ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 19 March 2009 : Copyleft MNU.

เรื่องราวของการถูกประณามของแรงงานที่ให้บริการทางเพศมีการพูดถึงอย่างกว้างขวางโดยผู้ให้สัมภาษณ์ พวกเธอเล่าว่า "ฉันเคยรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของผู้คนในชุมชนฉันดี ซึ่งก็มักจะชอบมีการพูดถึงลักษณะงานที่แรงงานหญิงมาทำ พวกที่เรียกตัวเองว่าเป็น "คนดี" เหล่านี้เรียกฉันด้วยชื่อต่างๆ มากมาย! เป็นเรื่องง่ายสำหรับพวกเขาที่จะกลับไปที่บ้าน และเล่าเรื่องว่าฉันขายร่างกายของฉันอย่างไรหรือฉันไม่ได้บริสุทธิ์ต่อไปแล้ว แต่พวกเขาไม่ได้คำนึงเลยว่าหากฉันทำเงินไม่ได้ ครอบครัวของฉันจะไม่มีกินหรือสุขภาพแม่ฉันก็จะไม่ดีขึ้น แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้เลย พวกเขาแค่นั่งอยู่บนม้านั่งแห่งศีลธรรมอันสูงส่งของพวกเขา แล้วชี้นิ้วว่าพวกเราว่าเป็นหญิงเลวร้ายอย่างไรและพูดถึงงานที่เราทำ" (หญิงให้บริการทางเพศ)

H



19-03-2552 (1703)
แรงงานพม่าย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง ราคาของการทำงานในขุมนรก
แรงงานพม่าย้ายถิ่น: ทุกข์บนรองเท้าส้นสูงของแรงงานให้บริการทางเพศ
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ สนใจประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและสื่อพลัดถิ่นพม่า

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความวิชาการนี้ได้รับมาจากผู้เรียบเรียง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอันตรายของแรงงานพม่าย้ายถิ่นหญิง
และการบาดเจ็บจากการทำงาน ทั้งในส่วนของแรงงานที่ทำงานในโรงงานและสถานบริการทางเพศ
กรณีศึกษาปัญหาแรงงานพม่าย้ายถิ่นหญิงนี้ ศึกษาในประเทศไทยและประเทศจีน โดยมีการสำรวจ
และการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งทำให้เห็นภาพความทุกข์ยากของแรงงาานเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน

บทความเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- อันตรายทางร่างกายที่เกิดขึ้นกับแรงงานย้ายถิ่น
- เชื้อโรค : จากสภาพแออัดในโรงงาน สู่อาชีพโสเภณี และ HIV
- อุบัติเหตุและการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงาน
- การบาดเจ็บจากการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง
- การบาดเจ็บทางด้านจิตใจของแรงงานย้ายถิ่น
- สิ่งจำเป็นที่สังคมต้องช่วยเหลือ
- ถนนโลกีย์แห่งการเอารัดเอาเปรียบ
- การลิดรอนสิทธิของแรงงานย้ายถิ่นในบริการทางเพศและกลุ่ม "เจ้าสาว"
- แรงงานย้ายถิ่นหญิงในบริการทางเพศ: พวกเธอเป็นใคร
- คำประณามจากม้านั่งอันสูงส่งทางศีลธรรม
- ชีวิตประจำวันบนรองเท้าส้นสูงของแรงงานให้บริการทางเพศ
- แรงงานหญิงบริการทางเพศตามถนนในจีน, เจ้าสาวสำหรับชาวจีน
- แรงงานในร้านคาราโอเกะและบาร์ในประเทศไทย
- ชีวิตที่ถูกตักตวงผลประโยชน์ ความรุนแรง และความเสี่ยงจากโรคติดต่อ
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๐๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แรงงานพม่าย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง ราคาของการทำงานในขุมนรก
แรงงานพม่าย้ายถิ่น: ทุกข์บนรองเท้าส้นสูงของแรงงานให้บริการทางเพศ
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ สนใจประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและสื่อพลัดถิ่นพม่า
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ราคาของการทำงานในขุมนรก
อันตรายและการบาดเจ็บจากการทำงานของแรงงานย้ายถิ่น

จุดประสงค์ประการหนึ่งของงานวิจัยนี้ เพื่อเน้นย้ำถึงสภาวการณ์ในการทำงานในแต่ละวันและการกดขี่ข่มเหงด้านสิทธิมนุษยชนที่แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงต้องเผชิญในสภาพการทำงานที่ไม่ปกติ ในรายงานการวิจัยนี้ อันตรายและการบาดเจ็บจากการทำงานของแรงงานย้ายถิ่นจากประเทศพม่าพบได้ทั้งในประเทศไทยและจีน การสัมภาษณ์ได้ถูกออกแบบเพื่อให้แรงงานหญิงได้มีโอกาสเสนอความคิดเห็นของตนรวมถึงแสดงสิทธิในเรื่องการทำงาน ซึ่งเป็นอำนาจที่ถูกปฏิเสธจากประเทศเจ้าบ้านที่พวกเขาไปอาศัยพักพิง ดังนั้นการสัมภาษณ์จึงถูกจัดทำเป็นพิเศษเพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับความเสียหายจากการทำงาน และเพื่อให้ทราบว่าแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงรู้สึกอย่างไรในชีวิตและการทำงานของพวกเขา

สาระสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพการทำงานที่ไม่ปกตินี้ ถูกค้นคว้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดย BWU (Burmese Women's Union) (*) ในรายงานเรื่อง Cycle of Suffering(2000) จากรายงานพบว่า นักวิจัย BWU สามารถรวบรวมเรื่องราวของแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการทำงานที่ประสบกับความยากลำบากในการต่อรองเพื่อให้มีสภาพการทำงานที่ดีขึ้น หรือได้รับสิทธิทางกฎหมาย นอกจากนี้การถูกจับกุมและการถูกขับออกจากประเทศยังคงเป็นสภาวะที่ไม่ปลอดภัยสำหรับแรงงานหญิงซึ่งไม่ได้รับการปกป้อง ยิ่งไปกว่านั้นแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงมากมายต้องทนทุกข์ทรมานทางด้านสุขภาพที่ได้รับอันตรายจากการทำงาน BWU หวังว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับการสูญเสียทางด้านร่างกายและจิตใจจากการทำงานของแรงงานย้ายถิ่น จะทำให้นักเคลื่อนไหวทางสังคม ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ และผู้เกี่ยวข้องตระหนักถึงสาเหตุของความเสี่ยงภัยที่แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงต้องเผชิญ รวมถึงช่วยกันแก้ไขปัญหาเรื่องการกดขี่ข่มเหงแรงงาน

(*) On January 7, 1995, a group of young female students left Burma for the Thai-Burma border after the military's brutal crack-down on the popular uprising. These women formed the Burmese Women's Union (BWU) to work for the rights of women, to increase women's participation in the Burmese political arena and to provide much-needed support for women in the refugee camps along the borders of Burma.

BWU is an independent association aiming to organize the women of Burma, both along the Thailand, India and China borders and internationally. Membership with BWU is open to all women of Burma regardless of ethnicity, race, religion, marital status, sexual preference, or livelihood. Part of BWU's mission is to respond to the social welfare needs of its members and provide short-term educational and vocational training programs for women. BWU sends its representatives to regional and international forums and conferences to highlight the situation of women in Burma as well as to gain international advocacy skills and establish a network of international and regional women's organizations.

อันตรายทางร่างกายที่เกิดขึ้นกับแรงงานย้ายถิ่น
ความเหนื่อยล้าและสภาวะการขาดสารอาหาร

ความเหนื่อยล้าเป็นสิ่งที่ธรรมดาที่เกิดขึ้นจากการทำงานหลากหลายสาขาในฐานะที่เป็นแรงงานย้ายถิ่น ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน การทำงานที่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ไม่มีเวลาพักผ่อน การถูกไล่ออก ล้วนแต่ส่งผลกระทบกับทุกคนที่ให้สัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ใช้คำพูดว่า "ใช้แรงจนหมด" และ "เหนื่อยจนหมดแรง" ในการอธิบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับร่างกายในการทำงานประจำวัน ถึงแม้ว่าจะมีผู้กล่าวว่าความเหนื่อยล้าทางกายนั้นเชื่อมโยงกับการทำงานเป็นปกติ แต่ประสบการณ์ความเหนื่อยล้าของแรงงานย้ายถิ่นน่าจะมาจากการทำงานหนักเกินไปภายใต้สภาพที่ขาดความเมตตาปรานี ซึ่งไม่ตรงกับนโยบายของแรงงานนานาชาติ เว้นแต่นายจ้างปฏิบัติกับแรงงานย้ายถิ่นดั่งมนุษย์ที่สมควรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่การข่มเหงแรงงานย้ายถิ่นยังคงมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นายจ้างต้องยินยอมให้แรงงานย้ายถิ่นเหล่านั้นได้รับสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานตามหลักสากล ตัวอย่างเช่น การหยุดพัก และ กำหนดระยะเวลาในการทำงานที่ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ความทุกข์ทรมานและความเหนื่อยล้าบรรเทาลง

