ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




05-02-2552 (1681)

ชุดความรู้เที่ยงคืน: งานวิจัยว่าด้วยวิทยุชุมชน ปัญหาและข้อเสนอแนะ
บทวิจัยวิทยุชุมชนถึงวิทยุซอกตึก คลื่นความถี่ของชุมชนธรรมดา
พินิตตา สุขโกศล : ผู้วิจัย
ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความวิจัยชิ้นนี้ ได้รับมาจากผู้วิจัย
หัวเรื่อง: วิทยุชุมชน ปัญหาและทางออกของชุมชนคนวิทยุชุมชน

บทความวิจัยนี้ ประกอบด้วยโครงเรื่องดังต่อดังนี้
- ทบทวนวรรณกรรม, ข้อค้นพบบางประการ
- วิทยุชุมชนท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์
- วิทยุชุมชนกับการแข่งขันโดยเสรี
- การแบ่งวิทยุชุมชนออกเป็น ๗ ประเภท
- ลักษณะของนักจัดรายการวิทยุ
- ชุมชนในบริบทของวิทยุชุมชน: นิยามใหม่
- คำถามงานวิจัย"วิทยุชุมชน"
- วิทยุกระจายเสียงอินเทอร์เน็ตกับการผลิตรายการ
- การสร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM กับชุมชนวิทยุ)
- เนื้อหาของวิทยุชุมชน สิ่งควรปรับปรุง
- บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๘๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙.๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดความรู้เที่ยงคืน: งานวิจัยว่าด้วยวิทยุชุมชน ปัญหาและข้อเสนอแนะ
บทวิจัยวิทยุชุมชนถึงวิทยุซอกตึก คลื่นความถี่ของชุมชนธรรมดา
พินิตตา สุขโกศล : ผู้วิจัย
ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทนำ
โดยพื้นฐานความเชื่อของผู้วิจัย เชื่อว่า หากเรามีความรู้ว่า ธรรมชาติของวิทยุมีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไรแล้ว เราจะสามารถนำเอาลักษณะเช่นนี้ไปใช้กับงานวิทยุได้เป็นอย่างดี สถานีวิทยุชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่ในชั่วโมงที่กฏหมายยังมีช่องว่างนั้น เป็นการเกิดขึ้นบนพื้นฐานแห่งความไม่รู้ และบางคนสร้างสถานีวิทยุเพื่อหารายได้ ดังนั้นการเริ่มต้นด้วยวิธีการเช่นนี้ย่อมจะทำให้การสร้างสถานีวิทยุที่ดีงามนั้นเกิดความผิดพลาดได้ และหากว่าวันนี้มีกฏหมายเกิดขึ้นมา คำถามต่อมาของผู้วิจัย คือ จะทำอย่างไรกับคลื่นที่มีมากมาย ซับซ้อน ซ้อนทับกัน จนทำให้เกิดการบิดเบือนของคลื่น เสียงไม่ชัดเจน หรือแม้กระทั่งคนฟังรายการวิทยุนั้นไม่สามารถฟังได้ชัด

ทบทวนวรรณกรรม
จากการทบทวนเอกสาร พบว่า แผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบ เอฟ.เอ็ม. ของประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2528 โดยกรมไปรษณีย์โทรเลข มีการจัดสรรคลื่นครั้งหนึ่งในอดีตที่ประสบปัญหาว่ามีจำนวนของคลื่นความถี่มาก แต่ยังคงเป็นคลื่นความถี่ที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ครอบครอง แตกต่างจากปัจจุบันนี้ที่ประชาชนเป็นผู้ครอบครองด้วย ทำให้ปริมาณของคลื่นความถี่มีมากและแม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ฯ แล้ว ก็ยังคงต้องรอ คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม หรือที่เราเรียกกันว่า กสทช มาทำหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่

การได้เข้าไปสัมผัสและเข้าไปพูดคุยกับคนในชุมชนนั้นประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยต้องการทราบ คือ การเรียนรู้ วิธีการคิดให้เท่าทันสื่อของผู้คนในชุมชน เพราะมีการตั้งคำถามกันมานานในวงการสื่อสารมวลชนว่าประชาชนมีความรู้ ความเท่าทันสื่อ หรือเลือกที่อยากจะบริโภคสื่ออย่างที่ได้รับหรืออยากจะได้รับสารอย่างที่อยากจะให้เป็นอย่างไร? วิทยุ ชุมชนได้มีส่วนในการสร้างความรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) หรือทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาในชุมชนเป็นวิทยาลัย ชุมชน เป็นห้องเรียนชุมชน เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในชุมชนหรือมีการกำหนดวาระในการสร้างข่าวสาร และความรู้ให้แก่คนในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องอย่างไร?

ข้อค้นพบบางประการ
สิ่งที่ค้นพบจากประเด็นดังกล่าว คือ ลักษณะของวิทยุชุมชนในประเทศไทย อยู่ภายใต้บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ อย่างเท่ากันทั้งสองด้าน โดยเฉพาะปัจจัยทางการเมืองที่จะนำปัจจัยการดำรงอยู่ทางด้านเศรษฐกิจมาเป็นฐานรองรับสถานภาพของสถานีวิทยุนั่นได้ยาวนาน และโดยเฉพาะท่ามกลางภาวะวิกฤติทางการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2549 - 2551 ผู้วิจัยพบเพิ่มเติมจากผลที่ได้จากการวิจัยว่า สื่อวิทยุในท้องถิ่น พยายามหาช่องทางในการสร้างความอยู่รอดให้กับสถานี ดังนี้

1. สถานีวิทยุที่ไม่พูดถึงประเด็นทางการเมือง สถานีวิทยุลักษณะนี้จะเปิดเพลง เล่นเกมส์และพูดคุยกับวัยรุ่นในพื้นที่ การพูดเรื่องการเมืองกลายเป็นประเด็นขบขัน หรือล้อเลียนหรือหลีกหนี หรือใช้ถ้อยคำที่ทำให้ดูว่าภาษาไม่รุนแรง หรือไม่เลือกที่จะตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิดในข้อเท็จจริง

2. สถานีวิทยุที่นำเสนอเนื้อหาทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ กลุ่มพันธมิตร (เสื้อเหลือง) และกลุ่มคนรักทักษิณ (เสื้อแดง) ซึ่งทำให้เกิดวาทกรรมทางการเมืองผ่านสัญญะทางสี คือ เหลือง แดง ขาว (กลุ่มนักวิชาการ) ที่แสดงความคิดเห็นผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ลูกโซ่ (Forward mail) ซึ่งการอาศัยวิทยุเป็นเครื่องมือในการแพร่กระจายความคิดทางการเมือง ทำให้ภาพตัวแทนทางการเมืองของวิทยุชุมชนในภาคอีสาน ได้สร้างฮีโร่(วีรบุรุษ) ให้กับขวัญชัย ไพรพนา ที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงทางการเมืองให้กับทักษิณอย่างชัดเจน จนเป็นประเด็นปัญหาที่นำไปสู่ระดับความน่าเชื่อถือของคำว่า วิทยุชุมชน

ปัจจุบัน เมื่อมองในมุมวิชาการพบว่า การเลือกข้างของวิทยุชุมชน ผิดหลักการเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็น แต่วิทยุหลายแห่งอาศัยช่องว่างทางกฏหมาย ซึ่งมีแต่เนื้อหาทางกฏหมาย แต่ยังขาดคนมาดำเนินการตามเนื้อหาดังกล่าว ให้เข้ามากำกับดูแลอย่างถูกต้อง จึงกลายเป็นช่องทางสำคัญของการสร้างพื้นที่ทางการสื่อสารทางการเมืองให้กับคนกลุ่มเล็กๆ และกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการขยายเครือข่ายพื้นที่การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตร เนื่องจากคนที่มีความเชื่อคล้อยตามความคิดของกลุ่มพันธมิตร ก็จะถ่ายทอดและผลิตซ้ำอุดมการณ์ทางความคิด เช่นเดียวกับการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารอื่นๆ

