ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




16-07-2551 (1616)

ชุดความรู้เที่ยงคืน กรรมาชีพฝรั่งเศสภายใต้ระบบทุนนิยม
บางแง่มุมเกี่ยวกับแรงงานฝรั่งเศสภายใต้ระเบียบทุนนิยม
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร : เขียน
Ph.D. Candidate, University of Paris II , ประเทศฝรั่งเศส
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความต่อไปนี้ ได้รับจากผู้เขียน และถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

ถึงแม้ความหมายของ "ชนชั้นกรรมาชีพ" จะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใดในวันนี้
แต่ภายในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมแบบทุนนิยมของฝรั่งเศส
แรงงานที่ยากจนและมีสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากยังคงปรากฏอยู่ และมีแนวโน้มจะจนมากขึ้น
ปัญหาอยู่ตรงที่อุดมการณ์ปลดปล่อยชนชั้นกรรมาชีพนั้นได้ถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่ไหนสักแห่ง
ในหน้าประวัติศาสตร์ และพรรคการเมืองที่เคยเป็นกระบอกเสียงของพวกเขากลับพึงพอใจ
ในการทำหน้าที่สะท้อนผลประโยชน์ให้กับพวกสังคมนิยมที่ขยับฐานะมาเป็นนายทุนขนาดเล็กแทน
ในที่สุดแล้ว ด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป เราอาจต้องทบทวนวิธีคิด
วิธีเข้าใจโลก และลักษณะการต่อสู้กันใหม่ ไม่ช้าก็เร็ว

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๑๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดความรู้เที่ยงคืน กรรมาชีพฝรั่งเศสภายใต้ระบบทุนนิยม
บางแง่มุมเกี่ยวกับแรงงานฝรั่งเศสภายใต้ระเบียบทุนนิยม
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร : เขียน
Ph.D. Candidate, University of Paris II , ประเทศฝรั่งเศส
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

กระแสความคิดอันหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงมากขึ้นโดยนักวิชาการในฝรั่งเศส คือ ชนชั้นกรรมาชีพกำลังประสบกับวิกฤติอัตลักษณ์ของ "ชนชั้น" เมื่อการขยายตัวของชนชั้นกลาง ซึ่งถือเป็นผลผลิตของระเบียบสังคมแบบทุนนิยมทำให้แรงงานกลายเป็นมนุษย์กินเงินเดือน

กีโยม ดูวัล (Guillaume Duval) บรรณาธิการของวารสาร Alternative Economique ได้กล่าวไว้ในบทความของเขาว่า ความพ่ายแพ้ของผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสจากพรรคสังคมนิยมในปี 2007 แสดงให้เห็นถึงการจบลงของระบบสังคมนิยมประชาธิปไตย และการเกิดขึ้นของวิกฤตของอัตลักษณ์ของชนชั้นแรงงานในฝรั่งเศส [1]

[1] ชื่อบทความ "La social-democratie, c'est fini", Liberation, 19 Decembre 2007

คลิกอ่านบทความนี้ได้ที่
http://translate.google.co.th/translate?hl=en&sl=fr&u=http://multitudes.samizdat.net/
spip.php%3Farticle3036&sa=X&oi=translate&resnum=1&ct=result&prev=/search%3Fq%3DLa%2Bsocial-democratie,%2Bc%2527est%2Bfini%26hl%3Den%26sa%3DG

ความขัดแย้งภายในชนชั้น

กล่าวคือ ปัจจุบันในฝรั่งเศสเช่นเดียวกับในประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ แรงงานกว่า 90% ของประเทศอยู่ในสถานะของผู้กินเงินเดือนทั้งสิ้น ขณะที่แรงงานที่ไม่ใช่มนุษย์เงินเดือนกำลังหายไป และมนุษย์เงินเดือนจำนวนมหาศาลเหล่านี้ก็มีรายได้และมาตรฐานความเป็นอยู่แตกต่างกันมาก ความขัดแย้งจึงเปลี่ยนจากลักษณะการต่อสู้ทางชนชั้นไปเป็น "ความขัดแย้งภายในชนชั้น"แทน ดังนั้น ถ้อยคำเก่าๆ เกี่ยวกับชนชั้นและการต่อสู้ของชนชั้นที่พรรคสังคมนิยมเคยใช้ จึงไม่ได้ผลในการขอคะแนนเสียงจากชนชั้นแรงงานอีกต่อไป

ความขัดแย้งภายในนี้เกิดขึ้นในลักษณะที่มนุษย์เงินเดือน อย่างเช่น ผู้บริหารหรือข้าราชการต้องการรักษาความแตกต่างหรือระยะห่างของรายได้ตน กับของพนักงานหรือแรงงานในระดับต่ำลงไป เพื่อประคองระดับค่าครองชีพและราคาสินค้าบริการไม่ให้สูงเกินไปนัก ในประเทศที่สหภาพแรงงานเข้มแข็งอย่างเช่นฝรั่งเศส การณ์กลับกลายเป็นว่า การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานซึ่งมีซินดิกัลเป็นแกนนำนั้น ถูกครอบงำโดยแรงงานค่าแรงสูง และทอดทิ้งให้แรงงานที่ยากจนหรือชนชั้นกรรมาชีพ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะจนลงต้องถูกกันออกไปอยู่นอกขบวนการ

ความคิดนี้สอดคล้องกับความคิดของนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอย่างอลัง บาดิอู (Alain Badiou) (*) ที่กล่าวว่าลักษณะการแบ่งแยกขั้วความคิดทางการเมืองเป็น "ซ้าย" และ "ขวา" ที่เป็นมรดกของสังคมการเมืองฝรั่งเศสช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ได้พังทลายลงแล้ว สำหรับบาดิอู ชัยชนะของนิโกลาส์ ซาร์โกซี ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2007 เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของการยอมรับระเบียบของทุนนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบตลาดในฝรั่งเศส [2]

(*)Alain Badiou (born 1937, Rabat, Morocco) is a prominent French Marxist philosopher, formerly chair of philosophy at the Ecole Normale Sup?rieure (ENS). Along with Giorgio Agamben and Slavoj Zizek, Badiou is a prominent figure in an anti-postmodern strand of continental philosophy. Particularly through a creative appropriation of set theory from his early interest in mathematics, Badiou seeks to recover the concepts of being, truth and the subject in a way that is neither postmodern nor simply a repetition of modernity.

