1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
ชุดความรู้เที่ยงคืน:
The
Economics Effects of Living Wage Laws:
Living
Wage Laws: ผลทางเศรษฐกิจของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ
(๒)
รศ.สมชาย
ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้
ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความแปลชิ้นนี้เรียบเรียงมาจาก
The Economics Effects of Living Wage Laws: A Provisional Review
เขียนโดย Scott Adams and David Neumark
จากวารสาร Urban Affairs Review 2004; 40; 210
The online version of this article can be found at:
http://uar.sagepub.com/cgi/content/abstract/40/2/210
หัวข้อสำคัญ: กรอบของงานแปลวิชาการ
- กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
- ผลกระทบของ"อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ"ที่มีผลกับแรงงานค่าจ้างต่ำ
และครอบครัวรายได้ต่ำ
- ผลการวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องของค่าจ้าง, การจ้างงาน และผลกระทบต่อความยากจน
- เศรษฐศาสตร์จุลภาคของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ
- กรณีศึกษา สนามบิน San Francisco
- กรณีศึกษา องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
- ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพของ Boston
- แรงงานที่ได้รับและไม่ได้รับการคุ้มครองใน Los Angeles
- คนงานดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (Home Care Workers)
- บทสรุปของผลกระทบในระดับองค์กร
- คำถามในเชิงนโยบายที่ไม่มีคำตอบ
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๒๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒ สิงหาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๕ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ชุดความรู้เที่ยงคืน:
The
Economics Effects of Living Wage Laws:
Living
Wage Laws: ผลทางเศรษฐกิจของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ
(๒)
รศ.สมชาย
ปรีชาศิลปกุล : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
กรณีศึกษา องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
(Nonprofits)
Reynolds และ Vortkamp (ผลงานวิจัยกำลังจะออกเผยแพร่) ได้ทำการสำรวจองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
ซึ่งอยู่ในข่ายของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพของเมือง Detroit (*) การสำรวจในตอนแรกมีเป้าหมายอยู่ที่องค์กรเหล่านี้จำนวน
96 แห่ง ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ในข่ายของข้อกำหนดตามสัญญาจ้าง การสำรวจในขั้นแรกเป็นการสำรวจทางโทรศัพท์ซึ่งได้รับคำตอบจำนวน
64 แห่ง โดย 63% จากจำนวน 64 แห่ง ชี้ให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายเพียงเล็กน้อยหรือในระดับต่ำ
และ 37% ได้รับผลกระทบมากหรืออย่างมีนัยสำคัญ
(*)Detroit is the largest city in the U.S. state of Michigan and the seat of Wayne County. Detroit is a major port city on the Detroit River, in the Midwest region of the United States. Located north of Windsor, Ontario, Detroit is the only majorU.S. city that looks south to Canada.
It is known as the world's traditional automotive center - "Detroit" is a metonym for the American automobile industry - and an important source of popular music, legacies celebrated by the city's two familiar nicknames, Motor City and Motown.
คำถามที่ใช้ในการสำรวจเป็นการถามเรื่องผลกระทบที่เกิดจาก การใช้อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ โดยให้กลุ่มสำรวจตอบคำถามที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ทำการแจกแจงข้อมูลจากคำตอบของกลุ่มสำรวจ Reynolds และ Vortkamp ได้ระบุไว้ในงานวิจัยว่า "จากข้อมูลที่สำรวจได้ ไม่มีความหมายสำคัญหรือนัยสำคัญที่แน่นอน" สิ่งที่นักวิจัยทั้งสองตั้งใจจะพูดถึงคือ เรื่องของการลดชั่วโมงการทำงานของคนงานอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงเรื่องการลดการจ้างงานหรือสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับ แต่สิ่งที่ต้องตั้งข้อสงสัยก็คือเหตุใดนักวิจัยทั้งสองจึงไม่ถามคำถามเหล่านี้โดยตรง ทั้งที่เป็นงานสำรวจของตนเอง แต่กลับไปให้ความสำคัญกับการพยายามพิสูจน์ว่า กลุ่มสำรวจให้ข้อมูลเกินความความจริงในเรื่องเกี่ยวกับผลที่เกิดจากกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ
และโดยเฉพาะการที่ผู้ทำวิจัยได้อธิบายว่า จากการสัมภาษณ์องค์กรเหล่านี้อย่างละเอียดจำนวน 26 แห่ง เป็นการบ่งบอกถึงผลกระทบจากกฎหมายอย่างสำคัญหรืออย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์ได้ครบทั้งสองขั้นเพียง 15 แห่งเท่านั้น (โดยผู้ทำวิจัยไม่ได้บอกเหตุผลว่าเหตุใดอีก 11 แห่งที่เคยทำการสัมภาษณ์ในครั้งแรก จึงไม่มีข้อมูลการสัมภาษณ์ในครั้งที่สอง) จากการสัมภาษณ์อย่างละเอียด ผู้ทำวิจัยชี้ว่า องค์กรเหล่านี้จำนวน 5 แห่งจากทั้งหมดที่ได้ทำการสัมภาษณ์ "ผลกระทบที่พบรุนแรงน้อยกว่าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจทางโทรศัพท์ ในขณะที่อีก 10 แห่ง พบกับปัญหาเรื่องต้นทุนที่เกิดจากการปฏิบัติตามกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ซึ่งข้อมูลนี้มีนัยสำคัญพอและสมควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ"
