ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




06-02-2552 (1682)

ชุดความรู้เที่ยงคืน: ว่าด้วยวิทยุชุมชนในต่างประเทศ
หลากหลายอัตลักษณ์ของวิทยุชุมชน: ประสบการณ์ในต่างประเทศ
พินิตตา สุขโกศล : ผู้เรียบเรียง
ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความชิ้นนี้ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจากผู้เรียบเรียง
หัวเรื่อง: วิทยุชุมชน จุดเริ่มต้นและประสบการณ์จากต่างประเทศ

บทความเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยโครงเรื่องดังต่อดังนี้
- เบอร์กเลย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- จาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย
- แฮมเบอร์ก ประเทศเยอรมนี
- โบลีเวีย กลุ่มประเทศละตินอเมริกา
- ออสเตรเลีย จากวิทยุชนเผ่ากลายเป็นจุดยืนทางการเผยแพร่วัฒนธรรม
- วิทยุชนเผ่าในแคนาดาเหนือ ประเทศแคนาดา
- เมืองเคป ประเทศแอฟริกาใต้
- จากวิทยุโจรสลัด กลายเป็นต้นแบบวิทยุที่แตกต่างในประเทศฝรั่งเศส
- BBC กับการรับรองอย่างถูกต้องทางกฏหมายในประเทศอังกฤษ
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๘๒
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๐ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดความรู้เที่ยงคืน: ว่าด้วยวิทยุชุมชนในต่างประเทศ
หลากหลายอัตลักษณ์ของวิทยุชุมชน: ประสบการณ์ในต่างประเทศ
พินิตตา สุขโกศล : ผู้เรียบเรียง
ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทนำ
สื่อชุมชนเปรียบเสมือนตัวกลางทางสังคม-วัฒนธรรม (Community media as socio - cultural mediation) สื่อชุมชนเป็นเสมือนกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อน"จักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม" ขณะเดียวกันก็ไม่สูญเสียความสัมพันธ์สองด้านระหว่าง"องค์กรสื่อนานาประเทศ"และ"ประชาชนในท้องถิ่น" แต่มีการตั้งข้อสงสัยว่า อาจจะเกิดความขัดแย้งระหว่างกันอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัฒน์

การขับเคลื่อนดังกล่าวมีการชี้วัดด้วยตัวเลขของส่วนแบ่งทางการตลาด ความสามารถในการทำกำไรของการใช้สื่อในการเข้าถึงสาธารณะ และคุณค่าในเชิงสังคม (Social value). สื่อเพื่อชุมชนเกิดขึ้นเพื่อการตรวจสอบ เพื่อความต้องการในการปกครองตนเองให้ชัดเจนมากขึ้น และเพื่อเป็นการกระตุ้นการตื่นตัวในการต่อต้านสื่อข้ามชาติที่มีอยู่เพียงไม่กี่แห่งทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อการรณรงค์ต่อสู้การสร้างรูปแบบวัฒนธรรมเดียวกันได้มากขึ้น

สื่อชุมชนทำหน้าที่ในการนำเสนอเรื่องราวที่แตกต่างจากสื่อระหว่างประเทศ เช่น การเพิ่มขึ้นของเชื้อชาติ-เผ่าพันธุ์ พื้นฐานความเชื่อทางศาสนา ผู้ก่อการร้าย หรือการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้เกิดการปกป้อง ช่วยเหลือคนในชุมชนระหว่างที่มีการประชุม G8 และ WTO ที่เมืองต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ตรรกะทางวัฒนธรรมหรือทางเศรษฐศาสตร์ไม่ได้มีความเป็นสากลเสมอไป แต่แทนที่จะเป็นเช่นที่กล่าวมาข้างต้น "สื่อชุมชน"และ"สื่อสากล"ควรจะมีบทบาทในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน สร้างการเชื่อมโยงที่ดีต่อกัน และสร้างความรู้ที่กว้างไกลให้กับผู้คนในสังคม

