ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




29-10-2551 (1655)

แวดวงวรรณกรรม: ออร์ฮาน พามุก นักเขียนรางวัลโนเบล 2006
Orhan Pamuk: สถาปนิกผู้ผันตัวเองมาเป็นนักประพันธ์รางวัลโนเบล 2006
ปรีดี หงษ์สต้น : แปลและเรียบเรียง
นักแปลอิสระ จบคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทแปลต่อไปนี้ ได้รับมาจากผู้แปล เป็นเรื่องเกี่ยวกับงานเขียนส่วนตัว
ของออร์ฮาน พามุก นักเขียนชาวตุรกีที่ผลิกผันตนเองจากความใฝ่ฝัน
ที่จะเป็นจิตรกร สถาปนิก มาเป็นนักประพันธ์เต็มตัว จนได้รับรางวัลโนเบล
จากชีวประวัติส่วนตัว เมื่อออร์ฮาน พามุก ยังอยู่ในช่วงวัยเด็ก ตุรกียังขาด
ซึ่งห้องสมุดชั้นเยี่ยม ดังนั้นเขาจึงเริ่มสร้างห้องสมุดดีๆ ของตนเอง
และด้วยเทศกาลหนังสือที่แฟรงค์เฟิร์ต(ประเทศเยอรมนี)ปีนี้ มุ่งความสนใจไปที่
วัฒนธรรมตุรกี เขาจึงหวนระลึกถึงความหลัง ไปสู่คนขายหนังสือในตลาดบียาซิท

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๕๕
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แวดวงวรรณกรรม: ออร์ฮาน พามุก นักเขียนรางวัลโนเบล 2006
Orhan Pamuk: สถาปนิกผู้ผันตัวเองมาเป็นนักประพันธ์รางวัลโนเบล 2006
ปรีดี หงษ์สต้น : แปล
นักแปลอิสระ จบคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

เรื่องราวของนักสะสม
ออร์ฮาน พามุก เขียน

บทนำ
Ferit Orhan Pamuk เป็นนักเขียนนวนิยายชาวตุรกี และศาสตราจารย์ทางด้านวรรณคดีเปรียบเทียบซึ่งสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลับคอลัมเบีย ก่อนหน้านี้เขาใฝ่ฝันที่จะเป็นจิตรกร และได้เรียนทางด้านสถาปัตยกรรมที่ Istanbul Technical University หลังจากเรียนได้ 3 ปี เขาได้ออกมาเป็นนักเขียนเต็มตัว และจบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านหนังสือพิมพ์ในปี 1976. หนังสือของออร์ฮาน พามุกได้รับการจำหน่ายกว่า 7 ล้านเล่มและได้รับการแปลถ่ายทอดมากกว่า 15 ภาษา ทำให้เขากลายเป็นนักเขียนที่ติดอันดับหนึ่ง ซึ่งมีหนังสือขายดีที่สุดของประเทศ นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัลวรรณกรรมอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณคดี ในปี ค.ศ.2006 ด้วย
(อ่านชีวประวัติของออร์ฮาน พามุก ท้ายบทความ)

เริ่มเรื่อง
เมื่อออร์ฮาน พามุก ยังอยู่ในช่วงวัยเด็ก ตุรกียังขาดซึ่งห้องสมุดชั้นเยี่ยม ดังนั้นเขาจึงเริ่มสร้างห้องสมุดดีๆ ของตนเอง ด้วยเทศกาลหนังสือที่แฟรงค์เฟิร์ต(ประเทศเยอรมนี)ปีนี้ มุ่งความสนใจไปที่วัฒนธรรมตุรกี เขาจึงหวนระลึกถึงความหลัง ไปสู่คนขายหนังสือในตลาดบียาซิท (Beyazit)

ห้องสมุดของผมเกิดขึ้นได้จากห้องสมุดของพ่ออีกทีหนึ่ง เมื่อผมอายุได้สิบเจ็ดหรือสิบเแปด และเริ่มจะอุทิศเวลาส่วนใหญ่ไปกับการอ่าน ผมจะอ่านหนังสือส่วนใหญ่ที่พ่อเก็บเอาไว้ในห้องนั่งเล่น และหากชอบ ผมจะนำไปเก็บไว้ที่ห้องของตัวเองท่ามกลางหนังสือเล่มอื่นๆ ของผม พ่อเองก็ภูมิใจที่ได้เห็นลูกชายรักการอ่าน และคราใดที่เห็นหนังสือของตนบนชั้นของผม พ่อก็จะเย้าผมโดยพูดว่า "ฮ้า! หนังสือเล่มนั้นได้เลื่อนยศแล้ว!"

