ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




22-08-2551 (1645)

ASEAN-The Association of Southeast Asian Nations
วิถีทางแบบอาเซียน และประวัติความเป็นมาสมาคมเอเชียอาคเนย์

สมเกียรติ ตั้งนโม: แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการและนักแปลอิสระ โครงการสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ
สื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้เรียงลำดับหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- แรงกระตุ้นต่างๆ สำหรับการก่อกำเนิดอาเซียน
- วิถีทางแบบอาเซียน (Tha Asian Way)
- แทร็กหนึ่ง แทร็กสอง แทร็กสาม
- การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)
- ชุมชนทางเศรษฐกิจ (Economic community)
- เขตเสรีทางการค้า (Free Trade Area)
- ตลาดการบินแห่งเดียว (Single Aviation Market)
- กิจกรรมต่างๆ ทางวัฒนธรรม (Cultural activities)
- ข้อวิจารณ์จากโลกตะวันตก เกี่ยวกับสมาคมอาเซียน

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๔๕
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๐.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ASEAN-The Association of Southeast Asian Nations
วิถีทางแบบอาเซียน และประวัติความเป็นมาสมาคมเอเชียอาคเนย์

สมเกียรติ ตั้งนโม: แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการและนักแปลอิสระ โครงการสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ความนำ
สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปกติแล้วหมายถึงกลุ่มประเทศ"อาเซียน" ซึ่งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์การเมืองและภูมิเศรษฐกิจเดียวกัน ประกอบด้วยประเทศต่างๆ 10 ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ สมาคมนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 โดยอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และประเทศไทย เป้าหมายโดยรวมคือ กลุ่มประเทศทั้ง 5 นี้ต้องการเร่งเครื่องทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และพัฒนาการทางด้านสังคมวัฒนธรรมท่ามกลางกลุ่มประเทศสมาชิกทั้งหลาย ตลอดรวมถึงการปกป้องสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และเตรียมการให้เกิดโอกาสสำหรับประเทศสมาชิกให้มีการสนทนาพูดคุยกันในเชิงสันติที่แตกต่าง

ก่อนหน้าที่จะมีการก่อตั้งกลุ่มประเทศอาเซียน มีองค์กรระหว่างประเทศที่เรียกว่า สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ the Association of Southeast Asia, ปกติใช้คำย่อว่า ASA ซึ่งมีพันธมิตรประกอบด้วยฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, และประเทศไทย ได้ร่วมมือกันในปี ค.ศ.1961. แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศดังกล่าวได้รับการสถาปนาขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม 1967 เมื่อบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศของห้าประเทศ อันประกอบด้วย - อินโดนีเซีย, มาเลเชีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, และประเทศไทย ได้มีการพบปะหารือกัน ณ กระทรวงการต่างประเทศที่กรุงเทพฯ และได้ลงชื่อในคำประกาศอาเซียน(the ASEAN Declaration) ซึ่งโดยปกติรู้จักกันในนาม "คำประกาศกรุงเทพ"(the Bangkok Declaration). รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งห้า ประกอบด้วย Adam Malik แห่งอินโดนีเซีย, Narciso Ramos แห่งฟิลิปปินส์, Abdul Razak แห่งมาเลเซีย, S. Rajaratnam แห่งสิงคโปร์, และ นายถนัด คอมันตร์ แห่งประเทศไทย ได้รับการพิจารณาในฐานะบิดาแห่งการก่อตั้งสมาคมประชาชาติอาเซียน

แรงกระตุ้นต่างๆ สำหรับการก่อกำเนิดอาเซียน

- ต้องการที่จะสร้างเสถียรภาพเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมภายนอก (เพื่อว่าบรรดาชนชั้นปกครองทั้งหลายของประเทศสมาชิก
จะได้เพ่งความเอาใจใส่ต่อการสร้างประเทศชาติ)

- ความกลัวร่วมกันที่มีต่อภัยลัทธิคอมมิวนิสต์, การคลายความกังวลและลดทอนความไม่มั่นใจต่อกำลังภายนอกในช่วงทศวรรษ 1960 เช่นเดียวกับ

- ความมุ่งมาดปรารถนาในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ มิใช่เรื่องที่เป็นความทะเยอทะยานของอินโดนีเซียในการที่จะทำให้ภูมิภาคนี้มีอำนาจนำ โดยอาศัยความร่วมมือกันในระดับภูมิภาค และความคาดหวังของมาเลเซีย และสิงคโปร์ในการบีบบังคับอินโดนีเซีย และน้อมนำไปสู่กรอบของการร่วมมือกันมากขึ้น. ไม่เหมือนกับสหภาพยุโรป, อาเซียนได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อรับใช้ลัทธิชาตินิยม

ในปี ค.ศ.1976 รัฐเมลาเนเชีย ของปาปัว นิว กินี ได้รับการยอมรับในฐานะผู้สังเกตการณ์. ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1970s องค์กรนี้ได้มีการดำเนินการโครงการหนึ่งในเชิงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ตามมาด้วยการประชุมสุดยอดบาหลีในปี 1976. แต่ต้องประสบกับความล้มเหลวในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980s และได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในช่วงปี 1991 เนื่องมาจากข้อเสนอของไทยเกี่ยวกับการทำให้เป็นเขตการค้าเสรีในภูมิภาค. ต่อจากนั้น กลุ่มประเทศดังกล่าวได้เติบโตขึ้น เมื่อบูรไน ดารุสซาลาม ได้กลายเป็นสมาชิกลำดับที่หก หลังจากประเทศดังกล่าวได้เข้าร่วมกับอาเซียนเมื่อวันที่ 8 มกราคม 1984 หนึ่งสัปดาห์พอดีภายหลังที่ประเทศนี้ได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม

วันที่ 28 กรกฎาคม 1995 เวียดนามได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนในลำดับที่เจ็ด. ลาวและเมียนมาร์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในอีกสองปีต่อมา คือ 23 กรกฎาคม 1997. กัมพูชาก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพร้อมกับลาวและเมียนมาร์ด้วย แต่ได้รับการเลื่อนเวลาออกไปเนื่องมาจากการต่อสู้ทางการเมืองภายในของประเทศ. ต่อมาเมื่อรัฐบาลมีเสถียรภาพ กัมพูชาได้เข้าร่วมกับกลุ่มอาเซียนในวันที่ 30 เมษายน ปี 1999

ช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1990s กลุ่มประเทศอาเซียนได้มีการเพิ่มเติมสมาชิกและขับเคลื่อนไปสู่การมีบูรณาการร่วมกันมากขึ้น. ในปี 1990 มาเลเซียได้สนอให้มีการประชุมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก อันประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน และสาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้ โดยมีเจตจำนงเกี่ยวกับการพยายามถ่วงดุลอิทธิพลที่กำลังเพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกาในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) เช่นเดียวกับในภูมิภาคเอเชียในภาพรวม. แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้ต้องประสบกับความล้มเหลว เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการคัดค้านอย่างแข็งกร้าวจากญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา

ความล้มเหลวข้างต้น อย่างไรก็ตาม รัฐสมาชิกทั้งหลายยังคงธำรงไว้ซึ่งการบูรณาการกันต่อไป. ในปี 1992 แผนการว่าด้วย ข้อตกลงอัตราภาษีพิเศษที่เท่าเทียมสำหรับเขตการค้าเสรี (the Common Effective Preferential Tariff) (CEPT) ได้รับการลงนาม ในฐานะที่เป็นขั้นตอนเกี่ยวกับข้อตกลงพิกัดภาษีศุลกากร และในฐานะเป้าหมายข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขันทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลผลิตเบื้องต้นอันหนึ่งของการปรับตัวสู่ตลาดโลก. กฎเกณฑ์นี้ปฏิบัติการในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน. นอกจากการปรับปรุงเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกแต่ละประเทศแล้ว อาเซียนยังโฟกัสในเรื่องของสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคด้วย. ปี 1995 สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการลงนาม และทำให้เกิดผลจริงจังขึ้นในปี 2001 หลังจากรัฐสมาชิกทั้งมวลได้ให้สัตยาบัน เกี่ยวกับการห้ามให้มีอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคมีผลบังคับใช้

ช่วงเริ่มต้นคริสตศตวรรษที่ 21 ประเด็นทั้งหลายได้เปลี่ยนไปสู่การคาดหวังในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น. กลุ่มประเทศอาเซียนเริ่มมีการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงทางด้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ รวมถึงการลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับมลพิษด้านหมอกควันข้ามชาติของอาเซียน (the ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) ในปี 2002 ในฐานะที่เป็นความพยายามที่จะควบคุมหมอกควันอันเป็นมลภาวะทางอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. โชคไม่ดีที่เรื่องนี้ไม่ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากการปะทุขึ้นอย่างรุนแรง เกี่ยวกับภาวะหมอกควันในหมู่ชาวมาเลเซีย ปี 2005 และภาวะหมอกควันในเอเชียอาคเนย์ปี 2006. สนธิสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่นำเสนอโดยอาเซียน รวมถึงคำประกาศเรื่องความมั่นคงทางพลังงานที่เรียกว่า คำประกาศเซบูเรื่องความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก (the Cebu Declaration on East Asian Energy Security), เครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายคุ้มรองสัตว์ป่าอาเซียน(the ASEAN-Wildlife Enforcement Network)ในปี 2005, และหุ้นส่วนเอเซีย-แปซิฟิกในเรื่องพัฒนาการด้านความสะอาดและบรรยากาศ(the Asia-Pacific Partnership on Clean Development and Climate), อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขานรับต่อภาวะโรคร้อนและผลเชิงลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

ท่ามกลางการประชุมเพื่อความปรองดอง บาหลีครั้งที่สอง หรือที่เรียกว่า the Bali Concord II ในปี 2003, อาเซียนได้มีการลงนามในแนวทางสันติภาพประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่า บรรดาประเทศสมาชิกทั้งมวลต่างเชื่อว่ากระบวนการประชาธิปไตยจะนำมาซึ่งการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค อันนี้รวมทั้งประเทศสมาชิกที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยทั้งหมด ซึ่งต่างเห็นด้วยที่ว่า มีบางสิ่งที่รัฐสมาชิกทั้งมวลควรที่จะมีความปรารถนาร่วมกันดังกล่าว

บรรดาผู้นำในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเธร์ โมฮัมหมัด แห่งมาเลเซีย รู้ซึ้งถึงความต้องการที่จะสร้างสมบูรณาการในภูมิภาคกันยิ่งๆ ขึ้นไป เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1997 กลุ่มประเทศเหล่านี้ริเริ่มสร้างองค์กรต่างๆ ขึ้นในกรอบความร่วมมือกันโดยมีเจตจำนงเกี่ยวกับการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว. อาเซียนบวกสามนับเป็นประเด็นแรกของความพยายามข้างต้น ซึ่งได้รับการสร้างขึ้นเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับสาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้. ติดตามมาด้วยการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งได้รวมเอาประเทศเหล่านี้(หมายถึง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และอินเดีย, ออสเตรเลีย, และนิวซีแลนด์เข้ามาด้วย

