ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 31 March 2009 : Copyleft MNU.

แม้ว่าจากสถานะของเรื่องราวสยองขวัญ ทั้งเรื่องเล่า วรรณกรรม รวมทั้งภาพยนตร์จะถูกมองว่า เป็นวัฒนธรรมชั้นล่างที่ด้อยค่าและไร้รสนิยมจากมุมมองของวัฒนธรรมชั้นสูง และจากวงการวิชาการกระ แสหลัก รวมทั้งจากมุมมองเชิงศีลธรรมทางสังคม กระนั้นก็ตามมันเป็นการยากที่จะปฏิเสธได้ว่า เรื่องราวสยองขวัญ ได้รับใช้สังคมในการทำหน้าที่เชิงจิตวิทยาในหลายแนวทาง ภาพยนตร์สยองขวัญได้เปิดช่องทางในการปลดปล่อยระบายออกทางอารมณ์ให้แก่ผู้ชม ในลักษณะเช่นเดียวกับเรื่องราวโศกนาฏกรรมมันช่วยให้ผู้ชมหลุดพ้นไปจากความน่าเบื่อของชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกับเรื่องราวประเภทเพ้อฝัน มันได้จัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับการแสดงออกถึงความกลัวทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวกับเรื่องตลก(comedy)...

H



31-03-2552 (1710)
ปัญหาทางปรัชญาและจิตวิทยาในภาพยนตร์สยองขวัญ
จิตวิเคราะห์ตอบปัญหา: ความพึงพอใจในการชมภาพยนตร์สยองขวัญ
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานค้นคว้าอิสระ เรื่อง
"การวิเคราะห์แนวทางการนำเสนอภาพยนตร์แนวสยองขวัญ"
ชื่อผู้วิจัย: วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ (นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ)
คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ: รองศาสตราจารย์ สมเกียรติ ตั้งนโม
อาจารย์ ทัศนัย เศรษฐเสรี, อาจารย์ วีระพันธ์ จันทร์หอม
บนหน้าเว็บเพจนี้ นำมาจากบางส่วนของบทที่ ๔ หัวเรื่อง
ปัญหาทางปรัชญาและจิตวิทยาในภาพยนตร์สยองขวัญ

งานวิจัยภาพยนตร์แนวสยองขวัญนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- โรงภาพยนตร์ ห้องนอน การหลับและฝันไป
- ภาพยนตร์สยองขวัญ: ไร้รสนิยม แต่ช่วยระบายถ่ายท้อง
- James Iaccino: techno-myths
- The paradox of Horror: ประติทรรศน์ของความน่าหวาดกลัว
- ภาพยนตร์สยองขวัญ: การหวนคืนของสิ่งปฏิกูลที่ถูกกดทับในวัยทารก
- Robin Wood: Normality is threatened by the Monster
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๑๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ปัญหาทางปรัชญาและจิตวิทยาในภาพยนตร์สยองขวัญ
จิตวิเคราะห์ตอบปัญหา: ความพึงพอใจในการชมภาพยนตร์สยองขวัญ
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ทฤษฏีภาพยนตร์ทางจิตวิเคราะห์ ได้ใช้แนวคิดของ Sigmund Freud ในเรื่องของ The Uncanny (*) เป็นพื้นฐานในการอธิบายภาพยนตร์สยองขวัญ ซึ่งโดยหลักการของทฤษฏีจะเกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องการกดข่ม (repression) และการย้อนกลับมาของสิ่งที่ถูกกดข่ม (return of the repressed) ในมุมมองของทฤษฏีภาพยนตร์ทางจิตวิเคราะห์ อสูรกายคือการย้อนกลับมาของสิ่งที่ถูกกดข่ม (**)

(*)The Uncanny (Ger. Das Unheimliche) is a Freudian concept of an instance where something can be familiar, yet foreign at the same time, resulting in a feeling of it being uncomfortably strange. Freud first put forward the uncanny in a 1919 essay titled Das Unheimliche (Eng: The Uncanny).

Because the uncanny is familiar, yet strange, it often creates cognitive dissonance within the experiencing subject due to the paradoxical nature of being attracted to, yet repulsed by an object at the same time. This cognitive dissonance often leads to an outright rejection of the object, as one would rather reject than rationalize.

The state is first identified by Ernst Jentsch in a 1906 essay, "On the Psychology of the Uncanny." Jentsch defines the uncanny as: "doubts whether an apparently animate being is really alive; or conversely, whether a lifeless object might not be in fact animate".

(**) Robin Wood. 2003.The Horror Film and Psychoanalysis: Freud's Worst Nightmares. United Kingdom, Cambridge. Cambridge University Press. Page XV

ตามแนวคิดของ Freud การที่มนุษย์ได้สร้างสังคมที่มีอารยธรรมขึ้นมา มนุษย์จำเป็นที่จะต้องกดทับความปรารถนาดั้งเดิมที่เกิดจากแรงขับทางสัญชาตญาณ เช่น ความปรารถนาทางเพศ(Libido), ความปรารถนาในการใช้ความรุนแรง(Thanatos) เอาไว้ในระดับจิตไร้สำนึก ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้อย่างปลอดภัย เช่นเดียวกับในกรณีของเด็กที่จำเป็นต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ทางสังคม และกดข่มความปรารถนาดั้งเดิมของตนเอาไว้เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