[2] Alain Badiou, "Spectres of 68", New Left Review, NLR 49, Jan-Feb 2008

ข้อสังเกตที่น่าสนใจก็คือ ในบทความของเขา บาดิอูไม่ได้กล่าวถึงเสรีนิยมใหม่แต่อย่างใด แต่เขากลับพูดถึงนีโอเปแตงนิสม์ (neo-Petainisme) หรือระบอบเปแตงนิสม์ใหม่ โดยเปแตงนิสม์นั้นหมายถึงระบอบการปกครองแบบอนุรักษ์นิยมของจอมพลเปแตง ที่มีอิทธิพลอย่างมากระหว่างปี 1940-1944 ระบอบนี้อ้างอิงกับสงครามและความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นตามมา โดยประชาชนจำเป็นต้องอยู่ในระเบียบและเชื่อฟังผู้ปกครองอย่างว่าง่าย เพื่อแลกมาซึ่งความสงบเรียบร้อย ระบอบนี้ยังอ้างอิงกับคุณค่าเชิงศีลธรรมเรื่อง "การทำงานหนัก ระเบียบวินัยและครอบครัว"

(*) In France, the word petainisme suggests an authoritarian and reactionary ideology, driven by the nostalgia of a rural, agricultural, traditionalist, Catholic society.

ทั้งนี้ บาดิอูไม่ได้เปรียบเทียบซาร์โกซีกับจอมพลเปแตง แต่เขากล่าวว่าชัยชนะของซาร์โกซี เกิดขึ้นจากปัจจัยหรือองค์ประกอบแบบเดียวกับที่เอื้อให้เปแตงสามารถสถาปนาระบอบของความกลัวขึ้นมาในอดีต ต่างกันตรงที่ว่าระบอบของซาร์โกซีนั้น เกิดขึ้นจากทั้งความกลัวของประชาชน (เช่นกลัวชาวต่างชาติ กลัวผู้อพยพ กลัววัยรุ่นจากชานเมือง ฯลฯ ) และความกลัวของความกลัว" (fear of the fear) อีกทอดหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น การเลือกตั้งก็ไม่ได้ทำหน้าที่ในเชิงการเมืองอย่างที่เข้าใจกัน แต่การเลือกตั้งกลายเป็นเครื่องมือเชิงอุดมการณ์ของรัฐ (ideological state apparatus) ตามความหมายของอัลธุซแซร์ (Louis Althusser) [3] (*) ซึ่งซาร์โกซีประสบความสำเร็จในการใช้เป็นเครื่องมือดึงความกลัว และความกลัวของความกลัว เข้ามาอยู่ภายในรัฐและเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ [4]

[3] อ่านประกอบ http://www.marxists.org/reference/archive/althusser/1970/ideology.htm
[4] Alain Badiou, "Spectres of 68", p.31

(*) Louis Pierre Althusser (October 16, 1918 - October 22, 1990) was a Marxist philosopher. He was born in Algeria and studied at the Ecole Normale Superieure in Paris, where he eventually became Professor of Philosophy.

Althusser was a lifelong member and sometimes strong critic of the French Communist Party. His arguments and theses were set against the threats that he saw attacking the theoretical foundations of Marxism. These included both the influence of empiricism on Marxist theory, and humanist and reformist socialist orientations which manifested as divisions in the European Communist Parties, as well as the problem of the 'cult of personality' and of ideology itself. Althusser is commonly referred to as a Structural Marxist, although his relationship to other schools of French structuralism is not a simple affiliation and he is critical of many aspects of structuralism.

สุดท้าย บาดิอูเสนอให้เราทบทวน "พฤษภา 68" (*) อย่างพินิจพิเคราะห์ เนื่องจากซาร์โกซีได้เคยกล่าวว่าสังคมฝรั่งเศสจะสามารถแก้ปัญหาวิกฤติเชิงคุณค่าได้ก็ต่อเมื่อ สามารถละทิ้งอดีตอย่าง "พฤษภา 68" หรือพูดให้ง่าย สำหรับซาร์โกซี วิกฤติเชิงคุณค่าในวันนี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้าหากไม่มี "พฤษภา 68" [5] บาดิอูจึงเชื่อว่าสิ่งที่รบกวนจิตใจซาร์โกซีนั้นคือ "ผีคอมมิวนิสต์" หรืออุดมการณ์ของการต่อสู้ทางชนชั้นตามแบบมาร์กซิสม์ ที่ซาร์โกซีอยากจะให้สังคมฝรั่งเศสกำจัดออกไปจากสังคม [6]

(*) May 1968 is the name given to a series of student protests and a general strike that caused the eventual collapse of the De Gaulle government in France. The vast majority of the protesters espoused left-wing causes, but the established leftist political institutions and labor unions distanced themselves from the movement. Many saw the events as an opportunity to shake up the "old society" and traditional morality, focusing especially on the education system and employment.