การรวมกลุ่มใหม่นี้ปฏิบัติการในฐานะที่เป็นเงื่อนไขนำสำหรับแผนการสร้างชุมชนเอเชียตะวันออก ซึ่งโดยอนุมาน ได้รับการสร้างเป็นแบบแผนขึ้นหลังจากชุมชนยุโรป(European Community)ได้สิ้นสุดลงแล้วในปัจจุบัน. กลุ่มบุคคลที่ประสบความสำเร็จของอาเซียน(The ASEAN Eminent Persons Group)ได้รับการก่อตัวขึ้น เพื่อศึกษาถึงความสำเร็จที่เป็นไปได้ และความล้มเหลวเกี่ยวกับนโยบายนี้ เช่นเดียวกับความเป็นไปได้ของการยกร่างกฎบัตรอาเซียนขึ้น

ในปี 2006 อาเซียนได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ ณ สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ. ในฐานะการขานรับ อาเซียนได้ปูนบำเหน็จสถานะ"หุ้นส่วนการเจรจา"ให้กับองค์การสหประชาชาติ. ยิ่งไปกว่านั้น วันที่ 23 กรกฎาคมในปีเดียวกัน Jos & Eacute; Ramos-Horta, ซึ่งต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีของติมอร์ตะวันออก ได้ลงนามอย่างเป็นทางการสำหรับการเป็นสมาชิกอาเซียน และคาดหวังการเข้าร่วมในกระบวนการสุดท้ายก่อนการเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งอย่างน้อยต้องอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์ 5 ปี จึงจะได้รับสถานะการเป็นสมาชิกอาเซียนโดยสมบูรณ์

ในปี 2007 อาเซียนได้มีการเฉลิมฉลองการครบรอบ 40 ปีของการก่อตั้งสมาคม และ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับองค์การสหประชาชาติ. วันที่ 26 สิงหาคม 2007 อาเซียนประกาศถึงจุดประสงค์ในข้อตกลงการค้าเสรีโดยสมบูรณ์ของสมาคมฯ กับจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย, ออสเตรเลีย, และนิวซีแลนด์ ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2013 ตามแนวทางการสถาปนาเกี่ยวกับชุมชนทางเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015. ในเดือนพฤศจิกายน 2007 สมาชิกอาเซียนได้มีการลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งถือเป็นธรรมนูญความสัมพันธ์เกี่ยวกับการปกครองท่ามกลางสมาชิกอาเซียน และได้มีการสถาปนาอาเซียนเองขึ้นมาในฐานะรูปธรรมทางกฎหมายระหว่างประเทศ

ในทศวรรษที่ 1960s, แรงผลักดันในเรื่องการปลดปล่อยจากการอาณานิยมได้สนับสนุนสำนึกในการมีอธิปไตยเหนือดินแดนของอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ท่ามกลางประเทศต่างๆ. อันที่จริง การสร้างประเทศนั้น บ่อยครั้งเป็นเรื่องที่สับสนวุ่นวายและไร้ระเบียบ อีกทั้งยังอ่อนแอเกินไปต่อการแทรกแซงของประเทศภายนอก ด้วยเหตุนี้ชนชั้นปกครองซึ่งต้องการความเป็นอิสระ จึงได้ตระเตรียมนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นอิสระจากการแทรกแซงเรื่องราวภายในประเทศของพวกตนจากประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ บรรดาประเทศสมาชิกซึ่งมีเนื้อที่ขนาดเล็ก อย่างเช่น สิงคโปร์และบูรไน โดยสำนึกแล้วต่างกริ่งเกรงและกลัวภัยอำนาจการรบและมาตรการบีบบังคับต่างๆ จากเพื่อนบ้านที่ใหญ่กว่ามาก อย่าง อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ด้วยเหตุดังนั้น จึงชมชอบกับนโยบายที่การไม่ก้าวก่ายหรือแทรกแซงซึ่งกันและกัน นโยบายความปรองดอง การไม่มีการใช้กำลังและการปกป้องการเผชิญหน้า ซึ่งได้กลายเป็นหลักการสำคัญของสมาคมอาเซียนในเวลาต่อมา

บนผิวหน้า กระบวนการปรึกษาหารือและฉันทามติได้ถูกทึกทักให้เป็นการเขยิบเข้าใกล้ประชาธิปไตยในการตัดสินใจ แต่กระบวนการของอาเซียน ซึ่งจริงๆ แล้ว กระทำการโดยผ่านการติดต่อระหว่างบุคคลอย่างใกล้ชิดในท่ามกลางบรรดาผู้นำสุดยอดเท่านั้น ซึ่งมักจะมีส่วนร่วมอย่างไม่เต็มใจนักในความร่วมมือเชิงสถาบันและตามหลักกฎหมาย ที่สามารถทำให้การควบคุมระบอบของพวกเขาสึกกร่อนได้ในการดำเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือในระดับภูมิภาค

วิถีทางแบบอาเซียน (Tha Asian Way)
ลักษณะเหล่านี้ทั้งหมด กล่าวคือ

- การไม่แทรกแซงซึ่งกันและกัน
- การดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการ
- การทำให้เป็นไปในเชิงสถาบันน้อยที่สุด
- การปรึกษาหารือและการมีฉันทามติร่วมกัน
- การไม่ใช้กำลังและการลดการเผชิญหน้า
ห้าองค์ประกอบข้างต้นได้ประกอบสร้างสิ่งที่เรียกว่าวิถีทางแบบอาเซียน(the ASEAN Way).

