ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




25-07-2551 (1619)

ชุดความรู้เที่ยงคืน: Neoliberalism on Trial. David Harvey
โหมโรง: บทพิสูจน์ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (เศรษฐศาสตร์อันตราย)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

สำหรับบทความทางด้านเศรษฐศาสตร์นี้ แปลจาก:
Chapter 6 "Neoliberalism on Trial"เขียนโดย David Harvey,
A Brief History of Neoliberalism, Oxford University Press: 2007, p. 152-182.
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความล้มเหลวของแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ซึ่งปรากฏตัวไปในพื้นที่หลายทวีป
แนวคิดดังกล่าวเป็นการสะสมทุนด้วยการปล้นชิง ส่งผลให้ชนชั้นนำร่ำรวยขึ้นตามลำดับ ในเวลาเดียวกัน
ก็ส่งผลให้ชนชั้นล่างยากจนลงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นความวิปริต ผิดปกติอย่างรุนแรง
กล่าวคือ ช่างเป็นโลกที่แปลกประหลาดนัก ดังที่สติกลิทซเคยกล่าวเอาไว้ว่า (มันเป็น)
"โลกที่ประเทศยากจน กลับต้องสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มประเทศร่ำรวยที่สุด"

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๑๙
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดความรู้เที่ยงคืน: Neoliberalism on Trial. David Harvey
โหมโรง: บทพิสูจน์ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (เศรษฐศาสตร์อันตราย)
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

สองหัวจักรทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโลกผ่านภาวะถดถอยที่เริ่มขึ้นหลัง ค.ศ. 2001 ก็คือสหรัฐอเมริกากับจีน เรื่องที่น่าขันก็คือ ทั้งสองประเทศต่างประพฤติตัวเป็นรัฐตามลัทธิเคนเชียน (Keynesian) ในโลกที่ถูกยัดเยียดให้ปกครองด้วยกฎเกณฑ์ของเสรีนิยมใหม่ สหรัฐอเมริกาอาศัยการทำงบประมาณขาดดุลมหาศาล เพื่อส่งเสริมลัทธิทหารและลัทธิบริโภคนิยม ส่วนประเทศจีนกู้ยืมเงินจากธนาคารมาเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อสนับสนุนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดยักษ์ และการลงทุนในสินค้าทุนหรือทรัพย์สินถาวร (เช่น การก่อสร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักร ฯลฯ)

นักเสรีนิยมใหม่ขนานแท้คงอ้างว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยคือสัญญาณบ่งบอกว่า มีการใช้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ไม่เพียงพอหรือไม่สมบูรณ์ และคงหยิบยกหลักฐานสนับสนุนความคิดของตน โดยยกตัวอย่างการดำเนินงานของไอเอ็มเอฟ หรือกองทัพนักล้อบบี้ที่ได้รับค่าจ้างงามในวอชิงตัน ซึ่งเป็นตัวการบิดเบือนกระบวนการจัดทำงบประมาณในสหรัฐฯ ให้เฉไฉไปเพื่อเป้าหมายที่เป็นผลประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น ทว่าข้ออ้างของนักเสรีนิยมใหม่กลับไม่มีข้อพิสูจน์ การอ้างแบบนี้เท่ากับพวกเขากำลังเจริญรอยตามนักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ชื่อดังจำนวนมาก ที่ชอบอ้างเหตุผลว่า ทุกอย่างในโลกจะเป็นไปด้วยดี ขอเพียงทุกคนปฏิบัติตัวตามหลักคำสอนในตำราเรียนของพวกเขาก็พอ (1)

(1) Marx, Theories of Surplus Value, pt. 2, (London: Lawrence & Wishart, 1969), 200.

แต่เราสามารถตีความความขัดแย้งในตัวเองเช่นนี้ไปในทางร้ายกาจกว่านั้น ผู้เขียนเชื่อว่า เราควรพับข้ออ้างเหล่านี้ไว้ก่อน กล่าวคือ ข้ออ้างว่าลัทธิเสรีนิยมใหม่เป็นแค่ตัวอย่างของการหลุดออกมาอาละวาดของทฤษฎีที่ผิดพลาด (อาทิเช่น นักเศรษฐศาสตร์อย่างโจเซฟ สติกลิตซ์) หรือเป็นกรณีตัวอย่างของการไล่ตามยูโทเปียที่ผิดพลาดอย่างไม่ลืมหูลืมตา (อาทิเช่น นักปรัชญาการเมืองสายอนุรักษ์นิยมอย่างจอห์น เกรย์ (2) ข้ออ้างที่เหลืออยู่คือ ความตึงเครียดระหว่างการธำรงรักษาระบบทุนนิยมเอาไว้ กับการฟื้นฟู/คืนสภาพของอำนาจชนชั้นนำ

(2) J. Gray, False Dawn: The Illusions of Global Capitalism (London: Granta Press, 1998).

หากเรายืนอยู่ตรงจุดของความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายสองประการนี้ ก็ไม่เหลือข้อสงสัยเลยว่า รัฐบาลบุชในปัจจุบันเอียงเข้าข้างฝ่ายไหน เมื่อดูจากการที่รัฐบาลบุชตั้งหน้าตั้งตาดำเนินนโยบายตัดลดภาษีให้บรรษัทและคนรวย ยิ่งกว่านั้น วิกฤตการณ์ทางการเงินระดับโลกที่มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากนโยบายเศรษฐกิจแบบไม่ยั้งคิดของสหรัฐฯ เอง กลับเปิดช่องให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถโยนภาระในการดูแลความอยู่ดีกินดีของประชาชนทิ้งไป ยกเว้นการเพิ่มอำนาจของกองทัพและตำรวจ ซึ่งจำเป็นต่อการปราบปรามความไม่สงบทางสังคมและบังคับโลกไม่ให้แตกแถว

ในชนชั้นทุนนิยม คนที่มีสติอยู่บ้างก็จะตั้งใจรับฟังคำเตือนจากคนอย่าง Paul Volcker (a) ที่บอกว่า มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่จะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งร้ายแรงในอีกห้าปีข้างหน้า (3) แต่คำเตือนเหล่านี้อาจมีนัยยะที่หมายถึงการลดทอนอภิสิทธิ์ และอำนาจที่ชนชั้นทุนนิยมระดับสูงสั่งสมไว้ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา

(a) Paul Volcker นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน อดีตประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ ในยุคประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์และโรนัลด์ เรแกน ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจของพรรคเดโมแครต

(3) Bond, 'US and Global Economic Volatility'.

ในขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านไปแล้วของระบบทุนนิยม เช่น ใน ค.ศ. 1873 หรือในทศวรรษ 1920 เมื่อมีทางเลือกที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อคล้าย ๆ กันเกิดขึ้น ผลลัพธ์ที่ออกมามักไม่ใช่ลางดี ชนชั้นสูงมักยืนกรานในความศักดิ์สิทธิ์ของสิทธิในทรัพย์สิน พวกเขายอมปล่อยให้ระบบพังพินาศดีกว่ายอมสละอภิสิทธิ์และอำนาจของตน กระนั้นก็ตาม หาใช่ว่าพวกเขาไม่ตระหนักถึงผลประโยชน์ของตนเอง เพราะหากพวกเขาวางตำแหน่งตัวเองให้ถูกที่ พวกเขาก็สามารถกอบโกยกำไรจากการล่มสลาย เฉกเช่นทนายความคดีล้มละลายที่เก่งกาจ ในขณะที่พวกเราคงตายอย่างอนาถภายใต้ซากปรักหักพัง

ชนชั้นสูงบางคนอาจติดกับไปด้วยและจบชีวิตด้วยการกระโดดจากหน้าต่างตึกวอลล์สตรีท แต่ข้อยกเว้นแบบนี้มีไม่มากนัก สิ่งเดียวที่ชนชั้นสูงหวาดหวั่นพรั่นพรึงก็คือ ขบวนการทางการเมืองที่คุกคามด้วยการริบทรัพย์หรือการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ถึงแม้ชนชั้นสูงอาจคาดหวังได้ว่า กลไกกองทัพที่พัฒนาขั้นสูงที่พวกเขามีอยู่ (อันเป็นผลจากอุตสาหกรรมกองทัพครบวงจร) น่าจะช่วยคุ้มครองความมั่งคั่งและอำนาจไว้ได้ แต่การที่กลไกกองทัพไม่สามารถสยบศึกอิรักได้โดยง่าย เรื่องนี้ก็อาจทำให้พวกเขารวนเรไปบ้าง แต่ชนชั้นปกครองแทบไม่เคยหรือไม่เคยยินยอมพร้อมใจสละอำนาจเองเลย ผู้เขียนจึงไม่เห็นเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่า พวกเขาจะยอมสละอำนาจในคราวนี้

เรื่องที่ขัดแย้งในตัวเองก็คือ ขบวนการสังคมนิยมประชาธิปไตยและขบวนการชนชั้นแรงงานที่เข้มแข็ง อยู่ในสถานะที่จะกอบกู้ระบบทุนนิยมได้ดีกว่ากลุ่มอำนาจชนชั้นนายทุนด้วยซ้ำ แม้ว่าในสายตาของฝ่ายซ้ายสุดขั้ว การกล่าวเช่นนี้อาจฟังเหมือนข้อสรุปแบบปฏิกิริยาต่อการปฏิวัติก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าผู้เขียนไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชนชั้นเสียเลย เพราะเมื่อใดที่เกิดวิกฤตการณ์ของระบบทุนนิยม (ลองดูกรณีของอินโดนีเซียหรืออาร์เจนตินา) คนที่ต้องทุกข์ยาก อดอยากหรือกระทั่งสูญสิ้นชีวิตก็คือประชาชนธรรมดาสามัญ หาใช่พวกชนชั้นสูงไม่ หากพวกชนชั้นปกครองชมชอบนโยบายแบบ apres moi le deluge (b) ถ้าเช่นนั้น ความพินาศที่จะเกิดขึ้นย่อมกลืนกินผู้ไร้อำนาจและผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ในขณะที่ชนชั้นนำมักเตรียมเรือชูชีพไว้ก่อนแล้ว ซึ่งจะทำให้พวกเขาเอาตัวรอดไปได้อย่างดี อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

(b) apres moi le deluge วลีนี้ว่ากันว่าเป็นคำพูดของพระเจ้าหลุยส์ที่สิบห้า ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสในรัชกาลก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส วลีนี้แปลได้ทำนองว่า "After me, let the deluge come." หมายถึงว่า อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากเขาตายไปแล้ว เขาก็ไม่แยแสทั้งสิ้น

ความสำเร็จของลัทธิเสรีนิยมใหม่

สิ่งที่ผู้เขียนเขียนไปข้างต้นเป็นเพียงการคาดการณ์ แต่คงมีประโยชน์ไม่น้อย หากเราลองพิเคราะห์สถิติเชิงประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เพื่อค้นหาหลักฐานว่า ลัทธินี้สมควรเป็นยาครอบจักรวาลสำหรับเยียวยาความป่วยไข้ทางการเมือง-เศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าเราอยู่หรือไม่ ลัทธิเสรีนิยมใหม่ประสบความสำเร็จแค่ไหนในการกระตุ้นให้เกิดการสะสมทุน? แต่สถิติที่แท้จริงที่ปรากฏผลออกมากลับชวนให้กลุ้มใจนัก อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวมอยู่ที่ราว 3.5% ในช่วงทศวรรษ 1960 แม้กระทั่งในช่วงภาวะฝืดเคืองของทศวรรษ 1970 ก็ยังตกลงมาแค่ 2.4% แต่อัตราการเติบโตในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 กลับลดลงเหลือแค่ 1.4% และ 1.1% ตามลำดับ (และมีอัตราที่แทบแตะไม่ถึง 1% นับตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา)

นี่ชี้ให้เห็นว่า ลัทธิเสรีนิยมใหม่ล้มเหลวในการกระตุ้นความเติบโตระดับโลก (4) ในบางกรณี เช่น ในดินแดนของอดีตสหภาพโซเวียตและประเทศต่าง ๆ ในยุโรปกลางที่ยอมรับ "การบำบัดด้วยการช็อก" (shock therapy) (c) ก็มีแต่ความสูญเสียถึงขั้นวิบัติฉิบหายเกิดขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1990 รายได้ต่อหัวประชากรในรัสเซียลดลงในอัตรา 3.5% ต่อปี ประชาชนจำนวนมากจมลงสู่ความยากจน และทำให้ความยืนยาวอายุของเพศชายลดลงถึง 5 ปี ประสบการณ์ของยูเครนก็คล้ายคลึงกัน มีแต่โปแลนด์ที่ไม่แยแสคำแนะนำของไอเอ็มเอฟ แต่กลับแสดงให้เห็นความเติบโตอย่างเด่นชัด ในประเทศละตินอเมริกาส่วนใหญ่ ลัทธิเสรีนิยมใหม่ก่อให้เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ (ในทศวรรษ 1980 ที่เรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งความสูญเสีย") หรือความเติบโตอย่างรวดเร็วแล้วตามมาด้วยการพังทลายทางเศรษฐกิจ (เช่นในอาร์เจนตินา)

(4) การประเมินอย่างเป็นทางการที่ดีที่สุดสองชิ้นได้แก่ World Commission on the Social Dimension of Globalization, A Fair Globalization: Creating Opportunities for All (Geneva, International Labour Office, 2004); United Nations Development Program, Human Development Report, 1999; Human Development Report, 2003.