นอกจากความปรารถนาที่ไม่ได้รับการยอมรับจากกฎเกณฑ์ทางสังคมแล้ว มนุษย์ยังกดข่มความกังวล(Anxiety )ต่างๆ ซึ่งรบกวนความคิดไว้ในจิตไร้สำนึก(unconscious mind)ด้วย เช่น ความกลัวความโดดเดี่ยว, ความกลัวการถูกลงโทษฯ ความกังวลเหล่านี้เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์นับตั้งแต่ตอนเป็นเด็กทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดา ทั้งความปรารถนาและความกังวลเหล่านี้ต่างถูกกดทับไว้ในระดับจิตไร้สำนึก และในบางครั้งมันสามารถจะย้อนกลับมาปรากฏขึ้นในความฝัน

สิ่งที่ถูกกดทับไว้ สามารถปรากฏขึ้นมาในขณะที่บุคคลหลับในรูปของความฝันได้เพราะในขณะหลับ แรงกดจากซูเปอร์อีโก้ซึ่งเป็นกลไกทางจิตที่ถูกสร้างขึ้นมาจากกฏเกณฑ์ทางสังคมและศีลธรรมได้อ่อนแรงลง เปิดโอกาสให้สิ่งที่ถูกกดทับไว้ภายในจิตไร้สำนึกเป็นอิสระ และสามารถกลับมาปรากฏขึ้นในระดับจิตสำนึกได้. แต่ในยามตื่น กลไกทางจิตของซูปเปอร์อีโก้จะกลับมาทำงานอีกครั้ง และจะทำหน้าที่ตัดทอนและบิดเบือนเนื้อหาของความฝันในส่วนที่ขัดกับกฏเกณฑ์ทางสังคมและศีลธรรมซึ่งซูเปอร์อีโก้ไม่สามารถยอมรับได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ในบางครั้งบุคคลจึงลืมความฝันไปโดยสิ้นเชิง หรือในหลายครั้งความฝันจึงมีลักษณะที่แปลกประหลาด เป็นสัญลักษณ์

โรงภาพยนตร์-ห้องนอน การหลับและฝันไป
ในทางทฤษฏีภาพยนตร์ตามการศึกษาทางด้านจิตวิเคราะห์ กิจกรรมการชมภาพยนตร์ก็มีลักษณะเหมือนการฝัน การที่ผู้ชมนั่งชมภาพยนตร์ภายในโรงภาพยนตร์ที่ดับไฟมืด มีลักษณะคล้ายการเข้าสู่ภาวะของการนอนหลับที่ผู้ชมภาพยนตร์จะปลดปล่อยจิตใจออกมาจากการบังคับควบคุมร่างกาย และจดจ่ออยู่กับภาพเคลื่อนไหวที่ถูกฉายให้สว่างอยู่ท่ามกลางความมืด ซึ่งมันมีลักษณะคล้ายการปรากฏขึ้นของความฝันในขณะหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพยนตร์สยองขวัญซึ่งมีเนื้อหาเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับฝันร้าย

สำหรับภาพยนตร์สยองขวัญ องค์ประกอบหลักที่เป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญในทางจิตวิทยา ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกหวาดกลัวและความพึงพอใจของผู้ชมในที่นี้คือ ตัวของอสูรกาย การปรากฏตัวของอสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญเป็นการวาดภาพของอสูรกายขึ้นมาจากคำพรรณนาที่มีมาก่อน จากเรื่องเล่าในความเชื่อและนิทานพื้นบ้าน รวมทั้งจากที่มันได้รับการบรรยายถึงในงานวรรณกรรม

ภาพยนตร์สยองขวัญ: ไร้รสนิยม แต่ช่วยระบายถ่ายท้อง
แม้ว่าจากสถานะของเรื่องราวสยองขวัญ ทั้งเรื่องเล่า วรรณกรรม รวมทั้งภาพยนตร์จะถูกมองว่า เป็นวัฒนธรรมชั้นล่างที่ด้อยค่าและไร้รสนิยมจากมุมมองของวัฒนธรรมชั้นสูง และจากวงการวิชาการกระแสหลัก รวมทั้งจากมุมมองเชิงศีลธรรมทางสังคม กระนั้นก็ตามมันเป็นการยากที่จะปฏิเสธได้ว่า เรื่องราวสยองขวัญได้รับใช้สังคมในการทำหน้าที่เชิงจิตวิทยาในหลายแนวทาง ภาพยนตร์สยองขวัญได้เปิดช่องทางในการปลดปล่อยระบายออกทางอารมณ์ให้แก่ผู้ชม ในลักษณะเช่นเดียวกับเรื่องราวโศกนาฏกรรม(tragedy), มันช่วยให้ผู้ชมหลุดพ้นไปจากความน่าเบื่อของชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกับเรื่องราวประเภทเพ้อฝัน(fantasy), มันได้จัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับการแสดงออกถึงความกลัวทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวกับเรื่องตลก(comedy)

นักทฤษฏีภาพยนตร์ Robin Wood (*) กล่าวว่า "ประเด็นที่แท้จริงของภาพยนตร์สยองขวัญคือ ทั้งหมดเป็นการปลดปล่อยสิ่งที่อารยธรรมของเราได้กดทับหรือข่มทับไว้"( One might say that the true subject of the horror genre is all that our civilization represses or oppresses.) ซึ่งคำกล่าวนี้อาจทำให้เข้าใจได้เป็นอย่างดีถึงท่าทีและทัศนะที่สังคมส่วนใหญ่มีต่อเรื่องราวและภาพยนตร์สยองขวัญในเชิงเหยียดหยามหรือดูแคลน รวมทั้งทำให้สามารถเห็นได้ถึงแง่มุมทางจิตวิเคราะห์ ที่สามารถนำมาใช้ในการทำความเข้าใจสิ่งที่ถูกกดข่มในเชิงวัฒนธรรมเหล่านี้ได้ด้วย

(*) Robin Wood (born Robert Paul Wood on 23 February 1931, in Richmond, London, England) is a Canada-based author of several books of film criticism, including volumes on Alfred Hitchcock, Howard Hawks, Ingmar Bergman, and Arthur Penn. Wood is also a member of the editorial collective that publishes the magazine CineACTION!, a film theory collective founded by Wood and other colleagues of Toronto's York University where he is also a professor emeritus of film.