ภาวะขาดสารอาหารเป็นผลกระทบทางร่างกายอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากการทำงานที่เคร่งเครียดซึ่งเชื่อมโยงกับการทำงานที่ไม่ปกติ ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งหมดนี้มีผลกระทบต่อความอยากอาหารและโภชนาการ สภาวะการขาดสารอาหารถูกพบว่ามีความเชื่อมโยงกับแรงงานและความเครียดทางด้านการเงิน สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องส่งเงินกลับบ้านที่ประเทศพม่า พวกเธอมักจะไม่ใช้จ่ายซื้อของและบริโภคสิ่งที่มีความจำเป็นด้านโภชนาการ ปัจจัยอื่น ๆ เบื้องหลังการขาดสารอาหารของแรงงานย้ายถิ่นนั้นรวมไปถึงการได้รับสารอาหารที่ไม่มีประโยชน์เนื่องมาจากระเบียบข้อบังคับในการทำงาน และ/หรือ นายจ้างไม่ได้แบ่งปันอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของพวกเขา

(*) บางโรงงานตัดค่าอาหารจากค่าจ้างแรงงาน แต่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายอาหารของบางโรงงานจึงไม่ค่อยมีคุณค่าทางอาหาร นอกจากนั้นนายจ้างมักไม่อนุญาตให้แรงงานทำอาหารในโรงงาน แรงงานจึงไม่มีทางเลือกหรือไม่สามารถหาอาหารอื่นมารับประทานเพื่อเพิ่มคุณค่าได้

BWU เชื่อว่าผลกระทบทางด้านร่างกายอันเนื่องมากจากปัญหาการขาดสารอาหาร และความเหนื่อยล้าจากการทำงานต้องได้รับการแก้ไข นอกจากนั้น สภาวะต่างๆ เป็นอันตรายเนื่องมากจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพและภูมิต้านทานของแรงงานย้ายถิ่น และยังก่อให้เกิดความเสี่ยงในการรับเชื้อโรคร้ายแรง ต้องได้รับการดูแลปรับปรุงด้วย

เชื้อโรค : จากสภาพแออัดในโรงงาน สู่อาชีพโสเภณี และ HIV
ผลกระทบด้านสุขภาพของแรงงานย้ายถิ่น นักวิจัยของ BWU ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ที่ทำงานด้านสุขภาพจากคลินิกแม่ตาว ของแพทย์หญิง Cynthia Maung* ในอำเภอแม่สอด ประเทศไทย คลินิกนี้เป็นสถานที่เฉพาะสำหรับการตรวจเช็คสุขภาพของแรงงานย้ายถิ่น และดูเหมือนว่าเป็นเพียงแค่คลินิกเดียวเท่านั้นในประเทศไทยที่เสนอการรักษาพยาบาลที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับแรงงานย้ายถิ่นในสถานะไม่ปกติ (สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิในระบบการรักษาพยาบาลของประเทศเจ้าบ้าน)

(*)Dr. Cynthia Maung (born 6 December 1959) is a Karen medical doctor who since 1989 has lived in Mae Sot, on the Thai-Burmese border. She left Burma (now Myanmar) after the 8888 Uprising and has since run a clinic treating Burmese refugees, migrants and orphans at Mae Tao Clinic in Mae Sot on the Thai-Burmese border, together with 100 paramedics and teachers.

ปัจจุบันคลินิกแม่ตาว ดำเนินการมากว่า 13 ปี ให้บริการดูแลสุขภาพแก่ผู้ลี้ภัย แรงงานย้ายถิ่นและผู้ที่เดินทางข้ามแดนจากพม่าเข้ามารักษาในประเทศไทย จากการอุทิศทำงานอย่างหนักของท่าน ทำให้ได้รับรางวัลระดับนานาชาติจากการทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและแรงงานย้ายถิ่น รางวัลนี้รวมถึง Ramon Magsaysay (Asia's Nobel's Prize), Jonathan Mann Award from the United States for Heath และ Human Rights and the John Humphery Freedom Award from Canada)

ผู้ที่ทำงานด้านสุขภาพเปิดเผยว่า แรงงานย้ายถิ่นในสถานะไม่ปกติ ต้องประสบกับความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคหลายประเภท เนื่องจากสภาพการทำงานที่เลวร้าย และก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจ และการติดเชื้อทางผิวหนังเกิดขึ้นบ่อยครั้งในผู้ป่วยที่เป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องมาจากความแออัดและมีระบบการถ่ายเทอากาศที่ไม่ดีในโรงงาน มากไปกว่านั้นการทำงานเป็นเวลานานและที่อยู่ที่คับแคบ มักทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคอย่างแพร่หลาย

ผู้ให้สัมภาษณ์ยังกล่าวอีกว่า สภาพความเป็นอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นแย่มาก แรงงานย้ายถิ่นได้รับสิทธิความต้องการขั้นพื้นฐานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่นน้ำประปา และ ระบบการระบายน้ำ ซึ่งมีส่วนให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายของแรงงานย้ายถิ่น แรงงานย้ายถิ่นที่ทำงานในหลาย ๆ โรงงานยืนยันว่า โรงงานของพวกเธอไม่ได้จัดหาน้ำที่ใช้บริโภคอย่างเพียงพอต่อผู้หญิงในการชำระร่างกายและการซักเสื้อผ้าที่สกปรก หลาย ๆ คนต้องตัดสินใจว่าอะไรที่สำคัญกว่าก็จำเป็นต้องทำสิ่งนั้นเป็นอันดับแรก

นอกจากนั้นเชื้อโรคจากระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง และเชื้อโรคที่มีความสัมพันธ์กับแหล่งน้ำ แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กยังต้องประสบกับความเสี่ยงในการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น HIV/AIDS เนื่องจากแรงงานเหล่านั้นไม่ได้รับสิทธิในการรักษาดูแลรวมถึงได้รับการศึกษาด้านสุขภาพ นอกจากนั้นโรงงานและนายจ้างจำกัดการเคลื่อนไหวของแรงงานย้ายถิ่น ได้ขัดขวางการได้รับข่าวสารด้านสุขภาพเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ตลอดจนการรักษา ผู้ให้สัมภาษณ์จากคลินิกแม่ตาวได้อธิบายเพิ่มเติมว่า นายจ้างปฏิเสธที่จะให้แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงได้รับสิทธิในการรับรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงเกี่ยวกับอันตรายจากการทำแท้งจนกระทั่งการติดเชื้อ HIV/AIDS

ดังที่ได้กล่าวมาเกี่ยวกับความวิตกกังวลปัญหา HIV/AIDS ทั้งนี้ได้พบในแรงงานที่ให้บริการทางเพศซึ่งเป็นอาชีพที่มีอันตรายต่อการติดเชื้อโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ แรงงานย้ายถิ่นที่ประกอบอาชีพให้บริการทางเพศ เรียกร้องเพื่อให้มีเพศสัมพันธ์และสภาพการทำงานที่ปลอดภัย แต่ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับผู้จัดการธุรกิจหรือลูกค้า เมื่อบุคคลเหล่านั้นปฏิเสธที่จะพาแรงงานไปตรวจสุขภาพ แรงงานก็หมดโอกาสที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพและต้องรับความเสี่ยงในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่นายจ้างและลูกค้าเพิกเฉยต่อสุขภาพของแรงงานย้ายถิ่น ซึ่งทำให้มีผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพของแรงงานย้ายถิ่นชาวพม่าที่ประกอบอาชีพให้บริการทางเพศ ตัวอย่างเช่น อัตราการติดเชื้อ HIV/AIDS ในจำนวนแรงงานย้ายถิ่นให้บริการทางเพศที่ถูกสัมภาษณ์ในประเทศจีน (BWUได้จากแหล่งข้อมูลเพียงเล็กน้อยจากศูนย์ข้อมูลสำหรับแรงงานย้ายถิ่นที่ประกอบอาชีพให้บริการทางเพศในประเทศจีน) มีอัตราการติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 30 (*) ซึ่งน่าตกใจว่าจำนวนตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าแรงงานย้ายถิ่นที่ในบริการทางเพศไม่ได้รับการตรวจหาเชื้อ HIV/AIDS หรือแม้ว่าตรวจหาการติดเชื้อโรคอื่นๆ หลายคนไม่ยอมเปิดเผยว่าตนเองติดเชื้อเนื่องจากกลัวว่าจะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้

(*) เป็นการประมาณ จากแรงงานที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์ของ BWU พบว่า 3 คนใน 10 คนของแรงงานหญิงในบริการทางเพศ ที่ สำหรับแรงงานในภาคนี้ มีเชื้อHIV/AIDS ซึ่งทางองค์กรได้ช่วยเหลือในเรื่องการรักษา นอกจากนั้นทางศูนย์ได้ให้ข้อมูลในเรื่องข้อมูลและแจกถุงยางอนามัยซึ่งแรงงานนำไปใช้ป้องกันตนเองได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้จัดการธุรกิจและลูกค้าด้วย

อุบัติเหตุและการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงาน
อันตรายอีกประการหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นกับร่างกายคือ อุบัติเหตุและการบาดเจ็บที่เกิดจากการทำงาน จากการพูดคุยกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อพบว่า งานส่วนใหญ่ที่ประสบอุบัติเหตุและเกิดการบาดเจ็บนั้น เป็นผลมาจากอุปกรณ์ที่ด้อยคุณภาพและไม่มีความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน แรงงานย้ายถิ่นถูกปฏิเสธที่ในการได้รับสิทธิ เช่นค่าชดเชย เวลาพักงาน และสิทธิด้านการรักษาพยาบาล การทำงานจึงมีอันตรายสูงและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การบาดเจ็บจากการทำงานอาจนำไปสู่การสูญเสียรายได้ชั่วคราวหรือถาวรในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส และทำให้การใช้ชีวิตของพวกเธอต้องจบสิ้นในที่สุด หรือบางทีอาจจะทำให้เสียชีวิตและเป็นการจบสิ้นชีวิตครอบครัวทั้งหมด จากรายงานของผู้ให้สัมภาษณ์พบว่า การบาดเจ็บเกิดจากการอวัยวะถูกตัดหรือการเผาไหม้ ซึ่งถ้ามีอาการสาหัสอาจนำไปสู่กระดูกแตกหักหรือการสูญเสียอวัยวะได้ สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้ ถ้านายจ้างเอาใจใส่ต่อผลประโยชน์ของแรงงานมากกว่าผลกำไรที่ตนจะได้รับ

การบาดเจ็บจากการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิง
ประสบการณ์ความบาดเจ็บประเภทสุดท้ายที่เกิดขึ้นกับแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง คือได้รับบาดเจ็บขณะทำงานซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำความรุนแรงต่อหญิง การบาดเจ็บเหล่านี้มีผลมาจากการถูกข่มขู่และคุกคามทางเพศ การข่มขืนทำร้ายร่างกายและความรุนแรงภายในครอบครัว สร้างความเจ็บปวดให้แก่แรงงานย้ายถิ่นหญิง ซึ่งถูกกระทำโดยนายจ้าง ผู้ร่วมงาน ลูกค้า ผู้มีอิทธิพล และคู่สมรส เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดกับหญิงขยายตัวออกไปในวงกว้างในกลุ่มของแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง และยังปรากฏขึ้นตามสถานที่ทำงานรวมถึงประเทศเจ้าบ้าน

งานวิจัยพบว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงค่อนข้างรุนแรง ซึ่งจากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนมากรู้จักผู้ที่มีประสบการณ์ด้านความรุนแรงที่เกิดกับหญิงหรือไม่ก็มีประสบการณ์ตรงจากตัวเอง อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงต่อหญิงที่มีจำนวนมากทำให้ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อยากที่จะหาความยุติธรรมหรือการชดใช้จากการบาดเจ็บเหล่านั้น. BWU เชื่อว่าบรรดาผู้ได้รับการบาดเจ็บเป็นเสมือนหลักฐานความตายของแรงงานย้ายถิ่นหญิงที่ไม่มีความสำคัญ ไม่เพียงแรงงานย้ายถิ่นหญิงจะถูกละเมิดโดยการคุกคามทางเพศเท่านั้น แต่พวกเธอยังถูกซ้ำเติมและตกเป็นเหยื่อเนื่องมาจากสถานภาพไม่ปกติของพวกเธอเองด้วย BWU เชื่อว่าแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงต้องได้รับการปกป้องโดยกระบวนการทางกฎหมายที่มีความยุติธรรมในประเทศเจ้าบ้าน ผู้กระทำความผิดต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่เคยใส่ใจในสถานภาพของแรงงาน ควรจัดการกับการละเมิดทางเพศเหล่านั้น

การบาดเจ็บทางด้านจิตใจของแรงงานย้ายถิ่น
ความโดดเดี่ยว ความกดดัน และความวิตกกังวล

นอกจากผลกระทบทางด้านร่างกายแล้ว ความรุนแรงยังมีผลทำให้รู้สึกไม่สบายใจและถูกคุกคามอย่างรุนแรง จากการสนทนากับแรงงานย้ายถิ่นหญิงได้เผยว่า ผลกระทบต่อมาคือความเคร่งเครียด ความอึดอัดใจ และทำให้เกิดความเสียหายต่อแรงงานแต่ละคน นอกจากนั้นยังมีปัญหาความรู้สึกโดดเดี่ยว ความกดดัน และความวิตกกังวลที่ถูกละเลย ทั้ง ๆ ที่สิ่งเหล่านี้แรงงานควรได้รับความช่วยเหลือเพื่อให้มีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น

เมื่อผู้ให้สัมภาษณ์เกือบทุกคนถูกถามว่า พวกเธอมีความสุขกับชีวิตและการทำงานหรือไม่ ไม่มีคำตอบสำหรับทั้งสองกรณีจากผู้ให้สัมภาษณ์ สำหรับความสุขนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างหรูหราในความคิดของแรงงานย้ายถิ่นที่พวกเธอจะจัดหามาได้ ผู้ให้สัมภาษณ์ได้แสดงถึงความรู้สึกที่โดดเดี่ยว กดดัน และวิตกกังวล รูปแบบความเครียดทางด้านจิตใจทั้งสามประเภทนี้ควรเห็นได้ชัดเจนว่าเกี่ยวเนื่องมาจากความโดดเดี่ยว/เหงา ที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน ตั้งแต่อาศัยอยู่ในประเทศเจ้าบ้านและนำไปสู่ภาวะกดดัน ประกอบกับมีสถานภาพที่ถูกบีบให้ออกนอกประเทศ และมีความไม่แน่นอนในสถานภาพของตน ได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นตามมา. ความโดดเดี่ยวมักพบได้ทั่วไปเมื่อแรงงานต้องอพยพย้ายถิ่น และผู้หญิงต้องถูกแยกตัวออกจากบ้านและกลุ่มคนที่เคยมีความสัมพันธ์กับพวกเธอ ผลก็คือ เธอเหล่านั้นได้รับความบอบช้ำทางด้านจิตใจ แต่ละคนต้องการมีชีวิตรอดในที่ ๆ มีวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างกัน บ่อยครั้งที่พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม

นอกจากนี้ แรงงานขาดความสามารถในการสื่อสารประกอบกับความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว การปรับตัวของสังคมและ/หรือ การยอมรับเข้าไปในสังคมของประเทศเจ้าบ้านอาจจะช่วยให้แรงงานย้ายถิ่นเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลง แต่การเหยียดทางเชื้อชาติ ความหวาดกลัวชาวต่างชาติ และการเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นกับแรงงานย้ายถิ่น ทำให้การแสวงหาหนทางแก้ไขต่าง ๆ ไม่สามารถเป็นไปได้. การถูกเลือกปฏิบัติของผู้ให้สัมภาษณ์ในประเทศเจ้าบ้านเป็นความจริงของชีวิตที่พวกเธอถูกมองเป็นเพียงผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย ฝ่าฝืน และกระทำอาชญากรรม เป็นการแพร่ขยายให้เห็นถึงความเจ็บป่วยของสังคม สิ่งเหล่านี้ทำให้แรงงานย้ายถิ่นไม่มีทางเลือก จำต้องแยกตัวออกจากชุมชนและคงอยู่อย่างโดดเดี่ยว ซึ่งนั้นเป็นวิถีชีวิตที่สามารถอยู่รอดได้ในประเทศเจ้าบ้าน

"ฉันไม่เคยจินตนาการเลยว่า วันหนึ่งอัตลักษณ์และบ้านเกิดเมืองนอนของฉันจะทำให้ฉันถูกกล่าวโทษ การเป็นส่วนหนึ่งของประเทศหรือเชื้อชาติใดสมควรได้รับความภาคภูมิใจบางประการในตนเอง แต่พอฉันมาอยู่ที่นี่ฉันรู้สึกหวาดกลัวว่าผู้คนจะรู้ว่าฉันเป็นใคร ฉันได้แต่เก็บความลับนั้นไว้กับตนเอง ฉันไม่มีชีวิตส่วนตัวหรือเพื่อน ๆ ที่เป็นคนท้องถิ่นข้างนอกโรงงาน ฉันแค่อยู่แต่ในโรงงานเป็นส่วนใหญ่และนั่นทำให้รู้สึกเหงามาก แต่ถ้าฉันออกไปมันทำให้ฉันรู้สึกเหงายิ่งกว่า เพราะว่าคนท้องถิ่นเกลียดพวกเรา และยังมีความหวาดกลัวที่จะถูกจับอีกด้วย เมื่อเวลาที่ฉันออกไปข้างนอกฉันแกล้งทำเหมือนคนใบ้ ดังนั้นพวกเขาจะไม่รู้ว่าฉันเป็นใครและมาจากไหน"
( Ma Myo Myo: อายุ 29 ปี แรงงานโรงงานอุตสาหกรรม)

ความกดดันเป็นปัญหาด้านจิตวิทยาอีกประการหนึ่งซึ่งพบจากประสบการณ์ของแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง ถึงแม้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะจำแนกสาเหตุของความกดดันที่เกิดขึ้นกับแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง แต่สาเหตุหลาย ๆ ประการพบได้จากผู้ให้สัมภาษณ์ ที่ทำให้เกิดความกดดันนั้นรวมไปถึง การถูกบังคับให้ทำงานที่มีสภาพการทำงานที่น่ากลัว เพื่อที่สามารถช่วยเหลือครอบครัวให้มีชีวิตรอด และการถูกบังคับให้ต้องอดทนยอมรับต่อการกดขี่ข่มเหงในประเทศเจ้าบ้าน สำหรับเหตุผลอื่น ๆ ความกดดันมาจากการต้องอยู่แบบโดดเดี่ยว เสมือนไม่มีตัวตนในประเทศเจ้าบ้าน (เพราะว่าพวกเธอไม่มีสถานภาพทางกฎหมายที่ถูกต้อง) และ/หรือ ความเครียดจากความกังวลเรื่องความอยู่รอดของครอบครัวของพวกเธอ