[5] 29 เมษายน 2007 ในระหว่างการหาเสียง ซาร์โกซีกล่าวว่า "หลังจากพฤษภา 68 เราไม่สามารถพูดถึงศีลธรรมได้ ศัพท์คำนี้หายไปจากศัพท์การเมือง...พฤษภา 68 ได้ทำให้เกิดลักษณะสัมพัทธ์นิยม (relativism) ในเชิงศีลธรรมและปัญญา ทายาทของพฤษภา 68 ได้ครอบงำความคิดว่าทุกอย่างมีคุณค่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างดีและเลว ระหว่างถูกและผิด ระหว่างสวยงามและน่าเกลียด..." ทั้งที่เหตุการณ์นี้ผ่านไปนานแล้วและนักวิชาการรวมทั้งนักเคลื่อนไหวในอดีตหลายคนก็เห็นว่าสังคมฝรั่งเศสเปลี่ยนไปมาก อำนาจที่เป็นปรปักษ์กับประชาชนได้เปลี่ยนรูปร่างหน้าตาไปด้วย ดังตัวอย่างของ Forget 68 หนังสือที่ออกในปีนี้ของ แดลเนียล คอห์น เบนดิทที่เสนอว่าการเคลื่อนไหวต้องละทิ้งรูปแบบและเนื้อหาเก่าๆ

[6] Alain Badiou, "Spectres of 68", p.34

พินิจพิเคราะห์ "พฤษภา 68" และการปะทะกันของอุดมการณ์เก่า-ใหม่
ครบรอบ 40 ปีของเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ปี 1968 ในปีนี้เป็นโอกาสดีที่จะมองกลับหลังไปยังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะมนุษย์เรามักจะมองเห็นและอธิบายสิ่งต่างๆ ได้แจ่มชัดขึ้นเมื่อผ่านพ้นจากเงื่อนไขและข้อจำกัดของเหตุการณ์นั้นมา นอกจากนี้ อาจกล่าวได้ว่า "พฤษภา 68" คือเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด แต่สังคมฝรั่งเศสเข้าใจน้อยที่สุดก็ว่าได้ เพราะความพยายามอธิบายเหตุการณ์นี้มักถูกทำให้พร่ามัวด้วยคำสรรเสริญเยินยอ และคำขวัญเชิงอุดมการณ์ของฝ่ายซ้ายที่ได้รับชัยชนะ

อลัง ตูเรน (Alain Touraine) (*) นักสังคมวิทยา ซึ่งสอนที่มหาวิทยาลัยนองแตร์ในช่วงปี 68 ได้กล่าวเมื่อครบรอบ 40 ปีของ"พฤษภา 68"ว่า หากมองย้อนกลับไปแล้ว สิ่งที่สำคัญสำหรับปี 68 คือการเข้ามาในเวทีการเมืองอย่างเป็นทางการของประเด็นทางวัฒนธรรม ในฐานะประเด็นหลักของการต่อสู้เรียกร้อง นอกจากนี้ "พฤษภา 68" ยังเป็นการเผชิญหน้ากันทั้งในลักษณะขัดแย้งและผสมกลมกลืนระหว่างวาทกรรมการต่อสู้ทางชนชั้นตามแบบมาร์กซิสม์ที่มีหัวใจอยู่ที่ชนชั้นแรงงานกับวาทกรรมเสรีนิยมตามแบบพวกอนาธิปัตย์นิยม (anarchism) (**) ที่ปฏิเสธอำนาจรัฐและเน้นความเท่าเทียมกันทางสังคมของทุกชนชั้น การต่อสู้เรียกร้องในพฤษภาคมปี 1968 จึงไม่ได้มีเอกภาพอย่างที่เข้าใจกัน ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มที่เข้ายึดมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์นั้น ส่วนใหญ่มีแนวคิดการเมืองแบบซ้ายจัด (เช่น กลุ่มนิยมทรอตสกีและนิยมเหมา) ขณะที่ที่มหาวิทยาลัยนองแตร์นั้น ส่วนใหญ่เป็นพวกฝักใฝ่แนวคิดอนาธิปัตย์นิยมและต่อต้านคอมมิวนิสต์ หากพิจารณาจริงๆ แล้วคำแถลงการณ์ของเหล่าแกนนำนักศึกษาอาจดูลักลั่น เพราะใช้ภาษาแบบมาร์กซิสม์แต่มีเนื้อหาแบบเสรีนิยม [7]

(*) Alain Touraine (born August 3, 1925) is a French sociologist born in Hermanville-sur-Mer. He is research director at the Ecole des Hautes Etudes en Sciences Sociales, where he founded the Centre d'etude des mouvements sociaux. He is best known for being the originator of the term "post-industrial society". His work is based on a "sociology of action," and believes that society shapes its future through structural mechanisms and its own social struggles.

His key interest for most of his career has been with social movements. He has studied and written extensively on workers' movements across the world, particularly in Latin America and more recently in Poland where he observed and aided the birth of Solidarnosc (Solidarity): The Analysis of a Social Movement (1983). While in Poland, he developed the research method of "Sociological Intervention," which had been outlined in "The Voice and the Eye" (La Voix et le Regard) [1981].

Touraine has gained immense popularity in Latin America as well as in continental Europe. Yet he has failed to gain anywhere near the same recognition in the English-speaking world. Out of twenty or so books, only about half of them have been translated into English.

(**) Anarchism is a political philosophy encompassing theories and attitudes which support the elimination of all compulsory government (i.e. the state), and is often described as opposition to all forms of authority. Anarchism is defined by The Concise Oxford Dictionary of Politics as "the view that society can and should be organized without a coercive state."