ข้อบกพร่องในงานวิจัยที่อาจเป็นไปได้อยู่ 3 ข้อ
ข้อแรก กระบวนการสำรวจซึ่งแบ่งการสัมภาษณ์เป็นสองช่วง ด้วยการตั้งคำถามซึ่งเป็นคำถามที่ขาดความชัดเจน ทำให้เกิดข้อสงสัยในผลการวิจัยที่ได้ การสำรวจนี้ถ้าวิเคราะห์ในแง่สถิติ ผู้สัมภาษณ์ใช้คำถามบางคำถามที่เรียบง่าย, มีการจำแนกข้อมูลที่หลุดจากกลุ่มตัวอย่างเป็นค่าที่สูงหรือต่ำเกินไปอย่างผิดปกติ (outliers) และตั้งคำถามอีกหลายข้อเพื่อดูว่า กรณีที่ข้อมูลมีค่าที่หลุดจากกลุ่มตัวอย่างสูงหรือต่ำไปมาก คำตอบที่ชี้แจงในเรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นคำตอบที่เกินจริงหรือไม่ เป็นที่สงสัยว่าถ้ามีการนำข้อมูลที่หลุดจากกลุ่มตัวอย่างที่มีทิศทางไปในทางตรงกันข้ามมาสัมภาษณ์ใหม่อีกครั้ง ค่านี้จะเปลี่ยนกลับไปสู่ค่าเฉลี่ยกลางหรือไม่ (เนื่องจากธุรกิจเอกชนที่ให้คำตอบในตอนแรกว่า มีผลกระทบเล็กน้อยหรือไม่มีผลกระทบ ต่อมาภายหลังมีการรายงานว่ามีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า มีผลกระทบบ้างในทางลบ). ในประเด็นนี้ Reynolds และ Vortkamp ไม่ได้ทำการศึกษา เพียงแต่ยืนยันว่าที่พวกเขาไม่ได้ทำการสัมภาษณ์ธุรกิจเอกชนที่ระบุว่า ได้รับผลกระทบเล็กน้อยหรือในระดับต่ำซ้ำอีกครั้งก็เพราะว่า "การตรวจสอบเพิ่มเติมไม่น่าจะทำให้การประเมินผลกระทบด้วยตัวของนายจ้างเปลี่ยนแปลงไป และไม่น่าจะได้ข้อมูลใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้"ข้อสอง วิธีการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ใช้วิธีการที่ไม่ได้ออกแบบให้มีความเรียบง่ายและเป็นภววิสัย (objective) เช่น การใช้คำถามที่ตรงไปตรงมาเกี่ยวกับเรื่องการจ้างงาน, ชั่วโมงการทำงาน, ค่าจ้าง และการหมุนเวียนเข้าออกจากของพนักงาน เป็นต้น
ข้อสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด การสำรวจนี้ไม่ได้กำหนดกลุ่มควบคุมสำหรับใช้ในการตรวจสอบ ว่าองค์กรเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเทียบกับกลุ่มองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรเหมือนกัน แต่ไม่ได้อยู่ในข่ายของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ แม้การสำรวจจะเป็นการสำรวจผลกระทบของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจากมุมมองความเข้าใจของนายจ้าง และด้วยเหตุนี้จึงอาจพูดได้ว่า ไม่จำเป็นต้องกำหนดกลุ่มควบคุมก็ได้ แต่จะทำให้มีการตั้งสมมติฐานอย่างมั่นใจได้อย่างไรว่า นายจ้างสามารถแยกแยะได้อย่างถูกต้องระหว่างปัจจัยที่เป็นผลกระทบที่เกิดจากกฎหมายนี้ กับอิทธิพลจากปัจจัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน และเนื่องจาก Reynolds และ Vortkamp (จากผลการวิจัยที่กำลังจะออกมา) ไม่มีความมั่นใจเป็นอย่างมากในคำตอบที่ได้จากการสำรวจกลุ่มนายจ้าง จึงเห็นได้ชัดว่า ควรจะได้ทำการศึกษาให้มากขึ้นจากตัวชี้วัดที่เป็นภววิสัย (objective) อันเป็นข้อมูลที่ได้มาจากองค์กรเหล่านี้ ทั้งที่เป็นกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุม
สำหรับงานวิจัยถัดไปอีกสองเรื่องที่กำลังจะนำมาพิจารณา เป็นการใช้วิธีการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการวิจัยระดับจุลภาพสองชิ้นแรก โดยงานวิจัยถัดไปจะเป็นการวิเคราะห์โดยการนำข้อมูลของกลุ่มนายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพไปเปรียบเทียบกับนายจ้างกลุ่มอื่น
ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพของ
Boston
(Boston's Living Wage)
Brenner (ผลงานกำลังจะออกเผยแพร่) ได้ศึกษาผลกระทบของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพที่มีผลต่อธุรกิจที่ทำสัญญากับรัฐ
(contractor) ช่วงเวลาที่ศึกษาเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1998 (ก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพ)
จนถึงฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 2001 (ขณะนั้นค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพขึ้นไปถึง 9.11
เหรียญ) โดยเป็นการสำรวจธุรกิจเอกชนจำนวน 66 แห่ง ซึ่งเป็นคู่สัญญากับรัฐจากจำนวนทั้งหมด
140 แห่ง จากการสำรวจ Brenner ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับรัฐเพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุม
แต่เขาได้ทำการแยกแยะธุรกิจที่แสดงตัวว่าได้ขึ้นค่าจ้างตามกฎหมายกับธุรกิจที่ไม่ได้ขึ้นค่าจ้างตามกฎหมาย
การจำแนกเช่นนี้ดูเหมือนส่วนใหญ่มีความชัดเจน เพราะจะเห็นว่าจำนวนสัดส่วนของแรงงานรายได้ต่ำในกลุ่มที่ไม่ได้เจาะจงจะลดลงอย่างรวดเร็ว
แต่ในกลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในช่วง ค.ศ. 1998 - 2001 กล่าวในแง่หนึ่ง
การประเมินผลกระทบของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพต่อการกระจายค่าจ้างด้วยวิธี difference-in-difference
แสดงให้เห็นว่ามีความกดดันอย่างหนักจากปัญหาค่าจ้าง
ในส่วนของการจ้างงาน จากข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มที่ไม่ได้เจาะจงและในกลุ่มควบคุม แต่อัตราการจ้างงานของกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นเร็วกว่า ดังนั้น การประเมินด้วยวิธี difference-in-difference จึงบ่งบอกว่า มีการจ้างงานลดลงในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ซึ่งตัวเลขการจ้างงานนี้หมายถึง จำนวนแรงงานในภาพรวมทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายถึงแรงงานที่รัฐทำการจ้างงานโดยตรง อันเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับระดับความเปลี่ยนแปลงของการจ้างงาน
