ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




12-07-2551 (1611)

บทนำ: เสรีนิยมใหม่ พัฒนาการและอิทธิพล
ย้อนรอยแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่สู่รากฐานทางปรัชญา

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร : เขียน
Ph.D. Candidate, University of Paris II , ประเทศฝรั่งเศส
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

เนื้อหาบทความต่อไปนี้นำมาจากบทความเรื่อง เสรีนิยมใหม่ พัฒนาการและอิทธิพล:
เขียนโดย เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร ซึ่งมีสาระสำคัญประกอบด้วย ๔ ส่วนดังต่อไปนี้
๑. เสรีนิยมคลาสสิค: เสรีภาพและอิสรภาพคือเป้าหมายสูงสุด
๒. เสรีนิยมสำนักประโยชน์นิยม : ทางเลือกระหว่างความสุขของสังคมและปัจเจกชน
๓. สำนักเสรีนิยมใหม่กับบริบทการเมืองช่วงปลายศตวรรษที่ ๒๐
๔. เสรีนิยมใหม่ กระบอกเสียงของนายทุนและเครื่องมือพิฆาตฝ่ายซ้าย

ในการนำเสนอบทความบนหน้าเว็บเพจนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ได้มีการเพิ่มเติมเชิงอรรถเพื่อประโยชน์สำหรับนักศึกษา และมีการเน้นหัวข้อที่เกี่ยวกับ
ตัวบุคคล เช่น John Locke, 1632-1704, Adam Smith, 1723-1790,
Francis Hutcheson, 1694-1746, John Stuart Mill, 1806-1873
Hernando De Soto, Naomi Klein เพื่อการค้นคว้าได้สะดวก

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๑๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทนำ: เสรีนิยมใหม่ พัฒนาการและอิทธิพล
ย้อนรอยแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่สู่รากฐานทางปรัชญา

เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร : เขียน
Ph.D. Candidate, University of Paris II , ประเทศฝรั่งเศส
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


บทนำ: เสรีนิยมใหม่ พัฒนาการและอิทธิพล

แนวนโยบายหลักของรัฐแบบเสรีนิยมใหม่ ประกอบด้วย การแปรรูปบริการของรัฐเป็นเอกชน (Privatisation) การเปิดเสรีทางการค้าและการเงิน (Trade and Financial liberalization) และการผ่อนคลายและลดกฎระเบียบ (Deregulation) เพราะหลักการของเสรีนิยมใหม่ ตั้งอยู่บนฐานความเชื่อว่า เงื่อนไขที่จำเป็นของการอยู่ดีมีสุขของมนุษย์นั้นคือ เสรีภาพของปัจเจกบุคคล (ในการประกอบการ) ดังนั้น โครงสร้างเชิงสถาบันที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางเสรีนิยมใหม่คือ การคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลอย่างเข้มงวดและระบบตลาดแข่งขันเสรี

ลัทธิเสรีนิยมใหม่ปรากฏโฉมหน้าให้เห็นอย่างชัดเจนในทศวรรษ 1970 ภายหลังผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศนำทางอุตสาหกรรมอย่างสหรัฐฯ และอังกฤษเสื่อมความเชื่อมั่นในลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบเคนส์เซียน (Keynesianism) ที่ไม่สามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำที่มีปัญหาการว่างงานควบคู่กับภาวะเงินเฟ้อสูง (stagflation) ได้ ในเดือนพฤษภาคม ปี 1979 มากาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ พร้อมด้วยภารกิจในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ ด้วยอิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ เธอยอมรับว่าจำเป็นจะต้องละทิ้งนโยบายแบบเคนส์เซียนและหันมาใช้วิธีการบริหารตามแนวทฤษฎีสำนักการเงินนิยม (monetarism) หรือแบบเน้นอุปทาน (supply-side) เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่อังกฤษประสบอยู่ในช่วงทศวรรษ 1970

กระบวนการทำให้เป็นเสรีนิยมใหม่ (neoliberalisation) หยิบฉวยเอาทุนทางวัฒนธรรมแบบเสรีนิยมที่ฝังราก (Embedded liberalism) อย่างมั่นคง ในสังคมตะวันตก โดยผู้นำกระบวนการนี้ได้เน้นนำคุณค่าที่เป็นเสาหลักของแนวคิดเสรีนิยมคือ "อิสรภาพและเสรีภาพส่วนบุคคล" รวมทั้งรังสรรค์ปั้นแต่งใหม่ด้วยกลวิธีตอกย้ำ (ละเลย) คุณค่าที่พึงปรารถนา (ไม่พึงปรารถนา) ในสายตาของตน เพื่อออกแบบ ผลิต และผลิตซ้ำคุณค่าเหล่านั้นให้เข้าแทนที่คุณค่าเดิมและผสมกลมกลืนกับคุณค่าอื่นอย่างแนบเนียนจนกลายเป็น "สามัญสำนึก" ของสมาชิกแต่ละคนในสังคม ดังคำกล่าวที่โด่งดังของแทตเชอร์ประโยคหนึ่งว่า ? no such thing as society, only individual men and women ? ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศสงครามต่ออุดมคติแบบสังคมนิยม (หรือคุณค่าที่เสนอโดยพรรคแรงงาน พรรคการเมืองคู่แข่งฝ่ายซ้าย) ด้วยการตอกย้ำอุดมคติแบบปัจเจกนิยม (individualism) ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 11 ปีที่เธอดำรงตำแหน่งนายกฯ ถึงความเป็นสากลแท้จริงและอยู่เหนือสังคมของสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกชน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เธอประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐกิจและสังคมอังกฤษ และสามารถทำลายพื้นที่ในสังคมของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนชั้นแรงงานอย่างราบคาบ

บทความนี้ต้องการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลัทธิ (Doctrine) เสรีนิยมใหม่ในเชิงปรัชญาและเชิงประวัติศาสตร์การเมือง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่มีอิทธิพลครอบงำความคิดกระแสหลักในสังคมไทยและสังคมโลกาภิวัตน์อย่างรู้เท่าทัน

- ในส่วนแรกของบทความ จะกล่าวถึงต้นตอของลัทธิเสรีนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยแนะนำนักคิดที่มีบทบาทสำคัญในสำนักเสรีนิยมคลาสสิค ซึ่งทำให้เสรีภาพของปัจเจกชนกลายเป็นคุณค่าและเป้าหมายที่สำคัญในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน

- ส่วนที่สองจะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสำนักเสรีนิยมจากภายใน โดยรับเอาหลักการประโยชน์นิยมเข้าแทนที่หลักสิทธิธรรมชาติ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของบุคคลต่ออำนาจรัฐ ประโยชน์ของบุคคลและประโยชน์สาธารณะ

- ส่วนที่สามจะกล่าวถึงวิวัฒนาการลำดับต่อมาคือ สำนักเสรีนิยมนีโอคลาสสิคและเสรีนิยมใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลจากเสรีนิยมในอดีต ในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่า นักคิดเสรีนิยมใหม่นั้นสามารถสถาปนาแนวคิดของตนในบริบทของสังคมขณะนั้นอย่างไร ด้วยปัจจัยสนับสนุนใดบ้าง และ

- ในส่วนถัดไปจะกล่าวถึงลักษณะสำคัญของรัฐเสรีนิยมใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกและผู้นำเข้าแนวคิดนี้

๑. เสรีนิยมคลาสสิค: เสรีภาพและอิสรภาพคือเป้าหมายสูงสุด

หากจะทำความเข้าใจกับลัทธิเสรีนิยมใหม่อย่างถ่องแท้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องศึกษาที่มาและรากเหง้าของอุดมคติแบบเสรีนิยม ที่มีรากฐานของความคิดมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 หรือกลุ่มที่เราเรียกว่า "พวกเสรีนิยมคลาสสิค" นั่นเอง เนื่องจากสังคมในยุคกลางนั้นถูกครอบงำโดยการปกครองแบบศักดินาที่อ้างอิงกับทฤษฎีเทวสิทธิ์ ต่อมาได้เปลี่ยนมือไปยังกษัตริย์และขุนนางในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนถูกจำกัด สำนักเสรีนิยมคลาสสิคจึงเกิดขึ้นเพื่อปฏิเสธการจำกัดเสรีภาพ และเรียกร้องสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกชน

John Locke, 1632-1704
ในทางเศรษฐกิจ ลัทธิพาณิชย์นิยมที่เน้นการผลิตเพื่อส่งออกขาย (ให้กับอาณานิคม) เพื่อสะสมความมั่งคั่งในรูปของทองนั้น เพียงสร้างความร่ำรวยให้กับท้องพระคลังเท่านั้น ไม่ได้แบ่งปันและกระจายความมั่งคั่งไปสู่สามัญชน จึงเกิดการปฏิวัติทางความคิด โดยนักคิดคนสำคัญ จอห์น ลอค (John Locke, 1632-1704) (*) ชาวอังกฤษ ซึ่งเขียนหนังสือที่สำคัญ Two Treaties of Goverment (1690) และ An Essay Concerning the True Original, Extent, and End of Civil Government (1690) ที่เสนอให้จัดตั้งรัฐบาลโดยความยินยอมของประชาชน ท่ามกลางการปกครองภายใต้อำนาจของกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช

(*)John Locke (August 29, 1632 - October 28, 1704) was an English philosopher. Locke is considered the first of the British Empiricists, but is equally important to social contract theory. His ideas had enormous influence on the development of epistemology and political philosophy, and he is widely regarded as one of the most influential Enlightenment thinkers and contributors to liberal theory. His writings influenced Voltaire and Rousseau, many Scottish Enlightenment thinkers, as well as the American revolutionaries. This influence is reflected in the American Declaration of Independence.