There are many types and traditions of anarchism, not all of which are mutually exclusive. Anarchism is usually considered to be a radical left-wing ideology, and as such much of anarchist economics and legal philosophy reflect anti-authoritarian interpretations of communism, collectivism, syndicalism or participatory economics; however, anarchism has always included an individualist strain, including those who support capitalism (e.g. market anarchists) and other market-orientated economic structures (e.g. mutualists). As described by the 21st century anarchist Cindy Milstein, anarchism is a "political tradition that has consistently grappled with the tension between the individual and society."

[7] Alain Touraine, "Qui somme nous? Les âges de la vie bouleversés", Sciences Humaines, no 193, mai 2008

อิทธิพลของกลุ่มอนาธิปัตย์นิยมที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้เอง ที่ทำให้ปี 68 มีความสำคัญในฐานะประตู ที่เปิด ไปสู่ยุคของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ เช่น การเรียกร้องของกลุ่มสิทธิสตรี กลุ่มรักเพศเดียวกัน ฯลฯ ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเหล่านี้ ในทศวรรษต่อมาก็นิยมแสดงออกในรูปแบบของการต่อต้านและในลักษณะปฏิกิริยากับอำนาจในสังคม เพื่อแสดงให้เห็นว่าระเบียบของสังคมที่กำลังใช้อยู่เริ่มมีปัญหา รวมทั้งพื่อชักชวนโน้มน้าวบรรดาคนรุ่นใหม่ที่เบื่อหน่ายกับระเบียบที่แช่แข็งและคร่ำครึเหล่านั้น ให้เข้าร่วมขบวนการ ลักษณะของขบวนการเหล่านี้ได้รับการขนานนามว่าวัฒนธรรมกบฏหรือ "วัฒนธรรมต้าน" (counter culture) [8] ทั้งนี้ การ เคลื่อนไหวภายใต้ วัฒนธรรมกบฏหรือวัฒนธรรมต้าน (counter culture) ที่รู้จักกันดีคือ กลุ่มฮิปปีในสหรัฐอเมริกาในยุคเซเวนตี้ (seventies) ส่วนในยุโรป กลุ่มวัฒนธรรมต้านกลุ่มแรกๆ ซึ่งไม่ค่อยได้รับการพูดถึงนัก คือ กลุ่ม provo (*) ในเมืองอัมสเตอดัม ที่มีบทบาทระหว่างปี 1965-1967 [9]

[8] Martine Fournier, "La contre-culture. La révolte des seventies", Sciences Humaines, Hors-série no 30, Décembre 2000/Janvier-Février 2001

[9] Marcel H. Van Herpen, "Paris May'68 and Provo Amsterdam'65: Trying to understand two postmodern youth revolts", บทความออนไลน์ www.cicerofoundation.org

(*) Provo was a Dutch counterculture movement in the mid-1960s that focused on provoking violent responses from authorities using non-violent bait. It was preceded by the nozem movement and followed by the hippie movement. Unlike these two movements, Provo was actually founded, on May 25, 1965, by Robert Jasper Grootveld, an anti-smoking activist, and Roel van Duyn and Rob Stolk, both anarchists. Provo was officially disbanded on May 13, 1967.

The Provos are thought to have evolved out of the artist Robert Jasper Grootveld's anti-smoking happenings in June 1964. The following year Othe Provo group appeared as a fusion of a small group of youths around Robert Jasper Grootveld and the pacifist Ban-the-bomb movement. Roel van Duyn is thought to have been the group's theorist, influenced by anarchism, Dadaism, Herbert Marcuse, and the Marquis de Sade.
The Provos borrowed their name from Wouter Buikhuisen, who, in a 1965 doctoral dissertation, talked about "young trouble-makers" as 'provos'.

ท่ามกลางแนวคิดต่างๆ ของกลุ่มวัฒนธรรมต้านของทศวรรษ 70 เราพบว่ามีแนวคิดพื้นฐานซึ่งปรากฏให้เห็นชัดเจนอันหนึ่งคือ แนวคิดเรื่อง "การบริหารจัดการด้วยตนเอง" (autogestion: fr, self-management: eng) แนวคิดนี้ ในอดีตถูกนำไปใช้กับประเด็นของการทำงานและการศึกษา ซึ่งมักจะตั้งคำถามในลักษณะสุดโต่งกับสถาบัน เช่น ครอบครัว หรือโรงเรียน อย่างเช่นใน งานเขียนของอิวาน อิลลิช (Ivan Illich) (*) ผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ในด้านการศึกษา ที่เคยกล่าวในทำนองว่าระบบการศึกษามีแต่ทำลายศักยภาพส่วนบุคคล และทำได้แค่สร้างความหงุดหงิดเศร้าใจ [10]

[10] อ่านประกอบ Deschooling Society ที่ http://reactor-core.org/deschooling.html

(*)Ivan Illich (Vienna, 4 September 1926 - Bremen, 2 December 2002) was an Austrian philosopher and anarchist social critic. He authored a series of critiques of the institutions of contemporary western culture and their effects of the provenance and practice of education, medicine, work, energy use, and economic development. (http://en.wikipedia.org/wiki/Ivan_Illich)

ในฝรั่งเศส แนวคิดเรื่องการบริหารด้วยตนเองของแรงงานปรากฏขึ้น และถูกเผยแพร่ตลอดทศวรรษ 1950 จนกระทั่งภายหลังเหตุการณ์พฤษภาคมปี 1968 ที่วาทกรรม "การต่อสู้ทางชนชั้น" พุ่งถึงขีดสุด แนวคิดนี้ จึงถูกขบวนการแรงงานนำมาทดลองใช้ในโรงงานที่กำลังประสบปัญหาหลายแห่ง โดยต้นแบบของแนวคิดนี้ คือระบบ "เศรษฐกิจบริหารด้วยแรงงาน" (Labour-managed economy) ของประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งเกิดขึ้นจากข้อเสนอของกลุ่มมาร์กซิสม์รุ่นหลัง ที่ปฏิเสธรูปแบบการวางแผนจากส่วนกลางอย่างเข้มงวด และการผูกขาดโดยพรรคคอมมิวนิสต์ตามแนวทางของเลนินและสตาลิน [11]

