1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
การพัฒนาสิทธิชนพื้นเมืองในองค์กรสหประชาชาติ
สิทธิชนพื้นเมือง:
ยุทธวิธีและผลกระทบต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
(๒)
รศ.สมชาย
ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
ชื่อเดิมของบทความ: การพัฒนาสิทธิชนพื้นเมืองในองค์กรสหประชาชาติ:
การกำหนดยุทธวิธีและผลกระทบที่มีต่อบรรทัดฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ
บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้
ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความนี้เรียบเรียงมาจาก
เรื่อง Advacing Indigenous Rights at the United Nations:
Strategic Framing and its Impact on the Normative Development of International
Law
เขียนโดย Rhiannon Morgan ใน Social Legal Studies 2004; 13;
The online version of this article can be found at: http:sls.sagepub.com/cgi/content/abstract/13/4/481
บทแปลและเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ
- การปรับเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง
- การกำหนดวีถีชีวิตตนเอง มิใช่สิทธิในการแบ่งแยกแดนดิน
- ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง
- การกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง ทัศนะทางวิชาการ
- การสร้างกรอบยุทธวิธีที่ผิดพลาด
- กลุ่มประเทศที่ยอมรับ และไม่ยอมรับการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง
- กรอบยุทธวิธีเรื่องสิ่งแวดล้อม : การทำให้สิทธิชนพื้นเมืองเป็นสีเขียว
- การขยายกรอบเรื่องสิ่งแวดล้อมอาจมีปัญหา: กรณีตัวอย่าง
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๖๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๙ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
การพัฒนาสิทธิชนพื้นเมืองในองค์กรสหประชาชาติ
สิทธิชนพื้นเมือง:
ยุทธวิธีและผลกระทบต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
(๒)
รศ.สมชาย
ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
(บทความนี้ต่อเนื่องจากบทความลำดับที่ ๑๖๖๑)
(2)
สันติสุขและความมั่นคง
: การกำหนดวิถีชีวิตตนเองในฐานะปัจจัยป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง
PEACE AND SECURITY: SELF-DETERMINATION AS A CONTRIBUTION
TO
CONFLICT PREVENTION AND RESOLUTION
การปรับเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดวิถีชีวิตของตนเอง
(self-determination):
สาระสำคัญของกรอบยุทธวิธี
เหตุผลที่ใช้สนับสนุนชนพื้นเมืองในเวทีระดับระหว่างประเทศไม่อาจจะสมบูรณ์ได้
ถ้าไม่มีการนำกรอบที่ว่าด้วยเรื่องสันติสุขและความมั่นคงเข้ามาพิจารณา กล่าวโดยสรุปก็คือ
เป็นเรื่องการพยายามปรับเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิในการกำหนดวีถีชีวิตตนเอง
จากการที่ถูกมองว่า "เป็นสิ่งที่น่ากลัวให้ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ดี"
ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า การพูดถึงสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมืองในการถกเถียงกันทางการเมืองและทางกฎหมายร่วมสมัย
ต้องเผชิญกับการคัดค้านบนพื้นฐานของความไม่ไว้วางใจ เนื่องจากมีการมองว่า สิทธิดังกล่าวคือ
"สิทธิในการแบ่งแยกแดนดิน" ทั้งนี้ สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองที่ถูกนิยามว่าคือการแบ่งแยกดินแดนถือเป็นการคุกคามความมั่นคงต่อรัฐ
และยังเป็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง, สร้างความขัดแย้งและความไม่มั่นคง
การกำหนดวีถีชีวิตตนเอง
มิใช่สิทธิในการแบ่งแยกแดนดิน
จากประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า ทุกครั้งที่มีการแบ่งแยกดินแดน ก็มักจะนำมาซึ่งสงครามและความขัดแย้ง
ดังนั้น ตัวแทนฝ่ายรัฐและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดบรรทัดฐานเรื่องสิทธิชนพื้นเมือง
จึงได้พิจารณาอย่างรอบคอบเป็นอย่างมาก ดังคำกล่าวของตัวแทนชนพื้นเมืองคนหนึ่งที่กล่าวว่า
"ครั้งแรกที่เราพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองนั้น
ข้าพเจ้าเห็นว่าพวกเขา (ผู้เชี่ยวชาญจาก WGIP) คิดว่าฟ้าจะกำลังจะถล่ม"
(Interview, 28 January 2003)
Tomuschat (1993) กล่าวว่า "การกำหนดสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง ที่รวมไปถึงสิทธิในการก่อตั้งรัฐอิสระเป็นประเด็นปัญหาใหญ่" เป็นที่แน่นอนว่า ด้วยข้อเท็จจริงข้อนี้เพียงข้อเดียวก็ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างสำคัญของชนพื้นเมือง ในการเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากมีการเชื่อมโยงประเด็นนี้ให้มีความหมายไปในทางลบ โดยเฉพาะที่มีต่อแต่ละรัฐ เช่น การที่ตัวแทนของโคลัมเบียกล่าวในที่ประชุม WGIP ครั้งที่ 9 ในปี ค.ศ. 1993 ว่า "เราเข้าใจปัญหาของท่าน แต่ประเทศจะไม่ฆ่าตัวเอง" (Brysk, 2000: 106)
ดังนั้น ภารกิจสำคัญอันหนึ่งของตัวแทนชนพื้นเมืองคือ หาวิธีจัดการกับวิธีคิดแบบที่พยายามโยงไปในทางเลวร้าย ซึ่งแนวทางที่ชนพื้นเมืองได้ทำประกอบด้วย
1. ด้วยการสร้างความชัดเจน เพื่อให้มีเกิดความเข้าใจความหมายของคำว่า การกำหนดวิถีชีวิตตนเองให้กว้างขึ้น
รวมถึงให้เข้าใจถึงผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดตามมา และ
2. ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศที่ว่าด้วยการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งที่จริงแล้ว กฎหมายนี้ไม่สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน ยกเว้นกรณีที่พิเศษเป็นอย่างมาก
สาเหตุที่การกำหนดวิถีชีวิตตนเองถูกอธิบายเชื่อมโยงถึงการแบ่งแยกดินแดน มีสาเหตุมาจากข้อเท็จจริงว่า ประชากรส่วนใหญ่ในโลกที่สาม ที่ได้ประโยชน์จากสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เลือกที่จะเป็นอิสระทางการเมืองโดยสิ้นเชิง (Lam, 1992: 609) ทว่าการเชื่อมโยงความหมายเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องสรุปว่ามาจากสาเหตุของการปลดปล่อยอาณานิคม ทั้งที่จริงแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศก็ยอมรับว่า สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองเป็นกระบวนการที่ไม่อาจคาดถึงผลลัพธ์ล่วงหน้าได้
