ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




15-07-2551 (1615)

ชุดความรู้เที่ยงคืน โดยนักกฎหมายมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
จากการเมืองคืออะไร ถึงอภิชนาธิปไตยและหน้าที่ใหม่ของศาลปกครอง
ชำนาญ จันทร์เรือง : เขียน
ฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานวิจัยต่อไปนี้ ได้รับจากผู้เขียน และถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

เนื้อหาบนหน้าเว็บเพจนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับนิยามความหมายเกี่ยวกับการเมือง และอำนาจ
การทำความเข้าใจระหว่างประชาธิปไตย กับอภิชนาธิปไตยที่มีปรัชญาแตกต่างกัน
และไปจบลงที่ บทบาทและอำนาจหน้าที่ใหม่ของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญปี ๕๐
ซึ่งเขียนโดย อ.ชำนาญ จันทร์เรือง โดยได้ลำดับบทความบนหน้าเว็บเพจ ดังต่อไปนี้
๑. การเมืองคืออะไร (นิยามการเมืองและเรื่องอำนาจ)
๒. ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย
๓. บทบาทและอำนาจหน้าที่ใหม่ของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญปี ๕๐

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๑๕
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ชุดความรู้เที่ยงคืน โดยนักกฎหมายมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
จากการเมืองคืออะไร ถึงอภิชนาธิปไตยและหน้าที่ใหม่ของศาลปกครอง
ชำนาญ จันทร์เรือง : เขียน
ฝ่ายกฎหมาย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

๑. การเมืองคืออะไร (นิยามการเมืองและเรื่องอำนาจ)
คำถามง่ายๆ แต่ตอบยากคำถามนี้ ผมยกขึ้นมาสำหรับผู้ที่กำลังเบื่อการเมืองและผู้ที่พยายามไม่ให้การเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวในกิจการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารราชการหรือองค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐ หรือแม้กระทั่งในการใช้อำนาจตุลาการ โดยทั้งๆ ที่ยังไม่รู้จักความหมายที่แท้จริงของคำว่าการเมืองเลย แต่ก็พากันปฏิเสธและชิงชัง "การเมือง" เสียแล้ว

เมื่อเรายกคำถามนี้ขึ้นมาถามว่าการเมืองคืออะไร เราก็จะได้คำตอบที่หลากหลาย อาทิ
- การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศ
- การเมืองเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของรัฐ
- การเมืองเป็นเรื่องของการประนีประนอมผลประโยชน์
- การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง โดยเห็นว่าเนื่องจากทรัพยากรของชาติมีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนที่ต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช่ไม่มีขีดจำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้ หรือเกิดความขัดแย้งขึ้น

ในส่วนมุมมองของนักรัฐศาสตร์แล้ว มีนักคิดหลายคนที่ให้นิยามความหมายของคำว่าการเมือง อาทิ

- เพนนอคและสมิธ (Pennock and Smith) กล่าวว่า การเมือง หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับอำนาจ สถาบัน และองค์กรในสังคมที่ได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจเด็ดขาดครอบคลุมสังคมนั้น ในการสถาปนาและทำนุบำรุงรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม มีอำนาจในการทำให้จุดประสงค์ร่วมกันของสมาชิกในสังคมได้บังเกิดผลขึ้นมา และมีอำนาจในการประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนในสังคม

- เดวิด อีสต์ตัน (David Easton) กล่าวว่า การเมืองเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในการจัดสรรแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ ให้แก่สังคมอย่างชอบธรรม (the authoritative allocation of values to society)

- ชัยอนันต์ สมุทวณิช กล่าวว่า การเมืองเป็นเรื่องของการแข่งขันกัน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการแบ่งปันคุณค่าที่ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ (the competition for the authority to determine the authoritative allocation of values to society)

- ณรงค์ สินสวัสดิ์ กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ช่วงชิง การรักษาไว้ และการใช้อำนาจทางการเมือง โดยอำนาจทางการเมืองหมายถึงอำนาจในการที่จะวางนโยบายในการบริหารประเทศ หรือสังคม อำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลเพื่อช่วยในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และอำนาจที่จะใช้ข้าราชการ งบประมาณหรือเครื่องมืออื่นๆ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ

- ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) แต่ผู้ที่นิยามความหมายของคำว่าการเมืองที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุด คือ ฮาโรลด์ ลาสเวลล์(Harold D. Lasswell) (*) ปรมาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ ชาวอเมริกันที่กล่าวว่า "การเมือง คือ การได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อที่จะตัดสินว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร (Politics is,who gets "What", "When", and "How")

(*)Harold Dwight Lasswell (February 13, 1902 - December 18, 1978) was a leading American political scientist and communications theorist. He was a member of the Chicago school of sociology and was a student at Yale University in political science. He was a President of the World Academy of Art and Science (WAAS). Along with other influential liberals of the period, such as Walter Lippmann, he argued that democracies needed propaganda to keep the uninformed citizenry in agreement with what the specialized class had determined was in their best interests. As he wrote in his entry on propaganda for the Encyclopaedia of the Social Sciences, we must put aside "democratic dogmatisms about men being the best judges of their own interests" since "men are often poor judges of their own interests, flitting from one alternative to the next without solid reason".

He is well known for his comment on communications:
Who (says) What (to) Whom (in) What Channel (with) What Effect
and on politics: Politics is who gets what, when, and how.

Lasswell studied at the University of Chicago in the 1920s, and was highly influenced by the pragmatism taught there, especially as propounded by John Dewey and George Herbert Mead. More influential, however, was Freudian philosophy, which informed much of his analysis of propaganda and communication in general. During World War II, Lasswell held the position of Chief of the Experimental Division for the Study of War Time Communications at the Library of Congress. Always forward-looking, late in his life, Lasswell experimented with questions concerning astropolitics, the political consequences of colonization of other planets, and the "machinehood of humanity."

คำว่า "อำนาจ"
ในที่นี้หมายความถึงพลังอะไรบางอย่าง ที่จะสามารถบังคับให้คนหรือกลุ่มบุคคลที่มีพลังน้อยกว่ากระทำตามที่ต้องการ เช่น พ่อแม่มีอำนาจที่จะบังคับให้ลูกไปโรงเรียน ตำรวจมีอำนาจบังคับให้ผู้คนปฏิบัติตามกฎจราจร กลุ่มโอเปกรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองราคาน้ำมันในตลาดโลก ฯลฯ โดยอำนาจอาจจะอยู่ในรูปแบบอะไรก็ได้ เช่น ข้อมูลข่าวสาร ฐานะทางการเงิน เกียรติยศทางสังคม เป็นต้น

การเมืองเกิดจากความเป็นจริงที่ว่า ความจำเป็นต่างๆ ของมนุษย์มีจำกัด เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม ในขณะที่ความต้องการของมนุษย์มีอยู่อย่างไม่จำกัด การเมืองจึงเกิดขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นกฎเกณฑ์ในการแบ่งสรรความจำเป็นต่างเหล่านี้ ซึ่งต้องเกี่ยวพันกับ "อำนาจ" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าการเมืองมิใช่เป็นเพียงเรื่องที่รัฐบาลจะทำอะไร รัฐสภาจะออกกฎหมายอะไร เทศบาลจะสร้างเตาเผาขยะที่ไหน ฯลฯ แต่เกี่ยวพันไปในทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่าง ที่เกี่ยวพันกับการได้มาซึ่งอำนาจ เพื่อที่จะตัดสินว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร? ดังนั้น การเมืองย่อมแทรกซึมไปทุกที่นับตั้งแต่ระดับใหญ่สุด คือระดับระหว่างประเทศไปจนถึงระดับเล็กสุด เช่น การจดทะเบียนมรดกโลกประสาทพระวิหาร การเมืองในชุมชนหรือหมู่บ้าน หรือแม้กระทั่งการเมืองในองค์กรหรือการเมืองในสำนักงาน ที่มีการต่อสู้ช่วงชิงยศช่วงชิงตำแหน่ง และผลประโยชน์ต่างๆ อยู่เสมอ