[11] อ่านระบบเศรษฐกิจยูโกสลาเวียเพิ่มเติมจากบทที่ 8 ฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7

ตามคำอธิบายของมิเชล ลัลมอง (Michel Lallement) (*) นักสังคมวิทยา แนวคิดเรื่อง"การบริหารด้วยตนเอง" มีอิทธิพลสูงในขบวนการแรงงานของอิตาลีและของเยอรมัน โดยเฉพาะที่เยอรมันแนวคิดนี้ยังถูกนำไปใช้ในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น กลุ่มสิทธิสตรีโดยพวกอนาธิปัตย์นิยม [12]

(*) Michel Lallement is director of the Interdisciplinary Laboratory for Economic Sociology (UMR No. 6209 du CNRS), co-director of Master Human Resources and sociology (CNAM)

[12] Michel Lallement, "L'autogestion, une histoire contrariee", Sciences Humaines, no 187, novembre 2007

มิเชล ลัลมอง กล่าวว่า แนวคิดนี้เป็นรูปร่างขึ้นมาจากสาเหตุ 3 ประการ กล่าวคือ

ประการแรก ความคิดนี้เกิดจากข้อเสนอของกลุ่มมาร์กซิสต์แนววิพากษ์ในช่วงทศวรรษ 1960-70 ที่ต้องการปลีกตัวออกจากแบบจำลองสังคมนิยมโดยรัฐ ที่มีการวางแผนจากส่วนกลาง นักคิดกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นนักปรัชญาและนักสังคมวิทยาที่เห็นว่า ควรเน้นประเด็นของ "การลดค่าความเป็นมนุษย์" (alienation) เป็นประเด็นหลักประเด็นเดียวแทนเรื่องการขูดรีด (exploitation) ตามอย่างพวกมาร์กซิสม์รุ่นเก่า กลุ่มนี้เห็นว่าการตัดสินใจด้านการผลิตด้วยแรงงานเอง ทำให้แรงงานเป็นอิสระจากการถูกลดค่าเป็นแค่ผู้รับจ้างขายแรงงาน เพราะแรงงานสามารถมีส่วนในการกำหนดชะตาชีวิตของตน แนวความคิดนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มที่นิยมทรอตสกี (*) ในฝรั่งเศสเช่นกัน

(*) Trotskyism : After Lenin's death, two new Communist leaders, Leon Trosky and Joseph Stalin, each interpreted and modified the ideas of Marx and Lenin differentally. According to Trotsky, in a nation that was not already a democrasy, such as Russia, only the proletariat could carry out the task of turning the nation into a democracy. Since the bourgeoisie would not allow a revolution, they had to ally with the elements of reaction in order to accomplish both a democratic and a socialist revolution. Trotskyists are believed to be on the left in the Communist spectrum. They believed in a democratic rights, refused to engage in political deals with imperialist powers, and wanted to spread the revolution throughout Europe and the East. Trosky's ideas were strongly opposed by Stalin, who denounced Trotsky as a traitor and order him to be exiled and ultimately put to death.
(ดูภาคผนวกเกี่ยวกับแนวคิดมาร์กซิสท์ 5 แนวทาง)

ประการต่อมา แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากพวกซ้ายใหม่ (New Left) ที่ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดสังคมนิยมยูโธเปียและอนาธิปัตย์นิยม กลุ่มซ้ายใหม่ต่างจากพวกมาร์กซิสม์ตรงที่ ไม่ต้องการยึดอำนาจรัฐมาใช้เอง แต่สนับสนุนการจัดระบบสังคมนิยมขนาดเล็กแบบกระจัดกระจาย ควบคู่ไปกับระบบที่เป็นทางการ จึงมองเห็นความเป็นไปได้ของการใช้วิธีการบริหารจัดการโดยแรงงานเป็นแนวทางไปสู่ "การปฏิวัติเงียบและสันติ" เพื่อนำสังคมออกจากระบบทุนนิยม อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดนี้ถูกนำเสนอภายใต้ธงของ "ทางเลือกที่สาม" เมื่อพิจารณาประกอบกับสังคมนิยมและทุนนิยม

ประการสุดท้าย แนวคิดนี้ไปได้อย่างดีกับความเชื่อของกลุ่มการเมือง "คริสเตียนซ้าย" ซึ่งสนับสนุนคุณค่า 2 ข้อคือ

- หนึ่ง คุณค่าขององค์กรธุรกิจหรือสถานประกอบการในฐานะของชุมชนพื้นฐาน และ
- สอง คุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ต้องได้รับการส่งเสริมผ่านการเพิ่ม "มูลค่าของทุน"

ส่วนในทางการเมือง แนวคิดเรื่องการบริหารด้วยตนเองของแรงงาน ได้รับการสนับสนุนให้นำไปใช้ในทางปฏิบัติ โดยพรรคสังคมนิยม Parti Socialiste Unifie; (Unified Socialist Party: eng) [13], ซินดิกัล CFDT [14] ซึ่งกำหนดให้การบริหารด้วยตนเองเป็นแนวทางหลักในแผนปฏิบัติการ รวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ของฝรั่งเศส ที่รื้อฟื้นแนวคิดขึ้นมาในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ด้วยเหตุผลเชิงยุทธศาสตร์

[13] ดำเนินงานระหว่างปี 1960-1989
[14] Confederation Francaise Democratique du Travail องค์กรซินดิกัลที่มีสมาชิกมากที่สุด (*)

(*)The Confederation Francaise Democratique du Travail (CFDT or "French Democratic Confederation of Labour") is a national trade union center, one of the five major French confederations of trade unions, led since 2002 by Fran?ois Ch?r?que. It is the largest French trade union confederation by number of members (875,000) but comes only second after the Confederation generale du travail (CGT) in voting results for representative bodies.

