ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




04-11-2551 (1661)

การพัฒนาสิทธิชนพื้นเมืองในองค์กรสหประชาชาติ
สิทธิชนพื้นเมือง: ยุทธวิธีและผลกระทบต่อกฎหมายระหว่างประเทศ (๑)
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ชื่อเดิมของบทความ: การพัฒนาสิทธิชนพื้นเมืองในองค์กรสหประชาชาติ:
การกำหนดยุทธวิธีและผลกระทบที่มีต่อบรรทัดฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความนี้เรียบเรียงมาจาก เรื่อง Advacing Indigenous Rights at the United Nations:
Strategic Framing and its Impact on the Normative Development of International Law
เขียนโดย Rhiannon Morgan ใน Social Legal Studies 2004; 13;
The online version of this article can be found at: http:sls.sagepub.com/cgi/content/abstract/13/4/481

บทแปลและเรียบเรียงนี้ ประกอบด้วยหัวข้อที่สำคัญคือ
- สิทธิของชนพื้นเมือง: สิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง
- กระบวนการในการกำหนดกรอบยุทธวิธี (framing process)
- มุมมองด้านกรอบยุทธิวิธี (The Framing Perspective)
- การเปิดเสรีทางความคิด การสร้างความเห็นพ้อง และระบบคิด
- ช่วงชิงการเลือกปฏิบัติ: ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตตน
- Salt-water Thesis (ข้อวินิจฉัยทะเลน้ำเค็ม)
- ผลกระทบของกรอบยุทธวิธีที่ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ : เสียงสะท้อนและวัฒนธรรมองค์กร
- การกำหนดชีวิตของตนเอง ไม่ใช่การส่งเสริมการสร้างรัฐอิสระ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๖๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การพัฒนาสิทธิชนพื้นเมืองในองค์กรสหประชาชาติ
สิทธิชนพื้นเมือง: ยุทธวิธีและผลกระทบต่อกฎหมายระหว่างประเทศ (๑)
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

(1)
การพัฒนาสิทธิชนพื้นเมืองในองค์กรสหประชาชาติ:
การกำหนดยุทธวิธีและผลกระทบที่มีต่อบรรทัดฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ
Advancing Indigenous Rights at the United Nations:
Strategic Framing and its Impact on the Normative Development of International Law)

สาระสังเขป
ในช่วงเวลาสามสิบปีที่ผ่านมา ชนพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ ได้ปรากฏตัวขึ้นเป็นพลเมืองที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีสิทธิในฐานะชนชาติที่มีลักษณะเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกฎหมายระหว่างประเทศเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของผู้นำชนพื้นเมือง, ตัวแทนชุมชน, และนักกฎหมายจำนวนหลายร้อยคน ตลอดระยะสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ คนพื้นเมืองเริ่มมีความกระตือรือร้นกับการพยายามที่จะปรับเปลี่ยนแนวโน้ม และทิศทางของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดอำนาจในการช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างชนพื้นเมืองกับรัฐที่กลุ่มคนเหล่านี้อาศัยอยู่

ในบทความนี้จะเป็นการศึกษาแนวทางที่ชนพื้นเมืองใช้ในการกำหนดกรอบทางยุทธวิธี (strategic frames) เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ของตนเองภายในระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยทำให้เข้าใจว่า สิทธิต่างๆ ของชนพื้นเมืองเกิดขึ้นได้อย่างไรและด้วยเหตุผลใด และยังจะเป็นประโยชน์ต่อผลงานที่ศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดกรอบยุทธิวิธี ซึ่งไม่เคยได้นำมาใช้อธิบายผลลัพธ์ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวทางสังคม. อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ได้แสดงให้เห็นว่า การกำหนดกรอบยุทธวิธี มีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนากฎหมายและนโยบายอีกด้วย

บทนำ
ในระยะสามสิบปีที่ผ่านมา ชนพื้นเมืองประสบความสำเร็จอย่างไม่เคยมีมาก่อน ในการทำให้ระบบกฎหมายระหว่างประเทศ หันมาให้ความสนใจกับความต้องการของคนกลุ่มนี้ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว กฎหมายระหว่างประเทศได้พัฒนาไปสู่การยอมรับสิทธิของชนพื้นเมืองมากขึ้น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสิทธิพิเศษซึ่งมีลักษณะเฉพาะ มีแถลงการณ์และมติหลายเรื่องเกี่ยวกับ"สิทธิของชนพื้นเมือง" และมีเครื่องมือทางกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับคนพื้นเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ไม่ว่าจะเป็น International Labour Organization Convention No. 169: on Indigenous and Tribal People of 1989 และที่สำคัญที่สุดคือ the United Nations Draft Declaration of the Rights of Indigenous People ซึ่งต้องใช้เวลาร่างเกือบสิบปี ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1985-1993 โดยคณะทำงานที่เรียกว่า UN Working Group on Indigenous Populations (WGIP) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญอิสระจำนวน 5 คน โดยในคำประกาศมีแนวคิดอยู่บนหลักการของการมีสิทธิร่วมกัน และเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนที่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ

สิทธิของชนพื้นเมือง: สิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง
ปฏิญญาฉบับนี้ (the United Nations Draft Declaration of the Rights of Indigenous People) ร่างขึ้นด้วยข้อมูลจำนวนมากที่ได้จากตัวแทนชนพื้นเมือง โดยมีข้อบัญญัติใน article 3 ที่ว่าด้วยการมีสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง (self-determination) ของชนพื้นเมือง อันเป็นหลักการและสัญลักษณ์หลักในการเคลื่อนไหวของชนพื้นเมือง เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง คือสิทธิของปวงชนในการกำหนดชะตาตัวเอง อันเป็นสิทธิที่ชนพื้นเมืองมองว่าเป็นวิธีที่ทำให้สามารถใช้สิทธิมนุษยชนอื่นทั้งหมด ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นเพียงร่างปฏิญญา แต่ในถ้อยแถลงในประกาศอันหนึ่งของสหประชาชาติก็สามารถสรุปได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

ตั้งแต่ ค.ศ. 1996 เป็นต้นมา ร่างปฏิญญาฉบับนี้อยู่ภายใต้การตรวจสอบด้วยการประชุมร่วมในหัวข้อที่เป็นการเปิดกว้างโดยคณะทำงานที่เรียกว่า Working Group of Commission on Human Rights of the Draft Declaration (WGDD) ซึ่งเป็นคณะทำงานที่มีอำนาจแก้ไขข้อความและเนื้อหาภายในร่างปฏิญญาตามที่เห็นว่าเหมาะสม ตัวแทนชนพื้นเมืองจะได้รับสิทธิเข้าร่วมประชุมด้วย สมาชิกของคณะทำงานประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศต่างๆ ทั้งนี้ การประชุมหารือกันร่วมกันของทุกฝ่ายซึ่งยังหาข้อยุติไม่ได้ เต็มไปด้วยความเห็นขัดแย้งและการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการปะทะระหว่างรัฐกับตัวแทนชนพื้นเมืองในประเด็นสิทธิของชนพื้นเมืองในเรื่องของการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง สิทธิดังกล่าวกลายเป็นประเด็นข้อถกเถียงกันเนื่องจากสิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง เป็นเรื่องที่เชื่อมโยงไปถึงเรื่องของการสร้างรัฐอิสระ มีความหวั่นเกรงว่าการยอมรับสิทธิดังกล่าวจะเป็นการนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนเกิดขึ้น

สิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง ไม่รวมถึงสิทธิในการจัดตั้งรัฐอิสระ
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าเป็นไปได้ที่ความต้องการของชนพื้นเมืองจะได้รับการสนับสนุนจากเสียงข้างมาก(ในระหว่างที่กำลังเขียนบทความนี้) และการประชุมหารือกันในปัจจุบันก็สะท้อนให้เห็นว่า มีความคิดเห็นสอดคล้องกันมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องสิทธิของชนพื้นเมือง แม้แต่ประเด็นยุ่งยากเช่น สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองก็มีความคืบหน้า โดยที่ข้อถกเถียงกันในประเด็นสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมืองกำลังได้รับความสนใจน้อยลง แต่ที่ได้รับการพิจารณามากขึ้นคือประเด็นว่า ในบริบทของชนพื้นเมือง อะไรคือรูปแบบที่เหมาะสมของสิทธิดังกล่าว? ซึ่งประเทศต่างๆ ก็ได้เริ่มแสดงการยอมรับสิทธิการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของชนพื้นเมือง ถึงแม้ว่าในระยะแรกจะไม่เต็มใจยอมรับสิทธิดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม โดยเป็นการยอมรับในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงสิทธิในการจัดตั้งรัฐอิสระ (Coulter, 2002:1)

ในช่วงประมาณสามสิบปีที่ผ่านมา ความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองในระดับระหว่างประเทศอันเป็นการเคลื่อนไหวที่ประสบความสำเร็จในวงกว้าง เป็นสิ่งที่สามารถตรวจสอบและอธิบายได้ด้วยปัจจัยต่างๆ หลายข้อ นักวิเคราะห์การเคลื่อนไหวทางสังคมได้มีการใช้เครื่องมือเชิงแนวคิด (conceptual tools) ชุดเดียวกันมากขึ้น ในการนำมาอธิบายถึงการพัฒนาและผลลัพธ์ของขบวนการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นในบริบทระดับประเทศหรือระหว่างประเทศก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของขบวนการเคลื่อนไหวก็คือ

- โอกาสทางการเมือง (political opportunities)
- โครงสร้างการระดมทรัพยากร (mobilizing structure) และ
- กระบวนการในการกำหนดกรอบยุทธวิธี (framing process) (McAdam et al., 1996)

ในบทความนี้ จะเน้นพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องของกระบวนการกำหนดกรอบยุทธวิธี เนื่องจากระหว่างทั้งสามปัจจัย การกำหนดกรอบยุทธวิธีเป็นเรื่องที่มีการศึกษาน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยในเรื่องโอกาสทางการเมืองหรือเรื่องโครงสร้างในการระดมทรัพยากร

