ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




22-02-2552 (1688)

Caught Between Two Hells - by Burmese Women's Union
หนีเสือปะจระเข้ของแรงงานหญิงพม่า อนาคตที่ไม่มีแสงสว่าง
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ สนใจประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและสื่อพลัดถิ่นพม่า
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เรียบเรียง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับแรงงานหญิงพม่าพลัดถิ่นในประเทศปลายทาง ซึ่งได้รับการปฏิบัติ
โดยละเลยต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนสากล และเป็นไปในทางเลวร้าย ตั้งแต่การถูกดุด่า
ว่ากล่าว ตบตี และกระทั่งถูกคุกคามทางเพศ
โดยปราศจากการคุ้มครองทางกฎหมาย

บทความสิทธิแรงงานหญิงพม่าพลัดถิ่น ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- ความยากจนไร้อนาคต และความต้องการ: ทำไมผู้ย้ายถิ่นหญิงจึงออกจากบ้าน
- ความยากจนและการมีชีวิตอยู่เพียงวันต่อวัน
- อนาคตคืออะไร? การหนีจากชีวิตที่ไม่มั่นคงภายใต้การปกครองของ SPDC
- การเป็นแม่ ลูกสาว หรือพี่สาวที่ดี หมายถึงการหนีออกจากพม่า
- การเดินทางย้ายถิ่นไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
- นายหน้าหรือผู้นำส่ง - งานบ้านและอุตสาหกรรมการบริการ
- การทำอาหาร การทำความสะอาด การขายและงานบริการผู้อื่น
- ความรุนแรงและการคุกคามทางเพศ
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๘๘
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Caught Between Two Hells - by Burmese Women's Union
หนีเสือปะจระเข้ของแรงงานหญิงพม่า อนาคตที่ไม่มีแสงสว่าง
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ สนใจประเด็นเกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและสื่อพลัดถิ่นพม่า
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความลำดับที่ ๑๖๘๗

ออกจาก 'บ้าน'

เธอเก็บข้าวของและร่ำลาคนที่เธอรักและเพื่อน ๆ ที่รู้จักมาตลอดชีวิต เธอเก็บซ่อนน้ำตาอยู่หลังดวงตาสีน้ำตาล และหันไปมองคนเหล่านั้นเป็นครั้งสุดท้าย เธอละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไว้ข้างหลัง และสงสัยว่าเมื่อไหร่ที่เธอจะได้พบกับพวกเขาอีกครั้ง แต่เธอพยายามไม่ทำให้ความเศร้าโศกมาทำลายแผนการของตัวเอง ที่นั่นต้องดีกว่าที่นี่และการเสียสละของเธอจะนำอนาคตที่สดใสและชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับพวกเราทั้งหมด

การเดินทางที่เต็มไปด้วยอันตรายในแต่ละชั่วโมงที่ผ่านไป ความหวาดกลัวเริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อต้องสนทนากับเจ้าหน้าที่ ณ จุดผ่านแดน ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างในสถานที่ต่างถิ่นที่ไม่มีความแน่นอน แต่เธอเผชิญหน้ากับทุกสิ่งอย่างกล้าหาญ รวมทั้งความฝันสำหรับทุก ๆ อย่างที่อาจจะทำได้ที่นั่นและชีวิตของเธอจะไม่สิ้นหวังอีกต่อไป เธอคิดว่าตนเองคงจะเก็บเงินและส่งกลับบ้านเพื่อให้คนที่เธอรักมีความสุข ในที่ซึ่งเธอจากมา อีกไม่ไกลเท่าไหร่แล้ว ความหวังหลั่งไหลเข้ามาในใจ

ความยากจนไร้อนาคต และความต้องการ: ทำไมผู้ย้ายถิ่นหญิงจึงออกจากบ้าน

จากงานวิจัยพบว่า กระบวนการของการย้ายถิ่นแบ่งออกเป็นสามขั้นตอน น่นคือ: ขั้นตอนการตัดสินใจ, การเดินทางไปยังสถานที่ทำงาน, และการทำงาน. จุดประสงค์ของบทนี้คือ เพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงสองขั้นตอนแรกเกี่ยวกับกระบวนการการย้ายถิ่น โดยศึกษาจากกลุ่มผู้ย้ายถิ่นหญิงที่เข้าร่วมในงานวิจัยนี้ เริ่มจากการตัดสินใจในการออกจากบ้าน และความเสี่ยงในการเดินทางไปยังสถานที่ทำงานในอีกประเทศหนึ่ง ในบทนี้เริ่มต้นโดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลทำให้ผู้หญิงเสี่ยงภัยย้ายถิ่นมาจากประเทศพม่า เพื่อเข้าไปยังสถานที่ทำงานซึ่งอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน

ผู้ย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงที่ให้สัมภาษณ์ในงานวิจัย ได้เล่าถึงแรงกระตุ้นที่ทำให้พวกเธอตัดสินใจออกจากประเทศพม่าโดยมีสองปัจจัยหลักคือ ความต้องการที่จะหลบหนีสถานการณ์อันเลวร้ายภายในประเทศพม่า และความต้องการที่จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง จากการศึกษาพบว่า การตัดสินใจย้ายถิ่นเกิดขึ้นเมื่อทางเลือกอื่นไม่มีแล้ว รวมทั้งเมื่อสถานการณ์แวดล้อมและครอบครัวเลวร้ายลง

อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาพการณ์ภายในประเทศพม่าเลวร้ายลง และความปลอดภัยในชีวิตถูกคุกคามจาก SPDC (รัฐบาลพม่า) การย้ายถิ่นจึงกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกว่าสิ่งอื่นใด ซึ่งนั่นหมายถึงพวกเธอจะกลายเป็นประชาชนผู้รอดชีวิตจากสถานการณ์ในประเทศพม่า. จากการสัมภาษณ์เหตุผลใหญ่สามประการที่จูงใจให้ผู้ย้ายถิ่นตัดสินใจออกจากประเทศพม่าเพื่อเข้ามาทำงาน พบว่าเนื่องมาจาก

- ความยากจนข้นแค้น
- ความไม่มีอนาคตในประเทศพม่าภายใต้การปกครองของ SPDC และ
- ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัว

จากการวิจัยพบว่า เหตุผลที่พวกเธอกล่าวอ้างมาข้างต้นและสภาพความเป็นจริงนั้นไม่ได้แตกต่างกัน เนื่องด้วยปัจจัยทั้งสามประการนั้น เป็นเหตุผลที่เชื่อมโยงกันและกดดันให้ผู้หญิงและเด็กย้ายถิ่นออกจากประเทศและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการย้ายถิ่นของพม่า ในส่วนต่อไปจะเป็นการสำรวจค้นหาเหตุผลที่ทำให้ผู้ย้ายถิ่นเหล่านั้นออกจากประเทศพม่า ความยากลำบากในการเดินทางของผู้ย้ายถิ่นเพื่อไปสู่อีกประเทศหนึ่ง และปัจจัยที่ทำให้ผู้ย้ายถิ่นผู้หญิงต้องเสี่ยงภัยกับการถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกข่มเหงจากประเทศที่ต้องเข้าไปอาศัยทำงาน

