ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




01-08-2551 (1625)

ชุดความรู้เที่ยงคืน: The Economics Effects of Living Wage Laws:
Living Wage Laws: ผลทางเศรษฐกิจของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ (๑)
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

บทความแปลชิ้นนี้เรียบเรียงมาจาก
The Economics Effects of Living Wage Laws: A Provisional Review
เขียนโดย Scott Adams and David Neumark
จากวารสาร Urban Affairs Review 2004; 40; 210
The online version of this article can be found at:
http://uar.sagepub.com/cgi/content/abstract/40/2/210

หัวข้อสำคัญ: กรอบของงานแปลวิชาการ
- กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
- ผลกระทบของ"อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ"ที่มีผลกับแรงงานค่าจ้างต่ำ และครอบครัวรายได้ต่ำ
- ผลการวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องของค่าจ้าง, การจ้างงาน และผลกระทบต่อความยากจน
- เศรษฐศาสตร์จุลภาคของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ
- กรณีศึกษา สนามบิน San Francisco
- กรณีศึกษา องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
- ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพของ Boston
- แรงงานที่ได้รับและไม่ได้รับการคุ้มครองใน Los Angeles
- คนงานดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Home Care Workers)
- บทสรุปของผลกระทบในระดับองค์กร
- คำถามในเชิงนโยบายที่ไม่มีคำตอบ

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๒๕
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดความรู้เที่ยงคืน: The Economics Effects of Living Wage Laws:
Living Wage Laws: ผลทางเศรษฐกิจของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ (๑)
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ผลกระทบทางเศรษฐกิจของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ: การทบทวนงานวิจัย
(The Economics Effects of Living Wage Laws: A Provisional Review)

ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990 ในเมืองต่างๆ และรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศสหรัฐรวมแล้วเกือบหนึ่งร้อยแห่ง ได้มีการผ่านกฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ (Living Wage Law) (*) จุดประสงค์หลักของกฎหมายเพื่อต้องการลดปัญหาความยากจน แต่ก็อาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้ เนื่องจากกฎหมายนี้ได้มีผลกระทบที่ทำให้เกิดการเลิกจ้างเกิดขึ้น

(*) Living wage is a term used to describe the minimum hourly wage necessary for a person to achieve some specific standard of living. In developed countries such as the United Kingdom or Switzerland, this standard generally means that a person working forty hours a week, with no additional income, should be able to afford a specified quality or quantity of housing, food, utilities, transport, health care, and recreation.

This concept differs from the minimum wage in that the latter is set by law and may fail to meet the requirements of a living wage. It differs somewhat from basic needs in that the basic needs model usually measures a minimum level of consumption, without regard for the source of the income.

บทวิจารณ์นี้ เป็นการสรุปและทบทวนผลงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของกฎหมายนี้ที่มีผลต่อค่าจ้าง การจ้างงานและรายได้ของครอบครัว โดยเน้นไปยังผลงานวิจัยที่มีลักษณะร่วมกัน รวมทั้งทัศนะของฝ่ายคัดค้านและปัญหาสำคัญของการทำการวิจัยที่จะเกิดในอนาคต แม้จะมีการคัดค้านว่ากฎหมายนี้ไม่มีผลกระทบต่อการจ้างงาน แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับการตกงานของแรงงานไร้ฝีมือ แต่ก็มีบางส่วนที่ได้รับผลที่เป็นประโยชน์ และหลักฐานที่ปรากฏก็แสดงให้เห็นว่า กฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพซึ่งเป็นกฎหมายค่าแรงที่มีประสิทธิภาพ อาจจะส่งผลที่ช่วยชดเชยผลกระทบทางลบบางอย่างที่เกิดกับฝ่ายนายจ้างได้

ตั้งแต่รัฐ Baltimore ได้ผ่านกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพเป็นครั้งแรกของประเทศใน ค.ศ. 1994 ก็เริ่มมีการเรียกร้องอย่างจริงจังให้มีการใช้กฎหมายนี้ในพื้นที่เมืองใหญ่ทั่วสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ทำการศึกษา มีการประกาศใช้กฎหมายนี้ในเมืองขนาดเล็กและใหญ่ รวมทั้งเคานตี้ต่างๆ (counties) (*) และคณะกรรมการการศึกษา (school boards) รวมทั้งสิ้นเกือบ 100 แห่งทั่วประเทศ ปัจจุบันมีเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจำนวน 10 เมืองจากทั้งหมดที่มีอยู่ 20 เมือง (ตามข้อมูลของ U.S. Census of Population) ที่มีกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพอยู่ในสารบบ และเมืองอื่นๆ ก็กำลังอยู่ระหว่างการเรียกร้องให้มีการประกาศใช้กฎหมายนี้เช่นกัน Brenner (กำลังจะมีผลงานออกมา) คาดการณ์ว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของพลเมืองในเมืองที่มีประชากรมากกว่า 100,000 คน อาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ ที่มีการใช้กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพอยู่ในสารบบ หากสามารถเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการใช้กฎหมายนี้ได้ทั่วประเทศ ก็จะเป็นความสำเร็จที่น่าสนใจที่สุดอันหนึ่ง ในการพัฒนานโยบายสาธารณะในประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน

(*)A county of the United States is a local level of government created as a subdivision of a state by the state government or by the federal or territorial government as a subdivision of a territory. The word county is used in 48 of the 50 states, while Louisiana uses the term parish and Alaska uses the word borough. Including those, there are 3,077 counties in the US, an average of 62 counties per state. The state with the fewest counties is Delaware (three), and the state with the most is Texas (254). In many states, counties are subdivided into townships or towns and may contain other independent, self-governing municipalities. The site of a county's administration and courts is called the county seat.

กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ

ประการแรก กฎหมายนี้กำหนดให้มีการใช้ระดับค่าจ้างที่สูงกว่า (มักจะสูงกว่ามาก) อัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยทั่วไปของมลรัฐหรือของรัฐบาลกลาง ระดับค่าจ้างในแบบค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพเมื่อต้นปี ค.ศ. 2002 ได้กำหนดไว้ดังนี้ 7.72 เหรียญ (Los Angeles), 8.83 เหรียญ (Detroit) และ 10.25 เหรียญ (Boston)

ประการที่สอง เห็นได้ชัดว่า ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมักจะกำหนดตามระดับค่าจ้างสำหรับหนึ่งครัวเรือน ที่มีสมาชิกหนึ่งคนทำงานประจำในหนึ่งปี โดยเป็นค่าจ้างที่อยู่ในระดับที่สามารถเลี้ยงชีพได้

ประการที่สาม การประกาศใช้กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพนั้น โดยทั่วไปแล้วครอบคลุมขอบเขตที่ค่อนข้างแคบ บ่อยครั้งที่เมืองต่างๆ มักจะประกาศใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะแต่กับธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับเทศบาลนคร (city contractors) (ซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร) ส่วนเมืองอื่นๆ ก็มีการใช้ค่าแรงขั้นต่ำกับธุรกิจที่ฝ่ายเทศบาลนครได้ให้ความช่วยเหลือทางธุรกิจในเกือบทุกกรณี นอกเหนือจากส่วนที่มีการทำสัญญากับเทศบาลนคร ประการสุดท้ายก็คือ มีเทศบาลนครจำนวนไม่กี่แห่งที่ต้องการให้ฝ่ายลูกจ้างที่อยู่ภายในเมืองของตน ได้รับค่าแรงในระดับมาตรฐานค่าครองชีพ

การใช้อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ มีวัตถุประสงค์หลักเช่นเดียวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (minimum wages) (*) คือ เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานที่ได้รับค่าแรงต่ำเพื่อลดปัญหาความยากจน โดยที่สถาบันนโยบายเศรษฐกิจ (Economic Policy Institute) ได้ให้เหตุผลว่า "อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อหยุดปัญหาความยากจน" ดังนั้น คำถามหลักในการทำวิจัยเกี่ยวกับค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพก็คือ คำถามที่ว่า…

(*) A minimum wage is the lowest hourly, daily, or monthly wage that employers may legally pay to employees or workers. First enacted in Australia and New Zealand in the late nineteenth century, minimum wage laws are now enforced in more than 90% of all countries.

Both supporters and opponents of the minimum wage assert that the issue is a matter of ethics and social justice involving worker exploitation and earning ability. Supporters claim that increases in the minimum wage increase workers' earning power and protect workers against employer exploitation. Opponents claim that increases in the minimum wage increase unemployment; and the unemployment caused outweighs the benefits to minimum wage workers who remain employed, while allowing businesses to more effectively exploit the minimum wage workers who remain.

คำที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำนี้คือ Social Minimum คลิกอ่านที่ http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2544/0009999499.html

อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจะสามารถช่วยเหลือแรงงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำและครอบครัวที่มีรายได้น้อยได้หรือไม่ คำถามนี้เป็นหัวข้อหลักในการทำวิจัยเรื่องอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ (Neumark and Adams 2003a, 2003b; Adams and Neumark forthcoming-a; Neumark 2002) ในบทความนี้เป็นการสรุปรวมผลงานวิจัยที่มีอยู่แล้ว อันเป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นคำถามข้างต้น รวมทั้งยังเป็นการอธิบายถึงสิ่งที่เห็นว่าเป็นคำถามที่สำคัญที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องนำมาพิจารณา คือประเด็นที่ว่า อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพสามารถ ทำให้บรรลุเป้าหมายหลักในเชิงนโยบายได้หรือไม่

ผลกระทบทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาค
ในการทำวิจัยเรื่องอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ประเด็นที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเป็นประเด็นที่เน้นในเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาค อันเป็นผลมาจากอัตราค่าจ้างดังกล่าว การวิจัยมักไม่ค่อยให้ความสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับพลเมืองทั่วไปหรือแรงงานทั่วไปในเมือง ที่มีการอนุมัติกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ แต่มุ่งให้ความสนใจกับประเด็นว่า ธุรกิจและแรงงานที่อยู่ในข่ายจะได้รับผลกระทบอย่างไร และยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการประเมินผลกระทบของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในเชิงนโยบาย แต่เน้นการตรวจสอบปฏิกิริยาที่มีต่อกฎหมายนี้

หลักฐานในระดับจุลภาคอาจช่วยยืนยันผลการวิจัยในระดับภาพรวมได้ เช่น ถ้าพบว่าในเมืองที่มีการอนุมัติกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ เมื่อแรงงานค่าจ้างต่ำได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้น ก็ควรจะปรากฏหลักฐานซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหมือนกับในกลุ่มนายจ้าง แต่ในอีกด้านหนึ่ง ผลการวิจัยในระดับภาพรวมก็ไม่อาจยืนยันหลักฐานในระดับจุลภาคได้ เช่น เป็นที่เชื่อได้ว่า กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีผลกระทบกับแรงงานน้อยมาก เกินกว่าที่จะทำให้การจ้างงานเกิดการเปลี่ยนแปลงจนเป็นที่สังเกตได้ในระดับเมือง แต่เมื่อตรวจสอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายนี้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น อาจทำให้เห็นถึงระดับการจ้างงานที่ลดลง ผลการวิจัยอาจเป็นการช่วยยืนยันทฤษฎีที่คาดการณ์ไว้ว่า อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจะทำให้การจ้างงานลดลง โดยเห็นว่าค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีผลกระทบน้อยมากในเชิงนโยบายในระดับเมืองเกินกว่าที่จะสังเกตเห็น

บทความนี้มีขอบเขต 3 ประการ

ประการแรก เป็นการทบทวนงานวิจัยต่างๆ ที่ได้ทำการศึกษาเรื่องผลกระทบของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในแง่เศรษฐกิจ ทั้งนี้มีประเด็นน่าสนใจอื่นๆ ที่นักวิจัยเริ่มกล่าวถึงแล้ว คือเรื่องของการเคลื่อนไหวทั้งทางสังคมและทางการเมืองเพื่อรณรงค์เรียกร้องให้มีการใช้อัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพ (Nissen 2000; Zabin and Martin 1999) แรงจูงใจที่ทำให้มีการเรียกร้องขอให้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ และเรื่องของการบังคับใช้และปฏิบัติตามกฎหมาย