กระบวนการในการกำหนดกรอบยุทธวิธี (framing process)
สำหรับเรื่องกระบวนการการกำหนดกรอบยุทธวิธี มีการนำมากล่าวถึงในผลงานทางวิชาการน้อยกว่าทั้งสองปัจจัยเป็นอย่างมาก เหตุผลอาจเป็นเพราะว่า การวิเคราะห์ระบบการเมืองที่มีอยู่นั้นเปิดกว้างให้กับการเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายกว่าการประเมินเชิงประจักษ์ในเรื่องกระบวนการการกำหนดกรอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังขาดความชัดเจนเป็นอย่างมากในสาระสำคัญ. นอกจากนี้ การเลือกพิจารณาปัจจัยของการกำหนดกรอบยุทธวิธีก็เพราะว่า ยังไม่มีการตระหนักถึงศักยภาพของวิธีการกำหนดกรอบอย่างเต็มรูปแบบ โดยส่วนใหญ่มีการพูดถึงการกำหนดกรอบยุทธวิธีเพียงเล็กน้อย และจำกัดอยู่เพียงประเด็นของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดตั้งขบวนการเคลื่อนไหว กับผู้ที่มีโอกาสจะเข้าร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหว

จุดประสงค์ส่วนหนึ่งของบทความนี้คือ การแสดงให้เห็นว่า "การกำหนดกรอบยุทธวิธี"อาจเป็นปัจจัยที่นำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจกับผลของการเคลื่อนไหว เพื่อให้เห็นถึงประโยชน์และการนำปัจจัยการกำหนดกรอบยุทธวิธีไปใช้ให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันยังขาดเครื่องมือที่จะนำมาใช้อธิบายผลลัพธ์ของการเคลื่อนไหว ทั้งนี้กรอบยุทธวิธี (frames) เป็น

"วิธีในการนำเสนอเหตุการณ์, สถานการณ์ และประสบการณ์ ออกมาเป็นภาพรวมที่มีความหมายสำคัญ เพื่อทำให้ข้อเรียกร้องของกลุ่มมีความชอบธรรมและเกิดพลังสนับสนุนมากขึ้น" (Snow and Benford, 1992: 137-8)

จึงควรที่จะหันไปใช้ปัจจัยเรื่องการกำหนดกรอบยุทธวิธีเป็นเหตุผล ในการอธิบายเรื่องของการระดมทรัพยากร และผลกระทบทางการเมืองภายนอก. ขบวนการเคลื่อนไหวนั้น สามารถหาแนวร่วมได้ด้วยวิธีการกำหนดกรอบการเคลื่อนไหว และยังสามารถทำให้ได้พันธมิตรระดับชนชั้นนำที่อยู่ภายในสถาบันต่างๆ อีกด้วย ซึ่งจะเป็นผลทำให้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ทางการเมืองตามมา

มุมมองด้านกรอบยุทธิวิธี (The Framing Perspective)
ในทศวรรษ 1980, Snow และเพื่อนได้นำเสนอแนวคิดเรื่อง"การกำหนดกรอบยุทธวิธี" มาใช้ในการศึกษาเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (Snow, Rochford, Warden and Benford, 1986) เนื่องจากการวิเคราะห์ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม มักหลีกเลี่ยงที่จะนำปัจจัยทางความคิดมาใช้พิจารณา Snow กับกลุ่มเพื่อนจึงได้ยืมศัพท์คำว่า "framing" ของ Goffman (1974) มาใช้สำหรับทำการศึกษาเรื่องขบวนการเคลื่อนไหว เพื่อเป็นการสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับวิธีที่ผู้จัดตั้งการเคลื่อนไหว นำเสนอความหมายไปยังผู้ที่อาจเข้าร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหว ดังที่ Snow และ Benford ได้กล่าวไว้ดังนี้

ที่พวกเรานำการกำหนดกรอบยุทธวิธี (framing) มาใช้สรุปความคิดรวบยอด เป็นเพราะว่าการกำหนดกรอบยุทธวิธี เป็นปัจจัยหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการขบวนการเคลื่อนไหว อันเป็นวิธีของการสร้างกรอบ, หรือให้ความหมายหรือตีความเหตุการณ์และสภาพการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปในลักษณะที่มุ่งหวังเพื่อจะระดมคนให้เข้าร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหว, เพื่อหาพลังสนับสนุนจากคนทั่วไป และสลายพลังของฝ่ายตรงข้าม

Snow และ Benford เห็นว่า แนวทางการกำหนดยุทธวิธี ประกอบด้วยกิจกรรมหลักอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน คือ

1. การวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสถานการณ์บางอย่างซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไข
2. เสนอแนวทางแก้ปัญหา และ
3. ระดมคนให้ร่วมต่อสู้เรียกร้อง

ทั้งนี้การกำหนดกรอบยุทธวิธีที่สามารถสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประการแรก จะต้องเป็นกรอบที่แสดงให้เห็นว่า "การที่ศักดิ์ศรีแห่งวิถีชีวิตของคนเราไม่ได้รับการเคารพ ไม่ใช่สิ่งที่ชะตากำหนด
แต่เป็นสาเหตุมาจากตัวกระทำบางประการ" (Tarrow,1994: 122)

