ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




27-12-2551 (1671)

กำเนิดเวทีสังคมโลก เวทีต่อต้านโลกาภิวัตน์ - ความร่วมมือระหว่างซีกโลกใต้
ปลุกปั้นแอทแทค (ATTAC): ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ (๑)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความแปลต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความเกี่ยวกับจุดกำเนิดขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ คือ
- จุดกำเนิดของขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่มหากปิชาดก: เรื่องของพญาวานรผู้พลีร่างเพื่อความรอดของบริวาร
- ข้อเสนอเรื่อง"แอทแทค"ในบทบรรณาธิการ
- ลงมือรณรงค์เกี่ยวกับภาษีโทบิน
- องค์กรระดับชาติของ"แอทแทค"ในฝรั่งเศส
- "แอแทค"ขยายตัวไปทั่วสหภาพยุโรป ยกเว้นอังกฤษ
- "แอทแทค": ขบวนการเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน
- แนวหน้าการต่อสู้ต้องมีความรู้ มีอาวุธทางปัญญา
- พื้นฐานทางสังคมของสมาชิกองค์กร คือชนชั้นกลางระดับล่างขึ้นไป
- เวทีสังคมโลก การร่วมกันของแอทแทค(ฝรั่งเศส) และพรรคพีที.(บราซิล)
- การประชุมดาโวส ซีกโลกเหนือ vs การประชุมปอร์ตูอาเลเกร ซีกโลกใต้
- เวทีสังคมโลก แค่ความเพ้อเจ้อของฝ่ายซ้าย ซีกโลกใต้
- เวทีสังคมโลก ซีกโลกใต้ต้องเป็นฝ่ายเขี่ยลูกก่อน
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๗๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กำเนิดเวทีสังคมโลก เวทีต่อต้านโลกาภิวัตน์ - ความร่วมมือระหว่างซีกโลกใต้
ปลุกปั้นแอทแทค (ATTAC): ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ (๑)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

A Movement of Movements
สัมภาษณ์ แบร์นาร์ด กัสซอง Bernard Cassen

ปลุกปั้นแอทแทค(Inventing ATTAC)
Interview Bernard Cassen, "Inventing ATTAC," in Tom Mertes (ed.),
A Movement of Movements, (Verso, 2004).

จุดกำเนิดของขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่
ถาม: อะไรคือจุดกำเนิดของขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างเข้มแข็งในฝรั่งเศส?

ตอบ: มันเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาพร้อมกับการก่อตั้งแอทแทค (ATTAC - องค์กรความร่วมมือของประชาชน) ซึ่งเป็นการริเริ่มของวารสาร Le Monde diplomatique ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1997 อิกนาซิโอ ราโมเนต์ (Ignacio Ramonet) ซึ่งทำหน้าที่บรรณาธิการวารสารรายเดือน เขียนบทบรรณาธิการในหัวข้อ 'ถอดเขี้ยวเล็บตลาด' ในบทความนี้ เขากล่าวถึงความเป็นเผด็จการของตลาดการเงิน และตบท้ายด้วยข้อเรียกร้องให้ช่วยกันสร้าง"องค์กรความร่วมมือของประชาชน"ที่เขาตั้งชื่อว่า ATTAC-Association pour la Taxe Tobin pour l'Aide aux Citoyens ผมเคยหารือเรื่องนี้กับเขามาก่อน หลังจากเพิ่งไปบรรยายอย่างยืดยาวที่ Parti Quebecois (1) เกี่ยวกับข้อเสนอของโทบิน (2) ที่ให้เก็บภาษีธุรกรรมทางการเงิน

(1) Parti Quebecois หรือ PQ คือพรรคการเมืองที่สนับสนุนให้รัฐควิเบกแยกตัวเป็นอิสระจากแคนาดา พรรคนี้มีนโยบายสนับสนุนแนวทางสังคม-ประชาธิปไตย สมาชิกและผู้สนับสนุนพรรค PQ มักถูกเรียกว่า Pequistes ซึ่งเป็นคำออกเสียงชื่อย่อของพรรคในภาษาฝรั่งเศส (ผู้แปล)

(2) ภาษีโทบิน (Tobin Tax) คือภาษีที่เสนอให้จัดเก็บจากการทำธุรกรรมวิเทศธนกิจทั้งหมด โดยมีจุดมุ่งหมายจำกัดการเก็งกำไรจากการลงทุนระยะสั้น อัตราภาษีที่เสนอค่อนข้างต่ำ เพียงแค่ 0.05-1%. ชื่อโทบินได้มาจากชื่อของนักเศรษฐศาสตร์ เจมส์ โทบิน (James Tobin) โทบินเสนอเรื่องภาษีนี้มาตั้งแต่รัฐบาลนิกสันดึงเงินดอลลาร์ออกจากระบบเบรตตันวู้ดส์ (ระบบมาตรฐานทองคำ) ใน ค.ศ. 1972 เพื่อเป็นมาตรการหนึ่งที่จะสร้างเสถียรภาพให้ระบบค่าเงินตราระหว่างประเทศ โดยนำเงินภาษีที่ได้ไปเป็นแหล่งเงินทุนของสหประชาชาติ ซึ่งจะทำให้สหประชาชาติเป็นสถาบันที่มีความอิสระในตัวเอง หรือไม่ก็นำเงินภาษีนี้ไปใช้ในด้านสวัสดิการสังคมของประเทศยากจน ศาสตราจารย์โทบินได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ใน ค.ศ. 1981

อิกนาซิโอ เขียนบทบรรณาธิการในช่วงสุดสัปดาห์และเอามาให้อ่านในวันจันทร์ รวมทั้งส่งเวียนไปให้พวกเราทุกคนด้วย ดังที่เรามักปฏิบัติกันอยู่เสมอที่ Le Monde diplomatique เมื่อผมเห็นชื่อย่อว่า ATTAC ผมคิดขึ้นมาในใจทันทีว่า 'โอ้โฮ เยี่ยมไปเลย' คนอื่น ๆ ที่เหลือในกองบรรณาธิการยังชั่งใจอยู่เล็กน้อย แต่ผมคิดว่ามันเป็นแรงบันดาลใจทีเดียว ผมถามอิกนาซิโอในภายหลังว่า เขาคิดคำว่า ATTAC ขึ้นมาได้อย่างไร? เขาบอกผมว่า เขานึกถึงหนังเรื่องหนึ่งของโรเบิร์ต อัลดริช (Robert Aldrich) เรื่อง Attack ดังนั้น เขาจึงคิดชื่อย่อออกมาก่อน แล้วค่อยคิดว่าชื่อย่อนั้น ย่อมาจากอะไร ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ข้อเสนอเรื่อง"แอทแทค"ในบทบรรณาธิการ
ข้อเรียกร้องนี้ถูกปล่อยออกไปเหมือนทิ้ง"ขวดที่มีจดหมายอยู่ข้างใน"ลงทะเล นึกไม่ออกเลยว่าจะมีปฏิกิริยาตอบกลับมาอย่างไรบ้าง? แต่ทันทีที่บทความเผยแพร่ ทั้งโทรศัพท์และจดหมายก็ไหลทะลักแทบท่วมสำนักงาน ผมไม่เคยเห็นบทความไหนก่อให้เกิดการตอบสนองขนาดนี้มาก่อน. โดยปรกติแล้ว บทความชิ้นหนึ่งในวารสารจะกระตุ้นให้มีจดหมายเข้ามาสักครึ่งโหล และในกรณีที่ไม่บ่อยนัก เมื่อประเด็นมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับเรื่องภาษาด้วย อย่างมากที่สุดก็จะมีจดหมายเข้ามาสัก 40 ฉบับ. แต่ครั้งนี้ กล่องรับจดหมายของเราเต็มแน่นวันแล้ววันเล่า เราถึงกับงงเป็นไก่ตาแตกทำอะไรไม่ถูก