Locke's theory of mind is often cited as the origin for modern conceptions of identity and "the self", figuring prominently in the later works of philosophers such as David Hume, Jean-Jacques Rousseau and Immanuel Kant. Locke was the first philosopher to define the self through a continuity of "consciousness." He also postulated that the mind was a "blank slate" or "tabula rasa"; that is, contrary to Cartesian or Christian philosophy, Locke maintained that people are born without innate ideas.

ใน Two Treaties of Goverment ลอคเน้นถึงอิสรภาพและเสรีภาพในฐานะสิทธิพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการใช้เหตุผล หมายความว่ามนุษย์เกิดมาเป็นอิสระเพราะมนุษย์มีเหตุผลนั่นเอง เหตุผลคือเสียงของพระเจ้าในตัวมนุษย์ (Two Treaties of Goverment เล่ม 2 หน้า 86 อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ๒๕๕๐) ดังนั้น มนุษย์จึงสามารถกระทำสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ด้วยการนำทางของพระเจ้า โดยไม่ต้องถูกชี้นำหรือบังคับ ควบคุมจากผู้ปกครอง นอกจากนี้ มนุษย์ทุกคนยังเท่าเทียมกันและเป็นอิสระต่อกัน ลอคได้เสนอว่า ก่อนหน้าที่จะมีรัฐเกิดขึ้น มนุษย์อยู่ในสภาพธรรมชาติซึ่งปกครองด้วยกฎของเหตุผล (ต่างจากโทมัส ฮอบ ซึ่งเป็นนักคิดลัทธิสมบูรณาญาสิทธิ์ ที่เสนอว่าก่อนหน้าที่จะเกิดรัฐนั้น สังคมมีลักษณะของการต่อสู้ แก่งแย่งและความวุ่นวาย จึงจำเป็นต้องมีรัฐที่เข้มแข็ง)

ตามทฤษฎีของลอค ในสภาพธรรมชาติ มนุษย์มีสิทธิพื้นฐานในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินเพราะมนุษย์เป็นเจ้าของแรงงานของตนเอง สิทธิที่เรารู้จักในภายหลังว่า "กรรมสิทธิ์" นี้ ในมุมมองของลอค จึงไม่ได้เกิดจากรัฐ (ซึ่งถือว่ามีลักษณะปฏิกิริยากับระบอบศักดินา ซึ่งขุนนางและชนชั้นสูงเท่านั้นสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สิน) เหตุผลของเขา เรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลนี้เอง ถูกเป็นหลักการสำคัญที่ถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาในภายหลัง ทั้งนี้ เขายังได้กล่าวด้วยว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะต้องไม่นำไปสู่การกดขี่หรือขูดรีด แต่ต้องช่วยสนับสนุนให้มนุษย์มีอิสระ กรรมสิทธิ์จึงเป็นเครื่องมือไปสู่เสรีภาพ

อย่างไรก็ตาม ตามคำอธิบายของลอค มนุษย์จำเป็นต้องละทิ้งสภาพธรรมชาติ เพื่อเปิดทางให้เกิดสังคมการเมืองและรัฐ เพราะสังคมอาจเกิดความขัดแย้งเนื่องจากมนุษย์แต่ละคนถือเอาประโยชน์ส่วนตัวและไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้ จึงจำเป็นต้องมีรัฐซึ่งเป็นคนกลางเพื่อบังคับใช้กฎหมายและสร้างความยุติธรรม รวมทั้งคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล สังคมการเมืองของลอคจึงเกิดขึ้นจากความยินยอมของสมาชิกในสังคม หรือในภาษาของรุซโซว่า "สัญญาประชาคม" นั่นเอง ทั้งนี้ เขาอธิบายว่า ประชาชนไม่ได้ทำสัญญากับรัฐบาลโดยตรง แต่ทำสัญญาระหว่างกันเพื่อให้เกิดสังคมการเมือง แต่รัฐเกิดจากการจัดตั้งทรัสต์ซึ่งประชาชนเป็นทั้งผู้มอบความไว้วางใจและผู้ได้ประโยชน์ ส่วนรัฐเป็นเพียงผู้จัดการบริหารทรัสต์นี้เท่านั้น ประโยชน์สาธารณะในทรรศนะของลอค จึงขึ้นอยู่กับประชาชนผู้มอบความไว้วางใจให้รัฐ ไม่ได้ขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐ และประชาชนสามารถทวงความไว้วางใจคืนเมื่อใดก็ตามที่รัฐละเมิดความไว้วางใจนั้น

Adam Smith, 1723-1790
นักคิดคนสำคัญอีกคนคือ อดัม สมิท (Adam Smith, 1723-1790) (*) ชาวสก๊อตแลนด์ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด (เช่นเดียวกับลอค) ต่อมาเป็นศาสตราจารย์สอนวิชาปรัชญาศีลธรรมที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มีหนังสือที่สำคัญ 2 เล่ม คือ Theory of Moral Sentiments (1759) และ The Wealth of Nations (1776) สมิทได้รับอิทธิพลความคิดจากนักคิดรุ่นก่อนและนักคิดร่วมสมัย อย่างเช่น ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton, 1642-1727) ในเรื่องความมีกฎเกณฑ์และระเบียบของธรรมชาติ, ได้รับอิทธิพลจากเอิร์ลแห่งชาฟเบอรี (Earl of Shaftesbury, 1671-1713) ที่เชื่อว่ามนุษย์มีศีลธรรม สามารถแยกแยะการกระทำที่ถูกและผิดออกจากกันได้ สังคมจึงมีระเบียบและกฏเกณฑ์เช่นเดียวกับโลกกายภาพ รวมทั้งผลประโยชน์ของทุกฝ่ายในสังคมนั้นประสานลงตัวกันได้ (harmony of interest)

(*)Adam Smith (baptised June 16, 1723 - July 17, 1790 [OS: June 5, 1723 - July 17, 1790]) was a Scottish moral philosopher and a pioneering political economist. One of the key figures of the intellectual movement known as the Scottish Enlightenment, he is known primarily as the author of two treatises: The Theory of Moral Sentiments (1759), and An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations, commonly known as The Wealth of Nations (1776). Smith is also known for his explanation of how rational self-interest and competition, operating in a social framework which ultimately depends on adherence to moral obligations, can lead to economic well-being and prosperity. His work helped to create the modern academic discipline of economics and provided one of the best-known rationales for free trade. He is widely acknowledged as the "father of economics".

Smith entered the University of Glasgow when he was fourteen and studied moral philosophy under Francis Hutcheson, where he developed his passion for liberty, reason, and free speech. In 1740, Smith left the University of Glasgow to attend Balliol College, Oxford. The Wealth of Nations is Smith's magnum opus, and is considered to be one of the most influential books ever written.

Francis Hutcheson, 1694-1746
และจากฟรานซิส ฮัดจีสัน (Francis Hutcheson, 1694-1746) (*) ในเรื่องที่มนุษย์ต้องการทำคุณประโยชน์มากกว่าทำชั่ว เมื่อมนุษย์ทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์จะมีความสุข (เขาเป็นผู้เสนอหลักการสำคัญที่ต่อมาพัฒนาเป็นสำนักประโยชน์นิยม) จึงเป็นไปได้ที่จะมีการประสานผลประโยชน์ในสังคม สมิทยังได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปูเฟนดอร์ฟ (Samuel von Pufendolf, 1632-1694) และจอห์น ลอคในเรื่องสิทธิธรรมชาติของมนุษย์และสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งสมิทเองเป็นผู้ขยายขอบเขตเรื่องสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองของลอคไปสู่เสรีภาพทางเศรษฐกิจ

(*)Francis Hutcheson (August 8, 1694 - August 8, 1746) was a philosopher born in Ireland to a family of Scottish Presbyterians who became one of the founding fathers of the Scottish Enlightenment.