ประการที่สอง กรอบยุทธวิธีจะต้องมีการกำหนดวิธีการแก้ปัญหา, หาแนวทางใหม่ในการดำเนินการต่างๆ และต้องเสนอวิธีการใหม่ในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม

ประการสุดท้าย กรอบปฏิบัติที่เหมาะสม ควรมีปัจจัยที่สามารถสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ (Snow and Benford, 1988: 202) คุณสมบัติของการกำหนดกรอบที่จะก่อให้เกิดแรงกระตุ้น คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระ, สถานการณ์, ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรือแรงกระตุ้นทางอารมณ์

การเปิดเสรีทางความคิด การสร้างความเห็นพ้อง และระบบคิด (ideological package)
ไม่ใช่เพียง Snow และเพื่อนที่ยืนยันถึงความสำคัญของการปฏิบัติการร่วมในมิติทางอุดมการณ์(ideational dimensions of collective action) ในขณะที่พวกเขากำลังพัฒนามุมมองเรื่องการกำหนดกรอบยุทธวิธีอยู่ McAdam (1982) ได้เสนอคำว่าการเปิดเสรีทางความคิด (cognitive liberation) ซึ่งหมายถึงการปรับเปลี่ยนทัศนะความเข้าใจของผู้ที่อาจเข้าเป็นแนวร่วม โดย McAdam มองว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับแรกในการระดมคน สำหรับ Klandermans (1988) ก็ยอมรับว่าการเคลื่อนไหวร่วมกันในเชิงปลุกระดมมีผลกระทบอย่างสำคัญ Klandermans ได้พัฒนาแนวคิดที่เรียกว่าการสร้างความเห็นพ้อง (consensus mobilization) อันหมายถึงการที่ผู้เคลื่อนไหวพยายามจะทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันเพื่อระดมคนออกมาสนับสนุน

สำหรับ Gamson (1989) เขาเห็นว่าวิธีการเคลื่อนไหวทางสังคมกำลังมีแนวโน้มไปในทางการต่อสู้ในเรื่องของการตีความปัญหามากขึ้นโดยเฉพาะการใช้สื่อ และยังทำให้มีการถกเถียงกันเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับบทบาทของแนวทางการกำหนดกรอบยุทธวิธีและการสร้างความหมาย ทั้งนี้ Gamson ได้เสนอแนวคิดที่เรียกว่าชุดของระบบคิด (ideological package) ซึ่งหมายถึงแนวคิดและกรอบยุทธวิธีชุดหนึ่งๆ

กระบวนการจัดกรอบ 4 รูปแบบ (frame alignment processes)
สิ่งที่นักวิชาการมีความเข้าใจสอดคล้องกันคือ การสร้างความหมาย (meaning construction) ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสภาพสุญญากาศทางสังคม, วัฒนธรรมหรือทางการเมือง แต่ขบวนการเคลื่อนไหวเชื่อมโยงงานทางความคิดของตนให้สามารถโน้มน้าวผู้รับสารกลุ่มเป้าหมาย หรือ "ขบวนการเคลื่อนไหวสร้างกรอบยุทธวิธีให้มีความสอดคล้องกันระหว่างวัฒนธรรมของประชากรกลุ่มเป้าหมายกับเป้าหมายและค่านิยมของขบวนการเคลื่อนไหว" (Tarrow, 1994: 123) ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดที่สุดจากงานของ Snow และเพื่อน (Snow, Rochford, Worden and Benford, 1986) โดยพูดถึงกระบวนการจัดกรอบ (frame alignment) ที่หมายถึง "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับท่าทีการตีความขององค์กรเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement Organization: SMO) ซึ่งสัมพันธ์กันจนมีลักษณะสอดคล้องและเติมเต็มซึ่งกันและกัน" เช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง"ผลประโยชน์, ค่านิยม และความเชื่อของปัจเจกบุคคล" กับ"กิจกรรมต่างๆ" เป้าหมายและอุดมการณ์ของ SMO โดย Snow กับเพื่อนได้เสนอกระบวนการจัดกรอบ (frame alignment processes) ไว้สี่รูปแบบดังนี้

1. การเชื่อมกรอบปฏิบัติเข้าด้วยกัน (Frame bridging)
2. การขยายความ (Frame amplification)
3. การขยายกรอบ (Frame extension)
4. การปรับเปลี่ยนกรอบ (Frame transformation)

Frame bridging
การเชื่อมกรอบปฏิบัติเข้าด้วยกัน (Frame bridging) หมายถึง "การเชื่อมโยงกันของกรอบปฏิบัติตั้งแต่สองกรอบขึ้นไปที่มีความสอดคล้องกันในทางอุดมการณ์ที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหาเฉพาะเรื่อง แต่ไม่เกี่ยวข้องกันในทางโครงสร้าง สำหรับ