เราโยนความคิดออกไป แต่ไม่เคยเฉลียวใจเลยว่า เรานี่แหละต้องเป็นคนปลุกปั้น"แอทแทค"ขึ้นมา ในวารสารฉบับต่อ ๆ มา เราคอยรายงานความคืบหน้าให้ผู้อ่านทราบเป็นระยะและบอกว่าเรากำลังติดต่อดำเนินการอยู่ ส่วนหนึ่งก็เพื่อซื้อเวลาด้วย แต่พอถึงเดือนมีนาคม 1998 แรงกดดันจากผู้อ่านมีมากจนเราตระหนักว่า ไม่มีทางบ่ายเบี่ยงอีกแล้ว ในเมื่อมีเสียงเรียกร้องเป็นวงกว้างขนาดนี้ เราก็ต้องแบกความรับผิดชอบในการก่อตั้งองค์กรความร่วมมือนี้ขึ้นมา เนื่องจากผมมีประสบการณ์ในการจัดตั้งองค์กรมาก่อน ผมจึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ดังกล่าว

ก้าวแรกของผมไม่ใช่การชักชวนปัจเจกบุคคล แต่ชักชวนองค์กรทั้งหลายที่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของเรา นี่เป็นการตัดสินใจทางยุทธศาสตร์โดยพื้นฐาน กล่าวคือ เราจะสร้าง"แอทแทค"ขึ้นมาจากโครงสร้างที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสหภาพแรงงาน, สมาคมของประชาชน, ขบวนการสังคม, หรือหนังสือพิมพ์, เรายังชักชวนองค์กรที่ไม่ได้มีปฏิกิริยาตอบกลับมาในตอนแรกด้วย อาทิเช่น "สันนิบาตชาวนา" ซึ่งผมมีความสัมพันธ์ที่ดีอยู่แล้ว รวมทั้งสหภาพอื่น ๆ อีก. ภายในหกสัปดาห์ของการประชุมครั้งแรกในเดือนมีนาคม องค์กรที่เกี่ยวข้องต่างเห็นพ้องต้องกันในเรื่องหลักการ, แผนการทางการเมือง, และการแต่งตั้งแกนนำชั่วคราว

การก่อตั้ง" แอทแทค"อย่างเป็นทางการ
แอทแทคก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1998 สมาชิกก่อตั้งส่วนใหญ่เป็น 'นิติบุคคล' กล่าวคือ องค์กรของหมู่คณะต่าง ๆ โดยมีบุคคลไม่กี่คน เช่น Rene Dumont, Manu Chao หรือ Gisele Halimi (3) เพิ่มเข้ามาเพื่อหวังผลทางสัญลักษณ์. ผมตื่นตะลึงที่องค์กรต่าง ๆ ตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วมอย่างรวดเร็วมาก รวมทั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงานที่ไม่ปัดข้อเสนอทิ้งเหมือนเคย แถมทุกฝ่ายยังปฏิบัติตามข้อผูกมัดทางการเงินที่ตามมาจากการเข้าร่วม ทำให้เราสามารถตั้งสำนักงานและจ้างเลขานุการดูแลได้

(3) Rene Dumont (1904-2001) นักเกษตรศาสตร์ นักสังคมวิทยา และนักการเมืองด้านสิ่งแวดล้อมชาวฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนเกษตรกรรมแบบยั่งยืน และเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำองค์การสหประชาชาติและ FAO

Manu Chao อดีตนักร้องนำวง Mano Negra วงดนตรีชื่อดังของฝรั่งเศส หลังจากวงดนตรีนี้สลายตัว Manu Chao ออกมาเป็นนักร้องเดี่ยวนอกระบบธุรกิจอุตสาหกรรมเพลง ออกเดินทางไปเล่นดนตรีทั่วละตินอเมริกา เขาร้องเพลงด้วยหลายภาษา ทั้งฝรั่งเศส, อังกฤษ, โปรตุเกส, และสเปน. มีอัลบั้มออกมาสองชุดคือ Clandestino (1998) และ Proxima Estation: Esperanza (Next Station: Hope) (2004) เป็นนักดนตรีที่สนับสนุนขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์, ซาปาติสตา และประชาธิปไตยรากหญ้า

Gisele Halimi นักกฎหมายและเฟมินิสต์ชาวฝรั่งเศส (ผู้แปล)

สื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจาก Le Monde diplomatique ก็มี Temoignage Chretien วารสารรายสัปดาห์ของโบสถ์คาทอลิก, Transversales, Charlie hebdo, Politis และหลังจากนั้นไม่นานก็มี Alternatives economiques ซึ่งเป็นวารสารรายเดือนค่อนไปทางสังคม-ประชาธิปไตยที่มีคุณภาพทีเดียว เพราะฉะนั้น มันจึงเปรียบเสมือนกระเบื้องโมเสคที่สร้างภาพรวมขึ้นมาจากกระเบื้องชิ้นเล็กชิ้นน้อยเข้าด้วยกันอย่างพิกลพอดู แต่แอทแทคไม่ได้เกิดขึ้นและไม่เคยดำเนินงานในแบบสหพันธ์องค์กร ถ้าเป็นเช่นนั้น มันคงจบเห่ไปแล้ว

ลงมือรณรงค์เกี่ยวกับภาษีโทบิน
ทันทีที่การก่อตั้งแอทแทคประกาศอย่างเป็นทางการใน Le Monde diplomatique ประชาชนทยอยมาเข้าร่วม พอถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1998 เมื่อเราจัดการสังสรรค์ระดับชาติครั้งแรกในลาซีออตา ใกล้กับเมืองมาร์เซยย์ เรามีสมาชิก 3,500 คน และจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอนับแต่นั้น. เรารับ 'นิติบุคคล' เป็นสมาชิก เช่น สหภาพแรงงาน สมาคม บริษัทหรือกลุ่ม และลงมือรณรงค์เกี่ยวกับภาษีโทบิน โดยยึดถือมันเป็นพื้นภูมิเชิงสัญลักษณ์เพื่อตั้งคำถามถึงกลไกการทำงานของตลาดการเงิน

เนื่องจากโทบินเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นที่นับหน้าถือตา เป็นนักเศรษฐศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาที่ได้รับรางวัลโนเบล ข้อเสนอของเขาจึงมีความชอบธรรมโดยอัตโนมัติในทันที พร้อมกับยิ่งเน้นให้เห็นถึงความฉ้อฉลของการถ่ายเทเงินทุนเพื่อการเก็งกำไรระดับโลกในทุกวันนี้ ดังนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ของการปลุกให้เกิดความตื่นตัว มันจึงเป็นอาวุธชั้นเลิศ. แต่แน่นอน เราไม่เคยคิดเลยว่า ภาษีโทบินเป็นหนทางแก้ไขเพียงหนึ่งเดียวต่อความเป็นเผด็จการของตลาดการเงิน มันเป็นแค่ประตูเบิกทางบานหนึ่งเพื่อบุกเข้าไปโจมตีดท่านั้น

องค์กรระดับชาติของ"แอทแทค"ในฝรั่งเศส
ปัจจุบัน องค์กรระดับชาติของแอทแทคมีสมาชิกประมาณ 30,000 ราย แต่นอกเหนือจากนี้ยังมีคณะกรรมการท้องถิ่นกว่า 200 ชุด ทั่วทั้งฝรั่งเศสอีกด้วย คณะกรรมการเหล่านี้กอปรขึ้นเป็นองค์กรนิติบุคคล เป็นแอทแทค-เปอีบัสเกอ, แอทแทค-ตูเรน, แอทแทค-มาร์เซยย์ ฯลฯ ต่างมีสถานะแยกออกไปเป็นเอกเทศ โดยมีกฎเกณฑ์แบบประชาธิปไตยที่เราตั้งเงื่อนไขเพื่อแลกกับการใช้ชื่อย่อของเรา องค์กรท้องถิ่นเหล่านี้ผุดขึ้นมาเองและไม่ค่อยมีระเบียบแบบแผนตายตัว องค์กรแห่งหนึ่งอาจมีสมาชิก 500 คน อีกแห่งอาจมีแค่ 50 คน แต่มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการแต่ละแห่งกับองค์กรระดับชาติ เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกัน

แกนนำระดับชาติ กล่าวคือ "คณะกรรมการบริหารของแอทแทค" จะวางกรอบแผนการทางการเมือง, การออกแถลงการณ์, ปลุกเร้าการรณรงค์ ฯลฯ แต่ถ้ามีการตัดสินใจจัดเดินขบวนประท้วงต่อต้าน WTO จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อคณะกรรมการท้องถิ่นเห็นด้วยเท่านั้น ในแง่นี้ คณะกรรมการท้องถิ่นคือกระดูกสันหลังขององค์กรทั้งหมด

อำนาจของ"แอทแทค"แบ่งออกเป็น 2 ขั้ว
ผลลัพธ์คือสภาพของอำนาจสองขั้ว คณะกรรมการท้องถิ่นเป็นอิสระจากเรา ต่างมีประธาน เลขานุการ เหรัญญิก ของตัวเอง ในทำนองเดียวกัน เราก็เป็นอิสระจากพวกเขา มันมีแรงเสียดทานที่ไม่หยุดนิ่งดำรงอยู่ระหว่างสองขั้ว ความใฝ่ฝันของคณะกรรมการบางชุดคือ การได้รวมตัวกันเป็นสหพันธ์ ในลักษณะที่คล้ายกับพรรคการเมืองหรือสหภาพแรงงาน

องค์ประกอบคณะกรรมการบริหาร"แอทแทค"ระดับชาติ
แม้ว่าผมไม่ได้คาดเดาอะไรไว้ล่วงหน้า อันที่จริง ผมไม่เคยนึกมาก่อนด้วยซ้ำว่า จะมีคณะกรรมการแบบนี้เกิดขึ้น แต่ผมก็เฉลียวใจว่าอาจมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้นตามมาได้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเสนอบทบัญญัติระดับชาติที่ดูเผิน ๆ อาจเหมือนไม่มีความเป็นประชาธิปไตย แต่ในทัศนะของผมไม่ใช่อย่างนั้น. ในคณะกรรมการบริหารระดับชาติจะมีสมาชิก 30 คน โดย 18 คนได้รับเลือกตั้งจากผู้ก่อตั้งแอทแทค 70 ราย ส่วนอีก 12 คน ให้สมาชิกทั้ง 30,000 คน เลือกตั้งขึ้นมา เหตุผลเบื้องหลังโครงสร้างแบบนี้ก็คือ สมาชิกผู้ก่อตั้งเองก็มีความแตกต่างหลากหลายมาก มีทั้งสันนิบาตชาวนา, สหภาพแรงงานข้าราชการ, ขบวนการสังคม อย่างเช่น Droits Devant! หรือขบวนการผู้ว่างงาน ไม่มีขบวนการบนท้องถนนไหนเลยที่ไม่ได้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของแอทแทค เราพิจารณาดูแล้วว่า ถ้ากลุ่มพลังทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันในแนวทางปฏิบัติและการนำ มันจะช่วยทำให้เกิดการถ่วงดุลและเสถียรภาพแก่แอทแทค ซึ่งจะสร้างขึ้นเป็นกรอบใหญ่ที่เอื้อให้ขบวนการเล็ก ๆ ในระดับภูมิภาคได้เติบโตอย่างอิสระ

การแทรกซึมของกลุ่มการเมือง
ในระดับท้องถิ่น คุณอาจพบเจอกับปรากฏการณ์ของ 'การแทรกซึม' กล่าวคือ มีกลุ่มการเมืองจัดตั้งหาทางเข้ามาเป็นคณะกรรมการท้องถิ่นเพื่อพยายามยึดองค์กรไป จนถึงบัดนี้ พวกเขายังล้มเหลวตลอดมา แต่การที่เรามีโครงสร้างระดับชาติแบบนี้ จึงป้องกันการยึดอำนาจได้ มันเป็นด่านป้องกันการโจมตี มันสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องแสดงให้เห็นชัดเจนตั้งแต่ต้นมือเลยว่า ยุทธวิธีแบบนั้นมันใช้ไม่ได้ผล. ดังนั้น พฤศจิกายนปีที่แล้ว เราจึงเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ สมาชิกผู้ก่อตั้งเลือกตัวบุคคลขึ้นมา 18 คน เป็นรายชื่อตายตัวที่สมาชิกแต่ละคนลงคะแนนเสียงได้แค่ "รับ" หรือ "ไม่รับ". ส่วนอีก 12 คน เลือกขึ้นมาโดยสมาชิกทั้งหมด โดยลงคะแนนเสียงเลือกใครก็ได้ตามต้องการ

"แอแทค"ขยายตัวไปทั่วสหภาพยุโรป ยกเว้นอังกฤษ
นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ. 1998 แอทแทคไม่เพียงเติบโตอย่างน่าทึ่งในฝรั่งเศส แต่ยังขยายตัวออกไปนอกประเทศอย่างเป็นไปเองด้วย ถึงวันนี้ มีแอทแทคอยู่ในทุกประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป รวมจนถึงบางประเทศที่จะเข้าร่วมกับอียูในปี ค.ศ. 2004 เช่น โปแลนด์ ฮังการี ความเติบโตของแอทแทคค่อนข้างเข้มแข็งเป็นพิเศษในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นเรื่องที่เราประหลาดใจอย่างยิ่ง เนื่องจากกลุ่มประเทศในโซนนี้ มีจารีตทางด้านการค้าเสรีที่เข้มแข็ง แต่แอทแทคสามารถขยายตัวออกไปทั่วทั้งเดนมาร์ก, สวีเดน, นอร์เวย์และฟินแลนด์ ในเยอรมนี แอทแทคมีสมาชิกประมาณ 10,000 คน และในอิตาลี แอทแทคตั้งอยู่ในใจกลางของขบวนการ 'ไม่เอาโลกาภิวัตน์' ในปี ค.ศ. 1999

เราเรียกประชุมแอทแทค-ยุโรปครั้งแรกในปารีส และผนึกกำลังกันเป็นเครือข่ายถาวรนับแต่นั้น อังกฤษเป็นข้อยกเว้นเพียงประเทศเดียว เพราะ พื้นที่ที่นั่นถูกครอบครองด้วยเอ็นจีโอที่แข็งแกร่งอย่าง Oxfam, Friends of the Earth และ War on Want กับอีกด้านหนึ่งคือกลุ่มซ้ายสุดที่มีบทบาทไม่น้อยอย่าง SWP ซึ่งเคลื่อนไหวผ่านทางกลุ่ม Globalize Resistance หากจะทำให้แอทแทคภาคอังกฤษเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ เราจำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือจากสหภาพแรงงาน และปัญญาชนที่อยู่นอกแวดวงดังกล่าวเสียก่อน. พ้นไปจากยุโรป มีแอทแทคผุดขึ้นมาแล้วในควิเบก-แคนาดา, ในแอฟริกา, ในประเทศละตินอเมริกาส่วนใหญ่, และในญี่ปุ่น และปีที่แล้วในเมืองปอร์ตูอาเลเกร. เราจัดการประชุมระดับโลกของแอทแทคจากภูมิภาคต่าง ๆ องค์กรเกือบทั้งหมดใช้โครงสร้างแบบเดียวกับต้นฉบับในฝรั่งเศส

"แอทแทค": ขบวนการเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน
ถาม: คุณนิยามเป้าหมายของแอทแทคอย่างไร?

