ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




04-08-2551 (1628)

Space, Place and Gender: Doreen Massey
ภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์: ที่ว่าง พื้นที่ และ เพศสถานะ (๒)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความแปลชิ้นนี้เรียบเรียงมาจาก
Space, Place and Gender เขียนโดย Doreen Massey

หัวข้อสำคัญ: กรอบของงานแปลวิชาการ
- ที่ว่าง พื้นที่ และ เพศสถานะ
- การเปลี่ยนแปลงและเข้าแทนที่ของแรงงานหญิง
- การเมืองและที่ว่าง / เวลา
- ที่ว่าง ในมุมมองของบรรดานักเขียน
- ที่ว่างและเวลา
- นักภูมิศาสตร์แบบสุดโต่ง (Radical Geography)
- ประเด็นเรื่องเพศสถานะ และที่ว่าง
- มุมมองทางเลือกอื่นๆ ในเรื่องที่ว่าง
- ภาคผนวก Fields of human geography


บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๒๘
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Space, Place and Gender: Doreen Massey
ภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์: ที่ว่าง พื้นที่ และ เพศสถานะ (๒)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

๑. นักภูมิศาสตร์แบบสุดโต่ง (Radical Geography)
ในช่วงยุค 70 นั้น ระเบียบของภูมิศาสตร์มีการพัฒนา ซึ่งถูกอธิบายโดย แอนเดอสัน (Anderson) ในหนังสือ วัฒนธรรมที่มีการเคลื่อนไหวสลับกัน (A Culture in Contraflow) ว่า สำหรับสังคมศาสตร์ (Social Science) ความคิดปฎิฐานนิยมที่มีอำนาจนำ (Hegemonic Positivist) ในสิ่งที่เรียกว่า "ศาสตร์เชิงที่ว่าง" ต่างถูกท้าทายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากนักภูมิศาสตร์รุ่นใหม่สายมาร์กซิสท์ โดยข้อโต้แย้งได้เปลี่ยนไปอย่างชาญฉลาดสู่เรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างที่ว่างและสังคม ควรจะถูกคิดถึงและสร้างเป็นแนวคิด (Conceptualized)"

การจะโต้เถียงแนวคิดนี้ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ว่าง (The Spatial Scientist) ได้แสดงปริมณฑลที่เกิดขึ้นเองของที่ว่างซึ่ง "ความสัมพันธ์ของที่ว่าง" (Spatial Relation) และ "กระบวนการเกิดที่ว่าง" (Spatial Process) ได้สร้างให้เกิด "การกระจายตัวของที่ว่าง" (Spatial Distribution) ซึ่งหากพิจารณาเรื่องนี้ในเชิงภูมิศาสตร์อุตสาหกรรมแล้ว ส่วนใหญ่จะถูกตีความว่าเป็นผลของ "ปัจจัยที่เกิดจากตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์" (Geographical Location Factors) ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจารณ์สายมาร์กซิสต์ได้วิจารณ์ ซึ่งถูกเรียกว่า "ความสัมพันธ์ของที่ว่าง" และ "กระบวนการของที่ว่าง" ว่า แท้จริงแล้วเป็นความสัมพันธ์ทางสังคมที่รูปแบบหนึ่งของพื้นที่ทางภูมิศาสตร์และภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม ที่เราไม่สามารถทำความเข้าใจและสร้างข้อโต้แย้งอย่างชัดเจนในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และกระบวนการทางการเมืองในวงกว้าง โดยคติประจำใจของยุคเจ็ดศูนย์คือ "ที่ว่างเป็นผลผลิตของการประกอบสร้างทางสังคม" (Space is a Social Construction) คตินี้เกิดขึ้นเพื่อจะแสดงให้เห็น ความคิด ความเชื่อที่ว่า ที่ว่างนั้นถูกสร้างขึ้นผ่านความสัมพันธ์เชิงสังคมและเป็นวัตถุดิบของปฏิบัติการทางสังคม (Material Social Practice)

แต่การสรุปอย่างนี้ดูเหมือนจะเร็วเกินไป ในการเป็นข้อสรุปอย่างเพียงพอเกี่ยวกับ สังคม / ความสัมพันธ์ของที่ว่าง โดยมีช่วงเวลาหนึ่งที่มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเชื่อว่า ที่ว่างนั้นถูกสร้างขึ้นโดยสังคม สูตรที่เกิดขึ้นในลักษณะเป็นเส้นตรงจากซ้ายไปขวา มีนัยว่า รูปแบบทางภูมิศาสตร์ และการกระจายนั้นเป็นผลลัพธ์ของจุดสุดท้ายของการอธิบายเชิงสังคม นักภูมิศาสตร์ควรจะเป็นนักสร้างแผนที่ (Cartographer) ทางสังคมศาสตร์ แผนที่ซึ่งเป็นผลของกระบวนการที่สามารถถูกอธิบายได้โดยผ่านศาสตร์อื่นๆ - สังคมวิทยา (Sociology) เศรษฐศาสตร์ (Economic) ฯลฯ สิ่งที่นักภูมิศาสตร์ได้สร้างแผนที่ขึ้น ซึ่งก็คือรูปแบบคุณลักษณะเชิงที่ว่างของสังคมนั้น มีความน่าสนใจเพียงพอ แต่มันยังเป็นเพียงผลผลิตง่ายๆ มันไม่มีผลกระทบในเชิงวัตถุ แตกต่างจากศาสตร์อื่นๆ กรณีนี้ไม่ได้เป็นกรณีเดียวที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นรอบตัวพวกเราในช่วงเวลาแปดศูนย์ การบัญญัติเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างขึ้นมาใหม่ทั้งภายในชาติ และนานาชาติ ดั่งเช่น การประสานภายในของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจนั้นต่างถูกทำให้เป็น "เรื่องของภูมิศาสตร์" และคติพจน์ของยุคเจ็ดศูนย์ที่ว่า - ที่ว่างถูกสร้างขึ้นโดยการประกอบสร้างทางสังคม - นั้นได้ถูกเพิ่มอีกด้านหนึ่งของเหรียญลงในยุคต่อมาในช่วงแปดศูนย์ ว่า - การประกอบสร้างทางสังคมถูกสร้างขึ้นจากที่ว่างเช่นเดียวกัน - หากมองแบบกว้างๆ สังคมนั้นจำเป็นต้องมีการประกอบสร้าง และความจริงที่ถูกประกอบสร้างขึ้นนั้น เกิดขึ้นจากส่วนประกอบต่างๆ ที่ประกอบสร้างขึ้นเป็นที่ว่างของสังคม ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างผู้คนในการดำเนินไปของมัน