Frame amplification
การขยายความ (Frame amplification) เป็นรูปแบบที่ขบวนการเคลื่อนไหวจะทำการตีความสิ่งต่างๆ บนโลกที่มีความคลุมเครือหรือเต็มไปด้วยความคิดเห็นที่แตกต่างให้มีความชัดเจนหรือน่าเชื่อถือมากขึ้น ด้วยวิธีการเสริมข้อมูลสนับสนุนให้หนักแน่นขึ้น โดยจะแยกแยะให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง "ค่านิยม" (value) กับ "ความเชื่อ" (belief) ด้วยการแสดงให้เห็นว่าเอกลักษณ์หรือความสูงส่งของค่านิยมบางอย่างอาจจะเสื่อมความนิยมหรือไม่เป็นที่ยอมรับไปแล้ว และเสริมความเชื่อในสมมติฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่ง เช่น สมมติฐานว่า พระเจ้าตายแล้ว, พวกนายทุนคือพวกตักตวงผลประโยชน์ และคนผิวดำคือคนสวย

Frame extension
การขยายกรอบ (Frame extension) เป็นการขยายขอบเขตงานการตีความให้ครอบคลุมไปถึงกลุ่มคนที่มีความสนใจและมุมมองที่อาจไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวัตถุประสงค์พื้นฐานของขบวนการ แต่ว่ามีความหมายเป็นอย่างมากต่อการทำให้ได้รับพลังสนับสนุนมากขึ้น

Frame transformation
สำหรับรูปแบบสุดท้าย "การปรับเปลี่ยนกรอบ" (Frame transformation) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนความหมายและความเข้าใจเดิมและสร้างความหมายใหม่ขึ้นมา

ช่วงชิงการเลือกปฏิบัติ: ประชาชนทุกคนมีสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตตน
(Contesting Discrimination: "All People' Have The Rights To Self-determination)

ที่มาและเนื้อหาในเรื่องกรอบยุทธวิธี (frame) : เมื่อคณะทำงาน WGIP เริ่มดำเนินการครั้งแรกใน ค.ศ. 1982 ตัวแทนชนพื้นเมืองได้มีส่วนเข้าร่วมประชุม แม้ว่าในขณะนั้นจะมีจำนวนตัวแทนอยู่เพียงไม่กี่คนก็ตาม แต่มีการเตรียมพร้อมอย่างดีในการเริ่มต้นกำหนดทิศทางของตนเอง ภายในระยะเวลากระชั้นชิด สิ่งที่คณะตัวแทนได้ทำ ไม่เพียงเฉพาะการพูดถึงความต้องการในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิการตัดสินใจด้วยตัวเอง แต่ยังมีแนวทางในการกำหนดข้อเรียกร้องด้วยภาษาของกฎหมายระหว่างประเทศ

ในการประชุมระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่มีขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 จนถึงต้นทศวรรษที่ 1980 ซึ่งจัดขึ้นในประเทศต่างๆ ที่อยู่ห่างไกลกันอย่างสวีเดน และออสเตรเลีย (Sanders, 1998: 76) ได้เปิดโอกาสให้ผู้นำและตัวแทนชนพื้นเมืองกำหนดวัตถุประสงค์ของตน และกำหนดแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน ในบทความนี้ไม่ได้มุ่งศึกษากระบวนการการสร้างกรอบยุทธวิธี แต่สิ่งสำคัญที่จะพูดถึงคือ การสร้างกรอบยุทธวิธี (framing) ส่วนมากจะสร้างให้เชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาระดับระหว่างประเทศ การพัฒนาของกรอบยุทธวิธีว่าด้วยการเลือกปฏิบัติจึงเป็นเรื่องที่เป็นที่เข้าใจได้ เมื่อพิจารณาจากการที่ประเด็นการเลือกปฏิบัติซึ่งได้รับการพิจารณาในที่ประชุมของสหประชาชาติ เกี่ยวกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenants on Civil and Political Rights: ICCPR) กติการะหว่างเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR)

การเลือกปฏิบัติต่อชนพื้นเมือง: การไม่มีสิทธิกำหนดวิถีชีวิตตนเอง
ข้อตกลงเหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองในระดับระหว่างประเทศในระยะเริ่มต้น ใน article 1 ระบุไว้ว่า "ทุกชนชาติล้วนมีสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง" (United Nation, 1966) การกำหนดสาระสำคัญแบบเปิดกว้างด้วยการให้สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองมีสิทธิโดยชอบธรรมในการกำหนดกรอบเพื่อเรียกร้องสิทธิดังกล่าว เฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้ตัวแทนชนพื้นเมืองสามารถใช้เป็นเหตุผลยืนยันได้ว่า ชนพื้นเมืองในฐานะบุคคลควรได้รับสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง และยังสามารถอ้างเหตุผลได้อีกว่าการตีความใดๆ ก็ตามที่เป็นการทำให้เกิด "ชนชาติ" สองประเภท คือ ชนชาติที่มีสิทธิกำหนดวิถีชีวิตตนเอง กับชนชาติที่ไม่มีสิทธิกำหนดวิถีชีวิตตนเอง จะเป็นการตีความที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการเลือกปฏิบัติต่อชนพื้นเมือง ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยคำอธิบายดังต่อไปนี้