จากฐานคิดดังกล่าวนี้ อาจตั้งสมมติฐานขึ้นได้ 4 ประการคือ

1. การเล่าเรื่องตามแบบแผนของเรื่องราวสยองขวัญ ทำงานโดยย้อนกลับไปยืนยันความเชื่อในวัยเด็กที่ถูกละทิ้งไปนานแล้วของผู้ชมให้หวนคืนกลับมาอีกครั้ง, เช่นความเชื่อในเรื่องที่คนตายสามารถจะกลับมามีชีวิตได้อีก

2. อสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญ สามารถถูกเข้าใจได้ดีที่สุดในฐานะการปรากฏเป็นร่างในเชิงอุปมาอุปไมย (metaphorical embodiments) ของเรื่องราวนั้นๆ เช่น มันเป็นการย้อนกลับไปยืนยันความเชื่อที่ล่วงพ้นไปแล้ว โดยการทำให้สิ่งเหล่านั้นปรากฏตัวขึ้นมาให้เห็น

3. การก่อร่างในเชิงอุปมาอุปไมยนี้เป็นการกระทำต่อความคิด ไม่ใช่เพียงแค่การทำให้เห็นด้วยภาพในภาพยนตร์เท่านั้น อย่างที่กล่าวได้ว่า พวกมันได้ดำรงอยู่ในจิตใจไม่ใช่เพียงแค่ปรากฏบนจอภาพยนตร์

4. แม้ว่าธรรมชาติในการอุปมาอุปไมยของอสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญจะเป็นปัจจัยสำคัญในทางจิตวิทยา, โฉมหน้าที่แตกต่างกันของพวกมันก็มีความเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมด้วย

ไม่ใช่แต่เพียงในกรณีที่อสูรกายเป็นการก่อรูปหรือการทำให้เป็นรูปธรรมของสัญลักษณ์ที่เกิดจากเนื้อหาในจิตไร้สำนึกเท่านั้น หากแต่มันยังเป็นกรณีที่อสูรกายเป็นการก่อรูปของชั่วขณะเวลาในทางวัฒนธรรมหนึ่งๆ, และของความรู้สึกและสถานที่นั้นๆ ด้วย. สิ่งที่ทำให้อสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญสามารถดูน่าสะพรึงกลัวได้คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า พวกมันได้ก่อตัวในเชิงอุปมาอุปไมยขึ้นมาจากความเชื่อที่ผ่านพ้นไปแล้ว ในขอบเขตที่พวกมันประสบความสำเร็จในการเขย่าขวัญผู้ชม นั่นเป็นเพราะว่า วิธีการที่พวกมันรวบรวมเอาความเชื่อที่ล่วงพ้นไปแล้วไปเกี่ยวข้องความสัมพันธ์กับวัฒนธรรม

James Iaccino: techno-myths
James Iaccino (*) นักจิตวิเคราะห์ยอมรับว่า ภาพยนตร์สยองขวัญในฐานะของ "การวิเคราะห์เชิงแม่แบบ"(archetypal analysis) ตามแนวคิดของ Karl Gustav Jung นักจิตวิเคราะห์ชาวสวิสส์ ซึ่งนำไปสู่ผลสรุปที่คล้ายคลึงกัน "แม้ว่าการพัฒนาอารยธรรมจะดำเนินไปสู่ระดับจิตสำนึกที่สูงกว่า, การตีความใหม่ๆ ของเรื่องราวสยองขวัญในอดีตที่เก่าแก่ได้กลายมาเป็นปัจจัยดังที่เชื่อมโยงกับอดีตของมนุษยชาติ ซึ่งสามารถถูกรักษาไว้ได้อย่างเหมาะสม" Iaccino คิดว่า มันเป็นการเหมาะสมอย่างแท้จริงที่จะอ้างอิงถึงแบบแผนใหม่ในฐานะ "techno-myths" การสะท้อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สังคมของเราได้บรรลุถึงเงื่อนไขความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม. ในทางตรงกันข้าม ได้ล้อมรอบไม่เฉพาะทางด้านเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงเรื่องทางการเมือง, เชื้อชาติ, ศาสนา, และมิติทางเพศของสังคมเอาไว้ด้วย และที่นี่, สิ่งที่ถูกสะท้อนอยู่บ่อยครั้งคือทุกๆ สิ่งยกเว้น "ความก้าวหน้า" (advance)

(*) James Iaccino, Ph.D., joined The Chicago School in 2007. As a teaching psychologist, he tries to stay up-to-date with pop culture and education trends, and his research interests and areas of expertise reflect this. They include the application of Jungian archetypes to media (film genres and television series) and the development of online courses and their assessment.