ผู้ให้สัมภาษณ์ได้กล่าวว่า SPDC (State Peace and Development Council, the military regime of Burma / รัฐบาลทหารพม่า) กระทำการกดขี่ประชาชน ทำให้ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า ซึ่งเป็นสาเหตุบังคับให้เกิดแรงงานย้ายถิ่นไปยังประเทศเพื่อนบ้านมามากกว่า 3 ชั่วคน โดยมีทั้งแรงงานหนุ่มสาวและผู้ใหญ่ ความผิดหวังก่อตัวขึ้นเป็นเวลาหลายปีจากการเป็นแรงงานผิดกฎหมายและไม่สามารถกลับบ้านได้. จากรายงานพบว่าแรงงานหนุ่มสาวมีความกดดันเนื่องมาจากรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ถ้าเทียบกับศักยภาพที่แท้จริงของตน พวกเขาถูกให้ทำงานที่เรียกว่างานที่สกปรก อันตราย และต่ำต้อย (3d - dirty, dangerous, demeaning) ในขณะที่แรงงานที่สูงวัยกว่า (ผู้ที่ยังคงอยู่ในประเทศเจ้าบ้านมามากกว่า 10 ปี) ความกดดันมักเกิดขึ้นเนื่องมากจากการยอมรับต่อสถานภาพของพวกเขา

"ฉันสมมุติว่าฉันไม่มีความกดดันอยู่บ่อย ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเกิดขึ้นตลอด และฉันไม่สามารถที่หลีกหนีมันไปได้ ไม่ว่าอย่างไรก็ตามการทำงานในแต่ละวันเป็นเครื่องพิสูจน์สถานภาพของฉัน ฉันรู้ว่าฉันไม่สามารถกลับไปเรียนได้อีกหรือทำสิ่งอื่นใดให้ตัวเอง การเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้ทำให้มันยากที่จะยอมรับว่านั่นคือสิ่งที่ฉันต้องการสำหรับชีวิตตัวเอง ฉันไม่สามารถบอกได้ว่าชีวิตที่ต้องทำความสะอาดโต๊ะและล้างจานเป็นสิ่งที่ฉันใฝ่ฝัน ไม่ใช่เลย ความฝันของฉันคือการเป็นครูอย่างมีอิสระเสรีที่บ้านฉัน ดูแลครอบครัว แต่เหมือนกับว่าสิ่งนั้นคงจะไม่เกิดขึ้น เมื่อฉันคิดถึงเรื่องนี้ มีบางวันที่ฉันไม่อยากจะลุกจากเตียงและอยากร้องไห้ไปอย่างนี้เรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่สามารถร้องได้อีกต่อไป เพราะนั่นอาจจะทำให้ฉันต้องสูญเสียงานที่ร้านอาหาร ต้องประสบกับปัญหาที่แท้จริงเนื่องจากไม่มีเงินใช้นั่นเอง (หัวเราะทั้งน้ำตา)"
(Ma Thami Nge อายุ 26 ปี แรงงานร้านอาหาร)

นอกจากความโดดเดี่ยวและความกดดัน แรงงานย้ายถิ่นยังกล่าวอีกว่า ความกลัวนับเป็นส่วนหนึ่งของความวิตกกังวล ซึ่งแตกต่างไปจากความโดดเดี่ยวและความกดดัน ซึ่งไม่ได้เชื่อมโยงกับความไม่แน่ใจว่าจะไม่ได้กลับบ้าน แต่มันมีสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนและการถูกปฏิบัติจากสภาพการทำงานที่ผิดกฎหมาย ไม่ได้รับการปกป้องและได้รับสิทธิในฐานะการเป็นพลเมือง ผลจากการมีสถานภาพที่ไม่ถูกต้องทำให้ถูกปฏิบัติอย่างไร้ความสำคัญ ถูกจับกุม และถูกกดขี่ ทำให้เกิดความวิตกกังวลในอิสรภาพและความปลอดภัยของตนเอง

"ฉันกลัวไหม? ฉันคิดว่าส่วนใหญ่ฉันจะกลัว ฉันหมายความว่าคุณจะไม่กลัวเหรอถ้าออกไปข้างนอกแล้วอาจจะถูกจับและส่งตัวกลับบ้าน ผู้มีอำนาจและคนที่นี่สามารถทำอะไรก็ได้กับฉัน และฉันไม่สามารถที่กระทำสิ่งใดได้เลย เพราะว่าฉันไม่มีตัวตน และไม่มีความสำคัญ หรือไม่ถูกนับว่าเป็นบุคคลคนหนึ่งในประเทศนี้"
(Ma Kay Kay อายุ 24 ปี พนักงานร้านค้าปลีก)

"บางครั้งฉันรู้สึกเหมือนเสียสติเนื่องด้วยความหวาดกลัว ฉันไม่เคยรู้สึกกลัวเช่นนี้มาก่อนตอนอยู่ที่บ้าน แต่ที่นี่คุณจะเปลี่ยนไป ฉันมีเพื่อนและผู้ร่วมงานที่ทะเลาะวิวาทกับนายจ้าง แต่คุณได้เรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆ เช่นความยุติธรรมไม่มีความหมาย ถ้าคุณอาศัยอยู่ในประเทศของคนอื่น ถึงแม้ว่าคุณเป็นฝ่ายถูกต้องคุณก็ไม่สามารถชนะได้ ดังนั้น คุณจะต้องเรียนรู้ที่จะปิดปากเงียบ และพยายามไม่ดึงดูดความสนใจรวมทั้งหวาดกลัวทุกคน เพราะว่าความกลัวทำให้คุณมีชีวิตอยู่รอดได้ในประเทศนี้"
(Ma New อายุ 28 ปี แรงงานแม่บ้าน)

สิ่งจำเป็นที่สังคมต้องช่วยเหลือ
ในส่วนงานของ BWU ที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางด้านสังคมในชุมชนแรงงานย้ายถิ่น ทางองค์กรเห็นว่า สิ่งสำคัญที่ควรได้รับการช่วยเหลือคือปัญหาด้านสุขภาพจิตของแรงงานย้ายถิ่น ด้วยเหตุนี้ ทาง BWU จึงพยายามที่จะให้คำปรึกษารวมถึงสร้างเครือข่ายเพื่อที่จะช่วยเหลือแรงงานย้ายถิ่นให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น. สิ่งหนึ่งที่ทาง BWU รับผิดชอบคือการสร้างศูนย์เสริมพลังให้แก่แรงงาน The Migrant Women Empowerment and Resource ที่อำเภอแม่สอด ประเทศไทย และที่เมือง Rulli ประเทศจีน

ศูนย์นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้แรงงานย้ายถิ่นมีที่พักพิงหรือหลีกหนีจากสถานที่ทำงานที่จำกัดสิทธิ และเป็นสถานสงเคราะห์พักพิงกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือฉุกเฉิน การให้บริการรวมถึง การให้คำปรึกษา ให้การศึกษาเรื่องเพศศึกษา การรักษาพยาบาล มีห้องสมุด แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือแรงงานย้ายถิ่นจะมีพื้นที่ๆ เป็นของตนเอง รวมถึงการได้รับความช่วยเหลือทางด้านสังคม ศูนย์บริการให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุด อย่างไรก็ตาม BWU ตระหนักดีว่า เพียงแค่องค์กรนี้เพียงอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอที่จะต่อสู้กับสภาพการทำงานในประเทศเจ้าบ้าน หรือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าได้

อะไรที่เราต้องการ: แนวทางปฏิบัติ 2 แนวทาง
ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนมากเชื่อว่า ไม่เพียงความน่ากลัวจากสภาพการทำงานในประเทศเจ้าบ้าน ซึ่งทำให้เกิดความทุกข์แสนสาหัสทางด้านร่างกายและจิตใจ แต่ยังเน้นย้ำอีกว่าสภาพการกดขี่ข่มเหงภายใต้ SPDC (รัฐบาลทหารพม่า) บังคับให้ประชาชนต้องออกจากประเทศพม่าและทนทุกข์อยู่ในประเทศเจ้าบ้านที่แต่ละคนอาศัยอยู่ ดังนั้นสำหรับแรงงานย้ายถิ่น มีแนวทางปฏิบัติ 2 แนวทาง ที่ต้องการเพื่อทำให้สภาพร่างกายและความกังวลทางด้านจิตใจดีขึ้น เพราะว่าพวกเธอยังคงติดอยู่ในขุมนรกทั้งสองแห่ง ทั้งที่บ้านและนอกบ้าน(ประเทศ)

