1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
สิทธิมนุษยชน สิทธิด้านอาหาร
และการเยียวยา
บทนำ: ลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารและเรื่องเกี่ยวเนื่อง
ทศพล
ทรรศนกุลพันธ์ : ผู้วิจัย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
งานวิจัยต่อไปนี้ ได้รับจากผู้เขียน
และถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)
เนื้อหาบนหน้าเว็บเพจนี้
ตัดมาบางส่วนจากงานวิจัยเรื่อง
"ลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชน" ชื่อภาษาอังกฤษ
THE PROSPECT OF INDIVIDUAL'S REMEDIES ON RIGHT TO FOOD
ซึ่งเป็นงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยได้นำเสนอเฉพาะในส่วนของบทคัดย่อ และบทนำของงานวิจัยบางส่วนเท่านั้น
สาระสำคัญของเนื้อหา ประกอบด้วย บทคัดย่อ, ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา,
ผลกระทบภาวะขาดแคลนอาหาร ๑๐ ประการ, สิทธิด้านอาหารตามวัฒนธรรมท้องถิ่น,
วัฒนธรรมข้าว, อันนัม บาฮู คูร์วิตา.
ในส่วนเสริมของงานวิจัยนี้ ประกอบด้วยภาคผนวก (ก) คือ Right to Food
และภาคผนวก (ข) Stolen Harvest : The Hijacking of the Global Food Supply
ทั้งหมดในส่วนนี้รวบรวมโดย กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๖๑๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สิทธิมนุษยชน สิทธิด้านอาหาร
และการเยียวยา
บทนำ: ลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารและเรื่องเกี่ยวเนื่อง
ทศพล
ทรรศนกุลพันธ์ : ผู้วิจัย
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชน โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า "แม้กฎหมายระหว่างประเทศจะรับรองสิทธิด้านอาหารในสถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์ฉุกเฉิน ตลอดจนกำหนดกลไกในการเยียวยา อย่างไรก็ดีการบังคับตามสิทธิขึ้นอยู่กับการบังคับในระดับรัฐเป็นสำคัญ หากขาดการเยียวยาในระดับดังกล่าว จำต้องมุ่งสู่การเยียวยาระหว่างประเทศ"
การพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นทำให้พบผลการศึกษา 4 ประเด็นหลัก คือ
1. กฎหมายระหว่างประเทศได้รับรองสิทธิด้านอาหารในสถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์ฉุกเฉิน ผ่านทางกฎหมายสิทธิมนุษยชน และกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ไว้อย่างชัดแจ้ง และได้กำหนดถึงพันธกรณีในการบังคับใช้สิทธิด้านอาหารด้วย นอกจากกฎหมายทั้งสองแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องยังได้กำหนดการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนไว้ในหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองต่อสิทธิของปัจเจกชนในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การบังคับใช้สิทธิด้านอาหารในปัจจุบัน ได้สะท้อนว่ามีทั้งปัจจัยเอื้อและอุปสรรคต่อการเยียวยาสิทธิของปัจเจกชน โดยปรากฏสภาพปัญหาของสิทธิด้านอาหารในเชิงกฎหมายและเชิงปฏิบัติอยู่บางประการ ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการเยียวยาในหลายระดับเข้ามาแก้ไข2. การบังคับตามสิทธิต้องใช้มาตรการเยียวยาภายในเสียก่อน โดยปรากฏมาตรการบังคับใช้เพื่อเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนภายในประเทศในสถานการณ์ปกติพอสมควร ทั้งมาตรการทางกฎหมาย และมาตรการพัฒนาในภาคปฏิบัติที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาความหิวโหยของประชาชนในรูปแบบต่างๆ ดังสะท้อนให้เห็นในหลายกรณีศึกษา ส่วนมาตรการภายในสำหรับเยียวยาสิทธิในสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังปรากฏไม่มากนัก โดยเฉพาะมาตรการในการเยียวยาสิทธิยามสงคราม ทำให้เกิดบทเรียนจากการบังคับใช้มาตรการที่ผ่านมาว่าการเยียวยาสิทธิด้านอาหารในสถานการณ์ทั่วไปต้องใช้มาตรการภายในเป็นหลัก ส่วนการเยียวยาสิทธิในสถานการณ์ฉุกเฉินต้องมุ่งสู่มาตรการระหว่างประเทศ
3. มาตรการระหว่างประเทศสำหรับเยียวยาสิทธิด้านอาหารในสถานการณ์ปกติมีอยู่บ้าง โดยระบบเยียวยาระดับภูมิภาคมีเพียงระบบของภูมิภาคอัฟริกาที่เปิดโอกาสให้ปัจเจกชนเข้าถึง ส่วนมาตรการระดับพหุภาคียังไม่มีมาตรการเยียวสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนเป็นการเฉพาะ โดยปัจเจกสามารถใช้มาตรการระหว่างประเทศสำหรับเยียวยาสิทธิในสถานการณ์ปกติมาปรับใช้กับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรงต้องอาศัยมาตรการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้มาตรการเชิงปฏิบัติขององค์กร และองค์การระหว่างประเทศ ก็มีส่วนส่งเสริมการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในทั้งสองสถานการณ์
4. ลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในยามปกติต้องอาศัยมาตรการภายในเป็นหลัก ทั้งกระบวนการทางกฎหมาย การรวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิต่อรัฐ และการจัดโครงการพัฒนามาสนับสนุน โดยอาจใช้มาตรการระหว่างประเทศมาเสริมในแง่พันธกรณีทางกฎหมาย แต่ลู่ทางในการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในสถานการณ์ฉุกเฉินต้องอาศัยมาตรการระหว่างประเทศ โดยเฉพาะมาตรการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่สามารถปฏิบัติได้อย่างมีผลผูกทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปยังกลุ่มเสี่ยง การลงโทษตัวตนผู้ละเมิดสิทธิของปัจเจกชน หรือการรักษาสันติภาพในเขตภัยพิบัติเพื่อส่งเสริมสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในพื้นที่
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
อาหารเป็นปัจจัยในการดำรงชีพที่สำคัญที่สุด เนื่องจากตั้งแต่เกิดจนตายมนุษย์ต้องได้รับอาหารที่เพียงพอทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพเพื่อการดำรงชีวิต การขาดแคลนอาหาร หรือ ตกอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ สามารถกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของมนุษย์และสังคมได้อย่างมหาศาล จากการศึกษาวิจัยขององค์กรต่างๆ รวมถึงองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง พบว่า ภาวะขาดแคลนอาหาร ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพการดำรงชีพ อย่างมาก อาทิ
ผลกระทบภาวะขาดแคลนอาหาร ๑๐ ประการ
1) ทำให้เด็กเข้าถึงระบบการศึกษาช้า มีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำ ขาดสมาธิ และมีแนวโน้มว่าเด็กที่อดอยากจะต้องออกจากโรงเรียนเร็วกว่าเด็กอื่นๆ เพราะต้องออกไปช่วยครอบครัวหารายได้ หรือ ระดับสติปัญญาต่ำเกินกว่าจะเรียนหนังสือแบบปกติได้
2) ทำให้สตรีมีสุขอนามัยเสื่อมโทรม สูญเสียความสามารถในการหารายได้ ยังผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างเพศ อีกทั้งยังทำลายโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และเทคโนโลยี ซึ่งจะขัดขวางการพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาของสตรีอีกด้วย
3) เป็นสาเหตุหลักของการแท้งบุตรในสตรีขณะตั้งครรภ์ รวมไปถึงภาวการณ์ตายของทารกหลังการคลอด การขาดสารอาหารในสตรีมีครรภ์เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สุดของการเพิ่มขึ้นของภาวการณ์แท้งบุตร และคลอดบุตรตาย
4) เป็นสาเหตุหลักของการตายในวัยเด็ก กว่าครึ่งของเด็กที่ตายมาจากโรคที่เกี่ยวกับการขาดสารอาหาร ซึ่งเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดในการลดปริมาณการตายในวัยเด็ก
5) บั่นทอนระบบภูมิคุ้มกันโรคของมนุษย์ ทั้งยังทำให้มนุษย์เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อโรคติดต่อรายแรงต่างๆ เช่น การติดเชื้อเอดส์ มาลาเรีย
6) ภาวะขาดแคลนอาหารในชนบทที่ทุรกันดาร มีสาเหตุมาจากความล้มเหลวด้านการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง หรือภัยธรรมชาติ ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้จึงต้องหันหน้าเข้าสู่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนักซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืน ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าวเสียหายและเสื่อมสภาพ ยากที่จะฟื้นฟูให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์
7) ทำให้ความสามารถในการผลิตของมนุษย์ลดลง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลไม่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ตกอยู่ในวังวนของความยากจน และอดอยาก
8) ทำให้ความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรและตลาดน้อยลง ผู้ที่มีความสามารถอยู่ก่อนก็จะยิ่งเพิ่มการผูกขาดและบิดเบือนตลาด จนกลุ่มผู้ยากไร้อดอยากหิวโหยเรื้อรังไม่มีส่วนร่วมในระบบการพัฒนาเศรษฐกิจ
9) ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรอันเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้งในหลายกรณี นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
10) ทำให้มนุษย์แสวงหาวิทยาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเร่งรีบ จนบางครั้งมิได้ศึกษาผลกระทบของวิทยาการที่คิดอย่างรอบด้าน เมื่อนำมาใช้ในระบบเกษตรกรรมกลับสร้างความเสียหายในระยะยาวมากกว่าผลลัพธ์ในระยะสั้น เนื่องจากไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น การใช้สารเคมี
(หมายเหตุ : ข้อมูลจาก FAO, The State of Food Insecurity in the World 2005, p.2-4.)
ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาความหิวโหยว่า มิได้เป็นเพียงเรื่องปากท้อง แต่เป็นรากฐานที่สำคัญของการสร้างความมั่นคงระดับประเทศและโลก ดังนั้นรัฐและประชาคมระหว่างประเทศจึงต้องหามาตรการที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหารให้ทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง. ประชาคมโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิทธิด้านอาหารอย่างชัดเจน เมื่อมีการออกกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศก็จะคำนึงถึงสิทธิด้านอาหารอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิด้านอาหารก็ได้มีพัฒนาการทางกฎหมายมาเป็นลำดับ ทั้งส่วนที่เป็นเป้าหมายของการบรรลุผลการคุ้มครองสิทธิด้านอาหาร และส่วนของการบังคับใช้มาตรการให้ได้ผลลัพธ์ตามมาตรฐาน อย่างไรก็ดีพลวัตของโลก เช่น ภัยธรรมชาติ สงครามความขัดแย้ง กระแสโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิด้านอาหารในหลายมิติ ทำให้เป้าหมายในการขจัดความอดอยากหิวโหยไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายวางไว้ เพราะไม่อาจเข้าถึงพื้นฐานของปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ ปัญหาความหิวโหยของปัจเจกชนในระดับครัวเรือน เนื่องจากประชากรเหล่านั้นมักไม่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือไม่มีแม้แต่โอกาสในการเรียกร้องสิทธิของตนเอง
จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ด้านอาหารที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา จนเกิดภาวะความหิวโหยเรื้อรัง ประชากรอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ อันเป็นผลจากภัยธรรมชาติ เหตุจลาจลและภัยสงคราม การใช้อาหารเป็นเครื่องมือทางการเมือง และความด้อยพัฒนาเกษตรกรรม ขณะที่ปัญหาความอดอยากร้ายแรงเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา แต่ภาวะอดอยากแอบแฝงก็ได้ปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลกแม้แต่ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจแล้วก็ตาม เนื่องจากรากเหง้าของปัญหาความอดอยากและทุพโภชนาการไม่ใช่การขาดแคลนอาหาร แต่อยู่ที่ประชากรขาดโอกาสที่จะเข้าถึงอาหาร เพราะปัจเจกชนยังขาดช่องทางในการเรียกร้องสิทธิด้านอาหารของตนโดยตรง
การเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีช่องทางให้ปัจเจกชนเรียกร้องสิทธิ แต่ด้วยพัฒนาการของสิทธิด้านอาหารที่ผูกติดกับกระบวนการพัฒนากฎหมายสิทธิมนุษยชนทั้งระบบ จึงต้องประสบกับอุปสรรคในการพัฒนาสิทธิเป็นอย่างมาก เนื่องจากการประชุมระหว่างประเทศหรือการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิด้านอาหาร มักจะจัดสิทธิด้านอาหารให้อยู่ในรูปแบบของสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยสิทธิด้านอาหารได้รับการรับรองจากกฎหมายระหว่างประเทศ แต่มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกลไกการเยียวยาสิทธิด้านอาหารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายต่อรัฐโดยตรง ซึ่งต่อมา คณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม ภายใต้กติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ก็ได้ออกความเห็นทั่วไปที่ 12 ซึ่งได้กล่าวถึงแนวทางเพื่อเป็นหลักประกัน "สิทธิในการได้รับอาหาร" และได้มีการกล่าวถึงกระบวนการความรับผิดและการเยียวยาอยู่ด้วย