ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




29-07-2551 (1623)

ชุดความรู้เที่ยงคืน: the Primary Producers of Beauty Ideology (PPBI)
ปกิณกะความงาม: ร่างกาย ความงามอย่างไร้สติตามธรรมชาติ (๒)
วิจิตร ว่องวารีทิพย์: ผู้วิจัย
ส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง "ร่างกาย เสน่ห์ อัตลักษณ์ และความเท่าเทียมเรื่องสุขภาพในสังคมไทย"
โครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทวิจัยนี้ ได้รับมาจากนักวิจัย ชื่อเดิมคือ "ความเสี่ยง ความเสื่อม สุขภาพ และตัวตน"
บทสรุปงานวิจัย: เรื่องของสุขภาพมิใช่เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่แต่แค่การดูแลรักษาร่างกาย
ตามหลักการ "ที่ถูกต้อง" ของวิทยาศาสตร์การแพทย์ โภชนาการ เภสัชศาสตร์ หรือ
ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามเท่านั้น ทั้งยังมิใช่เรื่องของการหมกมุ่นลงทุนในร่างกายแบบปัจเจก
ตัวใครตัวมัน ใครทำใครได้. เรื่องของการที่จะมีสุขภาพดีนั้น แท้จริงแล้วมิใช่เพียงแค่เลือกกิน
หรือไปเสาะแสวงหาอาหาร(ที่มีวัตถุดิบส่วนหนึ่งมา)จากธรรมชาติ จากที่ไกลๆ เท่านั้น
แต่ยังหมายถึง ความพร้อมและเต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เช่น พึงพอใจ
ในการบริโภคสิ่งที่หาได้จากท้องถิ่น การศึกษาค้นคว้าให้รู้จริงเกี่ยวกับสภาพร่างกายของตนเอง
และรูปแบบการดำเนินชีวิตหรืออาหารแต่ละชนิดที่จะส่งผลต่อตน เป็นต้น

นอกจากนี้ การเกิดโรคหรือจะมีสุขภาพดียังโยงใยลากลึกไปได้ถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ผลิตแบบเข้มข้น
และปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย ตราบใดที่เรายังมีมายาคติว่า '(สิ่งที่มาจาก) ธรรมชาติเป็นแหล่งต้นตอของสุขภาพดี'
การเอารัดเอาเปรียบธรรมชาติก็ยังจะคงชอบธรรมอีกต่อไป ภายใต้กระบวนทัศน์ทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม.
แต่หากมองว่าที่มาของการมีสุขภาพดีมีได้หลายทาง โดยที่ไม่ต้องมีจุดเริ่มต้นจากการนำเข้า สกัด หรือ
พรากเอาจากธรรมชาติ อย่างเช่น สุขภาพดีเพราะการบริโภคน้อยลง หรือสุขภาพดีเพราะได้อยู่ในสภาพ
แวดล้อม
ระบบนิเวศ และ ความสัมพันธ์กับผู้คนที่ดี เป็นต้น

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๒๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๕ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดความรู้เที่ยงคืน: the Primary Producers of Beauty Ideology (PPBI)
ปกิณกะความงาม: ร่างกาย ความงามอย่างไร้สติตามธรรมชาติ (๒)
วิจิตร ว่องวารีทิพย์: ผู้วิจัย
ส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง "ร่างกาย เสน่ห์ อัตลักษณ์ และความเท่าเทียมเรื่องสุขภาพในสังคมไทย"
โครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

อุตสาหกรรมอาหาร: แทรกแซงเวลาตามธรรมชาติ
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานนัก "สังคมความเสี่ยง" ที่ทั่วโลกต่างหวาดวิตกได้แก่ สังคมที่มีปัญหาอาหารขาดแคลนตามแนวคิดมัลธูเซียน (Malthusianism) (*) อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ก้าวหน้าของอุตสาหกรรมอาหารและชีวเคมี ควบคู่ไปกับวิทยาการการถนอมอาหาร การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง ได้ทำให้ความวิตกกังวลต่อความเสี่ยงดังกล่าวมลายหายไปจนเกือบจะหมดสิ้น ในยุคสมัยปัจจุบัน อาหารที่มีอย่างพอเพียงเป็นไปได้ เพราะการผลิตอาหารทั้งพืชผักและเนื้อสัตว์มีลักษณะเป็นระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมเกษตรแบบเข้มข้น เป็นระบบการผลิตที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุเป็นผลตามหลักแมคโดนัลด์ (McDonalisation) และที่วางอยู่บนฐานคิดเรื่องการย่นย่อเวลาและระยะทาง

(*) Malthusianism refers to the political/economic thought of Reverend Thomas Robert Malthus whose ideas were first developed during the industrial revolution. It follows his 1798 writings, An Essay on the Principle of Population, which describes how unchecked population growth is exponential while the growth of the food supply was expected to be arithmetical, leading to a Malthusian catastrophe. Malthus wrote during the time of the Manchester School of thought. (http://en.wikipedia.org/wiki/Malthusianism)

การที่เกษตรและปศุสัตว์แบบอุตสาหกรรมเข้มข้น เข้าไปจัดการและควบคุมเวลาและจังหวะตามธรรมชาติของพืช/สัตว์ เสียใหม่ เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามต้องการนั้น วางอยู่บนฐานคิดที่ว่า 'ยิ่งเร่งให้ได้ผลผลิตเร็วมากแค่ไหน ยิ่งมีประสิทธิภาพ ยิ่งสร้างผลกำไรที่คิดคำนวณและคาดการณ์ได้ดีมากเท่านั้น' อย่างไรก็ดี การเข้าไปจัดการเร่งเวลาตามธรรมชาติของพืช/ สัตว์เช่นนี้ แม้จะมีผลดีในระยะสั้นตรงที่ได้ผลผลิตในปริมาณและเวลาตามที่กำหนด แต่ในระยะยาวแล้ว กลับก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภคอย่างมาก คำอธิบายที่ให้ภาพได้ดีต่อฐานคิดดังกล่าวเป็นกรณีการขุนวัวนมและการขุนสุกรเพื่อรอชำแหละ

ตามปกติแล้ว ทั้งพืชและสัตว์ต่างก็เจริญเติบโตไปตามท่วงทำนอง/ จังหวะแห่งธรรมชาติและจักรวาล (16) แต่อุดมคติในการผลิตของเกษตรแบบอุตสาหกรรมเข้มข้นและวิธีคิดแบบบริโภคนิยม ทำให้การตั้งหน้าตั้งตารอผลผลิตตามฤดูกาลเป็นสิ่งที่อดทนรอไม่ได้ การเอาชนะผลผลิตที่ 'ออก/ ให้ผล' ตามเวลาธรรมชาตินั้น จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ "ฝืนกฎธรรมชาติ" ดังกล่าว เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเหตุนี้ วัวนมในฟาร์มที่มีระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมจึงเหนื่อยอ่อนตั้งแต่มีอายุได้เพียง 5 ปี อันเนื่องมาจากการถูกจัดโปรแกรมตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ให้มีความถี่สูงในการตั้งท้องและให้นม

(16) หมายความว่า พืชและสัตว์แต่ละชนิดเป็นผลของวิวัฒนาการมายาวนาน จนสามารถปรับตัวสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่กำหนดขึ้นโดยเขตเส้นรุ้ง (เช่น ช่วงเวลากลางวัน-กลางคืน อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน) ของแต่ละพื้นที่ เมื่อปรับจน 'อยู่ตัว' แล้ว พืช/ สัตว์ก็จะบันทึกข้อมูลนี้ลงในยีนของตน การนำพืช/ สัตว์ออกจากสภาพแวดล้อมเดิม ไปปลูก/ เลี้ยงในพื้นที่ใหม่ ซึ่งแตกต่างกันทั้งท่วงทำนองแห่งเวลาและพื้นที่ จะส่งผลให้พืช/ สัตว์ประสบกับ "ชะตากรรมอันเลวร้าย" (โปรดดู จาเร็ด ไดมอนด์, ปืน เชื้อโรค และเหล็กกล้า กับชะตากรรมของสังคมมนุษย์, (กรุงเทพ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2547), หน้า 235) อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเห็นว่า ด้วยวิทยาการอันทันสมัย พืช/ สัตว์ อาจสามารถมีชีวิตรอดได้ แต่ ผู้ที่จะประสบกับ "ชะตากรรมอันเลวร้าย" น่าจะเป็นมนุษย์ผู้บริโภคอาหารจาก พืช/ สัตว์ข้ามเขตเส้นรุ้งมากกว่า เนื่องจากแม้รูปลักษณ์ภายนอกของพืช/ สัตว์ที่นำมาจากต่างเขตเส้นรุ้ง จะดู "ไม่ผิดปกติ" แต่อย่างใด ทว่า เนื้อในของพืช/ สัตว์นั้นๆ อาจจะกลายพันธุ์ไปเป็นพืช/ สัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่มีข้อมูลลักษณะทางพันธุกรรมแปรปรวน หรือพิกลพิการก็เป็นได้