ใน ICCPR และ ICESCR ได้มีการระบุไว้ว่า "ทุกชนชาติ" มีสิทธิกำหนดวิถีชีวิตตนเอง กติกานี้ร่างขึ้นเพื่อคุ้มครองทุกชนชาติโดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่มีบทบัญญัติใดในกติกาทั้งสองฉบับที่กำหนดให้เลือกคุ้มครองบุคคลบางกลุ่ม และปฏิเสธการคุ้มครองบุคคลบางกลุ่ม และในปฏิญญาสากล (the Universal Declaration) ก็ได้ระบุไว้เช่นกันว่า สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ จะต้องได้รับความคุ้มครองทั่วโลก โดยไม่มีการแบ่งแยก (North American Indigenous Caucus Statement to the WGIP, 1992)

การกระทำใดที่มีอยู่และเป็นความพยายามจำกัดสิทธิของชนพื้นเมือง ไม่สามารถยกเหตุผลใดมาอ้างความชอบธรรมได้ การกระทำดังกล่าวเป็นการเหยียดผิว, การเลือกปฏิบัติ และความมีอคติ (Grand Council of the Crees, Statement to the WGIP, 1992)

ถ้อยแถลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า กรอบยุทธวิธีที่ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ ถูกทำให้เป็นหลักการและมีพลังในการโน้มน้าว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่ร่วมร่างกติกาเหล่านี้ต่างมีความเห็นตรงกันว่า ควรมีการจำกัดสิทธิดังกล่าวกับพื้นที่ที่มีการแบ่งเขตตามหลักภูมิศาสตร์, เขตแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเอง และชนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้อยู่ในปกครอง (excluded minority) หรือชนชาติที่อยู่ในรัฐอิสระ ไม่ว่าจะเป็นชนชาติที่อยู่ใต้การปกครองหรือไม่ก็ตาม

Salt-water Thesis (ข้อวินิจฉัยทะเลน้ำเค็ม)
(ทฤษฎีว่าด้วยการจำกัดสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของประเทศอาณานิคม)
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แม้ดูเหมือนว่า article 1 ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนโดยให้ทุกชนชาติทั่วโลกมีสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วกติกาแห่งสหประชาชาติทั้งสองฉบับไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้มีการตีความครอบคลุมไปถึงชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแต่ละประเทศซึ่งรวมถึงชนพื้นเมืองด้วย ทั้งนี้ในร่างเอกสาร travaux preparatoires ได้ระบุไว้ว่ากติกาแห่งสหประชาชาติไม่ได้เจตนาที่จะเพิ่มเติมสิ่งใดลงไป ในสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองซึ่งเป็นสิทธิที่มีอยู่แล้วในร่าง UN Declaration on the Granting of Independence to Colonial Countries ซึ่งร่างขึ้นใน ค.ศ. 1960 ได้ให้การรับรองว่า "ทุกชนชาติมีสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง" แต่ต้องเป็นไปตามข้อตกลงของประเทศสมาชิก ในมติที่ประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ 1541(General Assembly Resolution 1541) ซึ่งต้องตีความร่วมกับปฏิญญา ค.ศ. 1960 ได้ระบุไว้ถึงหลักการในการปลดปล่อยอาณานิคมที่จะนำไปใช้กับดินแดนใดๆ คือ หลักการ "การแบ่งแยกตามหลักภูมิศาสตร์ โดยมีความแตกต่างจากประเทศที่ปกครองดินแดนนั้น ในแง่ของเรื่องเชื้อชาติหรือเรื่องทางวัฒนธรรม" (United Nations, 1960b: principle IV)

ทฤษฎีนี้เรียกว่า "salt-water thesis" (ทฤษฎีว่าด้วยการจำกัดสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองของประเทศอาณานิคม) ได้ถูกนำเสนอโดยกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาและกลุ่มประเทศสังคมนิยม ซึ่งมีความเชื่อว่า การขยายการตีความปฏิญญาจะเป็นภัยร้ายแรงที่คุกคามบูรณภาพทางดินแดนและอธิปไตยของประเทศ กลุ่มประเทศเหล่านี้จึงยืนยันว่า คำว่า "ชนชาติอาณานิคม" (colonial peoples) ตามที่ระบุใน UN Declaration on the Granting of Independence to Colonial Countries ให้มีความหมายเป็นเพียงชนชาติที่อยู่ใต้อาณานิคม ที่มีน่านน้ำขวางกันชนชาติเหล่านี้กับประเทศเจ้าอาณานิคม