ความยากจนและการมีชีวิตอยู่เพียงวันต่อวัน

"อย่างที่คุณทราบ ชีวิตที่นี่ยากลำบากมาก แต่การกลับบ้านนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่า ฉันใช้เวลาเกือบทั้งหมดของตัวเฝ้าคอยที่จะได้ยินว่าเรื่องราวต่าง ๆ ว่าที่บ้านดีขึ้นแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไป เห็นได้ว่าเรื่องราวกลับเลวร้ายลงทุกวัน ฉันคิดว่าในขณะนี้เรื่องราวที่นั่นค่อนข้างเลวร้ายกว่าตอนที่ฉันจากบ้านมา มาตรฐานความเป็นอยู่เลวร้ายลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จนฉันไม่สามารถนึกฝันได้เลยว่าทุกอย่างจะดีขึ้นมาได้ในเร็ว ๆ นี้... ฉันออกจากบ้านมาเพราะว่ามันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่สร้างชีวิตที่นั่น เราแทบจะไม่มีอะไรเพื่อประทังชีวิต ความยากลำบากที่บ้านทำให้ฉันคิดว่าชีวิตคงจะดีขึ้นถ้าอยู่ต่างแดน.... แม่ของฉันเป็นม่ายและเธอไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูพวกเราทั้งหมดได้ ดังนั้นฉันคิดว่าฉันช่วยแม่ได้ถ้าฉันไปทำงานที่ประเทศไทย ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่ฉันจะสามารถช่วยเหลือเธอโดยการทำงานในประเทศพม่า และได้รับเงินค่าจ้างเพียงน้อยนิด ฉันจึงตัดสินใจออกจากบ้าน"
(ผู้ไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อ: อายุ 38 ปี อาชีพกรรมกรก่อสร้าง)

ผู้หญิงที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ได้แสดงให้เห็นถึงประเด็นหลักในเรื่องความทุกข์ยาก รวมถึงความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ปัญหาความยากจนที่กระจายตัวระดับกว้าง แม้ว่าจะมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และสังคมของประชาชนในพม่า นอกจากนั้นแรงงานย้ายถิ่นที่เป็นผู้หญิงและเด็กกล่าวว่า มีแรงงานหลายคนที่พยายามจัดการกับปัญหาความยากจนในพม่าโดยการทำงานมาก ๆ เพื่อที่จะได้เก็บเงินและออกจากประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัญหาเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่สูงและค่าจ้างที่สะสมจากการทำงานเป็นเวลาหลายชั่วโมงก็ยังไม่เพียงพอสำหรับความต้องการขั้นพื้นฐาน เช่น เรื่องข้าวสาร

"ฉันไม่คิดว่า ฉันรู้จักใครในหมู่บ้านที่ไม่ประสบปัญหาความยากลำบากในการอยู่รอดเนื่องจากความยากจน ทุกวันเต็มไปด้วยอุปสรรค ครอบครัวของฉันไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยรายได้จากคนเพียงคนเดียว ฉะนั้นฉันคิดว่าฉันจะทำงานที่นาข้าวเพื่อช่วยเหลือครอบครัว ฉันทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันไม่มีเวลาพัก ทุกวันเริ่มทำงานตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็นและได้ค่าจ้างเพียง 500 จั๊ต(*) ต่อวัน ซึ่งเกือบจะไม่เพียงพอต่อราคาข้าวที่สูงถึง 8,000 - 10,000 จั๊ต ต่อข้าว 1 ถุง(**) ฉันรู้ว่าเราไม่สามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ในประเทศพม่า และฉันต้องการที่จะช่วยเหลือครอบครัว ฉันจึงตัดสินใจออกจากบ้าน"
(Ma Moe Moe: อายุ 30 ปี แรงงานแม่บ้าน)

(*) 1 บาท = 35.70 จั๊ต โดยประมาณ, ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2551, (ผู้เรียบเรียง)
(**) หน่วยชั่งตวงข้าวสารในพม่า มีน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม ซึ่งปกติจะพอสำหรับบริโภคเพียงไม่กี่วัน ขึ้นอยู่กับขนาดของครอบครัว


ผู้ให้สัมภาษณ์อธิบายว่า ในประเทศพม่านั้น ค่าจ้างในการทำงานหนักในแต่ละวันเพียงพอสำหรับเพื่อใช้ในวันถัดไปเท่านั้น ซึ่งเป็นวัฏจักรของการมีชีวิตอยู่เพื่อการทำงานวันต่อวัน และได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มันค่อนข้างที่จะไร้ประโยชน์แม้จะทำงานหนักก็ตาม ดังนั้นความปรารถนาในการจัดหาสิ่งที่ดีกว่าให้กับครอบครัว การจัดการกับปัญหาความยากจนและความจำเป็นเพื่อที่จะมีเงินเก็บสะสม สิ่งเหล่านั้นกดดันให้ผู้หญิงตัดสินใจออกจากพม่า

"เงินที่เราหามาได้ในแต่ละวันนั้นหายไป ค่าจ้างทั้งหมดของฉันและครอบครัวหายไปกับราคาข้าวของที่แพงและภาวะเงินเฟ้อ เราไม่มีเงินเหลือเก็บหรือแม้กระทั่งสามารถใช้เงินได้อย่างอิสระ มันทำให้ฉันเริ่มคิดว่าชีวิตคงไม่ดีขึ้นถ้ายังอยู่ในพม่า ฉันจึงบอกกับตัวเองว่าฉันจะไปประเทศไทยและทำงานทุกอย่างที่ทำได้ในประเทศไทย ฉันได้ยินจากคนอื่น ๆ ที่ออกจากบ้านไป ว่าทำงานที่ประเทศไทยเป็นช่องทางเดียวเท่านั้นที่สามารถยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นฉันจึงตัดสินใจมาที่นี่"
( Ma Molly: อายุ 29 ปี แรงงานก่อสร้าง)