ในปี 1970 ยามที่ผมอายุย่างเข้าสิบแปดปี ผมก็เริ่มเขียนบทกวีเฉกเช่นเหล่าหนอนหนังสือวัยเยาว์ชาวตุรกีทำกัน ตกกลางคืนผมจะสูบบุหรี่และเขียนบทกวีแล้วซ่อนมันเอาไว้ ช่วงนี้เองที่ผมอ่านรวมบทกวีที่พ่อของผม (ซึ่งใฝ่ฝันอยากเป็นกวีตั้งแต่เด็กๆ) เก็บเอาไว้บนชั้น จำได้ว่าชอบเล่มบางๆ ซีดๆ เล่มหนึ่ง ของกวีผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในตุรกีว่า เขาเป็นสมาชิกของคลื่นลูกแรก (ทศวรรษที่ 1940 และ 1950) และคลื่นลูกที่สอง (ทศวรรษที่1960 และ 1970) และผมก็เขียนร้อยกรองออกมาตามแนวทางเหล่านั้น

กวีของกลุ่มคลื่นลูกแรก-ออร์ฮาน วีลี่ เมลิห์ เคพเด็ท และออคเตย์ ริฟัทถูกจดจำได้จากชื่อของรวมบทกวีชุดแรกที่พวกเขาร่วมกันพิมพ์ขึ้นในชื่อการิบ (Garip) หรือ "แปลก" พวกเขาได้นำภาษาชาวบ้านมาสู่กวีนิพนธ์ตุรกียุคใหม่ มีสำนวนหลักแหลมและปฏิเสธจะรับเอารูปแบบที่แสนจะเป็นทางการของภาษาราชการ ซึ่งเป็นภาษาแห่งผู้กดขี่ และมักจะสะท้อนเสียงแห่งเผด็จการของพวกเขาอย่างดังก้อง

ผมได้รับแรงบันดาลใจจากเหล่ากวีคลื่นลูกที่สองด้วย พวกเขานำจิตวิญญาณการแสวงหาสิ่งใหม่ไปสู่ชนรุ่นหลัง นำน้ำเสียงแห่งการพรรณนาและการแสดงออกสู่วงการกวีนิพนธ์ และยังนำแรงบันดาลใจแห่งดาดาอิสม์ เซอเรียลลิสม์ และการประดับประดาเข้าไปอีกด้วย ยามที่ผมอ่านงานของกวีที่ส่วนใหญ่ได้ล่วงลับไปหมดแล้วนี้ (ซีมาล ซุริยา เทอร์กัท อูยา อิลฮาน เบิร์ก) ผมมักเชื่อเสมอว่าตนเองสามารถเขียนบทกวีได้อย่างพวกเขา เชื่อในแบบที่เวลาเราดูภาพวาดแอบแสตรคและไร้เดียงสามากเสียจนคิดว่าเราสามารถวาดมันได้ด้วยตนเองทีเดียว! แม้งานส่วนใหญ่ของกวีชาวตุรกีนั้นจะค่อนข้างฉาบฉวย แต่แรงผลักทางความคิดของมันทำให้ผมสนใจ ทั้งนี้เพราะเหล่ากวีต้องต่อสู่กับความเป็นตะวันตก ยุคสมัยใหม่ รวมทั้งยุโรป กวีท้องถิ่นจะเก็บอะไรได้มากเท่าใดกันในขณะที่ประเพณีของวัฒนธรรมออตโตมัน-ตุรกี กำลังจางหายไปอย่างรวดเร็ว? และด้วยวิธีใดกันเล่า?