การดำเนินการทางการเมืองนั้น รวมไปถึงไม่ว่าจะเป็นการกำหนดจุดสร้างโรงไฟฟ้าหรือการสร้างเขื่อน การจะขึ้นหรือลดภาษี การสรรหา สว. การสรรหาคณะกรรมการในองค์กรอิสระทั้งหลาย การเลือกตั้งคณะกรรมการในองค์กรวิชาชีพทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพใดก็ตาม (รวมทั้งองค์กรตุลาการด้วย) การตกลงว่าจะให้พระภิกษุรูปใดรับผ้ากฐิน การตกลงกันภายในกลุ่มพลังต่างๆ ว่าจะกำหนดแนวทางการต่อสู้อย่างไร ก็คือการเมือง ฉะนั้น ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์นี้เราไม่สามารถหลีกหนีการเมืองไปได้ การที่พยายามจะไม่ให้มีการเมืองในกิจกรรมที่จะต้องแบ่งสรรอำนาจจึงขัดธรรมชาติและเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ว่าเราจะจัดสรรอย่างไรให้มีข้อขัดแย้งให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

แทนที่จะเราเบื่อการเมืองหรือหลีกหนีการเมือง(ซึ่งหนีไม่พ้น) เราควรจะกลับมามองการเมืองอย่างพินิจใคร่ครวญว่า เหตุแห่งความยุ่งยากทั้งหลายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น เกิดจากอะไร ข้อกล่าวหาต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายสาดใส่เข้าหากันนั้น จริงและเท็จแค่ไหน เราฟังความครบทุกข้างแล้วหรือไม่ ก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกข้าง (ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีเฉพาะข้างรัฐบาลกับพันธมิตรเท่านั้น)

เมื่อเราหนีการเมืองไม่ได้ เราก็ต้องหาวิธีที่จะอยู่กับการเมืองอย่างฉลาด โดยเรียนรู้วิธีที่จะจัดการกับบรรดาอำนาจทั้งหลาย เพื่อที่จะตัดสินว่าใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร นั่นเอง

๒. ประชาธิปไตยกับอภิชนาธิปไตย
ในความเชื่อของพวกอภิชนาธิปไตย(aristocracy)นั้น เชื่อว่าระบอบการปกครองที่ดีจะต้องมาจากคนที่มีความสามารถ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่สมควรมีสิทธิในการปกครองเท่านั้น โดยเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ไม่สามารถหาคนที่มีความรู้ความสามารถมาปกครองประเทศได้อย่างแท้จริง ดังนั้น ในความคิดของพวกอภิสิทธิ์ชนเหล่านี้ จึงต้องการให้คนกลุ่มน้อยที่มีความสามารถเข้ามาปกครองประเทศ บางคนเลยเถิดไปถึงกับเสนอให้มีระบบ "การเมืองใหม่" ที่เสนอสูตรผสมของผู้เข้าสู่อำนาจในสัดส่วน 70:30 กล่าวคือเพิ่มกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็น ร้อยละ 70 และลดที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งโดยวิธีการเลือกตั้งลงเหลือร้อยละ 30 ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อเรียกร้องของบุคคลที่อ้างว่าทำเพื่อ "ประชาธิปไตย" แต่กลับมีข้อเรียกร้องในเชิง "อภิชนาธิปไตย"

(*)Aristocracy is a hereditary form of government, where rule is established through an internal struggle over who has the most status and influence over society and internal relations. Power is maintained by an hereditary elite, from a caste, class, family (or even some individuals).

Aristocracies have most often been hereditary plutocracies (**), with a belief in their own superiority. Aristocracies often include a monarch who although a member of the aristocracy rules over the aristocracy as well as the rest of society. Aristocracy can also refer to the highest class in society even if they do not rule directly. They are usually under the leaders of the country in the ladder of status. The term "aristocracy" is derived from the Greek aristokratia, meaning the rule of the best.