อนาคตคืออะไร? การหนีจากชีวิตที่ไม่มั่นคงภายใต้การปกครองของ SPDC

เมื่อถามว่าพวกเขามีเหตุผลอะไรที่หนีออกมา คำตอบที่ธรรมดาสามัญจากแรงงานย้ายถิ่นทั้งผู้หญิงและเด็กผู้หญิงบอกว่า มีแค่คำพูดง่าย ๆ แต่เพียงสองคำเท่านั้น คือ "ไม่มีอนาคต". คำว่า "อนาคต" จากคำบอกกล่าวจากผู้ให้สัมภาษณ์หมายถึง ความสามารถมีชีวิตอยู่กับครอบครัวอย่างปลอดภัยและมั่นคง แต่การปกครองที่กดขี่ของกองทัพมาเป็นเวลามากกว่า 4 ทศวรรษ เต็มไปด้วยกฎระเบียบ ความตึงเครียด ความตาย และรวมทั้งการคุกคามด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นไปอย่างแพร่หลาย การต่อสู้ที่ยืดเยื้อระหว่าง SPDC และกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ นั่นทำให้อนาคตแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 SPDC ได้ทำลายหมู่บ้านมากกว่า 2,700 หมู่บ้านและ ยังมีการรณรงค์ให้ทำการต่อต้านชนกลุ่มต่าง ๆ และบังคับให้มีการย้ายถิ่นฐาน ผู้หญิงชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในพม่าถูกข่มขืน และถูกบังคับให้เป็นแรงงาน โดยทหาร SPDC สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ย้ายถิ่นที่เป็นหญิงและเด็กหญิงเกิดความไม่แน่ใจในสถานการณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์อธิบายว่า อนาคตของพวกเธอและครอบครัวไม่สามารถขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของประเทศ ณ ขณะนี้ได้ ภายใต้ SPDC พวกเธอไม่สามารถมองเห็นชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้นผู้ย้ายถิ่นบางคนออกจากประเทศพม่า เพียงเพื่อหาทางหลบหนีจากความวุ่นวายและการกดขี่ของ SPDC

" ฉันเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย แต่ว่าฉันต้องออกจากพม่าเนื่องจากไม่มีความปลอดภัยภายในพม่า ในประเทศเต็มไปด้วยทหาร และทหารเหล่านั้นกระทำทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาต้องการ พวกเขาอาจจะเข้ามาในหมู่บ้านและขโมยข้าวของและทำร้ายชาวบ้าน ฉันจำได้ว่า คืนหนึ่งฉันนอนหลับอยู่และถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาราว ๆ เที่ยงคืน เพราะกองทัพของ SPDC เข้ามายังบริเวณบ้านของเรา เอาฝูงปศุสัตว์ของเราไป สัตว์เหล่านั้นครอบครัวของเราต้องใช้ในการดำรงชีวิต แต่เราจะทำอะไรได้ เราไม่กล้าที่จะพูดอะไรกับพวกเขาเพราะว่าถ้ามีคนออกมาเรียกร้อง พวกเขาอาจจะทำร้ายหรือฆ่าพวกเรา ถ้าพวกเขาต้องการอะไร ก็แค่เอาไปโดยที่ไม่มีใครกล้าทำอะไร เนื่องจากสถานการณ์ทำนองนี้ทำให้ฉันไม่กล้าที่จะอยู่ใกล้ ๆ ที่บ้าน ฉันคิดว่าจะต้องหนี ฉันรู้สึกเหนื่อยล้ากับความกลัวที่พวกเขาทำกับฉันและครอบครัว"
(Ma Mway : อายุ 25 ปี แรงงานแม่บ้าน)

ผู้ให้สัมภาษณ์ที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อคนหนึ่งกล่าวว่า การตัดสินใจออกจากประเทศพม่าเป็นเพราะความรุนแรง การกดขี่ข่มเหงด้านสิทธิมนุษยชนของ SPDC. เธอเล่าว่า การเป็นผู้หญิงชาติพันธุ์ ทำให้เธอต้องหวาดผวากับความปลอดภัย เพราะว่ากองทัพใช้การข่มขืนเพื่อเป็นอาวุธในการทำสงครามกดขี่ข่มเหง ต่อต้านกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า. ตอนเธออายุ 15 ปี มีกลุ่มคนของกองทัพข้ามเข้ามาบริเวณริมหมู่บ้านของเธอ และหนึ่งในนั้นข่มขืนเธอ พ่อของเธอร้องขอความยุติธรรมจากกองทัพอย่างเป็นทางการ และได้รับการตอบสนองโดยมีการจัดงานแต่งงานให้เธอและคนที่ข่มขืนเธอ

เด็กหญิงถูกทำทารุณกรรมจากเจ้าหน้าที่ SPDC ในอีก 1 ปีถัดมา การบาดเจ็บของเธอทำให้นิ้วมือหักไปหลายนิ้ว รวมถึงหูที่สูญเสียการได้ยินข้างหนึ่งอย่างถาวร เนื่องจากถูกตีที่หัวหลายครั้ง ความเจ็บปวดที่เธอได้เล่ามายังคงปรากฏให้เห็นขณะที่เราสัมภาษณ์เธอ แต่ถึงอย่างไรก็ตามความทุกข์ระทมนั้นได้ผ่านไปแล้ว ผู้ให้สัมภาษณ์ยืนกรานที่จะให้เรื่องราวของเธอเป็นที่เปิดเผยแก่สาธารณะ เพื่อให้สังคมรับรู้เกี่ยวกับการคุกคามด้านสิทธิมนุษยชนของ SPDC ซึ่งทำให้ผู้หญิงต้องทุกข์ระทมกับการกระทำดังกล่าว และเพื่อที่จะทำให้คนอื่นไม่ต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกับเธอ นอกจากนี้ เธอกล่าวว่าเธอเป็นหนึ่งในผู้โชคดีที่หนีรอดมาจากผู้ที่ทำร้ายเธอมายังประเทศไทย เพื่อทำงานเป็นแรงงานย้ายถิ่น แต่เธอยังคงย้ำเตือนว่ายังมีผู้หญิงอีกเป็นพันที่ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับเธอ และไม่มีอิสรภาพหรือกระทั่งมีชีวิตอยู่เพื่อที่จะบอกเล่าเรื่องราวอาชญากรรมที่พวกทหารพม่าก่อขึ้น

"ฉันต้องการให้สาธารณชนทราบว่า ประเทศของเราทุกข์ทรมานเพียงใด มีคนข้ามชายแดนเข้ามาหาที่หลบภัยเพิ่มขึ้นทุกวัน เพื่อที่จะเป็นผู้ย้ายถิ่นหรือแรงงานย้ายถิ่น ในแต่ละปีที่ผ่านมา การต่อสู้ในพม่ายิ่งรุนแรงมากขึ้น และพวกเขา (SPDC) รู้ความจริงข้อนี้ แต่พวกเขาไม่ใส่ใจกับพวกเรา พวกเขาควรที่จะพยายามเข้าใจว่าเราทุกคนมาจากที่เดียวกัน ประเทศเดียวกัน หน้าที่ของรัฐบาลคือดูแลพวกเราและทำงานเพื่อประชาชน รัฐบาลควรจะแก้ปัญหามากกว่าใช้อำนาจของระบอบการปกครองทำให้พลเรือนหวาดกลัวและสร้างปัญหาขึ้นมากมายในแต่ละวัน"
(ผู้ไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อ: อายุ 28 ปี แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม)