มติที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ
1541 และ 2656: สิทธิในการแบ่งแยกดินแดน
ในที่มติที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ 1541 และ 2656 (General Assembly Resolutions
1541 and 2656) ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่าการตั้งรัฐอธิปไตย, การมีความเกี่ยวพันธ์กับรัฐอิสระอย่างเสรีและการรวมตัวกับรัฐอิสระ
ล้วนเป็นรูปแบบของการใช้สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนชาติต่างๆ (United
Nations, 1960b: Art. 29; United Nations, 1970: Art.1) นอกจากนี้ มติสหประชาชาติ
2656 ยังได้มีข้อกำหนดในการป้องกันการแบ่งแยกดินแดน และในความเป็นจริง กฎหมายนี้ได้ให้สิทธิในการแบ่งแยกดินแดน
ในกรณีที่ระบบการเมืองของประเทศนั้นมีลักษณะผูกขาดเฉพาะกลุ่มและขาดความเป็นประชาธิปไตย
จนไม่สามารถเป็นตัวแทนให้กับพลเมืองทั้งหมดของประเทศได้ (United Nations, 1970:
Art.1) ทั้งนี้มีตัวแทนชนพื้นเมือง ซึ่งหลายคนเป็นนักวิชาการด้านกฎหมายและนักกฎหมายอื่นๆ
ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความชัดเจนในข้อกฎหมายนี้ ด้วยการแถลงต่อที่ประชุม WGIP
และ WGDD หลายครั้งหลายหน ดังคำแถลงดังต่อไปนี้
สิทธิในการแบ่งแยกดินแดน เป็นสิทธิที่นิ่งสงบ ซึ่งจะถูกกระตุ้นขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีการลิดรอนสิทธิทางการเมืองอย่างที่สุด, ถูกเอาเปรียบอย่างโหดร้ายหรือถูกยึดครองทางด้านวัตถุ กล่าวอีกแง่มุมหนึ่งหมายถึง การมีส่วนร่วมทางการเมืองจะทำให้สิทธิดังกล่าวไม่ถูกปลุกกระตุ้นขึ้นมา
ประเทศที่ "ปฏิบัติตามหลักการที่ว่าด้วยสิทธิแห่งความเสมอภาค และหลักการการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของประชากร" จะทำให้ประเทศนั้นอยู่ห่างไกลจากปัญหาการแบ่งแยกดินแดน... สหรัฐอเมริกาไม่มีเหตุผลที่ยกประเด็นที่ว่าด้วยการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งเป็นประเด็นที่คลุมเครือและแทบไม่เกี่ยวข้องกันเลย ให้กลายเป็นกำแพงขวางกั้นสิทธิของชนพื้นเมืองในการที่จะกำหนดอนาคตตนเอง (National Congress of American Indians and Native American Rights Fund, Statement to the WGDD, 2002)
นอกจากตัวแทนชนพื้นเมืองจะได้พยายามสร้างความชัดเจนในเรื่องภาพรวมทางกฎหมาย เกี่ยวกับ"การกำหนดวิถีชีวิตตนเอง"และ"การแบ่งแยกดินแดน"แล้ว พวกเขายังเห็นว่าจำเป็นต้องให้ความมั่นใจว่า คนของตัวเองจะมุ่งใช้สิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง ในรูปแบบของการมีความสัมพันธ์อย่างอิสระกับรัฐที่ดำรงชีวิตอยู่ มากกว่าจะเป็นในรูปแบบของการมีเอกราช ซึ่งก็คือสิ่งที่ประเทศต่างๆ ปรารถนาให้เป็นเช่นนั้น
เรานิยามสิทธิของเราในแง่ของการการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง โดยไม่ได้กำลังพยายามแบ่งแยกประเทศชาติของท่าน ซึ่งท่านก็ทราบอยู่ แต่เราขอยืนยันสิทธิในการปกครองอาณาเขต ทรัพยากร สถาบันสังคม สถาบันของเราที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ และการคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของเรา (National Coalition of Aboriginal Organizations, Statement to the WGIP, 1988)
จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการร่วมประชุมระดับนานาชาติของคนพื้นเมืองนั้น ผู้เขียนไม่เคยได้ยินตัวแทนคนพื้นเมืองคนใด แสดงความต้องการที่จะแยกตัวออกจากประเทศที่มีอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนพื้นเมืองในที่อื่นจะไม่ปรารถนาความเป็นรัฐ และไม่ได้หมายความว่าคนพื้นเมืองที่ไม่เรียกร้องการแบ่งแยกดินแดน จะไม่เรียกร้องสิทธินี้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม การกำหนดวิถีชีวิตตนเองที่ชนพื้นเมืองส่วนใหญ่เรียกร้อง มีลักษณะที่ส่งผลทำให้คนกลุ่มนี้ต้องผูกพันอยู่อย่างต่อเนื่องกับประเทศที่โอบล้อมอยู่ซึ่งเป็นการกำหนดวิถีชีวิตตนเองที่ช่วยรักษาระยะห่าง แต่ในขณะเดียวกัน ก็คำนึงถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อกันอย่างต่อเนื่อง
สำหรับชนพื้นเมืองหลายคนแล้ว พวกเขามองว่าการแยกตัวโดยสิ้นเชิงเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ดังที่นักกฎหมายชาวอินูอิต (Inuit) Dalee Sambo (2002) ได้ชี้ให้เห็นว่า "ทั้งความเป็นจริงทางเศรษฐกิจ, ทางการเมือง และทางประชากรศาสตร์ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการเป็นเอกราชจะเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับคนพื้นเมืองส่วนใหญ่" และการสร้างรัฐก็ไม่ได้เป็นแนวคิดในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของคนพื้นเมือง ทั้งนี้คนพื้นเมืองได้พูดถึงสิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเองโดยไม่ได้โยงไปถึงเรื่องของการเป็นรัฐ รวมทั้งไม่เกี่ยวกับแนวคิดที่จะส่งผลกระทบต่อบูรณภาพทางดินแดนและอธิปไตยของประเทศ ดังที่ผู้อาวุโสชาวอะบอริจิน (Aborigine) ในออสเตรเลียได้กล่าวยืนยันว่า "เราจะพูดถึงเรื่องของสัมพันธภาพว่าจะจัดการอย่างไร ระหว่างพวกเราให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดีขึ้น" (Interview, 5 Febuary 2003)
ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง
การพัฒนาให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง
รวมทั้งการทำความเข้าใจว่าการกำหนดวิถีชีวิตตนเองมีความสำคัญอย่างไรกับชนพื้นเมืองเป็นสิ่งจำเป็น
ทั้งนี้เพื่อเป็นการขจัดความวิตกกังวลบางประการที่มีต่อสิทธินี้ แต่ทว่า กรอบยุทธวิธีในเรื่องของสันติสุขและความมั่นคง
เป็นการดำเนินการที่มากกว่าการลบล้างความหวาดวิตกต่อปัญหาสันติสุขและความมั่นคง
ยุทธวิธีนี้ยังเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า การกำหนดวิถีชีวิตตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสันติสุขและความมั่นคง
(Snow, Rochford, Worden and Benford, 1986: 247) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ กรอบยุทธวิธีนี้
เป็นการพยายามผลักดันให้แนวคิดการกำหนดวิถีชีวิตตนเองถูกมองในลักษณะที่มีความหมาย
"ตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิง" ดังคำแถลงของ คณะกรรมการสนธิสัญญาชนเผ่าอินเดียนระหว่างประเทศ
(International Indian Treaty Council) (IITC) ดังต่อไปนี้
IITC ตระหนักถึงความวิตกกังวลของประเทศต่างๆ ว่าการยอมรับร่างปฏิญญายูเอ็น ในเรื่อง"สิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง" อาจจะนำไปสู่ความไม่มั่นคงของชาติไม่ในทางใดก็ทางหนึ่ง หรืออาจทำให้ต้องสูญเสียประเทศชาติ การมองว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของประชากร เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง และการล้มล้างประเทศชาติเป็นการมองที่ผิดพลาด (International Indian Treaty Council, Statement to the WGDD, 1995)
การควบคุมทางวัฒนธรรม, การปฏิเสธสิทธิของประชากร และการไม่ให้ความสำคัญในทางการเมืองกับชุมชนเหล่านี้ เป็นสาเหตุของความไม่มั่นคงและสร้างความขัดแย้ง ถ้าต้องการให้มีความมั่นคงและความสงบสุขในทุกส่วนของโลก เราต้องเดินหน้าไปด้วยการให้ความเคารพต่ออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและทางการเมืองของทุกชนชาติ การพัฒนาให้เกิดการเคารพต่อความหลากหลายของประชากรและวัฒนธรรม และการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงการกำหนดวิถีชีวิตตนเองเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสงบสุข ถึงแม้ว่าจะมีการนำหลักการการกำหนดวิถีชีวิตตนเองไปใช้ในแนวทางที่แตกต่างกัน แต่การกำหนดวิถีชีวิตตนเองก็มีความจำเป็นในการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง (Roimata of Nguit te Ata,Statement to the WGIP, 1993)
การกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง
ทัศนะทางวิชาการ
ทัศนะที่มองว่า "การกำหนดวิถีชีวิตตนเอง"เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้ง
เป็นทัศนะที่ได้รับการสนับสนุนจากวงวิชาการ ซึ่งดูได้จากการที่ Gurr (1993) ได้แสดงให้เห็นว่า
"เหตุการณ์ความรุนแรงและปัญหาความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธต่อสู้กันนั้น
จะบรรเทาลงได้เมื่อมีการจัดการให้มีการปกครองตนเอง ในขณะที่การเพิกเฉยต่อความหลากหลายภายในประเทศ
จะก่อให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง" ยิ่งกว่านั้น เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังทัศนะนี้ก็เป็นเหตุผลที่ยากจะโต้แย้ง
ในข้อที่ว่า "ความขัดแย้ง เป็นการแสดงความไม่พอใจและการคัดค้านของคนในชาติที่มีต่อการกระทำและนโยบายต่างๆ
ของรัฐที่มีลักษณะกีดกันและกดขี่ ซึ่งประเทศชาติสามารถป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งนี้ได้
ด้วยการยอมให้สิทธิที่ให้อำนาจที่เหมาะสม และเป็นสิทธิที่ทำให้ประชาชนมีอิสระมากขึ้น"
การสร้างกรอบยุทธวิธีที่ผิดพลาด
ในการเรียกร้องสิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเองให้กับชนพื้นเมืองในบางประเทศ กรอบแนวคิดเรื่องสันติสุขและความมั่นคงได้รับการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น
แต่ในหลายประเทศก็ไม่ได้เป็นเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญ WGIP เชื่อว่า การกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง
เป็นสิ่งที่สามารถระงับความขัดแย้งมากกว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ก็ยังยากที่จะทำให้ยอมรับในบางประเทศ
อิทธิพลของกรอบยุทธวิธีในประเด็นนี้มีผลต่อคณะผู้เชี่ยวชาญจาก WGIP เห็นได้จากในท้ายที่สุดแล้ว ได้มีการตัดสินใจบรรจุสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองโดยไม่มีเงื่อนไขไว้ในมาตรา 3 ในร่าง UN Draft Declaration on the Rights of Indigenous Peoples และยังเห็นได้จากถ้อยแถลงของผู้เชี่ยวชาญ WGIP โดยเฉพาะ Erica-Irene Daes (1996) ที่ได้เขียนไว้ว่า
ความวิตกกังวลเกี่ยวกับ การใช้สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปตามความเป็นจริง แต่ที่เป็นจริงมากกว่าคือความวิตกกังวลว่า การปฏิเสธสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง จะทำให้ประชาชนส่วนมากทั่วโลกที่ถูกมองข้ามและถูกกีดกัน ไม่มีอาวุธทางกฎหมายในรูปแบบสันติวิธีที่ใช้สำหรับเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริงในประเทศที่คนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ (p.50)
Daes ได้กล่าวในงานสัมมนางานหนึ่ง ด้วยการพยายามอธิบายความหมายที่ชัดเจนของคำว่า "การกำหนดวิถีชีวิตตนเอง"ในบริบทของคนพื้นเมือง โดย Daes ได้พูดถึงความวิตกกังวลของฝ่ายรัฐว่า "เป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผลที่เชื่อถือได้" และเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง "ความไม่รู้" (Daes, 2002:10) และยังกล่าวต่ออีกว่า
ไม่มีอะไรให้รัฐบาลในแต่ละประเทศต้องหวาดวิตกต่อชนพื้นเมือง การกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมืองหมายถึง เสรีภาพ, บูรณภาพ, และการเคารพสิทธิ โดยหมายถึงเสรีภาพของชนพื้นเมืองในการอาศัยอยู่อย่างสงบ อย่างสอดคล้องกับค่านิยมของตนเองหมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างมีระเบียบ ตามคำกล่าวของ Patricia Monture นักวิชาการด้านกฎหมายชาวโมฮ็อก (Mohawk) "ในความเห็นของข้าพเจ้านั้น ไม่มีรัฐบาลใดมีเหตุผลที่จะต้องมีความวิตกกังวลกับประเด็นปัญหานี้" (p.11)
คำรับรองจากตัวแทนชนพื้นเมือง
. ไม่เฉพาะผู้เชี่ยวชาญ WGIP เท่านั้นที่เข้าใจความหมายของสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง
ในแบบที่แตกต่างออกไปจากที่เคยเป็น ยังมีประเทศอีกจำนวนหนึ่งที่ได้รับฟังคำรับรองจากตัวแทนชนพื้นเมืองว่า
พวกเขาไม่ได้มีเจตนาจะแยกตัวออกจากประเทศที่ดำรงอยู่ รวมทั้งการให้เหตุผลที่พูดถึงการมีข้อกำหนดในกฎหมายระหว่างประเทศ
ที่ใช้สำหรับปกป้องบูรณภาพทางดินแดน ซึ่งแต่แรกประเทศเหล่านี้มีความรู้สึกตื่นกลัวเกี่ยวกับผลที่อาจเกิดตามมา
กลุ่มประเทศที่ยอมรับ
และไม่ยอมรับการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง
จากการยอมรับสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง ประเทศที่ว่าเหล่านี้ประกอบด้วยกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา
และประเทศในแถบคาริบเบียน ซึ่งร่วมกันออกแถลงการณ์ในที่ประชุม WGDD ใน ค.ศ. 2002