แนวคิดเรื่องระเบียบของสังคมและการผสานผลประโยชน์ในสังคมที่สมิทได้รับอิทธิพลมาจากนักคิดเหล่านี้ ทำให้เขาเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวหรือการที่แต่ละคนต่างมุ่งหาประโยชน์ส่วนตัว จะทำให้สังคมได้ประโยชน์สูงสุดตามไปด้วย จากสิ่งที่เขาเรียกว่า "มือที่มองไม่เห็น" (ที่ภายหลังสำนักนีโอคลาสสิคทำให้กลายเป็นเพียง "กลไกตลาด" หรือกลไกของอุปสงค์และอุปทานนั่นเอง) สมิทกล่าวว่า การที่เราได้มีอาหารเย็นทานไม่ใช่เพราะความใจดีของพ่อค้าเนื้อหรือพ่อค้าขนมปังแต่เพราะความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวของคนเหล่านี้ เราไม่ได้ขอร้องให้เขาเห็นแก่มนุษยธรรมแต่ให้เห็นแก่ตัวเขาเอง (The Wealth of Nations, เล่ม 1, บทที่ 2 อ้างในฉัตรทิพย์ นาถสุภา ๒๕๕๐)

ตามทฤษฎีของสมิท ภายใต้เงื่อนไขของความมีอิสระและเสรีภาพในการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล (หรือการแข่งขันเสรีในตลาด) และปราศจากการบังคับหรือวางแผนจากส่วนกลาง สัญชาติญาณความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ทำให้เกิดการผลิตและการแลกเปลี่ยน และทำให้สังคมได้รับประโยชน์โดยผ่านการออมทรัพย์ การแบ่งงานกันทำและการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต นี่เป็นรากฐานของความคิดเสรีนิยมที่เน้นเสรีภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองของมนุษย์ บทบาทของรัฐบาลในทรรศนะของสมิทจึงควรถูกจำกัดเพียงเฉพาะในการป้องกันประเทศ คุ้มครองสมาชิกสังคมจากความอยุติธรรม บริการสาธารณะและการกุศล เช่นการศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ของสมิทนั้น ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่เข้มงวดเรื่องการแข่งขันเสรี คือ ระบบเศรษฐกิจไม่มีการผูกขาดหรือไม่มีการกระจุกตัวของทุน หรือการได้เปรียบของธุรกิจบางราย ซึ่งไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ

นักคิดสำนักคลาสสิคคนอื่นๆ ต่อมา อย่างโรเบิร์ต มัลธัส และ เดวิด ริคาร์โด (ที่ถึงแม้จะยอมรับว่าระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมภายใต้เงื่อนไขของการแข่งขันเสรีที่สมิทได้เสนอนั้นเป็นระบบเศรษฐกิจที่ดีที่สุด) กลับมองโลกในแง่ร้ายกว่าสมิทมาก และได้แสดงความวิตกกังวลต่อระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของสมิท อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของสำนักคลาสสิคได้มีอิทธิพลครอบงำระบบเศรษฐกิจการเมืองของประเทศยุโรปในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อย่างสูง เพราะสังคมในขณะนั้นโหยหาอิสรภาพและเสรีภาพที่เคยถูกลิดรอนมายาวนาน รัฐบาลปล่อยให้ตลาดทำงานอย่างเสรีโดยไม่มีการแทรกแซง จนกระทั่งการขยายตัวของการค้าและปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษและฝรั่งเศสนั้น นำไปสู่ภาวะทุกข์ยากอย่างรุนแรงของแรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้แรงงานในระยะเวลาการทำงานที่ยาวนาน ในภาวะเสี่ยงอันตราย ขณะที่ค่าจ้างแรงงานถูกกดต่ำและกรรมกรมีชีวิตที่ลำบากและตกอยู่ในสภาวะยากจน จึงเริ่มเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของสำนักคลาสสิคและเสนอทฤษฎีแบบที่เรียกว่าสังคมนิยมยูโธเปีย (*) ซึ่งเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคมให้กับชนชั้นกรรมกรและต่อต้านระบบวิสาหกิจเอกชน

(*)Utopian socialism is a term used to define the first currents of modern socialist thought. Although it is technically possible for any person living at any time in history to be a utopian socialist, the term is most often applied to those utopian socialists who lived in the first quarter of the 19th century. From the mid-19th century onwards, the other branches of socialism overtook the utopian version in terms of intellectual development and number of supporters. Utopian socialists were important in the formation of modern movements for intentional community and cooperatives.

Utopian socialists never actually used this name to describe themselves; the term "utopian socialism" was introduced by Karl Marx and Friedrich Engels (in The Communist Manifesto) and used by later socialist thinkers to describe early socialist or quasi-socialist intellectuals who created hypothetical visions of perfect egalitarian and communalist societies without actually concerning themselves with the manner in which these societies could be created or sustained.

อย่างไรก็ตาม สำนักสังคมนิยมยูโธเปียนั้นไม่ได้วิพากษ์ชนชั้นนายทุนอย่างรุนแรง และไม่ได้เรียกร้องให้มีการปฏิวัติทางชนชั้นอย่างที่สังคมนิยมมาร์กซิสม์เสนอ หากแต่เป็นเพียงการกระตุ้นเตือนทางจริยธรรมให้เกิดการแก้ไขข้อบกพร่องของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม และด้วยข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติที่ค่อนข้างเป็นอุดมคติและอิงกับศีลธรรมที่เกิดขึ้นได้ยาก (ต่างจากสังคมนิยมมาร์กซิสม์ ที่เรียกร้องให้ใช้การเผชิญหน้าและการต่อสู้ ที่เกิดขึ้นได้เร็วและเด็ดขาดกว่า) แนวคิดนี้จึงเสื่อมความนิยมลงไปในเวลาไม่นาน

* เนื้อหาของบทความในส่วนนี้และส่วนถัดไป สรุปความจากบทที่ 3 และ 5 ของฉัตรทิพย์ นาถสุภา, ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐ (พิมพ์ครั้งที่ ๗)

๒. เสรีนิยมสำนักประโยชน์นิยม : ทางเลือกระหว่างความสุขของสังคมและปัจเจกชน

สำนักความคิดเสรีนิยมได้นำเอาความคิดประโยชน์นิยม (Utilitarianism) เข้าแทนที่หลักสิทธิธรรมชาติในเวลาต่อมา โดยอธิบายใหม่ว่าเสรีภาพส่วนบุคคลนั้นเป็นอุดมคติ เพราะสามารถนำไปสู่ความสุขสูงสุดของมนุษย์ เสรีภาพจึงเป็นเพียงเครื่องมือไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ ความสุข แทนที่เสรีภาพจะเป็นจุดหมายปลายทางหรือเป็นอุดมคติในตัวของมันเองอย่างที่จอห์น ลอคเสนอ แนวความคิดประโยชน์นิยมนี้ได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างโดยเจเรมี เบนแทม (Jeremy Bentham, 1748-1832) (*) และมีส่วนสำคัญต่อการเกิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิค ที่เน้นเรื่องประโยชน์หน่วยสุดท้ายซึ่งให้ความสำคัญกับมูลค่าสินค้า (หรือประโยชน์จากการบริโภคสินค้า ซึ่งให้น้ำหนักกับการบริโภคและผู้บริโภค) มากกว่ามูลค่าของการผลิต (ซึ่งให้น้ำหนักกับการผลิต รวมทั้งเจ้าของปัจจัยการผลิต)

(*)Jeremy Bentham (15 February 1748-6 June 1832) was an English jurist, philosopher, and legal and social reformer. He was the brother of Samuel Bentham. He was a political radical, and a leading theorist in Anglo-American philosophy of law. He is best known for his advocacy of utilitarianism, for the concept of animal rights, and his opposition to the idea of natural rights, with his oft-quoted statement that the idea of such rights is "nonsense upon stilts." He also influenced the development of welfarism.

He became known as one of the most influential of the utilitarians, through his own work and that of his students. These included his secretary and collaborator on the utilitarian school of philosophy, James Mill; James Mill's son John Stuart Mill; and several political leaders including Robert Owen, who later became a founder of socialism. He is also considered the godfather of University College London.

Bentham's position included arguments in favour of individual and economic freedom, the separation of church and state, freedom of expression, equal rights for women, the end of slavery, the abolition of physical punishment (including that of children), the right to divorce, free trade, usury,[5] and the decriminalization of homosexual acts.