การเป็นแม่ ลูกสาว หรือพี่สาวที่ดี หมายถึงการหนีออกจากพม่า

นอกจากความยากจนและไม่มีอนาคตในพม่าภายใต้การปกครองของ SPDC หน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัวนับว่าเป็นเหตุผลลำดับที่สามที่แรงงานย้ายถิ่น เล่าว่าทำไมพวกเขาจึงออกจากประเทศพม่า หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้หญิงคือเป็นผู้จัดหาสิ่งที่มาสนองความต้องการของพ่อแม่และพี่น้อง วัฒนธรรมของพม่ามักจะให้พวกเธอเป็นผู้เสียสละโดยการออกจากบ้านและย้ายถิ่นไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อทำงานและอุดหนุนจุนเจือครอบครัว ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่กล่าวว่า พวกเธอทำงานนอกประเทศพม่าโดยมีเป้าหมายหลักคือ ส่งเงินกลับไปบ้านเพื่อช่วยเหลือครอบครัว ในความเป็นจริงแล้วนี่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบต่อครอบครัวที่แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง เลือกที่จะทำงานที่ถูกกดขี่และอดทนต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ประเด็นนี้มักจะพบจากคำบอกเล่าจากผู้หญิงหลายคนในงานวิจัยครั้งนี้

" เนื่องจากเป็นลูกคนโต ฉันจึงมีเป้าหมายในการทำงานเพื่อพ่อแม่ของฉัน ราคาข้าวของในพม่าแพงมาก เงินที่ฉันหามาได้จึงส่งไปช่วยเหลือครอบครัวในพม่า ฉันได้ยินจากเพื่อนที่หนีข้ามชายแดนมาทำงานว่า มีงานมากมายที่นี่ให้ทำ ดังนั้นฉันจึงตัดสินใจว่าฉันควรจะไปเพื่อสามารถช่วยเหลือครอบครัวได้มากขึ้น เมื่อมองย้อนกลับไปพบว่า ฉันไม่คิดว่าฉันได้เตรียมพร้อมยอมรับกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แต่ฉันคิดว่าการออกมาจะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น ฉันตระหนักตอนนี้ว่าฉันคิดผิด ฉันประสบกับปัญหาที่นี่ รู้สึกผิดหวังเมื่อรู้ว่าตัวเองตกเป็นเหยื่อ แต่ก็รู้ว่าการกลับบ้านก็ไม่ได้เป็นทางเลือกอีกเช่นกัน ถ้าฉันเก็บของกลับบ้านฉันไม่สามารถช่วยเหลือครอบครัวของฉันได้ และต้องเริ่มต้นทุกสิ่งทุกอย่างใหม่ในพม่าและฉันไม่สามารถทำได้ ทำงานในพม่านั้นแสนยากเข็ญเพื่อเงินเพียงน้อยนิดเท่านั้น ฉันไม่มีความสุขแต่ฉันต้องอดทนเพื่อหาทางเลือกอื่น ๆ จากที่นี่"
(Ma Aye Ni Thein: อายุ 33 ปี แรงงานแม่บ้าน)

เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะหนีออกจากพม่า แรงงานย้ายถิ่นหญิงต้องเผชิญกับประสบการณ์ในขั้นต่อไปของการเป็นแรงงานย้ายถิ่น คือ"การเดินทางย้ายถิ่นไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน"ที่พวกเธอต้องไปทำงาน



การเดินทางย้ายถิ่นไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

ผู้เข้าร่วมในการวิจัยอธิบายว่า การออกจากบ้านนั้นเหนื่อยมาก ทั้งยังต้องประสบกับการเดินทางที่ยากลำบาก มีอันตรายและมีค่าใช้จ่ายสูง กฎระเบียบในการเดินทางของ SPDC และราคาของการทำบัตรประชาชนที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้หญิงและเด็กไม่มีทางเลือก พวกเธอจำเป็นต้องเสี่ยงในการเดินทางโดยไม่มีเอกสารสำคัญใด ๆ และกลายเป็นแรงงานย้ายถิ่นที่ผิดกฎหมายในประเทศอื่น ๆ ดังนั้นความหวาดกลัวปัญหา การถูกจับ และการถูกข่มขืนโดยผู้มีอิทธิพล และจากคนที่อยู่ทั้งสองฝั่งชายแดน ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นปรากฏขึ้นระหว่างการเดินทาง จากผู้ให้สัมภาษณ์แก่ BWU และข้อมูลจากการอภิปรายภายในศูนย์ย้ายถิ่นของ BWU พบว่า ความห่วงกังวลในความปลอดภัยทางกายเป็นสิ่งที่ผู้ย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงหวาดกลัว เนื่องมาจากเพศของพวกเขาที่มักถูกคุกคามบ่อยครั้งจากเพศชาย

ผู้ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่า การเดินทางของผู้ย้ายถิ่นหญิงจากพม่าไปยังจุดหมายนั้นเป็นกระบวนการที่มีค่าใช้จ่ายสูง พวกเธอต้องติดสินบนเพื่อที่จะผ่านทางไปยังจุดตรวจของกองทัพ(*)ตลอดเส้นทาง เนื่องจากกฎหมายของ SPDC ห้ามมิให้ผู้หญิงเดินทางอย่างอิสระทั้งในพม่าและเข้าออกประเทศ ผู้ย้ายถิ่นหญิงและเด็ก บางทีต้องแอบเดินทางมากับกลุ่มเพื่อนหรือไม่ก็ต้องจ่ายเงินให้กับผู้นำส่ง (หรือยอมเป็นหนี้สำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้) เพื่อลักลอบข้ามชายแดน และช่วยในการหางานในประเทศนั้น ๆ

(*) ผู้ให้สัมภาษณ์คนหนึ่งอธิบายว่า เฉพาะระหว่างทางรัฐกะเหรี่ยงและชายแดนไทย-พม่า มีด่านตรวจประมาณ 10 ด่าน และถ้าเป็นผู้หญิง จะต้องจ่ายเงินแก่เจ้าหน้าที่แต่ละด่านประมาณ 500 จั๊ต เพื่อให้ถึงชายแดนโดยปลอดภัย

นายหน้าหรือผู้นำส่ง

"นายหน้าหรือผู้นำส่ง" ในที่นี้ แรงงานย้ายถิ่นที่เป็นผู้หญิงและเด็กใช้คำนี้เพื่อหมายถึง ผู้จัดหาแหล่งงาน เป็นคนเดินทางไปกลับระหว่างพม่าและประเทศอื่นๆ เพื่อขนส่งแรงงานย้ายถิ่น ผู้นำส่งแตกต่างกับลูกค้า (แรงงาน) ตรงที่เขามีความรู้เกี่ยวกับประเทศที่จะไปอยู่มากกว่า และมีสถานภาพที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งนั่นทำให้เขาเดินทางผ่านชายแดนโดยง่าย แรงงานย้ายถิ่นต้องจ่ายค่าบริการให้กับ "ผู้นำส่ง" และบางครั้งผู้นำส่งได้ค่าธรรมเนียมจากนายจ้างอีกในการนำลูกจ้างไปให้