ในยุคต้นทศวรรษที่เจ็ดศูนย์ กวีนิพนธ์ยังถูกมองว่าเป็นวรรณกรรมที่แท้จริงชนิดเดียวในตุรกี นิยายกลับถูกมองว่าเป็นรองหรือเป็นรูปแบบที่มุ่งสู่มหาชนมากกว่า แต่นิยายก็ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังมากขึ้นตั้งแต่ 35 ปีที่แล้วมานี้ และในขณะเดียวกันกวีนิพนธ์ก็ถูกลดความสำคัญลงไป ในยุคที่ว่านี้ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์เติบโตขึ้นอย่างน่าใจหาย ณ เวลาที่ผมตัดสินใจว่าจะเป็นนักเขียนนั้น ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองไม่ได้ถูกให้คุณค่าในฐานะการแสดงถึงความรู้สึกอันอ่อนไหว สำนึกที่แปลกแยก หรือจิตวิญญาณของบุคคลในฐานะปัจเจกเลย สิ่งที่ถูกมองว่าดีคือการที่เหล่านักประพันธ์ผู้จริงจังทำงานร่วมกันและงานของพวกเขาจะถูกให้คุณค่าในฐานะที่มันได้มอบอะไรแก่สังคมในอุดมคติ และสะเทือนวิสัยทัศน์ร่วม (เช่น สมัยใหม่นิยม สังคมนิยม อิสลามนิยม ชาตินิยม สาธารณรัฐฆราวาสนิยม) ความสนใจต่องานของนักเขียนสร้างสรรค์ที่ดึงเอามาจากประวัติศาสตร์และประเพณี หรือนักเขียนที่พยายามเสาะแสวงหาน้ำเสียงที่เหมาะกับตนเองที่สุดยังมีน้อยมาก วรรณกรรมมักจะพูดถึงเรื่องอนาคตมากกว่า หน้าที่ของนักเขียนคือการทำงานรับใช้รัฐเพื่อสร้างสังคมที่สงบสุขและสมานฉันท์

ในยุคแห่งอิทธิพลตะวันตกและความเป็นสมัยใหม่ที่รุดหน้ารวดเร็วอย่างในทุกวันนี้ หัวใจของปัญหา - ไม่ใช่เรื่องวรรณกรรมตุรกีเท่านั้น แต่รวมถึงวรรณกรรมอื่นๆ ทั้งหมดนอกโลกตะวันตก - คือความยากลำบากในการวาดภาพฝันของพรุ่งนี้ด้วยสีของวันนี้ กล่าวคือมันเป็นภารกิจในการใฝ่ฝันถึงประเทศหนึ่งที่บรรจุเอาไว้ด้วยค่านิยมสมัยใหม่ ในขณะที่ยังคงธำรงรักษาเอาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของตน นักเขียนผู้ใฝ่ฝันถึงสังคมอนาคตอันสุดขั้ว มักจะไปตกอยู่ในความขัดแย้งทางการเมืองและการแย่งชิงอำนาจทำให้พวกเขาไปลงเอยในคุก และโชคชะตาก็ได้ให้น้ำเสียงที่แข็งกระด้างและเจ็บปวดแก่พวกเขา

ในห้องสมุดของพ่อผมนั้นมีหนังสือเล่มแรกๆ ของกวีนาม นาซิม ฮิกเหม็ด ในยุคสามศูนย์ ก่อนที่เขาจะถูกส่งเข้าคุก ความประทับใจของผมที่มีต่อโทสะ สุ้มเสียงแห่งความหวัง การโหยหาสังคมอุดมคติ และการค้นพบสิ่งใหม่ของกวีผู้นี้นั้น มากพอๆ กันกับที่ได้รับรู้ความเจ็บปวดที่เขาต้องกล้ำกลืน ในช่วงเวลาที่เขาอยู่ในคุก การเล่าถึงชีวิตภายใต้การกักขังในบันทึกและจดหมายของนักประพันธ์สัจนิยมอย่างเช่น ออร์ฮาน คีมาล และคีมาล ทาฮีร์ ซึ่งถูกกักขังอยู่ในคุกเดียวกัน - คุณสามารถสร้างห้องสมุดขึ้นมาได้เลยจากการรวบรวมบันทึก นิยาย และเรื่องราวต่างๆ จากนักวิชาการและนักหนังสือพิมพ์ตุรกีที่ไปลงเอยในคุก มันมีช่วงหนึ่งที่ผมอ่านวรรณกรรมเกี่ยวกับชีวิตในคุกมากเสียจนรู้ว่าชีวิตประจำวันของพวกเขาเป็นอย่างไร รู้สึกถึงท่าท่างองอาจและบทสนทนาอันหยาบกระด้างประหนึ่งผมเคยเข้าไปใช้ชีวิตในคุกเสียเอง