เมื่อเปรียบเทียบการจ้างงานของกลุ่มตัวอย่างกับกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกัน 9.9% (กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้เจาะจงมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 7.3% และกลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้น 17.2%) ในช่วงเวลาเดียวกัน อัตราค่าเบี่ยงเบน (deviation) ระหว่างค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพกับค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มจาก 0% เป็น 35% ในอีกแง่หนึ่ง Brenner พบด้วยว่า ในแง่ของการจ้างงานเทียบเท่าเต็มเวลา (full-time equivalent: FTE) ไม่พบว่ากลุ่มที่ไม่ได้เจาะจงกับกลุ่มควบคุม มีการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานอย่างมีนัยสำคัญ. นอกจากเรื่องผลกระทบต่อการจ้างงานแล้ว Brenner ยังได้ทำการศึกษาเรื่องผลกระทบของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพต่อการหมุนเวียนเข้าออกของพนักงานและการขาดงาน แต่ไม่พบหลักฐานที่แสดงว่าค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพทำให้มีการหมุนเวียนคนงานลดลงหรือมีการขาดงานลดลง
Brenner ได้ข้อสรุปในงานวิจัยว่า "เราไม่พบหลักฐานที่แสดงว่า กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในเมือง Boston ทำให้มีการจ้างงานลดลงในธุรกิจที่อยู่ในข่ายของกฎหมาย ตรงกันข้าม กลับพบว่าการจ้างงานโดยเฉลี่ยมีการขยายตัว หลังจากมีการบังคับใช้กฎหมายนี้"
ข้อสรุปดังกล่าวขัดแย้งกับวิธีการประเมินแบบ difference-in-difference ที่แสดงให้เห็นว่าการใช้ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการจ้างงานลดลง แม้ว่าการลดลงของการจ้างงานเป็นแค่การเปรียบเทียบข้อมูล แต่การเปรียบเทียบก็คือหลักสำคัญของวิธีการประเมินแบบนี้ เพราะว่าธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบ จะใช้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่การจ้างงานเปลี่ยนแปลงไป เพราะปัจจัยอื่นซึ่งการประเมินด้วยวิธีนี้ได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างน่าจะมีการจ้างงานมากกว่า เมื่อมีการใช้กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ กล่าวอีกในแง่หนึ่ง การวิเคราะห์ด้วยวิธี difference-in-difference ผลกระทบต่อการจ้างงานและการจ้างงานแบบ FTE มีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน โดยการวิเคราะห์ได้ชี้ให้เห็นว่า กฎหมายนี้มีผลทำให้การจ้างงานลดลง แต่ไม่มีผลกับการจ้างงานแบบ FTE
เมื่อพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพส่งผลทำให้มีการจ้างงานลดน้อยลง แต่แรงงานบางส่วนจะได้ชั่วโมงทำงานเพิ่มขึ้น แม้ว่าอาจไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป เพราะท้ายที่สุด ไม่มีการสรุปถึงผลกระทบกับการเลิกจ้างงาน ถ้านายจ้างต้องการประหยัดต้นทุนด้วยการกำหนดต้นทุนการจ้างงานแบบคงที่ เพื่อรับมือกับต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้น ก็คาดว่าจะมีการเปลี่ยนจากการจ้างแรงงานแบบไม่เต็มเวลา ไปใช้แรงงานแบบเต็มเวลาแทน ดังนั้น จึงเห็นว่าการจะตีความผลการวิเคราะห์ของ Brenner ให้ตรงที่สุดก็คือ มีการจ้างงานลดลง และผลการวิเคราะห์ก็ยังชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่จะได้รับชดเชยกลับคืนคือ แรงงานบางส่วนอาจจะได้ประโยชน์ในรูปของชั่วโมงทำงานที่เพิ่มขึ้น
Brenner ได้ใช้ข้อมูลที่มีเพื่อทำการประเมินหาจำนวนแรงงาน ที่ค่าจ้างของคนในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขึ้นค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจในแง่ที่ว่าการใช้ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ มีผลช่วยลดปัญหาความยากจนที่เป็นการประเมินในระดับเมือง จากการประเมินอย่างกว้างๆ ของ Brenner มีแรงงานอยู่ 1,000 คน ซึ่งได้รับผลโดยตรงในทางบวกในเรื่องของค่าแรง ตัวเลขจาก U.S. Bureau of the Census (*) ระบุว่าใน ค.ศ. 1999 เมือง Boston มีครอบครัวที่ยากจนจำนวน 17,892 ครอบครัว การขึ้นค่าจ้างตามอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพเป็นการขึ้นที่ค่อนข้างกะทันหัน สมมติว่าในจำนวนครอบครัวที่ยากจนทั้งหมด มี 1,000 ครอบครัวที่ได้รับการยกระดับพ้นจากความยากจน ดังนั้น อัตราความยากจนก็คงจะลดลง 5.6% แต่ว่าครอบครัวแรงงานที่ได้รับค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพไม่ใช่จะยากจนทุกครอบครัว ทำให้ตัวเลขที่สมมตินี้จึงเกินจากความจริงไป แต่ครอบครัวที่ยากจนส่วนมากซึ่งเป็นแรงงานเต็มเวลาและได้รับผลกระทบจากฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ก็ควรได้รับการยกระดับให้อยู่เหนือเส้นความยากจน ถ้าครอบครัวเหล่านี้ไม่ใช่ครอบครัวขนาดใหญ่ เนื่องจากการใช้อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีเป้าหมายอยู่ที่ยากจนต่ำสุด
(*)The United States Census Bureau (officially Bureau of the Census) is a part of the United States Department of Commerce. It is the government agency that is responsible for the United States Census. The agency director is a political appointee selected by the current President. Political appointees also fill some of the other positions at the agency.