เบนแทมเกิดในตระกูลมั่งคั่ง บิดาเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียง เขาเองจบการศึกษาด้านกฎหมาย แต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตในฐานะนักเขียน และเผยแพร่แนวความคิดประโยชน์นิยม ความคิดของเขามีอิทธิพลต่อสาขากฎหมาย การเมืองและเศรษฐศาสตร์อย่างมาก หนังสือที่มีชื่อเสียงของเขาคือ Fragment on Government (1766) และ An Introduction to the Pinciples of Morals and Legislation (1789) ในหนังสือเล่มหลังนี้ เขากล่าวว่า "ธรรมชาติได้ทำให้มนุษยชาติอยู่ภายใต้การควบคุมของนายเหนือหัวสองคน คือความเจ็บปวดและความพอใจ นายสองคนนี้เท่านั้นที่จะกำหนดว่าเราควรทำอะไร เช่นเดียวกับที่กำหนดว่าเราจะทำอะไร"

สำหรับเบนแทม มนุษย์ใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความพึงพอใจและหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด (ทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ) สองสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งขับเคลื่อนสังคมในทรรศนะของเขา (ในลักษณะเดียวกับที่สมิทเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวหรือประโยชน์ส่วนตัว คือสิ่งขับเคลื่อนสังคม)

เบนแทมเรียกหลักจริยธรรมของเขาว่าหลักแห่งประโยชน์ (Principle of Utility) ซึ่งประเมินการกระทำใดๆ ด้วยผลที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ ก่อให้เกิดประโยชน์หรือความสุขที่สูงขึ้นหรือลดลง โดยสามารถปรับใช้ได้ทั้งกับปัจเจกชนและสังคม ในกรณีของสังคม ทำให้เกิดวลีที่โด่งดังว่า การกระทำที่ดีที่สุดคือ การกระทำที่ก่อให้เกิด "ความสุขมากที่สุดของคนจำนวนมากที่สุด (the greatest happiness of the great number)" ทั้งนี้ เขาให้น้ำหนักกับสังคมมากกว่าปัจเจกชน เมื่อมีความขัดแย้งของหลักจริยธรรมระหว่างปัจเจกและสังคม ต้องถือหลักจริยธรรมของสังคมก่อน เขาไม่เชื่อเรื่องการผสานผลประโยชน์ลงตัวอย่างสมบูรณ์เหมือนสมิท แต่เชื่อว่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเหตุผลของมนุษย์สามารถจัดการให้เกิดการผสานผลประโยชน์ในส่วนที่มีความขัดแย้งได้ เขาเสนอว่า ควรใช้ระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาปัจเจกและปรับปรุงระบบการเมืองรวมทั้งกฎหมายสำหรับสังคม

อย่างไรก็ตาม เสรีภาพของปัจเจกชนยังคงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะปัจเจกชนจะแสวงหาความพอใจได้เต็มที่เมื่อมีเสรีภาพ และที่สำคัญ ไม่มีใครรู้ดีกว่าแต่ละบุคคลเองว่าอะไรจะนำมาซึ่งความพอใจสูงสุด แต่เมื่อใดที่เสรีภาพไปกระทบกับความพอใจของผู้อื่น เมื่อนั้นก็จะต้องออกกฎหมายเพื่อควบคุม ในเรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล. เบนแทมอ้างหลักแห่งประโยชน์ว่ากรรมสิทธิ์จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคคล เพราะบุคคลจะได้รับผลของความพยายามของเขาเอง ทำให้ขยันทำงานและผลผลิตของสังคมก็จะเพิ่มขึ้น รัฐจึงควรคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและส่งเสริมให้ปัจเจกชนมีสิทธิประกอบกิจการตามต้องการ โดยใช้กฎหมายเพื่อให้รางวัลและกำหนดบทลงโทษ เพื่อผสานประโยชน์ของส่วนรวม ส่วนระบบเศรษฐกิจที่ดีที่สุดสำหรับเบนแทมนั้นคือ ระบบการแข่งขันเสรีในตลาดที่ให้รางวัลกับผู้ผลิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม คือ ใช้ทรัพยากรต่ำสุดเพื่อให้เกิดผลตอบแทนสูงสุด หรืออีกนัยหนึ่ง กำไรสูงสุดเป็นตัวชี้วัดและรางวัลสำหรับปัจเจกชนผู้ประกอบกิจการ ที่สามารถผลิตสินค้าที่สังคมต้องการสูงสุดด้วยวิธีที่ประหยัดที่สุด (หรือต้นทุนต่ำสุดนั่นเอง)

ลัทธิเสรีนิยมตามแบบประโยชน์นิยมนี้ มีลักษณะของประสบการณ์นิยม (Empiricism) (*) แฝงอยู่มาก และต่างจากเสรีนิยมตามแบบสิทธิธรรมชาติที่อ้างอิงกับเหตุผลนิยมเพียงอย่างเดียว ในเสรีนิยมแบบประโยชน์นิยม รัฐสามารถมีบทบาทมากขึ้น ไม่ถึงกับถูกจำกัดให้ทำเฉพาะเรื่องความมั่นคงและบริการสาธารณะ รัฐสามารถใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิ่งที่เห็นว่า (หรืออ้างว่า) เป็นประโยชน์สาธารณะได้ อย่างไรก็ตาม มีการวิจารณ์ว่า นักประโยชน์นิยมมักไม่คำนึงถึงหลักการหรือวิธีการเท่ากับผลลัพธ์ของการกระทำ เนื่องจากเห็นผลลัพธ์คือ ประโยชน์และความพอใจเป็นเป้าหมายสำคัญสุด ลัทธิเสรีนิยมตามแบบของเบนแทมนี้เอง มีอิทธิพลอย่างมากในเศรษฐกิจการเมืองของอังกฤษในศตวรรษที่ 19 และมีอิทธิพลต่อแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะทฤษฏีประโยชน์หน่วยสุดท้ายของสำนักออสเตรีย และนีโอคลาสสิค

(*)In philosophy, empiricism is a theory of knowledge that is practical rather than abstract, and asserts that knowledge arises from experience rather than revelation. Empiricism is one view held about how we know things, and so is part of the branch of philosophy called epistemology, which means "theory of knowledge". Empiricism emphasizes the role of experience and evidence, especially sensory perception, in the formation of ideas, while discounting the notion of innate ideas.

In the philosophy of science, empiricism emphasizes those aspects of scientific knowledge that are closely related to evidence, especially as discovered in experiments. It is a fundamental part of the scientific method that all hypotheses and theories must be tested against observations of the natural world, rather than resting solely on a priori reasoning, intuition, or revelation. Hence, science is considered to be methodologically empirical in nature.

John Stuart Mill, 1806-1873
นักปรัชญาสำนักประโยชน์นิยมอีกคนที่มีชื่อเสียงมากคือ จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill, 1806-1873) (*) ซึ่งบิดาของเขา เจมส์ มิลล์ (James Mill, 1773-1836) เพื่อนสนิทของเจเรมี เบนแทม ตัวของมิลล์เองจึงสนิทสนมกับครอบครัวของเจเรมี เบนแทม งานเขียนที่สำคัญของมิลล์คือ System of Logic (1834) และ Principles of Political Economy (1848) ซึ่งถูกใช้เป็นตำราเศรษฐศาสตร์ในอังกฤษและอเมริกาเป็นเวลานาน (ก่อนที่ Alfred Marshall จะเขียนหนังสือที่ถูกใช้เป็นตำราของสำนักนีโอคลาสสิค) หนังสือที่สำคัญที่สุดของมิลล์คือ On Liberty (1859) ซึ่งกลายเป็นข้อเขียนที่สนับสนุนเสรีนิยมของปัจเจกชนที่มีอิทธิพลและถูกใช้อ้างอิงมากที่สุดเล่มหนึ่ง มิลล์เองพยากรณ์ว่าหนังสือของเขาเล่มนี้จะมีความสำคัญในอนาคตอย่างมาก เพราะสังคมอุตสาหกรรมจะคุกคามเสรีภาพของปัจเจกชนมากขึ้นในอนาคต

(*)John Stuart Mill (20 May 1806 - 8 May 1873), British philosopher, political economist, civil servant and Member of Parliament, was an influential liberal thinker of the 19th century. He was an exponent of utilitarianism, an ethical theory developed by Jeremy Bentham, although his conception of it was very different from Bentham's.