การที่ตัวแทนชนพื้นเมืองสำคัญผิด ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตามว่า ถ้อยคำในกติกาแห่งสหประชาชาติตั้งใจจะเพิ่มเติมบางอย่างในกฎที่ว่าด้วยการให้สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง อันเป็นกฎที่มีอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ซึ่งอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะชนพื้นเมืองได้มีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายระหว่างประเทศ ด้วยการทำให้ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน "ที่อยู่เหนือการเมืองได้เข้าไปสู่ขอบเขตที่มีผลทางกฎหมายอย่างแท้จริง" อันหมายถึงการที่ชนพื้นเมืองสามารถลบล้างความคิดเห็นของเสียงส่วนใหญ่ทางการเมืองที่มีมาแต่เดิม ที่ต้องการให้ "เก็บประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองไว้ในขอบเขตของหลักการที่อยู่ภายในโลกแบบรัฐนิยม" (statist world) (Falk, 2000: 1204) ทั้งนี้ สิ่งที่ตัวแทนชนพื้นเมืองทำคือการตีความกติกาแห่งสหประชาชาติตามตัวอักษร และด้วยการทำลายความน่าเชื่อถือของการตีความใดๆ ในสนธิสัญญาซึ่งเป็นไปในทางอื่นให้กลายเป็นการตีความในแบบที่เป็นการเลือกปฏิบัติ อันทำให้เสียงส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิทธิมากกว่าเรื่องทางการเมือง และทำให้การเกิดมีปฏิกิริยาต่อเรื่องความต้องการและความเสมอภาคระหว่างประเทศ

ผลกระทบของกรอบยุทธวิธีที่ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ : เสียงสะท้อนและวัฒนธรรมองค์กร
(Impact of the Frame: Resonance and Institutional Culture)

Snow และ Benford (1988) ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่มีผลต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการพยายามสร้างกรอบยุทธวิธี คือปัจจัยที่ว่าด้วยระดับของค่านิยม และความเชื่อที่ขบวนการเคลื่อนไหวพยายามยกมาใช้สนับสนุนหรือคัดค้าน นับว่าเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้นๆ ในระบบความเชื่อของกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะสนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหว ค่านิยมที่ชนพื้นเมืองยกมาใช้สนับสนุนการเคลื่อนไหวด้วยการสร้างกรอบยุทธวิธีว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดภายในระบบของสหประชาชาติ เพราะข้อห้ามเรื่องการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ เพศ หรือด้วยลักษณะเฉพาะอื่นใด ไม่เพียงเป็นกฎเกณฑ์สำหรับกฎหมายระหว่างประเทศตามจารีตประเพณี แต่ยังเป็นตัวอย่างหนึ่งของกฎหมายที่มีสภาพบังคับ (jus cogens) อันหมายถึงกฎเกณฑ์ของกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นหลักการพื้นฐานที่ไม่อาจแยกออกจากหรือยกเลิกด้วยสนธิสัญญา (Pritchard, 1998: 14) ซึ่งคงไม่มีอะไรจะขยายความเชื่อเรื่องค่านิยมสำหรับการสร้างกรอบยุทธวิธีของคนพื้นเมืองได้ดีไปกว่านี้ และการยกเหตุผลเรื่องการเลือกปฏิบัติมากล่าวอ้าง ก็เป็นการสร้างความหนักใจให้กับผู้ที่ต่อต้านสิทธิของชนพื้นเมืองในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง ตรงกันข้ามจะเห็นได้ว่า ท่าทีใดที่เป็นไปอย่างสอดคล้องกับข้อห้ามเรื่องการเลือกปฏิบัติ ก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้กับฝ่ายสนับสนุนในการยอมรับสิทธินี้

เนื่องจากสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองเป็นประเด็นที่ยุ่งยากและมีข้อถกเถียงเป็นอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคณะทำงาน WGIP ซึ่งที่มีหน้าที่ร่าง UN Draft Declaration on the Rights of Indigenous People ในระหว่าง ค.ศ. 1985 - 1993 จึงไม่ได้บรรจุประเด็นนี้ไว้ในร่างปฏิญญาดังกล่าวตั้งแต่ต้น กระทั่ง ค.ศ. 1991 จึงได้มีการบรรจุสิทธิดังกล่าวไว้ในร่าง UN Draft Declaration on the Rights of Indigenous People ด้วยแนวคิดรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นการกำหนดสิทธิปกครองตนเองที่เจาะจงเฉพาะสำหรับชนพื้นเมือง โดยยอมรับให้ชนพื้นเมืองมี "เสรีภาพในการกำหนดความสัมพันธ์ของชนพื้นเมืองกับประเทศที่ตนอยู่อาศัย บนหลักการของการอยู่ร่วมกันกับพลเมืองอื่นๆ และมีเสรีภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรมและศาสนาของตนเอง" (United Nations, 1991: 32)

การกำหนดชีวิตของตนเอง ไม่ใช่การส่งเสริมการสร้างรัฐอิสระ
ต่อมาใน ค.ศ. 1992 ได้มีการแก้ไขอีกครั้ง ด้วยการให้ความหมายใหม่ดังที่ Erica Daes ได้อธิบายไว้ว่า สิทธิตามความหมายใหม่นี้มีเจตนา "เพื่อเป็นการจำกัดสิทธิซึ่งเป็นเอกลักษณ์ภายในที่มีลักษณะเฉพาะ .... โดยไม่ได้มีความหมายใดๆ ที่อาจสื่อถึงการส่งเสริมให้มีการสร้างรัฐอิสระ" (United Nations, 1992) และเมื่อมีการประชุมแก้ไขร่างนี้ในวาระสุดท้ายในปี ค.ศ. 1993 คณะทำงาน WGIP จึงได้มีการเห็นชอบกับเรื่องของสิทธิตามความหมายใน article 1 ใน International Human Rights Covenants โดยได้มีการนำมาบรรจุไว้ใน article 3 ของ UN Draft Declaration on the Rights of Indigenous People

