ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 21 March 2009 : Copyleft MNU.

การละเมิด ความกดดันทางการเงิน และความไม่ปลอดภัยในการทำงานเหล่านี้ บางคนสามารถจัดการกับมันได้ดี แต่ฉันรู้ว่าคนจำนวนมากระบายความอึดอัดใจนี้กับคนอื่นๆ ฉันเห็นผู้คนทะเลาะกันในเรื่องเล็กๆน้อยๆ ซึ่งบางครั้งเมื่อคู่สามีภรรยาทะเลาะกัน เหมือนจะสะท้อนออกมาสู่ภายนอกด้วยเพราะว่าทุกคนก็เครียดกับการทำงาน บางครั้งพวกเขาทุบตีภรรยา เพราะว่าพวกเขาไม่พอใจกับการดำเนินชีวิตของเขา ฉันกังวลในประเด็นนี้ตลอดเวลา ทำไมมันเป็นเรื่องปกติ? ฉันพยายามคิดว่าบางทีถ้าเขาปลดปล่อยความโกรธและความไม่พอใจไปยังคนอื่นที่มีอำนาจน้อยกว่า เขาจะไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีอำนาจ หรืออาจจะทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นผู้ชายเช่นเดียวกับในประเทศบ้านเกิด มากกว่าที่จะต้องหวาดกลัวต่อนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐตลอดเวลา

H



21-03-2552 (1704)
แรงงานพม่าย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง ราคาของการทำงานในขุมนรก
แรงงานหญิงพม่าย้ายถิ่น: แรงกดดันซ้ำซ้อนภายใต้กรอบผู้ชายเป็นใหญ่
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ สนใจประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและสื่อพลัดถิ่นพม่า

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความวิชาการนี้ได้รับมาจากผู้เรียบเรียง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอันตราย
ของแรงงานพม่าย้ายถิ่นหญิงและความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างแรงงานย้ายถิ่น
ในประเทศเจ้าบ้าน จนไปถึงห่วงโซ่สุดท้ายของความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ผู้ชายเป็นใหญ่
ตลอดรวมถึง การได้รับอันตรายจากการทำงาน การถูกทำให้เป็นชายขอบซ้ำซ้อน เหล่านี้
ล้วน เป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการใส่ใจพิจารณา. ในบทความนี้ได้มีการเสนอถึงปัญหา
และทางออก โดยยึดหลักให้ประเทศเจ้าบ้านซึ่งรองรับแรงงานย้ายถิ่นทั้งหลาย
ต้องเคารพต่อกฎ กติกา และพันธะสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

บทความเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- งานโรงงาน งานก่อสร้าง และงานในภาคการเกษตร
- ทุกๆ วันคือวันที่ทำงานหนัก
- ความยากลำบากของการทำงาน: การกลายเป็นชายขอบซ้ำซ้อน
- การคุกคาม "ความเป็นผู้หญิง"
- ความตระหนักเรื่องสุขภาพ
- ข้อตกลงระหว่างประเทศ และการละเมิดสิทธิของผู้ย้ายถิ่น
- การละเมิดต่อผู้ย้ายถิ่นและทางออกของปัญหา
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๐๔
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๐.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แรงงานพม่าย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง ราคาของการทำงานในขุมนรก
แรงงานหญิงพม่าย้ายถิ่น: แรงกดดันซ้ำซ้อนภายใต้กรอบผู้ชายเป็นใหญ่
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ สนใจประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและสื่อพลัดถิ่นพม่า
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานโรงงาน งานก่อสร้าง และงานในภาคการเกษตร
ทุกๆ วันคือวันที่ทำงานหนัก
งานศึกษานี้ ได้สัมภาษณ์ผู้หญิงที่ทำงานในภาคส่วนที่ใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลัก เช่น โรงงาน สถานที่ก่อสร้าง และงานเกษตรกรรม แรงงานหญิงจากภาคส่วนนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลในงานวิจัยมากที่สุด โดยมาจากทุกพื้นที่วิจัยในประเทศไทย (จ.เชียงใหม่, จ.ระนอง และอ.แม่สอด จ.ตาก)

งานโรงงาน งานก่อสร้าง และงานเกษตรกรรมมีลักษณะการทำงานที่ชัดเจน โดยรูปแบบการทำงานทั้ง 3 ประเภทนี้ มีรายงานว่า เป็นงานที่ใช้แรงงานเป็นหลักและใช้กำลังแรงกายมากกว่างานประเภทอื่น โดยงานทั้ง 3 ประเภทมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานควบคู่ไปกับการมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ย่ำแย่ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในทางลบแก่สุขภาพและความเป็นอยู่ของแรงงานย้ายถิ่น

ประเด็นของการกลายเป็นชายขอบยิ่งกว่าชายขอบ และการเลือกปฏิบัติกับแรงงานผู้หญิง (ซึ่งสะท้อนโดยผู้หญิงที่ทำงานในภาคส่วนอื่นๆ ด้วย) พบจากแรงงานย้ายถิ่นในโรงงาน งานก่อสร้าง และแรงงานภาคการเกษตรเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานในงานอีกสองประเภท (งานแม่บ้านหรือในธุรกิจการบริการและงานบริการทางเพศ) แรงงานหญิงจากประเภทงานเหล่านี้มีเสียงสะท้อนเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของการทำงานหนักและผลกระทบจากการทำงานต่อสุขภาพของพวกเธอมากกว่าการถูกเลือกปฏิบัติที่กล่าวไว้ในข้างต้น

โรงงาน สถานที่ก่อสร้าง และความทุกข์ยาก:
ผู้หญิงและเด็กหญิงจากประเภทงานทั้ง 3 ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นถูกรวมเข้าเป็นกลุ่มงานประเภทเดียวซึ่งมีมากสุดในกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ และมีร้อยละ 61ของจำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด ในรายงาน

ยอดโดยสรุปของกลุ่มตัวอย่างนี้
อุตสาหกรรมการเกษตร 19%
อุตสาหกรรมก่อสร้าง 11%
อุตสาหกรรมในโรงงาน 69%
อื่นๆ 1%

แรงงานย้ายถิ่นในโรงงานก่อสร้างและงานเกษตรกรรมมีอายุในช่วงระหว่าง 13 - 49 ปี นอกจากนี้ยังพบว่า มีแรงงานย้ายถิ่นที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ถูกจ้างในงานภาคส่วนนี้มากกว่าแรงงานย้ายถิ่นในงานภาคส่วนอื่นๆ. ผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งอายุ 13 ปีที่ร่วมให้ข้อมูลในรายงานเคยทำงานในประเทศบ้านเกิดของเธอมานานกว่า 3 ปี แสดงให้เห็นว่าความยากจนและสถานการณ์ภายใต้การปกครองโดย SPDC (รัฐบาลเผด็จการทหารพม่า)นั้นเลวร้ายมาก กระทั่งเด็กที่อายุเพียง 10 ปี ยังหลบหนีออกมาจากประเทศพม่า และกลายเป็นแรงงานย้ายถิ่น เพื่อทำงานช่วยเหลือครอบครัวของพวกเธอ

จำนวนของแรงงานย้ายถิ่นที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ ถูกว่าจ้างอยู่ในประเภทงานเหล่านี้มีจำนวนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พบว่ามีผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนมากในช่วงก่อนเข้าสู่วัยรุ่นนั้น พวกเธอเคยทำงานโดยเฉลี่ยมากกว่า 5 ปี คำอธิบายของเด็กหญิงแรงงานย้ายถิ่นชี้ให้เห็นว่า กฎหมายอายุการทำงานสากลระหว่าง 14 - 16 ปีนั้นถูกละเลยอยู่เสมอ ทั้งจากนายจ้างที่ต้องการแรงงานราคาถูกและจากแรงงานย้ายถิ่นในขณะที่พวกเธอสิ้นหวังในการช่วยเหลือครอบครัว ซึ่งเป็นแรงบีบบังคับให้ต้องทำงานตั้งแต่อายุยังน้อย กฎหมายแรงงานของประเทศไทยมีข้อกำหนดพิเศษสำหรับแรงงานที่อายุน้อยกว่า 15 - 18 ปี ซึ่งประกอบด้วยการควบคุมงานที่อาจก่อให้เกิดอันตราย การควบคุมชั่วโมงการทำงาน และช่วงเวลาการทำงาน รวมถึงโอกาสในการศึกษาและการฝึกอบรม แต่ระเบียบข้อกำหนดเหล่านี้กลับถูกเพิกเฉยในกรณีของแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง

ชีวิตแรงงานย้ายถิ่นเด็กหญิงที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์นั้น ต้องดำเนินไปบนความเสี่ยงที่ไม่ใช่เพียงการถูกตักตวงผลประโยชน์จากนายจ้างและการละเมิดสิทธิมนุษยชน-สิทธิแรงงานเท่านั้น แต่พวกเธอจำนวนมากยังถูกปฏิเสธสิทธิพื้นฐานของความเป็นเยาวชน เช่น ความปลอดภัยและการศึกษาด้วย. ผู้ให้สัมภาษณ์มาจากรัฐฉิ่น, รัฐคะฉิ่น, รัฐกะเหรี่ยง, รัฐคะเรนนี, รัฐฉาน, และเขตพะโค, เขตมัณฑเลย์, เขตอิระวดี, และเขตย่างกุ้ง ในประเทศพม่า(*) จำนวนปีเฉลี่ยที่แรงงานทำงานในบ้านเกิดคือ 6 ปี อย่างไรก็ตามมีแรงงานที่ทำงานในบ้านเกิดตั้งแต่ 2-22 ปี