ตอบ: ไม่กี่เดือนหลังจากเราก่อตั้งแอทแทคในฝรั่งเศส ผมเสนอสูตรอย่างหนึ่งที่ดูเหมือนมีการตอบรับที่ดี แอทแทคอิตาลีถึงกับกำหนดไว้ในบทบัญญัติของตนเลย นั่นคือ ผมนิยามแอทแทคเป็น 'ขบวนการเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน'

แนวความคิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนเป็นสิ่งที่มีมานานในฝรั่งเศส ย้อนกลับไปได้ถึงคริสตศตวรรษที่ 19. Ligue de l'Enseignement ก่อตั้งขึ้นมาในค.ศ. 1866 และมีองค์กรอื่น ๆ อีกมากมายผุดขึ้นตามมา ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 องค์กรเหล่านี้เกิดวิกฤตการณ์ทางเอกลักษณ์ แต่แนวคิดของมันยังคงมีพลัง ซึ่ง"แอทแทค"รับมาและปรับให้เข้ากับเงื่อนไขโลกาภิวัตน์ คำถามคือ มันมีความหมายอย่างไรในปัจจุบัน?

แนวหน้าการต่อสู้ต้องมีความรู้ มีอาวุธทางปัญญา
หัวใจสำคัญก็คือ แนวหน้าการต่อสู้ต้องมีความรู้ มีอาวุธทางปัญญาที่พร้อมสำหรับปฏิบัติการ เราไม่ต้องการให้ประชาชนออกมาร่วมขบวนประท้วงโดยไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าทำไม. ดังนั้น สมาชิกแอทแทคจึงไม่ใช่นักกิจกรรมในความหมายแบบฝรั่งเศส ซึ่งแตกต่างจากในภาษาอังกฤษ เพราะคำ ๆ นี้มีความหมายแฝงถึงปฏิบัติการเพื่อตัวปฏิบัติการนั้นเอง ส่วนภารกิจอันดับแรกของเรา --แม้ว่าไม่ใช่อันดับสุดท้าย-- คือให้การศึกษา หากคุณเปิดดูเว็บไซท์ของแอทแทควันไหนก็ได้ สิ่งที่คุณจะเห็นก็คือรายการประชุม สัมมนาและอภิปรายเป็นโหล เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติภาระหน้าที่นี้อย่างเหมาะสม เรามีคณะกรรมการวิชาการที่มีมาตรฐานสูงมาก ซึ่งทำหน้าที่ผลิตหรือตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือหรือใบปลิวที่แอทแทคแจกจ่ายออกไป นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้แอทแทคมีความน่าเชื่อถือสูงมากในแวดวงสื่อมวลชนและนักการเมือง

ถาม: ในสถาบันทางการเมืองล่ะ?

ตอบ: ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2001 ไม่นานก่อนการประชุม EcoFin (4) ในเมืองลีเอช, ฟาบิอูส์ (Fabius) ซึ่งตอนนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลฌอสแปง เชิญเราเข้าพบเกี่ยวกับเรื่องภาษีโทบิน เมื่อเราไปถึง มีเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสหกคนจากกระทรวงการคลังมารออยู่แล้วในห้องรับรอง ฟาบิอูส์กับพวกเขาเริ่มซักฟอกเราเกี่ยวกับภาษี ซักไซ้ไล่เลียงว่าจะนำหลักการนี้ไปใช้เก็บภาษีในทางปฏิบัติอย่างไร? และพูดเป็นนัย ๆ ว่าโดยทางเทคนิคแล้ว มันไม่มีทางทำได้ เราอธิบายว่านั่นไม่จริงเลย บอกว่ามีอย่างน้อยตั้งสามวิธีในการนำไปบังคับใช้ และวิธีหนึ่งที่ดีที่สุดคือ เก็บภาษีผ่านธนาคารกลางของยุโรป (ECB) ฟาบิอูส์กล่าวว่า เขาไม่มีอำนาจเหนือ ECB เรื่องนี้เรารู้อยู่แล้ว ผมจึงตอบว่า 'เราพร้อมที่จะเดินขบวนประท้วง ECB ที่ฟรังก์ฟูร์ตเพื่อสนับสนุนคุณ' เขาจึงเข้าใจแจ่มแจ้งเลยว่า พวกเรามีคำตอบเป็นอย่างดีต่อทุกคำถามที่เขาโยนใส่ แน่นอน โดยทั่วไป นักการเมืองฝรั่งเศสไม่รู้ประสีประสาเกี่ยวกับความเป็นจริงของโลกาภิวัตน์ สมาชิกแอทแทคหลายคนรู้เรื่อง WTO ดีกว่าสมาชิกในรัฐสภาเสียอีก

(4) การประชุมรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป (ผู้แปล)

ถาม: คุณมีคนทำหน้าที่เหมือนเครื่องส่งผ่านสัญญาณภายในพรรคการเมืองบ้างหรือเปล่า?

ตอบ: มีครับ มีทั้งในสมัชชาแห่งชาติและในวุฒิสภา รวมทั้งในรัฐสภายุโรปด้วย เรามีคณะกรรมการประสานงานของสมาชิกแอทแทค ประกอบด้วยตัวแทนจากพรรคฝ่ายซ้ายแต่ละพรรค ทั้งพรรคสังคมนิยม, พรรคคอมมิวนิสต์, พรรคกรีน, พรรคราดิกัล, พรรค Chevenementiste (5) เรามีผู้แทนจากฝ่ายขวาด้วยซ้ำ นั่นคือ โมรีซ เลอรัว จากแคว้นลัวร์-เอต์-แชร์ คนเหล่านี้บางคน แม้ไม่ใช่ทั้งหมด ถูกผู้นำขององค์กรต้นสังกัดของตนมองด้วยสายตาคลางแคลงไม่น้อยเหมือนกัน

(5) หมายถึงผู้สนับสนุนนักการเมืองฝรั่งเศสที่ชื่อ Jean-Pierre Chevenement เขา เคยเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยประธานาธิบดีฌอสแปง มีนโยบายที่ไม่เห็นด้วยกับการรวมตัวเป็นสหภาพยุโรป ต่อต้านนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และพยายามสร้างฐานเสียงจากขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ (ผู้แปล)


พื้นฐานทางสังคมของสมาชิกองค์กร คือชนชั้นกลางระดับล่างขึ้นไป
ถาม: คุณให้ภาพคร่าว ๆ เกี่ยวกับขนาดและลักษณะองค์กรของแอทแทคแล้ว ขอให้คุณบรรยายถึงพื้นฐานทางสังคมของสมาชิกองค์กรบ้าง?

ตอบ: นั่นเป็นคำถามที่ดี เราไม่มีข้อมูลที่แน่นอนเกี่ยวกับฐานะด้านสังคมวิทยาของแอทแทคในฝรั่งเศส อย่างมากที่สุด เรามีแค่การสำรวจความคิดเห็นและตัวอย่างอยู่บ้าง แต่ grosso modo (โดยประมาณ) คุณพูดได้ว่า เราเป็นสมาคมที่รวมตัวจากสมาชิกที่เป็นชนชั้นกลางระดับล่างขึ้นไป ส่วนใหญ่อยู่ในวงราชการ โดยมีสัดส่วนของนักศึกษาและครูไม่น้อย แต่ก็มีพนักงานลูกจ้างและผู้บริหารในภาคเอกชนบ้าง เรามีเกษตรกรและผู้ว่างงานแซมอยู่เล็กน้อยด้วย สมาชิกที่เรายังไม่มี --ซึ่งไม่ต่างจากองค์กรอื่น ๆ-- ก็คือสมาชิกรากหญ้าในชนชั้นแรงงานหรือภาคประชาชนในวงกว้างกว่านี้ นี่คือปัญหาใหญ่ที่แหลมคมในฝรั่งเศส ผมคิดว่าในอังกฤษก็เช่นเดียวกัน