หนังสือเรื่อง Community media: People, Places, and Communication Technologies เขียนโดย Kevin Howley (*) (2005) นักวิชาการทางด้านการสื่อสารและภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยเดอพาว (DePauw University) (**) ได้ทำการวิจัยทางด้านการสื่อสารเพื่อชุมชนจากแรงบันดาลใจเมื่อได้ฟังรายการวิทยุบนรถแท็กซี่ ขณะนั่งรถไปยังมหาวิทยาลัย และเมื่อได้ทำวิจัยเรื่องสื่อเพื่อชุมชน เขาได้สัมผัสกับคนในชุมชนมากขึ้น ยิ่งทำให้ฮาวเลย์ หลงรักในความน่ารักของคนในชุมชน และนั่นคือเสน่ห์ของสื่อเพื่อชุมชน คือ การแสดงความจริงใจกับคนรอบข้างแม้กระทั่งแขกผู้มาเยือน ไม่เพียงเท่านั้น การต้อนรับที่ดียังส่งผลต่อความประทับใจให้กับผู้ที่เข้าไปเยี่ยมเยือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานวิจัยเล่มนี้ ที่ทีมวิจัยรู้สึกประทับใจกับเสน่ห์ของชุมชนเช่นเดียวกัน

(*) Kevin Howley's research interests include critical-cultural analysis of community media, political economy of media industries, cultural politics, media history, and emerging technologies. His work has appeared in Television and New Media, Journal of Film and Video, International Journal of Cultural Studies, and Ecumene.

(**)DePauw University in Greencastle, Indiana, USA, is a private, national liberal arts college with an enrollment of approximately 2,400 students. The school has a Methodist heritage and was originally known as Indiana Asbury University. DePauw is a member of both the Great Lakes Colleges Association and the Southern Collegiate Athletic Conference. Since 1996, DePauw has been a partner with the Posse Foundation[2], which provides full tuition scholarships to student leaders awarded by the Posse Program.

ฮาวเลย์ (Howley) แสดงให้เห็นว่าสื่อเพื่อชุมชนนั้นได้สร้างโลกไร้สาย ที่สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวระหว่างกันเป็นลักษณะแบบ Wireless world หลายครั้งที่เราเริ่มเบื่อที่จะรับรู้เรื่องของโลกจากกลุ่มคนเพียงไม่กี่คนในโลกทุนนิยม แต่เราสามารถสร้างเรื่องราวของชุมชนเล็กๆ ให้คนในชุมชนเล็กๆ แสดงพลังและศักยภาพของเรื่องราวตัวเองได้จากการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเนื้อหาข่าวสาร หรือจากการได้พูดคุยระหว่างกันเอง จากนั้นก็เชื่อมโยงเรื่องราวไปยังชุมชนอื่น ด้วยระบบมัลติมีเดียทั้งภาพและเสียง ในระบบเครือข่าย

ในหนังสือเล่มนี้ยังแสดงให้เห็นว่า หลายสถานีวิทยุชุมชนของในแต่ละประเทศ ต่างก็เริ่มต้นจากการเป็นสถานีวิทยุที่ผิดกฏหมาย หรือ Illegal radio station ทั้งในสหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย อิตาลี เยอรมันนี แคนาดา และอินเดีย สถานีวิทยุที่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างระบบความคิดในการดำเนินงานสถานีวิทยุชุมชน คือ WPFA (*) ที่มีสถานีวิทยุแปซิฟิคกา (Pacifica Radio) (**)

(*) KPFA (94.1 FM) is a listener-funded progressive talk radio and music radio station located in Berkeley, California, broadcasting to the San Francisco Bay Area. KPFA airs public news, public affairs, talk, and music programming. The station was founded in 1949. The station staff managment, and the Pacifica Foundation, have been embroiled in various labor disputes over the years, in 1999, and recently in 2008 following the arrest arrest of one of its longtime producers at the station after a tresspassing complaint from management.

(**) Pacifica Radio is the oldest public radio network in the United States. It is a network of over 100 affiliated stations and five independently operated, non-commercial, listener-supported radio stations in the United States that is known for its liberal and progressive political orientation. Many other U.S. and Canadian community radio stations also carry Pacifica on program to program basis. The first public radio network in the United States; it is operated by the Pacifica Foundation, with national headquarters adjoining station KPFA in Berkeley, California. Programs like Democracy Now and Free Speech Radio News are some of its most popular productions.