(c) cshock therapy หมายถึงนโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของไอเอ็มเอฟ ซึ่งใช้วิธีลอยตัวราคาสินค้าและอัตราแลกเปลี่ยนทันที รวมทั้งสั่งให้ประเทศนั้น ๆ เปิดเสรีทางการค้า แปรรูปรัฐวิสาหกิจและสาธารณูปโภค เปิดประเทศให้การลงทุนจากต่างชาติ วิธีการนี้สร้างความพินาศแก่หลายๆ ประเทศ ทั้งในละตินอเมริกาและเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง Naomi Klein เขียนหนังสือเล่มล่าสุด The Shock Doctrine วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้

ส่วนในอัฟริกา ลัทธิเสรีนิยมใหม่ไม่ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีเลยแม้แต่น้อย มีแต่ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งอินเดียที่ไล่ตามมาในระดับหนึ่ง เฉพาะในกลุ่มประเทศนี้ที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่สร้างความเชื่อมโยงกับสถิติการเติบโตในเชิงบวก กระนั้นก็ตาม ประเทศที่ใช้การพัฒนาแบบไม่ค่อยเสรีนิยมใหม่นักต่างหากที่มีบทบาทโดดเด่นอย่างยิ่ง ความแตกต่างตรงกันข้ามระหว่างความเติบโตของจีน (เกือบ 10% ต่อปี) กับความถดถอยของรัสเซีย (-3.5% ต่อปี) เป็นสิ่งที่เห็นอยู่ทนโท่ การจ้างงานนอกระบบพุ่งสูงขึ้นทั่วโลก (ประเมินกันว่าเพิ่มจาก 29% ของประชากรที่มีบทบาททางเศรษฐกิจในละตินอเมริการะหว่างทศวรรษ 1980 เป็น 44% ในช่วงทศวรรษ 1990)

และดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพระดับโลกทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นความยืนยาวของอายุขัย อัตราการตายของทารก ฯลฯ ชี้ให้เห็นอัตราติดลบในด้านความอยู่ดีกินดีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ถึงแม้สัดส่วนของประชากรโลกที่ยากจนมีจำนวนลดลงก็จริง แต่ตัวเลขทั้งหมดสืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอินเดียกับจีนเพียงสองประเทศเท่านั้น (5) ความสำเร็จในเชิงระบบเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่พอจะอวดอ้างได้ก็คือ การลดและการควบคุมเงินเฟ้อ

(5) M. Weisbrot, D. Baker, E. Kraev, and J. Chen, 'The Scorecard on Globalization 1980-2000: Its Consequences for Economic and Social Well-Being', in V. Navarro and C. Muntaner, Political and Economic Determinants of Population Health and Well-Being (Amityville, NY: Baywood, 2004) 91-114.

แน่นอน การเปรียบเทียบย่อมให้ภาพแสลงใจเสมอ โดยเฉพาะลัทธิเสรีนิยมใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ลัทธิเสรีนิยมใหม่แบบจำกัดในสวีเดน ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าการใช้ลัทธิเสรีนิยมใหม่อย่างเต็มที่ในสหราชอาณาจักร รายได้ต่อหัวของสวีเดนสูงกว่า อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่า ดุลการค้าที่มีกับประเทศอื่น ๆ ในโลกก็ดีกว่า รวมทั้งดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันและบรรยากาศทางธุรกิจก็เหนือกว่าด้วย ดัชนีด้านคุณภาพชีวิตก็สูงกว่าเช่นกัน ประชากรสวีเดนมีความยืนยาวของอายุขัยเป็นอันดับที่ 3 ในโลก ขณะที่สหราชอาณาจักรอยู่ที่อันดับ 29 อัตราความยากจนในสวีเดนอยู่ที่ 6.3% เทียบกับ 15.7% ในสหราชอาณาจักร ในขณะที่คนรวยที่สุด 10% ของประชากรสวีเดนมีรายได้มากกว่ากลุ่มคนจนที่สุดในประเทศ 10% อยู่ที่ 6.2 เท่า ส่วนในสหราชอาณาจักร ตัวเลขของช่องว่างนี้คือ 13.6 เท่า อัตราการไม่รู้หนังสือในสวีเดนก็ต่ำกว่าและการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคม (social mobility) ก็สูงกว่า (6)

(6) G. Monbiot, 'Punitive-and It Works', Guardian, 11 Jan. 2005, online edition.

หากข้อเท็จจริงข้างต้นนี้เป็นที่รับทราบในวงกว้าง เสียงสรรเสริญเยินยอลัทธิเสรีนิยมใหม่และรูปแบบโลกาภิวัตน์ที่เป็นลักษณะเฉพาะของมันย่อมเงียบลงไปมาก ถ้าเช่นนั้น ทำไมหลายต่อหลายคนยังพยายามโน้มน้าวว่า รูปแบบโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่เป็น "ทางเลือกเดียวที่มีอยู่" และมันประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง? มีสองเหตุผลที่เห็นได้ชัด

ประการแรก ความแปรปรวนของการพัฒนาทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เท่าเทียมกันมีอัตราเร่งเร็วขึ้น ทำให้บางพื้นที่สามารถก้าวหน้าอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ (อย่างน้อยชั่วระยะเวลาหนึ่ง) ท่ามกลางความสูญเสียของพื้นที่อื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ทศวรรษ 1980 คือยุคของญี่ปุ่น "เสือเศรษฐกิจ" แห่งเอเชียและเยอรมนีตะวันตก ส่วนทศวรรษ 1990 คือยุคของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อเท็จจริงว่า "ความสำเร็จ" ย่อมเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่ง กลายเป็นสิ่งที่อำพรางข้อเท็จจริงว่า โดยรวมแล้ว ลัทธิเสรีนิยมใหม่ล้มเหลวในการกระตุ้นความเติบโตหรือยกระดับความอยู่ดีกินดีโดยรวม

ประการที่สอง เมื่อมองจากจุดยืนของชนชั้นสูง ลัทธิเสรีนิยมใหม่ ในแง่ของกระบวนการ ไม่ใช่ในเชิงทฤษฎี เป็นความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง มันช่วยฟื้นฟูอำนาจชนชั้นให้แก่ชนชั้นปกครอง (ดังเช่นในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษบางส่วน) สร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการก่อเกิดชนชั้นทุนนิยม (เช่น ในจีน อินเดีย รัสเซีย และประเทศอื่น ๆ) เนื่องจากสื่อมวลชนถูกครอบงำด้วยผลประโยชน์ของชนชั้นสูง จึงมีการเผยแพร่ความเชื่อผิดๆ ว่า รัฐใดที่ล้มเหลวในเชิงเศรษฐกิจ เป็นเพราะรัฐนั้นไม่มีความสามารถในการแข่งขัน (ดังนั้น จึงมีเสียงเรียกร้องให้ปฏิรูปเชิงเสรีนิยมใหม่มากขึ้น)

ส่วนความไม่เท่าเทียมทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้นภายในประเทศหนึ่ง ๆ ก็ถูกอธิบายว่า เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการส่งเสริมความเสี่ยงและนวัตกรรมของผู้ประกอบการ ซึ่งจะก่อให้เกิดอำนาจในการแข่งขันและกระตุ้นการเติบโต หากสภาพชีวิตของชนชั้นล่างเสื่อมทรามลง ก็เพราะพวกเขาล้มเหลวในการสร้างเสริมทุนมนุษย์ของตนเอง ซึ่งมักเกิดจากเหตุผลส่วนบุคคลและเหตุผลทางวัฒนธรรม (เช่น การทุ่มเทให้การศึกษา การมีจริยธรรมในการทำงานแบบโปรเตสแตนท์ การยอมรับวินัยและความยืดหยุ่นในการทำงาน ฯลฯ) กล่าวโดยสรุปคือ ปัญหาเกิดขึ้นจากการขาดความเข้มแข็งในการแข่งขัน หรือเกิดจากความล้มเหลว ทั้งส่วนบุคคล วัฒนธรรมหรือการเมือง โลกเสรีนิยมใหม่คือโลกที่เชื่อในทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน ซึ่งอ้างเหตุผลว่า ผู้เข้มแข็งที่สุดเท่านั้นที่อยู่รอดและควรอยู่รอด