ในวันเหล่านั้น จินตภาพนักเขียนของผมคือผู้ที่มักมีตำรวจคอยเฝ้าเวรดูอยู่ที่หน้าประตูบ้านเสมอ นักเขียนจะถูกติดตามโดยตำรวจนอกเครื่องแบบตามท้องถนน ถูกดักฟังโทรศัพท์ ไม่สามารถขอพาสปอร์ตได้ และมักเขียนจดหมายสำนวนจับใจถึงเหล่าคนที่เขารักจากในเรือนจำ - วิถีชีวิตเช่นนี้มิใช่แบบที่ผมถวิลหา แต่ผมกลับพบว่ามันสุดแสนจะโรแมนติก! เมื่อผมประสบปัญหาเดียวกันนี้ในสามทศวรรษต่อมา ผมปลอบใจตนเองโดยการตระหนักว่า ปัญหาที่ตนเองประสบนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อยกว่าที่นักเขียนเหล่านั้นเคยประสบยามที่ผมยังเยาว์

ผมเสียดายที่ตนเองไม่สามารถขจัดความคิดแห่งยุคแสงสว่างทางปัญญาที่ว่า หนังสือมีไว้สำหรับสอนการใช้ชีวิต มันอาจจะเป็นเพราะชีวิตนักเขียนในตุรกีพิสูจน์ว่ามันเป็นเช่นนั้นก็ได้ แต่มันก็อาจเป็นเพราะประเทศตุรกียังขาดห้องสมุดขนาดใหญ่ที่คุณจะสามารถหาหนังสืออะไรก็ได้ที่ตนต้องการ หากผมต้องการจะเรียนรู้ทุกๆ สิ่งที่ต้องเรียนรู้ และจะต้องการเป็นพหูสูตรที่สามารถหลีกหนีไปจากข้อจำกัดของวรรณกรรมแห่งชาติ - ซึ่งจำกัดโดยกลุ่มวรรณกรรมและวิธีนำเสนอแบบหนึ่ง และบังคับใช้ด้วยการสั่งห้ามของรัฐ - ผมคงจะต้องสร้างห้องสมุดขนาดใหญ่เป็นของตนเอง

ระหว่างปี 1970 และ 1990 เวลาของผมนอกจากการเขียนหนังสือหมดไปกับการซื้อหนังสือ ผมต้องการให้ห้องสมุดของผมบรรจุหนังสือทุกเล่มที่ตนเองมองว่าสำคัญหรือมีประโยชน์ พ่อผมให้งบประมาณมาพอสมควรทีเดียว ดังนั้นจากอายุ 18 เป็นต้นมาผมก็มีนิสัยการไปซาฮาฟลา (Sahaflar) ซึ่งเป็นตลาดหนังสือเก่าแก่ในบียาซิททุกสัปดาห์ ผมใช้เวลาหลายวันในร้านหนังสือเล็กๆ ต่างๆ ที่อุณหภูมิร้อนระอุจากเครื่องทำความร้อนเกินพอดี และเป็นที่ซึ่งเต็มไปด้วยกองหนังสือที่ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่เป็นพะเนินเทินทึก

ทุกๆ คนตั้งแต่คนขาย เจ้าของร้าน หรือลูกค้าจะดูยากจน ผมจะเข้าไปในร้านขายหนังสือมือสอง ดูหนังสือจากทุกชั้น ไล่ดูแต่ละเล่มๆ และผมก็จะหยิบหนังสือประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างสวีเดนและอาณาจักรออตโตมันในศตวรรษที่ 18 บันทึกของหัวหน้าแพทย์ในโรงพยาบาลบาเคอร์คอย (Bakirk?y) เกี่ยวกับผู้วิกลจริต บันทึกของนักข่าวที่เป็นพยานของการปฏิวัติที่ล้มเหลว เอกสารเกี่ยวกับอนุสาวรีย์ออตโตมันในมาเซโดเนีย บทย่อภาษาตุรกีเกี่ยวกับบันทึกของนักเดินทางชาวเยอรมันที่มาถึงอิสตันบูลในศตวรรษที่ 17 หรือความเห็นของศาสตราจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ในซาปา (Capa) เรื่องโรคซึมเศร้า และเมื่อต่อราคาได้เป็นที่พอใจแล้ว ผมก็จะเอาใส่รถเข็นลากจากไป

