1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
Drawing on the Right
Side of the Brain: Betty Edwards
การเขียนรูปด้วยสมองซีกขวา:
สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา
สมเกียรติ
ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
บทความแปลชิ้นนี้เรียบเรียงมาจาก
Your Brain : The Right and Left of It
From : Drawing on the Right Side of the Brain
by : Dr. Betty Edwards
หัวข้อสำคัญ: กรอบของงานแปลวิชาการ
- สมองของเรา : ด้านซ้ายและด้านขวา
- ทำความรู้จักกับสมองสองด้านของเรา
- สมองสองข้าง (The double brain)
- ความจริงซ้อนของคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดสมอง
- ร่องรอยต่างๆ ของภาษา (Language clues)
- อคติของภาษาและธรรมเนียมประเพณี
- หนทางทั้งสองของความรู้ (Two ways of knowing)
- รูปแบบสองอย่างของกระบวนการข้อมูล
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๒๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๕ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Drawing on the Right
Side of the Brain: Betty Edwards
การเขียนรูปด้วยสมองซีกขวา:
สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา
สมเกียรติ
ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
สมองของเรา : ด้านซ้ายและด้านขวา
คนที่มีความคิดสร้างสรรค์คือคนซึ่งสามารถจัดการกับข่าวสารข้อมูลในหนทางใหม่ๆ
ได้เป็นอย่างดี นักประพันธ์จัดการกับคำต่างๆ ส่วนนักดนตรีเรียบเรียงตัวโน้ต ศิลปินจัดการกับผัสสะต่างๆ
ทางสายตา คนที่ทำงานศิลปะทั้งหลายต่างต้องการความรู้บางอย่างในเชิงเทคนิคในงานอาชีพของพวกเขา
คนเหล่านี้แต่ละคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ อาศัยสหัชญาณ(ความรู้ที่ไม่ผ่านกระบวนการเหตุผล)ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลธรรมดาสามัญไปเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
เหนือขึ้นไปจากการเป็นเพียงวัตถุดิบเฉยๆ เท่านั้น
คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ รำลึกและจดจำได้ถึงความต่างระหว่างกระบวนการข้อมูลสองอย่างที่มารวมกัน และเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นไปในเชิงสร้างสรรค์ การค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับสมองของเราว่ามันทำงานอย่างไร ได้เริ่มที่จะให้ความสว่างในเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการสองชนิด มันทำให้เราทราบถึงสมองส่วนบนสองด้านของเรา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากในการทำหน้าที่ปลดปล่อยศักยภาพแห่งการสร้างสรรค์ของมนุษย์ออกมา
งานวิจัยในเรื่องสมองของมนุษย์เมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ได้ขยายขอบเขตของมันออกไปอย่างกว้างขวาง อันเป็นเกี่ยวข้องไปถึงทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับธรรมชาติแห่งความสำนึกของมนุษย์ การค้นพบดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้โดยตรงกับเรื่องราวของความสามารถในเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นอิสระของมนุษย์
ทำความรู้จักกับสมองสองด้านของเรา
(Getting to know both sides of your brain)
หากเราเคยเห็นภาพสมองของมนุษย์ สมองของมนุษย์นั้นคล้ายคลึงกับผลของวอลนัทแบ่งครึ่ง
เป็นสองซีกเท่ากันทั้งคู่ ปรากฏว่ามีลักษณะคล้ายกัน คือ มีลักษณะเป็นลอนสมองขดงอไปงอมา
แบ่งครึ่งกลมเท่าๆ กันในจุดเชื่อมต่อตรงกลาง ทั้งสองส่วนถูกเรียกว่า "ซีกซ้ายและซีกขวา"
(Left hemisphere - right hemisphere)
ระบบประสาทของมนุษย์ ได้รับการเชื่อมต่อกับสมองในลักษณะที่ตรงข้ามกัน สมองซีกซ้ายควบคุมร่างกายส่วนด้านขวา ส่วนสมองซีกขวาควบคุมร่างกายส่วนด้านซ้าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากว่าเราได้รับบาดเจ็บโดยอุบัติเหตุหรือถูกทุบจนสมองซีกซ้ายของเราได้รับความเสียหาย ร่างกายของเราด้านขวาจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อกรณีดังกล่าว และในทางกลับกัน หากเราถูกทุบจนสมองซีกขวากระทบกระเทือน ร่างกายส่วยซีกซ้ายของเราทั้งหมดก็จะได้รับผลสะเทือนเช่นกัน ทั้งนี้เพราะเนื่องจากว่าเส้นประสาทที่กลับข้างกันนั่นเอง
สมองสองข้าง (The double
brain)
ในสมองของสัตว์ต่างๆ นั้น ส่วนของสมองใหญ่ (cerebral) (ทั้งสองซีกของสมอง) โดยสาระแล้วเหมือนกันทั้งสองด้าน
หรือทำหน้าที่สมมาตรกัน (symmetrical) อย่างไรก็ตาม สำหรับมนุษย์นั้นส่วนของสมองใหญ่
(ทั้งสองซีก) ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างไม่เท่าเทียมกันหรืออสมมาตร (asymmetrical)
ในเรื่องหน้าที่ของสมอง. ในข้อนี้ ผลที่เราสังเกตเห็นได้มากที่สุดจากภายนอกของความไม่เท่ากันเกี่ยวกับสมองของมนุษย์ก็คือ
ความโน้มเอียงในการใช้มือข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้างหนึ่งนั่นเอง