ส่วนการขุนสุกรให้ได้น้ำหนักถึงเกณฑ์ชำแหละเร็วๆ นั้น นับวันวิทยาการสมัยใหม่จะยิ่งร่นอายุหมูพร้อมชำแหละลงเรื่อยๆ กล่าวคือ ในปี ค.ศ.1800 คนเลี้ยงต้องรอให้หมูมีอายุ 2-5 ปีถึงจะได้น้ำหนัก 60 กิโลกรัมที่พร้อมชำแหละ มาถึงต้นศตวรรษนี้ รอเพียง 11 เดือนเท่านั้น หมูก็จะมีน้ำหนักถึง 100 กิโลกรัม ขณะที่ในขณะนี้ หมูอายุเพียงแค่ 5-6 เดือนก็ 'ได้น้ำหนัก' พร้อมที่จะถูกชำแหละก่อนที่ฟันน้ำนมจะร่วงหมดปากด้วยซ้ำไป น้ำนมและเนื้อจากสัตว์ที่ออกมาจากฟาร์มซึ่งใช้ทั้งฮอร์โมนเร่งและอาหารชนิดพิเศษจนโตเร็วในอัตราที่ผิดปกติ จึงไม่อาจรับประกันได้เลยว่าจะมีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค (17)

(17) Barbara Adam, Timescapes of Modernity: The Environment and Invisible Hazards,
(London & New York: Routledge, 1998), p.142-3.

การใช้สารเคมีและธรรมชาติอย่างหนักมือในระบบการผลิตอุตสาหกรรมเกษตรอย่างเข้มข้น ได้สร้างความสูญเสียต่อระบบนิเวศ รวมไปถึงพลังงานโลกในระยะยาว ที่แย่ไปกว่านั้นคือ นอกจากจะไม่ช่วยให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนมากขึ้นจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว สารเคมีทั้งหลายที่ (อ้างว่า) จะมาช่วยเพิ่มจำนวนอาหารให้แก่โลก ยังค่อยๆ คร่าชีวิตเกษตรกรผู้ไร้พลัง (แต่จำเป็นต้องใช้สารเคมีเหล่านั้น) ลงไปอย่างไม่มีใครใยดีนัก ที่ยังเหลือรอดชีวิตอยู่ก็ยากจนลงและอดอยากมากขึ้นเรื่อยๆ (18) ทั้งนี้เพราะพวกเขาเป็นแค่กลไกเล็กๆ ไม่สลักสำคัญอะไรนักในห่วงโซ่ของวงจรอุตสาหกรรมการผลิตอาหารทั้งหมด การเจ็บป่วยหรือการล้มหายตายจากของคนกลุ่มนี้จึงไม่เป็นที่สนใจจริงจังนัก

(18) สิ่งนี้ถูกตีแผ่ในภายหลังว่าเป็นเรื่องโกหกพกลม ที่โฆษณาชวนเชื่อต่อคนทั่วโลกว่า การปฏิวัติเขียวจะสามารถแก้ปัญหาความอดอยากได้ จริงอยู่ การปฏิวัติเขียวได้ช่วยส่งเสริมให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ผลในทางผกผันที่เกิดขึ้นก็คือ ผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับกลับลดน้อยลง ข้ออ้างในการแก้ไขปัญหาความอดอยากด้วยวิธีการดังกล่าว จึงถูกวิจารณ์ว่า เป็นการหลอกให้เกษตรกรได้เพิ่มปริมาณการผลิตอาหารมากๆ ทว่า "ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง แต่เป็นการทำให้ได้ผลผลิตราคาต่ำเพื่อขายในราคาสูงนั่นเอง" (โปรดดู "๑๒ เรื่องโกหกเกี่ยวกับความหิวโหยในโลก," ปาจารยสาร, ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2546-กุมภาพันธ์ 2547) หน้า 56-7.)

ยิ่งกว่านั้น ความวิตกใน 'ยุค หลัง ความกลัวเรื่องการขาดแคลนอาหาร' กลับมาอีกครั้งและเป็นที่สนใจในวงกว้าง เมื่อโรคภัยใหม่ๆ ที่คุกคามชีวิตผู้คนถูกวิเคราะห์ว่า มีสาเหตุมาจากอาหารการกิน (diet-related conditions of ill-health) โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ผลิตออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม ดังเช่นที่มีการพบว่า อาการอัลไซเมอร์เกิดจากการบริโภคน้ำตาลทรายขาวมากเกินไป (19); โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโภชนาการ; โรคอ้วนและโรคเก๊าท์ที่เดิมเป็น 'โรคคนรวย' แต่ภายหลังกลับพบในกลุ่มคนหาเช้ากินค่ำในประเทศยากจนแถบเอเชียกันมากขึ้น (20) เป็นต้น

(19) เมื่อโมเลกุลของน้ำตาลทำปฏิกิริยากับโปรตีน จะเป็นกระบวนการที่เรียกว่า glycosylation ซึ่งเปลี่ยนโปรตีนให้เป็นคอเลสเตอรอลที่ผนังเส้นเลือด กระบวนการนี้เองที่เป็นต้นเหตุให้คนเป็นโรคอัลไซเมอร์ (ดู สุทัศน์ ยกส้าน, "ความชรา," โภชนา-โรคา น่าฉงน, (กรุงเทพ: สารคดี, 2547), หน้า 201-2.); ส่วนฝ่ายแม็คโครไบโอติคส์ อธิบายว่า กลูโคสส่วนเกินในโลหิตจะเปลี่ยนเป็นไขมันซึ่งจะไปติดค้างอยู่ในเส้นโลหิตฝอยเล็กๆ ในสมองได้ด้วย ส่งผลให้เกิดความชรา/ ความเสื่อมทางสมองในระดับต่างๆ กัน (เฮอร์แมน ไอฮารา, หลักแม็คโครไบโอติคส์, (กรุงเทพ: สาระ, ม.ป.ป.), หน้า 107-8)

(20) เช่นในอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่ประชากรอดอยากกว่าครึ่งของโลกกระจุกตัวอยู่ที่นั่น มีผู้หญิงที่อายุระหว่าง 20-69 ปีจำนวนถึงร้อยละ 55 ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (overweight) ส่วนในจีนนั้น สัดส่วนของผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินเพิ่มเป็น 3 เท่าตัวในปี ค.ศ.1997 จากปี 1989 นอกจากนี้ ตัวเลขประชากรที่อ้วนอุ้ยอ้าย (obesity) ยังเพิ่มเท่าตัวเป็น 60 ล้านคนภายในระยะเวลา 10 ปี (ระหว่าง ค.ศ.1992-2002) นักวิชาการจากมหาวิทยาลัย นอร์ธ คาโรไลนา ถึงกับกล่าวว่า "แทนที่จะมีร่างกายพอดีและน้ำหนักปกติสักระยะหนึ่งซึ่งอาจจะกินเวลาประมาณ 10 ปี 20 ปี หรือ 30 ปี แต่ (ประเทศในเอเชียที่เคยประสบปัญหาอดอยาก) กลับกระโดดจากภาวะ ทุพโภชนาการ ไปสู่ภาวะ โภชนาการเกิน ภายในเวลาไม่กี่ปีเอง" นอกจากนี้ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Obesity พบว่า ยิ่งตัวเลขรายได้ต่อหัวในประเทศกำลังพัฒนามีเพิ่มขึ้นมากเท่าไร กลับกลายเป็นว่า 'ภาระแห่งความอ้วนอุ้ยอ้าย' (the burden of obesity) จะเปลี่ยนมือจากการที่ควรจะตกเป็นภาระของกลุ่มคนที่มีฐานะค่อนข้างดี ไปอยู่ที่กลุ่มคนชั้นล่างแทน ("Asia and Obesity: How We Grow So Big," Time, Vol.164, No.19 (November 8, 2004) p.40, and p.43.)