(*) ประเทศพม่าแบ่งออกเป็น 7 รัฐและ 7 เขต ซึ่งเขตต่างๆ คือ เขตอิระวดี, เขตพะโค, เขตมาเกว, เขตมัณฑเลย์, เขตสะกาย, เขตตะนาวศรี, และเขตย่างกุ้ง. สำหรับรัฐ ได้แก่ รัฐฉิ่น, รัฐคะฉิ่น, รัฐคะยิน(กะเหรี่ยง), รัฐคะยาห์(คะเรนนี), รัฐมอญ, รัฐยะไข่(อาระกัน) และรัฐฉาน

แรงงานย้ายถิ่น มากว่า 57% แต่งงาน และมีลูกอย่างน้อย 1 คน พวกเธออธิบายว่า มันเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับพวกเธอในการส่งเงินค่าแรงของพวกเธอกลับ "บ้าน" เพื่อให้ครอบครัว เนื่องจากต้องหาเงินมาใช้สำหรับเลี้ยงดูลูกของตนเองด้วย ซึ่งแตกต่างจากหญิงสาวที่ไม่มีลูกและกลุ่มเด็กหญิง แรงงานย้ายถิ่นที่มีลูกบางคนที่ผู้สัมภาษณ์พูดคุยด้วย มักส่งลูกของพวกเธอให้กลับไปอาศัยอยู่กับครอบครัวของพวกเธอในประเทศพม่า เนื่องจากการทำงานและการดูแลเด็กนั้นเป็นหน้าที่รับผิดชอบที่มากเกินไป แรงงานย้ายถิ่นหญิงบางคนกล่าวว่า พวกเธอส่งลูกๆ ไปอาศัยอยู่กับครอบครัว (มากกว่าที่พวกเธอจะยังคงอยู่กับลูกๆในประเทศบ้านเกิด) เพราะพวกเธอไม่ต้องการให้ลูกๆ เติบโตขึ้นมาในพื้นที่ทำงานอย่างสิ้นหวังไร้อนาคต พวกเธอคาดหวังไว้ว่า การให้ลูกๆ เติบโตในประเทศพม่า เขา/เธอสามารถที่จะได้รับการศึกษาและโอกาสที่จะมีช่วงเวลาของวัยเด็ก. สำหรับแรงงานหญิงเหล่านี้ การต้องแยกจากลูกของพวกเธอเป็นความรู้สึกที่หนักหน่วงมาก และทำให้เกิดความรู้สึกถึงการสูญเสีย ซึ่งทำให้ผู้หญิงจำนวนมากยังคงอยู่ในประเทศบ้านเกิดของตนเพราะความจำเป็นที่ต้องดูแลครอบครัว

เช่นเดียวกับแรงงานหญิงย้ายถิ่นอื่นๆ ระดับการศึกษาของแรงงานหญิงย้ายถิ่นและแรงงานเด็กหญิงอยู่ระหว่างระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี(*) อย่างไรก็ตามผู้ให้ข้อมูลกลุ่มหลัก เกือบทั้งหมดจะจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยส่วนใหญ่จะจบชั้น 7 ผู้หญิงที่เข้าร่วมการสัมภาษณ์จำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกล่าวว่า พวกเธอลาออกจากโรงเรียน ส่วนหนึ่งเนื่องจากภาระครอบครัว และพวกเธอตระหนักว่า ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ได้ทำให้พวกเธอมีโอกาสได้ทำงานที่ดีกว่าในประเทศพม่า

(*) มีผู้ให้สัมภาษณ์ประมาณ 10 คนที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี สำหรับสาขาวิชาที่ศึกษานั้น ได้แก่ พม่าศึกษา, ภูมิศาสตร์, กฎหมาย, ฟิสิกส์, และสัตววิทยา

"ฉันลาออกก่อนที่ฉันจะเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะว่าทุกคนในหมู่บ้านที่อายุต่ำกว่า 40 ปี ทิ้งการเป็นนักเรียนไปแต่งงานมีชีวิตคู่ เพราะว่าฉันรักโรงเรียน ฉันจึงไม่ต้องการลาออก และมันเป็นสิ่งที่หนักมากสำหรับฉัน เมื่อแม่ของฉันดึงฉันมาข้างๆ และบอกว่า ครอบครัวของเรามีความจำเป็นอย่างมากและพวกเขาไม่สามารถที่จะสนับสนุนให้ฉันเรียนได้อีกต่อไป แม่บอกให้ฉันเผชิญหน้ากับความเป็นจริงเพราะแม้ว่าฉันจะได้ประกาศนียบัตรเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉันก็คงจบลงเหมือนคนอื่นๆ ในหมู่บ้านที่ต้องออกไปทำงานที่ประเทศไทย แล้วทำไมไม่ทำให้มันเร็วขึ้นมากกว่าที่จะปล่อยเวลาให้ช้าไปกว่านี้? ช่วงแรกฉันรู้สึกผิดหวังกับแม่มากที่ไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษา แต่ทุกวันนี้ฉันตระหนักแล้วว่าแม่พูดถูก หลังจากที่เพื่อนร่วมงานของฉันบางคนนั้นเรียนจบปริญญาตรี และพวกเธอก็ยังทำงานอยู่ที่นี่เหมือนฉัน ทุกวันนี้ฉันส่งเงินกลับบ้าน ฉันหวังว่าน้องชายและน้องสาวของฉันจะได้มีโอกาสในชีวิตที่ดีกว่า"
(Ma Pyint Phyo: 22 ปี แรงงานในโรงงาน)

ชีวิตในแต่ละวัน: ชีวิตและการทำงานในโรงงาน
โรงงานที่มีแรงงานย้ายถิ่นทำงานนั้นพบในพื้นที่ศึกษาทั้งสามแห่งในประเทศไทย แต่จากพื้นที่ทั้งหมด แม่สอด(จ.ตาก) มีความหนาแน่นของแรงงานในโรงงานมากที่สุด รองลงมาคือระนอง และท้ายสุดคือเชียงใหม่. ความแตกต่างด้านจำนวนประชากรของแรงงานเนื่องมาจาก ความต้องการแรงงานย้ายถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ หลักๆ แล้วไม่ใช่งานโรงงาน แต่แรงงานย้ายถิ่นมักจะทำงานรับใช้ในบ้าน งานธุรกิจการบริการ งานเกษตรกรรม และงานบริการทางเพศมากกว่า โดยแรงงานในโรงงานที่สัมภาษณ์ในงานศึกษานี้ทำงานในโรงงานเสื้อผ้า โรงงานอาหาร และโรงงานแปรรูปอาหารทะเล

ผู้ให้สัมภาษณ์จากอำเภอแม่สอดนั้น ทำงานในโรงงานเสื้อผ้า ซึ่งแม่สอดเป็นเมืองสำคัญในการผลิตสิ่งทอในประเทศไทย เพื่อส่งออกโดยบริษัทเสื้อผ้าระดับสากล เช่นเดียวกันกับโรงงานใน จ.ระนอง ซึ่งเป็นผู้ผลิตหลักด้านอาหารและอาหารทะเล บรรดาแรงงานย้ายถิ่นทำงานแบบไม่ประจำนั้นสามารถพบได้เป็นจำนวนมากในโรงงานเหล่านั้น เนื่องจากธรรมชาติของภาคการผลิต ที่เจ้าของโรงงานส่วนใหญ่สามารถผลิตโดยใช้ต้นทุนต่ำเพื่อการส่งออก และ/หรือการบริโภคในประเทศ ซึ่งทำให้พวกเขาได้กำไรจากส่วนต่างของค่าแรง ดังนั้นการจ้างแรงงานราคาถูกที่ย้ายถิ่นมาจากประเทศพม่า จึงเป็นประโยชน์อย่างมากของโรงงานและบริษัทมากมายในประเทศไทย

นอกจากนี้ การที่แรงงานย้ายถิ่นนั้นไร้สิทธิในประเทศบ้านเกิด ทำให้พวกเขา/เธอตัดสินใจที่จะทำงานเป็นแรงงานในโรงงานได้อย่างง่ายดาย (*) ขณะเดียวกันพวกเธอก็ถูกเอาเปรียบได้อย่างง่ายดายด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ในสภาพการทำงานที่ย่ำแย่และค่าแรงที่ต่ำกว่ามาตรฐาน โดยปราศจากความกลัวจากผลของการกระทำต่อแรงงานเหล่านี้

(*) แรงงานหญิงกล่าวว่า โรงงานในประเทศไทยจ้างแรงงานย้ายถิ่นที่มาจากประเทศพม่าแบบไม่ประจำเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งทั้งโรงงาน (ยกเว้นบางคนในงานบริหารระดับสูง) ไม่มีแรงงานคนไทยอยู่เลย เหตุผลส่วนหนึ่งคือแรงงานคนไทยส่วนมากจะไม่ทำงานที่ได้ค่าแรงต่ำ ในสภาพการทำงานที่ไม่ดี

โดยเหตุนี้จึงมีอัตราความต้องการแรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงจำนวนมาก เนื่องจากว่าค่าแรงของพวกเธอนั้นสามารถกำหนดให้ถูกกว่าเพื่อนร่วมงานที่เป็นชาย นอกจากนี้การที่พวกเธอไร้ซึ่งสถานภาพทางกฎหมาย ยิ่งจะทำให้นายจ้างแน่ใจว่าพวกเธอนั้น ไม่สามารถที่จะอ้างสิทธิแรงงานของพวกเธอและสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นอำนาจเพียงเล็กน้อยในการต่อต้านกับการถูกละเมิดโดยนายจ้าง. ผู้ให้สัมภาษณ์จากโรงงานบางแห่งชี้ให้เห็นว่า ความพยายามทั้งหมดของแรงงานในการเรียกร้องสิทธิของพวกเธอไม่เคยประสบความสำเร็จ เพราะว่านายจ้างนั้นตอบโต้โดยการใช้การบีบบังคับทางร่างกายจนเกินจะรับไหว และ/หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อส่งกลับผู้สร้าง"ปัญหา"