นับจากปลายทศวรรษที่ 1990s บรรดานักวิชาการจำนวนมากได้ถกเถียงกันว่า หลักการเกี่ยวกับการไม่แทรกแซงซึ่งกันและกัน ทำให้ความพยายามต่างๆ ของอาเซียนเป็นไปอย่างทื่อๆ หรือไม่แหลมคมเพียงพอ ในการจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับเมียนมาร์, การกระทำทารุณและการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการแก้ปัญหาหมอกควันอันเป็นมลภาวะในระดับภูมิภาค. ขณะที่การใช้วิธีบนพื้นฐานของฉันทามติ อันที่จริง สมาชิกทุกประเทศซึ่งมีศักยภาพในการวีโต้และการตัดสินใจต่างๆ ได้ถูกลดทอนลงจนเหลือต่ำสุดร่วมกัน มันมีความเชื่อที่แพร่ขยายออกไปว่า สมาชิกอาเซียนควรจะมีทัศนะที่ตายตัวน้อยที่สุดบนหลักการสำคัญยิ่งสองประการนี้ (การไม่แทรกแซงกัน และการใช้ฉันทามติ) เมื่อบรรดาสมาชิกปรารถนาที่จะได้รับการมองในฐานะที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และเป็นชุมชนที่มีความสอดคล้องต้องกัน

แทร็กหนึ่ง แทร็กสอง แทร็กสาม
นอกจากการปรึกษาหารือกันและการมีฉันทามติร่วมกันแล้ว การกำหนดวาระต่างๆ ของอาเซียน และกระบวนการตัดสินใจสามารถได้รับการทำความเข้าใจอย่างน่าพอใจ ในกรณีเกี่ยวกับสิ่งซึ่งเรียกขานกันว่าแทร็กหนึ่งและแทร็กสอง(Track I and Track II)

- แทร็กหนึ่ง อ้างอิงถึงวิธีปฏิบัติในทางการทูตท่ามกลางช่องทางต่างๆ ของรัฐบาล การมีส่วนร่วมยืนหยัดในฐานะตัวแทนของรัฐที่ได้รับความเคารพของอาเซียน และสะท้อนสถานะตำแหน่งอย่างเป็นทางการของรัฐบาลประเทศสมาชิกในช่วงระหว่างการเจรจาตกลงและการตัดสินใจ. การตัดสินใจอย่างเป็นทางการทั้งหมดถูกกระทำในแทร็กที่หนึ่งนี้

- แทร็กสอง อ้างอิงถึงกิจกรรมต่างๆ ทางการทูตที่ดำเนินไปอย่างไม่เป็นทางการ และรวมถึงการมีส่วนร่วมจากทั้งรัฐบาลและสถาบันต่างๆ ที่ไม่สังกัดรัฐบาล อย่างเช่น สถาบันวิชาการ, ชุมชนทางเศรษฐกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชน. แทร็กที่สองนี้สามารถทำให้รัฐบาลสนทนาโต้เถียงในประเด็นปัญหาต่างๆ และทดลองความคิดใหม่ๆ โดยไม่จำเป็นต้องออกแถลงการณ์ที่เป็นทางการใดๆ หรือต้องผูกพันกับข้อตกลงทั้งหลาย และหากจำเป็นก็สามารถย้อนกลับไปในทิศทางเดิมหรือตำแหน่งเดิมได้

ถึงแม้ว่าการเจรจาแทร็กที่สอง บางครั้งได้รับการอ้างว่าเป็นตัวอย่างของความเกี่ยวพันกับกระบวนการประชาสังคมในการตัดสินใจระดับภูมิภาคโดยรัฐบาลต่างๆ และผู้เกี่ยวข้องกับแทร็กที่สองอื่นๆ แต่ไม่บ่อยนักที่บรรดานักพัฒนาองค์กรเอกชน(NGOs) จะสามารถเข้าถึงแทร็กนี้ได้ ขณะที่บรรดาผู้มีส่วนร่วมจากชุมชนวิชาการต่างร่วมอยู่ในองค์กรทางความคิด(think-tanks)ที่มีเป็นโหล. อย่างไรก็ตาม ในหลายๆ กรณี จำนวนมากเชื่อมโยงอยู่กับรัฐบาลต่างๆ ของพวกเขาโดยเฉพาะ และขึ้นอยู่กับการให้ทุนของรัฐบาลสำหรับกิจกรรมหลากหลายทางวิชาการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบาย. คำแนะนำของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการบูรณาการทางเศรษฐกิจ บ่อยทีเดียวค่อนข้างใกล้ชิดกับการตัดสินใจของอาเซียน ยิ่งกว่าส่วนที่เหลือ คือสถานะของประชาสังคม