และสุดท้ายจากข้อมูลของ Brenner ถ้าอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพทำให้นายจ้างหันไปจ้างงานแบบเต็มเวลา แรงงานบางส่วนก็จะมีรายได้มากกว่ารายได้ที่ได้จากการขึ้นค่าจ้าง ถึงแม้ว่าแรงงานอีกส่วนอาจจะถูกผลกระทบจากการจ้างงานที่ลดลงก็ตาม ถ้าไม่พิจารณาถึงขนาดที่แน่นอนของข้อมูล ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ในงานวิจัยนี้ ค่าความยืดหยุ่นซึ่งคำนวณได้อยู่ในระดับเดียวกับที่ประเมินได้จากข้อมูลของ CPS ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าถ้าอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพตกไปถึงครอบครัวที่ยากจนจริง ก็ไม่จำต้องมุ่งไปที่แรงงานจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในเรื่องของความยากจน
แรงงานที่ได้รับและไม่ได้รับการคุ้มครองใน
Los Angeles
(Covered and Non-covered Employers in Los Angeles)
Fairris (2003) ได้ทำการศึกษาโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม
- กลุ่มแรกเป็นการสำรวจองค์กรที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพของ Los Angeles และ
- กลุ่มที่สองเป็นการรวบรวมข้อมูลองค์กรต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ด้านอื่นและใช้เป็นกลุ่มควบคุม
แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ ทั้งนี้ Fairris ได้ทำการพิจารณาความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างอย่างละเอียด และพยายามที่จะหาเหตุผลมาอธิบายถึงความผันแปรต่างๆ ทั้งสองกลุ่มมีข้อแตกต่างหลักอยู่ 2 ข้อ
ข้อแรก สำหรับกลุ่มที่ไม่ได้เจาะจง (treatment) ใช้วิธีสัมภาษณ์ ณ สถานที่ของผู้ถูกสัมภาษณ์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยทางไปรษณีย์และมีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์อีกส่วนหนึ่ง คำตอบที่ได้รับจากกลุ่มควบคุมอยู่ในอัตราที่น้อยมาก (23% เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวแปรต้นที่ได้รับคำตอบ 68%)
ข้อสอง คือ การออกแบบวิธีการสำรวจนี้ ไม่สามารถใช้ประเมินการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานได้โดยตรง แม้ว่าในกลุ่มที่ไม่ได้เจาะจงจะมีการถามนายจ้างว่ากฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีผลทำให้จำนวนบุคลากรลดลงหรือไม่ก็ตาม. Fairris ได้ทำการแยกแยะอย่างระมัดระวังในเรื่องความแตกต่างระหว่างผลกระทบจากอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ กับความแตกต่างที่เกิดขึ้นก่อนหน้าระหว่างธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ กับ ธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบ
ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าแรงงานรายได้ต่ำ ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการใช้อัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับค่าจ้างได้แสดงให้เห็นว่า ก่อนจะมีกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ อัตราค่าจ้างระหว่างธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบกับที่ได้รับผลกระทบมีอัตราค่าจ้างอยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้น จึงดูเหมือนว่าอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีผลต่ออัตราค่าจ้าง แต่เรื่องที่น่าสงสัยมากกว่าเป็นประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบของอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ต่อมาตรการการประกันสุขภาพและการหมุนเวียนเข้าออกของพนักงาน จากการประเมินแสดงให้เห็นว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับเรื่องข้อกำหนดในการประกันสุขภาพ แต่การหมุนเวียนของพนักงานลดลง เพราะการบังคับใช้กฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ (โดยไม่ทราบว่าลดลงขนาดไหน) ผลการวิจัยก็ยังแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มาตรการการประกันสุขภาพ และการหมุนเวียนเข้าออกของพนักงาน มีผลที่แตกต่างเมื่อเทียบกับก่อนที่จะมีกฎหมายนี้
ถึงแม้ว่ารูปแบบของการวิจัยจะทำให้ Fairris ไม่สามารถประเมินการจ้างงานได้โดยตรง แต่เขาก็ได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนายจ้างที่อยู่ในข่ายของกฎหมาย ด้วยการสำรวจคำตอบที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน และพบว่าธุรกิจที่อยู่ในข่ายของกฎหมายมีการจ้างงานลดลง 18% และธุรกิจที่เป็นคู่สัญญากับรัฐก็มีอัตราการจ้างงานลดลง 1.6% โดยรวม เนื่องจากอัตราค่าจ้างตามกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ที่ขึ้นให้กับแรงงานค่าจ้างต่ำซึ่งได้รับผลกระทบ มีการขึ้นไปประมาณ 1.70 เหรียญ หมายความว่า "ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ที่มีต่อแรงงานค่าจ้างต่ำอยู่ที่ประมาณ -0.06" ซึ่งค่าความยืดหยุ่นที่คำนวณได้นี้ (-0.06) มาจากอัตราการจ้างงานที่ลดลง 1.6% หารด้วยอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นประมาณ 27% ที่ขึ้นให้กับแรงงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำ อย่างไรก็ตาม การจะใช้อัตราส่วนที่ถูกต้องนั้นต้องใช้อัตราส่วนระหว่างเปอร์เซ็นต์การจ้างงานที่ลดลงในกลุ่มแรงงานค่าจ้างต่ำที่ได้รับผลกระทบจากฎหมาย หารด้วยเปอร์เซ็นต์ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น สมมติว่า ถ้าการจ้างงานที่ลดลงนั้นคำนวณจากลุ่มแรงงานค่าจ้างต่ำดังกล่าว ความยืดหยุ่นก็จะมีค่าที่เป็นจริงมากกว่าเดิม เช่น ถ้าแรงงานค่าจ้างต่ำมีจำนวนหนึ่งในสี่ของแรงงานทั้งหมดโดยรวม ค่าความยืดหยุ่นก็จะเท่ากับ -0.24
