ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




11-08-2551 (1637)

เกี่ยวกับไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการนิพนธ์ตำราประวัติศาสตร์
กระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างจิตสำนึกทางตำราประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์
ภาณุทัต ยอดเเก้ว : เขียน
นักวิชาการอิสระ (เชิงอรรถโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความนี้ได้รับมาจากผู้เขียน จากเดิมชื่อ
กระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างจินตนาการและจิตสำนึกเกี่ยวกับไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในการนิพนธ์ตำราประวัติศาสตร์/สังคมศึกษาเพื่อใช้ในระดับประถมและมัธยมศึกษา

บทความบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้เรียงลำดับหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- การสถาปนาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุดเริ่มต้นของความภาคภูมิใจของคนในภูมิภาค
- ประเด็นปัญหาทางการศึกษาในระดับชาติ
- ความสำคัญของปัญหาในระดับภูมิภาค
- กระบวนทัศน์ใหม่ทางประวัติศาสตร์คืออะไร?

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๓๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๙.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เกี่ยวกับไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการนิพนธ์ตำราประวัติศาสตร์
กระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างจิตสำนึกทางตำราประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์
ภาณุทัต ยอดเเก้ว : เขียน
นักวิชาการอิสระ (เชิงอรรถโดยมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ความนำ

ปัญหาการหย่อนยานในระบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ได้ดำเนินติดต่อกันมานานมาก จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม 2551 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินาถ ถึงกลับทรงมีพระราชกระแสต่อคณะรัฐบาลและข้าราชการว่า นักเรียนไทยในปัจจุบันไม่เรียนประวัติศาสตร์แล้ว แม้แต่ประเทศสวิทเซอร์แลนด์ ซึ่งไม่ค่อยจะมีประวัติศาสตร์ยังต้องให้นักเรียนของตนเรียนประวัติศาสตร์ ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะ พระองค์ท่านอาจทรงพบว่า เยาวชนไทยในปัจจุบันไม่ค่อยรู้จักเรื่องราวของประเทศและบรรพบุรุษของตนเอง เยาวชนไทยส่วนมากมิทราบว่าเขาพระวิหารอยู่ตรงไหน มิทราบว่าล้านนาคืออะไร หรือมิทราบว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม มีผลต่อประเทศไทยอย่างไร ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องพื้นฐานทั้งนั้น

แม้ว่า นักเรียนไทยยังคงศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรปัจจุบัน แต่เนื้อหาที่นักเรียนไทยต้องศึกษานั้นน้อยมาก สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ นักเรียนไทยเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลกและประวัติศาสตร์ของภูมิภาคของตนเองน้อยมาก คำถามที่เกิดขึ้น คือ หากนักเรียนไทยมีความรู้ที่น้อยนิดเช่นนี้ ก็คงยากที่จะสามารถเข้าใจหรือวิเคราะห์เหตุการณ์ที่สำคัญและสลับซับซ้อนของโลกได้ ผู้เขียนจึงถือโอกาสเสนอประสบการณ์และข้อเสนอในการปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์หรือสังคมศึกษาในประเทศไทยดังต่อไปนี้

ผู้เขียนเห็นว่า การเรียนประวัติศาสตร์เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะจะทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจโลกที่กว้างใหญ่ไพศาลใบนี้อย่างเป็นระบบในระยะเวลาอันสั้น เพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างมากมาย มักมีรากของปัญหาที่ตกทอดมาจากอดีตทั้งนั้น

การสถาปนาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จุดเริ่มต้นของความภาคภูมิใจของคนในภูมิภาค


นักประวัติศาสตร์ในอดีตได้เคยตั้งคำถามว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมควรที่จะต้องมีประวัติศาสตร์เฉพาะของตนเองหรือไม่ ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูเหมือนไม่มีอัตลักษณ์ใดร่วมกันเลย ในลักษณะที่เราเข้าใจประวัติศาสตร์ยุโรป ประวัติศาสตร์จีน หรือประวัติศาสตร์อินเดีย แต่ในระยะต่อมา นักประวัติศาสตร์ตะวันตก D.G.E Hall ซึ่งได้ศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างละเอียด กลับพบว่า ประชาชนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มิใช่เพียงแต่เป็นผู้รับทางวัฒนธรรมจากที่อื่นๆ เท่านั้น แต่ทว่าภูมิภาคนี้ได้สร้างสรรวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาอย่างมากมาย

นับจากนั้น ตำราแบบเรียนและหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระดับอุดมศึกษา จึงได้ทยอยปรากฏตัวขึ้นในโลกบรรณสารตะวันตก แม้ว่าการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในหลายประเทศของภูมิภาคนี้ได้เริ่มขึ้นอย่างเชื่องช้า แต่ทว่าความรู้เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่นอกหลักสูตรโรงเรียน กลับได้รับความนิยมอย่างไม่ขาดสาย

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่บรรดารัฐต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มทยอยได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม (ยกเว้นสยาม ซึ่งสามารถรักษาเอกราชของตน) แนวคิดทางประวัติศาสตร์หลักของผู้เขียนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลับยังคงวนเวียนอยู่ในกรอบการมองประวัติศาสตร์ในแบบชาตินิยม หรือกล่าวอีกอย่างคือ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนยังคงสนใจแต่ประวัติศาสตร์ของประเทศตนเอง อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์จำนวนไม่น้อยในภูมิภาคได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ

หลายคนได้วิจารณ์ว่า การศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ของตนเองจนลืมสนใจประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน หรือประวัติศาสตร์โลกนั้นค่อนข้างเป็นทัศนคติที่แคบเกินไป ดังปรมาจารย์ทางประวัติศาสตร์ Rheinhard Wittram (*) ได้กล่าวอย่างน่าประทับใจว่า หากไม่เรียนประวัติศาสตร์โลกแล้ว ประวัติศาสตร์ก็คงไม่มีความหมายใดๆ (Without world history, there is no sense in history) นัยของคำกล่าวนี้คือ ผู้ที่จะเข้าใจและเข้าถึงประวัติศาสตร์ของตนเองได้ดีนั้นคงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจโลกของคนอื่นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อที่ว่าตนจะได้มีวิสัยทัศน์ที่ไม่แคบเกินไป

(*)Reinhard Wittram (9 August 1902 - 16 April 1973) was a German historian. Reinhard Wittram originates from a GermanBaltic family. After the visit of the Ritterschaftlichen of national High School Wittram studied Birkenruhe and the German city High School in Riga starting from 1920 at the universities in Riga. Since 1928 Wittram works on the institute for stove he in Riga over the livlandischen Bauernreformer Folkersahm.1938 Wittram to the institute chair for history was appointed and 1941 as the full professor at the again created realm university floats appointed. 1945 fled Wittram from Poland to Goettingen, where he was active starting from 1946 as a training representative and starting from 1955 to its retirement in the year 1970 on the chair for Eastern European history.

นอกจากนั้น Geoffrey Barraclough (*) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษที่ได้มีอิทธิพลในการเขียนประวัติศาสตร์อังกฤษและประวัติศาสตร์โลก ได้สนับสนุนคำวิจารณ์ดังกล่าวในงานเขียนของเขาไว้ดังนี้

" It may be natural for historians in the third world to concentrate at this stage on the history of their own country, but this can be stultifying if that history is not viewed in a larger framework. Too often courses on a particular country or region of Asia ignore the general trends of development in Asia as a whole."
(Main Trends in History โดย Geoffrey Barraclough หน้า103)

(*) Geoffrey Barraclough (May 10, 1908 - December 26, 1984) was a British historian, known as a medievalist and historian of Germany. He was Chichele Professor of Modern History, University of Oxford, 1970-73. Other positions were Professor of Medieval History, University of Liverpool, 1945-1956, Stevenson Research Professor, University of London, 1956-1962, and Professor of History, Brandeis University, 1968-1970, and also 1972-1981