เพื่อให้แน่ใจว่าระดับการผลิตมีสูง โรงงานส่วนมากในอำเภอแม่สอดและจังหวัดระนองจะทำงานทุกวันโดยไม่มีวันหยุด(**) นายจ้างของโรงงานส่วนใหญ่ยังต้องการให้แรงงานย้ายถิ่นในโรงงานนั้นพักอาศัยอยู่ในบริเวณโรงงาน เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเธอจะทำงานในชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในแต่ละวัน และสามารถเรียกใช้ให้ทำงานได้ตลอด หากมีการไหลทะลักเข้ามาของวัตถุดิบ เพื่อเป็นไปตามสัญญา และ/หรือ กำหนดเวลาที่ต้องทำให้เสร็จเพื่อการส่งออก

(**) ผู้ให้สัมภาษณ์ระบุว่า มีวันหยุดเดือนละหนึ่งวัน และส่วนใหญ่จะเป็นวันอาทิตย์แรกของเดือน

แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงระบุว่า "บ้าน" ในโรงงานนั้นโดยทั่วไปเป็นห้องแถวหรือต้องใช้ที่พักร่วมกับแรงงานคนอื่นๆ บ่อยครั้งที่ในห้องมีเครื่องอำนวยความสะดวกเพียงเล็กน้อย นอกเสียจากที่นอนที่วางอยู่บนพื้น จากคำบรรยายของผู้ให้สัมภาษณ์ระบุว่า ที่พักอาศัยที่อัดแน่นนี้ได้ถูกจัดแบ่งออกเป็นสามประเภทคือ พื้นที่ของหญิงสาวโสด พื้นที่ของชายโสด และพื้นที่ของคู่สามีภรรยา/ครอบครัว. ขนาดของแต่ละห้องแถวนั้นแปรผันแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโรงงาน แต่คำอธิบายโดยทั่วไปนั้นคือ ในส่วนของผู้หญิงโดยปกติจะมีผู้หญิง 10 - 12 คนในห้องเล็กๆ ขนาดประมาณ 20 ตารางฟุต

ตามที่ผู้ให้สัมภาษณ์บรรยายคือ พื้นที่อยู่อาศัยนั้นถูกอัดแน่นไปด้วยแรงงานที่นอนเรียงติดๆ กันไป แรงงานยังต้องใช้ห้องอาบน้ำและพื้นที่สำหรับกินอาหารเย็นร่วมกัน รวมทั้งพื้นที่ของความเป็นส่วนตัวที่มีเพียงเล็กน้อย บางโรงงานนั้นเข้มงวดกระทั่งการห้ามแรงงานไม่ให้ทำอาหารและบริโภคอาหารของพวกเขาภายในขอบเขตของโรงงาน ซึ่งในกรณีนี้แรงงานจะถูกบังคับให้ซื้ออาหารจากโรงอาหารของเจ้าของโรงงานและร้านค้าทั่วไป

ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ระบุว่า โรงงานควบคุมอิสรภาพของพวกเธอเป็นอย่างมาก ดังเช่นที่ผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งบรรยายว่า "มีข้อกำหนดจำนวนมากและบังคับใช้อย่างเข้มงวด ที่ทำงานเป็นเหมือนคุกมากกว่าสถานที่สำหรับทำงาน พวกเราถูกปฏิบัติราวกับว่าเป็นนักโทษที่ทำงานภายใต้ผู้คุมขัง มากกว่าที่จะได้รับรายได้อย่างเป็นธรรมจากการทำงานในฐานะผู้ให้การบริการ" ผู้ให้สัมภาษณ์อธิบายว่า ประตูโรงงานมีกำแพงล้อมรอบ (เพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลภายนอกไม่สามารถมองเห็นด้านใน และแรงงานไม่สามารถที่จะมองออกไปด้านนอกได้) โรงงานจะจ้างยามรักษาความปลอดภัยตลอดทุกช่วงเวลา เพื่อสอดส่องและควบคุมแรงงานในห้องทำงานและอยู่ในบริเวณโรงงาน

แรงงานมักจะไม่ได้รับอนุญาตให้พบปะกับคนภายนอก และห้ามไม่ให้ออกจากโรงงานในระหว่างเวลาทำงาน นอกจากนี้ บุคคลภายนอกก็ไม่ได้รับอนุญาตในการเข้าไปภายในโรงงาน หลังจากที่ได้ฟังผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนมากเล่าถึงการทำงานและสภาพการอยู่อาศัยที่น่ากลัว นักวิจัยของ BWU (Burmese women's union) หลายคนพยายามที่จะเข้าไปในโรงงานหลายแห่งซึ่งเป็นพื้นที่ลับ เพื่อพยายามที่จะบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิต่างๆ แต่แผนการทำงานนี้ก็ต้องยกเลิกไปเนื่องจากโรงงานมีการควบคุมความปลอดภัยอย่างแน่นหนา และยังเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของผู้ให้สัมภาษณ์และแรงงานย้ายถิ่นคนอื่นๆ ด้วย

รูปแบบหลักในการทำงานของแรงงานย้ายถิ่นผู้หญิงและเด็กหญิงในโรงงานเสื้อผ้านั้น ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของพวกเธอ เริ่มตั้งแต่การเย็บ การทอ การตัดชิ้นส่วนเสื้อผ้า การต่อผ้าและการติดกระดุม การรีดและบรรจุหีบห่องานที่เสร็จเรียบร้อย. ขณะที่แรงงานย้ายถิ่นในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลนั้น หน้าที่หลักของพวกเธอประกอบด้วย การล้างทำความสะอาดอาหารทะเล, ตัด/ปอกเปลือกและบรรจุสินค้า แรงงานในการผลิตอาหารที่ให้สัมภาษณ์ในรายงานฉบับนี้ ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ในการบรรจุหีบห่อและการขนส่ง ถึงแม้ว่าบทบาทและความรับผิดชอบจะแตกต่างกัน แต่ชั่วโมงการทำงานของแรงงานในโรงงานกลับค่อนข้างสอดคล้องกัน

โดยปกติวันทำงานของแรงงานในโรงงานนั้นเริ่มจากการรายงานตัวในที่ทำงานของพวกเธอราว 8.00 น. และทำงานโดยไม่มีเวลาพักจนกระทั่งพักกลางวัน(*) แรงงานย้ายถิ่นอธิบายว่า เวลาพักที่พวกเธอได้รับอนุญาตนั้นมีเพียงการเข้าห้องน้ำเท่านั้น เมื่อทำงานเหนื่อยมากๆ ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนมากบอกว่าใช้การไปเข้าห้องน้ำเป็นเหมือนโอกาสเพียงเล็กน้อยในการมีโอกาสพักผ่อน แต่การพักเข้าห้องน้ำนั้นส่วนมากจะถูกจำกัดให้น้อยที่สุด เพื่อไม่ให้หัวหน้างานและหัวหน้าคนงานเกิดความสงสัย ถ้าผู้จัดการรู้สึกว่าแรงงานพักเข้าห้องน้ำ "นานเกินไป" (โดยส่วนใหญ่ประมาณ 5 นาที) ค่าแรงของแรงงานคนนั้นจะถูกหักไป 50 บาท

สำหรับช่วงพักกลางวันนั้น มีรายงานว่าปกติคือตั้งแต่ 12.00 - 13.00 น. แล้วจากนั้นแรงงานก็กลับไปทำงานในช่วงบ่าย ซึ่งจะเลิกงานประมาณ 17.00 น. และหลังอาหารเย็นของฤดูกาลที่มีความต้องการผลิตสูง แรงงานอาจจะต้องทำงานตั้งแต่ 18.00 - 22.00 น. ซึ่งไม่มีการจ่ายค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลาของแรงงานย้ายถิ่นในช่วงเวลาค่ำหรือวันหยุด แรงงานหญิงย้ายถิ่นกล่าวว่า หลังจากทำงานในช่วงบ่ายเสร็จ พวกเธอหมดแรงที่จะทำอะไรอย่างอื่น และส่วนมากจะตรงไปนอนพักมากกว่าเพื่อเตรียมตัวกับการทำงานในวันต่อมา

(*) สำหรับคนที่ทำงานเป็นชิ้น เวลางานนั้นสามารถเริ่มตั้งแต่ 5.00 น. และพวกเธอจะได้รับค่าแรงตามจำนวนงานที่ทำเสร็จ ดังนั้นหากแรงงานตื่นเร็ว ก็เป็นโอกาสที่จะทำให้เธอทำงานได้มากกว่า นอกจากแรงงานที่ทำงานเป็นชิ้น แรงงานในโรงงานอื่นๆ บางครั้งก็ต้องเริ่มงานเร็วด้วยเช่นกัน หากว่านายจ้างรับงานขนาดใหญ่หรือใกล้จะถึงเวลาสิ้นสุดที่จะต้องทำงานให้เสร็จ

แรงงานกลุ่มนี้บรรยายถึงการทำงานของพวกเธอว่า เป็นทั้งงานที่น่าเบื่อหน่ายและเหน็ดเหนื่อยอย่างมาก เนื่องจากถูกกำหนดให้ทำงานในหน้าที่เดิมทุกๆ วัน พวกเธอยังถูกคาดหวังว่าจะทำงานให้ได้อย่างรวดเร็วร่วมกับการทำงานกับเครื่องจักร เพื่อผลิตสินค้าให้ได้จำนวนสูงที่สุด อย่างไรก็ตาม ภายใต้การทำงานหนักและกฎเกณฑ์จำนวนมากนี้ แรงงานในโรงงานกลับได้รับค่าจ้างต่ำซึ่งไม่สมดุลเมื่อเทียบกับชั่วโมงการทำงานและการใช้แรงงานอย่างหนักหน่วงของพวกเธอ ค่าจ้างของพวกเธอนั้นมีทั้งที่เป็นแบบรายวัน รายเดือน หรือรายชิ้นต่อสัปดาห์ ค่าจ้างของแรงงานย้ายถิ่นรายวันและรายชิ้นต่อสัปดาห์นั้นอยู่ระหว่าง 20 - 120 บาทต่อวัน (0.61 - 4 ดอลลาร์สหรัฐ) ค่าจ้างของแรงงานรายชิ้นนั้น มีแนวโน้มเฉลี่ยน้อยกว่าค่าจ้างแรงงานรายวัน เนื่องจากว่าขึ้นอยู่กับจำนวนงานที่แรงงานสามารถผลิตได้ ค่าจ้างของแรงงานรายเดือนนั้นอยู่ระหว่าง 500 - 4,000 บาท (15 - 122 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งโดยเฉลี่ยแรงงานหญิงย้ายถิ่นที่ทำงานในโรงงานนั้นจะได้รับประมาณ 2,000 บาท (61 ดอลลาร์สหรัฐ) ก่อนที่จะถูกหักออกไป โดยส่วนใหญ่นายจ้างจะหักเงินค่าจ้างจากเงินเดือนของแรงงานสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าน้ำ และค่าอาหาร