ในอดีตประมาณ 150 ปีที่ผ่านมาหรือราวนั้น นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า หน้าที่ของการใช้ภาษา และความสามารถที่สัมพันธ์เกี่ยวกับภาษา ส่วนใหญ่แล้วตั้งอยู่ในสมองส่วนซีกซ้ายของแต่ละคนเป็นหลัก ราวๆ 98 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้ที่ถนัดขวา และมีจำนวนเพียง 2 หรือ 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถนัดซ้าย ความรู้เกี่ยวกับสมองซีกซ้ายที่มีความเชี่ยวชาญชำนิชำนาญทางด้านการทำหน้าที่เกี่ยวกับภาษา ส่วนมากได้รับทอดมาจากการสังเกตผลต่างๆ ของสมองที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับอันตรายนั่นเอง. มีตัวอย่างที่ค่อนข้างชัดเจน เกี่ยวกับการกระทบกระเทือนของสมองซีกซ้าย จะเป็นมูลเหตุแห่งความสูญเสียความสามารถในการพูดไป ในขณะที่การกระทบกระเทือนที่รุนแรงเท่าๆกันของสมองซีกขวาจะไม่ก่อให้เกิดผลอย่างเดียวกันนี้
ทั้งนี้เพราะ การพูดและภาษามีส่วนที่เชื่อมต่อกับความคิด เหตุผล อย่างใกล้ชิดนั่นเอง และหน้าที่ของสมองชั้นสูงนี้ได้จัดให้มนุษย์ต่างไปจากสัตว์ชนิดอื่นๆ. ในคริสตศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า สมองซีกซ้ายเป็นสมองส่วนสำคัญ มันครอบงำหรือเป็นซีกหลัก; ในขณะสมองซีกขวามือ เป็นส่วนรอง (subordinate)หรือเป็นซีกที่สำคัญน้อยกว่า ทรรศนะโดยทั่วไปเช่นว่านี้ มีอิทธิพลอยู่มาจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เอง ซึ่งถือว่าส่วนครึ่งด้านขวาของสมองนั้นเป็นด้านที่ก้าวหน้าและวิวัฒนาการมาน้อย กว่าสมองครึ่งด้านซ้าย มันเป็นหนึ่งในคู่ของสมองที่เป็นใบ้ ซึ่งถือว่าเป็นความสามารถในระดับต่ำ และถูกชี้นำและดำเนินไปตามสมองซีกซ้ายที่เป็นคำพูด (verbal)
เป็นเวลานานที่การศึกษาทางด้านประสาทวิทยาได้ดำเนินไปในเส้นทางนี้
และไม่เคยทราบมาก่อนเลยจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการเพ่งความสนใจไปยังเรื่องของระบบเส้นประสาทใหญ่
ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยประสาทนับล้านๆ ที่เชื่อมต่อสลับกับสมองใหญ่ทั้งสองซีก เส้นสมองที่เชื่อมต่อกับส่วนสมองอันนี้
เรียกว่า corpus callosum (แถบเส้นใยสีขาวที่เชื่อมกับสมอง) (*)
(*) The corpus callosum is a structure of the mammalian brain in the longitudinal fissure that connects the left and right cerebral hemispheres. It is the largest white matter structure in the brain, consisting of 200-250 million contralateral axonal projections. It is a wide, flat bundle of axons beneath the cortex. Much of the inter-hemispheric communication in the brain is conducted across the corpus callosum. (ภาพประกอบ)
เนื่องจากจำนวนที่มากมายของมัน เส้นใยของสมองจำนวนมหึมาและตำแหน่งที่ตั้งจุดยุทธศาสตร์เป็นจุดที่เชื่อมต่อของสมองทั้งสองซีก. ส่วนของ corpus callosum จึงได้ให้รูปลักษณ์เกี่ยวกับโครงสร้างภาวะที่สำคัญทั้งหมดขึ้นมาที่ยังคงเป็นปริศนาและเรื่องที่น่าฉงนสนเท่ห์อยู่ เท่าที่มีหลักฐานซึ่งพอจะหาได้บ่งชี้ว่า corpus callosum อาจถูกตัดหรือพรากออกมาอย่างสมบูรณ์โดยปราศจากผลของการสังเกตที่มีนัยยะสำคัญ โดยผ่านการศึกษาจากสัตว์ที่นำมาทดลองชุดหนึ่งในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950 ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปฏิบัติการในห้องทดลองที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (California institute of Technology) โดย Roger W. Sperry (*) และนักศึกษาของเขา อาทิ Ronald Myers , Colwyn Trevarthen และคนอื่นๆ ได้ร่วมทำการทดลอง
(*)Roger Wolcott Sperry (August 20, 1913 - April 17, 1994) was a neuropsychologist, neurobiologist and Nobel laureate who, together with David Hunter Hubel and Torsten Nils Wiesel, won the 1981 Nobel Prize in Medicine for his work with split-brain research.
In his Nobel-winning work, Sperry tested ten patients who had undergone an operation developed in 1940 by William Van Wagenen, a neurosurgeon in Rochester, NY [1]. The surgery, designed to treat epileptics with intractable grand mal seizures, involves severing the corpus callosum, the area of the brain used to transfer signals between the right and left hemispheres. Sperry and his colleagues these patients with tasks that were known to be dependent on specific hemispheres of the brain and demonstrated that the two halves of the brain may each contain consciousness. In his words, each hemisphere is
indeed a conscious system in its own right, perceiving, thinking, remembering, reasoning, willing, and emoting, all at a characteristically human level, and . . . both the left and the right hemisphere may be conscious simultaneously in different, even in mutually conflicting, mental experiences that run along in parallel -Roger Wolcott Sperry, 1974
This research contributed greatly to understanding the lateralization of brain function. In 1989, Sperry also received the National Medal of Science.