- แทร็กสาม ทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นฟอรัมหรือการประชุมอภิปรายของประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียง ซึ่งโดยสาระแล้ว ในทางการทูตระหว่างคนกับคน ส่วนใหญ่ดำเนินการโดย CSOs. เครือยข่ายแทร็กที่สามนี้ อ้างกันว่าเป็นตัวแทนของชุมชนต่างๆ และผู้คนทั้งหลายซึ่งส่วนมากถูกกันให้อยู่ชายขอบจากศูนย์อำนาจทางการเมือง และไม่สามารถที่จะบรรลุถึงความเปลี่ยนแปลงในแง่บวกได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากภายนอก. แทร็กนี้พยายามที่จะมีอิทธิพลกับนโยบายของรัฐบาลโดยทางอ้อม ด้วยการล็อบบี้ สร้างแรงกดดันโดยผ่านสื่อต่างๆ. ตัวแสดงแทร็กที่สามยังมีการจัดตั้ง และ/หรือ มีการร่วมมือและจัดการประชุมเพื่อเข้าถึงบุคคลในแทร็กที่หนึ่งซึ่งเป็นทางการ

ขณะที่การพบปะของแทร็กที่สอง และการทำงานร่วมกันกับบุคคลแทร็กที่หนึ่งมีมากขึ้นและทำกันอย่างเข้มข้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มากนักในส่วนที่เหลือของประชาสังคมจะมีโอกาสที่จะประสานหรือเชื่อมกับแทร็กที่สอง. คนเหล่านั้นกับแทร็กที่หนึ่งค่อนข้างเป็นไปได้ยาก. กล่าวอีกนัยหนึ่ง การมีส่วนร่วมของประชากรส่วนใหญ่ของ CSOs ได้ถูกกันออกไปจากวาระของอาเซียน และการตัดสินใจ

การมองไปที่ทั้งสามแทร็ก เป็นที่ชัดเจนว่ากระทั่งปัจจุบัน อาเซียนได้รับการกระตุ้นโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาล ซึ่งตราบเท่าที่สาระสำคัญของอาเซียนถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความเกี่ยวพัน และสามารถอธิบายได้ต่อรัฐบาลของพวกเขาเท่านั้นซึ่งไม่ใช่ประชาชน. ในการบรรยายเนื่องในโอกาสการครบรอบ 38 ปีของอาเซียน ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย Dr. Susilo Bambang Yudhoyono สารภาพว่า:

"การตัดสินใจทั้งหมดในเรื่องราวต่างๆ และพื้นที่การค้าเสรี เกี่ยวกับแถลงการณ์ทั้งหลายและแผนดำเนินการต่างๆ ถูกกระทำโดยบรรดาผู้นำรัฐบาล บรรดารัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั้งหลาย. และข้อเท็จจริงท่ามกลางมวลชนคือ พวกเขามีความรู้น้อยมาก ดังนั้นจึงปล่อยให้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง และการริเริ่มส่วนใหญ่ในโครงการต่างๆ ที่อาเซียนมกำลังดำเนินการ เป็นของบรรดาตัวแทนของพวกเขาเท่านั้น"

การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)
องค์กรอาเซียนได้มีการจัดประชุม ซึ่งถูกรู้จักในฐานะการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่บรรดาผู้นำรัฐบาลต่างๆ ของประเทศสมาชิกจะมาพบปะกันเพื่อสนทนาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภูมิภาค เช่นเดียวกับการจัดให้มีการพบปะกันอื่นๆ กับประเทศต่างๆ ที่อยู่ภายนอกกลุ่มสมาชิกโดยตั้งใจที่จะส่งเสริมสนับสนุนความสัมพันธ์ภายนอกต่างๆ

การประชุมสุดยอดอย่างเป็นทางการของบรรดาผู้นำอาเซียนได้รับการจัดขึ้นมาครั้งแรกที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ.1976. ในการประชุมครั้งที่ 3 ได้รับการจัดขึ้นในกรุงมนิลา ในปี ค.ศ.1987 และช่วงระหว่างการประชุมสุดยอดนั้น ได้มีการทำความตกลงกันว่า บรรดาผู้นำควรจะพบปะกันในทุกๆ 5 ปี ผลที่ตามมาคือ การพบปะกันครั้งที่ 4 จึงได้รับการจัดขึ้นที่สิงคโปร์ในปี ค.ศ.1992 ซึ่งอีกครั้งที่บรรดาผู้นำได้ทำข้อตกลงที่จะมีการพบปะกันบ่อยขึ้น โดยตัดสินใจที่จะจะจัดให้มีการประชุมสุดยอดในทุกๆ 3 ปี. และในปี ค.ศ.2001 ได้มีการตัดสินใจให้มีการพบปะและประชุมกันทุกปี เพื่อจัดการปัญหาและอภิปรายถึงประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาค. ชาติสมาชิกทั้งหลายได้รับการมอบหมายให้มีการจัดประชุมสุดยอดไปตามลำดับตัวอักษร ยกเว้นเฉพาะในกรณีของเมียนมาร์ ซึ่งได้สละสิทธิ์ในการจัดประชุมในปี 2006 ตั้งแต่ปี 2004 อันเนื่องมาจากแรงกดดันของสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป. สำหรับการประชุมสุดยอดอย่างเป็นทางการเป็นเวลาสามวัน ได้มีการกำหนดเป็นหลักการตามลำดับดังต่อไปนี้…

- บรรดาผู้นำของรัฐสมาชิกจะต้องจัดให้มีการพบปะในระดับองค์กร/หน่วยงานภายในของประเทศสมาชิก
- บรรดาผู้นำของรัฐสมาชิกจะต้องจัดประชุมร่วมกันระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอาเซียน
- การประชุมที่ถูกรู้จักกันในนามอาเซียนบวกสาม ถูกจัดขึ้นเพื่อบรรดาผู้นำกับหุ้นส่วนการเจรจาสามประเทศ ประกอบด้วย
สาธารณรับประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, และเกาหลีใต้
- การประชุมที่แยกต่างหากออกไป ที่รู้จักกันในฐานะ ASEAN-CER, ได้รับการจัดขึ้นเป็นอีกวาระหนึ่ง โดยบรรดาผู้นำอาเซียนกับหุ้นส่วนการเจรจาสองประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์