แต่ก็เป็นเพียงการให้แนวทางแก่รัฐเท่านั้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เอง มากกว่าการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องทำอย่างไร และผลผูกพันทางกฎหมายก็ไม่หนักแน่นพอ จึงทำให้เกิดช่องว่างระหว่างการเยียวยาสิทธิด้านอาหารในสถานการณ์ปกติกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ปฏิญญาและแผนปฏิบัติการสิทธิมนุษยชนเวียนนา 1993 (Vienna Declaration and Programme of Action 1993) ก็ได้กระตุ้นให้สร้างกระบวนการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนให้ปัจเจกชนสามารถนำเรื่องการละเมิดสิทธิของตนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อรับการเยียวยาสิทธิโดยตรง แต่สถานการณ์จริงก็ยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ปฏิญญาฯเวียนนาคาดหวังไว้ เช่นเดียวกับความพยายามของหลักการปารีสฯ (Principles Relating to the Status of National Institutions 1991) ที่พยายามให้รัฐจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น เพื่อตรวจตราการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนภายในประเทศและเป็นช่องทางให้เกิดการเยียวยาสิทธิมนุษยชนให้แก่ปัจเจกชนโดยตรง ซึ่งในความเป็นจริงยังอยู่ในระยะเริ่มต้นในหลายๆ ประเทศเท่านั้น และในยามฉุกเฉินก็ไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่
นอกจากพัฒนาการที่เกิดขึ้นในองค์การด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศแล้ว สิทธิด้านอาหารก็ยังมีพัฒนาการที่เกิดขึ้นในกระบวนการระหว่างประเทศอื่นๆ ด้วย ทั้งการดำเนินการขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และที่ประชุมอาหารโลก โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติได้กล่าวถึงมาตรฐาน "ความมั่นคงด้านอาหาร" และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีกระบวนการตรวจตราให้มีการบังคับใช้มาตรการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายความมั่นคงด้านอาหารอยู่บ้าง แต่ก็มิได้มีผลผูกพันทางกฎหมายต่อรัฐแต่อย่างใด
ต่อมา ปฏิญญาการประชุมอาหารโลกเมื่อปี
2002 ได้ผลักดันให้สร้าง แนวทางตามความสมัครใจเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าในการยอมรับสิทธิในการได้รับอาหารอย่างเพียงพอเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ตามบริบทของความมั่นคงด้านอาหารระดับชาติ (Voluntary Guidelines to Support the
Progressive Realization of the Right to Adequate Food in the Context of National
Food Security 2004) โดยผลักดันให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อสนับสนุนความพยายามของรัฐสมาชิกให้บรรลุเป้าหมายการยอมรับสิทธิในการได้รับอาหารอย่างเพียงพอเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ตามบริบทของความมั่นคงด้านอาหารระดับชาติ (*) โดย แนวทางฯ ฉบับนี้ ยังได้คำนึงถึงการแก้ปัญหาความอดอยากหิวโหยผ่านกระบวนการเยียวยาสิทธิของปัจเจกชนในรูปแบบของกฎหมายและกลไกการบังคับใช้สิทธิตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย
เพื่อให้เกิดการบังคับใช้สิทธิด้านอาหารอย่างจริงจัง และมีผลผูกพันรัฐต่างๆ ให้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
(*) Declaration of the World Food Summit : five years later 2002, pp.10.