การทดลอง ได้ทำให้ทราบถึงหน้าที่หลักของ corpus callosum ว่าเป็นตัวที่ทำหน้าที่เตรียมการติดต่อระหว่างสมองทั้งสองซีก และเป็นตัวที่อนุญาตให้มีการส่งผ่านเรื่องราวของความทรงจำและการเรียนรู้ ยิ่งไปกว่านั้น มันได้รับการพิจารณาว่า ถ้าหากเส้นใยประสาทที่เชื่อมต่ออันนี้ถูกตัดไป สมองทั้งสองซีกจะยังคงทำหน้าที่ของมันต่อไปอย่างอิสระ ซึ่งอธิบายได้ในส่วนที่มันจะไม่ก่อให้เกิดผลอันใดต่อภาระหน้าที่และพฤติกรรมของสัตว์
ในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1960 นั้น ได้มีการขยายการศึกษาอย่างเดียวกันนี้ไปสู่คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดระบบประสาท ซึ่งได้ทำให้มีข้อมูลที่กว้างขวางออกไปเกี่ยวกับหน้าที่ของเส้นใยประสาท corpus callosum และได้เป็นมูลเหตุให้กับนักวิทยาศาสตร์ เป็นข้ออ้างยืนยันเกี่ยวกับการปรับปรุงทัศนะเกี่ยวกับสมรรถนะที่สัมพันธ์กันของซีกสมองของมนุษย์: ซึ่งสมองทั้งสองซีกนั้นมีความเกี่ยวพันกันในเรื่องเกี่ยวกับหน้าที่ทางการรับรู้ขั้นสูง ซึ่งแต่ละซีกสมองมีความชำนาญพิเศษในทางตรงกันข้ามกัน แต่เสริมกันให้สมบูรณ์ (complementary fashion) สมองทั้งสองซีกมีวิธีการทำงานที่ต่างกัน (different modes) และมีความสลับซับซ้อนสูงมาก
ทั้งนี้เพราะการสัมผัสรับรู้ที่แปรเปลี่ยนไปนี้ ได้ครอบคลุมอย่างสำคัญไปถึงการศึกษาในเรื่องทั่วๆ ไป และสำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับการวาดเส้น (learning to draw) ด้วย โดยเฉพาะในที่นี้จะได้อธิบายถึงผลงานวิจัยบางชิ้นอย่างสั้นๆ โดยสังเขป ซึ่งมักจะมีการอ้างอิงเสมอเกี่ยวกับการศึกษาต่างๆ ทางด้านการแบ่งแยกสมอง (the "split-brain" study) ผลงานวิจัยเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วกระทำกันที่ Cal tech หรือที่ California institute of Technology โดย Sperry และสานุศิษย์ของเขา อย่างเช่น Michael Gazzaniga , Jerry Levy , Colwyn Trevarthen , Robert Nebes , และคนอื่นๆ
ในการค้นคว้านี้มีศูนย์กลางอยู่ที่คนกลุ่มเล็กๆ ที่ต้องการทราบเรื่องเกี่ยวกับการผ่าแยกสมอง หรือการศัลยกรรมตัดเอาส่วนต่อของสมองของคนไข้ออก พวกคนไข้เหล่านั้นหลังจากที่ถูกผ่าตัดแล้ว จะไร้ความสามารถ โดยเกิดภาวะผิดปกติของระบบประสาทกระทันหัน (คล้ายอาการของคนเป็นโรคลมบ้าหมู) ซึ่งอันนี้เกี่ยวกับสมองสองซีกของคนไข้. มีการควบคุมด้วยการผ่าตัดแยก corpus callosum เส้นใยที่เชื่อมระบบประสาทออก และตัดความสัมพันธ์ของรอยต่อของสมองหรือสะพานเชื่อมออก ดังนั้นจึงเหลือเพียงสมองส่วนเดียวเป็นเอกเทศจากส่วนอื่น การผ่าตัดครั้งนี้เพื่อหวังผลให้อาการของบรรดาคนไข้ถูกควบคุมและทำให้พวกเขาฟื้นคืนสติขึ้นมา ทั้งๆ ที่โดยแก่นแท้ธรรมชาติแล้ว การทำศัลยกรรม ปรากฏการณ์ภายนอกของคนไข้ กริยาอาการ และความประสานกันต่างๆ ของอวัยวะจะมีผลที่ส่อแสดงให้เห็นน้อยมาก และการสังเกตอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับพฤติกรรมตามปกติ ดูเหมือนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปไม่มากนัก
ต่อมาภายหลังพวกกลุ่ม Cal Tech ได้กระทำการทดลองกับคนไข้เหล่านี้ในชุดการทดสอบที่ละเอียดอ่อนและฉลาดมากขึ้น ซึ่งการทดลองนี้ได้เปิดเผยให้เห็นถึงหน้าที่ของสมองทั้งสองซีกที่แยกออกจากกัน การทดสอบครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดหลักฐานใหม่ๆ ที่น่าประหลาดใจ ซึ่งสมองแต่ละข้างสัมผัสรู้ถึงความจริงในวิถีทางของตัวมันเองโดยเฉพาะ
- ในส่วนของสมองซีกซ้ายนั้นเป็นครึ่งหนึ่งของสมองที่เกี่ยวกับคำพูด (verbal) ซึ่งปกติแล้วตลอดเวลาจะครอบงำ (สมองของ)แต่ละคนส่วนใหญ่ โดยมีผลเท่าๆ กับคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดสมอง (กล่าวคือ สมองซีกซ้ายส่วนใหญ่มีอิทธิพลครอบงำสมองซีกขวาตลอดเวลาในคนปกติ หรือแม้แต่คนไข้ที่ถูกผ่าตัดสมองนั่นเอง)
- อย่างไรก็ตาม ชุดการทดสอบที่เฉลียวฉลาดนี้ กลุ่ม Cal Tech ได้ทดสอบการแยกสมองซีกขวาของคนไข้ และได้พบหลักฐานว่า สมองซีกขวาว่านั้นเป็นสมองและประสบการณ์ส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพูด มีปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยความรู้สึก และมีกระบวนการติดต่อสื่อสารโดยตัวของมันเอง
ในสมองสองซีกของเรา ซึ่ง corpus callosum หรือเส้นใยของระบบประสาทไม่ถูกกระทบกระเทือน จะมีการถ่ายทอดสื่อสารระหว่างสมองทั้งสองซีกผสมผสานกัน หรือมีการประนีประนอมกันในการสัมผัสรู้ทั้งสองส่วน ด้วยเหตุนี้ สัมผัสรับรู้ทางผัสสะของเราเกี่ยวกับภาวะของคนๆ หนึ่งจึงเป็นหน่วยเดียวกัน