ชุมชนทางเศรษฐกิจ (Economic community)
อาเซียนได้ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือในภูมิภาค เรียกว่าหลักการ 3 เสา ประกอบด้วย

- เสาที่หนึ่ง ว่าด้วยความปลอดภัย
- เสาที่สองเป็นเรื่องของเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรม(sociocultural) และ
- เสาที่สามคือ การบูรณาการทางเศรษฐกิจ

การรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค ได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าในการบูรณาการทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสรรค์ชุมชนเศรษฐกิจของอาเซียนขึ้น [ASEAN Economic Community (AEC)] ในปี ค.ศ.2015. ใน AEC หรือชุมชนทางเศรษฐกิจของอาเซียนจะประกอบด้วยประชากร 566 ล้านคน และมีค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า 1.173 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เขตเสรีทางการค้า (Free Trade Area)
การก่อตั้งชุมชนเศรษฐกิจอาเซียนให้เป็นเขตเสรีทางการค้าอาเซียน [the ASEAN Free Trade Area (AFTA)],
แผนการเกี่ยวกับสิทธิพิเศษในการลดอัตราภาษีศุลกากรร่วมกัน กระทำขึ้นเพื่อให้การส่งเสริมการไหลเวียนของสินค้าต่างๆ ของอาเซียนเป็นไปอย่างคล่องตัว. เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงร่วมกันโดยชาติสมาชิกซึ่งได้ให้ความสนใจผลผลิตของท้องถิ่นในประเทศอาเซียนทั้งหมด. ข้อตกลง AFTA ได้มีการลงนามในวันที่ 28 มกราคม 1992 ที่สิงคโปร์. เมื่อแรกที่ข้อตกลง AFTA ได้มีการลงนามนั้น อาเซียนมีสมาชิกเพียง 6 ประเทศ กล่าวคือ บูรไน, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, และประเทศไทย. เวียดนามได้ร่วมลงนามในปี 1995 ส่วนเมียนมาร์, ลาว, ลงนามในปี 1997 และกัมพูชาในปี ค.ศ.1999. ประเทศซึ่งมาทีหลังมิได้มีข้อผูกมัดอย่างสมบูรณ์เต็มที่กับเงื่อนไข AFTA อันที่จริงแล้วประเทศเหล่านี้โดยทางการ ได้รับการพิจารณาให้เป็นส่วนหนึ่งของ AFTA เท่าที่พวกเขาต้องการลงนามตามข้อตกลงบนเงื่อนไจการเข้าสู่การเป็นสมาชิกอาเซียน และได้รับสิทธในการปฏิบัติตามกรอบเวลาที่นานขึ้น ในการบรรลุถึงข้อตกลงในเรื่องข้อผูกมัดสิทธิพิเศษในการลดอัตราภาษีศุลกากรของ AFTA

เขตการลงทุน (Investment Area)
The AIA จะคอยทำหน้าที่กระตุ้นส่งเสริมให้มีการไหลเวียนการลงทุนเป็นไปอย่างอิสระในอาเซียน หลักการสำคัญของ AIA มีดังต่อไปนี้:

- อุตสาหกรรมทุกชนิด จะต้องได้รับการเปิดรับเพื่อการลงทุน โดยแยกออกไปจากขั้นตอนปฏิบัติการตามแผนการต่างๆ
- ปฏิบัติการระดับชาติจะต้องเป็นไปอย่างทันทีให้กับบรรดาการลงทุนอาเซียน โดยการกีดกันน้อยที่สุด
- ต้องมีการขจัดอุปสรรคกีดขวางในการลงทุน
- ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพเกี่ยวกับกระบวนการลงทุนและขั้นตอนดำเนินการต่างๆ
- ต้องมีการปรับปรุงในเรื่องความโปร่งใส
- ต้องมีมาตรการให้ความสะดวกเพิ่มขึ้นในด้านการลงทุน

ความเข้าใจอย่างเต็มที่เกี่ยวกับ AIA โดยการยักย้ายอุปสรรคกีดกันชั่วคราวในผลผลิตทางด้านการเกษตร, การประมง, อุตสาหกรรมป่าไม้, การทำเหมือง, ได้รับการกำหนดให้ต้องสิ้นสุดลงในปี ค.ศ.2010 สำหรับสมาชิกส่วนใหญ่ของอาเซียน และในปี 2015 สำหรับ กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, และเวียดนาม

การค้าและการบริการ (Trade in Services)
กรอบข้อตกลงอาเซียนอันหนึ่งเกี่ยวกับการค้าและบริการ ได้รับการลงมติให้การยอมรับในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงเทพ ในเดือนธันวาคม 1995. ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว สมาชิกอาเซียนกำลังเจรจาเกี่ยวกับเสรีการให้บริการในระดับภายในภูมิภาคในหลายๆ ส่วน ประกอบด้วย การขนส่งทางอากาศ, บริการทางธุรกิจ, การก่อสร้าง, บริการทางเงิน, การขนส่งทางทะเล, การสื่อสารทางไกล และการท่องเที่ยว. แม้ว่าในบางภาคส่วนจะเปิดเสรีได้ในเวลาอันรวดเร็ว อย่างเช่น การคมนาคมทางอากาศ, แต่ในบางเซ็คเตอร์ยังคงอยู่ในระหว่างขั้นตอนการเจรจาตกลงกันอย่างต่อเนื่อง. ความพยายามทั้งหลาย ที่จะขยับขยายขอบเขตในด้านกรอบความตกลง ยังคงอยู่ในขั้นการเจรจากันอย่างสม่ำเสมอ