แน่นอน ภายใต้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ มีการเคลื่อนย้ายความสำคัญที่น่าตื่นเต้นหลายประการเกิดขึ้น จนทำให้เปลือกนอกดูเหมือนมีพลวัตอย่างเหลือเชื่อ การกำเนิดของภาคการเงินและภาคบริการทางการเงินเกิดขึ้นคู่ขนานมากับความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ในค่าตอบแทนของบรรษัทการเงิน ตลอดจนแนวโน้มของบรรษัทที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (เช่น เจเนรัลมอเตอร์) เพื่อผสานบทบาททั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน การจ้างงานในภาคส่วนนี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็เกิดคำถามสำคัญตามมาด้วยว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดผลผลิตมากน้อยแค่ไหน

ภาคธุรกิจการเงินส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับการเงินเท่านั้น การแสวงหาผลประโยชน์จากการเก็งกำไรเกิดขึ้นตลอดเวลา ถึงขนาดที่ทำได้ทุกอย่างเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เมืองต่าง ๆ ที่ถูกขนานนามว่า "มหานครโลกทางการเงินและการบัญชาการ" กลายเป็นขุมความมั่งคั่งและอภิสิทธิ์อันตระการตา เต็มไปด้วยตึกระฟ้าและพื้นที่สำนักงานหลายล้านตารางฟุตซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เพื่อเป็นที่ตั้งของธุรกิจการเงินเหล่านี้ ภายในตึกสูงเสียดฟ้า การค้าระหว่างชั้นต่าง ๆ สร้างความมั่งคั่งสมมติขึ้นมามากมายมหาศาล นอกจากนั้น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชานเมืองที่มีแต่การเก็งกำไร กลายเป็นจักรกลหลักของการสะสมทุน มหานครแมนฮัตตัน โตเกียว ลอนดอน ปารีส ฟรังค์ฟูร์ท ฮ่องกง และตามมาติด ๆ คือเซี่ยงไฮ้ ซึ่งขยายตัวจนเต็มไปด้วยตึกอาคารทาบทับขอบฟ้าอย่างรวดเร็ว เป็นภาพที่ดูแล้วละลานตานัก

สิ่งที่ควบคู่กันมาคือความเฟื่องฟูของเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที ในราว ค.ศ. 1970 การลงทุนในด้านนี้มีปริมาณ 25% เท่ากับการลงทุนในด้านการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ แต่พอล่วงมาถึง ค.ศ. 2000 การลงทุนในด้านไอทีมีถึงประมาณ 45% ของการลงทุนทั้งหมด ในขณะที่สัดส่วนการลงทุนด้านการผลิตและโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพลดลง ในช่วงทศวรรษ 1990 มีความเชื่อกันว่า นี่คือสัญญาณบ่งบอกการเกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ตั้งอยู่บนข้อมูลข่าวสาร (7) แต่แท้ที่จริงแล้ว มันบ่งบอกถึงความไม่เป็นธรรมต่างหาก

(7) Henwood, After the New Economy; Dumenil and Levy, Capital Resurgent, fig. 17.1.

เดิมทีเทคโนโลยีมีขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่ตอนนี้มันถูกเปลี่ยนให้หันเหทิศทางไปรับใช้ภาคการเงินที่ขับดันด้วยกลไกตลาด ซึ่งเป็นยี่ห้อของลัทธิเสรีนิยมใหม่อยู่แล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอภิสิทธิ์ของลัทธิเสรีนิยมใหม่ มันมีประโยชน์ต่อการเก็งกำไร และการเพิ่มจำนวนสัญญาในตลาดระยะสั้นให้มากที่สุด มากกว่าจะมีประโยชน์ต่อการยกระดับการผลิต สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ภาคส่วนการผลิตที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคืออุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นใหม่ (ภาพยนตร์ วิดีโอ วิดีโอเกม ดนตรี การโฆษณา การแสดงศิลปะ) ซึ่งใช้ไอทีเป็นพื้นฐานด้านนวัตกรรมและการวางตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ

การโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาคส่วนใหม่ ๆ เหล่านี้อย่างหวือหวา ช่วยหันเหความสนใจของสาธารณชนไปจากความล้มเหลวในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและทางสังคม พร้อมกันนี้ยังมีการปลุกปั่นความเชื่อเกี่ยวกับ "โลกาภิวัตน์" และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของโลกาภิวัตน์ และยืนยันว่านี่คือการสร้างระบบเศรษฐกิจโลกที่เป็นหนึ่งเดียวกัน และแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงขึ้นมา (8)

(8) งานเขียนเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์มีมากมายมหาศาล ทัศนะของผู้เขียนมีแสดงไว้ใน Harvey, Spaces of Hope.

อันที่จริง ความสำเร็จใหญ่หลวงที่สุดของลัทธิเสรีนิยมใหม่ก็คือ การจัดสรรความมั่งคั่งและรายได้เสียใหม่ หาใช่การสร้างขึ้นมาไม่ ในงานเขียนอื่น ๆ ผู้เขียนเคยอธิบายถึงกลไกสำคัญ ๆ ที่ทำให้การจัดสรรใหม่นี้เป็นไปได้ภายใต้คำนิยามว่า "การสะสมทุนด้วยการปล้นชิง" (accumulation by dispossession)9 (9) ตามคำนิยามนี้ ผู้เขียนหมายถึงการสะสมทุนอย่างต่อเนื่องและขยายขอบเขตออกไป ด้วยวิธีการที่มาร์กซ์เห็นว่าเป็นวิธีแบบ "บุพกาล" หรือ "ดั้งเดิม" ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อตัวแรกเริ่มของระบบทุนนิยม วิธีการนี้ประกอบด้วย

(9) Ibid., ch. 4.

- การทำให้ที่ดินกลายเป็นสินค้าและการแปรรูปที่ดิน รวมทั้งขับไล่เกษตรกรออกไปด้วยการบังคับ
(ดังกรณีของเม็กซิโกและจีน ซึ่งประเมินว่ามีชาวนาถึง 70 ล้านคนต้องพลัดถิ่นในระยะเวลาไม่นานมานี้)

- การเปลี่ยนรูปแบบการถือครองกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ (เช่น ชุมชน หมู่คณะ รัฐ ฯลฯ) ให้กลายเป็นกรรมสิทธิ์เอกชนเพียงอย่างเดียว (โดยมีจีนเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด)

- การกีดกันและทำลายสิทธิที่ประชาชนมีต่อสมบัติส่วนรวม

- การทำให้แรงงานกลายเป็นสินค้า และกีดกันทำลายรูปแบบการผลิตและการบริโภคแบบอื่น ๆ (โดยเฉพาะแบบชนพื้นเมือง)

- กระบวนการขูดรีดสินทรัพย์ (รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ) แบบอาณานิคม อาณานิคมใหม่และจักรวรรดินิยม ทำให้การแลกเปลี่ยนและการจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะที่ดิน กลายเป็นการใช้เงินทั้งหมด

- การค้าทาส (โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมทางเพศที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง)

- การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา หนี้ของประเทศ และที่สร้างความเสียหายร้ายแรงที่สุดคือ การใช้ระบบสินเชื่อเป็นวิธีการในการสะสมทุนด้วยการปล้นชิงอย่างถึงรากถึงโคน