เรียกร้องให้มีการยอมรับ article 3 โดยไม่มีการแก้ไขหรือมีข้อจำกัดใดๆ แต่ไม่ใช่ทุกประเทศจะยอมรับในประเด็นนี้
เพราะบางประเทศก็เรียกร้องให้มีการแก้ไขข้อความในกฎหมาย ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความวิตกกังวลในเรื่องของการแบ่งแยกดินแดน
ประเทศเหล่านั้นได้แก่ สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, นิวซีแลนด์, ฟินแลนด์และแคนาดา
ดังนั้น จึงต้องพูดถึงข้อเสนอขอแก้ไขข้อความในกฎหมายที่ประเทศเหล่านี้ได้เสนอต่อที่ประชุม
เพราะเป็นข้อเสนอที่สะท้อนให้เห็นถึงความวิตกกังวลที่มีต่อปัญหานี้ ในการเสนอขอแก้ไขนี้เป็นการเสนอในที่ประชุม
WGDD เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2002
ในปฏิญญาของสหประชาชาติฉบับปัจจุบัน ไม่มีข้อความใดที่อาจตีความได้ว่ามีการยอมให้มีการเคลื่อนไหวใดๆ ที่ขัดกับวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ รวมถึงขัดต่อความเสมอภาคทางอธิปไตย (sovereign equality), บูรณภาพทางดินแดน และความเป็นอิสระทางการเมืองของประเทศ (Finland เสนอขอแก้ไข article 45)
ชนพื้นเมืองมีสิทธิในการการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง และด้วยการอาศัยสิทธิดังกล่าว ดังนั้นชนพื้นเมืองอาจต่อรองสถานะทางการเมืองภายในโครงสร้างของรัฐที่มีอยู่ รวมทั้งมีอิสระในการพัฒนาเศรษฐกิจ, สังคม, และวัฒนธรรมของตนเอง ด้วยการใช้สิทธิดังกล่าวจึงทำให้ชนพื้นเมืองมีสิทธิในการปกครองตนเองในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการภายใน ทั้งในด้านวัฒนธรรม, ภาษา, ศาสนา, การศึกษา, ข้อมูล, สื่อ, สุขภาพ, ที่อยู่อาศัย, การจ้างงาน, สวัสดิการทางสังคม, การรักษาความสงบของชุมชน, ความสัมพันธ์ของครอบครัว, กิจกรรมทางเศรษฐกิจ, ที่ดินและการจัดการทรัพยากร, สิ่งแวดล้อมและการเข้าครอบครองจากคนภายนอก รวมทั้งวิธีในการใช้จ่ายทางการเงิน เพื่อให้กิจการเหล่านั้นดำเนินไปอย่างมีอิสระ (United States Proposed amendment combining article 3 and 31)
กรอบยุทธวิธีเรื่องสิ่งแวดล้อม
: การทำให้สิทธิชนพื้นเมืองเป็นสีเขียว
(THE ENVIRONMENT FRAME: THE GREENING OF INDIGENOUS RIGHTS)
เนื้อหาสาระของกรอบยุทธวิธีที่ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม
"เพื่อความอยู่รอด เรามีบางอย่างมานำเสนอเพื่อความอยู่รอด"
การกำหนดประเด็นเพื่อแสวงหาความสนับสนุนในเคลื่อนไหวทางสังคม เป็นงานที่มีความซับซ้อน
ดังที่ได้พูดถึงก่อนหน้านี้แล้วว่า "การปรับกรอบยุทธวิธี" หมายถึง
การแทนที่ความเข้าใจเดิมด้วยการสร้างความเข้าใจใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ Snow และเพื่อนร่วมงาน
เรียกว่าเป็น "การปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นการสร้างความหมายใหม่
ให้กับสิ่งที่ต้องการสื่อไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นที่กำลังเป็นปัญหา"
(Snow, Rochford, Worden and Benford, 1986: 245)
ตามแนวคิดของ Snow และเพื่อนร่วมงาน กรอบยุทธวิธีรูปแบบนี้เป็นหนึ่งในรูปแบบของการจัดวางกรอบที่ค่อนข้างยาก และสำหรับอีกกรอบยุทธวิธีที่ค่อนข้างมีความซับซ้อนคือ กรอบยุทธวิธีที่พวกเขาเรียกว่าเป็น"การขยายกรอบ" (frame extension) อันหมายถึงการขยายขอบเขตของกรอบยุทธวิธีให้ครอบคลุมแนวคิดและประเด็นที่ไม่ใช่หัวข้อหลัก แต่เป็นเรื่องที่ความเกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการจัดวางกรอบ (alignment) รูปแบบนี้คือ "กรอบยุทธวิธีที่ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม"
กรอบยุทธวิธีที่ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม
กรอบนี้มีแนวคิดว่า การยอมรับสิทธิของชนพื้นเมือง โดยเฉพาะสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการใช้,
การจัดการและการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ของโลกในแบบยั่งยืน. กรอบที่ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม
เป็นการวางสิทธิของคนพื้นเมืองไว้ในประเด็นที่กว้างขึ้นในเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ด้วยการเชื่อมสองประเด็นเข้าด้วยกัน โดยไม่จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกันโดยตรง กรอบยุทธวิธีนี้เป็นการเพิ่มแนวร่วมด้วยการเชื่อมโยงประเด็นหลักเข้ากับความสนใจที่มีอยู่
ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพื่อเป็นการหาพลังหนุนเพิ่มขึ้น
ตั้งแต่มีการเปิดตัวในเวทีการเมืองระดับโลกเป็นต้นมา เหล่าตัวแทนชนพื้นเมืองก็เป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนแนวความคิดที่เป็นทางเลือกในเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยพวกเขาเห็นว่าชนพื้นเมือง "ตีความ" คำว่า "ธรรมชาติ" แตกต่างไปจากการตีความที่มีการใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ด้วยการให้ความสำคัญและการใช้สิ่งแวดล้อมในแบบที่ค่อนข้างแตกต่างกัน แต่การพิจารณาถึงแนวความคิดทางเลือกเหล่านี้ เป็นเรื่องที่เกินขอบเขตของบทความนี้ เพราะไม่ใช่มีแค่เรื่องของความแตกต่างระหว่างมุมมองเกี่ยวกับชนพื้นเมือง ซึ่งเป็นความแตกต่างอย่างสำคัญและมีความละเอียดอ่อน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อาจจะยกมากล่าวได้ก็คือ "ตัวแบบ" (models) เกี่ยวกับชนพื้นเมืองที่มีการพูดถึงในเวทีต่างๆ ในระดับระหว่างประเทศ ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่า การมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและอย่างยากจะแยกออกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เป็นหลักพื้นฐานในวิถีชีวิตของชนพื้นเมือง รวมทั้งเรื่องของความเชื่อ, ธรรมเนียมประเพณี, และวัฒนธรรม. ดังนั้น ในแง่ที่การคิดแบบตะวันตก มักจะมองว่า"ธรรมชาติ"แยกต่างหากจาก"วัฒนธรรม" แต่ในแง่ของชนพื้นเมืองมองว่า เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกัน ดังถ้อยแถลงต่อไปนี้