ประการที่สอง ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยมีให้ความสำคัญกับการวิจัยในประเด็น "ผลกระทบต่างๆ" อันเป็นการทำวิจัยที่พยายามประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพก่อนที่จะมีการประกาศใช้กฎหมายนี้ในเมืองต่างๆ การศึกษาในลักษณะดังกล่าวได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในปลายทศวรรษที่ 1990 ซึ่งการศึกษาเหล่านี้มีบทบาทช่วยทำให้เมืองต่างๆ ได้พยายามทำความเข้าใจให้มากขึ้นว่า อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ อาจมีผลกระทบหรือไม่กับขอบเขตอำนาจเฉพาะของกฎหมาย (unique jurisdictions) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกัน แต่จากมุมมองของการทำการวิจัยเรื่องนโยบายสาธารณะ ซึ่งเป็นการวิจัยเพื่อพิสูจน์ผลกระทบที่เกิดจากกฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ เห็นว่า เนื่องจากในขณะนี้อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพได้เข้าสู่สารบบของหลายประเทศแล้ว นักวิจัยจึงควรหันไปทำการประเมินนโยบายด้วยวิธีที่ดีกว่าในแง่สังคมศาสตร์ โดยเป็นการอิงกับการปฏิบัติและกลุ่มเปรียบเทียบ

ประการที่สาม บทความนี้เป็นการทบทวนงานวิจัยที่ได้กระทำขึ้นก่อนหน้า เป็นเพราะว่าในเรื่องของกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ สิ่งเดียวที่เกิดขึ้นเร็วกว่าจำนวนของกฎหมายคือปริมาณงานวิจัยที่เกี่ยวกับกฎหมายนี้ ซึ่งสามารถเห็นได้จากรายชื่อของเอกสารอ้างอิงที่นำมาใช้ในงานเขียนชิ้นนี้จำนวน 25 ชิ้น ส่วนมากเป็นงานที่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่และผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ งานวิจัยชิ้นแรกที่ทำการศึกษาเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ มีการตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 2003 นอกจากนี้ ข้อกำจัดในเรื่องของงานวิจัยที่มีอยู่ ที่กล่าวว่า งานวิจารณ์นี้เป็นการทบทวนงานวิจัยที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพก็เพราะว่า สำหรับเมืองต่างๆ ในปัจจุบันส่วนมากยังมีประสบการณ์เพียงไม่กี่ปีในเรื่องเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพ ดังนั้นจึงเห็นได้ชัดว่า ความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพ ยังเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้ และดูเหมือนว่ายังมีเรื่องให้ต้องศึกษาอีกมากในอนาคต ดังนั้น ถึงแม้จะพยายามกล่าวถึงอย่างละเอียดถึงสิ่งที่ได้ศึกษามาจนถึงขณะนี้ แต่จนถึงบทสรุปก็จะยังคงให้ความสำคัญกับสิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญกับการทำวิจัยในอนาคตข้างหน้า

ผลกระทบของ"อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ"ที่มีผลกับแรงงานค่าจ้างต่ำ และครอบครัวรายได้ต่ำ
(The Effects of Living Wages on Low-Wage Workers and Low-Income Families)

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า เหตุผลหลักของการกำหนดอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งโดยปกติแม้จะไม่มีวิธีที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประเมินผลการกระจายประโยชน์จากการดำเนินนโยบาย แต่การที่ให้ความสนใจว่าอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ จะสามารถยกระดับความยากจนของครัวเรือนได้หรือไม่ ก็เป็นคำถามที่เป็นเกณฑ์ซึ่งสามารถใช้ได้อย่างมีเหตุผล ด้วยเหตุผลสองข้อ

ข้อแรก เป้าหมายของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ (เช่นเดียวกับเป้าหมายของการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ) ในระดับหนึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า
เพื่อเป็นการจัดการกับความยากจน

ข้อสอง เห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพที่มีการประกาศใช้ในหลายเมือง ได้กำหนดอัตราค่าจ้างเพื่อต้องการให้ครอบครัวในแบบ "ปกติทั่วไป" (ครอบครัวที่มีสมาชิกสามหรือสี่คน โดยมีสมาชิกหนึ่งคนที่มีรายได้) ได้รับค่าจ้างที่สูงพอหรือเกินกว่าเส้นความยากจน (poverty line)

ถึงแม้ว่าการกำหนดให้ค่าจ้างสูงขึ้นกับแรงงานรายได้ต่ำ จะทำให้ผู้ที่ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์มองว่า วิธีนี้เป็นวิธีปกติทั่วไปที่ใช้กันในการแก้ปัญหาความยากจน แต่ก็มีเหตุผลอยู่สองข้อที่ทำให้วิธีนี้ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้

ข้อแรก ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักมองว่า การกำหนดฐานค่าจ้างตามกฎหมาย (mandated wage floor) จะทำให้มีการจ้างแรงงานที่มีฝีมือในระดับต่ำน้อยลง เพราะการขึ้นค่าแรงให้กับลูกจ้างที่ไม่ได้รับผลกระทบในด้านการจ้างงาน อาจจะต้องแลกกับความเป็นไปได้ที่ลูกจ้างส่วนหนึ่งต้องตกงาน

ข้อสอง การกำหนดฐานค่าจ้างตามกฎหมาย (mandated wage floor) จะส่งผลไปไม่ถึงครอบครัวที่มีรายได้ต่ำซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย กล่าวโดยทั่วไปแล้ว แรงงานราคาถูกในสหรัฐแบ่งเป็นสองประเภท

ประเภทแรก คือกลุ่มคนหนุ่มสาวที่ยังไม่มีทักษะมากในตลาดแรงงาน แต่เป็นกลุ่มแรงงานที่ดูเหมือนว่า เมื่อเริ่มมีฝีมือขึ้นก็จะหลีกเลี่ยงงานที่มีรายได้ต่ำ ประเภทที่สอง เป็นกลุ่มแรงงานวัยผู้ใหญ่ที่ขาดฝีมือ ซึ่งต้องจมปลักอยู่กับงานรายได้น้อย และดูเหมือนจะอยู่ในครอบครัวที่มีความยากจนมากกว่า