นอกเหนือไปจากนี้ ขณะที่ประชากรในประเทศยากจน จำนวนหนึ่ง มีอาหารราคาไม่แพงบริโภคกันล้นเหลือ และได้รับของแถมเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยต้นเหตุแห่งโรคภัย อันนำไปสู่ค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการรักษาเยียวยาโรคของตนในอนาคต ที่ตลกร้ายคือ ตัวเลขแสดงผลกำไรของบรรษัทและธุรกิจจำนวนหนึ่งกลับเพิ่มขึ้นทุกปีๆ บรรษัทและธุรกิจที่เป็นแนวร่วมกันในการฟันกำไรจากปัญหาอันเนื่องมาจากไขมันและโภชนาการเกิน - หรือที่เรียกว่า Fat profits - ได้แก่ บรรษัทยักษ์ใหญ่ด้านอาหาร, บรรษัทยา, อุตสาหกรรมดูแลรักษารูปร่าง (slimming industry)

ข้างฝ่ายนักเกษตรกรรมเคมีชาวเยอรมันอย่าง จูเลียส เฮนเซล ได้วาดภาพอนาคต ที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติเขียวและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมเกษตรไว้ว่า "เกษตรกรรมได้ก้าวเข้าสู่สัญลักษณ์ของมะเร็ง" อันหมายความว่า ผลร้ายของการกินพืชผักที่ปลูกโดยใช้สารเคมี หรือกินเนื้อสัตว์ที่เร่งการเติบโตได้ส่งผลในแง่ที่ทำลายเลือดและน้ำเหลืองของมนุษย์ นี่เองเป็นต้นเหตุแห่งโรคความเสื่อมทั้งหลาย อันรวมไปถึงโรคมะเร็งด้วย (21)

(21) มิชิโอะ คูชิ, อาหารต้านมะเร็ง ศาสตร์และศิลป์แห่งการรักษาโรคสมัยใหม่, (กรุงเทพ: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2539 (พิมพ์ครั้งที่ 5)), หน้า 88-9.

แม้ว่าความเสี่ยงจากสภาวะอาหารขาดแคลน (ดูเหมือนว่า) จะหมดไปแล้ว แต่อาการแห่งความเสื่อมทางกายอันเนื่องมาจากระบบการผลิตอาหารสมัยใหม่นั้น นับวันยิ่งมีแต่จะชัดเจนขึ้นทุกวันๆ ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งจึงหันมาระมัดระวังการบริโภคอาหารมากขึ้น ขณะที่บรรษัทด้านอาหารต่างๆ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกตั้งคำถามในเรื่องคุณค่าของผลิตภัณฑ์อาหารของบรรษัท ถ้าเช่นนั้น PPBI อย่างอุตสาหกรรมอาหาร มีวิธีในการจัดการกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร ? หนึ่งในวิธีการจัดการกับปัญหานี้ได้แก่ การผลิตและส่งผ่านอุดมการณ์ในการทำการตลาด เช่น การทำการตลาดโดยใช้สูตร 'ธรรมชาติ = มีประโยชน์ = ปลอดภัย' ตรงนี้เองที่อุดมการณ์ "ธรรมชาติ" หรือ "ความสด (ตามธรรมชาติ)" ถูกนำมาสวมใส่อย่างเหมาะเจาะ ฉะนั้น การประกันความสดใหม่ อันบ่งบอกนัยว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ "เป็นธรรมชาติแท้จริง" จึงเป็นสิ่งที่พบเห็นเป็นประจำ กระนั้นก็ตาม สิ่งที่บรรษัทอาหารพยายามให้ความมั่นใจแก่ผู้บริโภค ยังคงน่าสงสัยอยู่

'ความสด' = ปลอดภัย ?
นอกเหนือไปจากเนื้อหมูไม่มีมันหรือแตงโมไม่มีเมล็ดแล้ว อาหารตามธรรมชาติแทบทุกอย่างได้ถูกดัดแปลงไปจากเดิมเพื่อให้กลายเป็น 'ทางออกเรื่องมื้ออาหาร' ที่ราคาค่อนข้างถูก การมีรูปลักษณ์ที่ผิดแผกแตกต่างไปจากสิ่งที่มีอยู่เดิมตามธรรมชาติ อาจเสี่ยงต่อคำถามเรื่องความปลอดภัยต่อการบริโภค ฉะนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารก็รอบคอบพอที่จะสร้างจุดขายอื่นที่ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจ หนึ่งในนั้นคือ ลักษณะของ "ความสด" ทว่า ปัญหาอยู่ที่ "ความสด" ในที่นี้เป็น "ความสด" ในความหมายใหม่ เป็น "ความสด" แบบข้ามกาลเวลา เพราะผลจากความก้าวหน้าในการถนอมอาหารด้วยวิธีการแปรรูป แช่แข็ง ควบคุมและกำหนดเวลาสุกได้ (controlled-atmosphere ripening) การใช้สารเคมีเคลือบ การอาบรังสี และการใช้วิธีการพันธุวิศวกรรม เป็นต้น ดังนั้น จึงมิใช่ความสดในความหมายเดิมๆ ที่รู้จักคุ้นเคยกันดีอยู่ ซึ่ง Adam เรียกว่า ค ว า ม ส ด ล ว ง (counterfeit freshness) ที่เป็นอันตราย แต่คนทั่วไปแทบจะไม่ตระหนัก เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบมีดังต่อไปนี้

(ก) จากสมการ 'ความสด = ความปลอดภัย' ตามความหมายดั้งเดิมของความสด ส่งผลให้แต่ไหนแต่ไรมา แค่ประสาทสัมผัสทั้งห้า (senses) ของเราก็เพียงพอที่จะตัดสินได้ว่า อาหารที่อยู่ข้างหน้าเรานั้นสดหรือไม่สด ปลอดภัยที่จะบริโภคหรือไม่ เช่น การสังเกตจากสี กลิ่น ความแข็งหรืออ่อนหยุ่นของอาหาร และรสชาติ หากพบว่าสี กลิ่น เนื้อสัมผัส และรส ผิดเพี้ยนไปจากเดิม นอกจากจะหมายความว่าอาหารไม่สดแล้ว ยังหมายถึงไม่ปลอดภัยด้วย. ทว่า ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีการถนอมอาหาร ทำให้การประเมินระดับความสดและใหม่ของอาหาร ไม่อาจจะพึ่งพาประสาทสัมผัสได้อีกต่อไป ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีถนอมอาหารที่หยุดเวลา - ยืดเวลาของอาหารตามธรรมชาติ และนำอาหารเหล่านั้นข้ามทวีปข้ามเส้นเวลาได้ ก้าวหน้ามากถึงขั้นสามารถหลอกประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่วิวัฒนาการของมนุษย์สร้างสรรค์มาอย่างชาญฉลาดได้อย่างเนียนสนิท ผักผลไม้ที่เดินทางมาจากแหล่งผลิตไกลๆ บางครั้งจึงมีรูปลักษณ์ภายนอกที่ออกจะ "สด" กว่าปกติธรรมดา จนดูราวกับว่าเพิ่งจะเก็บมาจากสวน ทั้งยังดูประหนึ่งว่าบริสุทธิ์ สะอาด ปลอดจากการปนเปื้อน ('pure and untainted' condition) ใดๆทั้งสิ้น (22)

(22) Barbara Adam, Op.cit., p.128 and p.152.

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีปัญหา 2 ข้อคือ ข้อแรก ในปัจจุบัน "ความสด" มิได้มีความหมายเดียวกับความปลอดภัยอีกต่อไป ข้อสอง เรื่อง "ความสดที่แท้จริง" ของอาหารกลายเป็นความลับที่ผู้บริโภคไม่มีทางรู้ได้เลย (อายุจริงๆ ของอาหารนั้นคือเท่าใดกันแน่ เก็บเกี่ยวมานานแค่ไหนแล้ว และถูกเก็บรักษากี่วันก่อนจะถูกขนส่งมายังตลาด) ต้องพึ่งพาเฉพาะเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ (ของบริษัทเอกชนหรือของรัฐ) เท่านั้นจึงจะสามารถไขความลับนี้ได้ ดังนั้น แทนที่จะเป็นจริงตามคำกล่าวอ้างของบริษัทด้านอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรที่ว่า 'เทคโนโลยีของตนได้สร้างคุณูปการมหาศาลแก่โลก โดยการทำให้มีอาหารจำนวนมากพอ (และราคาถูก) ที่จะเลี้ยงประชากรโลก' การณ์กลับกลายเป็นว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ส่งผลให้

- ผู้บริโภคสูญเสียอำนาจในการพึ่งอายาตนะทั้งห้าของตนเองในการประเมินความสด อีกทั้งโอกาสที่จะประเมินความปลอดภัยในอาหารได้อย่างถูกต้องแม่นยำเช่นเมื่อก่อน ก็น้อยลงทุกทีๆ

- เป็นตัวสร้างความลวงเรื่องความสดใหม่และปลอดภัย ซึ่ง "ความสดลวง" นี้เองที่ค่อยๆ นำพาชีวิตผู้บริโภคไปสู่อันตรายและความตายผ่อนส่ง