The Pacifica Radio Archives, housed at station KPFK in Los Angeles, is the nation's oldest public radio archive, documenting more than five decades of grassroots political, cultural, and performing arts history. The archive includes original recordings of interviews with John Coltrane, James Baldwin, Lorraine Hansberry, and Langston Hughes, among many others.

เบอร์กเลย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
วิทยุแปซิฟิคกา (Pacifica Radio) ในชุมชนเล็กๆ ของเมืองเบริกเล่ย์ สหรัฐอเมริกา เป็นความพยายามที่จะสร้างการสื่อสารในระบบประชาธิปไตย รวมทั้งยังเป็นการบุกเบิกวิธีการสร้างวิทยุในรูปแบบใหม่ที่ท้าทายกระบวนการสื่อสารในประเทศสหรัฐฯ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังคงดำเนินงานตามหลักการเช่นเดิม คือ นำเสนอรูปแบบรายการข่าว ข้อมูลและรายการทางด้านวัฒนธรรม (News, Information and Cultural programing) โดยปราศจากการครอบงำทางด้านการค้า หรือการเป็นสถานีแสดงสินค้าของประเทศสหรัฐฯ นับเป็นปรากฏการณ์ทางนวัตกรรมที่สำคัญในการทำรายการวิทยุ อันเกิดจากการสนับสนุนรายการโดยกลุ่มคนฟัง ดังนั้นรายการจึงเป็นรายการข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน รายการสารคดีทางอากาศมากขึ้น และไม่เปิดเพลงเพื่อส่งเสริมให้กับค่ายเพลงเช่นที่ผ่านมา

ภายหลังจากสงครามเย็น (Cold war) ซึ่งเข้ามารบกวนเสรีภาพของประชาชนในบ้าน รวมทั้งยังรบกวนความสงบสุขของผู้คนในชุมชนและความมั่นคงต่างประเทศ มูลนิธิเคพีเอฟเอ จัดตั้งขึ้นเพื่อการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจและความสงบสุขรวมกันของคนทั้งโลก ต่อต้านระบบการค้าแบบยัดเยียดคนฟังในระบบอุตสาหกรรมทางการค้า และความเงียบตอบรับกับระบบการทหาร วิทยุแปซิฟิคกาจึงตั้งมั่นบนพันธสัญญาที่ว่า "Engage in any activity, creeds, and colors; to gather and disseminate information on the causes of conflict between any and all such groups" (Pacifica founder, 1946).

วิทยุแปซิฟิกา เป็นสถานีที่ทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรม ความเชื่อทางศาสนา และไม่แบ่งแยกผิวสี และเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มต่างๆ โดยมีคนที่ได้รับการฝึกทักษะมาอย่างดีในการผลิตสื่อ ในฐานะอาสาสมัครเข้ามาทำงานอย่างเข้มแข็งด้วยความตั้งใจทำหน้าที่ให้ความรู้กับผู้ฟัง เปิดประเด็นท้าทายความคิด-ความเชื่อของกลุ่มคนฟัง และเพื่อสนับสนุนการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ต่อสังคม

การเชื่อมโยงทางการเมือง ปรัชญา และวัฒนธรรมตามหลักการที่ Lewis Hill เลวิส ฮิลล์ (KPFA founder) (*) ตั้งปณิธานไว้ คือ การทำรายการที่ไม่มีใครเคยได้ฟังมาก่อนจากสถานีวิทยุทั่วไป และมากกว่านั้นรูปแบบรายการดังกล่าว จะช่วยกระตุ้นให้คนฟังสนับสนุนรายการด้วยการบอกรับเป็นสมาชิก (Subscription fees) เป็นลักษณะของการสร้างความสำเร็จในการทำให้ วิทยุชุมชน อยู่ได้ด้วยตัวเอง ท่ามกลางกระแสทุนนิยมและอุตสาหกรรมภิวัฒน์ของประเทศสหรัฐอเมริกา. เนื้อหาที่ปรากฏในการออกอากาศของสถานีวิทยุแปซิฟิคกาส่วนใหญ่เป็นความหลากหลายตามกระแสเหตุการณ์ หรือ Hot topics เช่น นิวเคลียร์ การช่วยเหลือผู้ที่เข้าไปร่วมรบในสงคราม และการแบ่งปันเงินช่วยเหลือที่ได้รับตามสัดส่วนของการบริจาค

(*)Lewis Hill (May 1, 1919-1957) was a co-founder of Pacifica Radio, the first listener-supported radio station in the United States. He was born in Kansas City, Kansas on May 1, 1919. While studying at Stanford in 1937, his interest in Quakerism led him to a belief in pacifism. As a conscientious objector, Hill served in Civilian Public Service during World War II. In 1945, Hill resigned from his job as a Washington D.C. correspondent and moved to California, where he founded the Pacifica Foundation. He served as Pacifica's head until his suicide (during a period of failing health) in 1957.

จาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย
เมืองทางตะวันออกของจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย เกิดสถานีวิทยุ RSPM (Radio Suara Persaudaraan Matraman) โดยการจัดตั้งของ M. Satiri ช่างเทคนิคในเมืองเล็กๆ ด้วยการเก็บเงินจากผู้ฟังคนละ 1,000 รูปี หรือประมาณ 12 เซน และยังเชิญชวนให้ทุกคนเข้ามาเป็นอาสาสมัครนักจัดรายการวิทยุ เนื้อหาที่นำเสนอในรายการเน้นด้านการวิเคราะห์เกี่ยวกับชุมชน และการแก้ไขข้อขัดแย้งในท้องถิ่น การเจรจาเรื่องราวต่างๆ ในชุมชน สร้างชุมชนที่มีความสงบและมีสันติสุขจากการขัดแย้งกันมาโดยตลอด 30 ปี ภายใต้สโลแกนว่า "Peace music station" หรือ "สถานีเพลงเพื่อสันติ" ด้วยจุดยืนที่ดีของสถานีวิทยุในหมู่เกาะเล็กๆ ของอินโดนีเซีย เมื่อสิ้นยุคสมัยการปกครองของประธานาธิบดีซูฮาร์โต นโยบายด้านการสื่อสารของประเทศอินโดนีเซียก็ได้รับการปลดปล่อยและมีคุณค่ามากขึ้น แม้จะมีสื่อทางด้านพาณิชย์มากขึ้น แต่ก็มีจำนวนของนักสื่อกระจายเสียงที่ทำงานเพื่อชุมชนด้วยหัวใจเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

แฮมเบอร์ก ประเทศเยอรมนี
ประเทศเยอรมัน ภายหลังการปกครองโดยคนๆ เดียวมากำหนดชะตากรรมคนทั้งประเทศ ก็เริ่มสร้างกระแสเสรีภาพภายใต้การปกครองมากขึ้นด้วยการไม่ยินยอมให้อำนาจรัฐอยู่เหนืออำนาจของประชาชน และวิทยุชุมชนในประเทศเยอรมันเน้นการจัดน้ำหนักตาม Run Weight เชื่อในเรื่องระบบ Monopoly และ ไม่เกี่ยวกับการค้า 100% เชื่อในเรื่องของการจัดแบ่งประเภทสูง
เช่นเดียวกับสถานีวิทยุเพื่อเรียกร้องความเท่าเทียมกันทางเพศ กลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรี(Feminist groups) ทางตะวันตกของยุโรป นำเสนอการต่อต้านการห้ามทำแท้งและสิทธิทางด้านต่างๆ ของผู้หญิง ที่สื่อกระจายเสียงไม่เคยกล่าวถึงเลย สถานีวิทยุในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งในการสื่อสารเพื่อชุมชนทางด้านสิทธิสตรีระหว่าง คศ. 1970 เป็นต้นมา

ในขณะที่วิทยุในประเทศเยอรมนี สถานีวิทยุ St.Paula Radio ที่จัดตั้งขึ้นในปี 1991 มีการผลิตเนื้อหารายการกว่า 600 รายการซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้หญิง อาทิเช่น วัฒนธรรมของกลุ่มเลสเปี้ยน การเมืองท้องถิ่น กีฬา และเพลง ทั้งนี้จะมีการเชิญคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกอากาศ เรียนรู้ทางด้านเทคนิคต่างๆ หรือเข้ามาทำงานด้านธุรการ รวมทั้งประสานงานในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่. วิทยุเซนพอลล่า (St. Paula Radio) เป็นสถานีวิทยุเริ่มต้นจากกลุ่มผู้หญิง 20 คน จนกลายเป็นกลุ่มสมาชิก FSK (Freise Sender Kombinat) หรือวิทยุชุมชนเพื่อเสรีภาพในเมืองแฮมเบิรก ประเทศเยอรมนี โดยมีสมาชิกในกลุ่มได้แก่ Radio Loretta, Forum Radio, Stadtterilradio, Uniradio/AcademicHardcore และ St.Paula จนกลายเป็นพื้นที่สาธารณะของกลุ่มสตรี ท้ายที่สุด สถานีวิทยุแห่งนี้ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากกลุ่มคนฟัง