การกำหนดฐานค่าจ้างตามกฎหมาย (mandated wage floor) อาจช่วยลดปัญหาความยากจนได้เป็นอย่างดี ถ้าประโยชน์จากการกำหนดฐานค่าจ้างตกไปถึงกลุ่มลูกจ้างรายได้ต่ำในวัยผู้ใหญ่ โดยที่ฝ่ายตกงานจะเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่มีรายได้ต่ำแต่มีฐานะดี แต่ในทางทฤษฎีแล้วไม่มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า ผลจะไม่ออกมาในทางตรงกันข้ามจากที่กล่าวมาข้างต้น อันจะทำให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยก็ได้รับผลกระทบในทางลบด้วยเช่นกัน ดังนั้นถึงแม้ว่าในทางทฤษฎี จะต้องเกิดปัญหาการเลิกจ้างงาน และดูเหมือนว่ามีทั้งฝ่ายที่ได้และเสียประโยชน์จากการกำหนดฐานค่าจ้างตามกฎหมายก็ตาม แต่ปัญหาที่ว่าอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพสามารถกระจายประโยชน์อย่างครอบคลุมถึงทุกฝ่ายหรือไม่ เป็นปัญหาเชิงประจักษ์ล้วนๆ

ด้วยความไม่ชัดเจนเช่นนี้ จึงทำให้มีปัญหาต่อมาว่า ประเภทของฐานค่าจ้างที่แตกต่างกันอาจส่งผลให้มีการกระจายประโยชน์ที่แตกต่างกัน พูดให้ชัดก็คือ เราอาจเห็นว่าอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพส่งผลดีครอบคลุมกับทุกกลุ่ม แต่จากงานวิจัยชิ้นหนึ่ง (Neumark et al. 2002) เห็นว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลกระทบในทางลบ เนื่องจากการที่อัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพจะกระจายประโยชน์อย่างไร (distributional effects) ขึ้นอยู่กับระดับของค่าจ้างและปฏิกิริยาการจ้างงาน (และผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดขึ้น) ผลของกฎหมายจึงขึ้นอยู่กับว่าอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพมีผลอย่างไรกับการกระจายรายได้ของครอบครัว ดังนั้น ระหว่างสิ่งที่จะได้และจะต้องเสียไปจากการกำหนดใช้อัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพ ก็อาจมีขนาดที่แตกต่างกัน รวมทั้งการกระจายรายได้ของครอบครัวก็มีระดับที่แตกต่างกันระหว่างค่าจ้างแบบอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพกับการใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เหตุที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับแรงงานที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับผลกระทบจากการใช้อัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพนั้นว่าเป็นแรงงานประเภทใด กล่าวให้ชัดก็คือ ฐานค่าแรงคนละประเภทจะให้ผลในการกระจายประโยชน์ที่แตกต่างกัน

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานในการทำวิจัยเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ

ประการแรก ด้วยให้ความสำคัญกับการประเมินโอกาสที่แรงงานจะได้ประโยชน์จากค่าจ้างและโอกาสในการสูญเสียงาน
(คือการประเมินว่าแรงงานที่มีรายได้ต่ำ จะได้อะไรและเสียอะไร)

ประการที่สอง ให้ความสำคัญกับการประเมินว่าอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ จะช่วยยกระดับครอบครัวให้อยู่เหนือเส้นความยากจนได้หรือไม่ (poverty line)

ผลการวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องของค่าจ้าง, การจ้างงาน และผลกระทบต่อความยากจน
(Our past findings on wage, employment, and poverty effects)

การทำวิจัยเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ จะเน้นการประเมินผลกระทบต่างๆ จากกฎหมายที่มีผลกับค่าจ้างและการมีงานทำของแรงงานทักษะต่ำ และประเมินผลกระทบต่ออัตราความยากจนของครอบครัวที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เมืองที่มีการประกาศใช้กฎหมายนี้ โดยยึดหลักการการเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวแปรควบคุม ซึ่งก็คือเมืองต่างๆ ที่ยังไม่ได้มีการประกาศใช้ (และใช้วิธีเปรียบเทียบกับเมืองต่างๆ ที่มีการขึ้นอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพโดยเปรียบเทียบกับเมืองอื่น) สิ่งที่นำมาอธิบายก็คือ หลักฐานที่มีความเป็นปัจจุบันมากที่สุดที่มี ด้วยการใช้ข้อมูลซึ่งจัดทำประจำทุกเดือนของ Current Population Survey (CPS) (*) ที่ครอบคลุมตั้งปี ค.ศ. 1996 - 2002

(*)The Current Population Survey (CPS) is a statistical survey conducted by the United States Census Bureau for the Bureau of Labor Statistics (BLS). The BLS uses the data to provide a monthly report on the Employment Situation. This report provides estimates of the number of unemployed people in the United States. A readable Employment Situation Summary is provided monthly. Available annual estimates include employment and unemployment in large metropolitan areas. In addition, private think tanks and other organizations use the CPS data for their own research.

การทำวิจัยเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นหรือไม่ว่า กฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพนำไปสู่การเพิ่มค่าจ้างที่ระดับล่าง หรือที่ระดับแรงงานทักษะต่ำสุด เนื่องจากเป็นที่เชื่อว่า อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีผลกระทบกับแรงงานทักษะระดับต่ำสุด ดังนั้น การวิเคราะห์ในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบด้านค่าจ้าง จึงเน้นไปที่แรงงานที่อยู่ระดับล่างของบัญชีการแจกแจงค่าจ้าง