อคติเดียวกันนี้ต่อปัจจุบัน สามารถถูกค้นพบได้ในความเห็นของ Barbara Creed (*) ที่กล่าวว่า "ภาพยนตร์สยองขวัญถูกสิงสู่โดยอสูรกายเพศหญิง, จำนวนมากของสิ่งที่ดูเหมือนจะได้พัฒนามาจากจินตภาพที่สิงสู่อยู่ในความฝัน, ตำนานและการปฏิบัติการทางศิลปะของบรรพบุรุษของเราเมื่อหลายศตวรรษล่วงมาแล้ว" ประเด็นคือ, ทำไมจึงเป็นการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงในใบหน้าของอสูรกาย(ในที่นี้คือเพศหญิง) ในความหมายของการวิวัฒนาการ? อย่างน้อยที่สุด มันเป็นการหลอกลวงในการทำให้นึกถึงว่าการเป็นตัวแทนของความเป็นอสูรกายจากยุคอดีตสามารถถูกเข้าใจในฐานะ "บรรพกาลดั้งเดิม" (primitive) ในการเปรียบเทียบกับสิ่งที่เป็นปัจจุบัน. ประเด็นหนึ่งที่ถูกชี้คือ "แม้ว่าโฉมหน้าของอสูรกายจะแตกต่างกันออกไปจากช่วงเวลาหนึ่งสู่อีกช่วงเวลาหนึ่ง, และจากสถานที่หนึ่งกับอีกสถานที่หนึ่ง, แต่มันก็ไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อว่า ในการเปลี่ยนแปลงนั้น มันจะทำให้อสูรกายใหม่มีความน่าสะพรึงกลัวมากกว่าไปได้

(*) Barbara Creed (born 1943) is a Professor of Cinema Studies in the School of Culture and Communication at the University of Melbourne known for her cultural criticism.

Creed is a graduate of Monash University and LaTrobe University where she completed doctoral research using psychoanalysis and feminist theory to understand certain practises of horror films. Her doctoral research was published by Routledge in 1993 as The Monstrous-Feminine: Film, Feminism and Psychoanalysis. In 2003 she published Media Matrix: Sexing the New Reality. Her 2005 book Phallic Panic: Film, Horror & the Primal Uncanny looks at the figures of Frankenstein, Dracula and Jack the Ripper and argues that these very male monsters are, using Freud's terms, aligned with the primal uncanny.

การวางค่าเงื่อนไขในความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นกลางบนประสิทธิภาพของอสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญ คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การเปลี่ยนแปลงมีนัยสำคัญถึงความก้าวหน้า. ตัวเลขของภาพยนตร์สยองขวัญหลังทศวรรษที่ 1960s ได้ลดความสำคัญของอสูรกายรุ่นคลาสสิค เมื่อเผชิญหน้ากับความสมจริงสมจังของทุกวันนี้ที่ผู้ชมมีประสบการณ์มากกว่า แต่มันก็ยังยากที่จะเชื่อว่าอสูรกายร่วมสมัยเช่น Freddy Kruger หรือ Jason Voorhees หรืออสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญสมัยใหม่อื่นๆ จะน่าสะพรึงกลัวมากกว่า Dracula, The Wolfman(มนุษย์หมาป่า), หรืออสูรกายอย่าง Frankenstein เมื่อปรากฏต่อผู้ชมในยุคก่อนทศวรรษที่ 1960s

ดังนั้นการพยายามอธิบายภาพยนตร์สยองขวัญโดยทฤษฏีจิตวิเคราะห์คือ การพยายามอธิบายเหล่าอสูรกายในความหมายของ The Uncanny โดยอาจจะสอดคล้องกับคำอธิบายอสูรกายในความหมายของภาพปรากฏของความเจ็บป่วยในสังคมในยุคหลังสมัยใหม่. Judith Halberstam (*) นักทฤษฏีทางเพศศึกษาได้ตั้งข้อสังเกตไว้เมื่อเธอกล่าวว่า "ความเป็นอสูรกายและความหวาดกลัวที่พวกมันได้ก่อให้เกิดขึ้น เป็นเงื่อนไขในทางประวัติศาสตร์มากกว่าที่จะเป็นลักษณะสากลทางจิตวิทยา" เมื่อมันได้กลายมาเป็นอสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญ ขอบเขตของประวัติศาสตร์และจิตวิทยาจึงไม่ได้แยกออกไปจากกันอีกต่อไป โดยการนำเสนอทฤษฏีที่มีสองระดับ, เป้าหมายนั้นเพื่อเป็นการลบเลือนการแบ่งแยกอย่างชัดเจนที่มักจะถูกสร้างขึ้นระหว่างคำอธิบายที่กว้างขวางของภาพยนตร์สยองขวัญ

(*)Judith Halberstam (born 15 December 1961) is Professor of English and Director of The Center for Feminist Research at University of Southern California. Before joining USC she was an Associate Professor in the Department of Literature at the University of California at San Diego (UCSD). In the broader cultural sphere, she has made contributions as a gender and queer theorist and author; she is also a participant in the drag king community under the name Jack Halberstam. She joined Duke University's faculty in 2007.

ในการตอบคำถามถึงความพึงพอใจในการชมภาพยนตร์ Christian Metz (*) นักทฤษฏีภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศสมีความเห็นว่า ภาพยนตร์สมัยใหม่ที่ถูกผลิตขึ้นภายใต้ระบบอุตสาหกรรมแบบทุนนิยมนั้น เป็นภาพยนตร์ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเจาะจงในอันที่จะสร้างความบันเทิงให้ผู้ชมได้รับความพึงพอใจ ตามทัศนะของ Metz การที่ภาพยนตร์สามารถสร้างความบันเทิงเพลิดเพลินใจให้กับผู้ชมได้ ก็เนื่องจากภาพยนตร์ได้ตอบสนองความปรารถนาของผู้ชม ให้ผู้ชมรู้สึกพึงพอใจในแนวทางที่ต่างกันไปอย่างหลากหลาย

(*) Christian Metz (1931-1993) was a French film theorist, best known for pioneering the application of Ferdinand de Saussure's theories of semiotics to film. During the 1970s, his work had a major impact on film theory in France, Britain and the United States. In Film Language: A Semiotics of Cinema, Metz focuses on narrative structure - proposing the "Grand Syntagmatique", a system for categorizing scenes (known as "syntagms") in films.