แรงงานก่อสร้างและความยากลำบากของงานก่อสร้าง
แรงงานก่อสร้างมากกว่า 50% ที่ให้สัมภาษณ์นั้นมาจาก จ.เชียงใหม่ โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์เพียงบางส่วนที่มาจากแม่สอด จ.ตาก และจ.ระนอง สภาพแวดล้อมการทำงานของแรงงานก่อสร้างแตกต่างจากแรงงานในโรงงาน ซึ่งพวกเธอไม่ได้ถูกกำหนดให้พักอาศัยอยู่ในสถานที่ทำงาน นอกจากความแตกต่างหลักซึ่งทำให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้นแล้ว แรงงานก่อสร้างก็มีประสบการณ์ที่ค่อนข้างเหมือนกันกับแรงงานในโรงงาน กล่าวคือเป็นงานหนัก ไร้สิทธิแรงงาน และได้รับค่าแรงไม่เหมาะสมกับการทำงาน แรงงานก่อสร้างส่วนใหญ่ทำงานกับนายจ้างที่รับงานตามสัญญาจ้าง ทำให้ต้องเคลื่อนย้ายสถานที่ทำงานไปเรื่อยๆ

เช่นเดียวกับการทำงานในโรงงาน นายจ้างเลือกจ้างแรงงานย้ายถิ่นบนฐานของการได้กำไรมากกว่า เนื่องจากต้นทุนค่าแรงของพวกเธอต่ำ ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า กำไรของงานก่อสร้างนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของสัญญาการก่อสร้างที่นายจ้างของพวกเธอสามารถที่จะทำให้เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นแรงงานย้ายถิ่นจะถูกกดดันให้ทำงานอย่างรวดเร็ว ด้วยชั่วโมงการทำงานที่หนักกับเวลาพักเพียงเล็กน้อย ในช่วงที่มีการก่อสร้างสูงสุดของปี แรงงานบรรยายว่า พวกเธอต้องทำงานทั้งสัปดาห์โดยที่ไม่มีวันหยุด และในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีความต้องการแรงงานย้ายถิ่นในงานก่อสร้างสูงมาก แต่ก็ไม่มีความมั่นคงในการทำงานในงานประเภทนี้ เนื่องจากสามารถพบเห็นได้ทั่วไปว่าแรงงานจะถูกเลิกจ้างในช่วงที่มีการก่อสร้างน้อย ผู้ให้สัมภาษณ์หลายคนกล่าวว่า ช่วงฤดูกาลที่มีงานน้อย เป็นช่วงเวลาที่พวกเธอรู้สึกกดดันมาก และเมื่อเวลานั้นมาถึง หลายคนก็จะพยายามหางานเสริมหรือเตรียมวางแผนการฉุกเฉินเพื่อรับมือ หากพวกเธอถูกเลิกจ้าง ผู้ให้สัมภาษณ์บางคนเล่าว่าแรงงานต้องอยู่ในภาวะที่ต้องหานายจ้างใหม่ระหว่างช่วงฤดูที่มีงานก่อสร้างน้อย และต้องเผชิญความเสี่ยงในการไม่มีรายได้จากการทำงาน

แรงงานย้ายถิ่นผู้หญิงและเด็กหญิงในงานก่อสร้างนั้นต้องรับผิดชอบตั้งแต่การปูกระเบื้อง ผสมปูนซีเมนต์ ขนอุปกรณ์ก่อสร้าง เช่น อิฐ วัสดุปูพื้น และแบกเครื่องมือก่อสร้าง แรงงานก่อสร้างผู้ให้สัมภาษณ์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า งานของพวกเธอนั้นเป็นงานเหนื่อยหนัก เนื่องจากต้องเจอกับภาวะกดดันสูงเรื่องความต้องการจ้างงาน และสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่พวกเธอไม่ปรารถนา โดยต้องทำงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศที่ร้อนมาก ตารางเวลาการทำงานของแรงงานก่อสร้างค่อนข้างมาตรฐาน และใกล้เคียงกับแรงงานในโรงงานคือ เวลาเริ่มงาน 8.00 น. จนกระทั่งเที่ยงวัน และเริ่มเข้าทำงานในภาคบ่ายนับตั้งแต่ 13.00 น. จนกระทั่งเย็น มีเพียงข้อยกเว้นคืองานของแรงงานก่อสร้างนั้นจะเสร็จลงประมาณ 18.00 - 20.00 น. ซึ่งตรงข้ามกับแรงงานในโรงงานที่ต้องทำงานไปจนถึงช่วงเวลาค่ำ

แรงงานก่อสร้างที่ทำการสัมภาษณ์ทั้งหมดระบุว่า พวกเธอได้รับค่าจ้างรายวัน ตั้งแต่ 70 - 120 บาทต่อวัน (2 - 4 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นความคับข้องใจหลักๆ ที่สะท้อนออกมาจากแรงงานย้ายถิ่นผู้หญิงและเด็กหญิงที่ทำงานก่อสร้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างอย่างไม่เป็นธรรม โดยแบ่งแยกระหว่างแรงงานก่อสร้างชายและหญิง หลายคนกล่าวว่า แม้เธอจะทำงานหนักเช่นเดียวกันกับเพื่อนร่วมงานที่เป็นแรงงานก่อสร้างชาย และมีหน้าที่งานรับผิดชอบมากกว่า แต่เธอกลับได้รับค่าจ้างต่ำกว่าราวๆ 50% (ประมาณ 40 - 50 บาท หรืออย่างน้อย 1 ดอลลาร์สหรัฐ) อย่างไรก็ตาม กฎหมายแรงงานไทยนั้นระบุว่า แรงงานทุกคนจะต้องได้รับค่าจ้างตามกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ

แรงงานย้ายถิ่นในงานเกษตรกรรม
แรงงานในภาคเกษตรกรรมที่ทำการสัมภาษณ์มาจากสองพื้นที่ศึกษาในประเทศไทย (จ.เชียงใหม่และ อ.แม่สอด จ.ตาก) ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่นั้นทำงานในสวนผลไม้และพื้นที่เพาะปลูกที่ผลิตพืชอาหารหลายๆ ชนิด เช่น ผลไม้ และผัก ไปจนถึงดอกไม้. ผู้ให้สัมภาษณ์บางส่วนพักอาศัยอยู่กับนายจ้างของพวกเธอในสถานที่ทำงาน ในขณะที่คนอื่นๆ แยกออกมาพักในบริเวณใกล้เคียง สำหรับแรงงานย้ายถิ่นที่ทำงานในสวนผักและผลไม้นั้น หน้าที่รับผิดชอบของพวกเธอจะเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ก่อนการเก็บเกี่ยว พวกเธอจะรับผิดชอบการเพาะปลูก การให้น้ำ และการดูแลผลผลิตและเมื่อฤดูกาลเก็บเกี่ยวมาถึง แรงงานจะมีหน้าที่ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตและบรรจุเพื่อขายปลีก แรงงานในสวนผลไม้และดอกไม้ก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกันกับแรงงานในสวนผัก โดยสิ่งที่แตกต่างกันก็จะมีเพียงเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการผลิต

งานในภาคเกษตรนั้นมีการรายงานว่าใช้แรงกายมากเช่นเดียวกับงานโรงงานและงานก่อสร้าง แต่แรงงานในภาคเกษตรระบุว่า ปริมาณงานนั้นยังไม่ค่อยมีมากนัก แต่เรื่องสารเคมีนับว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของแรงงานมาก ชั่วโมงการทำงานของแรงงานในภาคเกษตรกรรมนั้นยาวนาน โดยประมาณ 12 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น (เริ่มตั้งแต่ประมาณ 5.00 - 6.00 น.) แรงงานย้ายถิ่นกล่าวว่า งานของพวกเธอนั้นเป็นงาน"ไม่มีเวลาหยุดพัก" นอกจากหนึ่งชั่วโมงช่วงพักกลางวัน ความแตกต่างที่สำคัญของงานในภาคเกษตรกรรมกับงานในอีกสองประเภทที่กล่าวมาแล้วคือ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ระบุว่าพวกเธอทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ และมีวันหยุด 1 วัน อย่างไรก็ตาม เพราะว่าแรงงานในภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นแรงงานรับจ้างรายวัน ซึ่งได้ค่าจ้างต่ำคือ วันละ 60 - 80 บาท (ต่ำกว่า 2 - 2.5 ดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับวันหยุดนั้น เนื่องจากเป็นวันที่ไม่ได้ทำงานจึงไม่มีค่าจ้าง ทำให้แรงงานมีทัศนคติในทางที่ไม่ดีมากนักต่อวันหยุด. ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนไม่น้อยกล่าวว่าถ้าพวกเธอได้รับค่าจ้างที่มากขึ้นกว่าเดิม การมีวันหยุดคงเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะว่าพวกเธอเองก็จำเป็นต้องพักผ่อนด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เพราะว่าค่าจ้างของพวกเธอต่ำมาก แรงงานจำนวนมากจึงแสดงออกว่าพวกเธอยินดีใช้ร่างกายทำงานหนัก ถ้ามันจะหมายความว่าพวกเธอสามารถที่จะมีเงินมากพอในการส่งกลับบ้านและมีรายได้พอที่จะอยู่รอดได้