อย่างไรก็ตาม พัฒนาการของสิทธิด้านอาหารแสดงให้เห็นว่า กติกาสากลว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รับรองสิทธิด้านอาหารเอาไว้ แต่โดยลักษณะของกติกาที่มิได้เปิดช่องทางให้ปัจเจกชนเรียกร้องสิทธิได้โดยตรง ทำให้พัฒนาการของสิทธิด้านอาหารก้าวไปในแนวทางของสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม กล่าวคือ สิทธิด้านอาหารเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองจากกฎหมาย แต่มิได้มีกลไกมารองรับการเรียกร้องสิทธิโดยตรงจากปัจเจกชนซึ่งต่างจากสิทธิพลเมืองและการเมือง ที่ได้รับรองสิทธิ ที่มีกลไกมารองรับให้ปัจเจกชนสามารถเรียกร้องสิทธิของตนได้โดยตรง หากเกิดการละเมิดสิทธิ อันเป็นช่องทางให้เกิดการเยียวยาสิทธิของปัจเจกชนในที่สุด อันสะท้อนให้เห็นถึงการขาดช่องทางสำหรับเรียกร้องสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในกรอบใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนในทุกระดับ และทำให้การเยียวยาสิทธิด้านอาหารระหว่างประเทศขาดผลผูกพันทางกฎหมายไปด้วย ด้วยเหตุดังนั้น จึงควรต้องมีการปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการบังคับใช้กฎหมายให้มีการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนได้มากขึ้น เพื่อให้เกิดกระบวนการเยียวยาสิทธิด้านอาหารให้กับปัจเจกชนโดยตรงอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม แม้ลักษณะของสิทธิด้านอาหารจะเป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แต่โดยผลแห่งการตีความจากองค์กร อาทิ ความเห็นทั่วไปของคณะกรรมาธิการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ฉบับที่ 12 ได้อธิบายไว้ในหัวข้อ "การเยียวยาและความรับผิด" (Remedies and Accountability) ผนวกกับปฏิญญาเวียนนา 1993 หมวด E ที่กำหนดให้ส่งเสริมกระบวนการเยียวยาสิทธิให้แก่ปัจเจกชนทั้งในระดับระหว่างประเทศ และภายในประเทศ รวมถึงหลักการปารีสที่กระตุ้นให้จัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้น เพื่อตรวจตราการบังคับใช้สิทธิมนุษยชนภายในประเทศขึ้น ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงพันธกรณีบางประการ ที่รัฐจะต้องผลักดันให้มีกลไกเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนให้ได้ในอนาคต
จากการศึกษาพบว่า เริ่มมีกฎหมายในระดับภูมิภาคและภายในประเทศบางฉบับรับรองสิทธิของปัจเจกชนในการเรียกร้องสิทธิด้านอาหารของตนได้โดยตรง และมีมาตรการเยียวยาสิทธิให้แก่ปัจเจกชนทั้งก่อนและหลังเกิดขึ้นบ้างแล้ว รวมทั้งมีคำพิพากษาของศาลภายในที่รับรองสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนขึ้นแล้ว แต่มาตรการทางกฎหมายและกลไกเยียวยาเหล่านั้น ยังมีอุปสรรคในการทำงานอยู่บางประการ โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อค้นหาลู่ทางที่เหมาะสมในกระบวนการเยียวยาสิทธิด้านอาหารของปัจเจกชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งกระบวนการในระดับระหว่างประเทศ และภายในประเทศ รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงให้ตระหนักถึงสิทธิ และมีความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการเยียวยาสิทธิได้มากยิ่งขึ้น
สิทธิด้านอาหารตามวัฒนธรรมท้องถิ่น
นอกจากที่มาของสิทธิด้านอาหารจากบ่อเกิดดังที่กล่าวมาแล้ว ยังปรากฏวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงสิทธิด้านอาหารของมนุษย์ในสังคมต่างๆ เช่น วัฒนธรรมข้าวที่ผูกพันกับวิถีการดำเนินชีวิตของชาวไทย หรือ ค่านิยม "อันนัม บาฮู คูร์วิตา" ของอินเดีย ที่กล่าวถึงสังคมที่ผลิตอาหารให้มากพอสำหรับการแบ่งปันกันระหว่างสมาชิก โดยรายละเอียดของวัฒนธรรมเช่นว่ามีดังต่อไปนี้
วัฒนธรรมข้าวเป็นเอกลักษณ์ที่สังคมชาวนาชาวไร่ได้สั่งสมเลือกสรรปรับปรุงแก้ไข จนเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สามารถใช้ป้องกันและนำพาชีวิตไปสู่เป้าหมายได้ ซึ่งแบบแผนพฤติกรรมและผลงานต่างๆ ดังกล่าวนี้ เป็นวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ของชนส่วนใหญ่ของสังคมไทย. "วัฒนธรรมข้าว" ที่กล่าวข้างต้นนี้ ประกอบด้วยเหตุปัจจัยหลักสองส่วน คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับชาวนา กับส่วนที่เกี่ยวกับข้าว
วัฒนธรรมข้าว
ส่วนที่เกี่ยวกับชาวนา วัฒนธรรมข้าว หมายถึง แบบแผน การประพฤติปฏิบัติ วิถีการดำเนินชีวิต
การแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิด ในสถานการณ์ต่างๆ อันมีเอกลักษณ์ ที่เป็นความเข้าใจซาบซึ้งร่วมกัน
ซึ่งได้สั่งสมเลือกสรรปรับปรุงแก้ไขจนถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
และได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือ เป็นแนวทาง เป็นมาตรการในการแก้ปัญหา ตลอดถึงนำพาชีวิตไปสู่เป้าหมายตามความต้องการของชาวนา