ระยะเวลาได้ล่วงเลยมาหลายทศวรรษนับจากที่นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษผู้นี้ได้เขียนคำวิจารณ์ดังกล่าวไว้ การเขียนงานประวัติศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงดำเนินไปด้วยความก้าวหน้า แม้ว่าจะไม่มากเท่ากับงานจำนวนมหาศาลที่ผลิตขึ้นในโลกตะวันตก และงานประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้วนเวียนอยู่ในแนวความคิดเดิมๆ เช่น อิทธิพลของเจ้าอาณานิคม การปรับเปลี่ยนประเทศให้ทันสมัย ปฎิรูประบบการบริหารประเทศ การก่อตัวของชนชั้นกลาง ขบวนการเรียกร้องเอกราช หรือประชาธิปไตย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ความภาคภูมิใจของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับเรื่องราวของตนเอง คงจะยังคงมีไม่มากเท่าไรนักในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับความนิยมชมชอบเกี่ยวกับภูมิภาคหรือประเทศอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลจากตน เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น แต่อย่างน้อยที่สุด การเรียนและตำราเรียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะเป็นจุดแรกที่อาจก่อให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในภูมิภาคของตนเอง

ประเด็นปัญหาทางการศึกษาในระดับชาติ

ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างมากในการเข้าใจอดีต โดยเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมและวิธีคิดของมนุษยชาติ แต่ตำราประวัติศาสตร์จำนวนไม่น้อยกลับมีหน้าที่สร้างจินตนาการว่าด้วยรัฐ และการสร้างความกลมเกลียวขึ้นในสังคม โดยอาศัยการเรียงร้อยภาษาเพื่อสร้างภาพแห่งอดีต แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อรัฐได้เข้ามาทำหน้าที่สร้างตำราประวัติศาสตร์ (ประวัติศาสตร์นิพนธ์) ตำราประวัติศาสตร์จึงกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในระยะยาว และเนื้อหาของตำราประวัติศาสตร์ ได้สะท้อนแนวคิดที่รัฐมีต่อผู้ถูกปกครอง หรือประชาชน ตำราประวัติศาสตร์ในหลายประเทศจึงเป็นกระบอกเสียงในการสร้างความรู้สึกจงรักภักดีต่อรัฐ การสร้างความชอบธรรมของรัฐ และรวมทั้งการที่รัฐพยายามที่จะให้ประชาชนของตนจดจำเหตุการณ์บางอย่างและลืมเหตุการณ์บางอย่าง แม้ว่าในสามทศวรรษที่ผ่านมาได้มีกระแสการเขียนประวัติศาสตร์แนวใหม่ โดยให้ความสำคัญมากขึ้นแก่เรื่องชุมชนท้องถิ่น และเน้นเรื่องราวของประชาชนในระดับล่างมากขึ้น แต่กระแสการเขียนประวัติศาสตร์แบบจารีตที่เน้นสถาบันการปกครองสูงสุด ก็ยังคงเป็นกระแสหลักในสังคมไทย

น่าสังเกตว่าในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา นักประวัติศาสตร์ไทยได้ใช้เครื่องมือจากหลายสาขาวิชาในการวิเคราะห์และผลิตผลงานทางประวัติศาสตร์ เช่น ทฤษฏีมาร์กซิสท์ ทฤษฎีระบบทุนนิยมโลก เป็นต้น แต่ในภาพที่ใหญ่ขึ้น ตำราประวัติศาสตร์ไทยในปัจจุบันยังคงอาศัยโครงเรื่องประวัติศาสตร์แบบเก่า คือ การบรรยายภาพอดีตจากอาณาจักรโบราณโดยแบ่งเป็นยุคต่างๆ ดังนี้ สุโขทัย - อยุธยา - ธนบุรี- รัตนโกสินทร์ แม้ว่าในความเป็นจริงนั้น การเรียงลำดับดังกล่าวไม่สามารถสะท้อนความจริงในประวัติศาสตร์ของชาติมากนัก และยังขัดแย้งต่อการเข้าใจตัวตนของประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งน่าจะเป็นช่วงสมัยที่มีความเข้มข้นในการสร้างอัตลักษณ์ไทย