(**) Plutocracy is rule by the wealthy, or power provided by wealth. In a plutocracy, the degree of economic inequality is high while the level of social mobility is low. This can apply to a multitude of government systems, as the key elements of plutocracy transcend and often occur concurrently with the features of those systems. The word plutocracy (Modern Greek: ploutokratia) is derived from the ancient Greek root ploutos, meaning wealth and kratein, meaning to rule or to govern. Pluto was also the Roman version of the Greek God Hades, the God of the Underworld and wealth

คำว่าประชาธิปไตย มาจากคำว่า democracy ซึ่ง demos มาจากคำว่า people หรือประชาชน และคำว่า kratein มาจากคำว่า to rule หรือปกครอง กล่าวโดยสรุป คือ democracy หรือประชาธิปไตย แปลว่า การปกครองโดยประชาชน (rule by people) หรืออาจกล่าวได้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน(popular sovereignty) นั่นเอง

ความหมายของประชาธิปไตยนั้นนอกเหนือจากนิยามที่ทราบโดยทั่วไปว่า "เป็นรูปแบบการปกครองแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และมีสิทธิ อำนาจ และโอกาสในการเข้าควบคุมกิจการทางการเมืองของชาติ" แล้ว ยังหมายความรวมถึงปรัชญาของสังคมมนุษย์ หรือวิถีชีวิตที่ยึดถืออุดมคติ หรือหลักการที่กำหนดพฤติกรรมระหว่างมนุษย์ในสังคม ในกิจการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม คือ

1) การเมือง ประชาชนแต่ละคนมีส่วนในการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น

2) เศรษฐกิจ ประชาชนมีเสรีภาพในการประกอบการทางเศรษฐกิจ หรือให้บุคคลได้รับหลักประกันในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ หรือทางเศรษฐกิจที่ตนเองได้ลงแรงไป

3) สังคม ประชาชนได้รับความยุติธรรมในสังคม ไม่มีการกีดกันระหว่างชนชั้น กลุ่มชน หรือความแตกต่างใดๆ หรือเกิดระบบอภิสิทธิ์ชนหรือระบบอุปถัมภ์

4) วัฒนธรรม ส่งเสริมค่านิยม แบบแผน หรือประเพณีที่ยึดมั่นในหลักการประนีประนอม การใช้เหตุผล การยอมรับนับถือคุณค่าและศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ มีความเข้าใจและเห็นประโยชน์ในการร่วมมือกันเพื่อส่วนรวม โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนเพียงฝ่ายเดียว รวมทั้งการยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่ชอบธรรมและเหมาะสมกับกาลสมัย ตลอดจนให้ความสำคัญกับสมาชิก ที่อยู่ในสังคมเดียวกัน

ประชาธิปไตยจึงมีความหมายทั้งในรูปแบบการปกครองและปรัชญาในการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยเน้นไปที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ส่วนรวม รัฐบาลที่เกิดขึ้นจึงเป็นเสมือนเครื่องมือในการช่วยให้ประชาชนได้บรรลุจุดหมายปลายทางของสังคม นั่นคือความผาสุกของประชาชนทั้งปวง ซึ่งหมายถึง

1) เสรีภาพ ที่บุคคลมีและใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสอดคล้องกับหลักการเรื่องความมั่นคง ความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสวัสดิการของส่วนรวม

2) โอกาส ที่บุคคลจะสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ตามความต้องการ ทุกคนจะได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการที่จะพัฒนาศักยภาพต่างๆ ตามความสามารถของตนเอง

3) ความเจริญ ที่บุคคลมีโอกาสพัฒนาตัวอง มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านสติปัญญา ความสามารถและบุคลิกภาพของแต่ละคน ศักดิ์และสิทธิ์ในการปกครองประเทศ หรือการมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจปกครองตนเอง

จากหลักการเบื้องต้นของประชาธิปไตยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นหลักการสากลไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของโลก ไม่จำเพาะว่าจะต้องเป็นประชาธิปไตยแบบฝรั่ง หรือประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ผู้คนชอบอ้าง เมื่อต้องการออกนอกลู่นอกทางของหลักการประชาธิปไตย. ดังนั้น การที่พวกอภิสิทธิ์ชนที่ต้องการให้คนกลุ่มน้อยที่เชื่อว่ามีความสามารถเหนือประชาชนธรรมดาสามัญเข้ามาปกครองประเทศ จึงขัดต่อหลักความเสมอภาค เพราะเท่ากับการไม่ยอมรับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นเป็นสิ่งที่ขัดต่อสภาพอันแท้จริงของมนุษย์