(ข) เพราะระยะห่างระหว่างแหล่งผลิตอาหารกับแหล่งขายสินค้า ส่งผลให้ คุณค่าอาหาร ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และโอกาสในการเกิด การปนเปื้อน ใน "อาหารสด" ยิ่งมีสูงมากขึ้นเป็นเงาตามตัวมากเท่านั้น ขณะเดียวกัน ยิ่งกระบวนการผลิตหรือกระบวนการขนส่งยาวยืดและซับซ้อนมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้โอกาสในการตามหาตัวการหรือจุดเริ่มแห่งปัญหาการปนเปื้อน ยากมากขึ้นเท่านั้น

(ค) แม้อุตสาหกรรมอาหารจะยืนยันว่า กระบวนการถนอมอาหารของตน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เคมีเพื่อยืดอายุอาหาร (chemically extended shelf-life) หรือการอาบรังสี (irradiation) จะไม่มีอันตรายต่อร่างกาย ถึงกระนั้น ก็ไม่มีการศึกษาใดๆ ออกมารับรองว่า อาหารที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้จะปลอดภัยต่อมนุษย์ในระยะยาวเช่นกัน Adam กล่าวว่า อุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารมักพยายามทำให้คนเชื่อในสมมติฐาน 'safe until proven harmful' ซึ่งหมายความว่า หากไม่พบว่าเป็นอันตราย ก็แสดงว่าอาหารนั้นๆ ปลอดภัยแน่นอน มากไปกว่านั้น ผู้บริโภคจะได้รับการป้อนข้อมูลเป็นชุดๆ ตลอดเวลาในทิศทางว่า

- สารเคมีต่างๆ ที่บริษัทใช้นั้น ได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วว่าไม่อันตราย

- โจมตีว่าบรรดาอาหารตามธรรมชาติทั้งหลายเอง ก็มีอันตรายมากเช่นกันหากบริโภคในปริมาณมาก (dose) หรือถี่เกินไป (frequency) ตรงกันข้าม เทคโนโลยีทางอาหารต่างหากที่ได้ช่วยทำให้อาหารเหล่านั้นปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากขึ้น เช่นคำโฆษณาที่ว่าการอาบรังสีช่วยทำลายปาราสิตและแมลงต่างๆ ที่แฝงตัวอยู่ในพืชผักผลไม้ ทั้งยังฆ่าแบคทีเรียที่ไปเร่งกระบวนการเน่าเสียของอาหาร (23) หรือคำกล่าวอ้างว่า การดัดแปลงพันธุกรรมหรือ GMO มีส่วนช่วยให้พืชบางชนิดลดการสร้างสารพิษ ทำให้แป้งในธัญพืชย่อยยาก กลายเป็นแป้งที่ย่อยสลายง่ายต่อการดูดซึม (24) หรือช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เช่น การที่บริษัท AstraZeneca ดัดแปลงพันธุกรรมข้าว โดยการเพิ่มเบตาแคโรทีนลงไป ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินเอ และป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น (25)

(23) Ibid.,pp.153-5.
(24) วินัย ดะห์ลัน, "สองมุมมองเรื่องอาหารดัดแปลงพันธุกรรม," โภชนาการทันสมัยฉบับผู้บริโภค, (กรุงเทพ: วิทยพัฒน์, 2543), หน้า 242-3.
(25) นาโอมิ ไคลน์, รั้วแห่งการกักกัน หน้าต่างแห่งโอกาส ยุทธศาสตร์ใหม่ของประชาชนในสมรภูมิโลกาภิวัตน์, (กรุงเทพ: โกมลคีมทอง, 2546), หน้า 98.

การใช้อุดมการณ์อื่นๆ
ประเด็นที่น่าวิเคราะห์ต่อก็คือ ทั้งๆ ที่รู้ว่าอาหารปรุงแต่ง อาหารแปรรูป และอาหารสะดวกซื้อสะดวกกินเหล่านั้น นอกจากจะมีคุณค่าทางอาหารน้อยแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ด้วย แต่เหตุใดทางออกต่อปัญหาสุขภาพที่เป็นผลจากภาวะโภชนาการของผู้บริโภคส่วนใหญ่ จึงไม่ใช่การลดการบริโภคอาหารเหล่านี้ การมองว่าที่ว่าผู้บริโภคไม่รู้เท่าทัน ไม่มีเวลา หรือซื้อเพราะราคาถูก ไม่น่าจะเป็นที่สุดแห่งคำตอบ ผู้วิจัยมองว่า อุตสาหกรรมอาหารมีอิทธิพลและสายป่านยาวมากทั้งในทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและทางการสร้างอุดมการณ์ทางสังคม กล่าวคือ นอกเหนือไปจากผลประโยชน์ทับซ้อนและการวิ่งเต้นทางการเมืองแล้ว อุตสาหกรรมอาหารเองยังก็ไม่นิ่งนอนใจที่จะชักจูงผู้บริโภคให้ยินยอมและยินดีไปกับการบริโภคระบบอาหารเหล่านี้ กลไกที่ใช้ในการชักจูงได้แก่ กลไกทางอุดมการณ์ที่แทรกตัวอย่างกลมกลืนไปกับอาหาร คุณค่าเชิงสัญลักษณ์ถูกสร้างขึ้นและเบียดแทรกตัวไปพร้อมๆ กับการโฆษณาแนะนำผลิตภัณฑ์อาหาร

บรรษัทขายอาหารด่วนอย่างแมคโดนัลด์ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในการใช้กลยุทธ์ข้างต้น ดังเช่น การจัดเมนู 'Happy Meal' สำหรับเด็กๆ โดยเฉพาะ ด้วยหวังผลในการหว่านเพาะอารมณ์โหยหาอดีตให้แก่ลูกค้ากลุ่มนี้ (ซึ่งจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีกำลังซื้อสูงขึ้นในอนาคต) ได้หวนรำลึกถึงรสชาติและความสุขจากการกินเมนูนี้ในวัยเด็ก จนกลับมาเยี่ยมร้านเสมอๆ หรือแม้กระทั่งการใช้กลยุทธ์ 'A for Cheeseburger' ของแมคโดนัลด์ในรัฐอิลลินอยส์ ที่จะแจกชีสเบอร์เกอร์ฟรีๆ ให้เด็กนักเรียนที่สอบได้เกรดระดับ A (26)

(26) ประชาชาติแห่งไขมัน," ปาจารยสาร, ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (พฤศจิกายน 2546 - กุมภาพันธ์ 2547), หน้า 51. และ George Ritzer, The McDonaldization of Society, (Thousand Oaks: Pine Forge Press, 2000), p.9.

ส่วนบริษัทด้านอาหารในไทยเลือกที่จะใช้อุดมการณ์อื่นๆ ที่ได้ผลมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ 'ความเป็นผู้หญิงที่ดี' (ทั้งในมิติของการเป็นเมียที่ดี และการเป็นแม่ที่ดี) จุดยืนด้านสิ่งแวดล้อม อุดมการณ์สุขภาพ หรือแม้กระทั่งอุดมการณ์ไทยนิยม. ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า มีคุณค่าทางอาหารโดยเปรียบเทียบแล้วน้อยกว่าอาหารสดที่เพิ่งปรุงเสร็จใหม่ๆ ไม่ได้ ทั้งยังมีส่วนประกอบของเกลือสูงมากเพื่อช่วยในการรักษา/ ยืดอายุของการวางจำหน่าย (shelf-life) ของสินค้า ได้ขยายภาพคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ของ "ความเป็นแม่" เป็นพิเศษเพื่อผลทางการตลาด "บางสิ่งที่ทำให้รู้ว่า แม่ใส่ใจเราเสมอ แทนความใส่ใจ ด้วยผักกาดดอง แม่จินต์ ที่คัดสรรใจผักอย่างดี กรอบ สะอาด". ขณะที่วัตถุปรุงแต่งรสอาหารสำเร็จรูป ซึ่งมักเติมผงชูรสและเกลือจำนวนมาก ก็หยิบยืมอุดมการณ์ความเป็นผู้หญิงที่ควรจะมีเสน่ห์ปลายจวัก มาใช้ด้วย "เสน่ห์แม่บ้าน... อยู่ที่อาหาร รสดี"

ธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มหลายแห่งของไทยเอง แม้จะมีต้นกำเนิดมาจากองค์กรสาธารณกุศลต่างประเทศ หรือได้รับอิทธิพลทางความคิดจากตะวันตก แต่เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดของตน การหยิบฉวยเอาอุดมการณ์ที่แสดงถึงจุดยืนทางการเมือง จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนำมาปรับทำให้มีกลิ่นอายความเป็นไทยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การขยายความคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมไปยังธุรกิจเครื่องดื่มอย่างกาแฟตามแนวคิด Sec C (ย่อมาจาก Socially and/or Environmentally Consciously Cultivated Coffee) อันหมายถึงกาแฟที่ปลูกอย่างมีสำนึกทางสิ่งแวดล้อมและสังคม (27)นั้น เห็นได้จากร้านอาหารและเครื่องดื่มอย่างร้านกาแฟ Lanna caf? ที่ริเริ่มโดยองค์กรสาธารณกุศลจากประเทศญี่ปุ่น และมีสาขาแรกอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมโครงการการค้าขายอย่างยุติธรรม (Fair Trade) ขององค์การติดฉลากการค้าขายยุติธรรมนานาชาติ (Fairtrade Labelling Organisations International - FLO) และได้รับตรา TransFair ในที่สุด