3. สถานีวิทยุในซอกตึก เป็นสถานีวิทยุที่ถูกสร้างขึ้นด้วยการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ อาทิ การเปิดสถานีลูกข่ายในแต่ละจังหวัด เพื่อทำหน้าที่เป็นช่องทางการเชื่อมโยงการสื่อสาร เพื่อโปรโมตเพลง หรือเพื่อประชาสัมพันธ์เพลง โดยจะมีสโลแกนเดียวกันทั้งประเทศ คือ พูดน้อยปล่อยเพลงเยอะ (Less Talk more Music) ลักษณะของรายการจะเปิดสปอต 10 นาทีต่อชั่วโมง และเปิดเพลง 50 นาที บางครั้งใช้สโลแกน (50 minutes music long play, non stop music, no DJ) เป็นต้น สถานที่ตั้งของสถานีวิทยุจะอยู่ในบ้าน หรือในอาคารให้เช่า มีเครื่องควบคุม มีคอมพิวเตอร์และตั้งเสาอากาศบนดาดฟ้า เพื่อให้เสาที่สูงตามเกณฑ์ได้สูงกว่าเกณฑ์อย่างไม่ผิดหลักการวิทยุชุมชน ทั้งนี้วิทยุจะเป็นเพียงการเพิ่มช่องทางในการขายโฆษณาให้กับสื่อขนาดใหญ่ในกรุงเทพ หรือเป็นการเพิ่มช่องทางการโฆษณาให้กับสื่อขนาดเล็กในจังหวัด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนให้กับสถานีวิทยุอื่น แต่ได้เม็ดเงินอย่างครบถ้วน ไม่เพียงเท่านั้นยังใช้หลักการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่ดี มาเป็นข้ออ้างในการทำงานกับเยาวชนในพื้นที่ด้วยการให้เป็นเวทีในการฝึกปฏิบัติ เปิดเพลง คุมเครื่องโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน หรือการอ้างว่าเป็นสถานที่ฝึกงานในการเป็นดีเจที่มีชื่อเสียงในอนาคต

วิทยุชุมชนท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์
จากข้อพิจารณาดังกล่าวจะพบว่า อุดมคติของคำว่าวิทยุชุมชนท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ ได้ปรับโฉมเปลี่ยนหน้าออกไปจากเดิม โดยส่วนใหญ่จะอ้างความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ และการพึ่งพาภาครัฐ เพื่อให้สถานีมีรายได้ให้คุ้มค่ากับรายจ่าย ข้อถกเถียงกันแวดวงวิทยุชุมชน เป็นการเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อการเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากผลการวิจัยที่ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2549 - 2550 ยังคงเป็นข้อมูลที่สามารถใช้เป็นกรอบในการพิจารณาได้ในช่วงเวลาที่ปรับปรุงเนื้อหาในบทความที่บอกลักษณะของวิทยุข้างต้น เพราะทรัพยากรคลื่นความถี่นั้น ต้องอาศัยการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีระดับสูง รวมทั้งความรู้ความชำนาญด้านวิชาชีพ ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสทางด้านการสื่อสารในระดับภาคประชาชนค่อนข้างน้อย หรือในบางพื้นที่อาจจะมีความเป็นไปไม่ได้เลย รวมทั้งการทำงานด้านการสื่อสาร ต้องอาศัยความคิดเชิงสร้างสรรค์ของผู้ผลิตรายการ จรรยาบรรณ จริยธรรมต่อการนำเสนอเนื้อหารายการ จึงทำให้ทิศทางการดำเนินรายการวิทยุชุมชนเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมไทย

กล่าวคือ "วิทยุ"คือ เครื่องมือหนึ่งในการสร้างรายได้ และจากช่องว่างทางกฏหมายที่ยังไม่มีความแน่นอน ชัดเจนตายตัว การดำเนินงานในการสร้างรายได้ แม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่มาก ก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สถานีวิทยุที่อ้างว่าเป็นวิทยุชุมชนแต่มีการหารายได้ก็เริ่มปิดตัวลง ไม่เพียงเท่านั้น สถานีวิทยุฯ ที่เป็นกระบอกเสียงของค่ายเทป ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะลงทุนสื่อประเภทนี้ต่อ อีกทั้งสถานีวิทยุของมหาวิทยาลัย ทั้งที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ และมหาวิทยาลัยของเอกชนเองก็ตาม ยังต้องหวาดวิตกกับอนาคตที่จะต้องต่อสู้กับกลุ่มทุน เพื่อให้เกิดความอยู่รอดของการบริหารจัดการสถานีวิทยุ

วิทยุชุมชนกับการแข่งขันโดยเสรี
ความเชื่อเรื่องตลาดเสรีสูง อันกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยการใช้วลีสำคัญว่า "การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม" แต่การแข่งขันอย่างเสรีในระบบทุนนิยมนั้น โดยส่วนใหญ่จะนำไปสู่การผูกขาดทางธุรกิจ วัฒนธรรม รวมทั้งสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ซึ่งไม่ได้เป็นไปอย่างเป็นธรรมอย่างที่ควรจะเป็นตามหลักการ โครงสร้างการดำเนินงานของวิทยุชุมชน. ภายหลังที่มีการเปิดโอกาสให้มีการโฆษณาได้ จึงเปลี่ยนไปเป็นสถานีวิทยุเพื่อการค้ามากกว่าการปรับบทบาทในการเป็นสื่อสาธารณะ เพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้

ประกอบการที่เทคโนโลยีการสื่อสารกว้างไกล การสร้างสถานีวิทยุขนาดเล็กขึ้นเองใช้เงินลงทุนไม่มากมาย ตกราวๆ ห้าหมื่นไปจนถึงห้าแสนบาท แล้วแต่งบประมาณ กลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ที่สุด คือ กลุ่มที่ผลิตเครื่องมือวิทยุ ออกมาจำหน่าย. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ กล่าวว่า การก่อกำเนิดของวิทยุชุมชน ทำให้เกิดธุรกิจนำเข้า-จำหน่ายเครื่องส่งวิทยุ โดยมีมูลค่ากว่า 2,000 - 3,000 ล้านบาท และเม็ดเงินโฆษณาตกปีละ 2,400-3,600 ล้านบาท

การแบ่งวิทยุชุมชนออกเป็น ๗ ประเภท
อย่างไรก็ตาม ในแนวทางของการวิจัย ผู้วิจัยสามารถประมวลลักษณะของวิทยุชุมชนตัวอย่าง ทั่วประเทศไทย ในระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2550 จากการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบ Snow ball จำนวน 19 แห่ง สามารถจำแนกประเภทของวิทยุชุมชน โดยอาศัยแนวคิดการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge management concept) เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ผู้วิจัยพบว่ามีลักษณะของวิทยุชุมชนอยู่ 7 ประเภท คือ

1. ประเภทแสวงหาโอกาส (Opportunity seekers) ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่ให้ความสนใจในการสร้างเทคนิคการจัดรายการ และแนวทางในการสร้างเทคโนโลยีในสถานีวิทยุที่ชัดเจน ทำให้เกิดข้อบกพร่องในรายการวิทยุ นักจัดรายการวิทยุชอบแทนตนเองว่าเป็น ดีเจ ด้วยการจัดรายการเพลง หรือรายการพูดอย่างเดียว (Talk programme) เนื้อหารายการไม่นำเสนอความรู้ มีเพียงแต่ให้ขอเพลงเข้ามาในรายการ เมื่อมีคนฟังติดรายการหรือการสร้างแบรนด์ ภายใต้ชื่อของตนเอง ในท้ายที่สุดกลุ่มคนที่มีชื่อเสียงในการจัดรายการ ก็ออกไปหารายได้และลงทุนก่อตั้งสถานีวิทยุที่เน้นเรื่องของการสร้างรายได้ ให้แก่ตนเองภายใต้ช่องว่างของกฏหมาย

2. ประเภทผู้รับใช้ เพื่อรักษาความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว (Pleasing for survival) ดำเนินรายการวิทยุเพื่อสร้างความอยู่รอดด้วยการทำงานตามนโยบายของรัฐบาล ตามแนวทางของกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนหรือสนับสนุนค่าใช้จ่าย ไม่สนใจและมักเพิกเฉยต่อการสร้างเนื้อหาหน้าที่เพื่อชุมชน หลับหูหลับตาในการวิพากษ์วิจารณ์บุคคล หน่วยงานหรือองค์กร ตามแนวความคิดของผู้ให้โอกาสแก่ตนเอง

3. ประเภทขวานผ่าซาก (Outspoken) ไม่คำนึงถึงสิ่งอื่นใด หากไม่พอใจก็ใช้วิทยุเป็นเครื่องมือในการโจมตีทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องของงาน และใช้ภาษารุนแรง เสียงดัง สร้างความเป็นจุดยืนด้วยการอ้างอิงอุดมการณ์ และหลักการที่สร้างขึ้นมาอย่างลอยๆ

4. ประเภทประนีประนอม (Compromise) ยอมที่จะทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้มาซึ่งการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนของตนเอง และการอยู่รอดทางธุรกิจเป็นสำคัญ ยินดีที่จะนำเสนอเนื้อหารายการที่เน้นเฉพาะความรู้ในท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม เพลง ข่าวสารความเคลื่อนไหว และเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเมือง

5. ประเภทอุดมการณ์ (Idealism) ประเภทนี้เต็มไปด้วยอุดมการณ์เดิมของการรักษาสิทธิชุมชน เติบโตจากการถูกกระทำจากภาครัฐ หรือจากการไม่ได้รับความเอาใจใส่ที่ดีจากผู้บริหารในระดับท้องถิ่น เกิดจากผู้คนในชุมชนซึ่งมีระบบวัฒนธรรมที่เข้มแข็งมายาวนาน รวมตัวกันสร้างกิจกรรมเพื่อเป็นกองทุนในการก่อตั้งสถานีวิทยุภายในชุมชน จัดสร้าง ลองเรียนรู้ถูกผิดกับเครื่องมือ จัดรายการวิทยุด้วยภาษาของตัวเอง หาเนื้อหาจากเอกสารหนังสือหลากหลายมาอ่านเพื่อออกอากาศ รวมทั้งตั้งใจฟังผู้จัดรายการที่ตนเองรู้จักและชื่นชอบ

6. ประเภทนักล่าโครงการ (Project hunter) วิทยุชุมชนในลักษณะนี้ เกิดและเติบโตจากการได้รับเงินสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชน อาทิ องค์กรพัฒนาชุมชน หรือ พอช. กองทุนพัฒนาสังคม หรือ Social Investment Fund (SIF) หรือ กองทุนสร้างเสริมสุขภาพชีวิต เป็นต้น การเริ่มต้นของสถานีวิทยุในลักษณะนี้ เกิดจากการเขียนโครงการเพื่อขอทุนสนับสนุน โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรที่จัดสรรงบประมาณเป็นตัวกระตุ้น และสร้างแรงจูงใจให้กลุ่มตัวแทนในพื้นที่ไม่กี่คน ได้นำเสนอว่าจะทำโครงการอะไร เพื่อให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อน หรือกระบวนการสร้างกิจกรรมในชุมชนของตนเอง วิทยุชุมชน จึงเป็นตัวเลือกที่โดดเด่น

ภายหลังจากปี 2540 เป็นต้นมา คนซึ่งเคยอยู่ในวงการสื่อสารมวลชนจำนวนหนึ่งอยู่ในสภาพไม่มีงานทำ กลับสู่มาตุภูมิ หรือหลายคนที่มีความสามารถทางด้านการผลิตรายการวิทยุอยู่แล้ว แต่ไม่มีโอกาสได้จัดรายการวิทยุ เพราะไม่สามารถไปยืนแข่งขันกับกลุ่มนายทุนขนาดใหญ่ที่มีตัวเลือกเป็นนักจัดรายการหน้าตาดีน้ำเสียงดีได้ จึงเขียนโครงการขอรับทุนสนับสนุน เพื่อมาจัดตั้งสถานีวิทยุของตัวเอง สร้างพื้นที่สาธารณะของตัวเอง จากนั้นก็หาเงินสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสถานีวิทยุชุมชน ที่เกิดจากกองทุนสนับสนุนฯ ต่างๆ นั้น จะมีการกำหนดเนื้อหารายการอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง นำเสนอรายการที่สอดคล้องกับความต้องการของแหล่งทุน เช่น รายการเพื่อสุขภาพหรือรายการเกี่ยวกับวัฒนธรรม และสถานีประเภทนี้ทั้งหมดเลือกที่จะจัดรายการภายใต้กรอบกำหนดเรื่องความมั่นคงของชาติ ด้วยการไม่พูดถึงเนื้อหาอื่นใด โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ทั้งยังส่งเสริมกลไกการทำงานของส่วนภาครัฐด้วยการเปิดสปอตรณรงค์และพูดสนับสนุนแบบให้เปล่า

ลักษณะของรายการวิทยุเช่นนี้จึงไม่แตกต่างอะไรกับบทบาทการทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงของแหล่งเงินทุน และจัดรายการเพื่อความต้องการพื้นที่สาธารณะของส่วนตนตลอดไปเท่านั้น ลักษณะของกลุ่มจะไม่สนใจในเรื่องกฏหมาย พระราชบัญญัติ หรือสิทธิด้านการสื่อสาร หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ กลุ่มนี้ก็พร้อมที่จะปิดสถานีวิทยุ พร้อมกันนั้นเดินหน้าเขียนโครงการเพื่อขอทุนสนับสนุนในเรื่องอื่นๆ ต่อไป เช่น การเป็นนักวิจัย การเป็นอาสาสมัครในชุมชน เป็นต้น

7. ประเภทพาณิชย์รายเล็กขนานแท้ (Radio SMEs) ประเภทนี้เกิดจากความรู้สึกกดดันในการต้องหาผู้สนับสนุนรายการทุกเดือน ทุกปี ตลอดเวลาที่จัดรายการวิทยุผ่านมา อาชีพการเป็นนักจัดรายการวิทยุในต่างจังหวัดต้องมีองค์ความรู้ทางด้านการตลาดเป็นปัจจัยในการสร้างรายได้ เพื่อให้ตัวเองได้ทำอาชีพที่ใจรัก และต้องตกอยู่ในสภาพหาอาหารมาป้อนให้เสือ หรือสถานีวิทยุของรัฐบาลมาโดยตลอด ก่อนที่จะมีการประกาศในปี พ.ศ. 2547 ที่อนุญาตให้สถานีวิทยุชุมชนสามารถโฆษณาหารายได้ให้กับตัวเอง ทำให้ผู้จัดรายการกลุ่มนี้เปลี่ยนมาทำธุรกิจของตน ในรูปแบบวิทยุชุมชน ส่งผลให้เกิดการขยายจำนวนวิทยุชุมชนเป็นสามพันกว่าสถานีภายในเวลาอย่างรวดเร็ว

ลักษณะของรายการในสถานีวิทยุ SMEs มีรูปแบบเนื้อหารายการน่าสนใจ จิงเกิลรายการ มีนักจัดรายการมืออาชีพในท้องถิ่น และมีสปอตโฆษณาจากส่วนกลางเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยง ทั้งนี้ทั้งนั้นรายได้จะมีลักษณะอยู่กับที่ ไม่ไหลออกเช่นที่ผ่านมา ไม่เพียงเท่านั้นลักษณะของสถานีวิทยุเช่นนี้ ยังเป็นเสมือนกระบอกเสียงของค่ายธุรกิจเพลงหลายค่ายด้วยการเปิดเพลงทั้งวัน เนื่องจากไม่ต้องลงทุนทางด้านบุคคลากร มีเพียงเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ในการเปิดปิดสถานี เลือกเพลงจากแผ่นซีดี ที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ลงในโปรแกรม พร้อมกับจัดเรียง สปอต คำนวณเวลาทุกชั่วโมง ให้มีช่วงเวลา 10 นาที ที่เป็นสปอต ส่วนตัวผู้ลงทุน ก็ออกไปหาลูกค้า หรือมีกิจการอื่นๆ ประกอบ บางสถานีใช้วิธีการเปิดรับสมัครนักจัดรายการหน้าใหม่ ฝันอยากทำงานเป็นดีเจ หรือ พีเจ (DJ or PJ) โดยไม่จ่ายค่าตอบแทน หรืออาจจะจ่ายค่าตอบแทนหากสามารถหารายได้เลี้ยงสถานีได้ โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์กันไป จากนั้นก็ประกาศกับสังคมว่า สถานีวิทยุเป็นเสมือนโรงเรียน หรือแหล่งฝึกประสบการณ์ด้านการจัดรายการวิทยุให้กับเยาวชน บางคนที่มีรายได้ดี ลูกค้าติดใจ ก็ผันไปเป็นโรงเรียนเสริมทักษะการพูด

ลักษณะของการจัดแบ่งประเภทของสถานีวิทยุฯ นั้น มีความเป็นพลวัต บางรายเป็นไปในลักษณะเดิม บางรายปรับตัวเองตามระยะเวลาที่เป็นไปตามกระแสทุนนิยม บางรายต้องการรักษาสถานภาพของตนเองเพื่อความอยู่รอด และบางรายไม่มีการปรับตัว ซึ่งท้ายที่สุดก็ล้มหายไปตามเวลา

ลักษณะของนักจัดรายการวิทยุ (Radio programmer identification)
ทั้งนี้การแบ่งประเภทของสถานีวิทยุจะเป็นคนละส่วนกับการแบ่งประเภทของ นักจัดรายการวิทยุที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดรายการ ลักษณะของนักจัดรายการวิทยุ (Radio programmer identification) ที่พบนั้นสามารถจำแนกออกเป็น

1. นักล่าฝัน (Dreamer) ประเภทนี้ได้ทำหน้าที่ในการจัดรายการวิทยุที่ตัวเองใฝ่ฝัน โดยส่วนใหญ่จะอาศัยสถานีวิทยุเป็นสะพานในการสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง จากนั้นก็จะย้ายไปจัดรายการวิทยุให้กับสถานีวิทยุที่สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้ หรือออกไปเปิดสถานีวิทยุของตนเอง