ความยากลำบากของการทำงาน: การกลายเป็นชายขอบซ้ำซ้อน
ประเด็นการกลายเป็นชายขอบซ้ำซ้อนนั้นพบว่า การทำงานในภาคส่วนนี้สามารถมองเห็นประเด็นเรื่องการเลือกปฏิบัติ (การต่อต้านแรงงานหญิง) ซึ่งชัดเจนมาก การจ่ายค่าแรงที่แตกต่างกันระหว่างแรงงานชายและแรงงานหญิง แรงงานหญิงและเด็กหญิงจะถูกแบ่งแยกโดยนายจ้างอยู่เสมอและถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ได้ค่าจ้างต่ำกว่ามาตรฐาน เนื่องจากทั้งการมีสถานภาพที่ไม่ปกติและเพศสภาวะ ธรรมเนียมปฏิบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจำของนายจ้างนี้พบทั้งได้ในงานโรงงาน งานก่อสร้าง และงานภาคเกษตรกรรม

ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มักสะท้อนความรู้สึกว่า การปฏิบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม และบ่อยครั้งที่พวกเธอรู้สึกว่ามันเป็นความคับข้องใจหลักๆ ในสถานที่ทำงานของพวกเธอ และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายว่าพวกเธอไม่มีสถานภาพที่ถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยเหตุนี้จึงไม่ได้รับการคุ้มครองจากการแบ่งแยกต่อเพศสภาวะอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำให้แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงไม่ได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียม และไม่มีอำนาจในการต่อรองกับนายจ้างของพวกเธอได้

นอกจากแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงจะได้รับค่าจ้างที่แตกต่างจากแรงงานชายแล้ว บ่อยครั้งที่ถูกปฏิเสธไม่ให้ทำงานในตำแหน่งที่มีอำนาจในสถานที่ทำงานนั้นๆ จากผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดในงานภาคนี้พบว่า มีผู้หญิงเพียง 3 คนเท่านั้นเป็นหัวหน้างาน โดยส่วนใหญ่หัวหน้างานมักเป็นผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นแรงงานท้องถิ่นชาวไทย หรือว่าแรงงานย้ายถิ่นที่มาจากประเทศพม่า ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนมากแสดงความไม่พอใจต่อรูปแบบที่ชัดเจนของการแบ่งแยกในเรื่องเพศ และยังระบุว่าถ้าการปฏิบัติเหล่านั้นไม่ถูกปรับเปลี่ยนแล้ว แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงก็จะยังคงมีอำนาจในการต่อรองน้อยกว่าต่อไป สำหรับความตระหนักต่อการปฏิบัติเหล่านี้ของคนอื่นๆ (รวมทั้งความแตกต่างเรื่องการจ่ายค่าจ้าง) พวกเธอมองว่ามันกำลังกลายเป็นการปกป้องมาตรฐานที่เคยปฏิบัติกันมาทั้งในสายตาของนายจ้างและกระทั่งตัวของลูกจ้างหญิงเองด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อความที่ยกมาต่อไปนี้ ได้ชี้ให้เห็นทัศนะและความรู้สึกดังกล่าวอย่างชัดเจน

"ฉันตระหนักดีว่าผู้หญิงอย่างพวกเราได้รับค่าจ้างน้อยกว่า และไม่สามารถที่จะเป็น "เจ้านาย" ได้ แต่สิ่งเหล่านี้ถูกต้องแล้วหรือ? ฉันหมายความว่าฉันเคยทำงานในโรงงานมานานกว่า 8 ปี และมันก็เป็นอย่างนั้นมาเรื่อยๆ ซึ่งฉันก็ไม่ได้เห็นว่ามันจะเป็นปัญหาใหญ่หลวงอะไรอย่างที่ผู้หญิงคนอื่นๆ รู้สึก สำหรับฉันแล้วมีความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฉันอยู่ที่นี่ ฉันคิดว่ามันคงจะดีกว่าที่จะไม่สร้างปัญหาขึ้นและปล่อยให้สิ่งต่างๆ มันดำเนินไปตามที่มันเป็นอยู่เป็นเสมอมา"
(Ma Pa Pa: 44 ปี แรงงานในโรงงานเสื้อผ้า)

การแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติที่แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงประสบนั้น มีทั้งภายนอกจากการทำงานของพวกเธอและภายในจากชีวิตครอบครัว จากทฤษฎีสตรีนิยมที่ว่าด้วยการทำงานซ้ำซ้อนเป็นสองเท่าของผู้หญิงนั้น พบได้จากประสบการณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์. ผู้ให้สัมภาษณ์ที่แต่งงานแล้วส่วนใหญ่กล่าวว่า การทำงานของพวกเธอไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะการทำงานรับจ้างในโรงงาน ถิ่นก่อสร้าง และพื้นที่เกษตรกรรมเท่านั้น แต่ยังมี "งาน" อื่นๆ อีกด้วยซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อพวกเธอกลับถึงบ้าน จากผลของการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานบ้านที่ไม่เท่าเทียมกันและลักษณะทางวัฒนธรรม หน้าที่งานในบ้านและการดูแลเด็กในวัฒนธรรมพม่านั้นถูกระบุว่าเป็น "งานของผู้หญิง" ดังนั้นจากรายงานของแรงงานย้ายถิ่นผู้หญิงและเด็กหญิงจึงพบว่า พวกเธอนั้นต้องเหน็ดเหนื่อยกว่าเพื่อนร่วมงานชาย เพราะว่าต้องยากลำบากจากการทำงานซ้ำซ้อนสองเท่า

"ฉันต้องยอมรับว่ามีบางวันที่ฉันป่วยหนักมากจากการทำงานที่เร่งรีบ และมันไหลบ่าเข้ามาไม่หยุด ฉันหวังว่าสามีของฉันสามารถที่จะช่วยดูแลบ้านได้บ้าง ฉันรู้ดีว่าเขาเหนื่อยมากแต่ฉันก็เหนื่อยเช่นกัน ฉันหวังแค่ให้สามารถกลับมาที่บ้านและไม่ต้องขยับเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้น แต่ฉันไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะถ้าฉันไม่ทำงานและไม่มีอาหารวางไว้บนโต๊ะ พวกเขาจะไม่มีทั้งอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารค่ำ"
(Ma Win Yu Maw: 25 ปี, แรงงานในภาคเกษตร)

การคุกคาม "ความเป็นผู้หญิง"
แรงงานย้ายถิ่นผู้หญิงและเด็กหญิงหลายคนให้ชื่อหัวข้อนี้ อันเนื่องมาจากความกังวลในเรื่องเดียวกันของแรงงานหญิงในภาคส่วนต่างๆ ความกังวลที่ว่าคือ ภาวะคุกคามที่เฉพาะแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงต้องเผชิญ ผู้เข้าร่วมสนทนาส่วนใหญ่กล่าวว่าเป็นการลดทอนคุณค่าให้ต่ำต้อย ลักษณะเฉพาะของการคุกคามเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นเพียงการเอาเปรียบของนายจ้างและผู้มีอำนาจเท่านั้น แต่ยังมาจากเพื่อนร่วมงานแรงงานย้ายถิ่นผู้ชายด้วย

ตัวอย่างของการคุกคาม "ความเป็นผู้หญิง" ที่รายงานโดยผู้เข้าร่วมการศึกษาในคู่มือแรงงานภาคส่วนที่มีการใช้แรงเป็นหลัก ประกอบด้วย การลวนลามทางเพศ การข่มขืน การละเมิดทางร่างกายและคำพูด ส่วนสถานการณ์ในครอบครัวก็ไม่ได้ดีกว่ากันมากนัก ผู้หญิงยังคงความพ่ายแพ้มาโดยตลอด(*) ผู้ให้สัมภาษณ์จากประเภทงานทั้งสามข้างต้นระบุว่า ตนเคยถูกลวนลามทางเพศทั้งจากนายจ้างและเพื่อนร่วมงานชาย กรณีการคุกคามทางเพศ (ตั้งแต่การใช้คำพูดอย่างไม่เหมาะสม ไปจนถึงการพูดส่อเสียดไปในทางเพศสัมพันธ์) ได้ถูกสะท้อนจากแรงงานย้ายถิ่นที่ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นประจำโดยนายจ้างและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงในการทำงานของพวกเธอ. นอกจากนี้ เนื่องจากการลวนลามทางเพศถูกปฏิบัติจนกลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องความรุนแรงที่ต้องใส่ใจ ซึ่งแรงงานหญิงส่วนใหญ่มีเครือข่ายความช่วยเหลือ อำนาจ และ/หรือการเข้าถึงเครื่องมือในการหยุดการปฏิบัติเหล่านี้ได้ไม่มากนัก ดังนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์ที่เคยเป็นเหยื่อส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีการทั่วไปที่สุดของการจัดการกับการคุกคามทางเพศคือ การเพิกเฉยและพยายามเลี่ยงที่จะเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่พวกเธอจะมีความเสี่ยงจากการถูกล่วงละเมิด

(*) คำศัพท์ที่ว่าความพ่ายแพ้ของผู้หญิงนั้นจะถูกนำมาให้แทนที่คำศัพท์ที่ใช้โดยทั่วไปที่ว่า "ความรุนแรงในครอบครัว" ซึ่งได้ให้ความสำคัญที่ธรรมชาติของการกระทำต่อเพศสภาวะและสัดส่วนการเป็นเหยื่อของผู้หญิง