ผมไม่ได้ซื้อหนังสืออย่างที่นักสะสมทำกัน แต่ซื้อในฐานะคนเสมือนวิกลจริตที่อยากรู้แทบบ้าว่าทำไมตุรกีถึงได้ยากจนข้นแค้นเช่นนี้ ในยุคแปดศูนย์มีหนังสือเฉลี่ยประมาณ 3,000 เล่มตีพิมพ์ในตุรกี และผมเห็นพวกมันเกือบหมดทีเดียว หนังสือขายดีของทุกๆ ร้านคือเหล่าสุสานขนาดใหญ่ของประวัติศาสตร์ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการค้นหาต้นรากปัญหาความยากจนของชาวตุรกีและ "ความล้าหลัง" (backwardness) รวมทั้งการลุกฮือทางสังคมและการเมือง

งานอันทะเยอทะยานเหล่านี้มีน้ำเสียงกราดเกรี้ยว ตรงกันข้ามกับประวัติศาสตร์อาณาจักรออตโตมันซึ่งเวลานี้มีความสำคัญน้อยลง แต่จะมาโทษคนรุ่นหลังมากไม่ได้จากความจาบัลย์ที่พวกเขาได้เผชิญ ทั้งที่ส่งผลให้เกิดความยากจน การขาดการศึกษา ความล้าหลังหากเปรียบกับอำนาจต่างชาติหรือความจัญไรของการตราหน้าผู้อื่นในสังคมของเราเอง ผมไม่เคยสามารถเอาชนะความดึงดูดของงานประวัติศาสตร์ นิยาย ข้อบันทึกที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิวัติรัฐประหารในยุคของผม หรือการลอบสังหารทางการเมืองอันไม่รู้จบได้เลย งานเหล่านี้นำเสนอมันในรูปแบบการสืบสวนเพื่อเปิดเผยความลับ การสมคบคิด หรือเกมระหว่างมหาอำนาจต่างชาติ

บันทึกของหมอในอุดมคติ วิศวกร เจ้าหน้าที่เก็บภาษี ทูตและนักการเมือง อัตชีวประวัติของดาราภาพยนตร์ หนังสือเกี่ยวกับชีคและลัทธิต่างๆ และการเล่าเรื่องของคนธรรมดาที่ชื่อมากมายได้ถูกกล่าวถึง - ผมซื้อหนังสือเหล่านี้ทั้งหมดเพราะมันมีความขบขัน ชีวิต และความจริงอยู่ข้างใน และนอกเหนือไปจากนั้น, มันมีความเป็นตุรกีบรรจุอยู่

ขณะที่ไล่ดูหนังสือเหล่านี้ ผมจะรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ มองงานเหล่านั้นเป็นดังงานที่ผมจะเขียนเองให้ได้ในวันหนึ่ง แล้วผมจะรู้สึกมีความสุข แต่ในเวลาที่มืดมนที่สุดของชีวิต ผมจะรู้สึกเหมือนฟารุค (Faruk) - ตัวเอกของนิยายเล่มที่สองของผมเรื่อง เดอะไซเลนท์ เฮาส์ - ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ย้อนไปหลายศตวรรษของหอจดหมายเหตุออตโตมัน และเรื่องราวเหล่านั้นก็ติดอยู่ในหัว เขาเองไม่ได้ลืมสิ่งที่ถูกเขียนขึ้นแต่ไม่สามารถเชื่อมมันต่อกันได้ ผมสงสัยเรื่อง "ความสำคัญ" ของการเก็บรักษาข้อมูลทั้งหมดของวัฒนธรรมเอาไว้ ว่ามันจะสลักสำคัญสักเพียงใดกัน? ตัวอย่างเช่น, การรู้ว่าใครเป็นผู้จุดไฟในเหตุการณ์มหาอัคคีภัยอิซมีร์ (Izmir) จะสำคัญอย่างไร?

เมื่อผมนึกย้อนไปถึงช่วงเวลาที่ผมเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากหนังสือที่นำเข้ามาในบ้าน - ในยามที่ผมตระหนักว่ามันไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไรต่อโลกนี้แม้แต่น้อย ผมจะรู้สึกว่างเปล่าและไร้ค่า ความคิดที่ห้อมล้อมผมในช่วงศตวรรษที่ยี่สิบที่ผมเห็นตนเองยืนอยู่ไกลห่างจากจุดศูนย์กลาง ความคิดเหล่านี้ไม่ได้หยุดให้ผมรักห้องสมุดแต่อย่างใดเลย หลังจากที่ผมโตขึ้นมาหน่อย ผมไปอเมริกาและได้เข้าห้องสมุดอีกหลายๆ แห่ง ผมได้ประจัญหน้ากับความรุ่มรวยแห่งวัฒนธรรมโลก มันกลายเป็นทำให้ผมปวดร้าวเหลือเกินที่รู้ว่าตนเองรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตุรกีน้อยเพียงใด