Lip ตำนานของแรงงานผู้ผลิต ขายและจ่ายเงินเดือนตัวเอง [15]

เหตุการณ์ยึดโรงงานผลิตนาฬิกาลิป (Lip) ในปี 1973 กลายเป็นจุดอ้างอิงในประวัติศาสตร์ถึงชัยชนะของชนชั้นกรรมาชีพและความสำเร็จในการบริหารจัดการโดยแรงงานในฝรั่งเศส เนื่องจากแผนธุรกิจที่ทะเยอทะยานของผู้บริหารที่หวังจะชิงส่วนแบ่งตลาดจากบริษัทสหรัฐฯ และญี่ปุ่นในยุโรป (ลิปลงทุนผลิตนาฬิกาแบบควอร์ตซ์เป็นรายแรกของฝรั่งเศส) ทำให้โรงงานประสบปัญหาด้านการเงินอย่างรุนแรง เมื่อยอดขายไม่เป็นไปตามแผน การชุมนุมนัดหยุดงานเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนแรงงานสืบรู้ข่าวว่าโรงงานมีแผนจะปลดคนงานและเลิกจ้าง ถึงแม้ศาลล้มละลายได้แต่งตั้งผู้บริหารชั่วคราวแล้วก็ตาม ในวันที่ 15 มิถุนายน ข่าวดังกล่าวทำให้เกิดการชุมนุมบนถนนในเมืองเบอซองซง ที่ตั้งของโรงงานโดยมีผู้ร่วมชุมนุมกว่า 5 หมื่นคน

[15] ข้อมูลจาก Nicholas Bauche, Sciences Humaines, no 187, novembre 2007 และ http://fr.wikipedia.org/wiki/Lip

ขณะนั้น พนักงานจำนวนกว่า 300 จาก 1000 คนเป็นสมาชิกของซินดิกัลอยู่แล้ว แม้จะมีความแตกต่างของข้อเสนอระหว่างกลุ่มผู้ที่สังกัดซินดิกัล 2 กลุ่มใหญ่ (CGDT และ CGT) แต่ก็มีมติร่วมกันให้คนงานเข้าควบคุมและบริหารโรงงานภายใต้การสนับสนุนของซินดิกัล โดยเริ่มจากการนำสินค้าในสต็อกออกจำหน่ายในราคาต่ำ เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง จนกระทั่งตัดสินใจเดินเครื่องจักรเพื่อดำเนินการผลิตอีกครั้ง อันนำมาซึ่งคำขวัญที่โด่งดังว่า "เป็นไปได้ เราผลิต เราขาย เราจ่าย (เงินเดือน) พวกเราเอง"

อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการโดยคนงานครั้งนี้ ไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นไร้อุปสรรค แรงงานต้องเผชิญกับการสกัดกั้นและควบคุมโรงงานโดยเจ้าหน้าที่ ข่าวการสกัดกั้นพนักงานไม่ให้เข้าในโรงงานทำให้แรงงานในโรงงานอื่นภายในเมืองเดียวกัน และภายในภูมิภาคพากันนัดหยุดงานเพื่อประท้วง การเดินขบวนครั้งใหญ่ที่เรียกว่า "การเดินขบวนของคนเรือนแสน" จึงเกิดขึ้นในวันที่ 29 กันยายนปีนั้น

ในเดือนมกราคม ปี 1974 การลงนามร่วมกันระหว่างกลุ่มตัวแทนแรงงานและเจ้าของใหม่ก็เกิดขึ้น ในสัญญาระบุให้โรงงานต้องรับคนงานจำนวน 850 คนกลับเข้าทำงาน การนัดหยุดงานเป็นอันสิ้นสุด โรงงานดำเนินการผลิตไปจนกระทั่งต้นปี 1976 ผู้บริหารรายใหม่ประสบกับปัญหาหลายประการ รวมทั้งการที่ศาลล้มละลายกลับคำตัดสินให้ผู้บริหารชุดใหม่ต้องใช้หนี้ส่วนของผู้บริหารเดิมต่อผู้จัดจำหน่ายสินค้า การณ์ปรากฏว่าผู้บริหารลาออกในเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม คนงานของลิปจึงเข้ายึดโรงงานและทำการผลิตเองอีกครั้ง จนกระทั่งบริษัทล้มละลายในเดือนกันยายนปีถัดมาในที่สุด เมื่อไม่มีนายทุนเข้ารับช่วงการบริหารต่อ

กรณียึดโรงงานและบริหารจัดการโดยแรงงานไม่ได้เกิดขึ้นที่นี่เพียงแห่งเดียว อย่างไรก็ตาม แทบไม่มีกรณีใดที่แรงงานสามารถบริหารกิจการได้ยาวนานเช่นที่ลิป การเข้ายึดโรงงานแต่ละแห่งแต่ละครั้งล้วนต้องประสบกับบททดสอบที่หนักหน่วง เต็มไปด้วยความขัดแย้ง การนัดหยุดงาน-ประท้วงที่ต้องปะทะกับเจ้าหน้าที่และเกิดความรุนแรง จนอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดเรื่องการจัดการด้วยตนเองที่พูดถึงในเชิงอุดมการณ์ หรือที่ถูกกล่าวถึงเมื่อมองย้อนหลังกลับไปในอดีตนั้นแตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงอย่างมาก แต่ละกรณีคือการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อปากท้องของคนงานโดยแท้จริง ความสำเร็จในกรณีของลิปนั้นคือข้อยกเว้นท่ามกลางกรณีที่ล้มเหลวซึ่งกลายเป็นเสมือนกฏเกณฑ์ของการต่อสู้ระหว่างแรงงานกับทุนภายในกระแสธารของทุนนิยมที่เชี่ยวกราด