ยอดเขา Mount Graham อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของเรา Mount Graham เป็นรากฐานของวัฒนธรรม, อดีต, ปัจจุบัน, และอนาคตของเผ่าอปาเช่ (Apache) ยอดเขานี้มีความสำคัญต่อชนเผ่าหลายประการ เพราะว่ายอดเขานี้มีบทบาทในด้านวัฒนธรรมประเพณี พวกเราเรียนรู้จากผืนดินอันศักดิ์สิทธิ์ของเรา ที่เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับชีวิต เป็นเหมือนแท่นบูชา และเป็นห้องสมุดที่มีความรู้ศักดิ์สิทธิ์ฝังอยู่ในภูมิประเทศของเรา พวกเราอาศัยผืนดินแห่งนี้เป็นเหมือนส่วนสำคัญของการเรียนรู้ เราไม่แบ่งแยกธรรมชาติออกจากประชากร เหมือนกับวิธีคิดตามธรรมเนียมตะวันตก (Ola Cassadore-Davis, Apache Survival Coalition, Statement to the WGIP, 1993)
การสื่อความหมายว่า ชนพื้นเมืองมีความผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกับแม่ธรณี (Mother Earth) มีความสำคัญหลายประการ ซึ่งหมายความว่า เมื่อสิ่งแวดล้อมเกิดเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ชนพื้นเมืองก็จะเป็นผู้ที่สูญเสียมากที่สุด การแยกชนพื้นเมืองจากแผ่นดินที่ดำรงชีวิตอยู่เป็นการฆ่าล้างชาติพันธุ์ (ethnocide) แบบหนึ่งอย่างเป็นรูปธรรม ผืนดินของชนพื้นเมืองเป็นสิ่งคุ้มครองชีวิตทั้งหมด ไม่ใช่แค่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเท่านั้น และยังหมายความว่าถ้าสิ่งแวดล้อมมีความยั่งยืน และได้รับการดูแลรักษาอย่างดี เป็นเพราะวิถีชีวิตของชนพื้นเมือง ชนพื้นเมืองจึงอยู่ในจุดที่เหมาะกับการที่จะนำเรื่องการปกป้องตนเองไปเชื่อมโยงกับเรื่องของการปกป้องสิ่งแวดล้อม
ชนพื้นเมืองให้เหตุผลว่า ตนเองเป็นผู้ทำหน้าที่ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยสองแง่มุมด้วยกัน
- แง่มุมแรก ในที่ซึ่งเป็นแผ่นดินบ้านเกิด พวกเขาได้ทำการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในทางชีววิทยา ซึ่งมีความเปราะบางที่สุดของโลกไว้
- แง่มุมที่สอง พวกเขาเป็น "แหล่งข้อมูล" ที่เก็บความรู้เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความสำคัญต่อการกำหนดและการนำยุทธวิธีการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ รวมทั้งในเรื่องของการอนุรักษ์โลก
ถ้อยแถลงดังต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในแง่มุมที่สอง
สิ่งแวดล้อมของโลกกำลังถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้ ขณะนี้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเปิดมุมมองให้กว้างขึ้นเพื่อให้เห็นว่าวิถีชีวิตของชนพื้นเมือง เป็นวิธีเดียวที่ใช้ในการเยียวยาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเสื่อมโทรมลงทั่วโลก ประเทศสมาชิกสหประชาชาติจำเป็นต้องอาศัยภูมิปัญญาของชนพื้นเมืองโดยเร่งด่วน แต่ผู้ที่สามารถสอนประเทศเจ้าอาณานิคม ถึงวิธีการอยู่ร่วมกับโลกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในขณะนี้ กำลังถูกผลักดันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้อัตลักษณ์ของพวกเขาต้องเปลี่ยนไปให้กลายเป็นเหมือนเช่นเดียวกับประเทศเจ้าอาณานิคม (Charmaine Whiteface, Tetuwan Oyate, Statement to the Permanent Forum on Indigenous Issues, May 2002)
ความเสี่ยงของการกำหนดกรอบยุทธวิธี
: คนอินเดียนแดงกับธรรมชาติเป็นสิ่งเดียวกัน?
Snow และเพื่อน (Snow, Rochford, Worden และ Benford, 1986) พบว่า ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการกำหนดกรอบยุทธวิธี
เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่เป็น "ความเสี่ยง" หรือ "เป็นจุดอ่อน"
ต่อขบวนการเคลื่อนไหว จากการที่พวกเขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างและการทำให้กรอบยุทธวิธีมีความยั่งยืน
โดยพบว่า กระบวนการวางกรอบยุทธวิธี (frame alignment process) โดยปกติแล้ว เป็นเรื่องยากที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง
และเห็นว่ากระบวนการจัดวางกรอบในรูปแบบที่แตกต่างกัน ก็มักจะพบกับปัญหาและความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
ดังที่พวกเขาได้ยกตัวอย่างว่ากรอบวิธีการขยายความเป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงอยู่ในตัว
เมื่อขบวนการเคลื่อนไหวไม่สามารถรักษาและคงไว้ซึ่งค่านิยมหลักที่กลุ่มผู้เคลื่อนไหวต้องการเน้นย้ำ
การขยายกรอบเรื่องสิ่งแวดล้อมอาจมีปัญหา:
กรณีตัวอย่าง
สำหรับวิธีการขยายกรอบอาจมีปัญหามากกว่า รวมถึงเรื่องของความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความ
"คลุมเครือ" (clouding) เพราะการขยายกรอบหลักให้ครอบคลุมเป้าหมายและประเด็นที่อยู่นอกเหนือจากขอบเขตที่แท้จริง
อาจเป็นผลทำให้เกิดความสับสนได้ และยังได้ชี้ให้เห็นว่า ยังมีปัญหาเรื่องของการผิดคำมั่นสัญญา
อันหมายถึงการที่ขบวนการเคลื่อนไหวไม่สามารถให้ความช่วยเหลือและให้ผลประโยชน์ตามที่ได้ให้สัญญาไว้ได้
ซึ่งอาจทำให้เกิด "ข้อสงสัยว่าเป็นการสร้างเรื่องเพื่อหาประโยชน์"
ในประเด็นหลังนี้มีความจริงอยู่ไม่น้อย การเรียกร้องของชนพื้นเมืองในมิติทางนิเวศวิทยา ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักสังเกตการณ์บางคนว่า ไม่ใช่การเรียกร้องที่แท้จริง เช่น Adam Kuper (2003) นักมานุษยวิทยาได้กล่าวอย่างเย้ยหยัน ถึงอัตลักษณ์ของชนพื้นเมืองที่มีการบรรยายภาพในแง่มุมเชิงนิเวศน์วิทยาว่าเป็น "ความเชื่อ" และ "ขาดเหตุผลที่ดี" ไม่ต้องสงสัยเลยว่า อัตลักษณ์ของชนพื้นเมืองที่มีการบรรยายภาพออกมามีความขัดแย้งกับวิถีชีวิตที่เป็นจริงของชนพื้นเมืองบางส่วน และก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่า Kuper นั้นพูดถูกที่ว่า ชนพื้นเมืองบางกลุ่มได้แสดงให้เห็นว่า ตนเองสามารถตัดสินใจทำในสิ่งที่ไม่เป็นผลดีกับสิ่งแวดล้อม ดังกรณีเผ่า Inupiat ที่อยู่ใน North Slope ในรัฐอลาสกา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้สิทธิเหนืออาณาเขตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ แต่ชนเผ่านี้ได้สนับสนุนการขุดเจาะน้ำมันบนที่ราบชายฝั่งใน Arctic National Inupiat แต่เหตุการณ์ในลักษณะนี้ก็ไม่ได้เกิดในวงกว้างกับคนพื้นเมืองอื่นอย่างที่ Kuper ได้กล่าวไว้ ซึ่งกรณีนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า เป็นผลมาจากอำนาจและแรงกดดันซึ่งเป็นบริบทที่จะต้องนำมาพิจารณาด้วย