โบลีเวีย กลุ่มประเทศละตินอเมริกา
วิทยุชุมชนที่นี่ได้สร้างความคิดอัตลักษณ์ทางการเมืองให้แก่ท้องถิ่น ประเทศชาติตลอดจนในระดับสากล สถานีวิทยุโบลีเวีย ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างรูปแบบทางวัฒนธรรมในระดับรากหญ้า แม้จะถูกรุกรานทางวัฒนธรรมก็ตาม แต่ได้ให้อิทธิพลที่ดีต่อการอยู่ร่วมกันของ WACC หรือ World Association of Christian Communicators (*) อันเป็นกลุ่มคริสเตียนที่จัดตั้งสถานีวิทยุขึ้นมา เช่น วิทยุเอสเปอแรนซา ในเมืองโคแชมบามบา หรือวิทยุเพื่อความหวัง ออกอากาศในชุมชนของกลุ่มคิวชู (Quechua people) เหมือนกับวิทยุของคนที่ตั้งรกรากอยู่เดิม. วิทยุเอสเปอแรนซา เน้นเรื่องการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม การเป็นสื่อกลางทางสังคม เทคโนโลยี และเอนเอียงไปทางการส่งเสริมวัฒนธรรม รวมทั้งยังเป็นสื่อที่ให้การสนับสนุนความรู้ของคนในชุมชน โดยเฉพาะการให้ความรู้กับกลุ่มผู้หญิงในชุมชน

(*) WACC promotes communication for social change. It believes that communication is a basic human right that defines people's common humanity, strengthens cultures, enables participation, creates community and challenges tyranny and oppression. WACC's key concerns are media diversity, equal and affordable access to communication and knowledge, media and gender justice, and the relationship between communication and power. It tackles these through advocacy, education, training, and the creation and sharing of knowledge. WACC's worldwide membership works with faith-based and secular partners at grassroots, regional and global levels, giving preference to the needs of the poor, marginalised and dispossessed. Being WACC means 'taking sides'.

ออสเตรเลีย จากวิทยุชนเผ่ากลายเป็นจุดยืนทางการเผยแพร่วัฒนธรรม
วิทยุของคนที่ตั้งรกรากดั้งเดิม จัดเป็นการสร้างจุดยืนท่ามกลางสังคมอุตสาหกรรม ในประเทศออสเตรเลีย วิทยุชนเผ่าอะบอริจิน (Aboriginal Radio) ได้เผยแพร่สัญญาณผ่านดาวเทียม เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของชนเผ่าอะบอริจินในประเทศ รัฐบาลออสเตรเลียเป็นผู้สนับสนุนทั้งในด้านเทคนิคและงบประมาณ จากปัจจัยที่ได้รับการสนับสนุนที่ดีนี่เอง ทำให้มีกลุ่มคนฟังนับล้านคนทั่วประเทศทั้งในชนบทและในเมือง นับเป็นตัวอย่างของ Global meeting the local, of the past merging with the present (โลกาภิวัตน์ผสานท้องถิ่น อดีตสวมกอดกับปัจจุบัน) หรือความเป็นสากลเข้ากันได้ดีกับท้องถิ่น และสามารถรวมความเป็นอดีตให้เข้ากับความเป็นปัจจุบันได้อย่างดี ทุกวันนี้วิทยุชนเผ่าอะบอริจินมีอิทธิพลต่อการขยายวัฒนธรรมและลักษณะทางสังคมของประเทศออสเตรเลียอย่างกว้างขวาง