ดังเห็นว่า คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงสมัยอยุธยา อาจมิเคยมีจิตนาการว่าตนมาจากสุโขทัย แต่กลับเห็นว่าตนอาจสืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรขอมโบราณอันยิ่งใหญ่ (ดังปรากฏในหลักฐานพระราชวินิจฉัยประวัติความเป็นมาของกรุงศรีอยุธยา โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในการเตรียมการเกี่ยวกับการส่งคณะราชทูตไปยังราชสำนักฝรั่งเศส). การให้ความสำคัญแก่สุโขทัยในฐานะราชธานีแรกของไทย จึงก่อให้เกิดเสียงเรียกร้องจากนักประวัติศาสตร์กลุ่มอื่นๆ ที่เห็นว่าหัวเมืองในภาคกลางตอนบนอื่นๆ ก็อาจมีสถานภาพความสำคัญที่ไม่ต่างไปจากสุโขทัย แต่ทำไมกลับไม่ได้รับการยกย่องเป็นราชธานี

สรุปตำราประวัติศาสตร์ของไทยในปัจจุบัน ยังมีปัญหาและไม่สามารถสะท้อนแนวคิดของคนไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นไทยออกมาได้จริง การแสวงหากระบวนทัศน์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอดีตของไทยจึงยังเป็นสิ่งที่ควรกระทำ การถกเถียงและโต้แย้งจึงเป็นเรื่องทางวิชาการที่สมควรได้รับการเผยแพร่เพื่อความก้าวหน้าในการเข้าใจอดีตและวัฒนธรรมของประเทศ

ลักษณะการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมักมีความเป็นอิสระ ก้าวหน้า และมีขอบเขตความรู้ที่กว้างขวาง แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ในระดับประถมและมัธยม กลับมีอิทธิพลอย่างมากในการสร้างจินตนาการในวัยเด็ก โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปลูกฝังค่านิยม และการจรรโลงวัฒนธรรมบางอย่างของสังคม ดังนั้น ตำราประวัติศาสตร์ในระดับประถมและมัธยม จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการสร้างและปลูกฝังคน

ความสำคัญของปัญหาในระดับภูมิภาค

ตำราประวัติศาสตร์ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการสร้างความกลมเกลียวในกลุ่มอาเซียน แต่การผลิตตำราและกระบวนทัศน์ในการเข้าใจประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลับไม่ได้รับการพัฒนามากนักทั้งในระดับประถมและมัธยมศึกษา ดังเห็นว่า เนื่องจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN)ได้มีความพยายามที่จะสร้างความตระหนักในมรดกทางวัฒนธรรมของภูมิภาคร่วมกัน และรวมถึงการสร้างอัตลักษณ์ร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจ ความรู้สึกผูกพัน และความเป็นปึกแผ่นในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยผ่านการจัดตั้งประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) (*)

(*) ASEAN Community based upon three pillars: ASEAN Security Community, ASEAN Economic Community and an ASEAN Socio-Cultural Community. The ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) is for a Southeast Asia bonded together in partnership as "a community of caring and sharing societies". The ASCC Plan of Action contains four core elements: Building a community of caring societies, Managing the social impact of economic integration, Enhancing environmental sustainability, and Strengthening the foundations of regional social cohesion towards an ASEAN Community.

แต่ในความเป็นจริงในปัจจุบันนั้น อาเซียนยังคงไม่สามารถสร้างอัตลักษณ์ใดร่วมกันได้ อาเซียนจึงมีแต่สัญลักษณ์ที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นรูปต้นข้าวสิบต้น ซึ่งแทนประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ ยิ่งกว่านั้น ประชาชนในทุกประเทศสมาชิกอาเซียนยังไม่สามารถมีจินตนาการร่วมกันได้ว่า ตนมีความผูกพันร่วมกันอย่างแท้จริง แม้ว่าอาเซียนได้ก่อตั้งมานานกว่า 40 ปีแล้ว ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะความรู้และตำราประวัติศาสตร์ของอาเซียนในระดับโรงเรียน ยังไม่ได้รับการพัฒนา

ดังเห็นว่า ประชาชนในหลายประเทศสมาชิกยังมีความรู้สึกไม่คุ้นเคยกัน หรือในบางกรณียังไม่สามารถลบเลือนความรู้สึกเกลียดชังกันเอง ดังในกรณีไทย-กัมพูชา เวียดนาม-กัมพูชา หรือในหลายกรณีที่ประชาชนท้องถิ่นยังคงมีความระแวงสงสัยระหว่างกันเอง เช่น กรณีไทย-ลาว ไทย-พม่า อินโดนีเซีย-มาเลเซีย มาเลเซีย-สิงคโปร์ ดังนั้น กระบวนทัศน์ในการเขียนประวัติศาสตร์เพื่อการสร้างจินตนาการและจิตสำนึกใหม่ อันนำไปสู่การค้นหาอัตลักษณ์ประชาคมอาเซียนที่ยั่งยืนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

กระบวนทัศน์ใหม่ทางประวัติศาสตร์คืออะไร?