แรงงานย้ายถิ่นรู้สึกว่าการกดขี่ข่มเหงจากการทำงานและด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศเจ้าบ้านนั่นควรสิ้นสุดลง และสภาพการทำงานควรจะดีขึ้นเพื่อบรรเทาความทุกข์ในประเทศเจ้าบ้าน อย่างไรก็ตาม การทำงานเพียงฝ่ายเดียวไม่เพียงพอที่ทำให้ความเศร้าโศกด้านจิตใจหมดไปและได้รับสิทธิมนุษยชนที่บ้านได้ ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนมาก ได้ให้ความหมายของคำว่า "ความสุข" และหลีกหนีจากโชคชะตาการเป็นแรงงานย้ายถิ่น คือการกลับบ้านไปหาครอบครัวที่ประเทศพม่า ในความเป็นจริงแล้วการกลับบ้านเพื่อไปอยู่ใต้ระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย และการอยู่ในประเทศพม่าอย่างสันติเป็นความฝันของหลายคน ซึ่งรวมถึงการเป็นความใฝ่ฝันของแรงงานหญิงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตราบเท่าที่ยังถูกปกครองภายใต้ระบอบของ SPDC ผู้คนเป็นจำนวนมากมองว่า การอพยพก็ยังคงเป็นวัฒนธรรมที่ยังมีอยู่ การออกจากบ้านของคนหลายยุคหลายสมัยของแรงงานย้ายถิ่น เนื่องมาจากไม่สามารถบรรลุความฝันในการมีสันติภาพในบ้านของตนเอง

ถนนโลกีย์แห่งการเอารัดเอาเปรียบ
การถูกประณาม กีดกัน และลิดรอนสิทธิของแรงงานย้ายถิ่นในบริการทางเพศและกลุ่ม "เจ้าสาว"


แรงงานย้ายถิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มของแรงงานที่ต้องอยู่ในสถานะการบริการทางเพศ และผู้หญิงที่กลายเป็นเจ้าสาวของชายในประเทศจีน แรงงานย้ายถิ่นที่ทำงานบริการทางเพศเหล่านี้ มักจะเป็นที่ต้องการอย่างมาก ในขณะที่ค่าแรงในการทำงานต่ำกว่าแรงงานที่เป็นคนในพื้นที่ เช่นในเมือง Rulli ในประเทศจีน แรงงานย้ายถิ่นที่ให้บริการทางเพศมีรายได้เพียงครึ่งหนึ่งของแรงงานชาวจีนในธุรกิจเดียวกัน

ผู้ให้สัมภาษณ์ในงานประเภทนี้มีทั้งร้านคาราโอเกะ บาร์ตามถนน และกลุ่มเจ้าสาว (Brides) (คำจำกัดความนี้เป็นคำที่แรงงานกลุ่มนี้เรียกตนเองในภาษาพม่า) ซึ่งเป็นการแปลตรงตัวตามศัพท์ผู้ที่ทำงานในร้านคาราโอเกะและบาร์ มักจะพบได้ในประเทศไทย ในขณะที่แรงงานที่บริการตามถนนและการเป็นเจ้าสาวมักพบได้ในประเทศจีน แรงงานที่ให้บริการทางเพศในจีนและไทยจะถูกนำเสนอแยกจากกัน เพื่อเน้นย้ำถึงข้อเหมือนและข้อต่างของประสบการณ์จากแรงงานทั้งสองกลุ่ม โดยผู้หญิงที่เป็นเจ้าสาวของชายในประเทศจีนจะนำเสนอแยก เพราะผู้หญิงที่เป็นเจ้าสาวมีประสบการณ์ที่แตกต่างจากงานบริการทางเพศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะทำการเปรียบเทียบเราควรทราบว่า ผู้หญิงในภาคธุรกิจเหล่านี้มีพื้นฐานความเป็นมาอย่างไร และพวกเธอมาทำงานบริการทางเพศนี้อย่างไร

แรงงานย้ายถิ่นหญิงในบริการทางเพศ : พวกเธอเป็นใคร
ผู้ให้สัมภาษณ์ในธุรกิจนี้ โดยมากยังเป็นโสด มีเพียงไม่กี่คนที่แต่งงานแล้ว แรงงานกลุ่มนี้มีประมาณ ร้อยละ 24 ของจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดในรายงานนี้ อายุอยู่ระหว่าง 14 - 37 ปี. แรงงานกลุ่มดังกล่าวโดยมากมาจากรัฐคะฉิ่น, กะเหรี่ยง, ฉาน, เขตพะโค, มัณฑเลย์, และอิรวดี ของพม่า บางคนเคยทำงานบริการทางเพศในประเทศของตนเป็นระยะเวลา 6 เดือน ขณะที่บางคนเคยทำงานมากว่าสิบปี

ระดับการศึกษาของแรงงานกลุ่มนี้มีหลากหลาย ตั้งแต่คนที่ไม่เคยเข้าโรงเรียนจนถึงบางคนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีแรงงานหลายคนที่มาทำงานเพื่อหางานเป็นค่าศึกษาในมหาวิทยาลัยในประเทศพม่า แรงงานบางคน เช่น Ma J (อายุ 22 ปี แรงงานบริการทางเพศ) ตอบว่าเศรษฐกิจที่ไม่ดีในพม่าทำให้เธอไม่สามารถเรียนในมหาวิทยาลัย และจ่ายค่ารักษาพยาบาลมารดาที่เจ็บป่วยได้ นอกจากการออกมาทำงานในต่างประเทศเท่านั้น เธอจึงเข้ามาในเมือง Rulli ด้วยความหวังว่า จะหางานทำเพื่อค้ำจุนครอบครัวและเลี้ยงตนเอง Ma J คิดว่าจะกลับไปพม่าเมื่อเก็บเงินได้พอเพื่อไปเรียนมหาวิทยาลัยในพม่า แต่โชคไม่ดีที่มีคนจากหมู่บ้านของเธอพบว่า เธอมาทำงานให้บริการทางเพศและกระจายข่าวไปในชุมชนของเธอ ทำให้โอกาสที่เธอจะกลับไปอยู่กับครอบครัวเป็นไปได้ยาก

คำประณามจากม้านั่งอันสูงส่งทางศีลธรรม

"ฉันเคยรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของคนในชุมชนฉันดี ซึ่งก็มักจะเป็นการพูดถึงลักษณะงานที่แรงงานหญิงมาทำ พวกที่เรียกตัวเองว่าเป็น "คนดี" เหล่านี้เรียกฉันด้วยชื่อต่างๆ มากมาย! เป็นเรื่องง่ายสำหรับพวกเขาที่จะกลับไปที่บ้าน และเล่าเรื่องว่าฉันขายร่างกายของฉันอย่างไรหรือฉันไม่ได้บริสุทธิ์ต่อไปแล้ว แต่พวกเขาไม่ได้คำนึงเลยว่าหากฉันทำเงินไม่ได้ ครอบครัวของฉันจะไม่มีกินหรือสุขภาพแม่ฉันก็จะไม่ดีขึ้น แน่นอนว่าพวกเขาไม่ได้คิดถึงเลย พวกเขาแค่นั่งอยู่บนม้านั่งแห่งศีลธรรมอันสูงส่งของพวกเขา แล้วชี้นิ้วว่าพวกเราว่าเป็นหญิงเลวร้ายอย่างไรและพูดถึงงานที่เราทำ"
(MA J : อายุ 22 ปี หญิงทำงานให้บริการทางเพศ)

เรื่องราวของการถูกประณามของแรงงานที่ให้บริการทางเพศมีการพูดถึงอย่างกว้างขวางโดยผู้ให้สัมภาษณ์ พวกเธอเล่าว่า ถูกพูดเหยียดหยามไม่เฉพาะจากผู้จัดการในธุรกิจที่พวกเธอทำงานอยู่และพวกลูกค้าในประเทศที่เธอพำนักอยู่ แต่ยังรวมไปถึงชุมชนในพม่าเองด้วย การเหยียดและดูหมิ่นกลุ่มแรงงานที่ให้บริการทางเพศ เช่น การบอกว่าพวกเธอเป็นผู้หญิงไม่ดี ยังพบได้ในพม่า การทำให้แรงงานให้บริการทางเพศกลายเป็นกลุ่มชายขอบของสังคมในประเทศพม่านั้นรุนแรงมาก ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้แรงงานกลุ่มนี้ไม่อยากกลับบ้าน หากว่างานของพวกเธอถูกเปิดเผย จะทำให้โอกาสหางานอื่นๆ เป็นไปได้ยากมาก รวมทั้งโอกาสในการยกระดับทางสังคม การแต่งงาน และการศึกษาก็จะน้อยไปด้วย จึงเป็นเหตุผลว่าขณะที่แรงงานหญิงและเด็กหญิงกลุ่มอื่นๆ จะพูดคุยถึงการเก็บเงินเพื่อกลับบ้าน แต่ยกเว้นกลุ่มที่ทำงานบริการทางเพศ สำหรับพวกเธอการกลับบ้านหมายถึงการหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกกีดกันโดยชุมชนและทำให้ครอบครัวขายหน้า ดังนั้นหลายๆ คนจึงเลือกที่จะอยู่ในประเทศที่พวกเธอมาทำงานโดยไม่มีกำหนด

การเข้ามาทำงานบริการทางเพศ
เราได้คำตอบที่หลากหลาย เมื่อเราถามแรงงานย้ายถิ่นในธุรกิจบริการทางเพศว่า พวกเธอเข้ามาสู่ธุรกิจนี้ได้อย่างไร บางคนก็บอกว่าถูกล่อลวงมาโดยนายหน้ากลุ่มค้ามนุษย์ ที่บอกว่ามีงานดีๆ รออยู่ในต่างประเทศ แต่กลับพบว่าพวกเธอถูกขายแก่ผู้จัดการธุรกิจบริการหรือซ่องที่ให้บริการทางเพศ สำหรับพวกเธอ งานให้บริการทางเพศนั้นเป็นสิ่งที่พวกเธอไม่มีทางเลือก