กรอบความคิดของการทำวิจัยนี้ กำหนดให้ควบคุมค่าจ้างขั้นต่ำและพิสูจน์ผลกระทบของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ จากการกำหนดอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพให้สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำซึ่งจะเป็นฐานค่าจ้างในอีกแบบหนึ่ง และได้ใช้ตัวแปรควบคุมบางอย่างที่เกี่ยวกับทักษะความสามารถของแรงงาน และใช้ตัวแปรควบคุมอื่น ในเรื่องของการศึกษา อายุ สถานภาพสมรส เชื้อชาติ และเพศ และยังได้ใช้ตัวแปรแทน (dummy variable) สำหรับแทนปีและเดือนเพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงในลักษณะร่วมกันที่เกิดขึ้นในเมืองต่างๆ ในกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับความเปลี่ยนแปลงใดๆ อันเกิดจากผลกระทบของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ

เนื่องจากโดยปกติจะมีการประกาศใช้อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในภายหลัง และมีการใช้ตัวแปรแทนแทนเมืองต่างๆ เพื่อควบคุมความเป็นไปได้ที่จะมีการอนุมัติกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพที่มีระบบต่างจากเมืองอื่น (เช่น การกำหนดค่าจ้างที่สูงหรือต่ำกว่าเป็นพิเศษ) ซึ่งจะทำให้เกิดความสับสนในการประเมินผลกระทบจากอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ดังนั้น การกำหนดรูปแบบของการวิจัย ก็เพื่อพิสูจน์ผลกระทบของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ในกรณีที่ตัวแปรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแตกต่างกันในเมืองที่มีการอนุมัติกฎหมายนี้ (หรือเมืองที่ขึ้นค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพแล้ว) โดยเทียบกับเมืองที่ยังไม่ได้อนุมัติ ซึ่งเป็นรูปแบบการวิจัยในแบบที่เรียกว่า "difference-in-difference" (การเปรียบเทียบความแตกต่างในความแตกต่าง)

การใช้วิธี difference-in-difference มีหลักการอยู่บนสมมติฐานที่ว่า นอกจากความแตกต่างในด้านอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ และความแตกต่างที่มีอยู่ในตัวแปรควบคุมอื่นแล้ว ก็สามารถนำกลุ่มที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงและกลุ่มควบคุมมาเปรียบเทียบกันได้ และเพื่อเป็นการลดความตึงของสมมติฐานนี้ จึงได้นำปัจจัยที่เกี่ยวกับแนวโน้มที่มีความแตกต่างกันของเมืองต่างๆ ที่ได้มีการผ่านและยังไม่ผ่านกฎหมายนี้มาพิจารณาร่วมด้วย (และเมืองที่มีการผ่านกฎหมายอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพในระบบที่แตกต่างกัน) สำหรับแนวโน้มของแต่ละเมืองที่มีความแตกต่างกันที่นำมาพิจารณาในการทำวิจัยนี้ ก็จะเป็นแนวโน้มอย่างเรื่องของสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันระหว่างกลุ่มวิจัยกับกลุ่มควบคุม

ต่อไปนี้เป็นผลการทำวิจัยที่ผ่านมา โดยได้ทำการประเมินผลกระทบต่างๆ ด้วยข้อมูลที่มีค่าความล่าช้าที่ 6 และ 12 เดือน ผลกระทบโดยปกติของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจะปรากฏผลภายในช่วงเวลา 12 เดือน ดังนั้น ผลกระทบของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพอาจจะปรากฏให้เห็นเมื่อเวลาได้ผ่านไปแล้วระยะหนึ่ง ซึ่งมาจากเหตุผลสองข้อ

ข้อแรก ในหลายเมือง เมื่อกฎหมายผ่านสภาจนเมื่อฝ่ายบริหารของเมืองเริ่มบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ก็จะต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่มีความแน่ชัด จนถึงขั้นตอนของการนำกฎหมายมาบังคับใช้ซึ่งก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า Sander และ Lokey ได้แสดงหลักฐานข้อมูลในช่วงระยะเวลาเกือบหนึ่งปี หลังจากที่ Los Angeles ผ่านกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพแล้ว ในห้วงเวลาดังกล่าวฝ่ายบริหารของรัฐ ได้ตีความข้อยกเว้นในกฎหมายไว้กว้างมาก โดยไม่ได้ให้ข้อมูลกับผู้เป็นคู่สัญญากับรัฐว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร และก็ดำเนินการเพียงเล็กน้อยในการติดตามตรวจสอบคู่สัญญาที่อยู่ในข่ายของกฎหมาย

ข้อสอง คือ จะมีการใช้อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพเฉพาะกับคู่สัญญาที่ได้มีการต่อสัญญาแล้วเท่านั้น

แม้ว่างานวิจัยนี้จะพูดถึงผลกระทบของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพซึ่งมีผลต่อปัญหาความยากจน แต่ปัญหาหลักอยู่ที่ประเด็นในการกระจายประโยชน์ของอัตราค่าจ้างมากกว่า โดยมุ่งวิเคราะห์ให้ละเอียดมากขึ้นในสองประเด็นในเรื่องเกี่ยวกับการกระจายประโยชน์ของการใช้อัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพ

ประเด็นแรก จะใช้วิธี difference-in-difference ในการประเมินผลกระทบของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ซึ่งมีผลต่อครอบครัวที่มีความยากจนในระดับต่ำมาก (รายได้ระดับครัวเรือนต่ำกว่าระดับความยากจนขั้นต้น) การประเมินในประเด็นนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานในทางสถิติที่แสดงถึงผลกระทบจากกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ แสดงให้เห็นว่าประโยชน์ซึ่งเกิดจากอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ที่ช่วยยกระดับครอบครัวส่วนหนึ่งให้อยู่เหนือเส้นความยากจน แต่ก็ไม่ได้ทำให้รายได้ของครอบครัวที่อยู่ต่ำกว่าระดับเส้นความยากจนโดยเฉลี่ย (poverty line) ต้องมีรายได้ลดลง

ประเด็นที่สอง เป็นการวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ที่อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ จะมีผลกระทบกับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่าฐานรายได้ขั้นต่ำ กฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ อาจมีผลกระทบกับครอบครัวที่อยู่เหนือเส้นความยากจน เพราะโดยปกติอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ เป็นค่าจ้างที่คำนวณโดยยึดระดับรายได้สำหรับหนึ่งครอบครัวที่อยู่เหนือระดับเส้นความยากจนโดยมีแรงงานหนึ่งคน หรืออาจเป็นเพราะครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีสมาชิกที่ทำงานมากกว่าหนึ่งคน ผลการทำวิจัยในประเด็นนี้มีความสอดคล้องกับการวิจัยประเด็นแรก คือไม่พบว่ากฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับต่ำกว่าเส้นความยากจน