2. ค้นฟ้าคว้าดาว (Reach for the star) นักจัดรายการซึ่งไม่ประสบความสำเร็จจากการเข้าไปแสวงหาโอกาสในเมืองใหญ่ เพื่อจะทำงานตามสิ่งที่ตนเองใฝ่ฝันเอาไว้ จึงกลับมายังบ้านเกิดของตนเอง จากการที่รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงสิทธิทางการสื่อสาร จึงเป็นช่องทางและโอกาสได้แสดงความสามารถออกมา นักจัดรายการประเภทนี้จัดรายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุ่มเทกับการทำงาน สามารถสร้างสรรค์รายการที่มีคุณภาพสู่กลุ่มผู้ฟังในชุมชนของตนเอง ขณะเดียวกันต้องต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่คืบคลานเข้ามารอบตัว ด้วยการประกอบกิจการส่วนตัว หรือมีอาชีพอื่นๆ เสริม นักจัดรายการลักษณะนี้ มีแรงจูงใจที่สำคัญที่สุด คือ ครอบครัว

3. วิทยุแวมไพร์ (Vampire radio) เป็นนิยามที่ได้มาจากอดีตนักจัดรายการวิทยุที่ต้องคอยหาเงินป้อนรายการวิทยุ เพื่อเป็นค่าเหมาเช่าช่วงเวลาทางสถานีวิทยุของรัฐบาล เมื่อมีโอกาสในการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน เพราะได้รับสิทธิเสรีภาพทางการสื่อสาร จึงผันตนเองออกมาเป็นผู้ก่อตั้งสถานี หารายได้เพื่อให้สถานีฯ อยู่ได้ ในขณะเดียวกัน ก็นำเสนอประเด็นปัญหาท้องถิ่น เป็นสื่อที่ทำหน้าที่ในการจัดการกับปัญหาของชุมชน กล้าพูด กล้าแย้งกับนักการเมืองในท้องถิ่น และไม่ปฏิเสธที่จะหารายได้สนับสนุนสถานี โดยมีหลักการว่า "ที่อื่นให้คุณจ่ายเท่าไร เราให้คุณจ่ายน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง"

4. สูญเสียจิตวิญญาณ (Spirit lost) นักจัดรายการวิทยุที่มีอุดมการณ์แรงกล้า ในการสร้างชุมชนของตัวเองให้เข้มแข็ง เป็นบุคคลที่คนในชุมชนให้ความนับถือ และอยากมองเห็นชุมชนมีความเข้มแข็ง ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเช่นที่ผ่านมา แต่ในที่สุดต้องพ่ายแพ้ต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มองไม่เห็นโอกาสรอด และหนทางที่จะแข่งขันกับสถานีวิทยุที่มีทุนในการพัฒนาคลื่นให้ดีกว่าตน ซึ่งท้ายที่สุด นักจัดรายการลักษณะนี้ก็ต้องเลิกลาออกจากวงการ หรือยอมรับการอยู่ใต้ระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลง

ชุมชนในบริบทของวิทยุชุมชน: นิยามใหม่
ดังนั้น ชุมชนในบริบทของวิทยุชุมชน ควรนิยามเพิ่มเติมออกจากกรอบเดิม ที่มองว่า ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร จะต้องอยู่ภายใต้กติกา 30 - 30 - 15 นั้น ควรจะเป็นการนิยามใหม่ โดยทำการสำรวจพื้นที่แต่ละชุมชน และดูความเหมาะสมของชุมชนนั้น ให้ชุมชนเป็นผู้นิยามตนเอง จากคุณลักษณะชุมชนทางวิทยุ ดังนี้

1. มีอุดมการณ์เดียวกัน
2. มีเป้าหมายเดียวกัน
3. มีภูมิหลังคล้ายคลึงกัน
4. มีความตั้งใจอันดีร่วมกันในการพัฒนาชุมชนของตน
5. มีความสนใจ รัก และชอบในสิ่งเดียวกัน
6. มีเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ และสนใจในเนื้อหาที่ถูกนำเสนอ
7. สมาชิกในชุมชนไม่จำเป็นต้องมีเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ เพศ วัย ศาสนา และฐานะทางเศรษฐกิจ เหมือนกัน

นอกจากนี้ควรทำการสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับฟังของคนในชุมชน เพื่อให้ทราบลักษณะของการออกอากาศที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เลือกเปิดรับฟัง ซึ่งจะทำให้วิทยุของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน เนื่องจาก

1. เป็นการเปลี่ยนจากการบังคับคนฟังด้วยระบบเสียงตามสาย มาเป็นระบบเลือกรับแบบไร้สาย
หลายคนที่ไม่ชอบวิทยุชุมชนเพราะอ้างว่า วิทยุชุมชน เสียงไม่ชัดเจน เนื่องจากได้ยินรายการจากลำโพงกระจายเสียงของหอกระจายข่าว ซึ่งบางแห่งก็ยังต้องใช้อยู่เพราะกฎหมายไม่เอื้อ การอาศัยลำโพงกระจายเสียงบางจุดนั้น มีปัญหาอยู่สองประการ คือ คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าที่ควร และเป็นเหมือนการบังคับให้ต้องฟัง ซึ่งทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนได้

2. เลือกเปิด - ปิด วิทยุเพื่อกระจายเสียงบางเวลา
ลักษณะของชุมชนจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกช่วงเวลาในการเปิดรับฟังรายการวิทยุกระจายเสียง โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกอากาศตลอดเวลา ทุกวัน. หลายกลุ่มผู้จัดวางผังรายการกลัวว่า หากมีการปิดสถานีฯ จะถูกคนอื่นมาแย่งคลื่นฯ แต่หากเราปรับผังรายการให้เหมาะกับ

- ช่วงเวลาในการเปิดรับฟังของคนในชุมชน
- ช่วงเวลาที่บุคลากรในชุมชนพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่
- ช่วงเวลาที่มีทรัพยากรเพียงพอในการออกอากาศ

การว่างเว้นรายการเป็นระยะสม่ำเสมอช่วยทำให้ผู้ฟังสนใจติดตามฟังมากขึ้นได้ และยังทำให้ผู้จัดมีเวลาวางแผนและผลิตรายการที่มีความหมายมากขึ้นสำหรับชุมชนด้วย

3. กำลังส่งของสถานี
หากชุมชนเข้าใจลักษณะพื้นที่ของตนเองว่า เป็นชุมชนที่อยู่ในภูมิศาสตร์แบบมีภูเขา ที่ราบ ทะเล เกาะ หรือเป็นชุมชนที่มีผู้ฟังกระจายตัวตามหุบเขา หรือเป็นชุมชนในเมืองที่มีจำนวนประชากรอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น การจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ (Reallocate) ให้เหมาะสมกับปริมาณช่วงคลื่นที่เข้ากับภูมิศาสตร์ของชุมชนจะทำให้ไม่เกิดปัญหาทับซ้อนของคลื่นเช่นที่ผ่านมา ส่วนการจัดสรรคลื่นใหม่นั้นไม่ใช่เพียงการสำรวจพื้นที่เท่านั้น ยังรวมไปถึงการสำรวจความพร้อมและความต้องการของคนฟังตามระยะทาง หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นการกระจายเสียงด้วยระบบอินเตอร์เน็ตแทน

4. บุคคลากร หัวใจสำคัญของงานวิทยุ
วิทยุชุมชนส่วนมากต้องอาศัยอาสาสมัครมาเป็นผู้ผลิตรายการ เป็นผู้รายงานข่าว รวมถึงทำหน้าที่เป็นช่างเทคนิคและช่างไฟฟ้า การใช้อาสาสมัครซึ่งมาจากผู้คนในชุมชนจะช่วยทำให้เกิดการดูแลและสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็นอย่างดี หากวิทยุระบุสถานภาพตนเองชัดเจนตามรัฐธรรมนูญแล้วว่าจะเป็นวิทยุประเภทใด ควรจะมีการกำหนดค่าตอบแทนตามงบประมาณ หรือรายได้ที่จะเกิดขึ้น

ที่ผ่านมาสมาชิกหลายคนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดรายการวิทยุจะบริจาคเงิน สิ่งของ หรือไม่เรียกค่าตอบแทนใด แต่ความไม่แน่นอนสำหรับรายได้อันเกิดจากการบริจาคเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ รวมทั้งบุคคลากรที่มักจะมีข้ออ้างไม่มาทำงานต่อ ปัญหาความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล และความชื่นชอบของกลุ่มผู้ฟังกับนักจัดรายการคนนั้นก็จะหายไปด้วย วิทยุชุมชนต้องรักษาบุคคลากรให้อยู่นานๆ ด้วยการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยน เปิดใจ บอกเล่าปัญหา (Sharing knowledge and opinion freely) รวมทั้งเพิ่มศักยภาพบุคคลากรด้วยองค์ความรู้ใหม่ๆ แสวงหาทุนหรือเปิดโอกาสให้ไปเข้าร่วมรับรู้เรื่องราวใหม่ๆ ในสังคม เคารพในการแสดงความคิดเห็น สร้างคุณค่าของบุคลากรด้วยการส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น การมอบหมายงานและความรับผิดชอบ จะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการสร้างระบบประชาธิปไตยให้กับประชาสังคมเช่นเดียวกัน ไม่ควรนำตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคมใดๆ มาเป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่หรือแสดงอำนาจ เพื่อให้เกิดความเป็นกันเองในกลุ่มผู้ดำเนินงานวิทยุชุมชน นอกจากนี้ควรจะส่งเสริมให้คนในชุมชนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำรายการข่าว เช่น การส่งข่าว การรายงานข่าวในสถานที่เกิดเหตุการณ์ การกลั่นกรองข่าว การวิเคราะห์ข่าว เป็นต้น