อย่างไรก็ตาม คณะผู้เชี่ยวชาญ WGIP ได้อ้างเหตุผลว่า ที่มีการดำเนินการดังกล่าวก็เพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่ว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงยุทธวิธีของชนพื้นเมืองในการสร้างกรอบปฏิบัติ ซึ่งสามารถดูได้จากบันทึกคำอธิบายหลังจากที่ได้มีการจัดทำร่างปฏิญญาดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์แล้ว. Erica Daes ได้ให้เหตุผลไว้ว่า "การกล่าวว่าชนพื้นเมืองไม่มีสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง ด้วยเหตุผลที่อ้างว่ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นชนพื้นเมือง เท่ากับเป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้" (1993: 4) และ Daes ยังได้เขียนไว้ที่อื่นอีกว่า "มีเหตุผลอย่างเต็มที่ในการขยายความชอบธรรมของสิทธินี้ให้ครอบคลุมชนพื้นเมือง เพื่อว่าคนกลุ่มนี้จะไม่ถูกเหยียบย่ำจากลัทธิเหยียดผิว" (Daes, 1996: 55)

นอกจากนี้ กรอบยุทธวิธีที่ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติก็ยังส่งผลต่อความคิดเห็นของฝ่ายรัฐ โดยเป็นผลทำให้เสียงส่วนใหญ่ซึ่งมีพลังหนักแน่นมากในระหว่างทศวรรษที่ 1960 อ่อนแรงลง เสียงส่วนใหญ่ที่ว่านั้นเป็นเสียงที่เห็นว่า สิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ควรจะครอบคลุมไปถึงชนชาติที่อาศัยอยู่ภายในอาณาเขตของรัฐอิสระ มีประเทศจำนวนหนึ่งรวมถึงทุกประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกาและแถบคาริบเบียน ได้ประสานเสียงกับตัวแทนชนพื้นเมืองและกับผู้เชี่ยวชาญจาก WGIP ร่วมกันเรียกร้องให้มีการยอมรับข้อความในร่างปฏิญญาฉบับปัจจุบัน และเรียกร้องให้ยอมรับหลักการแห่งสหประชาชาติ ที่ว่าด้วยการกระทำที่จะต้องเป็นไปตามหลักแห่งความเสมอภาค และการไม่เลือกปฏิบัติ

ตัวอย่างของกรณีนี้เกิดขึ้น ณ ที่ประชุมของ WGDD เมื่อกัวเตมาลาได้ตำหนิสหรัฐอเมริกาซึ่งเสนอในที่ประชุมให้ชนพื้นเมืองมีสิทธิปกครองตนเองบนพื้นฐานเฉพาะ ข้อเสนอเช่นนั้นมีลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติและ "เป็นการกำหนดสิทธิในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองในแบบใหม่ ที่มีลักษณะเป็นสิทธิชั้นสอง" (from the author's note, 4 December 2002) จนถึงขณะนี้ การกล่าวหาดังกล่าวที่ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติก็ยังไม่สามารถโน้มน้าวให้สหรัฐอเมริกายอมถอนข้อเสนอให้แก้ไขข้อความดังกล่าว แต่ก็เห็นได้ชัดว่าตัวแทนของสหรัฐอเมริกาในที่ประชุม WGDD รู้สึกลำบากใจกับข้อกล่าวหาดังกล่าว และดูเหมือนว่า ตัวแทนเหล่านี้ยังไม่พบวิธีที่จะนำมาใช้ต่อสู้กับประเด็นดังกล่าวได้ เนื่องจากปรากฏชัดว่าการเลือกปฏิบัติเป็นประเด็นที่ครอบคลุมความหมายทุกอย่าง เพราะการเลือกปฏิบัติโดยตัวมันเองแล้วเป็น "เครื่องมือของการกดขี่ตามบริบทแห่งกฎหมาย" (Feldman, 2002: 572)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกไปอ่านต่อบทความนี้ ตอนที่ ๒)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ : Release date 04 November 2008 : Copyleft MNU.

สาระสังเขบของบทความ: การพัฒนาสิทธิชนพื้นเมืองในองค์กรสหประชาชาติ: กรอบยุทธวิธี และผลกระทบที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ - ในช่วงเวลาสามสิบปีที่ผ่านมา ชนพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ ได้ปรากฏตัวขึ้นเป็นพลเมืองที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีสิทธิในฐานะชนชาติที่มีลักษณะเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกฎหมายระหว่างประเทศเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของผู้นำชนพื้นเมือง, ตัวแทนชุมชน, และบรรดานักกฎหมายจำนวนหลายร้อยคน ตลอดระยะ ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้ คนพื้นเมืองเริ่มมีความกระตือรือร้นกับการพยายามที่จะปรับเปลี่ยนแนวโน้ม รวมถึงทิศทางของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดอำนาจในการช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างชนพื้นเมือง

H