แต่หาก องค์กรประกอบของที่ว่าง สร้างความแตกต่างระหว่างผู้คนในระหว่างการดำเนินไปของสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นเราสามารถกล่าวได้ว่า "ที่ว่างและเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่าง" นั้นต่างเป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์อย่างมีนัยยะสำคัญ และนัยยะที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นความคิดที่เดินทางมาไกลจากจุดเริ่มต้นในเรื่องของความจริงที่หยุดนิ่ง (Stasis)) นี่ไม่ใช่ความคิดใหม่; ฮองรี เลอแฟร์ ได้เขียนไว้ในปี 1974 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นในประเด็นเดียวกันนี้: ประวัติศาสตร์ และ กลไกของมันอยู่ในทุกปัจจัย; ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ของราชวงศ์, อุดมคติต่างๆ, ความทะเยอทะยานของผู้แข็งแกร่ง, การเกิดขึ้นของรัฐชาติ, ความกดดันของประชาธิปไตย ฯลฯ นี่เป็นถนนสู่หนทางใหม่ที่ไม่หยุดยั้งในการวิเคราะห์, การค้นหา, ในเรื่องของวันและห่วงโซ่ของเหตุการณ์ เฉกเช่นที่ ที่ว่างเป็นเรื่องของตำแหน่ง ของเรื่องที่ถูกบันทึกไว้, หรืออย่างน้อยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างหลักการของการอธิบายที่ยอมรับได้

ตำแหน่งที่ตั้งทางสังคมและที่ว่างไม่สามารแยกออกจากกันได้ และคุณลักษณะเชิงที่ว่างกับสังคมนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก ต่างถูกยอมรับมากขึ้นและในปัจจุบันมีการยอมรับในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางภูมิศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในเรื่องการเมืองในเรืองที่ว่าง โดยความคิดที่ว่า ที่ว่างซึ่งเกิดจากผลผลิตที่มีลักษณะที่หยุดนิ่ง และปราศจากการก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นการก้าวถอยหลัง แต่อย่างไรก็ตาม การถกเถียงในกลุ่มนักภูมิศาสตร์สุดโต่ง ก็ยังเต็มไปด้วยการโต้แย้งของพวกเราเองในการสร้างความเข้าใจและอธิบายถึงที่ว่าง

๒. ประเด็นเรื่องเพศสถานะ และที่ว่าง
มันยังมีมุมมองเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างนี้จากทิศทางอื่นๆ ซึ่งแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ส่วนมากแล้วเกิดขึ้นในแบบภูมิศาสตร์สุดโต่ง โดยส่วนมากนั้นมักจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องเพศ อย่างแรกคือการที่ที่ว่างและเวลานั้นต่างถูกสร้างมาจากรูปแบบของคู่ตรงข้ามแบบทวิลักษณ์ (Dichotomous Dualism) มันไม่ใช่เรื่องของการแตกต่างอย่างง่ายๆ (A, B, ….) และไม่ใช่ การที่ความคิดแบบทวิลักษณ์ที่ถูกสร้างผ่านการวิเคราะห์ในเรื่องความสัมพันธ์สองสิ่งระหว่างที่วัตถุถูกนิยาม (กลุ่มทุน ; แรงงาน) แต่มันเป็นคู่ตรงข้ามในความหมายของ การปรากฏอยู่และการไม่ปรากฏ (Presence and an Absence); ความเป็นทวิลักษณ์ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอนของ (A และไม่ใช่ A) เช่นแนวคิดของแลคเลา ในการโต้แย้งการให้คำนิยามเรื่องที่ว่างดังเช่นที่ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ นั่นคือ: เวลานั้นจะต้องถูกมองว่าเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับที่ว่าง ระบบของความคิดซึ่งผูกติดอยู่กับคู่ตรงข้ามที่ไม่สามารถโต้แย้งได้ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในเรื่องเส้นแบ่งเชิงความเป็นคู่ตรงข้ามที่เรายึดถือ (จิต/กาย, ธรรมชาติ/วัฒนธรรม, เหตุผล/อารมณ์ ฯลฯ) ต่างได้ถูกโต้แย้งจากกลุ่มสตรีนิยม

ข้อโต้แย้งมีสองด้าน

1) ข้อโต้แย้งที่ว่า การที่การอบรมสั่งสอนเด็กๆ นั้นถูกแสดงออกอย่างชัดเจนจากกลุ่มสมาชิกเพียงเพศเดียวซึ่งคือเพศหญิง ในสังคมตะวันตกนั้นเป็นในมุมมองที่อยู่บนฐานของความสัมพันธ์แบบวัตถุ (Object - Relations) เพื่อใช้ในการเหยียดหยาม แยกแยะและแบ่งแยก

2) การพิจารณาในเรื่องการสร้างความโดดเด่นสุดขั้วระหว่าง เพศสถานะในสังคมของเรา ไปสู่การที่ลักษณะต่างๆ ถูกทำให้เชื่อมโยงสู่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ยังดำรงอยู่ในเรื่องเหล่านี้ โดย แนนซี่ เจย์ (Nancy Jay) ได้เสนอไว้ในบทความที่ชื่อว่า "เพศสถานะและคู่ตรงข้าม" (Gender and Dichotomy) เป็นการเข้าไปตรวจสอบข้อจำกัดทางสังคม และผลกระทบของการใช้ตรรกะแบบแบ่งเป็นสองขั้ว เธอแย้งว่า ไม่ใช่ตรรกะแบบแบ่งเป็นสองด้าน และความแตกต่างอย่างสุดขั้วของเพศ ที่สร้างความแตกต่าง แต่กว้างไปกว่านั้น ดังเช่น วิธีการในการสร้าง ความแตกต่างในการทำงานแก่ประโยชน์ของกลุ่มที่มีอำนาจในสังคม "มันแทบจะอยู่บนฐานของอุดมคติ ที่ว่า A ไม่ใช่ A นั้นส่งกระทบในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

สำหรับผู้ที่เข้าใจว่า สังคมถูกกำหนดโดยอุดมคติจะพบว่า มันเป็นการยากในการที่จะมองเห็นความเป็นไปได้ของรูปแบบทางเลือกอื่นๆ ของระเบียบทางสังคม เช่น ความเป็นไปได้ของทางเลือกที่สาม ทำให้เกิดการคิดที่ว่า ทางเลือกหนึ่งเดียวของ"ระเบียบ"คือ"การไม่เป็นระเบียบ". เจเนวิฟ ลอยด์ (Genevieve Lioyd) (*)ได้ทำการวาดประวัติศาสตร์ของเพศชาย และ ผู้หญิงในปรัชญาตะวันตก ในบทความชื่อว่า "ผู้ชายแห่งเหตุผล" โดยโต้แย้งว่า ความคิดแบบแบ่งสองและการสร้างลำดับความสำคัญของนิยามในทวิลักษณ์ให้เหนือกว่าสิ่งที่อยู่ตรงข้ามนั้น ไม่ได้เป็นเพียงศูนย์กลางในระดับของความคิดในแนวทางความคิดความเชื่อของปรัชญาตะวันตก แต่มันยังส่งผลต่อในระดับอุปกรณ์ในการคิด ที่สร้างรูปแบบของความโดดเด่นอย่างสุดขั้วของเพศหญิงกับเพศชาย โดยเจย์ ให้เหตุผลว่า "ถูกปกปิด, เอาเปรียบ, ความคิดเรื่อง A ไม่ใช่ A นั้นอันตราย และในทฤษฎีของสตรีนิยมที่มีความมุ่งมั่นเน้นในการทำให้พื้นที่ไม่ได้รับพิจารณา และเกิดความสำคัญขึ้นมา"

(*)Genevieve Lloyd is an Australian philosopher and feminist who is best known work is Man of Reason: 'Male' and 'Female' in Western Philosophy. Genevieve was born on 16 Oct 1941 in Cootamundra, New South Wales, Australia. Genevieve Lloyd studied philosophy at the University of Sydney and then at Somerville College, Oxford. Her D.Phil, awarded in 1973, was on Time and Tense. From 1967 until 1987 she lectured at the Australian National University, and it was during this period that she developed her most influential ideas and wrote The Man of Reason: "Male" and "Female" in Western Philosophy, which was published in 1984.