Metz applied both Sigmund Freud's psychology and Jacques Lacan's mirror theory to the cinema, proposing that the reason film is popular as an art form lies in its ability to both be an imperfect reflection of reality and as a method to delve into the unconscious dream state.

The paradox of Horror: ประติทรรศน์ของความน่าหวาดกลัว
ดังนั้นสำหรับภาพยนตร์แนวสยองขวัญแล้ว ความเพลิดเพลินใจในการชมภาพยนตร์แนวนี้ จึงมีลักษณะขัดแย้งอย่างแปลกประหลาดที่ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญจะรู้สึกพึงพอใจเมื่อได้รับการตอบสนองทางอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ (unpleasurable) อย่างเช่น ความหวาดกลัว ความน่าพรั่นพรึง และความรู้สึกขยะแขยงสะอิดสะเอียนเหล่านั้น ข้อขัดแย้งนี้ Noel Carroll (*) นักทฤษฏีภาพยนตร์ชาวอเมริกันเรียกว่า "The paradox of Horror" ซึ่งข้อขัดแย้งอันแปลกประหลาดนี้ ได้นำไปสู่คำถามที่ว่า ความปรารถนาแบบใด หรือเพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญจึงรู้สึกพึงพอใจต่ออารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัว, พรั่นพรึง, ขยะแขยงสะอิดสะเอียน ที่โดยทั่วไปแล้วอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจทั้งสิ้น

(*) Noel Carroll (born 1947) is an American philosopher considered an authority for his aesthetic analysis of films. He works in general on philosophy of art, theory of media and also philosophy of history. He is at present a distinguished professor of philosophy at the CUNY Graduate Center. As a journalist, he has also published a number of articles in the Chicago Reader, ARtforum, In These Times, Dance Magazine, Soho Weekly News and The Village Voice.

อาจเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายว่า ทำไมผู้ชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญจึงสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่น่าพึงพอใจนั้นในระดับสามัญสำนึก แต่สำหรับจิตวิเคราะห์แล้ว ความปรารถนาต่างๆ นั้น ไม่ได้มีอยู่เพียงในระดับของจิตสำนึก (Conscious mind) เท่านั้น หากแต่ยังมีความปรารถนาบางประการที่อยู่นอกเหนือไปจากการตระหนักรู้ของจิตสำนึก เนื่องจากความปรารถนาเหล่านั้นถูกข่มทับไว้ในระดับจิตไร้สำนึก (unconscious mind)

ทฤษฏีภาพยนตร์ในแนวทางจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Film Theory) มุ่งที่จะอธิบายความสนุกสนานเพลิดเพลินของผู้ชมภาพยนตร์ โดยอ้างอิงกับการดำรงอยู่ของความปรารถนาในจิตไร้สำนึก (unconscious) ของผู้ชมภาพยนตร์ อย่างที่ผู้ชมภาพยนตร์เองไม่ได้ตระหนักรู้ถึงความปรารถนานั้นมาก่อน ซึ่งหากจะอธิบายโดยทั่วไปแล้ว ลักษณะปรากฏการณ์ที่ขัดแย้งเกี่ยวกับการตอบสนองด้านอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญนี้ ได้ถูกลงความเห็นว่า เป็นปรากฏการณ์ที่ความสนุกสนานเพลิดเพลินของผู้ชมภาพยนตร์เขย่าขวัญได้รับมาจาก "การชดเชยหรือตอบสนองต่อความปรารถนาที่มีแหล่งที่มาจากจิตไร้สำนึก (unconscious)" กระนั้นก็ตาม การเสนอคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ของความขัดแย้งในการชมภาพยนตร์แนวสยองขวัญ โดยทฤษฏีภาพยนตร์ทางจิตวิเคราะห์นี้ก็ยังถูกเสนอออกมาในแนวทางที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวางด้วย

ภาพยนตร์สยองขวัญ: การหวนคืนของสิ่งปฏิกูลที่ถูกกดทับในวัยทารก
นักทฤษฏีภาพยนตร์แนวจิตวิเคราะห์กลุ่มหนึ่งมีความเห็นว่า ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญสนุกสนานเพลิดเพลินกับการชมภาพยนตร์เหล่านี้เพราะว่า มันเป็นการชดเชยและตอบสนองต่อความปรารถนาในระดับจิตไร้สำนึก ในอันที่จะย้อนเอาความพึงพอใจที่ถูกข่มทับไว้ของภาวะในวัยทารกให้คืนกลับมา

Barbara Creed หนึ่งในนักทฤษฏีภาพยนตร์ทางจิตวิเคราะห์ได้เสนอโดยการนิยามลักษณะของภาพยนตร์สยองขวัญว่า เป็นลักษณะของสิ่งปฏิกูลทางร่างกาย (Bodily waste) (*) , อย่างชนิดที่ เธอเชื่อว่า เป็นการเชื่อมโยงภายในจิตไร้สำนึกของมนุษย์เข้ากับภาวะความเป็นทารกในระยะแรก เมื่อมันได้ทึกทักเอาถึงความพึงพอใจในความผูกพันกับแม่ในช่วงก่อนการเรียนรู้บรรทัดฐานทางสังคม(social norms) เกี่ยวกับความสะอาดและการตระหนักรู้ถึงความเป็นตัวตน ในขณะที่การนำเสนอสิ่งปฏิกูลทางร่างกายในภาพยนตร์แนวสยองขวัญได้กระตุ้นเร้าให้ผู้ชมด้วยความน่าขยะแขยงและความน่ารังเกียจอันไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ได้ให้ความพึงพอใจในการย้อนกลับไปสู่ช่วงเวลาเมื่อตอนที่ความสัมพันธ์ของแม่กับลูกได้ถูกจดจำไว้ โดยความพึงพอใจในการเล่นกับร่างกายและสิ่งปฏิกูลได้อย่างอิสระ. สำหรับ Creed ผู้ชมสนุกสนานเพลิดเพลินกับภาพยนตร์แนวสยองขวัญเพราะว่า มันได้นำเสนอสิ่งปฏิกูลทางร่างกาย ซึ่งได้สร้างความพึงพอใจในการตอบสนองต่อความปรารถนาในจิตไร้สำนึก ในอันที่จะย้อนกลับไปสู่ช่วงเวลาแห่งความสุขในวัยทารกนั่นเอง