คำถามงานวิจัย"วิทยุชุมชน"
นอกจากนี้ จากการวิจัยยังพบประเด็นการพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับชุมชน และการหลอมรวมเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคแรกเข้ากับเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคใหม่ ประชาชนมีความตื่นตัวหรือมีวิธีการปรับตัวที่จะเรียนรู้ มีการผสมผสานเทคโนโลยี มีวิธีการรับมือกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างไรบ้าง? ขณะเดียวกันภาครัฐมีบทบาทอย่างไร ในการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับชุมชน? รวมทั้งชุมชนมีวิธีการอย่างไรให้สามารถเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมประเทศอื่นๆ? หรือชุมชนมีวิธีการศึกษาที่จะพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการสื่อสารเพื่อให้เกิดการใช้งานในระดับพอเพียงภายในชุมชนได้อย่างไร?

ซึ่งผลการวิจัยพบว่า วิทยุขนาดเล็กได้อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายดาวเทียม เป็นช่องทางสำคัญในการส่งผ่านข้อมูลข่าวสาร โดยอยู่ในลักษณะของวิทยุชุมชนทางอากาศและทางเครือข่าย (Community of Community Radios: COCRs) เป็นการเชื่อมโยงเทคโนโลยีการสื่อสาร เมื่อเสียงถูกถอดรหัสผ่านตัวเลขไบนารี่ (ฺBroadcasting technology connection with computerized binary code)

วิทยุกระจายเสียงอินเทอร์เน็ตกับการผลิตรายการ
โดยปกติวิทยุกระจายเสียงอินเทอร์เน็ตกับการผลิตรายการ คู่มือวิทยุชุมชนของ คอลิน เฟรเซอร์ (อ้างถึงในจุมพล รอดคำดี 2548) ระบุว่า อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อการผลิตรายการมาก สถานีได้รับข้อมูลหลากหลายจำนวนมหาศาลจากอินเทอร์เน็ต เช่น ข้อมูลจากสำนักข่าวใหญ่ๆ ข้อมูลจากองค์กรพัฒนาต่างๆ องค์กรภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยและองค์กรอื่นๆ นอกจากนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตก็ดาวน์โหลดรายการจากอินเทอร์เน็ตมาออกอากาศใหม่ได้ เนื้อหาหลักของแต่ละรายการมักเป็นเรื่องสำคัญๆ ต่อวิทยุชุมชน เช่น เรื่องสุขภาพ การศึกษา สิทธิสตรี และอื่นๆ

อินเทอร์เน็ตใช้เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนรายการได้ด้วย การบริการ เช่น วันเวิลด์ (One World) โกลบัลเรดิโอเซอร์วิส (Global Radio service) และเอ-อินโฟส์ (A - Infos) ช่วยให้ผู้ผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงได้ฝากรายการของตนไว้ให้ผู้ผลิตรายการคนอื่นนำไปใช้ออกอากาศได้ และก็นำรายการของผู้อื่นมาออกอากาศได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้เท่าทันระดับการใช้งานสื่อที่เปลี่ยนไปของผู้รับสาร ผู้บริหารวิทยุชุมชนควรเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเองทางเวบไซต์ อธิบาย องค์กร รายการ บุคลากร และอื่นๆ ตามต้องการ

ไม่เพียงการมีความรู้ในเรื่องของระบบเทคโนโลยีแบบสถานีวิทยุแล้ว ผู้จัดสถานีวิทยุจะต้องให้เรียนรู้และพัฒนาตนเองให้สามารถผสมผสานสื่อสองประเภทเป็นหนึ่งเดียวกัน การผสมผสานเช่นนี้จะทำให้เกิดชุมชนในโลกของการกระจายเสียงเสมือน และช่วยประหยัดในด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นส่งเสริมระบบการจัดเก็บบันทึกข้อมูลรูปแบบเสียง หรือห้องสมุดเสียงได้ดีกว่าสถานีวิทยุในรูปแบบเดิม ปกติเราจะคุ้นเคยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการทำงานเอกสาร และการจัดเก็บข้อมูล และห้องส่งวิทยุหลายสถานีใช้คอมพิวเตอร์มานานแล้วสำหรับงานทั่วๆ ไป เช่น การพิมพ์บทวิทยุ การทำดรรชนี การจัดหมวดหมู่รายการบันทึกเสียง ข้อมูลเหล่านี้มีเพิ่มขึ้นมาก จนค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ไม่ยาก

การใช้คอมพิวเตอร์ทำดรรชนีและจัดหมวดหมู่ ช่วยให้มีบัญชีวัสดุทุกประเภทที่ใช้ออกอากาศ พร้อมคำอธิบายสั้นๆ ว่าแต่ละชิ้นคืออะไร อยู่ที่ไหนโดยมีหมายเลขกำกับชัดเจน เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาความก้าวหน้าทางด้านซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ทำให้เกิดโปรแกรมการตัดต่อการกระจายเสียงผ่านคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเราจะพบว่า มีการผลิตรายการโดยใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งเสียงสนทนา เสียงดนตรี เสียงประกอบ เพลงประกอบ ฯลฯ อยู่ในรูปแบบไฟล์เสียง เช่น สถานีวิทยุชุมชนคนล้านนา สถานีวิทยุชุมชนคนเมืองลี้ เป็นต้น (http://www.cm77.com/ และ http://202.143.134.178/~leeradio/)

การสร้างบรรยากาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM กับชุมชนวิทยุ)
การสร้างบรรยากาศในสถานที่ทำงานเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของคนที่อยู่ในองค์กรเดียวกัน ก่อให้เกิดลักษณะของชุมชนที่ดี เช่นเดียวกันกับชุมชนที่อยู่ตามหมู่บ้าน หรือในชนบทที่ห่างไกล ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือมีลักษณะของความเป็นชุมชนที่ดีนั้น ควรจะมีการสร้างแรงจูงใจในการพูดคุย แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างกันให้มากขึ้น นั่นคือ การสื่อสารเป็นสิ่งที่จะสร้างชุมชนที่ดีที่ก่อให้เกิดการค้นพบนวัตกรรมทางความคิดมากกว่าลักษณะของชุมชนที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ หรือไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างปฏิบัติและเรียนรู้ตามความถนัดและความสามารถของตนเอง ย่อมจะไม่เกิดการเชื่อมโยงที่ดีต่อการพัฒนาชุมชนอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตามลักษณะของชุมชนไม่จำเป็นที่ต้องติดอยู่กับพื้นที่ แต่เป็นการหาเวลาที่จะมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ระหว่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น วิทยุธุรกิจขนาดเล็กในแต่ละจังหวัด ได้มีการรวมตัวกันจากการเข้าเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ เช่าพื้นที่เพื่อทำการประชาสัมพันธ์สถานีวิทยุของตนเอง ภายใต้โดเมนเนม http://www.vttradio.com เป็นต้น. จากนั้นก็นัดพบเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างกันเป็นประจำ เช่น ในงานสัมนา งานอบรม หรือการประชุมแบบไม่เป็นทางการตามสถานที่ต่างๆ อาทิ ร้านกาแฟ การพูดคุยกันผ่านทางโทรศัพท์ เป็นต้น

ลักษณะของการแลกเปลี่ยนกันนั้นจะมีเรื่องราวของการเสริมทักษะด้านเทคนิคในการสร้างสรรค์รายการ เทคนิคของเครื่องมือวิทยุกระจายเสียง และการแลกเปลี่ยนประเด็นของกฏหมาย พระราชบัญญัติ อันส่งผลต่อการอยู่รอดต่อไปของสมาชิกกลุ่ม รวมทั้งการเรียกร้องให้มีการออกแบบเนื้อหาพระราชบัญญัติให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสมาชิกกลุ่ม ที่เกิดจากการกดดันที่ได้รับจากการต้องหาเงินสนับสนุนรายการเดือนละสามแสนบาทให้กับสถานีวิทยุของรัฐ โดยกรอบของสภาพธุรกิจที่ไม่ได้ดีต่อสื่อประเภทวิทยุกระจายเสียง ลักษณะของการแลกเปลี่ยนของกลุ่มวิทยุธุรกิจ คือ การแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างการอยู่รอดของกลุ่มในแต่ละจังหวัด และสร้างจุดร่วมกันในเชิงพันธะสัญญา คือ การส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่เรียนรู้วิธีการเป็นนักจัดรายการวิทยุที่ดี นำเสนอเนื้อหาที่สร้างสรรค์