ถึงแม้ว่าข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้จะไม่ใช่ข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็นการศึกษาที่ทำถูกทางแล้ว ที่มีการใช้กลุ่มที่ไม่ได้เจาะจงและกลุ่มควบคุม ในการทำการศึกษาผลกระทบของกฎหมายอัตราค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพในแง่เศรษฐกิจระดับจุลภาค ทั้งนี้เมื่อค่าจ้างต้องขึ้นไปตามที่กฎหมายกำหนด การหมุนเวียนเข้าออกของพนักงานและการจ้างงานก็จะลดลง (ถ้าเป็นการประเมินจากที่เห็นภายนอก) โดยไม่มีทางรู้เลยว่า การที่การหมุนเวียนเข้าออกของพนักงานลดลงนั้นจะเป็นเรื่องที่ "คุ้มหรือไม่"
คนงานดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
(Home Care Workers)
Howes (2003) ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบของการขึ้นค่าจ้างทั่วไป รวมถึงเรื่องมาตรการการประกันสุขภาพและสิทธิประโยชน์อื่น
ที่ให้แก่กลุ่มพนักงานซึ่งทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (home care) ใน San
Francisco อันเป็นผลที่เกิดจากกฎหมายอัตราค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพของเมืองนี้
รวมทั้งจากการรวมตัวกันก่อตั้งสหภาพ. Howes ได้ทำการศึกษาเป็นการเฉพาะกับแรงงานที่
In-Home Supportive Service (IHSS) (*) ธุรกิจนี้มีลักษณะเฉพาะบางอย่างซึ่งอาจจะมีผลบางด้านกับผลการวิจัยของ
Howes งาน home care เป็นงานบริการที่จัดให้สำหรับผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองไม่ได้และคนวัยทำงานที่มีความพิการที่อยู่ในสหรัฐ
ชื่อขององค์กรนี้บ่งบอกอยู่แล้วว่าเป็นงานที่ให้บริการที่บ้าน ซึ่งมักจะเป็นจะขั้นตอนแรกก่อนจะมีการส่งตัวผู้รับบริการไปสู่สถานที่ให้การดูแลในระยะยาว
โครงการ IHSS ได้รับการสนับสนุนจาก Medicaid (**) โครงการนี้ให้บริการกับผู้รับบริการใน
California จำนวน 265,000 คน (ตามการประเมินของ Howes)
(*) The In-Home Supportive Services (IHSS) program is a federal, state and locally funded program designed to provide assistance to those eligible aged, blind and disabled individuals who, without this care would be unable to remain safely in their own homes. IHSS provides services according the client's needs, e.g., feeding, bathing, dressing, housekeeping, laundry, shopping errands, meal preparation and meal clean up, respiration, bowel and bladder care, moving in and out of bed, rubbing the skin (to prevent skin breakdown), accompaniment to medical appointments, paramedical services, and protective supervision.
(**) Medicaid is the United States health program for individuals and families with low incomes and resources. It is an entitlement program that is jointly funded by the states and federal government, and is managed by the states. Among the groups of people served by Medicaid are eligible low-income parents, children, seniors, and people with disabilities. Being poor, or even very poor, does not necessarily qualify an individual for Medicaid. Medicaid is the largest source of funding for medical and health-related services for people with limited income.
พนักงานของ IHSS มีรายได้อยู่ที่หรือต่ำกว่าเส้นความยากจน จากชุดข้อมูลของ Howes 56% ของผู้ที่หาเลี้ยงครอบครัวเป็นสมาชิกในครอบครัว แต่ถ้าคู่สมรสหรือบิดามารดามีคนประเภทดังกล่าวอยู่ในอุปการะ รัฐก็จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ทั้งหมด ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1997 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 อัตราค่าจ้างขึ้นจาก 5.00 เหรียญ (ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้ค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐ) เป็น 10.00 เหรียญ ทั้งนี้พนักงานของ IHSS ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ, การทำฟัน และสิทธิประโยชน์อื่นมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นส่วนมาก (แม้แต่พนักงานที่ทำงานไม่เต็มเวลาก็ได้สิทธิประโยชน์เช่นกัน) จากที่มีสัดส่วนเกือบเป็นศูนย์
Howes (2003) รายงานว่า จากการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าและพนักงานซึ่งเป็นข้อมูลในระดับบุคคล อัตราการหมุนเวียนเข้าออกของพนักงานลดลงอย่างรวดเร็ว จากที่มีการขึ้นค่าจ้างและการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพิ่มขึ้น Howes ให้เหตุผลว่า เป็นเรื่องที่ดีสำหรับลูกค้า จากการวิจัยนี้ Howes ได้พยายามจะนำผลการวิจัยไปใช้อธิบายผลกระทบของธุรกิจ home care อื่นๆ ซึ่งพบกับปัญหาการหมุนเวียนพนักงานในอัตราที่สูง, ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและปัญหาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม IHSS มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากหน่วยงานอื่นตรงที่ ลูกค้าไม่ใช่ผู้ที่จ่ายค่าจ้างในส่วนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ถึงแม้ว่าการหมุนเวียนของพนักงานจะลดลง ซึ่งน่าจะทำให้ลูกค้าสะดวกขึ้น แต่ก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่า การหมุนเวียนพนักงานที่ลดลงมีประโยชน์ หรือสรุปได้ว่าผู้ให้บริการ home care (*) อื่นจะเห็นว่า การขึ้นค่าจ้างและให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพิ่มขึ้นจะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
(*)Home care, (commonly referred to as domiciliary care), is health care or supportive care provided in the patient's home by healthcare professionals (often referred to as home health care or formal care; in the United States, it is known as skilled care) or by family and friends (also known as caregivers, primary caregiver, or voluntary caregivers who give informal care). Often, the term home care is used to distinguish non-medical care or custodial care, which is care that is provided by persons who are not nurses, doctors, or other licensed medical personnel, whereas the term home health care, refers to care that is provided by licensed personnel. (http://en.wikipedia.org/wiki/Home_care)