ตำราประวัติศาสตร์นั้น ทรงอิทธิพลอย่างมหาศาลในการสร้างจินตนาการเกี่ยวกับอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์และความรู้สึกผูกพันต่อสังคมและวัฒนธรรมในประเทศตนเองและในประเทศเพื่อนบ้าน ตำราประวัติศาสตร์ยังเป็นภาพสะท้อนของความจริงใจของผู้กำหนดนโยบายสังคมและการศึกษา ในความเข้าใจและความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริง หากลองสอบถามบุคคลต่างๆ ในสังคม เกี่ยวกับสาเหตุใดที่คนจำนวนมากในประเทศไทยและในหลายประเทศที่อยู่ในกลุ่มอาเซียน มีความรู้สึกว่าตนเองมิได้เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนที่ตนเองอาศัยอยู่ คำตอบหนึ่งคือ ตำราประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในการศึกษาประวัติศาสตร์ในระดับโรงเรียน ซึ่งเป็นรากฐานของการสร้างจิตนาการรัฐ มิได้สะท้อนความใจกว้างในการพิจารณาเรื่องราวของคนกลุ่มต่างๆ ที่อยู่ในประเทศของตนเองและประเทศอื่นๆ อย่างครบถ้วน ซึ่งบางคนอาจพิจารณาว่าเป็นการแสดงถึงความไม่สนใจ หรือแม้แต่การไม่เคารพในคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของคนอื่นๆ ดังเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ชาวไทยมุสลิมในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มิได้มีความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยพุทธ และมิได้คิดว่าสังคมไทยพุทธได้ให้โอกาสหรือเห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของชาติพันธุ์ตนเอง โดยการไม่ระบุเรื่องของตนเองอย่างพอเพียง ซึ่งมีจำนวนหลายล้านคนในโครงเรื่องประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่ต้องใช้สอนปัจจุบัน

กระบวนทัศน์เก่า ประกอบด้วยการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในประเทศไทยเป็นหลัก และไม่คำนึงถึงหลักฐานหรืองานเขียนของนักประวัติศาสตร์ในประเทศอื่นๆ ซึ่งรวมถึงผลงานของประเทศเพื่อนบ้าน ยิ่งกว่านั้น ตำราประวัติศาสตร์ที่ใช้ในโรงเรียนในปัจจุบันไม่ได้มองเพื่อนบ้านแบบเชิงบวกมากนัก และมิได้ทิ้งคำถามให้กับผู้เรียนคิดต่อว่า เรื่องราวที่ตนอ่านนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน หรือวิธีใดบ้างที่เราจะเข้าใจอดีตของตนเองและของประเทศเพื่อนบ้านได้บ้าง ซึ่งอีกนัยหนึ่ง ตำราประวัติศาสตร์สำหรับมัธยมศึกษาที่ใช้ในอดีตและปัจจุบัน ไม่สามารถจุดประกายความคิดในเรื่องการเข้าใจอดีตที่หลากหลาย และยังมีระดับของความเป็นปรัชญาและวิทยาศาสตร์ที่น้อยเกินไป

กระบวนทัศน์ใหม่ คือ การมองประวัติศาสตร์จากคนในประวัติศาสตร์เอง ซึ่งจะต้องเน้นการเปิดใจกว้างในการเข้าถึงอดีตที่มากกว่าหนึ่ง(แบบป โดยนักประวัติศาสตร์อาจจำเป็นต้องศึกษางานเขียนทางประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมกับงานที่ผลิตขึ้นในประเทศของตนเองและในโลกตะวันตก โดยทั้งนี้ การวิเคราะห์จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิทยาศาสตร์