หนี้สิน เป็นสิ่งที่มักจะพบได้ในแรงงานกลุ่มนี้ และหลายๆ คนก็ไม่สามารถออกจากธุรกิจได้ จนกว่าจะสามารถจ่ายหนี้ได้หมด ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ็บปวดใจสำหรับแรงงานเหล่านี้ที่ไม่มีทางเลือก เนื่องจากการถูกล่อลวงเข้ามาทำงาน

"ตอนที่ฉันอายุ 17 ปี และไม่เคยออกจากหมู่บ้านมาก่อนเลย วันหนึ่งมีผู้หญิงเข้ามาในหมู่บ้านและบอกกับคนในหมู่บ้านว่า มีตำแหน่งงานในโรงงานที่ประเทศไทยจำนวนมาก ซึ่งหากฉันมาทำงานในประเทศไทยจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเงินแก่ครอบครัวได้ ฉันจึงจากบ้านมา เมื่อฉันมาถึงประเทศไทยก็พบว่า "งาน" นั้นไม่ได้อยู่ที่โรงงาน แต่กลายเป็นซ่องโสเภณีในจังหวัดเชียงใหม่ ฉันบอกพวกเขาว่าไม่อยากทำงานนี้ และพยายามต่อสู้หาทางที่จะออกมาจากที่แห่งนั้น แต่พวกเขาแข็งแรงกว่า ฉันถูกขังอยู่ในห้องเป็นเวลานาน ฉันร้องไห้ทุกวันและคิดว่าชีวิตของฉันนั้นจบสิ้นแล้ว คืนหนึ่ง "แม่ใหญ่" (Big Mother) เข้ามาในห้องและบอกว่าเป็นเวลาที่ฉันต้องทำงานแล้ว แม่ใหญ่ส่งผู้ชายแปลกหน้าคนหนึ่งเข้ามาในห้อง เขาข่มขืนฉันช่วงเวลานี้เป็นเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ จนกระทั่งฉันตกลงที่จะรับลูกค้าคนแรก แม่ใหญ่บอกว่าถ้าฉันขัดขืนลูกค้าเธอจะยืดเวลากักขังและให้คนบังคับข่มขืนฉัน ดังนั้นฉันจึงหยุดขัดขืน"
(Ma Air : อายุ 20 ปี แรงงานให้บริการทางเพศ)

ทางที่สองที่แรงงานย้ายถิ่นเข้ามาทำงานบริการทางเพศ คือหลังจากเธอได้ทำงานประเภทอื่นมาแล้ว ผู้ให้สัมภาษณ์หลายคนเคยทำงานในบ้าน ทำงานในโรงงาน งานก่อสร้างและทำงานในการเกษตรมาก่อน บางคนออกจากงานเนื่องจากถูกคุกคามทางกายโดยนายจ้างและเนื่องจากเงื่อนไขของงานเหล่านั้นที่เป็นงานหนักและบางคนก็ต้องการรายได้ที่มากขึ้น

"เมื่อฉันนึกย้อนถึงเหตุผลที่ฉันออกจากงานครั้งหลังสุด ก็เพราะว่าตอนนั้นฉันทำงานหนักแทบตาย ตอนนั้นทำงานเป็นแม่บ้านฉันถูกตวาด ดุด่าและถูกเรียกใช้ได้ตลอดเวลา สุดท้ายนายจ้างเก่าฉันก็เกือบจะไม่ให้เงินค่าจ้าง ดังนั้นฉันจึงคิดว่าน่าจะมีงานที่ดีกว่า (เหนื่อยน้อยกว่า) เพื่อจะหางาน ฉันมีเพื่อนที่ทำงานในคลับคาราโอเกะและได้แนะนำฉันให้นายจ้าง ดังนั้นฉันจึงเริ่มทำงานนี้"
(Ma Mot : 25 ปี แรงงานให้บริการทางเพศ)

แรงงานย้ายถิ่นในธุรกิจนี้ บางคนก็เคยทำงานให้บริการทางเพศในประเทศพม่ามาก่อน ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ข้อมูลว่า ปกติ "นายหน้า" จะไปที่ทำงานของพวกเธอและถามว่าต้องการที่จะ "ย้าย" ไปทำงานต่างประเทศหรือไม่ เกือบทุกคนจะตอบรับโอกาสที่จะหารายได้มากขึ้น

"เมื่ออยู่บ้านฉันทำงานแบบเดียวกันแต่ได้เงินน้อยกว่ามาก คือ 3,000 จั๊ต ต่อลูกค้าหนึ่งคน ดังนั้นเพื่อที่จะดูแลครอบครัวของฉัน ฉันจึงต้องรับลูกค้าถึง 3 คนต่อคืน เพื่อให้พอค่าใช้จ่ายไม่กี่วัน ในประเทศจีนฉันหาได้ 20 หยวน (2.60 เหรียญสหรัฐ) ต่อลูกค้าหนึ่งคนซึ่งมากกว่าในพม่าถึงสิบเท่า ดังนั้นฉันจึงรู้สึกดีกว่าเมื่อย้ายมาที่ประเทศจีน
(Ma Nicha : 32 ปี แรงงานให้บริการทางเพศ)

ชีวิตประจำวันบนรองเท้าส้นสูงของแรงงานให้บริการทางเพศ
(*) คำนี้มีที่มาจากแรงงานที่ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งบอกว่า หากไม่เคยต้องเดินบนร้องเท้าส้นสูงเพื่อทำงานทุกคืน ก็จะไม่เข้าใจความยากลำบากของการทำงานนี้

จากการสัมภาษณ์พบว่า เงื่อนไข ลักษณะการทำงานและค่าแรงในประเทศไทยและจีนแตกต่างกัน นอกจากนั้นอิสระในการทำงานและรายได้ของแรงงานหญิงในบริการทางเพศนั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายในประเทศที่พวกเธอทำงานอยู่. กฎหมายเรื่องงานบริการทางเพศในจีนมักจะจำกัดรูปแบบและสถานที่ทำงานของแรงงานย้ายถิ่นในธุรกิจนี้ ซึ่งต่างกับในประเทศไทยที่แม้ว่าธุรกิจทางเพศจะยังผิดกฎหมายแต่โทษของผู้ให้บริการทางเพศนั้นไม่รุนแรงหรือเคร่งครัดนัก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงสร้างเรื่องแรงงานบริการทางเพศในไทยและจีนแตกต่างกัน แต่มีความเหมือนกันคือ สถานะที่ไม่ปกติของแรงงานย้ายถิ่นทั้งหลาย สำหรับแรงงานย้ายถิ่นที่ให้บริการทางเพศ การที่ต้องทำงานในสถานที่ที่ต้องแอบซ่อนและไม่มีสถานะทางกฎหมายรับรอง ได้ลิดรอนความสามารถในการเรียกร้องสิทธิแรงงาน และการต่อรองกับผู้จัดการร้านและลูกค้าด้วย โดยเหตุผลที่กล่าวมาซึ่งอ้างอิงจากการให้สัมภาษณ์ จึงทำให้เข้าใจว่าเหตุใดผู้จัดการร้านจึงพอใจจะทำงานกับแรงงานย้ายถิ่นมากกว่าแรงงานที่เป็นคนในพื้นที่ แม้ว่าทั้งสองกลุ่มก็ดึงดูดลูกค้าได้เหมือนกัน แต่แรงงานย้ายถิ่นนั้นควบคุมได้ง่ายกว่า

ปัจจัยอีกประการหนึ่งของแรงงานย้ายถิ่นในธุรกิจบริการทางเพศก็คือ เรื่องการเงินของพวกเธอกับผู้จัดการร้าน แรงงานย้ายถิ่นจะได้รับค่าจ้างตามจำนวนลูกค้าที่พวกเธอนำเข้ามาให้ผู้จัดการร้าน โดยเงินจะถูกแบ่งระหว่างผู้จัดการร้านกับแรงงาน สัดส่วนการจัดสรรเงินขึ้นอยู่กับแต่ละราย แต่แรงงานโดยมากให้ข้อมูลว่าอยู่ระหว่าง 40-60% โดยทั่วไปจะประมาณ 50% ซึ่งส่วนที่แบ่งเป็นค่าเช่าห้อง ค่าเสื้อผ้า อุปกรณ์เสริมความงาม สรุปแล้วแรงงานทั้งสองประเทศจะได้เงินประมาณ 1/3 ของรายได้จริง ส่วนเงิน 2/3 จะต้องจ่ายชำระหนี้สินแก่ผู้จัดการร้าน

ปัจจัยสุดท้าย คือผู้จัดการร้านและลูกค้ามีส่วนมากในการทำงานของแรงงานย้ายถิ่นที่ให้บริการทางเพศ คือสามารถทำให้ชีวิตของแรงงานลำบากยากเข็ญหรือเป็นอันตรายทางกายได้ การข่มขืนหรือกระทำทารุณทางกายโดยผู้จัดการร้านหรือลูกค้าเป็นเรื่องที่แรงงานที่ให้สัมภาษณ์กังวล