แต่มันก็ยังมีจุดที่ไปไกลกว่าสำหรับเรื่องนี้ แค่คำหนึ่งคำ (A) ได้ถูกให้ความหมายอย่างบวก เป็นผลทำให้คำอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ A) ต่างถูกมองว่า ต้องมีความสัมพันธ์กับ A เท่านั้น และความสัมพันธ์ในเรื่อง A นี้ โดยวรรณกรรมที่ใช้คำว่า เวลาและที่ว่างซึ่งมีรูปแบบของความคิด A ไม่ใช่ A นี้ ก่อให้เกิด "การที่ไม่สามารถตั้งคำถามหรือข้อสงสัยใดๆ ในเรื่องเวลาและที่ว่าง" ได้ เนื่องมาจากเวลาซึ่งถูกมองว่าเป็น "A" และที่ว่างซึ่ง "ไม่ใช่ A" ครั้งแล้วครั้งเล่า โดยเวลาถูกนิยามผ่านสิ่งต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลง, การเคลื่อนไหว, ประวัติศาสตร์, พลวัตร; ในขณะที่ ที่ว่าง เป็นพียงการไม่ปรากฏของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ โดยมันมีสองมุมมองสำหรับเรื่องนี้

1) จากการสร้างคำนิยามให้ความหมายในลักษณะนี้ ทำให้ความหมายของเวลาและลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเวลา ซึ่งถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของที่ว่างและเวลา โดยเอาเวลาเป็นศูนย์กลาง ทำให้เกิดคุณค่าที่ไม่เท่ากันของความหมายในระหว่างเวลาและที่ว่าง และ

2) การให้นิยามความหมายในลักษณะนี้ หมายความว่า ที่ว่างนั้นถูกนิยามโดยการไม่ปรากฏ มันดูชัดเจนและเข้าใจได้ในเบื้องต้นในเรื่องของคำนิยาม (เวลาเท่ากับการเปลี่ยนแปลง/การเคลื่อนไหว, เวลาหมายถึงการไม่ปรากฏของที่ว่าง) แต่เรื่องนี้อาจถูกแย้ง หากลองพิจาณาคำนิยามที่ซับซ้อนขึ้น ดังเช่นที่แลคเลาตั้งข้อโต้แย้งถึงคุณลักษณะเชิงที่ว่าง โดยในแนวคิดของแลคเลานั้น เวลานั้นเป็นตัวหมายสัญญะของความพร่อง,ไม่เต็ม (ความเป็นไปไม่ได้ของการเปิดกว้าง) ทำในการถกเถียงในเรื่องนี้นั้นส่วนใหญ "เวลา" จึงมักถูกพิจารณาดังเช่นสิ่งที่ตรงข้ามกับ "ที่ว่าง" ซึ่งส่งผลทำให้กระบวนการสร้างให้เกิดที่ว่าง (The Spatialization)นั้นถูกพิจารณาว่า เป็นเหตุการณ์ซึ่งประกอบขึ้นจากความพ่ายแพ้หรือยอมจำนนต่อ "เวลา"

ในปัจจุบันวัฒนธรรมตะวันตก ในกลุ่มทฤษฎีเรื่องของอำนาจนั้น ผู้หญิงเองก็ถูกนิยามในความหมายของการไม่ปรากฏเช่นเดียวกับที่ว่าง ทำให้เกิดความสงสัยว่า มันเป็นเรื่องบังเอิญจริงๆ หรือที่ว่า "ที่ว่าง" และ "ผู้หญิง" นั้น ต่างถูกนิยามในรูปแบบของการแบ่งสอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงถูกนิยามว่าไม่ใช่ A รูปแบบทั้งหมดที่จะนำเสนอต่อไปนี้คือ รูปแบบของคำในเชิงทวิลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเวลาและที่ว่าง

- โดยในเรื่องของ"เวลา"นั้น มักจะเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์, ความก้าวหน้า, อารยธรรม, วิทยาศาสตร์, การเมือง และเหตุผล
สิ่งต่างๆ ถูกทำให้ดูเสมือนว่าเป็นเรื่องสำคัญ

- ส่วนในเรื่องของ"ที่ว่าง"นั้น เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ อาทิเช่น ความหยุดนิ่ง (Stasis), การผลิตซ้ำ (ที่เรียบง่าย), การถวิลหาอดีต,
อารมณ์, สุนทรียศาสตร์, ร่างกาย

การใช้คำในรูปแบบของทวิลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ ต่างได้รับความเจ็บช้ำจากการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากมุมมองที่แบ่งสอง ปัญหาของข้อตกลงร่วมกันอย่างชัดแจ้งและผลกระทบจากการใช้คำในเชิงทวิลักษณ์อื่นๆ ควรจะถูกเพิ่มโดยซ้อนเข้าไประหว่างคำว่า"เวลา"และ"ที่ว่าง" ดังที่เจมส์สันได้ทำการเชื่อมโยงคู่ระหว่าง การอยู่เหนือ (Transcendence) และการตกเป็นรอง (Immanence) ความหมายตรงของมันนั้นมักจะมีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่าง "เวลา"และ"ที่ว่าง"ที่ตกเป็นรอง ซึ่งแท้จริงแล้วทั้งเจมส์สัน และแลคเลา มีความคล้ายคลึงกันมาก

ความชัดเจนของแลคเลา ในเรื่องการปิดกั้น, เวลาที่หมุนเป็นวงกลม การผลิตซ้ำอย่างเรียบง่าย และการเปลี่ยนย้ายตำแหน่ง (คุณลักษณะเชิงที่ว่าง), ประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป (เวลา), ถึงแม้ว่าในระยะเวลาต่อมา จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่มันเป็นที่ชัดเจนว่า ในมุมมองของเจมส์สันนั้น ความไหลบ่าของการตกเป็นรองและการพยายามหนีจากการอยู่เหนือของช่วงเวลาร่วมสมัย เป็น"โลกของความแปลกประหลาด" เพราะมันอยู่โดยปราศจาก"การอยู่เหนือ" และแน่นอนว่า ปราศจากความรู้สึกตามจารีต นับต่การเกิดทางเลือกมากมายที่ถูกทำให้มีระยะห่างที่เท่ากันและอยู่ในระดับเดียวกัน. ในโลกลักษณะนี้เอง ที่ความเชื่อและความรู้สึกของเวลานั้นสูญเสียไป และความจริงเกี่ยวกับคุณลักษณะเชิงที่ว่างได้เข้ามาแทนที่