Australia Broadcasting Corporation: ABC
Australia Broadcasting Corporation มีสถานีเครือข่ายระดับชาติ 4 สถานี สถานีบริการระหว่างประเทศ 1 สถานี สถานีในเมืองหลวง 9 สถานี และสถานีระดับภูมิภาค 48 สถานี รวมทั้งมีสถานีเชิงพาณิชย์ 241 สถานี การอธิบายชุมชนตามพระราชบัญญัติบริการกระจายเสียง หรือ Australian Broadcasting Authority (ABA) เชื่อว่า ความกว้างไกลและเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับทางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมถึงการส่งเสริมให้มีความหลากหลายของบริการกระจายเสียงที่สามารถใช้ได้ในพื้นที่สาธารณะ การพัฒนาและสะท้อนตัวตน บุคลิกลักษณะและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของออสเตรเลีย ทั้งยังให้วัสดุอุปกรณ์ในการจัดรายการอยู่ในการดูแลของท้องถิ่นอย่างชัดเจน

วิทยุชนเผ่าในแคนาดาเหนือ ประเทศแคนาดา
วิทยุชนเผ่าในประเทศแคนาดา เป็นการพยายามที่จะทำให้การสื่อสารผ่านวิทยุกระจายเสียงเกิดในชุมชนของชาวแคนาดาทางตอนเหนือ และนำเอาสถานีวิทยุเคลื่อนที่ (Mobile radio station) หรือ Radio Kenomadiwin ไปสอนคนในพื้นที่เพื่อให้เรียนรู้วิธีการและเทคนิคในการจัดรายการวิทยุ และนับเป็นความพยายามในการพัฒนาพื้นที่ด้วยการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง จนกลายเป็นการรวมตัวกันระหว่างวิทยุแห่งชาติกับวิทยุสาธารณะระดับภูมิภาค ไม่เพียงเท่านั้นสถานีวิทยุการศึกษายังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวิทยุ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน ยึดหลักการ "Free the airwaves" อันเป็นการรากฐานของสื่อในระบบประชาธิปไตย

เมืองเคป ประเทศแอฟริกาใต้

อย่างที่กล่าวในข้างต้นว่า วิทยุชุมชน โดยส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากการเป็นวิทยุที่ผิดกฏหมายในแต่ละประเทศ. วิทยุบุช หรือ Bush Radio ตั้งอยู่ที่เมืองเคปในประเทศแอฟริกาใต้เช่นเดียวกันเป็นวิทยุที่เกิดเมื่อวันที่ 25 เมษายน 1993 ในประเทศแอฟริกาใต้ บางครั้งพวกเขาก็เรียกสถานีวิทยุแห่งนี้ว่า "วิทยุต้นแบบ" เพราะเป็นวิทยุที่คนซึ่งทำงานในสถานีถูกจับและถูกยึดอุปกรณ์การกระจายเสียง อย่างไรก็ตาม ความพยายามต่อสู้และเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพในการสื่อสาร ต่อมาได้รับการรับรองที่ถูกต้องตามกฏหมายเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1995 โดยวิธีการนำเสนอหลากหลายรูปแบบ มีการฝึกคนรุ่นใหม่ๆ ให้เป็นผู้สื่อข่าววิทยุและนักจัดรายการเพลงที่มีคุณภาพ เนื้อหารายการเป็นการนำเสนอเรื่องราวของความขัดแย้งระหว่างคนที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองคนในชุมชนกับพวกค้ายาเสพติด รายงานความคืบหน้าและแจกถุงยางอนามัย มีการต่อต้านการกระทำทารุณทางเพศในเด็กและเยาวชน และการควบคุมการค้าอาวุธเถื่อน โดยเรียกวิทยุนี้ว่า วิทยุคลื่นต่ำ (Low Power FM: LPFM)