ในประเทศฝรั่งเศส มรดกของการบริหารจัดการโดยแรงงานที่เหลืออยู่ในปัจจุบันคือ รูปแบบขององค์กรธุรกิจที่มีลักษณะสหกรณ์ หรือสคอป (Scop) [16] ซึ่งเป็นผลของการเคลื่อนไหวหลังปี 68 รวมทั้งของประสบการณ์ เช่น ในกรณีของลิป(Lip) อาจกล่าวได้ว่าลักษณะการทำงานของสคอป (scop)ในปัจจุบันสะท้อนตรรกะของการประนีประนอมระหว่างแรงงานและทุนในลักษณะที่แรงงานเป็นเสมือน "หุ้นส่วน" ในกิจการ เราอาจจะเรียกโครงสร้างการจัดองค์กรภายในธุรกิจแบบนี้ว่า "ทุนนิยมแบบมีส่วนร่วมของแรงงาน" ที่นำหลักการของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาใช้ และเปลี่ยนมุมมองจากแรงงานในฐานะผู้ถูกจ้างเป็น "พลเมือง" ขององค์กรแทน ที่ยังคงเป็นทุนนิยม เพราะข้ามไม่พ้นจากตรรกะของการสร้างกำไรไม่สิ้นสุดโดยการนำกำไรที่ได้มาลงทุนเพิ่ม หากแต่การจัดโครงสร้างและกลไกการตัดสินใจภายในองค์กรนั้น ไม่ได้อยู่ในกำมือของคนกลุ่มเล็กกลุ่มเดียวหรือนายทุนอีกต่อไป แต่กระจายไปยังพนักงานและลูกจ้างทั้งหมด

[16] Societe Cooperative de Production หรือ Cooperative entreprise of production ต้นกำเนิดของรูปแบบการจัดการของสหกรณ์นี้คือ แนวความคิดของนักสังคมนิยมชาร์ลส์ ฟูริเย่ (Charles Fourier) ในต้นศตวรรษที่ 19 ที่เสนอแนวคิดของการปกครองและจัดการตนเองในลักษณะสังคมย่อย แทนที่รัฐ
(ดูรายละเอียดการดำเนินงานในปัจจุบันที่ http://www.scop.coop/p481_EN.htm#481_2006__1)

สรุป

จากตัวอย่างของลิปในข้างต้น เราอาจพูดได้ว่าประสบการณ์ของขบวนการแรงงานในฝรั่งเศสเต็มไปด้วยพัฒนาการ ทั้งในลักษณะต่อเนื่องและขาดตอน รวมทั้งความขัดแย้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ รูปแบบและเนื้อหาของการเคลื่อนไหวนั้น ก็ไม่ได้มีเอกภาพอย่างที่เข้าใจกัน ในกรณีของการเข้ายึดโรงงานและบริหารด้วยตนเองนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นจากแนวคิดเรื่องการปลดปล่อยทางชนชั้นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นส่วนผสมของแนวคิดของมาร์กซ์และการบริหารจัดการตัวเองของอนาธิปัตย์นิยม ลักษณะการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานในฝรั่งเศสจึงเป็นผลจากลักษณะเฉพาะเชิงสังคม วัฒนธรรมและสถาบันที่เข้ามาสนับสนุนและสร้างข้อจำกัด เช่น กฏหมายและองค์กรตัวแทนแรงงานคือซินดิกัล ฯลฯ ในระดับพื้นฐานที่สุด สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การต่อสู้ดิ้นรนของคนที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาและไม่ต้องการจะเป็นฝ่ายพึ่งพาขอรับความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว

ถึงแม้ความหมายของ "ชนชั้นกรรมาชีพ" จะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใดในวันนี้ แต่ภายในโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมแบบทุนนิยมของฝรั่งเศส แรงงานที่ยากจนและมีสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากยังคงปรากฏอยู่และมีแนวโน้มจะจนมากขึ้น ปัญหาอยู่ตรงที่อุดมการณ์ปลดปล่อยชนชั้นกรรมาชีพนั้นได้ถูกเก็บรักษาเอาไว้ที่ไหนสักแห่งในหน้าประวัติศาสตร์ และพรรคการเมืองที่เคยเป็นกระบอกเสียงของพวกเขา กลับพึงพอใจในการทำหน้าที่สะท้อนผลประโยชน์ให้กับพวกสังคมนิยมที่ขยับฐานะมาเป็นนายทุนขนาดเล็กแทน (socialist petty bourgeois) ในที่สุดแล้ว ด้วยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป เราอาจต้องทบทวนวิธีคิด-วิธีเข้าใจโลก-และลักษณะการต่อสู้กันใหม่ ไม่ช้าก็เร็ว

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก
What are the different types of Communism?

Several different types of Communism have existed throughout history, starting with Plato's radical idea about democracy, which could be interpreted as Communism by some historians. Each type of Communism was based upon a slightly different point of view. The five most notable types of Communsim that have existed so far are Marxism, Leninism, Troskyism, Stalinism, and Maoism.