ในบางครั้งการปกครองแบบประชาธิปไตย อาจไม่สามารถคัดเลือกคนที่มีความสามารถคัดเลือกคนที่มีความสามารถเข้ามาปกครองประเทศได้สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การที่ให้บุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน นำความต้องการของประชาชนมาใช้ได้ ย่อมดีกว่าการที่ได้คนดีมีความสามารถแต่ใช้ความสามารถนั้นหาประโยชน์เข้าสู่ตัวเอง โดยไม่ฟังเสียงของประชาชน

พวกอภิชนาธิปไตยมักชอบอ้างว่ามนุษย์โดยทั่วไปนั้นไม่มีความรู้ความสามารถ ไม่มีความเข้าใจและไม่ทราบความต้องการของตัวเอง ฉะนั้นประชาธิปไตยหรือการปกครองโดยประชาชนจึงเป็นการปกครองที่ไม่มีประโยชน์ เพราะประชาชนเป็นกลุ่มคนที่ไร้คุณภาพ ไม่สมควรที่จะมาปกครองประเทศ คนที่ดีที่เหมาะสมที่จะมาปกครองประเทศก็คือชนชั้นนำ ซึ่งแนวความคิดของพวกอภิชนาธิปไตยนี้กล่าวได้ว่า ไม่ตรงกับความจริง เพราะในแต่ละประเทศก็มีคนที่มีความรู้ความสามารถอยู่ทั่วไป และคนต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นบุคคลธรรมดาที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน และทำให้ประชาธิปไตยสามารถดำเนินไปด้วยดี ในทางปฏิบัติระบอบอภิชนาธิปไตยกลับสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศมาหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่นหรือเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น

ในหลายครั้งเราอาจได้ยินข้อกล่าวหาที่ว่า ประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ไม่มีประสิทธิภาพ ล่าช้า ไม่รวดเร็ว ซึ่งก็อาจจะเป็นความจริงอยู่บ้าง เพราะกระบวนการของประชาธิปไตยต้องอาศัยความเห็นชอบ ต้องศึกษาความต้องการและรับฟังเสียงต่างๆ จากประชาชน แต่ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีความก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ ตรงข้ามกับระบอบอภิชนาธิปไตยหรือเผด็จการ ซึ่งอาจจะสัมฤทธิผลต่างๆ ในเวลาอันสั้น แต่ความก้าวหน้าต่างๆ นั้นไม่ยั่งยืน อาทิ อาณาจักรไรซ์ (*) ของนาซีเยอรมันสามารถคงอยู่ได้เพียง 6-7 ปี ส่วนประเทศอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกาที่ยึดถือประชาธิปไตยเป็นหลัก ยังคงมีความก้าวหน้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ แม้แต่เยอรมันหรือญี่ปุ่นที่เปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีความเจริญก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด

(*)Nazi Germany and the Third Reich are the common English names for Germany under the regime of Adolf Hitler and the National Socialist German Workers Party (AKA NSDAP or the Nazi Party), which established a totalitarian dictatorship that existed from 1933 to 1945. Officially, the state was, as in the preceding Weimar Republic era, still called the Deutsches Reich (German Reich). In 1943 GroBdeutsches Reich (Greater German Reich), became the official name.

The state was a major European power from the 1930s to the mid-1940s. Its historical significance lies mainly in its responsibility for starting World War II, and its commission of large-scale crimes against humanity, such as the persecution and mass-murder of millions of Jews, minorities, and dissidents in the genocide known as the Holocaust. The state came to an end in 1945, after the Allied Powers succeeded in seizing German-occupied territories in Europe and in occupying Germany itself.