(27) ต้นตำรับความคิดนี้คือ นักกฎหมายหนุ่มชื่อ Rick Young ที่ต้องการให้ร้านกาแฟริมทางในเมืองหันมาใช้เมล็ดพันธุ์กาแฟที่ผ่านการรับรอง 3 ประการ กล่าวคือ organic, shade-grown และ fair-trade เหตุผลของเขาคือ เมล็ดกาแฟที่ร้านทั่วไปใช้นั้น ไม่ได้ถูกเพาะปลูกด้วยวิธีการแบบยั่งยืน เนื่องจากการปลูกกาแฟแต่ละครั้งมักทำกันเป็นไร่ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องถางและโค่นต้นไม้อื่นๆ ลง มีการใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมีอย่างมหาศาล ส่งผลให้เกิดมลพิษในน้ำ และมลพิษเหล่านี้ถูกแพร่กระจายและไปทำลายระบบนิเวศน์ทางตอนเหนือของประเทศ ผ่านทางพาหะที่เป็นฝูงนกซึ่งต้องอพยพมาอยู่ Berkeley ระยะหนึ่งทุกๆ ปี

Young เห็นว่า กาแฟที่ปลูกแบบมีความรับผิดชอบทางการเมือง จะต้องปลูกแบบอินทรีย์ คือ ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงหรือยากำจัดเชื้อรา; ต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของไม้อื่นๆ ซึ่งหมายความว่าไม่จำเป็นต้องถางที่ดินและตัดต้นไม้ใหญ่อื่นๆ เพื่อการทำไร่กาแฟอย่างเดียว เพราะต้นไม้ใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทั้งหลาย; และต้องกำหนดราคาโดยสะท้อนต้นทุนทางสังคมที่แท้จริงในการทำไร่กาแฟ (โปรดดู "Lovin' Cups," The Economist, Vol.364 No.8287 (August 24, 2002), p.26.)

เมล็ดกาแฟของบริษัท Lanna caf? ซึ่งได้รับฉลากดังกล่าว จึงถือเป็นการได้รับการประกันจาก FLO ว่าคนงานไร่กาแฟ - ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขากะเหรี่ยง - จะได้รับค่าจ้างที่ดี มีสุขภาพดี ทำงานด้วยความปลอดภัย ไม่มีการบังคับทำงานหรือใช้แรงงานเด็ก มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ราคาสินค้าครอบคลุมต้นทุนการผลิต จ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้าเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกร และมีสัญญาซื้อขายระยะยาวที่เอื้อต่อการวางแผนการผลิตที่ยั่งยืน (28)

(28) นิรมล มูลจินดา, "Lanna caf? กาแฟล้านนากับการค้ายุติธรรม," สารคดี, ปีที่ 18 ฉบับ 206 (เมษายน 2545) หน้า 42 และ 44.

ในโอกาสที่กระแสชาตินิยมทางเศรษฐกิจมาแรง ในช่วงไม่นานหลังจากที่ประเทศประสบวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่มอย่าง Black Canyon ได้หันมาใช้เครื่องมือทางอุดมการณ์อีกอย่าง นั่นคือ การเล่นประเด็น 'ความถูกต้องทางการเมือง' แบบนิยมไทย เช่น ภายในแบบสอบถามความคิดเห็นลูกค้าที่มาใช้บริการ ได้มีการเพิ่มเนื้อหาที่ประชาสัมพันธ์ว่าตนเองเป็นธุรกิจขนาดย่อม (SME) ของคนไทยซึ่ง "มีส่วนสร้างงานให้คนไทยอีกจำนวนมาก" และ "สนับสนุนให้ใช้ฝีมือแรงงานและทรัพยากรภายในประเทศให้มากที่สุด เพราะเป็นวิธีที่จะช่วยมิให้ธุรกิจต่างชาติเข้ามาครอบงำ และทำลายล้างเศรษฐกิจไทยให้พังพินาศย่อยยับมากไปกว่านี้"

อุดมการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับอาหารนำมาใช้ เพื่อจัดการกับผลเสียทางสุขภาพอันเป็นผลมาจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เครื่องมือทางอุดมการณ์ดังกล่าวถูกใช้เพื่อเสริมกลยุทธ์แรก ที่กระทำต่อสาธารณชนผู้บริโภค ผ่านการอ้างความเป็นธรรมชาติและอ้างอิงชุดความรู้ด้านโภชนาการ


อุตสาหกรรมอาหารเสริม: พรากจากธรรมชาติ
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบันมีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

(1) กลุ่มดูแลรูปร่าง-น้ำหนัก
(2) กลุ่มดูแลความงาม (ผิวพรรณ ผม เล็บ ฯลฯ) และ
(3) กลุ่มดูแลสุขภาพให้ปลอดจากอาการเสื่อมถอยและความไม่ปกติอื่นๆ

ผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มแรกมีลูกค้าหลักคือ ผู้หญิง ส่วนผลิตภัณฑ์กลุ่มหลังสุดจะมีกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่กว่า ครอบคลุมทุกเพศ และเน้นตั้งแต่คนวัยทำงานขึ้นไปจนถึงวัยทอง ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มิได้มุ่งขายเฉพาะประสิทธิผล (ว่าหลังจากใช้แล้วจะเห็นผลภายในระยะเวลาสั้นๆ) อย่างตรงไปตรงมาเท่านั้น ซึ่งเมื่อผู้บริโภคได้ผล/ ไม่ได้ผล เป็นที่พอใจแล้ว ก็จะหยุดใช้ผลิตภัณฑ์นั้นไป แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเหล่านี้ มีเป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้บริโภคใช้สินค้าอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ดังนั้น วิธีในการนำเสนอภาพตัวแทนจึงต้องปรับเปลี่ยนมาใช้เครื่องมือทางอุดมการณ์ (ideological apparatus) แทน ซึ่งกลวิธีดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภคค่อยๆ เชื่อถือในตัวสินค้า จนนำไปสู่ความยินยอมพร้อมใจที่จะภักดีต่อสินค้านั้นๆ อย่างเต็มใจในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงได้เห็นการส่ง 'สาร' (message) เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของตัวผลิตภัณฑ์ในรูปของ "ความรู้"; การอ้างอิงงานวิจัยต่างประเทศ; การอ้างถึงนักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันที่มีชื่อเสียง; หรือแม้กระทั่งการผลิตซ้ำอุดมการณ์ "สุขภาพดีต้องสั่งสม"

ผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขภาพ
ซึ่งมีตั้งแต่สารอาหารเสริมที่สกัดจากวิตามิน เกลือแร่ หรือสารอาหารสำคัญอื่นๆ (เช่น กรดไขมัน) โดยตรง จนไปถึงสารสกัดจากสมุนไพร พฤกษาพันธุ์พืช (botanicals) สารสกัดจากอาหาร และเอนไซม์ - จะเน้นการนำเสนอในรูปของ "ความรู้เต็มรูป" อย่างชัดเจน โดยหลักๆ ได้แก่ การพูดเรื่องความเสื่อมของร่างกาย; โทษที่จะเกิดหากร่างกายขาดสารสำคัญที่มีอยู่ในอาหารเสริมกลุ่มนี้; ประโยชน์ที่จะได้รับจากสารอาหารนี้ว่า ไม่เพียงแต่จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความเป็นหนุ่มเป็นสาว และคง (หรือคืน) ความงามให้รูปร่างและผิวพรรณได้ด้วย ข้อมูลในเอกสารโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับสตรียี่ห้อหนึ่งเขียนไว้ว่า

"ถาม: ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากถั่วเหลือง สารสกัดจากเปลือกสน สารสกัดจากมะเขือเทศ รวมอยู่กับกลุ่มบำรุงกระดูกมีผลดีอย่างไร

ตอบ: คงไม่มีผู้หญิงคนไหนที่ต้องการเพียงให้ร่างกายมีกระดูกที่แข็งแรง แต่สรีระของความเป็นหญิงบกพร่องไป ฉะนั้น การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของสารอาหารเหล่านั้นรวมอยู่ด้วย จะช่วยคงความสาว คู่ความสวย และกระดูกแข็งแรงให้กับคุณตลอดไป"

ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า สิ่งที่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกลุ่มหลังสุดนี้แอบซ่อนไว้หลังม่าน 'คุณประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ' นั่นคือ นัยเรื่องเสน่ห์ดึงดูดทางเพศ ซึ่งถึงแม้จะไม่มีการใช้คำดังกล่าวโดยตรง แต่ก็แฝงไว้ในคำอธิบายที่ดู แสนจะวัตถุวิสัย เมื่อกล่าวถึงกลไกทางชีวภาพที่สารสำคัญในผลิตภัณฑ์จะส่งผลดีต่อร่างกาย และด้วยเหตุที่เส้นแบ่งระหว่างความงามทางกาย เสน่ห์ทางเพศ ความเป็นหญิง-เป็นชาย และ "สุขภาพ" ถูกทำให้เลือนลางลงไปในผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ 3 ทั้งยังเป็นกลุ่มที่มีวิธีการนำเสนอภาพตัวแทนในรูปของ "ชุดความรู้" อย่างแนบเนียน

เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมีอยู่หลากหลาย ตัวที่รู้จักกันดีว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ วิตามินและเกลือแร่พื้นฐานที่จำเป็นต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม มีอาหารเสริมอีกหลายตัว เช่น พืชสมุนไพรพื้นถิ่น พฤกษาพันธุ์ไม้ สารสกัดจากอาหาร หรือแม้กระทั่งฮอร์โมนบางตัวที่ยังถือว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับคนไทย ฉะนั้น การจัดทำเอกสารขนาดเล็กๆ ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แต่ละตัววางไว้ควบคู่กับชั้นวางสินค้า จึงเป็นแผนการส่งเสริมการขาย ที่จะช่วยโน้มน้าวและเปลี่ยนผู้บริโภครายใหม่ให้กลายเป็นลูกค้าผู้ภักดีต่อไปในระยะยาว

จากการศึกษาการนำเสนอภาพตัวแทนในเอกสารข้อมูลต่างๆ ที่พรรณนาถึงสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ พบว่า ข้อความต่างๆ ที่ PPBI อย่างอุตสาหกรรมอาหารเสริมหยิบยกมา ไม่ว่าจะเป็นความจำเป็นที่ควรใช้อาหารเสริม (need) ประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ (efficacy) และความปลอดภัย (safety) จะใช้วิธีการที่วางอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ (belief-based approach) มากกว่าที่จะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่วางอยู่บนฐานทางวิทยาศาสตร์ (science-based approach) ตัวอย่างฐานความเชื่อของคนทั่วไปเกี่ยวกับอาหารเสริม ได้แก่ ความเชื่อที่ว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเป็นดัง 'การประกันสารอาหารสำคัญ' (nutritional insurance); ช่วยแก้ไขหรือฟื้นฟูร่างกายจากภาวะพร่องคุณค่าสารอาหารสำคัญจากมลพิษ ความเครียด อาหารด้อยคุณภาพ และพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น

บันได 4 ขั้น: "ความจำเป็น" เพื่อป้องกัน "ความเสี่ยง"
นอกเหนือไปจากการอาศัยฐานความเชื่อของผู้คน เพื่อให้บริษัทยาที่ผลิตตัวอาหารเสริมเหล่านี้สามารถข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ผลจากห้องแลบ โดยที่ผู้บริโภคไม่ทันเอะใจแล้ว ภายในแผนการตลาดนั้นเอง ผู้ประกอบการยังได้นำเสนอขั้นตอนต่างๆ เป็นบันได 4 ขั้นเพื่อมาเสริมสร้างความเชื่อพื้นฐานเดิมของผู้บริโภคดังต่อไปนี้

บันไดขั้นที่ 1 ธุรกิจอาหารเสริมมักจะเริ่มต้นด้วยการใช้เหตุผลที่อ้างอิงกับประเด็น "สุขภาพ" (health claim) เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึง ความจำเป็น ที่จะต้องใช้อาหารเสริม อย่างต่อเนื่องและยาวนาน ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะ หักล้างความเชื่อ (และความรู้) ชุด disease claim ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ซึ่งมักมองว่าปัญหาสุขภาพของคนเรานั้นเกิดขึ้นเพราะเชื้อโรค

"การเสียชีวิตหรือการเจ็บป่วยของคนเราในปัจจุบันนี้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่มีสาเหตุจากโรคที่เกิดจากเชื้อโรค… แต่การเสียชีวิตหรือการเจ็บป่วยของคนเราส่วนใหญ่ มีสาเหตุจากโรคที่เกิดจาก สารพิษ ที่ร่างกายของคนเราได้รับ และสะสมไว้เป็นเวลานานนับสิบปี เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ ถ้าหากเลือดลมในร่างกายหมุนเวียนไม่สะดวก จะทำให้เกิดโรคต่างๆ…เราช่วยคุณได้ด้วยการลดการสะสมของสารที่เป็นพิษในร่างกาย ทำให้เลือดสะอาดขึ้น…ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ" (29)

(29) ตัวบทในเอกสารของบริษัท อายุรเวท(ประเทศไทย) จำกัด ที่แนะนำคุณสมบัติของคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)

ขณะเดียวกัน เมื่อสามารถหักล้างคำอธิบายที่มาของปัญหาสุขภาพว่าเกิดจากเชื้อโรคได้แล้ว ก็จะเริ่มให้ข้อมูล "ทางวิชาการ" ใน 2 ลักษณะ กล่าวคือ

(ก) สุขภาพดีเป็นเรื่องที่ต้องลงทุนและค่อยๆ สั่งสมตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งร่างกายที่ไม่เสื่อมโทรม แข็งแรงและดูอ่อนเยาว์ในอนาคต และ

(ข) หากร่างกายขาดสารอาหารชนิดนั้นๆ ที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในตัวผลิตภัณฑ์แล้ว จะก่อให้เกิด ผลเสียในระยะยาว อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการที่บ่งชี้ได้ว่า ร่างกายได้มาถึงจุดที่เสื่อมถอยหรือชำรุดแล้ว ซึ่งไม่อาจจะรอช้าได้อีกต่อไป. "การขาดวิตามินหรือแร่ธาตุในระยะสั้น อาจไม่ก่อให้เกิดอาการหรือโรคที่เห็นได้ชัด แต่ในระยะยาว อาจนำไปสู่โรคชนิดต่างๆ ได้ ทั้งที่เกิดจากการขาดวิตามินแร่ธาตุโดยตรง และภาวะของโรคหรืออาการที่ส่งผลต่อการขาดวิตามิน" (30)

(30) ตัวบทเกริ่นนำในแผ่นพับอธิบายคุณสมบัติของสารอาหาร 'แอล-อาร์จีนีน' (L-Arginine) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทจีเอ็นซี
(GNC - General Nutrition Center)

บันไดขั้นที่ 2 หลังจากทำให้ผู้บริโภคเข้าใจแล้วว่า อาการผิดปกติและเจ็บป่วยเกิดจากการไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพ จนกระทั่งระบบภายในร่างกายเกิดชำรุดทรุดโทรมแล้ว ผู้ผลิตก็จะส่ง 'สาร' ชุดต่อไปเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับแนวทางการรักษาสุขภาพ ด้วยวิธีการกินอาหารเสริม ด้วยการเสนอ ชุดความคิดเรื่อง 'ความไม่พอเพียง' อันหมายความว่า แม้ว่าปัจเจกจะดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนมากพอแล้วก็ตาม แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอกับการที่จะทำให้ได้มาซึ่งสุขภาพที่ดีเลิศ

สาเหตุต่างๆ ที่ถูกหยิบยกมากล่าวสนับสนุนชุดความคิดเรื่อง 'ความไม่เพียงพอ' ได้แก่ การที่แทบทุกวันเราจะต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษ; สารอาหารที่จำเป็นบางอย่างร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ (เช่น กรดไขมันจำเป็นบางชนิด) หรือร่างกายไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน แต่ต้องได้รับจากอาหารแบบวันต่อวัน (เช่น วิตามินบี); พืชหลายอย่างมีคุณค่าทางอาหารไม่เพียงพอ เพราะระบบเกษตรสมัยใหม่ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพลง; การกินอาหารบางอย่าง เช่น อาหารแปลงรูป อาหารมังสวิรัติ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร; ภาวะทางร่างกายบางขณะซึ่งมีผลกระทบต่อการสูญเสียระดับแร่ธาตุ-วิตามินที่สำคัญ เช่น ขณะกำลังตั้งครรภ์ หรือมีความเครียดสูง