Mill believes that "the struggle between Liberty and Authority is the most conspicuous feature in the portions of history." For him, liberty in antiquity was a "contest... between subjects, or some classes of subjects, and the government". By liberty, he meant protection against the tyranny of the political rulers" and he calls it "social liberty." He introduces different tyrannies such as social tyranny, and the tyranny of the majority.

Social Liberty for Mill was to put limits on the ruler's power so that he would not be able to use his power on his own wishes and make every kind of decision which could harm society; in other words, people should have the right to a say in the government's decisions. He said that social liberty was "the nature and limits of the power which can be legitimately exercised by society over the individual". It was attempted in two ways: first, by obtaining recognition of certain immunities, called political liberties or rights; second, by establishment of a system of "constitutional checks".

มิลล์ได้ก่อให้เกิดคุณูปการสำคัญ 2 ประการคือ

ประการแรก มิลล์ได้แก้ไขปรับปรุงหลักการประโยชน์นิยมไม่น้อย เขาพยายามเพิ่มเติมว่าประโยชน์หรือความพอใจบางอย่าง เช่นความพอใจทางปัญญาหรือจิตวิญญาณนั้น มีคุณค่ามากกว่าความพอใจทางกาย เขายังเสนอว่า ความพอใจสูงสุดคือ เกียรติ์และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และการให้เสรีภาพคือวิธีการส่งเสริมเกียรติ์และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ด้วย ตามทรรศนะของมิลล์นั้น เสรีภาพจึงเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญและเป็นเป้าหมายของสังคมในตัวเอง ซึ่งต่างจากทรรศนะของเบนแทมที่เห็นว่าเสรีภาพเป็นเพียงวิธีการไปสู่เป้าหมายคือ ความสุข

ประการที่สอง มิลล์เป็นนักคิดที่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพอย่างเต็มที่ เขากล่าวว่าสิ่งที่เป็นศัตรูที่น่ากลัวที่สุดของเสรีภาพไม่ใช่รัฐบาล แต่เป็น "สังคมทรราช" เพราะต่อสู้ด้วยลำบากที่สุด วลีที่สำคัญของเขาคือ "ถ้ามนุษย์ทุกคนยกเว้นเพียงคนเดียวมีความเห็นอย่างหนึ่ง และคนคนเดียวนั้นมีความเห็นตรงกันข้าม มนุษยชาติก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะทำให้บุคคลคนเดียวนั้นเงียบเสียงมากไปกว่าบุคคลนั้น ถ้าเขามีอำนาจมีความชอบธรรมที่จะทำให้มนุษยชาติเงียบเสียง" (On Liberty, บทที่ I, Introductory อ้างใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ๒๕๕๐)

เขาสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยให้เหตุผลว่า จะทำให้มนุษย์เข้าใกล้ความจริงมากขึ้น เขายังกล่าวอีกว่า การจำกัดสิทธิและเสรีภาพโดยการใช้อำนาจนั้นสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อ สิทธิและเสรีภาพนั้นไปกระทบหรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น การจำกัดเสรีภาพโดยอ้างประโยชน์ของตัวผู้ถูกจำกัดเสรีภาพเองจึงไม่สามารถทำได้ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว เป็นเรื่องยากที่บุคคลจะให้คุณค่ากับประโยชน์ของบุคคลอื่นมากเท่ากับตัวบุคคลนั้นเอง จึงเป็นหน้าที่ที่ตัวบุคคลนั้นจะตัดสินใจและไม่ควรให้บุคคลอื่นหรือสังคมตัดสินใจแทน

ถึงแม้มิลล์จะเป็นผู้สนับสนุนเสรีภาพของปัจเจกชนแบบสุดขั้ว ข้อเสนอของมิลล์เองก็มีความเป็นสังคมนิยมผสมผสานอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ ถึงแม้เขาจะสนับสนุนให้ตลาดทำงานเสรีโดยปราศจากการแทรกแซง แต่นั่นหมายถึงเสรีภาพในด้านการผลิต มิลล์มองว่าเรื่องของการจัดสรรรายได้เป็นคนละเรื่องกับการผลิต เพราะการจัดสรรรายได้ขึ้นอยู่กับสถาบันทางสังคม นอกจากนี้ เขายังเคยกล่าวเปรียบเทียบในทำนองว่า ถ้าหากระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมทำให้เกิดการกดขี่ขูดรีดแรงงานอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนั้นโดยไม่สามารถแก้ไขอะไรได้แล้ว ระบบคอมมิวนิสต์ที่ถึงแม้จะด้อยกว่า ก็ยังดูเหมือนจะก่อให้เกิดปัญหาน้อยกว่ามาก เขาเองยังเสนอให้ปรับปรุงระบบวิสาหกิจเอกชนและกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลโดยสนับสนุนให้เก็บภาษีที่ดิน ภาษีมรดก (เขาเห็นว่าสิทธิที่จะมอบมรดกนั้นเป็นสิทธิที่ควรได้รับความเคารพ เพราะเป็นเจตจำนงของปัจเจกชน แต่การรับมรดกโดยไม่มีข้อจำกัดเป็นอันตรายต่อเสรีภาพของปัจเจก เพราะทรัพย์สินไปสะสมอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง) และให้ยกเลิกระบบค่าจ้างและการจ้างงานในระยะยาว โดยหันมาใช้ระบบสหกรณ์แทน (ซึ่งเป็นอิทธิพลของสังคมนิยมยูโธเปียและนักคิดฝรั่งเศสอย่างแซงต์ ซีมง)

๓. สำนักเสรีนิยมใหม่กับบริบทการเมืองช่วงปลายศตวรรษที่ 20

นักคิดที่ถือเป็นหัวหอกสำคัญของสำนักเสรีนิยมใหม่ คือ นักปรัชญาสำนักออสเตรียอย่าง ฟริดริช ฟอน ฮาเย็ค (Friedrich von Hayek, 1899-1992) (*), ลุดวิก ฟอน มิสเซส (Ludwig von Mises, 1881-1973) (**), คาร์ล ปอปเปอร์ (Karl Popper, 1902-1994) (***) และนักเศรษฐศาสตร์ผู้ก่อตั้งสำนักการเงินนิยมของมหาวิทยาลัยชิคาโก มิลตัน ฟริดแมน (Milton Friedman, 1912-2006) (****) ทั้งหมดเป็นสมาชิกของสมาคมที่เรียกตัวเองว่า Mont Pelerin Society (*-*) ซึ่งตั้งชื่อตามสถานที่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่บุคคลเหล่านี้นัดพบกัน และจัดตั้งสมาคมขึ้นอย่างเป็นทางการ

(*)Friedrich August von Hayek, CH (May 8, 1899 - March 23, 1992) was an Austrian-British economist and political philosopher known for his defence of classical liberalism and free-market capitalism against socialist and collectivist thought in the mid-20th century. He is considered to be one of the most important economists and political philosophers of the twentieth century. One of the most influential members of the Austrian School of economics, he also made significant contributions in the fields of jurisprudence and cognitive science. He shared the 1974 Nobel Prize in Economics with ideological rival Gunnar Myrdal "for their pioneering work in the theory of money and economic fluctuations and for their penetrating analysis of the interdependence of economic, social and institutional phenomena." He also received the U.S. Presidential Medal of Freedom in 1991. He is considered to be one of the major forces of change from the dominant interventionist and Keynesian policies of the first part of the 20th century back to towards classical liberalism after the 1980s.

(**)Ludwig Heinrich Edler von Mises (September 29, 1881 - October 10, 1973) was an Austrian Economist, philosopher, and a major influence on the modern libertarian movement. Because of his Jewish origin and his opinions, he had to emigrate to Switzerland and then settle in the USA.

(***)Sir Karl Raimund Popper (July 28, 1902 - September 17, 1994) was an Austrian and British[1] philosopher and a professor at the London School of Economics. He is counted among the most influential philosophers of science of the 20th century, and also wrote extensively on social and political philosophy. Popper is known for repudiating the classical observationalist/inductivist account of scientific method by advancing empirical falsification instead; for his opposition to the classical justificationist account of knowledge which he replaced with critical rationalism, "the first non justificational philosophy of criticism in the history of philosophy"[2] and for his vigorous defense of liberal democracy and the principles of social criticism which he took to make the flourishing of the "open society" possible.

(****)Milton Friedman (July 31, 1912 - November 16, 2006) was an American Nobel Laureate economist and public intellectual. He made major contributions to the fields of economics and statistics. In 1976, he was awarded the Nobel Memorial Prize in Economic Sciences for his achievements in the fields of consumption analysis, monetary history and theory, and for his demonstration of the complexity of stabilization policy. He was an advocate of economic liberalism.