หรือสังคมชาวนา
ส่วนที่เกี่ยวกับข้าว
วัฒนธรรมข้าว หมายถึง ลักษณะทางกายภาพ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ เครื่องมือ เครื่องใช้
ประเพณีพิธีกรรม ความเชื่อ ความรู้ ภูมิปัญญา สภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นมาจากอดีต
จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางสังคมของชาวนาชาวไร่สืบมา ทั้งนี้เนื่องจาก "ข้าว"
มีบทบาทสำคัญต่อชาวไร่ชาวนาเป็นอย่างยิ่ง ชาวไร่ชาวนาเห็นว่าข้าวเป็นองค์รวมของธรรมชาติ
ที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะฉะนั้นข้าวจึงเป็นอาหารหล่อเลี้ยงให้เจริญเติบโต
อยู่เย็นเป็นสุข เพื่อให้มนุษย์ได้ปฏิบัติธรรม ได้บรรลุธรรมสูงสุดอันเป็นเป้าหมายของชีวิตได้โดยอาศัยข้าวหล่อเลี้ยงร่างกายเป็นสำคัญ
เป็นสายใยร้อยรัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอื่นๆ ให้เกิดขึ้นสืบเนื่องถึงกันอย่างลึกซึ้ง
ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ เปิดโอกาสให้มนุษย์ได้พัฒนาตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายตามอุดมการณ์ได้
(*)
(*) เอี่ยม ทองดี, ข้าว
วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง, พิมพ์ครั้งแรก (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มติชน, 2538), หน้า 8-12.
อันนัม บาฮู คูร์วิตา
ค่านิยมเรื่อง "อันนัม บาฮู คูร์วิตา" ที่ปรากฏในคัมภีร์ "ตันติริโญปะนิสัต"
ของชาวอินเดีย ได้กล่าวถึง การเพาะปลูกอาหารธัญพืชขึ้นมาให้มากพอที่จะแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้
ซึ่งสอดแทรกอยู่ในค่านิยมของผู้ปกครองและพลเมืองว่า "ในอารยสังคมจะต้องผลิตอาหารให้มีปริมาณมากเพียงพอ
เพื่อการแบ่งปันอาหารไปยังผู้อื่นที่ขาดแคลน" ซึ่งในสมัยที่ยังมีการปกครองโดยระบอบกษัตริย์และจ้าวผู้ครองแคว้น
ราชาและจ้าวทั้งหลาย มีหน้าที่ในการจัดหาและผลิตอาหารในเมืองของตนให้ได้มากพอที่จะแบ่งปันกันในบ้านเมืองตนอย่างทั่วถึง
แต่ในปัจจุบันก็ยังคงปรากฏเป็นค่านิยมทางศาสนาพราหมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรมตามคัมภีร์
(*)
(*) วันทนา ศิวะ, ปล้นผลิตผล, แปลโดย ไพโรจน์ ภูมิประดิษฐ์, พิมพ์ครั้งแรก (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา, 2544), หน้า112-114. (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับรื่องนี้ที่ภาคผนวก ข.)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ภาคผนวก (ก)
Right to Food
The term "right to food", and its variations, is derived from the
International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR). The
UN Special Rapporteur on the right to food in 2002 defined it as follows:
Right to adequate food is a human right, inherent in all people, to have regular, permanent and unrestricted access, either directly or by means of financial purchases, to quantitatively and qualitatively adequate and sufficient food corresponding to the cultural traditions of people to which the consumer belongs, and which ensures a physical and mental, individual and collective fulfilling and dignified life free of fear.
This definition entails
all normative elements explained in detail in the General Comment 12 of the
ICESCR, which states:
[...] the right to adequate food is realized when every man, woman and child, alone or in community with others, have the physical and economic access at all times to adequate food or means for its procurement.
The Right to Food in the ICESCR
The ICESCR recognizes the "right to an adequate standard of living, including adequate food", as well as the "fundamental right to be free from hunger". The relationship between the two concepts is not straightforward.
For example, "freedom from hunger" (which General Comment 12 designates as more pressing and immediate) could be measured by the number of people suffering from malnutrition and at the extreme, dying of starvation. The "right to adequate food" is a much higher standard, including not only absence of malnutrition, but to the full range of qualities associated with food, including safety, variety and dignity, in short all those elements needed to enable an active and healthy life.
The ICESCR recognises
that the right to freedom from hunger requires international cooperation,
and relates to matters of production, the agriculture and global supply.