จากวิทยุโจรสลัด กลายเป็นต้นแบบวิทยุที่แตกต่างในประเทศฝรั่งเศส
ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา เกิดวิทยุที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกตามระบอบประชาธิปไตยในประเทศฝรั่งเศส วิทยุเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่ออิเล็คทรอนิคเชิงวัฒนธรรม (Electronic cultural media) และสื่อของรัฐชาวยุโรป (European State). เจมส์ มิลเลอร์ (James Miller, 1992 p. 261) (*) นักวิชาการฝรั่งเศส ได้ทำการวิเคราะห์จุดเด่นของวิทยุในสมัยการปกครองแบบสังคมนิยมในฝรั่งเศสช่วงปี 1981 มีลักษณะเป็นวิทยุท้องถิ่นที่เรียกว่า radio locales เป็นวิทยุที่ไม่ได้รับการรับรองทางกฏหมาย หรือบางครั้งถูกเรียกว่าเป็นวิทยุโจรสลัด (Pirate broadcasters) จัดโดยกลุ่มเยาวชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มของตนเอง มีวิธีการจัดรายการและการนำเสนอเนื้อหาแตกต่างสถานีวิทยุที่มีในประเทศทั่วไป ในท้ายที่สุดรัฐบาลมิทเทอร์แรนด์ (Mitterrand government) ได้ให้ค่าบำรุงขวัญและกำลังใจกับคนงาน มีช่วงเวลาในการบริโภค และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดค่าใช้จ่าย เพื่อให้กลายเป็นสถานีวิทยุเพื่อการสร้างความมีส่วนร่วมของคนในชุมชนระดับรากหญ้า โดยเน้นการจัดรายการสด และกลายเป็นวิทยุเสรีภาพ (radio libres) อย่างเต็มตัว ปัจจุบันได้กลายเป็นสถานีวิทยุที่สามารถหารายได้ในลักษณะของวิทยุธุรกิจ แต่ตอบสนองต่อชุมชนตามรูปแบบอเมริกาเหนือ

(*)Miller J. "From Radio Libres to Radio Prive'es: The Rapid Triumph of Commercial Networks in French Local Radio", Media, Culture and Society 14:261 - 279.

BBC กับการรับรองอย่างถูกต้องทางกฏหมายในประเทศอังกฤษ
ในขณะที่ประเทศอังกฤษมีการออกบทบัญญัติทางด้านการสื่อสารเพื่อชุมชน จากความสำเร็จของการสร้างสถานีวิทยุโทรทัศน์ BBC (*) ด้วยความพยายามในการผลักดันของสมาคมสื่อเพื่อชุมชน หรือ Community Media Association (CMA) ทำให้เกิดนโยบายขานรับและในการสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารในระดับชุมชน มีการออก Community White Paper (UK 2000) สมุดปกขาว เพื่อกระตุ้นให้นักเคลื่อนไหวได้ช่วยกันพัฒนาและกำหนดกรอบการทำงานของสื่อกระจายเสียงในระดับชุมชน เช่น วิทยุ Me FM ประกาศว่า ตนเป็นวิทยุของกลุ่มอเบอร์ดิน ที่เป็นวิทยุแห่งแรกและหนึ่งเดียว (First and only) ของคนสองเชื้อชาติรวมกัน คือ เชื้อชาติแอฟริกันและคาริบเบียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความตึงเครียดความขัดแย้งทางชาติพันธุ์

(*) The original British Broadcasting Company was founded in 1922 by a group of telecommunications companies-Marconi, Radio Communication Company, Metropolitan-Vickers, General Electric, Western Electric, and British Thomson-Houston - to broadcast experimental radio services. The first transmission was on 14 November of that year, from station 2LO, located at Marconi House, London.

The Company, with John Reith as general manager, became the British Broadcasting Corporation in 1927 when it was granted a Royal Charter of incorporation and ceased to be privately owned. To represent its purpose and values, the Corporation adopted the coat of arms, incorporating the motto "Nation shall speak peace unto Nation".

Experimental television broadcasts were started in 1932 using an electromechanical 30 line system developed by John Logie Baird. The broadcasts became a regular service (known as the BBC Television Service) in 1936, alternating between a Baird mechanical 240 line system and the all electronic 405 line Marconi-EMI system.