"ผู้นำส่ง" คือผู้ค้าขายแรงงานย้ายถิ่น โชคชะตาของแรงงานย้ายถิ่น มักขึ้นอยู่กับพวกผู้นำส่ง พวกเขาค่อนข้างมีอำนาจมากกว่าแรงงานย้ายถิ่น. ผู้ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่า ค่าบริการของ "ผู้นำส่ง" มักจะต่อรองไม่ได้ เงื่อนไขการทำงานและสถานที่ทำงานก็อาจถูกบิดเบือนหรือเปลี่ยนแปลง ณ วินาทีสุดท้ายที่มาถึงประเทศปลายทาง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการตกเป็นทาสในเรื่องหนี้สินระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่มักเกิดขึ้นระหว่างคนที่มักจะเอารัดอาเปรียบอย่าง"ผู้นำส่ง" และแรงงานย้ายถิ่น ซึ่งถูกขายแก่นายจ้าง ซึ่งแรงงานต้องทำงานชดเชยตามราคาของตน อันหมายถึงการทำงานให้นายจ้างโดยไม่ได้รับค่าจ้างในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น (บ่อยครั้งที่พวกเขาไม่เข้าใจเกี่ยวกับจำนวนเงิน และเงื่อนไขของการชำระคืน)

"ฉันออกจากรัฐฉานประเทศพม่า เนื่องจากเชื่อคำพูดของผู้ชายคนหนึ่งที่จะช่วยหางานให้ฉันในโรงงานเซรามิคของเพื่อนเขาที่เชียงใหม่ ฉันดีใจมากและได้จ่ายเงินเขา 5,000 บาท สำหรับความช่วยเหลือ พวกเรามีกันทั้งหมด 6 คน เรามาถึงด้วยความหวังว่าจะได้ทำงานที่ดี เมื่อพวกเรามาถึงเราไม่ได้ทำงานที่โรงงานเซรามิค แต่เป็นโรงงานย้อมผ้า สิ่งที่แย่ไปกว่านั้นนายจ้างขังพวกเราไว้และให้เราทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวันในโรงงานย้อมผ้า ฉันเหนื่อยและมือของฉันคันมากเนื่องมาจากการย้อมผ้าที่ผิดหลักอนามัย ฉันรู้ว่า "คนนำส่ง" โกหกฉันแต่ฉันก็ทำงานนั้นเพราะฉันคิดว่าอย่างน้อยฉันจะได้รับเงินตอบแทบบ้างตอนสิ้นเดือน เมื่อถึงสิ้นเดือนนายจ้างบอกกับฉันว่า เขาซื้อพวกเรามา 10,000 บาทจากผู้นำส่ง ดังนั้นเราต้องทำงานเป็นปีโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนเพื่อใช้หนี้ก่อน หลังจากนั้นเราถึงสามารถรับค่าตอบแทนในฐานะที่เป็นแรงงาน"
(Ma Wii : อายุ 24 ปี แรงงานให้บริการทางเพศ)

โดยสรุป งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า SPDC ต่อต้านกฎหมายการค้ามนุษย์ และผลักดันให้ผู้หญิงและเด็กหญิงมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงจากขบวนการค้ามนุษย์ แทนที่จะปกป้องพวกเธอจากสิ่งเหล่านั้น ทั้งนี้ เป็นเพราะว่ากฎระเบียบในการเดินทางที่เคร่งครัดทำให้ผู้หญิงและเด็กไม่มีทางเลือก จึงจำต้องกลายมาเป็นแรงงานย้ายถิ่นที่ผิดกฎหมาย และประสบกับความทุกข์ยากจากการถูกเอารัดเอาเปรียบโดยเจ้าหน้าที่ นายหน้าค้ามนุษย์ และนายจ้างในประเทศที่พำนักอยู่

งานบ้านและอุตสาหกรรมการบริการ
แรงงานย้ายถิ่น และ "งานของผู้หญิง"
เมื่อแรงงานย้ายถิ่นตัดสินใจออกจากประเทศพม่าเข้าไปยังประเทศปลายทาง ขั้นตอนที่สามและเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการย้ายถิ่นจึงเริ่มขึ้น นั่นก็คือ"การทำงาน" ส่วนต่อไปนี้จะอภิปรายถึงผลการวิจัยในเรื่องขั้นตอนดังกล่าวอันรวมถึง "งานของผู้หญิง" ประเภทต่างๆ ที่แรงงานย้ายถิ่นทำ. คำว่า "งานของผู้หญิง" หมายถึงงานที่มักจะมีแต่เพศหญิงทำ รวมทั้งแรงงานหญิงและเด็กหญิงจากพม่ามักจะทำในประเทศปลายทาง เช่นงานบริการต่างๆ อย่างงานแม่บ้านและในธุรกิจบริการต่างๆ แม้ว่าจะไม่มีงานใดที่มีการกำหนดว่าต้องเป็นเพศหญิงเท่านั้นที่ทำได้

งานประเภทต่างๆ ที่กล่าวถึงในรายงานเล่มนี้ ไม่ได้ต้องการศึกษาถึงจำนวนชนิดงานที่แรงงานย้ายถิ่นหญิงทำ แต่จะศึกษาถึงงานในภาคใหญ่ๆ ที่แรงงานเหล่านี้หลั่งไหลไปทำเป็นจำนวนมาก บทนี้มุ่งอธิบายถึงประสบการณ์ของแรงงานย้ายถิ่นหญิงในภาคอุตสาหกรรมบริการ(*) และที่ทำงานเป็นแม่บ้าน. อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะนำเสนอในเรื่องนี้ จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจว่าแรงงานที่ให้สัมภาษณ์คือใครบ้าง และทำความเข้าใจถึงการทำงานในแต่ละวันของแรงงานแม่บ้านและในอุตสาหกรรมบริการ

(*) ภาคอุตสาหกรรมบริการ หมายถึง แรงงานผู้ให้สัมภาษณ์ที่ทำงานเป็นแม่ครัว พนักงานเสิร์ฟ พนักงานขายของ เป็นต้น

การทำอาหาร การทำความสะอาด การขายและงานบริการผู้อื่น
แรงงานแม่บ้านและในอุตสาหกรรมบริการ
แรงงานย้ายถิ่นที่ให้สัมภาษณ์ มีทั้งแรงงานแม่บ้านทั้งอยู่ประจำและไปกลับ, พนักงานทำความสะอาด, แม่ครัว, พนักงานเสิร์ฟ, พนักงานขาย, โดยอายุของกลุ่มแรงงานที่ให้สัมภาษณ์มีตั้งแต่ 18-33 ปี ทำงานในจังหวัดเชียงใหม่บ้าง อำเภอแม่สอด จังหวัดตากบ้าง และจังหวัดระนอง(ประเทศไทย) โดยแรงงานกลุ่มนี้คิดเป็นร้อยละ 15 ของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย

ยอดโดยสรุปของกลุ่มตัวอย่างนี้ แม่บ้าน 44%, แรงงานในอุตสาหกรรมงานบริการ 44%, ทำงานทั้งสองกลุ่ม 12%

จำนวนผู้ให้สัมภาษณ์ในงานประเภทนี้มีน้อยกว่างานประเภทอื่นๆ ที่อยู่ในรายงาน เนื่องจากธรรมชาติลักษณะการทำงานของแรงงานแม่บ้าน ที่พวกเธอไม่สามารถออกจากที่ทำงานและนายจ้างบางคนก็ไม่ยินยอมให้มีการสัมภาษณ์ในบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อทีมวิจัย BWU เป็นอย่างมากในการสัมภาษณ์แรงงานแม่บ้าน

นอกจากนั้น ยังยากที่จะนัดสัมภาษณ์แรงงานที่อยู่ในธุรกิจบริการต่างๆ เนื่องจากพวกเธอต้องทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ จึงต้องสัมภาษณ์ในช่วงเวลาที่ไม่มีลูกค้าเข้ามาหรือมีน้อย ผลก็คือจำนวนของผู้ให้สัมภาษณ์ในกลุ่มนี้จึงน้อยกว่าที่คาดไว้ แรงงานบางคนที่ได้แจ้งว่าจะร่วมให้สัมภาษณ์เพื่อการวิจัยก็ต้องถอนตัวไปเนื่องจากเหตุผลข้างต้น รวมทั้งนายจ้างบางรายก็ไม่อนุญาตให้พวกเธอเข้าร่วม บางคนก็ไม่มีเวลาพักจากการทำงาน บางคนก็ไม่สะดวกที่จะให้สัมภาษณ์ระหว่างที่ทำงาน หรือบ้างก็ไม่สามารถออกมาจากที่ทำงานเพื่อให้ข้อมูลได้ ซึ่งอาจจะมีผลต่อรายงานฉบับนี้

เราสามารถสัมภาษณ์แรงงานแม่บ้านได้เพียงบางราย ที่นายจ้างอนุญาตและคนที่มีเวลาพักจากงาน ดังนั้นสิ่งที่เราค้นพบจึงไม่สามารถเป็นตัวแทนของแรงงานแม่บ้านนับพันๆ คน ที่ไม่สามารถให้ข้อมูลได้จากเหตุผลดังกล่าว ซึ่งบางรายอาจต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขหรือค่าจ้างเลวร้ายกว่าคนที่เราสัมภาษณ์ก็เป็นได้ (แรงงานที่ร่วมให้สัมภาษณ์มาจากรัฐยะไข่ ฉิ่น คะฉิ่น กะเหรี่ยง คะเรนนี มอญ และรัฐฉาน ในพม่า)

ผู้หญิงบางคนทำงานในฐานะแรงงานย้ายถิ่นมามากกว่า 15 ปี ในขณะที่บางคนกำลังเริ่มทำเป็นปีแรก แต่เฉลี่ยแล้วผู้ให้สัมภาษณ์ทำงานในประเทศที่พวกเขาย้ายมากกว่าห้าปี แรงงานหญิงส่วนใหญ่ (70% ของผู้ให้สัมภาษณ์) ไม่ได้แต่งงาน แต่ทุกคนต้องส่งเงินให้สมาชิกในครอบครัวอีก 2-6 คนที่อยู่ในพม่า ระดับการศึกษาของผู้หญิงกลุ่มนี้แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ไม่ได้เรียนหนังสือเลยจนกระทั่งคนที่จบระดับปริญญา(*) ซึ่งกลายเป็นว่า การจบจากมหาวิทยาลัยทำให้พวกเธอรู้สึกไม่พอใจกับการทำงานมากกว่าผู้ให้สัมภาษณ์คนอื่นๆ เนื่องจากพวกเธอไม่สามารถทำงานตามสาขาที่ได้ร่ำเรียนมาได้. ส่วนผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็ตอบคล้ายกัน เนื่องจากผิดหวังที่การศึกษาไม่สามารถทำให้พวกเขามีโอกาสในการทำงานมากขึ้น เพื่อเลี้ยงดูครอบครัวในพม่า

(*) มีผู้ให้สัมภาษณ์ 3 คน จบปริญญาตรีด้านกฎหมาย (2 คน) ด้านวิทยาศาสตร์ (1 คน). อย่างไรก็ตามแรงงานกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

"ทุกวันนี้ในพม่า การศึกษาไม่สามารถทำให้คุณได้งาน แต่การที่คุณมีความสัมพันธ์
กับรัฐบาลพม่าเป็นเรื่องสำคัญกว่า และคุณสามารถจ่ายสินบนได้มากแค่ไหน... ฉันเคยคิดอย่างมีอุดมการณ์ว่า จะสามารถทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงมันได้โดยใช้กฎหมาย แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ฉลาดเลยที่จะคิดแบบนั้น ดูอย่างฉันสิ! ฉันมีปริญญาด้านกฎหมาย แต่ครอบครัวฉันก็ยังไม่มีอนาคต นอกจากว่าฉันจะไปทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟในประเทศอื่น แล้วการเรียนข้อกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ จะมีประโยชน์อะไรเมื่อสิ่งที่ฉันทำทุกวันคือเสิร์ฟอาหาร ทำความสะอาดโต๊ะ จาน และยิ้มให้กับลูกค้าและนายจ้าง ซึ่งก็ไม่ได้ผิดแปลกอะไร และฉันก็มีความสุขกับการเป็นพนักงานเสิร์ฟ ฉันน่าจะไม่ต้องวุ่นวายกับการเรียนอย่างหนักและเสียเงินทองไปกับการศึกษา และอาจจะออกจากพม่าเร็วกว่านี้ก็เป็นได้"
(Ma Ah Naan : อายุ 23 ปี, พนักงานเสิร์ฟ)

ทำงานหนักเพื่อเงินจาก "แรงงานย้ายถิ่น"