"มีลูกค้าที่ดีบางคนที่ปล่อยให้คุณทำงานของคุณไป แต่บางคนก็โหดร้าย รุนแรงและน่ากลัว มีผู้จัดการร้านบางคนที่คอยดูแลระวังไม่ให้คุณถูกทำร้าย แต่ก็มีเพื่อนของฉันหลายคนที่อารมณ์เสียกับผู้จัดการร้านที่เสนอพวกเธอให้กับลูกค้าที่รุนแรง โดยคิดว่าเป็นการสั่งสอนให้บทเรียน"
(Ma Neelah : 23 ปี แรงงานให้บริการทางเพศ)

ประเทศจีนบริการทางเพศเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้แรงงานย้ายถิ่นในธุรกิจนี้ต้องทำงานในห้องเช่าหรือตามข้างถนน นอกจากนั้นพวกเขายังต้องระมัดระวังในการติดต่อกับลูกค้าตามถนนและพาพวกเขากลับห้องเพื่อทำงาน อย่างไรก็ตามในประเทศไทยแรงงานทางเพศมีพื้นที่มากกว่าในการทำงาน และสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยกว่า ความปลอดภัยในที่นี้หมายถึงงานบริการทางเพศ แต่ไม่ได้หมายถึงสถานะของแรงงานย้ายถิ่นในธุรกิจนี้ที่ยังผิดกฎหมาย และสามารถทำให้พวกเธออาจถูกจับกุมและส่งตัวกลับประเทศ เพื่อที่จะช่วยให้ทำความเข้าใจประสบการณ์ของพวกเธอ ต่อไปนี้จะเป็นการเล่าถึงชีวิตประจำวันของแรงงานในธุรกิจทางเพศทั้ง 4 ประเภทที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้



แรงงานหญิงบริการทางเพศตามถนนในจีน

ชีวิตของแรงงานหญิงที่บริการตามถนนในแต่ละวัน เริ่มต้นขึ้นเมื่อตื่นนอนในช่วงบ่าย และเริ่มทำงานเมื่อ 18.00-19.00 น. ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้ามีมากน้อยแค่ไหน พวกเธอทำงานในตอนกลางคืนอาจจะถึง 05.00 น. ของวันรุ่งขึ้น พวกเธอมักจะมีเวลากับตัวเองในช่วงบ่ายก่อนที่จะเริ่มงานอีกครั้ง สิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือ การเตรียมตัวและเสริมความงาม จากการให้ข้อมูลพบว่าพวกเธอต้องนำเสนอตนเองเพื่อดึงดูดใจลูกค้า ซึ่งมักจะให้ความสนใจกับเสื้อผ้า ทรงผม และการแต่งหน้า

เมื่อพวกเธอพร้อมทำงานก็จะเดินไปตามริมถนนที่วุ่นวายในจีนที่ขึ้นชื่อให้เรื่องค้าบริการทางเพศ โดยต้องเดินเข้าไปหาลูกค้าที่ผ่านไปมา ผู้ให้สัมภาษณ์บางคนกล่าวว่าเป็นส่วนที่น่าอายที่สุดส่วนหนึ่งของงานพวกเธอที่ต้องโฆษณาตนเอง และมักจะไม่ค่อยต่อเนื่องเพราะอาจจะมีตำรวจมา สำหรับบางคนถนนสาธารณะในเมือง Rulli บริเวณชายแดนจีน-พม่า จะน่ากลัวที่สุดเพราะแรงงานหญิงย้ายถิ่นอาจจะไปเจอเพื่อนเก่า เพื่อนบ้าน และใครก็ตามที่เคยรู้จักและอาจทำให้พวกเธอกลับบ้านอย่างมีมลทินและน่าละอาย
(*) เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้ต้องเดินหาลูกค้าตามท้องถนนผู้ให้สัมภาษณ์จึงเรียกประเภทงานนี้ว่าเป็นแรงงานบริการทางเพศตามท้องถนน (Streetwalker)

เมื่อพวกเธอตกลงกับลูกค้าได้แล้วก็จะกลับไปที่ห้องผู้จัดการธุรกิจเพื่อทำงาน หรือตามลูกค้าไปที่อื่น ราคาขึ้นอยู่กับช่วงเวลา อย่างถ้า "สั้น" ก็จะประมาณ 20 หยวน (2.60 ดอลล่าห์สหรัฐ) ขณะที่ราคาค้างคืนก็จะหมายถึง "ตามสั่ง" เริ่มที่ 100 หยวน (13 ดอลล่าห์สหรัฐ) ราคาที่ตกลงกันไว้ก่อนนี้เป็นรายได้เพียงครึ่งเดียวของหญิงบริการชาวท้องถิ่น การแบ่งแยกนี้ทำให้รายได้ระหว่างแรงงานหญิงข้ามชาติและชาวท้องถิ่นแตกต่างกันมาก

แรงงานย้ายถิ่นหญิงกลุ่มนี้ให้ข้อมูลอีกว่าถ้าถูกตำรวจจับเนื่องจากการทำงาน ตำรวจก็จะพาไปสอบสวนและคุมตัว (เพื่อต้องการทราบชื่อผู้จัดการธุรกิจ) และพวกเธอต้องรอจนกว่าผู้จัดการธุรกิจติดต่อขอประกันตัวหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่ อัตราที่ต้องจ่ายแลกกับการถูกปล่อยตัวจะอยู่ระหว่าง 300-500 หยวน (39-65 ดอลล่าห์สหรัฐ) ดังนั้นถ้าพวกเขาประกันตัวออกโดยนายจ้างก็จะไปเพิ่มในส่วนที่พวกเธอต้องจ่ายคืนให้นายจ้างบวกดอกเบี้ยในส่วนที่ต้องทำทดแทนหญิงคนอื่นที่ทำงานแทนจนกว่าพวกเธอจะหาเงินได้อีกครั้ง

เจ้าสาวสำหรับชาวจีน
"เจ้าสาว" มักจะหมายถึงหญิงที่ถูกนำพาหรือย้ายถิ่นจากประเทศพม่าไปที่จีนและขายให้แก่ผู้ชายเพื่อบริการในเรื่องทางเพศและช่วยงานต่างๆ ที่ผู้จ่ายเงินต้องการ หญิงที่ให้สัมภาษณ์กล่าวว่าพวกเขาถูกเรียกว่า "เจ้าสาว" และไม่ได้ใช้ถ้อยคำเกี่ย3วกับงานบริการทางเพศเนื่องจากงานของพวกเธอก็จะคล้ายกับหน้าที่ของภรรยา

ผู้หญิงที่เคยเป็น "เจ้าสาว" ในการสัมภาษณ์นั้นถูกนำพามาด้วยความเข้าใจผิดและถูกบังคับให้ทำงานทางเพศ ซึ่งมีข้อต่างก็คือเมื่อมาถึงสถานที่ขายหญิงเหล่านี้ มักจะได้เป็นผู้เลือก "เจ้าบ่าว" โดยจะไม่ใช่ถูกบังคับตามที่คนกลางหรือผู้ซื้อต้องการ ผู้จ่ายเงินในการนี้มักจะเป็นชาวนาที่ยากจน, คนเลี้ยงสัตว์และคนงานในภาคเกษตรอื่นๆ ถ้าหญิงคนไหนเป็นที่ถูกใจก็จะมีการจ่ายเงินประมาณ 90,000 จั๊ต เพื่อต่อรองกัน โดยผู้หญิงเหล่านี้มักจะให้ทั้งบริการทางเพศ ช่วยในธุรกิจและงานบ้าน "เจ้าสาว" จากพม่าเป็นเรื่องปกติมากจากการให้ข้อมูลของผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่ง หมู่บ้านของเธอในเมืองจีนนั้นแทบไม่ต่างจากในพม่าเนื่องจากมี "เจ้าสาว" จากพม่าถึง 200-300 คน

อดีตเจ้าสาวบางคนบอกว่าการที่จะอยู่ที่ไหนกับใครเป็นเหมือนการจับสลาก "เจ้าบ่าว" ก็มีบางคนที่ดูแล "เจ้าสาว" เป็นอย่างดีและจบลงด้วยการแต่งงานอย่างถูกกฎหมาย แต่ก็มีบางคนที่ปฏิบัติต่อเจ้าสาวไม่ดี อย่างเช่น ไม่ให้ออกจากบ้านที่เหมือนกรงขัง และ/หรือให้พวกเธออดอาหาร พวกเธอยังให้ข้อมูลอีกว่า เป็นเรื่องปกติที่ "เจ้าบ่าว" ผู้ไม่พอใจกับการซื้อของตนเองที่จะนำหญิงเหล่านี้ไปขายต่อยังสถานบริการทางเพศหรือผู้จัดการธุรกิจเพื่อพยายามเอาเงินคืนมาบ้าง อดีต "เจ้าสาว" คนหนึ่ง Ma C (อายุ 18 ปี) พูดว่าเมื่อ "เจ้าสาว" ถูกขายไปเป็นการยากที่จะหลบหนีได้