ตลาดการบินแห่งเดียว (Single Aviation Market)
ตลาดการบินแห่งเดียวของอาเซียน [The ASEAN Single Aviation Market (SAM)] ได้ถูกนำเสนอโดยกลุ่มทำงานเพื่อการคมนาคมทางอากาศอาเซียน(the ASEAN Air Transport Working Group) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสในด้านการคมนาคมทางอากาศของอาเซียน(the ASEAN Senior Transport Officials Meeting) และได้มีการลงนามรับรองโดยบรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอาเซียน, มีการนำเสนอการเปิดน่านฟ้า และการจัดการในระดับภูมิภาคในปี 2015. ไม่เพียง the ASEAN SAM ได้รับการคาดหวังให้เปิดเสรีน่านฟ้าเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกเท่านั้น แต่ยังได้รับความคาดหวังว่า SAM จะช่วยปรับปรุงในด้านการท่องเที่ยว, การค้า, การลงทุน และการไหลเวียนด้านบริการต่างๆ ในระหว่างประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นด้วย.

วันที่ 1 มกราคม 2009 จะเป็นวันเริ่มต้นการเปิดเสรีน่านฟ้าและการบินอย่างเต็มที่ในภูมิภาคอาเซียน เช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายข้อจำกัดที่สามและที่สี่ของอิสรภาพ ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการผู้โดยสารทางอากาศ. และในวันที่ 1 มกราคม 2011 ก็จะเปิดเสรีสิทธิการจราจรทางอากาศ ซึ่งจะให้มีอิสรภาพอย่างเต็มที่ระหว่างเมืองหลวงทั้งหมดของกลุ่มประเทศอาเซียน

กิจกรรมต่างๆ ทางวัฒนธรรม (Cultural activities)
อาเซียนจะเป็นเจ้าภาพกิจกรรมต่างๆ ทางวัฒนธรรม ทั้งนี้เป็นความพยายามอันหนึ่งในการบูรณาการภูมิภาคส่วนนี้เข้าหากันมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้ประกอบด้วยกิจกรรมด้านการกีฬาและการศึกษา เช่นเดียวกับรางวัลงานเขียน(วรรณกรรมอาเซียน) ตัวอย่างในเรื่องนี้หมายรวมถึงเครือข่ายมหาวิทยาลัยของอาเซียน และการให้ทุนการศึกษาอาเซียน โดยการสปอนเซอร์ของสิงคโปร์

รางวัลงานเขียน (วรรณกรรม) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (S.E.A. Write Award)
รางวัลงานเขียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือรางวัลด้านวรรณกรรมซึ่งจะให้กับกวีและนักเขียนของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประจำทุกปี ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1979. รางวัลดังกล่าวจะให้กับผลงานที่มีลักษณะเจาะจงชิ้นหนึ่ง หรือให้ในฐานะการให้ความยอมรับความสำเร็จของนักประพันธ์คนหนึ่งตลอดชีวิตก็ได้. บรรดาผลงานวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องมีด้วยกันหลายหลาก ประกอบด้วย กวีนิพนธ์, เรื่องสั้น, นวนิยาย, บทละคร, นิทานพื้นบ้าน, และรวมถึงผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอย่างเป็นวิชาการ. พิธีการเกี่ยวกับเรื่องนี้จะถูกจัดขึ้นที่กรุงเทพ และได้รับการสนับสนุนโดยสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวราชวงศ์ไทย

สมาคมสถาบันการอุดมศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL)
ASAIHL หรือ the Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (สมาคมสถาบันการอุดมศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เป็นองค์กรอิสระที่ไม่สังกัดรัฐบาล ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1956 ที่พยายามจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการเรียน, การสอน, การวิจัย, และการบริการสาธารณะ โดยมีเจตจำนงที่จะบ่มเพาะสำนึกเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของภูมิภาค และรวมถึงการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

สวนมรดกธรรมชาติ (Heritage Parks)
สวนมรดกธรรมชาติ (ASEAN Heritage Parks) คือหนึ่งในรายการสวนธรรมชาติ ที่เริ่มปฏิบัติการมานับแต่ปี ค.ศ.1984 และดำเนินการอีกในปี ค.ศ.2004 เป้าหมายของการจัดให้มีสวนมรดกธรรมชาตินี้ เพื่อปกป้องทรัพยสมบัติต่างๆ ทางธรรมชาติ ปัจจุบันมีพื้นที่ซึ่งอยู่ในข่ายได้รับการปกป้อง 35 แห่ง รวมถึง อุทยานทางทะเล the Tubbataha Reef Marine Park (*) ของฟิลิปปินส์ และอุทยานแห่งชาติ the Kinabalu National Park.(**) ซึ่งอยู่ในประเทศมาเลเซีย ทั้งสองแห่งนี้องค์การยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

(*) The Tubbataha Reef Marine Park covers 33,200 ha, including the North and South Reefs. It is a unique example of an atoll reef with a very high density of marine species; the North Islet serving as a nesting site for birds and marine turtles. The site is an excellent example of a pristine coral reef with a spectacular 100-m perpendicular wall, extensive lagoons and two coral islands.