ประวัติศาสตร์สอนเรามาโดยตลอด แต่หลายคนไม่รู้จักเข็ดหลาบ กลับพยายามหมุนเข็มนาฬิกากลับไปอยู่ยุคดึกดำบรรพ์ที่มีอภิสิทธิ์ชนไม่กี่กลุ่มนำพาประเทศไปพบจุดจบอันน่าอเนจอนาถ. กรุงโรมไม่สามารถสร้างเสร็จได้ภายในวันเดียว ฉันใด ระบอบการเมืองไทย ก็ย่อมไม่อาจแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่มักง่ายด้วยการให้คนเพียงไม่กี่กลุ่มปกครองประเทศ โดยไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ก็ ฉันนั้น


๓. บทบาทและอำนาจหน้าที่ใหม่ของศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญปี ๕๐

ศาลปกครองเป็นองค์กรตุลาการที่ก่อกำเนิดขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ ที่ปัจจุบันรัฐธรรมนุญฉบับัดงกล่าวถูกยกเลิกไปแล้ว โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ ดังนี้ (ข้อความที่อยู่ในวงเล็บหมายถึง ข้อความที่แตกต่างกันระหว่างรัฐธรรมนูญ ๒ ฉบับ)

๑. เป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่(อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล)กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการสวนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ(ที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน)

๒. เป็นข้อพิพาท(อันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำ)ที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้อง(รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่)ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา ๒๗๖ วรรคหนึ่ง)

ต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ ดังนี้

๑. เป็นคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ) หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ) หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน

๒. เป็นข้อพิพาท(อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง)ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

๓. เป็นเรื่องที่(รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจ)ของศาลปกครอง

๔. แต่(ไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ)ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น (มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งและวรรคสอง)

๕. เป็นเรื่องที่(ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอความเห็น)ว่ากฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใด ตามมาตรา ๒๔๔ (๑) (ก) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย (มาตรา ๒๔๕ (๒))

๖. เป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับ(คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน การคลัง และการงบประมาณ)
(มาตรา ๒๔๓ วรรคหนึ่ง)

๗. เป็นเรื่องที่(คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอความเห็นว่า) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครอง (กระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย) (มาตรา ๒๕๗ (๓))

บทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของศาลปกครอง
๑) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ม.๒๔๕ (๒)) มีการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นเมื่อเห็นว่ากฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใดตามมาตรา ๒๔๔ (๑) (ก) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งเป็นการกำหนดให้ชัดเจนขึ้นว่า ถ้าเป็นกฎหรือคำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด จะต้องเสนอเรื่องไปยัง ศาลปกครองเท่านั้น มิได้ให้อำนาจผู้ตรวจการแผ่นพิจารณาว่า จะส่งไปศาลรัฐธรรมนูญหรือ ศาลปกครองเช่นเดิม

๒) คณะกรรมการการเลือกตั้ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง มาตรา ๒๒ กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครอง หรือการดำเนินกิจการทางปกครองของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และมิใช่การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เป็นอำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งแต่เดิม ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่า ศาลปกครองไม่มีอำนาจที่ว่านี้หากเป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยตรง แต่ของใหม่นี้จำเพาะที่มิใช่การวินิจฉัยฯ ที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

๓) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ม. ๒๕๗ (๓)) มีอำนาจในการเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นไปยังศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่ผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครอง ที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน และมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี ๔๐ ไม่ได้ให้อำนาจนี้ไว้แก่คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติแต่อย่างใด

๔) คณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง (ม.๒๕๓ วรรคหนึ่ง) ในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กำหนดให้คดีพิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลัง ที่ตั้งโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่มีหน้าที่วินิจฉัยการดำเนินการที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน การคลัง และการงบประมาณเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ซึ่งแต่เดิมไม่มีกรณีเช่นว่านี้แต่อย่างใด

ผลต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จะต้องมีการแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

๑) หน่วยงานทางปกครอง ต้องมีการแก้ไขบทบัญญัติที่ว่าด้วยนิยาม "หน่วยงานทางปกครอง"ตาม ม.๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ เพราะรัฐธรรมนูญ ม.๒๓๓ ขยายให้หมายรวมถึงองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐทุกประเภท ยกเว้นเฉพาะการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น