นอกเหนือจากการศึกษาถึงการทำงานแยกกันของสมองทั้งสองซีก ซ้าย-ขวา ในเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ภายในที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยกระบวนการทางด้านศัลยกรรมที่ว่าแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังได้ทำการทดสอบในหนทางอย่างอื่นอีก ซึ่งสมองทั้งสองซีกได้ให้ข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก จากหลักฐานที่รวบรวมมา ได้แสดงให้เห็นว่า วิธีการทำงานสมองซีกซ้ายนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำพูด (verbal) และการวิเคราะห์ (analytic) ในขณะที่ส่วนของสมองซีกขวาเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำพูด (non-verbal) และเป็นการมองภาพรวมทั้งหมด (global)
หลักฐานใหม่อันนี้ ได้ถูกค้นพบขึ้นมาโดย Jerry Levy ในการศึกษาของเธอระดับปริญญาเอก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วิธีการของกระบวนการใช้สมองซีกขวานั้นเป็นกระบวนการที่รวดเร็ว (repid) ซับซ้อน (complex) เป็นไปแบบทั้งหมด (whole) เกี่ยวกับที่ว่าง (spatial) เกี่ยวกับประสาทรับรู้ (perceptual) กระบวนการนั้นไม่เพียงแต่แตกต่างไปเท่านั้น แต่ในเชิงเปรียบเทียบกับความซับซ้อนของสมองซีกซ้ายแล้ว สมองซีกซ้ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้คำพูดและการวิเคราะห์. มากยิ่งไปกว่านั้นอีก Levy ยังได้ค้นพบข้อบ่งชี้ว่า วิธีการสมองสองซีกมีแนวโน้มในการสอดแทรกการทำงานซึ่งกันและกันด้วย ซึ่งมีการคาดเดาในเชิงปฏิบัติ และเธอได้เสนอว่า มันอาจจะเป็นเรื่องของวิวัฒนาการทางด้านเหตุผล ซึ่งพัฒนาให้สมองสองซีกของมนุษย์มีความมสมมาตรกัน และมันเป็นหนทางที่เก็บรักษาวิธีการที่แตกต่างกันเกี่ยวกับกระบวนการของสมองสองซีกเอาไว้ด้วย
จากหลักฐานเกี่ยวกับการศึกษาการทำศัลยกรรมสมอง ทัศนะอันนี้ค่อยๆ ดำเนินมาถึงเรื่องที่ว่า สมองทั้งสองซีกได้ใช้วิธีการต่างๆ เกี่ยวกับการรับรู้ในระดับสูง ซึ่งแตกต่างกันออกไปและพัวพันไปถึงความคิด เหตุผล การทำหน้าที่อันสลับซับซ้อนของสมอง. ก่อนหน้านี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นับแต่การประกาศผลงานวิจัยขึ้นมาครั้งแรกในปี 1968 โดย Levy และ Sperry บรรดานักวิทยาศาสตร์ต่างก็ได้ค้นพบหลักฐานมากมายที่มาสนับสนุนความรู้นี้ ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะหลักฐานที่ได้มาจากคนไข้ที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองเท่านั้น แต่รวมถึงในคนปกติ ซึ่งสมองไม่ได้รับความกระทบกระเทือนด้วย
ความจริงซ้อนของคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดสมอง
(the Double Reality of Split-brain Patients)
จากตัวอย่างเล็กน้อยของแบบทดสอบที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษ
สำหรับใช้กับคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดสมอง อาจช่วยแสดงภาพให้เห็นถึงความจริงที่แยกกันในการรับรูโดยสมองแต่ละซีก
และวิธีการซึ่งเป็นกระบวนการพิเศษที่สมองแต่ละส่วนถูกใช้ในการทดสอบ. ภาพสองภาพได้เกิดขึ้นมาอย่างกะทันหันซึ่งเป็นชั่วประเดี๋ยวเดียวบนจอภาพ
สายตาของคนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดสมองจ้องไปยังจุดกึ่งกลางเพื่อตรวจสอบภาพทั้งสองอย่างละเอียด
และเก็บกักสิ่งที่เห็นนี้เอาไว้ สมองแต่ละซีกต่างรับรู้ภาพที่แตกต่างกันออกไป
ภาพของช้อนอันหนึ่งที่อยู่ทางด้านซ้ายของจอภาพเข้าสู่สมองด้านขวา ภาพของมีดเล่มหนึ่งที่อยู่ด้านขวาของจอภาพเข้าสู่สมองซีกซ้ายที่เกี่ยวกับคำพูด. เมื่อถามคำถาม คนไข้ก็ให้คำตอบที่แตกต่างกันออกไป ถ้าหากขอให้เอ่ยถึงสิ่งที่ปรากฏขึ้นบนจอภาพอย่างทันทีทันใด สมองซีกซ้ายของคนไข้จะสามารถแสดงออกเป็นคำพูดอย่างมั่นใจได้ว่าเป็น "มีด"
เมื่อขอให้คนไข้หยิบเอาสิ่งที่อยู่หลังม่านบังตาด้วยมือซ้าย (ซึ่งควบคุมด้วยสมองซีกขาว) และเลือกหยิบสิ่งที่เห็นบนจอภาพแบบกะทันหัน คนไข้จะหยิบเอาช้อนคันหนึ่งขึ้นมาจากกองวัตถุ ซึ่งมีทั้งมีดและช้อนอยู่ในกองนั้น ถ้าผู้ที่ทำการทดลองขอให้คนไข้พิสูจน์สิ่งที่เขาได้ถืออยู่ในมือหลังม่านบังตา คนไข้อาจดูสับสนขึ้นมาทันทีในชั่วขณะนั้นและกล่าวว่า "มีด" สมองซีกขวาทราบว่าคำตอบว่าอันนี้ผิด แต่ทว่าก็ไม่มีคำพูดใดๆพอที่จะแก้ไขคำพูดของสมองซีกซ้ายได้. ต่อจากคำพูดนั้นคนไข้จะสั่นศีรษะคล้ายคนใบ้ (บอกว่าไม่ใช่) ในชั่วขณะนั้น สมองที่เป็นคำพูดซีกซ้ายเกิดสงสัยหรือประหลาดใจออกมาดังๆว่า "ทำไมฉันจึงสั่นหัว?"
ในการทดลองอีกอันหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าการทำงานของสมองซีกขวาทำงานได้ดีกว่าสมองซีกซ้ายในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับที่ว่าง (space) การทดลองอันนี้เริ่มต้นด้วยการที่ผู้ทดลองนำเอาวัตถุที่ทำด้วยไม้ ซึ่งมีรูปร่างหลายหลากมาให้กับคนไข้ชาย แล้วให้คนไข้ทำการสวมรูปทรงไม้ลงในช่องว่างที่เป็นรูปเดียวกัน ปรากฏว่าความพยายามของเขาด้วยมือขวา (ซึ่งสมองซีกซ้ายควบคุม) ล้มเหลวแล้วล้มเหลวอีก สมองซีกขวาของเขาพยายามจะให้ความช่วยเหลือ แต่มือขวากลับผลักไสมือซ้ายให้ออกไปห่างๆ และในที่สุดคนไข้ผู้นั้นก็ต้องวางมือของตนลง เพื่อที่จะปล่อยให้ตัวเขาคลายจากความงุนงง เมื่อถึงที่สุด นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองได้แนะนำให้คนไข้ใช้ทั้งสองมือ ปรากฏว่ามือซ้ายที่มีความเข้าใจในเรื่องของช่องว่างอากาศอย่างปราดเปรื่อง (spatially "smart" left hand) ได้ผลักไสมือขวาที่บอดใบ้ในเรื่องช่องว่างอากาศนี้ออกไปห่างๆ จากการเข้ามาสอดแทรกการทำงาน
จากผลของการค้นพบที่พิเศษกว่าปกติอันนี้ ปัจจุบันทำให้เราทราบว่า แม้ว่าความรู้สึกตามปกติของเรานั้นจะบอกว่าเราเป็นคนๆ หนึ่ง มีการดำรงชีวิตอยู่ลำพัง แต่สมองของเรากลับมีสอง (double) แต่ละซีกของสมองมีหนทางในการรับรู้ของตัวมันเอง สัมผัสรู้ด้วยวิถีทางของมันเองกับความจริงภายนอก ในวิธีการพูด พวกเราแต่ละคนมีจิตใจคู่หนึ่ง มีจิตสำนึกคู่หนึ่ง มีการไกล่เกลี่ยประนีประนอมและประสานรวมตัวกันโดยเส้นใยประสาทที่เชื่อมต่อกันและกันระหว่างสมองทั้งสองซีก
พวกเราได้เรียนรู้ว่า สมองทั้งสองซีกนั้นสามารถที่จะทำงานร่วมกันในหนทางต่างๆ มากมาย บางครั้งมันก็ปฏิบัติงานร่วมกันในแต่ละครั้ง เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกันด้วยความสามารถพิเศษ และบางครั้งมันก็ปล่อยให้แต่ละส่วนของซีกสมองรับหน้ากับภาระหน้าที่ ซึ่งเหมาะสมกับมันโดยเฉพาะไปตามมรรควิธีของตัวมัน. ในบางครั้งบางคราวสมองทั้งสองซีกสามารถทำงานได้อย่างโดดเดี่ยว ด้วยการเปิด-ปิด (on-off) คือ ในขณะที่สมองข้างหนึ่งทำงาน (เปิด-on) สมองอีกข้างหนึ่งดูคล้ายๆ ว่าจะปิด (ปิด-off) และมันดูเหมือนว่าสมองทั้งสองซีกบางทีขัดแย้งกันและกัน อย่างเช่น สมองซีกหนึ่งพยายามจะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในขณะที่สมองอีกซีกหนึ่งรู้ว่ามันสามารถจะทำได้ดีกว่า ยิ่งไปกว่านั้น บางทีดูเหมือนกับว่า แต่ละซีกสมองมีวิธีการเก็บรักษาความรู้จากสมองอีกซีกหนึ่ง (โดยที่สมองอีกซีกหนึ่งไม่รู้เรื่องนั้นเลย)
แต่ทว่าสิ่งที่เราควรถามทั้งหมดเกี่ยวกับการเรียนรู้นี้ก็คือ จะวาดภาพได้อย่างไร? งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้เกี่ยวกับหน้าที่ของซีกสมองของมนุษย์ และลักษณะของกระบวนการทางด้านข้อมูลข่าวสารของการเห็น ได้บ่งชี้ว่าความสามารถในการวาดภาพนั้น ขึ้นอยู่กับการที่เราต้องเข้าไปถึงความสามารถของสมองส่วนรอง (minor) หรือส่วนที่สอง นั่นคือสมองซีกขวา หรือไม่เราก็ต้องปรับเปลี่ยน ลดเลี้ยว หรือปิดสมองซีกซ้ายที่ครอบงำทางด้านคำพูดอยู่นั้นเสีย และเปิดสมองซีกขวาของเรา. คำถามต่อมาก็คือ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ผู้คนวาดภาพได้อย่างไร? ปรากฏว่า การรับรู้ของสมองซีกขวา ซึ่งเป็นกระบวนการข้อมูลข่าวสารที่เป็นภาพ (visual information) ต้องการใช้สายตา(การมอง)เพื่อที่จะวาดรูป และการรับรู้ของสมองซีกซ้าย(ที่เกี่ยวข้องกับคำพูด) ดูเหมือนว่าจะมาแทรกแซงในการวาดภาพ
ร่องรอยต่างๆ ของภาษา
(Language clues)
ในการเข้าถึงปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่ พวกเราต่างก็ตระหนักกันแล้วว่า มนุษย์นั้นต้องมีผัสสะบางอย่างที่แตกต่างกันระหว่างซีกสมองทั้งสองข้าง
ทั้งนี้เพราะคำพูดของเราได้มีคำและวลีต่างๆ บรรจุอยู่ไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งยกตัวอย่างเช่นด้านซ้ายของคนๆ
หนึ่งนั้นมีคุณลักษณะที่เฉพาะที่แตกต่างไปจากด้านขวา ในกรณีนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าไม่เพียงแต่ความแตกต่างของตำแหน่งที่ตั้งเท่านั้น
แต่คุณสมบัติเฉพาะหรือคุณภาพโดยพื้นฐานก็มีความแตกต่างกันด้วย อย่างเช่น ถ้าเราต้องการที่จะเปรียบเทียบความนึกคิดที่ไม่เหมือนกัน
เราอาจจะพูดว่า "ในด้านหนึ่ง" (on the one hand - บนมือหนึ่ง)...."ในอีกด้านหนึ่ง"
(on the other hand - บนมืออื่น) หรือการสรรเสริญแบบเสียดสี(A left-handed compliment
- สรรเสริญแบบมือซ้าย) หมายถึง การทิ่มแทงที่มีเล่ห์เหลี่ยม (sly dig) ซึ่งเป็นการอ้างอิงและบ่งชี้ไปถึงคุณสมบัติที่ต่างกัน
ซึ่งพวกเรากำหนด หรือมอบหมายให้กับคำว่าซ้ายหรือขวา