"ในการดำเนินชีวิตของคนเมืองในปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับความเครียด ความเร่งรีบ ไม่มีเวลาสำหรับการพักผ่อน การออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารที่ด้อยคุณภาพอย่างเช่น ข้าวที่ผ่านการขัดสี น้ำตาลที่ฟอกจนขาว หรือน้ำมันที่นำไปใช้ในการปรุงอาหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้ขาด Vitamin B ที่สำคัญไป ดังนั้น แม้ว่าจะรับประทานอาหารตามปกติแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอในการดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบที่สำคัญอย่าง "สมอง"" (31)

(31) คำโปรยจากเอกสารบรรยายสรรพคุณของ Vitamin B Complex ของบริษัท GNC

บันไดขั้นที่ 3 เมื่อผู้บริโภคเริ่มรู้สึกว่าการใช้อาหารเสริมเป็นสิ่งจำเป็น แต่ยังลังเลและไม่มั่นใจในความปลอดภัย ดังนั้น การทำงานลำดับต่อไปของ PPBI อย่างอุตสาหกรรมอาหารเสริมก็คือ การสร้างความน่าเชื่อถือ ให้กับตัวผลิตภัณฑ์ ด้วยการใช้ตัวอ้างอิงหลายแหล่ง เช่น อ้างว่าได้รับการรับรองจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ดูแล (มิใช่ควบคุม) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโดยตรง (เช่น DSHEA ของสหรัฐอเมริกา [*]); อ้างรายการงานวิจัยต่างๆ ไว้ที่ด้านหลังเอกสารแผ่นพับ; อ้างว่ามีการใช้สารสกัดตัวนี้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว; รวมไปถึงการใช้ 'การเมืองแห่งการตั้งฉายา' ให้กับสารสกัดจากสมุนไพรต่างๆ (32)

[*] Dietary Supplement Health and Education Act (DSHEA)

(32) อุตสาหกรรมเครื่องสำอางประเภทสกินแคร์เองก็ใช้ 'การเมืองแห่งการตั้งฉายา' เช่นกัน โดยเฉพาะหากส่วนประกอบหลักของเนื้อครีม เป็นสิ่งที่มาจาก "ตะวันออก" ตัวอย่างเช่น Oriental Princess ออกผลิตภัณฑ์ชุด The Spirit of Asia ที่มีส่วนผสมจากดอกชบา วิธีการที่ง่ายที่สุดและแสนจะดึงดูดใจลูกค้าที่ไม่รู้จักดอกไม้ชนิดนี้ ก็คือ การตั้งฉายาและสร้างคำบรรยาย (narrative) ให้แก่ดอกไม้ชนิดนี้เสียใหม่ ดังที่ Oriental Princess โฆษณาไว้ว่า "เคล็ดลับความงามจากดินแดนตะวันออก คุณค่าของราชินีแห่งดอกไม้เมืองร้อน ดอกชบา อุดมด้วยสารสำคัญต่างๆ คือ Ascobic Acid และ Vitamins มีคุณสมบัติเป็นสารให้ความชุ่มชื้นชั้นเลิศแก่ผิว"

อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้ได้ข้อค้นพบสำคัญ 3 ประการ จากกระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนี้

ข้อค้นพบประการแรก งานวิจัยนี้พบว่า ทุกครั้งที่มีการอ้างว่ามีการใช้สารสกัดนั้นๆ มาเป็นระยะเวลานานมาแล้ว สิ่งที่มักมาควบคู่กันไปก็คือ ข้อความสนับสนุนการใช้สารสกัดหลายตัวที่ใช้ประโยชน์เอาจากกลุ่มคนที่เคยถูกมองแบบ "ความเป็นอื่น" (the Otherness) เช่น ชนเผ่าอินเดียนแดง ชนพื้นเมืองของเม็กซิโก ชาวจีนโบราณ เป็นต้น น่าสนใจว่า ส่วนใหญ่กลยุทธ์การฉวยใช้ประโยชน์จาก "ความเป็นอื่น" มักเกิดกับสารสกัดกลุ่มที่เป็นสมุนไพรและพฤกษาพันธุ์ ซึ่ง Nestle กล่าวว่า ผลการวิจัยเชิงประจักษ์ในห้องแลบเกือบทั้งหมด ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น(หรืออาจจะยังไม่มีเลย) กระนั้นก็ตาม ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ไม่รอให้ผลวิจัยเสร็จเรียบร้อยก่อน จึงค่อยจำหน่ายสินค้าของตน แต่กลับ"ก้าวข้าม"ขั้นตอนนี้ แล้วกระโดดไปสร้างคำกล่าวอ้างเกินจริงเกี่ยวกับสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เลย (33)

(33) Marion Nestle, Food Politics: How the Food Industry Influences Nutrition and Health,
(Berkeley: Univ. of California Press, 2003), p.219.

ขณะที่คนจำนวนหนึ่งที่มีการศึกษาดี (ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนา) มีแนวโน้มไปในทางที่จะชื่นชมหลายสิ่งหลายอย่างที่มาจาก "ฝั่งตะวันออก" ว่า เป็นผลของการบ่มทางอารยธรรมมานาน และเป็นภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่งดงาม อุตสาหกรรมอาหารเสริมจึงทำการตลาดโดยการป้อนข้อมูล "ทางประวัติศาสตร์" ที่ถูกออกแบบมาให้ตรงใจคนกลุ่มนี้ ซึ่งบังเอิญก็เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเช่นกัน ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือ ความมั่นใจ(จากฝ่ายผู้บริโภค) ในภูมิปัญญาของชาวตะวันออกที่มีมาตั้งแต่อดีตกาล ทำให้ตัวสินค้าที่เชื่อกันว่ามีประโยชน์ แต่ ยังไม่มีการลงทุนทดลองจากห้องแลบจริงจังกลับดูน่าเชื่อถือ ทั้งยังหาซื้อและเสพสะดวก เนื่องจากบัดนี้ "ความเป็นตะวันออก" ได้ถูกจัดแต่ง / แปลงรูป และบรรจุใส่ขวดเพื่อตอบสนองความต้องการบวกจินตนภาพของคนกลุ่มนี้ไปเรียบร้อยแล้ว

"ถูกใช้ประโยชน์และถูกบรรยายสรรพคุณมาตั้งแต่ปี 1751 จากการใช้อย่างกว้างขวางของประชากรในสวีเดน ชนพื้นบ้านยุคต้นๆ ของ อินเดียนแดงและพวกเมารี ในนิวซีแลนด์ ก็ใช้เกสรผึ้งในการปรุงเป็นอาหาร เพื่อใช้ในพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์" (34)
"มีประวัติการใช้มายาวนานใน ชนพื้นเมืองของเม็กซิโก ช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า คลายวิตกกังวล…" (35)

(34) คำโฆษณาจากแผ่นพับของผลิตภัณฑ์เกสรผึ้ง (Bee Pollen)
(35) คำโฆษณาจากแผ่นพับของผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมซึ่งสกัดจากใบดาเมียนา (Damiana leaf)

ข้อค้นพบประการที่สอง คือ ปัญหาจากการอ้างอิงหน่วยงานรัฐที่มีปัญหาในกระบวนการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ของตน ดังที่ปรากฏในเอกสารแนะนำสมุนไพรอิชินาเซีย. "อิชินาเชีย จัดอยู่ในรายการสมุนไพรที่ขายในร้านขายยาทั่วไปของประเทศสหราชอาณาจักร (UK General Sale List) และมีจำหน่ายเสรีโดยจัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎหมาย DSHEA (1994)"

ปัญหาของการอ้างอิง DSHEA หรือ the Dietary Supplement Health and Education Act of 1994 อยู่ที่ว่า นี่ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากความไม่รู้ของผู้บริโภคชาวไทย อันได้แก่ความไม่รู้ในเรื่องที่ว่า แท้จริงแล้ว เบื้องหลังของ DSHEA คือ ผลพวงของชัยชนะแบบขาดลอยจากการล็อบบี้ทางการเมืองของอุตสาหกรรมอาหารเสริมภายในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเป็นเช่นนี้ กฎหมาย DSHEA จึงเอื้อทุกอย่างที่ผู้ประกอบการในภาคส่วนนี้ต้องการ ซึ่งแม้แต่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) (*) เองก็ไม่มีอำนาจใดๆ ในการเข้าควบคุมในนามของ 'เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค' เนื่องจากรัฐสภาของประเทศเสรีนิยมอย่างสหรัฐฯ ให้น้ำหนักกับ 'สิทธิของผู้บริโภค' มากเกินไป ตรงนี้เองที่ไปสอดคล้องกับความปรารถนาของอุตสาหกรรมอาหารเสริมที่ต้องการให้ผู้บริโภคใช้ยาเหล่านี้มากๆ ผลก็คือ การให้น้ำหนักกับ 'สิทธิของผู้บริโภค' ที่ปรากฏในกฎหมาย ทำให้รัฐสภามีคำตักเตือนต่อ FDA ว่ามิให้กระทำการใดๆ ที่เป็น "อุปสรรคทางกฎหมายอันไม่มีเหตุผล" (unreasonable regulatory barriers) อันจะปิดโอกาสไม่ให้ผู้บริโภคมีเสรีภาพในการซื้อหาตัวผลิตภัณฑ์มาบริโภค นอกจากนี้ สภาฯยังทึกทักเอาว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมทั้งหลายต่างก็มีความปลอดภัยแน่นอนอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงสามารถวางจำหน่ายสินค้าของตนในตลาดได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องยื่นหลักฐานการทดลองใดๆ เพื่อแสดงว่า ตัวผลิตภัณฑ์นี้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่ ทั้งยังไม่มีหน่วยงานใดมีอำนาจตรวจสอบว่า ตัวอาหารเสริมมีส่วนประกอบของสารสกัดต่างๆ หรือมีสรรพคุณดีตามที่ระบุในฉลากจริงๆ ที่ตลกร้ายยิ่งกว่านั้นก็คือ สภาฯกลับมอบให้เป็นหน้าที่ของ FDA ในการตรวจสอบและพิสูจน์เอาเองว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมตัวไหนบ้างที่ไม่ปลอดภัย (36)