แรงงานแม่บ้านมักจะได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ในขณะที่แรงงานในธุรกิจบริการ (มักจะขึ้นอยู่กับนายจ้าง) จะได้รับค่าจ้างรายวันหรือรายเดือน โดยอยู่ระหว่าง 800- 7,000 บาท (25 - 215 ดอลล่าห์สหรัฐ) ต่อเดือน. แรงงานในบ้านที่แม่สอด จังหวัดตาก ได้รับค่าจ้างน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับแรงงานที่ทำงานในเชียงใหม่และระนอง เนื่องจากแม่สอดนั้นเป็นเมืองต้นทางการเข้ามาของแรงงานย้ายถิ่นในประเทศไทย จึงทำให้มีจำนวนแรงงานเข้ามามากเทียบกับตำแหน่งงานที่มีจำกัด นายจ้างจึงจ่ายค่าแรงในอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศ(*) ค่าแรงโดยเฉลี่ยของแรงงานในบ้านที่แม่สอดคือ ประมาณ 2,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ในเชียงใหม่แรงงานในบ้านมักจะได้ค่าแรงเดือนละ 4,000 - 5,000 บาท

(*) ค่าจ้างขั้นต่ำต่อวันตามกฎหมายไทยอยู่ระหว่าง 143 -197 บาทต่อวัน ขึ้นอยู่กับแรงงานในแต่ละจังหวัด แต่ในกรณีของแรงงานย้ายถิ่น ค่าแรงอาจต่ำเพียง 26 บาทต่อวัน เนื่องจากสถานภาพที่ไม่ปกติของพวกเธอ

แรงงานในธุรกิจบริการมีรายได้ระหว่าง 3,500 - 5,000 บาท (108 -154 ดอลล่าห์สหรัฐ หรือ 60 -150 บาท (2 - 5 ดอลล่าห์สหรัฐ) ต่อวัน. แม้จะเห็นว่าแรงงานในบ้านมีรายได้มากกว่าในภาคอุตสาหกรรมบริการ แต่ก็มีชั่วโมงการทำงานมากกว่า(**)

(**) แรงงานโดยมากที่อยู่ประจำบ้านอธิบายว่า พวกเธอต้องทำงานตั้งแต่ 12-14 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 84 - 98 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขณะที่อุตสาหกรรมบริการแรงงานมีชั่วโมงทำงาน 56 - 84 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

อันที่จริงแล้ว มีแรงงานในธุรกิจบริการหลายคนให้ข้อมูลว่า เคยทำงานในบ้านมาก่อน แต่ออกจากงานมาเนื่องจากงานหนัก ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและสภาพการทำงานที่สกปรกและถูกละเมิดทางกายหรือวาจา นอกจากนั้นข้อแตกต่างระหว่างงานในบ้านกับงานในธุรกิจบริการ คือ งานในบ้านส่วนใหญ่มักจะจ้างแต่แรงงานหญิงและเด็กหญิง ขณะที่งานบริการนั้นจ้างทั้งแรงงานหญิงและชายจากพม่า

ประเด็นการถูกแบ่งแยกกีดกัน
โอกาสในการทำงานที่จำกัดและการถูกละเมิด
แม้ว่าแรงงานย้ายถิ่นหญิงจะทำงานในสภาพที่ไม่ปกติเช่นเดียวกับแรงงานชาย คือต้องทำงานที่สกปรก ต่ำต้อย และอันตราย (3Ds) (Dirty, Dangerous, และ Demeaning) เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน และได้รับค่าจ้างต่ำกว่ามาตรฐานค่าจ้างในประเทศเจ้าบ้านที่ไปพำนักอยู่ แต่แรงงานย้ายถิ่นหญิงยังประสบกับการถูกเลือกปฏิบัติ และไม่ปลอดภัย อันเนื่องมาจากเพศสภาวะ. มีรายงานว่า แรงงานย้ายถิ่นหญิงถูกเลือกปฏิบัติจากนายจ้าง และค่าจ้างระหว่างแรงงานชายและหญิงยังแตกต่างกันในหลายๆ ภาคธุรกิจ แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงในภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง โรงงานและภาคบริการ ได้ค่าจ้างน้อยกว่าแรงงานชาย แม้ว่าความรับผิดชอบต่องานจะเท่าเทียมกัน กลุ่มผู้หญิงได้เล่าถึงการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศดังนี้

"ถ้าถามว่าฉันรู้สึกไม่พอใจที่เป็นผู้หญิงหรือไม่? ใช่! ฉันไม่พอใจ! บางครั้งฉันก็ถามตัวเองว่าทำไมต้องเกิดเป็นผู้หญิง มันทำให้ชีวิตยุ่งยากและลำบากขึ้น ฉันต้องทำงานเพื่อครอบครัวตัวเองในพม่าและสามีที่นี่ นอกจากนั้นงานของฉันไม่มีวันหยุด ในขณะที่เขามีวันหยุด ฉันต้องตื่นเช้ากว่าและเข้านอนดึกกว่าเพื่อทำอาหาร ทำความสะอาดและดูแลสิ่งต่างๆ ในบ้าน และที่ทำงานฉันต้องทำงานหนักเหมือนที่ผู้ชายทำแต่เมื่อหมดวันก็ได้ค่าแรงน้อยกว่าพวกเขา มันไม่ยุติธรรมเลยแต่ฉันจะพูดอะไรได้? ที่นี่ก็เป็นอย่างนี้ เพื่อนร่วมงานผู้หญิงของฉันก็ไม่ได้พูดอะไรในเรื่องนี้ เราแค่ยอมรับมัน ฉันคิดอย่างจริงจังนะว่าถ้าตอนนี้ฉันจะมีลูกไม่อยากให้เขาเป็นผู้หญิงเลย ฉันไม่อยากให้ลูกต้องทนรับชะตากรรมของการเกิดเป็นผู้หญิง"
(Ma Thin Thin Aye : อายุ 31 ปี แม่ครัวในร้านอาหาร)

ความรุนแรงและการคุกคามทางเพศ

ประเด็นหนึ่งที่ทำให้แรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิงแตกต่างจากแรงงานย้ายถิ่นชาย ที่แม้จะเสี่ยงต่อการถูกกระทำโดยนายจ้างเช่นเดียวกัน (เนื่องจากพวกเขา (นายจ้าง) มักจะไม่คำนึงถึงเรื่องสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชน)(*) การขาดสถานภาพทางกฎหมายทำให้แรงงานย้ายถิ่นหญิงไม่กล้าที่จะเรียกร้องสิทธิแรงงาน เพราะกลัวการถูกจับและส่งกลับประเทศพม่า ขณะเดียวกันก็กลัวการถูกคุกคามทางเพศและทางร่างกาย

(**) ผู้ให้ข้อมูลโดยมากกล่าวว่า ไม่ได้รับค่าจ้างทำงานเกินเวลา และประโยชน์อื่นๆ จากนายจ้าง โดยทั่วไปพวกเธอต้องทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์โดยไม่มีวันหยุด คำตอบนี้แสดงว่า วันหยุดขึ้นอยู่กับประเภทของแรงงานย้ายถิ่น งานประเภทงานในบ้าน ธุรกิจบริการ และบริการทางเพศมักจะไม่มีวันหยุด งานโรงงานหยุด 1 วันต่อสัปดาห์ ขณะที่งานในภาคเกษตรและก่อสร้าง วันหยุดขึ้นอยู่กับฤดูกาลและความต้องการแรงงาน เช่น งานเกษตร มักจะไม่มีวันหยุดในช่วงเก็บเกี่ยว และงานก่อสร้างจะไม่มีวันหยุดจนกว่าโครงการนั้นจะเสร็จ แต่ก็จะมีช่วงหยุดในเวลาที่งานก่อสร้างไม่ค่อยมี