อย่างไรก็ตาม พึงระลึกไว้ว่าวลีต่างๆ เหล่านี้โดยทั่วไปแล้ว เป็นการพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับมือ แต่เนื่องจากว่าสะพานที่เชื่อมต่อของมือทั้งสองมันไปถึงสมอง ในกรณีนี้จึงเป็นการอนุมานถึงความหมายของสมองซีกที่ควบคุมการทำงานของมือแต่ละข้าง จากตัวอย่างต่างๆ ที่เราคุ้นเคยในส่วนถัดไปจะอ้างอิงถึงมือซ้ายและมือขวาเป็นการเฉพาะ แต่ในความเป็นจริงได้มีการอ้างอิงหรืออนุมานถึงซีกสมองที่ตรงข้ามกัน สมองซีกขวาเชื่อมต่อกับมือซ้าย ส่วนสมองซีกซ้ายเชื่อมต่อกับมือขวา
อคติของภาษาและธรรมเนียมประเพณี
(The Bias of Language and Custom)
เราเคยสังเกตไหมว่า มีคำและวลีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดซ้าย-ขวา ที่ซึมแทรกอยู่ในภาษาและความคิดของเราโดยทั่วไป
มือขวา (หมายถึงสมองซีกซ้าย) ได้ถูกเชื่อมต่อกับสิ่งที่เป็นเรื่องความดี ความยุติธรรม
ศีลธรรม ความเหมาะสม ในขณะที่มือซ้าย (ซึ่งผูกพันไปถึงสมองซีกขวา) ได้ถูกเชื่อมโยงกับแนวความคิดที่เกี่ยวกับอนาธิปไตย
และความรู้สึกต่างๆ ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมหรือจิตสำนึก ที่ค่อนข้างจะเป็นความหมายที่เลว
ไม่มีศีลธรรม และเป็นอันตราย
จนกระทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ อคติที่มีมาแต่โบราณกับมือซ้าย/สมองซีกขวา ทำให้บางครั้งครอบครัวทางบ้านและครูบาอาจารย์หลายคนที่มีลูกหรือลูกศิษย์ถนัดซ้าย พยายามที่จะบังคับเด็กๆ ให้ใช้มือขวาในการเขียนหนังสือ กินข้าว และทำอะไรต่างๆ การกระทำดังกล่าวเป็นสาเหตุของปัญหาติดตามมาเมื่อเด็กๆ เหล่านี้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่
โดยตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ คำต่างๆ ที่แฝงความหมายเกี่ยวกับความดีของมือขวา/สมองซีกซ้าย และความชั่วร้ายของมือซ้าย/สมองซีกขวา ซึ่งปรากฏซ่อนเร้นอยู่ในภาษาต่างๆ ส่วนใหญ่ทั่วโลก
- สำหรับภาษาลาติน คำว่า "ซ้าย" ก็คือ "sinister" หมายถึง "ความเลว" ลางร้าย ไม่เป็นมงคล (ominous) อุบาทว์-อัปรีย์ ส่วนคำว่า "ขวา" ก็คือ "dexter" หรือ ชำนาญ แคล่วคล่อง หลักแหลม ซึ่งผันมาเป็นภาษาอังกฤษว่า "dexterity" มีความหมายว่า "เป็นทักษะ-ความชำนาญ" (skill) หรือ "คล่องแคล่ว" (adroitness)
- ส่วนในภาษาฝรั่งเศส คำว่า "ซ้าย" (สมองซีกขวา) ก็คือคำว่า "gauche" หมายถึง "งุ่มง่าม, เก้งก้าง" จากคำๆ นี้มาเป็นภาษาอังกฤษว่า "gawky" แปลว่า "งุ่มง่าม, ซุ่มซ่าม" สำหรับคำว่า "ขวา" ก็คือ "droit" หมายถึง "ความดี ความถูกต้อง หรือเหมาะสม" เป็นต้น
- ในภาษาอังกฤษ คำว่า "ซ้าย" (สมองซีกขวา) มาจากภาษาแองโกล-แซกซันว่า "lyft" หมายถึง "อ่อนแอ หรือไม่มีคุณค่า" (weak or worthless) อันที่จริงคนที่ถนัดมือซ้ายในหมู่ของคนถนัดมือขวา ส่วนใหญ่มักจะอ่อนแอกว่าอยู่แล้ว แต่สำหรับดั้งเดิมของคำๆ นี้ โดยนัยยะบ่งบอกถึงการขาดเสียซึ่งความเข้มแข็งทางด้านศีลธรรมนั่นเอง
ความหมายที่เสื่อมเสียของคำว่า "ซ้าย" อาจเป็นการสะท้อนถึงอคติของคนที่ถนัดขวา(ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่) ที่มีต่อคนที่ถนัดซ้าย(ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย) อันเป็นบุคคลที่มีความแตกต่างไปจากพวกตนนั่นเอง. เพื่อเป็นการสนับสนุนอคตินี้ คำว่า "ขวา" ซึ่งมาจากภาษาแองโกล-แซกซันว่า "rabt" (หรือ ribt) มีความหมายว่า "เหยียดตรง แนวตรง หรือถูกต้อง" (straight or just) จากคำว่า "rabt" และภาษาลาตินซึ่งกำเนิดจากตระกูลเดียวกันคือคำว่า "rectus" ได้ถูกรับเข้ามาเป็นภาษาอังกฤษคือ คำว่า "ความถูกต้อง และความเที่ยงธรรม" (correct and rectitude)
นอกจากนี้ ความคิดดังกล่าวยังมีผลกระทบไปถึงความคิดเห็นทางการเมืองด้วย ยกตัวอย่างเช่น พรรคฝ่ายขวาทางการเมือง ถูกถือว่าเป็นอำนาจทางการเมืองของชาติ มีลักษณะอนุรักษ์นิยม และต่อต้านความเปลี่ยนแปลง ส่วนพรรคฝ่ายซ้ายเป็นพรรคที่ตรงข้ามกันและถือว่าเป็นพวกอิสระ ที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงในระดับรากเลยทีเดียว. ในทางที่สุดขั้ว พรรคการเมืองฝ่ายขวาถูกถือว่าเป็นพวกฟาสซิสท์ (fascist) หรือเผด็จการ ในขณะที่พวกฝ่ายซ้ายถือว่าเป็นพวกอนาธิปไตย (anarchist)
ในบริบทประเพณีและวัฒนธรรม ที่มีแขกผู้มีเกียรตินั่งหรือยืนอยู่ในงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการ จะต้องอยู่ในตำแหน่งขวามือของเจ้าภาพ, ในพิธีแต่งงาน เจ้าบ่าวจะต้องยืนอยู่ทางด้านขวามือ ส่วนเจ้าสาวนั้นอยู่ทางซ้าย. สารที่ไม่ต้องใช้คำพูดเหล่านี้เป็นเรื่องของสถานะความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีส่วนร่วมกันสองคน เวลาจับมือทักทายกันเราก็ใช้มือขวา ดูเหมือนว่าค่อนข้างจะผิดปกติ หากจับมือทักทายกันด้วยมือซ้าย เหล่านี้เป็นต้น