บทสรุปของผลกระทบในระดับองค์กร
(Summary of Firm-level Effects)
การวิจารณ์งานวิจัยต่างๆ ของเนื้อหาในส่วนนี้ เป็นการพยายามที่จะตรวจสอบผลของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในระดับองค์กร
ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้โดยง่าย เนื่องจากงานวิจัยเหล่านี้ต้องพบกับปัญหายุ่งยากต่างๆ
มีข้อมูลของธุรกิจในสหรัฐที่ทำการจัดเก็บอย่างต่อเนื่องในจำนวนที่ไม่มาก อีกทั้งมีข้อมูลของธุรกิจที่อยู่ในข่ายของกฎหมายจำนวนเล็กน้อย
จึงทำให้งานวิจารณ์นี้ยิ่งมีข้อสงสัย ดังนั้น ถึงแม้ว่าส่วนหนึ่งจะมีการวิจารณ์งานวิจัยเหล่านี้ในส่วนของรายละเอียด
แต่ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงการตั้งข้อสังเกตกับผลงานการวิจัยรุ่นบุกเบิก ซึ่งเป็นผู้ที่ทำการศึกษาเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในระดับจุลภาค
ผลงานการวิจัยเหล่านี้ค่อนข้างจะแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการมีกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กที่ผิดจากธรรมดา ซึ่งนักวิจัยจำเป็นต้องพยายามนำมาใช้ศึกษา ถึงกระนั้นก็ตาม มีข้อสรุปสามประเด็นที่สามารถรวบรวมได้ นั่นคือ
ข้อแรก กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ มีผลกระทบจริงต่อแรงงานค่าจ้างต่ำโดยมีผลทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้น และส่วนหนึ่งก็ทำให้โครงสร้างค่าจ้างมีขนาดเล็กลง
ข้อสอง งานวิจัยบางชิ้นมีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงการหมุนเวียนเข้าออกของพนักงานที่ลดลง, ผลการทำงานเพิ่มขึ้น และอื่นๆ ผลที่เกิดขึ้นคือ สิ่งที่คาดหวังว่าจะเป็นไปตามแบบจำลองของกลุ่มนีโอคลาสสิก (neoclassical model) หรือรูปแบบของประสิทธิภาพทางค่าจ้าง (efficiency wage-type model) ในตลาดแรงงาน แต่สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ เราไม่สามารถนำแบบจำลองการเกิดผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพทางค่าจ้าง (efficiency wage-type model) มาเป็นข้อสรุปว่า ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพส่งผลที่คุ้มค่า ผลกระทบในลักษณะนี้จึงไม่ได้ช่วยสนับสนุนข้อสรุปที่ว่า นโยบายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพไม่มีต้นทุนหรือแม้แต่จะให้ประโยชน์ เพราะฉะนั้น จึงมีเหตุผลที่จะมีการแทรกแซงทางนโยบายเพราะนายจ้างที่ทำกำไรได้สูงสุด ก็น่าจะมีการกำหนดค่าจ้างแบบนี้อยู่แล้ว
คำถามสำคัญอันหนึ่งก็คือ มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า นายจ้างกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ คือกลุ่มที่ไม่ปฏิบัติให้สอดคล้องกับรูปแบบของการทำกำไรให้ได้สูงสุด หรือมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ากฎหมายได้ทำให้ผลกำไรลดลงหรือเพิ่มขึ้นหรือไม่ กระนั้นก็ตาม หลักฐานที่แสดงถึงผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพทางค่าจ้างก็แสดงให้เห็นว่า ต้นทุนของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ จะลดลงเมื่อคำนวณโดยยึดสมมติฐานที่ว่า ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจะส่งผลกระทบกับปริมาณการผลิต
ข้อสาม หลักฐานบางส่วนแสดงถึงการลดลงของการจ้างงาน อันเป็นผลมาจากกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ อย่างไรก็ตาม หลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการเลิกจ้างครอบคลุมเฉพาะคู่สัญญากับรัฐ ก็เป็นหลักฐานที่ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าหลักฐานในระดับจุลภาคแสดงให้เห็นถึงการตรวจพบผลกระทบของการเลิกจ้างงาน ในขณะที่หลักฐานในระดับเมืองไม่สามารถตรวจพบได้ ซึ่งก็เป็นการชี้ให้เห็นว่า หลักฐานระดับจุลภาคมีศักยภาพสำหรับใช้ทดสอบผลที่เกิดขึ้นจากกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ที่แม้แต่การวิเคราะห์ในระดับเมืองก็ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบสำคัญในเชิงนโยบาย
คำถามในเชิงนโยบายที่ไม่มีคำตอบ
(Unanswered Policy Questions)
เนื้อหาในส่วนนี้ ประเด็นหลักอยู่ที่สิ่งที่ได้กล่าวถึงมาแล้วในเรื่องเกี่ยวกับเป้าหมายหลักในเชิงนโยบาย
สำหรับการนำกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมาใช้ เพื่อช่วยเหลือแรงงานค่าจ้างต่ำและครอบครัวรายได้ต่ำ
และประเด็นเกี่ยวกับผลของกฎหมายที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจในระดับจุลภาค รวมทั้งปัญหาต่างๆ
ที่งานวิจัยเหล่านี้ยังไม่มีคำตอบ อาจเป็นการรวบรัดเกินไปถ้าจะสรุปว่า งานวิจัยที่เกี่ยวกับค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพที่มีอยู่
จะนำไปสู่การชี้แนะทางนโยบายในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายนี้อย่างเป็นรูปธรรม จากการพบหลักฐานบางอย่างแสดงให้เห็นว่า
ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีผลทางบวกต่อค่าจ้างที่อยู่ในระดับต่ำสุด และดูเหมือนว่าค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจะนำไปสู่การลดความยากจนได้ในระดับหนึ่ง
(แม้ว่าแรงงานบางส่วนจะถูกเลิกจ้างงานก็ตาม) ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างที่ว่า ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
แม้จะมีข้อมูลมาสนับสนุนอยู่บ้าง แต่ผลการวิจัยส่วนหนึ่งยังคงถูกโต้แย้ง และบางส่วนก็ยังไม่เป็นที่เข้าใจ
จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ให้ชัดเจนขึ้นว่า ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมีผลหรือไม่