ดังเช่นที่ได้เสนอประเด็นไปแล้วหลายครั้งว่า ความเป็นทวิลักษณ์ถูกซ้อนเข้าไปในเรื่องต่างๆ ได้โดยง่าย และได้เข้าไปทำการซ้อนสิ่งต่างๆ และทำให้เกิดการแบ่งสองขึ้นระหว่างหญิงและชาย จากมุมมองของรุสโซ (Rousseau) (*) นั้นในการมองผู้หญิงเป็นดังแหล่งพลังที่สำคัญ ในการไม่ทำตามระเบียบ ซึ่งแท้จริงแล้วควรที่จะเชื่อฟังและยอมจำนนต่อเหตุผล, จากการเสนออันโด่งดังของฟรอยด์ (Freud) ว่าผู้หญิงนั้นเป็นศัตรูของอารยธรรม และการวิพากษ์และวิเคราะห์ต่างๆ ที่ตามมาภายหลัง ดังเช่นเป็นคำแถลงเรื่อง "ความโจ่งแจ้ง" (Obviousness) ของทวิลักษณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวมันกับสิ่งอื่นๆ และการเชื่อมโยงไปสู่การแบ่งสองระหว่างชายและหญิง

(*)Henri Julien F?lix Rousseau (May 21, 1844 - September 2, 1910) was a French Post-Impressionist painter in the Naive or Primitive manner. He is also known as Le Douanier (the customs officer) after his place of employment. Ridiculed during his life, he came to be recognized as a self-taught genius whose works are of high artistic quality.

ซึ่งหากพิจารณาให้"ผู้หญิง"คู่กับ"ที่ว่าง"ในระบบของการเชื่อมโยงกันแบบทวิลักษณ์ เพศหญิงนั้นจะตกอยู่ภายใต้ความเป็นผู้หญิงที่สังคมสร้างขึ้น และเมื่อพิจารณากฎนี้อย่างทวิลักษณ์ ทำให้เวลานั้นกลายเป็นพลวัตร, ย้ายตำแหน่ง, และเป็นประวัติศาสตร์ และที่ว่างนั้นกลายเป็นการหยุดนิ่ง, ที่ว่างนั้นได้ฉาบเคลือบ หรือใส่ระหัสเพศหญิงโดยการทำให้"ไม่มีคุณค่า" แต่หากพิจารณาถึงที่ว่างในความโกลาหล (Chaos) (ซึ่งเห็นว่าแตกต่างจากการหยุดนิ่ง เหมือนกับการย้ายตำแหน่ง) เวลาจะเข้ามากลายเป็นระเบียบ และที่ว่างที่ยังมีการฉาบเคลือบความเป็นเพศหญิง จะเหลือเพียงบริบทที่สามารถตีความได้ว่าเป็นการคุกคามต่อเพศหญิงเท่านั้น

อลิซาเบท วิลสัน (Elizabeth Wilson) ได้เขียนไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า "สฟิงค์ในเมือง" (The Sphinx in the City) ได้วิเคราะห์ถึงกลุ่มความหมายนี้ในเรื่องของทัศนะทั้งหมดของวัฒนธรรมเมือง โดยเธอได้โต้แย้งว่า วัฒนธรรมเมืองได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อผู้ชาย ทำให้เกิดบริบทที่ผู้หญิงถูกกดทับ ในสองทาง

1) มันมีความจริงว่า ในมหานครของเรา ผู้หญิงผู้มีอิสระ ซึ่งในขณะเดียวกันก็มีความหมายรวมไปถึงว่า ผู้หญิงในแง่ที่ว่ามีโอกาสได้รับอันตราย หากเราจะหลบหนีออกจากความเข้มงวดของการควบคุมสังคมโดยเพศชายเป็นใหญ่ ซึ่งมีพลังมากในชุมชนเล็กๆ และ

2) การเป็นผู้หญิงนั้นมีราคาค่างวด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมุมมองของมหานครของสังคมตะวันตก เนื่องมาจากพวกเธอดูเหมือนจะเป็นภาพตัวแทนของการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความกลัวและความโกลาหลแก่เมืองได้ หากเกิดสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ และการที่ผู้ชายดูเหมือนจะได้รับอนุญาตให้ควบคุมที่แข็งขันกับผู้หญิงในหลายๆ เมืองนั้น ได้ถูกทำให้รู้สึกว่ามีความสำคัญเพื่อที่จะป้องกันอันตรายนี้

"ผู้หญิง เป็นภาพตัวแทนของ อารมณ์, เรื่องทางเพศ หรือแม้แต่ความไร้ระเบียบ ในขณะที่ผู้ชาย เป็นผู้มีเหตุผล และเป็นผู้ควบคุม" โดยท่ามกลางนักเขียนชายสมัยใหม่ ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ยี่สิบ ได้เกิดการควบคุมเมืองขึ้นเมื่อมันเริ่มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าการเติบโตของเมืองถูกพิจารณาว่าเป็นภัยอย่างหนึ่ง ในขณะที่นักเขียนหญิงสมัยใหม่ (วูล์ฟ, ริชาร์ดสัน) (Woolf, Richardson) ดูเหมือนว่า จะยินดีปรีดาอย่างมาก ในเรื่องพลังงานและความคล่องแคล่วของเมืองที่เกิดขึ้น

ถึงแม้ว่าการตอบสนองของนักเขียนอาจมีความกำกวมกว่านี้ แต่มันเห็นได้ชัดว่า เกิดความรู้สึกที่ผสมผสาน ระหว่าง"ความน่าหลงใหล"กับ"ความกลัว" มันเป็นความน่าสนใจที่แสดงให้เห็นถึงความคู่ขนาน ในสัมผัสของ"ความตื่นตระหนก"ที่อยู่ท่ามกลางระหว่าง"ความรื่นเริง" ซึ่งดูเหมือนจะเข้าไปรบกวนนักเขียนชายบางคนในสิ่งที่พวกเขาเห็น พวกเขารู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยึดจับเป็นหลักและไม่สามารถอดรนทนได้ และความยึดจับไม่ได้นี้ ถูกเห็นอย่างชัดแจ้งในความหมายคุณลักษณะเชิงที่ว่าง ในช่วงสมัยแห่งโพสต์โมเดิร์น ซึ่งมันเป็นช่วงเวลาของความกระชับแน่นระหว่างเวลาและที่ว่าง ความเป็นโลกและความเป็นท้องถิ่นอย่างใหม่, การพลังทลายลงของเส้นเขตแดน, ซึ่งเป็นสาเหตุของการตีความในเรื่องเวลาในปัจจุบันว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างมากกว่ายุคสมัยที่ผ่านมา

ตำแหน่งคู่ตรงข้ามของเจมส์สัน ได้ถูกยกขึ้นมาพัฒนาและเขาได้แสดงถึงความไม่แน่ใจในความตรงข้ามของสิ่งทั้งสองนั้น. เขาเขียนไว้ว่า "ความน่ากลัวของความหลากหลาย", "โครงข่ายทั้งหมดต่างคุกคามเข้ามาใน'สถานการณ์'ของฉัน ให้กลายเป็นการแทรกซึมจากผู้คนอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้" มันเป็นการยากที่จะต่อต้าน ความคิดของเจมส์สัน (และคนอื่นๆ) ที่แสดงให้เห็นถึงความกลัวอย่างควบคุมไม่ได้ ในเรื่องของความซับซ้อนของโลกทุกวันนี้ แม้เป็นเรื่องของสังคม และก็มีความสำคัญเทียบเท่า"ที่ว่าง" มีหลายสิ่งหลายอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกับความตระหนกของนักเขียนสมัยใหม่ที่เป็นชาย เมื่อเกือบร้อยปีที่แล้ว เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในเมืองใหญ่