(*) The U.S. Food and Drug Administration (FDA) is an agency of the United States Department of Health and Human Services and is responsible for the safety regulation of most types of foods, dietary supplements, drugs, vaccines, biological medical products, blood products, medical devices, radiation-emitting devices, veterinary products, and cosmetics. The FDA also enforces section 361 of the Public Health Service Act and the associated regulations, including sanitation requirements on interstate travel as well as specific rules for control of disease on products ranging from pet turtles to semen donations for assisted reproductive medicine techniques.

(36) Marion Nestle, Op.cit., pp.223-5.

ข้อค้นพบประการที่สาม ได้แก่ ข้อมูลที่ปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์กลับมีสถานะเป็น 'เกราะกำบังภัย' ให้กับบริษัทในลักษณ์เดียวกับที่ 'ข้อมูลความมีประโยชน์' ทำหน้าที่ปกป้องบรรษัทด้านอาหาร ทั้งหมดนี้เป็นผลพวงจากการที่รัฐ 'เอาหูไปนา เอาตาไปไร่' กับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีผลทดลองพิสูจน์ว่าปลอดภัยหรือมีประสิทธิผลต่อร่างกายผู้บริโภคอย่างไรบ้าง หลายๆ ครั้ง จึงดูเหมือนว่าข้อความบนฉลากมีไว้เพื่อให้ความคุ้มครอง ผู้ผลิต มากกว่าที่จะคุ้มครอง ผู้บริโภค

ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมตัวหนึ่ง ที่ซื้อหาได้ทั่วไปตามร้านสุขภาพในประเทศไทยเขียนไว้ว่า "ด้วยแหล่งไฟเบอร์ที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการ (เครื่องดื่มตัวนี้)จะช่วยปรับปรุงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคุณ" หากสังเกตดีๆ จะเห็นว่า "ข้อความโฆษณาสรรพคุณ" ดังกล่าวมีเครื่องหมายดอกจันเล็กๆอยู่เหมือนเชิงอรรถอ้างอิง ที่น่าสงสัยก็คือ เหตุใดข้อความที่จะอธิบายเครื่องหมายนี้เพิ่มเติม กลับไปปรากฏ ณ อีกด้านของบรรจุภัณฑ์ (แทนที่จะอยู่ในบริเวณใกล้เคียงแบบเชิงอรรถทั่วๆ ไป) ซึ่งเนื้อหาที่เขียน "อธิบาย" มีดังนี้… "ข้อความดังกล่าวยังไม่ได้รับการพิสูจน์และรับรองโดยองค์การอาหารและยา ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มิได้มีไว้เพื่อการวินิจฉัยโรค เยียวยา รักษา หรือป้องกันโรคใดๆ" (37)

(37) ข้อความนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "This statement has not been evaluated by the Food and Drug Administration. This product is not intended to diagnose, treat, cure, or prevent any disease."

นอกจากอาหารเสริมยี่ห้อดังกล่าวแล้ว ยังพบอีกว่า ยาบำรุงอีกหลายตัวที่วางขายในไทยไม่ว่าจะมาจากสหรัฐอเมริกา หรือจากประเทศจีน ก็มีข้อความแบบเดียวกัน การที่ "ข้อความที่เป็นเกราะกำบัง" (หรือข้อความอธิบายว่าผลิตภัณฑ์นี้ ไม่ได้ มีผลในทางเยียวยารักษา) ถูกจัดวางให้ไปอยู่คนละด้านกับ "ข้อความโฆษณาสรรพคุณ" เหมือนกับเป็นการจงใจให้ผู้บริโภคที่ไม่รอบคอบเพียงพอ เข้าใจผิดไปเองว่ายาดังกล่าวมีผลในทางรักษาโรคได้จริงๆ และไปหาซื้อมาบริโภคต่อไป

บันไดขั้นที่ 4 ขั้นตอนท้ายสุด คือ การขยายอุปสงค์ในเชิงประเภท/ ชนิด ของการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งหมายถึง การที่บริษัทผู้ผลิตอาหารเสริมส่งผ่านอุดมการณ์ในทำนองว่า ผู้บริโภคที่ปรารถนาจะมีสุขภาพในระดับดีเลิศ ไม่อาจจะจำกัดการใช้สารสกัดเพียงตัวเดียวได้ แต่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับสารสกัดตัวอื่นๆ อีกมากมายเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ตัวอย่างเช่น วิตามินและเกลือแร่รวมที่มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ที่ 'นักบริหารที่ต้องผจญกับความเครียด' นั้น แม้ว่าตัวผลิตภัณฑ์จะรวมวิตามินที่สำคัญต่อระบบประสาทอย่างวิตามินบี และวิตามินซี และเพิ่มเกลือแร่สำคัญลงไปในส่วนประกอบแล้ว แต่ในเอกสารแนะนำตัวสินค้ายังมีข้อเสนอให้บริโภคผลิตภัณฑ์นี้ร่วมกับอาหารเสริมอื่นๆ ดังข้อความว่า… "ผลิตภัณฑ์ที่ควรรับประทานร่วมกันเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด (Companion Products): 1. สารสกัดจากสมุนไพร St.John's Wort และ 2. สารสกัดจากใบกิงโก เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมอง"

หรือไม่เช่นนั้น ในนามของ "ความห่วงใยต่อผู้บริโภค" อุตสาหกรรมนี้จะใช้การอ้างอิงกับความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันทางการแพทย์ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่การสนับสนุนให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหลายๆ ตัวไปพร้อมๆ กัน ดังเช่นเอกสารแนะนำสินค้า (ซึ่งบางบริษัทเรียกว่า "เอกสารวิชาการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า") ที่เป็นเกสรผึ้ง (bee pollen) เขียนไว้ว่า…"ปกติแพทย์จะไม่นิยมแนะนำให้ทานสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเดี่ยวๆ เป็นเวลานานๆ เนื่องจากอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารชนิดอื่นๆ ได้ ยกเว้นในกรณีที่เกิดบกพร่องสารตัวใดตัวหนึ่งจริงๆ ดังนั้น ในคนปกติที่ต้องการส่งเสริมสุขภาพ การรับประทานสารอาหารหลายๆ ชนิดร่วมกันในปริมาณที่สมดุลตามธรรมชาติ ก็จะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด"

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านบทความเกี่ยวเนื่อง

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 29 July 2008 : Copyleft by MNU.

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการโลกาภิวัตน์ทางสังคมและตลาดนี้เอง ที่สร้างความหมายใหม่ให้กับคำว่า "สุขภาพ" เป็นความหมายของ "สุขภาพ" ที่ซับซ้อน เนื่องจากได้สอดแทรก / สวมใส่ส่วนผสมของ "คุณธรรม" ลงไป นั่นคือ ตัวสินค้าที่ตลาดผลิตขึ้นนั้น มีทั้งส่วนผสมของ 'การตลาดสีเขียว' และส่วนผสมซึ่งเป็น 'ความถูกต้องทางการเมือง' ซ้อนทับกันอยู่ ยิ่งหากได้ศึกษาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในร่างกาย อันมีลักษณะการฉวยใช้ดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง และเป็น ผู้ผลิตอุดมการณ์หลักในเรื่องความงาม ที่มี "สุขภาพ" เป็นร่างเงาควบคู่กันมา เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในร่างกายทั้งหลาย เราจะเห็นได้ถึงการทับซ้อนหรือ(บางกรณีเป็น)การกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกันของตัวสินค้ากับแนวคิดต่างๆ ข้างต้น ...

H