(**) Kinabalu National Park or Taman Negara Kinabalu in Malay, established as one of the first national parks of Malaysia in 1964, is Malaysia's first World Heritage Site designated by UNESCO in December 2000 for its "outstanding universal values" and the role as one of the most important biological sites in the world.

ทุนการศึกษา (Scholarship)
ทุนการศึกษาอาเซียนเป็นทุนที่ให้โดยประเทศสิงคโปร์แก่บรรดาโรงเรียนมัธยม, วิทยาลัย, และมหาวิทยาลัย 9 ประเทศสมาชิก ซึ่งครอบคลุมถึงค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าข้อสอบ

เครือข่ายมหาวิทยาลัย (University Network)
เครือข่ายมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอาเซียน คือความร่วมมือหรือการเป็นหุ้นส่วนกันของมหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมทีได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1995 โดย 11 มหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศสมาชิก ปัจจุบัน AUN ประกอบด้วย 21 มหาวิทยาลัยที่มีส่วนร่วมในเครือข่ายความร่วมมือนี้

ข้อวิจารณ์จากโลกตะวันตก เกี่ยวกับสมาคมอาเซียน
บรรดาประเทศตะวันตก ได้วิพากษ์วิจารณ์อาเซียนว่ายังอ่อนเกินไป ในการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยในประเทศเมียนมาร์ที่ปกครองโดยรัฐบาลทหาร ทั้งๆ ที่ประชากรโลกต่างประณามอย่างรุนแรงต่อการที่กองทัพได้เข้ามาควบคุมและทำร้ายบรรดาผู้ประท้วงโดยสันติในกรุงย่างกุ้ง แต่อาเซียนกลับปฏิเสธและเพิกเฉยต่อเมียนมาร์ในฐานะหนึ่งในประเทศสมาชิก และไม่ยินดีที่จะทำตามข้อเสนอต่างๆ ในการลงโทษทางเศรษฐกิจ เหล่านี้ถือเป็นสาเหตุให้เกิดข้อกังวลและความห่วงใยของสหภาพยุโรป, หุ้นส่วนที่มีศักยภาพด้านการค้า, ที่จะปฏิบัติการและเจรจาเรื่องเขตการค้าเสรีในระดับภูมิภาคด้วยเหตุผลทางการเมืองข้างต้น ผู้สังเกตการณ์ระหว่างประเทศมองมันในฐานะที่เป็น"สำนักงานเจรจา"(talk shop) ซึ่งมีนัยยะบ่งถึง องค์กรอาเซียนเป็นองค์กรที่ดีแต่พูด ส่วนการกระทำที่ตามมาถือว่าน้อยมาก ("big on words but small on action")

ช่วงระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เซบู (Cebu), ฟิลิปปินส์, กลุ่มกิจกรรมและองค์กรภาคเอกชนหลากหลายได้แสดงออกถึงการต่อต้านโลกาภิวัตน์ และก่อตัวขึ้นมาต่อต้านประธานาธิบดีอาโรโย ตามความเห็นของบรรดานักกิจกรรมทั้งหลาย วาระเกี่ยวกับการบูรณาการทางเศรษฐกิจ มีผลในเชิงลบต่ออุตสาหกรรมทั้งหลายในฟิลิปปินส์ และจะเป็นเหตุให้ชาวฟิลิปินโนนับพันๆ ต้องสูญเสียงานของพวกเขา. นักเคลื่อนไหวเหล่านี้ยังมองว่า องค์กรอาเซียนเป็นแนวคิดในแบบจักรพรรดินิยม ซึ่งคุกคามอำนาจอธิปไตยของประเทศต่างๆ ส่วนนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนจากนิวซีแลนด์ ได้นำเสนอและทำการประท้วงเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ย่ำแย่ด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคนี้ด้วย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป

กลุ่มประเทศอาเซียนได้แสดงความเห็นด้วยกับการมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2009. ประเทศฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และไทย ต้องการให้คณะกรรมการชุดนี้มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชากลับปฏิเสธในเรื่องนี้

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๑ : Release date 22 August 2008 : Copyleft MNU.

ในทศวรรษที่ ๑๙๖๐ แรงผลักดันในเรื่องการปลดปล่อยจากการเป็นอาณานิยม ได้ให้การสนับสนุนสำนึกในการมีอธิปไตยเหนือดินแดนของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ท่ามกลางประเทศต่างๆ. อันที่จริงแล้ว การสร้างประเทศนั้น บ่อยครั้งเป็นเรื่องที่สับสนวุ่นวายและไร้ระเบียบ อีกทั้งยังอ่อนแอเกินไปต่อการแทรกแซงของประเทศภายนอก ด้วยเหตุนี้ชนชั้นปกครองที่ต้องการความเป็นอิสระ จึงได้ตระเตรียมนโยบายต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นอิสระจากการแทรกแซงเรื่องราวภายในประเทศของพวกตนจากประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ บรรดาประเทศสมาชิกซึ่งมีเนื้อที่ขนาดเล็ก อย่างเช่น สิงคโปร์และบูรไน โดยสำนึกแล้วต่างกริ่งเกรงและกลัวภัยอำนาจการรบและมาตรการบีบบังคับต่างๆ จากเพื่อนบ้านที่ใหญ่กว่ามาก อย่างอินโดนีเซีย

H