ในกรณีที่คนพื้นเมืองต้องยอมให้มีการขุดเจาะทรัพยากร, การทำประมงเชิงพาณิชย์, การทำฟาร์มวัว, หรือกิจกรรมอื่นใดที่เป็นการตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบนผืนดินของตนเอง. กลุ่มคนเหล่านี้มักลังเลเป็นอย่างมากที่จะทำอย่างนั้น และที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะการที่ถูกบีบบังคับอย่างหนักจากบริษัทที่หากำไรจากทรัพยากรธรรมชาติของชนพื้นเมือง รวมถึงสาเหตุจากการที่ฝ่ายรัฐไปมีผลประโยชน์ร่วมกับบริษัทเหล่านี้. ดังนั้น McIntosh (2002) จึงได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าในบริบทออสเตรเลีย เหตุผลหนึ่งที่ชาวอะบอริจินยอมรับข้อเสนอให้มีการพัฒนาพื้นที่คือ เหตุผลที่ว่า "เพื่อไม่ให้คนเหมืองมารบกวน" แน่นอนว่า การยอมรับให้มีการพัฒนาพื้นที่เกิดขึ้นก็มักจะสะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า มีชนพื้นเมืองมากขึ้นที่ต้องการเข้าถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะได้รับจากการพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ด้วยการพัฒนาที่เป็นการดึงคนเข้าสู่วัฒนธรรมการบริโภค ด้วยนโยบายและวิธีกลืนชาติของประเทศเจ้าอาณานิคม ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่จึงสามารถดึงดูดชุมชนบางแห่งด้วยเรื่องของเงินที่จะได้มา และชุมชนเองก็ไม่ต้องการพึ่งพารัฐมากเกินไปในเรื่องของสวัสดิการและการรับของแจก ซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นอยู่เสมอกับชุมชนพื้นเมืองโดยส่วนมาก นับเป็นอิทธิพลที่ยังมีอยู่ในการพยายามที่จะ "สังหารชาวอินเดียนแดงเพื่อรักษาชีวิตคนขาวไว้" (kill the Indians to save the man) (Wilson,1998: 289)
นับว่าเป็นโชคดีสำหรับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิชนพื้นเมือง ที่ความคิดเห็นในแบบของ Kuper ไม่ได้ยินไปถึงเวทีระดับระหว่างประเทศ เพราะอาจมีผลให้พลังเสียงที่เป็นรองของชนพื้นเมืองต้องเกิดเผชิญการโต้แย้งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตัวแทนชนพื้นเมืองก็แสดงความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับการถกเถียงกันเองในเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องมีการพิจารณาประเด็นนี้กันเป็นการภายในในระดับหนึ่ง
ความกังวลประการแรก คือ ในเรื่องของการกำหนดกรอบการเรียกร้องสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง มีสิ่งที่ขัดแย้งกันเองในแง่ของการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองรวมถึงสิทธิในการเปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัติ และเรื่องของการตักตวงผลประโยชน์จากทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ด้วยกรอบยุทธวิธีที่กำหนดให้คนพื้นเมืองต้องรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในอาณาเขตของตนเอง ดังนั้น จึงทำให้การใช้สิทธิที่จะมีผลในการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างไม่เต็มที่ ดังที่นักเขียนส่วนหนึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นความขัดแย้งนี้ (Dallam, 1991; Brysk, 1994; Tennant, 1994)
ความกังวลประการที่สอง สำหรับความวิตกกังวลอีกประการหนึ่งก็คือ ภายใต้กรอบว่าด้วยสิ่งแวดล้อมได้ผูกโยงชนพื้นเมืองเข้ากับธรรมชาติ ทำให้ชนพื้นเมืองถูกทำให้เป็นกลุ่มที่บริสุทธิ์และดำรงชีวิตในแบบสังคมบุพกาล จึงมีความเสี่ยงที่อาจทำให้การเรียกร้องสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองขาดน้ำหนัก. เป็นระยะเวลานานที่ชนพื้นเมืองต้องต่อสู้กับวิธีคิดตามกรอบเดิมๆ ของคนยุโรปซึ่งมองว่าชนพื้นเมืองดำรงอยู่อย่างเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ อันเป็นเพราะยุโรปเล่นบทบาทในการเป็นผู้สร้างความชอบธรรมให้กับวัฒนธรรมหลักว่า มีความเหนือกว่าวัฒนธรรมที่ "ด้อยกว่า" ของชนพื้นเมือง อีกทั้งยุโรปก็ต่อต้านอย่างรุนแรงกับการที่คนพื้นเมือง นำเสนอตัวเองด้วยการเน้นย้ำความสามารถทางการเมือง (Tennant, 1994: 40-1) อย่างไรก็ตาม กรอบที่ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้น อาจเสี่ยงต่อการทำให้กรอบคิดเดิมๆ ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง
วาทกรรมสีเขียวในชนพื้นเมือง
แม้จะตระหนักถึงความขัดแย้งในตัวและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงต่างๆ แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้ตัวแทนชนพื้นเมืองในที่ประชุมสหประชาชาติยอมทิ้งกรอบที่ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม
ด้วยเหตุนี้ สิ่งแวดล้อมจึงยังคงเป็นประเด็นที่น่าเชื่อถือที่นำมาใช้สนับสนุนชนพื้นเมืองทั่วโลก
และบางครั้งการกำหนดกรอบก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือบางครั้งก็เกิดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจไว้แต่แรก.
ดังนั้น การดำเนินการนอกกรอบอย่างมียุทธวิธี จึงไม่ใช่ว่าจะถึงขนาดจะเป็นไปไม่ได้
อย่างน้อยที่สุดความเสี่ยงต่างๆ จากการดำเนินการนอกกรอบก็เหมือนจะยังไม่เคยทำให้ประสิทธิผลที่ได้ลดน้อยลง
ตัวแทนชนพื้นเมืองนำกรอบว่าด้วยสิ่งแวดล้อมมาใช้ในบริบทเรื่อง"สิ่งแวดล้อม"และ"สิทธิมนุษยชน" ทั้งสองเรื่องนี้ได้ยึดกรอบเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป็นเหตุผลในการถกเถียง หรือที่จริงแล้วคือ เป็นเครื่องมือระดับระหว่างประเทศของคนพื้นเมือง ดังนั้นใน Preambular วรรค 9 ในร่างปฏิญญาสหประชาชาติจึงให้การยอมรับว่า "การให้ความเคารพต่อความรู้, วัฒนธรรม, และธรรมเนียมปฏิบัติของชนพื้นเมือง จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน รวมทั้งเป็นผลดีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม" (United Nations, 1994) ทั้งนี้มีแถลงการณ์ในแบบเดียวกันที่ให้การยอมรับว่า สิทธิของชนพื้นเมืองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถพบได้จากข้อตกลงต่างๆ ในระดับระหว่างประเทศที่ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะข้อตกลงในทางกฎหมายซึ่งได้ผ่านมติที่ประชุม Earth Summit ค.ศ. 1992 ซึ่งรวมถึง Rio Declaration on Environment and Development and Agenda 21 ในหลักการที่ 22 ของ Rio Declaration ได้ระบุไว้ว่า "ชนพื้นเมืองและชุมชนของพวกเขามีบทบาทสำคัญต่อการจัดการและพัฒนาสิ่งแวดล้อม ด้วยความรู้และธรรมเนียมปฏิบัติของชนเผ่า" (United Nations, 1992a.)