ในนิยายของมิลาน คุนเดอรา (*) เรื่องสโลว์เนส มีตัวละครชาวเชคคนหนึ่ง ซึ่งในขณะที่เข้าร่วมการประชุมนานาชาติอยู่นั้น ก็ได้พยายามใช้ทุกโอกาสในการพูดถึงว่า "ในประเทศผมมันเป็นอย่างไร" เขาถูกมองว่าเป็นตัวตลก มันคงจะถูกที่ทุกคนดูแคลนเขาเพราะเขาคิดถึงเพียงแต่ประเทศตนเอง และล้มเหลวที่จะเชื่อมโยงมันเข้ากับโลก ผมเป็นดั่งตัวตลกคนนี้ หากแต่ผมมิได้ปรารถนาเป็นเช่นเขา มันเป็นช่วงทศวรรษที่ 1980 ที่ผมเข้าใจว่า ถ้า (ผมขอยืมสองคำนี้มาจากวีรบุรุษในนิยายของผม เดอะ แบลค บุค) ผมต้องการ "เป็นตัวเอง" มันต้องไม่เป็นเช่นการเย้ยหยันงานของวี เอส ไนพอล เรื่องอิมมิเทชั่น แมน ในการแสดงออกแบบบ้านๆ ของเขา

(*) Milan Kundera (born April 1, 1929, in Brno, Czechoslovakia) is a Czech and French writer of Czech origin who has lived in exile in France since 1975, where he became a naturalized citizen in 1981. He is best known as the author of The Unbearable Lightness of Being, The Book of Laughter and Forgetting, and The Joke.

Kundera has written in both Czech and French. He revises the French translations of all his books; these therefore are not considered translations but original works. Due to censorship by the Communist government of Czechoslovakia, his books were banned from his native country, and that remained the case until the downfall of this government in the Velvet Revolution in 1989.

ผมเศร้าใจแทนดอสโตเยฟสกี (*) ผู้ซึ่งโกรธาเมื่อเห็นนักวิชาการรัสเซียรู้จักยุโรปดีกว่าประเทศของตน ในขณะเดียวกัน ผมก็มองว่าโทสะเช่นนี้ก็มิได้มีความยุติธรรมไปเสียทั้งหมด จากประสบการณ์ ผมรู้ว่าจุดประสงค์ของการที่ดอสโตเยฟสกีปกป้องวัฒนธรรมรัสเซียและออโธดอกซ์ มิสติซิสม์นั้นมันเป็นการเกรี้ยวกราดไม่เพียงแต่ต่อตะวันตกเท่านั้น แต่มันเป็นความเกรี้ยวกราดต่อทุกชาติทุกภาษาที่ไม่รู้จักวัฒนธรรมของตนเอง

(*) Fyodor Mikhailovich Dostoevsky (November 11 [O.S. October 30] 1821 - February 9 [O.S. January 28] 1881) was a Russian novelist and writer of fiction whose works include Crime and Punishment and The Brothers Karamazov.

Dostoevsky's literary output explores human psychology in the troubled political, social and spiritual context of 19th-century Russian society. Considered by many as a founder or precursor of 20th century existentialism, his Notes from Underground (1864), written in the embittered voice of the anonymous "underground man", was called by Walter Kaufmann the "best overture for existentialism ever written."

ในระยะเวลา 35 ปีที่ผมใช้เขียนหนังสือ ผมเรียนรู้ที่จะไม่แยกเอางานที่เขียนถึงวัฒนธรรมอื่นๆ ทิ้งไป ไม่ว่าพวกมันจะดูโง่เง่าหรือแปลกแปร่งเท่าใดก็ตาม ทั้งนี้เพราะผมพยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา คุณจะต้องไม่หนีออกจากงานเขียนที่มีความเป็นท้องถิ่นด้วยการย้ายเข้าเมือง หากแต่สิ่งที่สำคัญคือคุณต้องสร้างน้ำเสียงของตัวเองขึ้นมาให้จงได้