According to The Economist, Friedman "was the most influential economist of the second half of the 20th century…possibly of all of it". Former Federal Reserve Board chairman Alan Greenspan stated, "There are very few people over the generations who have ideas that are sufficiently original to materially alter the direction of civilization. Milton is one of those very few people."

In his 1962 book Capitalism and Freedom, Friedman advocated minimizing the role of government in a free market as a means of creating political and social freedom. In his 1980 television series Free to Choose, Friedman explained his view of how free markets work, emphasizing his conviction that free markets have been shown to solve social and political problems that other systems have failed to address adequately. His books and columns for Newsweek were widely read and even circulated underground behind the Iron Curtain.

(*-*)The Mont Pelerin Society is an international organization composed of economists, intellectuals, business leaders, and others who favour classical liberalism; the society advocates free market economic policies and the political values of an open society. The Mont Pelerin Society was created on 10 April 1947 at a conference organized by Friedrich Hayek. Originally, it was to be named the Acton-Tocqueville Society. After Frank Knight protested against naming the group after two "Roman Catholic aristocrats" and Ludwig von Mises expressed concern that the mistakes made by Acton and Tocqueville would be connected with the society, the name of the Swiss resort where it convened was used instead.

นักคิดเหล่านี้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วโลก ในฐานะนักวิชาการที่สนับสนุนคุณค่าของเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดและความเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮาเย็คและฟริดแมนนั้น นอกจากได้รับการยอมรับในฐานะนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่สนับสนุนคุณค่าของระบบทุนนิยมและเสรีภาพของการประกอบธุรกิจตามแนวทางเศรษฐศาสตร์แบบนีโอคลาสสิคแล้ว ทั้งคู่ยังได้รับการยอมรับในฐานะนักปรัชญาการเมืองที่มีงานเขียนสำคัญมากมายเกี่ยวกับปัจเจกชนนิยม เสรีภาพ และการต่อต้านระบอบเผด็จการ ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมอเมริกาในวงกว้างอย่างมาก ในอีกมุมหนึ่ง ฮาเย็คและฟริดแมนเป็นที่รู้จักในฐานะผู้เสนอทฤษฎีที่ปฏิเสธแนวความคิดของมาร์กซ์และเคนส์ ซึ่งรายหลังมีอิทธิพลและบทบาทอย่างมากหลังเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 1930 กล่าวคือ เคนส์เป็นผู้เสนอให้รัฐเพิ่มบทบาทในด้านเศรษฐกิจ โดยเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐเพื่อกระตุ้นด้านอุปสงค์หรือความต้องการบริโภคสินค้าของครัวเรือนและสร้างงานให้กับแรงงานที่ประสบกับภาวะว่างงาน

ความสำเร็จส่วนหนึ่งของนักคิดเสรีนิยมใหม่กลุ่มนี้ มาจากการช่วยเหลือทางด้านการเงินและทางการเมืองจากกลุ่มทุนธุรกิจในสหรัฐฯ ที่ไม่ต้องการการแทรกแซงและการเพิ่มกฎระเบียบในด้านเศรษฐกิจจากรัฐ ทั้งนี้ ลัทธิเสรีนิยมใหม่เริ่มปรากฏบทบาทในทางการเมืองชัดเจนในสหรัฐฯ และอังกฤษในทศวรรษ 1970 เมื่อชื่อเสียงและอิทธิพลของนักคิดกลุ่ม Mont Pelerin Society แพร่กระจายไปมากในวงวิชาการ โดยผ่านทางสถาบันวิจัยทางด้านเศรษฐกิจหรือสถาบันผลิตนักคิด อย่างเช่น Institute of Economic Affairs ในลอนดอน และ the Heritage Foundation ในวอชิงตัน

ยิ่งเมื่อภายหลังฮาเย็คและฟริดแมนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 1974 และ 1976 ตามลำดับด้วยแล้ว (ถึงแม้จะเป็นที่วิจารณ์ว่ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น มีที่มาและระบบการคัดเลือกที่แยกออกเป็นเอกเทศและไม่เกี่ยวข้องกับโนเบลของสาขาอื่น รวมทั้งยังถูกครอบงำและกำหนดทิศทางจากกลุ่มชนชั้นนำนายธนาคารของสวีเดน) เป็นที่ยอมรับว่า ลัทธิเสรีนิยมใหม่นั้นสามารถยึดครองพื้นที่สำคัญในทางการเมืองได้อย่างเป็นทางการในช่วงปี 1979

ปัจจัยที่เอื้อให้อุดมการณ์แบบเสรีนิยมใหม่ได้รับการยอมรับในสังคมขณะนั้น คือ บรรยากาศทางการเมืองเพื่อเรียกร้องเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งกำลังเบ่งบานสุดขีดในช่วงทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องเสรีภาพของปัจเจกชน ที่นำโดยนักศึกษา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกในปี 1968 (3 ปีให้หลัง ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านเผด็จการทหารที่นำ โดยของนิสิตนักศึกษา ในประเทศไทย ได้รับชัยชนะในการเรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมืองในเดือนตุลาคม ก่อนที่จะถูกปราบปรามและเข่นฆ่าอย่างเลือดเย็นโดยเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายปฏิกิริยาฝั่งขวาในอีก 3 ปีต่อมา) อาจกล่าวได้ว่าในขณะนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวใดก็ตามที่ชูธงเสรีภาพและความเป็นธรรมทางสังคม สามารถผสมกลมกลืนและร่วมขบวนการปฏิวัติสังคมไปด้วยกันได้ทั้งสิ้น เนื่องจากมีศัตรูที่ชัดเจนเดียวกัน นั่นคือ รัฐอำนาจนิยม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเรียกร้องสิทธิพลเมือง สิทธิในการแสดงออกทางเพศ กลุ่มต่อต้านกระแสบริโภคนิยม ไปจนถึงกลุ่มต่อต้านสงครามเวียดนาม

ความต้องการและถวิลหาเสรีภาพของปัจเจกชนนี้เอง ที่ช่วยให้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเหล่านี้เต็มใจอ้าแขนรับแนวคิดเพื่อเรียกร้องเสรีภาพของนักคิดกลุ่มเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาย้อนหลังไปแล้ว ก็ดูเหมือนจะเข้ากันได้อย่างดีกับวัฒนธรรมความคิดแบบ "หลังสมัยใหม่ (postmodernism)" ที่ถูกดึงเข้ามาเป็นทางเลือกเชิงตรรกะของขบวนการเคลื่อนไหวในขณะนั้นด้วย อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ข้อเรียกร้องสำคัญอีกประการของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม คือความเป็นธรรมทางสังคม ซึ่งแท้จริงแล้ว ขัดแย้งและตรงข้ามกับข้อเสนอของเสรีนิยมใหม่ที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ข้อเท็จจริงประการนี้กลับไม่ปรากฏชัดเจนในขณะนั้น อาจเป็นเพราะข้ออ้างเชิงทฤษฎีในเรื่องการแข่งขันสมบูรณ์ของเสรีนิยมใหม่นั้นเอง ที่ยังสามารถใช้เป็นม่านบังให้กับระบบทุนนิยมอย่างได้ผล เช่นเดียวกับที่สำนักเสรีนิยมนีโอคลาสสิคเคยใช้ข้ออ้างข้อเดียวกันนี้มาแล้วในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนทำให้เกิดข้อเรียกร้องการปฏิวัติของชนชั้นจากมาร์กซ์

๔. เสรีนิยมใหม่ กระบอกเสียงของนายทุนและเครื่องมือพิฆาตฝ่ายซ้าย

การผลิตซ้ำแนวความคิดของเสรีนิยมใหม่ในสหรัฐฯ นั้น เกิดขึ้นผ่านการให้ทุนสนับสนุนจากองค์กรธุรกิจไปยังสถาบันผลิตความคิด เช่น the Hoover Institute, the Center for the Study of American Business, the American Entreprise Institute ไปจนถึงสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงอย่างเช่น National Bureau of Economic Research (NBER) ซึ่งได้รับการกำหนดหัวข้อวิจัยจากกลุ่มทุน เพื่อเป้าหมายในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่ ปรากฏว่า กว่าครึ่งหนึ่งของเงินทุนสนับสนุนงานวิจัยของ NBER นั้น ได้จากองค์กรธุรกิจชั้นนำและกลุ่มบริษัท Fortune 500 จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมแนวความคิดแบบเสรีนิยมใหม่นี้จึงได้ถูกผลิตซ้ำอย่างกว้างขวางโดยคณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ และมหาวิทยาลัยทั่วโลก

หรือหากจะพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปในแกนกลางของการผลิตความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์เอง อาจกล่าวได้ว่าทฤษฎีที่เกิดขึ้นหลังสำนักเคนส์เซียนนั้น สามารถนำมาใช้สร้างความชอบธรรมให้กับเสรีนิยมใหม่ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีสายการเงินนิยมของฟริดแมน ทฤษฎีการคาดการณ์อย่างมีเหตุผล (rational expectations) ของโรเบิร์ต ลูคัส, ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (public choice) ของสำนักชิคาโก หรือแม้กระทั่งทฤษฎีที่เน้นด้านอุปทาน (supply-side) ที่เสนอโดยอาร์เธอร์ ลาฟเฟอร์ ต่างก็เห็นไปในทางเดียวกันว่าการแทรกแซงของรัฐคือปัญหามากกว่าการแก้ไข และเสนอให้ใช้นโยบายการเงินแบบมีเสถียรภาพร่วมกับการลดภาษี เพื่อเป็นมาตรการสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบการ แนวทฤษฎีและนโยบายลักษณะนี้ยังได้รับการผลิตซ้ำจากวารสารทางการเงินอย่าง Wall Street Journal และมหาวิทยาลัยชื่อดังอย่างสแตนฟอร์ดและฮาร์วาร์ด ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางของการผลิตความคิดเสรีนิยมกระแสหลักในปัจจุบัน

ในพื้นที่นอกสังคมวิชาการ ซีรีย์ทางโทรทัศน์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของฟริดแมนที่ชื่อว่า Free to choose (ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากกลุ่มทุนธุรกิจเช่นกัน) ก็เริ่มออกอากาศทางช่อง PBS ในปี 1977 และประสบความสำเร็จอย่างสูงในฐานะรายการคุณภาพ ซึ่งต่อมาได้รับการผลิตซ้ำเป็นหนังสือที่กลายเป็นหนังสือขายดีที่สุดเล่มหนึ่งจนกระทั่งปัจจุบัน

ผลของการเผยแพร่ลัทธิเสรีนิยมใหม่นี้ ปรากฏชัดเจนในประเทศสหรัฐฯ และอังกฤษก่อน แล้วจึงค่อยแผ่ขยายอาณาบริเวณไปยังประเทศอาณานิคมชั้นในของจักรวรรดินิยมรูปแบบใหม่ซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นเจ้าอาณานิคม ประเทศอาณานิคมชั้นในนี้หมายถึงประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา นอกจากนี้ อิทธิพลของลัทธิเสรีนิยมยังแผ่ขยายไปยังประเทศรอบนอกผ่านทางองค์กรระหว่างประเทศอย่างไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก สักขีพยานที่ชัดเจนต่อคำกล่าวหานี้ก็คือคำกล่าวของโจเซฟ สติกลิทซ์ อดีตรองประธานและหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโลกในหนังสือ Globalization and its discontents ของเขาว่าจุดเปลี่ยนที่สำคัญภายในองค์กรของไอเอ็มเอฟคือ การเปลี่ยนถ่ายเอานักเศรษฐศาสตร์สายเสรีนิยมใหม่เข้าแทนที่พวกเคนส์เซียนในช่วงปี 1982 ซึ่งทำให้ไอเอ็มเอฟ กลายเป็นกลไกรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มทุนในสหรัฐฯ และกระบอกเสียงของเสรีนิยมใหม่ในประเทศกำลังพัฒนาอย่างเต็มตัว

ในประเทศอังกฤษ ชัยชนะของแทตเชอร์หมายถึงการหยุดชะงักของการเมืองแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยที่ก่อตัวและเติบโตขึ้นภายหลังปี 1945 พลังของสหภาพแรงงานถูกทำลายลงด้วยการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ของตลาดแรงงาน เพื่อความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการจ้างงานและความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม แนวโน้มของรัฐสวัสดิการต้องกลับหลังหันอย่างทันทีทันใด บริการของรัฐอย่างเช่นโครงการสวัสดิการที่อยู่อาศัยถูกโอนไปเป็นของเอกชน มีการลดภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการและกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าบรรยากาศในการลงทุนที่ดีของประเทศและการไหลเข้าของทุนจากต่างประเทศ สังคมอังกฤษหันไปให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจกชนและความรับผิดชอบของปัจเจก กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และคุณค่าของครอบครัว แทนที่ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของสังคม

ในสหรัฐฯ ภายหลังการขึ้นสู่ตำแหน่งของเรแกนในปี 1980 นโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์เซียนตามหลักการนิวดีลของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ที่ให้ความสำคัญกับเป้าหมายการจ้างงานเต็มที่ถูกแทนที่ด้วยนโยบายแบบเสรีนิยมเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ ที่ปรึกษาของเรแกนเห็นว่า ตัวยาขนานการเงินนิยมของโวลค์เกอร์ ประธานของเฟดในสมัยของคาร์เตอร์นั้นใช้ได้ผล เรแกนจึงแต่งตั้งเขากลับเข้าดำรงตำแหน่งประธานของเฟดอีกครั้ง และสนับสนุนนโยบายในลักษณะเปิดเสรีมากขึ้น มีการลดภาษี ลดทอนอำนาจของสหภาพและสมาคมอาชีพต่างๆ ทั้งนี้ การลดหย่อนภาษีการลงทุนทำให้ทุนเคลื่อนย้ายจากภูมิภาคที่สหภาพแรงงานเข้มแข็ง โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและมิดเวสต์ไปในเขตที่ปลอดสหภาพ ทางใต้และตะวันตก ทุนทางการเงินเริ่มมองหาแหล่งลงทุนใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมทั้งการย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมไปลงทุนและทำการผลิตนอกประเทศเริ่มกลายเป็นปรากฏการณ์ปกติ ภาษีธุรกิจลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ของภาษีส่วนบุคคลลดลงจากที่เคยสูงถึง 70 เป็น 28 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกลายเป็นปรากฏการณ์ลดภาษีที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ นี่คือจุดเริ่มต้นก่อตัวความเหลื่อมล้ำทางสังคมและอำนาจทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นของชนชั้นรายได้สูง มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าความจริงแล้ว กระบวนการเสรีนิยมใหม่ ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดหรือทฤษฎีเศรษฐกิจมากเท่ากับเป็นผลของความพยายามรักษาอำนาจในการจัดสรรทรัพยากร และสถานะทางสังคมของชนชั้นนายทุน

Hernando De Soto (*)
หากจะกล่าวถึงตัวอย่างของนักเศรษฐศาสตร์ลาตินอเมริกาที่คนไทยรู้จักดี ตัวอย่างแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ชาวเปรู เฮอนานโด เดอ โซโต (Hernando De Soto) เกี่ยวกับ "ทุนที่ตายแล้ว (dead capital)" ก็ได้รับอิทธิพลจากลัทธิเสรีนิยมใหม่อย่างชัดเจน ทฤษฎีของเขาได้รับการยกย่องจากอดีตนายกทักษิณ ชิณวัตร ที่ประกาศแนะนำให้หนังสือ The mystery of capital (**) เป็นหนังสือสำคัญที่คนไทยต้องอ่าน และนำทฤษฏีของเดอ โซโตเรื่องทุนที่ตายแล้วและภาคธุรกิจใต้ดินมาประยุกต์เป็นนโยบาย "แปลงสินทรัพย์เป็นทุน" ซึ่งถูกใช้เป็นนโยบายสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน

(*)Hernando de Soto (born 1941-06-02) is a Peruvian economist known for his work on the informal economy and on the importance of property rights. He is the president of Peru's Institute for Liberty and Democracy (ILD), located in Lima. Between 1988 and 1995, he and the Institute for Liberty and Democracy (ILD) were responsible for some four hundred initiatives, laws, and regulations that changed Peru's economic system.

(**)The Mystery of Capital, by Hernando DeSoto, could be among the most important books on economics of any century. DeSoto notes that more than a decade after the fall of Marxism, the expected capitalist revolution has not occurred. Capitalism has been successful only in the developed nations and has made little progress in the third world or in the former communist states.
He and his team are convinced that the problem is the lack of well defined property rights. He notes that the poor in under-developed countries have assets, but that their real property is often owned informally, and thus cannot be used to generate capital. As a result, the crucial role of real property is simply absent in under-developed countries.

He proposes the obvious solution --- formalization of informal property rights and notes that acquisition of property through informal means (squatting) has a storied history in the United States and other developed nations. DeSoto understands that formalization will be politically difficult, but points out that both rich and poor will benefit economically. One might call it "trickle up economics."
Finally, formal property rights are under attack in developed nations, through overly intrusive land use and environmental regulations. It is well to reflect upon the potential for slipping toward a system that allows virtual squatters to seize or nullify property rights through regulation, threatening a principal source of national income.