ชนชั้นแรงงานมีวิกฤตการณ์ขั้นร้ายแรงในด้านการมีตัวแทนบนเวทีทางการเมือง ดังที่คุณเห็นได้จากจำนวนอดีตฐานเสียงของฝ่ายซ้าย ที่หันไปหย่อนบัตรเลือกตั้งให้เลอปัง (6) -- ถ้าหากพวกเขามีแก่ใจจะออกมาเลือกตั้ง เรามีอิทธิพลน้อยมากหรือไม่มีเลยต่อคนกลุ่มนี้ เรากำลังพยายามหาทางอยู่ โดยอาศัยองค์กรสมาชิกที่ทำงานโดยตรงกับปัญหาความเสียเปรียบทางสังคม เราจะได้สื่อสารถึงกลุ่มคนที่เป็นเหยื่ออันดับแรกของโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มันยังเป็นเรื่องยากมากที่จะอธิบายให้วัยรุ่นตกงานวัย 18 เข้าใจความเกี่ยวโยงทั้งหมดระหว่างสภาพอันเลวร้ายของตัวเขา กับบทบาทของ IMF หรือ WTO เราจำเป็นต้องหาทางพัฒนาหนทางในการสื่อสารออกไปให้ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่าย โดยไม่ให้สูญเสียต่อใจความสำคัญ ปัญหาก็คือทรัพยากรของเรา --บุคลากรที่เราจะใช้ให้เกิดประโยชน์-- ยังมีน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับแรงกดดันที่โถมทับเรา ซึ่งมีมหาศาลยิ่ง

(6) หมายถึง Jean-Marie Le Pen นักการเมืองชาตินิยมฝ่ายขวาชาวฝรั่งเศส มีนโยบายต่อต้านแรงงานอพยพจากต่างประเทศ และสนับสนุนให้ฝรั่งเศสถอนตัวหรือดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระมากขึ้นจากสหภาพยุโรป (ผู้แปล)

สมาชิกแอทแทค อายุต่ำกว่า 35 มีไม่เกิน 30%
ถาม: แล้วโครงสร้างอายุของฐานสมาชิกแอทแทคเป็นอย่างไร?

ตอบ: นั่นเป็นจุดอ่อนที่สองของเรา สมาชิกของแอทแทคไม่ค่อยมีความหลากหลายทางอายุ เรายังไม่มีตัวเลขที่แม่นยำ จะมีการสำรวจอย่างถี่ถ้วนใน ค.ศ. 2003 แต่ผมคาดว่า คนรุ่นหนุ่มสาว กล่าวคือ อายุต่ำกว่า 35 มีไม่มากกว่า 25-30% ของสมาชิกทั้งหมด แน่นอน พรรคการเมืองและสหภาพแรงงานก็มีปัญหาแบบเดียวกัน นั่นคือ ล้มเหลวในการดึงดูดคนรุ่นใหม่ คนชอบพูดกันว่า คนรุ่นใหม่ยอมไปแต่คอนเสิร์ตดนตรีร็อก แต่ความจริงซับซ้อนกว่านั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2000 ระหว่างการระดมพลังครั้งใหญ่ในเมืองมิลโยเพื่อสนับสนุนโยเซ่ โบเว่และสหายในสันนิบาตชาวนา ในการสัมมนาของแอทแทคว่าด้วยสถาบันทางการเงิน --ซึ่งไม่ใช่หัวข้อเย้ายวนใจที่สุดแน่ ๆ-- กลับมีคนมาร่วมงานถึง 3,000 คน ส่วนใหญ่อายุน้อยมาก

โดยหลักการแล้ว แอทแทคสามารถดึงดูดพลังเหล่านี้ คุณเห็นได้ในการเดินขบวนประท้วงเลอปังครั้งใหญ่ในเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว แต่วัฒนธรรมของคนหนุ่มสาวสมัยนี้ยากที่จะไล่ต้อนให้อยู่ในรูปของการจัดตั้งไม่ว่าแบบไหน คุณกำลังเห็นคนรุ่นหนึ่งที่ไปร่วมเดินขบวนประท้วงใหญ่ที่โน่นที่นี่ --เจนัว, บาร์เซโลนา, ฟลอเรนซ์-- โดยไม่ยอมผูกมัดกับการทำกิจกรรมวันต่อวัน มันเป็นลักษณะตีหัวเข้าบ้านทางการเมือง ในอีกด้านตรงกันข้าม คุณก็มีกลุ่มแกนกลางเล็ก ๆ ที่รู้เรื่องการเมืองแบบสุดยอด ซึ่งมักชี้นำการประท้วงบนท้องถนน เช่น ในเจนัวหรือฟลอเรนซ์ แต่คนรุ่นใหม่ที่มีสำนึกทางการเมืองไม่เคยเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาชั่วข้ามคืน เพราะฉะนั้น ต่อไปคงมีบางอย่างที่คงทนกว่านี้เกิดขึ้นมาจากส่วนผสมนี้กระมัง

จุดกำเนิดของวารสาร Le Monde diplomatique รากของ"แอทแทค"
ถาม: ขอย้อนกลับไปเล็กน้อย อยากให้คุณเล่าถึงจุดกำเนิดของวารสาร Le Monde diplomatique ซึ่งเป็นต้นตระกูลของแอทแทคอีกทีหนึ่ง?

ตอบ: วารสารก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ. 1954 เป็นภาคพิเศษรายเดือนของหนังสือพิมพ์ Le Monde โดยครอบคลุมเนื้อหาทางด้านกิจการระหว่างประเทศ ล่วงมาถึงปี ค.ศ. 1973 มีผู้อ่านราว 40,000 ราย ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาพร้อมกับมรณกรรมของบรรณาธิการในสมัยนั้น คือ ฟรังซัว อองติ ตรงจุดนี้เอง คล้อด ฌูเลียง อดีตหัวหน้าโต๊ะข่าวต่างประเทศของ Le Monde ซึ่งอยู่ในช่วงลาพักงานจากหนังสือพิมพ์ ได้รับตำแหน่งบรรณาธิการ Le Monde diplomatique แทน ฌูเลียงทำให้วารสารแตกต่างไปจากเดิมทันที โดยมีแนวทางต่อต้านจักรวรรดินิยม เสรีนิยมใหม่ และการแปรรูปอย่างถึงรากถึงโคน

ผมกับอิกนาซิโอ ราโมเนต์ เข้าร่วมกองบรรณาธิการตั้งแต่ตอนนั้น ฌูเลียงเป็นบรรณาธิการวารสารฉบับนี้ถึง 17 ปี จนเกษียณออกไปในปี ค.ศ. 1990 อิกนาซิโอเข้ามารับช่วงต่อ. ตลอดช่วงหลายสิบปีนั้น Le Monde diplomatique ไม่มีฐานะทางกฎหมายเป็นเอกเทศ มันเป็นแค่ภาคผนวกของหนังสือพิมพ์รายวัน แต่พอถึงช่วงทศวรรษ '90 เราไม่พอใจแค่นั้น และในปี 1995-96 เราก็แยกตัวออกไปเป็นผลสำเร็จ มีการก่อตั้งบริษัทใหม่ โดยผู้อ่านและกองบรรณาธิการวารสารถือหุ้น 49% --เป็นการระดมเงินก้อนใหญ่เพื่อช่วยเหลือเรา-- ส่วนอีก 51% เป็นหุ้นที่หนังสือพิมพ์รายวันยังถือต่อไป

ภายใต้กฎหมายฝรั่งเศส 33% ของหุ้นสามัญของบริษัทถือเป็นเสียงส่วนน้อยที่มีอำนาจสกัดขัดขวาง กล่าวคือ สามารถวีโต้การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัทหรือโครงสร้างของทุนได้ เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของเราคือสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้ความเป็นอิสระของวารสาร เพื่อไม่ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยที่เราไม่ได้เห็นพ้องด้วย. Le Monde diplomatique กลายเป็นวารสารที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มันมียอดจำหน่ายเฉลี่ยเดือนละ 225,000 ฉบับ เช่นเดียวกับแอทแทค แต่ในขนาดที่ใหญ่กว่ากันมาก วารสารขยายจากปรากฏการณ์ระดับชาติไปสู่ระดับนานาชาติ ปัจจุบันมีวารสารฉบับภาษาต่าง ๆ ถึง 23 ภาษาในต่างประเทศ ทั้งในยุโรป ละตินอเมริกา โลกอาหรับ เกาหลี ยังมีฉบับที่เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตอีกมากกว่า 20 ฉบับ โดยเฉพาะในภาษาญี่ปุ่น จีนและรัสเซีย เมื่อรวมฉบับต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว ยอดผู้อ่าน Le Monde diplomatique ทั่วโลกมีสูงถึง 1.5 ล้านคน เรามีผู้อ่านระดับโลกเลยทีเดียว

ถาม: ทัศนะที่แตกต่างกันทางการเมืองระหว่างรายวันกับรายเดือน กลายเป็นช่องว่างที่ถ่างกว้างขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมาใช่ไหม?