รัฐมีบทบาทสำคัญทั้งการหนุนหลังและส่งเสริมกระบวนการเหล่านี้ ทั้งนี้เพราะรัฐเป็นผู้ผูกขาดการใช้ความรุนแรงและการนิยามความถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากกลไกที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ตอนนี้เราอาจเพิ่มกลวิธีอีกอย่างหนึ่งเข้ามา กล่าวคือ การขูดรีดค่าธรรมเนียมจากสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการลดหรือยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนรวมรูปแบบต่าง ๆ (เช่น ระบบบำนาญของรัฐ วันหยุดพักร้อน การเข้าถึงการศึกษา และการดูแลสุขภาพ) ซึ่งประชาชนได้มาจากการต่อสู้ทางชนชั้นตลอดชั่วชีวิตหรือนานกว่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ข้อเสนอให้แปรรูปสิทธิในบำนาญของรัฐทั้งหมด (ซึ่งนำร่องในชิลีภายใต้รัฐบาลเผด็จการ) เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่พรรครีพับลิกันในสหรัฐอเมริกาใฝ่ฝันหา

การสะสมทุนด้วยการปล้นชิงมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ

(1). การแปรรูปและการทำให้เป็นสินค้า การทำให้เป็นธุรกิจ การทำให้เป็นสินค้า และการแปรรูปสิ่งที่เคยเป็นสมบัติสาธารณะ กลายเป็นลักษณะเฉพาะของโครงการเสรีนิยมใหม่ เป้าหมายพื้นฐานก็คือ การเปิดพื้นที่ใหม่สำหรับการสะสมทุนในอาณาบริเวณที่เคยถือกันว่า อยู่นอกขอบเขตการคำนวณเพื่อแสวงหากำไร สาธารณูปโภคทุกประเภท (น้ำ โทรคมนาคม การขนส่ง) การจัดสรรสวัสดิการสังคม (การเคหะ การศึกษา การดูแลสุขภาพ บำเหน็จบำนาญ) สถาบันสาธารณะ (มหาวิทยาลัย ห้องทดลอง คุก) และแม้กระทั่งการทำสงคราม (ตัวอย่างเช่น "กองทัพ" ของบริษัทเอกชนที่ดำเนินการเคียงคู่กับกองกำลังผสมในอิรัก) ล้วนถูกแปรรูปไปไม่มากก็น้อย ทั้งในโลกทุนนิยมและในประเทศระบบอื่น (เช่น ในจีน เป็นต้น)

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง TRIPS ของ WTO นิยามว่ารหัสพันธุกรรม พลาสมาของเมล็ดพันธุ์ และผลิตผลอื่น ๆ ทุกชนิด เป็นทรัพย์สินเอกชน สิทธิบัตรกลายเป็นวิธีขูดรีดประชาชนที่เคยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวัตถุดิบทางพันธุกรรมเหล่านี้ การปล้นชิงทางชีวภาพ (biopiracy) เกิดขึ้นดาษดื่น การปล้นคลังทรัพยากรทางพันธุกรรมของโลกกำลังเกิดขึ้นเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ให้แก่บริษัทยายักษ์ใหญ่ไม่กี่บริษัท

ความเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็วของสิ่งแวดล้อมโลกที่เป็นสมบัติส่วนรวมของมนุษย์ (ที่ดิน อากาศ น้ำ) และความเสื่อมโทรมของถิ่นที่อยู่อาศัยที่ขยายวงออกไป ซึ่งเกิดจากวิถีการผลิตทางเกษตรกรรมแบบทุนเข้มข้น เป็นผลมาจากการทำให้ธรรมชาติทุกรูปแบบกลายเป็นสินค้าขายส่งนั่นเอง. การทำให้รูปแบบวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาสร้างสรรค์กลายเป็นสินค้า (ด้วยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) ทำให้เกิดการปล้นชิงแบบเหมารวม (เช่น อุตสาหกรรมดนตรีขึ้นชื่อในเรื่องการดูดกลืนและขูดรีดวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ของประชาชนรากหญ้า)

เช่นเดียวกับในอดีต อำนาจรัฐมักถูกนำมาใช้บีบบังคับให้เกิดกระบวนการเหล่านี้ ถึงแม้ขัดกับเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ก็ตาม การลดเลิกกรอบข้อบังคับที่เคยคุ้มครองแรงงานและสิ่งแวดล้อมให้รอดพ้นจากความเสื่อมถอย ทำให้เกิดการสูญสิ้นสิทธิตามมา สิทธิในทรัพย์สินส่วนรวม ซึ่งกว่าจะได้มาก็ต้องอาศัยการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างยากลำบากยาวนาน (สิทธิในกองทุนบำนาญของรัฐ สิทธิในสวัสดิการ การดูแลสุขภาพระดับชาติ) กลับถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นอาณาเขตของกรรมสิทธิ์เอกชน นี่เป็นนโยบายการปล้นชิงที่เลวร้ายสามานย์ที่สุดอย่างหนึ่ง และมักขัดต่อเจตจำนงทางการเมืองของประชาชนส่วนใหญ่ กระบวนการทั้งหมดนี้คือการถ่ายโอนสินทรัพย์จากอาณาเขตของสาธารณะและประชาชน ให้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเอกชนและชนชั้นอภิสิทธิ์ (10)

(10) M. Derthick and P. Quirk, The Politics of Deregulation (Washington, D.C.: Brookings Institution Press, 1985); W. Megginson and J. Netter, 'From State to Market: A Survey of Empirical Studies of Privatization', Journal of Economic Literature (2001), online.

(2). การขยายอำนาจของภาคการเงิน (financialization) กระแสเชี่ยวกรากของการขยายอำนาจของภาคการเงินที่เริ่มขึ้นหลังจาก ค.ศ. 1980 มีลักษณะเด่นที่การเก็งกำไรและปลาใหญ่กินปลาเล็ก การหมุนเวียนของธุรกรรมทางการเงินประจำวันในตลาดระหว่างประเทศอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 1983 เพิ่มขึ้นเป็น 130 พันล้านดอลลาร์ใน ค.ศ. 2001 ปริมาณการหมุนเวียนประจำปี ค.ศ. 2001 มีมูลค่า 40 ล้านล้านดอลลาร์ เปรียบเทียบกับจำนวนเงินประมาณ 800 พันล้านดอลลาร์ที่ใช้สนับสนุนการไหลเวียนในการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนเพื่อการผลิต (11)

(11) Dicken, Global Shift, ch. 13.