ถึงแม้นิตยสารชั้นนำทางธุรกิจอย่าง Time, Forbes, หรือ The New York Times Magazine จะสรรเสริญให้เดอ โซโตเป็นดาวเด่นในศตวรรษ ในฐานะผู้สร้างนวัตกรรมทางความรู้เกี่ยวกับ "ทุน" และการแก้ปัญหา "ความยากจน" แต่สถาบันเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยที่ก่อตั้งโดยเดอ โซโตเอง รวมทั้งหนังสือของเขาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงในวารสารวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ ว่าเป็นเพียงเครื่องมือทางการเมืองหรือกระบอกเสียงที่ใช้เผยแพร่อุดมคติแบบเสรีนิยมใหม่ของสำนักชิคาโก ยิ่งไปกว่านั้น หนังสือหรือบทความที่ผลิตโดยสถาบันนี้ยังถูกวิจารณ์ว่าขาดมาตรฐานตามบรรทัดฐานทางวิชาการ และมีลักษณะใกล้เคียงกับบทความเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ทางการเมืองมากกว่า สักขีพยานที่สำคัญที่แสดงว่าเดอ โซโตนั้นทำหน้าที่กระบอกเสียงนี้ได้อย่างดีเยี่ยมคือรางวัล "Milton Friedman prize for the advancing liberty" ที่เขาได้รับเกียรติในปี 2004 จากสถาบันคาโต (Cato Institute) (*) ซึ่งเป็นสถาบันที่ส่งเสริมคุณค่าทางด้านเสรีนิยมอย่างเข้มแข็งในสหรัฐฯ

(*)The Cato Institute is a libertarian think tank headquartered in Washington, D.C. The Institute's stated mission is "to broaden the parameters of public policy debate to allow consideration of the traditional American principles of limited government, individual liberty, free markets, and peace" by striving "to achieve greater involvement of the intelligent, lay public in questions of (public) policy and the proper role of government." Cato scholars have been sharply critical of the Bush administration on a wide variety of issues, including the Iraq war, civil liberties, education, health care, agriculture, energy policy, and excessive government spending. However, some Cato scholars have found common cause with the administration on other issues, most notably, on Social Security, global warming, tax policy, and immigration.

ทั้งนี้ รายชื่อคณะกรรมการนานาชาติสำหรับการมอบรางวัลมิลตัน ฟริดแมน ในปี 2008 นี้ ประกอบด้วย ประธานของสถาบันคาโต, ภริยาของ ฟริดแมน ผู้ร่วมก่อตั้งกองทุนโรส-ฟริดแมน ซึ่งมีบทบาทสำคัญร่วมกับฟริดแมนในการเผยแพร่แนวคิดเสรีนิยมใหม่ในอเมริกา ผ่านหนังสือของเขาและรายการโทรทัศน์ Free to Choose, อดีตรัฐมนตรีคลังของเม็กซิโก Francisco Gil D?az, ประธานบริษัทและซีอีโอของ Koch Industries Inc. ของสหรัฐฯ, ประธานบริษัทสื่อ Next Media ของฮ่องกง, รวมทั้ง Editorial Board ของ The Wall Street Journal (Mary Anastasia O'Grady) และบรรณาธิการของนิตยสาร Newsweek International (Fareed Zakaria) ส่วนคณะกรรมการในอดีตที่สำคัญคือ อดีตนายกฯ อังกฤษมากาเรต แทตเชอร์, ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเชค V?clav Klaus รวมทั้งประธานและซีอีโอของเฟดเอ็กซ์ คอร์ปอเรชัน

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเสรีนิยมใหม่ในสหรัฐฯจะรอดพ้นจากวิกฤตด้านความชอบธรรมอย่างหมดจด นักวิจารณ์และนักวิชาการจำนวนมากตั้งคำถามกับกระบวนการผลิตซ้ำลัทธิเสรีนิยมใหม่ของสถาบันการศึกษษระดับสูง อย่างเช่น มหาวิทยาลัยชิคาโก ตัวอย่างรูปธรรมที่ชัดเจนคือ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บุคลากรด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยชิคาโกจำนวนร้อยกว่าคน เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยเพื่อคัดค้านการทุ่มงบประมาณ 200 ล้านเหรียญเพื่อสร้างสถาบันฟริดแมน โดยในจดหมายดังกล่าว บุคลากรเหล่านี้ได้ให้เหตุผลแสดงความห่วงใยต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในทางลบที่เกิดจาก "neoliberal global order" (*)

(*) อ่านจดหมายได้ที่ https://www.naomiklein.org/shock-doctrine/resources/faculty-letter-mfi

ทั้งนี้ ในหนังสือเล่มล่าสุดของนาโอมิ ไคลน์ (Naomi Klein) (*) ที่ชื่อว่า The Shock Doctrine : The Rise of Disaster Capitalism เธอถึงกับตั้งสมมุติฐานว่าแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของฟริดแมนอยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกับที่หน่วยงาน CIA ใช้ทรมานและสอบสวนผู้ต้องขังคดีก่อการร้ายในคุก Abu Ghraib ของอิรัก ซึ่งตกเป็นข่าวฉาวโฉ่ไปทั่วโลกกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้ถูกคุมขัง

(**) Naomi Klein (b. 8 May 1970, Montreal, Quebec) is a Canadian journalist, author and activist well known for her political analyses of corporate globalization. Klein ranked 11th in an internet poll of the top global intellectuals of 2005, a list of the world's top 100 public intellectuals compiled by Prospect magazine[4] in conjunction with Foreign Policy magazine. She was the highest ranked woman on the list.

นาโอมิ ไคลน์นำสมมุติฐานที่ผู้เขียนขอแปลว่า "ทุนนิยมหายนะ" มาอธิบายการครอบงำทางอุดมการณ์ของลัทธิเศรษฐกิจการเมืองแบบเสรีนิยมใหม่ที่นำโดยสหรัฐฯในปัจจุบัน โดยเนื้อหาสำคัญคือการพยายามแสดงให้เห็นว่า ฟริดแมนเองนำหลักการของความกลัวและวิธีการเดียวกับที่ใช้บำบัดผู้ป่วยทางจิตในอดีต โดยสร้างอาการช็อกมาประยุกต์ในระดับสังคมอย่างไร กล่าวคือ ในระดับปัจเจก วิธีการบำบัดแบบ Shock Therapy นี้ทำลายสภาวะแห่งเหตุผลและลดทอนให้บุคคลมีสภาพไม่ต่างจากทารก เมื่อประยุกต์ใช้ในระดับสังคม ความกลัวความไม่มั่นคง เศรษฐกิจตกต่ำ เงินเฟ้อ การตกงาน ความยากจน วิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากแนวนโยบายที่ฝ่ายเสรีนิยมใหม่เสนอ ในทางสังคมและการเมือง ก็ทำให้ประชาชนไม่ต่างจากทารก ที่ต้องพึ่งพาและเชื่อฟังผู้นำ รวมทั้งสามารถบ่อนทำลายเสรีภาพและประชาธิปไตยได้อย่างชะงัดนัก

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความเกี่ยวข้อง โดย เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
การผลิตซ้ำอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่และอิทธิพลต่อเศรษฐกิจการเมืองไทย


 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 12 July 2008 : Copyleft by MNU.

สำนักความคิดเสรีนิยมได้นำเอาความคิดประโยชน์นิยม เข้าแทนที่หลักสิทธิธรรมชาติในเวลาต่อมา โดยอธิบายใหม่ว่า เสรีภาพส่วนบุค คลนั้นเป็นอุดมคติ เพราะสามารถนำไปสู่ความสุขสูงสุดของมนุษย์ เสรีภาพจึงเป็นเพียงเครื่องมือไปสู่เป้าหมายสุดท้าย คือ ความสุข แทนที่เสรีภาพจะเป็นจุดหมายปลายทางหรือเป็นอุดมคติในตัวของมันเองอย่างที่จอห์น ลอคเสนอ แนวความคิดประโยชน์นิยมนี้ได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างโดยเจเรมี เบนแทม และมีส่วนสำคัญต่อการเกิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค ที่เน้นเรื่องประโยชน์หน่วยสุดท้ายซึ่งให้ความสำคัญกับมูลค่าสินค้า (หรือประโยชน์จากการบริโภคสินค้า ซึ่งให้น้ำหนักกับการบริโภคและผู้บริโภค) มากกว่ามูลค่าของการผลิต (ซึ่งให้น้ำหนักกับการผลิต รวมทั้งเจ้าของปัจจัยการผลิต)

H