เนื้อหาของวิทยุชุมชน สิ่งควรปรับปรุง
อย่างไรก็ตาม วิทยุชุมชนยังขาดการส่งเสริมเรื่องราวของเนื้อหาที่นำเสนอให้เป็นการสร้างเนื้อหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง และควรมีการกระตุ้นให้คนในชุมชนรับฟังรายการกันมากขึ้น จากการเข้าไปพบปะพูดคุยระหว่างหาเงินรายได้สนับสนุน เนื้อหาที่นำเสนอผ่านสื่อในปัจจุบันที่เน้นเรื่องของ "อำนาจและความรุนแรง", ความสนุกสนานเพลิดเพลิน บันเทิง และเนื้อหาที่เน้นการบริโภค หรือบริโภคนิยมภายใต้ปรัชญาการแข่งขันและแสวงหากำไร สูงสุดตามหลักเศรษฐศาสตร์ หากชุมชนสามารถพัฒนาเนื้อหาของข่าวสารขึ้นมาเองได้ ชุมชนมีวิธีการจัดการเนื้อหา ข่าวสารอย่างไรที่จะทำให้ข่าวสารอันเกิดจากชุมชนนั้นมีประสิทธิภาพและลดปัญหาลดช่องว่างทางข่าวสาร และเป็นข่าวสารที่ให้ข้อเท็จจริงที่มากพอเพียงสำหรับประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งมีโอกาสในการสร้างข่าวสารและความรู้ ของตนขึ้นมาด้วย

บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ความเปลี่ยนแปลงของโลก เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกช่วงเวลา สถานการณ์ของสื่อมวลชนนั้นก็มีการเคลื่อนไหวตามกระแสการเปลี่ยนแปลง แต่พลวัตของการเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชนยังมีข้อจำกัดในการก้าวทันตามความเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคม เนื่องจากชุมชน มีคุณลักษณะเด่น คือ การอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว ลักษณะของความสัมพันธ์จึงเป็นความสัมพันธ์เชิงเดี่ยว มีความผูกพัน และมีระเบียบประเพณีความเชื่อ พิธีกรรมทางศาสนา คล้ายคลึงกัน

วิทยุชุมชน เป็นสื่อหนึ่งตามแนวทางการสื่อสารภาคประชาชน เพื่อต้องการให้สิทธิเสรีภาพทางการแสดงออกของประชาชนได้รับการเผยแพร่ระหว่างคนในชุมชนมากขึ้น แต่เนื่องจากสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ อาทิ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง ชุมชนจึงไม่อาจจะอาศัยช่องทางดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ สื่อวิทยุ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุย และพยายามนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างความเชื่อมโยง และสร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน หากแต่สถานการณ์ของการใช้และการจัดการสื่อนั้น มีความแตกต่างกันในเชิงโครงสร้างของความสัมพันธ์ในระดับชุมชน ด้วยเหตุที่ชุมชนมีความหลากหลายในแต่ละกลุ่ม สื่อวิทยุ ที่นำไปเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างชุมชน จึงมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของวัฒนธรรม

ผู้วิจัยเล็งเห็นศักยภาพที่หลากหลายของชุมชนในการจัดการสื่อภาคประชาชน จึงเลือกที่จะศึกษาและหาวิธีการในการจัดการความรู้วิทยุชุมชน เพื่อหาแนวทางที่เป็นไปได้ในการสร้างวิทยุชุมชนตามบริบทของสังคมไทย แต่เนื่องจากการบริหารจัดการความรู้ทางด้านสื่อชุมชน (Knowledge management in community communication) ปัจจุบันยังไม่ปรากฏเป็นหลักฐานมากนัก แม้ว่าการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านสื่อเพื่อชุมชน และงานวิจัยทางด้านวิทยุชุมชนจะมีอยู่มาก แต่การศึกษาโดยนำเอาการบริหารจัดการความรู้มาเป็นแนวทางในการสร้างชุมชนความรู้ด้วยสื่อวิทยุเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิทยุชุมชน ยังไม่มีเอกสารหลักฐานใดปรากฏ ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องอาศัยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องร่วมกับการบริหารจัดการความรู้ (Knowledge management) และเน้นการศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลกับชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ

วัยรุ่นปัจจุบันไม่ค่อยฟังวิทยุ
ปริมาณของสื่อและเนื้อหาที่ปรากฏในสื่อ ปัจจุบันมีมากขึ้น เมื่อมีการเชื่อมโยงการสื่อสารที่หลากหลายคุณลักษณะเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า สื่อผสม (Multimedia) และด้วยเหตุที่สื่ออินเตอร์เน็ตมีความเป็นอิสระสูง ทำให้ไม่มีการกรองคุณภาพของเนื้อหาสาร เนื้อหาสารโดยส่วนใหญ่เน้นการทำหน้าที่ให้ความบันเทิง 80% และให้ความรู้ 20%. จากการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการเรียนการสอนทางด้านการผลิตสื่อกระจายเสียง และการผลิตสื่อผสม พบว่า นิสิตในชั้นเรียนแต่ละรุ่นของภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 - 2550 ปรากฏว่า จำนวนนิสิตมากถึง 70% ของนิสิตในแต่ละภาคการศึกษา ไม่เคยเปิดรับฟังรายการวิทยุ อีก 20% ฟังรายการวิทยุที่เปิดเพลงไม่มีนักจัดรายการ และ 10% ฟังรายการวิทยุผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นรายการเพลงแต่มีนักจัดรายการวิทยุบอกเล่าวิถีชีวิตของคนในกรุงเทพฯ พฤติกรรมการเปิดรับฟังรายการวิทยุในกลุ่ม Generation Y (Young generation) ในต่างจังหวัดเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ภายหลังจากที่อินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาท เวลาที่เหลือในแต่ละวันเหล่าวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวจะใช้เวลาในร้านเกมส์ แชท หรือพูดคุยโทรศัพท์มือถือ หรือไปเดินช้อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า

การสื่อสารก็เช่นเดียวกัน ต้องมีระบบการนำเสนอโดยการสะท้อนเรื่องราวของชุมชนด้วยกันเอง เพื่อยังคงรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน และเข้าใจความหลากหลายของชาติพันธุ์ (Ethnic diversity) พร้อมเปิดใจต้อนรับความแปลกหน้าของคนต่างถิ่นในฐานะนักท่องเที่ยว มากกว่าการให้เข้ามาเป็นผู้ครอบครองทรัพยากรในชุมชนของตนเอง ในท้ายที่สุด ชุมชนอาจสูญเสียดินแดนและล่มสลายทางวัฒนธรรมได้

อาณาบริเวณของแต่ละบุคคลควรได้รับการจัดสรร โดยให้เข้าครอบครองได้เท่ากับความต้องการและสัดส่วนของสมาชิกภาพ ให้มีเขตพื้นที่ในการเลือกอยู่ เลือกอาศัย และเลือกที่จะบริโภคทรัพยากรที่มีอยู่ในอาณาบริเวณที่ตนได้รับสิทธิ ไม่ก้าวล้ำ รุกราน หรือล่วงเกินไปยังกลุ่มบุคคลหรือพื้นที่อื่นๆ พร้อมกันนั้นก็ควรมีการทบทวน ปรับปรุง เพื่อให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงในแต่ละช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป

ชุมชนควรเป็นตัวของตัวเอง มากกว่าการตามกระแส
ชุมชนควรมีการกำหนดวาระของชุมชนเองให้มีพลังอำนาจทางการสื่อสาร และสามารถกำหนดเนื้อหาเรื่องราวของชุมชนร่วมกัน มากกว่าการเล่นประเด็นตามวาระที่กำหนดโดยสื่อมวลชนส่วนกลาง ซึ่งบางครั้งเนื้อหาเหล่านั้นมิได้เกี่ยวข้องกัน ห่างไกลจากตัวชุมชน ทั้งยังสร้างความขัดแย้งทางความคิด ก่อให้เกิดการเลือกข้างของคนในชุมชนมากกว่า การสร้างความเชื่อมโยงในชุมชน อันเป็นการสร้างจิตใจที่ออกห่างจากการภักดีในชุมชน