ตอบ: นั่นคือความจริงในหลาย ๆ แง่ ทุกวันนี้ ความสัมพันธ์ที่เรามีกับ Le Monde เป็นแค่เรื่องการบริหารงานล้วน ๆ หนังสือพิมพ์รายวันเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของรายเดือนและมีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการ แต่ไม่มีอำนาจแทรกแซงเนื้อหาที่เราตีพิมพ์ ซึ่งบางครั้งก็ไม่ค่อยสบอารมณ์ใครบางคนที่ Le Monde เหมือนกัน

ภายใต้กฎหมายฝรั่งเศส บรรณาธิการคือผู้รับผิดชอบเนื้อหาที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ในขณะเดียวกัน แม้ว่าสื่อมวลชนบางคนที่รายวันอาจไม่ชอบความถึงรากถึงโคนของรายเดือน แต่พวกเขาก็เคารพในความเป็นอิสระของเราอย่างแท้จริง รายวันยังได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากความสำเร็จของ Le Monde diplomatique อีกด้วย เนื่องจากเราจ่ายค่าธรรมเนียมให้รายวันถึงหนึ่งล้านฟรังก์ต่อปีเพื่อสิทธิในการใช้ชื่อหนังสือพิมพ์ เป็นการซื้อสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าที่ดำเนินมาถึง 25 ปีแล้ว อีกทั้งยังมีค่าการใช้บริการด้านเทคนิค ทั้งการพิมพ์ การทำบัญชี การจัดจำหน่าย ซึ่งเราซื้อจากรายวัน และแน่นอน มีเงินปันผลอีกด้วย

เพราะฉะนั้น แม้ว่าผู้ถือหุ้น Le Monde บางคนไม่สบอารมณ์กับ Le Monde diplomatique มาก และคงตั้งคำถามแน่ ๆ กับฌอง-มารี โกลงบานี บรรณาธิการรายวันและประธานของกลุ่มบริษัทที่รายวันควบคุมอยู่ ว่าทำไมเขาถึงยอมปล่อยให้รายเดือนได้ตีพิมพ์ต่อไป แต่แท้ที่จริงแล้ว มันเป็นผลประโยชน์ของ Le Monde ต่างหากที่ให้อิสระแก่กระบอกเสียงนี้ได้เจริญเติบโต แม้ว่าบางครั้งจะส่งเสียงที่ขัดแย้งกันก็ตาม

โกลงบานี ชอบพูดว่า: 'Le Monde diplomatique เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ของความคิดเห็นหนึ่ง ส่วน Le Monde เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ของหลายความคิดเห็น' การฉายภาพความเป็นพหุนิยมไม่ใช่แค่จุดยืนส่วนบุคคล แต่เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการเป็นสถาบัน เนื่องจาก Le Monde กำลังสร้างตัวเป็นกลุ่มบริษัทด้านสื่อมวลชนที่ต้องกระจายผลประโยชน์ออกไปในหลาย ๆ ด้านให้มากขึ้น

เวทีสังคมโลก การร่วมกันของแอทแทค(ฝรั่งเศส) และพรรคพีที.(บราซิล)
ถาม: คนทั่วไปมักคิดกันว่า เวทีสังคมโลกเป็นผลงานสร้างสรรค์ร่วมกันของแอทแทคในฝรั่งเศสและพรรค PT ในบราซิล(*) มันเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า?

(*)The Workers' Party (Partido dos Trabalhadores, PT) is a left-wing political party in Brazil. It is recognized as one of the most important leftist leadership movements of Latin America. It was officially founded by a group of intellectuals, artists and workers in February 10, 1980 at Colegio Sion (Sion High School) in Sao Paulo. Brazil's current president, Luiz Inacio Lula da Silva, was one of its founders, and is one of the most famous members of the party.

ตอบ: ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 เพื่อนชาวบราซิลสองคนมาเยี่ยมผมในปารีส คนหนึ่งคือโอเดด กรายิว เป็นอดีตผู้ประกอบการ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ ชีโก วีทาเกอร์ เป็นเลขานุการของคณะกรรมการความยุติธรรมและสันติภาพของสภาบิชอปแห่งบราซิล ทั้งสองเล่าว่า เพิ่งกลับมาจากดาโวสและถามขึ้นมาว่า 'ทำไม Le Monde diplomatique และแอทแทคไม่จัดการประชุมคู่ขนานกับการประชุมที่ดาโวสบ้าง?' ผมตอบว่า: 'เราเคยลองมาแล้ว จัดที่ดาโวส(*) เลยเชียวแหละ แต่ที่นั่นควบคุมการเข้าออกอย่างแน่นหนา ตำรวจสวิสส์ก็เอาเป็นเอาตาย ถ้าจะย้ายมาจัดการประชุมคู่ขนานดาโวสในฝรั่งเศส ก็ดูไม่ค่อยเข้าท่าเท่าไร'

(*) The World Economic Forum (WEF) is a Geneva-based non-profit foundation best known for its Annual Meeting in Davos, Switzerland which brings together top business leaders, international political leaders, selected intellectuals and journalists to discuss the most pressing issues facing the world including health and the environment. The Forum also organizes the "Annual Meeting of the New Champions" in China and a series of regional meetings throughout the year. In 2008 those regional meetings included Meetings on Europe and Central Asia, East Asia, the Russia CEO Roundtable, Africa, the Middle East, and the World Economic Forum on Latin America. In 2008 it launched the "Inaugural Summit on the Global Agenda" in Dubai, where 700 of the world's sector experts related to 68 global challenges identified by the Forum. The World Economic Forum was founded in 1971 by Klaus M. Schwab, a business professor in Switzerland.[1] Beyond meetings, the Forum produces a series of research reports and engages its members in sector specific initiatives.

การประชุมดาโวส ซีกโลกเหนือ vs การประชุมปอร์ตูอาเลเกร ซีกโลกใต้
แล้วจู่ ๆ ผมก็ฉุกคิดขึ้นมาและพูดว่า: 'เราต้องสร้างความแตกต่างทางสัญลักษณ์ขั้นแตกหักกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นดาโวส สิ่งนั้นต้องมาจากซีกโลกใต้ บราซิลมีเงื่อนไขพรั่งพร้อมในการทำเช่นนั้น ในฐานะประเทศโลกที่สามที่มีประชากรกระจุกตัวแออัดมหาศาลในเมืองใหญ่ มีประชากรชนบทที่แร้นแค้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีขบวนการสังคมที่ทรงพลังและฐานทางการเมืองที่เป็นมิตรในหลาย ๆ เมือง ทำไมเราไม่ลองจัดอะไรสักอย่างในเมืองปอร์ตูอาเลเกร (*) ดู ให้มันเป็นสัญลักษณ์ของทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่ลัทธิเสรีนิยมใหม่?'

(*) The World Social Forum (WSF) is an annual meeting held by members of the anti-globalization (using the term globalization in a doctrinal sense not a literal one) or alter-globalization movement to coordinate world campaigns, share and refine organizing strategies, and inform each other about movements from around the world and their issues. It tends to meet in January when its "great capitalist rival", the World Economic Forum is meeting in Davos, Switzerland. The date was chosen because of the logistical difficulty of organizing a mass protest in Davos and to try to overshadow the coverage of the World Economic Forum in the news media.

Originated by Oded Grajew, the first WSF was held from 25 January to 30 January 2001 in Porto Alegre, organized by many groups involved in the alternative globalization movement, (more recently known as the global justice movement) including the French Association for the Taxation of Financial Transactions for the Aid of Citizens (ATTAC). The WSF was sponsored, in part, by the Porto Alegre government, led by the Brazilian Worker's Party (PT). The town was experimenting with an innovative model for local government which combined the traditional representative institutions with the participation of open assemblies of the people. 12,000 people attended from around the world. At the time, Brasil was also in a moment of transformation that later would lead to the electoral victory of the PT candidate Luiz Inacio Lula da Silva.