ภายใต้ศัพท์คำว่า "มือซ้าย" (left hand) ในพจนานุกรมได้บันทึกศัพท์คำพ้องกับคำว่า "งุ่มง่าม" (clumsy) "เก้งก้าง" (awkward) "ไม่จริงใจ" (insincere) และ "ความประสงค์ร้าย" (malicioius). ส่วนศัพท์คำพ้องกับคำว่า "มือขวา" (right hand) ก็คือ "ความถูกต้อง" (correct) "จำเป็นอย่างยิ่ง ขาดเสียไม่ได้" (indispensable) และ "เชื่อใจได้" (reliable) เป็นต้น. มาถึงตรงนี้ สิ่งที่สำคัญก็คือ คำทั้งหลายเหล่านี้ต่างได้รับการเสกสรรขึ้นมา เมื่อตอนที่เริ่มมีภาษาขึ้นมาใช้ สมองซีกซ้ายเรียกชื่อสมองซีกขวาด้วยชื่อต่างๆ ที่เลวร้ายเหล่านี้ และสมองซีกขวาถูกติดฉลากไปในทางที่ไม่ดี โดยที่ธรรมชาติของมันถูกบังคับให้เชื่อฟัง โดยปราศจากคำพูดใดๆ ที่จะตอบโต้หรือปกป้องตัวเองเลย
หนทางทั้งสองของความรู้
(Two ways of knowing)
จากตัวอย่างข้างต้น เป็นเรื่องของความหมายกว้างๆ ที่แฝงเร้นอยู่ในทางตรงข้ามของคำว่า"ซ้าย"และ"ขวา"ในภาษาต่างๆ
ซึ่งเป็นแนวความคิดที่เกี่ยวกับทวินิยม (dualism) หรือความคิดแบบคู่ตรงข้าม และความคิดเหล่านี้ได้ถูกวางหลักการขึ้นมาโดยบรรดานักปรัชญา
ครูบาอาจารย์ และนักวิทยาศาสตร์ จากหลายยุคหลายสมัยและหลายวัฒนธรรม ความคิดสำคัญอันนี้ก็คือ
มันมีหนทางที่ขนานกันซึ่งเป็นหนทางของความรู้นั่นเอง
เป็นไปได้ที่เราอาจจะคุ้นเคยกับความคิดเหล่านี้กันมาแล้ว ซึ่งคำว่า "ซ้าย"และ"ขวา" ได้ฝังตรึงอยู่ในถ้อยคำภาษาและวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น การแบ่งแยกที่สำคัญระหว่าง"ความคิด"และ"ความรู้สึก" (thinking and feeling) "สติปัญญา"กับ"สหัชญาณ" (intellect and intuition) (*) การวิเคราะห์เชิง"วัตถุวิสัย"และความเข้าใจเชิง"อัตวิสัย" (objective analysis and subjective insight) นักรัฐศาสตร์กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว ผู้คนวิเคราะห์เรื่องของ"ความดี"-"ความเลว"ของประเด็นปัญหาใดปัญหาหนึ่ง และก็ออกเสียงลงคะแนนให้กับความรู้สึกที่เป็นแก่นแท้ภายในอันนั้น. ในวิชาประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยเกร็ดความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับนักวิจัยที่พยายามจะแก้ปัญหางานวิจัยของพวกเขาออกมาซ้ำๆ และมีความฝันอันหนึ่งซึ่งคำตอบได้เสนอตัวมันเองออกมา ดั่งอุปมาความเข้าใจในลักษณะสหัชญาณ (ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุผล). คำกล่าวของ Henri poincare (**) นับว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการอันนี้
(*) Intuition has many related meanings, usually connected to the meaning "ability to sense or know immediately without reasoning". In psychology, intuition may mean: Intuition (knowledge) - understanding without apparent effort, quick and ready insight seemingly independent of previous experiences or empirical knowledge.
(**) Jules Henri Poincare (April 29, 1854 - July 17, 1912) was a French mathematician and theoretical physicist, and a philosopher of science. Poincare is often described as a polymath, and in mathematics as The Last Universalist, since he excelled in all fields of the discipline as it existed during his lifetime.
"ในอีกบริบท บางโอกาสผู้คนได้พูดถึงเกี่ยวกับคนบางคนว่า "คำพูดคำจาและสำเนียงใช้ได้ แต่มีบางสิ่งบางอย่างบอกกับฉันว่า อย่าได้ไปแตะต้องเขาหรือเธอเป็นอันขาด" หรือ "ฉันไม่อาจบอกกับคุณเป็นคำพูดได้ชัดๆว่ามันเป็นอะไร แต่มันมีอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเขาที่เป็นคนที่ฉันชอบ (หรือไม่ชอบ). คำพูดต่างๆ เหล่านี้เป็นการตั้งข้อสังเกตในลักษณะสหัชญาณ (intuitive observation) ซึ่งสมองทั้งสองข้างทำงานร่วมกัน มันเป็นกระบวนการทางด้านข้อมูลอย่างเดียวกัน ในการรับรู้ที่แตกต่างกันสองทาง"
(Jules Henri Poincare)
รูปแบบสองอย่างของกระบวนการข้อมูล
(The two modes of information processing)
ภายในกระโหลกศีรษะแต่ละคน เนื่องจากพวกเราต่างมีสมองกันอยู่คู่หนึ่ง ซึ่งเป็นสมองของความรู้,
ความเป็นทวิ(คู่), และมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ครึ่งสมองทั้งสองส่วนและร่างกาย
แสดงออกไปตามสหัชญาณในภาษาของเรา แต่อย่างไรก็ตาม มีพื้นฐานความจริงอันหนึ่งในวิชาสรีรศาสตร์เกี่ยวกับสมองของมนุษย์
ตามปกติแล้ว มันมีการเชื่อมต่อของเส้นใยประสาทนับล้าน พวกเราจึงไม่ค่อยจะประสบกับความขัดแย้งในระดับจิตสำนึก
(ซึ่งอันนี้เปรียบเทียบกับการทดสอบกับคนไข้ต่างๆ ที่ได้รับการผ่าตัดสมอง)
ขณะที่แต่ละซีกของสมองของเราร่วมกันรับรู้ข้อมูลอย่างเดียวกันนั้น แต่ละครึ่งสมองของเราจะจับฉวยข้อมูลในหนทางที่ต่างกัน
ภาระหน้าที่ของมันอาจได้รับการแบ่งแยกระหว่างซีกสมองทั้งสองส่วน แต่ละส่วนจะยึดฉวยข้อมูลในลักษณะที่เหมาะสมกับวิธีการของมัน
หรือไม่ก็ซีกใดซีกหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นด้านซ้ายที่มีบทบาทนำ จะรับหน้าที่และทำการสกัดกั้นสมองอีกครึ่งหนึ่งออกไป
สมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่วิเคราะห์ เก็บสาระสำคัญ ตรวจนับ เคาะจังหวะ กระทำการวางแผนเป็นขั้นๆ
ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องของคำพูดสร้างคำพูดที่เป็นเหตุผลที่วางอยู่บนพื้นฐานของตรรกะ
ยกตัวอย่างเช่น "การให้ตัวอย่างของ a b และ c - เราอาจกล่าวว่า ถ้า a ใหญ่กว่า
b และ b ใหญ่กว่า c ดังนั้น a จึงใหญ่กว่า c อย่างแน่นอน" ตัวอย่างที่ยกขึ้นมากล่าวนี้
เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิธีการของสมองซีกซ้าย ซึ่งทำหน้าที่วิเคราะห์ (analytic)
เป็นเรื่องของคำพูด (verbal) คิดคำนวณ (figureingout) มีความต่อเนื่อง (sequential)
เกี่ยวกับสัญลักษณ์ (symbolic) เป็นเส้นตรง (linear) และมีลักษณะวัตถุวิสัย (objective
mode)
อีกกรณีหนึ่ง พวกเราต่างก็มีหนทางอยู่
2 ทางในเรื่องของความรู้ กล่าวคือ วิธีการของสมองซีกขวา. เรา "เห็น"
สิ่งต่างๆ โดยอาจเป็นเรื่องของมโนภาพหรือจินตนาการ ซึ่งดำรงอยู่เพียงในดวงตาแห่งจิตใจ
(mind's eye) หรือรำลึกถึงสิ่งต่างๆ ที่เป็นจริง (อย่างเช่น เราสามารถนึกถึงภาพประตูหน้าบ้านของเราได้)
เราเห็นสิ่งต่างๆ ที่ดำรงอยู่และส่วนประกอบที่ไปด้วยกันซึ่งสร้างขึ้นมาเป็นภาพทั้งหมดได้
เป็นต้น. การใช้สมองซีกขวา เราเข้าใจเชิงอุปมาอุปไมย, เราฝัน, เราสร้างความนึกคิดใหม่ๆ,
มีการผนึกกันทางความคิด, เมื่อมีบางสิ่งบางอย่างที่มีความยุ่งยากซับซ้อนที่จะอธิบาย
เราสามารถที่จะแสดงอากัปกริยายกมือยกไม้ขึ้นประกอบเพื่อที่จะสื่อสาร. นักจิตวิทยา
David Galin เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งนิยมนำมาอ้าง ตัวอย่างหนึ่งสำหรับเรื่องนี้คือ
การพยายามที่จะอธิบายบันไดเวียนโดยการทำมือทำไม้วนไปวนมา และการใช้สมองซีกขวานั้น
ทำให้เราสามารถที่จะวาดภาพต่างๆ ที่เราสัมผัสรับรู้ได้
ในกระบวนการเกี่ยวกับข่าวสารข้อมูลของสมองซีกขวา เราใช้สหัชญาณและกระโจนข้ามไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
(intuition and leap of insight) ในช่วงขณะที่ "สรรพสิ่งดูเหมือนกำลังตกอยู่ในสถานการณ์"
ที่ปราศจากสิ่งใดๆ ซึ่งสามารถจะแก้ปัญหาได้ในแบบแผนของตรรกะหรือเหตุผล เมื่อมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้น
ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเป็นโดยอัตโนมัติและในทันที พร้อมอุทานออกมาว่า "ฉันพบแล้ว"
หรือ "อ้า...ใช่แล้ว ฉันเห็นภาพของมันแล้วตอนนี้" ตัวอย่างที่คลาสสิกของการร้องอุทานออกมาเช่นนี้ก็คือ
การตะโกนออกมาด้วยความปิติยินดีอย่างยิ่งว่า "ยูเรก้า ยูเรก้า!" (ฉันพบแล้ว
ฉันพบแล้ว) ซึ่งเป็นคำอุทานของอาร์คิมิดิส. ตามเรื่องเล่านั้น อาร์คิมิดิสเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งโดยทันที
ในขณะที่แช่นตัวลงในอ่างอาบน้ำ ซึ่งทำให้เขาสามารถที่จะสร้างสูตรในการชั่งน้ำหนักของแข็งต่างๆ
ได้ด้วยวิธีการใช้การแทนที่ของน้ำ
ด้วยตัวอย่างที่ยกขึ้นมานี้
คือลักษณะการทำงานของสมองซีกขวา เป็นเรื่องของสหัชญาณ (intuition) เป็นเรื่องอัตตวิสัย
(subjective) เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กันทั้งหมด ลักษณะที่เป็นอิสระจากกาลเวลา
ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานี้ได้รับการดูถูกเหยียดหยาม ถูกกล่าวหาว่าเป็นเรื่องของความอ่อนแอ
ลักษณะหรือวิธีการของมือซ้าย(สมองซีกขวา) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในวัฒนธรรมของเรา
ถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกละเลยอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ระบบการศึกษาของคนส่วนใหญ่ได้รับการออกแบขึ้นมาเพื่อที่จะบ่มเพาะวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการใช้คำ
(พูด) (verbal) เกี่ยวกับเหตุผล (rational) ซึ่งเป็นเรื่องของสมองซีกซ้าย ในขณะสมองอีกซีกหนึ่งของนักศึกษาทุกคนถูกละเลย
โดยไม่ได้ให้ความเอาใจใส่แต่อย่างใด
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คลิกไปอ่านต่อบทความที่เกี่ยวเนื่อง
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
ผลงานของ Jerry Levy ในการศึกษาของเธอระดับปริญญาเอก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วิธีการของกระบวนการใช้สมองซีกขวานั้นเป็นกระ บวนการที่รวดเร็ว (repid) ซับซ้อน (complex) เป็นไปในแบบทั้งหมด (whole) เกี่ยวกับพื้นที่ว่าง (spatial) เกี่ยวกับประสาทรับรู้ (perceptual) กระบวนการนั้นไม่เพียงแต่แตกต่างไปเท่านั้น แต่ในเชิงเปรียบเทียบกับความซับซ้อนของสมองซีกซ้ายแล้ว สมองซีกซ้ายเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้คำพูดและการวิเคราะห์. มากยิ่งไปกว่านั้นอีก Levy ยังได้ค้นพบข้อบ่งชี้ว่า วิธีการสมองสองซีกมีแนวโน้มในการสอดแทรกการทำงานซึ่งกันและกันด้วย ซึ่งมีการคาดเดาในเชิงปฏิบัติ และเธอได้เสนอว่า มันอาจจะเป็นเรื่องของวิวัฒนาการทางด้านเหตุผล ซึ่งพัฒนาให้สมองสองซีกของมนุษย์มีความมสมมาตรกัน