" ไม่มีวันใดเลยที่ฉันจะไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือละเมิดด้วยคำพูดจากเพื่อนร่วมงานชายที่ทำงานในที่ก่อสร้าง พวกเขาบอกว่ามันไม่เป็นพิษเป็นภัยเพราะเป็น "การเย้าแหย่" และพูดว่ามันเป็นเพียงเรื่องราวสนุกตลกขบขัน แต่เมื่อคุณคือผู้แบกรับมัน มันจึงไม่ใช่เรื่องสนุกเลย แต่ฉันรู้ดีว่าฉันไม่ได้เป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวที่มีประสบการณ์เรื่องนี้จากพวกผู้ชาย และเมื่อคุณทำงานกับผู้ชายทั้งหมดเหล่านี้ ฉันคิดว่าคุณจะต้องเข้มแข็งมากขึ้น และทั้งหมดที่ฉันจัดการกับมันคือ พยายามและไม่ล่อใจพวกเขา พร้อมทั้งแสดงความเพิกเฉยต่อพวกเขาทั้งหมด"
(Ma Naan Mo Kham: 37 ปี แรงงานก่อสร้าง)

ตามที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวมา การข่มขืนหรือการปฏิบัติละเมิดทางเพศเป็นรูปแบบที่ร้ายแรงที่สุดต่อการคุกคาม "ความเป็นผู้หญิง". จากผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด มีเพียงแรงงานในโรงงานที่เคยถูกละเมิดทางเพศ ผู้ให้สัมภาษณ์จำนวนมากระบุว่า การเป็นเหยื่อของการละเมิดทางเพศนั้นไม่สามารถเข้าถึงระบบยุติธรรมและการช่วยเหลือจากประเทศเจ้าบ้าน ซึ่งเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่ถูกทำให้กลายเป็นเหยื่อ พวกเธอเชื่อว่าตนเองมีอำนาจต่อรองน้อยและไร้ความสามารถในการที่จะควบคุมจัดการผู้ที่ล่วงละเมิด แม้ว่าจะสามารถอธิบายถึงการกระทำที่ล่วงละเมิดได้ หรือแม้ว่าจะเจ็บปวดทุกข์ทนอย่างมากก็ตาม

ผู้ให้สัมภาษณ์สองคนระบุว่า ประเพณีวัฒนธรรมและมุมมองทางสังคมต่อการละเมิดทางเพศ ยิ่งตอกย้ำให้พวกเธอถูกทำให้กลายเป็นเหยื่อและรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่หมดหนทางช่วยเหลือ ถ้ากรณีของการละเมิดทางเพศถูกรายงาน การตอบสนองของชุมชนแรงงานย้ายถิ่นนั้น ถ้าไม่ใช่ความสงสารก็จะประทับตราพวกเธอว่าเป็นผู้หญิงที่มี "มลทิน"

"เมื่อฉันเล่าให้เพื่อนในโรงงานฟังว่าฉันเคยถูกข่มขืนโดยหัวหน้างานของโรงงาน พวกเขา/รู้สึกโกรธและเสียใจกับสิ่งที่ฉันเผชิญ แต่มันไม่เคยไปไกลจนถึงความคิดที่ว่าพวกเขาควรจะทำอะไรบ้างและฉันควรจะทำอย่างไร? ฉันไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติและแจ้งเจ้านายได้เพราะเขาก็คือเจ้านายของฉัน ดังนั้นฉันจึงทำสิ่งเดียวที่ฉันสามารถทำได้ คือ"ลาออก" ฉันจากไปและพักอยู่กับน้าสาวและหางานใหม่ ถ้าฉันยังคงพักอยู่ในโรงงานแห่งนั้น ฉันคงจะเป็นเพียงหัวข้อในการนินทาสำหรับทุกคนต่อไป "ดูนั่นสิ หญิงสาวที่น่าสงสาร ความบริสุทธิ์ของเธอถูกทำให้แปดเปื้อนแล้ว" น้าสาวของฉันและฉันต่างก็ภาวนาให้เรื่องราวส่วนหนึ่งของฉันไม่เป็นที่รับรู้แพร่หลาย เพื่อที่ว่ามันจะได้ไม่ทำลายโอกาสของฉันในการแต่งงาน การทำงานและชีวิตปกติในอนาคต"
(ไม่ระบุชื่อ: 24 ปี แรงงานในโรงงานเสื้อผ้า)

การพูดจาลวนลามทางเพศ เป็นประสบการณ์การถูกการคุกคามของแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงแบบที่สาม ผู้ให้สัมภาษณ์อธิบายว่า แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงนั้นเลือกที่จะแสดงออกต่อการพูดจาลวนลามทางเพศของหัวหน้างานของพวกเธอในเชิงตอบสนอง เพื่อที่จะได้สิทธิพิเศษในการทำงาน สิทธิพิเศษเหล่านี้มีตั้งแต่การได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น มีความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น และ/หรือได้รับการปกป้องคุ้มครองในสถานที่ทำงานมากขึ้น ผู้ให้สัมภาษณ์ค่อนข้างที่จะแบ่งเป็นฝักฝ่ายในปฏิกิริยาตอบกลับของพวกเธอต่อการกระทำเหล่านี้ ซึ่งบางส่วนเข้าใจและเชื่อว่ามันเป็นการปฏิบัติที่จำเป็น

"ฉันรู้ว่าผู้หญิงคนอื่นๆ ทั้งหมดจะคิดว่าฉันเป็นผู้หญิงในทำนองที่ว่า "ไม่น่าปรารถนา" และฉันก็รู้ว่าพวกเขาพูดลับหลังฉันว่าอย่างไรบ้าง แต่ฉันมองว่า มันไม่เป็นอันตรายและถ้าปล่อยให้หัวหน้างานของฉันทำอะไรบางอย่างกับฉันซึ่งเป็นอะไรที่ทำให้มั่นใจว่าฉันจะได้รับการปกป้องคุ้มครองที่ดีขึ้นบ้างและมีสถานภาพในการทำงานที่ดีกว่า ซึ่งฉันก็มองว่ามันเป็นการแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรมสมเหตุสมผล"
(ไม่ประสงค์ระบุชื่อ: 28 ปี แรงงานในภาคเกษตร)

ในอีกด้านหนึ่งก็มีคนมองการที่ผู้หญิงและเด็กหญิงที่แสดงออกการพูดจาลวนลามอย่างดูถูกเหยียดหยาม ปฏิกิริยาตอบสนองในกลุ่มหลังนี้ ส่วนใหญ่ถูกหล่อหลอมมาจากความคาดหวังทางวัฒนธรรม/การทำให้เป็นคู่ตรงข้าม ระหว่าง ผู้หญิง "ดี" และ ผู้หญิง "เลว" โดยมองผู้หญิงที่แสดงออกต่อการพูดจาลวนลามว่า "ไม่ต่างจากผู้หญิงขายบริการทางเพศ"
(*) Ma Thida Aye: 43 ปี, แรงงานในโรงงานเสื้อผ้า ในวัฒนธรรมพม่า แรงงานในบริการทางเพศจะถูกจัดให้อยู่ระดับล่างที่สุดของสังคมและถูกตีตราว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี

" ฉันไม่ได้รู้สึกอะไรมากแต่อายแทนผู้หญิงเหล่านั้นที่ทำตัวของพวกเธอเองให้น่ารังเกียจ ฉันเห็นพวกเธอ พูดจาแทะโลมกับหัวหน้างานตลอดเวลาและพูดจาหวานๆ กับพวกเขา ฉันหมายความว่าพวกเราทุกคนอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน แต่ฉันกำลังทำทุกวิถีทางและขายแรงงานของฉันเพื่อให้ได้งานหรือเงิน ฉันตระหนักดีว่าสิ่งใดที่พวกเธอทำนั้นพวกเธอกำลังทำงาน เพราะว่าพวกเธอสามารถที่จะมีอิทธิพลต่อนายจ้างและบางครั้งก็ได้โอกาสที่ดีในการทำงานมากกว่าคนอย่างฉัน และถ้าพวกเธอไม่ชอบคุณ สิ่งที่พวกเธอจะทำก็เพียงบอกหัวหน้างาน และคุณก็จะต้องพบกับความยากลำบาก แน่นอนว่าฉันเกลียดพวกเธอเหล่านั้นแต่ฉันไม่สามารถทำอะไรได้ดีไปกว่านี้ เพราะว่าฉันไม่ต้องการพบเรื่องยุ่งยาก"
(Ma Thida Aye: 43 ปี แรงงานในโรงงานเสื้อผ้า)

ผู้หญิงจากทั้งสองกลุ่มพิจารณาการปฏิบัติเหล่านี้ในระดับของปัจเจกบุคคล มากกว่าที่จะเข้าใจบริบทที่ปรากฏและความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายอำนาจในระดับมหภาคระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย

ประเภทสุดท้ายของการคุกคาม "ความเป็นผู้หญิง" สำหรับผู้ให้สัมภาษณ์คือการคุกคามทางร่างกาย. ตามที่แรงงานได้ตอบคำถามมานั้น สิ่งเหล่านี้ปรากฏเป็นเรื่องค่อนข้างปกติภายในชุมชนของแรงงานย้ายถิ่น และแม้ว่าจะไม่มีผู้ให้สัมภาษณ์คนใดระบุว่าเคยถูกทุบตีมาก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งของแรงงานที่ยอมรับว่ามีอย่างน้อยหนึ่งกรณี ที่ผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน และเมื่อถามว่าทำไมรูปแบบของความรุนแรงนี้กลายเป็นเรื่องที่เกิดทั่วไประหว่างแรงงานย้ายถิ่นหญิงและชายนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งรู้สึกว่า เรื่องนี้สามารถพิจารณาว่าเป็นความเครียดจากการทำงานในฐานะแรงงานย้ายถิ่นที่อยู่ในสถานะไม่ปกติ