(*) Mulcolm Turvey. 2003.The Horror Film and Psychoanalysis: Freud's Worst Nightmares. United Kingdom, Cambridge. Cambridge University Press. Page 71

คำตอบของ Creed สามารถเชื่อมโยงกับคำอธิบายของ Noel Carroll เกี่ยวกับลักษณะพิเศษของอสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญได้เป็นอย่างดี จากการนิยามของ Noel Carroll ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า คุณลักษณะเฉพาะของอสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญที่ทำให้พวกมันแตกต่างออกไปจากอสูรกายในภาพยนตร์ประเภทอื่นๆ อย่างเด่นชัด นั่นคือ ลักษณะของการเป็นภัยคุกคาม ความอันตราย, ลักษณะของความแปลกหรือผิดปกติจากสิ่งอื่นๆ หรือจากสภาพแวดล้อม, และลักษณะที่สอดคล้องกับคำอธิบายของ Creed คือ อสูรกายในภาพยนตร์สยองขวัญ จะมีลักษณะที่ไม่สะอาด น่าขยะแขยงในทางใดทางหนึ่ง เช่น ผีดิบซอมบี้ที่มีร่างกายเป็นซากศพเน่าเปื่อย หรืออสูรกายกลายพันธุ์ที่ร่างกายบิดเบี้ยวผิดรูปหรือเต็มไปด้วยมูกเมือกต่างๆ หรือตัวมันอาจเป็นสิ่งที่เกลือกกลั้วหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ไม่สะอาดหรือน่าขยะแขยงในทางใดทางหนึ่ง เช่นผีดูดเลือดอย่างเคาท์แดรกคูลาหรือฆาตกรกระหายเลือดอย่าง Jason Voorhees ที่มักเป็นฝ่ายละเลงเลือดของเหยื่ออย่างเพลิดเพลิน

Robin Wood: Normality is threatened by the Monster
Robin Wood (*) ได้เสนอความเห็นที่คล้ายคลึงกันนี้ ยกเว้นแต่ สำหรับเขาแล้ว ความปรารถนาที่จะย้อนกลับไปสู่ช่วงเวลาแห่งความสุขในระยะเริ่มแรกก่อนการเรียนรู้บรรทัดฐานทางสังคมโดยทั่วไปนั้น ไม่ใช่เพียงแต่บรรทัดฐานทางสังคมที่ปิดกั้นสิ่งปฏิกูลทางร่างกายเท่านั้นที่ภาพยนตร์สยองขวัญได้ให้ความพึงพอใจ Wood มีความเห็นว่า การนิยามลักษณะของภาพยนตร์สยองขวัญว่าเป็น "ความปรกติธรรมดาที่ถูกคุกคามโดยอมนุษย์" (normality is threatened by the Monster) ซึ่งเขาได้นิยามความเป็นปรกติว่าเป็น "การปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมที่มีอิทธิพล" (conformity to…dominant social norms) ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความรู้สึกอยากสวนทาง(reverse)หรือตีกลับบรรทัดฐานทางสังคมที่ครอบงำ และดังนั้นจึงได้ค้นหาการคุกคามของอมนุษย์ เพื่อที่จะทำให้ตนเองรู้สึกขยะแขยงและรู้สึกไม่พึงพอใจ อย่างที่ในจิตไร้สำนึกมันคือความปรารถนาที่จะทำลายล้าง(wish to smash - พุ่งชน / ทำให้แตก)บรรทัดฐานทางสังคมนั้น

(*)Robin Wood (born Robert Paul Wood on 23 February 1931, in Richmond, London, England) is a Canada-based author of several books of film criticism, including volumes on Alfred Hitchcock, Howard Hawks, Ingmar Bergman, and Arthur Penn. Wood was also a member, until 2007, of the editorial collective that publishes the magazine CineACTION!, a film theory collective founded by Wood and other colleagues of Toronto's York University where he recently retired as professor emeritus of film. He is still contributing editor of the magazine.

เพราะว่ามนุษย์รู้สึกถูกบังคับกดขี่จากบรรทัดฐานดังกล่าว ตามข้อเสนอของ Wood ผู้ชมสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการชมภาพยนตร์สยองขวัญก็เพราะว่า การคุกคามของอมนุษย์ต่อบรรทัดฐานทางสังคม ตอบสนองและสร้างความพึงพอใจให้กับความปรารถนาในจิตไร้สำนึก ในอันที่จะย้อนกลับไปสู่ช่วงเวลาแห่งความพึงพอใจในวัยทารกที่เป็นอิสระจากบรรทัดฐานเหล่านั้น