เอเวอร์เรสต์ โรเจอร์ (Everest M. Rogers, 1996 p. 99) กล่าวว่า ทุกระบบสังคมจำต้องมีกำหนดการของตนเอง และถ้าหากเป็นการจัดลำดับปัญหาต่างๆ ที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ก็จะช่วยให้ตัดสินใจว่า สมควรที่จะเริ่มต้นทำสิ่งใดก่อน ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญมีความจำเป็นอย่างยิ่งทั้งต่อชุมชนและสังคม (Every social system must have an agenda if it is to prioritize the problems facing to so that it can decide where to start work. Such prioritization is necessary for a community and for a society.) ชุมชนต้องสร้างวาระของชุมชนให้ตระหนักถึงภัยและภาวะวิกฤติก่อนที่เหตุการณ์อันเลวร้ายจะก่อตัวแพร่กระจายไปทั้งชุมชน จนเป็นการแก้ไขที่สายเกินไป

กรณีที่น่าสนใจจากการเก็บข้อมูล
กรณีที่น่าสนใจจากการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การที่มีคนในชุมชนจำนวนหนึ่งสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการทำเส้นทางน้ำ (River model) เพื่อปล่อยให้น้ำที่กำลังท่วมไหลบ่ามาจากทางภาคเหนือผ่านเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนลงสู่ทะเลนั้น ให้มาถูกกักเก็บในบริเวณ 4 จังหวัดในภาคกลาง ได้แก่ สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และชัยนาท เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ โดยกล่าวอ้างว่า เพราะเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจสำคัญ. เมื่อมีความสงสัยเกิดขึ้น รายการ สามคนทนฟัง ประกอบด้วย อุรุพงษ์ โกศล และวันชัย ได้เริ่มต้นเสวนากันผ่านรายการออกอากาศ จากนั้นทำการศึกษาโดยอาศัยเทคโนโลยี คือ การหาข้อมูลแผนที่ผ่านโปรแกรม Point Asia เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินของน้ำ ดังที่กล่าวมาข้างต้น

จากวิทยุชุมชน ถึงวิทยุหมู่บ้าน และปัญหาชุมชนท้องถิ่น
สถานีวิทยุชุมชน อาจจะมีการเรียกชื่อต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความพร้อมของชุมชน ความต้องการในการสร้างชื่อที่แตกต่างกันไประหว่างชุมชน เช่น ชื่อ วิทยุหมู่บ้าน นอกจากนี้ควรจะมีการเชื่อมโยงสัญญาณ ในการออกอากาศรายการในช่วงเวลาเดียวกันให้มีการสื่อสารเรื่องราวระหว่างชุมชนในจังหวัดเดียวกัน

การสร้างความหมายของวิทยุชุมชน ไม่มีกรอบอธิบายว่าจะต้องมีความอยู่รอดที่ไม่อาจจะสร้างรายได้เท่านั้น ควรมีกฏหมายชุมชน หมายถึง การสร้างเนื้อหาของกฏหมายในการปกครองท้องถิ่นและชุมชน ปกป้องชุมชนให้ปลอดภัยจากการรุกรานจากคนภายนอก ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องสร้างเกาะป้องกันการรุกรานของภัยอันตรายของสิ่งแวดล้อมที่หาทางออกไม่ได้ เพราะนอกจากชุมชนจะเรียนรู้วิธีป้องกันการสูญเสียทรัพยากรของตนเองได้มากกว่าเรื่องอื่นๆ แล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแนวทางของการเรียนรู้ภายในชุมชนเองอย่างปลอดภัย

การสร้างแบรนด์ของตนเอง (Brand communication) ด้วยการค้นหาอัตลักษณ์ (Identity) เฉพาะตัวที่แน่นอน มีการกำหนดวาระข่าวสารของชุมชนเอง นำเสนอเนื้อหาในชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนปัจจัยในชุมชนเองโดยไม่กำหนดรูปแบบของการสื่อสารที่เหมือนกับการนำเสนอเนื้อหาตามอย่างสื่อสารมวลชนทั่วไป อันทำให้วิทยุชุมชนได้เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่งที่ทำให้สื่อทั่วไปภายนอก หันมาสนใจ และขอข้อมูล

วิทยุชุมชน ณ วันนี้ ภายหลังการประกาศในราชกิจจานุเบกษา (26 กุมภาพันธ์ 2551) แล้ว ต้องปรับตัวเองในฐานะสื่อที่ทำหน้าที่สื่อภายในชุมชน ทำรายการให้น่าสนใจ และให้ผู้คนในชุมชนเปิดรับฟังกัน จัดรายการกันเอง โดยมีเนื้อหาเป็นของตนเอง ในที่สุดก็ทำหน้าที่เป็นสถานีวิทยุซึ่งสร้างสรรค์ชุมชนของตนเองให้น่าอยู่อย่างที่ได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น

..............................ภาคผนวก..............................

วิทยุชุมชน คือ วิทยุ รายการวิทยุ และจินตนาการทางความคิดที่ก้าวไกลของคน ในกลุ่มชนเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกัน ภาษาเดียวกัน สนใจในเรื่องเดียวกัน และเข้าใจกัน
กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนที่สุด คือ

1. ผู้ส่งสาร (Sender) คือ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น รับรู้เรื่องราวในสถานที่นั้น เข้าใจระบบวิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ รู้จักผู้คนตลอดจนความเป็นมาของผู้คนในบริเวณนั้น เข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นได้ มีทักษะในการพูดที่สามารถสื่อสารแล้วสร้างความเข้าใจทางภาษาได้อย่างดี มีประสบการณ์ในศิลปวัฒนธรรมชุมชน รวมถึงการฟังเพลงหรือเลือกเพลงที่ใช้ประกอบรายการได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังเข้าใจกลุ่มคนฟัง รู้จักที่จะเลือกจัดรายการ เปิดเพลงตามความสนใจของคนฟัง รวมทั้งต้องมีวิธีการที่จะเรียนรู้แนวทางการพัฒนารายการ เทคนิคการใช้เสียง เทคนิคการควบคุมเครื่องมือในการจัดรายการ หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อหาเนื้อหาแปลกใหม่ๆ มาออกอากาศเป็นความรู้ หรือนำเรื่องราวจากภายนอกเพิ่มเติมกระบวนทัศน์ ความคิด และสร้างความเข้าใจสู่คนฟังรายการได้

2. ผู้รับสาร (Receiver) อยู่ในบริเวณพื้นที่ซึ่งสามารถเปิดรับฟังคลื่นวิทยุชุมชนได้ สนใจในเรื่องราวทั้งภายในชุมชน และภายนอกชุมชน พร้อมที่จะแสดงความคิดเห็น และได้รับการกระตุ้นจากผู้ส่งสารให้สามารถเรียนรู้จนเกิดแนวคิดที่มีประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตอยู่ได้ในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และชุมชนของตนเองได้อย่างสันติสุข

3. ช่างเทคนิค (Technician) เป็นตัวจักรสำคัญที่ไม่ใช่เพียงผู้ทำหน้าที่ในการควบคุมเครื่องเสียง หรือเปิดปิดอุปกรณ์ภายในสถานีวิทยุเท่านั้น หากแต่ควรจะต้องใฝ่หาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร สนใจการเปลี่ยนแปลงทางการสื่อสารและพัฒนาเครื่องมือ ซ่อมบำรุงเครื่องมือ จัดวางระบบอุปกรณ์ จัดระเบียบห้องออกอากาศให้น่าอยู่ สะอาด เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อสุขภาพของผู้จัดรายการและผู้มาเยือน สามารถพัฒนาอุปกรณ์ให้เชื่อมโยงรายการสด รายการที่อยูในเวทีบรรยายวิชาการของสถาบันการศึกษา หรือการส่งสัญญาณออกสู่ระบบการสื่อสารโลกผ่านทางเครือข่ายเนตเวอร์ก (Networking system)

4. เนื้อหารายการ (Content) ชุมชนต้องมีจุดยืนและซื่อสัตย์ในการสร้างรายการเพื่อให้เกิด Robust consumer หรือผู้บริโภคที่เข้มข้นทางความคิด โดยเฉพาะความกล้าที่จะเปิดรับเรื่องราวจากนานาประเทศ ไม่คล้อยตามสื่อในประเทศ กล้าวิเคราะห์ สังเคราะห์มากกว่าเชื่อความคิดด้านใดด้านหนึ่งในทันที ไม่นำเรื่องราวหรือหัวข้อสนทนามาบอกเล่าโดยไม่มีกระบวนการตรวจสอบเนื้อหาที่ดี มีความเป็นกลางอย่างที่สุด พร้อมระลึกถึงพลังของสื่อเสมอ รวมถึงอาศัยความพร้อมด้วยการสำรวจความต้องการ ในการรับฟังเนื้อหารายการแบบใดที่ทำให้ผู้คนในชุมชนได้ลืมตาอ้าปาก มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนได้ทันท่วงที หากมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ณ จุดใด คนที่อยู่ตรงจุดนั้นสามารถเป็น ผู้สื่อข่าว รายงานทางโทรศัพท์ หรือส่งข้อความแจ้งเข้ามายังรายการได้ทันท่วงที ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงวิทยุเท่านั้น แต่เป็นใครก็ได้ที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารแบบฉับพลัน

ทั้งผู้ส่งสาร ผู้รับสารและช่างเทคนิค ต้องมีกระบวนการในการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจระหว่างกันในรูปแบบการสนทนา (Dialogue)

ข้อเสนองานวิจัย โดยงานวิจัยครั้งต่อไปต้องส่งเสริมชุมชนที่มีความพร้อมและความตั้งใจในการเรียนรู้ พัฒนาตัวเอง 4 ขั้น ในระหว่างการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ได้แก่

ขั้นที่ 1 Good idea ทุกคนเสนอ แสดงความคิดเห็น และประเด็นของตนเองอย่างเป็นอิสระ โดยมีการควบคุมเวลาให้อยู่ในช่วงเวลาที่กำหนด ผู้ที่ทำหน้าที่ในกระบวนการจะส่งเสริมด้วยคำพูดว่า ดี ดีมาก ตอบรับ หรือพยักหน้า มีความตั้งใจในการฟัง บันทึกเสียง บันทึกวิดีโอและจดบันทึก

ขั้นที่ 2 Good practice เป็นเทคนิค วิธีการ ขั้นตอนดำเนินงาน หรือกระบวนการที่มีการประยุกต์จากกรณีศึกษาที่ดีที่สุด ในเรื่องของวิทยุชุมชนนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นสื่อวิทยุชุมชนด้วยกันก็ได้ แต่เป็นการแลกเปลี่ยนกรณีศึกษาที่น่าสนใจในด้านการกระตุ้นการเรียนรู้ในกลุ่มนับตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และผู้ได้รับการตอบสนอง หรืออาจจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เช่น การดูงาน หรือการเชิญมาบรรยาย

ขั้นที่ 3 Local best practice การเข้าไปทำความรู้จักกับกรณีศึกษาที่ดีที่สุดในชุมชนด้วยกัน เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงและค้นหาศักยภาพ อัตลักษณ์ของแต่ละชุมชน จนกลายเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ ภายใต้เทคโนโลยีอันทันสมัย และจะส่งเสริมพลังให้กับชุมชนในการเรียกร้องระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับประเทศ

ขั้นที่ 4 Industry best practice กรณีศึกษาที่ดีที่สุดในระดับอุตสาหกรรม เป็นการเข้าถึงกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมทางด้านทุน บุคลากร และเทคโนโลยี ในวันนี้ชุมชนอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ได้ และปิดกั้นการไหลบ่าของกระแสทุนนิยมไม่ได้เช่นเดียวกัน วิธีที่จะทำให้วิทยุชุมชนอยู่ได้อย่างยั่งยืน คือ การเปิดใจยอมรับ และกล้าตักเตือนกลุ่มทุนในฐานะกัลยาณมิตรให้เปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาคนในชุมชน อันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ ความซื่อสัตย์ในตราสินค้า ทั้งนี้การสื่อสารเป็นตัวจักรสำคัญ ขณะเดียวกันการขับเคลื่อนฐานความรู้โดยอาศัยสื่อวิทยุจะต้องเข้าถึงกลุ่มนี้ด้วยเช่นเดียวกัน หากภาคอุตสาหกรรมเข้าใจย่อมนำมาซึ่งการสนับสนุน และการส่งเสริมสิทธิในการสื่อสารด้วยเช่นเดียวกัน

บรรณานุกรม...............................................................................................

Brownell, Baker. (1950). the Human Community: Its Philosophy and Practice for the time of Crisis. New York: Harper & Row.

Dennis E. Poplin. (1979). Communities: a survey of theories and methods of research. New York: Macmillan Publishing.
Douglas Schuler. (1996). New Community Networks Wire for change. New York: AMC Press.

Elizabeth Haas Edershem. (2007). The Definitive Drucker. USA: McGraw Hill.

Fisher, D. (1982) The Right to Communicate: A Status Report, Reports and Papers on Mass Communication No. 94.
Paris: UNESCO.

Hirotaka Takeuchi and Ikujiro Nonaka. (2004). Hitotsubashi on Knowledge Management. Singapore John Wiley & Sons (Asia).
Howard Rheingold. (1993). The Virtual Community. UK: Addison - Wesley.

Ivan Illich. (1970). Deschooling Sociey. New York: Harper Colophon.

Jack Beatty. (1998). The world according to Peter Drucker. NY: The free press.
Jan Servaes, Thomas L. Jacobson, Shirley A. White. (1996) Participatory Communication for Social Change. London:
Sage Publications.
Jerry Mintz. (1994) The Handbook of Alternative Education. New York: Macmillan Publishing. Publishers.
Joseph R. Dominick. (1990). The Dynamics of Communication. New York:McGraw Hill Publishing.

Larry Spear. (1996). Reflections on Robert K. Greenleaf and servant and servant leaderships. Leadership & Organization Development Journal, 17(7), 33- 35.
Louie Tabing. (2002). How to do Community Radio: A Primer for Community Radio Operators. (United Nation Educational Scientific and Organization: Asia Pacific Bureau For Communication and Information.)

Miller J. (2001). From Radio Libres to Radio Prive'es: The Rapid Triumph of Commercial Networks in French Local Radio, Media, Culture and Society 14, 261 - 279.

Nisbet, Robert A. (1962) Community and Power: A study in the Ethics of Order and Freedom. New York: Oxford University Press.

Paul R. Gamble and John Blackwell. (2001). Knowledge Management A state of the art guide. USA: Kogan Page.
Peter F. Drucker. (1993). Post Capitalist Society. New York: HarperCollins.
Peter F. Drucker. (2005). The Essential Drucker. USA: Collins Business.
Peter Senge, A. Kleiner, C. Robert and the authors. (2001). The Dance of Change. 5th Edition, London: Nicholas Brealey Publishing.

Ray Eldon Hiebert and Sheilia Jean Gibbons. (1999). Exploring Mass media for a changing world. USA:
Lawrence Erlbaum Associates.
Robert W. McChesney. (2007). Communication Revolution. USA: The New Press, NY.

Stanley J. Baran and Dennis K. Davis. (2002). Mass Communication Theory; Foundations, Ferment, and Future. Canada: Wadswaorth Thomson

Thomas H. Davenport and Laurence Prusak. (1954). Working Knowledge. USA: Harvard Business School Press.
Trans. R. Hurley. Harmondsworth: Pelican Golding, P. and Harris R. (1997). Beyond Cultural Imperialism: Globalisation, Communication and the New International Order. London: Sage Publication.
Thongchai Winichakul, Report on Genealogy, Faculty of Liberal Art, Thammasat University 1992

William Ives, Ben Torrey and Cindy Gordon. (2000). Knowledge Sharing is a human behavior, Knowledge Management Classic and Contemporary Works, UK: MIT Press.

Ubonrat Siriuwasak. (2005). Media Reform going Backward?. A Genealogy of Media Reform in Thailand and its Discourses, Thai Broadcasting Journalists Association Friedrich Ebert Stiftung: S.P.N. Printing.

Website :

http://www.thaibja.org/download/ book01.zip. Retrieved June 1993
http://www.thaicivicnet.com/radio.html. Retrieved May 1992.
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/042/61.PDF Retrieved: 29 February 2008
http://www.bbc.org
http://www.kpfa.org/
http://www.prd.go.th
http://www.Thaiuradio.com
http://www.vttradio.com/
http://www.wort -fm.org

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ : Release date 05 February 2009 : Copyleft MNU.

สถานีวิทยุในซอกตึก เป็นสถานีวิทยุที่ถูกสร้างขึ้นด้วยการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ อาทิ การเปิดสถานีลูกข่ายในแต่ละจังหวัด เพื่อทำหน้าที่เป็นช่องทางการเชื่อมโยงการสื่อสาร เพื่อโปรโมตเพลง หรือเพื่อการประชาสัมพันธ์เพลง โดยจะมีสโลแกนเดียวกันทั้งประเทศ นั่นคือ พูดน้อยปล่อยเพลงเยอะ (Less Talk more Music) ลักษณะของรายการจะเปิดสปอต 10 นาทีต่อชั่วโมง และเปิดเพลง 50 นาที บางครั้งก็ใช้สโลแกน (50 minutes music long play, non stop music, no DJ) เป็นต้น สถานที่ตั้งของสถานีวิทยุจะอยู่ในบ้าน หรือในอาคารให้เช่า มีเครื่องควบคุม มีคอมพิวเตอร์และตั้งเสาอากาศบนดาดฟ้า เพื่อให้เสาที่สูงตามเกณฑ์ได้สูงกว่าเกณฑ์อย่างไม่ผิดหลักการวิทยุชุมชน ...

H