และมีผลอย่างไร ต่อแรงงานค่าจ้างต่ำและครอบครัวรายได้ต่ำ
แม้การพิสูจน์ถึงผลกระทบจากกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพค่อนข้างเป็นเรื่องยาก แต่คำถามในเชิงนโยบายยังเป็นปัญหาที่กว้างกว่า มีคำถามสำคัญอีกมากจากแง่มุมในเรื่องการประเมินและการทำความเข้าใจนโยบายของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ ควรจะได้มีความระมัดระวังในการแสดงท่าทีต่อนโยบายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพจนกว่าคำถามต่างๆ จะมีคำตอบที่เหมาะสม ด้วยเหตุผลดังนี้
ประการแรก จากที่ได้เน้นว่า ยังมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ทราบ มากไปกว่าเรื่องเกี่ยวกับปฏิกิริยาของนายจ้างต่อค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพ ซึ่งเป็นเรื่องของเศรษฐศาสตร์ในระดับจุลภาค มีหลักฐานจากงานวิจัยซึ่งเป็นข้อมูลในระดับเมือง รวมถึงหลักฐานอื่นในระดับนายจ้างที่เป็นการแสดงให้เห็นตามที่คาดหมายว่า ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพนำไปสู่การลดการจ้างงาน แต่ก็ไม่มีข้อมูลพอที่จะทราบได้เกี่ยวกับปฏิกิริยาต่อกฎหมายค่าจ้าง เพื่อการดำรงชีพในระดับจุลภาค เช่น ประเด็นเกี่ยวกับการลดลงของการจ้างงานว่า เป็นไปในรูปแบบที่นายจ้างทำการลดขนาดกิจการที่มีอยู่หรือไม่ หรือเป็นการที่นายจ้างย้ายฐานการผลิตไปนอกเมือง และอาจเป็นไปเพื่อเลี่ยงกฎหมายนี้
นอกจากนี้ ข้อมูลที่มีอยู่ครอบคลุมระดับบุคคล หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับนายจ้างในจำนวนที่ค่อนข้างน้อย ข้อมูลเหล่านี้จึงไม่สามารถใช้ตอบคำถามที่ว่า นายจ้างมีปฏิกิริยาอย่างไรเป็นการเฉพาะต่อกฎหมายนี้ รวมถึงคำถามที่ว่า ผลกระทบเกี่ยวเนื่อง (ripple effects) ของการกำหนดค่าจ้าง เกิดขึ้นในระหว่างธุรกิจต่างๆ หรือไม่ การมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องปฏิกิริยาของนายจ้างที่มีต่อกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ จะช่วยทำให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายสามารถเข้าใจได้ดีขึ้น ถึงสิ่งที่จะเกิดตามมาหลังการใช้กฎหมายนี้ รวมถึงสามารถเข้าใจได้ว่า ผลกระทบของกฎหมายจะมีการกระจายประโยชน์ในลักษณะอย่างไร ระหว่างแรงงานที่แตกต่างกัน และยังทำให้ผู้ที่กำหนดนโยบายมีแนวทางในการลดผลกระทบทางลบใดที่อาจเกิดขึ้นตามมา
(*)The ripple effect is an education-related term associated with the studies of Jacob Kounin. It involves the effects that a reprimand in a group has on members of the group who are not the intended targets of the reprimand
ประการที่สอง จำเป็นต้องมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับระบบการทำงานทั่วไปของกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ. Luce เป็นผู้ที่เริ่มพูดถึงประเด็นนี้ในงานที่เขา ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเมืองในการใช้ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ และ Sander กับ Lockey (1998) ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในการบังคับใช้, การปฏิบัติและแนวทางแก้ปัญหาในการใช้กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพของเมือง Los Angeles แต่ก็ยังมีความต้องการงานวิจัยอย่างเป็นระบบในเชิงประจักษ์ ที่เป็นการศึกษาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมหัวข้อ อย่างเช่น การทุ่มเททรัพยากรต่างๆ สำหรับการนำกฎหมายมาบังคับใช้, การปฏิบัติตามกฎหมาย, บทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม และในประเด็นอื่น ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยเป็นคำตอบต่อการหาวิธีที่ดีที่สุดในการใช้กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ และยังเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของกฎหมายนี้ เช่น หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและมีบทลงโทษที่จริงจังกว่า ผลของกฎหมายก็จะมีมากกว่า หลักฐานนี้จะช่วยสนับสนุนข้อสรุปที่ว่า กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ จะส่งผลกระทบตามความระดับของความเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้
ประการที่สาม นอกจากประเด็นสำคัญเรื่องค่าจ้าง, การจ้างงานและผลได้ผลเสียด้านรายได้ที่นักวิจัยส่วนมากให้ความสำคัญแล้ว ก็ยังมีประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพที่จะต้องมีการศึกษา คือประเด็นเรื่องผลกระทบรอบสอง (second-round effects) ขณะนี้ในหลายประเทศมีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมากขึ้น จึงเป็นไปได้ที่จะได้เริ่มทำการศึกษาปัญหาเหล่านี้บ้าง ตัวอย่างของปัญหาผลกระทบรอบสอง เช่น การเลี่ยงกฎหมายของนายจ้างด้วยการเลิกสัญญา, ไม่รับเงินช่วยเหลือ, ไม่รับการลดหย่อนต่างๆ จากรัฐ เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้ก็จะเหลือธุรกิจจำนวนน้อยที่จะเข้าแข่งขันประมูลโครงการกับรัฐก็จะทำให้การประมูลมีการแข่งขันกันน้อยลง และเป็นผลให้บริการของรัฐมีราคาสูงขึ้น
นอกจากนี้ กฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพก็อาจมีผลลัพธ์ในทางลบ ถ้าบางส่วนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือทางธุรกิจที่ได้รับผลกระทบได้เลิกหรือลดให้บริการ ได้แปรสภาพเป็นองค์กรสาธารณะที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งมีหน้าที่ให้บริการกับบุคคลหรือครอบครัวที่ยากไร้ และเนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นจากการกำหนดค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพนั้น จะตกเป็นภาระของเมืองที่อนุมัติกฎหมาย ก็อาจเป็นผลให้ต้องจ่ายภาษีสูงขึ้นหรือมีการลดบริการต่างๆ ซึ่งอาจกลายเป็นผลทางลบกับผู้ที่เสียภาษี การวิจัยเชิงประจักษ์ที่จะต้องทำในอนาคตก็คือ การประเมินว่า ค่าจ้างที่พอกับการดำรงชีพก่อให้เกิดผลกระทบรอบสองหรือไม่, ประเมินหาขนาดของผลกระทบ, ผลกระทบเกิดขึ้นกับใครและผลกระทบเหล่านี้ จะชดเชยกับผลกระทบของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในเชิงบวกได้ขนาดไหน