"การทำงานที่นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายและขอบเขตที่แน่นอนที่คุณจะต้องเรียนรู้เพื่อที่จะจัดการกับวันที่แสนหนักในแต่ละวัน การละเมิด ความกดดันทางการเงิน และความไม่ปลอดภัยในการทำงาน บางคนสามารถจัดการกับมันได้ดี แต่ฉันรู้ว่าคนจำนวนมากระบายความอึดอัดใจนี้กับคนอื่นๆ ฉันเห็นผู้คนทะเลาะกันในเรื่องเล็กๆน้อยๆ ซึ่งบางครั้งเมื่อคู่สามีภรรยาทะเลาะกัน เหมือนจะสะท้อนออกมาสู่ภายนอกด้วยเพราะว่าทุกคนก็เครียดกับการทำงาน บางครั้งพวกเขาทุบตีภรรยา เพราะว่าพวกเขาไม่พอใจกับการดำเนินชีวิตของเขา ฉันกังวลในประเด็นนี้ตลอดเวลา ทำไมมันเป็นเรื่องปกติ? ฉันพยายามคิดว่าบางทีถ้าเขาปลดปล่อยความโกรธและความไม่พอใจไปยังคนอื่นที่มีอำนาจน้อยกว่า เขาจะไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีอำนาจ หรืออาจจะทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นผู้ชายเช่นเดียวกับในประเทศบ้านเกิด มากกว่าที่จะต้องหวาดกลัวต่อนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐตลอดเวลา"
(Ma Margaret: 41 ปี อดีตแรงงานก่อสร้าง)

ผู้ให้สัมภาษณ์เช่น Ma Margaret เห็นว่าการคุกคามทางร่างกายนั้นถูกมองว่าเป็นรูปแบบของการจัดการกับความเครียดของแรงงานย้ายถิ่นผู้ชาย สมมติฐานได้ว่าเป็นการฟื้นฟูการมีอำนาจเหนือกว่าของแรงงานย้ายถิ่นชายในการเผชิญกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตของพวกเขา และการหาผลประโยชน์จากนายจ้างซึ่งทำให้บทบาทของความเป็นชายของพวกเขาลดลง ผู้ให้สัมภาษณ์ยังเชื่อว่าแรงงานย้ายถิ่นชายนั้นบางครั้งถูกทำให้กลายเป็นเหยื่อ เพราะว่าสถานภาพที่ไม่ปกติของพวกเขา ดังนั้นจึงต้องการส่งผ่านความเป็นเหยื่อให้กับคนอื่นๆ (ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นภรรยาของเขา) เพื่อให้เขาไม่ต้องรู้สึกถึงความอ่อนแอของตน

ความตระหนักเรื่องสุขภาพ
เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานย้ายถิ่นในงานภาคส่วนอื่นๆ นั้น แรงงานในโรงงาน งานก่อสร้าง และงานเกษตรกรรม มีความตระหนักเรื่องสุขภาพมากกว่าแรงงานประเภทอื่น เพราะผู้ให้สัมภาษณ์ระบุว่า งานเหล่านี้เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับอันตราย และบ่อยครั้งมีโอกาสสูงที่จะประสบอันตรายมากกว่างานใช้แรงงานประเภทอื่น จากการให้สัมภาษณ์ของบรรดาแรงงาน อาจกล่าวได้ว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมาก เพราะการใช้แรงงานหนักนั้น ธรรมชาติของงานมักจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของพวกเธอ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ระบุว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากการไม่ดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้และความไม่เอาใจใส่ของนายจ้างต่อบรรดาแรงงาน และความไม่เต็มใจที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อให้มีเครื่องมือที่ปลอดภัย

แม้ว่านายจ้างจำนวนมากจะต้องมีรับผิดชอบภายใต้แนวทางการจัดการแรงงานสากล ทว่าแรงงานย้ายถิ่นกลับถูกปฏิเสธสิทธิแรงงานในการเรียกร้องค่าเสียหายหรือการช่วยเหลือ ภายใต้กฎหมายของไทยนั้นยังเป็นประเด็นข้อถกเถียงกันว่า แรงงานย้ายถิ่นสามารถที่จะเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนผ่านสำนักงานประกันสังคมหรือไม่ นับตั้งแต่แรงงานทั้งหมดได้รับการยอมรับในฐานะแรงงานภายใต้กฎหมายแรงงาน มันยังเป็นข้อถกเถียงที่ว่าแรงงานย้ายถิ่นจะสามารถได้รับผลประโยชน์และการจ่ายเงินทดแทนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือไม่ อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคมโต้แย้งว่า กองทุนเงินทดแทนนั้นจัดสรรสำหรับแรงงานที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น

ในความเป็นจริงแล้ว แรงงานถูกลงโทษจากอุบัติเหตุในการทำงานอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการลาหยุดงานที่เป็นผลเนื่องมาจากจากการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ส่วนใหญ่แล้วแรงงานย้ายถิ่นจะต้องรับผิดชอบเองเสมอ ดังนั้นการบาดเจ็บหรือป่วยจึงกลายเป็นการคุกคามและภาระหลักสำหรับแรงงานย้ายถิ่นผู้หญิงและเด็กหญิงในงานเหล่านี้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามาเป็นภาระและทำให้สูญเสียรายได้

" หลายครั้งที่ฉันภาวนาว่า โปรดเถิดพระเจ้า อย่าให้ฉันป่วยเลย หรือได้รับบาดเจ็บพิการจากเครื่องจักรในการทำงาน เพราะว่าการไปโรงพยาบาลนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพบหมอแต่ละครั้งและค่ารักษาพยาบาลนั้น อย่างต่ำก็ประมาณ 300 บาท และถ้าฉันต้องไปที่ไหน 1 - 2 วัน นั่นคือว่าประมาณ 200 บาทที่ฉันจะไม่ได้รับเพราะว่าไม่ได้ทำงาน และยิ่งไปกว่านั้น ตำรวจสามารถจับฉันระหว่างทางจากที่นั่นหรือการเดินทางกลับ และเหตุการณ์เช่นนี้จะทำให้ฉันเจอกับความลำบากที่ใหญ่หลวง มันไม่ใช่ว่านายจ้างจะมาและช่วยฉันออกไป หรือถ้ามันเกิดขึ้นจริง ฉันก็ต้องจ่ายเงินและติดสินบนเจ้าหน้าที่ ซึ่งตลอดทั้งการเดินทางไปโรงพยาบาลนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 500 - 1000 บาท นั่นคือวันทำงานจำนวนมากที่ฉันทำให้เสียเปล่า"
(Ma Than Htay: 41 ปี แรงงานก่อสร้าง)

กล่าวโดยสรุป ข้อค้นพบจากแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงในงานที่ใช้แรงงานเป็นหลักนั้น เป็นการเสริมประเด็นของการกลายเป็นชายขอบซ้ำซ้อนของแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง และการคุกคามต่อ "ความเป็นผู้หญิง" ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและเพศสภาวะของพวกเธอ นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ยังเปิดเผยถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานว่า เป็นข้อกังวลสำคัญสำหรับแรงงานย้ายถิ่นผู้หญิง เนื่องจากเกี่ยวข้องกับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายและขัดขวางการทำงานของพวกเธอ

ข้อตกลงระหว่างประเทศ และการละเมิดสิทธิของผู้ย้ายถิ่น
ก่อนหน้านี้ แรงงานย้ายถิ่นได้เสนอว่าควรมีแนวทางทำงานเป็นสองด้านทั้งในประเทศเจ้าบ้านที่พวกเธอทำงานอยู่ และในประเทศพม่า เพื่อยุติความทุกข์ยากและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นความเชื่อของ BWU ว่า สิ่งที่เหล่าแรงงานย้ายถิ่นได้เล่ามานั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อแรงงานย้ายถิ่นได้เกิดขึ้นมาเนิ่นนาน และสิ่งที่แรงงานได้เรียกร้องนั้นเหมาะสมแล้ว. BWU เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศพม่าและประเทศที่แรงงานเหล่านี้ทำงานอยู่ให้ตระหนักถึงความต้องการและปัญหาสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของแรงงานย้ายถิ่น. BWU ย้ำว่า กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศควรจะถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องสิทธิแรงงานที่ทำงานอยู่นอกถิ่นฐาน โดยการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน และเปิดช่องทางให้มีการช่วยเหลือเมื่อพวกเขาถูกละเมิด

การละเมิดต่อผู้ย้ายถิ่นและทางออกของปัญหา
ในส่วนต่อไปนี้จะกล่าวถึงว่า สิทธิของผู้พลัดถิ่นข้อใดบ้างที่ถูกละเมิดภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โดยข้อตกลงระหว่างประเทศที่เลือกมาอ้างเนื่องจากเป็นสิ่งที่ยอมรับกันในระดับสากล รวมทั้งประเทศพม่า จีน และไทย อันเป็นประเทศที่พวกเขาทำงานอยู่ได้ลงนามในข้อกฎหมายนี้ด้วย ได้แก่

- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(The International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR)

- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
(The International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR)

- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (The Convention on the Rights of the Child: CRC)

- อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
(The International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination: ICERD)

- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อหญิงในทุกรูปแบบ
(The Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women: CEDAW)

BWU หวังว่า การที่เน้นย้ำให้เห็นถึงสถานการณ์การละเมิดสิทธิของแรงงงานข้ามชาติ กฎระเบียบของรัฐ จะทำให้เกิดการปฏิรูป โดยที่ข้อเสนอแนะจากรายงานนี้จะสามารถนำไปใช้เพื่อให้ความช่วยเหลือแก้วิกฤตทางมนุษยธรรมในกลุ่มแรงงานย้ายถิ่นได้