สำหรับใน Chapter 26 of Agenda 21 ซึ่งได้กำหนดแผนปฏิบัติการอย่างครอบคลุมที่ใช้เพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนที่ให้ดำเนินการทั้งระดับโลก ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ได้บรรจุชนพื้นเมืองไว้เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้ชื่อว่าเป็น "กลุ่มหลัก 9 กลุ่ม" ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (United Nations, 1992b) เมื่อไม่นานมานี้ Johannesburg Declaration ซึ่งผ่านมติในที่ประชุม World Summit ค.ศ. 2002 ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้ให้การยืนยันถึง "บทบาทสำคัญของชนพื้นเมืองในการพัฒนาอย่างยั่งยืน" (United Nations, 2002)
เหตุผลที่กรอบว่าด้วยสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบบางอย่างในบริบทของสหประชาชาติ (ถึงแม้จะมีเรื่องปัญหาความเสี่ยงด้วย) แสดงให้เห็นปัญหามากมายเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม และปฏิกิริยาที่มีต่อกรอบยุทธวิธีนี้ ปัญหามากมายซึ่งคุกคามสิ่งแวดล้อมระดับโลกทำให้นานาชาติเกิดความวิตกกังวลถึงขนาดที่จัดว่า การทำลายสิ่งแวดล้อมโลกเป็นปัญหาสำคัญลำดับต้นในเวทีโลก ทั้งนี้ในระยะเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา สหประชาชาติได้จัดประชุมระดับนานาชาติครั้งสำคัญหลายครั้ง อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความวิตกกังวลในประเด็นปัญหานี้ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งการประชุมที่ว่านั้น รวมถึงการประชุม 1992 Earth Summit และ 2002 World Summit on Sustainable Development ทั้งนี้เทคนิควิธีการกำหนดกรอบของชนพื้นเมืองซึ่งเสนอว่า พวกเขามีส่วนในการช่วยอนุรักษ์โลก สามารถดึงความสนใจจากนานาประเทศ หรือหมายถึงการเรียกร้องของชนพื้นเมืองนั้นดังก้องไปด้วยปัญหาสาธารณะ และปัญหาส่วนตัวที่กว้างขึ้น รวมถึงเรื่องของความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการรับประกันความสำเร็จของการกำหนดกรอบยุทธวิธี
สรุป
การศึกษาเรื่องการกำหนดกรอบยุทธวิธี และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในปัจจุบัน
จำกัดตัวเองอยู่ที่การให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของการระดมคนเข้าร่วมเคลื่อนไหว
หรือเป็นการพยายามทำความเข้าใจถึงวิธีที่ผู้นำการเคลื่อนไหวใช้ในการดึงคนเข้าร่วม
และให้ยึดมั่นอยู่กับขบวนการเคลื่อนไหว สำหรับบทความนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า
การกำหนดกรอบยุทธวิธี สามารถอธิบายผลลัพธ์ของการเคลื่อนไหวได้ ด้วยการเปลี่ยนเป้าหมายจากการระดมคนทั่วไป
ไปเป็นเป้าหมายที่เป็นกลุ่มคนชั้นนำ (elite) เช่น ทฤษฎีการวางกรอบและการกำหนดกรอบ
(framing and frame alignment theories) ซึ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเคลื่อนไหวกับกลุ่มบุคคลชั้นนำ
ได้แก่ บุคคลหรือประเทศที่มีหน้าที่ออกกฎหมายระหว่างประเทศ
ทฤษฎีนี้สามารถจะนำมาอธิบายได้ว่า ผู้นำการเคลื่อนไหวสามารถโน้มน้าวบุคคลชั้นนำให้ทำการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือนโยบายได้อย่างไร? เช่นเดียวกันกับการวางกรอบยุทธวิธี ก็สามารถนำมาใช้อธิบายเหตุผลในความล้มเหลวของการเคลื่อนไหว ถ้าผู้นำการเคลื่อนไหวไม่กำหนดกรอบให้สะท้อนหรือเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับปัญหา, ค่านิยม, และความเข้าใจของกลุ่มคนชั้นนำ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายแล้ว หรือถ้าขาดแนวร่วมแล้วขบวนการเคลื่อนไหว จะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
ด้วยการที่สามารถนำวิธีการกำหนดกรอบยุทธวิธี ไปใช้อธิบายผลลัพธ์ของการเคลื่อนไหวทางสังคม จึงเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่ทำการศึกษาเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางสังคมต้องการแนวคิดและเครื่องมือ เพื่อใช้อธิบายให้เกิดความกระจ่างต่อผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของเนื้อหาที่แท้จริงที่ขบวนการเคลื่อนไหวต้องการจะพูด การจะอธิบายผลลัพธ์ของการเคลื่อนไหวด้วยปัจจัยเชิงโครงสร้างเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ เพราะผลของการเคลื่อนไหวไม่ได้ขึ้นอยู่กับโอกาสทางการเมืองที่ขึ้นๆ ลงๆ หรือขึ้นอยู่กับทรัพยากรด้านวัตถุ (material resources) และทรัพยากรขององค์กร (organizational resources) เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับแนวทางที่ขบวนการเคลื่อนไหวนำเสนอหรือ "การกำหนดกรอบยุทธวิธี" ประเด็นปัญหาของกลุ่ม การจะอธิบายผลลัพธ์ของการเคลื่อนไหวด้วยเหตุผลด้านโครงสร้างเป็นเพียงการให้เหตุผล "ด้านเดียว" อันจำเป็นจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องบทบาทของผู้เข้าร่วมเคลื่อนไหว ผู้ซึ่งเป็นผู้กำหนดและให้ความหมายของประเด็นปัญหา ดังนั้น การกำหนดกรอบจึงเป็นสิ่งที่ช่วยอธิบายประเด็นนี้ได้เป็นอย่างดี
เมื่อพิจารณาถึงขบวนการเคลื่อนไหวของชนพื้นเมือง ซึ่งใช้ยุทธวิธีการกำหนดกรอบในการต่อสู้เรียกร้องให้มีการกำหนดสิทธิอย่างชัดเจน เพื่อให้ชนพื้นเมืองได้ดำรงอยู่ในฐานะประชากรกลุ่มเฉพาะ รวมทั้งกำหนดสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง จึงอาจแบ่งกรอบหลักออกได้เป็น 3 กรอบ คือ
1. กรอบที่ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ,
2. ความสงบสุข และความมั่นคง, และ
3. เรื่องสิ่งแวดล้อม
มีการถกเถียงกันว่า กรอบเหล่านี้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ ถ้ามองในแง่ดีก็แค่เป็นการมองข้ามปัญหาของชนพื้นเมือง แต่ถ้ามองในแง่ร้ายที่สุดก็เป็นเหมือน "ผู้รับใช้จักรวรรดิ" (Merry, 1991: 917) ด้วยการสร้างความชอบธรรมให้กับการกดขี่ชนพื้นเมือง แต่ละกรอบมีจุดที่น่าสนใจเฉพาะตัว แต่โดยรวมทุกกรอบสามารถลดระดับความวิตกกังวลของนานาชาติ ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างแรงจูงใจทางจริยธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ให้มีการยอมรับสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง
ทั้งนี้ จากการวางกรอบยุทธวิธี
แสดงให้เห็นว่า ผู้นำชนพื้นเมืองมีความเข้าใจในเรื่องของอุปสรรคที่ขัดขวางการยอมรับสิทธิชนพื้นเมือง
โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับอธิปไตยของประเทศ และยังแสดงให้เห็นถึงการยอมรับว่า
มีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องของยุคสมัยและบริบทที่เกี่ยวข้อง กรอบเหล่านี้จึงถูกกำหนดขึ้นมาอย่างมีความเชื่อมโยงกับปัญหาโลกในยุคร่วมสมัย
รวมถึงคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กรของสหประชาชาติ จึงเป็นปัจจัยที่รับประกันว่าเสียงสะท้อนของชนพื้นเมืองจะส่งผลไม่ใช่แค่กับผู้เชี่ยวชาญอิสระทั้งห้า
ซึ่งมีหน้าที่ร่างปฏิญญาสหประชาชาติ แต่ยังมีผลต่อประเทศต่างๆ ที่คัดค้านการให้สิทธิแก่ชนพื้นเมืองซึ่งอาจถือได้ว่าค่อนข้างจะประสบความสำเร็จ
กรณีของชนพื้นเมือง มีนัยสำคัญกับขบวนการเคลื่อนไหวโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในระดับประเทศหรือระหว่างประเทศก็ตาม
เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่าเมื่อขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม สามารถเข้าใจฝ่ายทางการหรือกลุ่มคนชั้นนำที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวค่านิยมซึ่งมีความสำคัญพอๆ กับความกลัวและความวิตกกังวลของคนเหล่านี้
จะทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจเพื่อกดดันให้กลุ่มคนเป้าหมายยอมรับการเปลี่ยนแปลง
และยอมรับข้อเรียกร้องของขบวนการเคลื่อนไหว เมื่อฝ่ายรัฐได้เห็นคุณค่า (หรืออ้างว่าเห็นก็ตาม)
ของหลักการและบรรทัดฐานบางอย่าง จะทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม สามารถหาบทสรุปสิ่งที่ตนเองเรียกร้องอย่างที่ต้องการให้เป็น
จึงสามารถกดดันให้ทางการยอมรับข้อเรียกร้องเหล่านั้น และเมื่อรัฐเกิดความวิตกกังวล
ไม่ว่าจะด้วยจากข้อเท็จจริงหรือเป็นการคาดเดาเอง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียกร้องของชนพื้นเมือง
ทั้งนี้ ผู้นำการเคลื่อนไหวสามารถกำหนดกรอบข้อเรียกร้องในแนวทางที่สามารถลดระดับความวิตกกังวลของฝ่ายรัฐได้
ด้วยวิธีการโน้มน้าว (มากกว่าการกดดัน) ให้ฝ่ายรัฐยอมรับข้อเรียกร้อง
กระบวนการเหล่านี้ไม่ใช่จะประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะเหตุว่า "การกำหนดกรอบยุทธวิธี" เป็นกระบวนการที่โดยทั่วไปแล้วเต็มไปด้วยความเสี่ยง โดยเฉพาะเมื่อขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมขาดทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ตามแนวคิดเหล่านี้ แต่ก็จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างมากในการต่อสู้ ไม่ว่าจะเพื่อเรียกร้องหรือเพื่อคัดค้านการเปลี่ยนแปลง
+++++++++++++++++++++++++
REFERENCE
Brysk, Alison (2000) From Tribal Village to Global Village: Indian Rights and Inter-
national Relations in Latin America. Stanford, CA: Stanford University Press.Daes, Erica-Irene (1996) 'The Right of Indigenous Peoples to "Self-Determination"
in the Contemporary World Order', in Donald Clark et al. (eds) Self-
Determination: International Perspectives. London: Macmillan Press.Daes, Erica-Irene (2002) 'Article 3 of the Draft UN Declaration on the Rights of
Indigenous Peoples: Obstacles and Consensus'. Paper presented at the Rights
and Democracy Seminar of Experts on the Right to Self-Determination of
Indigenous Peoples, New York.Falk, Richard (2000) 'The Right of Self-Determination under International Law: The
Coherence of Doctrine Versus the Coherence of Experience', in Henry J.
Steiner and Philip Alston (eds) International Human Rights in Context: Law,
Politics, Morals. Oxford: Oxford University Press.Gamson, William (1989) 'Media Discourse and Public Opinion on Nuclear Power',
American Journal of Sociology 95: 1-38.Goffman, Erving (1974) Frame Analysis: An Essay on the Organization of
Experience. New York: Harper Colophon.Gurr, Ted (1993) Minorities at Risk: A Global View of Ethnopolitical Conflicts.
Washington, DC: United States Institute of Peace Press.Klandermans, Bert (1988) 'The Formation and Mobilisation of Consensus', in Bert
Klandermans et al. (eds) International Social Movement Research. Greenwich,
CT: JAI Press.Lam, Maivan-Clech (1992) 'Making Room for Peoples at the UN: Thoughts
Provoked by Indigenous Claims to Self-Determination', Cornell International
Law Journal 25: 603-22.McAdam, Doug (1982) Political Process and the Development of Black Insurgency,
1930-1970. Chicago: Chicago University Press.McAdam, Doug et al. (eds) (1996) Comparative Perspectives on Social Movements:
Political Opportunities, Mobilising Structures, and Cultural Framings.
Cambridge: Cambridge University Press.Pritchard, Sarah (1998) 'The Significance of International Law', in Sarah Pritchard
(ed.) Indigenous Peoples, the United Nations, and Human Rights, pp. 2-17.
London: Zed Books.Snow, David and Robert Benford (1988) 'Ideology, Frame Resonance, and Partici-
pant Mobilisation.' In Bert Klandermans et al. (eds) From Structure to Action:
Comparing Social Movement Research across Cultures, Greenwich, CT: JAI
Press.Snow, David and Robert Benford (1992) 'Master Frames and Cycles of Protest', in
Aldon D. Morris et al. (eds) Frontiers in Social Movement Theory. New
Haven, CT: Yale University Press.Snow, David, Burke Rochford, Steven Worden and Robert Benford (1986) 'Frame
Alignment Processes, Micromobilisation, and Movement Participation',
American Sociological Review 51: 464-81.Tarrow, Sidney (1994) Power in Movement: Social Movements, Collective Action
and Politics. Cambridge: Cambridge University Press.Tennant, Chris (1994) 'Indigenous Peoples, International Institutions, and the Inter-
national Legal Literature from 1945-1993', Human Rights Quarterly 16: 1-57.Tomushcat, Christian (1993) 'Self-determination in a Post-Colonial World', in
Christian Tomushcat (ed.) Modern Law of Self-Determination. Dordrecht:
Martinus Nijhoff Publishers.United Nations (1960b) Principles Which Should Guide Members in Determining
Whether or Not an Obligation Exists to Transmit the Information Called for in
Article 73(E) of the Charter of the United Nations, G.A. Res. 1541[Xv].United Nations (1970) Declaration on Principles of International Law Concerning
Friendly Relations and Co-Operation among States in Accordance with the
Charter of the United Nations, G.A. Res. 2625[Xxv].United Nations (1991) Report of the UN Working Group on Indigenous Populations
on Its Ninth Session, E/Cn.4/Sub.2/1991/40.United Nations (1992a) Rio Declaration on Environment and Development,
a/Conf.151/26 (Vol.1), Annex I.United Nations (1992b) Agenda 21, UN Conference on Environment and Develop-
ment, a/Conf.151/26 (Vols.1, 2 &3), Annex 2.United Nations (1996) International Covenant on Civil and Political Rights, G.A.
Res 2200A (XXI), UN Doc. 6316.Wilson, James (1998) The Earth Shall Weep: A History of Native America. London:
Picador.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกกลับไปอ่านทบทวนบทความนี้ ตอนที่ ๑)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
สาระสังเขบของบทความ: การพัฒนาสิทธิชนพื้นเมืองในองค์กรสหประชาชาติ: กรอบยุทธวิธี และผลกระทบที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ - ในช่วงเวลาสามสิบปีที่ผ่านมา ชนพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ ได้ปรากฏตัวขึ้นเป็นพลเมืองที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีสิทธิในฐานะชนชาติที่มีลักษณะเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกฎหมายระหว่างประเทศเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของผู้นำชนพื้นเมือง, ตัวแทนชุมชน, และบรรดานักกฎหมายจำนวนหลายร้อยคน ตลอดระยะ ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ คนพื้นเมืองเริ่มมีความกระตือรือร้นกับการพยายามที่จะปรับเปลี่ยนแนวโน้ม รวมถึงทิศทางของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดอำนาจในการช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างชนพื้นเมือง