ผมอายุย่างเข้าเลขหลักสี่แล้วกว่าจะเรียนรู้ว่า เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผมรักห้องสมุดของตัวเองนั้นคือ
ทั้งชาวตุรกีและชาวตะวันตกก็มิได้รู้อะไรที่ถูกบรรจุอยู่ในนั้นเลย

(หนังสือพิมพ์ the guardian 18 ตุลาคม 2008)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



Ferit Orhan Pamuk

Ferit Orhan Pamuk (born on 7 June 1952 in Istanbul) generally known simply as Orhan Pamuk, is a Turkish novelist and professor of comparative literature at Columbia University. One of Turkey's most prominent novelists, his work has sold over seven million books in more than fifty languages, making him the country's best-selling writer. Pamuk is the recipient of numerous literary awards, including the Nobel Prize in Literature 2006-the first Nobel Prize to be awarded to a Turkish citizen.

Pamuk was born in Istanbul in 1952 and grew up in a wealthy yet declining bourgeois family; an experience he describes in passing in his novels The Black Book and Cevdet Bey and His Sons, as well as more thoroughly in his personal memoir Istanbul. He was educated at Robert College secondary school in Istanbul and went on to study
architecture at the Istanbul Technical University since it was related to his real dream career, painting. He left the architecture school after three years, however, to become a full-time writer, and graduated from the Institute of Journalism at the University of Istanbul in 1976. From ages 22 to 30, Pamuk lived with his mother, writing his first novel and attempting to find a publisher. He is a Muslim, but he describes himself as a cultural one who associates the historical and cultural identification with the religion.

On 1 March 1982, Pamuk married Aylin Turegen, a historian. From 1985 to 1988, while his wife was a graduate student at Columbia University, Pamuk assumed the position of visiting scholar there, using the time to conduct research and write his novel The Black Book in the university's Butler Library. This period also included a visiting fellowship at the University of Iowa.

Pamuk returned to Istanbul; a city to which he is strongly attached. He and his wife had a daughter named R?ya born in 1991, whose name means "dream" in Turkish. In 2001, he and Aylin were divorced.

In 2006, after a period in which criminal charges had been pressed against him for his outspoken comments on the Armenian Genocide, Pamuk returned to the US to take up a position as a visiting professor at Columbia. Pamuk is currently a Fellow with Columbia's Committee on Global Thought and holds an appointment in Columbia's Middle East and Asian Languages and Cultures department and at its School of the Arts.

In May 2007 Pamuk was among the jury members at the Cannes Film Festival headed by British director Stephen Frears. In the 2007-2008 academic year Pamuk returned to Columbia once again to jointly teach comparative literature classes with Andreas Huyssen and David Damrosch.

Pamuk is also currently a writer in residence at Bard College. He completed his latest novel, Masumiyet Muzesi (The Museum of Innocence) in the summer of 2008 and the book was released in Turkey at 29th of August. The German translation will appear shortly before the 2008 Frankfurt Book Fair where Pamuk was planning to hold an actual Museum of Innocence consisting of everyday odds and ends the writer has amassed (the exhibition will instead occur in an Istanbul house purchased by Pamuk). Plans for an English translation have not been made public, but Erdag Goknar received a 2004 NEA grant for the project. His elder brother Sevket Pamuk - who sometimes appears as a fictional character in Orhan Pamuk's work - is a professor of economics, internationally recognized for his work in history of economics of the Ottoman Empire, working at Bogazici University in Istanbul.

Work

Orhan Pamuk started writing regularly in 1974. His first novel, Karanlik ve Isik (Darkness and Light) was a co-winner of the 1979 Milliyet Press Novel Contest (Mehmet Eroglu (* tr) was the other winner). This novel was published with the title Cevdet Bey ve Ogullari (Mr. Cevdet and His Sons) in 1982, and won the Orhan Kemal Novel Prize in 1983. It tells the story of three generations of a wealthy Istanbul family living in Nisantasi, the district of Istanbul where Pamuk grew up.