ประเด็นสุดท้าย ประเด็นหนึ่งที่มักไม่ค่อยมีการพูดถึงกันคือ สิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการของการรณรงค์เรื่องค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ จนถึงปัจจุบัน การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพถูกมองว่า เป็นการพยายามขยายกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพที่ค่อนข้างอยู่ในวงแคบให้ไปถึงเมืองต่างๆ ในหลายเมือง แต่สำหรับ 4 เมืองในช่วงหลัง (California, Santa Fe ใน New Mexico และ San Francisco) ปรากฏว่ามีการออกกฎหมายหรือการทำประชามติเพื่อให้ได้สิ่งที่เท่ากับค่าแรงขั้นต่ำทั่วเมือง (หรือในกรณีของ Santa Monica การใช้ค่าแรงขั้นต่ำจำกัดอยู่บางส่วนของเมือง และจำกัดอยู่กับขนาดของนายจ้างในระดับหนึ่ง) คำถามในแง่การเมืองที่ไม่อาจตอบได้อย่างชัดเจนคือ คำถามว่า การรณรงค์ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพเป็นความพยายาม "ที่ใกล้จะสำเร็จ" ก่อนที่จะมีผลักดันค่าจ้างขั้นต่ำให้เกิดขึ้นทั่วประเทศหรือไม่ หรือว่าเป็นสิ่งที่มีจุดมุ่งหมายอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว
ประเด็นต่อมา ซึ่งมักไม่ค่อยมีการพูดถึงกันคือเรื่องที่รัฐต่างๆ จำนวนหนึ่ง (ที่ประกอบด้วยรัฐ Arizona, Colorado, Florida, Louisiana, Missouri, Oregon, South Carolina, Texas และ Utah) ได้ออกกฎหมายห้ามไม่ให้ทางการในระดับท้องถิ่น ใช้ค่าจ้างขั้นต่ำหรือค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในระดับเมือง ด้วยอัตราที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐ แต่กฎหมายลักษณะนี้ (preemption law) ของสองรัฐ ได้ถูกร้องคัดค้านต่อศาล. กรณีของรัฐ Louisiana ศาลได้ตัดสินยืนยันความชอบธรรมของกฎหมาย ขณะที่กฎหมายในรัฐ Missouri ถูกตัดสินว่ามีปัญหาในด้านข้อกฎหมาย ทั้งนี้รูปแบบของการต่อสู้ระหว่างมลรัฐกับทางการท้องถิ่น ซึ่งปรากฏอยู่ในสภานิติบัญญัติและในทางศาลในระยะเวลาสองสามปีข้างหน้า น่าจะปรากฏให้เห็นอย่างมีนัยสำคัญ ในแง่ที่ว่าจะได้เห็นกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพในระดับเมืองจะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้ทั้งเมืองหรือไม่
แต่น่าเสียดายที่ว่าการวิจัยที่มีการทำกันมากขึ้น ในเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจของกฎหมายนี้ครอบคลุมหลักฐานที่แน่ชัดเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงผลของค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้ทั้งเมือง เนื่องจากการวิจัยเหล่านั้นมีข้อมูลทั้งในส่วนของค่าจ้างขั้นต่ำ และค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพ (ซึ่งจำกัดอยู่เฉพาะภายในตัวเมือง) โดยที่ค่าจ้างทั้งสองประเภท ทำให้เกิดการเลิกจ้างงานและมีการกระจายประโยชน์แตกต่างกัน ถ้าค่าจ้างขั้นต่ำที่ใช้ทั้งเมืองเริ่มมีการขยายออกไป การจะประเมินผลกระทบก็ต้องดำเนินการไปอย่างเป็นอิสระ
References
Feirris, David. Forthcoming. The impact of living wages on employers: A control group analysis of
the Los Angeles ordinance. Industrial Relations. Forthcoming. Living wages: Protection for
or protection from low-wage workers? Industrial and Labor Relations Review.
Howes, Candace. 2003. The impact of a large wage increase on the workforce stability of IHSS home
care workers in San Francisco County. Unpublished manuscript, Connecticut College.
Neumark, David, and Scott Adams. 2003a. Detecting effects of living wage laws. Industrial Relations
42 (4): 531-64
Neumark, David, and Scott Adams. 2003b. Do living wage ordinances reduce urban poverty?
Journal of Human Resources 38 (3): 490-521
Neumark, David. 2002. How living wage law affect low-wage workers and low-income families. San
Francisco: Public Policy of California.
Nissen, Bruce. 2000. Living wage campaigns from a "social movement" perspective: The Miami
case. Labor Studies Journal 25 (3): 29-50.
Sander, Richard H.,and Sean Lokey. 1998. The Los Angeles living wage in operation: A preliminary
evaluation. California Labor & Employment Quarterly 12 (4): 5-7
Zabin,Carol,and Isaac Martin. 1999. Living wage campaigns in the economic policy arena: Four case
studies from California. Unpublished manuscript, Center for Labor Research and Education, Institute of Industrial Relations, University of California, Berkeley.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านบทความเดียวกันตอนที่ ๒
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
นอกจากการจ้างงานและผลได้ผลเสียด้านรายได้ที่นักวิจัยส่วนมากให้ความสำคัญแล้ว ก็ยังมีประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพที่จะต้องมีการศึกษา คือประเด็นเรื่องผลกระทบรอบสอง (second-round effects) ขณะนี้ ในหลายๆ ประเทศมีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีพมากขึ้น จึงเป็นไปได้ที่จะได้เริ่มทำการศึกษาปัญหาเหล่านี้บ้าง ตัวอย่างของปัญหาผลกระทบรอบสอง เช่น การเลี่ยงกฎหมายของนายจ้างด้วยการเลิกสัญญา, ไม่รับเงินช่วยเหลือ, ไม่รับการลดหย่อนต่างๆ จากรัฐ เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้ก็จะเหลือธุรกิจจำนวนน้อยที่จะเข้าแข่งขันประมูลโครงการกับรัฐก็จะทำให้การประมูลมีการแข่งขันกันน้อยลง และเป็นผลให้บริการของรัฐมีราคาสูงขึ้น (คัดลอกจากบทแปล)