มันสำคัญมากที่จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา / ที่ว่าง และเพศสถานะ มันไม่ได้เป็นการโต้แย้งว่าหนทางในการสร้างที่ว่างนั้นมีสารัตถะจากเพศชาย; มันไม่มีสารัตถะนิยม (Essentialism) ของ ความเป็นชาย/ความเป็นหญิง ในที่นี้ แต่ข้อโต้แย้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ลักษณะคู่ตรงข้ามของ"ที่ว่าง"และ"เวลา" กับเรื่องความคิดแบบทวิลักษณ์และความสัมพันธ์เชิงความหมายของมัน โดยทั้งสองต่างสะท้อนและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเป็นหญิงและความเป็นชายของสังคม ที่อยู่บนฐานในเรื่องเพศที่เราอาศัยอยู่. มันไม่ใช่การโต้แย้งว่า "ที่ว่าง"ควรถูกจัดลำดับคุณค่าใหม่ให้เกิดสถานะที่มีความเท่าเทียมกับ"เวลา" ซึ่งประเด็นที่ตามมานี้มีความสำคัญ เนื่องมาจากมันมีจำนวนของข้อถกเถียงมากมายและแพร่หลาย โดยเฉพาะในกลุ่มนักคิดสมัยใหม่ (รวมไปถึงมาร์กซิสต์) ที่เสนอว่า มันคือเวลาที่ถูกพิจารณาว่ามีความสำคัญมากกว่า

เอ๊ด โซจา (Ed Soja) (*) ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า ภูมิศาสตร์โพสต์โมเดิร์น (Postmodern Geographies) โดยได้นำเสนอเรื่องราวหลายกรณีเกี่ยวกับผลกระทบนี้ ด้วยการนำเสนอเรื่องของมาร์กซิสต์ช่วงต้นในมุมมองแบบภูมิศาสตร์ในเรื่องระเบียบวินัยของที่ว่าง ในบริบทที่แตกต่างออกไป.

(*) Edward William Soja (b. 1941, in Bronx (New York City), U.S.) is a postmodern political geographer and urban planner on the faculty at UCLA, where he is Distinguished Professor of Urban Planning, and the London School of Economics. He has a Ph.D. from Syracuse University.

เทอร์รี่ อีเกิลตัน (Terry Eagleton) (*) ได้เขียนในคำนำของหนังสือของคริสติน รอส (Kristin Ross) (**) ที่ชื่อว่า การประกอบสร้างที่ว่างทางสังคม (The Construction of Social Space) ว่า "รอสนั้นถูกต้อง ในการเสนอว่า ความคิดเรื่องที่ว่างนี้ เป็นตัวพิสูจน์ของนักทฤษฎีแบบสุดโต่ง แทนที่จะเสนอเพียงความเคลื่อนไหวและทัศนะที่รื่นรมย์จากการเล่าเรื่องและประวัติศาสตร์เท่านั้น" โดยมันเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะสืบเสาะเข้าไปในระดับของการรื้อถอน แยกแยะเรื่องของลำดับความสำคัญที่ส่วนหนึ่งของตัวมันนั้น อาจเป็นกลไกของระบบของความหมายในเชิงเพศสถานะ

(*)Terence Francis Eagleton (born 22 February 1943, Salford then in Lancashire) is regarded by many as Britain's most influential living literary critic. Formerly Thomas Wharton Professor of English Literature at the University of Oxford (1992-2001), he is currently John Edward Taylor Professor of English Literature at the University of Manchester. He has written more than forty books, including Literary Theory: An Introduction (1983); The Ideology of the Aesthetic (1990), and The Illusions of Postmodernism (1996).

(**)Kristin Ross is a professor of comparative literature at New York University. She received her Ph.D. from Yale University in 1981. Her research interests include French literature and culture of the 19th and 20th centuries, Francophone Caribbean literature, urban history and revolutionary history. She is proficient in the French language and is the translator of several works, including an English version of Jacques Ranciere's The Ignorant Schoolmaster.

Professor Ross has written a number of books, including The Emergence of Social Space: Rimbaud and the Paris Commune (1988), Fast Cars, Clean Bodies: Decolonization and the Reordering of French Culture (1995) and May '68 and its Afterlives (2002). She co-authored Anti-Americanism (2004) with Andrew Ross.

For Fast Cars, Clean Bodies, she was awarded a Critic's Choice Award and the Lawrence Wylie Award for French Cultural Studies. Professor Ross has also received a Guggenheim Fellowship and a fellowship from the Princeton Institute for Advanced Study.

รอสเองได้เขียนว่า "ความยากนั้นเป็นเรื่องของคำ มันเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งมาแล้วที่คำดังเช่น 'เชิงประวัติศาสตร์' และ'เชิงการเมือง' ได้ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว, ความคล่องแคล่ว, และแรงจูงใจของมนุษย์, 'คุณลักษณะเชิงที่ว่าง' ในอีกทางหนึ่ง หมายถึง การหยุดนิ่ง, ความเป็นกลาง, และ การเป็นฝ่ายรับ (Passivity)" ในการวิเคราะห์งานบทกวีของริมบัด (Rimbaud) ของเธอ ในเรื่องของธรรมชาติของความสัมพันธ์กับชุมชนปารีส เธอได้แสดงให้เห็นถึงมุมมองเชิงลบที่เป็นสารัตถะของที่ว่าง เป็นที่แน่นอนว่าเจมส์สันนั้นต้องพูดถึงประเด็นเดียวกันนี้ ในเรื่องอดีตของการลำดับความสำคัญของเวลา แต่งานของเขานั้นตรงข้ามกับรอสและโซจาโดยสิ้นเชิง โดยเน้นไปที่การสำรวจปัจจัยที่ก่อให้เกิดลำดับความสำคัญ

การโต้แย้งกันในประเด็นนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อที่จะยกระดับในเรื่องสถานะของที่ว่าง ซึ่งอยู่ในความหมายของทวิลักษณ์แบบเก่า แต่เพื่อที่จะก้าวข้ามของสูตรของ"ที่ว่าง"และ"เวลา" ในลักษณะแบบคู่ตรงข้าม ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกใช้บ่อยๆ ในกลุ่มสตรีนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การโต้แย้งสนทนาในงานเขียนของไซมอน เดอ เบอบัว (Simone de Beauvior) (*) ในเรื่อง ความเป็นทวิลักษณ์ของผู้อยู่เหนือ และผู้ตกเป็นรอง โดยเมื่อเดอเบอวัวเขียนว่า เพศชายนั้นไม่ใช่การทำซ้ำในตัวเองในช่วงเวลา แต่มันคือการเข้าไปควบคุมอย่างทันทีทันใดและบงการอนาคต กิจกรรมของเพศชายนั้นได้สร้างคุณค่าซึ่งแสดงคุณค่าในตัวมันเองอยู่แล้ว และในการนี้มันได้ไปลดทอนคุณค่าของธรรมชาติและผู้หญิงลง'

(*) Simone de Beauvoir (January 9, 1908 - April 14, 1986) was a French author and philosopher. She wrote novels, monographs on philosophy, politics, and social issues, essays, biographies, and an autobiography. She is now best known for her metaphysical novels, including She Came to Stay and The Mandarins, and for her 1949 treatise The Second Sex, a detailed analysis of women's oppression and a foundational tract of contemporary feminism.

เธอแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนระหว่างเรื่องการหมุนวนเป็นวงกลมของ"เวลา"กับ "การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง" ซึ่งไม่ได้มีศูนย์กลางอยู่ที่เรื่องเพียงความแตกต่างระหว่างผู้ตกเป็นรองกับผู้อยู่เหนือ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของหนทางซึ่งแลคเลาได้แบ่งชัดเจน ในสิ่งที่เขาเรียกว่า เรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างและเวลา โดยนักสตรีนิยมในช่วงต่อมา ได้เสนอว่า ปัญหาคือธรรมชาติในเรื่องความแตกต่างของตัวมันเอง โดยประเด็นนี้คือคู่ตรงข้ามสองคู่ (ผู้ตกเป็นรอง / ผู้อยู่เหนือ และ ที่ว่าง / เวลา) นั้น ต่างเชื่อมโยงและสร้างข้อโต้แย้งเรื่องทวิลักษณ์ที่ผ่านมา ซึ่งควรจะทำการอภิปรายต่อไปได้ในภายหลัง

มุมมองทางเลือกอื่นๆ ในเรื่องที่ว่าง
ความต้องการเริ่มต้นในการพัฒนา"มุมมองทางเลือกในเรื่องที่ว่าง"คือ การที่เราควรพยายามที่จะหนีจากทัศนะที่มองว่าสังคมเป็นลักษณะสามมิติ โดยแบ่งเฉือนผ่านเวลา ดังเช่นมุมมองที่ถูกใช้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งมันแสดงให้เห็นถึงหนทางที่ผู้คนได้จัดแบ่งสิ่งต่างๆ และเทียบเคียงสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาใช้. วัตถุประสงค์ของการเขียนถึงเรื่องดังกล่าว ไม่ใช่การปฎิเสธในแนวคิดเหล่านี้ แต่เพื่อที่จะชี้ให้เห็นสิ่งที่หลายคนพยายามเสนอคือ ในทางหนึ่ง ความขัดแย้งกันระหว่างความเคลื่อนไหวและเวลา และในอีกทางหนึ่ง ทัศนะของที่ว่างนั้นเชื่อมโยงระหว่างสิ่งต่างๆ ในชั่วเวลาหนึ่งอยู่แล้ว

ซึ่งสำหรับเจมส์สัน รูปแบบการบอกเล่าประวัติศาสตร์ของคนรุ่นถัดมา ได้เข้าไปแทนที่สิ่งที่ผ่านมา และถ้าหากมันเป็นเรื่องจริง มันก็มีความเหมาะสมและหนักแน่นเพียงพอ แต่ในทางตรงข้าม การเคลื่อนสู่ความสมดุลซึ่งเป็นสิ่งที่นักเขียนให้ความสนใจ คือสิ่งที่เที่ยงตรงที่สุด โดยในตอนท้ายได้เสนอทัศนะเรื่อง"ที่ว่าง"ว่า เป็นเพียงระบบที่จำลองความสัมพันธ์ เสมือนการเด้งไปมาของลูกบอลในเครื่องพินบอล และแน่นอนว่าการเคลื่อนไหวของเวลานั้น ก็เป็นเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างเช่นเดียวกัน องค์ประกอบที่เคลื่อนไหวนั้น มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะเชิงที่ว่าง และเรื่องความสัมพันธ์คุณลักษณะเชิงที่ว่างนี้สามารถสร้างขึ้นอย่างชั่วคราวได้ จากกระบวนการที่เป็นเส้นตรงที่ทำให้ทุกอย่างเป็นสิ่งแบนราบ (ซึ่งลดทอนสามมิติเหลือสองมิติ) มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะกล่าวถึงเรื่องสี่มิติของสิ่งต่างๆ. ที่ว่างไม่ได้มั่นคงหยุดนิ่ง หรือไร้กาลเวลา แน่นอนว่า เรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างและเวลานั้นแตกต่างจากกัน และสามารถคิดอย่างแยกจากกันได้

อย่างที่สอง เราต้องคิดเรื่องที่ว่างดังเช่นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ของสังคม และการปฎิสัมพันธ์ในที่ว่างทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับที่เป็นท้องถิ่นที่สุดสู่ระดับที่เป็นสากลที่สุด. ก่อนหน้านี้มันได้มีการเสนอแนวความคิดในกลุ่มภูมิศาสตร์เชิงมนุษย์ (Human Geography) (*) ว่า ความคิดความเชื่อที่ว่า "ที่ว่าง"นั้นถูกสร้างขึ้นจากสังคมอาจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ในขณะเดียวกันสังคมนั้นได้ถูกสร้างโดยที่ว่างเช่นเดียวกัน

(*)Human geography, is a branch of geography that focuses on the study of patterns and processes that shape human interaction with the environment, with particular reference to the causes and consequences of the spatial distribution of human activity on the Earth's surface.

Human geography encompasses human, political, cultural, social, and economic aspects of social sciences. While the major focus of human geography is not the physical landscape of the Earth (see physical geography) it is not possible to discuss human geography without going into the physical landscape on which human activities are being played out, and environmental geography is emerging as an important link between the two. Human geography is methodologically diverse using both qualitative methods and quantitative methods, including case studies, survey research, statistical analysis, and model building among others. (ดูภาคผนวกเพิ่มเติม)

ในทางหนึ่ง ปรากฏการณ์, กิจกรรม, ความสัมพันธ์ต่างๆ ทางสังคม (และแน่นอน ฟิสิกส์-กายภาพ) นั้นมีรูปแบบคุณลักษณะเชิงที่ว่าง และเกี่ยวข้องกับตำแหน่งคุณลักษณะเชิงที่ว่าง ความสัมพันธ์ซึ่งสานชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่ามันเป็นสังคม "พื้นถิ่น" หรือ องค์กรระดับโลก ความสัมพันธ์กับบรรษัทอุตสาหกรรม ความสัมพันธ์อันลึกล้ำระหว่างทางเหนือและทางใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มจำนวนประชากรในเมืองฝั่งยุโรป และเพลงของชนเผ่ามาลี โดยการแผ่ขยายของที่ว่างในเรื่องความสัมพันธ์เชิงสังคมนั้นอาจเป็นเรื่องของท้องถิ่นหรือกลายเป็นเรื่องระดับโลก หรืออะไรก็ตามระหว่างนั้น ซึ่งการขยายคุณลักษณะเชิงที่ว่างและรูปแบบต่างๆ มันล้วนเปลี่ยนไปตามกาลเวลา (และมันก็มีข้อโต้แย้งที่ต้องพิจารณาในเรื่องที่ว่า เกิดอะไรขึ้นกับรูปแบบคุณลักษณะเชิงที่ว่าง ซึ่งเกิดจากความสมพันธ์เชิงสังคมในช่วงเวลานั้น) แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม มันไม่มีทางจะหนีจากความจริงที่ว่า สังคมนั้นเกี่ยวเนื่องกับเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่าง