๒) จำนวนตุลาการ ต้องมีการแก้ไบทบัญญัติที่ว่าด้วยจำนวนตุลาการตาม ม.๑๒ วรรคสอง และ ม.๑๗ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯจากเดิม ที่ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง(กศป.)กำหนด โดยให้ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาด้วย แต่รัฐธรรมนูญ ม.๒๒๔ วรรคสี่บัญญัติให้การกำหนดจำนวนตุลาการศาลปกครองในแต่ละชั้นศาล ให้เป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
๓) องค์ประกอบและองค์ประชุมของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง ต้องมีการแก้ไข ม.๓๕, ม.๓๖, ม.๓๗, ม.๓๘ และ ม.๔๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ เพราะรัฐธรรมนูญ ม.๒๒๖ วรรคสาม บัญญัติว่าแม้ไม่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือมีแต่ไม่ครบ ๓ คน ถ้ากรรมการไม่น้อยกว่า ๖ คน เห็นว่า เป็นเรื่องด่วนที่ต้องให้ความเห็นชอบ ก็ให้เป็นองค์ประกอบและองค์ประชุมพิจารณาเรื่องด่วนนั้นได้ ซึ่งก็เป็นการผ่อนคลายความเคร่งครัดในเรื่องของจำนวนขององค์ประกอบและองค์ประชุมลงกว่าเดิม

จะเห็นได้ว่าบทบาทและหน้าที่ของศาลปกครองได้มีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก จึงเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามและให้ความสนใจ ไม่จำเพาะแต่ผู้ที่อยู่ในวงการนักกฎหมายเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของเราทุกคน เพราะไม่แน่ว่าวันใดวันหนึ่งเราก็อาจจะต้องมีโอกาสใช้สิทธิทางศาลปกครองบ้างเช่นกัน

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก เกี่ยวกับเรื่องศาลปกครองในต่างประเทศ


Administrative Court
An administrative court is a court specializing in administrative issues, particularly disputes concerning the exercise of public power. Their role is to ascertain that official acts are consistent with the law. Such courts are found in some European countries with civil law and are considered separate from general courts.

The administrative acts are recognized from the hallmark that they become binding without the consent of the other involved parties. The contracts between authorities and private persons fall usually to the jurisdiction of the general court system. Official decisions contested in administrative courts include:

- taxation
- dispensation of monetary benefits
- environmental licenses
- building inspection
- child custody
- involuntary commitment
- immigration decisions
- summary public payments (other than fines imposed by general courts)

In several countries, in addition to general courts, there is a separate system of administrative court, where the general and administrative systems do not have jurisdiction over each other. Accordingly, there is a local administrative court of first instance, possibly an appeals court and a Supreme Administrative Court separate from the general Supreme Court.

The parallel system is found in the Nordic Countries, Greece, Germany, France. In France, Greece and Sweden, the system has three levels like the general system, with local courts, appeals courts and a Supreme Administrative Courts. In Finland and Poland, the system has two levels, where the court of first instance is a regional court. In Germany, the system is more complicated, and courts are more specialized.

In Finland, legality of decisions of both state agencies and municipal authorities can be appealed to the administrative courts. In accordance with the principle of the legal autonomy of municipalities, administrative courts can only review and rule on the formal legality of the decision, not its content. In the case of state agencies, administrative courts may rule on the actual content of the decision.
http://en.wikipedia.org/wiki/Administrative_court

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 15 July 2008 : Copyleft by MNU.

การดำเนินการทางการเมืองนั้น รวมไปถึงไม่ว่าจะเป็นการกำหนดจุดสร้างโรงไฟฟ้าหรือการสร้างเขื่อน การจะขึ้นหรือลดภาษี การสรรหา สว. การสรรหาคณะกรรมการในองค์กรอิสระทั้งหลาย การเลือกตั้งคณะกรรมการในองค์กรวิชาชีพทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพใดก็ตาม (รวมทั้งองค์กรตุลาการด้วย) การตกลงว่าจะให้พระภิกษุรูปใดรับผ้ากฐิน การตกลงกันภายในกลุ่มพลังต่างๆ ว่าจะกำหนดแนวทางการต่อสู้อย่างไร ก็คือการเมือง ฉะนั้น ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์นี้เราไม่สามารถหลีกหนีการเมืองไปได้ การที่พยายามจะไม่ให้มีการเมืองในกิจกรรมที่จะต้องแบ่งสรรอำนาจจึงขัดธรรมชาติและเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ว่าเราจะจัดสรรอย่างไรให้มีข้อขัดแย้งให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด แทนที่จะเราเบื่อการเมืองหรือหลีกหนีการเมือง

H