อย่างไรก็ตาม หลักฐานก็ชี้ให้เห็นว่าอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ โดยเฉพาะในรูปแบบของการให้ความช่วยเหลือทางธุรกิจช่วยลดโอกาสที่ครอบครัวซึ่งมีรายได้ต่ำกว่าสามส่วนสี่ของความยากจนและผลกระทบที่ประเมินได้ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีผลกระทบ (อย่างมีนัยสำคัญ) กับครอบครัวที่มีรายได้มากกว่า 1.5 เท่าของเส้นความยากจน จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่า นอกจากอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจะช่วยยกระดับความยากจนของครอบครัวแล้ว ค่าจ้างแบบนี้ยังเป็นประโยชน์กับครอบครัวที่อยู่เหนือเส้นและใต้เส้นความยากจนเพียงเล็กน้อย หรืออีกนัยหนึ่ง อาจตีความตามได้ว่าอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ไม่ได้เป็นการช่วยครอบครัวที่ยากจนในระดับต่ำสุด ซึ่งก็ไม่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเนื่องจากครอบครัวที่ยากจนในระดับต่ำสุด จะมีสมาชิกที่มีงานทำน้อยกว่าหรือมีสมาชิกที่มีงานทำแต่ได้รับค่าจ้างต่ำสุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมากที่สุดในการจะถูกเลิกจ้างงาน

อย่างไรก็ตาม ภารกิจสำคัญอันหนึ่งของการทำวิจัยในอนาคตคือความพยายาม "เข้าถึงภายในกล่องดำ" ในเรื่องของการกระจายประโยชน์ของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ เพื่อดูว่าหลักฐานในระดับจุลภาคสามารถใช้ยืนยันได้หรือไม่ว่าอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพที่เพิ่มให้กับครอบครัวที่ยากจนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และที่สำคัญกว่าก็เพื่อศึกษาว่า ครอบครัวแบบใด (ที่มีแรงงานประเภทไหน) ซึ่งได้รับหรือเสียประโยชน์ เป็นต้น

ในงานวิจัยของ Toikka (ซึ่งกำลังจะตีพิมพ์ออกมา) เป็นการพิจารณาเรื่องผลได้และผลเสียของการขึ้นค่าจ้าง, การโอนเงินของรัฐ (government transfers) และภาษี โดยได้พูดถึงบทบาทที่ลดลงของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ด้วยเหตุผลว่า ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำต้องจ่ายภาษีส่วนเกินทางอ้อมในอัตราสูง (implicit marginal tax rates) เพื่อที่จะได้มีสิทธิในโครงการสังคมของรัฐ เช่น ระบบประกันสุขภาพสำหรับคนยากจน และสิทธิในโครงการอื่นๆ Toikka ได้ยกกลุ่มตัวอย่างจาก Survey of Income and Program Participation (SIPP) (*) โดยเป็นตัวอย่างจากเมืองขนาดใหญ่จำนวน 7 เมือง ซึ่งเน้นไปที่ครอบครัวที่มีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีรายได้ในระดับที่จะได้รับผลกระทบจากกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพของเมืองนั้น ซึ่งพบว่า ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำต้องจ่ายภาษีทางอ้อมในอัตราสูง ดังนั้น รายได้รวมก่อนหักภาษีจึงเพิ่มขึ้นน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับโดยรวม ถ้ามองเพียงว่าแรงงานเหล่านี้ถูกกวาดเข้าไปอยู่ในข่ายของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพทั้งหมด แต่การวิเคราะห์นี้มีปัญหาอยู่ 2 ข้อ

(*) The Survey of Income and Program Participation (SIPP) is a statistical survey conducted by the Demographic Statistical Methods Division of the United States Census Bureau. The main objective of the SIPP is to provide accurate and comprehensive information about the income of American individuals and households and the participation of these people in income transfer programs. SIPP data allow the government to evaluate the effectiveness of Federal, state, and local programs.

ข้อแรก Toikka ไม่มีความรู้ในการศึกษาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพโดยตัวมันเอง แต่ทั้งหมดที่เขาสามารถทำได้ ก็จากการพิจารณาแรงงานที่อยู่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่กำหนด (และก็ใช้ฐานค่าแรงร่วมของทั้ง 7 เมืองที่นำมาทำการศึกษา) เนื่องจากการวิเคราะห์มีจุดประสงค์ที่จะเข้าถึงภายในกล่องดำ และต้องการทำการศึกษาว่าอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจะมีผลกระทบอย่างไรกับความยากจน ซึ่งข้อบกพร่องนี้ถือว่ามีความสำคัญ ดังที่ได้กล่าวถึงแล้วว่า การกระจายประโยชน์ของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแรงงานประเภทนั้นอยู่ในข่ายของอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพประเภทใด

ข้อสอง ผู้ที่สนับสนุนอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพได้ให้เหตุผลว่า อัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพ จะช่วยลดการโอนเงินของรัฐไปสู่ครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ อันเป็นการชี้ให้เห็นว่า จะเป็นการดีหรือไม่ ถ้าครอบครัวได้รับรายได้เพิ่มขึ้นในส่วนของเงินรายได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่ารายได้รวมที่ได้รับจะเปลี่ยนไปน้อยมากก็ตาม ประเด็นนี้เป็นคำถามในเชิงปรัชญาในเรื่องความหมายของความพอเพียง, ศักดิ์ศรีของการมีอาชีพ, และอื่นๆ ทั้งนี้ เนื่องจากไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับคำถามนี้ แต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ว่า ข้อพิสูจน์ของ Toikka ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกัน อาจจะเป็นการเสนอความคิดที่ว่า ประโยชน์ของการมีทักษะ, การศึกษา, และคุณภาพการศึกษาที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มคนที่อยู่ในฐานะด้อยกว่า มีโอกาสจะเป็นประโยชน์น้อยกว่า เป็นผลให้ Toikka (และอีกหลายคน) คิดว่าการลงทุนเช่นนั้น ไม่ได้มีความสำคัญมากนักกับคนที่จะได้ประโยชน์จากการขึ้นรายได้