งานประวัติศาสตร์ใหม่ จำเป็นต้องเน้นกลุ่มประชากรและวัฒนธรรมในฐานะหน่วยวิเคราะห์ มากกว่าการกำหนดเนื้อหาโดยเน้นขอบเขตหน่วยพื้นที่ทางการเมืองการปกครองของประเทศเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้เพราะพรมแดนทางวัฒนธรรม (cultural boundary) สามารถบอกความหมายและคุณค่าเชิงความคิดมากกว่าพรมแดนทางการเมือง (political boundary) ผลลัพธ์ของกระบวนทัศน์ใหม่ คือ ความเข้าใจในเนื่อหาสาระที่แท้จริงของอดีต และพลวัตรทางวัฒนธรรมของผู้คนที่กำลังอาศัยหรือเคยอาศัยอยู่ในประเทศไทย

การให้พื้นที่ทางความคิดและการให้เกียรติในตำราประวัติศาสตร์แก่ชนกลุ่มต่างๆ ในประเทศของตนน่าจะทำให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์สามารถเห็นภาพพัฒนาการของประเทศอย่างชัดเจน และจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจและความปรองดองสมานฉันท์ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญเนื่องจากมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนเป็นอย่างมาก เพราะคนอ่านประวัติศาสตร์มักคิดว่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ตนอ่านนั้นเป็นความจริงสมบูรณ์ ยิ่งกว่านั้น ประวัติศาสตร์ยังได้ถูกอ้างอิงโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อใช้ในการอธิบายหรือการยกตัวอย่าง การเรียนประวัติศาสตร์แบบใหม่ที่อาศัยกระบวนทัศน์ใหม่นี้ จึงน่าที่จะส่งผลให้คนที่ศึกษาประวัติศาสตร์สามารถเข้าใจประวัติศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น และยังสามารถเข้าใจบริบทต่างๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกับประเทศของตนเอง มากกว่าความรู้สึกเกลียดชัง

น่าสังเกตว่า นับตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 รัฐบาลพยายามสร้างจินตนาการเกี่ยวกับรัฐไทย ในฐานะศูนย์แห่งอำนาจผูกขาดในการปกครองและการสร้าง / ผลิตวัฒนธรรมไทยชุดใหม่ ที่เจือปนไปด้วยความคิดตะวันตกในเรื่องศิวิไลซ์ แต่แท้จริงแล้ว คุณค่าและอัตลักษณ์ไทยที่ตกทอดจากสยามเก่า กลับได้ลดบทบาทหรือแม้กระทั้งได้ถูกทำลายลงในกระบวนการผลิตตำราประวัติศาสตร์และความคิดว่าด้วยวัฒนธรรมไทย ดังเห็นว่าในปัจจุบันได้มีกลุ่มนักวิชาการออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศไทยให้กลับไปใช้ชื่อ สยาม ซึ่งสะท้อนแนวคิดที่ว่าสยามสามารถโอบอุ้มคนที่หลากหลายเผ่าพันธุ์และความเชื่อ

หรือ การที่มีนักวิชาการบางกลุ่มได้อธิบายว่า รัฐมิต้องการให้มีการตระหนักในการเป็นท้องถิ่นนิยม ดังเห็นว่าคนไทยในปัจจุบันไม่เข้าใจกระบวนทัศน์ของคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในสมัยโบราณ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยในเขตมะริด ตะนาวศรี กับคนในจังหวัดภาคใต้ของไทย หรือ ความสัมพันธ์ระหว่างเชียงตุง ล้านนา และล้านช้าง. น่าสังเกตว่า ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ล้วนมีความเกี่ยวพันธ์กับพื้นที่ในตำราประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างจินตนาการร่วมกันของคนในชาติ เพราะตำราประวัติศาสตร์ไทยที่ใช้สอนในโรงเรียน ไม่ได้มีที่ทางเนื้อที่ให้กับชนกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้พื้นที่แก่ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ในกรณีของประเทศสมาชิกอาเซียน ตำราประวัติศาสตร์ของทุกประเทศในอาเซียนมีลักษณะชาตินิยม และไม่มีความพยายามที่จะเข้าใจงานเขียนของประเทศเพื่อนบ้าน ภาวะเช่นนี้จะเป็นอุปสรรคในกระบวนการสร้างจินตนาการร่วมกันของอาเซียน การสร้างและสืบสานอัตลักษณ์ของอาเซียนจึงยังเป็นเพียงความคิดในเอกสารระหว่างประเทศ ที่ไม่สามารถจะทำให้เป็นจริงขึ้นมาได้ตราบใดที่ตำราประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิกอาเซียนยังไม่อาศัยกระบวนทัศน์ใหม่ในการผลิตตำราในระดับโรงเรียน และรวมถึงการเปิดใจกว้างที่จะอ่าน / ศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ของประเทศเพื่อนบ้าน ตำราประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิกอาเซียน ยังคงมีหน้าที่รับใช้จินตนาการของรัฐแบบเดิม และในหลายกรณีอาจจุดชนวนความคิดชาตินิยม (nationalistic sentiment) หรือความคลั่งชาติ (chauvinism) (*) จนถึงขนาดอาจก่อให้เกิดความรู้สึกเกลียดชังประเทศเพื่อนบ้าน มากกว่าที่จะสร้างบรรยากาศของการปรองดอง และความสนใจในการเรียนรู้อดีตร่วมกันอย่างแท้จริง