Ma C ถูกขายเมื่ออายุได้ 14 ปี ผู้ที่จ่ายเงินซื้อเธอได้ทำร้ายเธอจนกระทั่งเธออยากหลบหนีแต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เธอใช้เวลาที่จะวางแผนหลบหนีจนใช้เวลามากกว่า 2 ปีกว่าเธอจะหนีได้ ทุกเดือนเธอเก็บเงินไว้ 1-2 หยวน เมื่อเธอออกไปทำงานกับผู้ที่ซื้อเธอมาก็พยายามจดจำถนนที่จะไปสถานีตำรวจ จากนั้น Ma C หลบหนีออกมาและไปที่สถานีตำรวจเนื่องจากเธอพูดภาษาจีนไม่ได้จึงชี้ไปที่ธงชาติพม่า เจ้าหน้าที่ส่งเธอไปที่ชายแดนและจัดการให้เธอเดินทางกลับพม่า

อดีต "เจ้าสาว" อีกคนหนึ่งให้สัมภาษณ์เมื่อเขามาที่ BWU สำนักงานเมือง Rulli ที่ศูนย์บริการทางสังคม เธอจัดการหลบหนีโดยวิธีเดียวกับ Ma C เธอได้รับความเจ็บปวดและสภาวะจิตใจไม่ปกตินักจากการถูกตีอย่างรุนแรงโดยผู้ที่ซื้อเธอไป นอกจากนั้นเธอยังตั้งครรภ์ได้ 6 เดือนแล้วกับผู้ซื้อ เธอต้องการกลับบ้านไปหาพ่อแม่ก่อนที่จะคลอดแต่ไม่มีเงิน นักวิจัยของ BWU จัดการเรื่องการเดินทางให้เธอและ Ma xx ได้กลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าแล้ว

แรงงานในร้านคาราโอเกะและบาร์ในประเทศไทย
แม้ว่าจะมีแรงงานย้ายถิ่นหญิงในบริการทางเพศที่พบลูกค้าในสถานบริการทางเพศโดยตรง แต่จากการสัมภาษณ์ก็มีหลายคนที่พบลูกค้าในบาร์หรือร้านคาราโอเกะและพากลับไปที่ห้องถ้าหากไม่ได้อยู่ในอาคารเดียวกัน

วันทำงานของแรงงานกลุ่มนี้เริ่มในช่วงบ่ายๆ โดยไปที่ทำงานและ "แต่งตัว" ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวัน ชั่วโมงการทำงานของแรงงานในบริการทางเพศในประเทศไทยมักจะเริ่มสายกว่าในประเทศจีน โดยเริ่มประมาณ 20.00-21.00 น. และเลิกตามสถานการณ์ของลูกค้า (ประมาณ 02.00 น. ของวันรุ่งขึ้น) งานของเขาที่ร้านคือนั่งอยู่ด้านนอกรอลูกค้า เมื่อลูกค้าเลือกได้แล้วก็จะไปนั่งกับพวกเขาที่โต๊ะเพื่อให้ความบันเทิงโดยการร้องเพลง เต้นรำ และพูดคุยด้วยและยังผสมและเสิร์ฟเหล้าพร้อมดูแลเรื่องอาหารแก่ลูกค้า เมื่อลูกค้าตัดสินใจว่าจะใช้บริการทางเพศด้วยก็จะย้ายจากโต๊ะไปที่ห้องส่วนตัว

ประเทศไทยต่างไปจากประเทศจีนเนื่องจากในประเทศมีค่าบริการที่ไม่แน่นอนแรงงานในธุรกิจนี้ที่เชียงใหม่บอกว่า โดยเฉลี่ยต่อเดือนมีรายได้ประมาณ 4,000 บาท (122 ดอลล่าห์สหรัฐ) เมื่อหัก 50% ที่เป็นค่าเสื้อผ้าและเครื่องสำอาง รายได้ที่เหลือก็จะประมาณ 1,600 บาท (49 ดอลล่าห์สหรัฐ)

ชีวิตที่ถูกตักตวงผลประโยชน์ ความรุนแรง และความเสี่ยงจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
จากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้จัดการธุรกิจมักจะใช้ประโยชน์จากแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความเหลื่อมล้ำในความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างแรงงานและผู้จัดการธุรกิจ แต่กระนั้นสถานภาพที่ไม่ปกติของแรงงานเหล่านี้ ก็ทำให้พวกเธอต้องการความช่วยเหลือจากผู้จัดการธุรกิจเพื่อปกป้องจากลูกค้าเช่นกัน มีผู้ให้สัมภาษณ์ไม่กี่รายที่บอกว่าพยายามจะรับงานอิสระ แต่ก็มักจะถูกลูกค้าเอาเปรียบ เนื่องจากพวกเธอไม่ค่อยมีอำนาจต่อรองและไม่มีการปกป้องจากผู้จัดการธุรกิจ เช่นแรงงานรายหนึ่งบอกว่า ลูกค้าคนหนึ่งจ่ายเงินสำหรับคนเดียวแต่เพื่อนของเขาอีก 4 คนปรากฏตัวขึ้นมา ลงท้ายคือพวกเขาทั้ง 5 คนข่มขืนเธออย่างทารุณ แม้ว่าผู้จัดการธุรกิจจะหาประโยชน์จากแรงงานย้ายถิ่นเหล่านี้ แต่พวกเธอก็ไม่มีทางเลือกนอกจากยอมรับในเรื่องนี้

เช่นเดียวกับที่ผู้ซื้อ "เจ้าสาว" ในประเทศจีนที่จ่ายเงินก้อนใหญ่ไปและไม่ยอมจ่ายเงินให้กับการทำงานของเธอ นอกจากนั้น "เจ้าสาว" มักจะถูกคาดหวังให้บริการผู้ซื้อเหมือนเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อได้ลงทุนไป แต่พวกเธอก็ยังเสี่ยงกับการถูกนำไปขายต่อในธุรกิจทางเพศด้วย. อีกประเด็นหนึ่งที่แรงงานในภาคธุรกิจนี้กล่าวถึงคือการถูกข่มขืนและใช้ความรุนแรง ซึ่งจากประสบการณ์และความหวาดกลัวของพวกเธอมาจากสถานภาพและเพศสภาวะ ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์บอกว่า การที่สังคมไม่มีปฏิกิริยากับความรุนแรงที่เกิดกับแรงงานในธุรกิจนี้ ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นในกลุ่มแรงงานย้ายถิ่น

ผู้ให้สัมภาษณ์ที่เคยถูกข่มขืนกล่าวว่า การถูกทุบตีโดยผู้จัดการธุรกิจ ลูกค้า และเจ้าหน้าที่มีตั้งแต่เรียกลูกค้าเข้ามาไม่พอจนกระทั่งขัดขืนการจับกุม น่าเสียใจที่การไม่แจ้งเหตุการณ์รุนแรงดังกล่าวเนื่องมาจากบรรทัดฐานทางสังคมที่ว่าสิ่งนี้เป็น "อันตรายทางอาชีพ" ในธุรกิจทางเพศนอกจากที่พวกเธอต้องถูกกระทำทางกาย ถูกแบ่งแยก ยังต้องอดทนกับการละเมิดทางวาจาจากชุมชนอนุรักษ์นิยม ที่ตราหน้าพวกเธอว่าเป็น "ผู้หญิงไม่ดี"

ความยากลำบากอีกประการหนึ่งคือ ความเสี่ยงต่อโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (โดยเฉพาะ HIV/AIDS) แรงงานกลุ่มนี้อธิบายว่า แม้พวกเธอต้องการที่จะป้องกัน แต่ก็มักจะต้องขึ้นอยู่กับลูกค้าว่าจะใช้ถุงยางอนามัยหรือไม่ โชคร้ายที่โดยมากแล้วแรงงานหญิงมักจะไม่สามารถขอให้ลูกค้าใส่ถุงยางอนามัยได้ เนื่องจากกลัวว่าลูกค้าจะโกรธเคืองและจะเสียลูกค้า ผู้ให้สัมภาษณ์บางคนกล่าวว่ายอมเสี่ยงเพื่อรักษาลูกค้าดีกว่า

"ฉันรู้ดีว่าการทำงานโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยนั้นอันตรายมาก และฉันก็รู้ถึงความเสี่ยงทุกอย่างนั้นดี แต่ฉันไม่สามารถคิดถึงสิ่งที่ตัวเองต้องการก่อนความต้องการของลูกค้าได้ ถ้าลงท้ายแล้วเขาบอกว่าไม่ต้องการใช้ถุงยางแล้วฉันจะทำอะไรได้ หมายถึงว่าถ้าเขาไม่พอใจก็จะไปที่อื่น และที่แย่กว่านั้นคือ เขาไปกระจายข่าวว่าบริการของฉันไม่ดี การเสียลูกค้าที่มีน้อยอยู่แล้ว ซึ่งกระทบถึงรายได้และจำนวนลูกค้าที่ฉันได้ในช่วงเวลานั้นด้วย ดังนั้นแม้ว่างานจะอันตรายแต่การไม่มีรายได้นั้นดูเลวร้ายกว่าในความคิดของฉัน!"
(Ma Shwe: อายุ 24 ปี แรงงานบริการทางเพศ)

สรุปแล้ว แรงงานย้ายถิ่นในบริการทางเพศในจีนและไทย แม้ว่าจะมีช่วงเวลาในการทำงานต่างกัน แต่ค่อนข้างคล้ายกันในเรื่องสถานะที่ไม่ปกติ และทัศนคติของสังคมต่องานบริการทางเพศในประเทศเจ้าบ้าน

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1650 เรื่อง หนากว่า 33000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com