เศรษฐศาสตร์จุลภาคของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ
(The Microeconomics of Living Wage)

หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ส่วนใหญ่แล้วเป็นงานที่ยึดตามข้อมูลจาก Current Population Survey (CPS) เป็นหลัก โดยมีข้อดีและข้อด้อยบางอย่าง ด้วยเหตุที่ว่า CPS เป็นการสำรวจแบบครัวเรือน โดยไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับฝ่ายนายจ้าง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสามารถแยกแยะระหว่างแรงงานที่อยู่ในและนอกขอบเขตของกฎหมายนี้ แต่ที่สามารถวินิจฉัยได้ (ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงประจักษ์) คือเมืองต่างๆ ที่แรงงานอาศัยอยู่ และประเภทของกฎหมายที่ใช้อยู่ในเมืองนั้น

แน่นอนว่าข้อมูลจาก CPS สามารถใช้ประโยชน์ได้ไม่มาก สำหรับการทำการศึกษาเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาค ที่เกิดจากกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในระดับองค์กรหรือบริษัทร้านค้า (หมายถึงปัญหาต่างๆ เช่น ธุรกิจต่างๆ พยายามหาวิธีเพื่อแทนที่แรงงานค่าจ้างต่ำหรือไม่, ธุรกิจเอกชนเพิ่มค่าจ้างให้แรงงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำสุดมากน้อยแค่ไหน, ปฏิกิริยาการจ้างงานเป็นอย่างไร, การหมุนเวียนเข้าออกของพนักงานลดลงหรือไม่ และอื่นๆ) วิธีที่ดีที่สุดในการพูดถึงปัญหาเหล่านี้คือ การใช้ข้อมูลที่มีการสำรวจโดยตรงกับกลุ่มนายจ้างที่อยู่ในข่ายของกฎหมาย และใช้กลุ่มควบคุมที่เป็นกลุ่มนายจ้างที่ไม่อยู่ในข่ายและนายจ้างที่ไม่ได้รับผลกระทบ

แต่ในอีกแง่หนึ่ง ข้อมูลของ CPS ก็มีประโยชน์ (และเป็นข้อมูลที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน) สำหรับใช้วิเคราะห์ปัญหาเชิงนโยบาย ที่เกี่ยวกับเรื่องผลกระทบต่างๆ จากกฎหมายที่มีผลกับแรงงานค่าจ้างต่ำ และครอบครัวรายได้ต่ำ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ทำให้สามารถประเมินผลกระทบระดับพื้นฐาน (รวมถึงผลกระทบทางอ้อม) จากกฎหมายที่มีผลกับแรงงานและครอบครัวที่อยู่ในเมืองที่มีการอนุมัติใช้กฎหมาย โดยการเปรียบเทียบกับเมืองอื่น. ซึ่งท้ายที่สุดข้อมูลทั้งสองประเภทและการวิจัยก็ช่วยเติมเต็มและเป็นการให้ข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยที่ข้อมูลระดับองค์กรธุรกิจจะช่วยให้นักวิจัยสามารถทดสอบแนวคิดเกี่ยวกับปฏิกิริยาของนายจ้าง และแรงงานในการกำหนดค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ และข้อมูลระดับเมืองจะทำให้นักวิจัยสามารถใช้ประเมินผลทางการเมือง เมื่อพิจารณาในประเด็นดังกล่าว เนื้อหาในส่วนนี้จึงเป็นการหันไปพิจารณาหลักฐานจากงานวิจัยที่เป็นปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งมีการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับนายจ้างหรือแรงงานที่อยู่ในข่ายของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในการศึกษาผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าว

สำหรับเนื้อหาในส่วนนี้ ประเด็นที่จะกล่าวถึงจำกัดขอบเขตอยู่สองเรื่อง

เรื่องแรก การศึกษานี้เป็นการศึกษาผลกระทบต่อตลาดแรงงาน อันหมายถึงผลกระทบต่อการจ้างงาน, ค่าจ้าง, การหมุนเวียนเข้าออกจากงานของพนักงานและผลกระทบอื่นที่เกี่ยวข้อง ถึงแม้จะมีการศึกษาส่วนหนึ่งในเรื่องเกี่ยวกับราคาประมาณที่ใช้ในการทำสัญญา (contract cost) แต่ในที่นี้จะไม่นำมากล่าวถึง การจะหาข้อสรุปจากการศึกษาเหล่านี้เป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากสาระสำคัญที่กำหนดตามข้อสัญญาอาจเปลี่ยนแปลงได้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถึงแม้ว่าผลการวิจัยจะมีความสำคัญกับเมืองต่างๆ แต่การจะใช้ผลการวิจัยเพื่อนำมาสรุปเกี่ยวกับผลกระทบที่มีกับตลาดแรงงานเป็นเรื่องยาก และงานวิจัยเหล่านี้ยังเหมือนกันตรงที่ไม่ได้นำกลุ่มควบคุมมาพิจารณา (อาจเป็นกลุ่มที่ไม่มีกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพใช้เหมือนกัน) เพื่อใช้ควบคุมปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้ลักษณะของสัญญาเปลี่ยนแปลงทุกปี

เรื่องที่สอง ผู้อ่านจะสังเกตเห็นว่า งานวิจัยทั้งหมดที่มีการศึกษาเรื่องค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพยังไม่ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงระดับความสนใจที่มีต่อกฎหมายเหล่านี้ และก็ยังเป็นการชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่เราจะไม่รู้จักงานวิจัยต่างๆ ที่ทำเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ได้ตีพิมพ์หรือที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ สำหรับงานวิจัยที่ได้นำมาพิจารณาในเนื้อหาส่วนนี้ ได้มาจากผู้จัดการประชุม (conference organizers) และจากบรรณาธิการวารสารต่างๆ และด้วยการติดต่อโดยตรงกับนักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้