Article 11 states that:
The States Parties to the present Covenant... shall take, individually and through international co-operation, the measures, including specific programmes, which are needed: (a) To improve methods of production, conservation and distribution of food by making full use of technical and scientific knowledge, by disseminating knowledge of the principles of nutrition and by developing or reforming agrarian systems in such a way as to achieve the most efficient development and utilization of natural resources; (b) Taking into account the problems of both food-importing and food-exporting countries, to ensure an equitable distribution of world food supplies in relation to need.
Development of the right to food : พัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิด้านอาหาร
- 1941 The Four Freedoms speech by Franklin D. Roosevelt. In this speech Roosevelt set out four points as fundamental freedoms humans "everywhere in the world" ought to enjoy: Freedom of speech and expression, Freedom of religion, Freedom from want, and Freedom from fear.
- 1948 Universal Declaration of Human Rights recognises in Article 25 that "Everyone has the right to a standard of living adequate for the health and well-being of himself and of his family, including food, clothing, housing and medical care and necessary social services, and the right to security in the event of unemployment, sickness, disability, widowhood, old age or other lack of livelihood in circumstances beyond his control."
- 1966 International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR) reiterates the Universal Declaration of Human Rights with regards to the right to an adequate standard of living, including food, and specifically recognises the right to be free from hunger.
- 1976 ICESCR comes into force
- 1993 Human Rights Congress in Vienna, establishment of the Office of the High Commissioner for Human Rights
- 1996 World Food Summit
- 1999 General Comment 12
- 2004 Voluntary Guidelines
http://en.wikipedia.org/wiki/Right_to_food
ภาคผนวก (ข)
Vandana Shiva : วันทนา ศิวะ
Vandana Shiva is a world-renowned environmental thinker and activist. A leader
in the International Forum on Globalization along with Ralph Nader and Jeremy
Rifkin, Shiva won the Alternative Nobel Peace Prize (the Right Livelihood
Award) in 1993. Director of the Research Foundation for Science, Technology,
and Natural Resource Policy, she is the author of many books, including Biopiracy:
The Plunder of nature and knowledge (South End Press, 1997), Monocultures
of the Mind (Zed, 1993), The Violence of the Green Revolution (Zed, 1992),
and Staying Alive ( St. Martin's Press, 1989). Before becoming an activist,
Shiva was one of India's leading physicists.
Stolen Harvest : ปล้นผลิต
The Hijacking of the Global Food Supply
VANDANA SHIVA / South
End Press 2000
Over the past two decades every issue I have been engaged in as an ecological
activist and organic intellectual has revealed that what the industrial economy
calls "growth" is really a form of theft from nature and people.
It is true that cutting down forests or converting natural forests into monocultures of pine and eucalyptus for industrial raw material generates revenues and growth. But this growth is based on robbing the forest of its biodiversity and its capacity to conserve soil and water. This growth is based on robbing forest communities of their sources of food, fodder, fuel, fiber, medicine, and security from floods and drought.
While most environmentalists can recognize that converting a natural forest into a monoculture is an impoverishment, many do not extend this insight to industrial agriculture. A corporate myth has been created, shared by most mainstream environmentalists and development organizations, that industrial agriculture is necessary to grow more food and reduce hunger. Many also assume that intensive, industrial agriculture saves resources and, therefore, saves species. But in agriculture as much as in forestry, the growth illusion hides theft from nature and the poor, masking the creation of scarcity as growth.
These thefts have only stepped up since the advent of the globalized economy. The completion of the Uruguay Round of the General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) in 1994 and the establishment of the World Trade Organization (WTO) have institutionalized and legalized corporate growth based on harvests stolen from nature and people. The WTO's Trade Related Intellectual Property Rights
Agreement criminalizes seed-saving and seed-sharing. The Agreement on Agriculture legalizes the dumping of genetically engineered foods on countries and criminalizes actions to protect the biological and cultural diversity on which diverse food systems are based.
The anti-globalization movement that started in response to GATT has grown tremendously, and I have been honored to have been part of it. My friends in the Third World Network, including Chakravarty Raghavan, and the tremendous people in the International Forum on Globalization have been a community of creativity and courage that has dared to challenge globalization at a time when history is supposed to have ended. Globally, we have seen the citizens movements against genetic engineering and corporate control over agriculture move concerns about genetic engineering from the fringe to the center stage of trade and economics.
Whether at the St. Louis meeting on biodevastation or the Swiss or Austrian referenda on genetic engineering or the launch of the campaign for a Five Year Freeze on genetically engineered commerce in the United Kingdom, I have worked with some of the most courageous and creative people of our times who have taken on giant corporations and changed their fortunes. Corporations that have made governments their puppets and that have created instruments and institutions like the WTO for their own protection are now being held accountable to ordinary people.