สองปีก่อน ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับนโยบายจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม ของการบริหารเมืองภายใต้พรรค PT ผมจึงรู้ภูมิหลังที่นั่นเป็นอย่างดี จากนั้นผมก็เสริมต่อ --เ ป็นการพูดด้วยสัญชาติญาณแบบนักหนังสือพิมพ์ -- 'เราน่าจะเรียกมันว่า เวทีสังคมโลก (World Social Forum) เพื่อท้าทายต่อ เวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) และจัดงานในวันเดือนเดียวกันเลย'

ทั้งหมดเกิดขึ้นในเวลาแค่สามนาที เพื่อนผมพูดขึ้นว่า: 'คุณพูดถูก มาจัดงานในบราซิลกันเถอะ' ดังนั้น พวกเขาจึงติดต่อตาร์โซ เจนโร นายกเทศมนตรีของเมืองปอร์ตูอาเลเกร และโอลีเวียว ดูตรา ผู้ว่าการรัฐรีโอกรันเดดูซุล ในตอนนั้น รวมทั้งองค์กรทางสังคมต่าง ๆ ในเมืองเซาเปาลู เพื่อให้โครงการนี้เดินหน้า. ในเดือนพฤษภาคม ผมเดินทางไปสมทบกับพวกเขาในบราซิล เรายังต้องตัดสินใจว่า จะเปิดตัวโครงการนี้ต่อสาธารณะอย่างไรให้ดีที่สุด แอทแทคทำเรื่องนี้ฝ่ายเดียวไม่ได้แน่ แต่ในเดือนมิถุนายน มีการประชุมสุดยอดทางสังคมของสหประชาชาติในเมืองเจนีวา ซึ่งองค์กรเอกชนจำนวนมากมีกำหนดการไปร่วมงาน มันจึงเป็นโอกาสเหมาะอย่างยิ่ง. ด้วยประการนี้ ในการประชุมพิธีปิดงาน มิเกวล โรสเซตโต ซึ่งตอนนั้นเป็นรองผู้ว่าการรัฐรีโอกรันเดดูซุล จึงแถลงเชิญชวนให้ร่วมกันจัดเวทีสังคมโลก มีเสียงขานรับอย่างคึกคักมาก (ช่างบังเอิญที่ตาร์โซ, โอลิเวียว และมิเกวล ตอนนั้นเป็นสมาชิกอยู่ในรัฐบาลของลูล่า) หกเดือนต่อมา ราวกับปาฏิหาริย์ เวทีสังคมโลกก็ถือกำเนิดขึ้น

เวทีสังคมโลก แค่ความเพ้อเจ้อของฝ่ายซ้าย ซีกโลกใต้
ถาม: แผนที่ทางภูมิศาสตร์ของเวทีสังคมโลกครั้งแรกมีหน้าตาอย่างไร?

ตอบ: การจัดงานเวทีสังคมโลกในตอนแรกเป็นฝีมือดำเนินการของฝ่ายบราซิลเป็นหลัก โดยมีแอทแทค-ฝรั่งเศส คอยสนับสนุนอยู่ข้างหลัง. ถ้ามองในแง่ภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียว ขอบเขตของมันค่อนข้างจำกัด แต่ถ้ามองในแง่สื่อมวลชน ผลกระทบของมันนับว่ายิ่งใหญ่มาก ทั้งนี้เพราะมันจัดงานพร้อมกับการประชุมของชนชั้นนำระดับโลกในเมืองดาโวส แน่นอน ฝ่ายนั้นทึกทักว่าตนผูกขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิง และพยายามดูแคลนการประชุมที่ปอร์ตูอาเลเกรว่า เป็นแค่ความเพ้อเจ้อของฝ่ายซ้าย แต่เมื่อพวกเขาต้องยอมรับคำท้าให้โต้วาทีกันทางโทรทัศน์และพ่ายแพ้จนหมดรูป พวกเขาก็กลับลำเสียใหม่. ฌอสแปงส่งรัฐมนตรีช่วยสองคนมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น เนื่องจากมีชาวฝรั่งเศสมาร่วมงานกว่า 300 คน และในวันแรกหรือวันที่สองก็ยอมรับว่า มีเวทีสองเวที คือ"เวทีเศรษฐกิจโลก"และ"เวทีสังคมโลก" โดยมีสถานะเท่าเทียมกัน ดังนั้น ปอร์ตูอาเลเกรจึงประสบความสำเร็จอย่างล้มหลาม ในแง่ของการประชาสัมพันธ์ระดับนานาชาติ

เวทีสังคมโลก ซีกโลกใต้ต้องเป็นฝ่ายเขี่ยลูกก่อน
ในอีกด้านหนึ่ง ผมพูดมาตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่า เวทีสังคมโลกครั้งแรกควรนับเป็นหมายเลข 0 ของการจัดลำดับมากกว่า แล้วควรนับการจัดงานครั้งต่อมาว่าเป็นครั้งแรกที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะในการจัดงานครั้งแรก มีตัวแทนจากเอเชีย แอฟริกา และแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาน้อยเหลือเกิน โดยส่วนตัวผมเองนั้น ผมไม่ได้ทุ่มเทความพยายามเป็นพิเศษแต่อย่างใด ที่จะหาทางทำให้ชาวอเมริกันมาปรากฏตัวเป็นกลุ่มใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ขัดขวาง แต่เมื่อเอ็นจีโออเมริกัน ซึ่งได้รับแจ้งข่าวเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ทั่วโลก กลับมาร่วมงานเพียงแค่หยิบมือเดียว ผมก็ไม่ได้วิตกเช่นกัน

โลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่ชี้นำโดยอเมริกันอยู่แล้ว การต่อต้านโลกาภิวัตน์จึงไม่ควรปล่อยให้ชาวอเมริกันชี้นำอีก ดังนั้น ในทัศนะของผม มันมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างยิ่ง ที่เวทีสังคมโลกต้องเริ่มต้นโดยมีฝรั่งเศส-บราซิลเป็นแกนนำ แล้วจากนั้นก็ขยายแกนหลักครอบคลุมยุโรป-ละตินอเมริกาให้กว้างออกไป โดยต้อนรับชาวอเมริกันมาเข้าร่วมเมื่อเราปักหลักกันเรียบร้อยแล้ว มิฉะนั้น มีโอกาสเสี่ยงที่เอ็นจีโออเมริกันอาจเข้ามาครอบงำการดำเนินงานทันที

ทัศนะของฝ่ายอเมริกันอาจสรุปได้ด้วยคำพูดของ ปีเตอร์ มาร์คิวส์ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า เนื่องจากเวทีสังคมโลกไม่ใช่การริเริ่มของฝ่ายสหรัฐฯ กลุ่มของชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยจึงคิดว่า มันไม่น่ามีอะไรสลักสำคัญมากนัก ก็เลยไม่ยอมมาร่วมงาน แน่นอน พวกเขาคิดผิด พอครั้งต่อมา พวกเขาก็ยกโขยงกันมาเป็นกองทัพ แต่ถึงตอนนั้น โครงสร้างของเวทีสังคมโลกมีความแน่นหนามั่นคงแล้ว ถึงแม้ว่านักกิจกรรมต่อต้านโลกาภิวัตน์ส่วนใหญ่มาจากซีกโลกเหนือ ยุโรปตะวันตก และอเมริกา แต่ตามวัตถุประสงค์ของเรา มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ซีกโลกใต้ต้องเป็นฝ่ายเขี่ยลูกก่อน แล้วเราค่อยเปิดรับกองกำลังฝ่ายอเมริกันเข้ามาทีหลัง. เมื่อขบวนการมีศัพท์แสง แนวคิดและคำขวัญเป็นของตัวเอง และสามารถแสวงหาแรงสนับสนุนจากกองกำลังฝ่ายละตินอเมริกัน เพื่อสร้างโครงร่างที่มีแนวทางเดียวกัน แน่นอน ปัญหาของเราตอนก็คือ การขยายออกไปสู่แอฟริกา เอเชีย และยุโรปตะวันออก

ถาม: พรรค PT มีบทบาทในกระบวนการทั้งหมดอย่างไร?