"แม้ว่าฉันจะไม่ได้ถูกทำร้ายร่างกาย แต่ก็รู้สึกหวาดหวั่นต่อความปลอดภัยของตัวเองที่จะอยู่กับนายจ้าง เนื่องจากเขามักจะพูดกับฉันอย่างไม่เหมาะสม หรือส่อนัยยะทางเพศเมื่อภรรยาของเขาไม่อยู่แถวนั้น ทำให้ฉันไม่ค่อยกล้าพูดอะไร วันหนึ่งฉันขอนายจ้างออกไปข้างนอกแต่พวกเขาปฏิเสธฉันจึงหนีออกมาซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะออกมา ฉันจึงแอบมาช่วงกลางคืนที่พวกเขาหลับ พวกเขาพยายามไม่ให้ฉันหนีโดยจับตามองตลอดเวลาในตอนกลางวัน และขู่ว่าเขาทำกับฉันได้ทุกอย่างหากฉันพยายามหนี และก็จะไม่มีใครรู้เพราะว่าฉันเป็นแรงงานต่างชาติ ซึ่งทำให้ฉันนึกขึ้นมาได้ว่าฉันอาจจะโดนจับและส่งกลับประเทศถ้าไม่มีใครจ้าง และฉันควรจะทำอย่างไร?"
(Ma Ka Yin Mah : อายุ 28 แรงงานแม่บ้านอยู่ประจำ)

ทั้งๆ ที่ได้รับค่าแรงต่ำ ถูกละเมิดจากนายจ้าง และสภาพการทำงานที่ไม่น่าพึงใจ แต่แรงงานหญิงและเด็กหญิงเหล่านี้กลับไม่สามารถหลีกหนีจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ เนื่องจากพวกเธอไม่สามารถเข้าถึงระบบกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่อาศัยอยู่ การขู่ว่าจะส่งตัวกลับ ความรุนแรง และการขาดความรู้เรื่องกฎหมายในประเทศนั้นๆ ของแรงงาน ทำให้พวกเธอยังคงต้องทำงานในสถานการณ์ถูกกดขี่ นอกจากนั้นการที่ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มองค์กรที่สามารถช่วยเหลือได้ ทำให้แรงงานย้ายถิ่นต้องโดดเดี่ยวและเสี่ยงต่อการถูกนายจ้างละเมิด

ผู้ให้สัมภาษณ์เปิดเผยว่าการถูกละเมิดทางเพศจากนายจ้างและเพื่อนร่วมงานชาย เป็นสิ่งที่พวกเธอกังวลมาก และเป็นเป็นประเด็นที่แรงงานในหลายๆ ภาคธุรกิจต่างพูดถึง แม้ว่าพวกเธอจะทำ "งานของผู้หญิง" ต่างกัน. กลุ่มแรงงานที่ให้ข้อมูลดังกล่าวยังเปิดเผยว่า พวกเธอมักจะจำกัดการเดินทางในประเทศเจ้าบ้านและไม่เปิดเผยตัวนัก เนื่องจากความกลัวในชุมชนที่ไปอาศัยอยู่และเจ้าหน้าที่ของรัฐ สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือ การคุกคามที่เกิดกับแรงงานหญิงและเด็กหญิงเกิดขึ้นมากกว่ากว่าแรงงานชาย โดยการคุกคามไม่ได้เกิดจากนายจ้างและเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่ยังเกิดจากแรงงานย้ายถิ่นชายจากพม่าด้วย. แรงงานหญิงได้ให้ข้อมูลถึงการถูกละเมิดจากแรงงานย้ายถิ่นชายแต่ไม่สามารถหยุดยั้งพวกเขาได้ เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงกลไกกระบวนการยุติธรรม พวกเธอเล่าว่าทางเดียวที่จะช่วยได้ก็คือไม่ใส่ใจกับคนที่ทำและหวังว่าพวกเขาจะเลิกสนใจและหยุดรบกวน

โอกาสในการงานที่จำกัด

เราถามแรงงานที่ให้สัมภาษณ์ว่า เหตุใดพวกเขาจึงเลือกที่จะทำงานแม่บ้าน หรืองานธุรกิจบริการ? คำตอบที่มักจะได้รับก็คือ พวกเขาไม่ได้ทำงานนี้เพราะเลือกเอง แต่เกิดจากการที่ "ผู้นำส่งหรือนายหน้า" จัดการให้ และเนื่องจากรายได้จากงานนี้เพียงพอที่จะส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวที่พม่า หลายคนอธิบายว่าไม่ค่อยมีทางเลือกนักว่าจะทำงานที่ไหน แต่พวกเขาทำงานอะไรก็ได้ที่มีผู้จ้างให้ทำ ดังนั้นจึงมักจะเป็นงาน 3Ds ที่มีความต้องการแรงงานสูงและค่าแรงต่ำ สำหรับแรงงานย้ายถิ่นที่อยู่ในสถานะที่ไม่ปกติ(ผิดกฎหมาย) งานวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้แรงงานย้ายถิ่นจากพม่าไม่สามารถหางานในรูปแบบอื่นได้นอกจากงานที่ใช้แรงงานมนุษย์และงานบริการ เนื่องจากการขาดสถานภาพทางกฎหมายของพวกเขา

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกกลับไปทบทวนบทความลำดับที่ ๑๖๘๗

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1650 เรื่อง หนากว่า 33000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ : Release date 22 February 2009 : Copyleft MNU.

นักวิจัยของ BWU จำนวน ๑๐ คน ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มแรงงานย้ายถิ่นหญิงและเด็กหญิง จำนวน ๑๔๙ คน ในเขตจังหวัดเชียงใหม่, อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก, จังหวัดระนองของประเทศไทย และในเมือง Rulli ของประเทศจีน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๖ - มีนาคม ค.ศ.๒๐๐๗ ผู้หญิงเหล่านี้มีอายุในวัยต่างๆ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่าง และทำงานในหลายสาขา ดังนั้นรายงานนี้จึงเป็นการบอกเล่าประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิงที่หลากหลาย โดยเน้นให้เห็นถึงสภาพการทำงานที่เลวร้ายในแต่ละวัน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นกับแรงงานหญิงและเด็กหญิง ซึ่งทำงานในสภาวะที่ไม่ปกติและแสดงให้เห็นถึงอันตรายจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับแรงงานจากประเทศพม่า ที่ทำงานในประเทศไทยและจีน ...

H