A BRIEF HISTORY OF THE
FIGHT TO SAVE THE STOLEN HARVEST
ประวัติสังเขปเกี่ยวการต่อสู้และปกป้องการปล้นผลิตผล
In 1987, the Dag Hammarskjold Foundation organized a meeting on biotechnology
called "Laws of Life." This watershed event identified the emerging
issues of genetic engineering and patenting. The meeting made it clear that
the giant chemical companies were repositioning themselves as "life sciences"
companies, whose goal was to control agriculture through patents, genetic
engineering, and mergers. At that meeting, I decided I would dedicate the
next decade of my life to find ing ways to prevent monopolies on life and
living resources, both through resistance and by building creative alternatives.
The first step I took was to start Navdanya, a movement for saving seed, to protect biodiversity, and to keep seed and agriculture free of monopoly control. The Navdanya family has started 16 community seed banks in six states in India. Navdanya today has thousands of members who conserve biodiversity, practice chemical-free agriculture, and have taken a pledge to continue to save and share the seeds and biodiversity they have received as gifts from nature and their ancestors. Navdanya's commitment to saving seed means we cannot cooperate with patent laws, which make seed-saving a crime.
Seed patent laws, forced upon countries by WTO rules, are not the only way in which the resources of the Third World poor are being stolen to generate profits for giant corporations. In 1994, the coastal communities of India invited me to support their struggle against industrial shrimp farming, which was spreading like a cancer along India's 7,000-kilometer coastline. The Jaganathans, an amazing Gandhian couple, had been leading a "shrimp satyagraha," or non-violent direct action, to stop the devastation of coastal ecosystems and coastal communities. We joined forces with others like Bankey Behari Das of Orissa, Tom Kochery of Kerala, Jesurithinam of Tamil Nadu, Claude Alvares of Goa, and Jacob Dharmaraj in Andhra Pradesh to challenge the shrimp-farming industry in a case that was heard before the Supreme Court of India in 1996. While the court ruled in our favor, commercial interests continue to attempt to subvert its judgement.
In August 1998, I witnessed the destruction of India's edible-oil economy by the imposition of soybean oil, a pattern being replayed in every sector of agriculture and the food economy. The women's movement and farmers' movements resisted the imports of subsidized soybean oil to ensure that their livelihoods and their traditional food cultures were not destroyed. In so doing, they demonstrated that food free from genetic engineering is not a luxury for rich consumers. It is a basic element of the right to safe, accessible, and culturally appropriate food.
On August 9, 1998, which is celebrated as Quit India Day in commemoration of the "Quit India" message given by Mohandas K. Gandhi to the British, we started the "Monsanto, Quit India" campaign against the corporate hijacking of our seed and food. This movement against genetically engineered crops and food is now a global citizen's movement, involving farmers and consumers, activists and scientists. This book tells the stories of global corporations' destruction of food and agriculture systems as well as resistance to the destruction by people's movements.
These are exciting times. As the examples in this book show, it is not inevitable that corporations will control our lives and rule the world. We have a real possibility to shape our own futures. We have an ecological and social duty to ensure that the food that nourishes us is not a stolen harvest.
In this duty, we have the opportunity to work for the freedom and liberation of all species and all people. Something as simple and basic as food has become the site for these manifold and diverse liberations in which every one of us has an opportunity to participate-no matter who we are, no matter where we are.
http://www.mindfully.org/WTO/Stolen-Harvest-Intro.htm
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิด้านอาหารก็ได้มีพัฒนาการทางกฎหมายมาเป็นลำดับ ทั้งส่วนที่เป็นเป้าหมายของการบรรลุผลการคุ้มครองสิทธิด้านอาหาร และส่วนของการบังคับใช้มาตรการให้ได้ผลลัพธ์ตามมาตรฐาน อย่างไรก็ดีพลวัตของโลก เช่น ภัยธรรมชาติ สงครามความขัดแย้ง กระแสโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิด้านอาหารในหลายมิติ ทำให้เป้าหมายในการขจัดความอดอยากหิวโหยไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายวางไว้ เพราะไม่อาจเข้าถึงพื้นฐานของปัญหาที่แท้จริง นั่นคือ ปัญหาความหิวโหยของปัจเจกชนในระดับครัวเรือน เนื่องจากว่าประชากรเหล่านั้นมักไม่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือไม่มีแม้แต่โอกาสในการเรียกร้องสิทธิของตนเอง