ตอบ: ตอนแรก พรรค PT อึดอัดใจนิดหน่อยเกี่ยวกับเวทีสังคมโลก ทั้งนี้เพราะพรรคมีจารีตการบังคับบัญชาในแบบ 'แนวตั้ง' ทีเดียว มันกริ่งเกรงว่า การจัดงานเวทีสังคมโลกในเมืองปอร์ตูอาเลเกร ซึ่งไม่ได้อยู่ในความควบคุมของพรรค อาจกลายเป็นอาวุธให้ใครเอามาแว้งใช้ในทางร้ายต่อพรรคได้ ในการเดินทางไปบราซิลของผมครั้งหนึ่ง ลูล่าขอพบกับผม เรานัดเจอกันที่โรงแรมกลอเรียในเมืองรีโอ เขามากับผู้ช่วยมือขวา คือมาร์โก ออเรเลียว การ์เซีย (ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษานโยบายต่างประเทศของลูล่า) ซึ่งเป็นคนพูดคุยกับผมเสียส่วนใหญ่ แทนที่จะถกกันเกี่ยวกับเวทีสังคมโลกและความสัมพันธ์กับพรรค PT ผมชวนคุยเกี่ยวกับแอทแทคและความสัมพันธ์ที่มีกับพรรคการเมืองต่าง ๆ ในฝรั่งเศส เราต่างฝ่ายต่างก็รู้ว่ากำลังพูดเรื่องเดียวกัน ผมอธิบายว่า แอทแทคเป็นสมาคม ไม่ใช่พรรคการเมือง และคอยรักษาระยะห่างจากกลุ่มพลังจัดตั้งทางการเมืองเสมอ แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งตัวเป็นปฏิปักษ์ก็ตาม

เขาเข้าใจสารที่ผมสื่อ และวันต่อมา ผมได้รับแจ้งจากมาร์โก ออเรเลียว ว่า เขาสนับสนุนการจัดงานเวทีสังคมโลก กระนั้นก็ตาม พรรค PT ไม่เคยมีบทบาทสำคัญ --หรือบทบาทใด ๆ-- ในแกนนำของเวทีสังคมโลก ตรงกันข้าม คณะกรรมการฝ่ายบราซิลประกอบด้วยบุคคลที่ต่อต้านการแทรกแซงจากพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใด ๆ อย่างสิ้นเชิง แม้จะมีกรรมการบางคน ถ้าไม่ใช่ทั้งหมด เป็นสมาชิกของพรรค PT ก็ตาม. มีสองครั้งที่โอลีเวียว ดูตรา ในฐานะผู้ว่าการรัฐรีโอกรันเดดูซุล สั่งให้ผู้ช่วยคนหนึ่งของเขาโทรศัพท์ไปหาผมที่ปารีสเพื่อสอบถามว่า คณะกรรมการฝ่ายบราซิลดำเนินการไปถึงไหนแล้ว เพราะฉะนั้น พรรค PT จึงไม่มีส่วนกำหนด ไม่ว่าในด้านแนวคิดหรือเนื้อหาของเวทีสังคมโลก

ถาม: แต่การที่พรรค PT มีอำนาจในการบริหารรัฐรีโอกรันเดดูซุล และเมืองปอร์ตูอาเลเกร ย่อมถือเป็นความสำคัญทางกายภาพสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในการจัดงานเวทีสังคมโลก การที่พรรคนี้สูญเสียอำนาจในรัฐรีโอกรันเดดูซุลไปแล้ว ทำให้เวทีสังคมโลกตกอยู่ในภาวะง่อนแง่นหรือไม่?

ตอบ: มันยังเร็วเกินไปที่จะให้คำตอบเรื่องนี้ เรายังมีการสนับสนุนจากเทศบาลเมือง ซึ่งพรรค PT ยังครองอำนาจอยู่ ส่วนรีก็อตโต ผู้ว่าการรัฐคนใหม่ที่มาจากพรรค PMBD (*) กล่าวว่า เขาจะยังสนับสนุนเวทีสังคมโลกต่อไป เพียงแต่มันต้อง 'เปิดกว้างมากขึ้น' แน่นอน เรื่องที่จะเปลี่ยนแปลงเวทีสังคมโลกนั้นไม่ต้องมาพูดถึง เพราะฉะนั้น ในทางปฏิบัติ นี่ย่อมหมายความว่า เขาจะลดระดับการให้ความช่วยเหลือลงอย่างมากแน่ ๆ บางทีรัฐบาลกลางชุดใหม่อาจก้าวเข้ามาถมช่องว่าง แต่วิทยากรทุกคนในเวทีครั้งที่สามได้รับแจ้งแล้วว่า พวกเขาต้องออกค่าใช้จ่ายเอง มันคงจะลำบากขลุกขลักบ้าง แต่ตัวเวทีสังคมโลกเองไม่ถูกกระทบ รีก็อตโตตระหนักดีว่า บรรดาเจ้าของร้านค้า โรงแรม แท็กซี่ในเมืองปอร์ตูอาเลเกร --กล่าวคือภาคบริการทั้งหมด-- ได้รับผลประโยชน์มหาศาลจากการจัดงานเวทีสังคมโลก การขยับทำอะไรในเชิงต่อต้านย่อมเสียคะแนนนิยมในท้องถิ่นไปอักโข

(*) The Brazilian Democratic Movement Party (Partido do Movimento Democratico Brasileiro, PMDB) is the successor of the Brazilian Democratic Movement. It is largely a centrist leftist party, including a range of liberals as well as the former guerilla movement MR-8.

Under military rule from 1965 to 1979, Brazil had a legally enforced two party system, with supporters of the regime gathered under the National Renewal Alliance Party (ARENA) umbrella, and the official opposition making up the MDB. From 1979 onwards, a restricted number of parties were allowed, and the PMDB emerged. In 1985, party leader Tancredo Neves won the presidential election. He died at the beginning of his term, but his running mate Jose Sarney, also a member of the Brazilian Democratic Movement Party, became president, serving until 1990. He was the only president of Brazil to come from the party, and in recent presidential elections the party has not run presidential candidates, preferring to focus on congressional and gubernatorial elections.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกไปอ่านต่อเรื่องเดียวกันตอนที่ ๒)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ : Release date 27 December 2008 : Copyleft MNU.

บนหน้าจอโทรทัศน์ บนหน้าหนังสือพิมพ์และในสำนักพิมพ์ชั้นนำทั้งหลาย คุณจะเห็นหน้าเดิม ๆ ชื่อคุ้น ๆ อยู่ร่ำไป ไม่ว่าจะ Philippe Sollers, Bernard-Henri Levy, Andre Glucksmann, Alexandre Adler ยังไม่ต้องเอ่ยถึงกลุ่มทหารผ่านศึกยุคสงครามเย็นอย่าง Jean - Francois Revel แต่บรรดารวมดาราสื่อมวลชนกลุ่มนี้ล้วนแล้วแต่ขายความคิดให้สาธารณชนที่มีความรู้แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ คนกลุ่มนี้มีความน่าเชื่อถือน้อยมากในหมู่ปัญญาชนจริง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระบบการศึกษา คนพวกนี้ทำหน้าที่เหมือนมาเฟียที่ให้การสนับสนุนกันเอง ดังในหนังสือ นั่นคงพอทำให้คุณเห็นภาพว่า คนส่วนใหญ่มองพวกรวมดาวกลุ่มนี้อย่างไร มีคนเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า bas-clerge (นักเทศน์ชั้นต่ำ) ของชนชั้นปัญญาชนฝรั่งเศส.

H