การลดกฎเกณฑ์ในภาคการเงินเปิดช่องให้ระบบการเงินกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญในการจัดสรรความมั่งคั่งใหม่ โดยอาศัยการเก็งกำไร การทำลายฝ่ายตรงข้าม การฉ้อโกงและการปล้น การปั่นหุ้น แผนการแบบปอนซี (d) การทำลายสินทรัพย์เชิงโครงสร้างโดยอาศัยภาวะเงินเฟ้อ การซื้อกิจการที่ผลการดำเนินงานไม่ดีมาเลือกขายสินทรัพย์ที่ทำกำไรแล้วปิดกิจการนั้นเสียโดยอาศัยการควบรวมกิจการ การส่งเสริมการก่อหนี้ ซึ่งทำให้ประชากรทั้งชาติ แม้กระทั่งในประเทศทุนนิยมก้าวหน้า ต้องกลายเป็นทาสใช้หนี้ มิพักต้องกล่าวถึงการฉ้อโกงทางธุรกิจ การปล้นชิงสินทรัพย์ด้วยการปั่นหุ้นและสินเชื่อ (การปล้นกองทุนบำเหน็จบำนาญและทำลายกองทุนด้วยภาวะล่มสลายของตลาดหุ้นและธุรกิจ)

(d) Ponzi scheme หมายถึงการเชิญชวนคนมาร่วมลงทุนโดยให้ผลตอบแทนสูงผิดปรกติ แต่แท้ที่จริงแล้ว ผลตอบแทนนั้นได้มาจากเงินของนักลงทุนรายหลัง ๆ เอามาจ่ายให้นักลงทุนรายแรก ๆ โดยที่การลงทุนนั้นไม่ได้สร้างรายได้ใด ๆ จากธุรกิจที่แท้จริง ลงท้ายแล้ว ผู้คิดแผนการนี้มักเชิดเงินหนีไป จึงถือเป็นการฉ้อโกงอย่างหนึ่ง ชื่อเรียกนี้ตั้งตาม Charles Ponzi ชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาเลียน ซึ่งเคยใช้วิธีนี้ฉ้อโกงเงินจากประชาชนจนกลายเป็นข่าวครึกโครมในช่วงทศวรรษ 1920

ทั้งหมดนี้กลายเป็นโฉมหน้าสำคัญของระบบการเงินทุนนิยม มีหนทางนับไม่ถ้วนในการฉ้อโกงเงินในระบบแบบนี้ เนื่องจากนายหน้าค้าหุ้นได้รับค่านายหน้าจากการทำธุรกรรมแต่ละครั้ง พวกเขาจึงสามารถเพิ่มรายได้ให้ตัวเองด้วยการเทรดหุ้นในบัญชีบ่อย ๆ (นี่เป็นวิธีการที่เรียกกันว่า "กวนหุ้น" หรือ "churning") โดยไม่ต้องสนใจว่าการเทรดนั้นเพิ่มมูลค่าให้บัญชีหรือไม่ การซื้อขายหุ้นจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์จึงอาจเป็นแค่การ "กวนหุ้น" มากกว่าสะท้อนความเชื่อมั่นในตลาด การให้ความสำคัญต่อมูลค่าหุ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากการประสานผลประโยชน์ของเจ้าของทุนกับผู้จัดการ ด้วยการให้ผลตอบแทนแก่ฝ่ายหลังเป็นออปชั่นหรือตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (stock options) ดังที่เดี๋ยวนี้เราทราบกันดีแล้วว่า วิธีการนี้ทำให้เกิดการปั่นในตลาดหุ้น สร้างความมั่งคั่งเหลือคณานับแก่คนบางคนท่ามกลางความพินาศของคนจำนวนมาก

การล่มสลายครั้งใหญ่ของบริษัทเอนรอน คือภาพสะท้อนของกระบวนการที่ปล้นชิงเงินเลี้ยงชีพและสิทธิในกองทุนบำนาญของคนจำนวนมากไป นอกจากนี้ เรายังต้องคำนึงถึงการปล้นด้วยการเก็งกำไรที่ดำเนินการโดยกองทุนประกันความเสี่ยงหรือเฮดจ์ฟันด์ (hedge fund) และสถาบันทุนการเงินยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย เพราะสถาบันเหล่านี้คือหัวขบวนที่แท้จริงของการสะสมทุนด้วยการปล้นชิงบนเวทีโลก ถึงแม้สถาบันเหล่านี้ได้ชื่อว่าสร้างประโยชน์เชิงบวกด้วย "การกระจายความเสี่ยง" ก็ตาม (12)

(12) ความสำคัญของการกระจายความเสี่ยงและการรับบทผู้นำด้วยตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน มีเน้นย้ำอยู่ใน Panitch and Gindin, 'Finance and American Empire'; S. Soederberg, 'The New International Financial Architecture: Imposed Leadership and "Emerging Markets"', Socialist Register (2002), 175-92.

(3). การบริหารจัดการและแสวงหาผลประโยชน์จากวิกฤตการณ์ นอกจากการเก็งกำไรและการปั่นฟองสบู่จอมปลอมขึ้นมาบ่อย ๆ ซึ่งกลายเป็นลักษณะเด่นของการฉ้อฉลทางการเงินในลัทธิเสรีนิยมใหม่ ยังมีอีกกระบวนการหนึ่งที่ดำเนินไปในเชิงลึก ซึ่งทำให้เกิด "กับดักหนี้สิน" ที่กลายเป็นวิธีการหลักในการสะสมทุนด้วยการปล้นชิง (13) การสร้าง การบริหารและการแสวงหาผลประโยชน์จากวิกฤตการณ์ในเวทีโลก ได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นศิลปะของการดูดกลืนความมั่งคั่งจากประเทศยากจนไปสู่ประเทศร่ำรวย ผู้เขียนได้กล่าวถึงผลกระทบของการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อเม็กซิโกตามแนวทางของ Volcker มาแล้วก่อนหน้านี้ ขณะที่สมอ้างบทบาทเป็นอัศวินม้าขาวที่เป็นหัวหอกในการ "กอบกู้เม็กซิโกไม่ให้ล้มละลาย" เพื่อรักษาการสะสมทุนระดับโลกให้เดินหน้าต่อไป สหรัฐฯ ก็กรุยทางเข้าไปปล้นเศรษฐกิจของเม็กซิโก นี่คือสิ่งที่หุ้นส่วนครบวงจรระหว่างกระทรวงการคลังสหรัฐฯ-วอลล์สตรีท-ไอเอ็มเอฟกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำเช่นนี้ไปทั่วโลก

(13) Corbridge, Debt and Development; S. George, A Fate Worse Than Debt (New York: Grove Press, 1988).

อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ เคยใช้กลยุทธ์ของ Volcker แบบเดียวกันนี้อีกหลายครั้งในช่วงทศวรรษ 1990 วิกฤตการณ์ด้านหนี้สินในประเทศต่าง ๆ ซึ่งแทบไม่เคยเกิดขึ้นเลยในช่วงทศวรรษ 1960 กลายเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 แทบไม่มีประเทศกำลังพัฒนาประเทศไหนเลยที่รอดพ้นจากวิกฤตการณ์นี้ และในบางกรณี เช่น ละตินอเมริกา วิกฤตการณ์ดังกล่าวกลายเป็นโรคเรื้อรัง วิกฤตการณ์หนี้สินเป็นสิ่งที่ถูกชี้นำ จัดการและควบคุม เพื่อสร้างความเป็นเหตุเป็นผลแก่ระบบและจัดสรรทรัพย์สินเสียใหม่

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีการคำนวณว่า "แผนการแบบเดียวกับแผนการมาร์แชลกว่า 50 แผนการ จัดการถ่ายโอนทรัพย์สิน (มูลค่ากว่า 4.6 ล้านล้านดอลลาร์) จากประชาชนในประเทศรอบนอกเข้ากระเป๋าเจ้าหนี้ในประเทศศูนย์กลาง" "ช่างเป็นโลกที่แปลกประหลาดนัก" สติกลิทซ์ถอนใจเฮือก "โลกที่ประเทศยากจนกลับต้องสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มประเทศร่ำรวยที่สุด" สิ่งที่นักเสรีนิยมใหม่เรียกว่า "confiscatory deflation" (e) ไม่ใช่อะไรอื่น นอกจากการสะสมทุนด้วยการปล้นชิงนั่นเอง Wade และ Veneroso เข้าใจสาระของประเด็นนี้ดี เมื่อทั้งสองเขียนถึงวิกฤตการณ์ในเอเชียเมื่อ ค.ศ. 1997-8 ดังนี้:

(e) confiscatory deflation คือภาวะเงินฝืดประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากผู้มีอำนาจทางการเมืองสั่งริบเงินของผู้ฝากในบัญชีธนาคารหรือแช่แข็งบัญชีเงินฝากไม่ให้มีการเบิกถอน การทำเช่นนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาในระบบการเงิน ตัวอย่างของวิธีการนี้คือเหตุการณ์เศรษฐกิจล้มละลายในประเทศอาร์เจนตินาเมื่อ ค.ศ. 2001-2002

"วิกฤตการณ์ทางการเงินทำให้เกิดการถ่ายโอนความเป็นเจ้าของและอำนาจไปสู่กลุ่มคนที่รักษาสินทรัพย์ของตนเองไว้ได้ รวมทั้งผู้ที่อยู่ในสถานะที่จะออกสินเชื่อ วิกฤตการณ์ของเอเชียก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น....ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บรรษัทธุรกิจของตะวันตกและญี่ปุ่นคือผู้ชนะรายใหญ่....ผลกระทบที่เกิดจากการลดค่าเงินครั้งใหญ่ การผลักดันของไอเอ็มเอฟให้เปิดเสรีทางการเงิน และการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวทางของไอเอ็มเอฟ น่าจะทำให้เกิดการถ่ายโอนสินทรัพย์จากภายในประเทศไปสู่ต่างประเทศครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบห้าสิบปีที่ผ่านมา โดยนับเฉพาะภาวะสงบที่ไม่มีสงคราม เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การถ่ายโอนสินทรัพย์จากละตินอเมริกาเข้ากระเป๋าบรรษัทธุรกิจสหรัฐฯ ในทศวรรษ 1980 หรือจากเม็กซิโกหลัง ค.ศ. 1994 กลายเป็นเรื่องกระจอกงอกง่อยไปเลย มันทำให้เราหวนนึกถึงถ้อยคำที่อ้างกันว่าเป็นคำพูดของ Andrew Mellonf (f) ที่บอกว่า: "ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ สินทรัพย์ย่อมกลับคืนไปสู่เจ้าของที่ชอบธรรม" (14)

(f) Andrew Mellon (1855-1937) นายธนาคารชาวอเมริกัน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังของสหรัฐฯ ภายใต้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถึง 3 คน นั่นคือ ประธานาธิบดีวอร์เรน ฮาร์ดิง ประธานาธิบดีแคลวิน คูลิดจ์ และประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์

(14) E. Toussaint, Your Money of Your Life: The Tyranny of Global Finance (London: Pluto Press, 2003); Stiglitz, Globalization and its Discontents, 225; Wade and Veneroso, 'The Asian Crisis', 21.

หากเปรียบเทียบวิกฤตการณ์นี้กับการจงใจสร้างภาวะว่างงานขึ้นมา เพื่อทำให้เกิดกำลังแรงงานส่วนเกินที่สะดวกต่อการขูดรีดเพื่อสะสมทุน ก็ถือเป็นภาพอุปมาที่ถูกต้องทีเดียว สินทรัพย์ที่มีมูลค่าถูกทิ้งขว้างและสูญเสียมูลค่าไป มันถูกทิ้งร้างจนกระทั่งนายทุนที่มีสภาพคล่องเข้ามาเป่าลมหายใจใหม่ให้ อย่างไรก็ตาม อันตรายที่อาจเกิดขึ้นก็คือ วิกฤตการณ์อาจขยายวงจนไม่สามารถควบคุมและลุกลามไปทั่ว หรือประชาชนลุกฮือขึ้นก่อกบฏต่อระบบที่เป็นสาเหตุของวิกฤตการณ์ หน้าที่เบื้องต้นประการหนึ่งของการแทรกแซงจากรัฐและสถาบันระหว่างประเทศทั้งหลายก็คือ การเข้ามาควบคุมวิกฤตการณ์และการลดค่าเงินในลักษณะที่เอื้อให้การสะสมทุนด้วยการปล้นชิงเกิดขึ้น โดยไม่จุดชนวนให้เกิดการพังทลายครั้งใหญ่หรือการกบฏของประชาชน (ดังที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย และอาร์เจนตินา)

โครงการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่จัดการโดยสามประสานวอลล์สตรีท-กระทรวงการคลังสหรัฐฯ-ไอเอ็มเอฟ จะเป็นผู้ดูแลในส่วนแรก ในขณะที่ส่วนหลังเป็นหน้าที่ของกลไกรัฐสุนัขรับใช้ต่างชาติในประเทศที่ถูกปล้นชิง (ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางทหารจากประเทศมหาอำนาจ) จะคอยดูแลไม่ให้เกิดขึ้น แต่สัญญาณการกบฏของประชาชนก็สำแดงให้เห็นทุกหนแห่ง ตัวอย่างเช่น การลุกฮือของซาปาติสตาในเม็กซิโก การจลาจลต่อต้านไอเอ็มเอฟนับครั้งไม่ถ้วน รวมทั้งความเคลื่อนไหวที่เรียกกันว่า ขบวนการ "ต่อต้านโลกาภิวัตน์" ซึ่งแสดงเขี้ยวเล็บในการกบฏที่ซีแอตเติล เจนัวและที่อื่น ๆ

(4). การจัดสรรความมั่งคั่งใหม่โดยรัฐ หากรัฐในประเทศใด ๆ กลายเป็นรัฐเสรีนิยมใหม่แล้วไซร้ รัฐนั้นก็จะกลายเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินนโยบายจัดสรรความมั่งคั่งใหม่ โดยพลิกกลับกระแสการกระจายความมั่งคั่งจากชนชั้นบนลงสู่ชนชั้นล่าง ซึ่งเกิดขึ้นในยุคของระบบเสรีนิยมที่มีการกำกับดูแล รัฐทำเช่นนี้ได้ในขั้นแรกด้วยการผลักดันแผนการแปรรูปและตัดลดงบประมาณรายจ่ายที่สนับสนุนค่าจ้างเชิงสังคม แม้ในกรณีที่การแปรรูปดูเหมือนเป็นประโยชน์ต่อชนชั้นล่าง แต่ในระยะยาวกลับส่งผลกระทบเชิงลบ

ยกตัวอย่างเช่น หากมองโดยผิวเผิน โครงการแปรรูปการเคหะของนายกรัฐมนตรีแธตเชอร์ในอังกฤษ อาจดูเหมือนเป็นของขวัญที่มอบแด่ชนชั้นล่าง เพราะสมาชิกสามารถผันตัวจากผู้เช่าเป็นเจ้าของได้ด้วยต้นทุนค่อนข้างต่ำ มีอำนาจควบคุมเหนือสินทรัพย์ที่มีมูลค่า และเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้ตนเอง แต่เมื่อการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์เสร็จสิ้นลงแล้ว การเก็งกำไรก็เข้ามาครอบงำ โดยเฉพาะในทำเลใจกลางเมือง สิ่งที่ตามมาคือการติดสินบนหรือบีบให้ประชาชนรายได้ต่ำออกไปอยู่ชายขอบของเมืองใหญ่ ๆ เช่น ลอนดอน จากนั้นก็ปรับปรุงถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมของชนชั้นแรงงานจนกลายเป็นย่านศูนย์กลางที่เหมาะกับรสนิยมของชนชั้นกลาง เมื่อไม่สามารถหาที่อยู่อาศัยในย่านใจกลางเมืองได้อีกต่อไป ประชาชนบางส่วนก็ต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน ส่วนคนที่ทำงานบริการค่าจ้างต่ำก็ต้องเสียเวลาเดินทางไกล ๆ