การป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้ย้ายถิ่น
สิทธิมนุษยชนของแรงงานย้ายถิ่นมักจะถูกปฏิเสธผ่านการเลือกปฏิบัติและเอารัดเอาเปรียบในประเทศที่พวกเขาไปพำนักและทำงานอยู่ หลักการของการไม่เลือกปฏิบัติคือ หลักการที่รวมถึงการใช้เครื่องมือด้านสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งเป็นแกนกลางที่ใช้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้ย้ายถิ่น. จากข้อมูลที่ได้จากแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงพบว่า การถูกทำให้เป็นกลุ่มชายขอบนั้น เกิดจากเพศสภาวะและสถานภาพที่ไม่ปกติของพวกเธอ แม้ว่าสิทธิและเสรีภาพของผู้ย้ายถิ่นนั้นจะถูกคุ้มครองภายใต้ :

- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มาตรา 2(1) ที่คุ้มครองสิทธิตามหลักการโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติจากเชื้อชาติ สีผิว
เพศ ภาษา ศาสนา แนวคิดทางการเมือง สัญชาติ สังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพ และในมาตรา 26 ที่คุ้มครองอย่างเท่าเทียมโดยไม่มีการแบ่งแยก

- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 2(3) ที่คุ้มครองสิทธิตามหลักการโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ
- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมาตรา 2(1) ที่คุ้มครองสิทธิตามกติกาโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

- อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ มาตรา 1(1) ที่ห้ามการเลือกปฏิบัติจากเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย
สัญชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์

- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อหญิงในทุกรูปแบบ มาตรา 1 ที่ห้ามการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเพศ

ในปี ค.ศ. 2003 ผู้แทนพิเศษจากองค์การสหประชาชาติเรื่องผู้ไร้สัญชาติ ได้ออกแถลงการณ์ความว่า แม้ในบางครั้งจะมีการแบ่งแยกอย่างชอบธรรมระหว่างประชาชนในชาติ และผู้ไม่ใช่ประชาชนในชาติ และระหว่างกลุ่มผู้ย้ายถิ่น และกลุ่มอื่นๆ แต่การปฏิบัติเหล่านั้นจะต้องไม่ฝ่าฝืนหลักการสิทธิมนุษยชน

ภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล ผู้ย้ายถิ่นทุกคนล้วนมีสิทธิในชีวิต โดยไม่มีข้อยกเว้น(ICCPR Article 6) เสรีภาพจากการถูกทรมาน และการปฏิบัติอย่างโหดร้ายไร้มนุษยธรรม และเสื่อมทราม (ICCPR Article 7) เสรีภาพจากความเป็นทาสและความเป็นข้ารับใช้ (ICCPR Article 8 [1-2]) และได้รับการยอมรับในฐานะบุคคลคนหนึ่งก่อนกฎหมาย (ICCPR Article 16)

เช่นเดียวกัน สิทธิของผู้ย้ายถิ่นในเรื่องสิทธิแรงงานและในที่ทำงานก็ได้รับการคุ้มครองภายใต้ ICESCR Articles 6 ถึง 8 และ 11, ICERD Article 5(e)(i) และ CEDAW Articles 11 และ14 ขณะที่สิทธิแรงงานย้ายถิ่นจะต้องได้รับการคุ้มครองด้านสุขภาพ อาหารและน้ำดื่มอย่างพอเพียง ภายใต้ ICESCR Article 12, CERD Article 5(e)(iv), CEDAW Articles 12 และ 14(b), CRC Articles 24 และ 25

ดังนั้น จากหลักฐานเอกสารและพยานพบว่า แรงงานย้ายถิ่นถูกปฏิเสธสิทธิแรงงาน ได้รับค่าจ้างที่ไม่เพียงพอ ถูกละเมิดเมื่อปฏิบัติงาน ถูกจับกุมและคุมขังโดยพลการ และขาดการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงภายใต้กฎหมายสากล ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐจะต้องแก้ไขการกระทำผิดดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับแรงงานย้ายถิ่น เพื่อสนับสนุนคำสัญญาที่ให้ไว้กับกติกาสากลดังกล่าว

ข้อเสนอแนะ
BWU ขอเรียกร้องให้ชุมชนนานาชาติให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

- ตรวจสอบรัฐบาลพม่าในเรื่องการกดขี่และสั่นคลอนความมั่นคงของมนุษย์ และรับผิดชอบต่อการย้ายถิ่นของมวลชน ทั้งผู้พลัดถิ่น(Refugees) และแรงงานย้ายถิ่น (Migrant workers)

- รับรองเสถียรภาพและสันติภาพในพม่าที่จะถูกสร้างขึ้นผ่านการเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตย และการประกาศสงบศึก นอกจากนั้น รัฐบาลพม่าต้องให้คำมั่นว่าจะสร้างมาตรการเพื่อรับรองสิทธิมนุษยชนและสวัสดิการแก่ชาวพม่าทุกคน หากไม่มีเสถียรภาพและสันติภาพ ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานอันทำให้เกิดความยากจนอย่างรุนแรง จะยังคงผลักดันให้เกิดการพลัดถิ่นเพื่อความอยู่รอด

- เรียกร้องให้รัฐพม่าและประเทศที่แรงงานไปทำงานให้คำมั่นและปฏิบัติตามข้อตกลงสำคัญทั้ง 7 ข้อในเรื่องสิทธิมนุษยชน และหลักการด้านสิทธิอีก 4 ข้อขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organizations: ILO) และกติกาหลักอีก 8 ข้อ เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ย้ายถิ่น

- ประเทศที่มีการจ้างและได้รับประโยชน์จากแรงงานย้ายถิ่น ต้องให้สัตยาบันตาม Migrant Workers Convention 56 ที่คัดมาจากหลักการด้านสิทธิและเสรีภาพของแรงงานย้ายถิ่น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้กับการหาประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมจากแรงงานย้ายถิ่น

(*) ข้อเสนอแนะถูกออกแบบขึ้นในแบบสองแนวทางปฏิบัติ ตามที่แรงงานย้ายถิ่นเสนอแนะ โดย มุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในพม่าและประเทศเจ้าบ้านอย่างจีนและไทย

BWU เรียกร้องให้ประเทศจีนและไทยที่แรงงานไปทำงาน:

- ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (The International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (The International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (The Convention on the Rights of the Child: CRC) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ(The International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination: ICERD) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อหญิงในทุกรูปแบบ (The Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women: CEDAW) และดำเนินการเพื่อปกป้องสิทธิของแรงงานย้ายถิ่น

- ให้คำมั่นและปฏิบัติตามข้อตกลงสำคัญทั้ง 7 ข้อในเรื่องสิทธิมนุษยชน และหลักการด้านสิทธิอีก 4 ข้อขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organizations: ILO) และกติกาหลักอีก 8 ข้อ เพื่อปกป้องสิทธิของผู้ย้ายถิ่น

- ให้ตรวจสอบว่านโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ย้ายถิ่นนั้น เป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมายสิทธิมนุษยชนสากล

- ควรจัดให้มีการรณรงค์เรื่องความตระหนักของมวลชนเพื่อส่งเสริมการใช้กฎหมายและนโยบายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงาน (เช่นในประเทศไทย มีนโยบายเรื่องการจดทะเบียนแรงงาน กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และด้านนโยบายด้านการศึกษาและสาธารณสุข)

- นโยบายเหล่านั้นควรมีการติดตามและปฏิบัติ ควรมีการกระตุ้นสำหรับผู้ปฏิบัติตามและมาตรการสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตาม

- ควรจัดให้มีการเข้าถึงหญิงที่เป็นเหยื่อของการละเมิดทางเพศ โดยการจัดจ้างผู้ให้คำปรึกษาและล่ามเพื่อบริการและส่งเสริมให้มีกลุ่มช่วยเหลือในชุมชนพลัดถิ่นเพื่อให้การบริการในเบื้องต้น

- ควรมีการทบททวนกฎหมายและนโยบายในเรื่องผู้ย้ายถิ่น เพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสมในการคุ้มครองผู้ย้ายถิ่น
- ควรตรวจสอบการจับกุมและส่งกลับประเทศของเจ้าหน้าที่ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองนั้นให้เป็นไปโดยเคารพในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
- แรงงานย้ายถิ่นต้องไม่ถูกข่มขู่ จับกุม คุมขังและส่งกลับโดยไม่มีหลักเกณฑ์โดยตำรวจท้องที่
- จัดระบบการรายงานการละเมิดสิทธิของผู้ย้ายถิ่นและตรวจสอบว่าแรงงานย้ายถิ่นสามารถเข้าถึงกลไกกระบวนการยุติธรรมได้

- ตั้งองค์กรเพื่อติดตามให้นายจ้างดูแลสภาพการทำงานให้ปลอดภัย และคำนึงถึงสุขภาวะ เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานได้มีช่วงทำงานและพักผ่อนอย่างเหมาะสม และสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและมีการทดแทนให้เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน

- ควรมีการกำหนดอัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติจากสถานะที่ไม่ปกติของแรงงานย้ายถิ่นและเพศสภาวะ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Endnotes

Belak, B. (2002) Gathering Strength Women from Burma on Their Rights Chiang Mai: Nopburee Press.

International Labour Organization (2004) Facts on Migrant Labour. Geneva: ILO Communication.

Panam, A. (2004) Migrant Domestic Workers: from Burma to Thailand. Bangkok: Institute for Population and Social Research Publication (Mahidol University)

Refugee International Burma Profile. Retrieved January 2, 2007, from http://www.refugeesinternational.org/.

Rudnick, P. et. al. (2005) Threat to Peace: A Call for the UN Security Council to Act in Burma. Retrieved September 30, 2006, from http://www.burmacampaign.org.uk/reports/Burmaunscreport.pdf.

Social Watch Extended Data of Myanmar-Burma. Retrieved December 25, 2006, from http://www.socialwatch.org/en/portada.htm.

The Economist (2004) Country Profile 2004: Myanmar (Burma). Retrieved October 18, 2006 from http://www.economist.com/countries/.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1650 เรื่อง หนากว่า 33000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com