ข้อเสนอในที่นี้คือ ความจริงถูกใช้เพื่อทำการแยกแยะที่ว่าง หากเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้นถูกสร้างขึ้นโดยสังคมแล้ว "ที่ว่าง" ก็เป็นประดิษฐกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นอย่างซับซ้อนมาก ทั้งจากการเกาะเกี่ยวและไร้การเกาะเกี่ยว การเชื่อมโยงเป็นระบบของความสัมพันธ์ในทุกขนาดตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปสู่ระดับสากล เรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างเป็นการจำลองเรื่องของความสัมพันธ์เชิงสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็มีการขยายตัวและการจัดการ แต่การจำลองสังคมจากเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างนี้ไม่ใช่การคงความหมายเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากพิจารณาที่ว่างในฐานะที่เป็นช่วงเวลาของการตัดกันของความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งถูกจัดการมาแล้ว (มากกว่าที่จะเป็นมิติที่ชัดเจน) หมายความว่า มันไม่สามารถถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่หยุดนิ่งมั่นคงได้ การทับกันของการเคลื่อนไหลของเวลา และผิวหน้าของความสัมพันธ์อย่างปัจจุบันทันด่วน ที่ว่างโดยตัวมันเองแล้วมีลักษณะเป็นพลวัตรโดยธรรมชาติในตัวของมันเอง ทำให้เกิดประเด็นต่อเรื่องของที่ว่างว่า มันไม่ใช่สิ่งที่ "ถูกหั่นเฉือนผ่านเวลา" แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากการอยู่ร่วมกันของความสัมพันธ์เชิงสังคม ที่ไม่สามารถคิดเป็นอื่นไปได้ นอกจากความเคลื่อนไหว และดังเช่นผลของความจริงที่ว่า การคิดที่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมนั้น ทำให้ที่ว่างซึ่งโดยธรรมชาติของมันแล้ว เต็มไปด้วยอำนาจซึ่งถูกสร้างผ่านสัญลักษณ์ โครงข่ายที่ซับซ้อนของความสัมพันธ์ของการอยู่เหนือและการเป็นบริวาร ของความโดดเดี่ยวและการร่วมมือ. มุมมองของที่ว่างแบบนี้ อ้างอิงถึงสิ่งที่เรียกว่า "อำนาจและการสร้างที่ว่างในภาษาเรขาคณิต"

อย่างที่สาม เรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้น มีทั้งองค์ประกอบของความเป็นระเบียบและองค์ประกอบของความไร้ระเบียบ หรือบางทีเราอาจต้องตั้งคำถามถึงความคิดแบ่งสองด้วยเช่นกัน มันไม่สามารถถูกแยกแยะโดยการให้คำนิยามได้จากเพียงด้านเดียวหรือจากด้านที่ตรงข้าม. ที่ว่างนั้นมีระเบียบในสองแบบ

1) ที่ว่างมีระเบียบเนื่องมาจาก การเกิดขึ้นของที่ว่าง และมีตำแหน่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
2) ที่ว่างมีระเบียบเนื่องมาจาก ระบบคุณลักษณะเชิงที่ว่างซึ่งถูกร้อยเรียงเป็นกลุ่มตามแบบปรากฏการณ์ทางสังคมที่เข้ามาจัดการเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่าง เกิดตำแหน่งที่มาจากการร่วมมือกันมากกว่าการมีตำแหน่งที่อยู่กับของที่ว่างอย่างเด็ดขาด

ที่ว่างโดยตัวมันเอง เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างของระบบ ทำให้รูปแบบคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้น "ถูกวางแผน" โดยสังคม แต่มันก็ยังมีองค์ประกอบของ "ความไร้ระเบียบ" ซึ่งเห็นได้ชัดในเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างจากตำแหน่งของสิ่งต่างๆ และจำนวนของปรากฏการณ์ เช่นเรารู้ว่าทำไม x ถึงอยู่ที่นี่และ y ถึงอยู่ที่นั้น และตำแหน่งคุณลักษณะเชิงที่ว่างที่มันสัมพันธ์กับสิ่งอื่น เช่นตำแหน่งของ x ที่สัมพันธ์กับ y ทำให้เกิด "ผลกระทบอย่างไม่ตั้งใจ" เกิดความไร้ระเบียบคุณลักษณะเชิงที่ว่างที่เป็นผลลัพท์จากการนำสิ่งที่เกิดขึ้นสองสิ่งมาวางเคียงกัน, ความบังเอิญของการแยกจาก, การเกิดขึ้นบ่อยๆ ของความย้อนแย้งของธรรมชาติ โดยสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นขององค์ประกอบคุณลักษณะเชิงที่ว่างภายใน ต่างเกิดมาจากการปฎิบัติการเหล่านี้. ทั้งไมค์ เดวิส (Mike Davis) และ เอ็ด โซจา ได้เสนอให้เห็นความย้อนแย้ง ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์เชิงสังคมและคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้น อาจมีความหลากหลาย และมันอาจไม่ได้เกิดจากการสร้างของสังคมเลยก็เป็นได้

มีการเสนอที่น่าสนใจหลายอย่าง เริ่มจากข้อโต้แย้งของเออเนสโต้ แลคเลา ว่าสำหรับการคิดถึงที่ว่างนั้นเป็นสิ่งที่ยุ่งเหยิงโดยสารัตถะ "การย้ายตำแหน่ง" เป็นการเกิดขึ้นของที่ว่างซึ่งถูกนิยามในที่นี้นั้นไม่มีทางแสดงให้เห็นได้อย่างที่เข้าใจได้และเป็นเหตุผล ซึ่งเขาได้ตั้งคำถามต่อเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างในหนังสือ ภาพสะท้อน (The Reflections) ของเขาว่า มันไม่มีทางที่เรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่าง จะหมายถึงการอยู่ร่วมในโครงสร้างซึ่งถูกจัดตั้งตามธรรมชาติ โดยนิยามของคุณลักษณะเชิงที่ว่างนั้นแท้จริงแล้วเปิดกว้างสำหรับเรื่องทางการเมือง

เฟดเดอริค เจมส์สัน ในตอนแรกนั้นดูเหมือนจะคิดตรงข้ามกับแลคเลา โดยในมุมมองของเจมส์สันนั้น เรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างไม่ได้เกี่ยวข้องกับความไร้ระเบียบ ในขณะที่วาทกรรมว่าด้วยที่ว่างของแลคเลานั้น เป็นความพยายามที่จะหักล้างในเรื่องของการที่ไม่สามารถซ้อนทับได้ของที่ว่าง. สำหรับเจมส์สัน ที่ว่างนั้นไม่สามารถมีภาพตัวแทนใดๆ ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเรียกอย่างท้าทายว่าเป็นการสร้างแผนที่. ในหนทางนี้ทั้งแลคเลาและเจมส์สัน ทั้งสองต่างใช้คำว่า ที่ว่าง / คุณลักษณะเชิงที่ว่าง ด้วยความถี่อย่างยิ่งและมีการตีความอย่างชัดเจนต่อสิ่งที่คำนั้นมีความหมายจริงๆ และความคิดเกี่ยวกับเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างของเขาทั้งสองนั้น ปฎิเสธเรื่องการเมือง ขณะที่แลคเลากล่าวถึงสารัตถะของระเบียบของที่ว่าง ซึ่งหมายความถึงความตายของประวัติศาสตร์และการเมือง. สำหรับเจมส์สัน ที่ว่างคือความไร้ระเบียบของตำแหน่งภายในเรื่องของคุณณลักษณะเชิงที่ว่าง