Pamuk won a number of critical prizes for his early work, including the 1984 Madarali Novel Prize for his second novel Sessiz Ev (The Silent House) and the 1991 Prix de la Decouverte Europeenne for the French translation of this novel. His historical novel Beyaz Kale (The White Castle), published in Turkish in 1985, won the 1990 Independent Award for Foreign Fiction and extended his reputation abroad. The New York Times Book Review stated, "A new star has risen in the east-Orhan Pamuk." He started experimenting with postmodern techniques in his novels, a change from the strict naturalism of his early works.
Popular success took a bit longer to come to Pamuk, but his 1990 novel Kara Kitap (The Black Book) became one of the most controversial and popular readings in Turkish literature, due to its complexity and richness. In 1992, he wrote the screenplay for the movie Gizli Yuz (Secret Face), based on Kara Kitap and directed by a prominent Turkish director, ?mer Kavur. Pamuk's fourth novel Yeni Hayat (New Life), caused a sensation in Turkey upon its 1995 publication and became the fastest-selling book in Turkish history. By this time, Pamuk had also become a high-profile figure in Turkey, due to his support for Kurdish political rights. In 1995, Pamuk was among a group of authors tried for writing essays that criticized Turkey's treatment of the Kurds. In 1999, Pamuk published his book of essays Oteki Renkler (Other Colors).

Pamuk's international reputation continued to increase when he published Benim Adim Kirmizi (My Name is Red) in 2000. The novel blends mystery, romance, and philosophical puzzles in a setting of 16th century Istanbul. It opens a window into the reign of Ottoman Sultan Murat III in nine snowy winter days of 1591, inviting the reader to experience the tension between East and West from a breathlessly urgent perspective. My Name Is Red has been translated into 24 languages and won international literature's most lucrative prize, the IMPAC Dublin Award in 2003.

Nobel Prize

On 12 October 2006, the Swedish Academy announced that Orhan Pamuk had been awarded the 2006 Nobel Prize in literature for Istanbul, confounding pundits and oddsmakers who had made Syrian poet Ali Ahmad Said, known as Adonis, a favorite. In its citation, the Academy said: "In the quest for the melancholic soul of his native city, [Pamuk] has discovered new symbols for the clash and interlacing of cultures." Orhan Pamuk held his Nobel Lecture 7 December 2006, at the Swedish Academy, Stockholm. The lecture was entitled "Babam?n Bavulu" (My Father's Suitcase) and was given in Turkish. In the lecture he viewed the relations between Eastern and Western Civilizations in an allegorical upper text which covers his relationship with his father.

What literature needs most to tell and investigate today are humanity's basic fears: the fear of being left outside, and the fear of counting for nothing, and the feelings of worthlessness that come with such fears; the collective humiliations, vulnerabilities, slights, grievances, sensitivities, and imagined insults, and the nationalist boasts and inflations that are their next of kind ... Whenever I am confronted by such sentiments, and by the irrational, overstated language in which they are usually expressed, I know they touch on a darkness inside me. We have often witnessed peoples, societies and nations outside the Western world-and I can identify with them easily-succumbing to fears that sometimes lead them to commit stupidities, all because of their fears of humiliation and their sensitivities. I also know that in the West-a world with which I can identify with the same ease-nations and peoples taking an excessive pride in their wealth, and in their having brought us the Renaissance, the Enlightenment, and Modernism, have, from time to time, succumbed to a self-satisfaction that is almost as stupid.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๑ : Release date 29 October 2008 : Copyleft MNU.

ในห้องสมุดของพ่อผมนั้นมีหนังสือเล่มแรกๆ ของกวีนาม นาซิม ฮิกเหม็ด ในยุคสามศูนย์ ก่อนที่เขาจะถูกส่งเข้าคุก ความประทับใจของผมที่มีต่อโทสะ สุ้มเสียงแห่งความหวัง การโหยหาสังคมอุดมคติ และการค้นพบสิ่งใหม่ของกวีผู้นี้นั้น มากพอๆ กันกับที่ได้รับรู้ความเจ็บปวดที่เขาต้องกล้ำกลืน ในช่วงเวลาที่เขาอยู่ในคุก การเล่าถึงชีวิตภายใต้การกักขังในบันทึกและจดหมายของนักประพันธ์สัจนิยมอย่างเช่น ออร์ฮาน คีมาล และคีมาล ทาฮีร์ ซึ่งถูกกักขังอยู่ในคุกเดียวกัน - คุณสามารถสร้างห้องสมุดขึ้นมาได้เลยจากการรวบรวมบันทึก นิยาย และเรื่องราวต่างๆ จากนักวิชาการและนักหนังสือพิมพ์ตุรกีที่ไปลงเอยในคุก มันมีช่วงหนึ่งที่ผมอ่านวรรณกรรมเกี่ยวกับชีวิตในคุกมากเสียจนรู้ว่าชีวิตประจำวันของพวกเขาเป็นอย่างไร? (คำโปรย)

H