ตัวละครเฉพาะตัวใดตัวหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอมนุษย์หรืออสูรกายในเรื่องราวสยองขวัญ เราไม่ได้ถูกทำให้กลัวโดยตัวเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่รู้สึกหวาดกลัวต่อลักษณะของตัวละครที่น่ากลัว. สำหรับกรณีของภาพยนตร์อย่าง"แดรกคูลา"หรือ"แฟรงเกนสไตน์" ชื่อเหล่านี้ไม่ได้อ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นจริงและเราก็ไม่ได้เชื่อว่ามันอ้างอิงถึงสิ่งที่มีอยู่จริง รวมทั้งเราไม่ได้คำนึงถึงระดับของความเป็นจริงของตัวละครเหล่านั้น ซึ่งต่างไปจากการที่เราคำนึงถึงระดับของความจริงของเนื้อหาในหนังสือประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวกับกษัตริย์อเล็กซานเดอร์มหาราช ประธานาธิบดีลินคอน หรือ นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล

Gottlob Frege นักปรัชญาชาวเยอรมันตั้งข้อสังเกตว่า "ในการได้ยินโครงหรือกาพย์ที่มีความไพเราะของภาษา เราจะสนใจเพียงความรู้สึกในประโยค จินตภาพและความรู้สึกเท่านั้นที่จะจูงใจเราให้คล้อยตาม คำถามเรื่องข้อเท็จจริงในเนื้อหาเรื่องราวทำให้เราต้องละทิ้งความยินดีทางสุนทรียะไปกับทัศนคติเกี่ยวกับการค้นหาความจริงในแบบวิทยาศาสตร์ ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องกังวลและคำนึงถึงเกี่ยวกับการอ้างอิงข้อเท็จจริงในเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น อย่างเช่นใน มหากาพย์โอดีสซี (*) ตราบที่เรายอมรับว่าโคลงกลอนนี้เป็นศิลปะ

(*)The Odyssey is one of two major ancient Greek epic poems attributed to Homer. It is, in part, a sequel to the Iliad, the other work traditionally ascribed to Homer. The poem mainly centers on the Greek hero Odysseus (or Ulysses, as he was known in Roman myths) and his long journey home following the fall of Troy. It takes Odysseus ten years to reach Ithaca after the ten-year Trojan War.[2] In his absence, it is assumed he has died, and his wife Penelope and son Telemachus must deal with a group of unruly suitors, called Proci, competing for Penelope's hand in marriage.

Frege คิดว่าสัญลักษณ์ทุกอย่างที่ประกอบขึ้นเป็นคุณลักษณะของสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง เชื่อมโยงอยู่กับสิ่งที่มันอ้างอิงถึงในเชิงความหมายของสัญลักษณ์ กับเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น เราเพียงแต่นึกถึงความหมายของถ้อยคำในรูปของความต่อเนื่องทางอารมณ์สุนทรียะที่สะท้อนขึ้นมาในใจ เช่นเดียวกับเรื่องราวสยองขวัญ เราจะนึกถึงความรู้สึกหรือนึกถึงความหมายของเนื้อหา เพื่อจุดประสงค์ในการตอบสนองอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอารมณ์สยองขวัญที่จะกระตุ้นให้เรารู้สึกหวาดกลัว

คำบรรยายและการนำเสนอถึงตัวอสูรกายผ่านทางเนื้อหาทางความคิดของผู้อ่านนวนิยายและผู้ชมภาพยนตร์ ได้สร้างให้ตัวละครที่เป็นอสูรกายหรืออมนุษย์ โดยอ้างอิงไปถึงความรู้สึกเกี่ยวกับมัน เช่น กลุ่มของคุณลักษณะของเคาท์แครกคูลา ที่บ่งชี้ถึงลักษณะอันน่าหวาดกลัวและน่าขยะแขยงของผีดูดเลือดในนวนิยาย. อารมณ์ของผู้ชมคืออารมณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองกับคุณลักษณะของอสูรกายนั้น เป็นการผสมผสานคุณลักษณะที่เป็นปัจจัยของความรังเกียจ ความรู้สึกขยะแขยงและความหวาดกลัว ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของศิลปะสยองขวัญ นับแต่ที่ผู้ชมถูกทำให้รู้สึกหวาดกลัวโดยเนื้อหาทางความคิด ผู้ชมก็ไม่ได้เชื่อว่าตนกำลังตกอยู่ในอันตราย และไม่ได้พยายามป้องกันตัว ผู้ชมไม่ได้แสร้งที่จะกลัว หากแต่ผู้ชมเกิดความหวาดกลัวจริงๆ โดยเป็นความหวาดกลัวที่เกิดจากความคิดเกี่ยวกับอสูรกาย ไม่ใช่เป็นความกลัวที่ว่าตนจะต้องตกเป็นเหยื่อรายต่อไป

มโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea) มโนภาพเชิงซ้อน(complex idea)
แนวคิดนี้สอดคล้องกับคำอธิบายทางญาณวิทยาของ John Locke (*) และ David Hume (**) นักปรัชญาสายประสบการณ์นิยม(Empiricism) เกี่ยวกับมโนภาพ(idea) กล่าวคือ ความรู้ถึงสิ่งต่างๆ ของมนุษย์ได้เกิดขึ้นผ่านการประทับรอยของประสบการณ์(impression)ทางผัสสะ(sensation) ลงไปภายในจิตใจ. John Locke เชื่อว่า จิตดั้งเดิมของมนุษย์มีลักษณะว่างเปล่า หากแต่มีความสามารถในการรับรู้และรับเอาภาพประทับ(impression) จากประสบการณ์นำมาเก็บไว้ภายในจิตในรูปของมโนภาพ(idea)

(*) John Locke (29 August 1632 - 28 October 1704) was an English philosopher. Locke is considered the first of the British empiricists, but is equally important to social contract theory. His ideas had enormous influence on the development of epistemology and political philosophy, and he is widely regarded as one of the most influential Enlightenment thinkers, classical republicans, and contributors to liberal theory.

(**) David Hume (26 April 1711 - 25 August 1776)[1] was a Scottish philosopher, economist, historian and a key figure in the history of Western philosophy and the Scottish Enlightenment. Hume is often grouped with John Locke, George Berkeley, and a handful of others as a British Empiricist.

มโนภาพ(idea) มีอยู่สองชนิดคือ มโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea) เป็นมโนภาพที่เกิดจากรอยประทับ(impression) ซึ่งได้รับมาจากประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส(sensation) โดยตรง และมนุษย์ได้ผสมผสานมโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea) ต่างๆเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดมโนภาพเชิงซ้อน(complex idea) ซึ่งเป็นภาพของสิ่งที่ไม่อยู่จริงในโลกภายนอก
ดังนั้นอสูรกายในเรื่องราวสยองขวัญซึ่งไม่มีปรากฏอยู่จริงในโลกภายนอก จึงสามารถถูกรู้จักได้ในฐานะมโนภาพเชิงซ้อน(complex idea) ซึ่งเป็นสิ่งที่รวบรวมเอาคุณลักษณะหรือมโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea) ของสิ่งอื่นๆ มาประกอบกันขึ้นเป็นตัวเป็นตนไว้ด้วยกัน มโนภาพเชิงเดี่ยวหรือคุณลักษณะเหล่านั้น ย่อมประกอบไปด้วยมโนภาพของสิ่งที่สามารถสร้างความน่าหวาดกลัวและน่าขยะแขยงให้แก่ผู้พบเห็นได้ เช่น มโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea)ของ"ค้างคาว"และมโนภาพเชิงเดี่ยวของ"ศพ"ที่ประกอบขึ้นเป็นมโนภาพเชิงซ้อน(complex idea) ของผีดูดเลือด เป็นต้น

กระนั้นก็ตาม แม้ว่าอสูรกายดังกล่าวจะไม่ได้มีตัวตนอยู่ในโลกของความเป็นจริงก็ตาม หากแต่คุณลักษณ์หรือมโนภาพของมนุษย์ที่มีต่อพวกมันก็เป็นสิ่งที่ได้รับมาจากการประกอบสร้างจากคุณลักษณ์หรือมโนภาพเชิงเดี่ยว(simple idea) ของสิ่งที่มีอยู่จริงซึ่งมนุษย์เคยมีประสบการณ์มาก่อน ดังนั้น อสูรกายในฐานะมโนภาพเชิงซ้อน(complex idea)จึงอาจถูกมองได้ว่า พวกมันมีคุณสมบัติทางสถานะที่มีอยู่จริงในเชิงวัตถุวิสัย(objective) เนื่องจากคุณลักษณะหรือมโนภาพต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวของพวกมันนั้น เป็นสิ่งที่มีคุณลักษณะเป็นความจริงเชิงวัตถุวิสัย(objective reality) ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้อสูรกายที่ประกอบขึ้นจากความเป็นจริงเช่นนี้มีสถานะในฐานะสิ่งที่มีอยู่ ซึ่งมันได้ทำให้มโนภาพ(idea)ที่มนุษย์มีต่ออสูรกายมีสถานะไม่แตกต่างไปจากมโนภาพที่มีต่อสิ่งที่มีอยู่จริงในเชิงวัตถุวิสัยอื่นๆ แม้ว่าอสูรกายเหล่านั้นจะไม่ได้มีปรากฏอยู่จริงในโลกภายนอกก็ตาม แต่สามารถกล่าวได้ว่า อสูรกายเหล่านั้นดำรงอยู่ในฐานะสิ่งที่มีอยู่จริงภายในจิตใจของมนุษย์

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com