ในกรณีของ Robin Wood เป็นที่ชัดเจนว่า เขาได้ตั้งจุดหมายในการตีความภาพยนตร์สยองขวัญไว้ที่ตัวของอสูรกายอย่างชัดเจน สำหรับ Wood นั้น รูปลักษณ์ของอสูรกาย คือสิ่งที่เป็นอุปมาอุปไมยปรากฏเป็นภาพสะท้อนของรอยร้าวในสังคมที่ผู้ชมภาพยนตร์มองหา เพื่อที่จะใช้เป็นช่องทางในการโจมตี หักล้าง หรือโต้แย้งกับกรอบของบรรทัดฐานทางสังคมที่ตีวงล้อมรอบพวกเขาไว้ เช่น ในกรณีของอสูรกายอย่าง Frankenstein , Robin wood ได้ชี้ว่ารูปลักษณ์ของอสูรกายนี้เป็นภาพสะท้อนของชนชั้นแรงงาน, คนจน, คนไร้บ้านหรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมอื่นๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ถูกกดข่มไว้ในทางจิตวิทยาเท่านั้น หากแต่ยังเป็นสิ่งที่ถูกกดข่มไว้ในทางสังคมอีกด้วย (*) หรือในกรณีของผีดิบซอมบี้ในภาพยนตร์ไตรภาคชุด 'Living Dead' ของ George Romero มันก็ได้แสดงถึงความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันของผู้คนในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งความรู้สึกเกลียดชังเหล่านั้นก็ไม่เป็นที่ยอมรับในระดับของวัฒนธรรม และมันได้ถูกกดข่มไว้ด้วยกฎหมายหรือกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมหรือศาสนา

(*) Robin Wood. 2003. The Horror Film and Psychoanalysis: Freud's Worst Nightmares. United Kingdom, Cambridge. Cambridge University Press. Page XV

นักทฤษฏีภาพยนตร์ทางจิตวิเคราะห์กลุ่มที่สอง มีความเห็นต่างไปในทิศทางที่ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง นักทฤษฏีภาพยนตร์กลุ่มนี้เสนอว่า ภาพยนตร์แนวสยองขวัญนั้นนำเสนอความไม่พึงพอใจ(unpleasurable) และสิ่งที่ถูกข่มทับไว้ในวัยทารกมากกว่าที่จะเป็นการนำเสนอความพึงพอใจ(pleasurable) สาเหตุประการหนึ่งซึ่งทำให้มนุษย์ปรารถนาที่จะย้อนเอาสิ่งเหล่านั้นกลับมาก็คือ จิตไร้สำนึกของมนุษย์ปรารถนาที่จะเอาชนะสิ่งที่ไม่เป็นที่พึงพอใจเหล่านั้น ภาพยนตร์แนวสยองขวัญสามารถสร้างความเพลิดเพลินสนุกสนานให้ผู้ชมได้ก็เพราะมันได้ตอบสนองต่อความปรารถนานั้นของจิตไร้สำนึก

Krin Gabbard และ Glen Gabbard ได้เสนอว่า การนิยามลักษณะของภาพยนตร์แนวสยองขวัญว่า เป็นการนำเสนอความไม่พึงพอใจ ที่เป็นความกังวลในวัยทารกที่ถูกข่มไว้ (repressed infantile anxieties) ซึ่งได้ถูกปลุกขึ้นมา อย่างเช่นในกรณีของภาพยนตร์เรื่อง Alien ในขณะที่ภาพยนตร์เรื่อง Alien ได้กระตุ้นให้เกิดความไม่พึงพอใจ(unpleasurable) ของอารมณ์สยองขวัญ (horror) โดยการปลุกความกังวลที่ถูกข่มไว้ขึ้นมา ด้วยการสร้างรูปร่างของบางสิ่งที่สามารถหันมาต่อต้านเราได้ การกระตุ้นเร้านี้เป็นความสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างยิ่งยวดสำหรับผู้ชม เพราะว่ามันได้ก่อให้เกิดชัยชนะและโล่งใจต่อความกังวลที่ภาพยนตร์ได้สร้างขึ้น

ตามที่ Freud ชี้ไว้ ปรากฏการณ์นี้เป็นสภาพที่ถูกบีบบังคับ เพื่อย้อนเอาเหตุการณ์ที่เจ็บปวด (traumatic event) ซึ่งเป็นประสบการณ์ของการถูกกระทำในอดีตในขณะที่เป็นทารก โดยเป็นความพยายามที่จะเอาชนะความเจ็บปวดเหล่านั้น ผู้คนต่อแถวกันเพื่อซื้อตั๋วเข้าชมภาพยนตร์อย่าง Alien เพราะต้องการกลับไปเผชิญหน้ากับความกังวลอันทรงพลังที่ดำรงอยู่ในจิตไร้สำนึก ในขณะเดียวกับเป็นการพังทลายของผัสสะที่เป็นตัวควบคุมการรับรู้สิ่งเร้ารอบตัวลงไปเมื่อได้เข้าสู่โรงภาพยนตร์อันมืดมิด ยิ่งไปกว่านั้น ภาพยนตร์ได้เผยถึงระยะห่างทางสุนทรียภาพที่ทำให้ผู้ชมได้ตระหนักรู้ว่า ความพรั่นพรึงที่กำลังเกิดขึ้นบนจอภาพยนตร์นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และนั่นทำให้ผู้ชมสามารถมีประสบการณ์ของความโล่งใจได้ตลอดระยะเวลาที่ผู้ชมได้ถูกทำให้ตื่นตระหนก

สำหรับ Krin Gabbard และ Glen Gabbard ขณะที่ภาพยนตร์สยองขวัญกระตุ้นความกังวลที่ถูกข่มในทางที่ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจสำหรับผู้ชม ในท้ายที่สุดมันก็เป็นความน่าพึงพอใจด้วยเช่นกันเพราะมันได้ตอบสนองความปรารถนาในจิตไร้สำนึกของผู้ชมในการที่จะเอาชนะและปลดเปลื้องความกังวลเหล่านั้น

และในกลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มทฤษฏีภาพยนตร์แนวจิตวิเคราะห์ในกลุ่มที่สามเป็นการนำเอาทั้งสองแนวทางข้างต้นมาใช้ร่วมกัน อาทิเช่น ตามแนวทางของ Carol Clover (*) เป็นต้น. ภาวะดั้งเดิมของมนุษย์เราและการรับรู้ ชี้ถึงตัวตนของเราอาจจะอยู่ในลักษณะถูกกำหนดให้เป็นเหยื่อ. โครงร่างของความกลัวและความปรารถนาในวัยทารกของเรา ก่อเกิดความรู้สึกถึงความเป็นตัวตนของเราอันเล็กจิ๋วและเปราะบาง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งอื่นที่ใหญ่โตกว่า แต่สิ่งอื่นๆ นั้นในท้ายที่สุด ก็ได้กลายมาเป็นอีกส่วนหนึ่งของตัวเราด้วยเช่นกัน ภาพฉาย (projection) ของความก้าวร้าว และความปรารถนาของวัยทารกที่ถูกข่มไว้ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่เรามี แต่ถูกปฏิเสธจากอารยธรรม

(*)Carol J. Clover (born 31 July 1940) is an American professor of film studies, rhetoric language and Scandinavian mythology. She has been widely published in her areas of expertise. Her 1992 book Men, Women, and Chainsaws: Gender in the Modern Horror Film achieved popularity beyond academia, [1] [2] and she is credited with developing the "final girl" theory, within the book, which changed both popular and academic conceptions of gender in horror films. Clover is a featured expert in the film S&Man, which premiered at the Toronto International Film Festival in 2006.

สำหรับ Clover ภาพยนตร์แนวสยองขวัญได้นำเสนอทั้งความน่าพึงพอใจและความไม่เป็นที่น่าพึงพอใจที่ถูกข่มไว้ของภาวะในวัยทารกออกมาพร้อมๆกัน ผู้ชมสนุกสนานเพลิดเพลินภาพยนตร์แนวสยองขวัญเพราะว่า มันได้ตอบสนองความปรารถนาที่จะย้อนเอาความน่าพึงพอใจกลับมา และรวมทั้งการเอาชนะสิ่งที่ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจไปด้วยในเวลาเดียวกัน ถึงอย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนี้ ต่างมีจุดร่วมกันบนรูปแบบพื้นฐานของทฤษฏีจิตวิเคราะห์ในการอธิบาย ทั้งหมดนั้นได้พยายามที่จะอธิบายความสนุกสนานเพลิดเพลินของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญ โดยอ้างอิงหลักการพื้นฐานในการดำรงอยู่ของความปรารถนาในจิตไร้สำนึก และเป็นการลงความเห็นว่าภาพยนตร์แนวสยองขวัญเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจเพราะว่า มันได้ตอบสนองต่อความปรารถนาในจิตไร้สำนึก

ไม่ว่าคำอธิบายที่ได้รับจากการใช้ทฤษฏีภาพยนตร์ในทางจิตวิเคราะห์ในการทำความเข้าใจภาพยนตร์สยองขวัญจะแตกต่างกันไปเช่นไร สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนสำหรับมุมมองทางจิตวิเคราะห์คือ มันมีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรืออาจกล่าวได้ว่า มันมีความยึดโยงกันอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน ระหว่างกลไกทางจิตของตัวบุคคลกับโครงสร้างทางวัฒนธรรมของสังคม ในทั้งสองระดับนี้ต่างได้สะท้อนภาพของกันและกันออกมาอย่างสอดคล้องกัน ดังนั้นในเมื่อจิตใจของบุคคลไม่อาจหลีกเลี่ยงการกดข่มความปรารถนาหรือความกังวลต่างๆ เอาไว้ได้ในระดับของการพัฒนาการทางบุคลิกภาพและทางสังคม อารยธรรมเองในระดับของวัฒนธรรมก็ย่อมมีกลไกของการกดข่มบางสิ่งบางอย่างไว้เพื่อให้สังคมได้มีพัฒนาการขึ้นไปตามลำดับเช่นเดียวกัน

กระนั้นก็ตามด้วยธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสิ่งที่มีความขัดแย้งอยู่ภายในตนเอง คุณลักษณะเช่นนี้ของมนุษย์ ย่อมสะท้อนไปสู่สังคมในทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก โดยทางตรงหรือทางอ้อม ในทางจิตวิเคราะห์สัญลักษณ์ที่ปรากฏในความฝันไม่ได้เป็นแต่เพียงช่องทางการปลดปล่อยระบายออกของความปรารถนาและความกังวลเพียงเท่านั้น หากแต่มันยังเป็นเครื่องหมายบ่งชี้ถึงความขัดแย้งหรือปมปัญหาบางประการที่ดำรงอยู่ในจิตใจด้วยเช่นเดียวกัน การตีความความฝันจึงมิได้เป็นเพียงการอ่านบางสิ่งที่ถูกกดข่มเอาไว้แต่เพียงประการเดียว หากแต่มันยังเป็นหนทางนำไปสู่การแก้ปัญหาของนักจิตวิทยาในกระบวนการบำบัดทางจิตวิเคราะห์อีกด้วย เช่นเดียวกันกับการทำความเข้าใจลักษณะอันแปลกประหลาดของภาพยนตร์สยองขวัญ ซึ่งมันอาจเป็นหนทางในการทำความเข้าใจปัญหาหรือข้อขัดแย้งบางประการที่ถูกกดข่มไว้ในระดับที่ไร้สำนึกในทางสังคมวัฒนธรรมด้วย

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com