การแปรรูป ejidos (ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมหมู่ของชุมชนพื้นเมือง) ในเม็กซิโก ระหว่างทศวรรษ 1990 สร้างผลกระทบคล้าย ๆ กันต่อโอกาสการทำมาหากินของชาวนาเม็กซิกัน บีบคั้นให้ชาวบ้านในชนบทจำนวนมากต้องอพยพออกจากที่ดินเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่เพื่อหางานทำ. รัฐบาลจีนเข้ามาอำนวยความสะดวกแก่การถ่ายโอนสินทรัพย์ให้ชนชั้นนำกลุ่มเล็ก ๆ ท่ามกลางความทุกข์ยากของประชาชนจำนวนมาก จนทำให้เกิดการประท้วงที่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง มีรายงานว่า ประชาชนถึง 350,000 ครอบครัว (หรือหนึ่งล้านคน) ต้องพลัดถิ่นเพื่อเปิดทางให้แก่การปรับปรุงเมืองปักกิ่งเก่า จนเกิดผลลัพธ์แบบเดียวกับในอังกฤษและเม็กซิโกดังที่กล่าวไปแล้ว ในสหรัฐอเมริกา เทศบาลหลายแห่งที่ขาดแคลนรายได้มักใช้อำนาจขับไสเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง ซึ่งอาศัยอยู่ในย่านทำเลดี เพื่อเปิดทางให้มีการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์สำหรับผู้มีรายได้สูง ด้วยเป้าหมายที่จะขยายฐานภาษี (ในรัฐนิวยอร์ก มีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นมากกว่า 60 กรณี) (15)

(15) J. Farah, 'Brute Tyranny in China', WorldNetDaily.com, posted 15 Mar. 2004; I. Peterson, 'As Land Goes to Revitalization, There Go the Old Neighbors', New York Times, 30 Jan. 2005, 29 and 32.

รัฐเสรีนิยมใหม่มีการจัดสรรความมั่งคั่งและรายได้ใหม่ ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บภาษีเพื่อเอื้อประโยชน์แก่นักลงทุน มากกว่าผู้มีรายได้จากเงินเดือนและค่าจ้าง ส่งเสริมการเก็บภาษีแบบถอยหลัง (regressive tax ภาษีที่ทำให้ผู้มีรายได้มากจ่ายภาษีน้อยลง) (เช่น ภาษีการขาย ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากผู้ซื้อสินค้า) การเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้บริการ (ดังที่เกิดขึ้นแพร่หลายในภาคชนบทของจีน) รวมทั้งการจัดหาเงินอุดหนุนแบบต่าง ๆ และการลดหย่อนภาษีให้บรรษัทธุรกิจ อัตราการเก็บภาษีในภาคธุรกิจของสหรัฐฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

การที่ประธานาธิบดีบุชได้รับเลือกตั้งอีกสมัยสร้างรอยยิ้มให้แก่ผู้นำภาคธุรกิจที่คาดหวังว่า จะได้รับการลดหย่อนภาษีมากยิ่งกว่าเดิม โครงการอุดหนุนภาคธุรกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ทั้งในระดับรัฐบาลกลาง มลรัฐและท้องถิ่น เท่ากับเป็นการผ่องถ่ายเงินสาธารณะจำนวนมากไปเข้ากระเป๋าบรรษัททั้งหลาย (ทั้งแบบโดยตรง เช่น การให้เงินอุดหนุนภาคธุรกิจเกษตร และโดยอ้อม เช่น ในภาคอุตสาหกรรมทหาร เป็นต้น) เช่นเดียวกับการลดภาษีอัตราดอกเบี้ยการกู้จำนองในสหรัฐฯ ก็ถือเป็นการอุดหนุนต่อเจ้าของบ้านรายได้สูงและอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในกรณีของสหรัฐอเมริกา การหวนกลับมาของระบบตรวจสอบประชาชนและอำนาจของตำรวจ รวมทั้งการกวาดจับประชาชนที่กระด้างกระเดื่อง สะท้อนถึงการถอยหลังกลับไปสู่การควบคุมทางสังคมอย่างเข้มงวดอีกครั้ง

ในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อุตสาหกรรมคุกครบวงจรเป็นภาคธุรกิจที่กำลังเฟื่องฟู (ควบคู่กับภาคบริการรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล) ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา กระแสต่อต้านการสะสมทุนด้วยการปล้นชิงมีความเข้มแข็งกว่า บทบาทของรัฐเสรีนิยมใหม่จึงหันไปใช้การกดขี่โดยตรง ซึ่งอาจเลวร้ายถึงขั้นการทำสงครามระดับต่ำต่อขบวนการของฝ่ายต่อต้าน (ซึ่งมักถูกกล่าวหาเป็นพวก "ค้ายาเสพย์ติด" หรือ "ก่อการร้าย" อันจะทำให้ได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากกองทัพอเมริกัน เช่น ในกรณีของประเทศโคลอมเบีย) ขบวนการอื่น ๆ เช่น ซาปาติสตาในเม็กซิโกหรือขบวนการชาวนาไร้ที่ดินในบราซิล มักถูกอำนาจรัฐล้อมกรอบโดยใช้ยุทธวิธีที่ผสมผสานระหว่างการดึงมาเป็นพวกกับการกีดกันออกไปอยู่ชายขอบ (16)

(16) J. Holloway and E. Pelaez, Zapatista: Reinventing Revolution (London: Pluto, 1998); J. Stedile, 'Brazil's Landless Battalions', in T. Mertes (ed.), A Movement of Movements (London: Verso, 2004).

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++คลิกไปอ่านต่อทความเกี่ยวเนื่อง

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 25 July 2008 : Copyleft by MNU.

เดิมทีเทคโนโลยีมีขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่ตอนนี้มันถูกเปลี่ยนใหไปรับใช้ภาคการเงินที่ขับดันด้วยกลไกตลาด ซึ่งเป็นยี่ห้อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอภิสิทธิ์ของลัทธิเสรีนิยมใหม่ มันมีประโยชน์ต่อการเก็งกำไร และการเพิ่มจำนวนสัญญาในตลาดระยะสั้น มากกว่าจะมีประโยชน์ต่อการยกระดับการผลิต สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ภาคส่วนการผลิตที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคืออุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นใหม่ (ภาพยนตร์ วิดีโอ วิดีโอเกม ดนตรี การโฆษณา การแสดงศิลปะ) ซึ่งใช้ไอทีเป็นพื้นฐานด้านนวัตกรรมและการวางตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ การโหมโฆษณา ช่วยหันเหความสนใจของสาธารณชนไปจากความล้มเหลวในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและทางสังคม

 

H