กรณีศึกษาสนามบิน San Francisco
(San Francisco Airport)


Reich et al. (2003) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามโครงการมาตรฐานคุณภาพ (Quality Standards Program = QSP) (เริ่มใน ค.ศ. 1999) ที่สนามบินนานาชาติ San Francisco โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ และได้ขยายให้ครอบคลุมไปถึงแรงงานที่สนามบินแห่งนี้ นอกจากการขึ้นค่าจ้าง โครงการยังจัดมาตรฐานการรับพนักงานและการฝึกอบรม (รวมทั้งการฝึกอบรมอย่างน้อย 40 ชั่วโมง) ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการตั้งสหภาพของพนักงานสนามบิน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับตัวแทนสหภาพแรงงานฝ่ายลูกจ้าง (a card check agreement) โดยนายจ้างจะต้องยอมรับการตั้งสหภาพแรงงานใดๆ ถ้าพนักงานส่วนใหญ่ร่วมกันลงชื่อเป็นสมาชิกสหภาพ (ซึ่งกระบวนการนี้ต่างกับการเลือกตั้งองค์กรแรงงานอย่างเป็นทางการ ซึ่งต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการแรงงาน)

ข้อมูลที่ Reich et al. ทำการรวบรวมบ่งชี้ว่า ค่าจ้างของแรงงานรายได้ต่ำได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก และผลกระทบได้ขยายไปถึงผู้ที่อยู่ภายใต้โครงการ QSP รวมถึงสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้น ไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อค่าจ้างและสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น การหมุนเวียนเข้าออกจากงานของพนักงานมีอัตราลดลงค่อนข้างรวดเร็ว และในทำนองเดียวกันกับที่มีรายงานว่าพนักงานทำงานหนักขึ้น และนายจ้างก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบต่อค่าจ้างอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงมากกว่าก็คือ ผู้เขียนงานวิจัยอ้างว่าอัตราการจ้างงานไม่ได้ลดลง น่าเสียดายที่งานวิจัยของ Reich et al. ไม่มีการกำหนดกลุ่มควบคุม ในการวิเคราะห์การจ้างงาน (ซึ่งมีที่มาจากหลายแหล่ง) ชี้ว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้นประมาณ 1,150 คน (ตั้งแต่ ค.ศ. 1998 ถึง 2001) จากลูกจ้างประมาณ 7,350 คน เพิ่มเป็น 8,500 คน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่อาจสร้างความสับสนให้กับการวิเคราะห์ข้อมูลก็คือ การเปิดอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศหลังใหม่ในระหว่างฤดูใบไม้ร่วงเมื่อ ค.ศ. 2000 โครงการนี้เมื่อแรกเริ่มได้มีการคาดไว้ว่าการเปิดอาคารผู้โดยสารหลังใหม่จะทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 11,000 คน แต่ตัวเลขนี้อาจเกินจริงดังที่ผู้ทำวิจัยกล่าวไว้ อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่จะมีการจ้างงานได้ครบทั้งหมดทันทีหลังจากมีการเปิดอาคารดังที่คาดหมาย กระนั้นก็ตาม อาคารหลังใหม่ก็น่าจะทำให้เกิดการจ้างงานใหม่เป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน

แต่ในขณะเดียวกัน ในระหว่าง ค.ศ. 2001 จำนวนผู้โดยสารได้ลดลงเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจถดถอยแต่การจ้างงานกลับเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม (อนึ่ง การก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน ไม่มีผลกับข้อมูลในงานวิจัย เนื่องจากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่งานสำรวจได้ยืนยันตัวเลขการจ้างงาน ค.ศ. 2001 เรียบร้อยแล้ว) ผู้ทำวิจัยกล่าวถึงผลกระทบที่เกิดจากการสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยเห็นว่า เป็นเรื่องยากที่จะประเมินระดับผลกระทบต่างๆ ด้วยตัวเลขที่แน่นอน แต่ด้วยเหตุที่ว่า "ผลกระทบทั้งสองเรื่องนี้เกิดขึ้นในทิศทางที่ตรงกันข้าม" ดังนั้น ข้อสรุปที่ว่าการจ้างงานไม่ได้ลดลงเพราะมีโครงการมาตรฐานคุณภาพ (QSP) จึงยังเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนี้ ถ้าผลกระทบที่เกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้าม เป็นไปได้ว่าการเปิดอาคารหลังใหม่น่าจะมีผลกับการจ้างงานมากขึ้น ด้วยเหตุที่ว่าตั้งแต่ ค.ศ. 2000 - 2001 การเดินทางทางอากาศที่สนามบิน San Francisco ลดลงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น จึงไม่เชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้จะให้หลักฐานที่ทำให้มั่นใจได้ว่า การกำหนดใช้โครงการมาตรฐานคุณภาพจะไม่ทำให้การจ้างงานไม่ลดลง


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านบทความเดียวกันตอนที่ ๒

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ : Release date 01 August 2008 : Copyleft by MNU.

นอกจากการจ้างงานและผลได้ผลเสียด้านรายได้ที่นักวิจัยส่วนมากให้ความสำคัญแล้ว ก็ยังมีประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพที่จะต้องมีการศึกษา คือประเด็นเรื่องผลกระทบรอบสอง (second-round effects) ขณะนี้ ในหลายๆ ประเทศมีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมากขึ้น จึงเป็นไปได้ที่จะได้เริ่มทำการศึกษาปัญหาเหล่านี้บ้าง ตัวอย่างของปัญหาผลกระทบรอบสอง เช่น การเลี่ยงกฎหมายของนายจ้างด้วยการเลิกสัญญา, ไม่รับเงินช่วยเหลือ, ไม่รับการลดหย่อนต่างๆ จากรัฐ เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้ก็จะเหลือธุรกิจจำนวนน้อยที่จะเข้าแข่งขันประมูลโครงการกับรัฐก็จะทำให้การประมูลมีการแข่งขันกันน้อยลง และเป็นผลให้บริการของรัฐมีราคาสูงขึ้น (คัดลอกจากบทแปล)

H