(*)Chauvinism is extreme and unreasoning partisanship on behalf of a group to which one belongs, especially when the partisanship includes malice and hatred towards a rival group. A frequent contemporary use of the term in English is male chauvinism, which refers to the belief that men are superior to women.

กระบวนทัศน์ใหม่จะต้องรวมถึงการวิจารณย์ตนเอง (self - criticism) ทั้งในด้านทฤษฎีและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และรวมทั้งการอ่านตำราประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้าน มิใช่เพื่อเชื่อถือในสิ่งที่เพื่อนบ้านคิด แต่เพื่อสร้างความตระหนักถึงบรรยากาศที่แท้จริงในการเข้าใจ / ตีความอดีต ร่วมกันของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่าในเชิงทฤษฎีคงไม่มีงานประวัติศาสตร์ชิ้นใดที่เขียนขึ้นโดยปราศจากค่านิยม (value - free)

ผู้เขียนเชื่อว่าครูประวัติศาสตร์จะเป็นบุคคลที่สามารถสร้างแรงบันดานใจในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในชั้นเรียนได้อย่างดี แต่ตำราประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจต่างก็เป็นสื่อการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ที่ดีเช่นกัน ตำราประวัติศาสตร์ควรจัดทำขึ้นในกระบวนทัศน์ใหม่ ที่ต้องเน้นการตั้งคำถามที่น่าสนใจ และเน้นการวิพากษ์ระเบียบวิธีวิจัย วิธีนี้อาจจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เกิดความก้าวหน้าในการเรียนประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์นิพนธ์ในระดับโรงเรียน ตรงจุดนี้อาจสะท้อนถึงความภาคภูมิใจในการเป็นมนุษยชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในความพยายามของมนุษยชาติในการจัดการกับอดีต และความเข้าใจในผลผลิตทางความคิดในอารยธรรมของตนเอง

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ : Release date11 August 2008 : Copyleft by MNU.

ตำราประวัติศาสตร์ของทุกประเทศในอาเซียน มีลักษณะชาตินิยม และไม่มีความพยายามที่จะเข้าใจงานเขียนของประเทศเพื่อนบ้าน ภาวะเช่นนี้จะเป็นอุปสรรคในกระบวนการสร้างจินตนาการร่วมกันของอาเซียน การสร้าง และสืบสานอัตลักษณ์ของอาเซียนจึงยังเป็นเพียงความคิดที่ไม่สามารถจะทำให้เป็นจริงขึ้นได้ ้ตราบใดที่ตำราประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิกยังไม่อาศัยกระบวนทัศน์ใหม่ในการผลิตตำราในระดับโรงเรียน และรวมถึงการเปิดใจให้กว้างที่จะอ่าน / ศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ของประเทศเพื่อนบ้าน ตำราประ วัติศาสตร์ของอาเซียน ยังคงมีหน้าที่รับใช้จินตนาการของรัฐ และหลายกรณีอาจจุดชนวนความคิดเรื่องชาตินิยม (nationalistic sentiment) หรือความคลั่งชาติ (chauvinism) ขึ้นมาได้......

H