เพราะฉะนั้นไม่ได้หมายความว่า ความแตกต่างระหว่างนักเขียนทั้งสองมีความขัดแย้งกันทั้งหมด ตั้งแต่มุมมองเรื่องที่ว่างถูกเสนอและเกิดการไม่เห็นด้วยของแลคเลา มุมมองของเจมส์สันนั้นแท้จริงแล้วก็ยังมีปัญหาอยู่เช่นเดียวกันในเรื่องเชิงการเมือง เจมส์สันได้ตีตรา "ที่ว่าง" ที่เขาเห็นนั้นไม่สามารถแสดงภาพตัวแทนได้และการเพิ่มขึ้นของการทำให้เป็นเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่าง สำหรับเขาแล้ว ไม่สามารถแยกออกจากองค์ประกอบที่เชื่อมโยงกันของสังคมโพสต์โมเดิร์นได้เลย

สิ่งที่เป็นเสมือนเป็นความผิดพลาดของทั้งสองมุมมองนี้คือ พวกเขาต่างอยู่ที่การมองคู่ตรงข้ามระหว่างที่ว่างและเวลา ทั้งแลคเลาและเจมส์สันแล้ว เวลาและที่ว่างเป็นสิ่งที่ปิด สามารถแสดงภาพตัวแทนได้อย่างเป็นเหตุผล หรือ เวลาและที่ว่างเป็นสิ่งที่เปิดและไม่สามารถแสดงภาพตัวแทนได้ นี่คือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นจากการโต้เถียงในเรื่องของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ที่ซึ่งความแตกต่างถูกสร้างโดยสังคม ทั้งอดีตและปัจจุบันไม่ใช่แบบในแบบการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อค้นหาประวัติศาสตร์ที่หายไป

ดังเช่นที่เป็นส่วนหนึ่งของที่ว่างและเวลา องค์ประกอบของความไร้ระเบียบ หรือการย้ายตำแหน่ง นั้นต่างส่งผลกระทบต่อที่ว่างทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งเป็นตัวสร้างมันขึ้นมา ผลลัพธ์ของรูปแบบในการคิดถึงคุณลักษณะเชิงที่ว่างได้ทำให้เกิดอำนาจ ซึ่งมีผลกระทบต่อเหตุการณ์ที่ตามมา ในสิ่งที่แลคเลาหมายถึง อย่างเช่น การท้าทายคือการย้ายตำแหน่งซึ่งเป็นการดำรงอยู่ของเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่าง ซึ่งทำให้เรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างกลายเป็นจุดกำเนิดของเวลา

สำหรับเจมส์สันนั้น ความไร้ระเบียบของที่ว่าง เป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมเวลาถึงไม่สามารถบริสุทธิ์โดยปราศจากเรื่องของคุณลักษณะของที่ว่าง ในทางหนึ่งเป็นการคิดถึงเรื่องคุณลักษณะเชิงที่ว่างว่าเป็นการสานรวมภายในของประวัติศาสตร์ และเกิดความเป็นไปได้ในการที่จะเกิดขึ้นในเรื่องเชิงการเมืองดังเช่นเป็นเวลาสำหรับภูมิศาสตร์ แต่อีกหนทางหนึ่ง ได้ยืนยันถึงความที่ไม่สามารถจะแยกแยะออกจากกันได้ระหว่างเวลาและที่ว่าง การสร้างขึ้นมาร่วมกันผ่านความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ และความจำเป็นในการที่จะต้องพิจารณาความหมายของที่ว่างและเวลา

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก
Fields of human geography

The main fields of study in human geography focus around the core fields of:

- Cultural geography is the study of cultural products and norms and their variation across and relations to spaces and places. It focuses on describing and analyzing the ways language, religion, economy, government, and other cultural phenomena vary or remain constant from one place to another and on explaining how humans function spatially[1]

- Subfields include: Children's geographies, Sexuality and space, Animal Geographies, Language geography & Religion geography

- Development geography is the study of the Earth's geography with reference to the standard of living and quality of life of its human inhabitants.

- Economic geography is the study of the location, distribution and spatial organization of economic activities across the Earth. The subject matter investigated is strongly influenced by the researcher's methodological approach.

- Subfields include Marketing geography

- Health geography is the application of geographical information, perspectives, and methods to the study of health, disease, and health care.

- Historical geography is the study of the human, physical, fictional, theoretical, and "real" geographies of the past. Historical geography studies a wide variety of issues and topics. A common theme is the study of the geographies of the past and how a place or region changes through time. Many historical geographers study geographical patterns through time, including how people have interacted with their environment, and created the cultural landscape.

- Subfields include Time geography

- Political geography is concerned with the study of both the spatially uneven outcomes of political processes and the ways in which political processes are themselves affected by spatial structures.

- Subfields include Electoral geography, Geopolitics, Strategic geography & Military geography

- Population geography is the study of the ways in which spatial variations in the distribution, composition, migration, and growth of populations are related to the nature of places. Population geography involves demography in a geographical perspective. It focuses on the characteristics of population distributions that change in a spatial context.

- Urban geography is the study of urban areas. That is the study of areas which have a high concentration of buildings and infrastructure. These are areas where the majority of economic activities are in the secondary sector and tertiary sectors. They probably have a high population density.

- Tourism geography is the study of travel and tourism as an industry, as a human activity, and especially as a place-based experience.

- Subfields include Transportation geography

Within each of the subfields various philosophical approach can be used in research therefore an urban geographer could be a Marxist, Feminist, or Psychoanalytic geographer etc. Such approaches are:

- Behavioral geography
- Critical geography
- Feminist geography
- Marxist geography
- Non-representational theory
- Psychoanalytic geography

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกกลับไปอ่านบทความเดียวกันตอนที่ ๑

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ : Release date 04 August 2008 : Copyleft by MNU.

ในปัจจุบันวัฒนธรรมตะวันตก ผู้หญิงเองก็ถูกนิยามในความหมายของการไม่ปรากฏเช่นเดียวกับที่ว่าง ทำให้เกิดความสงสัยว่า มันเป็นเรื่องบังเอิญจริงๆ หรือที่ว่า "ที่ว่าง" และ "ผู้หญิง" นั้น ต่างถูกนิยามในรูปแบบของการแบ่งสอง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงถูกนิยามว่าไม่ใช่ A รูปแบบทั้งหมดที่จะนำเสนอต่อไปนี้คือ รูปแบบของคำในเชิงทวิลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเวลาและที่ว่าง - โดยในเรื่องของ"เวลา" มักจะเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์, ความก้าวหน้า, อารยธรรม, วิทยาศาสตร์, การเมือง และเหตุผล สิ่งต่างๆ ถูกทำให้ดูเสมือนว่าเป็นเรื่องสำคัญ - ส่วนในเรื่องของ"ที่ว่าง"นั้น เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นๆ อาทิเช่น ความหยุดนิ่ง (Stasis), การผลิตซ้ำ (ที่เรียบง่าย), การถวิลหาอดีต, อารมณ์, สุนทรียศาสตร์, ร่างกาย (คัดลอกมาจากบทความ)

 

H