คล้ายกับวิทยุฟิซา (Radio Fiza) (*) ของกลุ่มเอเซียใต้ในเมืองนอตติ้งแฮม (Nottingham) ดำเนินการโดย 2 กลุ่มมูลนิธิ คือกลุ่ม Asian Women's Project Ltd., และ Karimia Institute โดยการทำรายการสารคดีท้องถิ่นและข่าวในชุมชน รายงานกระแสเงิน การโทรศัพท์เข้าไปแสดงความคิดเห็นในรายการวิทยุ รวมทั้งการพูดถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม สลับกับการเปิดเพลง อ่านบทกวี และพูดคุยออกอากาศด้วยภาษาอูรดู (Urdu) ฮินดี (Hindi) เมอร์พูริ (Mirpuri) กูจาราติ (Gujarati) และภาษาอังกฤษ

(*) Radio Fiza was the sixth of the original pilot Access Radio stations in the United Kingdom which paved to way for the full launch of community radio stations in 2005. The Karimia Institute provided programming on Thursday, Friday and Saturdays between 0800-2300 hours and on Sunday between 0900-1200. The remaining programmings were provided by the Asian Women's Project who now broadcast as Faza FM. On 28 March 2006 the Karimia Institute moved their programming to 107.6FM and commenced broadcasts as 107.6 Dawn FM. This is due to the fact Karimia Institute lost the bid to keep Radio Faza. Asian Women's Project won the bid to keep Radio Fiza and now operate as Radio Faza. Karimia Institute ran a radio called Radio Ramazan, during the month of Ramadhan.

อย่างไรก็ตามอีกด้านหนึ่งของโลก เช่น ในประเทศอินเดีย All India Radio (AIR) (*) รวมตัวกันจนกลายเป็นวิทยุในเชิงพาณิชย์ ภายหลังจากที่มีการออกพระราชบัญญัติสื่อกระจายเสียง แต่ทั้งนี้มีรูปแบบรายการที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นรายการสารคดี รายการข่าวเชิงวิเคราะห์ การสัมภาษณ์สด หรือแม้กระทั่งการให้ผู้หญิงมาจัดรายการ นั่นหมายถึงเสียงของผู้หญิงในประเทศที่ผู้หญิงไม่ได้เป็นใหญ่ ได้รับการอนุญาติให้พูดในพื้นที่สาธารณะได้

(*)All India Radio (abbreviated as AIR), officially known as Akashvani (Devanagari) is the radio broadcaster of India and a division of Prasar Bharati (Broadcasting Corporation of India), an autonomous corporation of the Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. Established in 1936, [1], today, it is the sister service of Prasar Bharati's Doordarshan, the national television broadcaster.

The word Akashavani was coined by Professor Dr. M.V. Gopalaswamy for his radio station in Mysore during 1936. All India Radio is one of the largest radio networks in the world. The headquarters is at the Akashwani Bhavan, New Delhi. Akashwani Bhavan houses the drama section, the FM section and the National service. The Doordarshan Kendra (Delhi) is also located on the 6th floor of Akashvani Bhavan.

ปีเตอร์ เลวิส (Peter Lewis 1984: 148) ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การสื่อสารในระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น หรือในระดับชุมชนนั้น สะท้อนให้เห็นโลกความจริงภายใต้การเมืองและระบบเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในความร่วมมือของสื่อมวลชนด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่ในการส่งผ่านระบบวัฒนธรรม และจัดระเบียบโลกแห่งข้อมูลข่าวสารใหม่ (New World Information Order)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ : Release date 06 February 2009 : Copyleft MNU.

วิทยุแปซิฟิคกา (Pacifica Radio) ในชุมชนเล็กๆ ของเมืองเบริกเล่ย์ สหรัฐอเมริกา เป็นความพยายามที่จะสร้างการสื่อสารในระบบประชาธิปไตย รวมทั้งยังเป็นการบุกเบิกวิธีการสร้างวิทยุในรูปแบบใหม่ที่ท้าทายกระบวนการสื่อสารในประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังคงดำเนินงานตามหลักการเช่นเดิม คือ นำเสนอรูปแบบรายการข่าว ข้อมูลและรายการทางด้านวัฒนธรรม โดยปราศจากการครอบงำทางด้านการค้า หรือการเป็นสถานีแสดงสินค้าของประเทศสหรัฐฯ นับเป็นปรากฏการณ์ทางนวัตกรรมที่สำคัญในการทำรายการวิทยุ อันเกิดจากการสนับสนุนรายการโดยกลุ่มคนฟัง ดังนั้นรายการจึงเป็นรายการข่าวเชิงสืบสวน รายการสารคดีทางอากาศมากขึ้น และไม่เปิดเพลงเพื่อค่ายเพลง...

H