Marxism:
Marxism, while not the origional Communist theory, was the first one that helped the concept get noticed. It was based around the ideals of German philosopher Karl Marx. According to Marx, Communism would arise out of a class struggle between the bourgeoisie (class of business owners) and the proletariat (working class). The proletariat would grow angry about being exploited by the bourgeoisie. Gradually, the proletariat would become richer and the bourgeoisie would become poorer, until there was no difference in wealth between the two classes, thus resulting in a classless society where everyone is equal. This philosophy has been modified in many different ways by many different people.

One important note is that Marx's theory was flawed in two catagories: human nature and power corruption. Although the classless society is not a bad idea, it isn't neccessaraly something that we as human being strive for. A successful businessman is not going to tolerate losing money just so that he could contribute to a potential untopia. Also, since power corrupts, what would keep the proletariat from seizing more than enough wealth to balance the classes? So, although Marx had a good concept in mind, these flaws kept it from being a concrete theory.

Leninism
Leninism is the form of Communism that was first proposed by Vladimir Lenin, the first leader of the Soviet Union. Lenin held that in order for a revolution of the proletariat to be successful, it had to be carried out by full-time professional revolutionaries. Lenin believed that a system called "democratic centralism" had to be put into place. Under this system, Communist party officals were elected as if it were a democratic state, but each party member had to abide by his decisions once he was elected. According to Leninism, a revolution is needed in order to overthrow capitalism and that any attempt to simply reform capitalism will fail. After the proletariat seizes power, a dictatorship of the proletariat must be established. The Communist Party must then educate the proletariat about aspects of capitalism, such as religion and nationalism, that they considered to be evil. Because of the system of imperialism in the well-developed capitalist nations, a Communist revolution could only take place in a less developed nation, such as Russia. The less developed nation could then either use its own revolution to spark a revolution in a more developed nation and have the developed nation establish socialism, or join with other underdeveloped nations to fight off the powers of capitalism. The latter of these ideas was the origional idea behind Soviet Communism.

Trotskyism
After Lenin's death, two new Communist leaders, Leon Trosky and Joseph Stalin, each interpreted and modified the ideas of Marx and Lenin differentally. According to Trotsky, in a nation that was not already a democrasy, such as Russia, only the proletariat could carry out the task of turning the nation into a democracy. Since the bourgeoisie would not allow a revolution, they had to ally with the elements of reaction in order to accomplish both a democratic and a socialist revolution. Trotskyists are believed to be on the left in the Communist spectrum. They believed in a democratic rights, refused to engage in political deals with imperialist powers, and wanted to spread the revolution throughout Europe and the East. Trosky's ideas were strongly opposed by Stalin, who denounced Trotsky as a traitor and order him to be exiled and ultimately put to death.

Stalinism
Stalinism is the political philosophy that was first devised by Stalin, who was Trosky's political opponent. Stalinism avocates the use of an extensive system of propoganda to establish an absolute dictatorship, a powerful secret police force to keep order and execute traitors, and the establishment of Communism as the supreme political and economic ideal. Stalin placed great stress on incresing the pace of industrialization in order to catch Russia up with the West in the field of development. The goals of these industrialization plans were to create a powerful military force, to reverse Russia's backward economy and make it self-sufficient, to increase the persentage of workers in the Soviet Union, and to prove that Stalin was a legitimate successor to Lenin. Stalin's so-called "Five-Year Plan" successfully increased the industrialization greatly and expanded the economy. Before long, the Soviet Union became a world power. Stalin ruled the Soviet Union as an absolute dictator, ordering the execution of anyone who opposed him, including Trotsky.

Maoism
Maoism is the interpretation of the Communist theory devised by Mao Zedong, head of the Communist Party in China. Unlike traditional Communist theory, which revolved around a revolution by the working class, Mao's idea of a Communist revolution was carried out by the peasants. He believed that the peasants had to instigate a violent revolution through military means. After founding the People's Republic of China, Mao fought for land reform and the execution of counterrevolutionaries. In these campaigns, anyone who was suspected of being opposed to Mao's policies was brutally executed. Mao further suppressed political opposition in the Cultural Revolution, in which he ordered the people to attack the Party headquarters and seize control of the government from leaders who favored Capitalism. The Khmer Rouge in Cambodia, as well as minor revolutions in several other nations, was strongly influenced by Maoism.


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 16 July 2008 : Copyleft by MNU.

หากมองย้อนกลับไปแล้ว สิ่งที่สำคัญสำหรับปี 68 คือการเข้ามาในเวทีการเมืองอย่างเป็นทางการของประเด็นทางวัฒนธรรม ในฐานะประเด็นหลักของการต่อสู้เรียกร้อง นอกจากนี้ "พฤษภา 68" ยังเป็นการเผชิญหน้ากันทั้งในลักษณะขัดแย้งและผสมกลมกลืนกันระหว่าง วาทกรรมการต่อสู้ทางชนชั้นตามแบบมาร์กซิสม์ที่มีหัวใจอยู่ที่ชนชั้นแรงงาน กับวาทกรรมเสรีนิยมตามแบบพวกอนาธิปัตย์นิยม ที่ปฏิเสธอำนาจรัฐและเน้นความเท่าเทียมกันทางสังคมของทุกชนชั้น การต่อสู้เรียกร้องในพฤษภาคมปี 1968 จึงไม่ได้มีเอกภาพอย่างที่เข้าใจกัน ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มที่เข้ายึดมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์นั้น ส่วนใหญ่มีแนวคิดการเมืองแบบซ้ายจัด ขณะที่ที่มหาวิทยาลัยนองแตร์นั้น ส่วนใหญ่เป็นพวกฝักใฝ่แนวคิดอนาธิปัตย์นิยมและต่อต้านคอมมิวนิสต์

H